งานแปล:ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับสตีเวนส์และพระยาศรีวิสารวาจา/บันทึกของพระยาศรีวิสารวาจา
Memorandum
|
บันทึก
|
1.In compliance with the Royal Command, a plan for the institution of government by Prime Minister and for the establishment of a Legislative Council has been drawn up. |
1.โครงการก่อตั้งการปกครองโดยอัครมหาเสนาบดีและจัดตั้งสภานิติบัญญัตินั้นได้ร่างขึ้นตามรับสั่งแล้ว |
Owing to the limited time at our disposal, this plan has been worked out with a certain element of haste and there is no pretension that it is perfect or final. |
เนื่องจากเวลาในเงื้อมมือเรานั้นมีจำกัด โครงการนี้จึงเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างรีบเร่งในบางจุด และไม่ขออวดอ้างว่า เป็นฉบับสมบูรณ์หรือสุดท้ายแล้ว |
2.In practice it will be found that the success of the plan would entirely depend upon the question of personnel. This is all the more so in the case of the Prime Minister and the cabinet. The choice of the Prime Minister is of extreme importance. |
2.ในทางปฏิบัติ จะพบว่า ความสำเร็จของโครงการนั้นขึ้นอยู่กับคำถามเรื่องตัวบุคคลล้วน ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของอัครมหาเสนาบดีและคณะเสนาบดี การเลือกอัครมหาเสนาบดีจึงนับว่ามีความสำคัญเป็นล้นพ้น |
3.The establishment of a Legislative Council, however, implies a very fundamental change in the present constitution. It constitutes a first step towards parliamentary government, and when once it is set up, the tendency will naturally be to extend its activities and increase its power. |
3.กระนั้น การจัดตั้งสภานิติบัญญัติย่อมมีนัยเป็นความเปลี่ยนแปลงในระเบียบการปกครองปัจจุบันจนถึงรากฐานอย่างมาก การจัดตั้งดังกล่าวเป็นก้าวแรกสู่การปกครองแบบมีรัฐสภา และเมื่อการปกครองนั้นจัดตั้งขึ้นแล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะแผ่ขยายกิจกรรมและเพิ่มพูนอำนาจของตนเป็นธรรมดา |
4.Is the present an opportune time to effect a fundamental change in the constitution? |
4.เวลานี้เป็นโอกาสอันดีที่จะก่อความเปลี่ยนแปลงในระเบียบการปกครองจนถึงรากฐานแล้วหรือ? |
There is at present a feeling of dissatisfaction prevailing amongst a certain class of people, brought about primarily by the world economic depression. In order to meet the financial situation the government has been reluctantly compelled to make drastic cut in government expenditure and to impose new emergency taxes. These measures will to a certain extent increase the feeling of discontent with the government. In these circumstances there are rumours current that there will be an attempt to overthrow the government at some future occasion. Although some of the rumours appear to be wild and unreliable, yet it would be wise for the government to be prepared for all eventualities. In time like this, it is imperative that there should be a feeling of confidence and unity amongst all the members of the government. There should be no change which would weaken the power of the government. |
ปัจจุบัน มีความรู้สึกไม่พอใจอยู่ทั่วไปในหมู่ชนบางชั้น ซึ่งหลัก ๆ แล้วเกิดจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ รัฐบาลจำทนจำฝืนตัดงบประมาณรายจ่ายในราชการลงอย่างหนักหน่วงและกำหนดภาษีใหม่เป็นการฉุกเฉินเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์การคลัง มาตรการเหล่านี้ย่อมจะทวีความรู้สึกขุ่นเคืองรัฐบาลขึ้นระดับหนึ่ง ภายใต้สภาพการณ์ดังนี้ เกิดกระแสข่าวลือว่า มีความพยายามจะโค่นล้มรัฐบาลไม่วันใดก็วันหนึ่งในอนาคต แม้ข่าวลือบางเรื่องดูจะคะนองและเหลือเชื่อ กระนั้น ก็คงรอบคอบดีถ้ารัฐบาลจะเตรียมรับผลลงเอยทุกรูปแบบ การที่ควรจะมีความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจและสมัครสมานกันในหมู่สมาชิกทั้งหลายของรัฐบาลจึงเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ในกาลเวลาเช่นนี้ ส่วนความเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้อำนาจรัฐบาลเสื่อมถอยลงนั้นไม่ควรเกิดขึ้น |
The answer to the question raised at the beginning of this paragraph is that much depends upon the effect of the change that is proposed. Until the present financial crisis is over, no change in the constitution should be adopted which would have the effect of weakening the power of the government. |
สำหรับคำถามที่ยกขึ้น ณ ต้นวรรคนี้ คำตอบขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของความเปลี่ยนแปลงที่เสนอกันนั้นเป็นอย่างยิ่ง ตราบที่วิกฤติเศรษฐกิจในยามนี้ยังไม่ยุติ ก็ไม่ตกลงควรรับความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในระเบียบการปกครองอันจะมีผลให้อำนาจรัฐบาลเสื่อมถอยลง |
5.In order to ensure the satisfactory working of a Legislative Council, it is essential that the members of the Council should possess a certain amount of training in the work which is to be entrusted to them. In this respect the experience of our neighbours may be of interest to us. Both in India and Burma, no Legislative Council was set up until the inhabitants have held some local training in self government. The best training for local self government would seem to be the establishment of municipalities in the more advanced parts of the country. In the case of Burma municipalities were set up as early as 1884, but the present Burma Legislative Council was not set up till 1923. |
5.เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสภานิติบัญญัติจะปฏิบัติงานอย่างเป็นที่น่าพอใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่สมาชิกสภาควรได้รับการฝึกฝนในงานที่ตนจะได้รับมอบหมายนั้นมาประมาณหนึ่ง ในเรื่องนี้ ประสบการณ์ของเพื่อนบ้านเราอาจมีประโยชน์ต่อเรา ทั้งในอินเดียและพม่าไม่มีการตั้งสภานิติบัญญัติขึ้นจนกระทั่งราษฎรได้รับการฝึกฝนบางอย่างจากท้องถิ่นให้ปกครองตนเอง การฝึกฝนให้ปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นที่ดีที่สุดดูจะเป็นการก่อตั้งเทศบาลขึ้นในภาคส่วนที่พัฒนากว่าใครเพื่อนในประเทศ ในกรณีพม่านั้น เทศบาลตั้งขึ้นแต่เนิ่นมากถึงปี 1884 แต่สภานิติบัญญัติพม่าปัจจุบันนั้นไม่ได้ตั้งขึ้นจนปี 1923 |
In the case of Siam, a law for the setting up of municipalities has now been drafted. It is respectfully submitted that the draft law should be examined and, if found agreeable, should be adopted and put into force. This will enable the local communities to gain some experience in self government. When sufficient experience has been gained in this way, a Legislative Council could be set up with a certain measure of confidence that it will function well and wisely. |
ในกรณีสยาม บัดนี้ มีการร่างกฎหมายสำหรับตั้งเทศบาลขึ้นแล้ว จึงขอกราบบังคมทูลเสนอว่า ควรทรงตรวจสอบร่างกฎหมายดังกล่าว และถ้าทรงเห็นว่า น่าเห็นดีเห็นงามด้วยแล้ว ก็ชอบที่จะทรงตกลงรับและตราขึ้นใช้บังคับ ร่างนี้จะอำนวยให้ชุมชนท้องถิ่นได้รับประสบการณ์บางอย่างในการปกครองตนเอง เมื่อมีการได้รับประสบการณ์ตามวิถีทางนี้อย่างเพียงพอแล้ว ก็สามารถตั้งสภานิติบัญญัติขึ้นโดยไว้วางใจได้ประมาณหนึ่งว่า สภาจะปฏิบัติกิจหน้าที่ได้เป็นอย่างดีและรอบคอบ |
|
|
บรรณานุกรม
แก้ไข- ศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล), พระยา. (2538). Memorandum. ใน เอกสารเผยแพร่ประกอบการจัดนิทรรศการ เรื่อง พระปกเกล้าฯ กับรัฐธรรมนูญไทย เล่ม 2 (น. 125–127). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.