ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชชกาลที่ 7/เล่ม 7/เรื่อง 6

ประกาศกระทรวงการต่างประเทศ
เรื่อง กรุงสยามเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาระวางประเทศ ว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำณกรุงเบอร์นเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๘๘๖ แก้ไขณกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๐๘ และสำเร็จบริบูรณ์โดยโปรโตคลเพิ่มเติม ลงนามที่กรุงเบอร์นเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๔

เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า

โดยที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กระทรวงการต่างประเทศจัดการให้รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระวางประเทศ ว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำณกรุงเบอร์นเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๘๘๖ ซึ่งได้แก้ไขณกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๐๘ และสำเร็จบริบูรณ์โดยโปรโตคลเพิ่มเติม ลงนามที่กรุงเบอร์นเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๔ นั้น

บัดนี้ อัครราชทูตสยามณกรุงลอนดอนได้ยื่นจดหมายเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งความประสงค์ของรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาระวางประเทศฉะบับนี้แก่รัฐบาลสวิสส์ผู้รักษาอนุสัญญาฉะบับนี้ และรัฐบาลสวิสส์ได้แจ้งความทั้งนี้ให้รัฐภาคีอื่นทราบแต่เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ แล้ว

ฉะนั้น อนุสัญญาระวางประเทศที่ว่ามาแล้วข้างต้นนี้จึ่งเป็นอันใช้ระวางกรุงสยามและรัฐภาคีที่ได้ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ เป็นต้นไป

วังสราญรมย์
วันที่ ๓๑ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔
เทววงศวโรทัย
เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๘ วันที่ ๙ สิงหาคม หน้า ๑๗๒)

บัญชี
รายชื่อรัฐภาคีร่วมกับกรุงสยามแห่งอนุสัญญาสัญญาระวางประเทศ ว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำณกรุงเบอร์นเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๘๘๖ ซึ่งได้แก้ไขณกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๐๘ และสำเร็จบริบูรณ์โดยโปรโตคลเพิ่มเติม ลงนามที่กรุงเบอร์นเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๔

เยอรมนี (ภาคีเดิม ๕ ธ.ค. ๑๘๘๗)

ออสเตรเลีย (๑๔ เมษายน ๑๙๒๘)

ออสเตรีย (๑ ต.ค. ๑๙๒๐)

เบลเยียม (ภาคีเดิม)

สหปาลีรัฐบราซิล (๙ ก.พ. ๑๙๒๒)

บุลคาเรีย (๕ ธ.ค. ๑๙๒๑)

คานาดา (๑๐ เม.ย. ๑๙๒๘)

เดนมารก (รวมทั้งหมู่เกาะเฟโร) (๑ ก.ค. ๑๙๐๓)

เสรีนครดันซิก (๒๔ มิ.ย. ๑๙๒๒)

สเปน (ภาคีเดิม)

เอสโทเนีย (๙ มิ.ย. ๑๙๒๗)

ฟินลันดฺ (๑ เม.ย. ๑๙๒๘)

ฝรั่งเศส (ภาคีเดิม)

เกรตบริเตน ประเทศราชและประเทศในอารักขา (ภาคีเดิม และเข้าเป็นภาคีเพิ่มเติม ๑ ก.ค. ๑๙๑๒)

ปาเลสติน (ประเทศที่อยู่ในอาณัติของเกรตบริเตน) (๒๑ มี.ค. ๑๙๒๔)

กรีศ (๙ พ.ย. ๑๙๒๐)

ไฮติ (ภาคีเดิม)

ฮังกาเรีย (๑๔ ก.พ. ๑๙๒๒)

อินเดียอังกฤษ (๑ เม.ย. ๑๙๒๘)

เสรีรัฐไอรฺแลนดฺ (๕ ต.ค. ๑๙๒๗)

อิตาเลีย (ภาคีเดิม)

ญี่ปุ่น (๑๕ ก.ค. ๑๘๙๙)

ไลเบเรีย (๑๖ ต.ค. ๑๙๐๘)

ลุกซัมบูรฺคฺ (๒๐ มิ.ย. ๑๘๘๘)

มอรอกโค (๑๖ มิ.ย. ๑๙๑๗)

โมนาโค (๒๐ พ.ค. ๑๘๘๙)

นอรฺเวยฺ (๑๓ เม.ย. ๑๘๙๖)

นิวซีแลนดฺ (๒๔ เม.ย. ๑๙๒๘)

เนเดรฺลันดฺ (๑ พ.ย. ๑๙๑๒)

เนเดรฺลันดฺอินเดีย คูราเซา และสุรินัม (๑ เม.ย. ๑๙๑๓)

โปลันดฺ (๒๘ ม.ค. ๑๙๒๐)

โปรตุเกส (รวมทั้งเมืองขึ้น) (๒๙ มี.ค. ๑๙๑๑)

รูเมเนีย (๑ ม.ค. ๑๙๒๗)

สเวเดน (๑ ส.ค. ๑๙๐๔)

สวิตเซอรฺแลนดฺ (ภาคีเดิม)

สิรียฺและเรปุบลิกลิบัง (๑ ส.ค. ๑๙๒๔)

เชโกสโลวัคเกีย (๒๒ ก.พ. ๑๙๒๑)

ตูนิส (ภาคีเดิม)

สหรัฐอัฟริกาใต้ (๓ ต.ค. ๑๙๒๘)