หน้า:Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf/117

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
การพิจารณาคดีด้วยวิธีทรมาน

ด้วยการทดสอบดำน้ำ หากไม่ผ่านการทดสอบนี้ จะถูกประหารเสีย"[1]

นักบวชหลายรูปสารภาพทันทีว่า ตนได้ช่วยเหลือเกื้อกูลหัวหน้ากบฏ นักบวชกลุ่มนี้ได้รับการปล่อยตัวตามคำมั่นของพญา แต่รูปอื่นอีกหลายรูปสาบานว่า ตนไม่ผิด พญาจึงเสด็จไปประทับเหนืออาสน์ริมฝั่งน้ำและทอดพระเนตรนักบวชเหล่านี้ดำลงไปในน้ำทีละรูป บางรูปยั้งอยู่ใต้น้ำเป็นระยะเวลายาวนานตามสมควร จึงเป็นอันพิสูจน์ตนเองว่า ไม่ผิด แต่รูปอื่น ๆ ที่ไม่ผ่าน ก็ถูกปลดจีวรและประหาร ณ ที่นั้น ศพของผู้ถูกประหารถูกเผาทิ้ง แล้วนำเถ้าไปผสมปูนใช้ทาเป็นสีขาวให้แก่อาคารวัดบางส่วน[2]

ในการพิจารณาคดีด้วยวิธีทรมานนั้น บางคราวก็ใช้ตะกั่วหลอมละลาย[3] คู่พิพาทต้องล้วงมือของตนเข้าไปในตะกั่วหลอมเหลว และผู้ใดที่ไม่ถูกไหม้ ก็ชนะคดี บางโอกาสใช้ดีบุกหลอมเหลวหรือน้ำมันเดือดแทนตะกั่วหลอมเหลวก็มี

วิธีที่ใช้เป็นประจำในการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเงินซึ่งกู้ยืมกันนั้น คือ การพิจารณาคดีด้วยการว่ายน้ำ คู่ความจะต้องว่ายข้ามลำน้ำ หรือไม่ก็ทวนกระแสน้ำ เป็นทางสักระยะหนึ่ง ผู้แพ้จะต้องชำระเงินเป็นสองเท่าของยอดเงินพิพาท จำนวนที่ชำระนั้น กึ่งหนึ่งจะมอบให้แก่ผู้ชนะ ส่วนอีกกึ่งหนึ่งจะส่งให้แก่รัฐบาลเป็นค่าปรับ[4]

การพิจารณาคดีโดยใช้เทียนนั้นไม่ลำบากเท่าการพิจารณาคดีด้วยไฟและน้ำ จะมีการจุดเทียนสองเล่มซึ่งทำด้วยขี้ผึ้งชนิดเดียวกัน น้ำหนักเท่ากัน และไส้มีเส้นเท่ากันไม่ขาดไม่เกิน แล้วตั้งไว้ ณ เชิงเทียนอันสมควร คนผู้เป็นเจ้าของเทียนซึ่งมอดไปก่อนตกเป็นผู้แพ้[5] เรื่องนี้สืบเนื่องมาจาก

  1. พระราชพงศาวดาร (พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา ภาค 3, 2455, น. 50) ว่า "ให้พระสงฆ์ให้การไปแต่ตามสัตย์ตามจริง ถ้าได้ผิดในจตุปาราชิกแต่ประการใดประการหนึ่ง จะพระราชทานผ้าคฤหัสถ์ให้ผลัดสึกออกทำราชการ ที่ไม่รับนั้น จะให้ดำน้ำพิสูตรสู้นาฬิกาสามกลั้น แม้นชนะแก่นาฬิกา จะให้เปนอธิการแลพระครูราชาคณะฝ่ายเหนือโดยสมควรแก่คุณธรรมที่รู้ แม้นแพ้แก่นาฬิกา จะให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนแล้วสักข้อมือมิให้บวชได้อิก แม้นเสมอนาฬิกา จะถวายผ้าไตรให้บวชใหม่ ถ้าแต่เดิมไม่รับ ครั้นจะให้ลงดำน้ำพิสูตร กลับคืนคำว่า ได้ทำผิด จะให้ลงพระราชอาชญาประหารชีวิตรเสีย"
  2. พระราชพงศาวดาร (พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา ภาค 3, 2455, น. 50–51) ว่า "ครั้งนั้น พระสงฆ์ที่มีศีลบริสุทธิก็ชำนะแก่นาฬิกาบ้าง เสมอบ้าง ที่ภิกษุทุศีลก็แพ้แก่นาฬิกาเปนอันมาก เสนาบดีก็กระทำตามรับสั่งโดยสมควรแก่คุณแลโทษ แต่ผ้าไตรที่พระสงฆ์พวกแพ้ต้องสึกนั้น ให้เผาเปนสมุกไปทาพระมหาธาตุเมืองสวางคบุรี" ไม่ปรากฏว่า ให้เอาเถ้ากระดูกไปทาวัดแต่ประการใด
  3. พระอัยการลักษณะพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง มาตรา 1 (แลงกาต์, 2481, น. 358) ว่า "มีพระราชกฤษฎีกาไว้ว่า ถ้า โจท/จำเลย จะถึงพิสูทแก่กัน มี 7 ประการ ๆ หนึ่งให้ล้วงตะกั่ว 1 ษาบาล 1 ลูยเพลิงด้วยกัน 1 ดำน้ำด้วยกัน 1 ว่าย ขึ้นน้ำ/ค่ามฟาก แข่งกัน 1 ตามเทียนคลเล่มเท่ากัน 1"
  4. พระอัยการลักษณะพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง มาตรา 5 (แลงกาต์, 2481, น. 363–364) ว่า "โจทหาว่า กู้เบี้ยยืมเงินทองผ้าแพรพรรณสรรพทรัพยสิ่งใดก็ดี หาจำเลยออกมายังกระลาการต่อคดีด้วยโจท แลกระลาการถามจำเลย แลจำเลยปัดติเสทขันพิสูท ฝ่ายโจทหาสักขิพญาณมิได้ ต่อพิสูทกันด้วย. . .ว่าย ขึ้นน้ำ/ค่ามฟาก แข่งกัน. . .แม้นโจทปราไชยแก่พิสูทก็ดี จำเลยปราไชยแก่พิสูทก็ดี ท่านว่า เทพยุดามิเข้าด้วยคนใจร้ายอันหาความสัจมิได้ ท่านให้ตั้งค่าทรัพยสิ่งของอันขันพนันต่อกันนั้นลง ให้ไหมผู้แพ้แก่พิสูททวีคูน ยกทุณทรัพยนั้นให้เจ้าของ เหลือนั้นเปน สินไหม/พิไนย กึ่ง ถ้าแลพิสูทด้วยกันเสมอกันไซ้ ให้เอาพิไนยทัง 2 ข้าง"
  5. พระอัยการลักษณะพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง มาตรา 6 (แลงกาต์, 2481, น. 364) ว่า "ถ้าจะพิสูทตามเทียน. . .ให้ฟั่นเทียนจงเท่ากัน ด้ายใส้นับเส้นให้เท่ากัน ให้ทำไม้ตั้งเทียน เมื่อตามเทียนนั้น ถ้าแมลงวันแลสิ่งใด ๆ จับเทียนข้างหนึ่งดับก็ดี ดับเองก็ดี ให้เอาผู้นั้นเปนแพ้ ให้ไหมทวีคูน"
11
81