ประกาศ เรื่อง รายชื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญฯ ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549
โดยที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อมีปัญหาว่า กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นรองประธาน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎ๊กาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนห้าคน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสองคน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
บัดนี้ ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดได้ประชุมใหญ่เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเมื่อวันศุกร์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ โดยได้ดำเนินการเลือกตุลาการรัฐธรรมนูญครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนี้ประกอบด้วย
๑. | นายปัญญา ถนอมรอด | เป็นประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ | ||
ประธานศาลฎีกา | ||||
๒. | นายอักขราทร จุฬารัตน | เป็นรองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ | ||
ประธานศาลปกครองสูงสุด | ||||
๓. | หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ | เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ | ||
ผู้พิพากษาในศาลฎีกา | ||||
๔. | นายสมชาย พงษธา | เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ | ||
ผู้พิพากษาในศาลฎีกา | ||||
๕. | นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ | เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ | ||
ผู้พิพากษาในศาลฎีกา | ||||
๖. | นายธานิศ เกศวพิทักษ์ | เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ | ||
ผู้พิพากษาในศาลฎีกา | ||||
๗. | นายนุรักษ์ มาประณีต | เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ | ||
ผู้พิพากษาในศาลฎีกา | ||||
๘. | นายจรัญ หัตถกรรม | เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ | ||
ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด | ||||
๙. | นายวิชัย ชื่นชมพูนุท | เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ | ||
ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด |
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
- ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
- ปัญญา ถนอมรอด
- ประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
บรรณานุกรม
แก้ไข- "ประกาศ เรื่อง รายชื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549". (2549, 7 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 123, ตอน 113 ก. หน้า 7–8.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"