งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 10
We must now return to the expression, "Value, or Price of Labour." | เรากลับมาที่วลี "มูลค่า หรือราคาของแรงงาน" |
We have seen that, in fact, it is only the value of the labouring power, measured by the values of commodities necessary for its maintenance. But since the workman receives his wages after his labour is performed, and knows, moreover, that what he actually gives to the capitalist is his labour, the value or price of his labouring power necessarily appears to him as the price or value of his labour itself. If the price of his labouring power is three shillings, in which six hours of labour are realized, and if he works twelve hours, he necessarily considers these three shillings as the value or price of twelve hours of labour, although these twelve hours of labour realize themselves in a value of six shillings. A double consequence flows from this. | เราได้เห็นแล้วว่าความจริงมันก็แค่มูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานเท่านั้น ซึ่งวัดได้ด้วยมูลค่าของโภคภัณฑ์ที่จำเป็นเพื่อบำรุงรักษามัน แต่ในเมื่อคนงานได้รับค่าจ้างหลังจากได้กระทำแรงงานไปแล้ว และรู้ด้วยอีกว่าสิ่งที่เขาให้กับนายทุนไปคือแรงงานของเขา มูลค่าหรือราคาของพลังที่ใช้แรงงานของเขาจึงปรากฏต่อเขาเสมือนเป็นราคาหรือมูลค่าของแรงงานเอง หากราคาของพลังแรงงานของเขาคือสามชิลลิง ซึ่งเป็นการปรากฏตัวของแรงงานปริมาณหกชั่วโมง หากเขาทำงานสิบสองชั่วโมง เขาจำต้องถือว่าสามชิลลิงนี้เป็นมูลค่าหรือราคาของแรงงานสิบสองชั่วโมง แม้ว่าสิบสองชั่วโมงนี้จะปรากฏตัวกลายเป็นมูลค่าเท่ากับหกชิลลิงก็ตาม จากนี่ทำให้เกิดผลสืบเนื่องมาสองประการ |
Firstly. The value or price of the labouring power takes the semblance of the price or value of labour itself, although, strictly speaking, value and price of labour are senseless terms. | ประการแรก มูลค่าหรือราคาของพลังแรงงานนั้นมีรูปลักษณ์ของราคาหรือมูลค่าของแรงงานเสียเอง แม้ว่าพูดไปอย่างรอบคอบแล้วว่ามูลว่าและราคาของแรงงานนั้นเป็นคำพูดที่ไร้ความหมาย |
Secondly. Although one part only of the workman's daily labour is paid, while the other part is unpaid, and while that unpaid or surplus labour constitutes exactly the fund out of which surplus value or profit is formed, it seems as if the aggregate labour was paid labour. | ประการที่สอง แม้ว่าแรงงานในแต่ละวันของคนงานนั้นจะได้ค่าจ้างไปส่วนหนึ่ง ในขณะที่อีกส่วนนั้นไม่ได้ค่าจ้าง และแรงงานส่วนเกินซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างนี้เป็นองค์ประกอบที่แน่ชัดของทุนซึ่งก่อรูปเป็นมูลค่าส่วนเกินหรือกำไร กลับดูเหมือนว่าแรงงานรวมทั้งหมดเป็นแรงงานที่ได้รับค่าจ้าง |
This false appearance distinguishes wages labour from other historical forms of labour. On the basis of the wages system even the unpaid labour seems to be paid labour. With the slave, on the contrary, even that part of his labour which is paid appears to be unpaid. Of course, in order to work the slave must live, and one part of his working day goes to replace the value of his own maintenance. But since no bargain is struck between him and his master, and no acts of selling and buying are going on between the two parties, all his labour seems to be given away for nothing. | ภาพลักษณ์ปลอมนี้ทำให้แรงงานรับจ้างนั้นต่างไปจากแรงงานรูปแบบอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ แม้แต่แรงงานซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างกลับดูเหมือนว่าเป็นแรงงานที่ได้รับค่าจ้างเมื่ออยู่บนฐานของระบบค่าจ้าง กลับันกับในระบบทาส ที่แม้แต่ส่วนของแรงงานที่ได้รับค่าจ้างยังดูเหมือนไม่ได้รับค่าจ้างเลย แน่นอนว่าข้าทาสต้องมีชีวิตอยู่จึงทำงานได้ และส่วนหนึ่งของวันทำงานของเขาก็ถูกนำไปแทนที่มูลค่าที่ใช้บำรุงรักษาเขา แต่ในเมื่อไม่มีการต่อรองใด ๆ ระหว่างเขากับเจ้านาย และไม่มีการซื้อขายระหว่างทั้งสองฝ่าย แรงงานของเขาจึงเสมือนว่าทำไปโดยไม่ได้อะไรกลับมาเลย |
Take, on the other hand, the peasant serf, such as he, I might say, until yesterday existed in the whole East of Europe. This peasant worked, for example, three days for himself on his own field or the held allotted to him, and the three subsequent days he performed compulsory and gratuitous labour on the estate of his lord. Here, then, the paid and unpaid parts of labour were sensibly separated, separated in time and space, and our Liberals overflowed with moral indignation at the preposterous notion of making a man work for nothing. | และในอีกกรณีหนึ่ง สมมุติชาวนาข้าที่ดิน ซึ่งผมกล่าวได้ว่าเขายังมีอยู่ทั่วทั้งฝั่งตะวันออกของทวีปยุโรปจนถึงเมื่อวานนี้เอง ข้าตนนี้ทำงานสามวันเพื่อตนเองบนทุ่งนาของตนเองหรือที่ถูกแบ่งสันปันส่วนมาให้เขา และอีกสามวันเขากระทำแรงงานภาคบังคับโดยให้เปล่าบนที่ดินของเจ้านายเขา เป็นต้น ที่นี้ส่วนที่ได้รับค่าจ้างกับส่วนที่ทำไปแบบให้เปล่าก็ถูกแยกกันอย่างสมเหตุสมผล ไม่ว่าในทางเวลาหรือทางพื้นที่ แล้วเหล่าผู้นิยมเสรีนิยมของพวกเราก็เอ่อล้นไปด้วยความเดือดดาลทางศีลธรรมต่อแนวคิดแสนวิปริตที่จะให้คน ๆ หนึ่งทำงานโดยไม่ได้อะไรตอบแทน |
In point of fact, however, whether a man works three days of the week for himself on his own field and three days for nothing on the estate of his lord, or whether he works in the factory or the workshop six hours daily for himself and six for his employer, comes to the same, although in the latter case the paid and unpaid portions of labour are inseparably mixed up with each other, and the nature of the whole transaction is completely masked by the intervention of a contract and the pay received at the end of the week. The gratuitous labour appears to be voluntarily given in the one instance, and to be compulsory in the other. That makes all the difference. | ทว่าอันที่จริง ไม่ว่าคน ๆ หนึ่งจะทำงานสามวันให้ตัวเองในนาของตัวเองและอีกสามวันทำแบบให้เปล่าบนที่ดินของเจ้าที่ดิน หรือว่าจะทำงานในโรงงานหรือห้องทำงานเป็นเวลาหกชั่วโมงต่อวันให้กับตัวเอง และอีกหกชั่วโมงทำให้กับนายจ้างของเขา ก็ลงเอยเหมือนกัน แม้ว่าในกรณีหลังส่วนที่มีค่าจ้างกับไม่มีค่าจ้างนั้นผสมปนเปจนแยกไม่ออก และธรรมชาติของธุรกรรมทั้งหมดนี้ก็ถูกปิดบังโดยสมบูรณ์จากการแทรกแซงของสัญญาจ้างและค่าจ้างที่ได้รับเมื่อหมดสัปดาห์ แรงงานที่ให้เปล่าปรากฏเสมือนว่าเป็นการทำให้โดยสมัครใจในกรณีหนึ่งและเป็นภาคบังคับในอีกกรณี นี่คือความแตกต่างทั้งหมดที่มี |
In using the word "value of labour," I shall only use it as a popular slang term for "value of labouring power." | เมื่อใช้คำว่า "มูลค่าของแรงงาน" ผมจะใช้มันเป็นคำสแลงแบบที่นิยมใช้กันเพื่อหมายถึง "มูลค่าของพลังที่ใช้แรงงาน" เท่านั้น |