งานแปล:การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐ ครั้งที่ 11
Third Congress of the United States:
|
รัฐสภาสหรัฐ ชุดที่สาม
|
At the first session, begun and held at the City of Philadelphia, in the State of Pennsylvania, on Monday the Second of December one thousand seven hundred and ninety three. | ในสมัยที่หนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นและจัดขึ้น ณ นครฟิลาเดลเฟีย ในรัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อวันจันทร์ที่สอง ธันวาคม พันเจ็ดร้อยเก้าสิบสาม |
|
|
Resolved by the Senate and House of Representatives of the United States of America, in Congress assembled, two thirds of both Houses concurring, that the following Article be proposed to the Legislatures of the several States as an amendment to the Constitution of the United States, which when ratified by three fourths of the said Legislatures shall be valid as part of the said Constitution, viz: | วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ณ รัฐสภาที่ชุมนุมกันนั้น มีมติโดยสองในสามของสภาทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่า ให้เสนอมาตราดังต่อไปนี้ต่อสภานิติบัญญัติของรัฐต่าง ๆ เป็นข้อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐ ซึ่งเมื่อได้รับสัตยาบันจากสามในสี่ของสภานิติบัญญัติดังกล่าวแล้ว จะสมบูรณ์เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญดังกล่าว คือ |
|
|
The Judicial power of the Unites States shall not be construed to extend to any suit in law or equity, commenced or prosecuted against one of the United States by Citizens of another State, or by Citizens or Subjects of any Foreign State. | อำนาจตุลาการของสหรัฐนั้น มิให้นำไปตีความให้ขยายไปถึงคดีในทางกฎหมายหรือทางความเที่ยงธรรมคดีใด ๆ[1] ซึ่งพลเมืองของรัฐแห่งหนึ่งแห่งใดในสหรัฐ หรือพลเมืองหรือคนในบังคับของรัฐต่างชาติ ตั้งต้นหรือดำเนิน[2] ต่อรัฐแห่งอื่น[ในสหรัฐ] |
|
|
Frederick Augustus Muhlenberg, Speaker of the House of Representatives. | เฟร็ดริก ออกัสตัส มิวลินเบิร์ก ประธานสภาผู้แทนราษฎร |
John Adams, Vice President of the United States and President of the Senate. | จอห์น แอดัมส์ รองประธานาธิบดีสหรัฐและประธานวุฒิสภา |
Attest | พยาน |
John Beckley, Clerk of the House of Representatives. | จอห์น เบ็กลีย์ เสมียนสภาผู้แทนราษฎร |
Sam. A Otis, Secretary of the Senate | แซม. เอ โอทิส เลขานุการวุฒิสภา |
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ การแปล "equity" ว่า "ความเที่ยงธรรม" ในที่นี้ เป็นไปตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน (2549, น. 98) แต่บางทีจะพบว่า นักกฎหมายไทยเลือกทับศัพท์คำนี้มากกว่าจะแปล ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ อ่านที่ Equity
- ↑ อันที่จริง คำว่า "ตั้งต้น" หรือ "ดำเนิน" นี้ โดยทั่วไปหมายความว่า เป็นโจทก์ แต่ในทางกฎหมายแล้ว อาจมีความหมายเฉพาะได้ เช่น Black (1968, น. 335) ระบุว่า คดีในทางความเที่ยงธรรม (suit in equity) จะตั้งต้นได้เมื่อมีการออกหมายเรียกพยาน (subpoena)
บรรณานุกรม
แก้ไขต้นฉบับ
แก้ไข- U.S. National Archives and Records Administration (n.d.). "Picture of the Eleventh Amendment to the Constitution of the United States, Ratified in 1795" (online image). Encyclopædia Britannica.
อ้างอิง
แก้ไข- ราชบัณฑิตยสถาน (2549). ศัพท์นิติศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. ISBN 978-974-9996-50-8. Check date values in:
|date=
(help) - Black, H C (1968). Black's Law Dictionary (ภาษาEnglish) (พิมพ์ครั้งที่ 4). Saint Paul, Minnesota: West Publishing.
งานนี้เป็นงานแปล ซึ่งมีสถานะทางลิขสิทธิ์แยกต่างหากจากงานต้นฉบับ
งานต้นฉบับ: | งานนี้เป็นเป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐ เนื่องจากเป็นงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ (ดู ประมวลกฎหมายสหรัฐ ลักษณะ 17 มาตรา 105) |
---|---|
งานแปล: | ข้าพเจ้า ผู้ถือลิขสิทธิ์ในงานนี้ ให้งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ คำประกาศนี้ให้มีผลทั่วโลก |