งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 12
The surplus value, or that part of the total value of the commodity in which the surplus labour or unpaid labour of the working man is realized, I call Profit. The whole of that profit is not pocketed by the employing capitalist. The monopoly of land enables the landlord to take one part of that surplus value, under the name of rent, whether the land is used for agriculture, buildings or railways, or for any other productive purpose. On the other hand, the very fact that the possession of the instruments of labour enables the employing capitalist to produce a surplus value, or, what comes to the same, to appropriate to himself a certain amount of unpaid labour, enables the owner of the means of labour, which he lends wholly or partly to the employing capitalist -- enables, in one word, the money-lending capitalist to claim for himself under the name of interest another part of that surplus value, so that there remains to the employing capitalist as such only what is called industrial or commercial profit. | มูลค่าส่วนเกิน หรือส่วนหนึ่งจากมูลค่าทั้งหมดของสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงงานส่วนเกินหรือแรงงานที่ไม่ได้ค่าจ้างของคนงาน ผมเรียกมันว่ากำไร กำไรทั้งหมดนั้นไม่ได้เข้ากระเป๋าของนายจ้างนายทุนเท่านั้น การผูกขาดที่ดินทำให้เจ้าที่ดินได้เอาส่วนหนึ่งของมูลค่าส่วนเกินนั้นไปในนามของค่าเช่า ไม่ว่าที่ดินนั้นจะถูกใช้สำหรับการเกษตร สิ่งปลูกสร้าง หรือทางรถไฟ หรือเพื่อจุดประสงค์อันมีผลิตภาพอื่นใดก็ตาม ในอีกทางหนึ่ง ข้อเท็จจริงที่นายจ้างนายทุนเป็นเจ้าของเครื่องมือใช้แรงงานทำให้เขาสามารถผลิตมูลค่าส่วนเกินได้ หรือในแบบที่สุดท้ายก็เป็นสิ่งเดียวกัน การยึดครองแรงงานที่ไม่ได้จ่ายค่าจ้างมาปริมาณเท่าหนึ่งเป็นของเขาเอง ทำให้เจ้าของปัจจัยการใช้แรงงาน ซึ่งเขาได้ให้นายจ้างนายทุนกู้ยืมไปไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือกล่าวคือ ทำให้นายทุนที่ให้กู้ยืมเงินสามารถอ้างสิทธิของเขาในมูลค่าส่วนเกินอีกส่วนหนึ่งด้วยในนามของดอกเบี้ย ดังนั้นจึงเหลือไว้ให้กับนายทุนผู้ว่าจ้างเพียงสิ่งที่เรียกว่ากำไรภาคอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมดังเช่นนั้น |
By what laws this division of the total amount of surplus value amongst the three categories of people is regulated is a question quite foreign to our subject. This much, however, results from what has been stated. | คำถามว่ากฎอะไรที่ควบคุมการแบ่งหารมูลค่าส่วนเกินปริมาณทั้งหมดให้แก่กลุ่มคนสามหมวดหมู่เช่นนี้อยู่นอกจากประเด็นของเรา ทว่าเท่านี้เองก็เป็นผลจากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้ว |
Rent, Interest, and Industrial Profit are only different names for different parts of the surplus value of the commodity, or the unpaid labour enclosed in it, and they are equally derived from this source, and from this source alone. They are not derived from land as such or from capital as such, but land and capital enable their owners to get their respective shares out of the surplus value extracted by the employing capitalist from the labourer. For the labourer himself it is a matter of subordinate importance whether that surplus value, the result of his surplus labour, or unpaid labour, is altogether pocketed by the employing capitalist, or whether the latter is obliged to pay portions of it, under the name of rent and interest, away to third parties. Suppose the employing capitalist to use only his own capital and to be his own landlord, then the whole surplus value would go into his pocket. | ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไรภาคอุตสาหกรรมนั้นเป็นเพียงชื่อที่ไม่เหมือนกันสำหรับสัดส่วนต่าง ๆ ในมูลค่าส่วนเกินของสินค้าโภคภัณฑ์ หรือก็คือแรงงานที่ไม่ได้ค่าจ้างซึ่งถูกห่อหุ้มอยู่ภายใน และพวกมันนั้นได้มาจากแหล่งนี้โดยเท่า ๆ กัน และจากแหล่งนี้เพียงแหล่งเดียว มันไม่ได้มาจากที่ดินอย่างนั้น หรือจากทุนอย่างนั้น แต่ที่ดินกับทุนทำให้เจ้าของของมันได้รับส่วนแบ่งแต่ละส่วนของพวกเขาออกมาจากมูลค่าส่วนเกินที่นายทุนผู้ว่าจ้างสกัดออกมาจากผู้ใช้แรงงาน สำหรับผู้ใช้แรงงานเองเรื่องแบบนี้มีความสำคัญเป็นรองว่ามูลค่าส่วนเกินนั้น ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของแรงงานส่วนเกินของเขาหรือแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง จะล้วนถูกเก็บเข้ากระเป๋าของนายทุนผู้ว่าจ้าง หรือว่าเขาจะถูกบังคับให้ต้องจ่ายส่วนหนึ่งไปในนามของค่าเช่าหรือดอกเบี้ยไปยังบุคคลที่สามก็ตาม สมมุติว่านายทุนผู้ว่าจ้างใช้ทุนของเขาและเป็นเจ้าที่ดินตัวเอง มูลค่าส่วนเกินทั้งหมดก็จะเข้ากระเป๋าของเขา |
It is the employing capitalist who immediately extracts from the labourer this surplus value, whatever part of it he may ultimately be able to keep for himself. Upon this relation, therefore, between the employing capitalist and the wages labourer the whole wages system and the whole present system of production hinge. Some of the citizens who took part in our debate were, therefore, wrong in trying to mince matters, and to treat this fundamental relation between the employing capitalist and the working man as a secondary question, although they were right in stating that, under given circumstances, a rise of prices might affect in very unequal degrees the employing capitalist, the landlord, the moneyed capitalist, and, if you please, the tax gatherer. | ผู้ที่สกัดเอามูลค่าส่วนเกินจากผู้ใช้แรงงานในทันทีคือนายทุนผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าเขาจะเก็บไว้กับตัวเองได้เท่าใดในท้ายที่สุด ดังนั้นบนความสัมพันธ์แบบนี้ระหว่างนายทุนผู้ว่าจ้างและแรงงานรับจ้าง คือแกนหมุนของระบบค่าจ้างทั้งมวลและระบบการผลิตอย่างที่เป็นอยู่ทั้งมวล พลเมืองของเราบางคนซึ่งได้มีส่วนในการโต้วาทีของเรานั้นจึงมีความผิดที่จะพยายามอ้อมค้อมและถือว่าความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานนี้ระหว่างนายทุนผู้ว่าจ้างกับคนทำงานเป็นเพียงคำถามชั้นสอง แม้ว่าพวกเขาจะพูดถูกแล้วว่าภายใต้พฤติการณ์บางอย่าง การขึ้นราคาจะส่งผลในระดับที่ไม่เท่ากันต่อนายทุนผู้ว่าจ้าง เจ้าที่ดิน นายทุนซึ่งร่ำรวย และหากคุณโปรด ผู้จัดเก็บภาษี |
Another consequence follows from what has been stated. | ผลพวงอีกอย่างซึ่งตามมาจากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้ว |
That part of the value of the commodity which represents only the value of the raw materials, the machinery, in one word, no revenue at all, but replaces only capital. But, apart from this, it is false that the other part of the value of the commodity which forms revenue, or may be spent in the form of wages, profits, rent, interest, is constituted by the value of wages, the value of rent, the value of profits, and so forth. We shall, in the first instance, discard wages, and only treat industrial profits, interest, and rent. We have just seen that the surplus value contained in the commodity or that part of its value in which unpaid labour is realized, resolves itself into different fractions, bearing three different names. But it would be quite the reverse of the truth to say that its value is composed of, or formed by, the addition of the independent values of these three constituents. | มูลค่าส่วนนั้นของสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของมูลค่าของวัตถุดิบ เครื่องจักร ในคำเดียวคือไม่มีรายได้เลย แต่แทนที่ทุนเท่านั้น แต่นอกเหนือจากนี้ มูลค่าอีกส่วนของสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งก่อตัวเป็นรายได้หรืออาจถูกจ่ายไปในรูปของค่าจ้าง กำไร ค่าเช่า ดอกเบี้ย ไม่ได้ประกอบด้วยมูลค่าของค่าจ้าง มูลค่าของค่าเช่า มูลค่าของกำไร และอื่น ๆ แต่ในประการแรกให้ตัดค่าจ้างไป เราควรพิจารณาเฉพาะกำไรภาคอุตสาหกรรม ดอกเบี้ย และค่าเช่า เราเพิ่งได้เห็นไปว่ามูลค่าส่วนเกินภายในสินค้าโภคภัณฑ์หรือมูลค่าซึ่งแรงงานไม่มีค่าจ้างได้กลายเป็นจริงขึ้นมานั้นแยกส่วนไปเป็นฝักฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อสามชื่อ แต่จะเป็นการตรงกันข้ามกับความจริงหากกล่าวว่ามูลค่าของมันนั้นถูกประกอบด้วยหรือก่อตัวด้วยผลรวมของมูลค่าที่เป็นอิสระขององค์ประกอบสามประการนี้ |
If one hour of labour realizes itself in a value of sixpence, if the working day of the labourer comprises twelve hours, if half of this time is unpaid labour, that surplus labour will add to the commodity a surplus value of three shillings, that is, of value for which no equivalent has been paid. This surplus value of three shillings constitutes the whole fund which the employing capitalist may divide, in whatever proportions, with the landlord and the money-lender. The value of these three shillings constitutes the limit of the value they have to divide amongst them. But it is not the employing capitalist who adds to the value of the commodity an arbitrary value for his profit, to which another value is added for the landlord, and so forth, so that the addition of these arbitrarily fixed values would constitute the total value. You see, therefore, the fallacy of the popular notion, which confounds the decomposition of a given value into three parts, with the formation of that value by the addition of three independent values, thus converting the aggregate value, from which rent, profit, and interest are derived, into an arbitrary magnitude. | หากแรงงานหนึ่งชั่วโมงกลายเป็นจริงเองในมูลค่าเท่ากับหกเพนซ์ หากวันทำงานของผู้ใช้แรงงานประกอบด้วยสิบสองชั่วโมง หากครึ่งหนึ่งของเวลาเท่านี้เป็นแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง แรงงานส่วนเกินนั้นจะถูกเพิ่มเข้าไปยังสินค้าโภคภัณฑ์เป็นมูลค่าส่วนเกินเท่ากับสามชิลลิง กล่าวคือมูลค่าซึ่งไม่ได้ถูกจ่ายไปให้กับสิ่งที่เท่ากัน มูลค่าส่วนเกินสามชิลลิงนี้เป็นองค์ประกอบของเงินทุนทั้งหมดซึ่งนายทุนผู้ว่าจ้างอาจแบ่งส่วนไปในสัดส่วนใด ๆ ก็ตามให้กับเจ้าที่ดินและผู้ให้กู้ยืมเงิน มูลค่าสามชิลลิงนี้เป็นองค์ประกอบของค่าจำกัดของมูลค่าที่พวกเขาต้องแบ่งให้กัน แต่นายทุนผู้ว่าจ้างไม่ใช่คนที่เพิ่มมูลค่าตามอำเภอใจให้กับมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อเอากำไรของเขา เพื่อเจ้าที่ดิน และอื่น ๆ แล้วการเพิ่มมูลค่าคงตัวตามอำเภอใจเหล่านี้จะประกอบเป็นมูลค่าทั้งหมด คุณดูสิ เหตุผลวิบัติของนัยที่โดงดั่งนั้น ซึ่งสับสนระหว่างการย่อยสลายมูลค่าเท่าหนึ่งเป็นสามส่วน กับการก่อมูลค่านั้นด้วยการบวกมูลค่าอิสระสามอย่างเข้าด้วยกัน และจึงแปลงมูลค่ากองนั้นซึ่งค่าเช่า กำไร และดอกเบี้ยเอามาจากมันให้กลายเป็นปริมาณที่ไร้เหตุผล |
If the total profit realized by a capitalist be equal to £100, we call this sum, considered as absolute magnitude, the amount of profit. But if we calculate the ratio which those £100 bear to the capital advanced, we call this relative magnitude. It is evident that this rate of profit may be expressed in a double way. | หากกำไรทั้งหมดซึ่งได้กลายเป็นจริงโดยนายทุนนั้นเท่ากับ 100 ปอนด์ เราเรียกผลรวมนี้ว่าปริมาณของกำไร ซึ่งพิจารณาเป็นปริมาณสัมบูรณ์ แต่หากเราคำนวณอัตราส่วน 100 ปอนด์นั้นกับทุนที่จ่ายล่วงหน้า เราเรียกสิ่งนี้ว่าปริมาณสัมพัทธ์ เป็นที่แน่ชัดว่าอัตรากำไรนี้สามารถถูกแสดงออกได้สองทาง |
Suppose £100 to be the capital advanced in wages. If the surplus value created is also £100 -- and this would show us that half the working day of the labourer consists of unpaid labour -- and if we measured this profit by the value of the capital advanced in wages, we should say that the rate of profit amounted to one hundred per cent., because the value advanced would be one hundred and the value realized would be two hundred. | สมมุติให้ 100 ปอนด์เป็นทุนที่จ่ายล่วงหน้าไปกับค่าจ้าง หากมูลค่าส่วนเกินที่ถูกสร้างขึ้นเป็น 100 ปอนด์ด้วย และนี่จะแสดงให้เราเห็นว่าวันทำงานของผู้ใช้แรงงานครึ่งหนึ่งนั้นประกอบไปด้วยแรงงานที่ไม่ได้ค่าจ้าง และหากเราวัดกำไรนี้ด้วยมูลค่าของทุนซึ่งจ่ายล่วงหน้าไปให้กับค่าจ้าง เราควรกล่าวว่าอัตรากำไรนั้นมีปริมาณเท่ากับร้อยละหนึ่งร้อย เพราะมูลค่าที่จ่ายล่วงหน้าจะเท่ากับหนึ่งร้อยและมูลค่าที่กลายเป็นจริงจะเท่ากับสองร้อย |
If, on the other hand, we should not only consider the capital advanced in wages, but the total capital advanced, say, for example, £500, of which £400 represented the value of raw materials, machinery, and so forth, we should say that the rate of profit amounted only to twenty per cent., because the profit of one hundred would be but the fifth part of the total capital advanced. | ในทางกลับกัน หากเราไม่พิจารณาเฉพาะทุนที่จ่ายล่วงหน้าไปกับค่าจ้าง แต่ทุนที่จ่ายล่วงหน้าทั้งหมด กล่าวคือ อาทิ 500 ปอนด์ ซึ่ง 400 ปอนด์เป็นมูลค่าของวัตถุดิบ เครื่องจักร และอื่น ๆ เราควรกล่าวว่าอัตรากำไรมีปริมาณเท่ากับร้อยละยี่สิบเท่านั้น เพราะกำไรเท่ากับหนึ่งร้อยจะเป็นเพียงหนึ่งในห้าของทุนที่จ่ายล่วงหน้าไปทั้งหมด |
The first mode of expressing the rate of profit is the only one which shows you the real ratio between paid and unpaid labour, the real degree of the exploitation (you must allow me this French word) of labour. The other mode of expression is that in common use, and is, indeed, appropriate for certain purposes. At all events, it is very useful for concealing the degree in which the capitalist extracts gratuitous labour from the workman. | วิธีการแสดงออกซึ่งอัตรากำไรในแบบแรกนั้นเป็นวิธีเดียวซึ่งแสดงให้คุณเห็นถึงอัตราส่วนที่แท้จริงระหว่างแรงงานที่ได้รับค่าจ้างกับที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ระดับของการเอาเปรียบแรงงานที่แท้จริง การแสดงออกในอีกวิธีนั้นเป็นในแบบที่ใช้โดยทั่วไป และแน่นอนมันถูกใช้ด้วยจุดประสงค์บางประการ ในทุก ๆ สถานการณ์มันเป็นประโยชน์มากสำหรับการปิดบังระดับของการสกัดแรงงานให้เปล่าออกจากคนงานโดยนายทุน |
In the remarks I have still to make I shall use the word Profit for the whole amount of the surplus value extracted by the capitalist without any regard to the division of that surplus value between different parties, and in using the words Rate of Profit, I shall always measure profits by the value of the capital advanced in wages. | ในข้อสังเกตที่ผมยังไม่ได้พูด ผมจะใช้คำว่ากำไรเพื่อหมายถึงปริมาณของมูลค่าส่วนเกินทั้งหมดซึ่งนายทุนสกัดไปโดยไม่สนใจการจำแนกมูลค่าส่วนเกินนั้นระหว่างบุคคลต่าง ๆ และในการใช้คำว่าอัตรากำไร ผมหมายถึงกำไรซึ่งวัดด้วยมูลค่าของทุนซึ่งจ่ายล่วงหน้าให้กับค่าจ้างเสมอ |