หน้า:Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf/59

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ภิกษุ

ให้แก่ตน ภิกษุไม่อาจครอบครองเงินทองได้ แต่ศิษย์เหล่านี้อาจรับเงินและใช้เงินเพื่อประโยชน์ของภิกษุผู้เป็นนายได้

เช้าตรู่ ระฆังใหญ่ในอารามจะปลุกภิกษุให้ตื่นและออกไปขออาหารเช้า ภิกษุจะนำชามเหล็กขนาดใหญ่[1] มาไว้ในมือ โดยถือไว้เบื้องหน้าตน จากนั้น จะเดินคอตกอย่างแช่มช้าไปตามมรรคาที่จัดช่องไว้ให้ ภิกษุไม่อาจเตร่เข้าไปในช่องทางของผู้อื่น แต่ต้องอยู่เฉพาะที่ของตน เมื่อภิกษุดั้นด้นเดินไป ผู้คนทั้งหลายจะออกมาจากบ้านเรือนและใส่อาหารลงในชามนั้น คนหนึ่งใส่ข้าวเต็มกำมือ อีกคนหนึ่งใส่แกงเต็มทัพพี คนอื่นบางคนอาจเพิ่มกล้วยสองสามใบ หรือปลาแห้งสักจำนวนหนึ่ง หรือมะพร้าวขูดบ้าง ภิกษุจะไม่ทั้งเหลียวซ้ายและแลขวา และจะไม่กล่าววาจาขอบคุณใด ๆ ต่อผู้บริจาคอาหาร พอภิกษุกลับถึงอาราม ก็คงจะไม่เกินไปถ้าจะบรรยายว่า ชามข้าวของท่านนั้นมักเต็มไปด้วยของเล็กของน้อยระคนปนเปกันอย่างพิสดารและไม่น่าพิสมัยยิ่งนัก ดูออกไปทาง "เละ" เสียมากกว่า และก็ไม่น่าประหลาดใจอันใดมากมายเมื่อเราได้รู้ว่า ภิกษุบางรูปที่ไม่ยึดถือระเบียบแห่งนิกายตนเคร่งครัดนักจะนำปลา เนื้อ ไก่ และปลาเฮร์ริงแดงตากแห้ง[2] ที่ผสมผเสเปปนกันทั้งหมดนี้มาโยนให้หมา ก่อนจะฉันอาหารเช้าที่เย้ายวนใจกว่านั้นมากซึ่งมีผู้ตระเตรียมไว้ให้แล้วในอาราม ในบางช่วงเวลาของปี แต่ละอารามจะมีภิกษุไม่กี่รูปเท่านั้นที่ออกไปหาอาหาร ส่วนรูปอื่น ๆ จะอยู่กับกุฎิที่วัด ถ้าภิกษุมีญาติโยมเยอะ ศิษย์ของภิกษุรูปนั้นมักจะรับอาหารที่ปรุงอย่างเลิศล้ำและชวนน้ำลายสอเอาไว้ให้ฉันเป็นมื้อเช้า[3]

ครั้นสิ้นมื้อเช้า เหล่าภราดรผ้าเหลือง

35
  1. คือ บาตร
  2. เฮร์ริงเป็นปลาในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งไม่น่าใช่ปลาที่ชาวสยามยุคนั้นจะหาได้ตามปรกติ บางทีผู้เขียนอาจสื่อถึงปลาอย่างอื่นที่มีรูปลักษณ์คล้ายกัน (ดูปลาเฮร์ริงใน รูปที่ 1)
  3. สำนวน "break one's fast" แปลว่า กินเป็นมื้อเช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังอดอาหารมาทั้งคืน