คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 98 / 2552
หน้านี้ควรจัดทำเป็นแบบพิสูจน์อักษร เนื่องจากมีต้นฉบับสแกนอยู่ที่ https://ratchakitcha2.soc.go.th/pdfdownload/?id=1776977 |
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 98 / 2552
แก้ไขตาม ที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2552 แล้วนั้น [1] [2]
เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไป อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 วรรคสาม วรรคห้า วรรคหก มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 11 และมาตรา 15 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้
ข้อ 1
แก้ไขให้ กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) เป็นหน่วยงานพิเศษตามมาตรา 7 วรรรห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยมีผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้
- 1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม] เป็นที่ปรึกษา
- 1.2 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้อำนวยการ
- 1.3 ผู้บัญชาการทหารบก
- 1.4 ผู้บัญชาการทหารเรือ
- 1.5 ผู้บัญชาการทหารอากาศ
- 1.6 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- 1.7 ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- 1.8 ปลัดกระทรวงมหาดไทย
- 1.9 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
- 1.10 ปลัดกระทรวงยุติธรรม
- 1.11 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- 1.12 เสนาธิการทหาร
- 1.13 เสนาธิการทหารบก
- 1.14 เสนาธิการทหารเรือ
- 1.15 เสนาธิการทหารอากาศ
- 1.16 ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือน ที่ได้รับคำสั่งจากผู้อำนวยการให้ปฏิบัติหน้าที่ใน กอฉ.
ข้อ 2
แก้ไขให้ผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ข้อ 3
แก้ไขให้กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) มีอำนาจดังต่อไปนี้
- 3.1 ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี หรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีรักษาการ และประกาศของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง
- 3.2 จัดโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ และจัดให้มีหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการได้ตามที่เห็นสมควร
- 3.3 ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวกับสถานการณ์การก่อความไม่ สงบและที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- 3.4 ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาล ประชาชน และกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบรวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง
- 3.5 จัดกำลังพลเรือน ตำรวจ และทหาร ดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่นั้นๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก
- 3.6 จัดชุดปฏิบัติการจากตำรวจ ทหาร และฝ่ายพลเรือนเข้าระงับการก่อความไม่สงบและช่วยเหลือบรรเทาความเดือนร้อน ของประชาชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
- 3.7 มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
- 3.8 เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร
- 3.9 แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้ตามความจำเป็น 3.10 ดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ 4
แก้ไขให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 3 เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2552
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
เอกสารประกอบ
แก้ไขอ้างอิง
แก้ไขเชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ คลังสารสนเทศของสภานิติบัญญัติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 56 ง / 14 เมษายน 2552