งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 3

ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
II. การผลิต ค่าจ้าง กำไร
II. Production, Wages, Profits
II. การผลิต ค่าจ้าง กำไร

The address Citizen Weston read to us might have been compressed into a nutshell. คำปราศรัยที่พลเมือง เวสตัน ได้อ่านต่อเราอาจกล่าวได้โดยสังเขป
All his reasoning amounted to this: If the working class forces the capitalist class to pay five shillings instead of four shillings in the shape of money wages, the capitalist will return in the shape of commodities four shillings' worth in stead of five shillings' worth. The working class would have to pay five shillings for what, before the rise of wages, they bought with four shillings. But why is this the case? Why does the capitalist only return four shillings' worth for five shillings? Because the amount of wages is fixed. But why is it fixed at four shillings' worth of commodities? Why not at three, or two, or any other sum? If the limit of the amount of wages is settled by an economic law, independent alike of the will of the capitalist and the will of the working man, the first thing Citizen Weston had to do was to state that law and prove it. He ought then, moreover, to have proved that the amount of wages actually paid at every given moment always corresponds exactly to the necessary amount of wages, and never deviates from it. If, on the other hand, the given limit of the amount of wages is founded on the mere will of the capitalist, or the limits of his avarice, it is an arbitrary limit. There is nothing necessary in it. It may be changed by the will of the capitalist, and may, therefore, be changed against his will. เหตุผลทั้งหมดของเขาคือเท่านี้: หากชนชั้นแรงงานบีบบังคับให้นายทุนจ่ายค่าจ้างเป็นตัวเงินเท่ากับเงินห้าชิลลิงแทนสี่ชิลลิง นายทุนก็จะคืนกลับมาในรูปของโภคภัณฑ์ที่มีค่าเท่ากับสี่ชิลลิงแทนห้าชิลลิง ชนชั้นแรงงานจะต้องจ่ายห้าชิลลิงเพื่อแลกกับสิ่งที่ก่อนขึ้นค่าแรงเขาสามารถจ่ายได้ด้วยสี่ชิลลิง แต่ทำไมจึงเป็นเช่นนี้หละ ทำไมนายทุนจึงให้คืนมาเป็นมูลค่าสี่ชิลลิงแลกกับเงินห้าชิลลิงเท่านั้นหรือ เพราะปริมาณของค่าแรงนั้นเป็นค่าคงตัว แต่ทำไมมันถึงคงอยู่ที่มูลค่าของโภคภัณฑ์เท่ากับสี่ชิลลิงหละ เหตุใดไม่ใช่สาม สอง หรือค่าอื่น ๆ หากค่าจำกัดของมูลค่าของค่าจ้างนั้นถูกกำหนดโดยกฎเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นอิสระจากความต้องการของนายทุนและของคนทำงาน สิ่งแรกที่พลเมือง เวสตัน จะต้องทำคือการเอ่ยกฎเกณฑ์นั้นแล้วพิสูจน์มัน ต่อจากนั้นเขาควรที่จะต้องพิสูจน์ว่าปริมาณของค่าจ้างซึ่งได้จ่ายจริง ๆ ในทุกโอกาสนั้นสอดคล้องกับปริมาณของค่าจ้างที่จำเป็นเสมอ และไม่เบี่ยงเบนไปจากนั้น แต่หากในอีกด้านหนึ่ง ค่าจำกัดดังกล่าวของปริมาณของค่าจ้างนั้นอยู่บนความต้องการของนายทุน หรือขีดจำกัดของความโลภของเขาเพียงเท่านั้น มันก็เป็นค่าจำกัดที่ไร้เหตุผล ไม่มีสิ่งใดในมันที่จำเป็นเลย มันสามารถถูกเปลี่ยนได้ตามอำเภอใจนายทุน และดังนั้น จึงสามารถถูกเปลี่ยนแปลงในทางตรงข้ามกับความต้องการของเขาได้
Citizen Weston illustrated his theory by telling you that when a bowl contains a certain quantity of soup, to be eaten by a certain number of persons, an increase in the broadness of the spoons would not produce an increase in the amount of soup. He must allow me to find this illustration rather spoony. It reminded me somewhat of the simile employed by Menenius Agrippa. When the Roman plebeians struck against the Roman patricians, the patrician Agrippa told them that the patrician belly fed the plebeian members of the body politic. Agrippa failed to show that you feed the members of one man by filling the belly of another. Citizen Weston, on his part, has forgotten that the bowl from which the workmen eat is filled with the whole produce of the national labour, and that what prevents them fetching more out of it is neither the narrowness of the bowl nor the scantiness of its contents, but only the smallness of their spoons. พลเมือง เวสต้น แสดงทฤษฎีของเขาให้เห็นด้วยการกล่าวกับคุณว่าเมื่อขันใบหนึ่งมีน้ำซุปอยู่ปริมาณหนึ่ง ซึ่งจะถูกซดโดยคนจำนวนหนึ่ง การทำให้ช้อนกว้างขึ้นจะไม่ทำให้น้ำซุปเพิ่มขึ้น ผมจะต้องขออนุญาติกล่าวว่าการแสดงให้เห็นเช่นนี้ดูน่าขันไปหน่อย มันทำให้ผมนึกถึงอุปมาของ แมแนนิอุส อากริปปา เมื่อพวกสภาสามัญได้ชนกับพวกขุนนางโรมัน อากริปปาซึ่งเป็นขุนนางกล่าวกับพวกเขาว่าท้องของพวกขุนนางให้อาหารกับการเมืองร่างกายของสมาชิกสภาสามัญ อากริปปาไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถให้อาหารกับส่วนต่าง ๆ ของคน ๆ หนึ่งด้วยการทำให้คนอีกคนหนึ่งอิ่มท้องได้อย่างไร ในส่วนของพลเมือง เวสตัน เขาลืมไปว่าขันซึ่งคนทำงานกินจากนั้นถูกเติมด้วยผลผลิตทั้งมวลของแรงงานระดับชาติ และสิ่งที่กันไม่ให้พวกเขาตักออกมามากกว่านั้นไม่ใช่เพราะขันเล็กเกินไป หรือการขาดแคลนอาหารในนั้น แต่เป็นช้อนคันเล็กของพวกเขา
By what contrivance is the capitalist enabled to return four shillings' worth for five shillings? By raising the price of the commodity he sells. Now, does a rise and more generally a change in the prices of commodities, do the prices of commodities themselves, depend on the mere will of the capitalist? Or are, on the contrary, certain circumstances wanted to give effect to that will? If not, the ups and downs, the incessant fluctuations of market prices, become an in soluble riddle. นายทุนใช้อุบายใดเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนมูลค่าสี่ชิลลิงกับเงินห้าชิลลิงได้ ด้วยการขึ้นราคาของโภคภัณฑ์ที่เขาขาย ที่นี้แล้วการขึ้นราคา หรือพูดโดยทั่วไปคือการเปลี่ยนแปลงในราคาของโภคภัณฑ์ ราคาของตัวสินค้าโภคภัณฑ์เองนั้นขึ้นกับความต้องการของนายทุนเพียงเท่านั้นหรือไม่ หรือเป็นตรงกันข้าม ที่จะต้องมีพฤติการณ์บางอย่างที่ทำให้ความต้องการนั้นส่งผลออกมา หากไม่ใช่แล้ว การขึ้นแล้วลง ความผันผวนอย่างต่อเนื่องของราคาตลอดนั้นก็กลายเป็นปริศนาที่แก้ไม่ได้
As we suppose that no change whatever has taken place either in the productive powers of labour, or in the amount of capital and labour employed, or in the value of the money wherein the values of products are estimated, but only a change in the rate of wages, how could that rise of wages affect the prices of commodities? Only by affecting the actual proportion between the demand for, and the supply of, these commodities. ในเมื่อเราสมมุติว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในกำลังการผลิตของแรงงาน หรือในปริมาณของทุนและแรงงานที่ถูกจ้าง หรือในมูลค่าของเงินซึ่งใช้ประมาณมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงในอัตราค่าจ้างเท่านั้น แล้วการเพิ่มค่าจ้างส่งผลต่อราคาของโภคภัณฑ์ได้อย่างไร ก็ด้วยการส่งผลต่ออัตราส่วนจริงระหว่างอุปสงค์และอุปทานของสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้เท่านั้น
It is perfectly true that, considered as a whole, the working class spends, and must spend, its income upon necessaries. A general rise in the rate of wages would, therefore, produce a rise in the demand for, and consequently in the market prices of, necessaries. The capitalists who produce these necessaries would be compensated for the risen wages by the rising market prices of their commodities. But how with the other capitalists, who do not produce necessaries? And you must not fancy them a small body. If you consider that two-thirds of the national produce are consumed by one-fifth of the population -- a member of the House of Commons stated it recently to be but one-seventh of the population -- you will understand what an immense proportion of the national produce must be produced in the shape of luxuries, or be exchanged for luxuries, and what an immense amount of the necessaries themselves must be wasted upon flunkies, horses, cats, and so forth, a waste we know from experience to become always much limited with the rising prices of necessaries. เป็นเรื่องจริงแท้ที่โดยรวมแล้ว ชนชั้นแรงงานใช้จ่ายและต้องใช้จ่ายค่าจ้างของพวกเขาไปกับสิ่งที่จำเป็น การเพิ่มอัตราค่าจ้างโดยทั่วไปจึงจะทำให้อุปสงค์ของสิ่งที่จำเป็นเพิ่มขึ้น และราคาตลาดของมันก็เช่นกันเป็นผลที่ตามมา นายทุนที่ผลิตสิ่งจำเป็นเหล่านี้จึงทดแทนค่าจ้างที่สูงขึ้นด้วยการขึ้นราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ของพวกเขา แต่นายทุนคนอื่นซึ่งไม่ได้ผลิตสิ่งที่จำเป็นหละ และคุณอย่าคิดว่าพวกเขามีจำนวนไม่มาก หากคุณพิจารณาว่าสองในสามของการผลิตระดับชาติทั้งหมดถูกบริโภคไปโดยประชากรจำนวนหนึ่งในห้า และสมาชิกสภาสามัญชนคนหนึ่งเพิ่งกล่าวไปว่าอาจน้อยถึงหนึ่งในเจ็ดของประชากร คุณจะเข้าใจว่าสัดส่วนของผลผลิตระดับชาตินั้นเป็นการผลิตสิ่งฟุ่มเฟือย หรือถูกแลกเปลี่ยนกับสิ่งของฟุ่มเฟือยมากขนาดไหน และปริมาณของสิ่งจำเป็นซึ่งเสียไปกับคนใช้ ม้า แมว ต่าง ๆ นา ๆ นั้นมากขนาดไหน การเสียของซึ่งพวกเรารู้จากประสบการณ์ว่าถูกจำกัดจากการขึ้นราคาของสิ่งจำเป็นมากเท่าไหร่
Well, what would be the position of those capitalists who do not produce necessaries? For the fall in the rate of profit, consequent upon the general rise of wages, they could not compensate themselves by a rise in the price of their commodities, because the demand for those commodities would not have increased. Their income would have decreased, and from this decreased income they would have to pay more for the same amount of higher-priced necessaries. But this would not be all. As their income had diminished they would have less to spend upon luxuries, and therefore their mutual demand for their respective commodities would diminish. Consequent upon this diminished demand the prices of their commodities would fall. In these branches of industry, therefore, the rate of profit would fall, not only in simple proportion to the general rise in the rate of wages, but in the compound ratio of the general rise of wages, the rise in the prices of necessaries, and the fall in the prices of luxuries. แล้วนายทุนเหล่านั้นซึ่งไม่ได้ผลิตสิ่งของจำเป็นจะยืนอยู่ตรงไหน จากกำไรที่ลดลงเพราะการเพิ่มค่าจ้างโดยทั่วไป พวกเขาไม่อาจทดแทนด้วยการขึ้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของพวกเขาได้ เพราะอุปสงค์ของโภคภัณฑ์เหล่านี้ไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด รายได้ของพวกเขาจะลดลง และจากรายได้ที่ลดลงนี้พวกเขาจะต้องจ่ายมากขึ้นเพื่อแลกกับสิ่งของจำเป็นในปริมาณเท่าเดิมที่ราคาสูงขึ้น แต่นี่ไม่ใช่ทั้งหมด เมื่อรายได้ของพวกเขาลดลงพวกเขาจะมีเงินใช้จ่ายกับสินค้าฟุ่มเฟือยน้อยลง และดังนั้นอุปสงค์กันและกันของสินค้าโภคภัณฑ์ของพวกเขาแต่ละคนก็จะลดลง ผลพวงของอุปสงค์ที่ลดลงจะเป็นราคาของโภคภัณฑ์ของพวกเขาที่ลดลง ในอุตสาหกรรมสาขาเหล่านี้นั้น อัตรากำไรจึงจะลดลง ไม่ใช่ตามสัดส่วนอย่างง่ายกับการขึ้นค่าจ้างโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ตามผลคูณของอัตราส่วนของการขึ้นค่าจ้างโดยทั่วไป การขึ้นราคาของสินค้าจำเป็น และการลดลงของราคาของสินค้าฟุ่มเฟือยรวมกัน
What would be the consequence of this difference in the rates of profit for capitals employed in the different branches of industry? Why, the consequence that generally obtains whenever, from whatever reason, the average rate of profit comes to differ in the different spheres of production. Capital and labour would be transferred from the less remunerative to the more remunerative branches; and this process of transfer would go on until the supply in the one department of industry would have risen proportionately to the increased demand, and would have sunk in the other departments according to the decreased demand. This change effected, the general rate of profit would again be equalized in the different branches. As the whole derangement originally arose from a mere change in the proportion of the demand for, and the supply of, different commodities, the cause ceasing, the effect would cease, and prices would return to their former level and equilibrium. Instead of being limited to some branches of industry, the fall in the rate of profit consequent upon the rise of wages would have become general. According to our supposition, there would have taken place no change in the productive powers of labour, nor in the aggregate amount of production, but that given amount of production would have changed its form. A greater part of the produce would exist in the shape of necessaries, a lesser part in the shape of luxuries, or what comes to the same, a lesser part would be exchanged for foreign luxuries, and be consumed in its original form, or, what again comes to the same, a greater part of the native produce would be exchanged for foreign necessaries instead of for luxuries. The general rise in the rate of wages would, therefore, after a temporary disturbance of market prices, only result in a general fall of the rate of profit without any permanent change in the prices of commodities. ผลพวงของความแตกต่างในอัตราของกำไรของทุนในแต่ละสาขาของอุตสาหกรรมนั้นคืออะไร ทำไม ผลที่ได้มาโดยทั่วไปเมื่อใดก็ตาม ไม่ว่าด้วยเหตุใด ที่อัตราของกำไรโดยเฉลี่ยจึงต่างกันในแต่ละขอบเขตของการผลิต ทุนและแรงงานจะถูกถ่ายโอนจากสาขาที่กำไรน้อยไปสู่สาขาที่กำไรมาก และกระบวนการถ่ายโอนนี้จะดำเนินต่อไปจนกระทั่งอุปทานในอุตสาหกรรมสาขาหนึ่งได้เพิ่มขึ้นจนเป็นสัดส่วนกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น และได้ลดลงในสาขาอื่นตามอุปสงค์ที่ลดลง เมื่อการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น อัตรากำไรโดยทั่วไปในแต่ละสาขาก็จะเข้าสู่สมภาพอีกครั้ง ในเมื่อความรบกวนทั้งมวลถือกำเนิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์ของ และอุปทานของสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ เพียงเท่านั้น เมื่อเหตุสิ้น ผลก็สิ้น และราคาก็จะกลับมายังระดับและสมดุลเดิมของมัน แทนที่จะถูกจำกัดไว้ในอุตสาหกรรมบางสาขา การลดลงของอัตราของกำไรที่เป็นผลจากการเพิ่มค่าจ้างก็จะกลายเป็นสิ่งที่เกิดโดยทั่วไป อิงตามสมมุติฐานของเราแล้ว ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในกำลังการผลิตของแรงงาน หรือในปริมาณโดยรวมของการผลิต เพียงแต่ปริมาณของการผลิตเท่าหนึ่งนั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของมัน ส่วนของผลผลิตที่อยู่ในรูปของสิ่งของจำเป็นจะมีมากขึ้น และส่วนที่เป็นสิ่งของฟุ่มเฟือยจะน้อยลง หรืออย่างเดียวกันคือ ส่วนที่ถูกนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าฟุ่มเฟือยจากต่างถิ่นจะน้อยลง และจะถูกนำมาบริโภคในรูปแบบเดิมของมัน หรืออย่างเดียวกันอีกคือ ส่วนของผลผลิตพื้นถิ่นจะถูกนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของจำเป็นจากต่างถิ่นแทนที่จะเอาไปแลกกับสิ่งของฟุ่มเฟือย การเพิ่มค่าจ้างนั้น หลังจากการรบกวนราคาตลาดชั่วคราว จึงส่งผลให้เกิดการลดลงของอัตราของกำไรเพียงเท่านั้น โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรใด ๆ ต่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์
If I am told that in the previous argument I assume the whole surplus wages to be spent upon necessaries, I answer that I have made the supposition most advantageous to the opinion of Citizen Weston. If the surplus wages were spent upon articles formerly not entering into the consumption of the working men, the real increase of their purchasing power would need no proof. Being, however, only derived from an advance of wages, that increase of their purchasing power must exactly correspond to the decrease of the purchasing power of the capitalists. The aggregate demand for commodities would, therefore, not increase, but the constituent parts of that demand would change. The increasing demand on the one side would be counterbalanced by the decreasing demand on the other side. Thus the aggregate demand remaining stationary, no change whatever could take place in the market prices of commodities. หากใครกล่าวกับผมว่าในคำกล่าวอ้างที่แล้ว ผมสมมุติเอาว่าค่าจ้างส่วนเกินจะถูกใช้จ่ายไปกับสิ่งของจำเป็นทั้งหมด ผมตอบว่าผมได้สมมุติเอาอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อข้อคิดเห็นของพลเมือง เวสตัน มากที่สุด หากค่าจ้างส่วนเกินนั้นถูกนำไปใช้จ่ายกับสิ่งของซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีอยู่ในการบริโภคของคนทำงานแล้ว ก็คงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่ามีการเพิ่มขึ้นจริงในกำลังซื้อของพวกเขา เพียงทว่า เพราะนั่นเกิดจากการเพิ่มค่าจ้าง กำลังซื้อของพวกเขาที่เพิ่มชึ้นย่อมสอดคล้องอย่างแม่นยำกับกำลังซื้อของเหล่านายทุนที่ลดลง อุปสงค์โดยรวมของสินค้าโภคภัณฑ์จึงจะไม่เพิ่มขึ้น แต่ส่วนต่าง ๆ ซึ่งประกอบขึ้นเป็นอุปสงค์นั้นจะเปลี่ยนไป อุปสงค์ในส่วนหนึ่งที่เพิ่มขึ้นจะถูกถ่วงดุลโดยอุปสงค์ในอีกส่วนที่ลดลง ฉะนั้นอุปสงค์โดยรวมจึงยังเป็นค่าคงที่ ไม่ทำให้ราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์เปลี่ยนไปได้เลย
You arrive, therefore, at this dilemma: Either the surplus wages are equally spent upon all articles of consumption -- then the expansion of demand on the part of the working class must be compensated by the contraction of demand on the part of the capitalist class -- or the surplus wages are only spent upon some articles whose market prices will temporarily rise. Then the consequent rise in the rate of profit in some, and the consequent fall in the rate of profit in other branches of industry will produce a change in the distribution of capital and labour, going on until the supply is brought up to the increased demand in the one department of industry, and brought down to the diminished demand in the other departments of industry. On the one supposition there will occur no change in the prices of commodities. On the other supposition, after some fluctuations of market prices, the exchangeable values of commodities will subside to the former level. On both suppositions the general rise in the rate of wages will ultimately result in nothing else but a general fall in the rate of profit. คุณจึงมาถึงทางสองแพร่ง: ค่าจ้างส่วนเกินถูกใช้จ่ายไปกับสินค้าบริโภคอย่างเท่ากันทุกชนิด แล้วการขยายตัวของอุปสงค์ในส่วนของชนชั้นแรงงานก็จะต้องถูกทดแทนด้วยการหดตัวของอุปสงค์ในส่วนของชนชั้นนายทุน หรือค่าจ้างส่วนเกินถูกใช้จ่ายไปกับสินค้าบางชนิดเท่านั้นซึ่งจะมีราคาสูงขึ้นชั่วคราว แล้วการเพิ่มขึ้นของอัตราของกำไรที่ตามมาของอุตสาหกรรมบางสาขา และการลดลงของอัตราของกำไรที่ตามมาในสาขาอื่น ๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการแบ่งสรรของทุนและแรงงาน และเกิดขึ้นต่อไปจนกระทั่งอุปทานถูกเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมสาขาหนึ่ง และลดลงตามอุปสงค์ที่ลดลงในอุตสาหกรรมสาขาอื่น ๆ ในสมมุติฐานหนึ่งจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ ในอีกสมมุติฐานจะเกิดความผันผวนในราคาตลาดประมาณหนึ่งแล้วมูลค่าแลกเปลี่ยนของสินค้าโภคภัณฑ์ก็จะคืนตัวมายังระดับเดิม ในทั้งสองข้อสมมุติฐาน การเพิ่มค่าจ้างจะไม่ส่งผลให้เกิดสิ่งใดนอกจากการลดลงโดยทั่วไปของอัตราของกำไรในท้ายที่สุด
To stir up your powers of imagination Citizen Weston requested you to think of the difficulties which a general rise of English agricultural wages from nine shillings to eighteen shillings would produce. Think, he exclaimed, of the immense rise in the demand for necessaries, and the consequent fearful rise in their prices! Now, all of you know that the average wages of the American agricultural labourer amount to more than double that of the English agricultural labourer, although the prices of agricultural produce are lower in the United States than in the United Kingdom, although the general relations of capital and labour obtain in the United States the same as in England, and although the annual amount of production is much smaller in the United States than in England. Why, then, does our friend ring this alarm bell? Simply to shift the real question before us. A sudden rise of wages from nine shillings to eighteen shillings would be a sudden rise to the amount of 100 per cent. Now, we are not at all discussing the question whether the general rate of wages in England could be suddenly increased by 100 per cent. We have nothing at all to do with the magnitude of the rise, which in every practical instance must depend on, and be suited to, given circumstances. We have only to inquire how a general rise in the rate of wages, even if restricted to one per cent., will act. พลเมือง เวสตัน ได้ขอให้คุณนึก เพื่อยั่วพลังของจินตนาการของพวกคุณ ถึงความยากลำบากที่จะเกิดขึ้นจากการเพิ่มค่าจ้างในภาคการเกษตรในอังกฤษจากเก้าชิลลิงเป็นสิบแปดชิลลิงโดยทั่วไป เขากล่าวให้นึกถึงอุปสงค์ของสินค้าจำเป็นที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬาร และราคาที่จะเพิ่มขึ้นตามมาอย่างน่าสะพรึงกลัว! ที่นี้ พวกคุณทั้งหมดรู้ว่าค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ใช้แรงงานเกษตรกรในอเมริกานั้นมากกว่าของผู้ใช้แรงงานเกษตรกรในอังกฤษถึงสองเท่า ถึงแม้ว่าราคาของผลผลิตเกษตรกรรมในสหรัฐจะถูกกว่าในสหราชอาณาจักร ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างทุนและแรงงานที่เกิดขึ้นในสหรัฐโดยทั่วไปจะเป็นอย่างเดียวกันกับในอังกฤษ และถึงแม้ว่าปริมาณการผลิตรายปีในสหรัฐนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าในอังกฤษอย่างมาก แล้วทำไมสหายของเราจึงเตือนภัยเราเช่นนี้ ก็แค่เพื่อย้ายคำถามที่แท้จริงมาให้เรา การเพิ่มค่าจ้างจากเก้าชิลลิงเป็นสิบแปดชิลลิงจะเป็นการเพิ่มในปริมาณถึง 100 เปอร์เซ็นต์ในทันที ทีนี้ เราไม่ได้พูดคุยถึงคำถามว่าจะสามารถเพิ่มค่าจ้างโดยทั่วไปในอังกฤษขึ้นอีก 100 เปอร์เซ็นต์ได้หรือไม่ เราไม่เกี่ยวอะไรกับขนาดของการเพิ่มปริมาณเลย ซึ่งในกรณีปฏิบัติทุกกรณีจะต้องขึ้นกับ และจะเข้ากันกับ พฤติการณ์ดังที่กำหนด เราจำต้องสืบสวนว่าการเพิ่มอัตราค่าจ้างโดยทั่วไป ไม่ว่าจะถูกจำกัดไว้ที่หนึ่งเปอร์เซ็นต์ จะทำการอย่างไรเพียงเท่านั้น
Dismissing friend Weston's fancy rise of 100 per cent., I propose calling your attention to the real rise of wages that took place in Great Britain from 1849 to 1859. ผมจะไม่กล่าวถึงการเพิ่มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์อันวิเศษของ เวสตัน สหายของเรา ผมเสนอให้คุณหันมาสนใจในการเพิ่มค่าจ้างของจริงที่เกิดขึ้นในบริเตนใหญ่ระหว่างปี ค.ศ. 1849 ถึง 1859
You are all aware of the Ten Hours Bill, or rather Ten and-a-Half Hours Bill, introduced since 1848. This was one of the greatest economic changes we have witnessed. It was a sudden and compulsory rise of wages, not in some local trades, but in the leading industrial branches by which England sways the markets of the world. It was a rise of wages under circumstances singularly unpropitious. Dr. Ure, Professor Senior, and all the other official economical mouth pieces of the middle class, proved, and I must say upon much stronger grounds than those of our friend Weston, that it would sound the death-knell of English industry. They proved that it not only amounted to a simple rise of wages, but to a rise of wages initiated by, and based upon, a diminution of the quantity of labour employed. They asserted that the twelfth hour you wanted to take from the capitalist was exactly the only hour from which he derived his profit. They threatened a decrease of accumulation, rise of prices, loss of markets, stinting of production, consequent reaction upon wages, ultimate ruin. In fact, they declared Maximilian Robespierre's Maximum Laws to be a small affair compared to it; and they were right in a certain sense. Well, what was the result? A rise in the money wages of the factory operatives, despite the curtailing of the working day, a great increase in the number of factory hands employed, a continuous fall in the prices of their products, a marvellous development in the productive powers of their labour, an unheard-of progressive expansion of the markets for their commodities. In Manchester, at the meeting, in 1860, of the Society for the Advancement of Science, I myself heard Mr. Newman confess that he, Dr. Ure, Senior, and all other official propounders of economic science had been wrong, while the instinct of the people had been right. I mention Mr. W. Newman, not Professor Francis Newman, because he occupies an eminent position in economic science, as the contributor to, and editor of, Mr. Thomas Tooke's History of Prices, that magnificent work which traces the history of prices from 1793 to 1856. If our friend Weston's fixed idea of a fixed amount of wages, a fixed amount of production, a fixed degree of the productive power of labour, a fixed and permanent will of the capitalists, and all his other fixedness and finality were correct, Professor Senior's woeful forebodings would have been right, and Robert Owen, who already in 1816 proclaimed a general limitation of the working day the first preparatory step to the emancipation of the working class and actually in the teeth of the general prejudice inaugurated it on his own hook in his cotton factory at New Lanark, would have been wrong. พวกคุณล้วนรู้จักกฎหมายสิบชั่วโมง หรือว่ากฎหมายสิบชั่วโมงครึ่ง ซึ่งมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1848 นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดที่เราได้เห็นมา ซึ่งเพิ่มค่าจ้างโดยบังคับอย่างกะทันหัน และไม่ใช่ในอาชีพท้องถิ่นที่ไหน แต่เป็นในอุตสาหกรรมสาขาชั้นนำที่อังกฤษใช้ครอบงำตลาดโลก มันเป็นการเพิ่มค่าจ้างภายใต้พฤติการณ์ที่มันไม่ส่งผลดีอย่างมีเอกลักษณ์ ศาสตราจารย์ ซีเนียร์, ดร. ยัวร์ และกระบอกเสียงทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการของชนชั้นกลางคนอื่น ๆ ทั้งหมดได้พิสูจน์ และผมต้องกล่าวว่ามันอยู่บนเหตุผลที่เข้มแข็งกว่าของ เวสตัน สหายของเราอย่างยิ่ง ว่ามันจะลั่นระฆังมรณะของอุตสาหกรรมอังกฤษ พวกเขาพิสูจน์ว่ามันจะไม่นำไปสู่การเพิ่มค่าจ้างเพียงเท่านั้น แต่จะนำไปสู่การเพิ่มค่าจ้างซึ่งเริ่มต้นจากและอยู่บนฐานของการลดขนาดปริมาณแรงงานที่ถูกจ้างงาน พวกเขากล่าวว่าชั่วโมงที่สิบสองที่พวกคุณอยากเอาไปจากนายทุนนั้นเป็นหนึ่งชั่วโมงเป๊ะชั่วโมงเดียวเท่านั้นที่เขาหากำไรมาได้ พวกเขาขู่ว่าการสะสมจะลดลง ราคาจะเพิ่มขึ้น ตลาดจะหายไป การผลิตจะชะงัก ค่าจ้างจะได้รับปฏิกิริยาตามกลับมา และความพินาศสิ้นในที่สุด และจริง ๆ แล้ว พวกเขาประกาศว่ากฎหมายควบคุมราคาสูงสุดของ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ นั้นจะดูเป็นอะไรเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสิ่งนี้ และพวกเขาก็ถูกในบางแง่มุม แล้วผลเป็นอย่างไรหละ การเพิ่มค่าจ้างเป็นตัวเงินของคนงานโรงงาน ถึงแม้วันทำงานจะสั้นลง กลับทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนคนทำงานในโรงงานในปริมาณมาก การลดราคาของสิ้นค้าของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนากำลังการผลิตของแรงงงานของพวกเขาอย่างน่ามหัศจรรย์ และการขยายตัวก้าวหน้าอย่างไม่เคยมีมาก่อนของตลาดสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ของพวกเขา ที่งานประชุมในแมนเชสเตอร์ ค.ศ. 1860 ของสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ผมได้ยินกับหูตัวเอง คุณนิวแมนสารภาพว่าเขา ดร. ยัวร์, ซีเนียร์ และผู้นำเสนออย่างเป็นทางการของวิทยาศาสตร์เศรษฐกิจคนอื่น ๆ นั้นผิด และสัญชาตญาณของผู้คนนั้นถูก ผมเอ่ยชื่อว่าคุณ ดับเบิลยู. นิวแมน แทนชื่อว่าศาสตราจารย์ ฟรานซิส นิวแมน เพราะเขามีตำแหน่งที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์เศรษฐกิจ ในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนรวมและบรรณาธิการของงานเขียนนามว่า History of Prices ของคุณโธมัส ทูก อันพิเศษซึ่งตามรอยประวัติศาสตร์ของราคาตั้งแต่ ค.ศ. 1793 ถึง 1856 หากแนวคิดที่ไม่เปลี่ยนแปลงของ เวสตัน สหายของเรา ที่เกี่ยวกับปริมาณของค่าจ้างที่ไม่เปลี่ยนแปลง ปริมาณของการผลิตที่ไม่เปลี่ยนแปลง กำลังการผลิตของแรงงานที่อยู่ในระดับที่ไม่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของนายทุนที่ถาวรและไม่เปลี่ยนแปลง และของอย่างอื่นที่เขาคิดว่าไม่เปลี่ยนแปลงและถึงที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง คำพยากรณ์อันน่าเลวร้ายของศาสตราจารย์ซีเนียร์ก็น่าจะถูกต้อง และ โรเบิร์ต โอเวน ผู้ที่ได้ประกาศในปี ค.ศ. 1816 ว่าการจำกัดวันทำงานนั้นเป็นก้าวแรกในการเตรียมพร้อมต่อการปลดปล่อยชนชั้นแรงงาน และที่ได้ริเริ่มมันขึ้นจริงด้วยตัวเองที่โรงงานฝ้ายของเขาที่ นิว ลานาร์ก ท่ามกลางคำเดียดฉันท์โดยทั่วกัน ก็คงจะเป็นฝ่ายผิดไป
In the very same period during which the introduction of the Ten Hours Bill, and the rise of wages consequent upon it, occurred, there took place in Great Britain, for reasons which it would be out of place to enumerate here, a general rise in agricultural wages. ในช่วงเวลาเดียวกันที่กฎหมายสิบชั่วโมงและการเพิ่มค่าจ้างที่ตามมาถูกนำเสนอขึ้นมานั้น ในบริเตนใหญ่ได้มีการเพิ่มค่าจ้างโดยทั่วไปในภาคเกษตรกรรม ด้วยเหตุผลใดที่หากแจกแจง ณ ที่นี้คงเป็นการนอกเรื่อง
Although it is not required for my immediate purpose, in order not to mislead you, I shall make some preliminary remarks. ถึงแม้ว่าจะไม่จำเป็นต่อเป้าหมายของผมในตอนนี้ แต่เพื่อไม่ให้คุณเข้าใจผิด ผมจะแสดงข้อสังเกตเบื้องต้นบางประการ
If a man got two shillings weekly wages, and if his wages rose to four shillings, the rate of wages would have risen by 100 per cent. This would seem a very magnificent thing if expressed as a rise in the rate of wages, although the actual amount of wages, four shillings weekly, would still remain a wretchedly small, a starvation pittance. You must not, therefore, allow yourselves to be carried away by the high-sounding per cents in the rate of wages. You must always ask, What was the original amount? หากคน ๆ หนึ่งได้ค่าจ้างสองชิลลิงต่ออาทิตย์ และหากค่าจ้างของเขาเพิ่มขึ้นเป็นสี่ชิลลิง อัตราค่าจ้างก็จะเพิ่มขึ้นไป 100 เปอร์เซ็นต์ หากพูดในเชิงการเพิ่มของค่าจ้างก็จะดูเหมือนเป็นสิ่งที่วิเศษมาก แต่ปริมาณจริงของค่าจ้างนั้น นั่นคือสี่ชิลลิงต่ออาทิตย์ ก็จะยังคงเป็นปริมาณที่น้อยจนน่าเวทนา เป็นจำนวนเงินเล็กน้อยอดอยาก ดังนั้น คุณจะต้องไม่ปล่อยให้ตัวเองเผอเรอคิดไปว่าเป็นเปอร์เซ็นต์การเพิ่มค่าจ้างที่ฟังเหมือนจะเยอะ คุณจำต้องถามอยู่เสมอว่าปริมาณเดิมของมันนั้นคือเท่าใด
Moreover, you will understand, that if there were ten men receiving each 2s. per week, five men receiving each 5s., and five men receiving 11s. weekly, the twenty men together would receive 100s., or £5, weekly. If then a rise, say by 20 per cent., upon the aggregate sum of their weekly wages took place, there would be an advance from £5 to £6. Taking the average, we might say that the general rate of wages had risen by 20 per cent., although, in fact, the wages of the ten men had remained stationary, the wages of the one lot of have men had risen from 5s. to 6s. only, and the wages of the other lot of five men from 55s. to 70s. One-half of the men would not have improved at all their position, one-quarter would have improved it in an imperceptible degree, and only one-quarter would have bettered it really. Still, reckoning by the average, the total amount of the wages of those twenty men would have increased by 20 per cent., and as far as the aggregate capital that employs them, and the prices of the commodities they produce, are concerned, it would be exactly the same as if all of them had equally shared in the average rise of wages. In the case of agricultural labour, the standard wages being very different in the different counties of England and Scotland, the rise affected them very unequally. มากไปกว่านั้น คุณจะเข้าใจว่าหากคนสิบคนได้รับสองชิลลิงต่ออาทิตย์ คนห้าคนได้รับห้าชิลลิง และอีกห้าคนได้สิบเอ็ดชิลลิงต่ออาทิตย์ คนยี่สิบคนนี้รวมกันได้หนึ่งร้อยชิลลิง หรือห้าปอนด์ต่ออาทิตย์ แล้วหากมีการเพิ่มขึ้นยี่สิบเปอร์เซ็นต์ในค่าจ้างต่ออาทิตย์ของพวกเขารวมกัน ก็จะเพิ่มตากห้าเป็นหกปอนด์ เมื่อเฉลี่ยแล้ว เราอาจพูดได้ว่าอัตราค่าจ้างโดยทั่วไปได้เพิ่มขึ้นไป 20 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ว่าความจริงแล้วค่าจ้างของคนสิบคนนั้นยังเท่าเดิม ค่าจ้างของคนห้าคนกลุ่มหนึ่งเพิ่มจากห้าเป็นหกชิลลิง และค่าจ้างของคนห้าคนอีกกลุ่มเพิ่มจากห้าสิบห้าเป็นเจ็ดสิบ ตำแหน่งของคนครึ่งหนึ่งไม่ได้พัฒนาขึ้นเลย อีกเสี้ยวหนึ่งก็พัฒนาขึ้นอย่างมองเห็นด้วยตาเปล่าไม่ได้ และอีกเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากมันจริง ๆ อย่างใดก็ตาม เมื่อคิดโดยเฉลี่ย ค่าจ้างของคนยี่สิบคนนั้นจะเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อพิจารณาทุนโดยรวมที่จ้างพวกเขา และราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ที่พวกเขาผลิตแล้ว ก็จะเป็นเสมือนว่าพวกเขาทุกคนมีส่วนแบ่งในการเพิ่มค่าจ้างโดยเฉลี่ยเท่ากัน ในกรณีภาคการเกษตรนั้น ค่าจ้างมาตรฐานที่แตกต่างกันไปตามแต่ละเทศมณฑลแต่ละที่ในอังกฤษและสกอตแลนด์ก็ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มค่าจ้างอย่างไม่เสมอกัน
Lastly, during the period when that rise of wages took place counteracting influences were at work, such as the new taxes consequent upon the Russian war, the extensive demolition of the dwelling-houses of the agricultural labourers, and so forth. ท้ายสุด ในช่วงที่มีการเพิ่มค่าแรก อิทธิพลโต้กลับก็เริ่มทำงาน เช่นภาษีอันใหม่ที่เกิดตามจากสงครามรัสเซีย การทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของผู้ใช้แรงงานเกษตรกรเป็นบริเวณกว้าง และอื่น ๆ
Having premised so much, I proceed to state that from 1849 to 1859 there took place a rise of about 40 per cent. in the average rate of the agricultural wages of Great Britain. I could give you ample details in proof of my assertion, but for the present purpose think it sufficient to refer you to the conscientious and critical paper read in 1860 by the late Mr. John C. Morton at the London Society of Arts on The Forces Used in Agriculture. Mr. Morton gives the returns, from bills and other authentic documents, which he had collected from about one hundred farmers, residing in twelve Scotch and thirty-five English counties. ด้วยที่กล่าวเปรยมามากแล้ว ผมจะกล่าวดำเนินไปว่าตั้งแต่ ค.ศ. 1849 ถึง 1859 ได้มีการเพิ่มขึ้นในอัตราค่าจ้างในภาคเกษตรกรรมประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ยในบริเตนใหญ่ ผมสามารถแสดงรายละเอียดได้มากพอเพื่อพิสูจน์คำกล่าวอ้างของผม แต่ด้วยเป้าหมาย ณ ตอนนี้ ผมคิดว่าจะขอแนะนำเอกสารที่รอบคอบและวิเคราะห์ให้ซึ่งอ่านโดยคุณ จอห์น ซี. มอร์ตัน ผู้วายชนม์ ที่สมาคมศิลปะลอนดอนเกี่ยวกับกำลังที่ใช้ในเกษตรกรรม คุณมอร์ตันยกตัวอย่างรายได้ จากบิลและเอกสารของจริง ซึ่งเขาได้เก็บรวบรวมมาจากเกษตรกรประมาณหนึ่งร้อยคนซึ่งอาศัยอยู่ในเทศมณฑลในอังกฤษสามสิบห้าแห่งและในสกอตแลนด์สิบสองแห่ง
According to our friend Weston's opinion, and taken together with the simultaneous rise in the wages of the factory operatives, there ought to have occurred a tremendous rise in the prices of agricultural produce during the period 1849 to 1859. But what is the fact? Despite the Russian war, and the consecutive unfavourable harvests from 1854 to 1856, the average price of wheat, which is the leading agricultural produce of England, fell from about £3 per quarter for the years 1838 to 1848 to about £2 10s. per quarter for the years 1849 to 1859. This constitutes a fall in the price of wheat of more than 16 per cent. simultaneously with an average rise of agricultural wages of 40 per cent. During the same period, if we compare its end with its beginning, 1859 with 1849, there was a decrease of official pauperism from 934,419 to 860,470, the difference being 73,949; a very small decrease, I grant, and which in the following years was again lost, but still a decrease. ตามความคิดเห็นของ เวสตัน สหายของเรา และพิจารณาร่วมกับการเพิ่มค่าจ้างให้คนงานในโรงงานในเวลาเดียวกันนี้ ก็ควรที่จะเกิดการเพิ่มขึ้นในราคาของสินค้าเกษตรกรรมอย่างมหาศาลในช่วงปี ค.ศ. 1849 ถึง 1859 แต่ความจริงเกิดอะไร แม้จะมีสงครามในรัสเซีย และการเก็บเกี่ยวที่ไม่น่าพึงพอใจตามต่อมาระหว่าง ค.ศ. 1854 ถึง 1856 ราคาเฉลี่ยของข้าวสาลี ซึ่งเป็นผลผลิตการเกษตรชั้นนำของอังกฤษ กลับลดลงจาก 3 ปอนด์ต่อควอเตอร์ใน ค.ศ. 1838 ถึง 1848 จนเหลือ 2 ปอนด์ 10 ชิลลิงต่อควอเตอร์จาก ค.ศ. 1849 ถึง 1859 ซึ่งนี่เป็นการลดลงของราคาของข้าวสาลีไปกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างภาคเกษตรกรรมเฉลี่ยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเวลาเดียวกัน หากเราเปรียบเทียบต้นกับปลาย ค.ศ. 1859 กับ 1849 ได้มีการลดลงของความยากจนทางการ จาก 934,419 เป็น 860,470 คน ต่างกัน 73,949 ผมยอมรับว่าลดลงน้อยมาก แล้วก็หายไปในปีต่อ ๆ มา แต่ก็ยังลดลง
It might be said that, consequent upon the abolition of the Corn Laws, the import of foreign corn was more than doubled during the period from 1849 to 1859, as compared with the period from 1838 to 1848. And what of that? From Citizen Weston's standpoint one would have expected that this sudden, immense, and continuously increasing demand upon foreign markets must have sent up the prices of agricultural produce there to a frightful height, the effect of increased demand remaining the same, whether it comes from without or from within. What was the fact? Apart from some years of failing harvests, during all that period the ruinous fall in the price of corn formed a standing theme of declamation in France; the Americans were again and again compelled to burn their surplus of produce; and Russia, if we are to believe Mr. Urquhart, prompted the Civil War in the United States because her agricultural exports were crippled by the Yankee competition in the markets of Europe. อาจพูดได้ว่า จากการยกเลิกกฎหมายธัญพืช การนำเข้าธัญพืชต่างแดนก็เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าระหว่าง ค.ศ. 1849 ถึง 1859 เมื่อเทียบกับระหว่าง ค.ศ. 1838 ถึง 1848 แล้วนั่นเกี่ยวอะไร จากจุดยืนของพลเมืองเวสตัน เราอาจจะคาดว่าอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน มหาศาล และต่อเนื่องนี้ในตลาดต่างแดน จะต้องทำให้ราคาสินค้าเกษตรในที่แห่งนั้นต้องสูงขึ้นอย่างน่าสะพรึง ผลของอุปสงค์ที่มากขึ้นก็ยังคงเดิม ไม่ว่าจะมาจากภายนอกหรือภายใน แต่ความจริงเกิดอะไรขึ้น นอกจากปีบางปีที่ผลผลิตต่ำแล้ว ทั้งช่วงเวลานั้นราคาของธัญพืชลดลงอย่างย่อยยับและทำให้กลายเป็นหัวข้อการชุมนุมในระยะยาวในฝรั่งเศส และชาวอเมริกันก็ถูกบีบบังคับให้ต้องเผาผลผลิตส่วนเกินของพวกเขาซ้ำแล้วซ้ำเล่า และรัสเซีย ถ้าเราจะเชื่อคุณเออร์เคิร์ต ได้กระตุ้นให้เกิดสงครามกลางเมืองในสหรัฐ เพราะการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของพวกเขาถูกทำให้พิการจากการแข่งขันจากพวกแยงกีในตลาดยุโรป
Reduced to its abstract form, Citizen Weston's argument would come to this: Every rise in demand occurs always on the basis of a given amount of production. It can, therefore, never increase the supply of the articles demanded, but can only enhance their money prices. Now the most common observation shows that an increased demand will, in some instances, leave the market prices of commodities altogether unchanged, and will, in other instances, cause a temporary rise of market prices followed by an increased supply, followed by a reduction of the prices to their original level, and in many cases below their original level. Whether the rise of demand springs from surplus wages, or from any other cause, does not at all change the conditions of the problem. From Citizen Weston's standpoint the general phenomenon was as difficult to explain as the phenomenon occurring under the exceptional circumstances of a rise of wages. His argument had, therefore, no peculiar bearing whatever upon the subject we treat. It only expressed his perplexity at accounting for the laws by which an increase of demand produces an increase of supply, instead of an ultimate rise of market prices. เมื่อถูกลดรูปกลายเป็นนามธรรม คำกล่าวอ้างเหตุผลของพลเมือง เวสตัน ก็คือเท่านี้: อุปสงค์เพิ่มขึ้นทุกครั้งบนฐานของการผลิตในปริมาณที่กำหนดเสมอ มันจึงไม่สามารถเพิ่มอุปทานที่ได้รับความต้องการได้ แต่เพิ่มราคาของมันได้เท่านั้น ทีนี้แล้ว การสังเกตการณ์ที่มีอยู่แพร่หลายที่สุดแสดงให้เห็นว่าอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะปล่อยให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงเลยในบางกรณี และในบางกรณีก็ทำให้เกิดราคาตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างชั่วคราวที่ตามมาด้วยอุปทานที่สูงขึ้น ตามมาด้วยราคาที่ลดลงกลับมาในระดับเดิม และในหลายกรณีก็ลดลงต่ำกว่าเดิม ไม่ว่าอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจะมาจากค่าจ้างส่วนเกิน หรือจากเหตุปัจจัยอื่น ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของปัญหาเลย จากจุดยืนของพลเมือง เวสตัน ปรากฏการณ์โดยทั่วไปอันนี้เป็นสิ่งที่อธิบายยากพอ ๆ กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้พฤติการณ์ที่ค่าจ้างเพิ่มขึ้น การอ้างเหตุผลของเขานั้นจึงไม่มีความเกี่ยวพันกับหัวข้อที่เราพิจารณาอยู่แม้แต่น้อย มันเป็นเพียงการแสดงออกมาซึ่งความงุนงงของเขาที่จะพิจารณากฎเกณฑ์ที่ว่าอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น แทนที่จะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นผลสุดท้าย