หน้า:Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf/68

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
สอดส่องหลายท้องถิ่น

ไม่มีสิ่งสลัก และไม่มีกระจกสี หลังคาทำเป็นชั้น ๆ ซึ่งซ้อนทับกัน และปกคลุมด้วยกระเบื้องสวยงามเป็นสีเป็นสัน ทั้งสีอำพัน สีทองคำ สีแดงก่ำ และสีฟ้า เสาไม้สักมหึมาหลายหมู่ได้รับการเรียงไว้เพื่อให้มีทางเท้าร่มเย็นรายรอบอาคาร ด้านนอกนั้นทาสีขาวล้วน เว้นแต่ที่หลังคา และเมื่อตะวันเที่ยงวันสาดส่องลงมายังวัด สถานที่เหล่านี้ก็จะเปล่งประกายและเฉิดฉาย เฉกเช่นสีขาวกระฉอกใหญ่มีสีสันพันลึกประดับอยู่บนยอด

ภายในมีแสงน้อยนิด และถ้าหลังคาสูง คานหลังคาย่อมซ่อนตัวอยู่ในความมืด ที่ปลายสุดมีพระพุทธรูปมหึมาเคลือบด้วยทองคำประทับอยู่ มีรูปของพระพุทธองค์เองและสาวกในขนาดย่อมลงมารายล้อมอยู่ บางรูปยกมือขึ้นราวกับจะกล่าวสิ่งใด ที่เหลือมีพัดบังหน้าเสมือนว่าจะกันตนจากสิ่งชั่วร้ายโสมมและความทุกข์ระทมของโลก บางทีรูปเหล่านี้ก็มีจำนวนมากมายนัก ณ วัดแห่งหนึ่งในอยุธยา ราชธานีเก่า มีรูปเหล่านี้ไม่น้อยกว่า 20,000 องค์

ที่ปลายสันหลังคาวัด ที่มุมหน้าบัน และในที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง จะมีหงอนงามโง้ง[1] สิ่งเหล่านี้สื่อถึงเศียรนาค หรืองูมีหัว 7 หัว ซึ่งขดตัวรอบพระกายของพระบรมครู แล้วใช้หัวทั้ง 7 คุ้มกันพระองค์ในคราวที่ทรงถูกมารร้ายโจมตีใต้ต้นโพ[2]

มีศาลาหรือที่พักหนึ่งแห่งหรือหลายแห่งเกี่ยวข้องกับวัด การสร้างศาลาเป็นอีกวิธีหนึ่งในการทำบุญ และเพราะการก่อสร้างที่พักทำด้วยไม้เหล่านี้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการสร้างวัด ในประเทศนี้จึงมีศาลาอยู่เป็นพัน ๆ หลัง ศาลานั้นจะ

42
  1. คงหมายถึง ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์
  2. คงหมายถึง นาคที่ชื่อ มุจลินท์ ซึ่งคุ้มกันพระพุทธเจ้าจากลมฝนขณะประทับใต้ต้นจิก แต่ในที่นี้คงสับสนกับเหตุการณ์ที่มารมาผจญขณะพระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นโพ