คำพิพากษาฯ คดีประทุษฐร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8/อธิบายประกอบ

บุคคล แก้ไข

แก้ไข

  • ขุนเทพประสิทธิ์ หรือ ขุนเทพฯ — อาจได้แก่ ขุนเทพประสิทธิ์ไปรษณีย์ (มาลัย เทพประสิทธิ์; พ.ศ. 2437–2517)[1]

แก้ไข

  • คณะรัฐประหาร — ได้แก่ คณะทหารแห่งชาติ คณะบุคคลที่ก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
  • คุณท้าวสัตยาฯ — ได้แก่ คุณท้าวสัตยานุรักษ์ บรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน,[2] แต่ยังไม่อาจสืบค้นได้ว่า เป็นผู้ใด

แก้ไข

แก้ไข

  • ด๊อกเตอร์จ่าง — ได้แก่ จ่าง รัตนะรัต (พ.ศ. 2447–2536)[3] อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม[4]

แก้ไข

  • นางทองใบ — อาจได้แก่ นางสาวทองใบ แนวนาค ลูกจ้างในบ้านพระยาศรยุทธเสนี, ดู พระยาศรยุทธเสนี
  • นางสาวจรูญ — ได้แก่ ท้าวพิทักษ์อนงคนิกร (จรูญ ตะละภัฏ) ข้าหลวงของสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ พระราชชนนีของรัชกาลที่ 8
  • นางสาวเนื่อง — ได้แก่ ท้าวอินทรสุริยา (เนื่อง จินตดุล; พ.ศ. 2428–2517) พระพี่เลี้ยงของรัชกาลที่ 8
  • นายฉันท์ หุ้มแพร — ได้แก่ นายฉัน หุ้มแพร เป็นบรรดาศักดิ์มหาดเล็ก, ผู้มีบรรดาศักดิ์ดังกล่าวตามเอกสารนี้ คือ ทัศน์ สุจริตกุล[5] (? – พ.ศ. 2489)
  • นายเฉลียว — ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส (พ.ศ. 2445–2498) จำเลย
  • นายชิต — ได้แก่ ชิต สิงหเสนี (พ.ศ. 2447–2498) จำเลย
  • นายชื้น — ยังไม่อาจสืบค้นได้ว่า เป็นผู้ใด, เอกสารนี้ว่า ถูกปืนยิง
  • นายตี๋ — ได้แก่ ตี๋ ศรีสุวรรณ (ราว พ.ศ. 2420[6] – ?) พ่อค้าไม้ซึ่งเป็นพยานโจทก์
  • นายตุ๊ — เอกสารนี้ว่า เป็นอีกชื่อหนึ่งของ เรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช, ดู เรือเอก วัชรชัย
  • นายไถง — อาจได้แก่ ไถง สุวรรณทัต (พ.ศ. 2449–2535) เพราะเอกสารนี้ว่า ถูกระเบิด
  • นายนเรศร์ธิรักษ์ — ได้แก่ นายนเรศร์ธิรักษ์ (แสวง; พ.ศ. 2441–2495)[7] เลขานุการสำนักพระราชวัง
  • นายบุศย์ — ได้แก่ บุศย์ ปัทมศริน (พ.ศ. 2443–2498) จำเลย
  • นายปรีดี — ได้แก่ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์; พ.ศ. 2443–2526)
  • นายพลตำรวจตรี แผ้วพาลชน — ดู หลวงแผ้วพาลชน
  • นายพินิจ — อาจได้แก่ พินิจ ปทุมรส เพราะเอกสารนี้ว่า เป็นน้องชายของนายเฉลียว, ดู นายเฉลียว
  • นายแพทย์ศิริ — ยังไม่อาจสืบค้นได้ว่า เป็นผู้ใด, เอกสารนี้ว่า เป็นเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์ (กระทรวงอุตสาหกรรม)
  • นายมี — ได้แก่ มี พาผล พยานโจทก์
  • นายระวิ — ได้แก่ ระวิ ผลเนื่องมา หัวหน้าแผนกพระราชพาหนะ
  • นายเรือเอก วัชรชัย — ดู เรือเอก วัชรชัย
  • นายเลียงไชยกาล — อาจได้แก่ เลียง ไชยกาล (พ.ศ. 2445–2529) นักการเมือง
  • นายสี่ หรือชูรัตน์ — ?
  • นายสุวิทย์ — ยังไม่อาจสืบค้นได้ว่า เป็นผู้ใด, เอกสารนี้ว่า ถูกปืนกลยิง
  • ในพระบรมโกศ — เป็นคำเรียกพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตแล้ว, ในที่นี้ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8

แก้ไข

แก้ไข

  • พรรคประชาธิปตัย — ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์
  • พระดุลยกรณ์พิทารณ์ — ได้แก่ พระดุลยกรณ์พิทารณ์ (เชิด บุนนาค; พ.ศ. 2439–2512)[8] ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
  • พระดุลยนิติศาสตร์โกศล — ได้แก่ พระดุลยนิติศาสตร์โกศล (ดุลยนิติศาสตร์โกศล เพียรพิจารณ์)[9] ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
  • พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ — ได้แก่ พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ (ปิ่ณฑ์ ปัทมสถาน) ผู้พิพากษาศาลฎีกา
  • พระนาถปริญญา — ได้แก่ พระนาถปริญญา (นิ่ม กัลล์ประวิทธ์)
  • พระพิจารณ์พลกิจ — ได้แก่ พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ; พ.ศ. 2435–2502) อธิบดีกรมตำรวจ
  • พระพิจิตรราชสาส์น หรือ พระพิจิตร — ได้แก่ พระพิจิตรราชสาส์น (สอน วินิจฉัยกุล; พ.ศ. 2434–2498)[10] ผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์
  • พระพินิจชนคดี — ได้แก่ พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต; ? – พ.ศ. 2513) รองอธิบดีกรมตำรวจ
  • พระพิบูลย์ไอศวรรย์ — ได้แก่ พระพิบูลย์ไอศวรรย์ (เปรียบ สุจริตกุล; พ.ศ. 2441–2522)[11] ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
  • พระยาชาติเดชอุดม หรือ พระยาชาติฯ — ได้แก่ พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล; พ.ศ. 2434–2509)[12]
  • พระยาเทพหัสดินทร์ หรือ พระยาเทพหัสดินฯ — ได้แก่ พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา; พ.ศ. 2420–2494)
  • พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงฆาร — ได้แก่ พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร (บุญจ๋วน บุณยะปานะ; พ.ศ. 2436–2506)[13] ผู้พิพากษาศาลฎีกา
  • พระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์ — ได้แก่ พระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์มนูญประจักษ์ภักดีสภา (เหยียน เลขะวนิช) ผู้พิพากษาศาลฎีกา
  • พระยาวิชิตสรศาสตร์ — ได้แก่ พระยาวิชิตสรศาสตร์ (จินดา วัชรเสถียร)
  • พระยาศรยุทธเสนี หรือ พระยาศรยุทธฯ — ได้แก่ พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน; พ.ศ. 2431–2505)
  • พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร — ได้แก่ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย; พ.ศ. 2439–2518)[14]
  • พระราชชนนี — ดู สมเด็จพระราชชนนี
  • พระราชอนุชา — ดู สมเด็จพระราชอนุชา
  • พระรามอินทรา — ได้แก่ พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์; พ.ศ. 2432–2498) อธิบดีกรมตำรวจ
  • พระศราภัยสฤษดิการ — ยังสืบค้นชื่อไม่ได้, เอกสารนี้ว่า เป็นสมุหราชองครักษ์
  • พระศิลปศาสตราคม — อาจได้แก่ พระศิลปศัสตราคม (ภักดิ์ เกษสำลี; พ.ศ. 2435–2525),[15] เอกสารนี้ว่า เป็นสมุหราชองครักษ์
  • พระศิลปสิทธิ์วินิจฉัย — ได้แก่ พระศิลปสิทธิวินิจฉัย (มารค อุณหะนันทน์; ? – พ.ศ. 2509?) ผู้พิพากษาศาลฎีกา
  • พระสุทธิอรรถฯ — ได้แก่ พระสุทธิอรรถนฤมนตร์ (สุธ เลขยานนท์) ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
  • พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ — ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (พ.ศ. 2447–2489)
  • พลเรือตรี กระแส หรือ พลเรือตรี กระแสฯ — ดู พระยาศรยุทธเสนี
  • พันเอก ช่วง — ได้แก่ พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม; พ.ศ. 2442–2505)
  • พันเอก ประพันธ์ — ได้แก่ พันเอก ประพันธ์ กุลพิจิตร (พ.ศ. 2449–2537) ราชองครักษ์ประจำกรมราชองครักษ์

แก้ไข

แก้ไข

  • ร้อยตรี กรี — ได้แก่ ร้อยตรี กรี พิมพกร
  • รัฐบาลรัฐประหาร — ดู คณะรัฐประหาร
  • เรือเอก วัชรชัย — ได้แก่ เรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช ราชองครักษ์

แก้ไข

แก้ไข

  • หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ — ได้แก่ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ (พ.ศ. 2443–2510)
  • หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ — ได้แก่ หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล (พ.ศ. 2453–2507)[17]
  • หลวงชาติตระการโกศล — ได้แก่ หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ; พ.ศ. 2445–2538) อธิบดีกรมตำรวจ
  • หลวงนิตยเวชวิศิษฏ์, หลวงนิตยฯ, หรือ หลวงนิตย์ฯ — ได้แก่ หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ (นิตย์ เปาเวทย์; พ.ศ. 2439–?) แพทย์ประจำพระองค์รัชกาลที่ 8
  • หลวงนิเทศกลกิจ — ได้แก่ หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา; ? – พ.ศ. 2491)[18]
  • หลวงประดิษฐ์ฯ — ดู นายปรีดี
  • หลวงแผ้วพาลชน — ได้แก่ หลวงแผ้วพาลชน (อำไพ ไล่ศัตรูไกล; พ.ศ. 2444–2530)[19]
  • หลวงสุทธิภาศนฤพนธ์ — ได้แก่ หลวงสุทธิภาศนฤพนธ์ (ภุมรา ปิยะรัตน์; พ.ศ. 2438–2522?) ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
  • หลวงอรรถวินิจเนตินาท — ได้แก่ หลวงอรรถวินิจเนตินาท (สวัสดิ์ คทวณิช; ? – พ.ศ. 2528?) พนักงานอัยการ

แก้ไข

สถานที่ แก้ไข

อื่น ๆ แก้ไข

  • กฎหมายลักษณะอาญา — ได้แก่ กฎหมายลักษณะอาญา ที่ตราขึ้นใน ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451)
    • มาตรา 57 — ว่า "ถ้าเด็กอายุกว่าเจ็ดขวบขึ้นไป แต่ยังไม่ถึงสิบสี่ขวบ กระทำความผิด ท่านให้ศาลมีอำนาจกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดใน 3 ประการที่จะว่าต่อไปนี้ คือ
     (1) ถ้าเห็นว่า มันยังไม่รู้ผิดชอบ จะให้ปล่อยตัวไปเสียก็ได้ หรือถ้าศาลเห็นว่า มันพอจะเข้าใจความผิดชอบได้อยู่บ้าง ให้ศาลว่ากล่าวให้มันรู้สึกตัว แล้วภาคทัณฑ์ปล่อยตัวไปก็ได้ ฉนี้ประการหนึ่ง
     (2) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป แลบังคับเรียกประกันทานบน หรือเรียกแต่ทานบน แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็กนั้น ให้สัญญาว่า จะระวังเด็กนั้นให้ประพฤติตนรักษาความเรียบร้อย ตลอดเวลาที่ศาลจะกำหนดให้ไม่เกินกว่าสามปี ถ้าผิดทานบน ให้ศาลปรับเปนจำนวนเงินตามที่กำหนดไว้ในทานบนไม่เกินร้อยบาทขึ้นไป ฉนี้ประการหนึ่ง
     (3) สั่งให้ส่งตัวเด็กนั้นไปไว้ในโรงเรียนตัดสันดานตลอดเวลาที่ศาลจะกำหนดให้ แต่อย่าให้เกินไปกว่าเวลาที่เด็กนั้นมีอายุครบสิบแปดขวบ ประการหนึ่ง"[22]
    • มาตรา 63 — ว่า "ในคดีที่บุคคลตั้งแต่สองขึ้นไปกระทำความผิดอย่างเดียวกัน ท่านให้ถือว่า บรรดาผู้ที่ได้ลงมือกระทำความผิดนั้นเปนตัวการ แลอาจลงอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นแก่มันทุกคนเหมือนอย่างมันได้กระทำความผิดแต่ผู้เดียวฉนั้น"[23]
    • มาตรา 64 — ว่า "ผู้ใดใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยอุบายอย่างใดใด เช่น ว่าจ้างวานหรือบังคับขู่เข็ญข่มขืนให้ผู้อื่นกระทำความผิด เปนต้น ท่านว่า มันผู้ใช้นั้นต้องรวางโทษฐานเปนตัวการ"[23]
    • มาตรา 70 — ว่า "ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง แลการที่กระทำนั้นเปนการเลมิดกฎหมายหลายบทด้วยกัน ท่านให้ใช้บทกฎหมายที่อาญาหนักลงโทษแก่มัน"[24]
    • มาตรา 71 — ว่า "เมื่อศาลพิจารณาเห็นว่า ผู้ใดมีความผิดหลายกทง ในคำพิพากษาอันเดียวกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษตามกทงความผิดทุกกทงก็ได้ แต่เมื่อรวมโทษทุกกทงเข้าด้วยกัน ถ้าจะต้องจำคุก อย่าให้จำเกินยี่สิบปีขึ้นไป เว้นแต่โทษของมันถึงจำคุกตลอดชีวิตร์ เช่นนั้น ต้องเปนไปตามโทษ ถ้าแลรวมโทษทุกกทงในฐานที่จะต้องจำคุกแทนปรับ ท่านว่า อย่าให้จำมันเกินกว่าสองปีขึ้นไป"[24]
    • มาตรา 97 — ว่า "ผู้ใดทนงองอาจกระทำการประทุษฐร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมารก็ดี ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ท่านว่า โทษของมันถึงต้องประหารชีวิตร์
     ผู้ใดพยายามจะกระทำการประทุษฐร้ายเช่นว่ามาแล้ว แม้เพียงตระเตรียมการก็ดี สมคบกันเพื่อการประทุษฐร้ายนั้นก็ดี หรือสมรู้เปนใจด้วยผู้ประทุษฐร้าย ผู้พยายามจะประทุษฐร้าย ก็ดี มันรู้ว่า ผู้ใดคิดประทุษฐร้ายเช่นว่ามานี้ มันช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นก็ดี ท่านว่า โทษมันถึงตายดุจกัน"[25]
    • มาตรา 154 — ว่า "ผู้ใดเจตนาจะช่วยผู้อื่นให้พ้นอาญาอันควรรับตามกฎหมาย แลมันกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวต่อไปในมาตรานี้ คือว่า
     (1) มันกระทำข้อความหรือสิ่งซึ่งเปนสักขีพยานในการกระทำผิดให้สูญหายไปเสียก็ดี
     (2) มันเพทุบายเอาเนื้อความที่มันรู้อยู่ว่า เปนเท็จ มาบอกเล่าในเรื่องความผิดใดใด เพื่อจะให้หลงเชื่อไปในทางที่เปนเท็จก็ดี
     (3) มันให้สำนักหรือซ่อนเร้นผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาในความผิดไว้ก็ดี
     (4) มันช่วยด้วยประการใดใดให้ผู้ที่กระทำผิด หรือผู้ต้องหาว่า ได้กระทำผิดนั้น หลบหลีกไม่ให้ถูกจับกุมก็ดี
     ท่านว่า มันผู้กระทำการเช่นว่ามานี้ มีความผิด ต้องรวางโทษจำคุกตั้งแต่เดือนหนึ่งขึ้นไปจนถึงสามปี แลให้ปรับตั้งแต่ยี่สิบบาทขึ้นไปจนถึงสองร้อยบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง
     ถ้าแลผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาที่มันช่วยนั้นเปนผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาในความผิดอุกฤษฐโทษถึงประหารชีวิตร์ หรือเปนมหันตโทษ คือ จำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป ท่านว่า มันผู้ช่วยนั้นต้องรวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี แลให้ปรับตั้งแต่ห้าสิบบาทขึ้นไปจนถึงห้าร้อยบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง
     แต่ถ้าการที่ช่วยผู้กระทำผิดดังที่ว่ามาในข้อ 3 แลข้อ 4 ในมาตรานี้นั้นเปนการที่สามีช่วยภรรยา หรือภรรยาช่วยสามีไซ้ ท่านว่า อย่าให้ลงอาญาแก่มันผู้ที่ช่วยนั้นเลย เพราะมันเปนผัวเมีย เสียกันมิได้"[26]
  • เชฟโรเลต, รถ — ได้แก่ เชฟโรเลต (Chevrolet)
  • เดมเล่อร์, รถ — ได้แก่ เดมเลอร์ (Daimler)
  • แนช, รถ — อาจได้แก่ แนชแรมเบลอร์ (Nash Rambler) รถยนต์ประเภทหนึ่ง
  • โนแวลยิน, ยา — ?
  • ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา — ดู กฎหมายลักษณะอาญา
  • โปรเต๊กโทรน — ภาษาอังกฤษ "protect throne" แปลว่า "คุ้มครองราชบัลลังก์"
  • มอร์ริส, รถ — อาจได้แก่ รถที่บริษัทมอร์ริส (Morris) ผลิต
  • รัฐประหาร — ได้แก่ รัฐประหารเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
  • โรลสลอยด์, รถ — ได้แก่ โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce)
  • เวสต์ป๊อยต์ — ได้แก่ เวสต์พอยต์ (West Point) ชื่อหนึ่งของ วิทยาลัยทหารสหรัฐ (United States Military Academy)
  • อ๊อปตาลิดอน, ยา — Optalidon[27]
  • แอ๊กซิเดนท์ — ภาษาอังกฤษ "accident" แปลว่า "อุบัติเหตุ"

เชิงอรรถ แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  1. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563h)
  2. "พระราชทานสัญญาบัตร์ฯ" (2468, น. 3890)
  3. จ่าง รัตนะรัต (ม.ป.ป.)
  4. คำประกาศเกียรติคุณฯ (2517, น. 2)
  5. "พระราชทานเหรียญฯ" (2469, น. 3128}}
  6. เปลวสีเงิน (2563)
  7. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563d)
  8. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563c)
  9. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรีฯ" (2491, น. 3992)
  10. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.a)
  11. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.b)
  12. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563a)
  13. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563b)
  14. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563f)
  15. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ม.ป.ป.)
  16. ทีมงาน (2555)
  17. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563e)
  18. วุฒิสภา (2491, น. 1)
  19. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563g)
  20. วิทยาเขตบางเขน (ม.ป.ป.)
  21. วิทยาศรม (2563)
  22. "กฎหมายลักษณอาญา" (2451, น. 221)
  23. 23.0 23.1 "กฎหมายลักษณอาญา" (2451, น. 223)
  24. 24.0 24.1 "กฎหมายลักษณอาญา" (2451, น. 224)
  25. "กฎหมายลักษณอาญา" (2451, น. 229)
  26. "กฎหมายลักษณอาญา" (2451, น. 242)
  27. Drugs.com (2020)

บรรณานุกรม แก้ไข