หน้า:Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf/60

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
สอดส่องหลายท้องถิ่น

จะเข้าไปในวัดเพื่อทำพิธีกรรม เสร็จแล้วจะมีงานสำหรับรูปใดที่ใฝ่ใจจะทำ แต่ส่วนใหญ่ไม่ทำอันใด นับเป็นภาวะการมีงานทำรูปแบบหนึ่งซึ่งเหมาะเหลือเกินกับชาวสยามทั่วไปยิ่งกว่าการลงแรงทำงาน เนื่องจากภิกษุนั้นมาจากทุกชั้นวรรณะในสังคม จึงจะปรากฏเสมอว่า มีบางรูปในหมู่ภิกษุที่สามารถซ่อมแซมอาคาร หรือช่วยสร้างเรือ หรือกระทั่งบางทีก็สอนที่โรงเรียนได้ด้วย

ยามเที่ยง มีการฉันอาหารอีกมื้อ ถัดนั้นแล้ว ไม่มีทั้งมื้อชาและมื้อเย็น ด้วยเหตุนั้น ภิกษุจึงไม่มีอะไรให้ฉันอีกจนกว่าจะถึงเช้าวันใหม่ ภิกษุระงับความหิวตามธรรมชาติของตนได้ด้วยการดื่มชา เคี้ยวหมาก และสูบยา

ครั้นจวนค่ำ เหล่านักบวชจะสรงน้ำ ไม่ว่าในแม่น้ำหรือในสระน้ำบางอย่างในเขตวัด ทันทีที่มืด ภิกษุต้องกักตนอยู่ภายในกำแพงอาราม ทุก ๆ ค่ำจะมีการสั่นระฆัง ณ เวลาราว 6 โมงครึ่งเพื่อแจ้งภิกษุว่า ถึงเวลา "กักขัง" แล้ว ระฆังซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในฐานะเป็นนาฬิกาประจำวัดนั้นจะแขวนไว้กับโครงร่างไม้ที่มักสร้างเป็น 3 ชั้น พูดกันให้ชัด จะว่ามีการสั่นระฆังก็ไม่ถูก เขาไม่สั่นระฆัง เขาตีระฆังด้วยไม้ท่อนหนา รอบ ๆ เขตอันร่มเย็นนี้ปรกติจะมีเด็กชายตัวน้อยกลุ่มหนึ่งเล่นอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลาอันควรแล้ว จะยอมปีนป่ายบันไดไม้โคลงเคลงขึ้นไปแล้วเคาะระฆังด้วยดุ้นไม้

ช่วงกรกฎาคมถึงตุลาคมซึ่งมีฝนตกหนัก นักบวชจะประชุมกันในกาลค่ำแล้วพร่ำสวดภาวนา แสงเดียวในวัด ก็คือ แสงของเทียนที่สลัวหรือตะเกียงอันควันคลุ้ง และรัศมีที่พร่ามัวจะสาดส่องลงบน

36