คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขแดงที่ อ. 1606/2559
(อุทธรณ์)
คดีหมายเลขดำที่ อ. ๔๕/๒๕๕๕
คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๑๖๐๖/๒๕๕๙ |
วันที่ ๒ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
ระหว่าง |
นางสาวฌลา ชิดชู | ผู้ฟ้องคดี | |
ผู้อำนวยการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ที่ ๑ | |||
รองผู้อำนวยการฝ่ายปกครองโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ที่ ๒ | |||
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ๓ | ผู้ถูกฟ้องคดี | ||
เรื่อง | คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย (อุทธรณ์คำพิพากษา) |
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ๗๐/๒๕๕๒ หมายเลขแดงที่ ๒๔๔/๒๕๕๔ ของศาปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองสงขลา)
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นนักเรียนประจำของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นข้าราชการครู ตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายดูแลกิจการหอพักของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด และความปลอดภัยของหอพักได้กระทำการนอกเหนือหน้าที่โดยอนุญาตให้นางสาวปรียาพร ทองไซร้ กับพวกรวม ๕ คน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิใช่นักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เข้าพักอาศัยที่หอพักของโรงเรียน เป็นเหตุให้นางสาวปรียาพร กับพวกลักลอบนำของมึนเมาเข้ามาดื่มกินในหอพัก โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้รู้เห็นว่าสิ่งของที่นางสาวปรียาพร กับพวก กำลังดื่มอยู่เป็นของมึนเมาและผู้ฟ้องคดีมิได้มีเจตนาร่วมวงดื่มกินของมึนเมากับบุคคลดังกล่าว เพียงแค่ต้องการเข้าไปพูดคุยถึงทุกข์สุขความเป็นอยู่ เนื่องจากเป็นเพื่อนเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยกัน เมื่อผู้ฟ้องคดีเข้าไปนั่งคุยกับกลุ่มของนางสาวปรียาพรได้ไม่นาน นางสาวจรี ใจตรง ครูประจำหอพักได้เข้ามาตรวจความเรียบร้อยและบังคับให้ผู้ฟ้องคดีเขียนบันทึกรับสารภาพว่า ได้ร่วมดื่มกินสุราในหอพัก ต่อมา เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๑ นางสาวจรีได้นำบันทึกรับสารภาพของผู้ฟ้องคดีส่งไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน และแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบว่าค้นพบหลักฐานเป็นขวดสุราตั้งอยู่ที่อ่างน้ำ หลังจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้รายงานให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับทราบและพิจารณาลงโทษผู้ฟ้องคดี ต่อมา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือเชิญผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีให้ไปพบผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ แต่นางอารีย์ ชิดชู ผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีได้ไปพบผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ทันทีในวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ และในวันดังกล่าวผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แจ้งให้นางอารีย์ทราบด้วยวาจาว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำผิดกฎระเบียบโรงเรียนว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโดยร่วมกระทำผิดกับพวกด้วยการนำสุราขึ้นมาดื่มบนหอพัก ทางโรงเรียนโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต้องลงโทศให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพัก ทั้งแจ้งด้วยว่าเมื่อต้องออกจากห้องพัก ก็ต้องออกจากโรงเรียนไปด้วย เนื่องจากผู้ฟ้องคดีเป็นนักเรียนต่างจังหวัด ต้องเป็นนักเรียนประจำพักที่หอพักของโรงเรียนเท่านั้น เมื่อถูกลงโทษให้ออกจากหอพักก็เท่ากับขาดคุณสมบัติการเป็นนักเรียน ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ นางอารีย์ได้ไปที่โรงเรียนตามที่นัดหมายอีกครั้งแต่ไม่พบผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ลงโทศให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพัก หลังจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้ผู้ฟ้องคดีทราบว่า ผู้ฟ้องคดีได้กระทำผิดกฎระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียน และคุณสมบัติการเป็นนักเรียนของโรงเรียน จึงให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียน ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งลงโทษของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ กำหนดโทษที่จะลงโทศนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำผิดไว้ ๔ สถานเท่านั้น คือ ๑. ว่ากล่าวตักเตือน ๒. ทำทัณฑ์บน ๓. ตัดคะแนนความประพฤติ ๔. ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพักจึงเป็นการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวและระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการเสริมแรงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ อีกทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ด้วย นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยังได้พูดประจานผู้ฟ้องคดีในที่ประชุมนักเรียนหอพักและที่ประชุมนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ และให้นักเรียนนำเรื่องของผู้ฟ้องคดีไปแจ้งให้ผู้ปกครองนักเรียนทุกคนทราบด้วย ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดังกล่าวข้างต้นทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายแก่สิทธิเสรีภาพในการเลือกสถานศึกษา ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปหาสถานศึกษาใหม่ ซื้อชุดนักเรียนใหม่ อุปกรณ์การเรียนใหม่ และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเรียนกวดวิชาที่สถาบันกวดวิชาที่กรุงเทพมหานคร อันเป็นการทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น
ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนี้
๑. เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง
๒. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
๓. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ร่วมกันชดใช้ค่าธรรมเนียมศาลแทนผู้ฟ้องคดีผู้ฟ้องคดีชี้แจงเพิ่มเติมตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้เชิญผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีไปพบและแจ้งด้วยวาจาว่า ต้องให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพักและเตรียมหาโรงเรียนใหม่ พร้อมทั้งให้ทำทัณฑ์บนไว้ ผู้ฟ้องคดีจึงได้อุทธรณ์เรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง โดยคณะกรรมการสถานศึกษาฯ มีมติว่า ไม่ได้เป็นอำนาจของคณะกรรมการการศึกษาฯ ให้โรงเรียนดำเนินตามกฎ ระเบียบ และอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียน ซึ่งถือเป็นการแจ้งผลการอุทธรณ์การลงโทษ ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถอุทธรณ์ซ้ำในเรื่องดังกล่าวได้อีก
ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา แต่ในข้อหาที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน นั้น ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในส่วนที่ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไว้พิจารณา เนื่องจากต้องห้ามตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้เรียกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามาเป็นคู่กรณีในฐานะผู้ร้องสอดในข้อหานี้ โดยกำหนดให้เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีอำนาจหน้าที่ในการรับนักเรียนเข้าเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) และมีอำนาจในการสั่งให้นักเรียนหอพักหรือนักเรียนประจำให้พ้นจากสถานภาพนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ได้โดยระเบียบและกฎหมายที่ใช้ในการสั่งการ คือ (๑) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทศนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นระเบียบในการพิจารณาลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาในโรงเรียนหรือในสถานศึกษาทั่วๆ ไป อันเกี่ยวกับการกระทำความผิดและสถานภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา (๒) ระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นระเบียบในการพิจารณาสั่งการเกี่ยวกับสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ซึ่งกรณีของผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและกระบวนการตามระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๔๙ กล่าวคือ เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลาประมาณ ๒๓ นาฬิกา ครูประจำหอพักได้ยินเสียงที่ชั้น ๒ ปีก ๒ ดังกว่าปกติ โดยทราบมาก่อนแล้วว่ามีนักเรียนศิษย์เก่ามาพักจึงขึ้นไปดูที่ชั้น ๓/๒ ครูประจำหอพักในคืนนั้น คือ ครูจรี ใจตรง และครูสุภาวดี ชูเพ็ง ได้พบผู้ฟ้องคดีอยู่ในบริเวณที่นักเรียนตั้งวงดื่มสุรา มีแก้วสุรา ขนมขบเคี้ยว ลังโฟมใส่น้ำแข็ง ครูหอพักจึงนำหลักฐานเก็บไว้และให้นักเรียนทุกคนที่เกี่ยวข้องเขียนบันทึกเหตุการณ์ ผู้ฟ้องคดีได้เขียนบันทึกในวันเดียวกันนั้น รับว่าได้กระทำผิดระเบียบหอพักโดยการดื่มสุราบนหอพักในเวลา ๒๓ นาฬิกา และอาจารย์จรีมาพบเหตุการณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงนำขวดน้ำเปล่าซึ่งมีสุราในปริมาณที่น้อยขว้างทิ้งไปทาทงระเบียบซึ่งเป็นการผิดระเบียบของหอพัก และได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้กระทำผิด ต่อมา เมื่อวันที่ ๓ ธันวาตม ๒๕๕๑ ครูหอพักได้นำหลักฐานทั้งหมดและนักเรียนที่เกี่ยวข้อง คือ นักเรียนโรงเรียน มอ. วิทยานุสรณ์ ๔ คน นางสาววานิษา บัวแย้ม และผู้ฟ้องคดี มาพบผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และครูประจำหอพัก โดยได้ร่วมกันซักถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ฟ้องคดี นางสาววานิษา และนางสาวปรียาพร ทองไซร้ ทั้งสามคนไม่มีใครปฏิเสธการกระทำผิดของตนเอง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงอบรมและมอบหมายให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พร้อมครูหอพักดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ทำหนังสือลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ แจ้งพฤติกรรมของผู้ฟ้องคดีต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่าเดิมผู้ฟ้องคดีเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๓ โดยคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ แต่คณะกรรมการพิจารณามีมติให้เข้าเรียนตามโควตา โดยให้ผู้ปกครองมาทำทัณฑ์บนไว้ ผู้มาทำทัณฑ์บนไว้เป็นย่าของผู้ฟ้องคดี และเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๐ ทำผิดระเบียบหอพักด้วยการลงหอสายไม่ตรงเวลา ซอยผม ได้ทำทัณฑ์บนไว้ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ นำเครื่องใช้ไฟฟ้ามาประกอบอาหารบนหอพัก ได้แจ้งให้ผู้ปกครองทราบและทำทัณฑ์บนไว้ วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ให้ผู้ปกครองทำทัณฑ์บนไว้ ฐานต่อลำโพงและเปิดเครื่อง MP๓ เต้นรำบนหอพัก และความผิดอื่นๆ อีก เช่น ใส่ตุ้มหูและสร้อยคอ ต่อมาครั้งหลังสุดได้นำสุรามาดื่มในหอพัก ซึ่งถือเป็นการประพฤติผิดระเบียบหอพักและระเบียบโรงเรียนอย่างร้ายแรง เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีสำหรับนักเรียนคนอื่นๆ และเป็นการทำลายชื่อเสียงของโรงเรียน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒/ว ๙๔๗ ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ เชิญผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีให้มาพบในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ ต่อมา คณะกรรรมการฝ่ายกิจการหอพักโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับมอบหมายจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้เป็นประธานที่ประชุมพิจารณาเกี่ยวกับการกระทำผิดของผู้ฟ้องคดีและนางสาววานิศา คณะกรรมการหอพักได้ประชุมเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๒ มีมติร่วมกันให้ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนทั้งสองคนมารับทราบพฤติกรรมของนักเรียนและให้ผู้ปกครองนำนักเรียนไปเป็นนักเรีนยประเภทไปกลับ เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการอบรม ดูแล กำกับติดตามพฤติกรรมของนักเรียน อีกทั้งจะได้ไม่เป็นแบบอย่างแก่นักเรียนคนอื่นๆ ซึ่งเป็นนักเรียนประจำอีกจำนวนมาก แม้ผู้ฟ้องคดีจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ แต่ในขณะนั้นผู้ฟ้องคดียังเป็นนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ประเภทนักเรียนประจำหอพัก เพียงแต่การให้รับทราบถึงการกระทำความผิดระเบียบหอพัก เป็นการแจ้งด้วยวาจาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้ผู้ฟ้องคดีและผู้ปกครองทราบเท่านั้น ไม่ใช่เป็นคำสั่งอย่างเป็นทางการ ผู้ฟ้องคดีและผู้ปกครองร้อนใจไปเอง จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาได้ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีแล้วมีมติว่า การพิจารณาเรื่องผู้ฟ้องคดีทำผิดระเบียบหอพักไม่ได้เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา จึงให้โรงเรียนดำเนินการตามกฎระเบียบและอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาต่อไป สำหรับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อได้รับทราบมติของคณะกรรมการบริหารหอพัก ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๒ ที่ให้ผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีนำนักเรียนไปเป็นนักเรียนประเภทไปกลับแล้ว ได้มีหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ แจ้งผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีอย่างเป็นทางการว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำผิดระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียน และคุณสมบัติการเป็นนักเรียนของโรงเรียน จึงให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ผู้ฟ้องคดีและผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีรับทราบและได้ศึกษาที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ในฐานะนักเรียนประเภทไปกลับต่อไปจนถึงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ หลังจากนั้น ผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีโดยนางอารีย์ ชิดชูได้ยื่นคำร้องขอระเบียนผลการเรียนและขอย้ายสถานศึกษาของผู้ฟ้องคดีด้วยความสมัครใจ เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนทุกฝ่ายรวมทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้พิจารณาอนุญาต สถานภาพการเป็นนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ของผู้ฟ้องคดีจึงสิ้นสุดลง ผู้ฟ้องคดีมีพฤติกรรมที่กระทำผิดระเบียบโรงเรียนและระเบียบหอพักหลายครั้ง การกระทำผิดของผู้ฟ้องคดีเป็นความผิดร้ายแรง ผิดระเบียบของโรงเียนและผิดระเบียบของหอพัก หมวด ๒ ส่วนที่ ๒ เกี่ยวกับการกระทำความผิด ข้อ ๖๗ จึงต้องลงโทษตามส่วนที่ ๔ ข้อ ๗๕ ประกอบข้อ ๗๘ ซึ่งกำหนดให้ดุลพินิจของคณะกรรมการฝ่ายกิจกรรมหอพักหรือรองผู้อำนวยการฝ่ายรับผิดชอบกิจการหอพัก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) โดยมีขั้นตอนในการพิจารณา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายกิจการหอพัก มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นประธาน ได้ทำการประชุมและเปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีแสดงเหตุผล และมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมด้วย ซึ่งการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นการกระทำผิดตามกฎระเบียบของโรงเรียนและกฎระเบียบของหอพัก ไม่ขัดกับกฎกระทรวงศึกษาธิการ คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบ อีกทั้ง ผู้ฟ้องคดีโดยผู้ปกครองได้ขอย้ายสถานศึกษาและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้อนุญาตแล้ว การเพิกถอนคำสั่งหรือไม่นั้น ไม่ก่อให้เกิดผลดีผลเสียใดๆ แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีฟ้องคดีนี้โดยมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อสำนักงานเขตพื้นที่การสึกษาตรัง เขต ๑ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจควบคุมกำกับการกระทำใดๆ ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองตามระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๔๙ หมวดที่ ๕ ส่วนที่ ๔ ข้อ ๘๐ ประกบอพระราชบัญญัติวิํีปฏิบัติราชการปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีอำนาจฟ้อง และผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องคดีในขณะที่ผู้ฟ้องคดีมีอายุเพียง ๑๖ ปีเศษ จึงไม่มีอำนาจโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่จำเป็นต้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
ขอให้ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องของผู้ฟ้องคดี
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า นายรัฐศาสตร์ ชิดชู บิดาของผู้ฟ้องคดีได้ทำหนังสือมอบอำนาจ ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ มอบอำนาจให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ หรือผู้ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มอบหมายในการจัดการเกี่ยวกับนักเรียนในขณะที่ประจำในโรงเรียนให้ลุล่วงไป เพื่อความปลอดภัยและรักษาไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยไม่ถือว่าการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ หรือผู้ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มอบหมายเป็นการละเมิดต่ตออำนาจปกครองของผู้มอบอำนาจในเรื่องความประพฤติ มีอำนาจที่จะให้การอบรมแก่นักเรียนทุกคน หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือพยายามฝ่าฝืนก็ดี ให้ลงโทษตามระเบียบของโรงเรียนตามโทษฐานนั้นๆ หรือตามที่เห็นสมควร เมื่อผู้ฟ้องคดีได้กระทำผิดระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาแล้ว ๔ ครั้ง คือ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ เรื่อง ซอยผม วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๐ เรื่อง ตื่นสาย วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ เรื่อง นำกระทะไฟฟ้าประกอบอาหารบนหอพัก วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ เรื่อง เปิดเพลงโดยนำลำโพงมาต่อและเต้นรำบนหอพัก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ได้เชิญผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดี (นางอารีย์ ชิดชู) มารับทราบพฤติกรรมและทำทัณฑ์บน และผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีรับว่าจะกำกับ ดูแล ติดตาม อบรม ไม่ให้ผู้ฟ้องคดีกระทำผิดกฎ ระเบียบ วินัยของโรงเรียนหรือหอพักอีก ต่อมา วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ผู้ฟ้องคดีได้กระทำผิดระเบียบ เรื่อง ใส่สร้อยตุ้มหู และวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๒๓ นาฬิกา ผู้ฟ้องคดีได้กระทำผิดระเบียบ เรื่อง การดื่มสุราบนหอพัก โดยมีอาจารย์ประจำหอพัก (นางสาวจรี ใจตรง) มาพบเห็นเหตุการณ์ จึงให้ผู้ฟ้องคดีและนางสาววานิษา บัวแย้ม ผู้ร่วมกระทำผิด บันทึกเหตุการณ์ทีเ่กิดขึ้น โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเชิญผู้ปกครองมาพบผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ ซึ่งผู้ปกครองของผู้ฟ้องดคี (นางอารีย์) มาพบผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามนัดและได้บันทึกรับทราบพฤติกรรมของผู้ฟ้องคดีและรับว่าจะกำกับ ดูแล ติดตาม อบรม ไม่ให้ผู้ฟ้องคดีกระทำผิดกฎ ระเบียบ วินัย ของหอพักอีก ผู้ปกครองยินดีให้โรงเรียนดำเนินการลงโทษตามระเบียบ ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีกระทำผิดร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในระเบีบยของโรงเรียนและระเบียบของหอพัก ยินดีให้ผู้ฟ้องคดีย้ายสถานศึกษาด้วยความสมัครใจ เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์การทำทัณฑ์บนต่อประธานคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ตรัง ได้มอบหมายให้มีการสอบสวนในเรื่องนักเรียนกระทำผิดระเบียบโรงเรียนและหอพัก ประกอบ้ดวยบุคคลต่างๆ หลายฝ่าย เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ได้แก่ กรรมการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายปกครอง รองผู้อำนวยการ ครูประจำหอพัก และนักเรียน เพื่อประกอบการพิจารณา ผลการสอบสวนปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีให้ข้อเท็จจริงว่า ไม่มีใครบังคับให้เขียนบันทึกและได้กระทำตามที่ได้เขียนบันทึกจริง การกระทำผิดกฎระเบียบโรงเรียน โดยการดื่มสุราบนหอพักของผู้ฟ้องคดีเป็นความผิดร้ายแรง และก่อนหน้านี้ ผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีและผู้ฟ้องคดีเคยทำทัณฑ์บนไว้กับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ถึง ๒ ครั้งว่าจะกำกับ ดูแล ติดตาม ไม่ให้นักเรียนในปกครองกระทำผิดกฎระเบียบของโรงเรียนหรือหอพักอีก ถือว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดทัณฑ์บนที่ได้ทำไว้กับโรงเรียน ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่เข้าข่ายของฐานความผิดตามระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๔๙ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหอพักตามระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ดังกล่าว ข้อ ๖๗ ที่กำหนดว่า การกระทำความผิดใดๆ ถ้าไม่เข้าลักษณะของฐานความผิดตามระเบียบนี้ ให้นำฐานความผิดของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง มาใช้บังคับ หรือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหอพักหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนที่รับผิดชอบงานหอพัก ซึ่งต่อมา เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๒ คณะกรรมการบริหารหอพัก ตามคำสั่งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ที่ ๓๖๓/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๘ ได้ประชุมพิจารณาการกระทำผิดของผู้ฟ้องคดีและนางสาววานิษาแล้วมีมติร่วมกันให้ผู้ปกครองของนักเรียนทั้งสองคนนำนักเรียนไปเป็นนักเรียนประเภทไปกลับ เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนในการอบรม ดูแล กำกับติดตามพฤติกรรมของนักเรียน อีกทั้งจะได้ไม่เป็นแบบอย่างแก่นักเรียนคนอื่น ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีหนังสือที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ แจ้งผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีว่าผู้ฟ้องคดีได้กระทำผิดกฎระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรฯราชวิทยาลัย ตรัง และคุณสมบัติการเป็นนักเรียนของโรงเรียน จึงให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียนตามมติคณะกรรมการบริหารหอพัก ซึ่งไม่ใช่เป็นการลงโทษนักเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าดว้ยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ไม่ได้ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสภาพการเป็นนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ผู้ฟ้องคดียังสามารถเรียนที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ได้ต่อไป ประเภทนักเรียนทั่วไป (ไปกลับ) ซึ่งผู้ฟ้องคดีก็ยังคงเป็นนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง อยู่จนถึงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ต่อมา เมื่อเปิดภาคเรียนใหม่ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องต่อโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ขอย้ายสถานศึกษาของผู้ฟ้องคดี ซึ่งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ตรวจสอบแล้วอนุญาตตามคำร้องดังกล่าวอันเป็นไปตามความต้องการของผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดี โรงเรียนมิได้บังคับให้ยื่นคำร้องขอย้ายแต่อย่างใด สำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ชดใช้จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาทนั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอันเนือ่งมาจากผู้ปกครองของของผู้ฟ้องคดีขอย้ายสถานศึกษาให้ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของผู้ฟ้องคดีเอง และค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ชดใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่ไกลเกินเหตุ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเรียนกวดวิชาที่สถาบันกวดวิชาในกรุงเทพมหานคร เมื่อการพ้นจากสภาพการเป็นนักเรียนโรงงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ของผู้ฟ้องคดี ไม่ได้เกิดขึ้นเพาะการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามฟ้องของผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ในฐานะเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดี
ขอให้ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง
ผู้ฟ้องคดีคัดค้านคำให้การว่า กระทรวงศึกศาธิการได้ออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่งที่อยู่ในสังกวัดกระทรวงศึกษาธิการที่กระทำผิดกฎระเบีบยของสถานศึกษาได้คือ ลงโทษให้นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำผิดระเบียบได้ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่ได้กำหนดเท่านั้น แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จงใจฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว โดยการออกคำสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีด้วยการให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง อันเป็นวิธีการลงโทษที่รุนแรงและกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีเจตนาที่แท้จริงที่จะให้ผู้ฟ้องคดีต้องสิ้นสภาพการเป็นนักเรียนของโรงเียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เนือ่งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทราบดีว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นนักเรียนที่มีที่อยู่หรือถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ไม่มีญาติในจังหวัดตรัง ดังนั้น การจะเรียนที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ได้ นักเรียนจะต้องลงทะเบียนเป็นนักรเียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เท่านั้น ตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๔๙ หมวดที่ ๒ ข้อ ๑๓ อีกทั้ง การลงโทษผู้ฟ้องคดียังแตกต่างไปจากวิธีการลงโทษที่ได้ระบุไว้ในระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ดังกล่าว หมวดที่ ๕ การกระทำความผิดและการลงโทษและฐานความผิด การสะสมคะแนนการกระทำความผิด ส่วนที่ ๑ ฐานความผิด ตาราง ๘.๓ ซึ่งได้วางระเบียบไว้ว่า นักเรียนหอพักโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง กระทำความผิดโดยการดื่มสุเรา ของมึนเมา หรือมีสุราไว้ในครอบครอง ทั้งที่ ๑ ตัดคะแนน ๓๐ คะแนน และเชิญผู้ปกครอง นอกจากนั้น การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยังเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนของสำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหนังสือลับ ที่ ศธ ๐๔๐๐๙/๒๑๐๓ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ส่งถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต และผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ให้สถานศึกษาทุกแห่งถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยเคร่งครัด แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มิได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดตั้งแต่ครั้งแรกที่พบการกระทำผิด และมิได้ทำการสอบสวนบุคคลที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในเหตุการณ์ เพียงแต่อาศัยบันทึกเหตุการณ์ที่เขียนด้วยลายมือของผู้ฟ้องคดีที่ยอมรับว่าการกระทำผิดเท่านั้นมาตัดสินลงโทษผู้ฟ้องคดี ทั้งๆ ที่ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทราบแล้วว่าบันทึกดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องถูกนางจรี ใจตรง บังคับให้เขียน และก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ ต่อคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาตามที่กำหนดไว้ในระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๔๙ หมวดที่ ๕ ส่วนที่ ๔ ข้อ ๘๐ เหตุที่ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ ก็เนือ่งจากเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบด้วยวาจาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีโดยให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพักและให้หาที่เรียนใหม่ไว้ด้วย ผู้ฟ้องคดีจึงรีบอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิด ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง และเมื่อผู้ฟ้องคดีได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์การลงโทษต่อคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ก็ไม่ได้จัดส่งอุทธรณ์ดังกล่าวให้คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาพิจารณาตามระเบียบ กลับจัดประชุมคณะกรรมการบริหารหอพักพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีแทน นอกจากนี้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แต่งตั้งนางสาวจรี ซึ่งเป็นคู่กรณีที่ถูกพาดพิงถึงว่าได้บังคับให้ผู้ฟ้องคดีเขียนบันทึกรับสารภาพมาเป็นกรรมการเข้าร่วมทำการสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีการกระทำผิดกฎระเบียบหอพักของผู้ฟ้องคดีด้วย ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยหลักแห่งความเป็นกลาง ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ย้ายสถานศึกษาด้วยความสมัครใจ แต่จำใจต้องย้ายเพราะถูกตั้งข้อรังเกียจและกลั่นแกล้งโดยตลอด ทำให้ไม่สามารถทนอยู่ต่อไปได้ ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนือ่งจากคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองตามนัยมาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ฟ้องคดีเรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้นั้น ไม่ได้เป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินเหตุ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การเพิ่มเติมว่า การออกคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นการออกคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไมไ่ด้เป็นการกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี การยื่นอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีเป็นการไม่ชอบและเป็นการยื่นอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นคดีนี้ การเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะกระทำไม่ได้ เพราะผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีคำสั่งเพียงให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนประจำ (นักเรียนหอพัก) เท่านั้น ไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนของโรงเรียนแต่อย่างใด แต่ผู้ฟ้องคดีได้ลาออกจากโรงเรียนด้วยความคิดของตนเอง คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนประจำ (นักเรียนหอพัก) ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง แต่เป็นคำสั่งภายในเพื่อเป็นการควบคุมดูแลอบรมพฤติกรรมของนักเรียนประจำนอกเวลาเรียน ดังนั้น ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ จะนำมาใช้กับคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ได้ คดีนี้จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองชั้นต้น
ขอให้ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีชี้แจงเพิ่มเติมตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นว่า ผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีได้รับทราบคำสั่งลงโทษเมื่อวันที่ ๑๗ กถมาพันธ์ ๒๕๕๒ แต่ผู้ฟ้องคดีก็ยังคงพักอยู่ที่หอพักโรงเรียนจนถึงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการสอบ และในระหว่างวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ ผู้ฟ้องคดีได้ไปเรียนกวดวิชาที่กรุงเทพ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ผู้ฟ้องคดีได้สมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนบางแก้วพิทยาคม
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชี้แจงเพิ่มเติมตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นว่า ภายหลังจากคณะกรรมการบริหารหอพักมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากการเป็นนักเรียนหอพักแล้ว ผู้ฟ้องคดียังคงอยู่ในหอพักของโรงเรียนมาโดยตลอด จนกระทั่งผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีได้ไปแจ้งความประสงค์ขอย้ายสถานศึกษาให้แก่ผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ซึ่งนับแต่วันดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีก็ไม่ได้มาเรียนหนังสือและอยู่ที่หอพักอีกจนกระทั่งปัจจุบัน ส่วนนางสาววานิษา บัวแย้มซึ่งถูกลงโทษให้พ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนหอพักเช่นเดียวกับผู้ฟ้องคดี ผู้ปกครองได้รับตัวไปเป็นนักเรียนไปกลับตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒ จนกระทั่งปัจุจบันนี้ นางสาววานิษาก็ยังคงเป็นนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง อยู่ ในการออกระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเป็นผู้บริหารของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่ต้องไม่ขัดกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ส่วนระเบียบว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกระเบียบเองโดยผ่านคณะกรรมการฝ่ายกิจการหอพัก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เห็นว่าการให้อยู่หรือไม่ให้อยู่หอพักถือเป็นกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๕ (๔) ซึ่งความผิดของผู้ฟ้องคดีเป็นไปตามระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๔๙ หมวด ๕ ข้อ ๘.๓ ครั้งที่ ๑ ตัดคะแนน ๓๐ คะแนน รายการลงโทษ เชิญผู้ปกครอง แต่เนื่องจากผู้ฟ้องคดีถูกลงโทษมาแล้วหลายครั้งตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนนความประพฤติ จนกระทั่งความผิดครั้งนี้จึงต้องเชิญผู้ปกครองเพื่อหาเรือและลงโทษเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ดังกล่าว
ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยรวมสามประเด็น คือ
ประเด็นแรก ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิฟ้องคดีหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพักของโรงเรียน มีผลให้ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทะิที่จะพักในหอพักของโรงเรียนได้อีกต่อไป ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้ได้รับความเือดร้อนเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามนัยมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อผู้ฟ้องคดีมีหนังสือลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ อุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าว และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้ผู้ฟ้องคดีทราบ โดยยังคงยืนยันลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพักโรงเรียนเช่นเดิม กรณีจึงถือว่าผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากการเป็นนักเรียนหอพักนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อ้างว่าเป็นการใช้อำนาจตามระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๔๙ เมื่อการมีคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังกล่าว กระทบต่อสิทธิในการอยู่หอพักโรงเรียนของผู้ฟ้องคดี คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากการเป็นนักเรียนหอพักจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อนางอารีย์ ชิดชู ผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีไปพบผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แจ้งด้วยวาจาให้นางอารีย์ทราบว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต้องลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพักโรงเรียน เนื่องจากการกระทำผิดกฎระเบียบของโรงเรียนและเตรียมหาโรงเรียนใหม่ด้วย การแจ้งดังกล่าวย่อมทำให้ผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีเข้าใจว่าการลงโทษให้พ้นจากการเป็นนักเรียนหอพักทำให้ผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีเข้าใจว่าการลงโทษให้พ้นจากการเป็นนักเรียนหอพักทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ไปด้วย ซึ่งการอุทธรณ์คำสั่งในกรณีนี้ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาตามข้อ ๘๐ ของระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนฯ ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต่อคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา จึงชอบแล้ว และขณะฟ้องคดีผู้ถูกฟ้องคดีมีอายุ ๑๖ ปีเศษแล้ว และฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้วด้วย ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒๗ ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงไม่อาจรับฟังได้
ประเด็นที่สอง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งตามหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยมีกรณีที่จะต้องพิจารณาก่อนว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีอำนาจที่จะลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนหอพักของโรงเรียนได้หรือไม่ เห็นว่า จากระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ข้อ ๗ ข้อ ๘ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ข้อ ๙ และข้อ ๑๐ วรรคหนึ่ง จะเห็นว่าในกรณีที่นักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิด กล่าวคือได้ประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามีอำนาจที่จะลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาได้เพียง ๔ สถานเท่านั้น คือ ว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนนความประพฤติและทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยโทษทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นโทษขั้นสูงสุด ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาไม่มีอำนาจที่จะลงโทษสูงกว่าโทษให้ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับคดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ได้ลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีพันสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียน โดยอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีได้กระทำผิดกฎระเบียบว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียน โดยร่วมกระทำผิดกับพวกด้วยการนำสุราขึ้นไปดื่มบนหอพัก ซึ่งหากผู้ฟ้องคดีได้กระทำผิดกฎระเบียบว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กล่าวอ้างจริงก็หมายถึงผู้ฟ้องคดีได้ประพฤติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษานั้นเอง เพราะว่าระเบียบว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนก็คือส่วนหนึ่งของระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา แม้ว่าโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรังจะออกระเบียบว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียน (นักเรียนหอพัก) เป็นระเบียบภายในของโรงเรียนในการควบคุมดูแลพฤติกรรมของนักเรียนประจำแยกต่างหากกับระเบียบโรงเรียนไว้ก็ตาม แต่ระเบียบว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนดังกล่าวก็ถือเป็นระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา การออกระเบียบภายในแยกต่างหากจากระเบียบโรงเรียน มิได้มีผลให้ระเบียบภายในดังกล่าวพันสภาพจากการเป็นระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาแต่ประการใด ดังนั้น ในการลงโทษนักเรียนที่กระทำผิดกฎระเบียบภายในดังกล่าวก็ยังต้องลงโทษตามโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๔ เช่นกัน กล่าวคือ ต้องลงโทษด้วยการว่ากล่าวตักเตือน หรือทำทัณฑ์บน หรือตัดคะแนนความประพฤติ หรือให้ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นโทษสูงสุดจะลงโทษที่สูงกว่าการให้ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมิได้ ซึ่งการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียน ถือเป็นการลงโทษที่สูงกว่าโทษให้ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะหากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่อลงโทษแล้วผู้ฟ้องคดียังคงมีสิทธิที่จะอยู่หอพักได้ต่อไป แต่การลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีพันจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพักมีผลให้ผู้ฟ้องคดีต้องเสียสิทธิที่จะอยู่หอพักโรงเรียนไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจที่จะลงโทษดังกล่าวได้ เพราะเป็นการลงโทษที่ฝ่าฝืนระเบบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔ ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งตามหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ให้ผู้ฟ้องคดีพันสภาพจากการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มีอำนาจที่จะลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีพันจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพักได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้ออ้างอื่นของผู้ฟ้องคดีอีก ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อ้างว่า การลงโทษไม่ให้อยู่หอพักถือเป็นกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๕ (๔) นั้น เห็นว่า การให้ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามระเบียบดังกล่าวนั้น หมายถึง การให้นักเรียนทำกิจกรรม หรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สถานศึกษา หรือสังคม การลงโทษไม่ให้อยู่หอพัก จึงไม่ใช่เป็นการให้ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่อาจรับฟ้องได้
ประเด็นที่สาม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้กระทำละเมิดผู้ฟ้องคดีหรือไม่ หากเป็นการกระทำละเมิดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า เหตุที่ผู้ฟ้องคดีต้องออกจากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เป็นเพราะผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องขอย้ายสถานศึกษา ซึ่งเป็นความประสงค์ของผู้ปกครองผู้ฟ้องคดีเอง ความเสียหายที่เกิดจากผู้ฟ้องคดีต้องออกจากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง จึงเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของผู้ฟ้องคดีเอง มิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพันจากการเป็นนักเรียนหอพักแต่อย่างใด อีกทั้งระเบียบโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง พุทธศักราช ๒๕๕๔ หมวดที่ ๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ มิได้กำหนดให้นักเรียนที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดทุกคนต้องอยู่ประจำเท่านั้น แต่ยังมีข้อยกเว้นให้นักเรียนที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดสามารถพักข้างนอกได้ด้วย โดยให้อำนาจแก่คณะกรรมการฝ่ายกิจการหอพักและรองผู้อำนวยการฝ่ายที่รับผิดชอบงานของหอพัก โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่จะใช้ดุลพินิจให้นักเรียนที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดไม่ต้องอยู่ประจำก็ได้หรือพักนอกหอพักโดยไม่ต้องอยู่กับญาติก็ได้ ดังนั้น แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จะลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีพันจากการเป็นนักเรียนหอพัก แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องพันสภาพจากการเป็นนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง แต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดียังสามารถที่จะเรียนที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ได้อีกต่อไปถ้าประสงค์ที่จะเรียนโดยการเป็นนักเรียนประเภทไปกลับ เห็นได้จากกรณีของนางสาววานิษา บัวแย้ม ที่กระทำผิดร่วมกับผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็มีคำสั่งให้พ้นจากการเป็นนักเรียนหอพักเช่นกัน แต่นางสาววานิษาก็ยังคงเรียนอยู่ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง และแม้จะไม่มีระเบียบของโรงเรียนกำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีอำนาจอนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าพักหอพักของโรงเรียนไว้ก็ตาม แต่เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายดูแลกิจการหอพักโรงเรียน ซึ่งโดยตำแหน่งก็ย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าพักเป็นการชั่วคราวในหอพักได้ ซึ่งนางสาวปรียาพร กับพวกก็เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนมาก่อนและได้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือขออนุญาตนอนค้างคืนที่หอพักเพียง ๑ คืน โดยยืนยันที่จะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของหอพักทุกประการ จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีอำนาจที่จะอนุญาตได้ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลกิจการหอพักของโรงเรียน การอนุญาตดังกล่าวไม่ถือเป็นการกระทำนอกเหนือหน้าที่แต่อย่างใด และการอนุญาตดังกล่าวก็มิได้เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องถูกลงโทษด้วย แต่เหตุที่ผู้ฟ้องคดีต้องถูกลงโทษเป็นเพราะนางสาวปรียาพรกับพวกมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของหอพักต่างหาก ทั้งที่ได้ทำบันทึกยืนยันต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แล้วว่าจะปฏิบัติตามระเบียบของหอพักทุกประการ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นครูที่มีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายดูแลกิจการหอพักของโรงเรียนด้วย ย่อมจะต้องมีหน้าที่อบรมสั่งสอนนักเรียนเพื่อให้นักเรียนประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งในการอบรมสั่งสอนดังกล่าวหากมีกรณีที่นักเรียนคนใดประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับต่างๆ ก็สามารถที่จะยกเป็นตัวอย่างประกอบการอบรมสั่งสอนได้เพื่อมิให้นักเรียนคนอื่นประพฤติปฏิบัติตาม การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างจึงมิใช่เป็นการประจานให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย แต่เป็นเพียงการอบรมสั่งสอนนักเรียนตามปกติวิสัยของผู้เป็นครูที่ประพฤติปฏิบัติโดยทั่วไป ประกอบกับบิดาของผู้ฟ้องคดีก็ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ หรือผู้ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มอบหมาย มีอำนาจที่จะให้การอบรมแก่ผู้ฟ้องคดีได้โดยไม่ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครอง ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างจึงยังฟังมิได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ส่วนคำขออื่น ให้ยก
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อุทธรณ์ว่า ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔ กำหนดให้ลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำผิดได้ ดังนี้ (๑) ว่ากล่าวตักเตือน (๒) ทำทัณฑ์บน (๓) ตัดคะแนนความประพฤติ (๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งตามระเบียบดังกล่าวเป็นการกำหนดไว้ให้ลงโทษอันเกี่ยวกับการกระทำผิดข้อบังคับหรือระเบียบของโรงเรียนที่ใช้บังคับกับนักเรียนทั่วไป และเป็นการกำหนดเพื่อลงโทษนักเรียนในขณะที่เรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนเท่านั้น ส่วนระเบียบที่เกี่ยวกับนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ใช้ลงโทษผู้ฟ้องคดี เป็นระเบียบปลีกย่อยแยกออกต่างหากจากระเบียบของโรงเรียนที่ใช้บังคับกับนักเรียนทั่วไปดังกล่าว กล่าวคือ ใช้บังคับเฉพาะนักเรียนที่อยู่หอพักและเป็นการใช้บังคับเฉพาะในขณะที่อยู่ในหอพักเท่านั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่เพียงแต่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพักตามระเบียบของหอพัก ไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากโรงเรียนตามระเบียบของโรงเรียนแต่อย่างใด เพราะการกระทำของผู้ฟ้องคดีที่เป็นเหตุให้พ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ไม่ได้เป็นการกระทำที่เป็นการผิดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๔ แต่การออกจากโรงเรียนเป็นเจตนาของผู้ฟ้องคดีเอง การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีเจตนาเพียงเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีได้กลับไปอยู่กับบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เพื่อให้การดูแลหรือสั่งสอนผู้ฟ้องคดีนอกเวลาเรียน เพราะจากการกระทำของผู้ฟ้องคดีด้วยการนำสุรามาดื่มกันในหอพัก นอกจากจะทำให้ผู้ฟ้องคดีเองดูไม่ดีแล้วยังทำให้ทางโรงเรียนเสื่อมเสียไปด้วย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่สามารถที่จะดูแลหรือควบคุมผู้ฟ้องคดีนอกเหนือจากเวลาเรียนได้อีกต่อไป การที่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพักเปรียบเทียบได้กับการลงโทษผู้ฟ้องคดีด้วยการให้ผู้ฟ้องคดีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้เพื่อเป็นการลงโทษนักเรียน การออกคำสั่งดังกล่าวผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ได้มีเจตนาเพื่อจะกลั่นแกล้งหรือประสงค์ร้ายกับผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด ระเบียบหอพักและคำสั่งตามหนังสือ ที่ ศธ ๐๔๐๕๒.๐๐๒/๑๒๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบหรือกฎของกระทรวงศึกษาธิการ ถือได้ว่าเป็นระเบียบและคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เทียบเคียงได้กับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๙/๒๕๔๖
ขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นเป็นพิพากษายกฟ้องของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีแก้อุทธรณ์ว่า โดยปกติก่อนขึ้นบนหอพัก ครูหอพักจะตรวจสิ่งของทุกอย่าง แต่เหตุใดนางสาวปรียาพร ทองไซร้ จึงเอาสุราและของขบเคี้ยวขึ้นไปได้ ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติ นางสาวจรี ใจตรง ครูประจำหอพักได้บังคับให้ผู้ฟ้องคดีลงลายมือชื่อในใบบันทึกรับสารภาพถึง ๔ ฉบับว่า ร่วมกันดื่มสุรา ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ดื่ม ในขณะที่คนอื่นทำเพียงฉบับเดียว และผู้บริหารสถานศึกษาได้แจ้งให้ย่าของผู้ฟ้องคดีทราบเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดกฎระเบียบของโรงเรียนโดยร่วมกับพวกนำสุรามาดื่มกันในหอพัก โทษต้องออกจากหอพักและต้องออกจากโรงเรียนไปด้วย เพราะผู้ฟ้องคดีเป็นนักเรียนต่างจังหวัดต้องอยู่ประจำที่หอพักที่โรงเรียนจัดให้เท่านั้น เมื่อถูกลงโทษให้ออกจากหอพักก็เท่ากับขาดคุณสมบัติการเป็นนักเรียน เมื่อผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์แล้ว ได้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและเรียกสอบสวนผู้ฟ้องคดีเพียงคนเดียว ในขณะที่มีผู้กระทำผิดถึง ๖ คน หลังจากนั้น ผู้ฟ้องคดีก็ได้รับหนังสือจากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสภาพการเป็นนักเรียนหอพักของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง การที่ผู้ฟ้องคดีต้องย้ายที่เรียนใหม่เพราะทนการบีบคั้นจากการพูดจากระทบกระทั่งไม่ไหว ทำให้มีความวิตกกังวล เสียสุขภาพจิต และการย้ายที่เรียนใหม่ทำให้ผู้ฟ้องคดีพลาดโอกาสในการสอบเข้าเรียนต่อสาขาดีๆ เพราะระเบียบการสอบมีว่าต้องเรียนอยู่ใโรงเรียนเดียวกันติดต่อกัน ๓ ปี
ขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาให้ความเป็นธรรมเพื่อประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีและนักเรียนคนอื่นที่อาจถูกกระทำในลักษณะดังกล่าวในวันข้างหน้าต่อไป
ศาลปกครองสูงสุดออกนั่งพิจารณาคดี โดยได้รับฟังสรุปข้อเท็จจริงของตุลาการเจ้าของสำนวน และคำชี้แจงด้วยวาจาประกอบคำแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดี
หน้า:พิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีแดง 1606 2559.pdf/20หน้า:พิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีแดง 1606 2559.pdf/21หน้า:พิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีแดง 1606 2559.pdf/22หน้า:พิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีแดง 1606 2559.pdf/23หน้า:พิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีแดง 1606 2559.pdf/24หน้า:พิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีแดง 1606 2559.pdf/25หน้า:พิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีแดง 1606 2559.pdf/26หน้า:พิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีแดง 1606 2559.pdf/27
บรรณานุกรม
แก้ไข- "คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขแดงที่ อ. 1606/2559". (2559). ศาลปกครองสูงสุด.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"