นิทานโบรานคดี/นิทานที่ 14

นิทานที่ 14
เรื่องโรงเรียนมหาดเล็กหลวง

ไนรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ส. 2435 พระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวเริ่มซงเปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครองบ้านเมือง โปรดไห้ตั้งกะซวงเสนาบดี ซึ่งแต่ก่อนมีเพียง 7 กะซวง เพิ่มขึ้นเปน 12 กะซวง และเปลี่ยนตัวเสนาบดีบางกะซวง ตัวฉันก็โปรดไห้ย้ายจากตำแหน่งอธิบดีกะซวงธัมการไปเปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทยไนคราวนั้น เสนาบดีต่างกะซวงต่างจัดการไนกะซวงของตนไห้จเรินทันสมัย การงานไนกะซวงต่าง ๆ มีมากขึ้น และทำละเอียดกว่าแต่ก่อน ทั้งมีการคิดจัดไหม่เพิ่มขึ้นเนือง ๆ ต้องการคนรับราชการไนกะซวงต่าง ๆ มากขึ้น เสมียนตามกะซวงซึ่งมีหยู่แต่ก่อนหย่อนความรู้ ไม่สามาถจะทำการงานตามระเบียบไหม่ได้ทันกับการที่เปลี่ยนแปลง เสนาบดีเจ้ากะซวงจึงต้องแสวงหาคนที่ได้เล่าเรียนมีความรู้ เช่น นักเรียนที่ได้รับประกาสนียบัตรจากโรงเรียนต่าง ๆ มาเปนเสมียน ต่อมาเมื่อเสมียนเหล่านั้นทำการงานดีมีความสามาถ เจ้ากะซวงก็กราบบังคมทูนขอไห้รับพระราชทานสัญญาบัตรเปนขุนนางมีตำแหน่งไนกะซวงตามคุนวุทธิ เปนเช่นนั้นมาราวสัก 5 ปี ดูเหมือนจะเปนเมื่อ พ.ส. 2441 วันหนึ่ง พระเจ้าหยู่หัวตรัดปรารภแก่ฉันว่า ขุนนางที่เปนขึ้นไหม่ ๆ ไนชั้นนี้ไม่ไคร่ซงรู้จัก แต่ก่อนมา ลูกผู้ดีที่จะทำราชการ ย่อมถวายตัวเปนมหาดเล็กตั้งแต่รุ่นหนุ่ม ไนเวลาเปนมหาดเล็ก ได้เข้าเฝ้าแหนรับราชการหยู่ไนราชสำนัก ซงรู้จักแทบทุกคน บางคนก็ได้เปนนายรองและหุ้มแพรรับราชการไนกรมมหาดเล็กก่อน แล้วจึงไปเปนขุนนางต่างกะซวง ขุนนางที่ไม่ได้เคยเปนมหาดเล็ก เช่น พวกที่ขึ้นจากเปนเสมียนตามกะซวง มีน้อย แต่เดี๋ยวนี้ ขุนนางขึ้นจากเปนเสมียนตามกะซวงเปนพื้น ไม่เคยเปนมหาดเล็ก จึงไม่ซงรู้จัก (บางทีกะซวงมหาดไทยของฉันเองจะเปนเหตุไห้ซงพระราชปรารภ ด้วยกำลังจัดระเบียบการปกครองหัวเมือง สมุหเทสาภิบาลมนทลต่าง ๆ ขอคนมีความรู้ออกไปรับราชการตามหัวเมือง ฉันต้องหาคนจำพวกนักเรียนส่งไปปีละมาก ๆ เมื่อคนเหล่านั้นคนไหนไปทำการงานดีมีความสามาถถึงขนาด ฉันก็กราบบังคมทูนขอไห้รับสัญญาบัตรเปนขุนนางตามทำเนียม จำนวนคนรับสัญญาบัตรขึ้นไหม่สังกัดหยู่ไนกะซวงมหาดไทยมากกว่ากะซวงอื่น ๆ แต่ข้อนี้ฉันยังไม่ได้คิดเห็นไนเวลานั้น) เมื่อได้ฟังพระราชปรารภแล้ว ฉันจึงมาคิดไคร่ครวนดู เห็นว่า ประเพนีโบรานซึ่งไห้ผู้ที่จะเปนขุนนางถวายตัวเปนมหาดเล็กเสียก่อนนั้น เปนการดีมีคุนมาก เพราะพระเจ้าแผ่นดินซงรู้จัก ย่อมเปนปัจจัยไห้ซงพระเมตตากรุนาและไว้วางพระราชหรึทัย ส่วนตัวผู้เปนข้าราชการ เมื่อได้รู้จักและซาบพระราชอัธยาสัยพระเจ้าแผ่นดิน ก็ย่อมเปนปัจจัยไห้เกิดความจงรักภักดี และยังมีประโยชน์หย่างอื่นอีก เพราะมหาดเล็กได้เข้าสมาคมชั้นสูง มีโอกาสได้สึกสาขนบทำเนียม และฝึกหัดกิริยามารยาท กับทั้งได้รู้จักผู้หลักผู้ไหย่ไนแผ่นดิน ตลอดจนได้คุ้นเคยกับเพื่อนมหาดเล็กซึ่งจะไปรับราชการด้วยกัน มีโอกาสที่จะผูกไมตรีจิตต่อกันไว้สำหรับวันหน้า ว่าโดยย่อเห็นว่า ประเพนีที่เปนประโยชน์อันน่าจะรักสาไว้ หาควนปล่อยไห้สูญเสียไม่ เมื่อคิดต่อไปว่า จะคิดแก้ไขด้วยประการไดดี เห็นว่า จะกลับไช้ประเพนีเหมือนหย่างเดิม ไม่เหมาะกับราชการไนสมัยนั้น ซึ่งต้องการคนที่ได้เล่าเรียนมีความรู้การงานไนกะซวงเปนสำคัญ เปนแต่เพียงมหาดเล็ก จะรับสัญญาบัตรเปนขุนนางตามกะซวง ก็ไม่สามาถจะทำการงานได้ ทางที่จะแก้ไข ควนจะไห้มีโรงเรียนขึ้นไนกรมมหาดเล็ก ไห้นักเรียนถวายตัวเปนมหาดเล็ก มีโอกาสเข้าเฝ้าแหนไห้ซงรู้จัก ทั้งไห้สึกสาขนบทำเนียมไนราชสำนักไปด้วยกันกับความรู้เบื้องต้นสำหรับข้าราชการพลเรือนไนกะซวงต่าง ๆ แล้วไห้ไปสำรองราชการหยู่ตามกะซวงเสียชั้นหนึ่งก่อน จนทำการงานได้ดีถึงขนาด จึงไห้รับพระราชทานสัญญาบัตรเปนขุนนางต่อชั้นนั้น ก็จะเปนประโยชน์ทั้งสองหย่างประกอบกัน ฉันกราบบังคมทูนความคิดเห็นเช่นว่ามา พระเจ้าหยู่หัวซงพระราชดำหริเห็นชอบด้วย เดิมมีพระราชประสงค์จะไห้ฉันจัดโรงเรียนนั้นเหมือนหย่างเคยจัด "โรงเรียนสวนกุหลาบ" มาไนกะซวงธัมการ แต่ฉันกราบบังคมทูนขอตัว ด้วยเห็นว่า โรงเรียนมหาดเล็กจะฝึกหัดข้าราชการพลเรือนทุกกะซวง อธิบดีโรงเรียนอิสระต่างหากจากกะซวงต่าง ๆ จะดีกว่า แต่จะต้องเปนผู้ซงเกียรติคุนไนทางวิชาความรู้ถึงผู้คนนับถือ จึงจะจัดการได้สะดวก เดิมพระเจ้าหยู่หัวซงพระราชดำหริจะไห้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าระพีพัธนสักดิ์ (กรมหลวงราชบุรีดิเรกริทธิ์) ซึ่งเพิ่งสเด็ดกลับมาจากประเทสอังกริด โดยซงสำเหร็ดการสึกสาได้ปริญญาไนมหาวิทยาลัยออกสฟอร์ดแล้ว เปนอธิบดีจัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง แต่พระองค์เจ้าระพีฯ กราบบังคมทูนว่า ได้ซงสึกสาวิชานีติสาตรเปนสำคัน สมัครับราชการทางฝ่ายตุลาการก็พอเหมาะอีกทางหนึ่ง ด้วยมีพระราชประสงค์จะไห้จัดการแก้ไขระเบียบสาลยุตติธัมหยู่ด้วยอีกหย่างหนึ่ง เวลานั้น กะซวงยุตติธัมยังบัญชาการแต่สาลไนกรุงเทพฯ เพราะไม่สามาถจะรับจัดการสาลยุตติธัมได้ทั่วพระราชอานาเขต สาลยุตติธัมตามหัวเมืองยังขึ้นหยู่ไนกะซวงมหาดไทยตามประเพนีเดิม ซงพระราชดำหริว่า จะรอการจัดสาลยุตติธัมตามหัวเมืองไว้จนกะซวงยุตติธัมสามาถรับจัดสาลหัวเมืองได้ ก็จะช้านัก จึงดำหรัดสั่งไห้ลงมือจัดการสาลยุตติธัมตามหัวเมืองด้วยอีกหย่างหนึ่งไนกะซวงมหาดไทย ฉันกราบทูนขอไห้ตั้งต้นจัดแต่ไนมนทลอยุธยาดูก่อน จึงซงตั้งข้าหลวงพิเสสสังกัดขึ้นไนกะซวงมหาดไทยคนะหนึ่ง ไห้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าระพีพัธนสักดิ์ เปนนายก พระยาไกรสรี (เปล่ง) เนติบันดิตอังกริด กับมิสเตอร์เกิก แปตริก เนติบันดิตเบลเยี่ยม (ซึ่งเปนผู้ช่วยเจ้าพระยาอภัยราชา โรลังยัคมินส) ทั้ง 3 คนนี้ ขึ้นไปจากกรุงเทพฯ มีข้าหลวงพิเสสไนท้องที่อีก 2 คน คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนมรุพงส์สิริพัธน (เมื่อยังเปนกรมหมื่น) สมุหเทสาภิบาลมนทล กับพระยาชัยวิชิต (นาค นะป้อมเพชร) ผู้รักสากรุงสรีอยุธยา รวมทั้งคนะ 5 คน เริ่มจัดการสาลหัวเมืองไนครั้งนั้น การที่ซงตั้งข้าหลวงพิเสสจัดสาลยุตติธัมตามหัวเมืองครั้งนั้น เปนมูลของระเบียบการสาลยุตติธัม ซึ่งไช้ต่อไปถึงที่อื่น ๆ ไนพายหลังตลอดมา

แต่การที่จะตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต้องรอหาตัวผู้ที่จะเปนอธิบดีหยู่ปีหนึ่ง จนถึง พ.ส. 2442 เจ้าพระยาพระสเด็ด (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) เวลานั้น ยังเปนพระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์ไนกรมทหารเล็ก กลับจากยุโรป พระเจ้าหยู่หัวซงพระราชดำหริเห็นว่า เหมาะแก่ตำแหน่งอธิบดีโรงเรียนมหาดเล็ก ด้วยเปนผู้มีชื่อเสียงไนการเรียนวิชาความรู้มาตั้งแต่ยังเปนนักเรียน และได้ไปเปนพระครูของสมเด็ดพระบรมโอรสาธิราชหยู่ไนประเทสอังกริดหลายปี ไนระหว่างนั้น ตัวเองก็ได้เรียนรู้ภาสาอังกริดด้วย นอกจากนั้น พระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์ได้เคยรับราชการไนกะซวงธัมการและกะซวงมหาดไทย เข้าไจระเบียบราชการพลเรือนหยู่แล้ว และมีตำแหน่งไนกรมมหาดเล็กด้วย จึงซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้พระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์เปนอธิบดีโรงเรียนมหาดเล็ก แต่โปรดไห้ฉันเปนที่ปรึกสา ตรัดว่า พระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์ก็เคยเปนเลขานุการของฉันมาแต่ก่อน คงจะทำการด้วยกันได้ พระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์กับฉันปรกสากันกะโครงการที่จะจัดโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นทูนเกล้าฯ ถวายเปนระเบียบการดังนี้ คือ

1.จะรับนักเรียนอายุระหว่าง 15 จนถึง 20 ปี และเปนผู้ดีโดยสกุลหรือโดยถานะอันสมควนจะถวายตัวเปนมหาดเล็กได้ ทั้งต้องไห้มีความรู้เรียนมาแต่ที่อื่นถึงชั้นมัธยมไนสมัยนั้น

2.จะมีนักเรียนจำกัดจำนวนเพียงเท่าที่กะซวงต่าง ๆ ปราถนาหาผู้มีความรู้เข้ารับราชการ ไม่รับนักเรียนมากเกินไปจนหางานทำไม่ได้ แต่จะกวดขันไนการฝึกสอนไห้มีความรู้ดีกว่านักเรียนที่กะซวงต่าง ๆ จะหาได้ที่อื่นไนสมัยนั้น

3.หลักสูตรของโรงเรียนจะจัดเปน 3 ภาค กะเวลาเรียนราวภาคละปี ภาคที่หนึ่ง เมื่อก่อนนักเรียนจะถวายตัวเปนมหาดเล็ก ไห้เรียนวิชาเสมียนอันเปนความรู้เบื้องต้นของข้าราชการเหมือนกันทุกกะซวง เมื่อเรียนภาคที่หนึ่งสำเหร็ดแล้ว ถึงภาคที่สอง จึงไห้ถวายตัวเปนมหาดเล็ก ฝึกสอนขนบทำเนียมไนราชสำนักด้วยกันกับความรู้พิเสสซึ่งต่างกะซวงต้องการต่างกัน เมื่อเรียนสำเหร็ดแล้ว ถึงภาคที่สาม ไห้ไปสึกสาราชการไนกะซวงซึ่งจะไปหยู่ แต่ยังคงเปนมหาดเล็ก ไปจนมีความสามาถถึงขนาดที่กำหนดไว้ไนกะซวง ได้เปนตำแหน่งข้าราชการชั้นสัญญาบัตรไนกะซวงนั้นแล้ว จึงปลดขาดจากโรงเรียน นำโครงการนี้ขึ้นทูนเกล้าฯ ถวาย ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ก็เปิดโรงเรียนมหาดเล็กที่ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยสรีทางฝ่ายตะวันตกไน พ.ส. 2442 นั้น

เมื่อแรกตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก กำหนดจะรับนักเรียนเพียง 50 คน พอเปิดโรงเรียนแล้วไม่ช้า ก็มีคนสมัครเปนนักเรียนพอต้องการ ส่วนการฝึกสอนไนปีแรก สอนแต่ภาคที่หนึ่ง คือ วิชาเสมียน ได้ครูหัดเสมียนไนกะซวงมหาดไทยมาเปนผู้สอน ขึ้นปีที่สองมีนักเรียนสอบความรู้สำเหร็ด 7 คน พระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์นำถวายตัวเปนมหาดเล็กหลวงเปนครั้งแรก คือ

1. นายขวัน นะป้อมเพชร
พายหลังได้เปน พระยาจงรักส์นรสีห์
2. นายเลื่อน นะป้อมเพชร
พายหลังได้เปน พระยาชวกิจบันหาร
3. นายสวัสดิ์ มหากายี
พายหลังได้เปน พระยานครพระราม
4. นายทอง จันทรางสุ
พายหลังได้เปน พระยาสุนทรเทพกิจจารักส
5. นายสว่าง จุลวิธูร
พายหลังได้เปน พระยาอัถสาสตรโสพน
6. นายสงวน สตรัต
พายหลังได้เปน พระยาอัถกวีสุนทร
7. นายเป้า จารุเสถียร
พายหลังได้เปน พระยาพายัพพิริยกิจ

นักเรียนที่ถวายตัวแล้วแต่งเครื่องแบบมหาดเล็ก และเวลามีการงานไนราชสำนัก เข้าเฝ้าแหนกับมหาดเล็กเสมอ ส่วนการฝึกสอนความรู้สำหรับราชสำนักอันเปนภาคสองนั้น ได้พระยาชัยนันท์นิพัธนพงส์ (เชย ชัยนันท์) เมื่อยังเปนจ่ารงมหาดเล็ก เปนครูเริ่มสอนไนปีที่สอง แต่การสอนความรู้พิเสสซึ่งต้องการต่างกันฉเพาะกะซวง มีความขัดข้องด้วยยังไม่รู้ว่า กะซวงต่าง ๆ จะหยากได้นักเรียนมหาดเล็กมีความรู้หย่างไดบ้าง พระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์วิตกว่า ถ้าต่างกะซวงกะความรู้พิเสสต่าง ๆ มาไห้สอนพร้อมกันหมดทุกกะซวง โรงเรียนก็จะไม่สามาถสอนไห้ได้ ไนปีที่สองของโรงเรียนนั้น หยากจะลองสอนความรู้พิเสสแต่สำหรับกะซวงเดียวดูก่อน ฉันยอมไห้ตั้งต้นด้วยกะซวงมหาดไทย ไห้ครูพร้อม วาจรัต ซึ่งพายหลังได้เปนที่พระภิรมย์ราชา เวลานั้น สอนนักเรียนหยู่ไนกะซวงมหาดไทย ไปเปนครูการปกครองไนโรงเรียนมหาดเล็ก และคิดไห้ว่า ถ้านักเรียนภาคที่สองคนไหนจะสมัครับราชการไนกะซวงมหาดไทย ไห้เรียนแบบแผนการปกครองที่ไนโรงเรียนเปนภาคต้น แล้วฉันจะส่งออกไปหยู่กับสมุหเทสาภิบาลมนทลไดมนทลหนึ่ง เหมือนหย่างเปนลูกสิสย์สำหรับไช้สอยไนกิจการต่าง ๆ เพื่อไห้รู้เห็นการปกครองไนหัวเมืองว่าเปนหย่างไร มีกำหนดไห้ไปสึกสาหยู่ราว 6 เดือน แล้วจึงไห้เรียกกลับเข้ามาสอบความรู้ภาคที่สองไนคราวเดียวด้วยกันทั้งความรู้สำหรับราชสำนักและความรู้พิเสสสำหรับกะซวงมหาดไทย นักเรียนคนไหนสอบได้สำเหร็ด การเรียนต่อไปไนภาคที่สามซึ่งเรียนแต่ฉเพาะราชการกะซวงมหาดไทย กะซวงมหาดไทยจะไห้เปนตำแหน่งผู้ตรวดการออกไปฝึกหัดทำการปกครองหยู่ไนหัวเมืองมนทลละ 2 คน จนได้รับตำแหน่งประจำราชการ กราบบังคมทูน ก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ไห้แก้ไขดังว่ามา

พอสิ้นปีที่สอง ได้นักเรียนออกไปเปนผู้ตรวดการครั้งแรก ดูเหมือน 5 คน นักเรียนมหาดเล็กซึ่งออกไปเปนผู้ตรวดการนั้น ฉันไห้เรียกตามแบบโบรานว่า "มหาดเล็กรายงาน" ยังสังกัดหยู่ไนกรมมหาดเล็ก และแต่งเครื่องแบบมหาดเล็ก เปนแต่ออกไปรับราชการหยู่หัวเมือง ไปหยู่มนทลไหน เวลาพระเจ้าหยู่หัวสเด็ดไปยังมนทลนั้น ต้องเข้าไปสมทบกับมหาดเล็กที่ตามสเด็ดรับราชการไนพระองค์ เช่น เชินเครื่องราชูปโภค ตั้งเครื่องเสวย และถวายหยู่งานพัด เปนต้น สังเกตดูพระเจ้าหยู่หัวเมื่อทอดพระเนตรเห็นมหาดเล็กรายงานที่ไหน ก็ซงสแดงพระเมตตาปรานี มักซงทักทายและตรัดเรียกไช้สอย ซงไถ่ถามถึงการงานที่ไปทำ เพื่อจะไห้มีแก่ไจ เห็นได้ว่า พอพระราชหรึทัยที่ซงเห็นผลของโรงเรียนมหาดเล็กว่า เปนประโยชน์แก่ราชการบ้านเมืองได้ดังพระราชประสงค์ ส่วนการฝึกหัดมหาดเล็กรายงานนั้น ฉันสั่งไห้สมุหเทสาภิบาลไช้ไปเที่ยวตรวดการงานต่าง ๆ ตามหัวเมืองไนมนทล เพื่อไห้รู้จักภูมิลำเนาและผู้คนพลเมืองหย่างหนึ่ง ไห้ไปทำการไนหน้าที่ปลัดอำเพอไห้รู้วิธีปกครองติดต่อกับตัวราสดรหย่างหนึ่ง มหาดเล็กรายงานได้เล่าเรียนและรับอบรมจากโรงเรียนมหาดเล็กมากแล้ว ไปเปนตำแหน่งมหาดเล็กรายงานหยู่ไม่ช้ากว่าปี ก็ชำนาญกิจการถึงขนาดที่จะเปนตำแหน่งข้าราชการชั้นรับสัญญาบัตร เช่น เปนนายอำเภอ เปนต้น แทบทุกคน แต่เมื่อแรกเปนตำแหน่งชั้นสัญญาบัตร เปนแต่ปลดจากโรงเรียนมหาดเล็กไปเปนข้าราชการกะซวงมหาดไทย ยังไม่ได้รับสัญญาบัตรเปนขุนนางหยู่สักปีหนึ่งหรือสองปี จนปรากตว่า ทำการงานได้ดีมีความสามาถสมกับตำแหน่ง จึงได้รับสัญญาบัตรเปนชั้น "ขุน" เปนต้นไป

เล่าถึงเรื่องตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก มีความข้อหนึ่งซึ่งฉันควนจะกล่าวไว้ไห้เปนธัม ตัวฉันเองเปนแต่ต้นคิดกับเปนที่ปรึกสาช่วยแนะนำบ้าง แต่ส่วนที่จัดโรงเรียนได้ดังพระราชประสงค์ ควนนับเปนความชอบของพระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์ ซึ่งพยายามจัดการมาแต่ต้นจนสำเหร็ด น่าเสียดายแต่ที่พระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์เปนตำแหน่งอธิบดีโรงเรียนมหาดเล็กหยู่เพียง 3 ปี ถึง พ.ส. 2446 เมื่อซงตั้งเจ้าพระยาวิชิตวงส์วุทธิไกร (ม.ร.ว.คลี่ สุทัสน์) เวลานั้น ยังเปนพระยาวุทธิการบดี เปนเสนาบดีกะซวงธัมการ ท่านชำนาญแต่การฝ่ายคนะสงค์ กราบบังคมทูนขอไห้ผู้ชำนาญการสึกสาเปนผู้ช่วย พระเจ้าหยู่หัวซงพระราชดำหริว่า โรงเรียนมหาดเล็กหลวงก็ตั้งสำเหร็ดแล้ว พอจะหาผู้ทำการแทนพระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์ต่อไปได้ แต่ทางกะซวงธัมการไม่ซงเห็นตัวผู้อื่น จึงซงพระกรุนาโปรดไห้พระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์ย้ายไปเปนปลัดทูนฉลองกะซวงธัมการ และซงตั้งพระยาสรีวรวงส์ (ม.ร.ว.จิตร สุทัสน์) เมื่อยังเปนที่เจ้าหมื่นสรีสรรักส์ หัวหมื่นมหาดเล็ก อันเคยมีชื่อเสียงแต่ครั้งยังเปนนักเรียนและได้เคยไปสึกสาไนยุโรป เปนผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กแทนพระยาวิสุทธิสุริยสักดิ์ การโรงเรียนมหาดเล็กก็จเรินมาโดยลำดับ มีจำนวนนักเรียนสำเหร็ดการสึกสาออกไปรับราชการเพิ่มขึ้นทุกปี แต่มีผลไม่ตรงกับที่คาดไว้เดิมหย่างหนึ่ง ด้วยนักเรียนที่เรียนสำเหร็ดทุกภาคมักสมัคไปรับราชการไนกะซวงมหาดไทยแทบทั้งนั้น ที่สมัคไปหยู่กะซวงอื่นมีน้อย เปนเช่นนั้นเพราะกะซวงมหาดไทยมีตำแหน่ง "ผู้ตรวดการ" สำรองไว้ไห้นักเรียนมหาดเล็กมนทลละ 2 คน รวมทุกมนทลเปน 32 คน นักเรียนที่สมัครับราชการกะซวงมหาดไทย พอสำเหร็ดการเรียน ก็ได้รับเงินเดือนเปนตำแหน่งผู้ตรวดการทันที ไม่ต้องขวนขวายหาตำแหน่งแห่งที่ทำราชการ ยังมีเหตุอื่นอีกหย่างหนึ่ง ด้วยไนสมัยนั้น กะซวงมหาดไทยกำลังจัดการปกครองไนหัวเมืองต่าง ๆ ต้องการคนมีความรู้ไปเปนตำแหน่งกรมการตามหัวเมืองมาก นักเรียนมหาดเล็กที่ออกไปเปนผู้ตรวดการ ได้ร่ำเรียนรับความอบรมดีกว่าบุคคลพายนอก ไปหยู่ไม่ช้า ก็ได้เปนกรมการชั้นสัญญาบัตร ตำแหน่งผู้ตรวดการว่างบ่อย ๆ แม้นักเรียนมหาดเล็กที่เรียนสำเหร็ดมีมากขึ้น ก็ยังไม่พอกับที่กะซวงมหาดไทยต้องการ แต่กะซวงอื่นยังไม่ไคร่มาหาคนที่โรงเรียนมหาดเล็ก โรงเรียนมหาดเล็กก็เหมือนฝึกหัดข้าราชการไห้แต่กะซวงมหาดไทย หรือว่าอีกหย่างหนึ่ง โรงเรียนมหาดเล็กทำไห้เกิดประโยชน์แต่ไนการปกครองหัวเมือง เปนเช่นนั้นมาสัก 6 ปี ก็พอสิ้นรัชกาลที่ 5 เมื่อฉันเขียนนิทานนี้ ลองสืบถามถึงนักเรียนมหาดเล็กครั้งรัชกาลที่ 5 ที่ออกไปรับราชการ ได้รายชื่อผู้ที่ได้ดีถึงเปนพระยาไนรัชกาลพายหลังถึง 30 คน

ถึงรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็ดพระมงกุดเกล้าเจ้าหยู่หัวซงพระราชปรารภถึงเงินที่ชาวเมืองไทยได้เรี่ยไรกันส้างพระบรมรูปซงม้าถวายสนองพระเดชพระคุนพระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัว พระปิยมหาราช เมื่องานรัชมงคล มีจำนวนเงินเหลือจากที่ส้างพระบรมรูปหยู่กว่า 1,000,000 บาท ไคร่จะซงส้างสิ่งอนุสรน์ซึ่งเกิดประโยชน์แก่บ้านเมืองตอบแทนชาวเมืองไทยด้วยเงินรายนั้น ซงพระราชดำหริว่า โรงเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งสมเด็ดพระบรมชนกนาถได้ซงตั้งไว้เปนประโยชน์แก่การปกครองไห้ชาวเมืองไทยหยู่เย็นเปนสุข แต่ว่า ประโยชน์ยังได้เพียงไนการปกครองหัวเมือง ควนจะขยายประโยชน์ของโรงเรียนนั้นไห้แพร่หลายไปถึงการอื่น ๆ ไนฝ่ายพลเรือนไห้ทั่วกัน จึงโปรดไห้ขยายการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเปนโรงเรียนข้าราชการพลเรือน พระราชทานเงินเหลือส้างพระบรมรูปซงม้าไห้ไช้เปนทุน และพระราชทานที่ดินผืนไหย่ของพระคลังข้างที่ที่ตำบนปทุมวัน รวมทั้งตึกที่ส้างไว้เปนวัง ซึ่งเรียกกันว่า "วังกลางทุ่ง" สำหรับไช้เปนโรงเรียนด้วย พนักงานจัดโรงเรียนข้าราชการพลเรือนนั้น โปรดไห้มีกัมการคนะหนึ่ง ซงพระกรุนาโปรดไห้ตัวฉันเปนนายก และสมเด็ดพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิสนุโลกประชานาถ เจ้าพระยาพระสเด็ดฯ เจ้าพระยาอภัยราชา (ม.ร.ว.ลภ สุทัสน์) พระยาสรีวรวงส์ เจ้าพระยาธัมสักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน) พระยาเทพวิทูรฯ (บุญช่วย วนิกกุล) รวม 6 คนด้วยกัน อำนวยการ ไห้พระยาสรีวรวงส์คงเปนอธิบดีหยู่เหมือนหย่างโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ได้ย้ายโรงเรียนจากพระบรมมหาราชวังไปหยู่ที่ "วังกลางทุ่ง" ตั้งแต่ พ.ส. 2459 เปนต้นมา ต่อมา ตัวฉันเกิดอาการป่วยเจ็บทุพพลภาพ ต้องกราบบังคมทูนขอเวนคืนตำแหน่งนายกกัมการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เจ้าพระยาพระสเด็ดฯ ก็ป่วยถึงอสัญกัมไนหมู่นั้น เมื่อฉันออกจากตำแหน่งนายกกัมการแล้ว ไน พ.ส. 2459 นั้น พระบาทสมเด็ดพระมงกุดเกล้าเจ้าหยู่หัวจึงโปรดไห้ขยายการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเปนมหาวิทยาลัย มีนามว่า "จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย" และซงพระกรุนาโปรดไห้ฉันเปนที่ปรึกสาของมหาวิทยาลัยต่อมา เรื่องประวัติโรงเรียนมหาดเล็กหลวงมีดังเล่ามานี้

เรื่องนี้ฉันเขียนแต่เมื่อ พ.ส. 2481 ได้พิมพ์ฝากไว้ไนเรื่องประวัติพระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) เห็นเปนหย่างเดียวกับนิทานโบรานคดี จึงคัดเอามาพิมพ์ไว้ด้วยกัน