ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๑

ประชุมพงษาวดารภาคที่ ๑๑ เรื่องพงษาวดารเมืองหลวงพระบาง

พิมพ์แจกในงานศพ นายพันเอก พระยาดัษกรปลาศ ( ทองอยู่ โรหิตเสถียร) ท , ม. ต , ช. ร , ด , ม. (ผ) ฯ ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๖๒

พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร


คำนำ

นายใหญ่ โรหิตเสถียร มาแจ้งความแก่กรรมการหอพระสมุด วชิรญาณว่าจะทำการปลงศพสนองคุณ นายพันเอก พระยาดัษกรปลาศ ( ทองอยู่ โรหิตเสถียร ) ผู้บิดา มีความศรัทธาจะรับพิมพ์หนังสือ ในหอพระสมุดสำหรับพระนคร เปนของแจกสักเรื่อง ๑ ขอให้กรรมการช่วยเลือกเรื่องหนังสือให้ แลนำเรื่องประวัติซึ่งพระยาดัษกรปลาศได้ จดไว้เอง มาขอให้ข้าพเจ้าช่วยตรวจตราเรียบเรียงพิมพ์ประวัติในสมุด ที่จะแจกในการศพพระยาดัษกรปลาศด้วย ข้าพเจ้าได้เคยรับราชการอยู่ร่วมกรมกับพระยาดัษกรปลาศ แต่เมื่อเปนทหารมหาดเล็กอยู่ด้วยกัน มาในชั้นหลังได้มาร่วมราชการ กันเมื่ออยู่ในกระทรวงมหาดไทยด้วยกันอิกครั้ง ๑ ได้ทราบเรื่องประวัติ ของพระยาดัษกรปลาศมาแต่ก่อนบ้าง คิดเห็นว่าพระยาดัษกรปลาศ เปนข้าราชการผู้ ๑ ซึ่งได้มีโอกาศรับราชการสำคัญมาทั้งในฝ่ายทหาร แลพลเรือนได้เคยตรากตรำทำราชการตามน่าที่ ถึงเอาชีวิตรเข้าแลกประโยชน์ถวายในราชการบ้านเมืองหลายครั้ง ข้อนี้เปนสำคัญใน ประวัติของพระยาดัษกรปลาศ ซึ่งสมควรจะปรากฏ จึงได้รับเรียบเรียง ให้ตามประสงค์ ประวัติพระยาดัษกรปลาส

นายพันเอก พระยาดัษกรปลาส (ทองอยู่ โรหิตเสถียร) ท ม.ต ช. ดุษฎีมาลา. เข็มราชการแผ่นดิน. ฯลฯ เปนบุตรพระยาพระ กฤษณรักษ์ (บุญยัง) เกิดในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันพฤหัศบดี เดือน ๑๑ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๒๑๑ พ.ศ. ๒๓๙๒


(๒)แรกเข้ารับราชการเมื่อปีมแมพ.ศ. ๒๔๑๔ อายุ ๒๒ ปี เปนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ เปนพลทหารอยู่ ๒ ปี ได้เปน นายสิบโทอยู่อิก ๓ ปี จึงได้เปนนายสิบเอกในกองร้อยที่ ๖ เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ รับราชการในตำแหน่งนั้นต่อมาอิก ๔ ปี ถึงปีมโรง พ.ศ. ๒๔๒๔ ในสมัยเมื่อเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีเปน ที่เจ้าหมื่นไวยวรนารถ บังคับทหาร จัดการทหารสมัค กราบบังคม ทูลขอพระยาดัษกรปลาศไปเปนตำแหน่งนายร้อยโท ในกรมทหารสมัคกองร้อยที่ ๓ แลได้เลื่อนยศขึ้นเปนร้อยเอกในปีนั้น รับ ราชการต่อมาได้พระราชทานสัญญาบัตรเปนหลวงดัษกรปลาศ ถึงปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ ปรดให้เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีแต่ยังเปนนายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ เปนแม่ทัพคุมกองทหารยกขึ้นไป ปราบปรามพวกฮ่อ ซึ่งเข้ามาย่ำยีในอาณาเขตรเมืองหลวงพระบาง เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีให้พระยาดัษกรปลาศคุมทหาร ๑ ยกล่วงน่าขึ้นไปทางเมืองงอย ในเขตรหัวพันทั้งหก ซึ่งฮ่อเข้ามาตั้งค่ายอยู่หลายแห่ง พระยาดัษกรปลาศยกขึ้นไปถึงค่ายฮ่อที่บ้านได้ ริมน้ำแอดเข้าตีค่ายได้รบกับฮ่อก่อนทหารกองอื่น เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีจอ พ.ศ.๒๔๒๙ ตีค่ายบ้านไดได้ พวกฮ่อล้มตายแตกหนี ได้เสบียงอาหารแลครอบครัวซึ่งฮ่อรวบรวมไว้เปนอันมาก พระยาดัษกร ฯ ตั้งมั่นอยู่ที่นั่น แต่งกองทหารออกเที่ยวตีค่ายฮ่อ ซึ่งเปนค่ายน้อย ตั้งอยู่ที่อื่น ๆ ในจังหวัดนั้น จนฮ่อแตกหนีไปทั้งสิ้น


(๓) ครั้นถึงเดือน ๑๑ พวกฮ่อไปรวบรวมกันได้กำลังมากยกเปนกระบวน ทัพกลับมา พวกทหารซึ่งออกไปตั้งรักษาท้องที่อยู่ตามที่ห่าง ๆ น้อยกว่า ฮ่อมากนัก ก็สู้รบพลางถอยพลาง เข้ามารวมกันที่ค่ายพระยาดัษกรปลาศ ๆ แต่ได้ทราบว่าฮ่อยกมามีกำลังมาก ก็บอกขอกำลังเพิ่มเติมลงมายังแม่ทัพใหญ่ กองหนุนยังขึ้นไปไม่ถึง ด้วยเปนฤดูฝนทางเดินยาก ฮ่อยกลงมาถึงค่ายพระยาดัษกรปลาศก่อน พระยาดัษกรปลาศเห็นว่ากำลังที่มีอยู่ไม่พอจะออกตีฮ่อให้แตกไปได้ จึงรักษาค่ายมั่นไว้ ฮ่อเข้าล้อมค่ายสู้รบกันอยู่ ๙ วัน พวกฮ่อตีหักเอาค่ายไม่ได้ พอฮ่อหมดเสบียงอาหาร ทหารกองหนุนก็ขึ้นไปถึง พวกฮ่อเห็นว่าจะถอยหนีไปไม่พ้น จึงให้เข้ามาขอยอม " ทู้ " ต่อพระยาดัษกรปลาศ คือ ขอให้ยกโทษแล้วจะยอมเปนไพร่พลเมืองโดยปรกติต่อไป กองทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ ฯ ปราบปรามฮ่อ แลจัดการด่านทางอยู่ ๒๐ เดือน จึงมีตราพระราชสีห์ให้หากองทัพกลับมาถึงกรุงเทพ ฯ เมื่อเดือน ๗ แรม ๑ ค่ำ ปีกุญ พ.ศ. ๒๔๓๐ ในสมัยนั้นยังไม่ได้ทำสายโทรเลขไปถึงหัวเมืองฝ่ายเหนือ พอกองทัพกลับลงมาถึงกรุงเทพ ฯ ได้ ๔ วันก็ได้ข่าวลงมาว่า เจ้าเมืองไลพากองทัพฮ่อยกจู่เข้ามาตีเมืองหลวงพระบางแตก เมืองไลเปนหัวเมือง ๑ ในแว่นแคว้นสิบสองจุไทย พลเมืองเปนไทยพวก ๑ เรียกกันว่าผู้ไทย เปนเมืองขึ้น ๓ ฝ่ายฟ้า คือ จีนก็ขึ้น ญวนก็ขึ้น หลวงพระบางก็ขึ้น ด้วยเหตุว่าอยู่ต่อพรมแดนทั้ง ๓ ฝ่าย


(๔) เมื่อฮ่อยกเข้ามาเบียดเบียนอาณาเขตรหลวงพระบาง ความปรากฏว่า เจ้าเมืองไลสมคบกับฮ่อ ครั้นเมื่อพระยาสุรศักดิมนตรีปราบปรามพวกฮ่อแล้วยกกองทัพขึ้นไปตั้งอยู่ที่เมืองแถง พวกพระยาท้าวขุนหัวเมือง สิบสองจุไทยพากันเข้ามาหาแม่ทัพ แต่เจ้าเมืองไลบิดพลิ้วเสียหามาไม่ ให้แต่ลูกเข้ามาแทนตัว เจ้าพระยาสุรศักดิ ฯ รออยู่จนจวนยกกองทัพกลับ เจ้าเมืองไลก็ไม่เข้ามา เจ้าพระยาสุรศักดิ ฯ จึง เอาตัวลูกเจ้าเมืองไลคุมลงมา ๒ คน ด้วยเหตุนี้เจ้าเมืองไลจึงไปพาพวกฮ่อลงมาตีเมืองหลวงพระบาง เมื่อกองทัพยกกลับมาแล้ว ในปีกุญ พ. ศ. ๒๔๓๐นั้นโปรดให้เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรียกกองทัพกลับขึ้นไปเมืองหลวงพระบางอิก พระยาดัษกรปลาศได้เลื่อนยศขึ้นเปนนายพันตรี ได้เปนนายทัพน่าของเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีคราวนี้ยกขึ้นไปก่อนแต่ในเดือน ๘ เดินทางกำลังเปนฤดูฝนชุก ไปถึงเมืองหลวงพระบางต่อเดือน ๑๒ พวกฮ่อหนีกลับไปเสียแล้ว พระยาดัษกรปลาศจึงตั้งรักษาเมืองหลวงพระบางอยู่กับพระยาไกรโกษา ทัด สิงห์เสนี )แต่ยังเปนพระยานนทบุรี ซึ่งเปนข้าหลวงใหญ่ เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรียกขึ้นไปถึงเมืองหลวงพระบางต่อเดือนยี่ จึงให้พระยาดัษกรปลาศคุมกองทหารยกออกไปปราบปรามพวกฮ่อ ที่กลับเข้ามาตั้งอยู่ในเขตรแขวงเมืองขึ้นเมืองหลวงพระบาง พระยาดัษกรปลาศออกไปคราวนี้ ได้รบกับฮ่อที่เมืองฮังตีได้ค่ายฮ่อ พวกฮ่อล้มตายแตกหนีกระจัดกระจายไปแต่นั้นฮ่อก็ไม่กล้ายกมารบพุ่งกองทหารอิก พระยาดัษกรปลาศเที่ยวปราบปรามฮ่อแลจัดการด่านทางอยู่ ๒ ปีเศษ จนปีขาล พ.ศ.๒๔๓๓ จึงกลับลงมาเมืองหลวงพระบาง


(๕) ถึงปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ มีตราให้หากองทัพเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรี กลับกรุงเทพ ฯ ทางโน้นโปรดให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉท ( ศุข ชูโต ) แต่ยังเปนพระพลัษฎานุรักษ์ปลัดทัพ ที่ขึ้นไปกับเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรี เปนข้าหลวงใหญ่อยู่รักษาราชการที่เมืองหลวงพระบาง พระราชทาน สัญญาบัตรพระยาดัษกรปลาศ ซึ่งยังเปนหลวง เลื่อนขึ้นเปนพระดัษกร ปลาศ แลเลื่อนยศทหารเปนนายพันโท เปนผู้บังคับทหาร แลเปน ข้าหลวงรองอยู่เมืองหลวงพระบางกับพระยาฤทธิรงค์รณเฉทอิก ๒ ปี ถึงปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๓๖ โปรดให้เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ ( เชย กัลยาณมิตร ) แต่ยังเปนพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ผู้ว่าราชการเมืองพิไชย ขึ้นไปเปนข้าหลวงใหญ่ประจำเมืองนครหลวงพระบางเปลี่ยนพระยาฤทธิรงค์รณเฉท แลให้นายพันตรี พระราญรอนอริราช ( เพิ่ม ) ขึ้นไปเปนข้าหลวงรองบังคับทหารเปลี่ยนพระยาดัษกรปลาศ ข้าหลวงใหญ่ให้พระยาดัษกรปลาศพาพระราญรอนอริราชไปตรวจด่านทางเมืองหัวพันทั้งหก ชี้แจงมอบหมายการงานแก่พระราญรอนอริราชในเวลาที่เดินทางตรวจการอยู่นั้น ทางกรุงเทพ ฯ เกิดเหตุอริกับฝรั่งเศส ใน ร.ศ. ๑๑๒ มีท้องตราขึ้นไปให้พระยาดัษกรปลาศอยู่ช่วยราชการเจ้า พระยาสุรสีห์ ฯ ต่อไป จึงยังมิได้กลับกรุงเทพ ฯ เจ้าพระยาสุรสีห์ ฯ ให้ กลับออกไปรักษาเมืองหัวพันทั้งหก พระยาดัษกรปลาศจึงยกกลับ ออกไปตั้งอยู่ที่เมืองงอย จนเสร็จเรื่องอริกับฝรั่งเศส พระยาดัษกรปลาศคุมทหารกลับมาตั้งอยู่ที่ปากลาย ได้รับท้องตราพระราชสีห์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเปนพระยา ดัษกรปลาศ แลให้เปนข้าหลวงรักษาการในที่ ๒๕ กิโลเมตร์อยู่ปีเศษ


(๖) ถึงปีมแม พ.ศ. ๒๔๓๘ เจ้าพระยาสุรสีห์เลื่อนที่ขึ้นเปนข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิศณุโลก จะโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาดัษกรปลาศเปนผู้ว่าราชการเมืองพิไชย มีท้องตราสั่งให้ลงมารั้งราชการเมืองพิไชยอยู่พลาง พระยาดัษกรปลาศลงมารั้งราชการเมืองพิไชยอยู่สักครึ่งเดือนก็ได้รับท้องตราให้หาลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปนตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งพึ่งจัดตั้งเปนมณฑลขึ้นใหม่ ในปีมแม พ.ศ. ๒๔๓๘ นั้น แลได้พระราชทานสัญญาบัตรเปนรัฐมนตรีด้วย พระยาดัษกรปลาศเปนข้าหลวงเทศาภิบาลอยู่ไม่ถึง ๒ ปี ก็ย้ายกลับมารับราชการทหารอิก เหตุที่ย้ายมานั้น เปนด้วยพระยาดัษกรปลาศรู้สึกว่าตัวไม่สันทัดราชการพลเรือน แต่พอขึ้นไปเปนข้าหลวงเทศาภิบาลแล้วไม่ช้า ก็รู้สึกอึดอัดใจ ด้วยเคยแต่รับราชการทหารมาอย่างเดียว เกรงจะไม่สามารถรับราชการพลเรือนให้ดีได้ จึงร้องขอมารับราชการทหารอย่างเดิม ในสมัยนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีได้เปนผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ บังคับการทหารบกทั่วไป จึงกราบบังคมทูลขอพระยา ดัษกรปลาศย้ายไปรับราชการทหาร เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๙ เปนตำแหน่งจเรทหารบกก่อน แล้วเลื่อนเปนยกรบัตรทัพบกในปีนั้น ถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาดัษกร ปลาศย้ายตำแหน่งมารับราชการเปนราชองครักษ์ประจำการ ถึงปีกุญ


(๗) พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้พระราชทานสัญญาบัตรเปนองคมนตรี พระยาดัษกรปลาศรับราชการเปนราชองครักษ์อยู่ได้ปีเศษ เกิดอาการเจ็บป่วยทุพลภาพ จึงกราบถวายบังคมลาออกพักรักษาตัว เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ ในตอนนี้พระยาดัษกรปลาศได้เลื่อนยศทหารเปนนายพันเอก แต่เจ็บ ป่วยไม่ได้รับราชการอยู่กว่าปี ถึงปีขาล พ. ศ. ๒๔๔๕ เมื่อพวกผู้ร้ายเงี้ยวก่อการจลาจลขึ้นในมณฑลภาคพายัพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีเปนแม่ทัพคุมทหารขึ้นไปปราบผู้ร้ายเงี้ยวทางเมืองแพร่ เจ้า พระยาสุรศักดิมนตรีกราบบังคมทูล ขอให้พระยาดัษกรปลาศเปนนายทัพ น่า ยกออกจากกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ครั้นถึงเมืองแพร่แล้ว เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรี จึงให้พระยาดัษกรปลาศคุมกองทหารยกไปปราบ ปรามผู้ร้ายเงี้ยว ซึ่งยังตั้งอยู่ตามหัวเมืองข้างฝ่ายเหนือ พระยาดัษกรปลาศยกจากเมืองแพร่เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ไปถึง เมืองสเอียบเมื่อณวันที่ ๑๕ ตุลาคม ในคืนวันนั้นพวกผู้ร้ายเงี้ยวเข้า ปล้นค่ายพระยาดัษกรปลาศ ได้รบกัน ๒ พัก พระยาดัษกรปลาศตีพวก ผู้ร้ายเงี้ยวแตก แล้วยกกองทหารต่อไป วันที่ ๒ พฤศจิกายน ถึง เมืองออย ซึ่งพวกผู้ร้ายตั้งค่ายใหญ่อยู่ค่าย ๑ พระยาดัษกรปลาศ คุมทหารเข้าตีค่ายพวกผู้ร้ายเงี้ยว รบกันอยู่ชั่วโมงเศษ ผู้ร้ายเงี้ยว ก็แตกหนี ตีได้ค่ายเมืองออยแล้วยกต่อไปถึงเมืองเชียงคำตั้งพักอยู่ ที่นั่น ได้ข่าวว่าพวกผู้ร้ายเงี้ยวตั้งค่ายอยู่ที่วัดเวียงแก แขวงเมือง พงอิกแห่ง ๑ ระยาดัษกรปลาศจึงแบ่งกองทหารให้ยกไปตีค่ายวัด


(๘) เวียงแก ตีได้เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม อิกแห่ง ๑ เสร็จการปราบผู้ ร้ายเงี้ยวครั้งนั้นแล้ว กองทัพกลับมาถึงกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๔๖ พระยาดัษกรปลาศไปทัพคราวนี้เปนเวลาเคราะห์ร้าย ด้วยเมื่อคุมกองทหารออกไปจากเมืองแพร่ไปข้างเหนือ พระยาดัษกรปลาศได้ข่าวว่าผู้ร้ายเงี้ยวเข้ามาตั้งคอยต่อสู้อยู่หลายแห่ง จึงมีจดหมายไปถึง ผู้บังคับกองทหารที่เมืองพเยา ให้แบ่งทหารยกมาตีตัดเงี้ยวอิก ทาง ๑ เมื่อพระยาดัษกรปลาศรบชนะเงี้ยวที่เมืองสเอียบแล้วยกต่อ ขึ้นไป กองทหารที่มาจากเมืองพเยารบเงี้ยวเข้ามาอิกทาง ๑ เงี้ยว สู้พลางถอยพลาง มาจนถึงบ้านท่าฟ้า ในทางที่พระยาดัษกรปลาศ ก็ยกขึ้นไป พอเงี้ยวแตกหนีจากบ้านท่าฟ้า พระยากดัษกรปลาศก็ ยกขึ้นไปถึง นายทหารที่มาจากเมืองพเยาจับพม่าไว้ได้ ๒ คน เอา มาส่งให้พระยาดัษกรปลาศ ว่าเปนพวกผู้ร้ายเงี้ยวที่ต่อสู้กองทหาร พระยาดัษกรปลาศไต่ถาม พม่า ๒ คนนั้นไม่ให้การ พระยาดัษกรปลาศจึงสั่งให้เอาไปประหารชีวิตรเสีย พม่า ๒ คนนั้นเปนคนในบังคับอังกฤษ กงซุลอังกฤษฟ้องว่าหาได้เปนผู้ร้ายไม่ เมื่อเสร็จการปราบ ผู้ร้ายเงี้ยวแล้ว จึงต้องตั้งศาลทหารพิจารณาคดีเรื่องพระยาดัษกรปลาศสั่งให้ประหารชีวิตรพม่า ๒ คน ทางพิจารณาได้ความว่า พม่าคน ๑ หนีขึ้นไปจากเมืองแพร่กับผู้ร้ายเงี้ยวด้วยกัน อิกคน ๑ เปนคนจรจัด มาอยู่ในหมู่ผู้ร้ายเงี้ยวที่ต่อสู้กองทหาร ไม่มีพยานปรากฏว่าพม่า ๒ คนได้สู้รบด้วย แต่ความปรากฏว่า พระยาดัษกรปลาศไม่สืบให้


(๙) สิ้นกระแสความในเรื่องพม่า ๒ คนนั้น เปนแต่ถือเอาข้อที่ไม่ให้การ เปนพิรุธ โดยฐานไม่มีข้อแก้ตัว ศาลจึงพิพากษาว่าพระยาดัษกรปลาศมีความผิด แต่ทำโดยซื่อตรงมิได้มีเจตนาเปนทุจริต พระยาดัษกรปลาศจึงต้องกักขังอยู่ในโรงทหารปีเศษ จึงทรงพระกรุณาโปรดยกโทษพระราชทาน สำนวนคดีเรื่องนี้มีแจ้งอยู่ในหนังสือราชกิจจา นุเบกษา รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ นั้นแล้ว เรื่องประวัติของพระยา ดัษกรปลาศที่เกี่ยวด้วยราชการหมดเพียงเท่านี้ แต่นั้นก็ไม่ได้รับ ราชการ ด้วยพระยาดัษกรปลาศอายุมาก รับราชการมากว่า ๓๐ ปี กำลังร่างกายก็ทุพลภาพ ได้พระราชทานเบี้ยบำนาญ รักษาตัวอยู่ ในกรุงเทพ ฯ บ้าง ออกไปศรีราชากับเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีบ้าง อิกหลายปี. พระยาดัษกรปลาศได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เปน บำเหน็จความชอบพิเศษหลายคราว คือ เมื่อปีกุญ พ. ศ. ๒๔๓๐ ได้พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๓ นิภาภรณ์ เปนบำเหน็จคราวคุมทหารไปรบฮ่อ คราวแรก เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ ๒ จุลสุราภรณ์ เปนบำเหน็จที่รบฮ่อครั้งที่ ๒ ในเขตรเมืองหลวงพระบาง เมื่อปีวอก พ. ศ. ๒๔๓๙ ได้พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน เปนบำเหน็จคราวรักษาราชการที่เมืองหลวงพระบางในรัตนโกสินทรศก ๑๑๒


(๑๐) เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ มีเข็มติด ๒ เข็ม นอกจากนี้ได้พระราชทานเหรียญจักรมาลา ด้วยรับ ราชการทหารมานาน แลเหรียญการพระราชพิธีต่าง ๆ ตามบันดาศักดิ์ ถึงปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๖๐พระยาดัษกรปลาศป่วยเปนโรคปอดบวม ถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม คำนวณอายุได้ ๖๗ ปี


อธิบายเรื่องหนังสือพงษาวดารเมืองหลวงพระบาง

การเลือกเรื่องหนังสือพิมพ์แจกในงานศพพระยาดัษกรปลาศ ข้าพเจ้าได้ตั้งใจค้นหาเรื่องทางเมืองหลวงพระบาง ด้วยเห็นว่าจะสมกับประวัติของพระยาดัษกรปลาศยิ่งกว่าหนังสือเรื่องอื่น พเอิญในหอพระสมุด ฯ มีเรื่องพงษาวดารเมืองหลวงพระบาง ซึ่งข้าพเจ้าเข้าใจว่ายังไม่ได้เคยพิมพ์มาแต่ก่อน จึงได้เลือกให้พิมพ์เปนประชุมพงษาวดารภาคที่ ๑๑ สำหรับแจกในงานศพพระยาดัษกรปลาศ หนังสือพงษาวดารเมืองหลวงพระบางฉบับนี้ ตามเนื้อเรื่องแสดงว่าเปนหนังสือแต่งถวายเมื่อในรัชกาลที่ ๕ แต่ใครจะเปนผู้แต่งหาทราบไม่ หอพระสมุด ฯ ได้ต้นฉบับมาจากอาลักษณฉบับ ๑ จากกระทรวงมหาดไทยฉบับ ๑ เรื่องข้างตอนต้นเห็นได้ว่าเก็บความจากพงษาวดารล้านช้าง ฉบับที่พิมพ์ในประชุมพงษาวดารภาคที่ ๑ นั้นเอง ฉบับนั้นเปนภาษาชาวหลวงพระบาง ฉบับนี้เอามาแต่งเสียใหม่ ให้เปนภาษาชาวกรุงเทพ ฯ อ่านเข้าใจง่ายขึ้น แลแต่งเรื่องพงษาวดารเพิ่มเติมต่อลงมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๔ แต่ความตอนต้นฉบับนี้ผู้แต่งแก้ไขศักราช


(๑๑) เลอะเทอะวิปลาศจากฉบับเดิมมาก ข้าพเจ้าได้พยายามสอบแก้เข้าหาฉบับเดิม ซึ่งเห็นว่าจะเปนหลักฐานถูกต้องหลายแห่ง แต่เวลาชำระน้อย เกรงจะสอบไม่ทั่วถึง ฤๅถูกต้องได้ทีเดียว หนังสือพงษาวดารทางนี้เรียกชื่อต่าง ๆ กันหลายอย่าง เรียกว่าพงษาวดารล้านช้างบ้าง พงษาวดารกรุงศรีสัตนาคนหุตบ้าง พงษาวดารเมืองหลวงพระบางบ้าง พงษาวดารเมืองเวียงจันท์บ้าง ชวนให้สงไสยความจริงนั้นดังนี้ คือ ที่เรียกว่ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็ดี ฤาเมืองล้านช้างก็ดี ที่จริง เปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่เรียกว่าศรีสัตนาคนหุต เปนของผูกภาษาบาฬีขึ้นเรียกให้ไพเราะ คำว่า ล้านช้าง เปนภาษาที่ไทยเรียกกันมาแต่ก่อน แลคำว่าล้านช้างนั้น ตามที่เข้าใจกันโดยมาก ฤๅแม้ความ เข้าใจของพวกหลวงพระบางเองทุกวันนี้ว่า "ช้างสิบแสนตัว" จึงเขียนว่าล้านช้าง แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวินิจฉัยว่า ที่จริงนั้น "ลานช้าง" หมายความว่าเปนทำเลช้าง คู่กับ ลานนา ซึ่งเรียกอาณาเขตรมณฑลภาคพายัพมาแต่โบราณ ซึ่งหมายความว่าเปนทำเลทำนา เพราะทางเมืองหลวงพระบางเปนที่ห้วยเขาป่าดง ทำนองจะเปนที่มีช้างมาก จึงเรียกว่าลานช้าง ส่วนเมืองเชียงราย เชียงใหม่ มีที่ราบสำหรับทำไร่นามาก จึงเรียกว่า ลานนา เปนคู่กัน เปนคำของพวกไทยที่อยู่ทางข้างเหนือเรียกแต่ดึกดำบรรพ์


(๑๒) กรุงศรีสัตนาคนหุต ฤาล้านช้าง เดิมตั้งราชธานีอยู่ที่เมือง เชียงคง เชียงทอง คือที่หลวงพระบางทุกวันนี้ จึงเรียกว่าเมืองหลวง (พึ่งเพิ่มนามพระบางต่อเข้าในชั้นหลัง) เปนราชธานีมาจนปีวอก พ.ศ. ๒๑๐๓ ตรงสมัยในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิครองกรุงศรีอยุทธยา พระไชยเชษฐาธิราชย้ายลงมาอยู่เมืองเวียงจันท์ ๆ จึงขึ้นชื่อเปนราชธานีมาแต่ครั้งนั้น แลจึงใช้ชื่อพระบางเติมท้ายนามเมืองหลวงขึ้น ด้วยพระบางยังคงอยู่ที่เมืองหลวงเดิม กรุงศรี สัตนาคนหุตยังรวมเปนอาณาเขตรอันเดียวกันทั้งเวียงจันท์ แลหลวงพระบางมาจนราวปีวอก พ.ศ. ๒๒๓๕ ตรงสมัยในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาธิราช ครองกรุงศรีอยุทธยา พวกราชวงษ์กรุงศรีสัตนา คนหุตเกิดแตกกันเปน ๒ ก๊ก พระไชยองค์แว ได้อาณาเขตรข้าง ตอนใต้ ตั้งเมืองเวียงจันท์เปนราชธานี เจ้ากิงกิสสะ ได้อาณา เขตรข้าง ตอนเหนือ ตั้งเมืองหลวงเดิม คือเมืองหลวงพระบางเปนราชธานี ต่างใช้นามว่า กรุงศรีสัตนาคนหุตเหมือนกันทั้ง ๒ ฝ่าย เมื่อปราบปรามกันลงไม่ได้ จึงได้ตกลงแยกกันเปน ๒ อาณาเขตร แล จึงเกิดชื่อสำหรับเรียกให้แปลกกันว่า พระเจ้ากรุงจันทบุรีศรีสัตนา คนหุตล้านช้างร่มขาวฝ่าย ๑ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ร่มขาวหลวงพระบางฝ่าย ๑ แต่ผู้อื่นก็เรียกว่า เจ้าเมืองเวียงจันท์ แลเจ้าเมืองหลวงพระบางมาจนทำลายล้างเมืองเวียงจันท์เสีย เมื่อเจ้าอนุเปนขบถในรัชกาลที่ ๓ จึงเหลือแต่หลวงพระบางเมืองเดียวอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้


(๑๓) เรื่องพงษาวดารที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ ข้างตอนต้นที่จริงเปน พงษาวดารกรุงศรีสัตนาคนหุต ฤๅลานช้างรวมกันมาจนน่า ๓๕ จึงแยกไปเปน พงษาวดารเมืองหลวงพระบาง เพราะเหตุที่มีเจ้าเวียงจันท์ขึ้นต่างหากอิกก๊ก ๑ อาณาเขตรแยกกันดังกล่าวมาแล้ว ข้าพเจ้าขออนุโมทนากุศลบุญราษีทักษิณานุปทา ซึ่งนายใหญ่โรหิตเสถียร ได้บำเพ็ญในการปลงศพสนองคุณ นายพันเอก พระยาดัษกรปลาศ ( ทองอยู่ โรหิตเสถียร ) ผู้บิดา ด้วยความกตัญญูกตเวที แลได้พิมพ์หนังสือเรื่องนี้ให้แพร่หลาย เชื่อว่าท่านทั้งหลายผู้ที่ได้อ่านสมุดเล่มนี้ จะพอใจแลอนุโมทนาด้วยทั่วกัน


สภานายก หอพระสมุดวชิรญาณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๒




สารบาน

  • ขุนบรมราชา สร้างเมืองแถน น่า ๑
  • ลำดับกระษัตริย์ เมืองล้านช้าง " ๓
  • ขุนยักษ์ฟ้าต้องเนรเทศ " ๕
  • ขุนยักษ์ฟ้ากลับมาตีเมืองล้านช้าง " ๘
  • ท้าวเถียมคำยอรับอาสาตีเมืองพวนได้ " ๙
  • ขุนยักษ์ฟ้าได้เมืองล้านช้าง " ๑๐
  • แผ่นดินท้าวฟ้างุ้ม " ๑๑
  • ท้าวฟ้างุ้มตีหัวเมืองเวียงจันท์ " ๑๑
  • พระยาอินทปัตห้ามท้าวฟ้างุ้มไม่ให้เบียดเบียนหัวเมืองต่าง ๆ " ๑๓
  • แผ่นดินพระเจ้าสามแสนไทไตรภูวนาธิปัติ " ๑๕
  • แผ่นดินพระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว " ๑๗
  • ทัพญวนตีเมืองล้านช้าง " ๑๘
  • แผ่นดินท้าวแท่งคำ " ๑๙
  • แผ่นดินท้าวหล้าน้ำแสนไทไตรภูวนารถ " ๒๐
  • แผ่นดินท้าวชมภูราชกุมาร " ๒๐
  • แผ่นดินพระยาวิชุณราชธิปัติ " ๒๐
  • แผ่นดินพระยาโพธิสาระมหาธรรมิกราชาธิราช " ๒๑
  • พระไชยเชษฐาธิราชไปครองเชียงใหม่ " ๒๓
  • พระไชยเชษฐาไปครองเมืองล้านช้าง " ๒๔
  • พระเจ้าหงษาวดีตีเมืองเชียงใหม่ได้ " ๒๖
  • พระเจ้าหงษาวดีตีเมืองเวียงจันท์ " ๒๗

  • แผ่นดินพระมังคละโพธิสาระราชาประเทศ น่า ๒๘
  • พระเจัาหงษาวดีตีเมืองเวียงจันท์ ครั้งที่ ๒ " ๒๘
  • ชายคนหนึ่งสำแดงตนว่าเปนพระไชยเชษฐาธิราชมาตีเวียงจันท์ " ๒๘
  • พระเจ้าหงษาวดีให้พระยาแสนสุรินทร์ขว้างฟ้ามาครองเมืองเวียงจันท์ " ๒๙
  • แผ่นดินพระยานครน้อย " ๒๙
  • แผ่นดินพระหน่อแก้ว " ๓๐
  • แผ่นดินพระธรรมิกราชกุมาร " ๓๐
  • แผ่นดินพระอุปยุวราช ลูกพระธรรมิกราช " ๓๑
  • แผ่นดินพระบัณฑิตโพธิสาร " ๓๑
  • แผ่นดินพระหม่อมแก้ว " ๓๑
  • แผ่นดินพระอุปยุวราช ลูกพระหม่อมแก้ว " ๓๑
  • แผ่นดินเจ้าตอนคำ " ๓๑
  • แผ่นดินพระยาสุริยวงษาธรรมิกบรมบพิตร " ๓๒
  • ฮ่อหัวขาวตีเมืองแฉวนหวีฟ้าสิบสองปันนาลื้อ " ๓๓
  • เจ้านันทราชเมืองนครพนมมาตีเมืองเวียงจันท์ " ๓๓
  • แผ่นดินพระเจ้ากิงกิศราช แยกอาณาเขตรกรุงศรีสัตนาคนหุต เปนเวียงจันท์แลหลวงพระบาง " ๓๕
  • แผ่นดินสมเด็จพระบรมเชษฐขัติยสุริยพระราชวงษามหาไชยจักรพรรดิ " ๓๖
  • แผ่นดินเจ้าอินทโสม " ๓๗

  • สมเด็จพระบรมเชษฐขัติยฯ หนีไปบวชแล้วได้ครองราชสมบัติ เมืองเชียงใหม่ น่า ๓๘
  • เกิดขบถที่เมืองหลวงพระบาง " ๔๐
  • ทัพญวนมาตีเมืองหลวงพระบาง " ๔๐
  • แผ่นดินเจ้าอินทวงษากุมาร แลยกสมบัติถวายเจ้าโชติกะกุมาร " ๔๑
  • เมืองเวียงจันท์ขอทัพเมืองหงษาวดีมาตีเมืองหลวงพระบาง " ๔๑
  • เจ้าสุริยวงษาหนีพม่ามาตั้งอยู่เมืองแถง " ๔๒
  • เจ้าสุริยวงษายกทัพมาเอาเมืองหลวงพระบาง " ๔๒
  • แผ่นดินเจ้าสุริยวงษา " ๔๓
  • เจ้าสุริยวงษาไปตีเมืองล้านช้างเวียงจันท์ " ๔๓
  • กรุงศรีสัตนาคนหุตกับกรุงธนบุรีเปนไมตรีกัน " ๔๔
  • พระเจ้าล้านช้างเวียงจันท์ตีเมืองดอนมดแดง " ๔๕
  • กรุงธนบุรียกทัพไปสมทบเมืองหลวงพระบางตีล้านช้างเวียงจันท์ " ๔๖
  • แผ่นดินพระเจ้าล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง " ๔๖
  • พระเจ้าล้านช้างเวียงจันท์ยกไปตีหลวงพระบาง " ๔๖
  • เมืองหลวงพระบางเกิดลางร้ายต่าง ๆ " ๔๘
  • เจ้าปักกิ่งทูลขอโทษพระเจ้าร่มขาวต่อกรุงเทพฯ " ๔๙
  • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าราชวงษ์มังธาตุราชเปนเจ้าอุปราช " ๕๑
  • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าอุปราชมังธาตุราชเปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง " ๕๑

  • เจ้ามหาน้อยเจ้ามหาวังเมืองแฉวนหวีฟ้าเกิดวิวาทรบกัน น่า ๕๒
  • ฟ้าผ่าหอรบเจ้าอุปราชแลเกิดไฟไหม้เมืองเชียงรุ้ง " ๕๓
  • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดให้คุมตัว เจ้าอุปราชสุมาจำคุกไว้กรุงเทพฯ " ๕๓
  • เจ้ามหาวังเมืองแฉวนหวีฟ้ามาตีหลวงพระบาง " ๕๔
  • เจ้าพระยาธรรมาไปตีเมืองพวนแลเมืองแถง " ๕๔
  • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดให้เจ้าอุ่นแก้วไปอยู่รักษาเมืองหลวงพระบาง " ๕๕
  • เมืองหืบ เมืองด่อย เมือดวน คิดขบถต่อเมืองหลวงพระบาง " ๕๕
  • เจ้าอุปราชอภัยกับเจ้าราชวงษ์เสิมวิวาทกัน " ๕๕
  • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าราชวงษ์เสิมเปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง " ๕๖
  • เกิดนิมิตรประหลาดที่เมืองหลวงพระบาง " ๕๖
  • เจ้าเมืองหลวงพระบางให้คุมตัวเจ้าอภัยสุริยวงษามาถวาย ณกรุงเทพ ฯ " ๕๗
  • เจ้าหน่อคำเจ้ามหาไชยตีเมืองเชียงรุ้ง " ๕๘
  • เจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งดอกไม้ทองเงินลงมาทูลเกล้า ฯ ถวายณกรุงเทพ ฯ " ๕๘
  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ตั้ง เจ้าราชวงษ์จันท์เปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง " ๕๙
  • กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงรุ้ง " ๕๙

  • เมืองหลวงพระบางเมืองน่านมีบอกมากรุงเทพ ฯ ว่า พม่าจะมาตีหลวงพระบางแลเชียงใหม่ น่า ๖๐
  • พระยาสีหราชเดโชไชย พระยาราชวรานุกูลยกทัพขึ้นไป รักษาเมืองหลวงพระบาง " ๖๐
  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าอุปราชเมืองเชียงรุ้งเปนเจ้ามหาอุปราชา แล้วโปรดให้ส่งขึ้นไปถึงเมืองเชียงรุ้ง " ๖๑
  • เจ้ามหาอุปราชากับเจ้ามหาไชยวิวาทรบกัน " ๖๒
  • นายยงบุตรมหาไชยตีเมืองอ่าย " ๖๓
  • เจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งต้นไม้ทองเงินลงมาทูลเกล้า ฯ ถวายณกรุงเทพฯ " ๖๓
  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าเมือง หลวงพระบาง เปนพระจันทรเทพประภาคุณ " ๖๔





พงษาวดารเมืองหลวงพระบาง

? ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานดำเนินเรื่องต้นราชพงษาวดารโดยลำดับโบราราชกระษัตริย์ ซึ่งครองราชสมบัติสืบ ๆ กันมา ในมลาวประเทศเมืองชวา คือกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว หลวงพระบาง แลเมืองเวียงจันทบุรี แต่โดยสังเขป


เดิมยังมีพระมหากระษัตริย์องค์ ๑ ทรงพระนามชื่อว่าขุนบรมราชา ลงมาแต่เมืองแถน มาสร้างเมืองแถนเปนพระนครใหญ่ ขุนบรมราชามีพระมเหษี ๒ องค์ องค์ที่ ๑ ชื่อนางเอตแคง ที่ ๒ ชื่อนางยมภาลา นางเอตแคงนั้นมีพระราชบุตร ๓ องค์ องค์ที่ ๑ ทรงพระนามชื่อขุนลอ ที่ ๒ ชื่อท้าวลุกกรม ที่ ๓ ชื่อท้าวเจตเจื้อง นางยมภาลามีพระราชบุตร ๔ องค์ ผู้ที่ ๑ ทรงพระนามชื่อท้าวยีผาล้าน ผู้ที่ ๒ ชื่อท้าวไชยพงษ์ ผู้ที่ ๓ ชื่อท้าวสามจุสง ผู้ที่ ๔ ชื่อท้าวอัวอิน

? ขุนบรมราชามีพระราชบุตร ๗ องค์ดังนี้ แล้วมีช้างงาเกี้ยวงากอดช้าง ๑ ( คืองาไขว้) ครั้นช้างตัวนั้นถึงแก่กรรม ขุนบรมราชาจึงเอางาช้างตัวนั้นมาตัดเปน ๗ ท่อน ท่อนที่ ๑ เอาประทานให้ขุนลอ ท่อนที่ ๒ ระทานให้ท้าวยีผาล้าน ท่อนที่ ๓ ประทานให้ท้าวไชยพงษ์ ท่อนที่ ๔ ประทานให้ท้าวสามจุสง ท่อนที่ ๕ ประทานให้ท้าวอัวอิน ท่อนที่ ๖ ประทานให้ท้าวลุกกรม ท่อนที่ ๗ ประทานให้ท้าวเจตเจื้อง ๑


๒ ครั้นพระราชบุตรทั้ง ๗ พระองค์มีพระชนม์จำเริญใหญ่ขึ้นมา พอจะครองราชสมบัติได้ทั้ง ๗ พระองค์ ขุนบรมราชาผู้เปนพระราชบิดา จึงมีพระราชอาญาทรงสั่งพระราชบุตรทั้ง ๗ พระองค์ สั่งให้ขุนลอ ผู้พี่ที่ ๑ มาสร้างเมืองชวา คือกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว หลวงพระบาง สั่งให้ท้าวยีผาล้านไปสร้างเมืองประคึง สั่งให้ท้าวไชยพงษ์ไปสร้างเมืองหงษาวดี สั่งให้ท้าวสามจุสงไปสร้างเมือง บัวชุม สั่งให้ท้าวอัวอินไปสร้างเมืองศรีอยุทธยา สั่งให้ท้าวลุกกรม ไปสร้างเมืองอินทปัต สั่งให้ท้าวเจตเจื้องไปสร้างเมืองเชียงขวาง (คือเมืองพวน) แล้วขุนบรมราชาจึงมีราโชวาททรงสั่งสอนยังพระ ราชบุตรทั้ง ๗ พระองค์นั้นว่า ถ้าผู้ใดไปสร้างบ้านแต่งเมืองมีบุญญา นุภาพมาก ให้เร่งตั้งอยู่ในทางยุติธรรม อย่าได้คิดทัพศึกสงคราม ยกไปรบพุ่งเบียดเบียนตีชิงเอาบ้านเมืองแก่กันแลกัน ผู้ใดไม่ฟังราโชวาทของพระราชบิดาสั่งสอนไว้นี้ ให้ผู้นั้นเกิดการพินาศฉิบหาย ในปัจจุบันโลกปรโลกให้ต้องด้วยคำแช่งดังนี้ ถ้าผู้ใดตั้งอยู่ใน ยุติธรรมราโชวาทของพระราชบิดานี้ ให้ผู้นั้นมีความศุขความจำเริญ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขุนบรมราชามีราโชวาทไว้ดังนี้ ครั้นถึงศุภวารมหามงคลพิไชยฤกษ์วันดี พระราชบุตรทั้ง ๗ พระองค์ก็พร้อมกัน กราบถวายบังคมลา ต่างองค์ก็ต่างพาเอาไพร่พลไปตามราโชวาท ของขุนบรมราชาผู้เปนพระราชบิดาทรงสั่งนั้น ๑ ในพงษาวดารล้านช้างว่า ขุนลอสร้างเมืองชะวา คือเมืองหลวงพระบาง ท้าวยี่ผาล้านสร้างเมืองหนองแส ท้าวไผสง ( ตรงกับไชยพงษ์ ) สร้างเมืองลานนา ( เชียงใหม่ ) ท้าวสามจุสงสร้างเมืองญวนแกว ท้าวงัวอินสร้างเมืองอโยทธยา ท้าวลก กรมสร้างคำเถิดท้าวผอสาม ( ตรงกับเจตเจือง ) สร้างเมืองเชียงขวางในเขตรพวน


๓ ขุนลอผู้เปนพี่ที่ ๑ ก็พาเอาไพร่พลลงมาสร้างเมืองชวา กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ขุนลอมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อ ขุนตาม ขุนลอครองราชสมบัติถึงกาลชนมายุชรานักแล้ว ก็เสด็จถึงแก่พิราไลย ขุนตามผู้เปนพระราชบุตร ได้ขึ้นครองราชสมบัติในกรุงศรีสัตนาคนหุตสืบไป ขุนตามมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนซวา ขุนตามถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนซวาได้ขึ้นครองราชสมบัติ มีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนซวาย ขุนซวาถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนซวายได้ขึ้นครองราชสมบัติ ขุนซวายมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนคุ ขุนซวายถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนคุได้ขึ้นครองราชสมบัติ ขุนคุมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนควง ขุนคุถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนควงได้ขึ้นครองราชสมบัติ ขุนควงมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนคาง ขุนควงถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนคางได้ขึ้นครองราชสมบัติ ขุนคางได้มีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนแพง ขุนคางถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนแพงได้ขึ้นครองราชสมบัติ ขุนแพงมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนเพิน ขุนแพงถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนเพินได้ขึ้นครองราชสมบัติ ขุนเพินมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนพิน


๔ ขุนเพินถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนพินได้ขึ้นครองราชสมบัติ ขุนพินมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนอุน ขุนพินถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนอุนได้ขึ้นครองราชสมบัติ ขุนอุนมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนคาน ขุนอุนถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนคานได้ขึ้นครองราชสมบัติ ขุนคานมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนเคก ขุนคานถึงแก่พิราไลยแล้ว ขุนเคกได้ขึ้นครองราชสมบัติ ขุนเคกมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อขุนรูง แต่ทรงพระนามเปนขุนได้ ขึ้นครองราชสมบัติสืบ ๆ กันมาในเมืองชวา กรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างร่มขาว รวม ๑๕ ขุน ขุนรูงมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อท้าวแทน ขุนรูงเสด็จถึงแก่พิราไลยแล้ว ท้าวแทนได้ขึ้นครองราชสมบัติ ท้าวแทนมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อท้าวยูง ท้าวแทนเสด็จถึงแก่พิราไลยแล้ว ท้าวยูงได้ขึ้นครองราชสมบัติ ท้าวยูงมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อท้าวเยือก ท้าวยูงเสด็จถึงแก่พิราไลยแล้ว ท้าวเยือกได้ขึ้นครอง ราชสมบัติ ท้าวเยือกมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อท้าวพิน ท้าวเยือกเสด็จถึงแก่พิราไลยแล้ว ท้าวพินได้ขึ้นครอง ราชสมบัติ ท้าวพินมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อท้าวพาด ท้าวพินเสด็จถึงแก่พิราไลยแล้ว ท้าวพาดได้ขึ้นครองราชสมบัติ ท้าวพาดมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อท้าวหลวง


๕ ท้าวพาดเสด็จถึงแก่พิราไลยแล้ว ท้าวหลวงได้ขึ้นครองราชสมบัติ ท้าวหลวงมีพระราชบุตรองค์ ๑ ชื่อท้าวละวัง แต่ทรง พระนามเปนท้าวครองราชสมบัติกรุงศรีสัตนาคนหุต ๖ พระองค์ ? ลุศักราช ๖๓๓ ปีมแมตรีศก ( พ.ศ. ๑๘๑๔ ) ท้าวหลวงเสด็จถึงแก่พิราไลย เสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวงจึงพร้อมกันอัญเชิญ ท้าวละวังขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ถวายพระนามว่าพระยารัง พระยารังมีพระราชบุตรองค์ ๑ ทรงพระนามท้าวสุวรรณคำผง พระยารังครองพระราชสมบัติ ๔๕ ปีก็เสด็จถึงแก่พิราไลย พระชนม์เท่าใดไม่ปรากฎ

  • ลุศักราช ๖๗๘ ปีมโรงอัฐศก (พ.ศ.๑๘๕๙ ) เสนาพฤฒามาตย์

ทั้งปวงจึงพร้อมกันอัญเชิญเอาท้าวสุวรรณคำผงขึ้นครองราชสมบัติ เปน พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ถวายพระนามว่า พระยาสุวรรณคำผง พระยาสุวรรณคำผงมีพระราชโอรสองค์ ๑ ทรงพระนามขุนยักษ์ฟ้า ขุนยักษ์ฟ้ามีพระราชบุตรองค์ ๑ ทรงพระนามท้าวฟ้างุ้มราชกุมาร แต่ท้าวฟ้างุ้มราชกุมารองค์นี้ เมื่อประสูตร ออกจากครรภ์แห่งมารดานั้น มีพระทนต์เต็มพระโอษฐออกมาแต่ ในครรภ์ เมื่อท้าวฟ้างุ้มราชกุมารมีพระชนม์จำเริญใหญ่ขึ้นมา ขุนยักษ์ฟ้าผู้เปนบิดาไปกระทำชู้ด้วยนางขอม ( เขมร ) มารดาเลี้ยง อันเปนนางห้ามของพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตผู้เปนพระราชบิดา พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็ทรงพระโกรธ จึงมีรับสั่งแก่เสนาบดีทั้งปวง จะให้กุมขุนยักษ์ฟ้าพันธนาไปสำเร็จโทษเสียตามความผิด เสนา


๖ พฤฒามาตย์ราชมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อย จึงพร้อมกันกราบทูลขอโทษ ชีวิตรขุนยักษ์ฟ้าไว้ พระยาสุวรรณคำผงองค์เปนพระเจ้าแผ่นดินก็ ทรงอไภยโทษแต่ชีวิตร แล้วมีรับสั่งให้ขับไล่ขุนยักษ์ฟ้าไปจาก พระราชอาณาเขตรกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ท้าวฟ้างุ้ม ราชกุมารทราบว่า พระยาสุวรรณคำผงองค์เปนพระเจ้าปู่ทรงพระพิโรธขับไล่ขุนยักษ์ฟ้าผู้เปนพระราชบิดา ให้หนีจากพระราชอาณาเขตรกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวดังนั้น ท้าวฟ้างุ้มราชกุมารก็ขอไปตาม พระราชบิดา เสนาบดีผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง มีความเกรงกลัว ขุนยักษ์ฟ้า แลท้าวฟ้างุ้มราชกุมารไปเบื้องน่า จึงพร้อมกันแต่ง ให้เถ้ากะโยยคน ๑ เถ้ากรางคน ๑ เถ้าคำคน ๑ หอไชยคน ๑ โลดังคน ๑ ให้เอาเรือลำ ๑ ไปส่งขุนยักษ์ฟ้ากับท้าวฟ้างุ้มราชกุมาร ใต้แก่งลีผีเหนือเมืองอินทปัต ? ขุนยักษ์ฟ้ากับท้าวฟ้างุ้มราชกุมาร สองกระษัตริย์ก็พากันเสด็จดำเนินไปถึงเมืองอินทปัต ก็ขอเข้าพำนักอาไศรยอยู่ในกุฏิ พระป่าขมันมหาเถรองค์ ๑ อันมีอยู่ในเมืองอินทปัต พระผู้เปนเจ้า จึงถามเจ้าราชกุมารทั้ง ๒ ว่า ท่านทั้ง ๒ มาแต่เมืองใด เจ้าราชกุมาร ทั้ง ๒ จึงนมัสการสำแดงความว่า ข้าพเจ้ามาแต่เมืองชวา คือกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว พระผู้เปนเจ้าก็ทักถามปราไสเจ้า ราชกุมารทั้ง ๒ หลายประการ จนดึกในราตรีกลางคืนท้าวฟ้างุ้ม ราชกุมารประธมหลับไป เสียงกรนนั้นดังไพเราะเหมือนดังเสียง ดุริยดนตรี ครั้นรุ่งสว่างแสงอโณไทยขึ้นมา พระป่าขมันมหาเถร


๗ องค์นั้นจึงทำนายว่า ท้าวฟ้างุ้มราชกุมารองค์นี้ ภายภาคข้างน่าจะได้ครองราชสมบัติเปนเจ้าเอกเทศ จะมีบุญญานุภาพมาก กิติศัพท์ พระป่าขมันมหาเถร ทำนายทราบไปถึงพระยาศิริจุนทราชพระเจ้าอินทปัตจึงมีรับสั่งให้ท้าวฟ้างุ้มราชกุมารเข้าไปเฝ้า พระเจ้าอินทปัตทอด พระเนตรเห็นท้าวฟ้างุ้มราชกุมาร ประกอบไปด้วยลักษณกระษัตริย์ ก็ทรงปราไสทักถามตามทางประเพณีขัติยบุราณราชกระษัตริย์หลายประการ ท้าวฟ้างุ้มราชกุมารก็กราบทูลพระเจ้าอินทปัตขอถวายตัว เปนข้าทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ พระเจ้าอินทปัตก็ทรงเลี้ยงท้าวฟ้างุ้มราชกุมารไว้ ท้าวฟ้างุ้มก็อยู่ทำราชการฉลองพระเดช พระคุณได้ ๔ ปี ๕ ปี ไม่ได้มีความรังเกียจ พระเจ้าอินทปัตก็ยิ่งทรง พระเมตตาเปนอันมาก จึงยกเอานางคำหยาดอันเปนพระราชธิดา พระราชทานให้ท้าวฟ้างุ้มราชกุมารเปนภิริยา ให้สมัคสังวาศ อยู่ด้วยกัน แล้วพระเจ้าแผ่นดินอินทปัตจึงทรงตรัสถามท้าวฟ้างุ้ม ราชกุมารว่า คิดถึงกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวบ้างฤๅ ๆ ยัง ไม่คิดถึง ท้าวฟ้างุ้มกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าคิดถึงกรุงศรีสัตนา คนหุตเปนอันมาก ด้วยได้พลัดพรากมาหลายปี พระเจ้าอินทปัต ทรงทราบแล้วก็ทรงสงสารท้าวฟ้างุ้มราชกุมาร จึงตรัสว่าถ้าคิดถึง บ้านเมืองมากดังนั้น เราจะเกณฑ์กองทัพให้ขึ้นไป จะคิดเอากรุง ศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวจะได้ฤๅมิได้ ท้าวฟ้างุ้มราชกุมารกับขุนยักษ์ฟ้าจึงกราบทูลว่า ถ้าทรงพระเมตตาโปรดดังนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองก็พอจะรับนำทัพฉลองพระเดชพระคุณขึ้นไปได้


๘ ? ครั้นลุศักราช ๗๑๓ ปีเถาะตรีศก ( พ.ศ. ๑๘๙๔ ) ได้ศุภวาร มหามงคลพิไชยฤกษ์วันดี พระยาศิริจุนทราชพระเจ้าแผ่นดินอินทปัตจึงพระราชทานกองทัพให้ท้าวฟ้างุ้มราชกุมาร ขุนยักษ์ฟ้า ยกขึ้นไปครั้นเดินทัพขึ้นไปถึงหัวเมืองตามรายทาง คือเมืองตระบองหนึ่ง เมืองตีโคฏะบองหนึ่ง เมืองห้วยหลวงหนึ่ง เมืองไผ่หนามหนึ่งท้าวฟ้างุ้ม จึงมีหนังสือเข้าไปเกลี้ยกล่อมขอกองทัพขึ้นไปช่วยตีกรุงศรี สัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวทุกหัวเมือง พระยาสามเกิงเจ้าเมืองตระบอง พระยาสามคอเจ้าเมืองตีโคฏะบอง ท้าวแก้วเจ้าเมืองห้วยหลวง พระยาเภาเจ้าเมืองไผ่หนาม มีหนังสือตอบว่าซึ่งท่านทั้งสอง มีหนังสือมาขอกองทัพให้ขึ้นไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุตนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่ายังไม่ควรแก่ท่านทั้งสองเลย ด้วยพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตพระองค์เปนพระราชบิดา เปนสมเด็จพระเจ้าปู่ พระองค์ยังมีพระชนม์ครองราชสมบัติอยู่ ไม่ควรจะคิดอกตัญญูต่อท่านผู้มีคุณ ด้วยขุนยักษ์ฟ้าเปนคนมีความผิดคิดทุรยศ กระทำชู้ด้วยนางห้ามพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต องค์เปนราชบิดา พระองค์จึงทรงพระพิโรธ ขับไล่ขุนยักษ์ฟ้าให้หนีจากบ้านเมือง เพราะขุนยักษ์ฟ้ากระทำการ ไม่ชอบขนบธรรมเนียมแบบแผนพระมหากระษัตริย์ โทษขุนยักษ์ฟ้า มีมาก ซึ่งจะให้ข้าพเจ้าเกณฑ์กองทัพขึ้นไปช่วยท่านตีกรุงศรีสัตนา คนหุตนั้น ข้าพเจ้าเกรงกลัวพระเดชานุภาพของพระเจ้ากรุงศรีสัตนา


๙ คนหุต สุดแล้วแต่ท่านทั้งสองเถิด หัวเมืองตามระยะทางมีหนังสือตอบดังนี้ ขุนยักษ์ฟ้ากับท้าวฟ้างุ้มราชกุมารก็โกรธ ตอบว่าท่านไม่ ให้กองทัพขึ้นไปช่วยเราตีกรุงศรีสัตนาคนหุตก็ตามใจ ภายภาคน่า คงจะได้เห็นกัน ท้าวฟ้างุ้มกล่าวคำอาฆาฎดังนี้ ? ขณะนั้นท้าวเถียมคำยอ ลูกยีหินเจ้าเมืองพวน กระทำชู้ ด้วยมารดาเลี้ยง ยีหินเจ้าเมืองพวนผู้เปนบิดาก็โกรธจะจับเอาท้าวเถียมคำยอไปฆ่า ท้าวเถียมคำยอกลัวบิดาจะฆ่า ก็หนีลงมาอาไศรย พำนักอยู่กับพระยาเภาเจ้าเมืองไผ่หนาม ครั้นท้าวฟ้างุ้มเดินทัพขึ้นไป ถึงเมืองไผ่หนาม ท้าวเถียมคำยอก็เข้าไปเฝ้าท้าวฟ้างุ้ม อ้อนวอน ขอกองทัพขึ้นไปตีเมืองพวน ถ้าได้เมืองพวนแล้ว รับจะเกณฑ์เอา เวียนควานกุมการไพร่พลไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ถ้าได้ราชสมบัติแล้วเมื่อใดจะขอเปนเมืองขึ้น ท้าวฟ้างุ้มเสียคำ อ้อนวอนมิได้ก็รับเอาเปนธุระ ขุนยักษ์ฟ้าแลท้าวฟ้างุ้มราชกุมาร กับท้าวเถียมคำยอบุตรเจ้าเมืองพวนเห็นดีด้วยกันแล้ว พร้อมกันสั่ง พระยาเภาเจ้าเมืองไผ่หนาม ครั้นได้พิไชยฤกษ์มหามงคลวันดี ก็ยกกองทัพเข้าไปทางแม่น้ำเนียกน้ำซัน เถ้าดำน้ำเจ้าเมืองเนียก แลเถ้าดำน้ำมิดเจ้าเมืองซัน เกณฑ์ไพร่พลออกต่อรบเปนสามารถ ท้าวฟ้างุ้มราชกุมารก็เร่งกองทัพเข้าตี เจ้าเมืองเนียกเมืองซันทนฝีมือ มิได้ ก็พากันแตกหนีไปเมืองโม้ ท้าวฟ้างุ้มเร่งกองทัพตีเข้าไปถึง ๒


๑๐ เมืองโม้ จับได้ท้าววังท้าวคลังเจ้าเมืองปลัดเมืองฆ่าเสีย แล้วเร่ง กองทัพขึ้นไปตีเมืองเซียงดี เมืองเซียงขวาง ยีหินเจ้าเมืองเซียงขวาง เวียนควานกุมการ คุมไพร่พลออกต่อรบเปนสามารถ กองทัพเจ้าเมืองพวน ก็พ่ายแพ้แก่กองทัพท้าวฟ้างุ้มอพยพครอบครัวทิ้งบ้านเมืองหนีไป ท้าวฟ้างุ้มจึงยกกองทัพเข้าไปตั้งอยู่ลาดฮวงนาปลา แต่งพลทหารตามยีหินเจ้าเมืองเซียงขวางจับได้ เอามาสำเร็จโทษเสีย แล้วท้าวฟ้างุ้มราชกุมาร ก็ตั้งท้าวเถียมคำยอได้เปนพระยาคำยอ ครองสมบัติในเมืองพวน เมื่อลุศักราช ๗๑๔ ปี ( พ.ศ. ๑๘๙๕ ) มโรงจัตวาศก ? ถึงปีมเสงเบญจศก จุลศักราช ๗๑๕ ( พ.ศ. ๑๘๙๖ ) ขุนยักษ์ฟ้ากับท้าวฟ้างุ้มจึงสั่งพระยาคำยอ เกณฑ์เอากองทัพเมืองพวนตามสมควรแก่การได้แล้ว พระยาคำยอเจ้าเมืองพวนแต่งให้หมื่นนาม เปนแม่กอง ครั้นได้ศุภวารมหาพิไชยฤกษ์วันดี ท้าวฟ้างุ้มราช กุมารกับขุนยักษ์ฟ้าก็พาเอาไพร่พล ยกออกจากเมืองพวนพร้อมกันทั้งสองทัพ ขุนยักษ์ฟ้าผู้เปนพระบิดายกกองทัพขึ้นไปตีทางหัวน้ำเชือง น้ำแชง ให้ลงมาบรรจบกันในกรุงศรีสัตนาคนหุต กองทัพท้าวฟ้างุ้มยกตีไปทางน้ำคาน ครั้นไปถึงพรมแดนกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างร่มขาว ท้าวฟ้างุ้มจึงแต่งราชทูตานุทูตทูลราชสาสนเข้าไป เฝ้าพระยาสุวรรณคำผงองค์เปนพระเจ้าปู่ ใจความในพระราชสาสนนั้นว่า จะขอเอาราชสมบัติกรุงศรีสัตนาคนหุต พระเจ้ากรุงศรีสัตนา


๑๑ คนหุตทรงทราบราชสาสนแล้วก็ทรงพระโกรธ จึงมีรับสั่งให้เสนาบดีเร่งเกณฑ์กองทัพยกออกต่อรบกับกองทัพท้าวฟ้างุ้มหลายครั้ง กองทัพพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็พ่ายแพ้กองทัพท้าวฟ้างุ้มทุกครั้ง พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตสุวรรณคำผง มีความลอายแก่พระราชนัดดาเปนอันมาก พระองค์จึงเอาเชือกผูกพระสอแขวนขื่อในหอสูง ก็เสด็จถึง แก่พิราไลย พระยาสุวรรณคำผงอยู่ในราชสมบัติ ๓๗ ปี พระชน มายุเท่าใดมิได้ปรากฎ เสนาบดีทั้งปวงจึงพร้อมกันอันเชิญท้าว ฟ้างุ้มราชกุมารขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตถวายพระนาม พระยาฟ้างุ้มแถลงหล้าธรณี ? ลุศักราช ๗๑๕ ( พ.ศ. ๑๘๙๖ ) ปีมเสงเบญจศก แต่กองทัพขุนยักษ์ฟ้าผู้เปนพระราชบิดานั้น ตีลงมาทางน้ำเชืองน้ำแชง ครั้น เดินทัพมาถึงปากห้วยสานในลำแม่น้ำเชือง ขุนยักษ์ฟ้าเจ็บวรรณโรคป่วยลงก็ถึงแก่กรรมไป พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตฟ้างุ้มทรงทราบว่า ขุนยักษ์ฟ้าผู้เปนพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ จึงทรงสั่งเสนาบดีจัดการเมรุมาศให้สมควรแก่อิศริยยศ แล้วก็ปลงศพพระราชบิดา พระยา ฟ้างุ้มครองราชสมบัติอยู่ ๓ ปี มีพระราชบุตรองค์หนึ่งทรงพระนาม ว่าท้าวอุ่นเรือน ? ครั้นลุศักราช ๗๑๘ ( พ.ศ. ๑๘๙๙ ) ปีวอกอัฐศก พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตพระยาฟ้างุ้ม คิดถึงความได้พยาบาทท้าวพระยาเมือง เวียงจันท์ เมืองไผ่หนาม เมืองห้วยหลวง เมืองตีโคฏะตระบอง เมืองตระบอง จึงทรงสั่งเสนาบดีเกณฑ์กองทัพหลายหมื่น ครั้นได้มหามงคล


๑๒ ฤกษ์วันดี พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็เสด็จลงเรือพระที่นั่งพร้อมกันทั้งทัพเรือทัพบก ยกพยุหโยธาไปตีเมืองเวียงจันท์ เมืองห้วยหลวง เมืองตีโคฏะตระบอง เมืองตระบอง เมืองไผ่หนาม ได้กระทำ สงครามแก่กันเปนสามารถ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตคุมพลทหาร เข้าปล้นเอาเมืองเวียงจันท์ เมืองห้วยหลวง เมืองตีโคฏะตระบอง เมืองตระบองได้ แต่เมืองไผ่หนามนั้นหาได้ไม่ ด้วยปลูกไม้ไผ่ เปนระเนียดล้อมเมืองไว้ ถึงจะยิงปืนเข้าไปสักเท่าใด ไม่อาจ จะทำลายระเนียดไม้ไผ่นั้นได้ พระยาฟ้างุ้มพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรี สัตนาคนหุต จึงทรงเห็นกลอุบายจะทำลายไม้ไผ่ระเนียดเมืองนั้นได้ด้วยปัญญาของพระองค์ จึงทรงสั่งเจ้าพนักงานคลังมหาสมบัติเอาทองมาทำเปนลูกกระสุนปืน ยิงเข้าไปในโคนระเนียดไม้ไผ่ แล้ว ก็แต่งเสือป่าด้อมมองคอยดู พระยาฟ้างุ้มก็เลิกทัพกลับไปเที่ยวตีเมืองนานาประเทศที่ยังไม่อ่อนน้อมนั้นต่อไป ไพร่ราษฎรเมืองไผ่หนามทั้งปวงแลเห็นลูกกระสุนปืนทองคำอยู่ในโคนระเนียดไม้ไผ่ มิได้มี ความวิตกสิ่งใด ต่างคนต่างเอาพร้ามีดเสียมขวานเข้าถางโคนไม้ไผ่ระเนียดเมืองจนเตียนแล้ว เอาไฟเผาแย่งกันเก็บลูกกระสุนปืน ทองคำ พวกเสือป่าที่ด้อมมองคอยดูอยู่นั้น แลเห็นราษฎรเมืองไผ่หนามถางระเนียดเมืองเตียนแล้ว ก็พากันเอาอาการตามไปกราบทูลพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตพระยาฟ้างุ้มให้ทรงทราบ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทรงทราบแล้ว ก็เสด็จพระราชดำเนินยกกองทัพกลับคืนมาตีพระยาเภาเจ้าเมืองไผ่หนาม ๆ เกณฑ์กองทัพออกต่อรบเปนสามารถ


๑๓ พระยาฟ้างุ้มก็เข้าหักเอาเมืองได้ พระยาฟ้างุ้มจึงว่าแก่พระยาเภาว่า เรารบกันด้วยพลทหารท่านก็แพ้แก่เรา คราวนี้เราจะอนุญาตให้แก่ ท่าน ท่านกับเราจึงขึ้นขี่ช้างออกต่อรบตีกันตัวต่อตัว ถ้าใครดีก็จะ ได้เห็นกัน พระยาฟ้างุ้มกับพระยาเภาจึงขึ้นทรงช้างออกต่อรบตีกัน ด้วยพระแสงขอเปนสามารถ ไม่มีใครแพ้แลชนะแก่กัน พระยาฟ้างุ้มกับพระยาเภาเจ้าเมืองไผ่หนาม ก็ลงจากฅอช้างมาสถิตย์เหนืออาศน์ พระยาฟ้างุ้ม จึงทรงตั้งพระยาเภาเจ้าเมืองไผ่หนามให้เปนพระยาเวียงคำ เหตุเสร็จได้เมืองไผ่หนามเพราะลูกกระสุนปืนทองคำ ครั้นเสร็จการ แล้ว พระยาฟ้างุ้มก็เลิกทัพกลับขึ้นไปกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ร่มขาว ครองราชสมบัติอยู่ตามเดิม ? กิติศัพท์ทราบถึงพระยาศิริจุนทราช พระเจ้าแผ่นดินเมืองอินทปัต ผู้เปนพ่อตา ว่าพระยาฟ้างุ้มบุตรเขยยกกองทัพไปเที่ยวตีหัวเมือง นานาประเทศมิให้อยู่เย็นเปนศุขได้ พระเจ้าแผ่นดินเมืองอินทปัต จึงทรงแต่งให้ราชทูตานุทูต ถือราชสาสนขึ้นไปรับสั่งให้หาพระเจ้า กรุงศรีสัตนาคนหุตบุตรเขยลงไปเฝ้า พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ทรงทราบพระราชสาสนนั้นแล้ว จึงให้ท้าวพระยาข้าเฝ้าจัดไพร่พลตามเสด็จโดยกระบวนอย่างเปนเจ้าเอกเทศ ครั้นถึงศุภวารมหามงคลฤกษ์ก็เสด็จลงไปตามรับสั่ง ครั้นถึงเมืองอินทปัต พระเจ้า กรุงศรีสัตนาคนหุตเข้าเฝ้า พระเจ้าแผ่นดินอินทปัต จึงตรัสถามพระยาฟ้างุ้มว่ามีคนเล่าฦๅลงมาว่า เจ้ายกกองทัพไปเที่ยวตีเมือง นานาประเทศทั้งปวง มิให้อยู่เย็นเปนสุขได้จริงฤๅ พระยาฟ้างุ้ม


๑๔ จึงกราบบังคมทูลว่า ข้าพเจ้าได้รบพุ่งหัวเมืองน้อยใหญ่เหมือนพระองค์ทรงทราบฉนั้น พระเจ้าแผ่นดินอินทปัตจึงตรัสห้ามพระยาฟ้างุ้มว่า แต่วันนี้ไปภายน่าอย่าคิดเบียดเบียนหัวเมืองนานาประเทศเลย ให้ ตั้งอยู่ในทางยุติธรรมเถิด พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็ยอมอยู่ในราโชวาท พระเจ้าอินทปัตจึงให้พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเข้าไป รับศีลห้ากับพระป่าขมันมหาเถรในมหาวิหารพระบาง แล้วพระเจ้าอินทปัต จึงยกบรรดาหัวเมืองขึ้นแก่กรุงอินทปัตฝ่ายเหนือ กำหนดแต่แก่งลีผีขึ้นไป พระราชทานให้ไปขึ้นแก่พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทั้งสิ้น แล้วพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็กราบบังคมทูลขอเอา พระพุทธรูปอันทรงพระนามว่าพระบางขึ้นไป กับพระป่าขมันมหาเถรองค์ ๑ พระภิกษุสงฆ์ ๔ องค์ สามเณร ๓ องค์ ราชบัณฑิตย์ ๔ คน กับต้นพระศรีมหาโพธิซึ่งเอามาแต่ลังกาทวีปนั้นต้น ๑ พระเจ้าอินทปัตก็พระราชทานให้ตามปราถนา พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็กราบ ถวายบังคมลาพาพระบาง แลพระป่าขมันมหาเถร ภิกษุสงฆ์ สามเณรบัณฑิตย์พระศรีมหาโพธิแห่ขึ้นไป ครั้นไปถึงเมืองเวียงคำ พระยาเวียงคำก็มีความโสมนัศศรัทธายิ่งนัก จึงเข้ามาเฝ้าทูลอ้อนวอนขอนิมนต์พระบางไว้กราบไหว้สักการบูชา พระยาฟ้างุ้มเสียคำอ้อนวอนมิได้ก็ยกพระบางให้พระยาเวียงคำไว้สักการบูชาตามศรัทธา แล้ว พระยาฟ้างุ้มก็พาเอาเสนาพฤฒามาตย์ราชบัณฑิตย์ ข้าเฝ้าทูล ลอองธุลีพระบาท เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปครองราชสมบัติอยู่ใน กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวตามเดิม


๑๕ ? ครั้นทีหลังพระยาฟ้างุ้มหาตั้งอยู่ในยุติธรรมไม่ เห็นลูกเมียเสนาพฤฒามาตย์ราษฎรผู้ใดรูปงาม ก็รับสั่งให้หาเอามาสมัค สังวาศอยู่ด้วย เสนาพฤฒามาตย์ราษฎรทั้งปวงเห็นว่าพระเจ้าแผ่นดิน มิได้ตั้งอยู่ในยุติธรรม ก็พร้อมกันไล่พระยาฟ้างุ้มหนีไปนอกพระราชอาณาเขตรกรุงศรีสัตนาคนหุต พระยาฟ้างุ้มจึงหนีไปพึ่งพระยาคำตันอยู่ที่เมืองน่าน พระยาฟ้างุ้มอยู่ในราชสมบัติกรุงศรีสัตนาคนหุต ๔๑ ปี พระชนม์ได้ ๗๐ ก็เสด็จถึงแก่พิราไลย ? ลุศักราช ๗๕๕ ( พ.ศ. ๑๙๓๖ ) ปีรกาเบญจศก สมณะ พราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ จึงพร้อมกันอัญเชิญท้าวอุ่นเรือน ผู้เปนพระราชโอรสของพระยาฟ้างุ้ม ขึ้นเสวยราชสมบัติเปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายพระนาม พระเจ้าสามแสนไทไตร ภูวนาธิปัติ ด้วยเหตุมีพระราชรับสั่งให้เสนาพฤฒามาตย์ตรวจดูคนที่มีตระกูลในกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว กำหนดได้สามแสนตระกูลที่คนไม่มีตระกูลนั้นหาเอาไม่ พระเจ้าสามแสนไทไตรภูวนาธิปัติ ได้ครองราชสมบัติเปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ครั้งนั้นบ้านเมืองอยู่ศุขเกษมเปรมปรีดิ์มากนัก ด้วยพระองค์ทรงตั้งอยู่ใน ยุติธรรม แล้วพระองค์มีพระราชโอรส ๖ พระองค์ ทรงพระนามท้าวล้านคำแดงองค์ ๑ ท้าวคำบากองค์ ๑ ท้าวฦๅไชยองค์ ๑ ท้าวหมื่นไชยองค์ ๑ ท้าวไชยสารองค์ ๑ ท้าวฟ้าคืนองค์ ๑ พระเจ้าสามแสนไทครองราชสมบัติได้ ๒๓ มี พระชนม์ได้ ๖๐ ก็ถึงแก่ พิราไลย


๑๖ ? ลุศักราช ๗๗๗ ( พ.ศ. ๑๙๕๘ ) ปีมแมสัปตศก จึงสมณะ พราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ พร้อมกันอัญเชิญเอาท้าวล้าน คำแดงขึ้นเสวยราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ร่มขาว พระองค์มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ ทรงพระนาม ท้าว ยู่ครององค์ ๑ ท้าวพรหมทัตองค์ ๑ พระเจ้าล้านคำแดงครอง ราชสมบัติอยู่ ๑๒ มี พระชนม์ ๕๒ ก็เสด็จถึงแก่พิราไลย ? ลุศักราช ๗๘๙ ( พ.ศ. ๑๙๗๐ ) ปีมแมนพศก เสนา พฤฒามาตย์ จึงพร้อมกันอัญเชิญเอาท้าวพรหมทัต อันเปนพระราชบุตรของพระเจ้าล้านคำแดงขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรี สัตนาคนหุต อยู่ในราชสมบัติ ๔ เดือนก็เสด็จถึงถึงแก่พิราไลย เสนาพฤฒามาตย์จึงพร้อมกันอัญเชิญเอาพระยาปากห้วยหลวง พระราชบุตรพระเจ้าสามแสนไทขึ้นครองราชสมบัติได้ ๕ เดือนก็เสด็จถึงแก่ พิราไลย ในปีมแมนพศกนั้น แล้วเสนาพฤฒามาตย์จึงอัญเชิญเอา พระยาหมื่นไชยพระราชบุตรของพระเจ้าสามแสนไท ขึ้นครองราชสมบัติได้ ๔ เดือนกับ ๒๐ วันก็เสด็จถึงแก่พิราไลย ? ลุศักราช ๗๙๐ ( พ.ศ. ๑๙๗๑ ) ปีวอกสัมฤทธิศก เสนาพฤฒามาตย์ จึงพร้อมกันอัญเชิญท้าวฟ้าไค พระราชนัดดาของ พระเจ้าล้านคำแดงขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตอยู่ในราชสมบัติได้ ๘ ปี ก็เสด็จถึงแก่พิราไลย ? ลุศักราช ๗๙๘ ( พ.ศ. ๑๙๗๙ ) ปีมโรงอัฐศก จึงสมณะ พราหมณาจารย์ เสนาพฤฒามาตย์อัญเชิญท้าวเชียงสาพระราช


๑๗ นัดดาของพระเจ้าสามแสนไทขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต อยู่ในราชสมบัติ ๗ เดือน ก็เสด็จถึงแก่พิราไลยใน ปีมโรงอัฐศกนั้น เสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวง จึงอัญเชิญท้าวยู่ครอง พระราชบุตรของพระเจ้าล้านคำแดงขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต อยู่ในราชสมบัติ ๘ เดือนก็เสด็จถึงแก่พิราไลย ? ลุศักราช ๗๙๙ ( พ.ศ. ๑๙๘๐ ) ปีมเสงนพศก เสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิต จึงพร้อมกันอัญเชิญเอาพระยาคำเกิด พระราชนัดดาของพระเจ้าสามแสนไทขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต อยู่ในราชสมบัติ ๓ ปี ก็เสด็จถึงแก่พิราไลย ? ลุศักราช ๘๐๒ ( พ.ศ. ๑๙๘๓ ) ปีวอกโทศก สมณะ พราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวง จึงพร้อมกันอัญเชิญเอา ท้าวฦๅไชย อันเปนพระราชบุตรของพระเจ้าสามแสนไทขึ้นครอง ราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายพระนาม พระยา ไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว ท้าวลอพระเจ้าน้องเธอ ให้เปนมหาอุปราช ฝ่ายน่า แล้วพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว จึง ทรงแต่งเสนาพฤฒามาตย์ ผู้สมควรแก่ราชการพร้อมไปด้วยยศศักดิบริวาร ให้ไปบูชาเชิญพระบางแห่ขึ้นมาแต่เมืองเวียงคำ ครั้นมา ถึงแก่งจันใต้เมืองเชียงคาน เรือที่รับพระบางมานั้นบังเอินให้ล่ม ที่แก่งจัน พระบางก็พลัดตกจมอยู่ในน้ำ บรรดาคนที่แห่พระบาง ขึ้นไปนั้นก็มิได้เปนอันตราย จึงพร้อมกันนำเอาอาการขึ้นไปกราบ ๓


๑๘ บังคมทูลพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทรงทราบแล้ว ก็ทรงพระโทมนัศเสียพระไทยเปนอันมาก แต่พระบางที่จมอยู่ในน้ำนั้น เดชะบุญญา นุภาพของพระบาง เทพยเจ้าทั้งปวงอัญเชิญเอาพระบางขึ้นจากน้ำ คืนไปไว้พระวิหารเมืองเวียงคำตามเดิม ? ครั้นลุศักราช ๘๓๘ ( พ.ศ. ๒๐๑๙ ) ปีวอกอัฐศก บัวขวางชุน แลเนิกองค์ ยกเอากองทัพญวนมาตีกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ร่มขาว กำหนดพลทหารญวนห้าร้อยห้าสิบหมื่น พระเจ้ากรุงศรีสัตนา คนหุตแลเจ้าอุปราชก็เกณฑ์พลทหารออกต่อรบเปนสามารถ บัวขวางชุนแลเนิกองค์แม่ทัพญวนเข้าปล้นเอาเมือง รบกันจนถึงอาวุธสั้น พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเห็นว่าทัพญวนมีกำลังมากนัก ก็เลิกอพยพครอบครัวเสด็จลงเรือพระที่นั่งล่องลงมาพักอยู่เมืองเชียงคาน แต่เจ้าอุปราชนั้นทรงช้างเผือก กอบไปด้วยทหารเอก ๔ คน ชื่อท้าวนรสิงห์ ๑ ท้าวนรสาร ๑ ท้าวนรเคร ๑ ท้าวนรนารายน์ ๑ แต่ทหารเอก ๔ คนนี้ มีกำลังกระโดดขึ้นได้ถึง ๘ ศอก รบญวนในกลางเมืองถึงตลุมบอนพลทหารกองทัพญวนล้มตายเปนอันมาก แต่เจ้าอุปราชทรงเห็นทหารเหน็ดเหนื่อยนัก ก็เสด็จลงจากฅอช้าง ลงเรือพระที่นั่งจะข้ามน้ำโขง มาฟากฝั่งตวันตก เรือพระที่นั่งล่มในกลางแม่น้ำโขง เจ้าอุปราช ก็ถึงแก่อสัญกรรมไปในกลางน้ำ ช้างเผือกก็ตายลอยน้ำไปด้วยกัน แล้วบัวขวางชุนแลเนิกองค์แม่ทัพญวน ยกพลทหารติดตามพระเจ้า กรุงศรีสัตนาคนหุตลงมาถึงปากแม่น้ำพูล พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว จึงแต่งให้ท้าวแท่งคำอันเปนพระราชโอรส


๑๙ ยกกองทัพขึ้นไปตีบัวขวางชุนแลเนิกองค์ที่ปากน้ำพูล กองทัพญวน ทนฝีมือมิได้ก็แตกกระจัดพลัดพรายหนีไป ครั้งนั้นพลทหารกองทัพญวนล้มตายเปนอันมาก บัวขวางชุนแลเนิกองค์ตรวจดูพลทหาร ที่ยกมายังเหลืออยู่แต่ห้าสิบหมื่น บัวขวางชุนแลเนิกองค์ก็พากันตกใจจึงรีบเร่งกองทัพกลับคืนไป ครั้นเดินทัพไปถึงแว่นแคว้นแดนเมือง บัวชุม บังเอินให้ฟ้าฝ่ากองทัพบัวขวางชุนแลเนิกองค์ล้มตายเปน เอนกอนันต์ เหตุนี้เพราะพระเจ้าบัวชุมมิได้ตั้งอยู่ในยุติธรรมตาม บุราณราชประเพณี ขุนบรมราชาทรงแช่งไว้แต่ก่อนนั้น จึงบังเอินให้เกิดพินาศฉิบหายต้องด้วยความแช่ง แต่พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วครองราชสมบัติได้ ๓๗ ปี พระชนม์ ๖๕ ก็เสด็จถึงแก่พิราไลยกับ เมืองเชียงคาน ? ลุศักราช ๘๓๙ ( พ.ศ. ๒๐๒๐ ) ปีรกานพศก ท้าวแท่งคำ ที่เปนพระราชโอรส แลเสนาพฤฒามาตย์ราษฎรกรุงศรีสัตนาคนหุต แลเมืองเชียงคานก็พร้อมกันปลงพระศพตามสมควร อันเปนพระเจ้าแผ่นดินเอกเทศ ท้าวแท่งคำทรงศรัทธาสร้างพระเจดีย์องค์หนึ่ง พระวิหารหลังหนึ่ง กับรูปพระพุทธปฏิมากรเสร็จแล้ว ก็เอาพระอัฐิของพระราชบิดาเข้าฐาปนาประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์ จึงเรียกวัดศพเชียงคานตราบเท่าบัดนี้ ท้าวแท่งคำจึงเลิกอพยพกวาดเอาตระกูล ราชวงนุวงษ์ แลราษฎรทั้งปวงขึ้นไปตั้งกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ร่มขาวตามเดิม จึงสมณะพราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ราช ๒ ที่เรียกเมืองบัวชุม หมายว่าเมืองญวนนั้นเอง


๒๐ บัณฑิตย์ พร้อมกันราชาภิเศกท้าวแท่งคำให้ขึ้นเสวยราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายพระนาม พระยาสุวรรณบัลลังก์ ครองราชสมบัติได้ ๑๒ ปี พระชนม์ได้ ๔๑ ก็เสด็จถึงพิราไลย ? ลุศักราช ๘๕๑ ( พ.ศ. ๒๐๓๒ ) ปีรกาเอกศก สมณะ พราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ จึงพร้อมกันอัญเชิญเอาท้าวหล้าแสนใต้ ผู้เปนพระราชอนุชาของพระยาไชยจักพรรดิแผ่นแผ้ว ขึ้น เสวยราชสมบัติเปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายพระนาม พระยาหล้าน้ำแสนไทไตรภูวนารถ ครั้นพระองค์ครองราชสมบัติอยู่แล้ว พระองค์จึงทรงแต่งให้เสนาพฤฒามาตย์ราษฎร ลงไปสักการบูชาเชิญแห่เอาพระบางเมืองเวียงคำ ขึ้นไปไว้วัดเชียงกลางในกรุงศรีสัตนาคนหุต พระยาหล้าน้ำแสนไท ทรงพระศรัทธาสร้างพระวิหารหลังหนึ่งชื่อว่า วัดมโนรมยศรัทธาราม แล้วจึงเชิญเอาพระบางขึ้นไปไว้ในวัดมโนรมย์ พระยาหล้าน้ำแสนไทครองราชสมบัติได้ ๑๔ ปี พระชนม์ ๓๓ ก็เสด็จถึงแก่พิราไลย ? ลุศักราช ๘๖๕ ( พ.ศ. ๒๐๔๖ ) ปีกุญเบญจศก สมณะ พราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ จึงอัญเชิญเอาท้าวชมภูราชกุมาร ผู้เปนพระราชโอรสของพระยาหล้าน้ำแสนไทครองราชสมบัติ ในกรุงศรีสัตนาคนหุตได้ ๔ ปี พระชนม์ได้ ๑๔ ก็ถึงแก่พิราไลย ? ลุศักราช ๘๗๙ ( พ.ศ. ๒๐๖๐ ) ปีเถาะนพศก สมณะ พราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ จึงพร้อมกันราชาภิเศกท้าวภูไภ ราชกุมาร อันเปนพระราชโอรสของพระยาไชยจักพรรดิแผ่นแผ้ว


๒๑ ขึ้นเสวยราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายพระนามพระยาวิชุณราชธิปัติ วันเมื่อราชาภิเศกนั้น เกิดมหัศจรรย์ในพื้น ปัตุลาอากาศ มีแสงฟ้าแลบรุ่งเรืองสำแดงรัศมีต่าง ๆ เพราะเดชา นุภาพของพระองค์ได้สร้างพระบารมีมาแต่ปางก่อน จึงเกิดมหัศจรรย์ดังนั้น เมื่อพระยาวิชุณราชได้ครองราชสมบัติ จึงทรงพระศรัทธา สร้างพระอุโบสถหลังหนึ่งกว้างขวางใหญ่โตเปนที่รโหฐาน ครั้นสำเร็จแล้วจึงอัญเชิญเอาพระบางเข้าไว้ในพระอุโบสถวัดวิชุณราชศรัทธารามเปนที่สักการบูชาปรากฎแก่หัวเมืองนานาประเทศ พระองค์มี พระราชโอรสองค์หนึ่งทรงพระนาม พระโพธิสารกุมาร พระยา วิชุณราชครองราชสมบัติได้ ๒๓ ปี พระชนม์ ๕๓ ก็เสด็จถึงแก่ พิราไลย ? ลุศักราช ๙๐๒ ( พ.ศ. ๒๐๘๓ ) ปีชวดโทศก สมณพราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ จึงพร้อมกันอัญเชิญเอาท้าวโพธิสารกุมารอันเปนพระราชโอรสของพระยาวิชุณราชขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้า กรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายพระนาม พระยาโพธิสาระมหาธรรมิกราชา ธิราช พระองค์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม มีบุญญานุภาพเปนอันมากพระแซกคำสถิตย์อยู่ในพระวิหารเมืองเชียงใหม่ ก็เสด็จไปสู่พระบรม โพธิสมภาร เสด็จเข้าสถิตย์อยู่ในพระมหาอุโบสถวัดวิชุณราช ศรัทธารามที่พระบางอยู่นั้น พระยามหาพรหมราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ทราบว่าพระแซกคำหายไป ไม่ทราบว่าจะเสด็จไปอยู่แห่งใด พระยา



๒๒ พรหมราชจึงทรงแต่งให้คนไปเที่ยวหาพระพุทธรูป ตามหัวเมืองนานาประเทศพวกละ ๒๐ คน ครั้นไปถึงกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว จึงเห็นพระแซกคำสถิตย์อยู่ในวัดวิชุณราชศรัทธาราม คนใช้เมืองเชียงใหม่ ๒๐ คนนั้น สังเกตแม่นมั่นในสันดานด้วยกันทุกคนแล้ว พอเวลาค่ำดึกประมาณ ๓ ยาม ก็พร้อมกันเอาเลื่อยตัดน่าต่างเข้าไปยกเอาพระลงจากแท่น พระแซกคำกระทำปาฏิหารเปนมหัศจรรย์ ต่าง ๆ บรรดาเลขวัดที่นอนรักษาอยู่นั้นรู้สึกขึ้น ก็พร้อมกันจับเอาพวกเมืองเชียงใหม่ได้ทั้ง ๒๐ คน จองจำตามธรรมเนียมโทษแล้ว ก็เข้าไปเฝ้ากราบทูลตามสาเหตุ พระยาโพธิสารราชทรงทราบแล้ว ก็ตรัสว่า คนเมืองเชียงใหม่ ๒๐ คนนี้มากระทำการประมาทไม่มี ความยำเกรง เราก็เปนพระเจ้าเอกเทศ คนพวกนี้มีโทษอันหนัก ควรเราจะประหารชีวิตร แต่ว่าเราจะยกโทษให้สักครั้งหนึ่งปล่อย ให้ไป เพราะเราเห็นแก่พระยามหาพรหมราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ แต่พระพุทธรูปนั้นเราจะเอาไว้ไหว้สักการบูชา ด้วยเรามิได้ไปลักเอามานี่หากเปนบุญญาธิการหนหลังของเราค้ำชูอุดหนุน พระพุทธรูปจึงเสด็จมาโปรดเราแลราษฎรทั้งปวงได้ไหว้สักการบูชา แล้วพระองค์จึงมี รับสั่งให้ปล่อยคนโทษ ๒๐ คนนั้นกลับคืนไป ครั้นไปถึงเมืองเชียงใหม่พร้อมกันเข้าเฝ้ากราบทูลเจ้าเชียงใหม่ แจ้งความตามคดีทุกประการพระยามหาพรหมราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ทรงทราบแล้ว ก็มีความสรรเสริญถึงพระยาโพธิสารราช พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีสัตนาคนหุต


๒๓ ล้านช้างร่มขาว ว่าพระยาโพธิสารราชองค์นี้ตั้งอยู่ในยุติธรรม อุส่าห์ทรงเมตตาถึงกับเราผู้กระทำผิด พระคุณนั้นไม่มีที่เปรียบได้ ควรเรา ยกเอาพระราชธิดาไปถวายจึงสมควรแก่คุณ พระยามหาพรหมราช เจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงแต่งเสนาผู้ใหญ่แสนท้าวพระยาลาวทั้งปวง แห่เอานางยอดคำอันเปนพระราชธิดา ไปถวายพระยาโพธิสารราชพระเจ้า กรุงศรีสัตนาคนหุตให้เปนอรรคมเหษี พระยาโพธิสารราชก็สมัค สังวาศอยู่ด้วยนางยอดคำ เกิดพระราชโอรส ๓ องค์ ทรงพระนามเชษฐวงษาราชกุมารองค์ ๑ เจ้าท่าเรือองค์ ๑ เจ้าวรวังโสองค์ ๑ มีพระราชธิดา ๓ องค์ ทรงพระนามนางแก้วกุมารีองค์ ๑ นางคำเล่าองค์ ๑ นางคำใบองค์ ๑ ? ครั้นลุศักราช ๙๑๕ ( พ.ศ. ๒๐๙๖ ) ปีฉลูเบญจศก พระยามหาพรหมราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ก็ถึงแก่พิราไลย เสนาบดีเมืองเชียงใหม่จึงนำเอาอาการไปกราบบังคมทูล พระยาโพธิสารราช พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ทรงพระโทมนัศเสียพระไทย จึงทรงตรัสปราไสต่อราชทูตานุทูต ตามประเพณีขัติยบุราณราชกระษัตริย์ราชทูตเมืองเชียงใหม่จึงพร้อมกันกราบบังคมทูล ขอเอาเจ้าเชษฐวงษาราชกุมารไปครองราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากรุงศรีสัตนา คนหุตก็ยกให้ ครั้นได้วันไชยมงคลนักขัตฤกษ์วันดี พระเจ้ากรุงศรี สัตนาคนหุต ก็พาเอาเจ้าเชษฐวงษาอันเปนพระราชโอรส แลเสนา ๓ ในพงษาวดารเชียงใหม่ ว่าพระเจ้าตาขอไปเลี้ยงไว้เชียงใหม่แต่เล็ก จึงได้ครองเมืองเชียงใหม่


๒๔ พฤฒามาตย์ พร้อมด้วยยศศักดิบริวารแห่ตามเสด็จพระราชดำเนิน ขึ้นไป ครั้นถึงเมืองเชียงใหม่แล้วก็ประชุมพร้อมกันไปด้วยสมณะ พราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวง ราชาภิเศกเจ้าเชษฐวงษา ถวายพระนามพระยาไชยเชษฐาธิราช เสวยราชย์ในเมืองรัตนตึงษาอภินวพิงคบุรีศรีเชียงใหม่ ครั้นเสร็จการราชาภิเศกพระราชโอรสแล้ว พระยาโพธิสารราช พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนมาครองราชสมบัติอยู่ตามเดิม พระยาโพธิสารราชอยู่ในราชสมบัติได้ ๒๘ ปี พระชนม์ ๔๒ ก็เสด็จถึงแก่พิราไลย ? ลุศักราช ๙๐๙ ( พ.ศ. ๒๐๙๐ ) ปีมแม เสนาพฤฒามาตย์จึงนำ เอาอาการขึ้นไปกราบบังคมทูลพระยาไชยเชษฐาธิราช พระเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงใหม่ทรงทราบ ก็ทรงพระกรรแสงเศร้าโศกเสียพระไทย เปนอันมาก จึงทรงตรัสสั่งจัตุรงคเสนา ว่าเราจะไปครอบครองกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวแทนพระราชบิดาของเรา จงเร่งจัดไพร่พลโยธาแห่ตามเสด็จโดยขบวน ให้สมควรแก่เราผู้เปนเจ้าเอกเทศ พระยาไชยเชษฐาธิราชอยู่ในราชสมบัติเมืองเชียงใหม่ ๑๕ ปี ก็เสด็จพระราชดำเนินคืนมา ครอบครองกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบางแทนพระราชบิดา เมื่อปีวอกจุลศักราช ๙๑๐ พ.ศ. ๒๐๙๑ ( แลครั้งนั้นเชิญพระแก้วมรกฏมาจากเมืองเชียงใหม่ด้วย ) ๔ ในพงษาวดารล้านช้างว่า ท้าวโพธิสารพิราไลย ปีมแมจุลศักราช ๙๐๙


๒๕ ? พระยาไชยเชษฐาธิราชครองราชสมบัติอยู่ ๖ ปี แล้วพาเอาไพร่พลเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปครองราชสมบัติอยู่ในเมืองเชียงแสน ๙ ปี ก็เสด็จกลับคืนมาครองราชสมบัติกรุงศรีสัตนาคนหุตอยู่ ๒ ปี พระองค์ก็เวนเมืองให้สมเด็จเจ้าราชาคณะทั้งปวง แล้วทรงสั่งให้ เสนาพฤฒามาตย์ผู้สมควรให้อยู่ประจำรักษาเมือง พระยาไชยเชษฐา ธิราชก็อัญเชิญพระแก้วมรกฏ พระแซกคำ อพยพกวาดเอาเจ้านายบุตรหลานตระกูลราชวงษานุวงษ์ เสด็จพระราชดำเนินลงไปสร้าง เมืองเวียงจันทบุรี (เหตุที่พระยาไชยเชษฐาย้ายพระนครที่กล่าวตอนนี้ ในพงษาวดาร เมืองเชียงใหม่ว่า เดิมเมื่อพระยาไชยเชษฐากลับไปครองกรุงศรี สัตนาคนหุตนั้น จะครองทั้งประเทศลานนาเชียงใหม่ด้วย แต่พวก ท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่ไม่ยอมเปนเมืองขึ้นศรีสัตนาคนหุต จึง ไปเชิญเจ้าเมกุติจากเมืองนายมาครองเมืองเชียงใหม่ พระยา ไชยเชษฐาไปตั้งอยู่เมืองเชียงแสนนั้นไปทำสงคราม เพื่อจะเอาเมืองเชียงใหม่คืน แต่ไม่ชนะพวกเมืองเชียงใหม่ ประจวบเวลาพระเจ้า หงษาวดีมีอำนาจขึ้นทางเมืองพม่า พระยาไชยเชษฐาเห็นว่าถ้ามีศึกสงครามมาติดกรุงศรีสัตนาคนหุต จะเอาเมืองหลวงพระบางซึ่งเปนราชธานีเดิมเปนที่ตั้งต่อสู้ไม่มั่นคง จึงย้ายลงมาตั้งเมืองเวียงจันท์ เปนราชธานีของกรุงศรีสัตนาคนหุต ) ๔


๒๖ ? ลุศักราช ๙๒๖ ( พ.ศ. ๒๑๐๗ ) ปีชวด เมืองเวียงจันท์จึงมีนาม ชื่อว่า จันทบุรีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว แต่พระบางนั้นพระไชย เชษฐาธิราชมิได้เอาลงไปเมืองเวียงจันท์ เอาไว้ในพระมหาอุโบสถ วัดวิชุณราชศรัทธาราม ( ภายหลัง ) จึงเติมนามขึ้นว่า กรุงศรีสัตนา คนหุต อุตมรัตนบุรีรมย์ พรหมจักรพรรดิศรีมหานครราชธานี ล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง พระยาไชยเชษฐาธิราชครองราชสมบัติเมือง เวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุต พระองค์ก็ทรงทศพิธราชธรรมมา จึงทรงพระศรัทธาเอาอิฐปูนก่อหุ้มพระเจดีย์ ( ที่บรรจุ ) พระบรมธาตุของศรีธรรมมาโศกราช แล้วก็เอาทรัพย์สิ่งของทองเงินทั้งปวงเข้าประดิษฐาน ฐาปนาไว้เปนที่นมัสการบูชาปรากฎแก่หัวเมืองนานาประเทศ ? พระยาไชยเชษฐาธิราช ได้พระมเหษีพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียง ใหม่องค์ ๑ พระราชธิดาพระเจ้ากรุงอยุทธยา ๒ องค์ พระราชธิดาพระเจ้าหงษาวดีองค์ ๑ ได้พระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงรุ้ง ๒ องค์ ได้พระราชธิดาเจ้าเมืองเขมรองค์ ๑ บุตรเสนาผู้ใหญ่เมืองญวน ๓ คน ? ครั้นลุศักราช ๙๒๖ ( พ.ศ. ๒๑๐๗ ) ปีชวด พระเจ้าหงษาวดีคุมกองทัพพม่ายกมาตีเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่ทนฝีมือมิได้ ก็แตกกระจัดพลัดพรายหนีไป พระยาสามล้าน พระยาจ่าบ้านก็อพยพกวาดไพร่พลหนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระไชยเชษฐาธิราช พระ เจ้าหงษาวดีจึงแต่งให้อิมมาเล ( คือพระมหาอุปราชา ) พระราชโอรส ๕ คือพระธาตุพนม ที่เมืองนครพนม



๒๗ กับพระยาอังวะผู้เปนพระราชอนุชา คุมกองทัพยกตามพระยาสามล้าน พระยาจ่าบ้านตีเข้ามาจนถึงกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันท์ จับได้เจ้ามหาอุปราช กับพระเจ้าน้องนางเธอของพระยาไชยเชษฐาธิราช ๒ องค์ นางแท่งคำองค์ ๑ กับทั้งมารดานางแท่งคำองค์ ๑ รับขึ้นไปเมืองหงษาวดี ? ลุศักราช ๙๓๐ ( พ.ศ. ๒๑๑๑ ) ปีมโรง พระเจ้าหงษาวดีซ้ำยกกอง ทัพพม่าลงมาตีเมืองเวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอิก พระไชยเชษฐา ธิราชจึงอพยพกวาดเอาไพร่พลหนีลงไปตั้งค่ายอยู่ปากน้ำงืม พระเจ้าหงษาวดี ยกกองทัพตามลงไปล้อมตีค่ายปากน้ำงืมได้รบกันเปนสามารถ เดชะบุญญานุภาพพระไชยเชษฐาธิราช ค่ายนั้นไม่เปนอันตราย พม่าก็เหลือปัญญาที่จะรบพุ่ง ก็พากันเลิกทัพกลับคืนไปเมืองหงษาวดีพระไชยเชษฐาธิราช ก็กวาดเอาครอบครัวคืนมาอยู่เมืองเวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตตามเดิม แต่พระไชยเชษฐาธิราชได้เปนพระเจ้าแผ่นดินครองราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ ๑๕ ปี ครองราชสมบัติในเมืองล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ๗ ปี ครองราชสมบัติเมืองเชียงแสน ๙ เดือน อยู่ในราชสมบัติเมืองเวียงจันทบุรี ๑๒ ปี ครั้นถึงพระชนม์ ๕๖ ปี ก็พาเอาข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท เสด็จพระราชดำเนินออกไปพิพาศป่าพระองค์ก็เลยหายไปในกลางป่า พวกข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทก็ พากันเที่ยวค้นหาไม่พบ ก็พากันกลับเข้าเมืองเวียงจันท์ ? ลุศักราช ๙๓๓ ( พ.ศ. ๒๑๑๔ ) ปีมแม พระราชบุตรของพระไชยเชษฐาธิราชองค์ ๑ ชื่อพระหน่อแก้วยังทรงพระเยาว์อยู่ แล้วมีเสนาบดี


๒๘ ๒ คน ๆ หนึ่งชื่อ พระยาแสนสุรินทรขว้างฟ้า คนหนึ่งชื่อ พระยาจันทสิงหราช เสนาทั้งสองก็แย่งกันเอาพระหน่อแก้วราชกุมารองค์นี้ ไปเลี้ยง ก็เกิดความวิวาทรบพุ่งกันขึ้น พระยาแสนสุรินทรขว้างฟ้าฆ่าพระยาจันทสิงหราชถึงแก่กรรมบนฅอช้าง ? ลุศักราช ๙๓๕ ( พ.ศ. ๒๑๑๖ ) ปีระกา เสนาพฤฒามาตย์ราษฎรทั้งปวง จึงเอาพระยาแสนสุรินทรขว้างฟ้าขึ้นครองราชสมบัติ มีพระนามชื่อว่า พระมังคลโพธิสาระราชาประเทศ พระเจ้าปู่หลานพระยาแสนสุรินทรขว้างฟ้าครองราชสมบัติในเมืองเวียงจันทบุรีได้ ๓ ปี ? ลุศักราช ๙๓๗ ( พ.ศ. ๒๑๑๘ ) ปีกุญ พระเจ้าหงษาวดียกกอง ทัพมาตีเมืองเวียงจันทบุรี ครั้งนั้นไพร่ราษฎรล้มตายเปนอันมากพม่าจับ ได้พระยาแสนสุรินทรขว้างฟ้าขึ้นไปไว้เมืองหงษาวดี พระเจ้าหงษาวดีจึงให้เจ้ามหาอุปราชของพระยาไชยเชษฐาธิราช ซึ่งได้ขึ้นไปครั้งก่อน นั้น ลงมาครองราชสมบัติในเมืองเวียงจันทบุรี ศรีสัตนาคนหุต ? ลุศักราช ๙๔๑ ( พ.ศ. ๒๑๒๒ ) ปีเถาะ มีคน ๆ หนึ่งมากล่าวเปนกลอุบายสำแดงตัวว่า เปนพระไชยเชษฐาธิราช มาคิดเกลี้ย กล่อมเอาผู้คนหัวเมืองได้หลายเมือง แล้วก็ยกเปนกองทัพตีเข้า มาถึงเมืองมั้นคำทอง มหาอุปราชองค์เปนพระเจ้าแผ่นดินเมือง เวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุต จึงให้พระยาเชียงใต้ พระยา เชียงเหนือ พระสักรนคร แสนท้าวพระยาลาวทั้งปวง คุมกองทัพยกไปตีชาวแอกกระบือ รบกันเปนสามารถ ทนฝีมือชาวแอกกระบือ มิได้ ก็พากันแตกกระจัดกระจายหนีเข้ามาเมืองเวียงจันทบุรี ชาย


๒๙ อุบายคนนั้นก็คุมกองทัพชาวแอกกระบือแลเมืองมั้นคำทอง ยกเข้ามาตั้งณเมืองนครพนม แล้วก็ยกเข้ามาตีเมืองเวียงจันทบุรี ได้ทำ สงครามต่อกันเปนสามารถ พลทหารเมืองเวียงจันท์ทนฝีมือชาว แอกกระบือมิได้ ก็แตกกระจัดพลัดพรายต่างคนต่างหนี พระเจ้า กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันท์ พาเอาพระราชธิดาทั้งสองลง เรือพระที่นั่งขึ้นไปถึงแก่งแห่ง ๑ เรือพระที่นั่งล่ม พระเจ้าเมืองเวียงจันท์กับพระราชธิดาทั้งสอง ก็ถึงแก่พิราไลยไปในน้ำ ? ลุศักราช ๙๔๒ ( พ.ศ. ๒๑๒๓ ) ปีชวด กิติศัพท์ทราบขึ้นไปถึงเมืองหงษาวดี พระมหาอุปราชาหงษาวดี จึงตั้งพระยา แสนสุรินทรขว้างฟ้าขึ้นเปนเจ้าเมืองเวียงจันทบุรี ศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างร่มขาว แล้วคืนครอบครัวเมืองล้านช้างเวียงจันทบุรีซึ่ง พระเจ้าหงษาวดีได้ขึ้นไปครั้งก่อนนั้น กลับลงมาตั้งเมืองเวียงจันท์ ตามเดิม ? ครั้นลุศักราช ๙๔๔ ( พ.ศ. ๒๑๒๕ ) ปีมเมีย พระยาแสน สุรินทรขว้างฟ้าถึงแก่กรรมไป เสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวง จึงเอา พระยานครน้อยบุตรพระยาแสนสุรินทรขว้างฟ้าขึ้นครองราชสมบัติ ไม่ตั้งอยู่ในยุติธรรม เสนาบดีทั้งปวงจึงพร้อมกันให้ขึ้นไปกราบทูลพระเจ้าหงษาวดี ๆ ทรงทราบแล้ว จึงให้พม่าลงมากุมเอาตัวพระยานครน้อยขึ้นไปไว้เมืองหงษาวดี


๓๐ ? ลุศักราช ๙๔๕ ( พ.ศ. ๒๑๒๖ ) ปีมแม เมืองเวียงจันทบุรีศรีสัตนาหุตก็ว่างเปล่าอยู่ได้ ๘ ปี ไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน ? ครั้นลุศักราช ๙๔๖ ( พ.ศ. ๒๑๒๗ ) ปีวอก สมเด็จเจ้าราชาคณะทั้งปวงจึงพร้อมกันขึ้นไปถวายพระพรพระเจ้าหงษาวดีอิมมาเล ขอ เอาพระหน่อแก้ว อันเปนพระราชบุตรของพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต พระยาไชยเชษฐาธิราช พระเจ้าหงษาวดีก็โปรดพระราชทานให้ จึง ทรงตั้งพระหน่อแก้วให้เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันท์ แล้วให้สมเด็จเจ้าราชาคณะทั้งปวงพาลงมาครองราชสมบัติเปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันท์ พระหน่อแก้วครองราชสมบัติเมืองเวียงจันท์ได้ ๕ ปี พระชนม์ ๒๖ ก็ถึงแก่พิราไลย ? ลุศักราช ๙๗๑ ( พ.ศ. ๒๑๕๒ ) ปีระกา เสนาบดีทั้งปวงจึงเอาพระธรรมิกราชกุมารบุตรของน้าพระหน่อแก้ว ในตระกูลพระยา ไชยเชษฐาธิราชขึ้นครองราชสมบัติ มีพระราชบุตร ๒ องค์ ทรง พระนาม พระอุปยุองค์ ๑ พระหม่อมแก้วองค์ ๑ พระธรรมิกราช ครองราชสมบัติได้ ๒๖ ปีก็เสด็จถึงแก่พิราไลย แต่พระชนม์เท่าใด มิได้ปรากฎ เสนาบดีจึงเอาพระกระษัตริย์ ในตระกูลพระราชวงษาขึ้นครองราชสมบัติสืบ ๆ กันมาโดยลำดับ ๔ พระองค์มิได้ปรากฎพระนาม ( ตรงนี้ ฉบับที่ได้มาแปลเห็นจะบกพร่อง ในพงษาวดารล้านช้าง ฉบับหอพระสมุดว่า พระธรรมิกราชมีราชโอรสชื่อพระอุปยุวราช พ่อลูกครองเมืองด้วยกัน )

๖ บางฉบับเรียก พระหน่อเมือ


๓๑ ? ลุศักราช ๙๘๓ ( พ.ศ. ๒๑๖๔ ) ปีระกา มีคนส่อเสียดให้พระ ธรรมิกราชกับพระอุปยุวราชผู้เปนราชโอรสแตกกัน เกิดรบกันขึ้น พระอุปยุวราชได้ครองเมืองเวียงจันท์เมื่อวันอาทิย์เดือน ๔ ขึ้น ค่ำ ๑ ปีจอ ศักราช ๙๘๔ พระธรรมิกราชพิราไลยที่น่าเชียงแคง หม่อมไชย แลพระยานุชิตลูกท้าวทั้งหลายก็ถูกฆ่าตายหมด ? ลุศักราช ๙๘๕ ( พ.ศ. ๒๑๖๖ ) ปีกุญ พระอุปยุวราชพิราไลย เสนาอำมาตย์ทั้งหลาย จึงราชาภิเศกพระยามหานามผู้เปนพระยานคร ขึ้นเปนเจ้าล้านช้าง ถวายพระนามว่า พระบัณฑิตโพธิสาร ? ลุศักราช ๙๘๙ ( พ.ศ. ๒๑๗๐ ) ปีฉลู พระบัณฑิตโพธิสารพิราไลย เสนาอำมาตย์จึงเชิญพระหม่อมแก้วลูกพระธรรมิกราช น้องพระอุปยุวราช ขึ้นเปนเจ้าล้านช้าง เจ้าล้านช้างหม่อมแก้วพิราไลย จึงยกพระอุปยุวราชลูกพระหม่อมแก้วขึ้นเปนเจ้าล้านช้าง ? พระอุปยุกุมารเปนพระราชบุตรของพระหม่อมแก้วได้ ขึ้นเสวย ราชสมบัติเปนพระเจ้าจันทบุรีศรีสัตนาคนหุต มีพระราชบุตร ๒ องค์ พระนามเจ้าตอนคำองค์ ๑ เจ้าวิไชยองค์ ๑ ? พระอุปยุอยู่ในราชสมบัติ ๑๒ ปี ก็ถึงแก่พิราไลย ( ปีเถาะ ศักราช ๑๐๐๑ พ.ศ. ๒๑๘๒ ) พระชนม์เท่าไรมิได้ปรากฎ แล้วเจ้าตอนคำ ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ เปนพระเจ้าจันทบุรีศรีสัตนาคนหุต มีพระราช บุตร ๓ องค์ ทรงพระนาม เจ้าชมภูองค์ ๑ เจ้าบุญชูองค์ ๑ เจ้าสุริย องค์ ๑เจ้าวิไชยผู้เปนอนุชามีพระราชบุตร ๒ องค์ ทรงพระนามเจ้าปู่ องค์ ๑ เจ้าซ้อยองค์ ๑ เจ้าตอนคำครองราชสมบัติได้ ๑๕ ปี พระชนม์เท่าใดมิได้ปรากฎ ถึงแก่พิราไลย


๓๒ ? ( ปีมะเมียศักราช ๑๐๑๖ พ.ศ. ๒๑๙๗ ) เจ้าสุริยราชกุมารลูกเจ้าตอนคำองค์เปนพระอนุชาได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนาม พระยา สุริยวงษาธรรมิกบรมบพิตรสมเด็จพระเจ้าล้านช้างร่มขาว พระองค์ทรงพระวิตกเกรงพระเชษฐาทั้ง ๓ พระองค์จะชิงเอาราชสมบัติ จึงมีรับ สั่งให้เสนาบดีทั้งปวงขับไล่พระเชษฐาทั้ง ๓ พระองค์ หนีจากกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันท์ เจ้าชมภูพาเอาภิริยาคนหนึ่งกับ แสนทิพนาบัวหนีขึ้นไปพึ่งเมืองเวียดนามญวน ก็เกิดบุตรองค์ ๑ ทรงพระนามชื่อพระไชยองค์เวียด เจ้าชมภูก็ถึงแก่อสัญกรรมในเมืองเวียดนามญวน แสนทิพนาบัว จึงเอามารดาของพระไชยองค์เวียดเปน ภิริยาสมัคสังวาศอยู่ด้วยกัน เกิดบุตรคนหนึ่งขื่อท้าวนอง เจ้าบุญชู หนีไปทรงผนวชอยู่ณะเขาภูหอภูโรง เจ้าปุหนีไปอยู่เมืองนครพนม เกิดบุตรคนหนึ่งชื่อเจ้านันทราช เจ้าปุก็ถึงแก่กรรมในเมืองนครพนม ? พระสุริยวงษาครองราชสมบัติเปนพระเจ้าจันทบุรีศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างร่มขาว พระราชอาณาเขตรก็ยังปรกติอยู่ตามเดิม กำหนด ข้างใต้ตั้งแต่แก่งลีผีขึ้นไปข้างเหนือถึงผาบันได ข้างซ้ายพรมแดน ต่อแขวงกรุงศรีอยุทธยา กำหนดเอาแต่ไม้ประดู่สามต้นอ้นสามขอยข้างขวาพรมแดนต่อแขวงเมืองญวน กำหนดเอาต้นสานสามงาน้ำม้าสามแควเปนอาณาเขตร ครั้งนั้นไพร่ราษฎรบ้านเมืองเขตรแดนลาว ก็อยู่ศุขเกษมเปรมปรีดิ์ พระองค์มีพระราชบุตรองค์ ๑ พระราชธิดา ๒ องค์ ทรงพระนามนางกุมารีโรงธรรมองค์ ๑ นางสมังองค์ ๑

๗ ในฉบับอื่นเรียก พระไชยองค์แวบ้าง องค์เว้บ้าง


๓๓ ? ในขณะนั้นฮ่อหัวขาวยกกองทัพมาตีเมืองแฉวนหวีฟ้าสิบสองปัน นาลื้อ เจ้าอินทกุมารกับนางจันทกุมารี สองพี่น้องเปนบุตรเจ้าเมือง แฉวนหวีฟ้า หนีศึกฮ่อหัวขาวพาเอาไพร่พลลงมาพึ่งพระยาสุริยวงษาธรรมิกราช พระเจ้าล้านช้างเวียงจันท์ เจ้าราชบุตรเธอจึงขอเอา นางจันทกุมารีเปนภิริยา สมัคสังวาศอยู่ด้วยกันเกิดบุตร ๒ องค์ ชื่อเจ้ากิงกิศราชองค์ ๑ เจ้าอินทโสมองค์ ๑ เจ้าราชบุตรผู้เปนบิดากระทำมิจฉาจารกับภิริยาท้าวโกมหาดเล็ก พระยาสุริยวงษาธรรมิก ราชพระเจ้าแผ่นดินผู้เปนบิดา มีรับสั่งให้เอาไปสำเร็จโทษเสีย เจ้า อินทกุมารเมืองแฉวนหวีฟ้า มาได้ลูกตระกูลนางลาวคนหนึ่งเปน ภิริยา สมัคสังวาศอยู่ด้วยกันเกิดบุตรองค์ ๑ ชื่อเจ้าองค์นก ? พระยาสุริยวงษาธรรมิกราชอยู่ในราชสมบัติได้ ๕๘ ปี พระชนม์ ๘๓ ก็เสด็จถึงแก่พิราไลย ขณะนั้นพระยาเมืองจันทร์เปนเสนาบดีผู้ใหญ่ เห็นว่าเจ้ากิงกิศราช เจ้าอินทโสม เจ้าองค์นกยังเยาว์อยู่ พระยาเมืองจันทร์ก็เลยชิงเอาราชสมบัติได้เปนเจ้าเมืองเวียงจันท์กิติศัพท์ดังไปถึงเจ้านันทราชบุตรเจ้าปุ อันหนีไปอยู่เมืองนครพนม แต่ก่อนนั้น ได้เปนเจ้าเมืองนครพนม ทราบกิติศัพท์ว่าพระยา เมืองจันทร์ได้ขึ้นครองราชสมบัติเปนเจ้าเมืองเวียงจันทบุรี จึงเกณฑ์ เอากองทัพเมืองนครพนม กับเกลี้ยกล่อมเอาหัวเมืองขึ้นกับเมือง เวียงจันท์ได้หลายเมือง ยกขึ้นมาตีพระยาจันทบุรี ๆ ทนผีมืองกองทัพเจ้านันทราชมิได้ ก็แตกกระจัดกระจายหนีไป เจ้านันทราชจับได้ ๕


๓๔ พระยาจันทบุรีเอาไปประหารชีวิตรเสีย แล้วเจ้านันทราช ก็ขึ้นเสวยราชสมบัติเปนพระเจ้าจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว พระไชยองค์เวียดบุตรเจ้าชมภูที่หนีไปอยู่เมืองเวียดนามแต่ก่อนนั้น ทราบว่า เจ้านันทราชได้ขึ้นครองราชสมบัติ ก็ขอเอากองทัพญวนกับพระเจ้าเวียดนาม ยกลงมาตีเมืองจันทบุรี เจ้านันทราชก็เกณฑ์พลทหาร ออกต่อรบเปนสามารถ ทนฝีมือกองทัพพระไชยองค์เวียดมิได้ ก็แตกกระจัดกระจายหนีไป พระไชยองค์เวียดจับได้เจ้านันทราชรับ สั่งให้เอาไปสำเร็จโทษเสีย พระไชยองค์เวียดขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้าจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ? ฝ่ายเจ้ากิงกิศราชกุมาร เจ้าอินทโสม หลานพระยาสุริยวงษาธรรมิกราชกับเจ้าองค์นก สามองค์พี่น้องก็คิดเกรงกลัวพระไชย องค์เวียดด้วยความพยาบาทปู่มาแต่ก่อน ก็พากันเสด็จหนีไปเมือง แฉวนหวีฟ้าสิบสองปันนา เจ้ากิงกิศราช เจ้าองค์นกเข้าพักอาไศรยอยู่เมืองล่าเมืองพง เจ้าอินทโสมขึ้นไปพำนักอาไศรยอยู่เมืองแผ พระไชยองค์เวียดพระเจ้าแผ่นดินเมืองจันทบุรี จึงให้ท้าวนองผู้เปนอนุชาต่างบิดาขึ้นไปอยู่ประจำรักษาเมืองหลวงพระบาง เจ้ากิงกิศราชกับเจ้า องค์นกก็คิดเกลี้ยกล่อมเอาไพร่พลเมือง ล่าเมืองพงได้พร้อมมือแล้วก็ยกกองทัพลงมาถึงกลางทาง ท้าวนองผู้อยู่รักษาเมืองหลวงพระบาง

๘ เจ้านันทราชนี้ในบางฉบับว่า เจ้านครเมืองน่าน เห็นจะสมจริง ถ้าเปนเจ้าปุเห็นจะแก่นัก


๓๕ ทราบข่าวว่าศึกเจ้ากิงกิศราชยกมา ก็มีใจเกรงกลัวบุญญานุภาพ เปนอันมาก ท้าวนองก็อัญเชิญเอาพระบางหนีลงมาเมืองล้านช้าง เวียงจันท์ จึงสมณะพราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิต พร้อมกันอัญเชิญเอาเจ้ากิงกิศราชขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุง ศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ( อยู่เมืองหลวงพระบาง ) ถวาย พระนาม พระเจ้ากิงกิศรธรรมิกราช แล้วอัญเชิญเอาเจ้าองค์นก พระราชอนุชาขึ้นครองราชสมบัติเปนอุปราชฝ่ายน่า ( กรุงศรีสัตนา คนหุตจึงได้แยก ๒ อาณาเขตร คือเวียงจันท์แลหลวงพระบาง แต่นั้นมา ) ? ลุศักราช ๑๐๖๑ ปีเถาะเอกศก ณวันเดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พระเจ้ากิงกิศรธรรมิกราช พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีสัตนาคนหุตล้าน ช้างร่มขาวหลวงพระบาง พระไชยองค์เวียดพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรี สัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันท์ จึงทรงผูกทางพระราชไมตรีแบ่งปันพระราชอาณาเขตรให้แก่กันแลกัน อาณาเขตรพระเจ้าล้านช้าง เวียงจันท์ น้ำของฝ่ายตวันตก กำหนดเอาปากน้ำเหืองเหนือเมืองเชียงคาน น้ำของฝ่ายตวันออกกำหนดเอาปากน้ำมี้ใต้เมืองเชียงคาน ลงไปถึงเมืองแก่งลีผี เปนพระราชอาณาเขตรของพระเจ้าล้านช้าง เวียงจันท์ อาณาเขตรของพระเจ้าล้านช้างหลวงพระบาง น้ำของฝ่าย ตวันออก กำหนดเอาปากน้ำมี้ ต่อพรมแดนเวียงจันท์ น้ำของฝ่าย

๙ ในพระราชพงษาวดารว่าเมื่อปีกุญจุลศักราช ๑๐๕๗ ถวายราชธิดาแก่สมเด็จพระเพทราชาธิราช ขอกองทัพไทยไปช่วยรบเจ้าหลวงพระบาง มีศุภอักษรกรุงศรีอยุทธยาไปห้าม ทั้ง ๒ ฝ่ายก็เลิกรบพุ่งกัน


๓๖ ตวันตก กำหนดเอาฟากน้ำเหืองพรมแดนเมืองเวียงจันท์ ต่อกันขึ้นไปจนถึงผาบันไดใต้เมืองเชียงของ ฝ่ายซ้ายพรมแดนต่อแขวง กรุงศรีอยุทธยา กำหนดเอาภูเขาไม้ประดู่สามต้นอ้นสามขอยขึ้นไป ฝ่ายขวาพรมแดนต่อแขวงพระเจ้าเวียดนาม กำหนดเอาต้นสารสามงาน้ำน่าสามแคว หัวพันทั้งหกแลสิบสองน่าด่านจุไท เปนพระราชอาณาเขตรของพระเจ้าล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง พระมหากระษัตริย์ ทั้ง ๒ พระองค์แบ่งปันอาณาเขตรให้แก่กันแลกันแล้ว จำเดิมแต่ นั้นมาพระเจ้ากิงกิศราชครองราชสมบัติ บ้านเมืองก็เจริญบริบูรณ์ เปนมโหรฐาน พระองค์มีพระราชธิดา ๓ องค์ ทรงพระนามเจ้า นางแทนสาวองค์ ๑ เจ้านางแทนคำองค์ ๑ เจ้านางอัคชารายคำองค์ ๑ พระเจ้ากิงกิศรธรรมิกราชอยู่ในราชสมบัติได้ ๑๒ ปี ก็เสด็จถึงแก่ พิราไลย พระชนม์เท่าใดมิได้ปรากฎ ? ลุศักราช ๑๐๗๓ ปีเถาะตรีศก เสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิตพร้อมกันอัญเชิญเอาเจ้าอุปราชองค์นกขึ้นครองราชสมบัติ ทรง พระนามสมเด็จพระบรมเชษฐขัตยสุริย พระราชวงษามหาไชยจักรพรรดิภูมินทร์ นรินทาธิปัติราชศักดิ บรมธรรมิกมหาราชาธิราชบรมบพิตรสมเด็จพระเปนเจ้า สถิตย์อยู่เหนือเกล้า ฯ ในอุตมวรวงษ์ขงศรี สัตนาคนหุตรัตนบุรี มหานครราชธานีล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง พระองค์ครองราชสมบัติอยู่ได้ ๑๐ ปี เกิดพระราชบุตร ๑๐ องค์ ? เจ้าอินทโสมคิดเกลี้ยกล่อมเอาไพร่พลในเมืองแผ เมืองล่าเมืองพงได้พร้อมมือแล้ว ก็ยกกองทัพลงมาตั้งอยู่เมืองงอยในน้ำอู่


๓๗ เจ้าองค์นกทราบว่าเจ้าอินทโสมยกกองทัพลงมาดังนั้น จึงปฤกษา ต่อเสนาบดีทั้งปวงว่า ถ้าเราจะคิดเกณฑ์กองทัพขึ้นไปต่อรบป้องกัน ก็คงจะได้ แต่เห็นว่าจะเกิดพินาศฉิบหายแก่ไพร่ราษฎรทั้งสองฝ่าย อิกอย่างหนึ่งก็จะขาดทางไมตรีอันเปนญาติพี่น้องกัน ทรงปฤกษา เห็นดังนี้แล้ว จึงนิมนต์เอาสมเด็จเจ้าราชาคณะทั้งปวงให้ขึ้นไปตั้ง คำสาบาลอัญเชิญเสด็จเอาเจ้าอินทโสมลงมาว่าราชการด้วยกัน เจ้าอินทโสมก็ทรงเชื่อคำสาบาลแล้วก็เสด็จลงมา ครั้นถึงเมืองหลวง พระบาง เจ้าองค์นกเจ้าอินทโสมพร้อมกันเข้าไปสาบาลทำสัตย์ ในพระอุโบสถวัดวิชุณราชศรัทธารามให้แก่กันแลกัน เฉภาะพระภักตร์พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า ครั้นสำเร็จการทำสัตย์แล้ว ก็สิ้นความวิตกทั้งสองพระองค์ ? ครั้นทีหลังมามีพระยาเมืองซ้ายคนหนึ่งคบคิดกับเจ้าอินทโสม เห็นเจ้าองค์นกพระจ้าแผ่นดิน เธอพาเอาพวกมหาดเล็กเสด็จออกไปประพาศป่า ต่อนกเขาที่นานกแขวงบ้านเมืองไทย เจ้าอินทโสมกับพระยาเมืองซ้าย ก็พาเอาพรรคพวกปิดประตูเมืองเสีย แล้วแห่เอาเจ้าอินทโสมขึ้นครองราชสมบัติ เปนพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีสัตนา คนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ครั้นเวลาบ่าย เจ้าองค์นก พระเจ้าแผ่นดินพาเอาพวกมหาดเล็กเสด็จกลับคืนมา ทอดพระเนตรเห็นปิดประตูเมืองเข้าไม่ได้ พระองค์ก็เสด็จขึ้นไปอยู่วัดภูเหมือด จึงทรงแช่งเจ้าอินทโสม ตามความที่ได้สาบาลให้แก่กันมาแต่ก่อนนั้น แลัวจึงตรัสถามพวกมหาดเล็กว่า พระองค์เราจะเสด็จไปเมือง


๓๘ เชียงใหม่ พวกมหาดเล็กข้าหลวงเดิมใครจะไปด้วยเราก็ไป ถ้า ใครไม่ไปคิดถึงบุตรภรรยาจะอยู่ก็ตามใจ ทรงตรัสถามฉนี้ พวกมหาดเล็กแลข้าหลวงเดิมกราบบังคมทูลว่า ขอไปตามเสด็จทั้งสิ้น พระองค์ก็พาเอาพระราชบุตร ๗ องค์กับพวกมหาดเล็กข้าหลวงเดิมเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ ครั้นไปถึงเมืองเหลือก จึงรับสั่งให้พวกมหาดเล็ก ไปตัดเอาไม้เบญมอนต้นหนึ่งใหญ่ประมาณสามกำเศษ มาทอดเปนตะพานแห่งหนึ่ง พระองค์จึงทรงอธิฐานต่อเทพยเจ้าทั้งปวงว่า ถ้าข้าพเจ้ายังจะมีบุญญานุภาพจะได้ครองราชสมบัติ เปนเจ้าแก่เมืองนานาประเทศต่อไปเบื้องน่าแล้ว ข้าพเจ้าไต่ตะพานนี้ขอให้หักลง พระองค์ทรงอธิฐานดังนี้แล้ว ก็เสด็จไต่ตะพาน เดชะบุญญานุภาพของ พระองค์ เทพยเจ้าบันดาลให้ตะพานนั้นหักลง พระองค์จึงทรงผนวชในวัดเมืองเหลือกแล้วก็เสด็จไปเมืองเชียงใหม่ เข้าพำนัก อาไศรยอยู่วัดช้างเผือก ? ขณะนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ถึงแก่พิราไลย มีพระราชบุตรสององค์ พระเจ้าอังวะแต่งกองทัพพม่ายกมาตีล้อมเมืองเชียงใหม่ไว้ หลายชั้น กำหนดทัพพม่าถึงสิบเจ็ดหมื่น เสนาบดีเมืองเชียงใหม่คุมกองทัพออกต่อรบเปนหลายครั้งก็ไม่ชนะฝีมือพม่า หนีกลับเข้ามา ทุกครั้ง เสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวงทราบว่า พระเจ้าแผ่นดินเมืองล้านช้างร่มขาวหลวงพระบางทรงผนวช หนีมาอยู่วัดช้างเผือก จึงพร้อมกันเอาขันทองคำสามใบ จาฤกพระนามเจ้าราชบุตรทั้งสองใส่องค์ละใบ จาฤกพระนามเจ้าองค์นก พระเจ้าแผ่นดินเมืองล้านช้างร่มขาวหลวง


๓๙ พระบางใส่ใบหนึ่ง แล้วเอาลงไปริมแม่น้ำปิง พร้อมกันอธิฐานว่ากระษัตริย์สามพระองค์นี้ ถ้าพระองค์ใดจะมีบุญญาธิการได้ครอง ราชสมบัติเปนเจ้าแก่ไพร่ฟ้าประชาชนทั้งปวง ขอจงบังเอินให้ขันทองคำพระนามองค์นั้นลอยทวนน้ำขึ้นไปข้างเหนือ ถ้าองค์ใดหาบุญญา ธิการมิได้ ขอให้ขันทองคำพระนามองค์นั้นลอยตามน้ำลงไป ข้างใต้ อธิฐานแล้วก็เอาลงลอย ขันพระนามกุมารทั้งสองบุตรเจ้าเมืองเชียงใหม่ก็ลอยล่องลงไปตามแม่น้ำ แต่ขันทองคำพระนามพระเจ้าล้านช้างร่มขาวหลวงพระบางองค์นกนั้น เทพยเจ้าทั้งปวงบันดาลให้ลอยทวนน้ำขึ้นไปข้างเหนือ เสนาพฤฒามาตย์ราษฎรทั้งปวง มี ความโสมนัศยินดีเปนอันมาก จึงพร้อมกันไปนิมนต์เชิญเสด็จลาผนวชอัญเชิญขึ้นครองราชสมบัติเมืองเชียงใหม่พักอยู่ ๗ วัน พระองค์จึง มีรับสั่งให้เสนาบดีเกณฑ์กองทัพออกไปต่อรบพม่าเปนสามารถ พม่าทนผีมือไม่ได้ก็แตกกระจัดพลัดพรายล้มตายเปนอันมาก ครั้นเสร็จ การสงครามแล้ว พระองค์ก็อยู่ครอบครองราชสมบัติบ้านเมือง ก็ อยู่ศุขเกษมเปรมปรีดิ์ พระองค์มีพระราชบุตรกับนางยวงเมืองเชียง ใหม่ ๓ องค์ ชื่อเจ้าตันองค์ ๑ เจ้าวงองค์ ๑ เจ้าติดองค์ ๑ ซึ่งพระราชบุตรทั้ง ๗ พระองค์ที่ตามเสด็จไปแต่เมืองล้านช้างร่มขาวหลวง พระบาง กับพระราชบุตรที่เกิดเมืองเชียงใหม่ทั้ง ๓ นั้น ก็ได้ครองราชสมบัติสืบ ๆ กันมา ? เจ้าอินทโสมครองราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้าน ช้างร่มขาวหลวงพระบางอยู่ได้ ๑๓ ปี เจ้าโนชา เจ้าไชยสาร กับ


๔๐ พระยาเชียงใต้ ท้าวอินทร์น้ำงา ทิดสุวรรณ คบคิดเปนขบถซุ่มผู้คน ไว้ได้ ๘๐๐ เศษ นัดกันว่าณวันเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำจะทำการ ขณะนั้น ข้าทาษพระยาเชียงใต้คนหนึ่งเก็บเอาความที่นัดกันไว้นั้น เข้าไปสำแดงต่อเสนาบดีขึ้นกราบทูลเจ้าอินทโสมให้ทรงทราบ จึงเกณฑ์คนออกจับพวกขบถเหล่านั้น พวกขบถก็ออกต่อรบเปนสามารถ เจ้าโนชา เจ้าไชยสาร พระยาเชียงใต้สู้มิได้ก็แตกกระจัดกระจายหนีไป จับ เจ้าโนชา เจ้าไชยสาร พระยาเชียงใต้ได้ รับสั่งให้เอาไปสำเร็จโทษ เสีย เจ้าอินทโสมครองราชสมบัติเปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต มีพระราชบุตร ๙ องค์ ชื่อเจ้าโชติกะกุมารองค์ ๑ เจ้าอนุรุทธกุมารองค์ ๑ เจ้านาคะกุมารองค์ ๑ เจ้านารัทธกุมารองค์ ๑ เจ้าเชฐวังโสองค์ ๑ เจ้าองค์เอกองค์ ๑ เจ้าสุริยวงษาองค์ ๑ เจ้าสุรวงษาองค์ ๑ เจ้าอินท วงษากุมารองค์ ๑ มีพระราชธิดา ๖ องค์ เจ้านางแก้วรัตนพิมพาองค์ ๑ เจ้านางศรีคำกององค์ ๑ เ จ้านางสุชาดาองค์ ๑ เจ้านางสุธรรมมาองค์ ๑ เจ้านางสุนันทาองค์ ๑ เจ้านางแว่นแก้วสามผิวองค์ ๑ เจ้าอินทโสม อยู่ในราชสมบัติได้ ๒๖ ปี ก็ถึงแก่พิราไลย แต่พระชนม์เท่าใดมิได้ ปรากฎ ? ขณะนั้นพระเจ้าเวียดนาม แต่งให้องเจียวเทียมตาเทียมเจดเปน แม่ทัพ คุมพลทหารญวนยกลงมาตีกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว หลวงพระบาง เสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวงจึงเสี่ยงทายได้เจ้าอินทวงษากุมาร ยกพลทหารออกต่อรบทัพญวน ทัพญวนทนฝีมือมิได้ ก็แตกกระจัดพลัดพรายล้มตายเปนอันมาก จึงเสนาพฤฒามาตย์สมณะ พราหมณาจารย์ทั้งปวง พร้อมกันอัญเชิญเจ้าอินทวงษากุมารขึ้นครอง


๔๑ ราชสมบัติ เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง พระองค์ครองราชสมบัติอยู่ ๘ เดือน พระองค์ก็กลัวโทษานุโทษแก่ พระเชษฐาทั้ง ๘ พระองค์จะคิดกระทำอันตรายเจ้าอินทวงษาก็ยกสมบัติถวายเจ้าโชติกะกุมารองค์เปนพระเชษฐาผู้ใหญ่นั้น แล้วก็ เสด็จไปปลูกโรงอยู่บ้านพันหลวงฟากน้ำคานฝ่ายตวันออก เจ้าโชติกะกุมารจึงขึ้นครองราช เปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่ม ขาวหลวงพระบาง ? ขณะนั้น เมืองเวียงจันท์ลอบมีศุภอักษรขึ้นไปกราบทูลพระเจ้า หงษาวดี เปนใจความว่า ขอเอากองทัพลงมาตีเมืองล้านช้างหลวงพระบาง พระเจ้าหงษาวดีทรงทราบแล้ว จึงแต่งให้โปน่านอเปนแม่ทัพคุมพม่าลงมาตีเมืองล้านช้างหลวงพระบาง พระเจ้าล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ก็เกณฑ์กองทัพออกต่อรบเปนสามารถ แล้วให้คนขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทินป้องกันเมือง ยิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบกันอยู่หลายวัน พม่าจึงเอาบันไดพาดกำแพงเข้าปล้นเอาเมือง จับได้เจ้า สุริยวงษากับไพร่ประมาณสี่ร้อยห้าร้อยคน เอาขึ้นไปถวายพระเจ้า หงษาวดี แต่พระเจ้าล้านช้างร่มขาวหลวงพระบางนั้นจับหาได้ไม่ ครั้นพม่าเลิกทัพกลับไปแล้ว พระเจ้าล้านช้างร่มขาวก็กวาดต้อนเอาเจ้านายบุตรหลานตระกูลพระราชวงษานุวงษ์ไพร่ราษฎรเข้ามาตั้งเมืองอยู่ตามเดิม เจ้าโชติกะกุมารครองราชสมบัติได้ ๑๔ ปี ๖


๔๒ ? ลุศักราช ๑๑๒๕ ( พ.ศ. ๒๓๐๖ ) ปีมแม เจ้าสุริยวงษาองค์ เปนพระราชอนุชาที่พม่าจับขึ้นไปแต่ก่อนนั้น พระเจ้าหงษาวดีใช้ให้ เปนแม่ทัพคุมพม่าขึ้นไปตีหัวเมืองล่าเมืองแม้น เจ้าสุริยวงษาจึงพา เอาไพร่พลเมืองหลวงพระบางที่ขึ้นไปด้วยนั้น หักออกจากพม่าหนีลงมาตั้งอยู่เมืองแถง ? ครั้นลุศักราช ๑๑๒๘ ปีจออัฐศก เจ้าสุริยวงษาจึงมีหนังสือแต่ง ให้คนถือลงมาถึงเสนาบดีขึ้นกราบทูลพระเจ้าโชติกะกุมาร ที่เมืองหลวงพระบางว่า จะขอเข้ามาช่วยทำนุบำรุงราชการ พระเจ้าเมืองหลวงพระบางไม่ให้มา เจ้าสุริยวงษาก็โกรธ จึงเกณฑ์กองทัพตามแว่นแคว้นหัวเมืองได้พร้อมมือแล้วก็ยกลงมา ครั้นมาถึงเมืองหลวงพระบางดึกประมาณสองยามเศษก็เข้าปล้นเอาเมือง พระเจ้าเมืองหลวงพระบางเสนาบดีราษฎรทั้งปวงรู้สึกตัวต่างคนก็ต่างแตกตื่นหนีไป พระเจ้าเมืองหลวงพระบางโชติกะ เจ้าอุปราชอนุรุทธก็อพยพกวาดเอาเจ้านายบุตรหลานหนีลงมาอยู่บ้านน้ำรุ้ง ( น้ำฮุง ) ครั้นสว่างขึ้นเจ้านางศรีคำกององค์เปนพี่หญิงจึงเสด็จมาถามเจ้าสุริยวงษา ผู้น้องว่า เจ้ายกกองทัพเข้ามาครั้งนี้หมายจะมาฆ่าญาติพี่น้องหมดฤๅ ๆ ว่าคิดประการใด เจ้าสุริยวงษาจึงตอบว่า มิใช่จะมาคิดกระทำร้ายแก่เจ้านายญาติพี่น้อง คิดถึงเจ้าพี่เจ้าน้องจึงหนีพม่าลงมา ครั้นมีหนังสือให้คนถือลงมาถึงเสนาบดีให้กราบบังคมทูลทรงทราบแล้วมีหนังสือรับสั่งตัดขึ้นไปว่าไม่ ๑๐ ในบางฉบับเรียกแต่ว่า เจ้าวงษ์


๔๓ ให้ลงมา ครั้นจะไม่คิดเกณฑ์พลทหารยกลงมา ก็จะไม่ได้มาเห็นหน้าเจ้านายญาติพี่น้อง เจ้านางศรีคำกองจึงว่า ถ้าน้องคิดดังนั้นก็ชอบแล้วแต่เจ้านายญาติพี่น้องที่หนีไปนั้น จะให้กลับคืนมาอยู่ด้วยกันฤๅ ๆ จะคิดประการใด เจ้าสุริยวงษาจึงว่าจะใช้ให้สังฆการีไปนิมนต์เอาสมเด็จ เจ้าราชาคณะทั้งปวงเจ้ามาถวายพระพรเอาสัตย์ เจ้าสุริยวงษาก็ทรง สาบาลให้สมเด็จเจ้าราชาคณะว่าข้อยไม่ทำร้ายให้แก่เจ้าพี่เจ้าน้อง ถ้ากระทำร้ายขอให้ต้องคำสาบาล แล้วจึงนิมนต์สมเด็จเจ้าราชาคณะ ลงไปถวายพระพร อัญเชิญเสด็จพระเจ้าเมืองหลวงพระบางโชติกะ แลเจ้าอุปราชอนุรุทธกับเจ้านายบุตรหลาน ที่หนีลงไปอยู่น้ำรุ้งนั้นขึ้นมา ครั้นถึงเมืองหลวงพระบางแล้ว เจ้าโชติกะพระเจ้าแผ่นดินก็มอบราชสมบัติให้แก่เจ้าสุริยวงษา ขึ้นครองราชสมบัติเปนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง เจ้าโชติกะก็เสด็จไปปลูกโรงอยู่บ้านวิชุณฟากเขาทิศทักษิณ ? ครั้นลุปีเถาะศักราช ๑๑๓๓ ( พ.ศ. ๒๓๑๔ ตรงในสมัยครั้งกรุงธนบุรี ) เจ้าสุริยวงษาอันเปนพระเจ้าเมืองหลวงพระบาง คิดมี ความพยาบาทกับเมืองล้านช้างเวียงจันท์แต่ก่อนนั้น ด้วยเมือง ล้านช้างเวียงจันท์ลอบมีหนังสือ ขึ้นไปขอกองทัพพม่าลงมาตีเมือง ล้านช้างหลวงพระบาง จึงมีรับสั่งให้เสนาบดีเกณฑ์พลทหารห้าพัน ยกลงไปตีเมืองล้านช้างเวียงจันท์ เข้าล้อมกำแพงเมืองไว้ เจ้าบุญสารอันเปนพระเจ้าล้านช้างเวียงจันท์ ก็เกณฑ์พลทหารออกต่อรบเปนสามารถ แล้วขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทินปราการป้องกันเมืองไว้


๔๔ มั่นคง เจ้าสุริยวงษาพระเจ้าล้านช้างร่มขาวหลวงพระบางคุมพลทหารเข้าหักเอาเมืองเปนหลายครั้งหาได้ไม่ แต่ต่อรบกันอยู่ได้ ๓ เดือน เจ้าบุญสารพระเจ้าล้านช้างเวียงจันท์เหลือกำลังอดทนที่จะคุมไพร่พลออก ต่อรบ ด้วยไพร่พลราษฎรได้ความทุกข์ลำบาก จึงมีศุภอักษรแต่งให้เสนาบดีถือลอบขึ้นไปถึงกรุงอังวะ ขอกองทัพลงมาช่วย พระเจ้า อังวะมังกะระจึงให้ซึกซึงโปคุมพลทหารสองพันเปนทัพน่า ให้โปสุพลา เปนแม่ทัพคุมพลสามพันยกลงมาตีเมืองหลวงพระบาง เจ้าสุริยวงษาพระเจ้าแผ่นดินเมืองหลวงพระบางทราบว่า พม่ายกกองทัพลงมาตีเมืองข้างหลัง ก็เลิกทัพกลับคืนไปต่อรบพม่าประมาณ ๑๕ วัน พม่าก็เข้าปล้นเอาเมืองได้ เจ้าสุริยวงษาพระเจ้าเมืองหลวงพระบาง ก็ขอยอม ขึ้นแก่เมืองอังวะ พม่าก็เลิกทัพกลับไป ? ครั้นลุปีมเมียศักราช ๑๑๓๖ ( พ.ศ. ๒๓๑๗ ) กรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ครั้งแผ่นดินขุนหลวงพระเจ้าตากนั้น มีพระราชสาสนกับเครื่องราชบรรณาการ แต่งให้ราชทูตานุทูตอัญเชิญขึ้นไปถึงเจ้าสุริยวงษา พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ในพระราชสาสนนั้นว่า ขอให้เปนเมืองทางพระราชไมตรีไปมาหากันเจ้าสุริยวงษาพระเจ้าเมืองหลวงพระบางทรงทราบแล้ว ก็มีความยินดีเปนอันมาก ก็ทรงรับเปนทางพระราชไมตรีกับกรุงธนบุรี ? ครั้นลุปีชวดศักราช ๑๑๓๘ ( พ.ศ. ๒๓๑๙ ) พระเจ้าเมืองหลวงพระบาง จึงมีศุภอักษรกับเครื่องมงคลราชบรรณาการแต่งให้เสนาบดีถือลงมาเจริญทางพระราชไมตรีณกรุงธนบุรี สมเด็จพระ


๔๕ พุทธเจ้าอยู่หัว จึงโปรดพระราชทานสรรพสิ่งของให้แก่เสนาบดีผู้เปนทูตานุทูตตามสมควร กับสิ่งของราชบรรณาการตอบแทนให้ราชทูต ถือขึ้นไปประทานให้พระเจ้าเมืองหลวงพระบางเปนอันมาก ? ลุปีจอศักราช ๑๑๔๐ ( พ.ศ. ๒๓๒๑ ) เจ้าบุญสารพระเจ้าล้านช้างเวียงจันท์ แต่งให้พระยาสุโพเปนนายทัพ คุมพลทหารลงไปตีเมืองนครมดแดง จับพระวอเจ้าเมืองนครมดแดงได้ประหารชีวิตรเสีย แล้วก็เลิกทัพกลับไปเมืองล้านช้างเวียงจันท์ สมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงธนบุรีทรงทราบว่า พระเจ้าล้านช้างเวียงจันท์แต่งให้พระยาสุโพไปประหารชีวิตรพระวอเจ้าเมืองนครมดแดงเสีย ก็ทรงพระพิโรธเปนอันมาก ด้วยพระวอถวายตัวเปนข้าขึ้นแก่กรุงเทพ มหานคร พระเจ้าล้านช้างเวียงจันท์ไม่มีความเกรงกลัวพระเดช เดชาบารมี ครั้นณวันเดือนอ้ายปีจอสัมฤทธิศกนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานครพระเจ้าตาก ทรงแต่งให้สมเด็จเจ้าพระยามหากระษัตริย์ศึก แลเจ้าพระยาสุรสีห์ คุมพลทหาร ในกรุงนอกกรุงเปนอันมาก ยกขึ้นไปตีเมืองล้านช้างเวียงจันท์ สมเด็จเจ้าพระยามหากระษัตริย์ศึก จึงแต่งให้ข้าหลวงเชิญศุภอักษรขึ้น ไปถึงเจ้าสุริยวงษา พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ว่าขอเอากองทัพลงมาช่วยตีเมืองล้านช้างเวียงจันท์ พระเจ้าหลวงพระบางทรงทราบแล้ว ก็มีความโสมนัศยินดีในพระบารมี ๑๑ เรื่องพระวอมีพิศดารในหนังสือพระราชพงษาวดาร ตอนที่แผ่นดินกรุงธนบุรี


๔๖ เปนอันมาก จึงแต่งให้เสนาบดีผู้ใหญ่คุมพลทหารสามพัน ยกลงไปช่วยตีเมืองล้านช้างวียงจันท์ เข้าคุมเอาด้านทิศอิสาณ ครั้น ตีเมืองล้านช้างเวียงจันท์สำเร็จการสงครามแล้ว พระเจ้าหลวงพระบางก็ขอเปนเมืองขึ้นแก่กรุงเทพมหานคร แล้วก็เลิกทัพกลับคืนไป เมืองหลวงพระบาง เจ้าสุริยวงษาอยู่ในราชสมบัติ ๒๕ ปี พระชนม์เท่าใดมิได้ปรากฎก็ถึงแก่พิราไลย ? ลุปีกุญศักราช ๑๑๕๓ ( พ.ศ. ๒๓๓๔ ในรัชกาลที่ ๑ กรุง รัตนโกสินทร ) สมณะพราหมณาจารย์เสนาพฤฒามาตย์ จึงพร้อม กันราชาภิเศกเจ้าอุปราชอนุรุทธขึ้นครองราชสมบัติ ถวายพระนาม สมเด็จพระเจ้าล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง เจ้านาคะกุมารเปนที่อุปราช ครองราชสมบัติอยู่ได้ปี ๑ ? ครั้นลุปีชวดศักราช ๑๑๕๔ ( พ.ศ. ๒๓๓๕ ) เจ้านันทเสนอันเปนพระเจ้าล้านช้างเวียงจันท์ มีความพยาบาทกับพระเจ้าล้านช้าง ร่มขาวหลวงพระบางมาแต่ก่อน จึงเกณฑ์พลทหารยกขึ้นไปตีพระเจ้าล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง พระเจ้าล้านช้างร่มขาวหลวงพระบางก็เกณฑ์พลทหารออกต่อรบเปนสามารถ แล้วก็ขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทินปราการป้องกันเมืองไว้มั่นคง แต่ต่อรบกันอยู่ได้สิบสี่สิบห้าวัน เจ้าอุปราชเมืองเวียงจันท์ต้องปืนพวกเมืองหลวงพระบางถึงแก่อสัญกรรมในที่รบ กองทัพเมืองเวียงจันท์จะเข้าหักเอาเมืองก็หาได้ไม่ จึงแต่งหนังสือกลมารยาล่อลวงมีเข้าไปถึงเจ้านางแทนคำ อันเปนพระมเหษีพระเจ้าเมืองหลวงพระบางสุริยวงษา ที่ถึงแก่พิราไลยไปนั้น


๔๗ เปนใจความว่า การสงครามครั้งนี้ขอให้เจ้านางแทนคำช่วยสงเคราะห์เอาเปนธุระให้มาก ๆ ครั้นสำเร็จราชการได้เมืองหลวงพระบางแล้วเมื่อใด จะขอเอาเปนมเหษีมอบสมบัติให้ เจ้านางแทนคำทราบความลับในหนังสือแล้ว ก็หลงไปด้วยกลมารยา มีความโสมนัศยินดีเปนอันมาก ก็ให้หาหัวพันเมืองวาคนสนิทเข้ามากระซิบบอกแนะนำให้หัวพันเมืองวาคุมไพร่พลไปประจำรักษาน่าที่เชิงเทินประตูปากม้าวด้านทิศอาคเณย์ ครั้นพลทหารเมืองเวียงจันท์เข้ามาเมื่อใดอย่าได้ ป้องกันไว้ จงเปิดประตูปล่อยให้เข้ามาโดยสดวก เปนใจความ แนะนำดังนี้ แล้วมีหนังสือกำหนดนัดให้หัวพันเมืองวา แต่งคน ถือลอบออกไปส่งให้พลทหารเมืองเวียงจันท์ นำเข้าไปถวายเจ้านันทเสนผู้เปนพระเจ้าเมืองเวียงจันท์ทราบความในหนังสือแล้ว ถึงวันนัดก็ยกพลทหารเข้ามา หัวพันเมืองวาคิดอกตัญญูขบถต่อแผ่นดิน ก็เปิดประตูให้เข้ามา พระเจ้าเวียงจันท์ก็คุมพลทหารเข้าปล้นเอาเมือง จับได้พระเจ้าร่มขาว แลเจ้าอุปราชนาคะเจ้านายบุตรหลานหลายองค์ ครั้งนั้นไพร่ราษฎรล้มตายเปนอันมาก เจ้าเวียงจันท์ก็กวาดเอาครอบครัวเมืองหลวงพระบางลงไปไว้เมืองเวียงจันท์ เจ้าเวียงจันท์จึงแต่ง ให้เสนาบดีคุมเอาพระเจ้าร่มขาว เจ้าอุปราชนาคะ เจ้านายบุตรหลานหลายองค์ลงมาถวายณกรุงเทพมหานคร ครั้งแผ่นดินพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงทรง


๔๘ พระดำรัสสั่งให้จำพระเจ้าร่มขาว แลเจ้าอุปราชนาคะใส่คุกไว้ ? เจ้าเมืองเวียงจันท์ตีเอาเมืองหลวงพระบางได้ครั้งนั้น เพราะเจ้านางแทนคำหัวพันเมืองวาเปนไส้ศึกคิดอกตัญญูขบถต่อแผ่นดิน อิกอย่างหนึ่งเล่า ก็ด้วยอายุแผ่นดินกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบางถึงกาลขาด เทพยเจ้าจึงอาเภทให้เห็นประหลาดเปน นิมิตร พระประธานวัดภูเหมือดน้ำพระเนตรเปนโลหิตไหลลงกระทั่ง จนพระนาภี วัดเชียงเหล็กพระพุทธรูปแก่นจันทน์แดงพระภักตร์แตกแต่พระนลาตจนถึงพระโอษฐ ปลวกก็กัดพื้นฝ่าพระบาทดั้นขึ้นไปจน ทลุออกพระอังษา พระพุทธรูปแลพระอุโบสถวิหารเหงื่อก็ไหลออก ทุกพระอาราม อนึ่งเทพารักษ์ภูเขาทรวงก็ปลูกธงแดงขึ้นบนยอดเขาให้ปรากฎแก่ตาคนทั้งหลาย อนึ่งมีพระยานาคสองตัวออกมาว่ายน้ำโขงแข่งกันอยู่น่าเมืองถึง ๗ วัน อนึ่งพอเวลาจะย่ำค่ำมีปิศาจไม่มี ศีศะออกมารำอยู่ริมน้ำโขงท่าใต้ขั้นน่าเมืองหลายวัน อนึ่งน้ำในแม่ น้ำโขงพลุ่งขึ้นแต่ศีศะเมือง ตลอดลงไปจนท้ายเมืองดังเหมือนเสียงปืนใหญ่ อาเภทบอกเหตุบอกลางดังนี้ จึงเสียกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบางไปแก่เมืองเวียงจันท์ เมืองหลวงพระบาง ก็ว่างเปล่าอยู่ได้ ๔ ปี ไม่มีเจ้าแผ่นดิน

๑๒ ในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า เจ้านครเวียงจันท์บอกมาว่าเจ้าหลวงพระบางไปเข้ากับพม่า รับทูตพม่ามาถึงเมือง จึงโปรดให้ไปตีเมืองหลวงพระบาง


๔๙ ? ครั้นปีเถาะลุศักราช ๑๑๕๗ ( พ.ศ. ๒๓๓๘ ) อุปราชเจ้าเมืองไชยเปนหัวเมืองขึ้นกับเมืองหลวงพระบาง คิดถึงพระเดชพระคุณ พระเจ้าร่มขาว ซึ่งเจ้านันทเสนเอาลงมาถวายติดคุกอยู่ในกรุงเทพ มหานคร จึงนำของบรรณาการขึ้นไปเมืองแฉวนหวีฟ้าสิบสอง ปันนาลื้อ อุปราชาเจ้าเมืองไชยจึงอ้อนวอนพึ่งพาเจ้าเมืองแฉวนหวีฟ้าสิบสองปันนา ให้ขึ้นไปกราบทูลพระเจ้ากรุงปักกิ่งขอให้คิดเอาพระเจ้าร่มขาว เจ้าเมืองแฉวนหวีฟ้าก็รับเปนภารธุระขึ้นไปกราบทูลฉลอง พระเจ้าปักกิ่ง ๆ ทรงทราบแล้ว จึงมีรับสั่งทรงแต่งให้ฮ่อพระยาศรี ป่องว้องเมืองเชียงรุ้ง สั่งให้แต่งพระยาสิณะพรมพร้อมกัน ถือเอา พิณลายจูมยีนกับสิ่งของมงคลเครื่องราชบรรณาการ มาทางเมืองน่านลงเรือที่ท่าแฝกล่องมาถึงกรุงเทพมหานคร พึ่งเจ้าพระยาสมุหนายก นำขึ้นเฝ้ากราบบังคมทูล แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ขอพระราชทานพระเจ้าร่มขาว เจ้าอุปราชเจ้านายบุตร หลานขึ้นไปตั้งบ้านเมืองให้เหมือนเช่นแต่ก่อน สมเด็จพระพทุธเจ้า อยู่หัวทั้งสองพระองค์ทรงทราบแล้ว จึงทรงปราไสด้วยราชทูตา นุทูตตามทางขัติยบุราณราชประเพณี แล้วมีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ทรงพระเมตตา ชุบเลี้ยงพระเจ้าร่มขาวแลเจ้าอุปราชให้อยู่ตามเดิม แล้วจึงทรงพระดำรัสโปรดให้ส่งขึ้นไปตั้งเมืองหลวงพระบาง กับทรงสั่งให้มีศุภอักษร ๗


๕๐ ขึ้นไปยังเมืองเวียงจันท์ ให้ส่งครอบครัวคืนขึ้นไปเมืองหลวง พระบาง แล้วทรงพระราชทานสิ่งของให้ฮ่อพระยาศรีป่องว้อง พระยา สิณะพรมตามสมควร พระเจ้าร่มขาวแลเจ้าอุปราชนาคะเจ้านาย บุตรหลาน ฮ่อพระยาศรีป่องว้อง พระยาสิณะพรม ก็พร้อมกันถวายบังคมลากลับไปเมืองหลวงพระบาง ? พระเจ้าอนุรุทธล้านช้างร่มขาวมีพระราชบุตร ๖ องค์ เจ้ามังธาตุราชกุมารองค์ ๑ เจ้าสุทธิราชกุมารองค์ ๑ เจ้าไชยราชกุมารองค์ ๑ เจ้าอภัยราชกุมารองค์ ๑ เจ้าอุ่นแก้วองค์ ๑ เจ้าช้างองค์ ๑ มีราชธิดา ๓ องค์ เ จ้านางทูมองค์ ๑ เจ้าคำหลาองค์ ๑ เจ้าศรี ไวยกาองค์ ๑ เจ้ามังธาตุราชนั้นได้เปนเจ้าราชวงษ์ ? เจ้าอุปราชนาคะมีบุตรชาย ๗ องค์ เจ้าอภัยองค์ ๑ เจ้าสุทธิองค์ ๑ เจ้าอินทร์องค์ ๑ เจ้าพรหมองค์ ๑ เจ้ามั่งองค์ ๑ เจ้าสารองค์ ๑ เจ้าสญไชยองค์ ๑ เจ้าอภัยบุตรเจ้าอุปราชนั้นให้เปนเจ้า หัวน่าช่วยบำรุงราชการ ? เจ้าหัวน่ามีบุตรชาย ๕ องค์ เจ้าโงนคำองค์ ๑ เจ้าแก่นคำองค์ ๑ เจ้าต่อมคำองค์ ๑ เจ้าศรีวรวงษ์องค์ ๑ เจ้าเหง่าองค์ ๑ ? เจ้าสุทธิมีบุตรชายองค์ ๑ ชื่อเจ้าคำบัว บุตรหญิงชื่อเจ้า คำตัน

๑๓ ในหนังสือพระราชพงษาวดารว่าพระราชทานโทษเจ้านครหลวงพระบาง แต่หาปรากฎเหตุที่พระราชทานโทษไม่


๕๑ ? เจ้าอินทร์มีบุตรชายองค์ ๑ ชื่อเจ้าคำโป้ บุตรหญิงชื่อเจ้า คำอ้นองค์ ๑ เจ้าโสภาองค์ ๑ เจ้าคำตื้อองค์ ๑ ? เจ้ามั่งมีบุตรชายองค์ ๑ ชื่อเจ้าคำปาน มีบุตรหญิง ๒ องค์ ชื่อเจ้าคำป้ององค์ ๑ เจ้าคำด้วงองค์ ๑ ? เจ้าสญไชยมีบุตรชาย ๖ องค์ เจ้าเง่าองค์ ๑ เจ้าคำแสนองค์ ๑ เจ้าคำเมฆองค์ ๑ เจ้าคำขะองค์ ๑ เจ้าคำยิ่งองค์ ๑ เจ้าคำอ้วนองค์ ๑ บุตรหญิง ๕ องค์ เจ้าคำตันองค์ ๑ เจ้าคำสุทธิ องค์ ๑ เจ้าคำทิพย์องค์ ๑ เจ้าคำแจ้งองค์ ๑ ? ครั้นเจ้าอุปราชนาคะถึงแก่กรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ จึงทรงชุบเลี้ยงเจ้าราชวงษ์มังธาตุราชให้เปนเจ้าอุปราชพระเจ้าร่มขาว ? ลุปีกุญศักราช ๑๑๗๗ ( พ.ศ. ๒๓๕๘ ในรัชกาลที่ ๒ ) พระเจ้าอนุรุทธร่มขาวหลวงพระบางถึงพิราไลย อยู่ในราชสมบัติ ๒๘ ปี อายุได้ ๘๒ ปี ? ลุปีชวดศักราช ๑๑๗๘ ( พ.ศ. ๒๓๕๙ ) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย จึงทรงชุบเลี้ยงเจ้าอุปราชมังธาตุราช ให้เปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าสุทธราชให้เปนเจ้าอุปราช เจ้าอภัยให้เปนเจ้าราชวงษ์ ? เจ้าหลวงพระบางมังธาตุราชมีบุตร ๙ องค์ ชื่อเจ้าสุขะเสิมองค์ ๑ เจ้าจันทราชองค์ ๑ เจ้าโพเนื้อทององค์ ๑ เจ้าอุ่นคำองค์ ๑ เจ้าคำบัว


๑๔ เรียกกันเปนสามัญว่า เจ้ามั่ง


๕๒ องค์ ๑ เจ้าบัวละพัน ( บวรพันธุ์ ) องค์ ๑ เจ้าสุทธิสารองค์ ๑ เจ้าโพธิ สารองค์ ๑ เจ้าโงนคำองค์ ๑ บุตรหญิง ๗ องค์ เจ้าสุพรรณองค์ ๑ เจ้ายอดคำองค์ ๑ เจ้าฉิมมาองค์ ๑ เจ้าทองทิพย์องค์ ๑ เจ้าเบงคำองค์ ๑ เจ้าฉิมพลีองค์ ๑ เจ้าทองสุกองค์ ๑ ? เจ้าอุปราชสุทธิสารมีบุตรชาย ๗ องค์ ชื่อเจ้าราชภัยองค์ ๑ เจ้ามุดไตองค์ ๑ เจ้าคำม้าวองค์ ๑ เจ้าศรีวิไชยองค์ ๑ เจ้าคำแก่นองค์ ๑ เจ้าคำบัวองค์ ๑ เจ้าคำสิงองค์ ๑ ? เจ้าราชวงษ์อภัยมีบุตรชาย ๔ องค์ ชื่อเจ้าสุริยวงษ์องค์ ๑ เจ้าคำปานองค์ ๑ เจ้าไชยองค์ ๑ เจ้าคำสุกองค์ ๑ มีบุตรหญิง ๔ องค์ ชื่อเจ้าคำป้ององค์ ๑ เจ้าคำแว่นองค์ ๑ เจ้าบัวแก้วองค์ ๑ เจ้าคำผิวองค์ ๑ ? เจ้าไชยราชมีบุตรชายองค์ ๑ ชื่อเจ้าคำ เจ้าช้างมีบุตรชาย ๒ องค์ ชื่อเจ้าคำพันองค์ ๑ เจ้าคำตันองค์ ๑ ? ลุปีมะโรงศักราช ๑๑๘๒ ( พ.ศ. ๒๓๖๓ ) เมืองแฉวนหวีฟ้าสิบสองปันนาลื้อ เจ้ามหาน้อยเจ้ามหาวังเกิดวิวาทรบกัน เจ้ามหาน้อยหนีลงมาพึ่งเมืองหลวงพระบาง ขอกองทัพเจ้าหลวงพระบาง มังธาตุราช ขึ้นไปตีเมืองแฉวนหวีฟ้าปันนา เจ้าเมืองหลวงพระบาง แต่งให้อุปราชสุทธิสารเปนแม่ทัพ แลเจ้าอุ่นแก้วเสนาบดีหลายคน คุมพลทหารยกขึ้นไปตั้งอยู่เมืองปูนเหนือ เจ้าอุปราชจึงแต่งให้พระยาเชียงใต้ พระยาเชียงเหนือ คุมพลทหารยกขึ้นไปตีเมืองล่า เมืองพง


๕๓ เมืองบาน เมืองขอน เมืองนูน เมืองเชียงฟ้า ได้หลายหัวเมือง ครั้นทีหลังเจ้ามหาวังเมืองเชียงรุ้ง เกณฑ์พลทหารมาต่อรบเปนสามารถ พระยาเมืองขอนเมืองนูนต้องปืนถึงแก่กรรมในที่รบ เจ้ามหาวังจับได้พระยาเชียงใต้ พระยาเชียงเหนือ เมืองหลวงพระยาบางขึ้นไปเมืองเชียงรุ้ง พวกเมืองหลวงพระบางก็แตกหนีกลับคืนมาเมือง ปูนเหนือ ? เทพยเจ้าบังเอินให้ฟ้าผ่าหอรบเจ้าอุปราช ฝ่ายเมืองเชียงรุ้งเล่าบังเอินให้เกิดไฟขึ้นไหม้เมืองหมด ด้วยเทพยเจ้าทั้งปวงนิยมให้ เห็นอยัมภทันตา เดิมแต่ก่อนเมืองหลวงพระบาง กับเมืองแฉวนหวีฟ้าสิบสองปันนาลื้อ เปนบ้านพี่เมืองน้องได้สาบาลความสัตย์ได้แก่กัน ไว้ทั้ง ๒ ฝ่ายว่า ถ้าข้างใดยกพลทหารการศึกมาตีก่อน ให้ข้างนั้น ต้องด้วยคำสาบาล ครั้งนั้นเจ้าเมืองหลวงพระบางมังธาตุราชหาตั้ง อยู่ตามคำสาบาลเดิมนั้นไม่ เกณฑ์กองทัพขึ้นไปต่อรบก่อน เทพยเจ้าจึงอาเภทให้เห็นประหลาดเปนนิมิตร เจ้าอุปราชจึงส่งเจ้ามหาน้อยขึ้น ไปเมืองฮ่อ แล้วก็เลิกทัพกลับลงมาเมืองหลวงพระบาง ? ครั้นลุปีชวดศักราช ๑๑๙๐ ( พ.ศ. ๒๓๗๑ ในรัชกาลที่ ๓ ) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาททรงพระดำรัสตรัสโปรดเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้พระยาพิไชยขึ้นไปคุมเอาตัวเจ้าอุปราชสุลงมา ด้วยต้องพระราชดำริห์ว่า เจ้าอุปราชสุป้องกันปกปิดครอบครัวเมืองเวียงจันท์ไว้ มิได้เกรงกลัวพระบารมี ขณะเมื่อพระยาพิไชยจะขึ้นไปคุมเอาตัว


๑๕ คราวปราบอนุเวียงจันท์เปนขบถ


๕๔ เจ้าอุปราชสุลงมาในกรุงนั้น เทพนิยมบังเอินให้เห็นประหลาดเปนนิมิตร พระประธานวัดสุวรรณภูมิ น้ำพระเนตรเปนโลหิตไหลลงจนพระนาภี พระพุทธรูปในวงพระเจดีย์วัดพระธาตุ ก็กระเด็นตกลงมาคว่ำพระภักตร์อยู่เหนือน่าปัถพี เจ้าอุปราชต้องกักขังอยู่จนถึงแก่อนิจกรรมในกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงชุบเลี้ยง เจ้าราชวงษ์อภัยให้เปนเจ้าอุปราช เจ้าราชบุตรเสิมให้เปนเจ้าราชวงษ์ เจ้าจันทราชให้เปนเจ้าราชบุตร ? ครั้นลุปีฉลูศักราช ๑๑๙๑ ( พ.ศ. ๒๓๗๒ ) เจ้ามหาวังเมืองแฉวนหวีฟ้าสิบสองปันนาลื้อ คิดพยาบาทจะแก้แค้นตอบแทนเมืองหลวงพระบาง จึงเกณฑ์พลทหารลงมาตีหัวเมืองปลายเขตรปลายแดนเมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบางมังธาตุราช จึงแต่งเจ้าอุปราชอภัยเปนแม่ทัพ แลเจ้าอุ่นแก้ว เสนาบดีหลายคน คุมพลทหารยกขึ้นไปต่อรบกันเปนสามารถ ได้ประมาณสิบสี่สิบห้าวัน กองทัพมหาวังทนฝีมือมิได้ ก็เลิกทัพกลับไปเมืองเชียงรุ้ง เจ้าอุปราช อภัยก็เลิกทัพกลับลงมาเมืองหลวงพระบาง ? ลุปีมแมศักราช ๑๑๙๗ ( พ.ศ. ๒๓๗๘ ) เจ้าพระยาธรมาเปน แม่ทัพ คุมไพร่พลยกขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง แล้วจึงแต่งให้ เจ้าอุปราชอภัยเปนแม่ทัพ แลเสนาบดีหลายคนยกขึ้นไปเมืองพวน กับแต่งให้เจ้าอุ่นแก้วเปนแม่ทัพ แลเจ้าชนะไชย เจ้าแก่นคำ เจ้าคำปาน พระยาเพี้ยแสนท้าวขุนหลายคน ยกขึ้นไปตีเมืองแถง ได้พวกทรงดำลงมาไว้เมืองหลวงพระบาง


๑๖ คราวไทยรบกับญวนในรัชกาลที่ ๓


๕๕ ? ลุปีชวดศักราช ๑๑๙๘ ( พ.ศ. ๒๓๗๙ ) เจ้าเมืองหลวงพระบางมังธาตุราช อยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี พระชนม์ได้ ๖๔ ก็ถึงแก่พิราไลย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระดำรัสแต่งให้ปลัดวังคุมของไทยทานขึ้นไป มีผ้า ๓๐ ไตร ร่มกระดาษ ๒๐๐ คัน พัดหางปลา ๒๐๐ เล่ม กระดาษฟาง ๒๐๐ ม้วน เครื่องเขียนสีต่าง ๆ ๑๐๐ ห่อ น้ำตาลทรายหนัก ๒ หาบ เงิน ๔๐๐ เฟื้อง ทองอังกฤษ ๒๐๐ ม้วน ในการฌาปนกิจ ? ครั้นเสร็จการปลงศพเจ้าหลวงพระบางมังธาตุราชแล้ว เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ จึงแต่งให้เจ้าอุ่นแก้วถือหนังสือกับคุมเอา ต้นดอกไม้ทองเงิน เครื่องราชบรรณาการลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงทรงชุบเลี้ยงเจ้าอุ่นแก้วให้เปนราชวงษ์ขึ้นไปอยู่รักษาเมือง ให้เจ้าอุปราชอภัย เจ้าราชวงษ์เสิมลงไป เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ? ในขณะนั้นเมืองหืบ เมืองด่อย เมืองดวน พร้อมกันคิดขบถต่อเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ จึงแต่ง ให้เสนาบดีคุมไพร่พลยกขึ้นไปตี เมืองหืบ เมืองด่อย เมืองดวน ได้พวกทรงดำส่งลงมาเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ จึงแต่งให้พระยาศรีมหานามคุมลงมาถวาย ? ครั้งนั้นเจ้าอุปราชอภัยกับเจ้าราชวงษ์เสิมวิวาทกัน ต่างลง มาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท เมื่อปีจอศักราช ๑๒๐๐ ( พ.ศ. ๒๓๘๑ ) เจ้าราชวงษ์เสิมนั้น คุมพวกทรงดำลงมาถวายในครั้งนั้นด้วย


๕๖ ข้อความเจ้าอุปราชอภัย กับเจ้าราชวงษ์เสิมเกี่ยงข้องกันนั้น เปน ใจความว่า เจ้าอุปราชอภัย แต่งให้ท้าวคำพันไปเมืองญวน ? ครั้นลุปีกุญศักราช ๑๒๐๑ ( พ.ศ. ๒๓๘๒ )สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงชุบเลี้ยงเจ้าราชวงษ์เสิมให้เปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง เลื่อนเจ้าอุปราชให้เปนเจ้าอภัยสุริยวงษา เจ้าราชวงษ์อุ่นแก้วให้เปนเจ้าอุปราช เจ้าราชบุตรจันทราชให้เปนเจ้าราชวงษ์ เจ้าแก่นคำ บุตรเจ้าอุปราชให้เปนเจ้าราชบุตร ? ขณะเมื่อเจ้าอุปราชอภัยจะถอยยศลงเปนเจ้าอภัยสุริยวงษา แลเจ้าราชวงษ์เสิมจะได้เปนเจ้าเมืองหลวงพระบางนั้น เทพยเจ้าบังเอินให้เห็นประหลาดเปนนิมิตร พระประธานวัดภูเหมือดโลหิตไหลออก ใต้รักแร้ลงมาจนพระแท่น วัดสุวรรณภูมิ์เหงื่อก็ไหลออกตามเสา ทุกเสาทั่วอารามเหมือนดังตักน้ำรด ต้นพระศรีมหาโพธิวัดโพนไชยโลหิตก็ไหลลงจนถึงพสุธา อนึ่งหินผาแท่งใหญ่ประมาณ ๔ อ้อม สูงประมาณ ๕ ศอกเศษ เคลื่อนออกจากที่ตกลงน้ำไป อนึ่งหินศิลาอยู่กลางไร่พวกบ้านปากหลิ่งใหญ่ประมาณ ๓ อ้อม สูงประมาณ ๓ ศอกเศษ ราษฎรปลูกเข้าล้อมไว้ หินศิลาลูกนั้นบังเอินให้เลื่อน ลงมาอยู่นอกไร่ แต่ต้นเข้าที่ล้อมไว้นั้นหาเปนอันตรายไม่ อนึ่ง ครกตำเข้าอยู่บ้านช้างฆ้องลูกหนึ่งอยู่ข้างบน ลูกหนึ่งอยู่ข้างล่าง ลูกที่อยู่ข้างล่างกลิ้งขึ้นไปโดนเอาลูกที่อยู่ข้างบนกลิ้งลงมา เทพยเจ้าอาเภทให้เห็นประหลาดเปนนิมิตรดังนี้


๕๗ ? ครั้นเจ้าอภัยสุริยวงษาขึ้นไปถึงท่าปากลายแล้ว ก็กลับหนี ลงไปอยู่เมืองเชียงคาน เจ้าเมืองหลวงพระบางเสิมจึงแต่งให้พระยาเมืองขวา พระยาตีนแท่น พระยาหมื่นน่า ลงไปจับเอาเจ้าสุริยวงษาใส่ตรวนคุมขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบางจึงแต่งเจ้าราชวงษ์จันทร์กับเจ้าโพธิสาร คุมเอาเจ้าอภัยสุริยวงษาลงมาถวายเจ้าอภัยสุริยวงษาก็ถึงแก่อสัญกรรมไปในกรุงเทพมหานคร ? เจ้าเมืองหลวงพระบางเสิมมีบุตรชาย ๖ องค์ ชื่อเจ้าคำเง้าองค์ ๑ เจ้าบุญเพ็ชองค์ ๑ เจ้าพรหมจักรองค์ ๑ เจ้าคำแสงองค์ ๑ เจ้าพรหมาองค์ ๑ เจ้าอินทจักรองค์ ๑ มีบุตรหญิง ๘ องค์ ชื่อเจ้ากัลยาองค์ ๑ เจ้าคำอ้นองค์ ๑ เจ้าบุดดีองค์ ๑ เจ้าบับภาองค์ ๑ เจ้าคำษรองค์ ๑ เจ้าคำสีองค์ ๑ เจ้าอุ่นคำองค์ ๑ เจ้าโสมสีองค์ ๑ ? เจ้าอุปราชอุ่นแก้วมีบุตรชาย ๔ องค์ ชื่อเจ้าสิวิษาองค์ ๑ เจ้าสุวรรณพรหมาองค์ ๑ เจ้าทองคำองค์ ๑ เจ้าคำมาองค์ ๑ มีบุตรหญิง ๓ องค์ ชื่อเจ้าสุพรรณองค์ ๑ เจ้าปิ่นคำองค์ ๑ เจ้า คำซาวองค์ ๑ ? เจ้าราชบุตรแก่นคำมีบุตรชาย ๗ องค์ ชื่อเจ้าคำเหล็กองค์ ๑ เจ้าคำเพ็งองค์ ๑ เจ้าพรหมาองค์ ๑ เจ้าคำย่นองค์ ๑ เจ้าคำสนองค์ ๑ เจ้าเสิมองค์ ๑ เจ้าขอดแก้วองค์ ๑ มีบุตรหญิง ๖ องค์ ชื่อเจ้าทองดีองค์ ๑ เจ้าคำด้วงองค์ ๑ เจ้าคำหล้าองค์ ๑ เจ้า คำตือองค์ ๑ เจ้าคำซาวองค์ ๑ เจ้าหนูจีนองค์ ๑ ๘


๕๘ ? ลุปีวอกศักราช ๑๒๑๐ ( พ.ศ. ๒๓๙๑ ) เจ้าหน่อคำ เจ้ามหาไชยงาดำ ยกกองทัพมาตีเจ้าอุปราชามหาไชยเมืองเชียงรุ้ง ได้รบกันเปน สามารถ ขณะนั้นเจ้าเมืองหลวงพระบางเสิม ลงไปเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทณกรุงเทพมหานคร ถวายบังคมลากลับขึ้นไปถึงท่าปากลายจึงแต่งให้พระยาเมืองขวาถือหนังสือขึ้นไป ให้เจ้าอุปราชอุ่นแก้วเปน แม่ทัพ เจ้าอุ่นคำ เจ้าสิวิษา เจ้าสุวรรณพรหมา แลเสนาท้าวเพี้ยหลายคนคุมไพร่พลห้าพันเศษยกขึ้นไปตั้งอยู่เมืองไชย ณวันเดือนยี่ ปีวอก เจ้าอุปราชอุ่นแก้ว จึงแต่งให้เจ้าอุ่นคำคุมไพร่พลพันหนึ่งขึ้นไปตั้งอยู่บ้านแพ้ง เจ้าสิวิษาคุมพลพันหนึ่งขึ้นไปตั้งอยู่เมืองเงิน เจ้าสุวรรณพรหมา พระยาจ่าบ้านคุมพล ๘๐๐ เศษขึ้นไปตั้งอยู่เมืองวา พระยาศรีมหาโน พระยานาเหนือคุมพล ๘๐๐ เศษขึ้นไปตั้งอยู่เมืองปูนใต้ แต่บรรดากองทัพตั้งลำดับอยู่ตามหัวเมือง เปนพรมแดนต่อกันกับเมือง แฉวนหวีฟ้าสิบสองปันนาลื้อ ครั้นถึงณเดือนสี่ปีวอกสัมฤทธิศก เจ้าอุปราชาจึงอพยพครอบครัวหนีเข้ามาถึงเมืองไชย เจ้าอุปราชแล นายทัพนายกองทั้งปวง ก็คุมเอาเจ้าอุปราชาครอบครัวลงมาถึงเมืองหลวงพระบางเมื่อเดือนห้าปีวอกสัมฤทธิศก ? ลุปีระกาศักราช ๑๒๑๑ ( พ.ศ. ๒๓๙๒ ) เจ้าเมืองหลวงพระบาง เสิม จึงแต่งให้เจ้าอุปราชอุ่นแก้ว เจ้าอุ่นคำ เจ้าสิวิษา เจ้าสุวรรณพรหมา เจ้าสุก เจ้าสิง พระยาเชียงใต้ ถือศุภอักษรแลคุมเอาต้น ดอกไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาการ กับพาเอาเจ้าอุปราชาลงมา เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณกรุงเทพมหานคร


๕๙ ? ลุปีจอศักราช ๑๒๑๒ ( พ. ศ. ๒๓๙๓ ) ณเดือน ๑๐ เจ้าหลวงพระบาง เสิมก็ถึงแก่พิราไลยณเมืองหลวงพระบาง ครั้นณวันเดือนอ้าย แรมสามค่ำ เจ้าอุปราชอุ่นแก้วก็ถึงแก่อนิจกรรม ณกรุงเทพมหานคร ในปีจอโทศกทั้ง ๒ องค์ ? ลุปีกุญศักราช ๑๒๑๓ ( พ.ศ. ๒๓๙๔ ในรัชกาลที่ ๔ ) เดือน ๑๐ ข้างขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้เจ้าอุปราชา เจ้าสุวรรณพรหมา ขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง ครั้นเจ้าราชวงษ์จันทราชจะลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทจึงพาเอาอุปราชาลงมาด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งเจ้าราชวงษ์จันท์ให้เปนเจ้าเมืองหลวงพระบางเจ้าอุ่นคำให้เปนเจ้าอุปราช เจ้าบัวคำให้เปนเจ้าราชวงษ์ แล้วจึงมีพระราชดำรัสสั่งให้พาเจ้าอุปราชาเมืองเชียงรุ้งขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง ครั้นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวง วงษาธิราชสนิท เสด็จเปนแม่ทัพคุมพลทหารในกรุงนอกกรุงยก ขึ้นไปตีเมืองเชียงตุง เจ้าเมืองหลวงพระบางจึงแต่งให้อุปราช เจ้าราชวงษ์ เจ้าคำม้าว เจ้าสิวิษา เจ้าอุปราชา เจ้านายบุตรหลานเสนาบดีหลายคน คุมพลทหารสามพัน ขึ้นไปตามเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ฯ ตีเมืองเชียงตุง เจ้าสิวิษาก็ต้องปืนถึงแก่กรรมในที่รบ ครั้นเลิกทัพกลับมาเจ้าคำม้าวก็หายไป ครั้งนั้นเจ้าอุปราชาก็เลยตาม เสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ลงมายังกรุงเทพ มหานคร


๖๐ ? ลุปีขาลศักราช ๑๒๑๖ ( พ. ศ. ๒๓๙๗ ) นายเชียงจำปาเมือง หลวงพระบาง ท้าวบุญคง ท้าวอินทร์เมืองน่าน พวกเมืองเชียงตุงจับ ได้ไปแต่เมื่อปีฉลูเบญจศก หนีลงมาแจ้งความต่อเมืองหลวงพระบางเมืองน่าน ว่าพม่าจะยกกองทัพมาตีเมืองหลวงพระบางแสนหนึ่ง จะมาตีเมืองเชียงใหม่สองแสน เมืองหลวงพระบาง เมืองน่าน จึงมีหนังสือบอกลงมายังกรุงเทพมหานคร เจ้าพระยาสมุหนายกนำขึ้นกราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบ ฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว ไม่ทรงไว้พระไทย ครั้นถึงเดือนอ้ายข้างขึ้นในปีขาลฉศกนั้น จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ให้พระยาสีหราชเดโชไชย พระยาราช วรานุกูล คุมไพร่พลในกรุงนอกกรุงสองพันเศษ ยกขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง กับพาเอาเจ้าอุปราชาเมืองเชียงรุ้ง เจ้าพรหมาเมืองหลวงพระบางขึ้นไปด้วย ครั้นพระยาสีหราชเดโชไชย พระยาราชวรานุกูล พาเอาเจ้าอุปราชาขี่ช้างเดินทัพขึ้นไปถึงศาลเจ้าเมืองน่าน ใต้เมืองหลวงพระบางระยะทาง ๒ คืน เจ้าอุปราชาไม่ลงช้างคำนับศาลเจ้าเทพารักษ์เจ้าสิงสู่เอาเจ้าอุปราชาข้ามลงทางศีศะช้าง หนีเข้าป่าไป พระยาราชวรานุกูลมีบัญชาแต่งให้ท้าวเพี้ยเมืองหลวงพระบาง แลนาย ทัพนายกองคุมไพร่เที่ยวค้นหาเจ้าอุปราชาตามในป่าถึง ๑๔ วัน ๑๕ วัน จึงได้เจ้าอุปราชาคืนมา เจ้าอุปราชาไม่ได้สติสมประดี ไม่ได้รับประทาน เข้าถึง ๑๔ วัน ๑๕ วัน ดูหน้าตาแลร่างกายของเจ้าอุปราชาเหลืองเหมือน กับคนทาขมิ้น เสนาท้าวเพี้ยจึงพร้อมกันแต่งขันษมาโทษไปไถ่แก่


๖๑ เทพารักษ์ตามธรรมเนียมแล้ว เจ้าอุปราชาจึงได้สติสมประดี พระยา สีหราชเดโชไชย พระยาราชวรานุกูล ขึ้นไปถึงเมืองหลวงพระบางเดือน ๔ ข้างขึ้น พักทัพตั้งค่ายอยู่ใต้วัดพระมหาธาตุศรีธรรมอโศกราชแล้วพระยาสีหราชเดโชไชย จึงคุมเอาพลทหารขึ้นไปตั้งค่ายอยู่คกจองใต้ปากแม่น้ำเชืองแห่งหนึ่ง ขึ้นไปตั้งค่ายเหนือบ้านราชหาญแห่งหนึ่ง ? ลุปีมโรงศักราช ๑๒๑๘ ( พ.ศ. ๒๓๙๙ ) ณวันเดือน ๖ พระยาสีหราชเดโชไชย พระยาราชวรานุกูล ก็พาเอาเจ้าอุปราชาไพร่พล เลิกทัพกลับลงมายังกรุงเทพพระมหานคร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงเจ้าอุปราชาเมืองเชียงรุ้ง พระราชทานนามสัญญาบัตร ทรงโปรดให้เปนเจ้ามหาอุปราชา พระราชทานพานหมากทองคำ เครื่องในทองคำ คนโททองคำ กระโถนทองคำ สัประทนอัดตลัด แลพระราชทานเสื้อผ้าตามสมควร เปนเครื่องยศบันดาศักดิ์ แล้วโปรดให้พระยาราชพินิจจัยเชิญศุภอักษร กับพาเอาเจ้ามหาอุปราชาขึ้นไปส่งถึงเมืองหลวงพระบาง ณวันเดือน ๔ ปีมโรงอัฐศก ใจความในศุภอักษรนั้นโปรดเกล้า ฯ ว่า ให้เจ้าเมืองหลวงพระบาง มีบัญชาแต่งให้เสนาบดีผู้มีสติปัญญาสมควรแก่ราชการพาเอาเจ้ามหาอุปราชาแลมารดาญาติพี่น้อง ท้าวพระยาครอบครัวขึ้นไป ส่งถึงเมืองเชียงรุ้ง อนึ่งท้าวพระยาครอบครัวผู้ใดจะสมัคอยู่กับเมืองหลวงพระบางก็ให้อยู่ พวกใดจะสมัคกลับคืนไปบ้านเมืองก็ให้เจ้าเมืองหลวงพระบางมีบัญชาสั่งเสนาบดีจัดส่งขึ้นไปตามเจ้ามหาอุปราชา อย่า


๖๒ ให้เจ้าเมืองหลวงพระบางมีความเสียใจ อย่าเสียดายแก่เงินทองสิ่งของเล็กน้อยเลย เจ้าเมืองหลวงพระบางก็กราบถวายบังคมรับพระบรมราชโองการใส่เหนือเกล้า ฯ พระยาราชพินิจจัยเห็นราชการเรียบร้อยแล้วเดือน ๕ ข้างแรมก็พาเอาไพร่พลกลับคืนลงมายังกรุงเทพมหานคร ? ครั้นถึงเดือน ๖ ปีมเสงนพศก ศักราช ๑๒๑๙ ( พ.ศ. ๒๔๐๐ ) เจ้าเมืองหลวงพระบาง จึงสั่งให้พระยาศรีมหานามตาแสงเชียงรุ้ง พาเอาเจ้ามหาอุปราชา แลมารดาญาติพี่น้องท้าวพระยาครอบครัวขึ้นไปส่ง ครั้นไปถึงเมืองปูใต้ เจ้านางแว่น ๑ เจ้านางสนทลา ๑ พี่สาวน้องหญิง ของเจ้ามหาอุปราชาก็ถึงแก่กรรมตายทั้ง ๒ คน เจ้ามหาอุปราชาจึงให้พระปรีมหานามตาแสงเมืองฮูนพักอยู่เมืองปูนเหนือ เจ้ามหาอุปราชาก็พาเอามารดาท้าวพระยาครอบครัวทั้งปวงขึ้นไปเมืองเชียงรุ้ง แล้ว เจ้ามหาอุปราชากับมหาไชย เกิดอริวิวาทรบพุ่งกันในปีมเสงนพศกนั้น มหาไชยจึงอพยพครอบครัวเมืองพง หนีเข้ามาพึ่งเมืองหลวงพระบางพำนักอาไศรยอยู่เมืองไชย แล้วมหาไชยเกณฑ์เอากองทัพกลับคืนไป ตีเมืองเชียงรุ้ง จับได้เจ้ามหาอุปราชาเอาไปสำเร็จโทษเสียแล้ว มหาไชยยกขึ้นไปตีเมืองแจ่ ได้ทำสงครามแก่กันเปนสามารถ มหาไชย ต้องปืนพวกเมืองแจ่ถึงแก่กรรมในที่รบ นายยงบุตรมหาไชยแลท้าวพระยานายทัพนายกอง ก็พากันแตกกระจัดพลัดพรายลงมาเมืองไชย เจ้าเมืองหลวงพระบางจึงสั่งให้พระยาเมืองซ้าย พระเชียงใต้คุมเอาไพร่พลยกขึ้นไปตั้งอยู่เมืองไชย เมืองอ่าย ประจำรักษาเขตรแดน


๖๓ ? ลุปีวอกศักราช ๑๒๒๓ ( พ.ศ.๒๔๐๔ ) เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ นาย ยงบุตรมหาไชยแต่งให้นางอกคำมารดาเลี้ยง ลงมาเมืองหลวงพระบาง แล้วนายยงก็พาเอาท้าวพระยาไพร่พลคิดการขบถ ตีทัพพระยาเมืองซ้าย พระยาเชียงใต้ ที่ตั้งอยู่เมืองไชย เมืองอ่าย แตกกระจัดพลัดพราย แล้วก็อพยพกวาดเอาครอบครัวหนีขึ้นไปเมืองพง เจ้าเมืองหลวงพระบางจันทร์จึงสั่งให้เจ้าราชวงษ์คำบัว เจ้าราชบุตรแก่นคำ เจ้าพรมหา คุมเอาไพร่พลยกขึ้นไปตามนายยงแลท้าวพระยาครอบ ครัวหาทันไม่ ก็พากันเลิกทัพกลับลงมาเมืองหลวงพระบาง ? ลุปีระกาศักราช ๑๒๒๔ ( พ.ศ. ๒๔๐๕ ) ณวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เจ้าเมืองหลวงพระบางจันทร์รำฦกถึงพระเดชพระคุณ พระบารมีแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงจัดได้เจ้าโฉมศรี บุตรเจ้าเมืองหลวงเสิม กับช้างทายล่าวช้างหนึ่ง แลต้นดอกไม้ทองเงินสิ่งของมงคลเครื่องราชบรรณาการ ลงมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ? ครั้นถึงเดือน ๒ ขึ้น ๘ ค่ำ ในปีรกาตรีศกนั้น ตาแสง เมืองไชยมีหนังสือบอกลงมายังเสนาบดี ในเมืองหลวงพระบางว่า นายยงบุตรมหาไชยเมืองพง กับพระยาพระวิชา แลพระยากบิลยักษ์คุมเอาไพร่พลเมืองล่าเมืองพงยาเข้ามาตั้งค่ายอยู่บ้านนาหินเมืองไชยบอกว่าจะมากวาดเอาครัวพระยาไชยวงษ์เมืองล่า กับตัวเจ้าไชยวงษ์ขึ้นไปเมืองล่าเมืองพง เสนาบดีได้นำหนังสือขึ้นเฝ้าเจ้าอุปราชอุ่นคำ ผู้อยู่รักษาเมืองทราบแล้ว ไม่ไว้ใจแก่ราชการ จึงแต่งให้พระยา


๖๔ เมืองขวา พระยาศรีมหาโน เพี้ยจ่าหมื่นคุมไพร่พล ๙๐๐ เศษ ยกขึ้นไปน้ำบากน้ำอูทางหนึ่ง แล้วให้เจ้าพรหมาเปนทัพน่า เจ้าคำปานเปนทัพหลัง ยกขึ้นไปเมืองงานาคะให้ถึงเมืองไชยทางหนึ่ง ให้เจ้าราชวงษ์คำบัว เปนแม่ทัพยกขึ้นไปตั้งอยู่ราชหาญทัพหนึ่ง พระยาเมืองขวา พระยาศรีมหาโน เพี้ยจ่าหมื่น ได้รบทัพนายยงวัน ๑ พระยาเมืองขวา พระยาศรีมหาโน เพี้ยจ่าหมื่น ก็ล่าทัพหนีลงมาทางราชลืมเชียงดาหัวแม่น้ำงำ เจ้าพรหมา เจ้าคำปาน ยกขึ้นไปถึงบ้านเทียวเมืองไชย ได้รบทัพหลวงนายยงเวลา ๑ พอพลบค่ำสิ้นแสงอัษฎงค์ ดึกประมาณ ๓ ยามเศษ นายยงก็พาเอาท้าวพระยาไพร่พลเลิกทัพหนีไปทั้งกลางวันกลางคืนมิได้หยุด เจ้าพรหมา เจ้าคำปาน จึงแต่งให้พระยาศรีวรวงษ์ เมืองไชย เพี้ยคำชมภู นายอาสาคุมพล ๘๐๐ เศษ ตามนายยงขึ้นไปถึงเมืองปูนเหนือหาทันนายยงไม่ ครั้นถึงณวันเดือน ๖ ปีจอ จัตวาศก ( ศักราช ๑๒๒๔ พ.ศ. ๒๔๐๕ ) เจ้าพรหมา เจ้าคำปานก็เลิกทัพกลับลงมาเมืองหลวงพระบาง แต่นายยงยกกองทัพเข้ามาตีเขตรแดนเมืองหลวงพระบางครั้งนั้น เจ้าเมืองหลวงพระบางลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทณกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงพระราชทานสัญญาบัตรเพิ่มยศขึ้น ให้เปนพระเจ้าจันทรเทพประภาคุณศุภสุนทรธรรมธาดาพระเจ้านครหลวงพระบาง แล้วก็กราบถวายบังคมลาพาเอาเจ้านายบุตรหลานกลับขึ้นไป


๖๕ ? พระเจ้าเมืองหลวงพระบางจันทร์มีบุตรชาย ๔ องค์ ชื่อเจ้าสุวรรณองค์ ๑ เจ้าคำบัวองค์ ๑ เจ้าคำแสงองค์ ๑ เจ้ากัญญาองค์ ๑ มีบุตรหญิง ๗ องค์ ชื่อเจ้าคำป่ององค์ ๑ เจ้าคำด้วง องค์ ๑ เจ้าคำแว่นองค์ ๑ เจ้าคำผุยองค์ ๑ เจ้าทองดีองค์ ๑ เจ้าโสภาองค์ ๑ เจ้าคำอ้นองค์ ๑ ? เจ้าอุปราชอุ่นคำมีบุตรชาย ๒ องค์ ชื่อเจ้าคำสุกองค์ ๑ เจ้า ศรีสุพรรณองค์ ๑ มีบุตรหญิง ๔ องค์ ชื่อเจ้าหนูคิ้มองค์ ๑ เจ้าหนูคำองค์ ๑ เจ้าคำหลาองค์ ๑ เจ้าอ่อนแก้วองค์ ๑ ? เจ้าราชวงษ์คำบัวมีบุตรชาย ๗ องค์ ชื่อเจ้าพรหมาองค์ ๑ เจ้าสุวรรณคำองค์ ๑ เจ้าคำดูองค์ ๑ เจ้าสุวรรณองค์ ๑ เจ้าดวงจันทร์องค์ ๑ เจ้าคำตันองค์ ๑ เจ้าคำอุ่นองค์ ๑ มีบุตรหญิง ๕ องค์ ชื่อเจ้าบุดดีองค์ ๑ เจ้าคำชาวองค์ ๑ เจ้าขนคำองค์ ๑ เจ้าทองวัน องค์ ๑ เจ้าจันทสมุทองค์ ๑ ? พระเจ้าจันทรเพทประภาคุณเจ้าเมืองหลวงพระบางอยู่ในสมบัติ ๑๙ ปี ชนมายุ ๗๑ ถึงแก่พิราไลย ( ในรัชกาลที่ ๕ ) เมื่อ ณวันพุฒเดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมเมีย ศักราช ๑๒๓๒ ( พ.ศ. ๒๔๑๔ )

สิ้นฉบับเดิมเท่านี้


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก