คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ ที่ 17/2549

(เปลี่ยนทางจาก คำสั่ง คปค. ฉบับที่ ๑๗)

เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๐๖ ก

๔ ตุลาคม ๒๕๔๙
หน้า ๑๙
ราชกิจจานุเบกษา

คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ ๑๗/๒๕๔๙
เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา

โดยที่ได้มีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ ๗/๒๕๔๙ เรื่อง การจัดส่วนงาน และการแบ่งมอบหน้าที่ ความรับผิดชอบ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารงานของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน จึงแต่งตั้งบุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้ประกอบกันเป็นคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งดังกล่าว ดังต่อไปนี้

คณะที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ

๑. หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นประธานที่ปรึกษา
๒. นายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นที่ปรึกษา
๓. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นที่ปรึกษา
๔. นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เป็นที่ปรึกษา
๕. คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เป็นที่ปรึกษา
๖. นายไชย ไชยวรรณ เป็นที่ปรึกษา
๗. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นที่ปรึกษา
๘. ศาสตราจารย์เทียนฉาย กีระนันท์ เป็นที่ปรึกษา
๙. ศาสตราจารย์ปราณี ทินกร เป็นที่ปรึกษา
๑๐. นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา
๑๑. ศาสตราจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา
๑๒. ศาสตราจารย์มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เป็นที่ปรึกษา
๑๓. รองศาสตราจารย์วรพล โสคติยานุรักษ์ เป็นที่ปรึกษา
๑๔. นายวีรไท สันติประภพ เป็นที่ปรึกษา
๑๕. นายสันติ วิลาสศักดานนท์ เป็นที่ปรึกษา
๑๖. นายศิวะพร ทรรทรานนท์ เป็นที่ปรึกษา
๑๗. นายอาชว์ เตาลานนท์ เป็นที่ปรึกษา
๑๘. ศาสตราจารย์อัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา
๑๙. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช เป็นที่ปรึกษา

คณะที่ปรึกษาฝ่ายการต่างประเทศ

๑. นายวิทยา เวชชาชีวะ เป็นประธานที่ปรึกษา
๒. นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เป็นที่ปรึกษา
๓. นายกำธร อุดมฤทธิรุจน์ เป็นที่ปรึกษา
๔. นายเตช บุนนาค เป็นที่ปรึกษา
๕. นายนิตย์ พิบูลสงคราม เป็นที่ปรึกษา
๖. นายพิศาล มาณวพัฒน์ เป็นที่ปรึกษา
๗. นายวิทย์ รายนานนท์ เป็นที่ปรึกษา
๘. นายสาโรช ชวนะวิรัตน์ เป็นที่ปรึกษา

คณะที่ปรึกษาด้านการเสริมสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ

๑. รองศาสตราจารย์จุรี วิจิตรวาทการ เป็นประธานที่ปรึกษา
๒. รองศาสตราจารย์กำชัย จงจักรพันธ์ เป็นที่ปรึกษา
๓. รองศาสตราจารย์จรัล เล็งวิทยา เป็นที่ปรึกษา
๔. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ เป็นที่ปรึกษา
๕. รองศาสตราจารย์ทศพร ศิริสัมพันธ์ เป็นที่ปรึกษา
๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย เป็นที่ปรึกษา
๗. รองศาสตราจารย์บุญสม ศิริบำรุงสุข เป็นที่ปรึกษา
๘. ศาสตราจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา
๙. รองศาสตราจารย์พงษ์ศักดิ์ อังกะสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษา
๑๐. รองศาสตราจารย์สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา
๑๑. รองศาสตราจารย์ลาวัลย์ หอนพรัตน์ เป็นที่ปรึกษา
๑๒. ศาสตราจารย์วันชัย ศิริชนะ เป็นที่ปรึกษา
๑๓. ศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นที่ปรึกษา

คณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม

๑. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานที่ปรึกษา
๒. นายโคทม อารียา เป็นที่ปรึกษา
๓. รองศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา เป็นที่ปรึกษา
๔. นายชัยวัฒน์ สถาอานันต์ เป็นที่ปรึกษา
๕. นางเตือนใจ ดีเทศน์ เป็นที่ปรึกษา
๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี สุรฤทธิกุล เป็นที่ปรึกษา
๗. รองศาสตราจารย์ธีรภัทร เสรีรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา
๘. รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นที่ปรึกษา
๙. รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นที่ปรึกษา
๑๐. ศาสตราจารย์พรชัย มาตังคสมบัติ เป็นที่ปรึกษา
๑๑. นายพิภพ ธงไชย เป็นที่ปรึกษา
๑๒. ภราดาประทีป โกมลมาศ เป็นที่ปรึกษา
๑๓. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เป็นที่ปรึกษา
๑๔. นายประยงค์ รณรงค์ เป็นที่ปรึกษา
๑๕. นายวรวิทย์ บารู เป็นที่ปรึกษา
๑๖. นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เป็นที่ปรึกษา
๑๗. รองศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นที่ปรึกษา
๑๘. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นที่ปรึกษา
๑๙. ศาสตราจารย์วันชัย วัฒนศัพท์ เป็นที่ปรึกษา
๒๐. รองศาสตราจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม เป็นที่ปรึกษา
๒๑. ศาสตราจารย์ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา
๒๒. รองศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว เป็นที่ปรึกษา
๒๓. ศาสตราจารย์สุทธิศักดิ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นที่ปรึกษา
๒๔. คุณหญิงแสงดาว สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา
๒๕. นายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นที่ปรึกษา
๒๖. รองศาสตราจารย์มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ เป็นที่ปรึกษา

ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอคำแนะนำแก่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ร้องขอ หรือตามที่คณะที่ปรึกษาเห็นสมควร

ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ ประชุมพิจารณาเรื่องทั้งหลายแยกกัน แต่อาจจัดให้มีการประชุมร่วมกันของคณะที่ปรึกษาทุกคณะหรือบางคณะได้ตามที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายต่าง ๆ เห็นสมควร

ให้คณะที่ปรึกษาแต่งตั้งที่ปรึกษาคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่เลขานุการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้

ให้สำนักเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนวยความสะดวกในการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งนี้

สั่ง ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พลเอก สนธิ บุญยรัตนกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"