งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 5

ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
IV. อุปทานและอุปสงค์
Our friend Weston accepts the Latin proverb that repetitio est mater studiorum, that is to say, that repetition is the mother of study, and consequently he repeated his original dogma again under the new form that the contraction of currency, resulting from an enhancement of wages, would produce a diminution of capital, and so forth. Having already dealt with his currency crotchet, I consider it quite useless to enter upon the imaginary consequences he fancies to flow from his imaginary currency mishap. I shall proceed to at once reduce his one and the same dogma, repeated in so many different shapes, to its simplest theoretical form. เวสตันสหายของเรายอมรับในสุภาษิตละตินว่า repetitio est mater studiorum กล่าวคือการทำซ้ำเป็นมารดาแห่งการศึกษา และด้วยเหตุนี้เขาจึงพูดถึงหลักการอันเดิมของเขาซ้ำอีกครั้งในรูปแบบใหม่ว่าการหดตัวของเงินตราที่เกิดจากการเพิ่มค่าจ้างจะส่งผลให้ทุนเล็กลงและอื่น ๆ เนื่องด้วยผมได้พูดถึงความเพ้อฝันเรื่องเงินตราของเขาไปแล้ว ผมจึงถือว่าเป็นการไร้ประโยชน์ที่จะพูดถึงผลพวงในจินตนาการที่เขานึกว่าเป็นผลตามมาจากอุบัติเหตุเกี่ยวกับเงินตราในจินตนาการของเขาอีกครั้งหนึ่ง ผมสมควรที่จะเดินหน้าลดรูปหลักการอันหนึ่งอันเดียวอันเดิมของเขานี้ให้เสร็จเสียที ที่เขาพูดซ้ำ ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ ให้กลายเป็นรูปแบบทางทฤษฎีที่เรียบง่ายที่สุดของมัน
The uncritical way in which he has treated his subject will become evident from one single remark. He pleads against a rise of wages or against high wages as the result of such a rise. Now, I ask him, What are high wages and what are low wages? Why constitute, for example, five shillings weekly low, and twenty shillings weekly high wages? If five is low as compared with twenty, twenty is still lower as compared with two hundred. If a man was to lecture on the thermometer, and commenced by declaiming on high and low degrees, he would impart no knowledge whatever. He must first tell me how the freezing-point is found out, and how the boiling-point, and how these standard points are settled by natural laws, not by the fancy of the sellers or makers of thermometers. Now, in regard to wages and profits, Citizen Weston has not only failed to deduce such standard points from economical laws, but he has not even felt the necessity to look after them. He satisfied himself with the acceptance of the popular slang terms of low and high as something having a fixed meaning, although it is self-evident that wages can only be said to be high or low as compared with a standard by which to measure their magnitudes. เพียงข้อสังเกตเดียว วิธีการอันไม่วิพากษ์ที่เขาใช้กับหัวข้อของเขาก็จะเด่นชัดขึ้นมา เขาต่อต้านการขึ้นค่าจ้าง หรือต่อต้านค่าจ้างสูงอันเป็นผลจากการเพิ่มนั้น ทีนี้ผมถามเขา อะไรคือค่าจ้างที่ต่ำหรือสูงหรือ อย่างเช่นว่าทำไมหรือถึงให้ห้าชิลลิงต่อสัปดาห์ต่ำและยี่สิบชิลลิงต่อสัปดาห์สูง หากห้านั้นต่ำเมื่อเทียบกับยี่สิบ ยี่สิบก็ยังต่ำเมื่อเทียบกับสองร้อย หากมีคนบรรยายเกี่ยวกับมาตรอุณหภูมิแล้วเริ่มโดยกล่าวถึงองศาที่สูงและต่ำ เขาก็ไม่ได้แสดงความรู้ใด ๆ เลย อันดับแรกเขาต้องบอกผมว่าจุดเยือกแข็งค้นพบได้อย่างไร และจุดเดือด และจุดมาตรฐานเหล่านี้ถูกกำหนดโดยกฎธรรมชาติอย่างไร ไม่ใช่โดยความปรารถนาของผู้ค้าหรือผู้ประดิษฐ์มาตรอุณหภูมิ ที่นี้เรื่องของค่าจ้างและกำไร พลเมืองเวสตันไม่ได้เพียงแต่ล้มเหลวที่จะนิรนัยจุดมาตรฐานเหล่านั้นจากกฎทางเศรษฐศาสตร์ แต่เขาไม่แม้แต่ที่จะรู้สึกถึงความจำเป็นที่ต้องนึกถึงมัน เขาสนองความต้องการตนเองด้วยการยอมรับคำสแลงดัง ๆ อย่างคำว่า ต่ำ และ สูง เสมือนกับเป็นสิ่งที่มีความหมายคงที่ แม้ว่ามันชัดเจนในตัวเองว่าค่าจ้างจะบอกว่าสูงหรือต่ำได้เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่ใช้วัดขนาดของมันเท่านั้น
He will be unable to tell me why a certain amount of money is given for a certain amount of labour. If he should answer me, "This was settled by the law of supply and demand," I should ask him, in the first instance, by what law supply and demand are themselves regulated. And such an answer would at once put him out of court. The relations between the supply and demand of labour undergo perpetual change, and with them the market prices of labour. If the demand overshoots the supply wages rise; if the supply overshoots the demand wages sink, although it might in such circumstances be necessary to test the real state of demand and supply by a strike, for example, or any other method. But if you accept supply and demand as the law regulating wages, it would be as childish as useless to declaim against a rise of wages, because, according to the supreme law you appeal to, a periodical rise of wages is quite as necessary and legitimate as a periodical fall of wages. If you do not accept supply and demand as the law regulating wages, I again repeat the question, why a certain amount of money is given for a certain amount of labour? เขาจะไม่สามารถบอกผมได้ว่าทำไมเงินจำนวนหนึ่งถึงถูกจ่ายสำหรับแรงงานจำนวนหนึ่ง หากเขาตอบผมว่า "นี่เป็นไปตามกฎของอุปสงค์และอุปทาน" ผมก็จะถามกลับในทันทีว่าอุปสงค์อุปทานนี่ถูกควบคุมโดยกฎอะไร แล้วคำตอบเช่นนี้ก็จะทำให้เขาฟังไม่ขึ้นทันที ความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและอุปสงค์ของแรงงานนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และราคาตลาดของแรงงานก็ตามกัน หากอุปสงค์เกินอุปทาน ค่าจ้างก็เพิ่ม หากอุปทานเกินอุปสงค์ ค่าจ้างก็ลด แม้ว่าในพฤติการณ์เช่นนี้ก็อาจจำเป็นที่จะต้องทดสอบสถานะของอุปสงค์และอุปทานที่แท้จริงด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิการนัดหยุดงานหรืออื่น ๆ แต่หากคุณยอมรับว่าอุปทานและอุปสงค์เป็นกฎซึ่งควบคุมค่าจ้าง มันจะเป็นสิ่งที่ไร้เดียงสามากที่จะต่อต้านการขึ้นค่าจ้าง เพราะตามกฎสูงสุดที่คุณยอมรับ การขึ้นค่าจ้างเป็นระยะ ๆ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและชอบธรรมพอ ๆ กับการลดค่าจ้างเป็นระยะ หากคุณไม่ยอมรับว่าอุปทานและอุปสงค์เป็นกฎซึ่งควบคุมค่าจ้าง ผมก็จะกล่าวคำถามอีกครั้งหนึ่ง ทำไมเงินจำนวนหนึ่งถึงถูกจ่ายสำหรับแรงงานจำนวนหนึ่งหรือ
But to consider matters more broadly: You would be altogether mistaken in fancying that the value of labour or any of other commodity whatever is ultimately fixed by supply and demand. Supply and demand regulate nothing but the temporary fluctuations of market prices. They will explain to you why the market price of a commodity rises above or sinks below its value, but they can never account for that value itself. Suppose supply and demand to equilibrate, or, as the economists call it, to cover each other. Why, the very moment these opposite forces become equal they paralyze each other, and cease to work in the one or the other direction. At the moment when supply and demand equilibrate each other, and therefore cease to act, the market price of a commodity coincides with its real value, with the standard price round which its market prices oscillate. In inquiring into the nature of that value, we have, therefore, nothing at all to do with the temporary effects on market prices of supply and demand. The same holds true of wages and of the prices of all other commodities. แต่พิจารณาเรื่องนี้อย่างกว้าง ๆ คุณจะเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงหากนึกว่ามูลค่าของแรงงานหรือของสินค้าโภคภัณฑ์อื่นใดก็ตามนั้นถูกตรึงไว้ด้วยอุปทานและอุปสงค์ อุปทานและอุปสงค์ไม่ได้ควบคุมอะไรเลยนอกเหนือจากการผันผวนชั่วคราวของราคาตลาด พวกเขาจะอธิบายให้คุณฟังว่าทำไมราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์จึงโตขึ้นหรือตกลงจากมูลค่าของมัน แต่พวกเขาไม่สามารถอธิบายอะไรเกี่ยวกับมูลค่านั้นเองเลย สมมุติว่าอุปทานและอุปสงค์นั้นสมดุลแล้ว หรืออย่างที่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่ามันชดเชยกันแล้ว ทำไม ณ เวลาที่แรงตรงกันข้ามนี้กลายเป็นเท่ากันและจึงทำให้อีกฝั่งเป็นอัมพาต และหยุดที่จะทำงานไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เมื่ออุปทานและอุปสงค์สมดุลกันและจึงยุติการกระทำ ราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์จึงพ้องกับมูลค่าจริงของมัน และมีราคามาตรฐานที่ราคาตลาดคอยกวัดแกว่งรอบจุดนั้น ในการตรวจสอบถึงธรรมชาติของมูลค่านั้น เราจึงไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับผลกระทบชั่วคราวของอุปทานและอุปสงค์ที่มีต่อราคาตลอด นี่ยังเป็นจริงเมื่อพูดถึงค่าจ้างและราคาของสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ทั้งหมด