ประกาศห้ามสูบฝิ่น ลงวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 จ.ศ. 1201
สำหรับงานที่มีชื่อทำนองเดียวกัน ดู กฎหมายห้ามสูบฝิ่น
The King of Siam's late proclamation against opium, May 18th 1839; |
it being the first official document ever printed in Siam. |
๏ ดว้ยเจ้าพญาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม รับพระราชโองการใส่เกล้าใส่กระหมอมทรงพระกรรุณาโปรด |
เก้ลาโปรดกระหมอ่มสั่งว่า ตั้งแต่เสดจ์ขึ้นราชาภิเศกเสวยราชสมบัติ ตั้งพระไทยจะบำรุงพระบวรพุทธสาศนารักษา |
แผ่นดินปกครองพระบรมวงษานุวงษ ฃ้าทูลลอองทุลีพระบาท และราษฎรลูกค้าพานิช จะให้ทำมาหากินปราศ |
จากโทษ จะให้มีประโยชน์ทรัพย์สินอยู่เอย็นเปนศุข์ทั่วไปโดยพระไทยตั้งต่อพระโพธิญาณ กอบไปด้วยพระมหา |
กรรุณาแก่สรรพสัตวเปนอันมาก ทรงพระราชตำริเหนว่าคนสูบฝิ่นกินฝิ่นเปนเสี้ยนหนามพระพุทธสาศนาให้แผ่นดินเกีดจุลา |
จลต่าง ๆ ฝิ่นเปนฃองชั่วห้ามปรามสืบต่อมาทุกแผ่นดิน โปรดเก้ลาโปรดกระหมอ่มให้มีพระราชบริหารบัญัติแจกประกาศ |
ไปแต่กอ่นห้ามมิให้ผู้ใด ๆ ซื้อฝิ่นฃายฝิ่น ฝิ่นสุกฝิ่นดิบฃองผู้ใดมี ให้เอามาส่งไว้ ในพระคลังในซ้ายให้สิ้นเชิง กว่า |
จะผอ่นเอาออกไปฃายเสียได้นอกประเทษ อย่าให้เอาฝิ่นไว้กับบ้านเรือนโรงร้านเรือนแพลอบลักซื้อฃายแก่กัน ถ้ามิ |
ฟังมีผู้จับได้ ให้เอาฝิ่นตั้งปรับไหมเจ้าฃองฝิ่น ๑๐ ต่อ ฝิ่นที่จับได้นั้นโปรดให้เอาไปฃายเสียนอกประเทษได้ราคาเท่าใด ก็ |
ให้หักเงินพิไนยลงให้เจ้าฃองฝิ่น ให้ข้าราชการตั้งกองชำระปรับไหม โดยพระไทยจะธรมาณคนโลภที่ซอ่นฝิ่นไว้ซื้อ |
ฃาย ให้เสียทรัพย์ค่าปรับไหม จะได้เฃ็ดหลาบและคนที่เหนแก่แผ่นดินมีกระตัญูรู้พระเดชพระคุณ สมเด็จพระ |
พุทธิเจ้าอยู่หวัว เอาฝิ่นมาส่งฝากไว้ตามกฎหมายพระราชบัญัติก็มี ที่เปนคนพาลสันดานโลภจะเอากำไรในการซื้อ |
ฝิ่นฃายฝิ่น ก็ยังลอบซื้อฃายอยู่จนมีผู้จับได้ตอ้งปรับไหมก็มากหลายราย แต่ให้ตั้งกองจับปรับไหมมาก็นานกว่าสิ |
ปีแล้ว ก็ยังลอบลักรับซื้อเอาฝิ่นเฃ้ามาฃายมากขึ้นกว่าแต่กอ่น คนสูบฝิ่นกินฝิ่นก็ชุกชุมฃึ้น หาเฃ็ดหลาบละเว้น |
เสียไม่ สมเดจ์พระพุทธิเจ้าอยู่หวัวจึ่งทรงพระปรารพจะรงับตัดรอนฝิ่น จะไม่ให้มีอยู่ในแผ่นดิน และฝิ่นนี่ก็ไม่มี |
พืชน์ผลต้นลำอยู่ในแว่นแคว้นฃอบฃันทเสมา ฝิ่นนี้มาแต่นา ๆ ประเทษ ไม่มีคนรับรองซื้อหามาแล้วฝิ่นก็จะสิ้น คน |
ที่เคยสูบฝิ่นไม่มีที่ซื้อ แล้วก็จะลดหยอ่นผอ่นสูบนอ้ยลงภอจะอดเสยได้บ้าง ที่คนไม่เคยสูบฝิ่นก็จะมิได้คบภากันสูบ |
ฝิ่นกินฝิ่นต่อไป และทุกวันนี้ลูกค้าพานิชในกรุงเทพพระมหานคร ที่มีสำเภาเรือไบไปค้าฃายนอกประเทษยัง |
ซอฝนซอนเร้นเฃ้ามาซื้อฃายแก่กัน อีกอย่างหนึ่งลูกค้านอกประเทษรู้ว่าลูกค้าในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานคร ะ |
ลอบซื้อขายฝิ่นกันได้อยู่ จะบันทุกฝิ่นมาลอบซื้อลอบฃายอยู่ปลายเฃตปลายแดน มีผู้รับซื้อส่งต่อกันเข้ามา ฝิ่นจึ่ง |
มีเสมออยู่ในแผ่นดินไม่ฃาด แล้วการลอบลักซื้อฃายฝิ่นกันดังนี้ ก็ซื้อฃายกันเปนเงินทั้งสิ้น เงินทองในแผ่น |
ดินออกไปนอกประเทษเพราะค้าฝิ่นก็โดยมาก จำจะห้ามปรามจับกุมทำให้เฃ็ดหลาบจงได้ จึ่งมีพระราชโองการ |
ดำหรัดสั่งเจ้าพญาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม ให้สืบสวนคอยสกัดลูกค้าเจ้าฃองฝิ่น และผู้รับซื้อฝิ่นให้ |
ได้ตัว ครั้นณเดือน ๔ ปีจอสำเรทธิศกเจ้าพญาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม ออกไปส่งกองทับณชเลรู้ |
ความว่า อ้ายจีนเรือภายเฃ้ามาจอตฃายฝิ่นอยู่ที่(ต้นฉบับตรงนี้อ่านไม่ออก)สองลำ บอกฃึ้นมากราบบังคมทูลพระกรรุณาทรงทราบ |
ไต้ฝ่าละอองทุลีพระบาท โปรดเกล้าโปรดกระหมอ่ม ให้พญาณรงฤทธิโกษาพญาวิเสศศักดาคุมทหารปืน |
เมืองสมุทรปราการ ลงเรือรบออกไปติดตามจับจีนเรือภายได้ลำหนึ่งได้ฝิ่น ๒๓ ปัก อ้ายจีนเรือภายให้การว่าแวะเฃ้าบ้าน |
แหลมฃายฝิ่นให้ผู้มีชื่อที่บ้านแหลมแปดปัก จึ่งโปรดให้พระมหาเทพออกไปชำระจับได้อ้ายจีนผู้รับซื้อฝิ่นเปนหลายราย |
ซัดต่อกันไป ได้ให้ข้าหลวงแยกกันไปชำระพวกซื้อฝิ่นตามหวัวเมืองฝ่ายชเลอยู่แล้ว แลในกรุงเทพพระมหานครหวัว |
เมืองปากไต้ฝ่ายเหนือทั้งปวง ไทจีนลูกค้าพานิชก็ยังเอาฝิ่นซอ่นเร้นไว้ลอบซื้อฃายแก่กันมีอยู่โดยมาก แต่กอ่รโปรดให้ |
ฃ้าราชการ ตั้งกองชำระแต่งคนสืบเสาะจับกุมเอาฝิ่นมาตั้งปรับไหม เปนแต่ฃ้าราชการผู้นอ้ยชำระ สืบสาวจับ |
ฝิ่นหาได้ฝิ่นสิ้นไม่ ครั้งนี้สมเดจ์พระพุทธิเจ้าอยู่หวัวจะทรงชำระจึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหมอ่มดำหรัศสั่งตั้งแต่พระบรมวง |
ษานุวงษ มีกรมหลวงรักษรณเรศเปนประทาน และเจ้าพญาบดินท์เดชาที่สมุหนายกเจ้าพญาพระคลังว่าที่สมุห |
พระกลาโหม แลเสนาบดีฃ้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้มีกระตัญูรู้พระเดชพระคุณชว่ยรักษาแผ่นดินพร้อมกันให้ชว่ยกันสืบ |
สาวชำระเอาตัวเจ้าฃองฝิ่นแลฝิ่นให้สิ้นจงได้ ถ้าชำระได้ตัวผู้ที่เอาฝิ่นไว้ก็จะให้มีโทษหลวงโทษปรับไหมให้เฃ็ด |
หลาบ ทั้งจะให้ผู้อื่นกลัวเกรงพระราชอาชาอาณาจักรอย่าให้บังอาจซื้อฝิ่นฃายฝิ่นต่อไปอีก ฝิ่นไม่มีแล้วก็จะได้สิ้น |
เสี้ยนหนามแผ่นดินไปอย่างหนึ่ง แต่ยังทรงพระอาไลยเจ้าภาสีเจ้สัวลูกค้าวานิช ที่ได้พึ่งพระบารมีอาไศรยแผ่นดิน |
ค้าฃายหากินมีความศุขมา จะมีฝิ่นอยู่กอ่นแล้วจะเอาฝิ่นมาบอกกล่าวก็กลัวจะได้ความความผิด และอายอับประยศจะซู่ |
ปกปิดซุ่มซ่อนฝิ่นไว้ โดยใจประมาทก็จะหาพ้นไม่ คงจะชำระสืบสาวเอาได้ก็จะตอ้งพระราชอาชาได้ความพินาศฉิบหาย |
ยับเญินสูนสิ้นชื่อเสยีงไปเสียเปล่า สมเดจ็พระพุทธิเจ้าอยู่หวัวทรงพระมหากรรุณาเมตาแก่ไพร่ฟ้าฃ้าแผ่นดินเปนอันมาก |
โปรดเก้ลาโปรดกระหมอ่ม จะให้โอกาษแก่ผู้ซึ่งมีฝิ่นอยู่นั้น ให้เอาฝิ่นมาลุแก่โทษ จะยกโทษหลวงโทษปรับ |
ไหมพระราชทานให้เหมอืนเมื่อครั้งปีรกานพศก โจรกำเรีบลักช้างม้าโคกระบือปล้นสดมย่องเบาทรัพยสี่งฃองชุกชุม |
จะให้ตั้งกองจับโจรก็คงได้ตัว แต่จะต้องทำโทษประหารชีวิตร เฆยี่นตีจำใส่คุกไว้ตามกฎหมาย ทรงเหนว่าโจร |
ทั้งนี้เปนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจะตอ้งทุกข์โทษไปชั่วนี้ชั่วหน้า จึ่งโปรดเก้ลาโปรดกระหมอ่ม ให้หมายประกาษป่าวรอ้ง |
ราษฎรผู้ใดกระทำโจรกรรม์หยาบช้ามาแต่กอ่น ให้มาลุแก่โทษบอกความจริงกับแม่กองผู้ชำระ พวกโจรทั้งปวงรู้ศึก |
โทษตัวกลัวพระราชอาชา ภากันเข้ามาลุแก่โทษเปนอันมาก โปรดให้ยกโทษพระราชทานให้ทั้งค่าฤชากระลาการ |
ก็โปรดห้ามมิให้กองชำระเรียกเอา แล้วพระราชทานพระราชโอวาทสั่งสอนให้ได้สติรู้สึกตัวจะได้ละเสียซึ่งความชั่ว |
อันกระทำมาแต่หลัง ถ้ากลับตัวได้ตามคำโบราณว่าต้นคดปลายตรง ก็คงจะเอาความศุขได้ในชั่วนี้แลภายหน้า ะ |
โดยพระไทยกอบไปด้วยพระมหากรรุณาเมตาจะทรงสงเคราะห์ ไพร่ฟ้าประชากรให้ได้ความศุขต่อไป แลผู้ซึ่งมีฝิ่น |
อยู่นั้นก็เหมอืนกัน ดว้ยแต่ก่อนได้ประมาทหลงเกินไปแล้ว รู้ศึกโทษตัวกลัวความผิด ก็ให้เอาฝิ่นที่มีอยู่มาก |
นอ้ยเท่าใดให้เอาฝิ่นมาลุแก่โทษต่อเจ้าพญาทรมาเสนาบดีผู้ใหญ่ซึ่งโปรดให้เปนแม่กองรับลุแก่โทษ ถ้าผู้ใดเอาฝิ่น |
มาลุแก่โทษสิ้นโดยดีแล้ว ถึงว่าแต่กอ่นจะซื้อฝิ่นฃายฝิ่นมามากนอ้ยประการใด ก็โปรดเกล้าโปรดกระหมอ่ม ะ |
ให้ยกโทษพระราชทานให้ทั้งโทษหลวงโทษปรับไหม หาให้มีกับผู้ที่มาลุแก่โทษไม่ สมเดจ็พระพุทธิเจ้าอยู่ |
หวัวฃอเสียอย่างเดยีวแต่อย่าให้ซื้อฝิ่นฃายฝิ่นอีกต่อไป แลฝางพริกไทนอรมาศงาช้างเร่วกระวาน เปนฃองตอ้งห้าม |
มาแต่ก่อน ก็ได้โปรดให้ฃ้าฃายกับฃองอื่นบันดาฃองสินค้ามีอยู่ในแผ่นดิน ให้ซื้อฃายตามสมัคปราถนา หา |
ให้ห้ามปรามไม่ จนเฃ้าเกลือเปนฃองสำหรับพระนคร ก็ได้ทรงผอ่นปรนให้ซื้อฃายโดยพระไทยปราถนา จะ |
ให้เจ้าภาสีเจ้สัวลูกค้าวานิช พึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีทรัพย์สินบริบุรรณมั่งขั้งเปนเสฐีขึ้นจะได้งามพระนครไป |
ภายหน้า และฝิ่นไม่เปนฃองสีนค้า ซึ่งจะเอาฝิ่นเปนสีนค้าซื้อฃายแก่กันนั้นหาชอบไม่ จะทรงห้าม |
เสียให้เดจ์ขาด จึ่งโปรดเก้ลาโปรดกระหม่อม ให้กรมหลวงรักษรณเรศเจ้าพญาบดินท์เดชาที่สมุหนายก ะ |
เจ้าพญาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหมเสนาบดีผู้ใหญ่เปนแม่กองพร้อมดว้ยข้าราชการผู้ใหญ่ผู้นอ้ย ตั้งกองชำระฝิ่น |
ณกรุงเทพพระมหานคร โปรดให้เจ้าพญาพลเทพกับพระมหาเทพออกไปตั้งกองสืบสาวชำระฝิ่นณเมืองเพชบุรีเมือง |
สมุทสงครามเมืองษาครบุรีเมืองนครไชศรี ให้พญามหาอำมาตย์พญาวีสูดโกษาจะหมื่นไชยภอรจะหมื่นอินทามาตย์ |
ออกไปตั้งชำระฝิ่นณเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเซราเมืองปราจินเมืองนครนายก ได้โปรดให้มีตราออกไปถึงเจ้าพญา |
ยมราชพญาศรีพิพัฒ ให้ชำระฝิ่นณเมืองสงขลาแลเมืองถลางเมืองพงงาเมืองตกั่วทุ่งเมืองตกั่วป่า ก็ได้โปรดให้ |
พญาไชยาออกไปชำระอยู่แล้ว ถ้ากองชำระณกรุงเทพพระมหานคร ชำระไทจีนมีชื่อเจ้าฃองฝิ่นเกยี่วฃ้องออก |
ไปณหวัวเมืองก็จะมีตราออกไปให้ฃ้าหลวงจับส่งเฃ้ามาชำระไต่สวนณกรุงเทพพระมหานคร ถ้ากองชำระณหวัวเมือง |
ชำระเกยี่วฃ้องถึงไทจีนณกรุงเทพพระมหานคร ก็ให้ฃ้าหลวงบอกหนังสือเฃ้ามาจะเอาตัวผู้ซึ่งเกยี่วฃ้องส่งออกไป |
ให้ชำระณหวัวเมือง ให้ข้าหลวงกองชำระ ๆ สืบสาวบันจบ ถึงกันกับกองชำระณกรุงเทพพระมหานคร ะ |
สุดแต่จะให้ชำระสืบเอาฝิ่นให้สิ้น ถ้าผู้ใด ๆ ซึ่งมีอยู่ในแฃวงจังหวัดกรุงเทพพระมหานคร มีฝิ่นอยู่มากนอ้ยเท่า |
ใด ให้เอาฝิ่นมาลุแก่โทษให้สิ้น ถ้าผู้ใดมีฝิ่นอยู่มิได้เอาฝิ่นเฃ้ามาลุแก่โทษซุ่มซอ่นฝิ่นไว้ปราถนาจะค้าฃาย |
หากินในการซื้อฝิ่นฃายฝิ่นไม่เกรงกลัวพระราชอาชา ก็เปนอกุศลผลกรรม์จะให้บังเกีดความวินาศฉิบหายจะทรง |
พระราชดำริให้สืบสาวชำระได้ตัวผู้ที่มีฝิ่นพิจารณาเปนสัจแล้วจะให้กระทำโทษลงพระราชอาชาโดยสาหัฐ ควรจะประ |
หารชีวิตก็จะให้ประหารชีวิตเสีย อย่าให้มีผู้เอาเยี่ยงอย่างซื้อฝิ่นฃายฝิ่นอยู่ในแผ่นดินต่อไป ให้เจ้า |
เมืองปลัดยกรบัตกรมการผู้รักษาเมืองเอาตราสำหรับที่ ปิดหมายแจกไปไว้กับนายอำเภอกำนันพันนายบ้านราษ |
ฎรไทจีนลูกค้าวานิช ซึ่งตั้งบ้านตั้งเรอืนตึกโรงร้านอยู่เรือแพให้สิ้นแฃวงอำเภอ ให้รู้จงทั่วอย่าให้ขาด |
ได้ตามรับสั่ง หมายมาณวันพฤหัษเดือนหกขึ้นห้าค่ำ จุลศักราช ๑๒๐๑ ปีกุณเอกศก ๚ะ๛ |
บรรณานุกรม
แก้ไข- รัฐบาลสยาม. (2382). ประกาศห้ามสูบฝิ่น ลงวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 จ.ศ. 1201.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"