หน้า:Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf/27

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ในเวนิสตะวันออก

สารทิศ เพราะได้วางเส้นทางรถรางไว้ทั่วท้องถนนหลักทุกสายในราชธานีแล้ว

ตามท้องถนนไม่มียวดยานแบบพื้นเมือง นอกราชธานีออกไปก็ไร้ซึ่งถนน และผู้คนสัญจรไปทุกหนแห่งด้วยแหล่งน้ำ ครั้นสร้างถนนขึ้นเป็นครั้งแรกในบางกอก และเกิดความต้องการรถ ชาวสยามก็รับเอายวดยานมาจากประเทศอื่น พวกเขาเอารถลากมาจากญี่ปุ่น เป็นรถลากจูงขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งซึ่งมีคนจีนอยู่กลางหว่างคาน ม้าในร่างคนนี้เหยาะย่างไปตามทางอย่างเร็วรวด และจะขนเราท่านไปเป็นทางค่อนข้างไกลแลกกับเงินกึ่งเพ็นนี

พวกเขายังเอารถแกร์รี[1] มาจากอินเดีย เป็นรถสี่ล้ออย่างหนึ่งซึ่งติดหน้าต่างบานเลื่อนไว้เหมาะเจาะรอบด้าน ชนิดที่คล้ายกับหน้าต่างตรงประตูตู้รถไฟ เว้นเสียแต่ว่า ที่กรอบหน้าต่างนั้นมักนำบานเกล็ดแบบเวนิสมาใส่ไว้มากกว่าจะเป็นบานกระจก คนขับรถแกร์รีนั้นไม่เป็นคนมลายูก็เป็นคนสยาม เขาจะสวมหมวกเฟซ[2] สีแดงและแจ็กเกตลินินสีขาว ยามฝนพรำ เขาจะถอดชุดออกเก็บไว้ใต้ที่นั่งเพื่อให้ชุดแห้ง ทันทีที่สายฝนจากลาและดวงอาทิตย์ออกมาอีกครั้ง เขาจะหยุดรถแล้วสวมชุดอีกหนหนึ่ง บังเหียนเขาทำจากเชือก และแตกพังบ่อยครั้งเหลือเกิน ดังนั้น ท่านจำต้องรอเมื่อพ่อสารถีของท่านแวะร้านใกล้เรือนเคียงเพื่อขอเชือกสักนิดมาใช้ซ่อมแซมจุดเสียหาย

เอสไอ.
2
9
  1. แกร์รี คือ รถโดยสารชนิดหนึ่ง เทียมด้วยม้า ใช้กันในอินเดียและอียิปต์ มาจากภาษาฮินดีว่า "คารี" (Dictionary.com 2022b) ดู รูปที่ 1
  2. เฟซ เป็นหมวกขนสัตว์ ทรงกรวยปลายตัด มักมีสีแดง ประดับด้วยพู่ยาวสีดำ ชายในอียิปต์และอเมริกาเหนือสวมใส่กัน เดิมเป็นศิราภรณ์ประจำชาติของชาวเติร์ก (Dictionary.com 2022a) ดู รูปที่ 2