จดหมายเหตุ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรฯ/อธิบายประกอบ
บุคคล
แก้ไข- กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ — ได้แก่ พระเจ้าวรวงษ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์
- กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ — ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ
- กรมหมื่นอุดมรัตนราษี — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี
- กรมหลวงเทเวศร์ — ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์
- กรมหลวงวงศาธิราชสนิท — ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
- ขุนศรีสยามกิจ — ได้แก่ ขุนศรีสยามกิจ (เนตร) ในรัชกาลที่ 5 ได้เป็นพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ เจ้าเมืองสมุทรปราการ และเป็นพระยาอรรคราชนารถภักดี รับราชการกระทรวงการต่างประเทศ[1]
- เจ้าคุณสาสนโสภณ — ได้แก่ พระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว) แห่งวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม[1]
- เจ้าพระยาภูธราภัย — ได้แก่ เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) บุตรชายของเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย)[2]
- เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง — ดู พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ
- เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ — ได้แก่ ช่วง บุนนาค[3]
- ตั้วเหี่ย — ได้แก่ "大兄" ในภาษาจีน ฮกเกี้ยนอ่าน "tua²²⁻²¹ hiã⁴⁴" จีนกลางอ่าน "dàxiōng" (ต้า-ซฺยง) แปลตรงตัวว่า "พี่ (ชาย) ใหญ่" (big brother) ใช้เรียกหัวหน้ากลุ่มอาชญากร กลุ่มนอกกฎหมาย ฯลฯ ทำนอง "ลูกพี่" ในภาษาไทย
- ตาฟัก — ได้แก่ พระศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ)[2]
- น้องข้า — ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชาของรัชกาลที่ 4
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณ — ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย
- พระเจ้าอยู่หัว — ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
- พระประเสริฐศาสตร์ดำรง — อาจได้แก่ หนู วรกิจพิศาล
- พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ — ได้แก่ เพ็ง เพ็ญกุล เมื่อรัชกาลที่ 4 ประชวร บุคคลผู้นี้ยังเป็นจางวางมหาดเล็ก บรรดาศักดิ์ว่า พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ภายหลังจึงได้เลื่อนเป็นพระยาราชสุภาวดี และเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ตามลำดับ[1]
- พระราชโกษา — ได้แก่ พระราชโกษา (จัน) ในรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนเป็นพระยา เป็นบิดาของพระยาอุไทยธรรม (หรุ่น วัชโรทัย)[2]
- พระยาราชสุภาวดีศรีสัตเทพนารายณ์ สมุหมาตยาธิบดี ศรีสุเรนทราเมศวร พระสุรัสวดีกลาง — ดู พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ
- พระยาฤทธิไกร — อาจเป็นบุคคลเดียวกับ พระยาสีหราชฤทธิไกรท้ายน้ำ
- พระยาสีหราชฤทธิไกรท้ายน้ำ — อาจได้แก่ บัว รัตโนบล
- พระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ — ได้แก่ วร บุนนาค บุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)[4]
- พระศรีสุนทรโวหาร — ได้แก่ ฟัก สาลักษณ[2]
- พระเสนหามนตรี — ปรามินทร์ เครือทอง[5] ว่า ได้แก่ พระเสนหามนตรี (หนูพร้อม ณ นคร) บุตรของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) และอ้างคำอธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า "เหตุเรื่องพระเสนหามนตรีนั้น คือ เมื่อเจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) ถึงอสัญกรรมในรัชกาลที่ 4 พระเสนหามนตรี (หนูพร้อม) ผู้เป็นบุตรใหญ่ อายุยังเยาว์ ยังไม่ได้บวช มีผู้ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์เจ้าพระยานคร (น้อย) คิดปรารถนาจะเป็นพระยานครศรีธรรมราชหลายคน แต่พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริจะโปรดฯ ให้พระยาเสนหามนตรีเป็นพระยานครฯ จึงยังรอการตั้งพระยานครไว้ ครั้นพระเสนหามนตรีมีอายุครบอุปสมบท เข้ามาบวชอยู่วัดพิไชยญาติการามเมื่อปีเถาะ 2410 คืนวันหนึ่ง พระเสนหามนตรีไหว้พระอยู่ในกุฏิ มีผู้ร้ายเอาปืนยิงเข้าไปทางช่องฝา บังเอิญปืนลั่นออกเมื่อขณะพระเสนหามนตรีกราบพระ กระสุนปืนข้ามไป จึงไม่ถูก การไต่สวนต่อมาก็ไม่ได้ตัวผู้ร้าย พอพระเสนหามนตรีลาสิกขาบท ก็ทรงตั้งให้เป็นพระยานครฯ พระยานคร (หนูพร้อม) อยู่มาจนชรา ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาสุธรรมมนตรีเมื่อรัชกาลที่ 5"
- พระองค์เจ้าโสมาวดี — ได้แก่ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา
- พระองค์เจ้าอุณากรรณ — ได้แก่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณ
- พ่อกลาง — ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์[2]
- พ่อเพ็ง — ดู พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ
- พ่อใหญ่ — ได้แก่ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 4 คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
- แม่หนูโสม — ได้แก่ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา[4]
- แม่หนูใหญ่ — ได้แก่ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา[2]
- ยายศรี
- ไว้ซ์กงซุล — ได้แก่ รองกงสุล (vice-consul)
- สมเด็จกรมขุนบำราบปรปักษ์ — ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์
- สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ — ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ — ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมขุนพินิตประชานาถ, สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์, หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ — ได้แก่ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 4 คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
- วังหน้า — ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
- หนูโสม — ดู แม่หนูโสม
- หนูใหญ่ — ดู แม่หนูใหญ่
- หลวงทิพจักษุ์
- หลวงราโช
- หาบน — ปรามินทร์ เครือทอง[4] ว่า "หาบน", "วังบน", และ "ที่บน" เป็นคำที่รัชกาลที่ 4 ทรงใช้เรียกวังหน้า คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยระบุว่า "หาบน" เป็น "คำอย่างเก่า ไม่ใช่คำที่ตรัสเรียกอย่างเคารพ แต่เป็นคำเรียกอย่างคุ้นเคย" นอกจากนี้ รัชกาลที่ 4 ยังทรงใช้คำว่า "บ้านบน" เรียกสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) และ "บ้านล่าง" เรียกสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ต่อมาในรัชกาลที่ 5 คำว่า "บน" และ "ที่บน" เปลี่ยนความหมายไป เป็นหมายถึง ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงเรียกรัชกาลที่ 5 ว่า "ทูลหม่อมบน" และชาวเรียกวังเรียกสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ พระอัครมเหสีของรัชกาลที่ 5 ว่า "สมเด็จที่บน"
- เอมปเรอฝรั่งเศส — หมายถึง จักรพรรดิ (emperor) แห่งฝรั่งเศส ในที่นี้ได้แก่ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3[6]
สถานที่
แก้ไข- ตำหนักสวนกุหลาบ — ได้แก่ พระตำหนักสวนกุหลาบ ที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ
- ประตูสนามราชกิจ — ได้แก่ ประตูในกลุ่มประตูพระบรมมหาราชวัง อยู่ระหว่างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันออก[7]
- พระที่นั่งอนันตสมาคม — ได้แก่ พระที่นั่งอนันตสมาคมองค์เก่าในพระอภิเนาว์นิเวศน์[1]
- พระรัตนสถาน — อาจได้แก่ พระพุทธรัตนสถาน
- วัดบวรนิเวศฯ — ได้แก่ วัดบวรนิเวศวิหาร
- วัดราชประดิษฐ์ — ได้แก่ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
- หอภูวดลทัศไนย์ — ได้แก่ หอนาฬิกาพระที่นั่งภูวดลทัศไนยในพระอภิเนาว์นิเวศน์
วัน
แก้ไข- วันจันทร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2411[8]
- วันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2411[9]
- วันปวารณา — ดู วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230
- วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2411[10]
- วันพุธ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2411[9]
- วันพุธ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2411[11]
- วันพุธ แรม 8 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2411[9]
- วันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ฉศก จ.ศ. 1166 — ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347[12]
- วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411[13] เป็นวันมหาปวารณาในปีนั้น
- วันพฤหัสบดี แรม 12 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม ตรีศก จ.ศ. 1233 — คำนวณได้ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2414 แต่เป็นวันอังคาร[1]
- วันเพ็ญ ขึ้นสิบห้าค่ำ วันนี้ — ดู วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230
- วันเพ็ญ เดือนสิบเอ็ด — ดู วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230
- วันมหาปวารณา — ดู วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230
- วันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2411
- วันอังคาร ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2411[11]
- วันอังคาร แรม 14 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2411[8]
- วันอังคาร ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2411[10]
- วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2411[10]
- วันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 — ตรงกับวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2411[9]
เวลา
แก้ไข- เช้าสองโมง — ได้แก่ 8 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- เช้าสามโมงเศษ — ได้แก่ 9 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- เช้าสี่โมงเศษ — ได้แก่ 10 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- เช้าห้าโมงเศษ — ได้แก่ 11 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- เต็มปฐมยาม — ได้แก่ 21 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง[14]
- ทุ่มเศษ — ได้แก่ 19 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- บ่ายห้าโมงเศษ — ได้แก่ 17 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- ยามหนึ่ง — ได้แก่ 18–21 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง, ในกรณีที่หมายถึงเวลาสวรรคต ได้แก่ 21 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง[14]
- สองยาม — ได้แก่ 21–24 นาฬิกา ตามระบบ 24 ชั่วโมง
- สี่ทุ่มเศษ — ได้แก่ 22 นาฬิกาเศษ ตามระบบ 24 ชั่วโมง
อื่น ๆ
แก้ไข- นกตุ๊ด — อาจหมายถึง นกในนาฬิกากุ๊กกู (cuckoo clock) ในข้อความว่า "นกตุ๊ดก็ร้องขึ้นตุ๊ดหนึ่ง"
- พระพุทธบุศยรัตนจักรพรรดิพมลมณีมัย — ได้แก่ พระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย พระพุทธรูปในพระบรมมหาราชวัง
- พระแสงองค์ใหญ่องค์เล็ก — ได้แก่ พระแสงที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ถวายใน พ.ศ. 2410 พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4[15] ว่า เป็นพระแสงกระบี่องค์หนึ่ง (คือ "องค์ใหญ่" ตามจดหมายเหตุนี้) ถวายรัชกาลที่ 4 กับพระแสงกระเบาองค์หนึ่ง (คือ "องค์เล็ก" ตามจดหมายเหตุนี้) ถวายพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 4 คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีการถวายในวันจันทร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ นพศก จ.ศ. 1229 ตรงกับวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมองค์เก่า นอกจากนี้ ปรามินทร์ เครือทอง[6] ว่า พระแสงองค์ใหญ่มีจารึกว่า "ของเอมปเรอฝรั่งเศสถวายพระเจ้าแผ่นดินสยาม" และองค์เล็กมีจารึกว่า "ของยุพราชกุมารฝรั่งเศสถวายพระยุพราชกุมารสยาม"
- เรือเจ้าพระยา — ได้แก่ เรือหลวงเจ้าพระยาลำแรก
- อนาถปิณฑิโกวาทะ — ได้แก่ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร พระสูตรในพระไตรปิฎก
เชิงอรรถ
แก้ไขอ้างอิง
แก้ไข- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 40)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 44)
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 41)
- ↑ 4.0 4.1 4.2 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 42)
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 43–44)
- ↑ 6.0 6.1 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 43)
- ↑ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2558)
- ↑ 8.0 8.1 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 321)
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 320)
- ↑ 10.0 10.1 10.2 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 323)
- ↑ 11.0 11.1 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 324)
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. (5))
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 327)
- ↑ 14.0 14.1 ปรามินทร์ เครือทอง (2547, น. 45)
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2548, น. 239)
บรรณานุกรม
แก้ไข- ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2548). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ISBN 9749528115.
- ปรามินทร์ เครือทอง (บรรณาธิการ). (2547). จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 สวรรคต วันสุดท้ายของกษัตริย์นักปราชญ์. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743232036.
- มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำนักหอสมุดกลาง. (2558). ประตูในเขตพระบรมมหาราชวัง. สืบค้นจาก http://www.resource.lib.su.ac.th/rattanakosin/index.php/2014-10-27-08-52-05/2014-10-29-01-27-45/2015-10-15-04-25-28/2015-10-15-04-29-51