นิราศวัดเจ้าฟ้า
นิราศวัดเจ้าฟ้า เป็นนิราศคำกลอนที่มีรู้จักกันดีเรื่องหนึ่ง เชื่อกันว่าแต่งโดยสุนทรภู่ แต่ในเนื้อเรื่องกล่าวว่า เณรหนูพัดเป็นผู้แต่ง
วิกิพีเดีย มีบทความเรื่อง:
๏ | เณรหนูพัดหัดประดิษฐ์คิดอักษร | |
เป็นเรื่องความตามติดท่านบิดร | กำจัดจรจากนิเวศเชตุพน | |
พอออกเรือเมื่อตะวันสายัณห์ย่ำ | ละอองน้ำค้างย้อยเป็นฝอยฝน | |
ตะลึงเหลียวเปลี่ยวเปล่าเมื่อคราวจน | ไม่มีคนเกื้อหนุนกรุณา | |
โอ้ธานีศรีอยุธย์มนุษย์แน่น | นับโกฏิแสนสาวแก่แซ่ภาษา | |
จะหารักสักคนพอปนยา | ไม่เห็นหน้านึกสะอื้นฝืนฤทัย | |
เสียแรงมีพี่ป้าหม่อมน้าสาว | ล้วนขาวขาวคำหวานน้ำตาลใส | |
มายามยืดจืดเปรี้ยวไปเจียวใจ | เหลืออาลัยลมปากจะจากจรฯ | |
๏ | ถึงวัดระฆังบังคมบรมธาตุ | แทบพระบาทบุษบงองค์อัปสร |
ไม่ทันลับกัปกัลป์พุทธันดร | พระด่วนจรสู่สวรรคครรไล | |
ละสมบัติขัตติยาทั้งข้าบาท | โอ้อนาถนึกน่าน้ำตาไหล | |
เป็นสูญลับนับปีแต่นี้ไป | เหลืออาลัยแล้วที่พระมีคุณ | |
ถึงจนยากบากมาเป็นข้าบาท | ไม่ขัดขาดข้าวเกลือช่วยเกื้อหนุน | |
ทรงศรัทธากล้าหาญในการบุญ | โอ้พระคุณขาดยศทั้งงดงาม | |
แม้นตกยากพรากพลัดไปขัดข้อง | พัดกับน้องหนูตาบจะหาบหาม | |
นี่จนใจในป่าช้าพนาราม | สุดจะตามเสด็จได้ดังใจจง | |
ขออยู่บวชกรวดน้ำสุรามฤต | อวยอุทิศผลผลาอานิสงส์ | |
สนองคุณพูนสวัสดิ์ขัตติย์วงศ์ | เป็นรถทรงสู่สถานวิมานแมน | |
มีสุรางค์นางขับสำหรับกล่อม | ล้วนเนื้อหอมน้อมเกล้าอยู่เฝ้าแหน | |
เสวยรมย์โสมนัสไม่ขัดแคลน | เป็นของแทนทานาฝ่าละออง | |
พระคุณเอ๋ยเคยทำนุอุปถัมภ์ | ได้อิ่มหนำค่ำเช้าไม่เศร้าหมอง | |
แม้นทูลลามากระนี้ทั้งพี่น้อง | ไหนจะต้องตกยากลำบากกาย | |
นี่สิ้นบุญทูลกระหม่อมจึงตรอมอก | ต้องระหกระเหินไปน่าใจหาย | |
เห็นที่ปลงทรงสูญยังมูลทราย | แสนเสียดายดังจะดิ้นสิ้นชีวัน | |
ทั้งหนูตาบกราบไหว้ร้องไห้ว่า | จะคมลาลับไปในไพรสัณฑ์ | |
เคยเวียนเฝ้าเกล้าจุกให้ทุกวัน | สารพันพึ่งพาไม่อนาทรฯ | |
๏ | ถึงปากง่ามนามบอกบางกอกน้อย | ยิ่งเศร้าสร้อยทรวงน้องดังต้องศร |
เหมือนน้อยทรัพย์ลับหน้านิราจร | ไปแรมรอนราวไพรใจรัญจวน | |
เคยชมเมืองเรืองระยับจะลับแล้ว | ไปชมแถวทุ่งนาล้วนป่าสวน | |
เคยดูดีพี่ป้าหน้านวลนวล | จะว่างเว้นเห็นล้วนแต่มอมแมม | |
เคยชมชื่นรื่นรสแป้งสดสะอาด | จะชมหาดเห็นแต่จอกกับดอกแขม | |
โอ้ใจจืดมืดเหมือนเมื่อเดือนแรม | ไม่เยื้อนแย้มกลีบกลิ่นให้ดิ้นโดย | |
เสียดายดวงพวงผกามณฑาทิพย์ | เห็นลิบลิบแลชวนให้หวนโหย | |
เพราะห่วงพุ่มภุมรินไม่บินโบย | จะร่วงโรยรสสิ้นกลิ่นผกาฯ | |
๏ | ถึงบางพรมพรหมมีอยู่สี่พักตร์ | คนรู้จักแจ้งจิตทุกทิศา |
ทุกวันนี้มีมนุษย์อยุธยา | เป็นร้อยหน้าพันหน้ายิ่งกว่าพรหม | |
โอ้คิดไปใจหายเสียดายรัก | เหมือนเกรียกจักแจกซีกกระผีกผม | |
จึงเจ็บอกฟกช้ำระกำตรม | เพราะลิ้นลมล่อลวงจะช่วงใช้ฯ | |
๏ | ถึงบางจากน้องไม่มีที่จะจาก | โอ้วิบากกรรมสร้างแต่ปางไหน |
เผอิญหญิงชิงชังน่าคลั่งใจ | จะรักใคร่เขาไม่มีปรานีเลย | |
ถึงบางพลูพลูใบใส่กระบะ | ถวายพระเพราะกำพร้านิจจาเอ๋ย | |
แม้นมีใครใจบุญที่คุ้นเคย | จะได้เชยพลูจีบหมากดิบเจียน | |
นี่จนใจได้แต่ลมมาชมเล่น | เปรียบเหมือนเช่นฉากฉายพอหายเหียน | |
แม้นเห็นรักจักได้ตามด้วยความเพียร | ฉีกทุเรียนหนามหนักดูสักคราวฯ | |
๏ | ถึงบางอ้อคิดจะใคร่ได้ไม้อ้อ | ทำแพนซอเสียงแจ้วเที่ยวแอ่วสาว |
แต่ยังไม่เคยเชยโฉมประโลมลาว | สุดจะกล่าวกล่อมปลอบให้ชอบใจ | |
ถึงบางซ่อนซ่อนเงื่อนไม่เยื้อนแย้ม | ถึงหนามแหลมเหลือจะบ่งที่ตรงไหน | |
โอ้บางเขนเวรสร้างไว้ปางใด | จึงเข็ญใจจนไม่มีที่จะรัก | |
เมื่อชาติหน้ามาเกิดในเลิศโลก | ประสิทธิโชคชอบฤทัยทั้งไตรจักร | |
กระจ้อยร่อยกลอยใจวิไลลักษณ์ | ให้สาวรักสาวกอดตลอดไปฯ | |
๏ | ตลาดแก้วแล้วแต่ล้วนสวนสล้าง | เป็นชื่ออ้างออกนามตามวิสัย |
แม้นขายแก้วแววฟ้าที่อาลัย | จะซื้อใส่บนสำลีประชีรอง | |
ประดับเรือนเหมือนหนึ่งเพชรสำเร็จแล้ว | ถนอมแก้วกลอยใจมิให้หมอง | |
ไม่เหมือนนึกตรึกตราน้ำตานอง | เห็นแต่น้องหนูแนบแอบอุราฯ | |
๏ | ถึงวัดตั้งฝั่งสมุทรพระพุทธสร้าง | ว่าท่านวางไว้ให้คิดปริศนา |
แม้นแก้ไขไม่ออกเอาที่ตอกตา | นึกก็น่าใคร่หัวเราะจำเพาะเป็น | |
จะคิดมั่งยังคำที่ร่ำบอก | จะไปตอกที่ตรงไหนก็ไม่เห็น | |
ดูลึกซึ้งถึงจะคิดก็มิดเม้น | พอยามเย็นยอแสงแฝงโพยมฯ | |
๏ | ถึงวัดเขียนเหมือนหนึ่งเพียรเขียนอักษร | กลกลอนกล่าวกล่อมถนอมโฉม |
เดชะชักรักลักลอบปลอบประโลม | ขอให้โน้มน้อมจิตสนิทใน | |
ถึงคลองขวางบางศรีทองมองเขม้น | ไม่แลเห็นศรีทองที่ผ่องใส | |
แม้นทองคำธรรมดาจะพาไป | นี่มิใช่ศรีทองเป็นคลองบาง | |
พอลมโบกโศกสวนมาหวนหอม | เหมือนโศกตรอมตรึกตรองมาหมองหมาง | |
ถึงบางแพรกแยกคลองเป็นสองทาง | เหมือนจืดจางใจแยกไปแตกกัน | |
ตลาดขวัญขวัญฉันนี้ขวัญหาย | ใครเขาขายขวัญหรือจะซื้อขวัญ | |
แม้นขวัญฟ้าหน้าอ่อนเหมือนท่อนจันทน์ | จะรับขวัญเช้าเย็นไม่เว้นวาง | |
ถึงบางขวางขวางอื่นสักหมื่นแสน | ถึงต่างแดนดงดอนสิงขรขวาง | |
จะตามไปให้ถึงห้องประคองคาง | แต่ขัดขวางขวัญความขามระคาย | |
เห็นสวาทขาดทิ้งกิ่งสนัด | เป็นรอยตัดต้นสวาทให้ขาดสาย | |
สวาทพี่นี้ก็ขาดสวาทวาย | แสนเสียดายสายสวาทที่ขาดลอย | |
เห็นรักน้ำพร่ำออกทั้งดอกผล | ไม่มีคนรักรักมาหักสอย | |
เป็นรักเปล่าเศร้าหมองเหมือนน้องน้อย | เที่ยวล่องลอยเรือรักจนหนักเรือฯ | |
๏ | ถึงบ้านบางธรณีแล้วพี่จ๋า | แผ่นสุธาก็ไม่ไร้ไม้มะเขือ |
เขากินหมูหนูพัดจะกัดเกลือ | ไม่ถ่อเรือแหหาปลาตำแบ | |
ถึงปากเกร็ดเตร็ดเตร่มาเร่ร่อน | เที่ยวสัญจรตามระลอกเหมือนจอกแหน | |
มาถึงเกร็ดเขตมอญสลอนแล | ลูกอ่อนแอ้อุ้มจูงพะรุงพะรัง | |
ดูเรือนไหนไม่เว้นเห็นลูกอ่อน | ไม่หยุดหย่อนอยู่ไฟจนไหม้หลัง | |
ไม่ยิ่งยอดปลอดเปล่าเหมือนชาววัง | ล้วนเปล่งปลั่งปลื้มใจมาไกลตาฯ | |
๏ | พอออกคลองล่องลำแม่น้ำวก | เห็นนกหกเหินร่อนว่อนเวหา |
กระทุงทองล่องเลื่อนค่อยเคลื่อนคลา | ดาษดาดอกบัวขาวคลัวเคลีย | |
นกกาน้ำดำปลากระสาสูง | เป็นฝูงฝูงเข้าใกล้มันไปเสีย | |
นกยางขาวเหล่านกยางมีหางเปีย | ล้วนตัวเมียหมดสิ้นทั้งดินแดน | |
ถึงเดือนไข่ไปลับแลเมืองแม่ม่าย | ขึ้นไข่ชายเขาโขดนับโกฏิแสน | |
พอบินได้ไปประเทศทุกเขตแคว้น | คนทั้งแผ่นดินมิได้ไข่นกยาง | |
โอ้นึกหวังสังเวชประเภทสัตว์ | ต้องขาดขัดคู่ครองจึงหมองหมาง | |
เหมือนอกชายหมายมิตรคิดระคาง | มาอ้างว้างอาทะวาเอกากายฯ | |
๏ | ถึงบ้านลาวเห็นแต่ลาวพวกชาวบ้าน | ล้วนหูยานอย่างบ่วงเหมือนห่วงหวาย |
ไม่เหมือนลาวชาวกรุงที่นุ่งลาย | ล้วนกรีดกรายหยิบหย่งทรงสำอาง | |
ถึงบางพูดพูดมากคนปาก มด | มีแต่ปดเป็นอันมากเขาถากถาง | |
พี่พูดน้อยค่อยประคิ่นลิ้นลูกคาง | เหมือนหญิงช่างฉอเลาะปะเหลาะชายฯ | |
๏ | ถึงบางกระไนได้เห็นหน้าบรรดาพี่ | พวกนารีเรืออ้อยเที่ยวลอยขาย |
ดูจริตติดจะงอนเป็นมอญกลาย | ล้วนแต่งกายกันไรเหมือนไทยทำ | |
แต่ไม่มีกิริยาด้วยผ้าห่ม | กระพือลมแล้วไม่ป้องปิดของขำ | |
ฉันเตือนว่าผ้าแพรลงแช่น้ำ | อ้อยสองลำนั้นจะเอาสักเท่าไร | |
เขารู้ตัวหัวร่อว่าพ่อน้อย | มากินอ้อยแอบแฝงแถลงไข | |
รู้กระนี้มิอยากบอกมิออกไย | น่าเจ็บใจจะต้องจำเป็นตำราฯ | |
๏ | ถึงไผ่รอบขอบเขื่อนดูเหมือนเขียน | ชื่อวัดเทียนถวายอยู่ฝ่ายขวา |
ข้างซ้ายมือชื่อบ้านใหม่ทำไร่นา | นางแม่ค้าขายเต่าสาวทึมทึก | |
ปิดกระหมับจับกระเหม่าเข้ามินหม้อ | ดูมอซอสีสันเป็นมันหมึก | |
ไม่เหมือนเหล่าชาวสวนหวนรำลึก | เมื่อไม่นึกแล้วก็ใจมิใคร่ฟังฯ | |
๏ | พอฟ้าคล้ำค่ำพลบเสียงกบเขียด | ร้องกรีดเกรียดเกรียวแซ่ดังแตรสังข์ |
เหมือนเสียงฆ้องกลองโหมประโคมวัง | ไม่เห็นฝั่งฟั่นเฟือนด้วยเดือนแรม | |
ลำภูรายชายตลิ่งล้วนหิ่งห้อย | สว่างพรอยแพร่งพรายขึ้นปลายแขม | |
อร่ามเรืองเหลืองงามวามวามแวม | กระจ่างแจ่มจับน้ำเห็นลำเรือฯ | |
๏ | ถึงย่านขวางบางทะแยงเป็นแขวงทุ่ง | ดูเวิ้งวุ้งหว่างละแวกล้วนแฝกเฝือ |
เห็นไรไรไม้พุ่มครุมครุมเครือ | เหมือนรูปเสือสิงโตรูปโคควาย | |
ท่านบิดรสอนหนูให้รู้ว่า | มันผินหน้าออกนั้นกันฉิบหาย | |
แม้นปากมันผันเข้าข้างเจ้านาย | จะล้มตายพรายพลัดเร่งตัดรอน | |
จารึกไว้ให้เป็นทานทุกบ้านช่อง | ฉันกับน้องนี้ได้จำเอาคำสอน | |
ดึกกำดัดสัตว์หลับประทับนอน | ที่วัดมอญเชิงรากริมปากคลอง | |
ต้นไทรครึ้มงึ้มเงียบเซียบสงัด | พระพายพัดแผ้วผ่าวหนาวสยอง | |
เป็นป่าช้าอาวาสปีศาจคะนอง | ฉันพี่น้องมิได้คลาดบาทบิดา | |
ท่านนอนหลับตรับเสียงสำเนียงเงียบ | เย็นยะเยียบเยือกสยองพองเกศา | |
เสียงผีผิวหวิวโหวยโหยวิญญาณ์ | ภาวนาหนาวนิ่งไม่ติงกาย | |
บรรดาศิษย์บิดรที่นอนนอก | ผีมันหลอกลากปล้ำพลิกคว่ำหงาย | |
ลุกขึ้นบอกกลอกกลัวทุกตัวนาย | มันสาดทรายกรวดโปรยเสียงโกรยกราว | |
ขึ้นสั่นไทรไหวยวบเสียงสวบสาบ | เป็นเงาวาบหัวหกเห็นอกขาว | |
หนูกลั่นกล้าคว้าได้รากไทรยาว | หมายว่าสาวผมผีร้องนี่แน | |
พอพระตื่นฟื้นกายค่อยคลายจิต | บรรดาศิษย์ล้อมข้างไม่ห่างแห | |
ท่านห่มดองครองเคร่งไม่เล็งแล | ขึ้นบกแต่องค์เดียวดูเปลี่ยวใจ | |
สำรวมเรียบเลียบรอบขอบป่าช้า | ภาวนาตามสงฆ์ไม่หลงใหล | |
เห็นศพฝังบังสุกุลส่งบุญไป | เห็นแสงไฟรางรางสว่างเวียน | |
ระงับเงียบเซียบเสียงสำเนียงสงัด | ปฏิพัทธ์พุทธคุณค่อยอุ่นเศียร | |
บรรดาศิษย์คิดกล้าต่างหาเทียน | จำเริญเรียนรุกขมูลพูนศรัทธา | |
อสุภธรรมกรรมฐานประหารเหตุ | หวนสังเวชว่าชีวังจะสังขาร์ | |
อันอินทรีย์วิบัติอนัตตา | ที่ป่าช้านี่แลเหมือนกับเรือนตาย | |
กลับหายกลัวมัวเมาไม่เข้าบ้าน | พระนิพพานเพิ่มพูนเพียงสูญหาย | |
อันรูปเหมือนเรือนโรคให้โศกสบาย | แล้วต่างตายตามกันไปมั่นคง | |
ค่อยคิดเห็นเย็นเยียบไม่เกรียบกริบ | ประสานสิบนิ้วนั่งดังประสงค์ | |
พยายามตามจริตท่านบิตุรงค์ | สำรวมทรงศีลธรรมที่จำเจน | |
ประจงจดบทบาทค่อยยาตรย่าง | ประพฤติอย่างโยคามหาเถร | |
ประทับทุกรุกรอบขอบพระเมรุ | จนพระเณรในอารามตื่นจามไอ | |
ออกจงกรมสมณาสมาโทษ | ร่มนิโรธน้องไม่เสื่อมที่เลื่อมใส | |
แผ่กุศลจนจบทั้งภพไตร | จากพระไทรแสงทองผ่องโพยมฯ | |
๏ | เลยบางหลวงล่วงทางมากลางแจ้ง | ถึงบ้านกระแชงหุงจันหันฉันผักโหม |
ยังถือมั่นขันตีนี้ประโลม | ถึงรูปโฉมพาหลงไม่งงงวย | |
พอเสียงฆ้องกองแซ่เขาแห่นาค | ผู้หญิงมากมอญเก่าสาวสาวสวย | |
ร้องลำนำรำฟ้อนอ่อนระทวย | พากันช่วยเขาแห่ได้แลดู | |
ถือขันตีทีนั้นก็ขันแตก | ทั้งศีลแทรกสูดออกกระบอกหู | |
ฉันนี้เคราะห์เพราะนางห่มสีชมพู | พาความรู้แพ้รักประจักษ์จริง | |
แค้นด้วยใจนัยนานิจจาเอ๋ย | กระไรเลยแล่นไปอยู่กับผู้หญิง | |
ท่านบิดาว่ามันติดกว่าปลิดปลิง | ถูกจริงจริงจึงจดเป็นบทกลอนฯ | |
๏ | ถึงต้องง้าวหลาวแหลนสักแสนเล่ม | ให้ติดเต็มตัวฉุดพอหลุดถอน |
แต่ต้องตาพาใจอาลัยวรณ์ | สุดจะถอนทิ้งขว้างเสียกลางคัน | |
ทั้งหนูกลั่นนั้นคะนองจะลองทิ้ง | บอกให้หญิงรำรับขยับหัน | |
ถ้าทิ้งถูกลูกละบาทประกาศกัน | เขารับทันเราก็ให้ใบละเฟื้อง | |
นางน้อยน้อยพลอยสนุกลุกขึ้นพร้อม | งามละม่อมมีแต่สาวล้วนขาวเหลือง | |
ใส่จริตกรีดกรายชายชำเลือง | ขยับเยื้องยิ้มแย้มแฉล้มลอย | |
ต่างหมายมุ่งตุ้งติ้งทิ้งหมากดิบ | เขาฉวยฉิบเฉยหน้าไม่ราถอย | |
ไม่มีถูกลูกดิ่งทั้งทิ้งทอย | พวกเพื่อนพลอยทิ้งบ้างห่างเป็นวา | |
ฉันลอบลองสองลูกถูกจำหนับ | ถูกปุ่มปับปากกรีดหวีดผวา | |
ร้องอยู่แล้วแก้วพี่มานี่นา | พวกมอญฮาโห่แห่ออกแซ่ไปฯ | |
๏ | พอเลยนาคบากข้ามถึงสามโคก | เป็นคำโลกสมมติสุดสงสัย |
ถามบิดาว่าผู้เฒ่าท่านกล่าวไว้ | ว่าท้าวไทพระอู่ทองเธอกองทรัพย์ | |
หวังจะไว้ให้ประชาเป็นค่าจ้าง | ด้วยจะสร้างบ้านเมืองเครื่องประดับ | |
พอห่ากินสิ้นบุญไปสูญลับ | ทองก็กลับกลายสิ้นเป็นดินแดง | |
จึงที่นี่มีนามชื่อสามโคก | เป็นคำโลกสมมติสุดแถลง | |
ครั้งพระโกศโปรดปรานประทานแปลง | ที่ตำแหน่งมอญมาสามิภักดิ์ | |
ชื่อปทุมธานีที่เสด็จ | เดือนสิบเบ็ดบัวออกทั้งดอกฝัก | |
มารับส่งตรงนี้ที่สำนัก | พระยาพิทักษ์ทวยหาญผ่านพารา | |
ได้รู้เรื่องเมืองปทุมค่อยชุ่มชื่น | ดูภูมิพื้นวัดบ้านขนานหน้า | |
เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา | ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง | |
ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด | แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง | |
ทั้งห่มผ้าตาหรี่เหมือนสีรุ้ง | ทั้งผ้านุ่งนั้นก็อ้อมลงกรอมตีน | |
เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ | เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล | |
นี่หากเห็นเป็นเด็กแม้นเจ๊กจีน | เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง | |
ชาวบ้านนั้นปั้นอีเลิ้งใส่เพิงพะ | กระโถนกระทะอ่างโอ่งกระโถงกระถาง | |
เขาวานน้องร้องถามไปตามทาง | ว่าบางขวางหรือไม่ขวางพี่นางมอญ | |
เขาเบือนหน้าว่าไม่รู้ดูเถิดเจ้า | จงถามเขาคนข้างหลังที่นั่งสอน | |
ไม่ตอบปากบากหน้านาวาจร | คารมมอญมิใช่เบาเหมือนชาวเมืองฯ | |
๏ | ถึงบ้านงิ้วงิ้วต้นแต่พ้นหนาม | ไม่งอกงามเหมือนแม่งิ้วที่ผิวเหลือง |
เมื่อแลพบหลบพักตร์ลักชำเลือง | ดูปลดเปลื้องเปล่งปลั่งกำลังโลม | |
มาลับนวลหวนให้เห็นไม้งิ้ว | เสียดายผิวพักตร์ผ่องจะหมองโฉม | |
เพราะเสียรักหนักหน่วงน่าทรวงโทรม | ใครจะโลมเลียมรสช่วยชดเจือฯ | |
๏ | ถึงโพแตงคิดถึงแตงที่แจ้งจัก | ดูน่ารักรสชาติประหลาดเหลือ |
แม้นลอยฟ้ามาเดี๋ยวนี้ที่ในเรือ | จะฉีกเนื้อนั่งกลืนให้ชื่นใจฯ | |
๏ | ถึงเกาะหาดราชครามรำรามรก | เห็นนกหกหากินบินไสว |
เขาถากถางกว้างยาวทั้งลาวไทย | ทำนาไร่ร้านผักรั้วฟักแฟง | |
สุดละเมาะเกาะกว้างสว่างโว่ง | แลตะโล่งลิบเนตรทุกเขตแขวง | |
เห็นควันไฟไหม้ป่าจับฟ้าแดง | ฝูงนกแร้งร่อนตัวเท่าถั่วดำ | |
โอ้เช่นนี้มีคู่มาดูด้วย | จะชื่นช่วยชมชิมได้อิ่มหนำ | |
มายามเย็นเห็นแต่ของที่น้องทำ | เหลือจะรำลึกโฉมประโลมลานฯ | |
๏ | ถึงด่านทางบางไทรไขว่เฉลว | เห็นไพร่เลวหลายคนอยู่บนด่าน |
ตุ้งก่าตั้งนั่งชักควักน้ำตาล | คอยว่าขานขู่คนลงค้นเรือ | |
ไม่เห็นของต้องห้ามก็ลามขอ | มะละกอกุ้งแห้งแตงมะเขือ | |
ขอส้มสูกจุกจิกทั้งพริกเกลือ | จนชาวเรือเหลือระอาด่าในใจ | |
แต่ลำเราเขาไม่ค้นมาพ้นด่าน | ดูภูมิฐานทิวชลาพฤกษาไสว | |
ถึงอารามนามอ้างวัดบางไทร | ต้นไทรใหญ่อยู่ที่นั่นน้องวันทา | |
เทพารักษ์ศักดิ์สิทธิ์สถิตพุ่ม | เพราะเคยอุ้มอุณรุทสมอุษา | |
ใคร่น่าจูบรูปร่างเหมือนนางฟ้า | ช่วยอุ้มพามาให้เถิดจะเชิดชม | |
ถนอมแนบแอบอุ้มนุ่มนุ่มนิ่ม | ได้แย้มยิ้มจวนจิตสนิทสนม | |
นอนเอนหลังนั่งเล่นเย็นเย็นลม | ชมพนมแนวไม้รำไรราย | |
ดูเหย้าเรือนเหมือนเขียนเตียนตลิบ | เห็นลิบลิบแลไปจิตใจหาย | |
เขาปลูกผักฟักถั่วจูงวัวควาย | ชมสบายบอกแจ้งตำแหน่งนามฯ | |
๏ | ถึงเกาะเกิดเกิดสวัสดิ์พิพัฒน์ผล | อย่าเกิดคนติเตียนเป็นเสี้ยนหนาม |
ให้เกิดลาภราบเรียบเงียบเงียบงาม | เหมือนหนึ่งนามเกาะเกิดประเสริฐทรง | |
ถึงเกาะพระไม่เห็นพระปะแต่เกาะ | แต่ชื่อเพราะชื่อพระสละหลง | |
พระของน้องนี้ก็นั่งมาทั้งองค์ | ทั้งพระสงฆ์เกาะพระมาประชุม | |
ขอคุณพระอนุเคราะห์ทั้งเกาะพระ | ให้เปิดปะตรุทองสักสองขุม | |
คงจะมีพี่ป้ามาชุมนุม | ฉะอ้อนอุ้มแอบอุราเป็นอาจิณฯ | |
๏ | ถึงเกาะเรียงเคียงคลองเป็นสองแยก | ป่าละแวกวังราชประพาสสินธุ์ |
ได้นางห้ามงามพร้อมชื่อหม่อมอิน | จึงตั้งถิ่นที่เพราะเสนาะนาม | |
หวังถวิลอินน้องละอองเอี่ยม | แสนเสงี่ยมงามพร้อมเหมือนหม่อมห้าม | |
จะหายศอตส่าห์พยายาม | คงจะงามพักตร์พร้อมเหมือนหม่อมอิน | |
อาลัยน้องตรองตรึกรำลึกถึง | หวังจะพึ่งผูกจิตคิดถวิล | |
เวลาเย็นเห็นนกวิหคบิน | ไปที่ถิ่นทำรังปะนังนอน | |
บ้างแนบคู่ชูคอเข้าซ้อแซ้ | เสียงจอแจโจนจับสลับสลอน | |
บ้างคลอเข้าเคล้าเคียงประเอียงอร | เอาปากป้อนปีกปกอกประคอง | |
ที่ไร้คู่อยู่เปลี่ยวเที่ยวเดี่ยวโดด | ไม่เต้นโลดแลเหงาเหมือนเศร้าหมอง | |
ลูกน้อยน้อยคอยแม่ชะแง้มอง | เหมือนอกน้องตาบน้อยกลอยฤทัย | |
มาตามติดบิดากำพร้าแม่ | สุดจะแลเหลียวหาที่อาศัย | |
เห็นลูกนกอกน้องนี้หมองใจ | ที่ฝากไข้ฝากผีไม่มีเลย | |
ถึงเกาะเรียนเรียนรักก็หนักอก | แสนวิตกเต็มตรองเจียวน้องเอ๋ย | |
เมื่อเรียนกันจนจบถึงกบเกย | ไม่ยากเลยเรียนได้ดังใจจง | |
แต่เรียนรักรักนักก็มักหน่าย | รักละม้ายมิได้ชมสมประสงค์ | |
ยิ่งรักมากพากเพียรยิ่งเวียนวง | มีแต่หลงลมลวงน่าทรวงโทรมฯ | |
๏ | มาถึงวัดพนังเชิงเทิงถนัด | ว่าเป็นวัดเจ้าฟ้าพระกลาโหม |
ผนังก่อย่อมุมเป็นซุ้มโคม | ลอยโพยมเยี่ยมฟ้านภาลัย | |
มีศาลาท่าน้ำดูฉ่ำชื่น | ร่มระรื่นรุกขาน่าอาศัย | |
บิดาพร่ำร่ำเล่าให้เข้าใจ | ว่าพระใหญ่อย่างเยี่ยงที่เสี่ยงทาย | |
ถ้าบ้านเมืองเคืองเข็ญจะเป็นเหตุ | ก็อาเพศพังหลุดทรุดสลาย | |
แม้พาราผาสุกสนุกสบาย | พระพักตร์พรายเพราพริ้มดูอิ่มองค์ | |
แต่เจ็กย่านบ้านนั้นก็นับถือ | ร้องเรียกชื่อว่าพระเจ้าปูนเถาก๋ง | |
ด้วยบนบานการได้ดังใจจง | ฉลององค์พุทธคุณกรุณัง | |
แล้วก็ว่าถ้าใครน้ำใจบาป | จะเข้ากราบเกรงจะทับต้องกลับหลัง | |
ตรงหน้าท่าสาชลเป็นวนวัง | ดูพลั่งพลั่งพลุ่งเชี่ยวน่าเสียวใจ | |
เข้าจอดเรือเหนือหน้าศาลาวัด | โสมนัสน้องไม่เสื่อมที่เลื่อมใส | |
ขึ้นเดินเดียวเที่ยวหาสุมาลัย | จำเพาะได้ดอกโศกที่โคกนา | |
กับดอกรักหักเด็ดได้เจ็ดดอก | พอใส่จอกจัดแจงแบ่งบุปผา | |
ให้กลั่นมั่งทั้งบุนนาคเพื่อนยากมา | ท่านบิดาดีใจกระไรเลย | |
ว่าโศกรักมักร้ายต้องพรายพลัด | ถวายวัดเสียถูกแล้วลูกเอ๋ย | |
แล้วห่มดองครองงามเหมือนตามเคย | ลีลาเลยเลียบตะพานขึ้นลานทราย | |
โอ้รินรินกลิ่นพิกุลมาฉุนชื่น | หอมแก้วรื่นเรณูไม่รู้หาย | |
หอมจำปาหน้าโบสถ์สาโรชราย | ดอกกระจายแจ่มกลีบดังจีบเจียน | |
ดูกุฎีวิหารสะอ้านสะอาด | รุกขชาติพุ่มไสวเหมือนไม้เขียน | |
ดูภูมิพื้นรื่นราบด้วยปราบเตียน | แล้วเดินเวียนทักษิณพระชินวร | |
ได้สามรอบชอบธรรมท่านนำน้อง | เข้าในห้องเห็นพระเจ้าเท่าสิงขร | |
ต่างจุดธูปเทียนถวายขจายจร | ท่านบิดรได้ประกาศว่าชาตินี้ | |
ทั้งรูปชั่วตัวดำทั้งต่ำศักดิ์ | ถวายรักไว้กับศีลพระชินสีห์ | |
ต่อเมื่อไรใครรักมาภักดี | จะอารีรักตอบด้วยขอบคุณ | |
แต่หนูกลั่นนั้นว่าจะหาสาว | ที่เล็บยาวโง้งโง้งเหมือนโก่งกระสุน | |
ทั้งเนื้อหอมกล่อมเกลี้ยงเพียงพิกุล | กอดให้อุ่นอ่อนก็ว่าไม่น่าฟัง | |
ฉันกับน้องมองแลดูแต่พระ | สาธุสะสูงกว่าฝาผนัง | |
แต่พระเพลาเท่าป้อมที่ล้อมวัง | สำรวมนั่งปลั่งเปล่งเพ่งพินิจ | |
ตัวของหนูดูจิ๋วเท่านิ้วพระหัตถ์ | โตถนัดหนักนักจึงศักดิ์สิทธิ์ | |
ศิโรราบกราบก้มบังคมคิด | รำพึงพิษฐานในใจจินดา | |
ขอเดชะพระกุศลที่ปรนนิบัติ | ที่หนูพัดพิศวาสพระศาสนา | |
มาเคารพพบพุทธปฏิมา | เป็นมหาอัศจรรย์ในสันดาน | |
ขอผลาอานิสงส์จงสำเร็จ | สรรเพชญ์พ้นหลงในสงสาร | |
แม้นยังไม่ถึงที่พระนิฤพาน | ขอสำราญราคีอย่าบีฑา | |
จะพากเพียรเรียนวิสัยแต่ไตรเพท | ให้วิเศษแสนเอกทั้งเลขผา | |
แม้นรักใครให้คนนั้นกรุณา | ชนมายืนเท่าเขาพระเมรุ | |
ขอรู้ทำคำแปลแก้วิมุติ | เหมือนพระพุทธโฆษามหาเถร | |
มีกำลังดังมาฆะสามเณร | รู้จัดเจนแจ้งจบทั้งภพไตร | |
อนึ่งเล่าเจ้านายที่หมายพึ่ง | ให้ทราบซึ่งสุจริตพิสมัย | |
อย่าหลงลิ้นหินชาติขาดอาลัย | น้ำพระทัยทูลเกล้าให้ยาวยืน | |
แล้วลาพระปฏิมาลีลาล่อง | เข้าในคลองสวนพลูค่อยชูชื่น | |
ชมแต่ไม้ไผ่พุ่มดูชุ่มชื้น | หอมระรื่นลำดวนรัญจวนใจ | |
โอ้ยามนี้มิได้พบน้ำอบสด | มาเชยรสบุปผาน้ำตาไหล | |
ยิ่งเสียวทรวงง่วงเหงาเศร้าฤทัย | มาเหงื่อไคลคล่ำตัวต้องมัวมอม | |
นิจจาเอ๋ยเคยบำรุงผ้านุ่งห่ม | เคยอบรมร่ำกลิ่นไม่สิ้นหอม | |
เหมือนหายยศหมดรักมาปลักปลอม | จนซูบผอมผิวคล้ำระกำใจ | |
จึงมาหายาอายุวัฒนะ | ตามได้ปะลายแทงแถลงไข | |
เข้าลำคลองล่องเรือมาเหลือไกล | ถึงวัดใหญ่ชายทุ่งดูวุ้งเวิ้งฯ | |
๏ | พระเจดีย์ที่ยังอยู่ดูตระหง่าน | เป็นประธานทิวทุ่งดูสูงเทิ่ง |
ต้นโพธิ์ไทรไผ่พุ่มเป็นซุ้มเซิง | ขึ้นรอบเชิงชั้นล่างข้างเจดีย์ | |
เสียดายนักหักทรุดชำรุดร้าง | ใครจะสร้างสูงเกินจำเริญศรี | |
ท่านบิดาว่าถึงให้ใหญ่กว่านี้ | ก็ไม่มีผู้ใดว่าใหญ่โต | |
ผู้หญิงย่านบ้านเราชาวบางกอก | เขาอมกลอกกลืนพระเสียอะโข | |
แต่พระเจ้าเสาชิงช้าที่ท่าโพธิ์ | ก็เต็มโตชาววังเขายังกลืน | |
ฉันกลัวบาปกราบพระอย่าปะพบ | ไม่ขอคบคนโขมดที่โหดหืน | |
พอฟ้าคลุ้มพุ่มพฤกษ์ดูครึกครื้น | เงาทะมึนมืดพยับอับโพยม | |
พายุฝนอนธการสะท้านทุ่ง | เป็นฝุ่นฟุ้งฟ้าฮือกระพือโหม | |
น้ำค้างชะประเปรยเชยชโลม | ท่านจุดโคมขึ้นอารามต้องตามไป | |
เที่ยวหลีกรกวกวนอยู่จนดึก | เห็นพุ่มพฤกษ์โพธิ์ทองที่ผ่องใส | |
ตักน้ำผึ้งครึ่งจอกกับดอกไม้ | จุดเทียนใหญ่อย่างตำราบูชาเชิญ | |
หวังจะปะพระปรอทที่ยอดยิ่ง | คะนึงนิ่งนึกรำพันสรรเสริญ | |
สำรวมเรียนเทียนอร่ามงามจำเริญ | จนดึกเกินไก่ขันหวั่นวิญญาณ์ | |
ทั้งเทียนดับศัพท์เสียงสำเนียงเงียบ | เย็นยะเยียบน้ำค่างพร่างพฤกษา | |
เห็นแวววับลับลงตรงนัยนา | ปรอทมาสูบซึ่งน้ำผึ้งรวง | |
ครั้นคลำได้ในกลางคืนก็ลื่นหลุด | ต้องจัดจุดธูปเทียนเวียนบวงสรวง | |
ประกายพรึกดึกเด่นขึ้นเห็นดวง | ดังโคมช่วงโชติกว่าบรรดาดาว | |
จักจั่นแจ้วแว่วหวีดจังหรีดหริ่ง | ปี่แก้วตริ่งตรับเสียงสำเนียงหนาว | |
ยิ่งเย็นฉ่ำน้ำค้างลงพร่างพราว | พระพายผ่าวพัดไหวทุกใบโพธิ์ฯ | |
- | ๏ พอรุ่งแรกแปลกกลิ่นระรินรื่น | |
โอ้หอมชื่นช่อมะกอกดอกโสน | เหมือนอบน้ำร่ำผ้าประสาโซ | |
สะอื้นโอ้อารมณ์ระทมทวี | หวังจะปะพระปรอทที่ปลอดโปร่ง | |
ทั้งสามองค์เอามาไว้ก็ไพล่หนี | เชิญพระธาตุราธนาทุกราตรี | |
อาบวารีทิพรสหมดมลทิน | ที่ธุระปรอทเป็นปลอดเปล่า | |
ยังดูเลาลายแทงแสวงถวิล | ท่านนอนอ่านลานใหญ่ฉันได้ยิน | |
ว่ายากินรูปงามอร่ามเรือง | แม้นฟันหักจักงอกผมหงอกหาย | |
แก่กลับกลายหนุ่มเนื้อนั้นเรื่อเหลือง | ตะวันออกบอกแจ้งเป็นแขวงเมือง | |
ท่านจัดเครื่องครบครันทั้งจันทน์จวง | กับหนูกลั่นจันมากบุนนาคหนุ่ม | |
สักสิบทุ่มเดินมุ่งออกทุ่งหลวง | มาตาลายปลายคลองถึงหนองพลวง | |
แต่ล้วนสวงสาหร่ายเห็นควายนอน | นึกว่าผีตีฆ้องป่องป่องโห่ | |
มันผุดโผล่พลุ่งโครมถีบโถมถอน | เถาสาหร่ายควายกลุ้มตะลุมบอน | |
ว่าผีหลอนหลบพัลวันเวียน | พอเสียงร้องมองดูจึงรู้แจ้ง | |
เดินแสวงหาวัดฉวัดเฉวียน | พอเช้าตรู่ดูทางมากลางเตียน | |
ถึงป่าเกรียนเกรียวแซ่จอแจจริงฯ | ๏ กระจาบจับนับหมื่นดูดื่นดาษ | |
เหมือนตลาดเหลือหูเพราะผู้หญิง | เหมือนโกรธขึ้งหึงหวงด้วยช่วงชิง | |
ชุมจริงจริงจิกโจดกระโดดโจน | จนต้นไม้ใบงอกออกไม่รอด | |
ดูกรองกรอดเกรียมกร่องกรองกรอยโกร๋น | ลมกระทั่งรังกระจาบระยาบโยน | |
ตัวมันโหนหวงคู่คอยขู่คน | บ้างคาบแขมแซมรังเหมือนดังสาน | |
สอดชำนาญเหน็บฝอยเหมือนสร้อยสน | จิกสะบัดจัดแจงสอดแซงซน | |
เปรียบเหมือนคนช่างสะดึงรู้ตรึงตรอง | โอ้ว่าอกนกยังมีรังอยู่ | |
ได้เคียงคู่ค่ำเช้าไม่เศร้าหมอง | แม้นร่วมเรือนเหมือนหนึ่งนกกกประคอง | |
แต่สักห้องหนึ่งก็เห็นจะเย็นใจ | จนพ้นป่ามาถึงโป่งห้วยโข่งคุด | |
มันหมกมุดเหมือนเขาแจ้งแถลงไข | เห็นตาลโดดโขดคุ่มกับพุ่มไม้ | |
มีทิวไผ่พงรายเหมือนลายแทง | ท่านหลีกลัดตัดทางไปกลางทุ่ง | |
ตั้งแต่รุ่งไปจนแดดก็แผดแสง | ได้พักเพลเอนนอนพอผ่อนแรง | |
ต่ออ่อนแสงสุริยาจึงคลาไคล | แต่แรกดูครู่หนึ่งจะถึงที่ | |
เหมือนถอยหนีห่างเหินเดินไม่ไหว | เหมือนเรื่องรักชักชิดสนิทใน | |
มากลับไกลเกรงกระดากต้องลากจูงฯ | ๏ พอเย็นจวนด่วนเดินขึ้นเนินโขด | |
ถึงตาลโดดดินพูนเป็นมูลสูง | ||
เที่ยวเลียบชมลมเย็นเห็นนกยูง | เป็นฝูงฝูงฟ้อนหางที่กลางทราย | |
ทำกรีดปีกหลีกเลี่ยงเข้าเคียงคู่ | คอยแฝงดูดังระบำรำถวาย | |
กระหวัดวาดยาตรเยื้องชำเลืองกราย | เหมือนละม้ายหม่อมละครเมื่อฟ้อนรำ | |
โอ้เคยเห็นเล่นงานสำราญรื่น | ได้แช่มชื่นเชยชมที่คมขำ | |
มาห่างแหแลลับจับระบำ | เห็นแต่รำแพนนกน่าอกตรม | |
ออกตรูไล่ไปสิ้นขึ้นบินว่อน | แฉลบร่อนเรียงตามดูงามสม | |
เห็นเซิงไทรไผ่โพธิ์ตะโกพนม | ระรื่นร่มรุกขชาติดาษเดียร | |
พิกุลออกดอกหอมพะยอมย้อย | นกน้อยน้อยจิกจับเหมือนกับเขียน | |
ในเขตแคว้นแสนสะอาดดังกวาดเตียน | ตลิบเลี่ยนลมพัดอยู่อัตรา | |
สารภีที่ริมโบสถ์สาโรชร่วง | มีผึ้งรวงรังสิงกิ่งพฤกษา | |
รสเร้าเสาวคนธ์สุมณฑา | ภุมราร่อนร้องละอองนวล | |
โอ้บุปผาสารภีส่าหรีรื่น | เป็นที่ชื่นเชยถนอมด้วยหอมหวน | |
เห็นมาลาอาลัยใจรัญจวน | เหมือนจะชวนเชษฐาน้ำตากระเด็นฯ | |
๏ | โอ้ยามนี้ที่ตรงนึกรำลึกถึง | มาเหมือนหนึ่งใจจิตที่คิดเห็น |
จะคลอเคียงเรียงตามเมื่อยามเย็น | เที่ยวเลียบเล่นแลเพลินจำเริญตา | |
โบสถ์วิหารฐานบัทม์ยังมีมั่ง | เชิงผนังหนาแน่นด้วยแผ่นผา | |
สงสารสุดพุทธรัตน์ปฏิมา | พระศิลาแลดูเป็นบูราณ | |
อุโบสถหมดหลังคาฝาผนัง | พระเจ้านั่งอยู่แต่องค์น่าสงสาร | |
ด้วยเรื้อร้างสร้างสมมานมนาน | แต่โบราณเรื่องพระเจ้าตะเภาทอง | |
มาเที่ยวเล่นเห็นหินบนดินโขด | เดี่ยวสันโดษดังสำลีไม่มีหมอง | |
จึงจัดช่างสร้างอารามตามทำนอง | ทรงจำลองลายหัตถ์เป็นปฏิมา | |
รูปพระเจ้าเท่าองค์แล้วทรงสาป | ให้อยู่ตราบศักราชพระศาสนา | |
พอฤๅษีสี่องค์เหาะตรงมา | ถวายยาอายุวัฒนะ | |
เธอไม่อยู่รู้ว่าหลงในสงสาร | ซ้ำให้ทานแท่งยาอุตสาหะ | |
ใส่ตุ่มทองรองไว้ที่ใต้พระ | ใครพบปะเปิดได้เอาไปกิน | |
ช่วยสร้างโบสถ์โขดเขื่อนให้เหมือนเก่า | นามนั้นเขาเขียนแจ้งที่แท่งหิน | |
วัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ | ให้ทราบสิ้นสืบสายเพราะลายแทง | |
เป็นตำรามาแต่เหนือท่านเชื่อถือ | ดูหนังสือเสาะหาอุตส่าห์แสวง | |
มาพบปะจะได้ขุดก็สุดแรง | ด้วยดินแข็งเขาประมูลด้วยปูนเพชร | |
ถึงสิ่วขวานผลาญพะเนินไม่เยินยู่ | เห็นเหลือรู้ที่จะทำให้สำเร็จ | |
แต่จะต้องลองตำรากาลเม็ด | เผื่อจะเสร็จสมถวิลได้กินยาฯ | |
๏ | พอเย็นรอนดอนสูงดูทุ่งกว้าง | วิเวกวางเวงจิตทุกทิศา |
ลิงโลดเหลียวเปลี่ยวใจนัยนา | เห็นแต่ฟ้าแฝกแขมขึ้นแซมแซง | |
ดูกว้างขวางว่างโว่งตะโล่งลิ่ว | ไม่เห็นทิวที่สังเกตในเขตแขวง | |
สุริยนสนธยาท้องฟ้าแดง | ยิ่งโรยแรงรอนรอนอ่อนกำลัง | |
โอ้แลดูสุริยงจะลงลับ | มิใคร่จะดับดวงได้อาลัยหลัง | |
สลดแสงแฝงรถเข้าบดบัง | เหมือนจะสั่งโลกาให้อาลัย | |
แต่คนเราชาววังทั้งทวีป | มาเร็วรีบร้างมิตรพิสมัย | |
ไม่รอรั้งสั่งสวาทประหวาดใจ | โอ้อาลัยแลลับวับวิญญาณ์ | |
ยิ่งเย็นฉ่ำน้ำค้างว่างวิเวก | เป็นหมอกเมฆมืดมิดทุกทิศา | |
แสนแสบท้องต้องเก็บตะโกนา | นึกระอาออกนามเมื่อยามโซ | |
ทั้งหนูกลั่นจันมากบุนนาคน้อย | ช่วยกันสอยเก็บหักไว้อักโข | |
พอเคี้ยวฝาดชาติชั่วตัวตะโก | แต่ยามโซแสบท้องก็ต้องกลืน | |
พิกุลต้นผลห่ามอร่ามต้น | ครั้นกินผลพาเลี่ยนให้เหียนหืน | |
ชั่งฝาดเฝื่อนเหมือนจะตายต้องคายคืน | ทั้งขมขื่นแค้นคอไม่ขอกิน | |
ท่านบิดรสอนสั่งให้ตั้งจิต | โปรดประสิทธิ์สิกขารักษาศิล | |
เข้าร่มพระมหาโพธิบนโขดดิน | ระรื่นกลิ่นกลางคืนค่อยชื่นใจ | |
เหมือนกลิ่นกลั่นจันทน์เจือในเนื้อหอม | แนบถนอมสนิทจิตพิสมัย | |
เสมอหมอนอ่อนอุ่นละมุนละไม | มาจำไกลกลอยสวาทอนาถนอนฯ | |
๏ | โอ้ยามนี้มิได้เชยเหมือนเคยชื่น | ทุกค่ำคืนขาดประทิ่นกลิ่นอัปสร |
หอมพิกุลฉุนใจอาลัยวอน | พิกุลร่อนร่วงหล่นลงบนทรวง | |
ยิ่งเสียวเสียวเฉียวฉุนพิกุลหอม | เคยถนอมเสน่ห์หมายไม่หายหวง | |
โอ้ดอกแก้วแววฟ้าสุดาดวง | มิหล่นร่วงลงมาเลยใคร่เชยชิม | |
เย็นระเรื่อยเฉื่อยฉ่ำด้วยน้ำค้าง | ลงพร่างพร่างพรายพร้อยย้อยหยิมหยิม | |
ยิ่งฟั่นเฟือนเหมือนสมรมานอนริม | ให้เหงาหงิมง่วงเงียบเซียบสำเนียง | |
เสนาะดังจังหรีดวะหวีดแว่ว | เสียงแจ้วแจ้วจักจั่นสนั่นเสียง | |
เสียงหริ่งหริ่งกิ่งไทรเรไรเรียง | เสียวสำเนียงนอนแลเห็นแต่ดาว | |
จนดึกดื่นรื่นเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยฉิว | หนาวดอกงิ้วงิ้วต้นให้คนหนาว | |
แม้นงิ้วงามนามงิ้วเล็บนิ้วยาว | จะอุ่นราวนวมแนบนั่งแอบอิง | |
ทั้งสี่นายหมายว่ากินยาแล้ว | จะผ่องแผ้วพากันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง | |
เดชะยาน่ารักประจักษ์จริง | ขอให้วิ่งตามฉาวทั้งด้าวแดน | |
นากนั้นว่าอายุอยู่ร้อยหมื่น | จะได้ชื่นชมสาวสักราวแสน | |
ไม่รู้หมดรสชาติไม่ขาดแคลน | ฉันอายแทนที่ครวญถึงนวลนาง | |
ทั้งหนูกลั่นนั้นว่าเมื่อเรือล่องกลับ | จะแวะรับนางสิบสองไม่หมองหมาง | |
แม่เอวอ่อนมอญรำล้วนสำอาง | จะขวางขวางไปอย่างไรคงได้ดู | |
สมเพชเพื่อนเหมือนหนึ่งบ้าประสาหนุ่ม | แต่ล้วนลุ่มหลงเหลือจนเบื่อหู | |
จนพระเมินเดินเวียนถือเทียนชู | เที่ยวส่องดูสีมาบรรดามี | |
ที่ผุพังยังแต่ตรุบรรจุธาตุ | ขาวสะอาดอรหัตจำรัสศรี | |
อาราธนามาไว้สิ้นด้วยยินดี | อัญชลีแล้วก็นั่งระวังภัย | |
น้ำค้างพรมลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยฉิว | ใบโพธิ์ปลิวแพลงพลิกริกริกไหว | |
บ้างร่วงหล่นวนว่อนร่อนไรไร | ด้วยแสงไฟรางรางสว่างตาฯ | |
๏ | จนดึกดื่นรื่นรมลมสงัด | ดึกกำดัดดาวสว่างพร่างพฤกษา |
เหมือนเสียงโห่โร่หูข้างบูรพา | กฤษฎาได้ฤกษ์เบิกพระไทร | |
สายสิญจน์วงลงยันต์กันปีศาจ | ธงกระดาษปักปลิวหวิวหวิวไหว | |
ข้าวสารทรายปรายปราบกำราบไป | ปักเทียนชัยฉัตรเฉลิมแล้วเจิมจันทน์ | |
จุดเทียนน้อยร้อยแปดนั้นปักรอบ | ล้อมเป็นขอบเขตเหมือนหนึ่งเขื่อนขัณฑ์ | |
มนต์มหาวาหุดีพิธีกรรม์ | แก้อาถรรพณ์ถอนฤทธิ์ที่ปิดบัง | |
แล้วโรยหินดินดำคว่ำหอยโข่ง | จะเปิดโป่งปูนเพชรเป็นเคล็ดขลัง | |
พอปักธงลงดินได้ยินดัง | สำเนียงตังตึงเปรี้ยงแซ่เสียงคน | |
ข้างเทียนดับกลับกลัวให้มัวมืด | พยุฮึดฮือมาเป็นห่าฝน | |
ถูกลูกเห็บเจ็บแสบแปลบสกนธ์ | เหลือจะทนทานลมลงก้มกราน | |
เสียงเกรียวกราววาววามโพลงพลามพลุ่ง | สะเทือนทุ่งที่บนโขดโบสถ์วิหาร | |
กิ่งโพธิ์โผงโกร่งกร่างลงกลางลาน | สาดข้าวสารกรากกรากไม่อยากฟัง | |
ทั้งฟ้าร้องก้องกึกพิลึกลั่น | อินทรีย์สั่นซบฟุบเหมือนทุบหลัง | |
สติสิ้นวิญญาณ์ละล้าละลัง | สู่ภวังค์วุบวับเหมือนหลับไป | |
เป็นวิบัติอัศจรรย์มหันตเหตุ | ให้อาเพศเพื่อจะห้ามตามวิสัย | |
ทั้งพระพลอยม่อยหลับระงับไป | แสงอุทัยรุ่งขึ้นจึงฟื้นกาย | |
เที่ยวหาย่ามตามหาทั้งผ้าห่ม | มันตามลมลอยไปข้างไหนหาย | |
ไม่พบเห็นเป็นน่าระอาอาย | จนเบี่ยงบ่ายบิดาจะคลาไคล | |
ท่านห่มดองครองผ้าอุกาพระ | คารวะวันทาอัชฌาสัย | |
ถวายวัดตัดตำราไม่อาลัย | ขออภัยพุทธรัตน์ปฏิมา | |
เหมือนรู้ความยามโศกด้วยโรคร้าย | จึงตามลายลัดแลงแสวงหา | |
จะใคร่เห็นเช่นเขาบอกดอกจึงมา | มีตำราแล้วก็ต้องทดลองดู | |
ไม่รื้อร้างง้างงัดไม่คัดขุด | เป็นแต่จุดเทียนเบิกฤกษ์ราหู | |
ขอคุณพรตทศธรรมช่วยค้ำชู | ไม่เรียนรู้รูปงามไม่ตามลาย | |
มาเห็นฤทธิ์กฤษฎาอานุภาพ | ก็เข็ดหลาบลมพาตำราหาย | |
ได้กรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย | ให้ภูตพรายไพรโขมดที่โขดดิน | |
ทั้งเจ้าทุ่งกรุงทวาเทพารักษ์ | ซึ่งพิทักษ์ที่พระยาคูหาหิน | |
พระเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ | ซึ่งสร้างถิ่นที่วัดพระปฏิมา | |
จงพ้นทุกข์สุโขอโหสิ | ไปจุติตามชาติปรารถนา | |
ทั้งเซิงไทรไผ่โพธิ์ตะโกนา | ฉันขอลาแล้วเจ้าคะหม่อมตะโก | |
ถึงแก่งอมหอมกลิ่นยังกินฝาด | แต่คราวขาดคิดรักเสียอักโข | |
ทั้งพิกุลฉุนกลิ่นจงภิญโญ | เสียดายโอ้อางขนางจะห่างไกล | |
ออกเดินทุ่งมุ่งหมายพอบ่ายคล้อย | ไม่ตามรอยแรกมาหญ้าไสว | |
จนจวนค่ำย่ำเย็นเห็นไรไร | สังเกตไม้หมายทางมากลางคืน | |
ต้องบุกรกวกหลงลุยพงแฝก | อุตส่าห์แหวกแขมคาสู้ฝ่าฝืน | |
มาตามลายหมายจะลุอายุยืน | ผ้าห่มผืนหนึ่งไม่ติดอนิจจัง | |
เจ้าหนูกลั่นนั้นว่าเคราะห์เสียเพราะหอม | เหมือนทิ้งหม่อมเสียทีเดียวเดินเหลียวหลัง | |
จะรีบไปให้ถึงเรือเหลือกำลัง | ครั้นหยุดนั่งหนาวใจจำไคลคลา | |
จนรุ่งรางทางเฟื่อนไม่เหมือนเก่า | ต้องเดินเดาดั้นดัดจนขัดขา | |
จนเที่ยงจึงถึงเรือเหลือระอา | อายตามาตาแก้วที่แจวเรือ | |
เขาหัวเราะเยาะว่าสาธุสะ | เครื่องอัฏฐะที่เอาไปช่างไม่เหลือ | |
พอมืดมนฝนคลุ้มลงครุมเครือ | ให้ออกเรือรีบล่องออกท้องคุ้ง | |
จะเลยตรงลงไปวัดก็ขัดข้อง | ไม่มีของขบฉันจังหันหุง | |
ไปพึ่งบุญคุณพระยารักษากรุง | ท่านบำรุงรักพระไม่ละเมิน | |
ทั้งเพลเช้าคาวหวานสำราญรื่น | ต่างชุ่มชื่นชวนกันสรรเสริญ | |
ทั้งสูงศักดิ์รักใคร่ให้เจริญ | อายุเกินกัปกัลป์พุทธันดร | |
ให้ครองกรุงฟุ้งเฟื่องเปรื่องปรากฏ | เกียรติยศอยู่ตลอดอย่าถอดถอน | |
ท่านอารีมีใจอาลัยวอน | ถึงจากจรใจจิตยังคิดคุณ | |
มาทีไรได้นิมนต์ปรนนิบัติ | สารพัดแผ่เผื่อช่วยเกื้อหนุน | |
ต่างชื่นช่วยอวยกุศลผลบุญ | สนองคุณเจ้าพระยารักษากรุงฯ | |
๏ | เมื่อกราบลาคลาเคลื่อนออกเลื่อนล่อง | เห็นหน้าน้องนามหุ่นนั่งชุนถุง |
ทั้งผัดหน้าทาขมิ้นส่งกลิ่นฟุ้ง | บำรุบำรุงรูปงามอร่ามเรือง | |
ที่แพรายหลายนางสำอางโฉม | งามประโลมเปล่งปลั่งอลั่งเหลือง | |
ขมิ้นเอ๋ยเคยใช้แต่ในเมือง | มาฟุ้งเฟืองฝ่ายเหนือทั้งเรือแพ | |
พวกโพงพางนางแม่ค้าขายปลาเต่า | จับกระเหม่ามิได้เหลือชั้นเรือแห | |
จะล่องลับกลับไปอาลัยแล | มาถึงแพเสียงนกแก้วแจ้วเจรจา | |
เจ้าของขาวสาวสอนชะอ้อนพลอด | แวะมาจอดแพนี้ก่อนพี่จ๋า | |
น่ารับขวัญฉันนี่ร้องว่าน้องลา | ก็เลยว่าสาวกอดฉอดฉอดไปฯ | |
๏ | โอ้นกเอ๋ยเคยบ้างหรืออย่างพลอด | นางสาวสาวเขาจะกอดให้ที่ไหน |
แต่น้องมีพี่ป้าที่อาลัย | ท่านยังไม่ช่วยกอดแกล้งทอดทิ้ง | |
นึกก็พลอยน้อยใจถึงไม่กอด | หนาวก็ทอดเตาไว้ก่อไฟผิง | |
ไม่เรียกเป็นเช่นนกแก้วแล้วจริงจริง | จะสู้นิ่งหนาวทนอยู่คนเดียว | |
ได้เด็ดรักหักใจมาในน้ำ | ถึงพบลำสาวแส้ไม่แลเหลียว | |
ประหลาดเหลือเรือวิ่งจริงจริงเจียว | มาคืนเดียวก็ได้หยุดถึงอยุธยา | |
จึงจดหมายรายเรื่องที่เคืองเข็ญ | ไปเที่ยวเล่นลายแทงแสวงหา | |
เห็นสิ่งไรในจังหวัดรัถยา | ได้จดมาเหมือนหนึ่งมีแผนที่ไว้ | |
ไม่อ่อนหวานขานเพราะเสนาะโสต | ด้วยอายโอษฐ์มิได้อ้างถึงนางไหน | |
ที่เขามีที่จากฝากอาลัย | ได้ร่ำไรเรื่องหญิงจึงพริ้งเพราะ | |
นี่กล่าวแกล้งแต่งเล่นเพราะเป็นม่าย | เที่ยวเร่ขายคอนเรือมะเขือเปราะ | |
คิดคะนึงถึงตัวน่าหัวเราะ | เกือบกะเทาะหน้าแว่นแสนเสียดายฯ | |
๏ | นารีใดไร้รักอย่าหนักหน่วง | จะโรยร่วงรกเรี้ยวแห้งเหี่ยวหาย |
ที่เมตตาอยู่ก็อยากจะฝากกาย | อย่าหมิ่นชายเชิญตรึกให้ลึกซึ้ง | |
เหมือนภุมรินบินหาซึ่งสาโรช | ถึงร้อยโยชน์แย้มกลิ่นคงบินถึง | |
แต่ดอกไม้ไทท้าวในดาวดึงษ์ | ไม่พ้นซึ่งพวกหมู่แมลงภู่ชม | |
เช่นกระต่ายกายสิทธิ์นั้นผิดเพื่อน | ขึ้นแต้มเดือนได้จนชิดสนิทสนม | |
เสน่หาอาลัยใจนิยม | จะใคร่ชมเช่นกระต่ายไม่วายตรอม | |
แต่เกรงเหมือนเดือนแรมไม่แจ่มแจ้ง | สุดจะแฝงฝากเงาเฝ้าถนอม | |
ขอเดชะจะได้พึ่งให้ถึงจอม | ขอให้น้อมโน้มสวาทอย่าคลาดคลา | |
ไม่เคลื่อนคลายหน่ายแหนงจะแฝงเฝ้า | ให้เหมือนเงาตามติดขนิษฐา | |
ทุกค่ำคืนชื่นชุ่มพุ่มผกา | มิให้แก้วแววตาอนาทร | |
มณฑาทิพย์กลีบบานตระการกลิ่น | ภุมรินหรือจะร้างห่างเกสร | |
จงทราบความตามใจอาลัยวอน | เดชะกลอนกล่าวปลอบให้ตอบคำ | |
จะคอยฟังดังคอยสอยสวาท | แม้นเหมือนมาดหมายจะชิมให้อิ่มหนำ | |
ถ้าครั้งนี้มิได้เยื้อนยังเอื้อนอำ | จะต้องคร่ำคร่าเปล่าแล้วเราเอยฯ |