ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชกาลที่ 6/เล่ม 1/เรื่อง 50
มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า มิสเตอร์ติเลกี หมอเฮศ มิสเตอร์คราเมอร์ พระสิทธิ์ธนรักษ์ หลวงสุนทรโกษา หมอไรเตอร์ มิสเตอร์กรุ๊ด มิสเตอร์กาเตอร์ รวม ๘ นายด้วยกัน ขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งบริษัทมีนามว่าบริษัทรถไฟสายปากน้ำ แลให้บริษัทนี้ได้ถือว่าเปนบุคคลในกฎหมาย ไม่ต้องใช้หนี้สินเกินทุนที่มี หรือเกินทรัพย์ที่เปนผลของทุนนั้น หรือที่เรียกว่าทุนจำกัด
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทรถไฟสายปากน้ำทุนจำกัดเปนบุคคลได้ในกฎหมาย เมื่อได้ประพฤติตามข้อความดังที่ได้กล่าวต่อไปนี้
ข้อ๑ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อำนาจพิเศษนี้ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลิกถอนเสียได้ทุกเมื่อ
ข้อ๒ประกาศนี้ให้ใช้ได้แต่เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนเสร็จแล้วที่กระทรวงเกษตรา⟨ธิ⟩การ ตามวิธีที่ได้กล่าวไว้ในข้อ ๕
ข้อ๓รัฐบาลไม่รับผิดชอบแทนบริษัทนี้ด้วยอย่างใดอย่างนี้เปนอันขาดในการที่บริษัทจะได้ทำไปนั้น
ข้อ๔โดยประกาศนี้ ไม่ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บริษัทหลีกเลี่ยงกฎหมายหรือข้อบังคับที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ หรือที่จะมีขึ้นในภายน่า
ข้อ๕ให้บริษัททำหนังสือกำหนดอำนาจ (เมมโมแรนดำออฟแอซโซซิเอชั่น) แลข้อบังคับ (อาติเกิลออฟแอสโซซิเอชั่น) ของบริษัทส่งขอจดทะเบียนที่กระทรวงเกษตราธิการ แต่อย่าให้กระทรวงเกษตราธิการยอมให้จดทะเบียนได้ กว่าจะได้มีคนรับเข้าแชร์ครบถ้วนตามที่บริษัทได้กำหนดไว้ว่าจะแบ่งเปนจำนวนเท่าไรเพื่อได้เงินเปนทุน แลกว่าผู้รับแชร์นั้นจะได้ออกเงินหรือส่งเงินแล้วไม่น้อยกว่า (ร้อยละยี่สิบห้า) ๑๐๐ ละ ๒๕ แห่งราคาประจำหุ้นทุก ๆ หุ้นนั้นแล้ว
ข้อ๖ให้กระทรวงเกษตราธิการยอมให้คนทั้งหลายตรวจหนังสือกำหนดอำนาจแลข้อบังคับของบริษัทได้ เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมพอสมควรตามแต่เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการจะกำหนด แต่อย่าให้เกิน ๑ บาทขึ้นไป
ข้อ๗ให้ถือว่าหนังสือกำหนดอำนาจแลข้อบังคับของบริษัทนั้นเปนหนังสือสัญญาเหมือนอย่างว่าได้ทำต่อน่าอำเภอเจ้าพนักงานในระหว่างบริษัทแลผู้ถือแชร์หรือสมาชิก แลเหมือนอย่างว่าสมาชิกทุกคนได้ลงชื่อในหนังสือสัญญานั้นในส่วน แลผู้ที่จะได้รับมรฎกของต่อไปรับรองว่าจะประพฤติตามหนังสือกำหนดอำนาจแลข้อบังคับนั้นทุกประการ เว้นแต่จะมีข้อความที่ขัดกับประกาศนี้
ข้อ๘ถ้าบริษัทจะแก้ไขข้อความในหนังสือกำหนดอำนาจหรือข้อบังคับอย่างไรก็ดี หรือจะตกลงเลิกบริษัทก็ดี ให้บริษัทไปจดทะเบียนบอกกล่าวไว้ที่กระทรวงเกษตราธิการโดยเร็ว
ข้อ๙บริษัทแลบรรดาทรัพย์สมบัติที่บริษัทเปนเจ้าของนั้นต้องอยู่ในบังคับกฎหมายสยามที่ใช้อยู่ แลที่จะได้ตั้งขึ้นใหม่ต่อไปนั้นทุกประการ แลพระบรมราชานุญาตนี้ไม่ให้นับว่าเปนเครื่องมัดรัฐบาลให้มีความรับผิดชอบในการใด ๆ ที่บริษัทจะได้ทำไว้นั้นเปนอันขาด
ข้อ๑๐ให้บริษัทพิมพ์หนังสือกำหนดอำนาจแลข้อบังคับของตนนำส่งไว้ที่กระทรวงเกษตราธิการกี่ฉบับนั้นแล้วแต่เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการจะเห็นสมควร เพื่อจะได้เปนการสดวกแก่คนทั้งหลายที่ต้องการตรวจหนังสือนั้น ๆ อนึ่ง ให้บริษัทจำเปนต้องขายหนังสือกำหนดอำนาจแลข้อบังคับให้ผู้ใด ๆ ที่ขอซื้อ แต่อย่าให้เรียกราคาเกินบาทหนึ่งสำรับหนึ่งขึ้นไป
ข้อ๑๑กรรมการ (ไดเร็กเตอร์) ของบริษัทนี้ให้มีไม่น้อยกว่า ๕ คนแลไม่ให้เกินกว่า ๗ คน แลให้จดทะเบียนชื่อกรรมการไว้ที่กระทรวงเกษตราธิการโดยเร็ว แลต้องบอกรายนามผู้ถือแชร์หรือหุ้นต่อกระทรวงเกษตราธิการด้วย
ข้อ๑๒ผู้อื่นเช่นที่เรียกว่าคนที่ ๓ ไม่จำเปนต้องถือว่าใครได้เปนหรือได้ออกจากตำแหน่งกรรมการกว่าจะได้จดทะเบียนไว้แล้วว่าได้รับหรือได้ออกจากตำแหน่งนั้น ๆ
ข้อ๑๓ผู้ที่จะเปนกรรมการต้องนำตั๋วแชร์ของตนไปวางฝากไว้เปนประกันที่กระทรวงเกษตราธิการไม่น้อยกว่าคนละ ๑๐ แชร์ มิฉนั้นอย่าให้กระทรวงเกษตราธิการยอมให้จดทะเบียนลงว่าเปนกรรมการ แชร์ที่วางฝากเปนประกันนั้นห้ามไม่ให้โอนให้แก่ผู้อื่นในเวลาที่เจ้าของเปนกรรมการอยู่
ข้อ๑๔ให้บริษัทมีออฟฟิศประจำไว้แห่งหนึ่ง บริษัทจะต้องลงทะเบียนบอกไว้ที่กระทรวงเกษตราธิการว่าอยู่แห่งไร ตำบลไร แลเมืองไร เพื่อประโยชน์การส่งหนังสือแลบัตร์หมายทั้งหลายแก่บริษัทเหมือนอย่างว่าส่งลงในมือบริษัทนั้น ถ้าไม่มีออฟฟิศเช่นนี้หรือไม่จดทะเบียนก็ดี ให้ปรับเปนจำนวนเงินวันหนึ่งไม่เกินเงิน ๑๐๐ บาททุกวันไปกว่าจะได้ทำให้ถูกต้อง
ข้อ๑๕ให้บริษัทมีตราเปนสำคัญดวงหนึ่ง ในดวงตรานั้นให้มีชื่อบริษัทเปนอักษรไทยอ่านได้ชัด แลมีคำทุนจำกัดต่อท้ายเหมือนว่าเปนส่วนของชื่อด้วย แลให้นำตรานี้ไปลงทะเบียนที่กระทรวงเกษตราธิการ มิฉนั้นให้ปรับบริษัทเปนจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐๐ บาท
ข้อ๑๖ถ้าบริษัทจะจำนำหรือเอาทรัพย์สมบัติของตนเปนประกันแก่ผู้ใด ให้จดทะเบียนไว้ที่กระทรวงเกษตราธิการ บอกข้อความโดยย่อแต่ให้ชัด เปนต้นคือทรัพย์อะไรที่จำนำ หรือเอาเปนประกันเงินทองเท่าไรกัน แลชื่อเจ้าหนี้
ข้อ๑๗ถ้าไม่ได้ประพฤติตามที่กล่าวไว้ในข้อ ๑๖ แล้ว การจำนำแลเอาทรัพย์เปนประกันนั้นใช้ไม่ได้ในกฎหมาย
ข้อ๑๘ถ้าบริษัทตกลงจะเพิ่มเงินทุน หรือจะลดทุน หรือจะออกตั๋วจำนำทรัพย์ หรือให้ทรัพย์เปนประกัน (ดิเปนเชอร์) อย่างไร ต้องจดทะเบียนบอกกล่าวไว้ที่กระทรวงเกษตราธิการโดยเร็ว
ข้อ๑๙ห้ามไม่ให้บริษัทออกตั๋วจำนำหรือเอาทรัพย์สมบัติเปนประกัน (ดิเปนเชอร์) อย่างใดอย่างหนึ่ง จนกว่าจะได้รับเงินทุนไม่น้อยกว่าครึ่งที่ได้กำหนดไว้ แลเงินที่จะยืมมาโดยออกตั๋วทั้งหลายนี้ห้ามไม่ให้เกินกว่าเงินทุนที่บริษัทได้รับแล้วหรือที่ผู้ถือแชร์จะได้ให้ไว้แล้ว
ข้อ๒๐ห้ามไม่ให้บริษัทลดทุนน้อยลงกว่ากึ่งที่ได้กำหนดไว้เดิม แลถึงกระนั้นก็ดี ต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาครั้งหนึ่ง แลหนังสือพิมพ์ในเมืองที่ตั้งออฟฟิศอย่างน้อย ๓๐ วัน แลในระหว่างนั้นไม่มีเจ้าหนี้ ผู้ใดได้เขียนหนังสือมาบอกกล่าวไม่ยอม จึงจะเปนอันใช้ได้ในกฎหมาย
ข้อ๒๑ห้ามไม่ให้บริษัทซื้อที่ดินหรือตึกเรือนโรงแลทรัพย์สมบัติที่เคลื่อนจากที่ไม่ได้ในกรุงสยาม นอกจากเฉภาะที่ต้องการสำหรับใช้ในกิจการของบริษัท แลห้ามไม่ให้ซื้อที่ดินหรือตึกเรือนโรงต่าง ๆ เพื่อประโยชน์จะเอาไปเปนของสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนหากำไรในภายน่า
เมื่อบริษัทซื้อหรือได้ไว้โดยทางใดทางหนึ่งในทรัพย์สมบัติอันเปนที่ดิน หรือตึกเรือนโรง หรือสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ไว้ก่อนวันจดทะเบียนนี้แล้ว ต้องมีหนังสือแจ้งความให้กระทรวงเกษตราธิการทราบภายใน ๓๐ วัน
ข้อ๒๒ในการทั้งหลายที่บริษัทจะต้องเขียนหรือพิมพ์ชื่ของบริษัท ๆ กรรมการ สมาชิก เอเยนต์ ลูกจ้าง แลคนใด ๆ ที่ทำากรฝ่ายบริษทนั้น จะต้องเขียนหรือพิมพ์คำทุนจำกัดหรือ ท.จ.ก. ไว้ต่อท้ายชื่อบริษัทเหมือนส่าเป็ยชื่อบบริษทด้วย มิฉนั้นให้ปรับเปนจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐ บาท หรือถือว่าผู้ที่ทำผิดนนั้นได้การค้า ได้ทำการทำสัญญา
ข้อ๒๓ให้บริาัทเขียนป้ายชื่อของบริษัทเปนภาษาไทย มีคำทุนจำกัดต่อท้าย ไว้ที่ประตูออฟฟิศของบริษัทแลทุหแห่งที่ทำการกับผู้อื่น ตัวหนังสือหรือป้ายนั้นต้องให้อ่านได้โดยสดวก มิฉนั้นให้ปรับเปบจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐ บาททุกครั้งที่ทำการผิดหรือทุกวันที่ทำการผิดดังนั้น
ข้อ๒๔ให้บริษัทนี้มีอำนาจทำการแต่เฉภาะที่ได้พรรณาไว้ในหนังสือกำหนดอำนาจ ถ้าได้ทำการอำนาจนั้นไป ไม่ให้ถือว่าใช้ได้ในกฎหมายมายันเอาแก่ผู้อื่น หรือผู้อื่นมายันเอาแก่บริษัท เว้นไว้แต่การที่ทำไปนั้นพอเล็งเห็นได้ว่า โดยดำเนิรการตามความประสงค์ที่ปรากฎในหนังสือกำหนดอำนาจของบริษัทนั้น
ข้อ๒๕ให้บริษัทมีบาญชีคนเข้าแชร์หรือสมาชิกไว้ที่ออฟฟิศที่ได้จดทะเบียน ถ้าจะโอนแชร์กันแล้ว ให้ลงไว้ในบาญชีนั้นเปนสำคัย แลต้องบอกให้กระทรวงเกษตราธิการทราบทุกคราว มิฉนั้นไม่ให้ถือว่าได้โอนกันถูกต้องด้วยกฎหมาย
ข้อ๒๖เมื่อถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม แลวันที่ ๓๐ กันยายน เสมอทุกปี บริษัทต้องทำบาญชีรายงานตามแบบที่ต่อท้ายนี้หรือคล้ายกันที่สุดที่สามารถจะทำได้ภายใน ๓ เดือนยื่นต่อกระทรวงเกษตราธิการสำหรับรักษาไว้ฉบับหนึ่ง แลปิดไว้ในที่คนไปมาเห็นได้งายตามที่ทำการของบริษัททั้งที่ได้จดทะเบียนรัฐบาลแล้วแลไม่ต้องจดทะเบียนแห่งละฉบับทุก ๆ ตำบล ถ้าสมาชิกหรือเจ้าหนี้ของบริษัทคนใดจะต้องการบาญชีรายงานนี้ บริษัทต้องยอมจ่ายให้โดยเรียกเอาราคาไม่เกินกว่าฉบับละ ๕๐ สตางค์
ข้อ๒๗ห้ามไม่ให้ผู้ใดเรียกเงินจากสมาชิกหรือผู้ถือแชร์ด้วยเหตุว่าเปนสมาชิกหรือถือแชร์นั้นเลย เว้นไว้แต่ผู้ถือแชร์นั้นยังไม่ได้ส่งเงินเต็มตามแชร์ ถ้าดังนั้นแล้ว ให้เรียกได้แต่ส่วนที่เหลือจะต้องส่ง
ข้อ๒๘ให้บริษัทมีเงินเผื่อขาดเผื่อเหลือไว้ แลให้ถอนเอาเงินจากกำไรแท้ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ละ ๕ ของกำไรนั้นทุกครั้งที่ได้แบ่งปันกำไรกัน
ข้อ๒๙ให้บริษัทส่งงบบาญชีที่กระทรวงเกษตราธิการภายใน ๑ ปีนับตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียน แลให้ส่งต่อไปทุกครั้งที่ได้แบ่งกำไร ถ้าไม่แบ่งกำไร ต้องส่งงบบาญชีอย่างน้อยที่สุดปี ๑ ครั้ง ๑ แลงบบาญชีนี้ต้องแจ้งความว่า แชร์ได้ส่งเงินแล้วเท่าไร ทรัพย์ของบริษัทมีเท่าไร ยังต้องใช้หนี้เท่าไร
ข้อ๓๐สมุด หนังสือ แลบาญชีทุกอย่าง แลตัวเงินหรือการงานของบริษัทที่ดำเนิรอยู่ รัฐบาลมีอำนาจให้เจ้าพนักงานไปตรวจได้ทุกเมื่อ ถ้าขัดขืน ให้ปรับเปนจำนวนเงิน ๒๐๐ บาททุกคราวหรือทุกวันที่มีความขัดขืนนั้น แลบรรดาผู้อำนวยการหรือผู้จัดการของบริษัททุก ๆ คนที่อนุญาตหรือยอมให้ขัดขืนเช่นนั้น ต้องมีโทษปรับเปนเงินไม่เกินกว่า ๒๐ บาทสำหรับทุกวันที่มีความขัดขืนอยู่เช่นนั้น
ข้อ๓๑ผู้ถือแชร์มีอำนาจที่จะตรวจบาญชีแลงบบาญชีได้
ข้อ๓๒ถ้าสมาชิกหรือผู้ถือแชร์ของบริษัทนั้นลดลงจนไม่ถึง ๗ คน แลบริษัทยังคงทำการอยู่ต่อไปเกิน ๖ เดือนนับตั้งแต่วันที่บริษัทนั้นมีสมาชิกนั้นน้อยกว่า ๗ คน สมาชิกผู้ที่ได้รู้เหตุดังนั้นจะต้องเปนผู้รับใช้หนี้แทนกันต่างกันจงเต็มในส่วนหนี้ที่ได้มีขึ้นในเวลานั้น
ข้อ๓๓เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการมีอำนาจที่จะตรวจการของบริษัทนั้นได้ทุกอย่าง แลถ้าบริษัทจะแก้ไขหนังสือกำหนดอำนาจหรือข้อบังคับ หรือตกลงจะออกตั๋วจำนำ หรือให้ทรัพย์เปนประกันก็ดี หรือจะเลิกการของบริษัทนั้นก็ดี ต้องได้รับอนุญาตของเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการเปนลายลักษณ์อักษรไว้ก่อน จึงให้ถือว่าความที่ตกลงนั้นใช้ได้ตามกฎหมาย
ข้อ๓๔เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการมีอำนาจที่จะเรียกค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนหรือส่งหนังสือต่าง ๆ ตามประกาศนี้ได้ตามแต่เสนาบดีนั้นจะกำหนดพอสมควร
ข้อ๓๕ถ้ามีคดีระหว่างบรษัทกรรมการสมาชิกผู้ถือแชร์หรือผู้อื่นในกันแลกัน ให้ศาลพิจารณาตามกฎหมายแลธรรมเนียมของบริษัทที่ได้ตั้งขึ้นสำหรับค้าขายหาผลประโยชน์มีทุนเปนจำกัด แลตามหนังสือกำหนดอำนาจแลข้อบังคับของบริษัทนั้น เว้นไว้แต่ทั้งหลายนี้จะมีข้อความขัดกับประกาศนี้
ข้อ๓๖(๑) ถ้าได้ทรงพระกรุณาโปรดยกคืนประกาศนี้ก็ดี (๒) ถ้าบริษัทตกลงจะเลิกการแลได้รับอนุญาตเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการแล้วก็ดี (๓) ถ้าบริษัทไม่สามารถจะใช้หนี้ก็ดี (๔) ถ้าสมาชิกมีน้อยคนกว่า ๗ ก็ดี ให้จัดการเลิกบริษัทนี้เสีย
โดยประกาศนี้ ให้คนทั้งหลายรู้ว่า ตั้งแต่วันที่บริษัทรถไฟสายปากน้ำทุนจำกัดได้จดทะเบียนที่กระทรวงเกษตราธิการตามวิธีที่ได้กล่าวมาแล้ว บริษัทรถไฟสายปากน้ำทุนจำกัดเปนบุคคลในกฎหมายคนละพแนกจากสมาชิกนั้น ๆ แลสามารถที่จะใช้หนี้ได้ตาททุนแลทรัพย์ซึ่งเปนผลของทุนนั้น หรือที่เรียกว่าทุนจำกัด แลมีอำนาจที่จะถือทรัพย์สมบัติเปนเจ้าของ มีอำนาจที่จะรับหรือจะต้องเสียความชอบธรรมได้ทั้งสองอย่าง แลจะเปนโจทย์หรือจะต้องเปนจำเลย แลให้คนทั้งหลายที่จะมีการเกี่ยวข้องกับบริษัทรถไฟสายปากน้ำทุนจำกัดนี้สังเกตว่าแลจำว่า บริษัทนี้อยู่ในข้อบังคับของประกาศนี้ แลทำการได้เพียงที่ปรากฎในหนังสือกำหนดอำนาจแลข้อบังคับที่ได้จดทะเบียนไว้ที่กระทรวงเกษตราธิการเท่านั้น
ประกาศมาณวันที่ ๑๗ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศ๑ก ๑๒๙ เปนวันที่ ๓๗ ในรัชกาลปัตยุบันนี้
. . . . . . . . . . . . . . . . นายก
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
ทุนจำหน่าย | บาท | สตางค์ |
บาท ส.ต. | ||
เงินทุนหุ้นส่วนที่ได้รับเสร็จ . . . . . แชร์ คิดแชร์ละ . . . . . . . | . . . . . | . . . . . |
ดิเบนเชอร์ . . . . . ดิเบนเชอร์ ๆ ละ . . . . . บาท/ต่อปี . . . . . | ||
””. . . . . ดิเบนเชอร์ ๆ ละ . . . . . บาท/ต่อปี . . . . . | ||
ดอกเบี้ยค้างเพียงวันนี้ . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . |
เจ้าหนี้ต่าง ๆ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . |
เงินหุ้นส่วนแบ่งที่ยังไม่มีผ้มารับ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . |
เงินเผื่อเหลือเผื่อขาดตามกฎหมาย . . . . . . . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . |
เงินทุนค่าใช้สอย . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . |
บาญชีกำไรแลขาดทุน ยอดยกมาจากปีก่อน . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . |
กำไรคงได้เพียงวันนี้ . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . |
รวม . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . |
ทรัพย์สมบัติ | บาท | สตางค์ | ||
บาท ส.ต. | ||||
อนุญาตตามบาญชีก่อน . . . . . . . . . . | ||||
หักรายถอยราคาเพียงวันนี้ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
หมดกรรมสิทธิ์ ค่าที่ดิน . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
ทางรถไฟตามบาญชีก่อน . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
บวกในปีนี้ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . | ||||
หักค่าสึกหลอ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
โรงงาน ค่าเครื่องจักร์แลเครื่องมือตามบาญชีก่อน . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
บวกในปีนี้ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
หักค่าสึกหลอ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
ค่าบ่อน้ำ ค่าเครื่องจักร์แลเครื่องมือตามบาญชีก่อน . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
บวกในปีนี้ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
หักค่าสึกหลอ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
โรงงาน ตามบาญชีก่อน . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
บวกในปีนี้ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
หักค่าสึกหลอ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
เรือไฟ ตามบาญชีก่อน . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
หักค่าสึกหลอ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
ลูกหนี้ต่าง ๆ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
ดอกเบี้ยที่จะได้ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
ค่าอินชูรันล่วงน่า . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
พัสดุต่าง ๆ แลของเผื่อใช้ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
อัลมัลกาเมเชิน | ตามบาญชีก่อน . . . . . | |||
ค่าปรีเมียมปีนี้ . . . . . | ||||
ตัวเงินสด | ในมือ . . . . . | |||
ที่แบงก์ตามบาญชีรายวัน . . . . . | ||||
ที่แบงก์ตามบาญชีฝากประจำ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
รวม . . . . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . |
บาท | สตางค์ | บาท | สตางค์ | |||
ค่าใช้สอยการเดิรรถ ค่าเชื้อเพลิง | เงินผลประโยชน์ค่าโดยสาน . . . . . | . . . . . | . . . . . | |||
ค่าจ้างคนงาน แลอื่น ๆ อีก | . . . . . | . . . . . | เงินผลประโยชน์ค่าบรรทุกของ . . . | . . . . . | . . . . . | |
บาท ส.ต. | รถพิเศษตัวรถพ่วงแลรถถ่อแลรถ | |||||
ค่าบำรุงทางแลสพาน . . . . . . . . | บรรทุกเมล์ . . . . . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . | |||
ล้อเลื่อนแลเรือไฟ . . . . . | ||||||
สถานีแลตึกโรงอื่น ๆ . . . . . | รวม . . . . . | . . . . . | . . . . . | |||
เงินเดือนแลเงินใช้จ่ายทั่วไป . . . | . . . . . | . . . . . | ||||
เงินคงเหลือยกไปบาญชีกำไร | ||||||
แลขาดทุน . . . . . . . . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||||
รวม . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||||
บาท ส.ต. | ||||||
ดอกเบี้ยดิเบนเชอร์ . . . . . | . . . . . | . . . . . | โอนมาจากบาญชีลงทุนทำงาน . . . | . . . . . | . . . . . | |
อนุญาต เดมชัน . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . | ค่าเช่าโรงร้าน . . . . . | . . . . . | . . . . . | |
หักออกจากบาญชีรวม | ผลประโยชน์ค่าน้ำ . . . . . | . . . . . | . . . . . | |||
(อมัลกาเมชัน) . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . | ค่าเช่าที่ดินต่าง ๆ . . . . . | . . . . . | . . . . . | |
ค่าสึกหลอ | ค่าทางรถไฟ . . . | ดอกเบี้ย . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||
โรงงาน . . . . . | ||||||
โรงร้าน . . . . . | รวม . . . . . | . . . . . | . . . . . | |||
บ่อน้ำ . . . . . | ||||||
เรือไฟ . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||||
เงินคงเหลือ . . . . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||||
รวม . . . . . | . . . . . | . . . . . | ||||
(๑)บริษัทนี้มีนามว่า บริษัทรถไฟปากน้ำทุนจำกัด
(๒)ที่ทำการของบริษัท ตำบลที่จะจดทะเบียนนั้นจะตั้งในกรุงเทพฯ
(๓)บริษัทนี้ได้ตั้งขึ้นสำหรับจะทำการ คือ
ก.สร้างแลใช้ทางรถไฟสายหนึ่งระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองสมุทปราการ ตามความในพระบรมราชานุญาตพิเศษหรือสัญญาให้เช่าโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่กับตันแอ็ลแฟรดลอฟตัศกับกอมมอเดอร์อันเดรดูเปลซิสเดอรีชลีว ลงวันที่ ๑๓ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๕ ซึ่งบริษัทนี้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาไว้นั้น
ข.รับโอนแลใช้ทางรถไฟสายอื่น ๆ เช่นเดียวกัน
ค.กระทำการอื่น ๆ บรรดาที่บริษัทจะทำในการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการของบริษัทที่กล่าวมาแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งรถไฟสายนี้ให้เจริญยิ่งขึ้น
(๔)ความรับผิดชอบของผู้ที่เปนสมาชิกในบริษัทนี้มีเขตร์จำกัด
(๕)เงินทุนสำหรับบริษัทนี้เปนจำนวนเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท จำแนกเปน ๕,๐๐๐ แชร์ หรือหุ้น ๆ หนึ่งเปนเงิน ๑๐๐ บาท
ข้าพเจ้าผู้ที่ได้ลงชื่อแลบอกตำบลบ้านไว้ข้างล่างนี้ทุกคนมีความพร้อมใจที่จะตั้งกันขึ้นเปนบริษัท โดยหนังสือกำหนดอำนาจบริษัทฉบับนี้ แลข้าพเจ้าสัญญาจะเข้าส่วนในเงินทุนสำหรับบริษัท โดยรับเปนผู้ถือหุ้น แลข้าพเจ้าสัญญาจะเข้าหุ้นส่วนในเงินทุนของบริษัท โดยรับเปนผู้ถือหุ้นตามจำนวนที่เขียนไว้ตรงชื่อข้าพเจ้าข้างล่างนี้ทุกคน
นาม | ตำบลบ้านแลสังกัด | จำนวนแชร์หรือ หุ้นที่รับเปนผู้ถือ |
หมอเฮศ | เปนหมอ | ๑๓๔ |
มิสเตอร์คราเมอร์ | พ่อค้า | ๑๖๑ |
พระสิทธิ์ธนรักษ์ | กรุงเทพฯ | ๑ |
หลวงสุนทรโกษา | สาม⟨เ⟩สน | ๕๗ |
มิสเตอร์ติเลกี | คลองเตย | ๗๐ |
หมอไรเตอร์ | ท่า⟨เ⟩ตียน | ๑๐ |
มิสเตอร์กรุ๊ด | ผู้จัดการบริษัทสยามลิเกดลิก | ๑๐ |
มิสเตอร์กาเตอร์ | ทำราชการ | ๑๐ |