กฎ ๓๖ ข้อ[1]
ฯข้าฯ ลูกขุนณ สาลา เจ้าพญาษรศรี
เจ้าพญาชำนาญบริรักษ
พญากระลาโหม
พญาธรรมา
พญาพลเทพ ๑๖ คน ปฤกษา
พญาราชภักดี
พญายมราช
พระกำแหง
จหมืน[2] เสมอใจราช
สารหลวง พระราชครูพระครูพิเชฐ
พระจักระปานี
พระธรรมสาตร
พระเกษม
ขุนหลวงพระไกรสี
ขุนราชพินิจใจ
ขุนศรีธรรมราช
พร้อมกันว่า ครั้งสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกฎ
ไห้มี 
  • กฎรับสั่ง
  • กฎขนอน
  • ๔๐
๔๒ ครั้นสมเดจพระพุทธเจ้าหลวงในพระ
บรมโกฎครั้งนี้ ชำระเสีย 
  • กฎ
  • รับสั่ง
๖ ขอพระราชทานคงไว้
  • กฎ
  • รับสั่ง
  • ๒๒
  • ๑๔
๓๖ ข้อ แลคัดแต่ข้อใจความกราบทูลพระกรรุณา
ขอเดชะ
1
  อนึ่ง มีกฎให้ไว้ว่า ถ้าบ่าวไพร่ผู้ใดมีกิจ์ศุขทุกขประ
การใด แลร้องฟ้องให้กราบทูลพระกรรุณานั้น ถ้ามุนนายฝ่าย
ทหาร ให้เจรจาด้วยสมุหะพระกลาโหม ถ้าพลเรือน ให้เจรจาด้วย
สมุหะนายก แลเนื้อความเปนตระทรวงใด ให้ส่งตามตระทรวง
 กฎให้ไว้ณะวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๑๒ ปีฃาล โทศก
2
  อนึ่ง มีกฎข้อหนึ่งว่า ราษฎรทำหนังสือร้องฟ้องหาฅวาม
แก่กัน กระลาการเอาชี้ยังมิสำเรจ์ โจทจำเลยจะฟ้องออก
นอกสำนวรติงทุเลานั้น อย่าให้กระลาการผู้ใดรับพิจารณา
รับหนังสือฟ้องโจทจำเลยนั้นว่า
 กฎให้ไว้ณะวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๒๖ ปีมะโรง ฉ้อศก
3
  อนึ่ง จะหมื่นไววรนาถรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ
สั่งว่า ถ้ามะหาดเลกฃอเฝ้าข้าหลวงกรมใด ๆ ก็ดี จะมีรับสั่งเจ้า
กรมนั้นมาสั่งด้วยกิจเนื้อความแลกิจราชการสิ่งใด ๆ แก่ผู้อยู่
เวน 
  • ตำรวจใน
  • ตำรวจนอก
  • ชาววัง
  • มหาดไท
ถ้าแลผู้รับสั่งนั้นรู้จักหน้าก็ดี ให้พิจารณาดูใน
เนื้อความนั้นก่อน ถ้าเปนการเรว ให้จดหมายไว้ก่อน จึ่งให้
สั่งไป แล้วให้เอาเรื่องราวนั้นให้เจ้ากรมปลัดกรมกราบทูล
พระกรุรณาฯ ฉลอง
 รับสั่งให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๒๖ ปีมะโรง ฉ้อศก
4
 อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก่กระลาการว่า ถ้าโจทจำเลยนัดชี้สอง
สถาน แลผัดส่งคนทรัพยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าแลขาดนัดขาดผัด
ถึงสามครั้ง จึ่งให้กระลาการรับเอาถ้อยคำนั้นว่ากล่าว ถ้าแล
โจทจำเลยนัด 
  • ถาม
  • เดิรเผชิญ
  • ชี้ขาด
ครั้นถึงนัด ถ้ามาบอกนัดว่า ป่วยเจบประ
การใด ให้ผู้มาบอกนำไปชันณะสูดดู ถ้าสมดั่งมาบอกแล้ว
ให้ทุเลาไปใหม่ ถ้าทุเลาแล้วมิได้มา ให้เอาเนื้อความเปนแพ้
ตามพระอายการ
 กฎให้ไว้ณวัน ๑๕+ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๒๗ ปีมะเสง สัพศก
5
  อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก้ลูกขุนณะสานหลวงว่า ราษฎรผู้มี
อัถะคดีเปนความแก่กัน ย่อมท้วงติงทุเลานอกสำนวรเปน
กระเบียดกระเสียน พิภากษาให้ปรับเปนสีนไหมพิไนย ต้อง
ปรับนอกสำนวรได้ความยากแค้นนัก แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้า
โจทจำเลยท้วงติงทุเลาเปนแต่กระเบียดกระเสียน มิได้ตัด
สำนวรเปนแพ้เปนชะนะ อย่าเภ่อพิภากษาให้ปรับ ถ้าตัดสำ
นวรเปนแพ้เปนชะนะ จึ่งพิภากษาให้ปรับทีเดียว
 กฎให้ไว้ณวัน + ๑๑ ค่ำ จุละศักราช ๑๐๓๒ ปีจอ โทศก
6
 อนึ่ง มีกฎให้ไว้ว่า ราษฎรจะร้องฟ้องหาความแก่กัน
ณะโรงสานกรมใด ๆ ก็ดี แลโจทจำเลยนั้นอย่าให้ทำเปนอำ
ยวนเคลือบแอบแฝงเปนกลย่นย่อไว้ในข้อหา แลให้ผู้
พิจารณา ๆ ดูฟ้อง ถ้าแลเคลือบแฝงเปนกลอยู่ อย่าให้รับ
 อนึ่ง ถ้าฝ่ายจำเลยให้การเปนกลความ อย่าให้กระลา
การผู้พิจารณาเขียนเอาคำให้การ ถ้าแลกระลาการผู้พิจารณา
รับฟ้องแลเขียนเอาคำให้การซึ่งเปนกลนั้น ให้เอากระลาการ
ผู้พิจารณาแลโจทจำเลยซึ่งว่าเนื้อความเปนกลนั้นเปนโทษ
จงหนัก
 กฎให้ไว้ณวัน ๑๑ +  ค่ำ จุละศักราช ๑๐๓๓ ปีกุญ ตรีนิศก
7
  อนึ่ง พระมหามนตรีรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ สั่ง
ว่า ให้อาาไว้แก่ลูกขุนณสานหลวงว่า ถ้ากระลาการคุมเอา
ลูกความไปชี้แก่ลูกขุนณสานหลวง ถ้าลูกความติดใจกระลา
การ ให้มีคำขึ้นแก่ขุนราชพินิใจผู้เสนอ ให้รับเอาถ้อยคำนั้น
เสนอแก่ลูกขุน ถ้าติดใจลูกขุนว่า พิภากษาเนอความขาด
เหลือ ก็ให้ลูกความติงทุเลา ถ้าติงทุเลาชอบ ให้พิพากษาหา
ความชอบคืนสืบไป อย่าให้ลูกความทุ่งเถียงตอบโต้ลูกขุน
เปนอันหยาบช้า ถ้าแลตอบโต้ลูกขุนหยาบช้า ให้เอาไม้แป้น[3]
ตบปาก ถ้าลูกความหยาบช้าเปนอันมิดี ให้เอากระลาทังฃน
ตบปาก แล้วให้กระลาการเอาลูกความไว้ให้หมั้นคง แล[4] ให้
ลูกขุนเอาเนื้อความกราบทูลฯ จให้ลงพระราชอาาเฆี่ยร
จงหนัก แล้วให้ปรับไหมเอาตามโทษานุโทษนั้น
 รับสั่งให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๓๔ ปีชวด จัตวาศก
8
 อนึ่ง มีกฎให้ไว้ว่า สมเดจ์บรม[5] บพิตรพระพุทธิเจ้า
อยู่หัวเสดจ์ฯ ออกณะที่ใด ๆ ไซ้ ผู้จะเข้าเฝ้าทังปวงแลจะถือ
สมุดเข้าเฝ้านั้นแต่สมุหะนายกสมุหะพระกระลาโหมหลวงราช
นิกูลโหราธิบดี ถ้าจะเข้าเฝ้าด้วยกิจราชการหนังสือไปมา
แลกิจราชการถ้อยความสาระบาญชียก็ดี ให้พิจารณาแล
ถามด้วยกิจราชการสิ่งใด ๆ ก็ดี แลนำกราบทูลพระกรรุณา
ก็ดี ให้ถือแต่สมุดเข้าเฝ้า แลพญาพระหลวงนอกกว่านี้ ถ้า
มิได้ทรงพระกรรุณาไห้พิจารณาสาระบาญชียเนื้อความกิจราช
การแลมิได้นำกราบทูล อย่าให้ถือสมุดเข้าเฝ้า
 กฎให้ไว้ณวัน ๑๓+ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๓๔ ปีชวด จัตวาศก

9
  อนึ่ง สมุหะนายกรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ สั่งว่า
กระลาการโรงสานกรมใด ๆ ได้พิจารณาเนื้อความแพ่งนั้น อย่า
ให้ลูกความติดใจได้ ถ้าโจทจำเลยติดใจกระลาการ ให้ส่ง
สำนวรคู่ความไปให้กระลาการอื่นพิจารณาตามตระทรวงสืบไป
 รับสั่งให้ไว้ณวัน ๑๔+ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๓๕ ปีฉลู เบญศก
10
 ๑๐ ด้วยพระมหาเทพรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ สั่งว่า
ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๔๓ ปีรกา ตรีนิศก เพลาเช้า เสดจ์
ออกทอดพระเนตรแต่งตัวไม้วัดยม นายเดชมหาดเลกเอา
ฟ้องจีนก๋งซึ่งกล่าวโทษขุนพินิดใจนายทองอินเสมียรพิจารณา
เนื้อความมิได้สบดสาบาลตัวตามกฎรับสั่งนั้นกราบทูลพระ
กรรุณาฯ กล่าวโทษนายทองอินเสมียร จึ่งทรงพระกรรุณาฯ
สั่งว่า จะเชื่อฟ้องแลสบดมิได้แล้ว
 แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้าราษฎรผู้มีอัถคดีฟ้องให้กราบทูล
พระกรรุณาฯ แลทำฎีกาทูลเกล้าฯ ถวาย แลฟ้องร้องศาลา
ณโรงสานกรมใด ๆ ก็ดี อย่าให้กระลาการฝ่าย 
  • โจท
  • จำเลย
สบด
สาบาลเลย ถ้าทรงพระกรรุณาฯ สั่งจำเภาะ จึ่งให้กระลาการ
ฝ่าย 
  • โจท
  • จำเลย
สบดสาบาลตามรับสั่ง
 หมายมาณวัน ๑๒+ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๔๓ ปีระกา ตรีนีศก

11
 ๑๑ อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก่กระลาการผู้พิจารณาความ อย่า
ให้ลำเอียงเข้าด้วยฝ่ายโจทจำเลย[6] แลอำยวนความไว้ให้ช้า
ให้พิจารณาให้แล้วแต่ใน ๓ เดือน ถ้าพญาณอยู่ไกลทาง ๑๕
วันเดือนหนึ่ง ให้กฎหมายตามใกล้แลไกล อย่าให้ล่วงพ้นอายุ
ความตามระยะทาง 
  • ใกล้
  • ไกล
นั้นได้
 อนึ่ง โจทหาจำเลยแก้นั้น ให้ว่าแต่ตามจริง อย่าให้เอา
เท็ษมาหามาแก้ ถ้ามิทำตามพระราชกำหนดกฎหมาย จะเอา
ตัวเปนโทษ
 กฎให้ไว้ณวัน ๑๑+ ๑๑ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๔๘ ปีขาล
อัถฐศก
12
 ๑๒ อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก่ขุนอาาจักราชปลัดว่า ราษฎร
เปนกุลียุก มิใช่พี่ว่าพี่ มิใช่น้องว่าน้อง แลแอบอ้างว่าเปนญาติ
พี่น้อง เข้าหาความตางแก้ความตาง แต่งหนังสือร้องฟ้องให้
ราษฎรหาความแก่กัน แลคิดอ่านให้ถ้อยคำแก่ราษฎรนั้น
ให้พิจารณาสืบสาวเอาตัวให้ได้ จะเอาตัวเปนโทษส่งเข้าคุก
ส่งลงสำเภาส่งเปนหัวสิบช้าง ให้ขุนอาาจักราชปลัดทำตาม
 กฎให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๔๙ ปีเถาะ นพศก

13
 ๑๓ อนึ่ง ออกพระมหามนตรีรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ
สั่งว่า ให้กฎหมายไว้แก่ผู้พิจารณาทังปวง ถ้าแลมีรับสั่งให้
ลงพระราชอาาตีถามเฆี่ยน[7] ถามจเอาเนื้อความ ถ้าผู้ต้อง
รับพระราชอาชานั้นหลังยังมิเคยรับพระราชอาา แต่มีรับสั่ง
ให้ตีจงหนักหนา ให้ตีแต่ ๒๐ ที ถ้าให้เฆี่ยนจงหนักหนา ให้เฆี่ยร
แต่ ๓๐ ที ถ้าผู้ต้องรับพระราชอาานั้นเคยรับพระราชอา
อยู่แล้ว จึ่งให้ครบตามทำเนียม 
  • เฆี่ยน[7] ถาม
  • ตีถาม
แต่ก่อน
 รับสั่งให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๕๕ ปีวอก
จัตวาศก
14
 ๑๔ อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก่กระลาการทังปวงว่า ราษฎรผู้มี
คดีเหนว่า เนื้อความเพลียงพลำลง ย่อมฟ้องหากล่าวโทษกระลา
การ แลเบิกคู่ความไปถึง 
สาน ให้เสียค่าฤทชาทุกสาน
พญาบาดผู้ว่าเนื้อความช้าอยู่เปนหลายเดือนหลายปี เพราะ
กระลาการมิได้พิจารณาตัดสีนเนื้อความให้ขาด จึ่งผันแปร
เนื้อ[8] ความยืดยาวมิรู้แล้ว ถ้าเนื้อความเหนจะแพ้แล้ว จะ
หาอาาอุธรแก่กระลาการ ให้กระลาการใหม่พิจารณา อย่า
เพ่อเบิกให้ลูกความไปจากกระลาการเก่าก่อน ให้เอาแต่กระ
ลาการซึ่งต้องอาาอุธรไปพิจารณาก่อน ถ้ากระลาการมิได้
แพ้แก่อาาอุธร ก็ให้ส่งตัวโจทนั้นไปให้กระลาการเก่า ให้
เอาความเดิมนั้นเปนแพ้ด้วย ถ้ากระลาการแพ้แก่โจทใน
องคอุธร ให้ยกสำนวรเก่านั้นเสีย ให้เอาฟ้องเก่านั้นพิจารณา
ตามเรื่องราวฟ้องเก่านั้นสืบไป อย่าให้กลับโจทเปนจำเลย
 กฎให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๖๔ ปีมเมีย
จัตวาศก
15
 ๑๕ อนึ่ง กฎให้ไว้ว่า ให้ 
  • พระเกษม
  • ขุนหลวงพระไกรศรี
เอาพระอายะ
การใส่หีบลั่นกุนแจมอบไว้ณสานหลวง อย่าให้เอาไปบ้าน ถ้า
จะปรับเนื้อความ ให้ปรับต่อหน้าลูกขุน ถ้าผิดแลชอบประ
การใด ให้ลูกขุนช่วยติเตียนให้ต้องด้วยข้อรวาง อนึ่ง อย่าให้
ปรับเนื้อความค้างช้าไว้ ให้ปรับให้แล้วแต่ใน ๓ วัน
 กฎให้ไว้ณวัน ๑๕ +  ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๑ ปีฉลู เอกศก
16
 ๑๖ อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก่ผู้พิจารณาทังปวง ถ้ามีตราเบิกคู่
ความ แลความยังมีสำเรจ์ก่อน อย่าให้เบีกคู่ความนั้นไป เมื่อ
ใดมีราชการณรงสงคราม แลให้เบิกไปโดยเสดจ์ ๆ จึ่งให้เบิกไป
 กฎให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๑ ปีฉลู เอกศก

17
 ๑๗ อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก่กระลาการทังปวง ถ้าราษฎรจะ
ร้องฟ้องหาความแก่กันด้วยเนื้อความสิ่งใด ๆ ถ้าแลลูกความ
เหนเนื้อความฃองตัวนั้นพิรุทจะแพ้แลยอมแก่กันก็ดี กระ
ลาการพิจารณาถึงชี้สำนวรขาดก็ดี ถึงใบสัจปรับมาแล้วก็ดี
ถ้าจะหาอาาแก่กระลาการ ให้กระลาการเก่าเรียกเอา
สินไหมพิไนยก่อน จึ่งให้ส่ง ถ้าผู้ไปเบิกมิฟัง จเอาไปให้ได้
ให้จับเอาตัวผู้ไปเบิกนั้นไปว่าแก่ลูกขุนณะสานหลวงให้บัง
คับบันชา
 กฎให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๑ ปีฉลู เอกศก
18
 ๑๗ อนึ่ง หลวงจ่าแสนญากอนรับพระบันทูลใส่เกล้าฯ
สั่งว่า ถ้ามีผู้ร้องฟ้องณโรงสานกรมใด ๆ ให้มีโฉนฎฎีกาหมาย
ให้มุนนายแลนายบ้านายอำเพอส่ง ๆ ได้แต่คน 
คน ยังมิ
ได้นายประกันยังมิได้ถาม ถ้าแลผู้ต้องอัถคดีนั้นไปทำฎีกา
ทูลเกล้าฯ ถวาย แลร้องฟ้องณะโรงสานกรมใด ๆ จะแก้เนื้อ
ความซึ่งเขาฟ้องไว้ยังมิได้แก้กันนั้น อย่าให้รับเอาหนังสือฟ้อง
ไว้พิจารณา ถ้าถวายฎีกาไซ้ ให้สับสามเสี่ยง แล้วให้คืนใบ
ฎีกาแลตัวให้แก่นาย ถ้าร้องฟ้องกรมใด ๆ ให้เอาว่าลูกขุน
ณสานหลวง ให้ปรับไหมเอาตัวเปนโทษตามพระอายการ
 รับสั่งให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๑ ปีฉลู เอกศก

19
 ๑๙ อนึ่ง หลวงราชนิกุลรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ สั่ง
ว่า กระลาการผู้ได้ว่าเนื้อความทังปวงนั้น ให้เกาะโจทจำเลย
ให้เร่งว่าเนื้อความนั้นกว่าจะแล้ว
 กฎให้ไว้ณวัน ๑๕+ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๒ ปีขาล โทศก
20
 ๒๐ อนึ่ง มีกฎให้ไว้ว่า บ่าวไพร่ในหมู่ย่อมโจทตัวออก
ไปต่างหมู่ ครั้นเจ้าหมู่ผู้พิจารณาเกาะมาพิจารณา ย่อมไปฟ้อง
หากล่าวโทษผู้พิจารณาแลมุนนายนั้น อย่าให้กระลาการเรียก
ค่าฤทชาแก่ผู้ให้พิจารณาแลเจ้าหมู่
 อนึ่ง ราษฎรร้องฟ้องหาความแก่กันด้วยเนื้อความสิ่งใด ๆ
แลลูกความเหนความข้างตัวนั้นพิรุท แลกลับทำฎีกาทูล
เกล้าฯ ถวายกล่าวโทษหาอาาอุธรกระลาการ 
ข้อ ถ้า
โจทแพ้แก่กระลาการแต่ข้อหนึ่งไซ้ เนื้อความซึ่งหาอา
อุธร 
ข้อ แลเนื้อความเดิมนั้นให้เอาเปนแพ้ด้วยจงสิ้น
ถ้าเปนเนื้อความหลวง ให้ขับเฆี่ยรโจทผู้แพ้นั้นจงหนัก ให้ริบ
ราชบาด เอาตัวเข้าคุก ถ้าเนื้อความราษฎรหาแก่กัน ให้ปรับ
ไหมเอาตามบันดาศักดิตามพระอายการให้ใช้ทุนผู้ชนะ ถ้า
กระลาการแพ้แก่อุธร ถ้าเปนเนื้อความหลวง ให้ขับเฆี่ยรโบย
ตีเอาตัวเอนโทษ ถ้าเนื้อความราษฎรหาแก่กัน ให้ปรับไหม
ตามบันดาศักดิ แล้วให้ใช้ทุนผู้ชนะ แลคู่เบีกนั้นให้ส่งไปแก่
กระลาการอื่นให้พิจารณา ถ้าหากันติดพันพระราชทรัพยเปน
หลวง ให้คัดเนื้อความกราบทูลพระกรรุณา
 อนึ่ง ถ้าราษฎรฟ้องร้องหาความแก่กันด้วยเนื้อความสิ่ง
ใด[9] ๆ กระลาการยังไปได้ถามต่อกัน ฝ่ายข้างจำเลย
ไปฟ้องร้องเหนือฟ้องโจท อย่าให้กระลาการเอาเนื้อความใน
ฟ้องจำเลยถามโจทกลับเปนจำเลย แลให้กระลาการเอาเรื่อง
เนื้อความโจทฟ้องก่อนนั้นแต่งรวางไป ให้ปรับจำเลยซึ่งยัง
มิได้แก้ฟ้องก่อนกลับมาฟ้องเมื่อภายหลังเหนือฟ้องนั้น ถ้า
ปรับมาเปนประการใด ให้กระลาการทำตามกฎ
 กฎ[10] ให้ไว้ณวัน ๑๐ +  ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๓ ปีเถาะ ตรีนิศก
21
 ๒๑ อนึ่ง มีกฎให้ไว้ว่า ด้วยใช้ผู้ถือตราไปเอาคู่ความ
ณะหัวเมืองแลแขวงจังหวัดนั้น ให้เอาค่าเชีงเดีร   ถ้าไปถึง
 
เมืองอิน เมืองพรหม เมืองสิงฆ เมืองนน เมืองทน เมืองนครไช
ศรี เมืองนครนายก เมืองสุพัน เมืองประจิม ให้เอาค่าเชิงเดิร  
 
ถ้าไปถึงเมืองไชนาถ เมืองสรรค[11] เมืองเพชบุรีย เมืองฉเทิรงเทรา
ให้เอาค่าเชิงเดิร   ถ้าไปถึงเมืองนครสวรรค เมืองนครราชสีมา
 
เมืองพิจิตร เมืองกุย เมืองปราน เมืองจันทบูน เมืองกาญบุรีย
เมืองศรีสวัด ให้เอาค่าเชิงเดิร   ถ้าไปถึงเมืองพิศนุโลก
เมืองกำแพงเพ เมืองพิไชย เมืองสังคโลก เมืองตนาว เมืองนคร
เมืองพัตลุง ให้เอาค่าเชิงเดิร ค่าเบี้ยเลี้ยง แลครั้น
 
กรมการส่งจำเลยให้แก่ผู้ถือตรา ถ้าความรับสั่ง ให้ผู้ถือตรา
เอาค่าลดจำแต่ ถ้าฟ้องโรงสาน ให้ผู้ถือตราเอาค่าลด
 
จำแต่ อย่าให้เรียกเอาล้ำเหลือนอกกว่านั้น
 
 กฎให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๕ ปีมะเสง เบญศก
22
 ๒๒ อนึ่ง ออกหลวงมหามนตรีรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ
สั่งว่า ผู้ใดจะร้องฟ้องด้วยเนื้อความสิ่งใด ๆ ให้ร้องฟ้องแก่
มุนนายอนาพญาบาลตามกระทรวงก่อน ถ้ามุนนายอนา
พญาบาลมิรับทุระ จึ่งให้ฟ้องแก่ลูกขุนณศาลา ถ้าลูกขุน
ณศาลามิรับ จึ่งให้ทำฎีกาทูลเกล้าทูลกระหม่อม[12] ถวาย
 รับสั่งให้ไว้ณวัน ๑๒+ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๕ ปีมะเมีย
ฉ้อศก
23
 ๒๓ อนึ่ง พระณหัวเจ้าท่านโกษาธิบดีรับพระราชโองการ
ใส่เกล้าฯ สั่งว่า ถ้าราษฎรหมู่ใดกรมใด ๆ จร้องฟ้อง
ศุขทุกขสิ่งใด ๆ ให้ขุนโรงขุนสานทังปวงพิจารณาดูในหนังสือ
ฟ้องนั้นให้หมั้นคง ถ้าเหนในหนังสือฟ้องนั้นผูกพันเอาความ
มิจริงมากล่าวโทษเขา แลมิได้เปนตระทรวงของตัวได้ว่า
อย่าให้รับพิจารณา ถ้าเปนตระทรวงของตัว จึ่งให้รับเอา
พิจารณา ถ้าเหนแก่ค่าฤทชารับเอาเนื้อความซึ่งมิได้เปน
ตรทรวงของตัวมาพิจารณา จะเอาเปนโทษตามพระอายการ
 รับสั่งให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๖ ปีมะเมีย ฉ้อศก
24
 ๒๔ อนึ่ง ออกยาธรรมารับพระราชโองการใส่เกล้าฯ สั่ง
ว่า ให้ขุนโรงขุนสานทังปวงถามความ ให้ถามเปนสองสถาน
อย่าให้ถามเปนสี่สถาน เนื้อความจะยืดยาวไป ให้ถาม
เหมือนชาววังตำรวจ์ใน
 รับสั่งให้ไว้[13] ณวัน ๑๕ +  ค่ำ จุลศักราช ๑๐๘๐ ปีจอ
สำเรจ์ธิศก
25
 ๒๕ อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก่กระลาการทังปวง แลในกฎนั้น
เรื่องราวสำเนากฎต้องด้วยกฎ ซึ่งอาาอุธรกระลาการเก่า
ใหม่นั้นแล้ว แต่ออกเนื้อความข้อหนึ่งว่า ถ้าลูกความติดใจ ทำ
ฎีกาทูลเกล้าทูลกระหม่อม[14] ถวายกล่าวโทษกระลาการ แล
ทรงพระกรรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เอากระลาการเก่า
มาพิจารณา ถ้าแลกระลาการเปนขุนโรงขุนสาน ก็ให้คัดเอา
สำนวรเก่าส่งให้เจ้ากรมปลัดกรมกราบทูลพระกรรุณาให้แจ้ง
ก่อน ถ้ากระลาการเก่าเปนเจ้าพญาแลพญาพระหลวงขุนหมื่น
ผู้มีบันดาศักดิข้าทูลอองทุลีพระบาท ก็ให้เอาสำนวรเก่า
กราบทูลพระกรรุณาให้แจ้ง ถ้าทรงพระกรรุณาให้กระลาการ
ใหม่เอากระลาการเก่ามาพิจารณา จึ่งให้ทำตามรับสั่ง
 กฎให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๘๒ ปีชวด โทศก
26
 ๒๖ อนึ่ง มีกฎให้ไว้ว่า ถ้ามีหนังสือปิตราเจ้าพญาจักรี
พญามหาเสนา พญาธรรมา พญาพลเทพ พญาพระคลัง พญา
ยมมราช ไปถึงผู้รักษาเมืองผู้รั้ง[15] กรมการเมืองใด ๆ ตามข้อ
ความ ถ้ามีสารตราให้มาแก่กรมการ แลผู้ถือตรากับกรมการ
ผู้รับตราย่อมคิดอ่านเปนใจด้วยกันฉลายท้องตราแลชื่อคน
เรือนเงีนก็มี ถ้าแลจะมีตรากรมใด ๆ จะไปถึงกรมการด้วย
ให้ส่งคนแลของมรดกเรียกเงีนเปนหลวงก็ดี ให้มีตราแจ้ง
ตราลับ ๆ นั้นให้ตตราประจำชื่อคนเรือนเงีนแล้ว ให้ใส่กลักมี
สายเชือกพอกครั่ง[16] ติดโอบรอบกลักปิตราประจำครั่ง แล
ให้ผู้รับตราเอาตราลับตราแจ้งทานกันดู ถ้าชื่อคนเรือนเงีน
ต้องกัน จึ่งให้ทำตาม ถ้ามิต้องกัน ก็ให้บอกหนังสือส่งตัว
ผู้ถือตราเข้ามายังลูกขุนณศาลา

หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/83หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/84หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/85หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/86หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/87หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/88หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/89หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/90หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/91หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/92หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/93หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/94หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/95หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/96หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/97หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/98หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/99หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/100หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/101หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/102หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/103หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/104หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/105หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/106หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/107หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/108หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/109หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/110หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/111หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/112หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/113หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/114หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/115หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/116

จะให้ทาษชะเลยเสียค่าตัวเหมือนลูก 
  • ทาษ
  • ครอก
นั้นหาควรไม่ จึ่ง
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า
 แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ผู้ได้ทาษชะเลยมาขายทาษไปให้
มีค่าตัวแล้วมันมิสมักอยู่ ก็ให้ส่งเงินตามค่าตัว ถ้ายังหา
ค่าตัวมิได้ จะส่งเงีนแก่ผู้ได้มานั้นให้ทวีขึ้น ชายสกันค่า ๑๖  
 
หญิงสกันค่า ๑๔   ที่[17] อายุศมเดกแลแก่นั้น ให้ลดตามหลั่น
 
เทียบกระเสียนอายุศมพระไอยการเดิม เหตุว่าผู้ได้มานั้น
ได้ด้วยยาก ถ้าหญิงทาษชะเลยนั้นเกิดลูก 
  • ชาย
  • หญิง
ณกรุงแล้ว
ถ้ามันจะส่งเงินไป อย่าให้คิดเอาค่าตัวลูกมันเปนทวีคูนเลย ให้
คิดเอาค่าตัวลูกมันตามกระเสียนอายุศมบทพระไอยการเดิม
 อนึ่ง ผู้ได้ชะเลยมานั้น ยกชะเลยให้ไปแก่ผู้อื่น แล
แลกเปลี่ยนกันไปกับทาษมิได้เปนชะเลยก็ดี แลผู้ใด้ชะเลย
มานั้นตาย ยังแต่บุตรภรรยาญาติพี่น้องได้ทาษชะเลยเปน
มรฎกไว้ก็ดี ถ้ามันมิสมักอยู่ ให้คิดเอาค่าตัวตามกระเสียน
อายุศมโดยบทพระไอยะการเดิม

  1. พิมพ์ตามฉะบับหลวง L19 ยังเเหลืออีกฉะบับหนึ่ง คือ L19x (ก)
  2. ต้นฉะบับ: จหมืน แก้ตาม ก
  3. ก: แปน
  4. ต้นฉะบับ: แลเ แก้ตาม ก
  5. ก: คำว่า บรม ขาดไป
  6. ก: ฝ่าย  โจท
    จำเลย
  7. 7.0 7.1 ต้นฉะบับ: เฆียน แก้ตาม ก
  8. ต้นฉะบับ: เนือ แก้ตาม ก
  9. ต้นฉะบับ: สิ่งได้ แก้ตาม ก
  10. ในต้นฉะบับ คำว่า กฎ ไม่เขียนซ้ำ ใช้เครื่องหมายยมกแทน
  11. ก: สรร
  12. ทั้งสองฉะบับเขียน กระหมอม
  13. ต้นฉะบับ: ไว
  14. ทั้งสองฉะบับเขียน กระหมอม
  15. ทั้งสองฉะบับเขียน รัง
  16. ต้นฉะบับ: คร้ง
  17. ต้นฉะบับ: คำว่า ที่ ลบเสีย เพิ่มตาม ก