ประกาสสถาปนาพุทธบุรีมนทล ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2487
รัถบาลของพระบาทสมเด็ดพระเจ้าหยู่หัวรัชกาลที่ 8 แห่งประเทสไทยได้เล็งเห็นโดยประจักส์ว่า ธัมของพระพุทธสาสนาไห้ความยุติธัมเสมอหน้าแก่ประชาชาติทั้งปวงไม่มียกเว้น จึงอำนวยสันติสุขแก่โลกหย่างแท้จิง โดยฉเพาะประเทสไทย ได้อาสัยธัมมานุภาพแห่งพระพุทธสาสนาช่วยคุ้มครองรักสาไห้ดำรงความเปนไทย และไห้ตั้งหยู่ไนสันติสุขสถาพรตลอดมา เพราะทั้งรัถบาลไทย ทั้งประชาชาติไทย รับนับถือพระพุทธสาสนาเปนสาสนาประจำชาติ โดยมีพระมหากสัตรผู้ซงเปนประมุขของชาติเปนองค์เอกอัครสาสนูปถัมภ์ ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธสาสนาไห้จเรินรุ่งเรืองหยู่เสมอ จนปรากตแก่โลกว่า ประเทสไทยเปนดินแดนแห่งพระพุทธสาสนา ก็ถ้าว่าธัมของพระพุทธสาสนาจะได้เปนที่ซาบซึ้งแพร่หลายทั่วไปไนชนทุกชาติทุกภาสาแล้ว เปนที่เชื่อได้ว่า สันติสุขจักแพร่หลายไปทั่วโลกและตั้งหยู่ยั่งยืนด้วย ผลอันไพบูลนี้จักสำเหร็ดได้ ก็ด้วยมีแหล่งกลางแห่งพระพุทธสาสนาขึ้น เพื่อเปนที่รวมแห่งการสึกสา การเสาะค้น และการปติบัติสาสนธัม อันแหล่งกลางแห่งพระพุทธสาสนานี้ สมควนประดิสถานไนประเทสไทย ซึ่งได้รับเกียรติสมัญญาว่า เปนพุทธจักรอันสถาพรไนโลก บัดนี้ ประจวบกับวารดิถีวิสาขบูชาอันเปนมหามังคลาภิลักขิตสมัยคล้ายวันเกิด ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของสมเด็ดพระบรมสาสนาจารย์ ผู้ประสิทธิประสาธสันติสุขแก่โลก นับว่าเปนมงคลโยคสุภนิมิตเนื่องด้วยพระพุทธสาสนา สมควนที่จะสถาปนาพุทธบุรีมนทลขึ้นไนวันนี้ ไห้เปนที่เชิดชูเกียรติแห่งพระพุทธสาสนาและชาติไทยสืบไป
เพราะฉะนั้น จึงขอประกาสสถาปนาพุทธมนทลขึ้นไนเนื้อที่อันเป็นอานาบริเวณแห่งพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีปริมานพื้นที่ 409.09 ตรางกิโลเมตร โดยกําหนดยกพระพุทธบาทสถานเปนหลักเมืองของพุทธบุรีมนทล เพื่อสัมริทธิผลดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
1.เปนแหล่งกลางที่ชุมนุมแห่งการสึกสาเสาะค้นพระพุทธสาสนา และการปติบัติสาสนธัมของชนทุกชาติทุกภาสาทุกเพสทุกวัย
2.เปนพระนครแห่งพระพุทธสาสนาโดยฉเพาะ เปนที่รวมประดิสถานแห่งสาสนวัตถุโบรานทั่วราชอานาจักร เปนที่ตั้งแห่งการบริหารพระพุทธสาสนาและคนะสงค์
3.เปนนครสักดิ์สิทธิ์แห่งพระพุทธสาสนา เปนนิวาสมนทลของพุทธมามกะชนโดยฉเพาะ
- ประกาส นะ วันที่ 5 มิถุนายน พุทธสักราช 2487
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- นายกรัถมนตรี
บรรณานุกรม
แก้ไข- "ประกาสสถาปนาพุทธบุรีมนทล ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2487". (2487, 5 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 61, ตอน 34 ก. หน้า 542–544.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"