กฎหมายลักษณมรดก (2455)/หมวด 1

กฎหมายลักษณมรดก

หมวดหนึ่ง
มรดก, อำนาจแลความรับผิดชอบในมรดก, กรรมสิทธิ์.

มรดกอคืออะไร มรดก คือ ทรัพย์ของผู้ตาย เช่น เมื่อ ก มีชีวิตร์
อยู่ ก มีรถยนต์, มีสุนักข์ แลมีบ้านเรือน แล้ว ก ตาย
รถยนต์, สุนักข์ แลบ้านเรือนเหล่านี้เปนมรดกของ ก.
ถ้าแลอำนาจหรือความรับผิดชอบได้เกิดขึ้นในระหว่าง
ผู้มรณภาพยังมีชีวิตร์อยู่ อำนาจแลความรับผิด
ชอบนี้ติดมากับทรัพย์มรดกของผู้มรณภาพด้วย เช่น
ผู้มรณภาพเปนเจ้าหนี้ใคร ผู้จัดการแบ่งหรือผู้รับ
มรดกมีอำนาจบังคับลูกหนี้ให้ใช้หนี้เข้าในกองมรดก
ได้ หรือเช่น ผู้มรณภาพเปนลูกหนี้ใคร เจ้าหนี้มี
มรดก ๓. อำนาจเรียกหนี้จากกองมรดกได้เหมือนกัน ที่กล่าว
กู้หนี้ ๑๖, ๒๖. นี้ประสงค์ให้เข้าใจว่า ผู้รับมรดกไม่ได้เปนผู้รับอำนาจ
แลความรับผิดชอบแทนผู้มรณภาพด้วยตนเอง อำนาจ
แลความรับผิดชอบเปนแต่ติดมาในกองมรดกเท่านั้น ถ้า
หากว่าผู้รับมรดกต้องรับอำนาจแลความรับผิด
ชอบแทนผู้มรณภาพแล้ว การรับมรดกก็อาจเท่า
กับการรับความฉิบหาย เช่น ผู้มรณภาพมีมรดก
ราคา ๘๐ ชั่ง แต่เปนหนี้เขาถึง ๑๐๐ ชั่ง ผู้รับ
มรดกมิต้องเข้าเนื้อตนเอง ๒๐ ชั่งหรือ ตามกฎหมาย
การรับมรดกหาเปนเช่นนั้นไม่ ผู้รับมรดกมีแต่ได้
หรือเสมอตัวเท่านั้น ไม่ต้องควักกระเป๋าตนเอง
กู้หนี้ ๓๓. ถ้าเปนหนี้เขามาก แต่มรดกมีน้อย ก็ต้องใช้ตาม
น้อย ขาดเท่าไรเปนเคราะห์ของเจ้าหนี้ แต่ส่วน
เปนเจ้าหนี้ใคร มีอำนาจเรียกร้องได้เต็มจำนวน
ที่เรียกว่า อำนาจแลความรับผิดชอบติดมาในกองมรดก
เปนดังกล่าวมานี้.
อำนาจแล แต่มีคดีเปนอันมากที่อำนาจแลความรับผิดชอบไม่
ความรับผิดชอบ. ได้ติดมาในกองมรดกด้วย ความมรณภาพ
นั้นกระทำให้ผู้มรณภาพหมดอำนาจแลพ้นจาก
ความรับผิดชอบ เช่น ก มีฝีมือดีในการปั้นรูป
หลวงประดิษฐ์ฯ ก รับสัญญาปั้นรูปขายให้ ข ก ปั้นยังไม่ทันแล้ว
ว่าด้วยสัญญา ก ตาย อำนาจของ ก ที่จะเรียกค่าจ้าง แลน่าที่
น. ๒๖๑, ๒๗๙. หรือความรับผิดชอบของ ก ที่จะต้องปั้นรูปให้ ข
ก็เปนอันระงับ หาได้ติดมากับกองมรดกไม่ แต่ถ้า
ก ได้ปั้นรูปให้แก่ ข เสร็จบริบูรณ์แล้วจึงตาย อำนาจ
ที่ ก จะได้รับค่าจ้างนั้นไม่สูญเสีย ยังติดมาใน
กองมรดกด้วย ผู้รับมรดกอ้างอำนาจนี้ฟ้องเรียก
ค่าจ้างมาบวกเข้าในกองมรดกได้.
คดีชนิดไร อำนาจแลความรับผิดชอบต้องหมดหรือ
ยังอยู่เมื่อมรณภาพนั้น ต้องศึกษากฎหมายลักษณ
ต่าง ๆ เปนแพนก ๆ ไป เช่น ในคดีประทุษฐร้าย
หลวงพินิตฯ ส่วนแพ่ง เมื่อผู้ประทุษฐร้ายหรือผู้ถูกประทุษฐร้าย
ว่าด้วยประทุษฐร้าย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ตามธรรมดามีหลักว่า คดี
ส่วนแพ่ง น. ๗๕. ส่วนตัวตายตามตัว แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นที่อำนาจ
ฟ้องหรือน่าที่ถูกฟ้องหาได้หมดไปไม่.
กู้หนี้ ๑๖. อนึ่ง ได้กล่าวแล้วว่า มรดกนั้นเปนแต่ทรัพย์ของผู้
ฎีกา ๔๑๙,/๑๒๙ มรณภาพ เพราะฉนั้น เมื่ออำนาจหรือความรับผิดชอบ
ผัน–เฉ่ง. ติดมาด้วยแล้ว เปนน่าที่ผู้จัดการแบ่งหรือผู้รับ
มรดกจะจัดการใช้อำนาจหรือจัดการให้เปนไปตาม
ความรับผิดชอบนั้น.
มรดกผัวเมีย เมื่อผัวเมียมีทรัพย์สมบัติระคนปนกันอยู่ แล
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ทรัพย์นั้นหาใช่มรดกทั้งหมด
ไม่ ถ้าผัวหรือเมียฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ที่จะรู้
ว่า ผัวหรือเมียฝ่ายที่ตายมีมรดกเท่าไร ก็คือ ให้ดู
ว่า ถ้าผัวเมียอย่ากัน ทรัพย์จะเปนของฝ่ายใดเท่าไร
เช่น ก เปนผัว ข เปนเมีย มีสินเดิมฝ่ายละ
๑๐๐ บาท เกิดสมรสด้วยกัน ๓๐๐ บาท ก ตาย
ถ้า ก ข อย่ากัน ก จะได้ทุน ๑๐๐ บาทคืน แล
ได้สมรส ๒๐๐ บาท รวมเปน ๓๐๐ บาท ข จะได้
ทุน ๑๐๐ บาท กับสมรส ๑๐๐ บาท รวมเปน ๒๐๐ บาท
เพราะฉนั้น ถ้า ก ตาย มรดกของ ก ก็คือ ๓๐๐ บาท.
เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้ใดมรณภาพ ความปกครองแลกรรมสิทธิ์ใน
มรดกนั้นย่อมเลื่อนไปอยู่ในมือบุคคลผู้อื่นคนเดียว
หรือหลายคนก็ดี เปนญาติ์หรือมิใช่ญาติ์ก็ดี บุคคล
ผู้อื่นนั้นอาจมีกรรมสิทธิ์ในมรดกของผู้ตายได้ด้วยเหตุ
๓ ประการ คือ
(๑)โดยได้รับส่วนแบ่ง
(๒)โดยได้เข้าปกครองแสดงตนเปนเจ้าของโดย
ลำพังมานาน.
(๓)โดยผู้ตายยกให้.
การแบ่งส่วน (๑)ในกฎหมายมรดก ปัณหาในส่วนอื่นไม่
สู้สำคัญแลยุ่งยากเท่าในส่วนที่จะแบ่งทรัพย์ออกเปน
ภาคเปนส่วนให้คนชนิดนั้นเท่านั้น ชนิดนี้เท่านี้
ศาลต้องพิจารณาดูประเภทผู้มรณภาพแลชนิด
บุคคลที่จะรับส่วนแบ่ง ด้วยกฎหมายบัญญัติวิธีแบ่ง
ไว้ต่างกัน.
รับฟ้อง ๒๑. การฟ้องขอให้ศาลแบ่งมรดกนั้น ตามธรรมดา
ต้องฟ้องภายใน ๑ ปีนับตั้งแต่มรณกาล (ดูหมวด
อายุความ) ถ้าญาติผู้ใดเปนผู้ที่ควรได้รับมรดก
ตามกฎหมาย แลญาติผู้นั้นได้ปกครองทรัพย์มรดก
มาโดยลำพังเกินกว่าปี ๑ ญาติอื่น ๆ ฟ้องขอให้
เรียกทรัพย์นั้นมาแบ่งไม่ได้ (ดูหมวดปกครอง) แต่
ถ้าญาติหลายคนได้ปกครองมรดกกองนั้นมาด้วยกัน
ฎีกา ๑๘๘/๑๑๘ มรดกนั้นเปนของกลางในระหว่างญาติที่ปกครองมา
อ. ขำ–น. โต. ด้วยกัน แลผู้ใดฝ่ายหนึ่งฟ้องขอให้ศาลเรียกมาแบ่ง
ได้ ถึงเดิน ๑ ปีแล้วก็ดี.
ฎีกา ๒๑๕/๑๒๘ เพราะฉนั้น การแบ่งมรดกเมื่อพ้น ๑ ปีแล้ว จึงเปน
อ. จู–น. บุตร์. ดังนี้ คือ (๑) สิ่งใดที่ยังปกครองอยู่ด้วยกัน แบ่ง
ได้ตามส่วนในกฎหมาย (๒) สิ่งใดที่ไม่ได้ปกครอง
ด้วยกัน ไม่ต้องแบ่ง.
(กฎหมายมรดกเปนกฎหมายเก่า ซึ่งได้ตรา
ขึ้นไว้ตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเอกาทศรส
ประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว ข้อบัญญัติในบางแห่ง เมื่อ
เทียบกับกาลสมัยแลขนบธรรมเนียมได้เปลี่ยนแปลงผิดกว่า
แต่ก่อนมาก เมื่อเอาข้อบัญญัตินั้น ๆ มาเทียบดูกับ
สมัยนี้ ก็กลับทำให้เห็นว่า ไม่เปนยุติธรรมแก่คู่ความ
เพราะฉนั้น ในคดีเรื่องใดที่ศาลเห็นว่า กฎหมายแบ่งมรดก
ฎีกา ๔๕๔/๑๒๑ ผิดความยุติธรรมมาก ก็โปรดเกล้าฯ ให้ศาลมีอำนาจ
อ. กัน–อ. แพ. นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระ
กฎ. ยุติ. ที่ ๑๑. บรมราชวินิจฉัยเปนพิเศษได้.)
มรดก ๔๕. อนึ่ง ในการแบ่งมรดกนั้น ไม่จำเปนต้องฟ้องขอให้
ศาลแบ่งเสมอไป บรรดาญาติที่จะได้รับมรดกด้วย
กันจะตกลงแบ่งปันมรดกกันเองก็ได้ แลเมื่อแบ่ง
ปันกันเสร็จแล้วไปแล้ว จะเรียกคืนมาแบ่งกัน
ใหม่ไม่ได้
ฎีกา ๓๗๑/๑๒๑ ส่วนการตกลงจะแบ่งปันกันนั้น ไม่จำเปนต้อง
อ. สุน–ขุนโภคา. ทำเปนลายลักษณอักษร สัญญากันด้วยปากเปล่า
ก็ฟ้องร้องกันได้ อีกประการหนึ่ง ส่วนที่ตกลงจะแบ่ง
กันนั้น ก็ไม่จำเปนต้องแบ่งตามส่วนในกฎหมาย
จะตกลงแบ่งกันอย่างไร ๆ ก็ได้ เว้นเสียแต่จะเปน
การเสียเปรียบกันเหลือเกินจนกระทำให้ศาลระแวงว่า
เปนสัญญาที่เกิดขึ้นโดยฝ่ายหนึ่งไม่มีความตกลง
อันบริสุทธิ์
ในการแบ่งมรดก นอกจากศาลจัดแบ่งให้ หรือ
ญาติตกลงจัดแบ่งกันเอง ผู้จัดการแบ่งมรดกอาจ
เปนผู้ที่ได้รับอำนาจจากผู้มรณภาพโดยตรงทีเดียว
ก็ได้ หรือโดยพวกญาติปรองดองกันมอบอำนาจ
ก็ได้ หรือถ้าญาติร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
ก็คงได้ การตั้งผู้จัดการแบ่งมรดก จะต้องตั้งโดย
วิธีใด กฎหมายไม่ชัด ในคดีพระยาบริรักษ์ โจทย์
ฎีกา/๕๘๖/๑๒๘ อำแดงกิมใช้ จำเลย ผู้ตายได้ตั้งผู้หนึ่งด้วยวาจาให้
พระยาบริรักษ์– เปนผู้จัดการแบ่งมรดกของตน แลผู้นั้นได้จัดการ
อ. กิมใช้. มรดกตามคำสั่งของผู้ตาย โดยผู้ที่จะได้รับมรดกไม่
ได้โต้แย้งมานาน ศาลฎีกาตัดสินว่า การที่ผู้จัดการ
แบ่งมรดกทำไปนั้นไม่ผิด
ปกครองมรดก (๒)มรดกที่ผู้ใดปกครองมา จะเปนสิทธิ์ได้เมื่อ
ไรนั้น จะได้อธิบายไว้ในหมวดปกครองมรดก
ให้มรดก (๓)ได้กล่าวมาแล้วว่า บุคคลอาจมีกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์มรดกโดยผู้มรณภาพยกให้ การให้มรดก
นี้ อย่าเข้าใจปนกันกับการยกทรัพย์ให้เปนสิทธิ์แก่ใคร
โดยเสนหาแต่ในเวลาที่ผู้ให้ยังมีชีวิตร์อยู่ การให้
มรดกนั้น หมายความว่า จะให้เปนสิทธิ์ต่อเมื่อผู้ให้
ตาย ในการให้ทรัพย์มรดกนั้น กฎหมายบังคับ
โดยเฉภาะว่า ต้องให้โดยทำพินัยกรรม์ จะให้
พินัยกรรม์ โดยวิธีอื่นไม่ได้ พุกป่วยหนัก คิดว่า ตนจะตาย
ได้ถวายลูกกุญแจตู้ทรัพย์ให้แก่พระลด โจทย์ แต่
พุกหาได้ตายในครั้งนั้นไม่ พุกหายป่วย ต่อมาอีก
๔ เดือนจึงตาย ในระหว่างเมื่อหายป่วยแล้วนั้น
ฎีกา ๖๘๓/๑๒๓ พุกก็ดี พระลดก็ดี หาได้แสดงให้เห็นว่า พระลด
พระลด–ขุนรักษา มีอำนาจในทรัพย์นั้นอย่างไรไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
"ทางที่พระลดจะมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สมบัติของ
พุกนั้น ก็มีแต่จะฟ้องเรียกเหมือนอย่างว่า เปนของยก
ให้โดยมีพินัยกรรม์เท่านั้น แต่เมื่อไม่มีพินัยกรรม์
ที่จะสืบ ดังนั้นแล้ว พระลดก็ไม่
มีอำนาจฟ้องได้"
ฎีกา ๕๕๙/๑๒๘ การอุทิศมรดกถวายวัดนั้น ต้องอุทิศโดยมีพินัยกรรม์
น. ท้วม น. ยา เหมือนกัน ถึงผู้รับเปนวัดก็ดี
ผู้ใดมรณภาพ ถ้าแลหาภรรยาแลญาติผู้ซึ่งควร
จะได้รับมรดกไม่ได้เสียเลยทีเดียว ทรัพย์มรดก
ไม่มีผู้รับ ทั้งหมดนั้น ให้ส่งเข้าท้องพระคลังหลวง เช่น ก. ตาย
มรดก ๔๘, ๑๔ บุตร์ภรรยา ก. เปนความมรดกกันในศาล ใน
ระหว่างพิจารณา บุตร์ภรรยา ก. ตายตามกันหมด
แลปรากฎว่า ตระกูลของ ก. เปนอันสาบสูญ เช่นนี้ ศาล
จะส่งทรัพย์มรดกทั้งหมดนั้นไว้เปนของหลวง