ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชกาลที่ 5/เล่ม 3/เรื่อง 15
มีพระบรมราชโองการให้ประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงบรรดาที่นับถือพระพุทธสาศนาแลธรรมเนียมปีเดือนวันคืนอย่างเช่นใช้ในสยามให้ทราบทั่วกันว่า
ปีระกา นพศกนี้ ปรกติมาศปรกติวารโดยสุริยคติกาลเปนปรกติสุร์ทิน ปีนี้พระอาทิตย์จะขึ้นสู่ราษีเมษณวันอาทิตย์ที่ ๑๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ เวลา ๘ ทุ่ม เปนวันมหาสงกรานต์
วันจันทร์ที่ ๑๒ วันอังคารที่ ๑๓ เมษายน เปนวันเนา วันพุฒที่ ๑๔ เมษายน เปนวันเถลิงศก ณวันอังคารที่ ๑๓ เมษายน ขึ้นจุลศักราชใหม่เปน ๑๒๕๙ ในเวลา ๑๑ ทุ่มกับ ๑๔ นาที ๔๘ วินาที
เพราะฉนั้น ในปีนี้ การทำบุญแลเล่นนักขัตรฤกษสงกรานต์เปน ๔ วัน ลักษณจดหมายวันคืนเดือนปีเช่นใช้ดังนี้ ตั้งแต่วันพฤหัศบดีที่ ๑ เมษายน ให้จดหมายลงชื่อปีในที่ทั้งปวงว่ารัตนโกสินทรศก ๑๑๖ ให้ลงเลขบนศักนั้น ๓๐ ตามปีแผ่นดินไปกว่าจะเปลี่ยนศกใหม่เทอญ
ณวันอาทิตย์ที่ ๔ เมษายน วันหนึ่ง วันพฤหัศบดีที่ ๒๓ กันยายน วันหนึ่ง เปนวันประชุมถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
วันพฤหัศบดีที่ ๑๓ พฤษภาคม เปนวันจะทำพระราชพิธีจรดพระนังคัล ห้ามอย่าให้ราษฎรลงมอทำนาก่อนวันนั้น คือ ตั้งแต่วันพฤหัศบดีที่ ๑๓ พฤษภาคม ให้ทำนาภายหลังพระราชพิธีต่อไปตลอดพระราชอาณาเขตร
วันวิศาขบูชาที่นิยมในคัมภีร์อรรถกถาว่าเปนวันประสูตร แลตรัสรู้ แลพระปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ในปีนี้ นักขัตรฤกษวิศาขบุรณมีตกในวันอาทิตย์ที่ ๑๖ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ วันพุฒที่ ๑๓ กรกฎาคม เปนวันเข้าปุริมพรรษา วันศุกร์ที่ ๑๓ สิงหาคม เปนวันเข้าปัจฉิมพรรษา วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ตุลาคม เปนวันมหาปวารณาที่เรียกว่าออกพรรษา
วันพุฒที่ ๓ พฤศจิกายน เปนวันพระราชพิธีจองเปรียงยกโคม วันพฤหัศบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน เปนวันลดโคม ให้พระบรมวงษานุวงษ์ข้าทูลลอองธุลีพระบาทแลราษฎรบรรดาซึ่งได้ยกโคมลดโคมจงได้ทราบแล้วทำตามกำหนดนี้เทอญ
วันอังคารที่ ๙ พฤศจิกายน เปนวันชีพ่อพราหมณ์จะได้ทำพระราชพิธีกฤติเกยาณเทวสถาน ถ้าจะทำมาฆบูชาจาตุรงคสันนิบาตซึ่งนิยมว่าเปนวันที่ชุมนุมพระสงฆ์สาวก ๑๒๕๐ พระองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ชุมนุมนั้น ควรทำวันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ วันนี้ชีพ่อพราหมณ์จะได้ทำพระราชพิธีศิวาราตรีณเทวสถาน
พระราชพิธีสารทคงทำในวันที่ ๒๓ ที่ ๒๔ ที่ ๒๕ กันยายน สามราตรี ให้การเปนเสร็จในวันที่ ๒๖ กันยายน
พระราชพิธีฉัตรมงคลคงทำในวันที่ ๙ ที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๒ พฤศจิกายน วันอังคารที่ ๑๖ พฤศจิกายน เปนวันประชุมถวายบังคมพระบรมรูป
พระราชพิธีตรียำพวายเริ่มตั้งแต่วันพุฒที่ ๒๙ ธันวาคม ไปถึงวันศุกร์ที่ ๗ มกราคม ๑๐ ราตรี
พระราชพิธีตรีปวายเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๗ มกราคม ให้การเปนเสร็จในวันอังคารที่ ๑๑ มกราคม ๕ ราตรี
พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์คงทำตั้งแต่วันที่ ๑๗ ที่ ๑๘ ที่ ๑๙ ที่ ๒๐ มีนาคม
อนึ่ง วันเฉลิมพระชนมพรรษาตกในวันจันทร์ที่ ๒๐ กันยายน เวลา ๑๐ ทุ่มกับ ๔ นาที ๔๘ วินาทีตามสุริยคติกาล
วันฉลองพระชนมพรรษาตกในวันอังคารที่ ๑๔ กันยายน เวลาเช้า ๔ โมงกับ ๒๔ นาทีตามจันทรมาศ
วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวีตกในวันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน ตามสุริยคติกาล
วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถแลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมารตกในวันเสาร์ที่ ๑ มกราคมตามสุริยคติกาล
ในปีนี้ วันเสาร์เปนวันธงไชย วันพุฒเปนวันอธิบดี วันศุกร์เปนวันอุบาศน์ วันศุกร์เปนวันโลกาวินาศน์
วันเวลาพระอาทิตย์เปลี่ยนขึ้นราษีใหม่ ซึ่งเรียกว่าสงกรานต์เตือน แลพระอาทิตย์สถิตย์ราษี ห้ามวันดฤถีมหาสูญนั้น พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราษีเมษณวันอาทิตย์ที่ ๑๑ เมษายน เวลา ๘ ทุ่ม อยู่จนวันพุฒที่ ๑๒ พฤษภาคม เวลา ๕ ทุ่มกับ ๓๖ นาที
เดือนห้า วันที่ ๔ วันที่ ๒๒ เมษายน เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีพฤศภ อยู่จนวันอาทิตย์ที่ ๑๓ มิถุนายน เวลาเช้า ๓ โมงกับ ๓๖ นาที
เดือนหก วันที่ ๘ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีเมถุน อยู่จนวันพุฒที่ ๑๔ กรกฎาคม เวลา ๗ ทุ่มกับ ๓๖ นาที
เดือนเจ็ด วันที่ ๔ วันที่ ๒๒ มิถุนายน เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีกรกฎ อยู่จนวันอาทิตย์ที่ ๑๕ สิงหาคม เวลาบ่าย ๑ โมงกับ ๓๖ นาที
เดือนแปด วันที่ ๗ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีสิงห์ อยู่จนวันพุฒที่ ๑๕ กันยายน เวลาบ่าย ๓ โมงกับ ๑๒ นาที
เดือนเก้า วันที่ ๔ วันที่ ๒๒ สิงหาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีกัญ อยู่จนวันศุกร์ที่ ๑๕ ตุลาคม เวลา ๘ ทุ่มกับ ๔๘ นาที
เดือบสิบ วันที่ ๖ วันที่ ๑๙ กันยายน เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีดุล อยู่จนวันอาทิตย์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน เวลา ๒ ยามกับ ๔๘ นาที
เดือนสิบเอ็ด วันที่ ๓ วันที่ ๒๓ ตุลาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีพิจิกร อยู่จนวันอังคารที่ ๑๔ ธันวาคม เวลาบ่าย ๔๘ นาที
เดือนสิบสอง วันที่ ๖ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีธนู อยู่จนวันพุฒที่ ๑๒ มกราคม เวลา ๒ ทุ่มกัน ๔๘ นาที
เดือนอ้าย วันที่ ๓ ธันวาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีมังกร อยู่จนวันศุกร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ เวลาเช้า ๒๔ นาที
เดือนยี่ วันที่ ๒๕ ธันวาคม วันที่ ๙ วันที่ ๑๙ มกราคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีกุมภ์ อยู่จนวันเสาร์ที่ ๑๒ มีนาคม เวลา ๗ ทุ่มกับ ๑๒ นาที
เดือนสาม วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีมิน อยู่จนวันอังคารที่ ๑๒ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๗
เดือนสี่ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ วันที่ ๑๒ มีนาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ
ณวันศุกร์ที่ ๗ มกราคม มีจันทรุปราคาครั้งหนึ่ง
ณวันเสาร์ที่ ๒๒ มกราคม มีสุริยุปราคาครั้งหนึ่ง
อนึ่ง วันธรรมสะวะนะนิยมตามวิธีปักขคณนาเปนวันรักษาอุโบสถแลประชุมฟังธรรม ซึ่งยักเยื้องกันกับวันพระตามเคยมี ที่รู้ทั่วกันในชาวสยามประเทศทั้งปวงนั้น ในปีระกานี้ นับตั้งแต่วันศุกร์ ขึ้นค่ำ ๑ เดือน ๕ เปนต้นไป จนถึงวันอังคาร ขึ้นค่ำ ๑ เดือน ๕ ปีจอ เปนวัน ๔๑ วัน คือ วันศุกร์ ขึ้นค่ำ ๑ วันเสาร์ ขึ้น ๙ ค่ำ ในเดือน ๕
วันเสาร์ ขึ้นค่ำ ๑ วันอาทิตย์ ขึ้น ๙ ค่ำ วันอาทิตย์ แรมค่ำ ๑ วันจันทร์ แรม ๙ ค่ำ ในเดือนหก
วันจันทร์ ขึ้นค่ำ ๑ วันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ ในเดือน ๗
วันอังคาร ขึ้นค่ำ ๑ วันพุฒ ขึ้น ๙ ค่ำ วันพุฒ แรมค่ำ ๑ วันพฤหัศบดี แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๘
วันพฤหัศบดี ขึ้นค่ำ ๑ วันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ ในเดือน ๙
วันศุกร์ ขึ้นค่ำ ๑ วันเสาร์ ขึ้น ๙ ค่ำ วันเสาร์ แรมค่ำ ๑ วันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๑๐
วันอาทิตย์ ขึ้นค่ำ ๑ วันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ ในเดือน ๑๑
วันจันทร์ ขึ้นค่ำ ๑ วันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ วันอังคาร แรมค่ำ ๑ วันพุฒ แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๑๒
วันพุฒ ขึ้นค่ำ ๑ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ วันพฤหัศบดี แรมค่ำ ๑ วันศุกร์ แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๑
วันพฤหัศบดี ขึ้นค่ำ ๑ วันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ วันศุกร์ แรมค่ำ ๑ วันเสาร์ แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๒
วันเสาร์ ขึ้นค่ำ ๑ วันอาทิตย์ ขึ้น ๙ ค่ำ วันอาทิตย์ แรมค่ำ ๑ วันจันทร์ แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๓
วันอาทิตย์ ขึ้นค่ำ ๑ วันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ วันจันทร์ แรมค่ำ ๑ วันอังคาร แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๔
วันอังคาร ขึ้นค่ำ ๑ ในเดือน ๕ ปีจอ
รวม ๔๑ วันเท่านี้ นอกกว่า ๔๑ วันนี้ ก็คงต้องกันกับวันพระตามเคย