จดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษ/ใบเพิ่มที่ 2
ใบเพิ่มที่ ๒ บาญชีเครื่องราชบรรณาการ แลสิ่งของส่งไปพระราชทาน
แก้ไขที่ ๑ พระราชสาส์นจาฤกในพระสุพรรณบัตร ห่อในแผ่นทองคำ แล้วใส่ในฝักทองคำลงยา
ที่ ๒ พระราชสาทิศฉายาลักษณ ๒ แผ่น แผ่น ๑ มีรูปพระราชฉายาของสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงเครื่องต้นสำหรับพระเจ้าแผ่นดินพร้อมทุกสิ่ง เสด็จทรงนั่งเหนือพระบรมราชอาศน์ ถ่ายไว้ในเครื่องถ่ายฉายบนแผ่นโลหะ แผ่น ๑ มีรูปพระราชฉายาของสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงเครื่องปรกติ เสด็จทรงนั่งเหนือราชอาศน์ปรกติ กับพระนางเธอฝ่ายใน แลพระเจ้าลูกเธอ ๒ พระองค์บนพระเพลา ถ่ายไว้ในเครื่องถ่ายฉายบนแผ่นโลหะ
ที่ ๓ พระมหามงกุฎลงยาประดับเพ็ชรบ้าง ประดับทับทิมบ้าง
ที่ ๔ พระสังวาลลายกุดั่นประดับทัมทิม ทับบนแผ่นแพรเฉวียงซ้าย
ที่ ๕ พระธำมรงนพรัตน
ที่ ๖ ฉลองพระองค์พระกรน้อยมีดุมเพ็ชร ๗
ที่ ๗ ฉลองพระองค์ครุยกรองทอง
ที่ ๘ รัดพระองค์กุดั่นประดับเพ็ชรบ้าง ทับทิมบ้าง มรกดบ้าง สายทองมีประจำยามประดับทับทิม
ที่ ๙ รัดพระองค์จรบาทตาดปักเลื่อม
ที่ ๑๐ ประคดรัดพระองค์กรองทอง
ที่ ๑๑ สนับเพลาเข้มขาบเชิงงอนลายทองคำลงยาราชาวดี
ที่ ๑๒ ผ้าทรงยกทองผืน ๑
ที่ ๑๓ ผ้าทรงกรวยเกี้ยวเขียนทองผืน ๑
ที่ ๑๔ ผ้าทรงปูมอย่างดี ๓ ผืน
ที่ ๑๕ สังข์อุตราวัฎเครื่องทองคำลงยาราชาวดีมีดอกนพรัตน มังสีทองคำจำหลักลงยาเปนเครื่องรอง
ที่ ๑๖ ขันน้ำกับพานรองทองคำลงยาราชาวดีสำรับ ๑
ที่ ๑๗ เครื่องชา ป้านเลี่ยมทองคำ จานทองคำลงยารองป้าน ถ้วยหยกมีฝา เรือทองคำรองถ้วย ถาดทองคำจำหลักรองสำรับ ๑
ที่ ๑๘ ถ้วยฝาทองคำลงยา ถ้วยฝาเงินถมยาดำตะทองรวมเปน ๒
ที่ ๑๙ ซองบุหรี่ทองคำลงยา
ที่ ๒๐ กันไกรเครื่องตัดผมอย่างไทย ซ่นประดับเพ็ชร ประดับทับทิม รวมเปน ๒ พระสางเจียดงา กรอบแลด้ามทองคำลงยา ประดับพลอยมรกดคู่ ๑
ที่ ๒๑ เครื่องซ่อม, ช้อน, มีด, ทองคำประสม ด้ามประดับเพ็ชรสำรับ ๑
ที่ ๒๒ โต๊ะเงินใหญ่ ปากกาไหล่ทอง คู่ ๑
ที่ ๒๓ ดาบเหล็กลายฝักทองคำลงยา
ที่ ๒๔ ดาบเหล็กลายฝักทองคำจำหลัก
ที่ ๒๕ กฤชฝักนาก
ที่ ๒๖ หอกอย่างสยาม ฝักเงินถมยาด้ามตะทอง
ที่ ๒๗ ง้าวฝักเงินถมยาด้ามตะทอง
ที่ ๒๘ ทวนด้ามกาไหล่ทอง คู่ ๑
ที่ ๒๙ พระกลด ๑ บังพระสูรย์ ๑ ฉัตร ๕ ชั้นคู่ ๑ ฉัตร ๓ ชั้นคู่ ๑ ชุมสายคู่ ๑ เครื่องพื้นแพรปักทองแผ่ลวด
ที่ ๓๐ พระราชยานกง
ที่ ๓๑ กลองมโหระทึกกับปี่งาสำรับ ๑
ที่ ๓๒ เครื่องม้าทองคำประดับพลอยสำรับ ๑
ที่ ๓๓ ฉากรูปพระแก้วมรกด ซึ่งเปนที่นมัสการในพระบรมมหาราชวัง เขียน ๓ รูป ตามอย่างทรงเครื่องในฤดูทั้ง ๓ ซึ่งมีหนังสือชี้แจงมาเปนนิทานด้วยนั้น
ที่ ๓๔ ฉากเรื่องบรมราชาภิเษก ๔ แผ่น
บาญชีนี้ได้มาจากห้องอาลักษณ เข้าใจว่าเปนพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔
นอกจากสิ่งของเครื่องราชบรรณาการที่พรรณาในบาญชี ยังมีตัวอย่างสินค้าต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อในหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีรวม ๖๗ สิ่ง ส่งไปในเครื่องราชบรรณาการด้วย สิ่งของเครื่องราชบรรณาการส่งไปครั้งนั้น ที่เปนเครื่องทองคำ เพ็ชร พลอย รักษาไว้ในห้องเครื่องราชสมบัติที่พระราชวังวินด์เซอ ไทยที่ออกไปประเทศอังกฤษในชั้นหลังๆ ที่ได้รับอนุญาตไปดูพระราชวังวินด์เซอ เจ้าพนักงานเขายังพาไปดูเครื่องราชบรรณาการเหล่านี้ เข้าใจว่ายังอยู่ประจำที่จนทุกวันนี้ สิ่งของส่งไปพระราชทานพระมารดา พระภัศดา แลพระราชบุตร พระราชธิดา ของสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย จะกะอย่างไรหาทราบไม่ พบแต่บาญชีสิ่งของดังนี้
- จี้มรกดประดับเพ็ชร ๑
- แหวนครึ่งซีกเพ็ชร ๔
- แหวนครึ่งซีกมรกด ๔
- หีบทองคำลงยาใบใหญ่ ๑
- หีบทองคำลงยาในเล็กมีลิ้นชัก ๕
- ตลับยานัดถุ์ทองคำลงยา ๑๐
- ซองบุหรี่ทองคำลงยา ๓
- กล้องไม้ราชวัง เครื่องทองคำลงยา ๒
- ตลับทองคำลงยา ใส่ยาสูบสำหรับใช้กับกล้อง ๒
- ป้านใหญ่เลี่ยมทองคำ ๒
- หีบปักทองคำ ๓
ของพระราชทานลอร์ดคลาเรนดอน เสนาบดีว่าการต่างประเทศ
- ซองบุหรี่ทองคำลงยา ๑
- ตลับยานัดถุ์ทองคำลงยา ๔ เหลี่ยม ๑
- ตลับยานัดถุ์ทองคำลงยากลม ๑
- ที่ชาถมตะทองสำรับ ๑
สิ่งของพระราชทานให้ราชทูตไปสำหรับแจกผู้มีบันดาศักดิ์ แต่ไม่มีชื่อปรากฎ มีแต่บาญชีสิ่งของคือ
- กฤชฝักทองคำ ๓
- ดาบฝักถมตะทอง ๒
- กาถมตะทอง ๒
- หีบถมตะทอง ๒๐
- ซองบุหรี่ถมตะทอง ๒๐
- ตลับถมตะทอง ๒๐
- แพรลาย ๑๐ ม้วน
ของพระราชทานโปรเฟศเซอวิลสัน คือ
- ฉากรูปพระแก้ว ๑
- ฉากรูปพระเบญจา ๑
- พระคัมภีร์ ๑
เครื่องราชบรรณาการฝ่ายพระบวรราชวัง
แก้ไข๑ ขันน้ำทองคำลงยา มีพานรอง
๒ กระโถนทองคำลงยา
๓ ซองบุหรี่ทองคำลงยา
๔ ฉลองพระองค์กรองทอง ๒ พระภูษา ๒
๕ พระกลด ๒
๖ พระแสงทวน คร่ำทอง เครื่องทองประดับทับทิม ๒
๗ พระแสงตรี ๒
๘ พระวอ
ของกรมหลวงวงศาฯ ประทานลอร์ดคลาเรนดอน
แก้ไขหอกคร่ำทอง
ของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ให้ลอร์ดคลาเรนดอน
แก้ไขง้าว ๑
ของเจ้าพระยารวิวงศ์ ให้ลอร์ดคลาเรนดอน
แก้ไขหีบบุหรี่ถม ๑
ที่ชากาไหล่ทอง ประดับพลอย ๑
งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
- (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
- (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
- (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
- (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
- (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก