หน้า:Sources of ancient Siamese law (Masao T, 1905).pdf/4

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
31
ที่มาแห่งกฎหมายโบราณของสยาม

(15) ผู้ขับร้องบรรเลงขออาหาร[1]

(16) ผู้ไร้บ้านและเที่ยวท่องไปเรื่อย[2]

(17) ผู้ถือกะลามะพร้าวเที่ยวขอทาน[3]

(18) คนหูหนวก

(19) คนตาบอด

(20) โสเภณี[4]

(21) หญิงลามก[5]

(22) หญิงมีครรภ์

(23) ผู้ไม่เป็นทั้งชายทั้งหญิง[6]

(24) ผู้เป็นทั้งชายทั้งหญิง[7]

(25) พ่อมดและแม่มด

(26) คนบ้า[8]

(27) แพทย์ซึ่งมิได้เรียนตำราแพทย์[9]

(28) คนทำรองเท้า[10]

(29) ชาวประมง

(30) คนติดพนันขันต่อ[11]

(31) โจรและขโมย[12]

(32) คนเจ้าอารมณ์[13]

(33) เพชฌฆาต

จะสังเกตได้ว่า ข้อแตกต่างใด ๆ ในระหว่างตัวบทของพระมนูฮินดูกับตัวบทของลักษณะพยานสยาม ถ้าจะมี ก็คือ ตัวบทของฮินดูระบุบางกรณีเป็นการทั่วไปมากกว่า ขณะที่ตัวบทของสยามเจาะจงมากกว่า ตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายพระมนูระบุในลักษณะทั่วไปว่า ทารกและคนชราจะนำมาเป็นพยานมิได้ ส่วนลักษณะพยานเจาะจงกว่า โดยจำกัดอายุที่เขาเหล่านั้นมีต่ำกว่าหรือสูงกว่าแล้วจะเป็นพยานไม่ได้ อีกประการหนึ่ง ประมวลกฎหมายพระมนูระบุอย่างทั่วไปว่า ให้ตัดผู้ประกอบอาชีพโหดร้าย ผู้ขาดอวัยวะในการรับรู้ ผู้มาจากวรรณะต่ำสุด ฯลฯ จากการเป็นพยาน ขณะที่ลักษณะพยานลงรายละเอียดและระบุว่า คนเหล่านี้ได้แก่ใครบ้าง แต่ในภาพรวมแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทั้งตัวบทของฮินดูและสยามกำลังเปรยถึงสิ่งเดียวกัน

กฎหมายฮินดูมีหลักว่า ดอกเบี้ยไม่ควรเกินต้น (พระมนู เล่ม 8 หน้า 151–153) ลักษณะกู้หนี้[14] ของสยามก็ปรากฏหลักอย่างเดียวกันว่า

"เมื่อบุคคลทำสัญญาเป็นหนี้ และจ่ายดอกเบี้ยให้เดือนหนึ่ง สองเดือน หรือสามเดือนก็ดี แต่หลังจากนั้นก็ไม่กระทำเช่นนั้นอีก และเมื่อเจ้าหนี้มาทวง ก็ผัดผ่อนหลบเลี่ยงชำระเสีย เจ้าหนี้ซึ่งมิได้ทั้งต้นทั้งดอกมาช้านาน จึงเรียกให้มาอยู่ต่อหน้าตุลาการ [ดังนี้ ให้ถือว่า] ดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จ่ายไปในเดือนแรก เดือนสอง หรือเดือนสามนั้น เป็นกำไรที่เจ้าหนี้ควรได้ เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยจำนวนที่ค้างจ่ายอีกก็ได้ แต่ถ้าหนี้นั้นเนิ่นนานนักหนาแล้ว ดอกเบี้ยให้คิดไม่เกินต้น ตามความในกฎหมาย"[15] (คำแปลกฎหมายสยามว่าด้วยหนี้ของอาร์เชอร์ หน้า 6)

หลักกฎหมายฮินดูมีว่า ถ้าจำเลยกล่าวเท็จว่าไม่ได้เป็นหนี้ เขาจะถูกปรับสองเท่าของจำนวนหนี้ (พระมนู เล่ม 8 หน้า 59) ลักษณะกู้หนี้ของสยามก็ปรากฏหลักอย่างเดียวกันว่า

"เมื่อลูกหนี้ที่ถูกเรียกมาอยู่ต่อหน้า

  1. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 334) ว่า "คนขับขอทานท่าน" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  2. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 333) ว่า "คนไม่มีเรือนเที่ยวจร" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  3. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 333) ว่า "คนถือกระเบื้องกระลาขอทาน" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  4. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 333) ว่า "หญิงนครโสภิณี" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  5. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 333) ว่า "หญิงแพศยา" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  6. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 333) ว่า "เปนกระเทย" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  7. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 333) ว่า "เปนบันเดาะ" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  8. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 333) ว่า "คนเปนพิกลจริต" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  9. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 334) ว่า "หมอยาหมีได้เรียนคำภีรแพท" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  10. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 334) ว่า "ช่างเกือก" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  11. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 334) ว่า "คนนักเลงเล่นเบี้ยบ่อน" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  12. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 334) ว่า "คนเปนโจร" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  13. ข้อความดั้งเดิมในพระไอยการลักษณภญาณ (แลงกาต์ 2481a, น. 334) ว่า "คนโทโสมาก" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  14. ชื่อกฎหมายโบราณของสยามเกี่ยวกับหนี้
  15. ข้อความดั้งเดิมในภาษาไทย คือ มาตรา 34 ของพระไอยการลักษณกู้หนี้ ซึ่งระบุว่า (แลงกาต์ 2481b, น. 186) "กู้เงินท่าน แลส่งดอกเบี้ยรายมาถึงเดือนหนึ่ง 2 เดือน 3 เดือนแล้วก็ดี แลอยู่มามิส่งนายเงิน ๆ ก็ไปทวง แลทำประเว่ประวิงไปมา ต้นเงินก็มิส่ง ดอกเบี้ยก็มิให้ เปนช้านาน นายเงินให้สมภักนักการเรียกหา แลท่านบังคับว่า ซึ่งดอกเบี้ยส่งรายเดือนหนึ่ง 2 เดือน 3 เดือนนั้น เปนลาภแก่นายเงินแต่ที่ได้ไว้แล้วนั้น แลซึ่งดอกเบี้ยยังไม่ส่งนั้น ให้บังคับตามมากแลน้อย ถ้าแลช้านานเท่าใด ให้บังคับแต่ต่อหน้าโดยพระราชกฤษฎีกา" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)