แจ้งความพระอาลักษณ์ ลงวันที่ 11 พฤษภาคม ร.ศ. 120

  • แจ้งความกรมพระอาลักษณ์
  • บอกแก้คำผิดในพระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธี
  • พิจารณาความอาญา ศก ๑๒๐

ด้วยพระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญา ศก ๑๒๐ ซึ่งลงมาในหนังสือราชกิจจานุเบกษา แผ่นที่ ๕ น่า ๕๘ วันที่ ๕ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ นั้น ความในมาตรา ๒ เคลื่อนคลาศอยู่ ที่ถูกนั้น ดังนี้ "มาตรา ๒ ห้ามไม่ให้ศาลประทับฟ้องราษฎรเรียกข้าราชการตลอดถึงกำนันผู้ใหญ่บ้านซึ่งได้ตั้งตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ เปนจำเลยในความอาญามีข้อหาในเรื่องที่เกี่ยวกับน่าที่ราชการ เว้นไว้แต่โจทย์จะได้นำพยานมาสืบบ้างแล้วพอเห็นได้ว่า จำเลยมีพิรุธ จึงให้ศาลส่งฟ้องไปให้แก่ผู้บังคับข้าราชการที่เปนจำเลยนั้นให้ทราบก่อน ๓ วัน แล้วจึงให้ออกหมายไปถึงจำเลยผู้นั้น"

แจ้งความมาณวันที่ ๑๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐

  • (เซ็น) พระยาศรีสุนทรโวหาร
  • เจ้ากรมพระอาลักษณ์

บรรณานุกรม แก้ไข

 

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก