กฎหมายรัฐธรรมนูญและเลือกตั้งพิศดาร/เล่ม 1/คำปรารภเบื้องต้น
คำบรรยายกฎหมายรัฐธรรมนูญ
และเลือกตั้งพิศดาร
พุทธศักราช ๒๔๙๑–๒๔๙๒
โดย
นายดิเรก ชัยนาม
เนติบัณฑิตไทย
คณบดีคณะรัฐศาสตร์
คำปรารภเบื้องต้น
ท่านทั้งหลายได้ศึกษาวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งมาแล้วในชั้นปริญญาตรี ฉะนั้น ที่ข้าพเจ้าจะบรรยายต่อไปนี้จึงเป็นการบรรยายโดยขยายหลักตามที่เคยศึกษามาแล้วให้พิศดารขึ้นเท่านั้น โดยขอให้ยึดหลักจากคำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญชั้นปริญญาตรี โดยที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้มาบรรยายรัฐธรรมนูญพิศดารในเวลากระชั้นชิดจวนปิดภาคสอนแล้ว ฉะนั้น จะได้บรรยายโดยย่อ เอาแต่สาระสำคัญไว้ชั้นหนึ่งก่อน ต่อปีหน้าจึงจะบรรยายให้พิศดารยิ่งขึ้น โครงการณ์บรรยายมีดั่งนี้:—
ภาค | ๑ | บทที่ | ๑. | รัฐธรรมนูญ | ||||
บทที่ | ๒. | อำนาจอธิปไตย | ||||||
บทที่ | ๓. | ความหมายของประชาธิปไตย | ||||||
บทที่ | ๔. | การแบ่งแยกอำนาจ | ||||||
บทที่ | ๕. | สิทธิของมนุษย์ | ||||||
บทที่ | ๖. | รัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ | ||||||
บทที่ | ๘. | ระบบสภาเดียวหรือสองสภา | ||||||
บทที่ | ๙. | รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด (Supremacy of the Constitution) |
เพราะต่างหลัก ๆ นี้ย่อมต้องปรากฎในรัฐธรรมนูญทั่วไปทุกประเทศ ส่วนการเลือกตั้งนั้นมีโครงการณ์ดั่งนี้:—
ภาค | ๒ | บทที่ | ๑. | ประวัติของการเป็นมาของประชาธิปไตย | ||||
บทที่ | ๒. | ทฤษฎีของการเลือกตั้ง | ||||||
บทที่ | ๓. | การเลือกตั้งในมัชฌิมสมัย | ||||||
บทที่ | ๔. | การเลือกตั้งในประเทศอังกฤษตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน | ||||||
บทที่ | ๕. | การเลือกตั้งในฝรั่งเศส | ||||||
บทที่ | ๖. | การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา | ||||||
บทที่ | ๗. | การเลือกตั้งในเยอรมันนี | ||||||
บทที่ | ๘. | การเลือกตั้งในรัซเซียสมัยซาร์จนถึงปัจจุบัน | ||||||
บทที่ | ๙. | ประวัติการเลือกตั้งในสวิส์เซอร์แลนด์ | ||||||
บทที่ | ๑๐. | การเลือกตั้งในอเมริกาใต้ | ||||||
บทที่ | ๑๑. | การเลือกตั้งในอิตาลี | ||||||
บทที่ | ๑๒. | หลักการทั่วไปของกฎหมายการเลือกตั้ง | ||||||
บทที่ | ๑๓. | สาธารณะมติและพรรคการเมือง | ||||||
ภาค | ๓ | บทที่ | ๑. | รัฐธรรมนูญบริติช | ||||
บทที่ | ๒. | รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา | ||||||
บทที่ | ๓. | รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส | ||||||
บทที่ | ๔. | รัฐธรรมนูญสวิสเซอร์แลนด์ |