ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๓

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๓

พิมพ์แจกในงานศพ

นางสุ่น ชาติโอสถ

ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๖๒

พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร



คำนำ จางวางตรี พระยามหินทรเดชานุวัฒน์ฯ สมุหเทศาภิบาลมณฑล นครไชยศรี มาแจ้งความแก่กรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนครว่าพร้อมใจกับพี่น้อง คือ นางสาย อิศรางกูร ณกรุงเทพ นางนวล นีละนิธิ แลจางวางตรี พระยาไพศาลศิลปสาตร อธิบดีกรมศึกษาธิการ จะทำ การปลงศพสนองคุณนางสุ่น ชาติโอสถ ผู้เปนมารดา มีความศรัทธา จะรับพิมพ์หนังสือหอพระสมุดวชิรญาณเปนของแจกในงานศพสักเรื่อง ๑ ขอให้กรรมการช่วยเลือกเรื่องหนังสือให้ ข้าพเจ้าจึงได้จัดหนังสือประชุม พงษาวดารภาคที่ ๑๓ ให้พิมพ์ตามประสงค์ หนังสือที่รวบรวมพิมพ์เปนประชุมพงษาวดารภาคที่ ๑๓ นี้มีตำนานวังน่าเรื่อง ๑ เทศนาบวรราชประวัติเรื่อง ๑ พระนามเจ้านายในพระราชวัง บวร ฯ เรื่อง ๑ รวม ๓ เรื่องด้วยกัน เปนเรื่องข้างฝ่ายวังน่าทั้งนั้น ที่ รวบรวมพิมพ์ไว้ในภาคเดียวกัน เพื่อจะให้เรื่องอยู่เปนหมวดหมู่สดวกแก่ ผู้อ่าน แลหนังสือทั้ง ๓ เรื่องนั้น มีอธิบายเฉภาะเรื่องดังจะกล่าวต่อไปนี้ เรื่องตำนานวังน่า ข้าพเจ้าแต่งใหม่ ประสงค์จะอธิบายเรื่องประวัติแลแผนที่วังน่า เวลาเปนพระราชวังของพระมหาอุปราชว่าเปนอย่างไร เหตุที่จะแต่งหนังสือเรื่องนี้ เพราะได้ยินผู้ศึกษาโบราณคดีปรารภกัน ถึงวัตถุสถานของโบราณ ซึ่งคนภายหลังรู้ไม่ได้ว่าเปนอย่างไร เช่น วังหลังเปนต้น เพราะไม่มีผู้ใดได้จดเรื่องราวเล่าแถลงไว้ แลปรารภ ต่อไปถึงวังน่า ว่าแม้ตัวผู้ที่เคยเห็นเมื่อบริบูรณ์ยังมีอยู่มากในบัดนี้ ถ้า ไม่มีใครแต่งเรื่องตำนานไว้ ยิ่งนานไปก็จะยิ่งรู้ยากเข้าทุกที ว่าของ เดิมเปนอย่างไร ความอันนี้เตือนใจข้าพเจ้าเวลาผ่านวังน่ามาหอพระ

(๒) สมุด ฯ เนือง ๆ ครั้นเมื่อหาเรื่องหนังสือสำหรับพิมพ์แจกในงานศพ หม่อมเทวาธิราช ( ม.ร.ว. แดง อิศรเสนา ณกรุงเทพ ) อยากจะให้ เปนเรื่องเนื่องด้วยสกุลอิศรเสนา ข้าพเจ้าจึงได้แต่งเรื่องตำนานวังน่า ตามที่ปรารภไว้ให้พิมพ์เปนครั้งแรก เรื่องเทศนาบวรราชประวัตินั้น เปนเทศนาถวายในรัชกาลที่ ๕ ในงานสมโภชพระนคร อมรรัตนโกสินทร เมื่อสร้างมาได้ถึง ๑๐๐ ปี เมื่อปีมเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕ ในงานพระราชกุศลส่วนบุพเปตะพลีครั้งนั้น โปรดให้ขอแรงข้าราชการผู้ใหญ่ทำกระจาดใหญ่ ตั้งที่ท้องสนามไชย บูชากันฑ์เทศน์ ถวายที่ในพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์เก่า ๔ กระจาดคือ เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี ทำกระจาดบูชากัณฑ์เทศน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ถวาย เทศนาพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ เนื่อง ด้วยอปจายนจริยา กัณฑ์ ๑ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ รัตนราชโกษาธิบดี ทำกระจาดบูชากัณฑ์เทศน์หม่อมเจ้าพระประภากร บวรวิสุทธิวงษ์ วัดบวรนิเวศน์ ถวาย เทศนาพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย เนื่อง ด้วยสุจริตจริยากถา กัณฑ์ ๑ เจ้าพระยารัตนบดินทร แต่ยังเปนเจ้าพระยาพลเทพ ทำกระจาด บูชากัณฑ์เทศน์ พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธ ถวายเทศนาพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว เนื่องด้วยญาติธรรมจริยา กัณฑ์ ๑

(๓) เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง ทำกระจาดบูชากัณฑ์เทศน์ สมเด็จ พระมหาสมณะ แต่ยังเสด็จดำรงพระยศเปนกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ถวายเทศนา พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวเนื่องด้วย บุพพทิสา มนัสน ธรรมจริยา กัณฑ์ ๑ ในข้างขึ้นเดือน ๘ ปีมเมียนั้น โปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่ฝ่ายพระ ราชวังบวรสถานมงคลเข้ากันทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศน์กระจาด ๑ ตั้งที่น่าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพระราชวังบวร ฯ แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบุพเปตะพลี ณพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ แล พระบรมวงษานุวงษ์ทั้งปวง สมเด็จพระวันรัต ( ทับ ) วัดโสมนัศวิหาร ถวายเทศนา พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แลกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ล่วงมาแล้วทั้ง ๓ พระองค์ เนื่อง ด้วยกตัญญูกตเวทีกถา กัณฑ์ ๑ เทศนากัณฑ์หลังนี้ที่พิมพ์ไว้ในสมุด เล่มนี้ เพราะเทศนาพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ รัชกาล ที่กล่าวมาก่อน ได้พิมพ์แล้วทั้ง ๔ กัณฑ์ แต่เทศนากัณฑ์ บวรราชประวัติยังหาได้เคยพิมพ์ไม่ แม้แต่ต้นฉบับเขียน หอพระสมุด ฯ ก็พึ่งไปได้มาจากสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดโสมนัศวิหารในไม่ช้านัก จึงเห็นควรจะพิมพ์รักษาไว้อย่าให้สูญไปเสีย พระนามเจ้านายในพระราชวังบวร ฯ นั้น คือบาญชีพระโอรสธิดา พระมหาอุปราชทั้ง ๕ รัชกาล เปนหนังสือหาฉบับยาก ไม่เคยพิมพ์มา แต่ก่อน ได้รวบรวมฉบับที่มีในหอพระสมุด ฯ มาสอบกัน แล้วคัดเรียบ เรียงตามที่เข้าใจว่าถูกต้อง พิมพ์ให้ปรากฏเปนครั้งแรก (๔) ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในกุศลบุญราษีทักษิณานุปทาน ซึ่งเจ้าภาพ ได้บำเพ็ญในการปลงศพสนองคุณมารดาด้วยความกตัญญูกตะเวที แล ได้พิมพ์หนังสือประชุมพงษาวดารภาคที่ ๑๓ นี้ ให้แพร่หลายด้วย. สภานายก หอพระสมุดวชิรญาณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒






ตำนานวังน่า

? วังน่า คือพระราชวังอันเปนที่ประทับของพระมหาอุปราชแต่ก่อนมา เรียกในราชการว่า " พระราชวังบวรสถานมงคล " แต่คน ทั้งหลายเรียกกันว่าวังน่ามาแต่ครั้งกรุงเก่า ถ้าจะค้นหาว่าเหตุใด จึงเรียกว่าวังน่า ดูเหมือนจะอธิบายได้ไม่ยาก เพราะตามศัพท์ ความก็หมายว่า วังที่อยู่ข้างน่า คือน่าของพระราชวังหลวง ตาม แผนที่กรุงเก่า วังจันทรเกษมซึ่งเปนที่ประทับของพระมหาอุปราช ก็อยู่ทิศตวันออก ด้านน่าของพระราชวังหลวง อยู่ในที่ซึ่งสมควร เรียกได้ว่าวังน่าด้วยประการทั้งปวง แต่มีข้อปลาดอยู่ที่ ๆ ประทับ ของพระมหาอุปราช ไม่ได้เรียกวังน่าแต่ในเมืองเรา พม่าเรียก พระมหาอุปราชของเขาว่า " อินแซะมิน " ภาษาพม่าอินแปลว่า วัง แซะ แปลว่าน่า มิน แปลว่า ผู้เปนเจ้า รวมความว่าผู้เปนเจ้าของวังน่า ก็ตรงกับวังน่าของเรา ยังเหล่าเมืองประเทศราชข้างฝ่ายเหนือเช่น เมืองเชียงใหม่เปนต้น เจ้าอุปราช เขาก็เรียกกันในพื้นเมืองว่า " เจ้าหอน่า " มาแต่โบราณ เหตุใดจึงเรียกพ้องกันดังนี้ดูน่าปลาด อยู่ จะว่าเพราะวังอุปราชพเอิญอยู่ข้างน่าวังหลวงเหมือนกันทั้งนั้นก็ใช่ เหตุ เมื่อมาพิเคราะห์ดูตามหลักฐานในทางโบราณคดี เห็นว่าน่าจะ เกิดขึ้นแต่ลักษณพยุหโยธาแต่ดึกดำบรรพ์ ที่จัดเปนทัพน่าแลทัพหลวง ๑


๒ พระมหากระษัตริย์ย่อมเสด็จเปนทัพหลวง ผู้ที่รองพระมหากระษัตริย์ ถัดลงมา คือพระมหาอุปราชย่อมเสด็จเปนทัพน่า ไปก่อนกองทัพ หลวงเปนประเพณี จึงเกิดเรียกพระมหาอุปราชว่าฝ่ายน่า แล้วเลย เรียกที่ประทับของพระมหาอุปราชว่า วังฝ่ายน่า แลย่อลงมาเปนวังน่า โดยสดวกปาก แต่คำว่า " วังน่า " นี้ ประเทศใดคงใช้เรียกกันจน เปนประเพณีเมืองอยู่ก่อน แล้วประเทศอื่นเอาอย่างมาใช้บ้าง จึงได้ เรียกพ้องกันไปเปนหลายประเทศ ข้าพเจ้าเห็นว่า ที่เรียกที่ประทับ ของพระมหาอุปราชว่าวังน่า เห็นจะเกิดที่เมืองพม่าก่อน พวกเจ้า ประเทศมณฑลพายัพเอาอย่างมาแต่เวลาขึ้นอยู่กับพม่าเมื่อครั้งกรุงเก่า ส่วนที่ในเมืองไทยนี้มีจดหมายเหตุปรากฏทีแรก ในครั้งแผ่นดินสมเด็จ พระนเรศวร (อยู่ในพระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ) เรียก สมเด็จพระเอกาทศรถว่า " พระเจ้าฝ่ายน่า " แลต่อมาพบในจดหมาย เหตุของพวกฮอลันดาเขียนในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถอิก ฉบับ๑ เรียกเจ้าฟ้าสุทัศน์ที่เปนพระมหาอุปราชว่า " เจ้าฟ้าฝ่ายน่า " คำฝ่ายน่า ที่ปรากฏนั้น เห็นว่าเนื่องกับคำว่า วังน่า นั้นเอง เพราะเหตุใด จะ อธิบายต่อไป ตำนานวังน่าครั้งกรุงเก่า ครั้งกรุงเก่าในชั้นแรก วังของพระมหาอุปราชจะตั้งอยู่ตรงที่ใด แลจะเรียกกันว่าอย่างไรไม่ปรากฏ เรื่องราวอันเปนมูลประวัติของวังน่า พึ่งมามีขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ด้วยเมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองมาตีเมืองไทย

๓ คราวขอช้างเผือกเมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๑๐๖ ยกเข้ามาทางด่านเมืองตาก แล้วตีหัวเมืองฝ่ายเหนือก่อน พระเจ้าหงษาวดียกกองทัพไปล้อมเมือง พิศณุโลก ซึ่งเปนราชธานีข้างฝ่ายเหนือ สมเด็จพระมหาธรรมราชา รักษาเมืองต่อสู้ข้าศึกจนหมดกำลัง เพราะสิ้นเสบียงอาหารแลเกิด ไข้ทรพิศม์ขึ้นที่ในเมือง จึงต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าหงษาวดี ครั้นพระเจ้าหงษาวดียกลงมากรุงศรีอยุทธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สู้ไม่ได้ก็ต้องยอมเปนไมตรี พระเจ้าหงษาวดีมีไชยชนะแล้ว เมื่อจะ เลิกทัพกลับไป พระมหาธรรมราชาจึงต้องถวายพระราชโอรสพระองค์ ใหญ่ คือสมเด็จพระนเรศวร เวลานั้นพระชัณษาได้ ๙ ขวบไปเปนตัว จำนำอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าหงษาวดี ตามเยี่ยงอย่างประเทศราช สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปอยู่เมืองหงษวดี ๖ ปี ครั้นสมเด็จพระมหา ธรรมราชาได้ราชสมบัติเมื่อปีมะเสง พ.ศ. ๒๑๑๒ ถวายพระสุพรรณเทวี ราชธิดาแก่พระเจ้าหงษาวดี ๆ จึงยอมให้สมเด็จพระนเรศวรกลับคืนมา พระราชบิดาให้เสด็จขึ้นไปสำเร็จราชการฝ่ายเหนือ อยู่ณเมืองพิศณุโลก ดำรงพระยศเปนพระยุพราช แลในเวลานั้นกรุงศรีอยุทธยาเปนประเทศ ราชขึ้นแก่กรุงหงษาวดี มีทางไมตรีสนิทสนม เปนเวลาที่นิยมถ่าย แบบอย่างแลประเพณีหงษาวดี เข้ามาใช้ในกรุงศรีอยุทธยาหลายอย่าง ข้าพเจ้าสันนิฐานว่า น่าจะถ่ายคำอินแซะมินของพม่ามาแปลเปนภาษา ไทย เรียกสมเด็จพระนเรศวรว่า " พระเจ้าฝ่ายน่า " เปนเดิมมา เพราะจะเรียกว่า " พระเจ้าวังน่า " ให้ตรงศัพท์อินแซะมินของพม่า ก็ไม่ได้เสด็จอยู่ที่วังในกรุงศรีอยุทธยา ขัดอยู่ในทางภาษา จึงใช้คำว่า " ฝ่าย " แทน ๔ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรครองเมืองพิศณุโลกอยู่นั้น เสด็จลงมา เฝ้าสมเด็จพระชนกชนนียังกรุงศรีอยุทธยาเนือง ๆ ความปรากฏใน หนังสือพระราชพงษาวดาร ( ฉบับพระราชหัดถเลขาเล่ม ๑ น่า ๑๐๒ ) ว่าสมเด็จพระนเรศวรเสด็จลงมาประทับที่วังใหม่ ที่เรียกว่าวังใหม่นี้ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) เปนผู้ได้สังเกตขึ้นก่อนว่า มิใช้ที่อื่น คือวังจันทรเกษมนั้นเอง สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างขึ้น เปนที่ประทับในกรุงศรีอยุทธยา จึงเรียกว่าวังใหม่ ต่อมาถึงปีวอก พ.ศ. ๒๑๒๗ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิศรภาพของเมืองไทย ไม่ยอมขึ้นเมืองหงษาวดีต่อไป ต้องเตรียมต่อสู้ศึกหงษาวดีที่จะมาตี เมืองไทย สมเด็จพระนเรศวรทรงกวาดต้อนผู้คนหัวเมืองฝ่ายเหนือ ลงมารวบรวมกันในกรุงศรีอยุทธยา ให้เปนที่มั่นต่อสู้พม่าแต่แห่งเดียว จึงเสด็จลงมาประทับอยู่ที่วังจันทรเกษมแต่นั้นมา ข้าพเจ้าสันนิฐานว่า เห็นจะเกิดเรียกวังจันทรเกษมว่า " วังฝ่ายน่า " ฤๅ " วังน่า " มาแต่ สมัยนี้ เพราะพระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรนั้นประการ ๑ เพราะวังจันทรเกษม พเอิญอยู่ตรงด้านน่าของพระราชวังหลวงด้วยอิกประการ ๑ แต่ความเข้าใจของคนทั้งหลายมายึดถือเอาความข้อหลังนี้ เปนเหตุที่เรียกว่าวังน่า จึงเรียกวังหลังขึ้นอิกวังหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏว่ามี ในประเทศอื่น เพราะวังหลังในกรุงศรีอยุทธยาสร้างขึ้นที่สวนหลวง เดิมตรงบริเวณโรงทหารทุกวันนี้ อยู่ด้านหลังพระราชวังหลวง ข้าพเจ้า เข้าใจว่า เห็นจะสร้างขึ้นเมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช นั้นเหมือนกัน สร้างขึ้นให้เปนที่ประทับของสมเด็จพระเอกาทศรถใน

๕ เวลาทำสงครามต่อสู้พม่า วังหลวงรักษาพระนครด้านเหนือ วังน่า รักษาพระนครด้านตวันออก วังหลังรักษาพระนครด้านตวันตก รักษา ลงมาบรรจบกับวังน่าข้างด้านใต้ เพราะข้างด้านใต้เปนที่น้ำฦก ข้าศึก เข้ามายาก ใช้เรือกำปั่นรบป้องกันได้ถนัด จึงเกิดมีพระราชวังหลวง วังน่า แลวังหลังแต่นั้นมา ครั้นสมเด็จพระมหาธรรมราชาสวรรคต สมเด็จพระนเรศวร เสด็จผ่านพิภพแล้ว ปรากฏในหนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐว่า เสด็จประทับอยู่วังน่าอิก ๕ ปี จึงไปเฉลิมพระราชมณเฑียร ที่พระราชวังหลวง เหตุที่เรียกวังน่าในกรุงเก่าว่า " วังจันทรเกษม " จะเกิดขึ้นเมื่อใดข้าพเจ้ายังไม่ทราบ แต่เห็นมีเค้าเงื่อนอยู่ ที่พระราชวัง ที่เมืองพิศณุโลกนั้นเรียกว่าวังจันทร์ แม้คนทุกวันเดี๋ยวนี้ในเมืองนั้นก็ ยังทราบกันอยู่ บางทีจะเอานามวังจันทร์เดิมมาเรียกวังน่าในกรุงเก่า ในเวลาเมื่อสมเด็จพระนเรศวรประทับเมื่อผ่านพิภพแล้วก็เปนได้ เพราะ จะเรียกว่าพระราชวังหลวง ๆ ของเดิมก็มีอยู่ จะเรียกว่าวังน่าก็มิใช่ เปนที่มหาอุปราชประทับ แลบางทีจะเนื่องโดยเหตุอันเดียวกัน จึงเรียกสมเด็จพระเอกาทศรถว่าพระเจ้าฝ่ายน่า เพราะเสด็จอยู่วังหลังในเวลา นั้น ความสันนิฐานตามเรื่องที่ปรากฏในพระราชพงษาวดารดังแสดง มานี้เปนอัตโนมัติของข้าพเจ้า บางทีอาจจะผิดได้ เพราะฉนั้นท่าน ทั้งหลายอย่าเพ่อถือเอาเปนหลักฐานไปทีเดียว.


๖ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จไปอยู่พระราชวังหลวงแล้ว เข้าใจว่า สมเด็จพระเอกาทศรถเห็นจะเสด็จไปประทับอยู่ที่วังจันทรเกษมเพราะเปนที่สำคัญในการรักษาพระนคร แลสมเด็จพระนเรศวรนั้นหา มีพระราชโอรสไม่ ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถมีเจ้าฟ้า ราชโอรส ๒ พระองค์ เจ้าฟ้าสุทัศน์พระองค์ใหญ่ได้เปนพระมหาอุปราช คงเสด็จอยู่วังจันทรเกษม เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์พระองค์น้อยเห็นจะ ประทับอยู่วังหลัง ต่อมาถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ( ใน จดหมายเหตุของฮอลันดาว่า ) มีน้องยาเธอพระองค์ ๑ แต่ไม่ได้เปน พระมหาอุปราช จะประทับอยู่ที่ไหนไม่มีเค้าเงื่อนที่จะรู้ได้ ส่วนพระเจ้า ลูกเธอ เวลาเมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคตล้วนยังทรงพระเยาว์ เข้าใจว่าประทับอยู่ในพระราชวังหลวงทั้งนั้น แผ่นดินสมเด็จพระเจ้า ทรงธรรมวังน่าจึงว่างตลอดทั้งรัชกาล ถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาท ทอง มีพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์ ๑ ทรงตั้งให้เปนพระศรีสุธรรมราชา ปรากฏว่าพระราชทานบ้านหลวงที่ตำบลข้างวัดสุทธาวาศให้เปนวัง ส่วน พระเจ้าลูกเธอก็ล้วนยังทรงพระเยาว์เสด็จอยู่ในพระราชวังหลวงทั้งนั้น วัง น่าจึงว่างมาอิกรัชกาลหนึ่ง เพราะไม่ได้ทรงตั้งพระมหาอุปราช จนเมื่อ จะสวรรคตจึงมอบเวนราชสมบัติพระราชทานแก่เจ้าฟ้าไชย ( เชษฐา ) พระราชโอรสองค์ใหญ่ เจ้าฟ้าไชยครองราชสมบัติอยู่ได้ ๙ เดือน สมเด็จพระนารายน์ราชอนุชาลอบหนีออกจากพระราชวังหลวง ไป คบคิดกับพระศรีสุธรรมราชาพระเจ้าอาว์ ชิงราชสมบัติได้จากเจ้าฟ้าไชย พระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติ ทรงตั้งสมเด็จพระนายรายน์ราช

๗ ภาคินัยเปนพระมหาอุปราช เสด็จไปประทับอยู่วังน่าตามตำแหน่ง ต่อ มาไม่ช้าก็เกิดรบพุ่งกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราช เมื่อสมเด็จ พระนารายน์ได้ราชสมบัติแล้ว เสด็จประทับอยู่ที่วังน่าต่อมาอิกหลายปี บางทีจะเรียกว่า " พระราชวังบวรสถานมงคล " ขึ้นในตอนนี้ โดยเหตุ สมเด็จพระนารายน์มีไชยได้ราชสมบัติ เพราะอาไศรยวังน่าเปนที่มั่นก็เปน ได้ ต่อมาเมื่อโปรดให้รื้อพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทในพระราช วังหลวงลงทำใหม่ เปลี่ยนนามเปนพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทรแล้ว จึง เสด็จไปเฉลิมพระราชมณเฑียรในพระราชวังหลวง พระราชทานวังหลัง ให้พระไตรภูวนาทิตยวงษ์น้องยาเธอประทับอยู่ เมื่อสำเร็จโทษพระไตร ภูวนาทิตยวงษ์แล้ว พระราชทานให้เจ้าฟ้าอภัยทศน้องยาเธออิกพระ องค์ ๑ เสด็จอยู่ แต่วังน่านั้น ตั้งแต่สมเด็จพระนารายน์มหาราช เสด็จไปประทับในพระราชวังหลวงแล้วก็ว่างมา ด้วยไม่ได้ทรงตั้งเจ้านายพระองค์ใดเปนพระมหาอุปราชจนตลอดรัชกาล. ความปรากฏในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า มีแบบแผนใน ราชประเพณีตั้งขึ้นใหม่เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์อย่างหนึ่ง ซึ่ง ๑ พระที่นั่งเบญจรัตน ฯ มีชื่อในหนังสือพระราชพงษาวดาร จนแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองแล้วเงียบหายไป สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชดำริห์ว่าจะเปนชื่อเก่าของพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทรนั้นเอง พิเคราะห์ดูฝีมือที่ก่อก็เปนของ ชั้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ แลปรากฏในหนังสือพระราชพงษาวดาร ว่าตั้งพระ บรมศพสมเด็จพระนารายน์ที่พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร จึงรู้ได้ว่ารื้อพระที่นั่ง เบญจรัตนสร้างใหม่ในแผ่นดินนั้น ๒ ในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า เจ้าฟ้าอภัยทต เปนพระราชโอรสสมเด็จ พระนารายน์นั้นผิดไป สมเด็จพระนารายน์มีแต่พระราชธิดา พระราชบุตรหามีไม่

๘ เรียกกันต่อมาว่า " ตั้งกรมเจ้านาย " แต่เดิมมาขัติยยศซึ่งสมเด็จ พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งเจ้านาย เปนตำแหน่งเฉภาะพระองค์ เช่นเปน พระราเมศวร พระบรมราชา พระอินทราชา พระอาทิตยวงษ์ ส่วน พระองค์หญิงก็มีพระนามปรากฏเปน พระสุริโยไทย พระวิสุทธิ กระษัตริย์เปนต้น ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มีเหตุเปนอริกับพระเจ้า น้องยาเธอ จึงไม่ได้ทรงสถาปนาขัติยยศพระองค์หนึ่งพระองค์ใด พระ ราชโอรสก็ไม่มี ( มีจดหมายเหตุฝรั่งกล่าวว่า เมี่อพระอรรคมเหษี ทิวงคต สมเด็จพระนารายน์มีพระราชประสงค์จะให้ข้าราชการในพระ มเหษีคงอยู่แก่เจ้าฟ้าราชธิดา ) จึงโปรดให้รวบรวมข้าราชการจัดตั้ง ขึ้นเปนกรม ๆ หนึ่ง เจ้ากรมเปนที่หลวงโยธาเทพ ให้ขึ้นอยู่ใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสุดาวดีราชธิดา แลให้จัดตั้งอิกกรมหนึ่ง เจ้ากรมเปนที่หลวงโยธาทิพ ให้ขึ้นอยู่ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุพรรณอย่างเดียวกัน เจ้าฟ้าทั้ง ๒ พระองค์นั้นจึงปรากฏ พระนามตามกรมว่า เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพพระองค์ ๑ เจ้าฟ้า กรมหลวงโยธาทิพพระองค์ ๑ เปนปฐมเหตุที่จะมีเจ้านายต่างกรม สืบมาจนทุกวันนี้. เมื่อสมเด็จพระนารายน์มหาราชเสด็จสวรรคต ราชสมบัติได้แก่ พระเพทราชา ทรงตั้งหลวงสรศักดิราชโอรสเปนพระมหาอุปราช ให้ เสด็จอยู่วังน่าตามตำแหน่ง แลตั้งนายจบคชประสิทธิผู้มีความชอบ ช่วยให้ได้ราชสมบัติขึ้นเปนเจ้าอิกพระองค์ ๑ พระราชทานวังหลังให้ เปนที่ประทับ แล้วจึงให้บัญญัตินามเรียกสังกัดวังน่าว่ากรมพระราชวัง ๙ บวรสถานมงคล แลให้เรียกสังกัดวังหลังว่า กรมพระราชวังบวรสถาน ปนทีแรก ตามแบบกรมหลวงโยธาทิพแลกรมหลวงโยธาเทพ ซึ่งได้ตั้งขึ้นเมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราชนั้น เข้าใจว่า ที่วังหลังจะได้ชื่อว่า พระราชวังบวรสถานภิมุขมีมาแต่ครั้งนี้ แต่ที่ คนเรียกพระองค์พระมหาอุปราชว่าวังน่าก็ดี ฤากรมพระราชวังบวร ฯลฯ ก็ดี เปนแต่เรียกกันตามสดวกปาก เหมือนอย่างเรียกเจ้านายใน กรุงรัตนโกสินทรนี้ว่า วังบุรพา แลกรมอื่น ๆ เช่นกรมพระพิพิธเปนต้น ในทุกวันนี้ ที่จริงในทางภาษาไม่เปนชื่อเอกชน แต่ก่อนเขาจึงเติมคำ " พระเจ้า " ฤๅ " เจ้า " ฤๅ " เสด็จ " เข้าข้างน่า ยังใช้ในราชการ มาจนในรัชกาล ที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร เมื่อไทยทำหนังสือกับอังกฤษยัง เขียนในบันทึกว่า " ทำต่อน่าพระที่นั่งเจ้ากรมหมื่นสุรินทรรักษ์ " ดังนี้ ถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ทรงตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเพ็ชรพระองค์ใหญ่เปนพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จประทับที่วังน่าตามตำแหน่ง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพรพระองค์น้อยทรงตั้งเปนพระบัณฑูรน้อย จะเปนด้วยทรงรังเกียจตำแหน่งกรมพระราชวังหลัง ด้วยเมื่อตั้งนายจบคชประสิทธิ เปนอยู่ได้ ไม่ยืดยาวต้องสำเร็จโทษ ฤาจะยกย่องพระยศให้สูงขึ้นเสมอกับพระ มหาอุปราชาอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ แต่พระบัณฑูรน้อยจะเสด็จประทับ วังไหน แลข้าราชการในสังกัดกรมพระบัณฑูรน้อยจะมีทำเนียบแล นามขนานอย่างไรหาทราบไม่ ๒

๑๐ สมเด็จพระเจ้าเสือสวรรคต พระมหาอุปราช คือสมเด็จพระเจ้า ท้ายสระได้ครองราชสมบัติ ( มีจดหมายฝรั่งว่า เมื่อสมเด็จพระ เจ้าเสือสวรรคตนั้น เปนเวลาทรงขัดเคืองพระมหาอุปราช จึงทรง มอบเวนราชสมบัติพระราชทานพระบัณฑูรน้อย ครั้นสมเด็จพระเจ้าเสือสวรรคตแล้ว พระบัณฑูรน้อยถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐา พระมหาอุปราช ) จึงทรงตั้งพระบัณฑูรน้อยเปนพระมหาอุปราช กรมพระ ราชวังบวรสถานมงคล เสด็จประทับที่วังน่าต่อมาตามตำแหน่ง สมเด็จ พระเจ้าท้ายสระมีพระราชโอรสเปนเจ้าฟ้า ๓ พระองค์ พระองค์ใหญ่ ทรงพระนามเจ้าฟ้านเรนทร เปนกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ รองลงมาถึง เจ้าฟ้าอภัย แล้วเจ้าฟ้าปรเมศวร์ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระจะใคร่ให้ ราชสมบัติได้แก่พระราชโอรส แต่เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ไม่ เต็มพระไทยที่จะเปนผู้รับราชสมบัติ ด้วยเห็นว่าพระมหาอุปราชมีอยู่ ( ฝรั่งว่า เพราะเห็นว่าราชสมบัติเปนของเจ้าอาว์ถวาย เมื่อสิ้น รัชกาลแล้วควรคืนเปนของพระเจ้าอาว์ ) ครั้นออกทรงผนวชก็เลย ไม่สึก เมื่อสมเด็จพระเจ้าท้ายสระจะสวรรคต จึงมอบราชสมบัติ พระราชทานแก่เจ้าฟ้าอภัยพระราชโอรสที่ ๒ พระมหาอุปราชไม่ยอม เกิดรบพุ่งกันขึ้นเปนศึกกลางเมือง พระมหาอุปราชมีไชยชนะจึงได้ ราชสมบัติ เมื่อพระมหาอุปราช คือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐเสด็จ ผ่านพิภพนั้น ทำพระราชพิธีปราบดาภิเศกที่วังน่า แล้วเสด็จประทับ อยู่ที่วังน่าต่อมาอิก ๑๔ ปี มิได้เสด็จไปประทับอยู่พระราชวังหลวง

๑๑ ถ้าเวลามีการพระราชพิธีก็เสด็จไปเฉภาะงาน สิ้นงานแล้วก็เสด็จกลับ ไปวังจันทรเกษม ( ความที่กล่าวข้อนี้ จะเห็นได้ในจดหมายเหตุงาน พระศพเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ ซึ่งหอพระสมุด ฯ พิมพ์แล้วนั้น ) แลตำแหน่งพระมหาอุปราชก็ไม่ได้ทรงตั้ง ปล่อยให้ว่างอยู่ถึง ๑๐ ปี ชรอยจะขัดข้องในพระราชหฤไทย ที่จะเลือกในระหว่างเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ซึ่งเปนพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ กับพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมขุน สุเรนทรพิทักษ์ ซึ่งมีความชอบไม่แย่งชิงราชสมบัติเมื่อเวลามีโอกาศ นั้น จึงเปนแต่โปรดให้ตั้งกรมเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ พระราชโอรส พระองค์ใหญ่ เปนกรมขุนเสนาพิทักษ์ มาจนถึงปีระกา พ.ศ. ๒๒๘๔ ( เจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์เห็นจะสิ้นพระชนม์ ) จึงได้พระราชทาน อุปราชาภิเศกเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ เปนพระมหาอุปราชกรมพระราช วังบวรสถานมงคล แต่เสด็จอยู่ในพระราชวังหลวง เพราะสมเด็จ พระบรมชนกนารถเสด็จประทับอยู่ที่วังน่า ครั้นปีชวด พ.ศ. ๒๒๘๗ เกิดเพลิงในวังน่า พระราชมณเฑียรไฟไหม้เสียเปนอันมาก สมเด็จ พระเจ้าบรมโกษฐจึงเสด็จมาอยู่พระราชวังหลวง ประทับที่พระที่นั่ง บรรยงก์รัตนาศน์ เอาพระที่นั่งทรงปืนข้างท้ายวังเปนที่เสด็จออก ครั้น ปลูกสร้างพระราชมณเฑียรใหม่ในวังน่าแล้ว จึงโปรดให้พระมหาอุปราช เสด็จไปอยู่วังน่าตามตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระ ราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์เปนพระมหาอุปราชอยู่ ๑๔ ปี มีความผิด ต้องรับพระราชอาญา เลยทิวงคตในระหว่างโทษ วังจันทรเกษมก็ว่าง แต่นั้นมาจนตลอดสมัยครั้งกรุงเก่า

๑๒ สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐมีพระราชโอรสเปนเจ้าฟ้าอิก ๒ พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเอกทัศ เปนกรมขุนอนุรักษ์มนตรีพระองค์ ๑ เจ้าฟ้าอุทุมพร เปนกรมขุนพรพินิตพระองค์ ๑ ถึงปีฉลู พ.ศ. ๒๓๐๐ จะทรงตั้งเจ้าฟ้า กรมขุนพรพินิตพระราชโอรสพระองค์น้อยเปนพระมหาอุปราช เจ้าฟ้า กรมขุนพรพินิตกราบทูลขอพระองค์ ว่าพระเชษฐายังมีอยู่ สมเด็จ พระเจ้าบรมโกษฐรับสั่งว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นโฉดเขลา จะปกครองรักษาแผ่นดินไม่ได้ อยู่ก็กีดขวาง ให้ไปทรงผนวชเสีย เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีก็ต้องออกทรงผนวช จึงพระราชทาน อุปราชาภิเศกแก่เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตให้เปนพระมหาอุปราช แล้วให้ เสด็จประทับอยู่ในพระราชวังหลวง มิได้เสด็จขึ้นไปอยู่วังน่า เจ้าฟ้า อุทุมพรกรมขุนพรพินิตเปนพระมหาอุปราชอยู่ปีเดียว สมเด็จพระเจ้า บรมโกษฐก็สวรรคต เมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรขึ้นผ่านพิภพนั้น ผลแห่งความอริกัน ในพระราชวงษ์ อันมีมูลมาแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ ก็มาปรากฏเปนเหตุการณ์เกิดขึ้น ด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐมี พระเจ้าลูกยาเธอเกิดด้วยพระสนม ที่พระชัณษาเปนผู้ใหญ่อยู่ ๔ พระ องค์ เปนกรมหมื่นเทพพิพิธพระองค์ ๑ กรมหมื่นจิตรสุนทรพระ องค์ ๑ กรมหมื่นสุนทรเทพพระองค์ ๑ กรมหมื่นเสพภักดีพระองค์ ๑ กรมหมื่นเทพพิพิธชอบพอกับกรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ แต่ อิกสามกรมนั้นเปนอริ จึงหาเหตุร้ายฟ้องร้องกรมพระราชวังบวร ฯ จน ต้องรับพระราชอาญา แลเลยทิวงคตเปนที่สุด เจ้าฟ้าพระอนุชาของ


๑๓ กรมพระราชวัง ฯ ทั้ง ๒ พระองค์ก็เปนอริกับเจ้าสามกรมนั้นต่อมา แต่ เจ้าฟ้าทั้ง ๒ พระองค์ทรงพระเยาว์กว่าเจ้าสามกรมมาก ครั้นสิ้นกรม พระราชวังบวร ฯ แล้วเจ้าสามกรมก็ทรงองอาจไม่ยำเกรง ด้วยถือว่า เจ้าฟ้า ๒ พระองค์ยังเปนเด็ก ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรม โกษฐจึงเกิดแตกกันเปนสองพวก ๆ เจ้าสามกรมพวก ๑ พวกเจ้าฟ้า พวก ๑ น่าจะเปนด้วยเหตุนี้ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐจะทรงตั้ง เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตเปนพระมหาอุปราช จึงกราบทูลขอพระองค์ เพราะเกรงจะเกิดอริขึ้นในเจ้าฟ้าด้วยกันเองอิกชั้น ๑ การก็เปนดังนั้นจริง เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐประชวรหนัก พอรู้กันว่าจะไม่คืนดีได้ เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีก็ลอบลาผนวช กลับเข้ามาอยู่ในพระราชวัง หลวง พอสวรรคต เจ้าสามกรมก็ตั้งท่าจะกำเริบ พระมหาอุปราช ได้เปรียบด้วยเปนผู้ที่รับราชสมบัติ จึงเข้ากันกับเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์ มนตรี ช่วยกันจับเจ้าสามกรมสำเร็จโทษเสีย ครั้นเสร็จปราบเจ้าสาม กรม พระมหาอุปราชได้ทำการพระราชพิธีปราบดาภิเศกแล้ว ก็เกิด ความลำบากขึ้น ด้วยเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีที่ลาผนวชออกมา เสด็จขึ้นอยู่พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทรโดยพลการ ทำท่วงทีเปนทำนอง พระเจ้าแผ่นดิน หวังจะให้สมเด็จพระอนุชา ฯ ถวายราชสมบัติ ให้เหมือน เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าท้าย สระ ไม่อ่อนน้อมต่อสมเด็จพระอนุชาธิราชฉันพระราชามหากระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจะทำอย่างไรก็ขัดอยู่ ด้วยเปนสมเด็จพระเชษฐา ธิบดีร่วมพระราชชนนีอันเดียวกัน เกรงสมเด็จพระชนนีด้วยอิกชั้น ๑

๑๔ ( ในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า ) พเอิญพระชัณษาสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ครบอุปสมบทในปีนั้น ครั้นเสวยราชย์มาได้ ๓ เดือนเศษก็ทูลถวาย ราชสมบัติแก่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี แล้วเสด็จออกไปทรงผนวช อยู่ณวัดประดู่โรงธรรม เจ้าฟ้าเอกทัศกรมขุนอนุรักษ์มนตรีก็ทำพีธี ราชาภิเศกขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ในแผ่นดินนั้นจึงปรากฏมีพระมหากระษัตริย์เปน ๒ พระองค์ คนทั้งหลายเรียกกันว่า ขุนหลวงพระที่นั่ง สุริยาศน์อมรินทรพระองค์ ๑ ขุนหลวงหาวัดพระองค์ ๑ แต่ไม่ได้มีพระมหาอุปราชตลอดมาจนเสียกรุงเก่าแก่พม่าข้าศึกเมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๓๑๐ เรื่องตำนานวังน่าครั้งกรุงเก่า ถ้ากล่าวแต่เนื้อความโดยสังเขป วังน่า แรกมีขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อราวปีวอก พ.ศ. ๒๑๑๕ เข้าใจว่าวังจันทรเกษมนั้นในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วมาเรียกว่าพระราชวังบวรสถานมงคลเมื่อใน แผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราช วังน่าได้เปนที่ประทับของสมเด็จ พระเจ้าแผ่นดิน ๓ ครั้ง คือในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชครั้ง ๑ แผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราชครั้ง ๑ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรม โกษฐครั้ง ๑ พระมหาอุปราชที่ได้เสด็จประทับที่วังจันทรเกษมมี ๘ พระ องค์ คือ สมเด็จพระนเรศวรพระองค์ ๑ สมเด็จพระเอกาทศรถพระองค์ ๑ เจ้าฟ้าสุทัศน์พระองค์ ๑ สมเด็จพระนารายน์พระองค์ ๑ พระเจ้าเสือ (เปนแรกที่ปรากฏพระนามว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ) พระองค์ ๑ พระเจ้าท้ายสระพระองค์ ๑ พระเจ้าบรมโกษฐพระองค์ ๑ กรมพระราชวัง บวรมหาเสนาพิทักษ์ (เปนที่สุด ) พระองค์ ๑

๑๕ พระราชมณเฑียรสถานที่ต่าง ๆ ในวังจันทรเกษม ซึ่งเปนของ เก่าสร้างแต่ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แลสมเด็จพระนารายน์ มหาราช ตลอดมาจนสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ เห็นจะเปนอันตราย สูญไปเสียเมื่อไฟไหม้ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐโดยมาก ที่ สร้างใหม่ชั้นหลังสำหรับกรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ เข้าใจว่า เห็นจะทำแต่เปนสถานประมาณพอเสด็จอยู่ได้ หมดของดีงามมาแต่ครั้ง นั้นชั้นหนึ่งแล้ว ครั้นเสียกรุงเก่า วังจันทรเกษมเปนที่ทิ้งร้างทรุดโทรม มาอิกกว่า ๘๐ ปี ทั้งรื้อเอาอิฐมาสร้างกำแพงพระนครรัตนโกสินทรเมื่อ ในรัชกาลที่ ๑ แลรื้อเอามาสร้างพระอารามเมื่อในรัชกาลที่ ๓ เสียเปน อันมาก พึ่งมาสถาปนาเปนพระราชวังขึ้นอิกเมื่อในรัชกาลที่ ๔ เพราะ ฉนั้นแผนที่เดิมจะเปนอย่างไรจึงทราบไม่ได้ทีเดียว สิ่งซึ่งสร้างในวัง จันทรเกษมเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ที่ทราบว่าสร้างตามแนวรากของโบราณ มีแต่หมู่พระที่นั่งพิมานรัถยา อันเปนที่ว่าการมณฑลกรุงเก่าอยู่บัดนี้ แห่ง ๑ พระที่นั่งพิไสยศัลลักษณ์ ( หอสูง ) อิกแห่ง ๑ พระยาโบราณราชธานินทร์ขุดพบแนวพระราชมณเฑียร อยู่ตรงโรงเรียนข้างหลังวัง จันทรเกษมอิกแห่ง ๑ กับฐานระหัดน้ำยังอยู่ที่ริมเขื่อนตรงมุมวังข้างใต้ ก็เปนของครั้งกรุงเก่าอิกอย่าง ๑ แต่เล่ากันมาว่าเขตรวังน่าเดิมกว้าง กว่าแนวกำแพงวังเดี๋ยวนี้มาก วัดเสนาศนาราม ( แต่ก่อนเรียกว่าวัดเสื่อ ) วัดขมิ้น ( อยู่ในบริเวณเรือนจำใหม่ ) ๒ วัดนี้ว่าอยู่ในเขตรวัง ครั้ง กรุงเก่าเปนวัดไม่มีพระสงฆ์ เรื่องตำนานวังน่าครั้งกรุงเก่า มีเนื้อ ความตามที่ได้ทราบดังกล่าวมานี้ ต่อมาในครั้งกรุงธนบุรี ไม่มี พระมหาอุปราช ในกรุงธนบุรีจึงมิได้มีวังน่า ๑๖ ตำนานวังน่า ในกรุงรัตนโกสินทร

? เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เสด็จผ่านพิภพ โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเปนพระมหาอุปราชแล้ว ทรงสร้าง พระนครใหม่ข้างฝั่งแม่น้ำฟากตวันออก จึงสร้างพระราชวังหลวงแล พระราชวังบวร ฯ ขึ้นใหม่ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๒๕ พร้อมกันทั้งสองวัง แต่ที่ซึ่งจะสร้างพระราชวังใหม่เปนที่มีเขตรจำกัด เพราะแผนที่กรุงธนบุรี เอาแม่น้ำไว้กลาง ตั้งกำแพงเมืองทั้งสองฟาก คลองตลาดทุกวันนี้ เปนคูเมืองข้างฟากตวันออก พื้นที่ในบริเวณกำแพงเมืองเดิมข้างฝั่ง ตวันออก มีที่ผืนใหญ่พอจะสร้างพระราชวังได้แต่ ๒ แปลง คือที่ แต่วัดโพธารามยืนมาข้างเหนือจนถึงวัดสลักแปลง ๑ แต่วัดสลักขึ้นไป จนถึงปากคลองคูเมืองข้างเหนืออิกแปลง ๑ ไม่มีที่อื่นที่จะสร้างพระราชวังนอกจากที่ ๒ แปลงนี้ จึงตั้งพระราชวังหลวงในที่แปลงใต้ แลตั้ง พระราชวังบวรสถานมงคลในที่แปลงข้างเหนือ เพราะเหตุนี้พระราชวัง หลวงกับวังน่าในกรุงรัตนโกสินทรจึงอยู่ใกล้ชิดกัน ไม่เหมือนที่กรุงเก่า ครั้นต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ขึ้นเปนกรม พระราชวังหลัง พระราชวังหลังก็ต้องไปตั้งที่ปากคลองบางกอกน้อย ฟากข้างโน้น ผิดแผนที่ครั้งกรุงเก่า เปนแต่เอาชื่อมาเรียกว่าวังหลัง ให้เหมือนประเพณีครั้งกรุงเก่าเท่านั้น.


๑๗ พระราชวังที่สร้างในกรุงรัตนโกสินทรนี้ ถ่ายแบบอย่างพระราชวัง กรุงเก่ามาสร้างทั้งพระราชวังหลวงแลวังน่า มีคำผู้หลักผู้ใหญ่เล่ามา ว่า พระราชวังหลวงสร้างหันน่าวังขึ้นเหนือน้ำ เอาพระฉนวนน้ำไว้ข้าง ซ้ายวัง ตามแผนที่พระราชวังหลวงที่กรุงเก่า กรมพระราชวังบวร มหาสุรสิงหนาทดำรัสว่าไม่ถูกทิศ พระราชวังที่กรุงเก่าหันน่าวังไปทาง ทิศตวันออก ให้สร้างพระราชวังบวร ฯ หันน่าไปทางทิศตวันออก พระฉนวนน้ำวังน่าจึงกลับไปอยู่ข้างหลังวัง เพราะแม่น้ำที่กรุงเก่าอยู่ทา ทิศเหนือพระราชวังหลวง แลอยู่ทางทิศตวันออกวังจันทรเกษม แต่ แม่น้ำที่กรุงรัตนโกสินทรอยู่ข้างทิศตวันตกของที่สร้างพระราชวัง จึง เปนเหตุให้แตกต่างกันไปได้ดังกล่าวมา แต่ส่วนแผนที่ข้างภายใน พระราชวัง ถ้าใครเคยได้เที่ยวเดินดูในพระราชวังหลวงที่กรุงเก่า ตั้ง แต่เมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ได้ขุดที่ตกแต่งมาแล้ว สังเกตดู ก็จะเห็นได้ว่าพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพ ฯ นี้ ถ่ายแผนที่ข้างตอนน่า มาสร้างเหมือนกันไม่เพี้ยนผิด คือวัดพระศรีรัตนศาสดารามอยู่ตรงที่วัด พระศรีสรรเพ็ชญ์ หมู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยอยู่ตรงพระวิหารสมเด็จ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอยู่ตรงพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท แต่เมื่อ ในรัชกาลที่ ๑ เว้นเสียองค์ ๑ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทอยู่ตรงพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ถึงศาลาลูกขุนแลที่ปันเขตรกำแพงพระราชวังชั้นกลาง ชั้นในก็ตรงกัน ส่วนพระราชวังบวร ฯ นั้น จะได้ถ่ายแบบวังน่าที่กรุงเก่า บ้างฤาอย่างไรหาทราบไม่ ด้วยของเดิมไม่มีอะไรเหลืออยู่พอจะตรวจ ๓

๑๘ เทียบ แต่ทราบได้แน่ว่า ที่ตรงสิ่งสำคัญนั้นถ่ายแบบพระราชวังหลวง กรุงเก่าตอนข้างด้านหลังมาสร้าง ถ้าสังเกตดูในแผนที่วังน่าที่พิมพ์ ในสมุดเล่มนี้ ที่ตรงสระสี่เหลี่ยมมีเกาะกลาง จะเห็นได้ว่าถ่ายแบบ สระพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์มาสร้าง แลพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน ( อันเปนพิพิธภัณฑ์สถานทุกวันนี้ ) อยู่ตรงกับแผนที่พระที่นั่งทรงปืนใน พระราชวังหลวงที่กรุงเก่า แลยังมีคนเรียกพระที่นั่งศิวโมกข์ ว่า พระที่นั่งทรงปืนอยู่จนทุกวันนี้ ความที่กล่าวมาว่าตามที่จะแลเห็นหลักฐานเปนที่สังเกตได้แน่นอนในปัจจุบันนี้ แต่เมื่อแรกสร้างเห็นจะมีอะไรที่ ถ่ายแบบอย่างมาอิกหลายสิ่ง แต่รื้อแลแปลงไปเสียแล้วจึงรู้ไม่ได้ การสร้างพระราชวังในกรุงรัตนโกสินทร ทั้งพระราชวังหลวงแลวังน่าไม่ได้สร้างสำเร็จในคราวเดียว แรกลงมือสร้างเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๒๕ เปนการเร่งรัดด้วยจะทำพระราชพิธีปราบดาภิเศก กำแพงพระราชวัง ใช้แต่ปักเสาไม้ระเนียด พระราชมณเฑียรก็ทำแต่ด้วยเครื่องไม้มุงจาก พอเสด็จประทับชั่วคราวทั้งพระราชวังหลวงวังน่า พระราชวังหลวงเวลา ปลูกสร้างไม่ถึงสองเดือนก็ถึงพระฤกษ์พระราชพิธีปราบดาภิเศก เสด็จ มาเฉลิมพระราชมณเฑียรเมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๘ บุรพาสาธ ขึ้น ๔ ค่ำ พระมหาอุปราชจะได้เสด็จจากพระนิเวศน์เดิม อันอยู่ตรงป้อมพระสุเมรุ ทุกวันนี้ มาเฉลิมพระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลที่สร้าง ใหม่เมี่อวันใดยังไม่พบจดหมายเหตุ แต่มีหลักฐานที่ยุติได้เปนแน่ ว่า เสด็จมาภายในเดือน ๘ บุรพาสาธ ปีขาลจัตวาศกนั้นเอง ด้วยมี


๑๙ จดหมายเหตุปรากฏว่า ปฤกษาความชอบตั้งกรมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอหลานเธอแลตั้งข้าราชการทั้งหลายเมื่อเดือน ๘ อุตราสาธ การอันนี้ ต้องอยู่ภายหลังพระราชพิธีอุปราชาภิเศก. ครั้นเสด็จมาประทับอยู่ในพระราชวังใหม่แล้ว จึงลงมือปลูกสร้าง สิ่งซึ่งเปนของถาวรต่อมา ทั้งพระราชวังหลวงแลวังน่าด้วยกัน ในหนังสือ พระราชพงษาวดารว่า การสร้างพระนครอมรรัตนโกสินทรแลพระราชวังหลวง สร้างอยู่ ๓ ปี สำเร็จเมื่อในปีมะเสง พ.ศ. ๒๓๒๘ จึงทำ การพระราชพิธีบรมราชาภิเศก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ แล้วสมโภชพระนครต่อกันไป เชื่อได้ว่าพระราชวังบวร ฯ ก็คงสร้าง สำเร็จแลได้มีการฉลองเนื่องในงานสมโภชพระนครคราวนั้นด้วย แต่ หากไม่ปรากฏจดหมายเหตุรายการ แก่ผู้แต่งหนังสือพระราชพงษาวดาร จึงมิได้พรรณาไว้ด้วย แต่การก่อสร้างในชั้นนั้น ทั้งพระนคร ฯ แลพระ ราชวัง สิ่งซึ่งสร้างเปนของก่ออิฐถือปูน เฉภาะแต่ป้อมปราการ สำหรับป้องกันข้าศึกศัตรู ส่วนพระราชมณเฑียรแลสถานที่นอกจากนั้น ทำด้วยเครื่องไม้แทบทั้งนั้น แม้ซุ้มประตูเมืองแลประตูพระราชวังก็เปน เครื่องยอดทำด้วยไม้ ที่สุดจนพระที่นั่งอินทราภิเศกมหาปราสาทใน พระราชวังหลวง ซึ่งสร้างขึ้นแต่แรก ก็เปนปราสาทไม้ เพราะใน เวลานั้นอิฐปูนยังหาได้ยาก ป้อมปราการที่สร้างในกรุงรัตนโกสินทร ต้องไปรื้อเอาอิฐกำแพงกรุงเก่ามาก่อสร้างแทบทั้งหมด เพราะฉนั้น สิ่งซึ่งสร้างเปนของก่ออิฐถือปูน นอกจากป้อมปราการกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้นแล้ว เปนของก่อสร้างต่อทีหลังเปนลำดับมาทั้งนั้น

๒๐ จะกล่าวเฉภาะตำนานการสร้างพระราชวังบวร ฯ ต่อไป ที่เกาะ กลางสระ ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว เดิมกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จะทรงสร้างปราสาทเหมือนอย่างพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ที่กรุงเก่า สร้าง ยังไม่ทันสำเร็จมีเหตุเกิดขึ้น เมื่อณวันศุกร เดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๖ อ้ายบันทิด ๒ คนคิดขบถลอบเข้าไปในวังน่า ไปแอบ พระทวารด้านหลังพระราชมณเฑียรคอยจะทำร้ายกรมพระราชวังบวร ฯ เวลาเสด็จลงทรงบาตร แต่พเอิญเช้าวันนั้นจะเสด็จลงมาเฝ้า ฯ สมเด็จ พระบรมเชษฐาธิราชที่พระราชวังหลวง เสด็จออกทางพระทวารด้านน่า อ้ายขบถจึงทำร้ายไม่ได้ ครั้นเสด็จลงมาพระราชวังหลวงแล้ว ทางโน้น นางพนักงานในวังน่าไปพบอ้ายขบถก็ร้องอื้ออึงขึ้น เจ้าพนักงานผู้รักษา น่าที่พากันเข้าไปจับได้คน ๑ ไล่ไปฟันตายลงตรงที่สร้างปราสาทคน ๑ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทมีรับสั่งว่า ที่วังจันทรเกษมซึ่งเปน วังน่าครั้งกรุงเก่าไม่มีปราสาท พระองค์มาทรงสร้างปราสาทขึ้นใน วังน่าเห็นจะเกินวาศนาไปจึงมีเหตุ จึงโปรดให้งดสร้างปราสาทนั้นเสีย ให้เอาตัวไม้ที่ปรุงไว้ไปสร้างพระมณฑป(เก่า)ที่วัดนิพพานาราม คือวัดมหาธาตุทุกวันนี้ ส่วนที่ซึ่งกะไว้ว่าจะสร้างปราสาทนั้น โปรด ให้สร้างพระวิมานถวายเปนพุทธบูชา ขนานนามว่า " พระพิมานดุสิดา " เปนที่ไว้พระพุทธรูป พระวิมานนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทันทอดพระเนตรเห็น ทรงพรรณาไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่องสถานที่

๓ พบนามพระพิมานที่กล่าวนี้ในหนังสือนิพพานวังน่า.

๒๑ ซึ่งกรมพระราชวังบวร ฯ ทรงสร้าง ( หอพระสมุดพิมพ์ในประชุม พระบรมราชาธิบาย เมี่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ) ว่าตัวพระวิมานกลางที่เป็น หอพระ หลังคามุงดีบุก ฝากระดาน ข้างนอกประกอบเปนลายทรง เข้าบิณฑ์ปิดทองประดับกระจก ข้างในเขียนลายรดน้ำมีราชวัตรฉัตร รูปอย่างฉัตรเบญจรงค์ (ปักรายรอบ) เปนเครื่องปิดทองประดับกระจก ทั้งสิ้น นอกพระวิมานออกมามีพระระเบียง ฝาข้างในเขียนเรื่อง พระปฐมสมโพธิแลเรื่องรามเกียรดิ " งามนักหนา " ข้างนอกมีลาย ประกอบปิดทองประดับกระจก เสาแลหูช้างพนักข้างในก็ล้วนลายสลัก ปิดทองประดับกระจก มีตะพานพนักสลักปิดทองเปนทางข้ามสระเข้าไป ทั้งสี่ทิศ. ตรงสระมาทางตวันออกสร้างท้องพระโรงหลัง ๑ เปนพระที่นั่งโถง วางแผนที่ตามแบบอย่างพระที่นั่งทรงปืนในพระราชวังหลวงที่กรุงเก่า จึงเปนเหตุให้คนทั้งหลายเรียกว่าพระที่นั่งทรงปืนมาจนทุกวันนี้ แต่ที่จริง ขนานนามว่า " พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน " ในจดหมายเหตุเก่าเห็นเรียกพระที่นั่งทรงธรรมก็มี พระราชมณเฑียรที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสร้าง ขึ้นเปนที่ประทับในชั้นแรก รูปสัณฐานจะเปนอย่างไรทราบไม่ได้ แม้ที่ สร้างจะอยู่ตรงไหนก็สงไสยอยู่ พระราชมณเฑียรที่สร้างเปนตึก เปน ที่เสด็จประทับต่อมา เปนของสร้างในชั้นหลัง ประมาณว่าราวปีระกา

๔ เรื่องนามพระที่นั่งในวังน่า มีข้อสงไสยอยู่บ้าง จะกล่าวต่อไปในตอนอธิบายแผนที่

๒๒ จุลศักราช ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒ ในคราว ๆ เดียวกับสร้างหอพระมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้วยแบบอย่างลวดลายคล้ายคลึงกัน ส่อให้เห็นว่าสร้างในคราวเดียวกัน พระราชมณเฑียรที่สร้างใหม่นี้ สร้างเปนพระวิมาน ๓ หลังเรียงกัน เข้าใจว่าจะมีแบบอย่างในกรุงเก่า มาแต่คติที่ว่าปราสาทเป็นที่ประทับ ๓ ฤดูกาล แม้ตำหนักสมเด็จ พระสังฆราชครั้งกรุงเก่าก็ทำเปน ๓ หลัง จึงเรียกว่า " ไตรโลก มณเฑียร " ในศุภอักษรที่มีไปเมืองลังกา ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้า บรมโกษฐ แต่ข้าพเจ้าได้ไปเดินตรวจดูในพระราชวังหลวงที่กรุงเก่า กับพระยาโบราณราชธานินทร์ด้วยกันหลายครั้ง ยังไม่พบที่สร้าง พระวิมาน ๓ หลังที่ตรงไหน มีปรากฎแต่ในหนังสือคำให้การชาว กรุงเก่า ( ซึ่งหอพระสมุดพิมพ์แล้ว เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๕๗ ) ว่า พระวิมาน ๓ หลังมีที่วังจันทรเกษม ตรงพระที่นั่งพิมานรัถยา ที่สร้าง เปนที่ว่าการมณฑลกรุงเก่าทุกวันนี้ ในกรุงรัตนโกสินทรนี้ พระราช มณเฑียรที่ประทับสร้างเปนพระวิมาน ๓ หลัง ทั้งในพระราชวังหลวง แลที่วังน่า ในพระราชวังหลวง คือหมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานนั้น แต่ สร้างผิดกัน พระวิมานวังหลวงสร้างติดกันทั้ง ๓ หลัง พระวิมาน วังน่าสร้างห่างกัน มีชาลาคั่นกลาง จะกล่าวเฉภาะพระวิมานวังน่า ตัวพระวิมาน ๓ หลังทำเปนสองชั้น หลังใต้ขนานนามว่า " พระที่นั่ง วสันตพิมาน " ทำนองความว่าเปนที่ประทับฤดูฝน หลังกลางขนาน นามว่า " พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ " ทำนองความว่า เปนที่ประทับ ฤดูหนาว แต่หลังเหนือขนานนามว่า " พระที่นั่งพรหเมศรังสรรค์ "

๒๓ ทำนองความแปลกไป จะเปนด้วยเหตุใดไม่มีเค้าเงื่อนที่จะทราบ ได้ แต่สันนิฐาน ๆ ว่า เดิมเห็นจะมีนามอื่น ซึ่งทำนองความว่าเปนที่ ประทับฤดูร้อน แต่มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเปลี่ยนนามนั้นเสีย ถ้าจะสันนิฐานต่อไปถึงเหตุ เห็นมีเหตุทำนองเดียวกันครั้งกรุงเก่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างพระที่นั่งองค์ ๑ ขนานนามว่า " พระที่นั่งศรียโสธร " แล้วทรงพระสุบินไปว่า พระอินทร์มาทูล จักรพยุหะถวาย จึงเอานิมิตรนั้นเปลี่ยนนามพระที่นั่งศรียโสธรนั้น เปนพระที่นั่ง จักรวัติไพชนต์ น่าจะมีนิมิตรอันใดเปนเหตุให้เปลี่ยน นามพระวิมานหลังเหนือ เปนพระที่นั่งพรหเมศรังสรรค์ ก็เปนได้ ที่ชลาระหว่างพระวิมาน ข้างหนึ่งมีตึกห้องสรง อิกข้างหนึ่งมีตึกที่ลง พระบังคน สร้างต่างหากข้างละหลัง ต่อพระวิมานออกมาทั้งข้างน่า ข้างหลัง สร้างพระราชมณเฑียรชั้นเดียวเปนหลังขวาง ตลอดแนวพระ วิมานทั้งสองด้าน ตรงพระวิมานหลังกลาง ทำเปนมุขผ่านหลังขวางตรง ออกไปทั้งด้านน่าแลด้านหลัง ที่สุดมุขด้านน่า มีพระที่นั่งบุษบกมาลา เปนที่เสด็จออกแขกเมือง มุขนี้เรียกว่าท้องพระโรงน่า มุขหลังพระวิมาน เรียกว่า ท้องพระโรงหลัง แลมีปราสาททองสร้างไว้ที่มุขหลังหนึ่ง เปนที่สรงพระภักตร์ เล่ากันมาว่า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท นั้น มีที่พระบรรธมทั้งที่บนพระวิมาน แลที่ห้องพระราชมณเฑียร หลังขวางหลายแห่ง ไม่บรรธมที่ใดแห่งเดียวเปนนิตย์ แต่ถึงจะ บรรธมที่ใด คงจะเสด็จมาสรงพระภักตร์ที่ปราสาททองนั้น กล่าวกัน มาดังนี้


๒๔ พระราชมณเฑียรหลังขวาง ข้างน่าข้างหลังพระวิมานที่กล่าวมานี้ มีนามขนานเรียกเปนมุข ด้านตวันออกเฉียงเหนือ เรียกพระที่นั่ง บุรพาภิมุข ตวันออกเฉียงใต้ เรียกทักษิณาภิมุข ตวันตกเฉียงใต้ เรียกปัจฉิมาภิมุข ตวันตกเฉียงเหนือ เรียกอุตราภิมุข นามเหล่านี้ สงไสยว่า จะมาขนามต่อเมื่อในรัชกาลที่ ๓ พร้อมกับขนานนามมุข น่าว่า พระที่นั่งภิมุขมณเฑียร แลมุขหลังว่า พระที่นั่งปฤษฎางค์ภิมุขก็ เปนได้ มุขน่าเมื่อเปนท้องพระโรงครั้งแรกสร้างในรัชกาลที่ ๑ เข้าใจว่า เรียกพระที่นั่งพรหมภักตร์ ตรงน่ามุขพระที่นั่งบุษบกมาลาออกมาข้าง นอกเดิมเปนชาลา ที่แขกเมืองเฝ้า พ้นชาลาออกมามีทิมคด บังน่ามุข ท้องพระโรงทั้งสามด้าน ทิมคดนี้ต่อมามีชื่อเรียกว่า " ทิมมหาวงษ์ " เพราะประชุมนักปราชญ์ แปลหนังสือมหาวงษ์พงษาวดารลังกาที่ตรงนั้น เล่ากันมาว่า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดเสด็จออกที่ระโหฐานที่ทิมมหาวงษ์นี้. เมื่อปีมแม พ.ศ. ๒๓๓๐ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จขึ้นไปตั้งเมืองเชียงใหม่ ซึ่งร้างมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี เมื่อเสด็จ กลับเชิญพระพุทธรูปพระพุทธสิหิงค์ อันเปนพระพุทธรูปสำคัญในพระราชพงษาวดารลงมาด้วย เรื่องตำนานของพระพุทธสิหิงค์นี้ ว่าเดิม พระเจ้ากรุงลังกาองค์ ๑ ทรงสร้างขึ้นไว้ พระเจ้านครศรีธรรมราชไปขอ มาถวายสมเด็จพระร่วง ( รามราช ) พระเจ้ากรุงศุโขไทย ๆ ทรงปฎิบัติ

๕. ในหนังสือพระราชพงษาวดาร ลงศักราชปีที่กรมพระราชวังบวร ฯ เชิญ พระพุทธสิหิงค์ลงมาช้าไป ๘ ปี


๒๕ บูชามาหลายรัชกาล จนสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ กรุงศรีอยุทธยา ได้เมืองศุโขไทยเปนเมืองขึ้น จึงเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ในกรุงศรี อยุทธยา อยู่ได้น่อย ๑ พระมเหษีคิดอุบายทูลขอให้พระยาญาณดิศผู้เปนบุตรไปไว้ณเมืองกำแพงเพ็ชร อยู่นั่นไม่ช้า พระยามหาพรหมเจ้าเมืองเชียงรายยกกองทัพมาตีเมืองกำแพงเพ็ชร พระยาญาณดิศสู้ไม่ได้ ยอมเปนไมตรี พระยามหาพรหมจึงขอพระพุทธสิหิงค์ไปไว้เมืองเชียงราย ต่อมา พระยามหาพรหมเกิดวิวาทกับพระเจ้าแสนเมืองมาเจ้านครเชียงใหม่ ผู้เปนหลาน พระเจ้าแสนเมืองมายกกองทัพไปตีได้เมืองเชียงราย จึงเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมากับพระแก้วมรกฎด้วยกัน พระพุทธสิหิงค์ อยู่มาในเมืองเชียงใหม่ จนสมเด็จพระนารายน์มหาราชเสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อปีขาล จุลศักราช ๑๐๒๔ พ.ศ. ๒๒๐๕ จึงเชิญพระพุทธ สิหิงค์ลงมากรุงศรีอยุทธยา ประดิษฐานไว้ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ พระ พุทธสิหิงค์อยู่ในกรุงศรีอยุทธยาต่อมาตลอดเวลา ๑๐๕ ปี จนเสียพระนคร แก่พม่าข้าศึก สมัยนั้นชาวเชียงใหม่ยังเปนพวกพม่า จึงเชิญพระพุทธ สิหิงค์กลับไปไว้เมืองเชียงใหม่ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรง พระราชดำริห์ว่า พระพุทธสิหิงค์เคยเปนพระพุทธรูปสำคัญในกรุงศรี อยุทธยา โดยมีตำนานดังแสดงมา จึงได้โปรดให้เชิญลงมายัง กรุงเทพ ฯ ประจวบเวลากำลังทรงสร้างพระราชมณเฑียรที่กล่าวมาแล้ว จึงโปรดให้สร้าง พระวิมานถวายเปนที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์องค์ ๑ ๔


๒๖ ต่อออกมาข้างด้านน่าพระราชมนเฑียรทางตวันออก ขนานนามว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ฝาผนังข้างในเขียนรูปเทพชุมนุม แลเรื่องพระ ปฐมสมโพธิ เปนพุทธบูชา ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ พระที่นั่งสุทธา สวรรย์นี้ เปนที่สำหรับทำการพระราชพิธีตรุษสารทแลโสกันต์ลูกเธอด้วย ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏว่ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสร้างเขาไกรลาศ บนยอดเขามีบุษบก สำหรับเปนที่ลูกเธอสรงเวลาโสกันต์ ๑ เรียกในหนังสือ นิพพานวังน่าว่าเขาแก้ว แต่จะอยู่ที่ตรงไหนไม่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ แลว่ามีเขาก่อเปนฐานรองหอแก้วศาลพระภูมิอิกเขา ๑ ยังอยู่ข้างหลัง พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรจนทุกวันนี้ กระบวนพระราชมณเฑียรใน พระราชวังบวร ฯ ที่สร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ได้ความดังกล่าวมานี้ สถานที่ต่าง ๆ ในพระราชวังบวร ฯ นอกพระราชมณเฑียรจะมี สิ่งใดสร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๑ บ้างทราบไม่ได้แน่ ด้วยของที่สร้าง ในครั้งนั้นสร้างด้วยเครื่องไม้ หักพังรื้อถอนแลสร้างใหม่เปลี่ยนแปลง ในชั้นหลังเสียแล้วแทบทั้งหมด ได้แต่ประมาณว่า บรรดาสถานที่ สำหรับราชการ อย่างใดมีในพระราชวังหลวงก็คงมีในวังน่าทำนอง เดียวกัน คือ โรงช้าง โรงม้า ศาลาลูกขุน คลัง เปนต้น ที่ทราบว่า ผิดกับพระราชวังหลวงมีอยู่บางอย่าง คือตำหนักข้างใน ในพระราชวัง หลวงสร้างเปนตำหนักเครื่องไม้ทั้งนั้น พึ่งมาเปลี่ยนเปนตึกเมื่อใน


๒๗ รัชกาลที่ ๓ แต่ตำหนักในวังน่าสร้างเปนตึกมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ แล มีตำหนักหมู่หนึ่ง ยกหลังคาเปนสองชั้น คล้ายพระวิมาน เปนที่ ประทับของเจ้ารจจาผู้เปนพระอรรคชายา แลเปนพระมารดาของเจ้าฟ้า พิกุลทอง อิกอย่างหนึ่งนั้น มีปรากฏในจดหมายเหตุเก่าว่า ที่ลาน พระราชวังบวร ฯ ชั้นนอกข้างด้านเหนือ ตรงที่สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาศเมื่อในรัชกาลที่ ๓ ( แลยังปรากฏเรียกว่าพระเมรุพิมานอยู่บัดนี้ ) เมื่อ แต่แรกเปนส่วนที่ประพาศ ของกรมพระราชวังบวร ฯ มีตำหนักสร้าง ไว้ในสวนนั้นหลัง ๑ ต่อมากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงพระ ราชอุทิศให้เปนบริเวณที่หลวงชีจำศีลภาวนา เหตุเพราะมารดาของ นักองค์อีธิดาสมเด็จพระอุไทยราชาพระเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งเปนพระสนม เอก ชื่อนักนางแม้น บวชเปนรูปชี เรียกกันว่านักชี มาอยู่ในกรุง ฯ จึงโปรดให้มาอยู่ในพระราชวังบวร ฯ กับพวกหลวงชีที่เป็นบริสัช ที่ ตรงนั้นจึงเลยเรียกกันว่า " วัดหลวงชี " ว่าด้วยเขตพระราชวังบวร ฯ เขตรวังปันเปนชั้นในชั้นกลาง ชั้นนอก เหมือนอย่างพระราชวังครั้งกรุงเก่ามาแต่เดิม แต่เขตร พระราชวังบวร ฯ ชั้นในกับชั้นกลาง เมื่อในรัชกาลที่ ๑ จะอยู่เพียงไหน จะทราบโดยแผนที่ที่มีอยู่ไม่ได้แน่ ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๔ พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้า ทรงขยายเขตรวังชั้นกลางออกไปข้างด้านตวันออก เขตรวังชั้นในก็ขยายออกไปข้างด้านเหนือ แต่มีของควรสังเกตอยู่ อย่างหนึ่งว่า ที่ในพระราช วังบวร ฯ ไว้ที่เปนสนามใหญ่กว่าใน


๒๘ พระราชวังหลวงทั้งชั้นกลางแลชั้นนอก คงจะเปนเช่นนี้มาแต่เดิม เพราะการฝึกหัดช้างม้าผู้คนพลทหารฝ่ายพระราชวังบวร ฯ มักฝึกหัด อยู่ได้แต่ในบริเวณวังน่า จะออกมาฝึกหัดตามท้องถนนแลสนามหลวงเหมือนอย่างข้างวังหลวงไม่ได้ แต่เขตรพระราชวังบวร ฯ ชั้นนอก ตามแนวป้อมปราการที่ปรากฏในแผนที่ เปนของคงตามเมื่อแรกสร้าง ครั้งรัชกาลที่ ๑ มิได้เปลี่ยนแปลงในชั้นหลัง ป้อมรอบพระราชวังบวร ฯ มี ๑๐ ป้อม เปนของสร้างในรัชกาล ที่ ๑ ทั้งนั้น รูปป้อม ๔ มุมวัง ทำเปนแปดเหลี่ยม หลังคากระโจม นอกนั้นทำเปนรูปหอรบ มีป้อมซึ่งมีเรื่องตำนานอยู่ป้อม ๑ ชื่อป้อม ไพฑูรย์อยู่ข้างทิศใต้ เปนรูปหอรบยาวตามกำแพงวัง ทางปืนตรง เฉภาะพระราชวังหลวง ประหนึ่งว่าสร้างไว้สำหรับยิงพระราชวังหลวง เหตุใดจึงได้สร้างป้อมนี้ก็หาปรากฏไม่ ปรากฏในหนังสือพระราช พงษาวดารแต่ว่า เคยเปนเหตุถึงใหญ่โตครั้งหนึ่งเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๓๙ คราวนั้นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เกิดขัดพระไทยกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ถึงไม่เสด็จลงมาเฝ้า ฯ ความปรากฎ ในหนังสือนิพพานวังน่า ว่ามีข้าราชการวังน่ากราบทูลกรมพระราชวัง บวร ฯ ว่า พวกวังหลวงให้เอาปืนใหญ่ขึ้นป้อมจะยิงวังน่า กรมพระราช วังบวร ฯ รับสั่งให้นักองค์อีแต่งข้าหลวงลอบลงมาสืบพวกเขมรที่ลากปืน ที่วังหลวง ก็ได้ความแต่ว่าเอาปืนขึ้นป้อมเมื่อยิงอาฎานาพิธีตรุษ กรม พระราชวังบวร ฯ จะมีรับสั่งอย่างไรหาปรากฏไม่ ปรากฏในหนังสือ


๒๙ พระราชพงษาวดารแต่ว่า พวกข้าราชการวังน่า มีพระยาเกษตร (บุญรอด) เปนต้น ให้เอาปืนขึ้นป้อมไพฑูรย์นี้ แลตระเตรียมจะต่อสู้ วังหลวง พวกข้าราชการวังหลวงเห็นข้างวังน่าตระเตรียมกำลังก็ ตระเตรียมบ้าง เกือบจะเกิดรบกันขึ้น ความทราบถึงสมเด็จพระพี่นาง ทั้งสองพระองค์จึงเสด็จขึ้นไปวังน่า มีรับสั่งเล้าโลมสมเด็จพระอนุชา ธิราชจนสิ้นทิษฐิมานะ แล้วพาพระองค์ลงมาเฝ้าสมเด็จพระบรมเชษฐา ธิราช การที่ทรงขัดเคืองกันจึงระงับไปได้ . ภายนอกบริเวณกำแพงพระราชวังบวร ฯ ด้านใต้แลด้านตวันออก แต่เดิมมีคูทั้งสองด้าน คูไม่ฦกแลกว้างเท่าใดนัก พอน้ำไหลขึ้น ขังอยู่ได้ พ้นคูออกมามีถนนรอบวัง ถนนด้านใต้ คือถนนพระจันทร์ ทุกวันนี้ ยืนขึ้นไปทางตวันออกจนจดถนนน่าวังใกล้ถนนราชดำเนินใน ทุกวันนี้ ส่วนด้านเหนือเพราะคลองคูเมืองเดิมเปนคู ถนนอยู่ข้างใน ใกล้แนวถนนราชินีทุกวันนี้ปลายไปลงที่ท่าช้างวังน่า ด้านตวันตกเปนลำแม่น้ำ เอากำแพงพระนครเปนกำแพงวังชั้นนอก ยังมีถนนผ่านพระราชวังบวร ฯ ตามยาวเหนือลงใต้อิกสามสาย คือริมกำแพงข้างในพระนครสาย ๑ ข้างเหนือวังมีสพานช้างข้ามคลอง คูเหมือนเดิม ตรงสพานเจริญสวัสดิทุกวันนี้ ถนนสายกลาง คือถนน น่าพระธาตุทุกวันนี้นั้นเอง ตรงประตูพรหมทวารวังน่า เปนทางเสด็จลงมาพระราชวังหลวง ถนนสายตวันออกก็คืออย่างถนนราชดำเนินในทุกวันนี้ แต่อยู่ค่อนมาทางตะวันตก ต่อจากถนนสนามไชยตรงไปหาสพานเสี้ยว ซึ่งเปนสพานช้างวังน่าอิกสพานหนึ่ง

๓๐ พ้นถนนรอบพระราชวังบวร ฯ ออกมาข้างด้านใต้ต่อเขตรวัดมหาธาตุเดิมชื่อวัดสลัก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสถาปนาใน คราวเดียวกับสร้างวังน่า แต่แรกทรงขนานนามว่า วัดนิพพานาราม ครั้นจะทำสังคายนาพระไตรปิฏก เมี่อปีวอก พ.ศ. ๒๓๓๑ เปลี่ยนนามว่า วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ แลได้เสด็จออกทรงผนวชอยู่คราวหนึ่ง ๑๕ ราตรี เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๓๘ ต่อมาเมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จสวรรคตแล้วจึงเปลี่ยนนามอิกครั้ง ว่าวัดมหาธาตุ น่าวัด มหาธาตุเปนท้องสนามหลวง อยู่ระหว่างพระราชวังหลวงกับพระราชวัง บวร ฯ เวลาทำพระเมรุในท้องสนามหลวงพระเมรุอยู่กลาง พลับพลา วังหลวงตั้งข้างใต้ พลับพลาวังน่าตั้งข้างเหนือ เครื่องมหรศพของ วังหลวงกับวังน่าเล่นคนละฝ่ายสนามหลวง ทางด้านตวันออกตรงน่าวังข้ามถนนไปสร้างวังลูกเธอ (ตั้งแต่ตรงถนนพระจันทร์ไปจนน้ำพุนางพระธรณี) ๔ วัง เรียงแต่ข้างใต้ไปข้างเหนือ คือวังพระองค์เจ้าลำดวนวัง ๑ วังพระองค์เจ้าอินทปัตวัง ๑ วังพระองค์เจ้าอสนีภายหลังได้เปนกรมหมื่นเสนีเทพวัง ๑ วังพระองค์เจ้าช้างวัง ๑ ด้านเหนือข้ามฟากถนนไปริมคลองคูเมืองเดิมเปนโรงไหม แลโรงช้าง ตลอดท่าช้าง ฟากคลองข้างเหนือสร้างวังกรมขุนสุนทรภูเบศร์ (ทีหลัง เปนวังเจ้าฟ้าอิศราพงษ์ อยู่ตรงระหว่างโรงกระสาปน์กับโรงพยาบาล ทหารทุกวันนี้) ด้านตวันตกพระราชวังบวร ฯ ประตูวังทางลงท่าทำเปน ประตูยอดปรางค์เรียกประตูฉนวน (วังน่า) ประตู ๑ ที่ท่าพระฉนวน


๓๑ มีแพจอดเปนที่ประทับประจำท่า แลเรียกว่าตำหนักแพเหมือนวังหลวง ข้างใต้ท่าพระฉนวนเปนโรงเรือแลสรีสำราลของชาววัง มีอุโมงค์เปน ทางเดินออกไปได้แต่ในวัง ใต้อุโมงค์ลงไปเปนโรงวิเสศจนสุดเขตรวัง ข้างเหนือตำหนักแพเปนโรงฝีพาย แลเข้าใจว่าท่าตำรวจต่อขึ้นไป แล้ว มีโรงช้างอยู่ริมน้ำหลัง ๑ ต่อโรงช้างถึงประตูท่าช้างวังน่า เหนือประตู ว่าเปนบ้านข้าราชการจนปากคลองคูเมืองเดิม เหนือคลองคูเมืองเดิม ขึ้นไปทางริมน้ำนอกกำแพงเมืองเปนบ้านรับแขกเมือง แลบ้านขุนนาง ตอนในกำแพงเมืองเปนบ้านเสนาบดีวังน่า แลมีคุกวังน่าอยู่ตรงน่าวัด ชนะสงครามแห่ง ๑ ด้วยท้องที่กำหนดเปนแขวงอำเภอพระราชวังบวร ฯ กึ่งพระนครตามแบบครั้งกรุงเก่า มาจนถึงราววัดเทพธิดา ภูมิแผนที่ วังน่าเปนดังพรรณามาฉนี้. มีคำกล่าวกันมาแต่ก่อนว่า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสร้างพระราชมณเฑียรแลสถานที่ต่าง ๆ ในพระราชวังบวร ฯ ทรง ทำโดยประณีตบรรจงทุก ๆ อย่าง ด้วยตั้งพระราชหฤไทยว่า เมื่อ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชสิ้นพระชนมายุขัยสวรรคต ถึงเวลาพระองค์ ทรงครอบครองราชสมบัติ จะเสด็จประทับอยู่พระราชวังบวร ฯ ตาม แบบอย่างสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ ไม่เสด็จลงมาอยู่วังหลวง เปนคำ เล่ากันมาดังนี้ แต่พระราชประวัติมิได้เปนไปตามธรรมดาอายุขัย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จดำรงพระยศมาได้ ๒๑ พรรษา ถึงปีจอ พ.ศ. ๒๓๔๕ มีพระอาการประชวรเปนนิ่วในเวลาเมื่อเสด็จเปน


๓๒ จอมพลไปรบพม่าที่มาตีเมืองเชียงใหม่ เสด็จขึ้นไปถึงกลางทางประชวร ลงในเดือน ๓ ต้องประทับอยู่ที่เมืองเถิน ให้กรมพระราชวังหลังเสด็จ ขึ้นไปบัญชาการรบแทนพระองค์ เมื่อมีไชยชนะข้าศึกเสร็จสงคราม เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพ ฯ พระอาการค่อยทุเลาขึ้นคราวหนึ่ง ครั้นถึง เดือน ๘ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๔๖ พระโรคกลับกำเริบอิก คราวนี้พระอาการ มีแต่ทรงอยู่กับทรุดลงโดยลำดับมา จนถึงเดือน ๑๒ ประชวรหนัก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ขึ้นไปช่วยรักษาพยาบาล มาจนถึงวันพฤหัศบดี เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ เพลาเที่ยงคืน กรมพระ ราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จสวรรคตในพระที่นั่งบุรพาภิมุข คำนวณ พระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา ครั้นรุ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกย์เสด็จไปพระราชทานน้ำสรงพระศพพร้อมด้วยพระราชวงษานุวงษ์ ทรงเครื่องพระศพตามพระเกียรติยศเสร็จแล้ว เชิญลงพระลองประกอบ ด้วยพระโกษฐไม้สิบสองหุ้มทองคำ ซึ่งโปรดให้สร้างขึ้นใหม่ แห่ไปประดิษฐานไว้ณพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พร้อมด้วยเครื่องประดับตาม สมควรแก่พระเกียรติยศพระมหาอุปราช แล้วโปรดให้มีหมายประกาศ ให้คนโกนหัวไว้ทุกข์ทั่วพระราชอาณาเขตร.

๖ ในหนังสือพระราชพงษาวดารที่เจ้าพระยาทิพากรวงษ์แต่งว่า พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เสด็จขึ้นไปประทับแรมอยู่ ๖ ราตรี ข้าพเจ้าสงไสยว่าจะเอา คราวรัชกาลที่ ๒ มาลงผิดไป ด้วยในหนังสือเรื่องนิพพานวังน่าไม่ปรากฏว่าเสด็จไป ประทับแรม.

๓๓ ตรงนี้จะต้องกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ ทรงพระประชวรจะสวรรคต ด้วยเกี่ยวเนื่องกับตำนานวังน่าในชั้นหลัง ต่อมา เรื่องราวเหตุการณ์ทั้งปวงนั้นมีปรากฏอยู่ในหนังสือพระราช พงษาวดาร แลพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับทั้งในเรื่องนิพพานวังน่า พระองค์เจ้าหญิงกัมพุชฉัตร พระราชธิดา กรมพระราชวังบวร ฯ ซึ่งนักองค์อีเปนเจ้าจอมมารดาได้ทรงนิพนธ์ไว้ พิมพ์แล้วทั้ง ๓ เรื่อง พิเคราะห์เนื้อเรื่องที่ยุติต้องกัน ได้ความดังนี้. เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสังเกตเห็นอาการ ที่ทรงพระประชวรมีแต่ทรงอยู่กับทรุดลงเปนอันดับมา จนพระศิริรูปซูป ผอมทุพลภาพ ทรงรำคาญด้วยทุกขเวทนาที่มีในอาการพระโรค วันหนึ่ง จึงทรงอธิฐานเสี่ยงทายพระสุธารศว่า ถ้าหากพระโรคที่ประชวรจะหาย ไซ้ ขอให้เสวยพระสุธารศนั้นให้ได้โดยสดวก พอเสวยพระสุธารศ เข้าไปก็มีอาการทรงพระอาเจียน พระสุธารศไหลกลับออกมาหมด แต่ นั้นกรมพระราชวังบวร ฯ ก็ปลงพระราชหฤไทยว่าคงสวรรคต มิได้ เอาพระไทยใส่ที่จะเสวยพระโอสถรักษาพระองค์ แลทรงสั่งเสียพระราช โอรสธิดาข้าราชการในวังน่าตามพระอัธยาไศรยให้ทราบทั่วกันว่า พระ องค์คงจะเสด็จสวรรคตในไม่ช้าแล้ว อยู่มาในกาลวันหนึ่ง ทรงรฦกถึง วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ ซึ่งไฟไหม้เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๔๔ ทรงสถาปนา ใหม่ การยังค้างอยู่ จึงดำรัสสั่งให้เชิญพระองค์ขึ้นทรงพระเสลี่ยง ๕


๓๔ เสด็จออกมายังวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ ว่าจะทรงนมัสการลาพระพุทธรูป ครั้นเสด็จถึงน่าพระประธานในพระอุโบสถ ดำรัสเรียกพระแสงว่า จะจบ พระหัตถ์อุทิศถวายให้ทำเปนราวเทียน ครั้นพนักงานถวายพระแสงเข้า ไป ทรงเรียกเทียนมาจุดเรียบเรียงติดเข้าที่พระแสงทำเปนพุทธบูชาอยู่ ครู่หนึ่ง ขณะนั้นพออาการพระโรคเกิดทุกขเวทนาเสียดแทงขึ้นเปน สาหัส ก็ทรงปรารภจะเอาพระแสงแทงพระองค์ถวายเปนพุทธบูชา พระองค์เจ้าชายลำดวนลูกเธอองค์ใหญ่ที่ตามเสด็จไปด้วย เข้าแย่ง พระแสงไปเสียจากพระหัตถ์ กรมพระราชวังบวร ฯ ทรงโทมนัศทอด พระองค์ลงทรงพระกรรแสงแช่งด่าพระองค์เจ้าลำดวนต่าง ๆ ในที่สุด เจ้านายแลข้าราชการที่ไปตามเสด็จ ต้องช่วยกันปล้ำปลุกเชิญพระองค์ ขึ้นทรงพระเสลี่ยงกลับคืนเข้าพระราชวังบวร ฯ ต่อนั้นมาในไม่ช้าอิกวัน หนึ่งกรมพระราชวังบวร ฯ มีรับสั่งว่า พระราชมณเฑียรสถานได้ทรง สร้างไว้ใหญ่โตมากมาย เปนของประณีตบรรจง ประชวรมาช้านาน ไม่ได้ทอดพระเนตรเห็นให้รอบคอบ จะใคร่ทอดพระเนตรให้สบาย พระราชหฤไทย จึงโปรดให้เชิญพระองค์ขึ้นทรงพระเสลี่ยงบรรธม พิงพระเขนย เชิญเสด็จไปรอบพระราชมณเฑียร กระแสรับสั่งของ กรมพระราชวังบวร ฯ เมื่อเสด็จประพาศพระราชมณเฑียรครั้งนี้เล่ากัน มาเปนหลายอย่าง บางคนเล่าว่ากรมพระราชวังบวร ฯ ทรงบ่นว่า " ของนี้อุส่าห์ทำด้วยความคิดแลเรี่ยวแรงเปนหนักหนา หวังว่าจะได้ อยู่ชมให้นาน ๆ ก็ครั้งนี้จะไม่ได้อยู่แล้ว จะได้เห็นวันนี้เปนที่สุด


๓๕ ต่อนี้ไปก็จะเปนของท่านผู้อื่น " เล่ากันแต่สังเขปเท่านี้ก็มี เล่ากันอิก อย่างหนึ่งยิ่งไปกว่านี้ว่ากรมพระราชวังบวร ฯ รับสั่งบ่นว่า " ของใหญ่ ของโตดีดีของกูสร้าง ใครไม่ได้ช่วยเข้าทุนอุดหนุนให้แรง กูสร้างขึ้น ด้วยกำลังข้าเจ้าบ่าวนายของกูเอง นานไปใครมิใช่ลูกกู ถ้ามาเปนเจ้า ของเข้าครอบครอง ขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความศุข " แล้ว ก็ทรงแช่งสาปสาบาลไปต่าง ๆ ตามพระหฤไทยที่โทมนัศ เล่ากันอย่าง หลังนี้โดยมาก ปรากฏในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า กรมพระราชวังบวร ฯ ประชวรครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เสด็จขึ้นไป เยี่ยมประชวรเมื่อแรกเสด็จกลับลงมาจากเมืองเถินครั้ง ๑ ต่อมาเมื่อ ทรงทราบว่าพระอาการมาก จะเสด็จขึ้นไปช่วยรักษาพยาบาล ครั้งหลังนี้พวกข้าราชการวังหลวงจะขึ้นไปตั้งกองรักษาพระองค์ พวกวังน่ามา กีดกันห้ามปราม ไม่ยอมให้พวกข้าราชการวังหลวงเข้าไปตั้งกอง ล้อมวงลงได้ เจ้าพระยารัตนาพิพิธที่สมุหนายกต้องเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย แต่ยังเสด็จดำรงพระยศเปนสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จขึ้นไปเปน ประธานจัดการตั้งกองล้อมวง เจ้าพระยารัตนาพิพิธกับพระยายมราช เดินตามเสด็จไปสองข้างพระเสลี่ยง พวกวังน่ายำเกรงพระบารมีจึงยอม ให้ตั้งกองล้อมวง

๗ ความตรงนี้มีในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓๖ เรื่องตั้งกองล้อมวงที่ปรากฏตรงนี้ บางทีท่านผู้อ่านจะมีความ สงไสยว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เสด็จขึ้นไปเยี่ยมประชวรกรมพระราชวังบวร ฯ ถึง ๒ ครั้ง ครั้งก่อนก็เปนการเรียบร้อย เหตุใดจึงมาเกิดการเกี่ยงแย่งเรื่องล้อมวงขึ้นต่อครั้งหลัง ข้อนี้อธิบาย ว่าที่จริงการที่วังหลวงเสด็จขึ้นไปวังน่านั้น โดยปรกติย่อมมีเนือง ๆ เหมือนดังเช่นเสด็จในงานพระราชพิธีโสกันต์ลูกเธอวังน่าเปนต้น แต่ การเสด็จโดยปรกติจัดเหมือนอย่างเสด็จวังเจ้านายต่างกรม ไม่มีจุก ช่องล้อมวงเปนการพิเศษอย่างใด แต่ครั้งหลังนั้น เพราะจะเสด็จ ขึ้นไปรักษาพยาบาลกรมพระราชวังบวร ฯ ซึ่งประชวรหนักจวนจะสวรรคตจะประทับอยู่เร็วฤาช้าฤาจนถึงแรมค้างคืนวันก็เปนได้ เปนการผิดปรกติ จึงต้องจัดการจุกช่องล้อมวงรักษาพระองค์ให้มั่นคงกวดขัน ฝ่ายข้าง พวกวังน่าถือว่า พวกวังหลวงเข้าไปทำละลาบละล้วงในรั้วลบหลู่เจ้านาย ของตน จึงพากันขัดแขงเกะกะ เพราะข้าราชการวังหลวงกับวังน่า มีทิฐิถือเปนต่างพวกต่างฝ่ายกันอยู่แล้ว แลในครั้งนั้นยังมีเหตุอื่นอิก ซึ่งทำให้พวกวังน่ากระด้างกระเดื่อง เนื่องมาแต่ครั้งรบพม่าที่เมือง เชียงใหม่ เมื่อปีมะเสง พ.ศ. ๒๓๔๐ คราวนั้นโปรดให้กรมพระราชวัง บวร ฯ เสด็จเปนจอมพล เจ้านายที่ไปตามเสด็จมีกรมพระราชวังหลัง เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์แลกรมขุนสุนทรภูเบศร์ กับพระองค์เจ้า ลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต ๒ องค์นี้เปนลูกเธอชั้นใหญ่ของกรม พระราชวังบวร ฯ พึ่งจะออกทำการสงครามในครั้งนั้น กรมพระราชวัง


๓๗ บวร ฯ เสด็จขึ้นไปถึงเมืองเถิน ทรงจัดกองทัพที่จะยกไปรบพม่าที่มา ตั้งล้อมเมืองเชียงใหม่เปน ๔ ทัพ ให้เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ กับพระยายมราชคุมกองทัพวังหลวงยกไปทัพ ๑ ให้กรมขุนสุนทรภูเบศร์ กับพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัตคุมกองทัพวังน่ายกไปทัพ ๑ ให้เจ้าอนุอุปราชซึ่งยกกองทัพเมืองเวียงจันท์มาช่วยยกไปทัพ ๑ แล้ว ให้กรมพระราชวังหลังคุมกองทัพวังหลังยกไปเปนทัพหนุนอิกทัพ ๑ การสงครามครั้งนั้นต่างทัพต่างทำการรบพุ่งประชันกัน มีไชยชนะตีกองทัพ พม่าแตกยับเยิน จนจับได้อุบากองนายทัพพม่าคน ๑ ต่อมาถึงปีจอ พ.ศ. ๒๓๔๕ พม่ายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่อิก จึงโปรดให้ กรมพระราชวังบวร ฯ เสด็จเปนจอมพล แลจัดกองทัพไปเหมือนกับ ครั้งก่อน เว้นแต่กรมพระราชวังหลังไม่ได้เสด็จขึ้นไปในชั้นแรก กรม พระราชวังบวร ฯ เสด็จขึ้นไปถึงเมืองเถิน ไปประชวรในคราวที่จะ สวรรคตนี้ กองทัพเจ้าอนุเวียงจันท์ก็ยกมาไม่ทันกำหนด กรม พระราชวังบวร ฯ จึงทรงจัดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์กับพระยา ยมราชคุมกองทัพวังหลวงยกขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ทางเมืองลี้ทัพ ๑ ให้ กรมขุนสุนทรภูเบศร์กับพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต แล พระยาเสนหาภูธร ชื่อทองอิน ภายหลังได้เปนพระยากลาโหมราชเสนา เปนคนซึ่งกรมพระราชวังบวร ฯ ทรงพระเมตตาเหมือนอย่างเปนพระราช บุตรบุญธรรม คุมกองทัพวังน่าขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ทางเมืองนครลำปาง อิกทัพ ๑ ฝ่ายข้างกรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์


๓๘ ทรงทราบว่ากรมพระราชวังบวร ฯ ประชวร โปรดให้กรมพระราชวังหลัง เสด็จตามขึ้นไป กรมพระราชวังบวร ฯ จึงให้กรมพระราชวังหลังคุม กองทัพหนุนขึ้นไปอิกทัพ ๑ กองทัพที่ยกขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ครั้งนี้ ทัพวังหลวงที่ไปทางเมืองลี้ไปเข้าใจผิดถอยลงมาเสียคราวหนึ่ง จนทัพ วังน่าตีได้เมืองลำพูน จึงยกตามขึ้นไปตั้งประชิดค่ายพม่าที่ล้อมเมือง เชียงใหม่ ครั้นกรมพระราชวังหลังเสด็จขึ้นไปถึง มีรับสั่งให้กองทัพ ยกเข้าระดมตีค่ายพม่าพร้อมกัน กองทัพวังน่าก็ตีได้ค่ายพม่าก่อน ต่อพวกวังน่าชนะแล้วทัพวังหลวงจึงตีค่ายได้ กรมพระราชวังบวร ฯ ทรงขัดเคืองกองทัพวังหลวง ดำรัสบริภาษติเตียนต่าง ๆ แล้วปรับโทษ ให้ขึ้นไปตีเมืองเชียงแสนแก้ตัวด้วยกันกับกองทัพเจ้าอนุเวียงจันท์ ซึ่ง ยกมาถึงไม่ทันรบพม่าที่เมืองเชียงใหม่ การสงครามคราวนี้จึงเปนเหตุ ให้พวกวังน่าที่เปนตัวสำคัญ คือพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต แลพระยากลาโหมทองอิน ซึ่งเปนพวกรุ่นหนุ่ม ไปมีชื่อเสียงมา ในคราวนี้ เกิดดูหมิ่นพวกวังหลวงว่าในการรบพุ่งทำศึกสงครามสู้พวก วังน่าไม่ได้ ข้างพวกวังหลวงเมื่อเห็นพวกวังน่าดูหมิ่นก็คงต้องขัด เคือง จึงเลยเปนเหตุให้ไม่ปรองดองกันในเวลาเมื่อจะตั้งกองล้อมวง เตรียมรับเสด็จ. แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เสด็จขึ้นไปถึงพระราชวังบวร ฯ ทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระอนุชาธิราชประชวรมาก ก็ ทรงพระอาไลย แลทรงพระกรรแสงรำพรรณต่าง ๆ พระองค์เจ้าหญิง กัมพุชฉัตรเฝ้าอยู่ในที่นั้น ได้ทรงพรรณาไว้ในกลอนเรื่องนิพพาน วังน่าเปนน่าจับใจ จึงคัดมาลงไว้ต่อไปนี้.

๓๙ " พระบิตุลาปรีชาเฉลียวแหลม ขยายแย้มสั่งให้ห้อยมณฑาหอม พระโองการร่ำว่านิจาจอม ถนอมขวัญตรัสโอ้พระอนุชา ว่าพ่อผู้กู้ภพทั้งเมืองพึ่ง จงข้ามถึงพ้นโอฆสงสาร์ ดำรงจิตรคิดทางพระอนัตตา อนาคตนำสัตว์เสวยรมย์ ครั้นทรงสดับโอวาทประสาทสอน ค่อยเผยผ่อนเคลื่อนคล้องอารมณ์สม แต่หนักหน่วงห่วงหลังยังเกรงกรม ประนมหัดถ์ร่ำว่าฝ่าลออง บุญน้อยมิได้รองยุคลคืน ยิ่งทรงสอื้นโศกสั่งกันทั้งสอง จึงทูลฝากพระนิเวศน์ที่เคยครอง ประสิทธิปองมอบไว้ใต้ธุลี ฝากหน่อขัติยานุชาด้วย จงเชิญช่วยโอบอ้อมถนอมศรี แต่พื้นพงษ์จะพึ่งพระบารมี จงปรานีนัดดาอย่าราคิน เหมือนเห็นแก่นุชหมายถวายมอบ จะนึกตอบแต่บุญการุญถวิล ก็จะงามฝ่ายุคลไม่มลทิน ก็เชิญผินนึกน้องเมื่อยามยัง อนึ่งหน่อวรนารถผู้สืบสนอง โปรดให้ครองพระนิเวศน์เหมือนปางหลัง อย่าบำราศให้นิราแรมวัง ก็รับสั่งอวยเออพระโองการ จึงตรัสปลอบพระบัรฑูรอาดูรด้วย ว่าจะช่วยเอาธุระแสนสงสาร เปนห่วงไปไยพ่อให้ทรมาน จะอุ้มหลานจูงลูกไม่ลืมคำ อันเยาวยอดสืบสายโลหิตพ่อ พี่ตั้งต่อสุจริตอุปถัมภ์ ครั้นทรงสดับแน่นึกสำเนาคำ ก็คลายร่ำทุกข์ถ้อยบันเทาทน "



๔๐ เนื้อความตามที่ปรากฏในกลอน ของพระองค์เจ้าหญิงกัมพุชฉัตร ก็ตรงกับคำที่เล่ากันมา ว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกย์ขึ้นไปเยี่ยมประชวร กรมพระราชวังบวร ฯ กราบทูล ฝากพระโอรสธิดา แล้วกราบทูลขอให้ได้อยู่อาไศรยในวังน่าต่อไป บางทีความข้อหลังนี้เองจะเปนเหตุให้พระองค์เจ้าลำดวน แลพระองค์เจ้า อินทปัตเข้าพระไทยไปว่า พระราชบิดาได้ทูลขอให้ลูกเธอได้ครองวังน่า อย่างรับมรฎกกันในสกุลคนสามัญ ไม่รู้สึกว่าเปนพระราชวังสำหรับ พระมหาอุปราช ครั้นเมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ เสด็จสวรรคตแล้ว ไม่ได้เข้าไปครองวังน่าดังปราถนา จึงโกรธแค้นคบคิดกันซ่องสุมหา กำลังจะก่อการกำเริบ ในชั้นแรกมีความปรากฏทราบถึงพระกรรณแต่ว่า พระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต เกลี้ยกล่อมหาคนดีมีวิชาอยู่คงไป ลองวิชากันที่วังในเวลากลางคืนเนือง ๆ บางทีลองวิชาพลาดพลั้งถึง ผู้คนล้มตายก็เอาศพซ่อนฝังไว้ในวังนั้น เพื่อจะปิดความมิให้ผู้ใดรู้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ยังทรงแคลงพระไทยอยู่ ให้ แต่งข้าหลวง ปลอมไปเข้าเปนสมัคพรรคพวกของพระองค์เจ้าทั้งสองนั้น ก็ได้ความสมจริงดังคำที่กล่าว จึงโปรดให้จับมาชำระ ได้ความว่า คบคิดกับพระยากลาโหม ทองอิน ด้วย ครั้นจับพระยากลาโหม กับพรรคพวกที่เข้ากันมาชำระ จึงให้การรับเปนสัตย์ว่าคบคิดกันจะ


๔๑ ทำร้ายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ เมื่อวันเสด็จพระราชทานเพลิงพระศพกรมพระราชวังบวร ฯ แลทำนองถ้อยคำซึ่งกรมพระราชวัง บวร ฯ ได้ตรัสว่าประการใดเมื่อเวลาทรงพระประชวร ก็เห็นจะปรากฎ ขึ้นในเวลาชำระกันนี้ จึงเปนเหตุให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกย์ทรงน้อยพระไทยในสมเด็จพระอนุชาธิราช ว่าเพราะผู้ใหญ่ พูดจาให้ท้ายเช่นนั้นเด็กจึงกำเริบ แต่แรกดำรัสว่าจะไม่ทำพระเมรุ พระราชทานเพลิงพระศพกรมพระราชวังบวร ฯ แต่ครั้นคลายพระพิโรธ ลงก็โปรดให้ทำพระเมรุใหญ่ ตามเยี่ยงอย่างพระเมรุพระมหาอุปราชครั้ง กรุงเก่า แต่ดำรัสให้เชิญพระบรมสารีริกธาตุออกสมโภชที่พระเมรุ ให้เปนพุทธบูชาเสียก่อน ไม่ให้เสียพระวาจาที่ว่าจะไม่ทำพระเมรุกรม พระราชวังบวร ฯ ครั้นพระราชทานเพลิงพระศพกรมพระราชวังบวร ฯ แล้ว จึงโปรดให้เชิญพระอัฐิไปประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งวายุสถาน อมเรศ อันเปนพระวิมานกลางในหมู่พระมหามณเฑียรในพระราชวัง บวร ฯ จึงเปนที่ประดิษฐานพระอัฐิแต่นั้นมา ส่วนการพระเมรุแต่นั้นมาก็เลยเปนประเพณี เวลามีงานพระเมรุท้องสนามหลวงจึงเชิญพระบรมสารี ริกธาตุออกสมโภชก่อนงานพระศพ สืบมาจนรัชกาลหลัง ๆ.



๔๒ ตำนานวังน่า กรุงรัตนโกสินทร ตอนที่ ๒ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้ว ๓ ปี ถึงปีขาล พ.ศ.๒๓๔๙ กรมพระราชวังหลังทิวงคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกย์ จึงพระราชทานอุปราชาภิเศกแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ให้เปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ความปรากฏในพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ครั้งนั้นคุณเสือ กราบทูลว่า พระราชวังบวร ฯ ร้างไม่มีเจ้าของ ทรุดโทรมยับเยินไป เย่าเรือน ข้างในก็ว่างเปล่ามาก ขอพระราชทานให้เชิญเสด็จกรมพระราชวัง บวร ฯ พระองค์ใหม่ขึ้นไปทรงครอบครองจึงจะสมควร พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ดำรัสว่า " ไปอยู่บ้านช่องของเขาทำไม เขา รักแต่ลูกเต้าของเขาเขาแช่งเขาชักไว้เปนหนักเปนหนา " แลมีรับสั่งว่า พระองค์ก็ทรงพระชรามากอยู่แล้ว กรมพระราชวังบวร ฯ พระ องค์ใหม่อย่าต้องเสด็จไปอยู่พระราชวังบวร ฯ เลย คอยเสด็จอยู่พระบรมมหาราชวังทีเดียวเถิด อย่าต้องประดักประเดิดยักแล้วย้ายเล่าเลย เมื่อทำพระราชพิธีอุปราชาภิเศกแล้ว จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระ ๘ คุณเสือนี้ ชื่อเจ้าจอมแว่น เปนบาทบริจาริกามาแต่ยังไม่ได้เสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติ ครั้นเสด็จผ่านพิภพเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ได้รับราชการ ในน่าที่ราชูปฐาก จึงได้เปนพระสนมเอก เปนผู้มีอุปการะแก่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยมาแต่ก่อน ที่เรียกว่าคุณเสือ เห็นจะเปนด้วยพระเจ้าลูกเธอพระองค์ น้อย ๆ เวลาเสด็จขึ้นไปเฝ้าอยู่ในความดูแลของเจ้าจอมแว่น ถูกว่ากล่าวรบกวน เห็นว่า ดุจึงเรียกว่า "คุณเสือ" จึงเลยเปนนามที่เรียกกันอย่างนั้นทั่วไป แม้ในโคลงพระราช นิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ จาฤกติดไว้ที่ผนังวิหารพระโลกนารถ วัดพระเชตุพน ก็เรียกว่าคุณเสือ ๔๓ พุทธเลิศหล้านภาไลยเสด็จคงประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม ที่ใต้วัดอรุณ ราชวราราม ต่อมาจนสิ้นราชกาลที่ ๑. ตรงนี้จะต้องกล่าวถึงเรื่องพระราชพิธีอุปราชาภิเศกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยให้พิศดารสักน่อย ด้วยเกี่ยวเนื่องถึงตำนาน วังน่าในราชกาลหลัง ๆ ต่อไป คือ มื่อแรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร นั้น แบบตำราราชประเพณีสำหรับราชการครั้งกรุงเก่าเปนอันตราย หายสูญไปเสียเมื่อกรุงเสีย แม้การพระราชพิธีปราบดาภิเศกพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ก็ต้องทำแต่พอเปนสังเขป ส่วน พระราชพิธีอุปราชาภิเศกกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ก็ต้อง ทำแต่อย่างสังเขปเหมือนกัน ลักษณะการพระราชพิธีอุปราชาภิเศก ครั้งนั้น ถึงไม่มีจดหมายเหตุปรากฏก็มีหลักในทางสันนิฐาน พอคาด ได้ไม่ห่างไกลว่าทำอย่างไร เพราะเนื่องด้วยพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรในพระราชวังบวร ฯ ที่สร้างใหม่ ในเวลานั้นกรมพระราช วังบวร ฯ ประทับอยู่ที่พระนิเวศน์เดิมตรงป้อมพระสุเมรุเดี๋ยวนี้ คงเสด็จ โดยกระบวนแห่ทางชลมารค มาทรงสดับพระปริตที่พระราชมณเฑียร ใหม่ในพระราชวังบวร ฯ ๓ วัน ถึงวันพระฤกษ์เสด็จมาสรงอภิเศกใน พระราชวังบวร ฯ แล้วเสด็จลงมารับพระราชทานพระสุพรรณบัตรที่พระ ราชวังหลวง แล้วจึงเสด็จกลับขึ้นไปเฉลิมพระราชมณเฑียร รูปการ พระราชพิธีอุปราชาภิเศกครั้งแรกคงจะเปนเช่นว่ามานี้ ไม่ผิดไปนัก. ๙ ที่เรียกว่าพระราชวังเดิม มีบางคนเข้าใจว่า เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาไลยเสด็จประทับอยู่ที่นั่นก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชาธิบายว่า ที่จริงเขาหมายความว่า เปนพระราชวังครั้งกรุงธนบุรี ๔๔ แบบอย่างพระราชพิธีอุปราชาภิเศกครั้งกรุงเก่า ที่พระมหาอุปราชเฉลิมพระราชมณเฑียรที่วังจันทรเกษมด้วย ก็น่าจะเปนทำนองเดียว กับที่กล่าวมานี้ คือทำการพิธีที่วังน่า เสด็จไปทรงฟังสวด ๓ วัน เช้าวันที่ ๔ สรงอภิเศกแล้วเสด็จลงมารับพระราชทานพระสุพรรณบัตรที่ พระราชวังหลวง แล้วจึงกลับไปเฉลิมพระราชมณเฑียร สันนิฐาน ว่าจะพึ่งมามีแบบแปลกขึ้นเมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ ครั้ง พระราชทานอุปราชาภิเศกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุน เสนาพิทักษ์ เปนกรมพระราชวังบวร ฯ ด้วยเวลานั้น สมเด็จพระ เจ้าบรมโกษฐประทับอยู่วังจันทรเกษม เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์เสด็จ อยู่ในพระราชวังหลวง ( เข้าใจว่าที่ตำหนักสวนกระต่าย ) จึงโปรดให้ ทำการพิธีอุปราชาภิเศกในพระราชวังหลวง แล้วให้เสด็จประทับอยู่ ตำหนักที่เดิมต่อไป ไม่มีพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรด้วย ต่อมาใน แผ่นดินนั้นเอง เมื่อจะพระราชทานอุปราชาภิเศกแก่สมเด็จพระเจ้าลูก ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ครั้งหลังนี้เปนเวลาวังจันทรเกษมว่าง ด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐเสด็จไปประทับอยู่พระราชวังหลวงแล้ว แต่มี เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่พอพระราชหฤไทย จะให้เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต เสด็จไปเฉลิมพระราชมณเฑียรประทับที่วังน่า แลเวลานั้นเจ้าฟ้ากรม ขุนพรพินิตก็ประทับอยู่ที่ตำหนักสวนกระต่ายในพระราชวังหลวง จึง โปรดให้ทำพิธีอุปราชาภิเศกในพระราชวังหลวงเปนครั้งที่ ๒ จัดพระ ที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาทเปนที่ทำการพิธี ตั้งพระแท่นสรงในบริเวณ


๔๕ พระมหาปราสาทนั้น แล้วจัดทางเดินแห่ ตั้งราชวัตรฉัตรเบญจรงค์ รายแต่ตำหนักสวนกระต่าย มาจนถึงบริเวณที่ทำการพิธีอย่างพิธีโสกันต์ ใหญ่ ครั้นถึงวันงาน เวลาบ่ายแห่เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตมาทรงฟัง สวด ๓ วัน เช้าเสด็จมาเลี้ยงพระแต่ลำพังพระองค์ ถึงวันที่ ๓ เวลาเช้า แห่เสด็จมาสรงอภิเศกแล้ว เข้าใจว่าเสด็จเข้าไปรับพระราชทาน พระสุพรรณบัตรที่พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ อันเปนที่สมเด็จพระเจ้า บรมโกษฐประทับเปนพระราชมณเฑียร แล้วก็แห่เสด็จกลับไปยัง ตำหนักสวนกระต่าย. การอุปราชาภิเศกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย เหตุการณ์เหมือนกับอุปราชาภิเศกเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ทั้งที่เปนสมเด็จ พระราชโอรส แลที่จะไม่โปรดให้เสด็จไปอยู่วังน่าอย่างเดียวกัน จึง โปรดให้ถ่ายแบบอย่างครั้งการอุปราชาภิเศกเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตมาเปนตำราในครั้งนี้ ให้ทำพิธีที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตั้งพระแท่นมณฑลเหมือนอย่างบรมราชาภิเศก แลตั้งพระแท่นสรงที่ชาลาพระมหาปราสาท ข้างด้านตวันออก แต่ต้องแก้ไขที่ผิดกันมีอยู่อย่างหนึ่ง ด้วยเมื่อครั้ง กรุงเก่าเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตประทับอยู่ที่ตำหนักสวนกระต่ายในพระราช วังหลวง แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยเสด็จประทับอยู่ที่ พระราชวังเดิมฟากข้างโน้น จึงปลูกพลับพลาเปนที่ประทับชั่วคราวขึ้น ที่สวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวังด้านตวันออก แทนตำหนักสวน กระต่าย ให้เปนที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า


๔๖ นภาไลยในเวลางานอุปราชาภิเศก แต่งทางแห่เสด็จจากพลับพลา สวนกุหลาบมาทางถนนริมกำแพงพระราชวังเข้าประตูสุวรรณบริบาล ตั้งราชวัตรฉัตรเบญจรงค์รายตลอดทาง เวลาบ่ายแห่เสด็จมาทรงฟังสวด ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ครั้นเวลาเช้าเสด็จทรงพระเสลี่ยงน้อย มาเลี้ยงพระ ครั้นถึงฤกษ์วันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙ เวลาเช้าแห่เสด็จมาสรงอภิเศก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ เสด็จออกพระราชทานน้ำมุรธาภิเศก ครั้นเลี้ยงพระแล้วโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยเสด็จ เข้าไปรับพระราชทานพระสุพรรณบัตรที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เมื่อเสด็จกลับออกมาจึงแห่เสด็จเปนกระบวนสถลมารคไปถึงท่าตำหนักแพ แล้ว มีกระบวนเรือพระที่นั่งดั้งกันตามพระเกียรติยศอย่างพระมหาอุปราช รับเสด็จไปส่งที่พระราชวังเดิม รายการโดยเลอียดของพระราชพิธีอุปราชา ภิเศกที่กล่าวมานี้ มีอยู่ในหนังสือพระราชพงษาวดารรัชกาลที่ ๑ แล จดหมายเหตุเรื่องตั้งพระบรมวงษานุวงษ์ พิมพ์แล้วทั้ง ๒ เรื่อง เอาเนื้อ ความมากล่าวไว้ในที่นี้ ด้วยลักษณะการพระราชพิธีอุปราชาภิเศกที่ทำ ต่อมาถ่ายแบบอย่างจากครั้งนี้ แต่ต้องแก้ไขตามเหตุการณ์มากบ้าง น้อยบ้าง จะปรากฏต่อไปในตำนานวังน่าในตอนอื่น เมื่ออ่านถึง ตรงนั้นจะได้เข้าใจมูลเหตุเดิมของการที่ต้องแก้ไขนั้น. เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระราชทาน อุปราชาภิเศกแก่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยแล้ว ทรง

๔๗ พระกรุณาโปรดให้สถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า กรมหลวงเสนานุรักษ์เปนพระบัณฑูรน้อย แต่การที่ทรงสถาปนา พระบัณฑูรน้อย ไม่ปรากฏว่ามีพิธีอย่างใด พระนามที่ขานในราชการ ก็ยังคงขานว่า สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ เปนแต่เติมคำ " พระบัณฑูรน้อย " ต่อเข้าข้างท้ายพระนาม แลไม่ปรากฏว่ามีข้าราชการ ในทำเนียบพระบัณฑูรน้อยอย่างไร ที่ทราบได้เปนแน่แต่ว่าเวลาบัตร หมายอ้างรับสั่งของพระบัณฑูรน้อยใช้ว่า " มีพระบัณฑูร " เหมือนอย่าง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย เสด็จดำรงพระยศเปนพระมหาอุปราชอยู่ ๓ ปี ถึงปีมะเสง จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์สวรรคต พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาไลยเสด็จผ่านภิภพ จึงโปรดให้สถาปนาสมเด็จ พระอนุชาธิราชพระบัณฑูรน้อย เปนพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เวลานั้นที่วังน่าว่างมา ๗ ปี ทรงพระราชดำริห์ว่า เปน พระราชวังสำหรับพระมหาอุปราชสร้างไว้ใหญ่โต เปนของสำคัญสำหรับ แผ่นดิน หาควรจะทิ้งให้ร้างอยู่ไม่ ควรจะให้พระมหาอุปราชพระองค์ ใหม่เสด็จขึ้นไปครอบครองรักษาพระราชวังบวร ฯ มีคำผู้หลักผู้ใหญ่เล่า กันมาว่า เมื่อทรงพระราชดำริห์จะให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จขึ้นไปอยู่วังน่าครั้งนั้น มีเสียงผู้โต้แย้งอ้างถึงความเก่าที่กรม พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงแช่งสาปไว้ แลมีเสียงผู้ที่คิดแก้


๔๘ กล่าวว่า ถ้ากรมพระราชวังบวร ฯ พระองค์ใหม่คิดอ่านให้เกี่ยวดองใน พระวงษ์ของกรมพระราชวังบวร ฯ พระองค์แรกไว้แล้ว ก็เห็นจะพ้น พระวาจาที่ทรงสาปนั้น ความอันนี้สมด้วยพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไว้ว่า เมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ ใน รัชกาลที่ ๒ เสด็จขึ้นไปประทับอยู่ที่พระราชวังบวร ฯ มีผู้คิดอ่านจะให้ อภิเศกกับเจ้าฟ้าพิกุลทอง พระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรมหาสุร สิงหนาท แต่พเอิญเจ้าฟ้าพิกุลทองประชวรสิ้นพระชนม์เสีย จึงได้แต่ พระราชธิดาองค์อื่น. การอุปราชาภิเศกพระบัณฑูรน้อยเมื่อในรัชกาลที่ ๒ เหตุการณ์ ไม่เหมือนครั้งอุปราชาภิเศกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย เพราะเปนสมเด็จพระอนุชาธิราช แลจะเสด็จไปอยู่พระราชวังบวร ฯ เหตุ การณ์ที่แท้เปนอย่างเดียวกับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท แลเวลานั้นพระบัณฑูรน้อยเสด็จประทับอยู่พระราชนิเวศน์เดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ที่ริมอู่กำปั่น ตรงน่าตำหนักแพข้าม ที่เปนโรงทหารเรือทุกวันนี้ ถ้าแห่เสด็จโดยกระบวนเรือพระที่นั่งไปยังพระราชวังบวร ฯ ในการพิธีดูก็จะเปนการสดวกดี แต่คงเปนด้วยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย มีพระราชประสงค์จะให้เปนศิริมงคลแลเปน

๑๐ เมื่อสร้างกำแพงโรงทหารเรือในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งให้ทำเปนกำแพงใบเสมาไว้เปนที่รฦกว่า เปนพระราชนิเวศน์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ยังปรากฎอยู่จนทุกวันนี้


๔๙ พระเกียรติยศพิเศษแก่สมเด็จพระอนุชาธิราชพระบัณฑูรน้อย จึงโปรดให้ จัดการพระราชพิธีตามแบบอย่างครั้งพระองค์ทรงรับอุปราชาภิเศก ให้ แก้ไขลักษณะการแต่ที่จำเปน จึงให้ปลูกพลับพลาที่ริมโรงลครข้าง ด้านตวันตกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเปนที่สนามอยู่บัดนี้ เชิญเสด็จ พระบัณฑูรน้อยเข้ามาประทับแรมอยู่ที่พลับพลาในพระบรมมหาราชวัง เวลางานอุปราชาอภิเศก ถึงเวลาบ่ายโปรดให้เสด็จเข้าไปทรงเครื่องที่ พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ แล้วทรงพระยานุมาศแห่ออกประตูวิเศษไชยศรี ขึ้นไปพระราชวังบวร ฯ สองข้างทางตั้งราชวัตรปักฉัตรเบญจรงค์ราย ตลอด ส่วนที่พระราชวังบวร ฯ นั้น ปรากฎว่าจัดที่ทำพิธี ๒ แห่ง ตั้ง พระแท่นมณฑลเหมือนอย่างครั้งอุปราชาภิเศกพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาไลย ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เปนที่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ สวดมนต์แห่ง ๑ ที่ในห้องพระบรรธมที่พระที่นั่งพรหเมศรังสรรค์ จัดเปนที่พระสงค์ฝ่ายสมถะ สวดภาณวารอิกแห่ง ๑ การพระราชพิธี ตั้งต้นแต่ณวันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ เวลาบ่ายแห่เสด็จพระบัณฑูรน้อย จากพระบรมมหาราชวังขึ้นไปยังพระราชวังบวร ฯ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์แลทรง

๑๑ พระที่นั่งองค์นี้ภายหลังเรียกว่าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ๑๒ ในหมายรับสั่งเรียกพระที่นั่งพรหมภักตร์ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าพระที่นั่งพรหม ภักตร์นั้นเปนมุขน่าหาใช่ที่บรรธมไม่ พระที่นั่งพรหเมศรังสรรค์ คือพระวิมานองค์เหนือ เห็นจะจัดที่พระบรรธมที่นั่น ๗

๕๐ ศีลแล้ว เสด็จเข้าไปประทับทรงสดับภาณวารในห้องที่พระบรรธมที่ พระที่นั่งพรหเมศรังสรรค์ ครั้นพระสงฆ์สวดมนต์จบแห่เสด็จกลับมา ยังพระบรมมหาราชวัง รุ่งเช้าทรงพระเสลี่ยงเสด็จโดยกระบวนน้อย ขึ้นไปเลี้ยงพระที่พระราชวังบวร ฯ ครั้นสวดมนต์ครบ ๓ วัน ถึงวันศุกร เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ เวลาเช้าพระบัณฑูรน้อยเสด็จโดยกระบวนแห่ขึ้น ไปยังพระราชวังบวร ฯ สรงอภิเศกแล้วเลี้ยงพระ แล้วแห่เสด็จลงมา ยังพระบรมมหาราชวัง เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย รับพระราชทานพระสุพรรณบัตรที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ถวายดอกไม้ ธูปเทียนแล้ว แห่เสด็จกลับขึ้นไปเฉลิมพระราชมณเฑียรในพระราชวัง บวร ฯ เวลาบ่ายมีสมโภชเวียนเทียนแล้วเปนเสร็จการ ลักษณะการ พระราชพิธีอุปราชาภิเศกครั้งรัชกาลที่ ๒ ตามที่กล่าวมานี้ เลยเปน ตำราอุปราชาภิเศกในกรุงรัตนโกสินทรได้ทำต่อมาในราชกาลที่ ๓ แล ที่ ๕ เปนแต่แก้ไขบ้างเล็กน้อย ดังจะกล่าวต่อไปข้างน่า. กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เมื่ออุปราชาภิเศก พระ ชนมายุได้ ๓๖ พรรษา เมื่อเสด็จไปประทับอยู่พระราชวังบวร ฯ ไม่ ปรากฏว่าได้ทรงสถาปนาการอย่างใดเพิ่มเติมขึ้นใหม่ในวังน่า ถ้าจะมี ก็เห็นจะเพียงซ่อมแซมพระราชมณเฑียรบ้างเล็กน้อย ด้วยพระราช วังบวร ฯ ว่างมาเพียง ๗ ปี สิ่งของที่สร้างไว้ในครั้งรัชกาลที่ ๑ เห็น จะยังบริบูรณ์อยู่โดยมาก ปรากฏในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่การที่กรมพระราชวังบวร ฯ ในราชกาลที่ ๒ ได้ทรงแก้ไขรื้อถอนของเก่าเสียบางอย่าง คือ

๕๑ พระพิมานดุสิดาที่สร้างไว้เปนหอพระแทนปราสาทที่กลางสระเห็นจะชำรุด โปรดให้รื้อทั้งพระวิมานแลพระระเบียง เอาตัวไม้ที่ยังใช้ ได้ไปทำในวัดชนะสงคราม ซึ่งกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงสถาปนาไว้ สพานข้ามสระ ๔ สพานก็รื้อเหมือนกัน ที่นั้น ทำสวนเลี้ยงนกเลี้ยงปลา เปนที่ประพาศ. ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ โปรดให้ เชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้ง ตรงที่ตั้งพระสัมพุทธพรรณีทุกวันนี้ ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ยังเหลือ แต่ปราสาทปรางค์ ๕ ยอด ซึ่งกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างเปนที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ กรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ โปรดให้ย้ายปราสาทนั้นไปเสีย ตั้งพระที่นั่งเสวตรฉัตร แทน เปนที่เสด็จออกแขกเมือง แลพระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนา ปราสาททองที่สรงพระภักตร์ของกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาล ที่ ๑ ซึ่งสร้างไว้ที่มุขพระวิมานก็ย้ายไปเสียเมื่อในรัชกาลที่ ๒. เขาไกรลาศยอดมีบุษบกสร้างไว้เปนที่สรงลูกเธอโสกันต์ รื้อเสีย อิกอย่าง ๑ เขา ศาลพระภูมิ ข้างพระราชมณเฑียรทางด้านเหนือ เมื่อใน รัชกาลที่ ๒ รื้อกำแพงแก้วรอบบริเวณ ปลูกโรงลครขึ้นแทนตรงนั้น.


๕๒ ที่วัดหลวงชี ครั้งรัชกาลที่ ๑ ทำนองจะไม่มีหลวงชีอยู่ดังแต่ก่อน กุฎิหลวงชีร้างชำรุดทรุดโทรม จึงโปรดให้รื้อกุฎิหลวงชี เสียหมด ทำที่นั้นเปนสวนเลี้ยงกระต่าย เข้าใจว่าที่ตรงนี้แต่เดิมก็ เห็นจะเปนสวนเลี้ยงกระต่าย เอาอย่างพระราชวังหลวงที่กรุงเก่า จึงปรากฏว่ามีตำหนักอยู่ในนั้น กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเห็น จะทรงพระราชอุทิศพระราชทานให้เปนวัดหลวงชีต่อภายหลัง. กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จดำรงพระยศเปนพระมหาอุปราชมาได้ ๘ ปี ถึงปีฉลู จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐ ประชวร เปนพระยอดตรงที่ประทับ ให้ผ่าพระยอดนั้นเลยเกิดบาดพิศม์ อาการ พระโรคกำเริบขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย เสด็จ ขึ้นไปเยี่ยมประชวรทุก ๆ วัน ด้วยกรมพระราชวังบวร ฯ พระองค์นี้ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์มา พระอัธยาไศรยทรงชอบชิดสนิทเสนหากับ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชยิ่งนัก ถึงเมื่อเปนพระมหาอุปราชแล้วก็ เสด็จลงมารับราชการในพระราชวังหลวง ไม่เปลี่ยนแปลงพระอัธยาไศรย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย โปรดให้ทรงกำกับตรวจตรา ราชการต่างพระเนตรพระกรรณทั่วไป เล่ากันว่า ครั้งนั้นกรมพระราชวัง บวร ฯ เสด็จลงมาพระราชวังหลวงเพลาเช้า ประทับที่โรงลครเก่า ที่ อยู่ข้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงตรวจตราข้อราชการต่าง ๆ แล้ว จึงเสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชทุกวันมิได้ขาด แม้จนในการ เล่นหัวเครื่องสำราญพระราชอิริยาบถก็โปรดที่จะทรงด้วยกัน เปนต้นว่า


๕๓ ในฤดูลมสำเภา ถ้าปีใดทรงว่าว วังหลวงทรงว่าวกุลา ชักที่สนามน่าวัด พระศรีรัตนศาสดาราม วังน่าทรงว่าวปากเป้า ชักที่สนามหลวง เล่า กันมาแต่ก่อนดังนี้ ครั้นพระอาการกรมพระราชวังบวร ฯ ประชวรหนักลง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยเสด็จขึ้นไปประทับแรมที่ในพระราชวังบวร ฯ ทรงรักษาพยาบาลสมเด็จพระอนุชาธิราชอยู่หลายราตรี จนถึงณวันพุฒเดือน ๘ อุตราสาธ ขึ้น ๓ ค่ำ เพลาเช้า ๕ โมงเศษ (๑๑ ก.ท.) กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ประชวรมาเดือนเศษ เสด็จสวรรคต ที่พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระชนมายุได้ ๔๔ พรรษา พระราชทาน น้ำสรง ทรงเครื่องพระศพเสร็จแล้ว เชิญลงพระลองประกอบพระโกษฐ ทองใหญ่ แห่มาประดิษฐานไว้ณพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่หมายประกาศ ให้คนโกนหัวไว้ทุกข์คราวนี้ ให้เอาแบบอย่างครั้งกรุงเก่า โกนแต่ผู้ที่มี สังกัดฝ่ายพระราชวังบวร ฯ เท่านั้น มิได้ให้โกนทั้งแผ่นดินเหมือน อย่างครั้งกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ต่อมาถึงเดือน ๕ ปีขาล จุลศักราช ๑๑๘๐ พ.ศ. ๒๓๖๑ พระเมรุที่ ท้องสนามหลวงสร้างสำเร็จ แลเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาสมโภชตามประเพณีงานพระเมรุใหญ่เสร็จแล้ว ถึงณวันศุกร เดือน ๕ ขึ้น๑๑ ค่ำ จึงโปรดให้เชิญพระศพกรมพระราชวังบวร ฯ แห่โดยกระบวนน้อยจาก พระราชวังบวร ฯ ลงมายังน่าวัดพระเชตุพนแล้ว เชิญขึ้นพระมหาพิไชย ราชรถ แห่โดยกระบวนใหญ่ไปยังพระเมรุ มีงานมหรศพสมโภชแล ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบ ๗ วันแล้ว ถึงณวันพฤหัศบดี เดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ จึงพระราชทานเพลิงพระศพกรมพระราชวังบวร ฯ ครั้น

๕๔ พระราชทานเพลิงพระศพเสร็จแล้ว โปรดให้เชิญพระอัฐิมาไว้ใน หอพระธาตุมณเฑียรที่ในพระราชวังหลวง ด้วยทรงพระเสนหาอาไลยในสมเด็จพระอนุชาธิราช พระอัฐิกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์อยู่ใน พระบรมมหาราชวังมาจนในรัชกาลที่ ๔ จึงได้โปรดให้เชิญไปประดิษฐาน ไว้ที่พระวิมาน อันเปนที่ประดิษฐานพระอัฐิกรมพระราชวังบวรสถาน มงคล ในพระราชวังบวร ฯ เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์สวรรคตแล้ว วังน่าว่างมา อิก ๗ ปี ด้วยไม่ได้ทรงตั้งพระมหาอุปราชมาจนตลอดรัชกาลที่ ๒ ใน ระหว่างนั้นเจ้านายฝ่ายในพระราชวังบวร ฯ ทั้งที่เปนพระราชธิดาในกรม พระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ แลรัชกาลที่ ๒ เสด็จลงมาอยู่ตำหนัก ในพระราชวังหลวงหลายพระองค์ แต่พระองค์เจ้าดาราวดีพระราชธิดา กรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ นั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น ศักดิพลเสพทูลขอไปเปนพระชายา. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย เสด็จสวรรคตเมื่อปีวอกจุลศักราช ๑๑๘๖ พ.ศ. ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ราชสมบัติ ทรงพระราชดำริห์ว่า กรมหมื่นศักดิพลเสพมีบำเหน็จ ความชอบมาก จะโปรดให้เปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล มีรับสั่งว่า วังน่าเปนพระราชวังใหญ่โต หาควรจะทิ้งไว้ให้เปนวังร้างไม่ กรมหมื่นศักดิพลเสพก็เปนพระราชบุตรเขยของกรมพระราชวังบวรมหา สุรสิงหนาท พ้นข้อรังเกียจที่กล่าวกันว่าทรงแช่งสาปไว้แต่ก่อน จึง โปรดให้เสด็จไปเฉลิมพระราชมณเฑียร ประทับอยู่ในพระราชวังบวร ฯ

๕๕ ได้ทำการพระราชพิธีอุปราชาภิเศกเมื่อณวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ ลักษณะการพิธีที่ทำครั้งรัชกาลที่ ๓ คราวนี้ โดยยุติว่าแบบอย่างครั้ง กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เปนตำราอุปราชาภิเศก จึงปลูก พลับพลาที่ข้างโรงลคร ฯ ให้กรมหมื่นศักดิพลเสพเสด็จเข้ามาประทับ แรมอยู่ในพระบรมมหาราชวังตลอดเวลาพิธี แลเสด็จไปทรงเครื่องที่ พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ แล้วแห่ขึ้นไปทรงฟังสวดที่พระราชวังบวร ฯ เหมือนเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ แปลกกับอุปราชาภิเศกครั้งรัชกาลที่ ๒ แต่ ที่พระสงฆ์สวดมนต์ในพระราชวังบวร ฯ เปน ๔ แห่ง คือ พระที่นั่ง วสันตพิมานแห่ง ๑ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศแห่ง ๑ พระที่นั่งพรหเมศ รังสรรค์แห่ง ๑ แลพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อิกแห่ง ๑ กับดูเหมือนจะลด ถาดทองแลตั่งไม้มะเดื่อที่ที่สรง แลลดกระบวนที่แห่เสด็จลงบ้าง ด้วยปรากฏในหมายกรมวังตรง ๒ ข้อนั้นว่า " ให้ไปทูลถามกรมหมื่นรักษ์ รณเรศ " แต่จะยุติเปนอย่างไรหาทราบไม่ กรมหมื่นศักดิพลเสพเปน กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเมื่อพระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา. กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพได้ทรงสถาปนาการในพระราชวังบวร ฯ หลายอย่าง ทราบได้โดยจดหมายเหตุบ้าง โดยสังเกตฝีมือ ช่างบ้าง เวลานั้นพระราชมณเฑียรสถานเห็นจะชำรุดทรุดโทรมมาก เข้าใจว่ากรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงซ่อมแซมพระวิมานทั้ง ๓ หลัง แลในคราวที่ซ่อมแซมนี้ ทรงสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ด้วย คือ


๕๖ ในหมู่พระวิมาน ต่อมุขหลังตรงพระวิมานองค์กลางออกไปเปน ท้องพระโรงหลังมุข ๑ ขนามนามว่า พระที่นั่งปฤษฎางค์ภิมุข ส่วน มุขน่าของเดิมแปลงเปนมุขกระสัน ขนานนามว่า พระที่นั่งภิมุขมณเฑียร. ให้รื้อทิมมหาวงษ์ด้านตวันออกเสียทั้งด้าน แล้วสร้างพระที่นั่ง เปนท้องพระโรงขึ้นใหม่อิกองค์ ๑ ต่อจากมุขของเดิม ให้พระที่นั่ง บุษบกมาลาที่มุขเด็ดเดิมอยู่เปนประธานในท้องพระโรงนั้น น่าท้อง พระโรงพอต่อถึงบริเวณพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ท้องพระโรงที่ทำใหม่นี้ เอาอย่างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระราชวังหลวง ขนานนามว่า พระ ที่นั่งอิศราวินิจฉัย ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้. สร้างหอพระขึ้นสองข้างมุขกระสันที่ต่อกับท้องพระโรง รูปหลังคาเปนทรงเก๋งจีน หอหลังเหนือเปนที่ไว้พระอัฐิ เหมือนอย่างหอพระธาตุมณเฑียรในพระราชวังหลวง หอหลังใต้เปนที่ไว้พระพุทธรูปเหมือนอย่าง หอพระสุราไลยพิมานที่เปนคู่กัน. พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เครื่องบนซ่อมใหม่ ต่อเฉลียงเสาลอยรอบ แลทำซุ้มพระแกลใหม่ อย่างที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้. พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน ที่เปนห้องพิพิธภัณฑ์ทุกวันนี้ เข้าใจว่า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ โปรดให้รื้อของเดิมทำใหม่ทั้งหลัง ด้วยของที่ยังปรากฏอยู่ เปนฝีมือช่างครั้งรัชกาลที่ ๓ ทั้งนั้น ของเดิม เห็นจะเล็กขนาดเท่าพระที่นั่งทรงปืนที่กรุงเก่า แลบางทีจะสร้างเปน เครื่องไม้ด้วยซ้ำไป.


๕๗ ที่กลางสระซึ่งรื้อพระที่นั่งพิมานดุสิดาเสียเมื่อในรัชกาลที่ ๒ นั้น กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่อิกองค์ ๑ ขนานนามว่า " พระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก " แต่เห็นจะสร้างเปนเครื่องไม้ ต่อมาจึงหักพังเสียหมด ทราบไม่ได้ในเวลานี้ว่ารูปสัณฐานเปนอย่างไร ที่ทราบว่าสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ตรงนั้น เพราะนามพระที่นั่งยังปรากฎ อยู่เท่านั้น. สิ่งสำคัญซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงสร้างขึ้นใหม่ ในพระราชวังบวร ฯ มีอิกสิ่งหนึ่ง คือ วัดบวรสถานสุทธาวาศ เรียก กันเปนสามัญแต่ก่อนว่า " วัดพระแก้ววังน่า " เพราะอยู่ในวังเหมือน กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระราชวังหลวง ทรงอุทิศที่สวนกระต่าย เดิมสร้างวัดถวายเปนพุทธบูชา เหตุที่จะสร้างวัดบวรสถานสุทธาวาศ เล่ากันมาเปนหลายอย่าง แต่ไม่ยุติว่าจะเปนความจริงได้แน่ กล่าวกัน ว่าทรงสร้างแก้บนครั้งเสด็จยกกองทัพไปปราบขบถเวียงจันท์ เล่ากันอิก อย่างหนึ่งว่า แต่เดิมจะทรงสร้างเปนยอดปราสาท จนปรุงตัวไม้แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ มีรับสั่งให้ไปห้ามว่า ในพระราชวังบวรฯ ไม่มีธรรมเนียมที่จะมีปราสาท กล่าวกันว่าเปนเหตุ ให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพน้อยพระไทยมาก จึงโปรดให้แก้ เปนหลังคาจตุรมุข อย่างเช่นปรากฏอยู่ทุกวันนี้ มีสิ่งต่าง ๆ ที่ทรง สร้างในวัดบวรสถานสุทธาวาศ โดยประณีตบรรจงหลายอย่าง แล้วเสาะหา ๑๓ นามว่า " บวรสถานสุทธาวาศ " นี้ สงใสยว่าจะพระราชทานต่อในรัชกาลที่ ๔ ๘


๕๘ พระพุทธรูปที่เปนของงามของแปลก แลเครื่องศิลาโบราณต่าง ๆ มา ตกแต่ง พระเจดีย์ก็ถ่ายแบบอย่างพระเจดีย์สำคัญ เช่นพระธาตุพนม เปนต้นมาสร้างขึ้นหลายองค์ แต่การที่สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาศ ไม่ทันแล้วสำเร็จ ที่เล่ากันมาเปนแน่นอนนั้น ว่ากรมพระราชวังบวร มหาศักดิพลเสพทรงสร้างพระพุทธรูปยืนองค์หนึ่ง สำหรับจะประดิษฐาน ที่ในพระอุโบสถ ยังไม่ทันแล้วพอประชวรหนักใกล้จะสวรรคต จึงทรง จบพระหัตถ์ผ้าห่มพระประทานพระองค์เจ้าดาราวดีไว้ ดำรัสสั่งว่าต่อไป ถ้าท่านผู้ใดเปนใหญ่ได้ทรงบุรณวัดนั้น ให้ถวายผ้าผืนนี้ ทูลขอให้ช่วย ทรงพระให้ด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับผ้าผืนนั้น ทรงพระพุทธรูปถวายสมดังพระราชอุทิศของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ พลเสพจึงได้ปรากฎความที่กล่าวมานี้ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ดำรงพระยศเปนพระมหาอุปราชอยู่ ๘ ปี ประชวรโรคมานน้ำ สวรรคตเมื่อณวันอังคารเดือน ๖ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมโรง จุลศักราช ๑๑๙๔ พ.ศ. ๒๓๗๕ พระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา พระศพประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ถึงเดือน ๕ ปีมเสง พ.ศ. ๒๓๗๖ เชิญพระศพแห่ออกพระเมรุที่ท้องสนามหลวง มีงานมหรศพ ๕ วัน (ลดลงกว่าครั้งรัชกาลที่ ๒ ) พระราชทานเพลิงเมื่อวันแรม ๒ ค่ำเดือน ๕ แล้วเชิญพระอัฐิไปประดิษฐานไว้ในพระราชวังบวร ฯ แต่นั้นวังน่าก็ ว่างมา ว่างคราวนี้ถึง ๑๘ ปี

๑๔ การแห่พระศพกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ แลรัชกาลที่ ๓ เข้าใจว่า แห่จากวังน่าลงมาพระเมรุ เหมือนครั้งรัชกาลที่ ๕ แต่ยังไม่พบจดหมายเหตุที่จะสอบ ๕๙ ? ถึงปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ.๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติ โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เปนพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศเปน อย่างพระเจ้าแผ่นดิน เหมือนเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยก ย่องสมเด็จพระเอกาทศรถราชอนุชามหาอุปราชครั้งกรุงเก่า จึงโปรด ให้แก้ไขประเพณีการฝ่ายพระราชวังบวร ฯ ให้สมกับพระเกียรติยศที่ ทรงยกย่องสมเด็จพระอนุชาธิราชนั้นหลายประการ เปนต้นว่า นาม วังน่าซึ่งเคยเรียกในราชการว่า " พระราชวังบวรสถานมงคล " ให้ เปลี่ยนนามเรียกว่า " พระบวรราชวัง " พระราชพิธีอุปราชาภิเศกให้ เรียกว่า " พระราชพิธีบวรราชาภิเศก " พระนามที่จาฤกในพระสุพรรณ บัตร แบบเดิมว่า " พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล " พระราชทานพระนามอย่างพระเจ้าแผ่นดินว่า " สมเด็จพระปวเรนทรา เมศมหิศเรศรังสรรค์ ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว " แลขานคำรับสั่งกรม พระราชวังบวร ฯ เคยใช้ว่า " พระบัณฑูร " โปรดให้เปลี่ยนเปน " พระบวรราชโองการ " ว่าโดยย่อ เติมคำ " บรม " เปนฝ่าย วังหลวง แลคำ " บวร " เปนฝ่ายวังน่าเปนคู่กัน เกิดขึ้นในคราวนี้ เปนปฐม. เพราะเหตุที่เปลี่ยนพระราชพิธีอุปราชาภิเศกเปนบวรราชาภิเศก ดังกล่าวมานี้ ลักษณะการพิธีจึงเอาอย่างพิธีบรมราชาภิเศกทาง วังหลวง ไปแก้ไขลดลงเปนตำราพิธีบวรราชาภิเศก ตั้งต้นแต่เชิญ

๖๐ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวไปประทับอยู่ในพระราชวังบวร ฯ แต่ก่อนงานพระราชพิธีบวรราชาภิเศก เสด็จประทับแรมอยู่ในพระฉาก ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เหมือนอย่างทางวังหลวงเสด็จประทับแรม อยู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฉนั้น ครั้นพระราชพิธีบรมราชาภิเศก เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รื้อมณฑป พระกระยาสนานที่พระองค์สรงมุรธาภิเศก ไปปลูกพระราชทานให้เปน ที่สรงของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนที่ทำการพระราชพิธี นั้น ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จัดตั้งเทียนไชยแลเตียงพระสงฆ์สวด ภาณวาร (อย่างที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระราชวังหลวง) ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยจัดตั้งพระแท่นมณฑล แลเปนที่พระราชาคณะ ผู้ใหญ่สวดมนต์ (อย่างที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระราชวังหลวง) แต่งดพระที่นั่งอัฐทิศแลพระที่นั่งภัทรบิฐหาตั้งไม่ ที่พระที่นั่งวสันตพิมาน ในห้องพระบรรธม จัดเปนที่ประทับทรงสดับพระสงฆ์ธรรมยุติกาเจริญ พระปริต ( อย่างพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระราชวังหลวง) โรงพิธีพราหมณ์ปลูกในสนามน่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ตามอย่างอุปราชา ภิเศก แต่ไม่มีกระบวนแห่เสด็จเหมือนอุปราชาภิเศกแต่ก่อน เพราะ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปประทับอยู่ในพระราชวัง บวร ฯ แล้ว. ๑๕ เดิมเรียกพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เข้าใจว่าเปลี่ยนเปนพุทไธสวรรย์ เมื่อครั้ง กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ดังจะอธิบายต่อไปข้างน่า. ๑๖ ในจดหมายเหตุเก่ากล่าวแต่ว่า พระสงฆ์สวดมนต์ในพระที่นั่งทั้ง ๓ องค์ ที่กล่าวนามมานั้น แต่รายการที่กล่าว ๆ ตามสันนิฐาน เชื่อว่าไม่ผิด. ๖๑ พระราชพิธีบวรราชาภิเศก ตั้งสวดเมื่อณวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ เปนวันแรก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ โดยกระบวนพยุหยาตราแห่สี่สาย ขึ้นไปยังพระบวรราชวังในเวลาบ่าย ทั้ง ๓ วัน ครั้นณวันพุฒ เดือน ๖ แรม ๑๓ ค่ำ เปนพระฤกษ์บวร ราชาภิเศก เสด็จขึ้นไปในเวลาเช้า พระราชทานน้ำอภิเศกแลพระ สุพรรณบัตร กับทั้งเครื่องราชูประโภคแก่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว ครั้นเสด็จกลับแล้ว ( ในจดหมายเหตุของเจ้าพระยาทิพา กรวงษ์ว่า ) พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาถวายดอก ไม้ธูปเทียนที่ในพระบรมมหาราชวัง แลวันรุ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปพระราชทานต้นไม้เงินทองของขวัญ ใน การเฉลิมพระราชมณเฑียรที่พระบวรราชวังอิกครั้งหนึ่ง แลในการ พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรครั้งนั้น โปรดให้พระบรมวงษา นุวงษ์เสนาอำมาตย์ราชเสวกทั้งฝ่ายวังหลวงวังน่าถวายดอกไม้ธูปเทียน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงประพฤติตามแบบอย่างเจ้านายรับกรม คือ ถวายดอกไม้ธูปเทียนแก่พระบรมวงษานุวงษ์ซึ่งเจริญพระชนมายุยิ่งกว่า พระองค์ทุก ๆ พระองค์ ครั้นเสร็จการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณ เฑียรแล้ว โปรดให้แห่เสด็จพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเลียบ พระนครทางสถลมารคอิกวันหนึ่ง จึงเสด็จพระราชพิธีบวรราชาภิเศก.


๖๒ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวบวรราชาภิเศก พระชนมายุ ได้ ๔๓ พรรษา เสด็จขึ้นไปประทับที่พระบวรราชวังเวลากำลังปรัก หักพังทรุดโทรมทั่วไปทั้งวัง ข้าราชการวังน่าที่ได้ตามเสด็จไปแต่แรก เล่ากันว่า ถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวออกพระโอษฐว่า " เออ อยู่ดีดีก็ให้มาเปนสมภารวัดร้าง " ความข้อนี้สมกับคำพระครู ธรรมวิธานาจารย์สอน เล่าว่า เมื่อก่อนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่วังน่านั้น วังน่ารกร้างหักพังมาก ซุ้มประตู แลหลังคาป้อมปราการรอบวังหักพังเกือบหมด กำแพงวังชั้นกลาง ก็ไม่เห็นมี ท้องสนามในวังน่าชาวบ้านเรียกกันว่า " สวนพันชาติ " เพราะพันชาติตำรวจปลูกเย่าเรือนอาไศรยแลขุดร่องทำสวนเต็มตลอด ไปจนน่าพระที่นั่งศิวโมกขพิมานแลพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ สถานที่ต่าง ๆ เช่นศาลาลูกขุนแลโรงช้างเปนต้น ของเดิมหักพังหมด มีแต่รอย เหลืออยู่ตรงที่ที่สร้างขึ้นใหม่ พระครูธรรมวิธานาจารย์ว่าสถานที่ต่าง ๆ ที่เห็นกันในชั้นหลัง เปนของสร้างครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัวแทบทั้งนั้น ความที่พระครูธรรมวิธานาจารย์กล่าวนี้ยุติต้อง ด้วยเหตุการณ์ คิดดูแต่สร้างวังน่ามาจนเวลานั้นได้ถึง ๖๙ ปีปรากฏว่า ได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์แต่พระราชมณเฑียรเมื่อในรัชกาลที่ ๓ นอกจาก พระราชมณเฑียรเห็นจะชำรุดทรุดโทรมทั่วไปทั้งวัง แลคงเปนด้วย เหตุที่วังน่ารกร้างทรุดโทรมนี้เอง จึงมีหมายรับสั่งปรากฏอยู่ว่าเมื่อก่อน

๑๗ พระครูธรรมวิธานาจารย์ได้อยู่วัดมหาธาตุมาแต่เปนเด็กศิษย์วัด เดี๋ยวนี้อายุได้ ๘๐ ได้เคยเดินผ่านไปมาทางวังน่าเสมอตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๓

๖๓ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จขึ้นไปประทับที่วังน่านั้น ให้ ทำพิธีฝังอาถรรภ์ใหม่เมื่อเดือน ๖ ขึ้นค่ำ ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้แห่พระพุทธสิหิงค์กลับไปสถิตย์ประดิษฐานในพระราช วังบวร ฯ แลในวันนั้นเวลาบ่ายพระสงฆ์ ๒๐ รูปสวดมนต์ที่ในพระที่นั่ง อิศราวินิจฉัย รุ่งขึ้นวันขึ้น ๒ ค่ำเวลาเช้าพราหมณ์ฝังหลักอาถรรภ์ ทุกป้อมแลประตูพระราชวังบวร ฯ รวม ๘๐ หลัก เข้าใจว่าพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปประทับที่พระราชวังบวร ฯ ในวัน แรม ๒ ค่ำ ๖ นั้น. ตามที่ได้ความในจดหมายเหตุแลที่พระครูธรรมวิธานาจารย์เล่าให้ฟังดังกล่าวมา เปนอันยุติได้ว่า พระราชมณเฑียรแลสถานที่ต่าง ๆ ที่ ปรากฏอยู่ในแผนที่วังน่า เปนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาใหม่เมื่อในรัชกาลที่ ๔ โดยมาก แต่การที่พระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนานั้น ถ้าจะกำหนดโดยเหตุ ต่างกัน เปน ๓ ประการ คือ ก่อสร้างเฉลิมพระเกียรติยศที่เสมอด้วยพระเจ้าแผ่น ดินนั้นประการ ๑ ก่อสร้างแทนของเดิมซึ่งปรักหักพังไปให้บริบูรณ์ดังแต่ ก่อนประการ ๑ ก่อสร้างตามลำพังพระราชหฤไทยของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวอิกประการ ๑ จะอธิบายต่อไปนี้ทีละอย่าง. สิ่งซึ่งสร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้า อยู่หัวนั้น เล่ากันมาว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์เกือบจะทั้งนั้น ทั้งพระราชมณเฑียรสถานแลเครื่องราชูประโภค ทั้งปวงตลอดจนตำแหน่งขุนนาง ยกตัวอย่างเช่นว่าจ่าตำราจ ทรงตั้ง

๖๔ ขึ้นใหม่ในทำเนียบข้าราชการวังหลวง ก็โปรดให้ตั้งขึ้นใหม่ในทำเนียบ ข้าราชการวังน่าด้วยฉนี้เปนต้น ว่าโดยย่อเครื่องเฉลิมพระเกียรติยศ สำหรับวังหลวงมีอย่างไร ก็ทรงพระราชดำริห์ให้มีขึ้นทางวังน่าใน ครั้งนั้นโดยมาก จะกล่าวแต่เฉภาะพระราชมณเฑียรก่อน คือ ข้อสำคัญ ปราสาทไม่เคยมีในพระราชวังบวรสถานมงคล จึงโปรด ให้สร้างปราสาทขึ้นข้างน่ามุขพระที่นั่งพุทไธสวรรย์องค์ ๑ ขนาดแล รูปสัณฐานอย่างพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ในพระบรมมหาราชวัง ขนาน นามว่า " พระที่นั่งคชกรรมประเวศ " มีเกยสำหรับขึ้นทรงช้างอยู่ข้างน่า สร้างพระที่นั่งโถง ทำนองพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ในพระราชวัง หลวง ตรงมุมกำแพงบริเวณน่าพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย มุมข้างใต้ องค์ ๑ มุมข้างเหนือองค์ ๑ มีเกยสำหรับทรงพระราชยาน ขนานนามว่า " พระที่นั่งมังคลาภิเศกองค์ ๑ พระที่นั่งเอกอลงกฎองค์ ๑ " ยังอยู่จน ทุกวันนี้ทั้ง ๒ องค์. ในชาลาข้างท้องพระโรง สร้างพระที่นั่งโถงองค์ ๑ เหมือนอย่าง พระที่นั่งสนามจันทร์ แลเรียกว่าพระที่นั่งสนามจันทร์อย่างเดียวกับใน พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งองค์นี้ยังอยู่ แต่ชำรุดจวนพังอยู่แล้ว. สร้างพลับพลาสูงที่ทอดพระเนตรฝึกซ้อมทหารบนกำแพงพระบวรราชวังด้านตวันออกองค์ ๑ อย่างพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ในพระราชวัง หลวง แต่เปนพลับพลาโถง เสาไม้หลังคาไม่มียอด เข้าใจว่า จะเหมือนอย่างพระที่นั่งสุทไธสวรรย์เมื่อแรกสร้าง ก่อนแก้เปนปราสาท เมื่อในรัชกาลที่ ๓

๖๕ สร้างพระตำหนักน้ำที่ท่าตำหนักแพองค์ ๑ เปนเครื่องไม้ทำนอง พระที่นั่งสร้างที่ท่าราชวรดิฐเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ขนามนามว่า " พระที่นั่ง นทีทัศนาภิรมย์ " ว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติสร้างถวาย พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ่งซึ่งสร้างขึ้นแทนของเก่า แต่ถ่ายแบบอย่างของในพระราชวัง หลวงไปสร้างเฉลิมพระเกียรติก็มีหลายอย่าง เช่นโรงช้างต้น ม้า ต้น แลประตูมหาโภคราชสร้างใหม่เปนประตูชั้นกลาง ทำเปนประตู สองชั้นอย่างประตูพิมานไชยศรีในพระราชวังหลวงนั้นเปนต้น การชักธง ตราแผ่นดินที่ในพระราชวังมีขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ในพระราชวังหลวงตั้ง เสาชักธงพระมหามงกุฎ ที่พระบวรราชวังก็โปรดให้ตั้งเสาชักธงพระ จุฑามณีอย่างเดียวกัน. สิ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นให้บริบูรณ์ตามของเดิมนั้น เช่นสร้างทิมดาบ เขื่อนเพ็ชร โรงช้าง โรงม้า ศาลาลูกขุนเปนต้น ตลอดจนก่อสร้างป้อมประตูที่ปรักหักพังให้กลับดี ขึ้นดังเก่า ของเหล่านี้ที่ของเดิมเปนเครื่องไม้ สร้างใหม่เปนเครื่อง ก่ออิฐถือปูนโดยมาก ตำหนักข้างในก็ซ่อมใหม่ทั้งหมดในครั้งนั้น. สิ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างตามพระราช หฤไทยของพระองค์เองนั้น คือพระราชมณเฑียรที่เสด็จประทับในพระ บวรราชวัง ไม่พอพระราชหฤไทยที่จะประทับพระวิมานของเดิม จะสร้าง พระราชมณเฑียรใหม่เปนที่ประทับ แต่ที่พระบวรราชวังชั้นในคับแคบ ๙

๖๖ จึงโปรดให้ขยายเขตรชั้นในขึ้นไปข้างด้านเหนือ ( เขตรเดิมอยู่ตรงแนวถนนแต่ประตูสุดายุรยาตรมาทางตวันออก ในแผนที่ ) แลให้รื้อโรงลคร ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงสร้างไว้แต่เดิมนั้นเสีย แล้ว สร้างพระราชมณเฑียรใหม่ในที่บริเวณนั้นองค์ ๑ สร้างเปนเก๋งจีนโดย ฝีมืออย่างประณีตบรรจง ครั้นสำเร็จเสด็จขึ้นประทับ พเอิญประชวรเสาะแสะติดต่อมาไม่เปนปรกติ จีนแสมาดูกราบทูลว่าเพราะพระที่ นั่งเก๋งที่ประทับนั้นสร้างในที่กวงจุ๊ยไม่ดีเปนอัปมงคล จึงโปรดให้รื้อพระ ที่นั่งเก๋งนั้นไปปลูกเสียนอกวัง ( ตรงที่สร้างโรงกระสาปน์เดี๋ยวนี้ ) ถึง รัชกาลที่ ๕ เก๋งนี้ว่างอยู่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยทอดพระเนตรเห็นแต่ยังทรงพระเยาว์ โปรดว่าฝีมือที่ทำประณีต น่าเสียดาย จึงให้ย้ายเอาไปปลูกไว้ในพระราชวังดุสิต เปนที่สำหรับ เจ้านายวังน่าไปประทับเวลาเสด็จขึ้นไปเฝ้า ฯ ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ครั้นเมื่อรื้อพระที่นั่งเก๋งออกไปจากพระบวรราชวังแล้ว จึงทรงสร้าง พระที่นั่งอิกองค์ ๑ ในบริเวณอันเดียวกัน เปนแต่เลื่อนไปข้างตวันออก หน่อยหนึ่ง พระที่นั่งองค์ใหม่นี้ทำเปนตึกอย่างฝรั่ง สร้างโดยประณีต บรรจงเหมือนกัน ขนานนามว่า " พระที่นั่งอิศเรศราชานุสร " พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับอยู่ที่พระที่นั่งองค์นี้ตลอดมาจนเสด็จสวรรคต พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรยังอยู่จนทุกวันนี้. อิกอย่างหนึ่งโปรดให้รื้อพระตำหนักแดงที่พระราชวังเดิม มา ปลูกไว้ในพระบวรราชวังข้างด้านตวันตก ตรงมุมวังที่ขยายใหม่ พระตำหนักแดงนี้เข้าใจว่าเปนพระตำหนักเดิมของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเรื่องตำนานจะกล่าวที่อื่นต่อไปข้างน่า. ๖๗ อนึ่งเมื่อในรัชกาลที่ ๓ นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบังคับบัญชาทหาร ปืนใหญ่ จึงทรงศึกษาวิชาทหารอย่างยุโรป แล้วเอาเปนพระธุระฝึกหัด จัดทหารตลอดมา แลอิกประการ ๑ โปรดวิชาต่อเรือกำปั่นรบ ได้ทรง ศึกษาตำราเครื่องจักรกลกับมิชชันนารี จนทรงสร้างเครื่องเรือกลไฟขึ้น ได้ในเมืองไทยเปนครั้งแรก จึงเปนเหตุให้โปรดทั้งวิชาการทหารบก ทหารเรือมาแต่เมื่อในรัชกาลที่ ๓ ครั้นเสด็จเฉลิมพระยศบวรราชาภิเศก แล้ว ก็ทรงจัดตั้งทหารวังน่าขึ้นทั้งทหารบกทหารเรือ จ้างนายร้อยเอก น๊อกซ์นายทหารอังกฤษ ซึ่งภายหลังได้เปนกงซุลเยเนอราลอังกฤษในกรุงเทพ ฯ แลเปนเซอธอมมัสน๊อกซ์นั้น มาเปนครูฝึกหัดตาม แบบอังกฤษ ส่วนทหารเรือก็ให้พระเจ้าลูกเธอเปนนายทหารเรือหลาย พระองค์ แลทรงต่อเรือรบกลไฟ มีเรืออาสาวดีรศ แลเรือยงยศ อโยชฌิยาเปนต้น ส่ำสมปืนใหญ่น้อยแลเครื่องสาตราวุธยุทธภัณฑ์ สำหรับการทหารนั้นมากมาย จึงต้องสร้างสถานที่เพิ่มเติมขึ้นใน วังน่า เช่นโรงปืนใหญ่ โรงทหาร คลังสรรพยุทธ แลตึกดินที่ปรากฎ ในแผนที่วังน่า ล้วนเปนของสร้างขึ้นในครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัวทั้งนั้น ส่วนโรงทหารเรือนั้นจัดตั้งที่ริมแม่น้ำข้างใต้ตำหนักแพ ตรงที่เปนโรงทหารเดี๋ยวนี้. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวังใหม่วัง ๑ ที่ริมคลองคูเมืองเดิมข้างฝั่งเหนือ ตรงที่เปนโรงพยาบาลทหารทุกวันนี้

๖๗ ทำทางฉนวนออกจากพระบวรราชวังข้ามคลองไปจนถึงวังใหม่ วังใหม่นี้สร้างเปนอย่างตึกฝรั่งทั้งวัง ว่าจะได้เปนที่เสด็จแปรสถานไปประทับสำราญพระราชอิริยาบถ แต่ทำยังไม่ทันแล้ว เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานให้เปนวังกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อมา. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เล่ากันมาว่าพระอัธยาไศรยไม่โปรดที่จะแสดงยศศักดิ์ โดยปรกติเสด็จอกให้ข้าราชการเฝ้าก็เสด็จออกที่โรงรถ ต่อเวลามีการพิธีจึงเสด็จออกท้องพระโรง จะเสด็จที่ใด ถ้ามิได้เปนราชการงานเมืองก็มักจะเสด็จแต่โดยลำพังพระองค์ บางทีทรงม้าไปกับคนตามเสด็จคนหนึ่งสองคน โดยพอพระราชหฤไทยที่จะเที่ยวประพาศมิให้ใครรู้ว่าพระองค์เสด็จ แม้จะเสด็จไปตามวังเจ้านายก็ไม่ใคร่ให้รู้พระองค์ก่อน พระองค์เจ้าประดิษฐวรการเคยตรัสเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า เมื่อแรกได้บังคับช่างสิบหมู่แต่ยัง เปนหม่อมเจ้าอยู่นั้น ครั้งหนึ่งเวลาค่ำแล้ว ได้ยินเสียงคนมาร้องเรียกที่ประตูวัง ให้คนเปิดประตูออกมา พบพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปที่วัง พระองค์เจ้าประดิษฐฯ ตกพระไทยออกไปเชิญเสด็จมา ประทับบนหอนั่ง เวลานั้นมีแต่ต้ายจุดอยู่ใบหนึ่ง จะเรียกพรมเจียมมาปูรับเสด็จก็รับสั่งห้ามเสีย ประทับยองๆ ดำรัสเรื่องที่โปรดให้ทำสิ่งของถวายไปพลางแลทรงเขี่ยต้ายไปพลาง จนเสร็จพระราชธุระจึงเสด็จทรงม้ากลับไปยังพระบวรราชวัง อันเรื่องทรงม้า เล่ากันว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดนัก ประทับอยู่พระบวรราชวังเสด็จทรงม้าเล่น

๖๙ ในสนามไม่ขาด บางทีก็ทรงคลี บางทีเวลากลางคืนให้เล่นขี่ม้าซ่อนหา วิธีเล่นนั้น ให้มีคนขี่ม้าตะพายย่ามติ้ว แต่งตัวเหมือนคนอยู่โยงอีกคนหนึ่ง คนขี่ม้าหนีต้องได้ติ้วก่อนจึงจะเข้าโยงได้ ความสนุกอยู่ที่รู้ไม่ได้ว่าม้าไหนเปนม้าติ้ว แลม้าไหนเปนม้าอยู่โยง เพราะแต่งตัวเหมือนกัน บางทีคนขี่ม้าติ้ว แกล้งไล่ ผู้ที่ไม่รู้หลงหนี เลยเข้าโยงไม่ได้ก็มี เล่ากันว่าสนุกนัก บางทีก็ทรงม้าเข้าล่อช้างน้ำมัน ครั้งหนึ่งว่าทรงม้าผ่านตัวโปรด ขึ้นระวางเปนเจ้าพระยาสายฟ้าฟาด เข้าล่อช้างพลายแก้วซึ่งขึ้นระวางเปนพลายไฟภัทกัลป์เวลาตกน้ำมัน พอช้างไล่ทรงกระทบแผงข้างจะให้ม้าวิ่ง ม้าตัวนั้นเปนม้าเต้นน้อยดีไปเต้นน้อยเสีย เล่ากันว่าวันนั้นหากหมออาจ ซึ่งเปนหมดตัวดีขี่พลายแก้ว เอาขอฟันที่สำคัญเหนี่ยวพลายแก้วไว้อยู่โดยฝีมือ อีกนัยหนึ่งว่าปิดตาช้างแล้วเบนไปเสียทางอื่นทันพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงไม่เปนอันตราย เห็นจะเปนเพราะเหตุที่โปรดการทหารแกล้วทหารแลสนุกคนองต่างๆ ดังกล่าวมานี้ จึงเกิดเสียงกระซิบฦากันว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวิชาอาคาบางคนว่าหยพระองค์ได้ บ้างว่าเสด็จลงเหยียบเรือกำปั่นฝรั่งเอียงก็มี กระบวนทรงช้างก็ว่าแขงนัก ของที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดทรงเล่น ที่เล่าฦากันอีกอย่างหนึ่งก็แอ่วลาว ว่าทรงได้สันทัดทั้งแคนทั้งแอ่ว คำแอ่วเปนพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดยังมีปรากฎอยู่จนบัดนี้มีหลายเล่มสมุด เซอยอนเบาริงราชทูตอังกฤษเข้ามากรุงเทพฯ แต่งหนังสือกล่าวไว้ว่า เมื่อวันพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเลี้ยงนั้น เมื่อเสร็จการเลี้ยงแล้วทรงแคนให้ฟัง เซอยอนเบาริงชมไว้ในหนังสือว่าทรงเพราะนัก.

๗๐ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จดำรงราชสมบัติอยู่ ๑๕ ปี ในตอนปลายเกิดวรรณโรคขึ้นภายในพระองค์มีพระอาการประ ชวรเสาะแสะมาหลายปี จึงต้องเสด็จไปเที่ยวรักษาพระองค์ตามหัวเมืองเนือง ๆ กล่าวกันว่ามักเสด็จไปประทับตามถิ่นที่มีบ้านลาว เพราะ โปรดแอ่วลาว เสด็จไปประทับที่บ้านสัมปะทวน แขวงจังหวัดนคร ไชยศรีบ้าง ทางเมืองพนัศนิคมบ้าง แต่ไปประทับที่ตำหนักบ้านสีทา แขวงจังหวัดสระบุรีโดยมาก จนปีฉลู จุลศักราช ๑๒๒๗ พ.ศ.๒๓๑๘ พระอาการที่ประชวรหนักลง ต้องเสด็จกลับกรุงเทพ ฯ แลในเดือนยี่ ปีฉลูสัปตศกนั้น เปนกำหนดพระฤกษ์จะได้ทำการพระราชพิธีโสกันต์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์ว่าสมเด็จพระอนุชาธิราชประชวรมากอยู่ จะโปรดให้เลื่อนงานโสกันต์ไป ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว กราบทูลขออย่าให้เลื่อนงาน ว่าพระองค์ประชวรมากอยู่แล้ว จะไม่ได้มีโอกาสสมโภช จึงต้องโปรดให้คงงานไว้ตามพระฤกษ์เดิม ครั้นถึงงานพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งให้เจ้าพนักงานเตรียมกระบวนจะเสด็จลงมาจรดพระกันไกรพระราชทาน พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ต้องรับสั่งให้ทอดที่ราชอาศน์เตรียมไว้รับเสด็จตามเคย ทั้งทรงทราบอยู่ว่าพระอาการมากจะไม่เสด็จลงมาได้ โดย จะมิให้สมเด็จพระอนุชาธิราชโทมนัศน้อยพระไทย ด้วยพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวมาก ข้าพเจ้าเคยได้ยินพระบาทสามเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๗๑ รับสั่งเล่าว่า เมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น เสด็จขึ้นไปเฝ้าพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อใด มักดำรัสเรียกเข้าไปให้ใกล้แล้วยก พระหัตถ์ลูบ รับสั่งว่า " เจ้าใหญ่นี่และต่อไปจะเปนที่พึ่งของญาติได้ " ในเวลาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรหนักนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปทรงรักษาพยาบาลทั้งกลางวันกลางคืน ประชวรมาจนวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ พอ เปนวันสุดงานพระราชพิธีโสกันต์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคตที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสร พระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา การพระศพโปรดให้เรียกว่าพระบรมศพ จัดเหมือนอย่างพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทุกอย่าง เว้นแต่มิได้ทรงพระลองเงินกับประกาศ ให้คนโกนหัวไว้ทุกข์แต่ที่มีสังกัดในพระบวรราชวัง เหมือนอย่างกรม พระราชวังบวร ฯ มิได้ให้โกนหัวทั้งแผ่นดิน ครั้นถึงปีขาล พ.ศ. ๒๔๑๙ โปรดให้ทำพระเมรุที่ท้องสนามหลวง ตามแบบอย่างพระเมรุพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลจัดการแห่ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำนองครั้งกรมพระ ราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ในรัชกาลที่ ๒ แต่เพิ่มเติมพระเกียรติยศ พิเศษขึ้นเปนหลายประการ. ปรากฏรายการงานพระเมรุครั้งนั้นว่า ณเดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ เชิญ พระบรมธาตุแห่แต่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยในพระบวรราชวัง ออกประตู มหาโภคราช แลประตูบวรยาตรา ด้านตวันออก มาสมโภชที่พระ เมรุวันกับคืนหนึ่ง แห่พระบรมธาตุกลับแล้ว ถึงเดือน ๓ ขึ้น ๖ ค่ำ

๗๒ เพลาบ่าย ๒ โมง เชิญพระบรมศพแห่ออกประตูโอภาษพิมานชั้นกลาง ด้านเหนือ แลประตูพิจิตรเจษฎาด้านตวันตกพระราชวัง ไปถึง ตำหนักแพ เชิญพระบรมโกษฐประดิษฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้าในเรือ พระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข แห่ล่องลงมาประทับที่พระราชวังเดิม ด้วยพระ บาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประทับอยู่ตลอดในรัชกาลที่ ๓ มีมหรศพสมโภชคืนหนึ่ง ครั้นเวลาดึกเคลื่อนเรือพระบรมศพมาประ ทับที่ท่าฉนวนวัดพระเชตุพล รุ่งขึ้น ขึ้น ๖ ค่ำ เวลาเช้าแห่กระบวน น้อยไปยังที่ตั้งกระบวนใหญ่ที่ถนนสนามไชย เชิญพระบรมโกษฐขึ้น พระมหาพิไชยราชรถแห่ไปยังพระเมรุมาศ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล แลมีมหรศพสมโภช ๗ วัน แล้วพระราชทานเพลิงเมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ เมื่อเสร็จการสมโภชพระบรมอัฐิแล้ว โปรดให้เชิญไปประ ดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรที่ในพระบวรราชวัง. เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตนั้น วังน่าผิดกับเวลาเมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ ที่ ๓ สวรรคตหลายอย่าง เปนต้นว่า พระราชวังบวร ฯ ที่เคยชำรุดทรุดโทรม พระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิสังขรณ์ให้กลับบริบูรณ์ดีแล้วทั้งข้างน่า ข้างในทั่วไป แลเจ้านายฝ่ายในพระบวรราชวัง ก็มีมากขึ้น มีพระ องค์เสด็จอยู่ทั้ง ๔ รัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า ไม่ควรจะทิ้งพระบวรราชวังให้เปนวังร้างว่าง เปล่าเหมือนอย่างแต่ก่อน แลตามราชประเพณีครั้งกรุงเก่า สมเด็จ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปประทับอยู่วังน่าก็เคยมี ดังกล่าวมาแต่ก่อนแล้ว

๗๓ จึงเสด็จขึ้นไปประทับเปนประธานในพระบวรราชวังเนือง ๆ บางทีก็เสด็จ ไปเยี่ยมเยือนเฉภาะเวลา บางทีประทับแรมอยู่ก็มีบ้าง แลเวลานั้น มีเก๋ง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระวิสูตรวารี มลิ สร้างถวายตรงน่าพระที่นั่งอิศเรศราชานุสร ยังค้างอยู่ จึงโปรดให้ สร้างต่อมาจนสำเร็จ ขนามนามว่า " พระที่นั่งบวรบริวัติ " เปนที่ ประทับเวลาเสด็จไปอยู่พระบวรราชวัง ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ แต่ต่อ มา ดำรัสว่าที่พระที่นั่งบวรบริวัติถูกแดดบ่ายร้อนจัดนัก โปรดให้สร้าง ตึกอิกหลัง ๑ ต่อไปข้างเหนือ การยังไม่สำเร็จจนตลอดรัชกาลที่ ๔ ตรงนี้ควรจะกล่าวถึงเรื่องข้าราชการวังน่าแทรกลงสักหน่อย ด้วยเนื่องในเรื่องตำนานของวังน่ามาแต่ครั้งกรุงเก่า ตำแหน่งข้าราชการ ฝ่ายพระราชวังบวร ฯ ไม่ปรากฏทำเนียบในกฏหมายเดิม (ที่พิมพ์ เปนเล่มนั้น) แต่มีข้าราชการบางตำแหน่งในทำเนียบเดิม เช่นหลวง มหาอำมาตย์ ว่าเปนสมุหมหาดไทยฝ่ายเหนือ หลวงธรรมไตรโลก ว่า เปนสมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือ คำว่า " ฝ่ายเหนือ " ที่กล่าวในทำเนียบ หมายความว่าราชธานีฝ่ายเหนือ คือเมืองพิศณุโลกเปนแน่ไม่มีที่สงไสย คือเปนอรรคมหาเสนาบดีของเจ้าที่ครองเมืองพิศณุโลก ถึงเจ้ากรม พระตำรวจ ตำแหน่งขุนราชนรินทร ขุนอินทรเดช ที่เรียกว่า " กรมพระตำรวจนอก " นั้น ก็เปนตำแหน่งตำรวจฝ่ายเหนืออย่างเดียว ๑๐


๗๔ กัน ด้วยมีปรากฏในเรื่องพระราชพงษาวดารว่า เมื่อครั้งพระเจ้า หงษาวดีมาล้อมกรุงเก่าไว้ พระมหาธรรมราชาที่ครองเมืองพิศณุโลก มาในกองทัพกับพระเจ้าหงษาวดี เสด็จเข้ามาว่ากล่าวชาวเมืองให้ ยอมแพ้ ชาวเมืองไม่เชื่อ กลับเอาปืนยิงพระมหาธรรมราชา ขุนอินทร เดชเข้าอุ้มพระองค์พาหนีปืนไป ความอันนี้เปนหลักฐานว่า ตำแหน่ง ขุนอินทรเดชเปนตำรวจพิศณุโลก เลยส่อให้เห็นต่อไปว่า ที่เรียกใน ทำเนียบว่า " ตำรวจสนม " ซึ่งขุนพรหมบริรักษ์ ขุนสุริยภักดีเปนเจ้ากรม นั้น เดิมเห็นจะเปนตำรวจสำหรับพระอรรคมเหษี ตำรวจสำหรับสมเด็จ พระเจ้าแผ่นดิน เดิมมีแต่ ๔ ตำรวจเท่านั้น ตำแหน่งข้าราชการฝ่ายเหนือ ที่กล่าวมานี้เห็นจะรวมสมทบเข้าในทำเนียบข้าราชการวังหลวง เมื่อใน แผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชนั้นเอง ฤามิฉะนั้นก็ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่จริงตำแหน่งข้าราชการตามทำเนียบฝ่าย พระราชวังบวร ฯ ที่ปรากฏในชั้นหลัง เช่นพระยาจ่าแสนยากร แล พระยากลาโหมราชเสนาเปนต้น น่าจะเกิดขึ้นเมื่อครั้งสมเด็จพระเอกา ทศรถเปนพระมหาอุปราช ด้วยมีพระเกียรติยศเหมือนอย่างพระเจ้า แผ่นดิน แต่ไม่ปรากฏหลักฐาน ในหนังสือพระราชพงษาวดารมามีชื่อ ขุนนางวังน่า ตามทำเนียบใหม่บางตำแหน่งปรากฏต่อเมื่อสมเด็จพระนารายน์มหาราชเปนพระมหาอุปราช ในแผ่นดินสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา จึงสันนิฐานว่า จะพึ่งตั้งทำเนียบข้าราชการวังน่าสังกัดเปนหมวดหมู่เมื่อ ตั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชาเปนเดิม .

๗๕ มา ข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวร ฯ ที่มาตั้งในกรุงรัตนโกสินทร เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ นั้น เอาทำเนียบอย่างครั้งกรุงเก่ามาตั้ง แล้วมา เพิ่มเติมขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ตรงกับทำเนียบวังหลวง เหตุด้วยมีพระเกียรติยศเปนพระเจ้าแผ่นดิน ตำแหน่งข้าราชการวังน่าจึงมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก. อนึ่งตามประเพณีมีแต่โบราณมา เวลาว่างพระมหาอุปราช จะ เปนเพราะเหตุพระมหาอุปราชเสด็จผ่านพิภพ เปนสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็ดี ฤาพระมหาอุปราชสวรรคตก็ดี ข้าราชการวังน่าต้องมาสมทบเปนข้า ราชการวังหลวง ผู้ที่รับราชการกรมไหนในวังน่า ก็มารับราชการ ในกรมนั้นในพระราชวังหลวง แต่นั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงตั้ง ทั้งตำแหน่งข้าราชการฝ่ายวังหลวงแลวังน่า จนทรงตั้งพระมหาอุปราช เมื่อใด ข้าราชการที่ตำแหน่งเปนฝ่ายพระราชวังบวร ฯ ก็กลับไป รับราชการในพระมหาอุปราช เปนประเพณีมีมาดังนี้ พิเคราะห์ในทางพงษาวดาร ของข้าราชการวังน่าในชั้นกรุงรัตน โกสินทรนี้ เมื่อแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร กรมพระราชวังบวรมหา สุรสิงหนาท ทรงเลือกสรรผู้ซึ่งทรงคุ้นเคยใช้สอยในพระองค์มาแต่ ก่อน มาตั้งเปนข้าราชการวังน่าตามพระอัธยาไศรย ข้าราชการวัง หลวงกับวังน่าครั้งนั้นเสมอเปนต่างพวก มาในตอนปลายจึงมีเหตุเกิด อริกันดังอธิบายมาแล้ว เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคต แล้ว ข้าราชการวังน่ามาสมทบอยู่ในพระราชวังหลวง ๓ ปี ขุนนางครั้ง กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ที่ร้ายก็ถูกกำจัดไป ที่ดีก็ย้ายไป . ๗๖ รับราชการตำแหน่งในพระราชวังหลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาไลย ได้อุปราชาภิเศกเปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ข้าราชการวังน่าชั้นเดิมเห็นจะเหลืออยู่น้อย จึงปรากฏว่าทรงตั้งข้าหลวง เดิมเปนข้าราชการผู้ใหญ่ฝ่ายพระราชวังบวร ฯ โดยมาก ครั้นเสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติ มีพระราชประสงค์ตัวคนที่ได้ทรงตั้งเปนตำแหน่ง ขุนนางวังน่าไว้รับราชการในพระราชวังหลวง จึงต้องจัดหาข้าราชการ วังน่าขึ้นใหม่สำหรับสมเด็จพระอนุชาธิราชพระบัณฑูรน้อย ที่ได้อุปราชา ภิเศกเปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในครั้งนั้นเห็นจะทรงพระ ราชดำริห์ปฤกษากัน จะป้องกันมิให้ข้าราชการวังน่ากับวังหลวงเกิดเปน ต่างพวกต่างเหล่าดังแต่ก่อน จึงโปรดให้จัดบุตรหลานข้าราชการผู้ใหญ่ ในพระราชวังหลวง แบ่งไปรับราชการมีตำแหน่งในฝ่ายพระราชวัง บวร ฯ ทุกๆ ตระกูล ยกตัวอย่างดังเช่นในตระกูลเจ้าพระยามหา เสนาบุนนาค สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงษ์ ผู้พี่ ได้เปนจมื่น ไวยวรนารถในพระราชวังหลวง สมเด็จพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ผู้น้อง ได้เปนจมื่นเด็กชายในพระราชวังบวร ฯ เปนต้น ในสกุลอื่น ๆ ก็แบ่งไปโดยทำนองเดียวกัน ครั้นกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ สวรรคต ข้าราชการวังน่ามาสมทบในพระราชวังหลวง ก็เข้ากันได้เปน อันหนึ่งอันเดียว ได้ย้ายมาเปนตำแหน่งข้าราชการฝ่ายวังหลวงใน ระหว่างเวลาว่างพระมหาอุปราชอยู่ ๗ ปีนั้นโดยมาก ยกตัวอย่างเช่น สมเด็จเจ้าพระยาทั้ง ๒ องค์ที่กล่าวมาแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่


๗๗ ได้เปนพระยาสุริยวงษ์มนตรีจางวางมหาดเล็กแล้ว สมเด็จเจ้าพระยา องค์น้อยก็ได้เปนพระยาศรีสุริยวงษ์จางวางมหาดเล็ก ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวร ฯ กลับไปรับราชการในกรมพระราช วังบวรมหาศักดิพลเสพ เห็นจะเหลือข้าราชการวังน่าครั้งกรมพระราชวัง บวร ฯ ในรัชกาลที่ ๒ กลับไปไม่เท่าไร แต่ต่อมาไม่ช้าเมืองเวียงจันท์ เปนขบถ กรมพระราชวังบวร ฯ ต้องเสด็จเปนจอมพลไปปราบปรามเมือง เวียงจันท์ เห็นจะโปรดให้เลือกสรรผู้ที่มีความสามารถไปเปนขุนนางผู้ ใหญ่ฝ่ายพระราชวังบวร ฯ คราวไปทัพนั้นหลายคน ปรากฏข้าราชการ ผู้ใหญ่ในตารางเกณฑ์ทัพหลายตำแหน่ง แต่ชั้นผู้น้อย พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงจัดคนพระราชทานอย่างเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ กรมพระราชวังบวร ฯ ต้องทรงเลือกหาเอง ได้ยินเล่ากันว่า ครั้งนั้นพวกข้าราชการวังหลวงไม่ใคร่มีใครสมัคขึ้นไปอยู่วังน่า ได้แต่ผู้ ซึ่งกรมพระราชวังบวร ฯ ทรงคุ้นเคยชอบพอในส่วนพระองค์มาแต่ก่อน ฤาที่ไม่ใคร่มีช่องทางที่จะได้ดีทางวังหลวงไปเปนข้าราชการวังน่า เมื่อ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพสวรรคตแล้ว ตำแหน่งพระมหา อุปราชว่างอยู่ถึง ๑๘ ปี ข้าราชการวังน่าที่มาสมทบอยู่ในพระราชวัง หลวงก็หมดตัวแต่ในรัชกาลที่ ๓ ครั้นมาถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชบวรราชา ภิเศก เปนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องหาข้าราชการ


๗๘ วังน่าใหม่ทั้งชุด จึงโปรดให้จัดบุตรหลานข้าราชการผู้ใหญ่ในพระราช วังหลวง แบ่งไปรับราชการฝ่ายพระราชวังบวร ฯ เหมือนอย่าง ครั้งรัชกาลที่ ๒ ข้าราชการวังน่าครั้งรัชกาลที่ ๔ จึงอยู่ในสกุลเดียว กับข้าราชการวังหลวงโดยมาก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว ข้าราชการ ฝ่ายพระบวรราชวังก็ลงมาสมทบรับราชการในพระราชวังหลวง ตำแหน่งสังกัดกรมไหนก็ไปรับราชการในกรมที่ตรงกันตามประเพณีโบราณทุกๆ กรม มีที่ต้องจัดเปนพิเศษอยู่ ๒ กรม คือกรมทหารบกกับทหารเรือ ด้วยพึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ในครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แลใน ครั้งนั้นการบังคับบัญชาทหารอย่างยุโรปยังไม่ได้รวมขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมทุกกรมทั่วไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรด ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบัญชาการทหารบกวังน่า แลโปรดให้กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญชาทหารเรือวังน่าต่อมา พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตได้ ๓ ปี ถึงปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๓๐ พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็สวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญได้เปนพระมหาอุปราช กรมพระราชวัง บวรสถานมงคล


๗๙ การพระราชพิธีอุปราชาภิเศกครั้งรัชกาลที่ ๕ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาบำราบปรปักษ์ทรงจัดการพิธี เอาแบบอย่างครั้งอุปราชาภิเศกกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพเปนตำรา คือปลูกพลับพลาที่ประทับของกรมหมื่นบวรวิไชยชาญที่น่าโรงลคร ริมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามเคย แต่กรมหมื่นบวรวิไชยชาญเสด็จมาประทับเฉภาะเวลาเมื่อ จะแห่ หาได้มาประทับแรมที่พลับพลาไม่ การที่แห่ก็แห่จากพลับพลา ไปยังพระราชวังบวร ฯ ไม่ได้ไปทรงเครื่องแลขึ้นพระราชยานที่พระที่นั่ง ดุสิดาภิรมย์ดังแต่ก่อน สองข้างทางแห่ตั้งราชวัตรฉัตรเบญจรงค์ตาม เคย ส่วนที่ในพระราชวังบวร ฯ ที่ทำพิธีจัดแต่ ๒ แห่ง คือที่พระที่นั่ง อิศราวินิจฉัยตั้งทั้งพระแท่นมณฑลแลเทียนไชย เปนที่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ สวดมนต์แลสวดภาณวารแห่ง ๑ ในห้องพระบรรธมที่พระที่นั่งวสันต พิมานจัดเปนที่ทรงฟังพระสงฆ์ธรรมยุติกา ๕ รูป สวดพระปริตอิกแห่ง ๑ มีการที่ต้องแก้ไขเปนข้อสำคัญอย่างหนึ่ง คือตามประเพณีเดิม กรม พระราชวังบวร ฯ ต้องเสด็จเข้าไปรับพระราชทานพระสุพรรณบัตรที่ใน พระบรมมหาราชวัง แต่เมื่อในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ไปพระราชทานพระสุพรรณบัตรเจ้านายตั้งกรมที่วังทุก ๆ พระองค์ อุปราชาภิเศกครั้งนี้จึงต้องเอาแบบการเสด็จพระราชดำเนิน ครั้งบวรราชาภิเศกพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเปนตำรา เริ่มการพิธีวันแรกเดือนอ้ายขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก เพลา บ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยกระบวนราบไปประทับที่พระที่นั่ง คชกรรมประเวศ แล้วกระบวนแห่กรมหมื่นบวรวิไชยชาญตามขึ้นไป

๘๐ ผ่านน่าพระที่นั่งถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วไปประทับพระราชยานที่เกยพระที่นั่งมังคลาภิเศก เปลี่ยนเครื่องแต่งพระองค์ ทรงเขียนทองพื้นขาว ฉลองพระองค์ครุย ไปทรงจุดเทียนเครื่อง นมัสการ ทรงศีลที่พระที่นั่งอิศราวินิฉัย ซึ่งจัดเปนที่ประทับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ครั้นจุดเทียนไชยแล้วเสด็จเข้าไปทรงฟังสวด ที่พระที่นั่งวสันตพิมาน จนสวดมนต์จบเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้ว จึงแห่กลับ รุ่งเช้ากรมหมื่นบวรวิไชยชาญเสด็จวังใหม่ไปเลี้ยงพระ ที่ในพระราชวังบวร ฯ ครั้นสวดมนต์ครบ ๓ วัน ถึงวันพุฒเดือนอ้าย ขึ้น ๑๑ ค่ำ เพลาเช้า กรมหมื่นบวรวิไชยชาญเข้าที่สรง แล้วเสด็จมา รับพระราชทานพระสุพรรณบัตรแลเครื่องบวรราชูประโภคที่ในพระที่นั่ง อิศราวินิฉัย ครั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้ว กรมพระราชวังบวร ฯ เสด็จออกโปรยทานที่พระที่นั่งคชกรรมประเวศ แลเวลาบ่ายมีการสมโภชเวียนเทียน เปนเสร็จการพระราชพิธีอุปราชาภิเศก กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระชนมายุ ๓๑ พรรษา ในเวลานั้นพระราชมณเฑียรแลสถานที่ ต่าง ๆ ในวังน่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงซ่อมแซม สร้างไว้ยังบริบูรณ์ดี ไม่มีสิ่งสำคัญซึ่งปรากฏว่าสร้างใหม่ครั้งกรมพระ

๑๘ ที่ทรงโปรยทาน คงมีทุกคราวอุปราชาภิเศกแต่ก่อนมา แต่หากในจดหมาย เหตุกล่าวถึงบ้างไม่กล่าวบ้างอนึ่งเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวบวรราชา ภิเศก ปรากฏว่าเสด็จลงมาถวายดอกไม้ธูปเทียนที่พระราชวังหลวง แต่ครั้งนี้เข้าใจว่า กรมพระราชวังบวร ฯ เห็นจะทูลเกล้า ฯ ถวายที่พระราชวังบวร ฯ เมื่อรับพระราชทาน พระสุพรรณบัตรเหมือนอย่างตั้งกรมเจ้านายในครั้งรัชกาลที่ ๔ ๘๑ ราชวังบวรวิไชยชาญขึ้นเปนที่ประทับ เปนแต่ทรงสร้างพระที่นั่ง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างค้างไว้ให้สำเร็จเสด็จไปประทับอยู่ณะที่นั้น ทรงขนานนามว่า " พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาศ " ส่วนที่พระวิมานเดิมนั้นโปรดให้เจ้าคุณจอมมารดาเอม พระชนนีขึ้นมา อยู่ที่มุขตวันออก อันเรียกว่าพระที่นั่งบุรพาภิมุข เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญอุปราชาภิเศกนั้น มีตำแหน่ง ข้าราชการฝ่ายพระบวรราชวังเพิ่มเติมขึ้น ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แลมีทั้งทหารบกทหารเรือก็จัดขึ้นเปนของฝ่ายวังน่า ผิด กับครั้งพระมหาอุปราชแต่ก่อน ๆ ข้าราชการวังน่ายังมีตัวอยู่มาก เพราะลงมาสมทบรับราชการวังหลวงเพียง ๓ ปี ครั้งนั้นสมเด็จเจ้า พระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ์ ซึ่งเปนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในสมัย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระเยาว์พระชนมายุอยู่ บัญชาสั่งให้บรรดาข้าราชการที่มีสังกัดวังน่ากลับคืนไปอยูในกรม พระราชวังบวร ฯ ตามแบบโบราณ รวมทั้งกรมทหารบกทหารเรือ ที่ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดขึ้นใหม่ด้วยทั้งสิ้น ไม่ได้ ดำริห์ให้ลดลง ให้คงแต่ตามอย่างกรมพระราชวังบวร ฯ แต่ก่อนมา เพราะฉนั้นทั้งข้าราชการแลกำลังไพร่พลฝ่ายวังน่า ในเวลากรมพระ ราชวังบวรวิไชยชาญอุปราชาภิเศกจึงมีมากกว่าครั้งไหน ๆ ที่เคย ปรากฏมาแต่ก่อน ดูเหมือนความประสงค์ในครั้งนั้นจะให้กรมพระราช วังบวรวิไชยชาญ ทรงรักษาระเบียบแบบแผนการทำงานทั้งปวงที่พระบาท ๑๑

๘๒ สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดไว้ให้คงที่ถาวรสืบไป กรมพระ ราชวังบวรวิไชยชาญ จึงทรงพยายามที่จะเจริญรอยรักษาแบบอย่างของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อมา ทั้งขนบธรรมเนียมในพระ ราชวังบวร ฯ มีเสด็จออกที่โรงรถแทนท้องพระโรงเปนต้น ตลอดจน การฝึกหัดจัดทหารบกทหารเรือก็จัดต่อมาอย่างครั้งพระบาทสมเด็จพระ ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เพราะฐานะผิดกัน ด้วยพระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระเกียรติยศเปนอย่างพระเจ้าแผ่นดิน แลเปน สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เปนแต่กรม พระราชวังบวร ฯ แลเปนแต่พระเจ้าบวรวงษ์เธอในชั้นราชตระกูล การ ที่ส่ำสมกำลังพลทหาร จะให้เหมือนแบบอย่างครั้งสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปนเหตุการณ์เกิดขึ้นเพราะเรียกระดมทหารวังน่า เมื่อปีจอ จุลศักราช ๑๒๓๖ พ.ศ. ๒๔๑๗ ต้องจัดวางกำหนดอัตราเปนยุติ ที่กรมพระราชวังบวร ฯ จะมีทหารได้เพียงเท่าใด เมื่อเปนยุติแล้วจึง เรียบร้อยเปนปรกติต่อมา กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญโปรดในการช่างต่าง ๆ มาแต่เดิม ทรงจัดตั้งโรงงานการช่างขึ้นในวังน่าหลายอย่าง ทั้งช่างหล่อช่างกลึง ช่างเคลือบ ของที่ทรงประดิษฐ์คิดทำขึ้นล้วนเปนฝีมืออย่างประณีต จะหาเสมอได้โดยยาก แต่โรงงานการช่างในครั้งกรมพระราชวังบวร วิไชยชาญ ใช้แก้ไขสถานที่ซึ่งมีมาแต่เดิมแล้วโดยมาก ปลูกสร้าง ใหม่ก็แต่ของเล็กน้อย มาในตอนหลังทรงหัดงิ้วขึ้นโรงหนึ่ง ก็ใช้ สถานที่ของเดิมให้เปนที่พวกงิ้วอาไศรย

๘๓ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ดำรงพระยศเปนพระมหาอุปราช อยู่ ๑๗ ปี ประชวรพระโรควักกะพิการ เสด็จทิวงคตที่พระที่นั่ง บวรบริวัติเมื่อณวันศุกรเดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๒๔๗ พ.ศ. ๒๔๒๘ พระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา ประดิษฐานพระศพประกอบ พระโกษฐทองน้อย ไว้ในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย แลโปรดให้ประกาศ สั่งคนให้โกนหัวไว้ทุกข์เภพาะที่สังกัดฝ่ายพระราชวังบวร ฯ เหมือน อย่างกรมพระราชวังบวร ฯ สวรรคตแต่ก่อนมา ครั้นถึงเดือน ๗ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ พระเมรุที่ท้องสนามหลวงสร้างเสร็จแล้ว จึงแห่พระศพ จากพระราชวังบวร ฯ มายังพระเมรุ มีการมหรศพสมโภชแลทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลตามพระราชประเพณี พระราชทานเพลิงเมื่อวันจันทร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๓ ค่ำ แล้วให้เชิญพระอัฐิไปประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งอิศเรศ ราชานุสรกับพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยกัน เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตแล้ว ในปีจอ จุลศักราช ๑๒๔๘ พ.ศ. ๒๔๒๙ นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เปนมงกุฏราชกุมาร อย่างสมเด็จ หน่อพระพุทธเจ้า ตามราชประเพณีเดิม จึงประกาศพระราชกฤษฎีกา เลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชฝ่ายน่าแต่นั้นมา ส่วนวังน่า เมื่อมิได้เปน พระราชวังดังแต่ก่อนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์จะไม่ให้เป็นที่ร้าง จึงโปรดให้จัดที่ในเขตรวังชั้นนอก เปนโรงทหารรักษาพระองค์ คือราบที่ ๑๑ ทุกวันนี้ ด้วยทหารบกวังน่า มาสมทบอยู่ในกรมนั้น วังชั้นกลางโปรดให้จัดเปนที่พิพิธภัณฑ์สถานที่

๘๔ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แลพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ส่วนชั้นในยังมีเจ้านาย ทั้งพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว แลพระธิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จอยู่ด้วยกันมาก จึงโปรดให้คงจัดรักษาเปนพระราชวัง ให้มีเจ้าพนักงานรักษาน่าที่อยู่ อย่างเดิม ทรงมอบหมายการปกครองให้พระองค์เจ้าดวงประภา พระ ราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สำเร็จราชการฝ่ายในทั่วไป แลโปรดให้เสด็จขึ้นมาประทับอยู่ที่พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระอุสาหะเสด็จขึ้นไปเยี่ยมเนือง ๆ ด้วยพระองค์ทรงเคารพนับถือ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมาก ทรงอุปการะแก่พระ ราชบุตรพระราชธิดามาทุกพระองค์ ถึงลูกเธอในกรมพระราชวังบวร วิไชยชาญซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่โดยมากนั้น ก็ทรงจัดการให้เล่าเรียน แลเปนพระราชธุระทำนุบำรุงต่อมา ที่เปนพระองค์ชายเมื่อทรงพระเจริญ ขึ้นได้มีตำแหน่งรับราชการแทบทุกพระองค์ เมื่อพระองค์เจ้าดวงประภา สิ้นพระชนม์ โปรดให้พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวรองลงมา ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในวังน่า ต่อมาเหมือนอย่างพระองค์เจ้าดวงประภา แลโปรดให้พระองค์เจ้า วงจันทร์ พระเจ้าน้องนางร่วมพระชนนีกับกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จขึ้นมาประทับที่พระที่นั่งบวรบริวัติ มาจนตลอดรัชกาลที่ ๕ เมื่อเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวร ฯ แล้ว ครั้นล่วงเวลามา หลายปี ป้อมปราการสถานที่ในวังน่าก็ชำรุดทรุดโทรมลงโดยลำดับ

๘๕ ด้วยตั้งแต่ก่อสร้างซ่อมแซมครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้ว ต่อมาหาได้บุรณปฏิสังขรณ์อิกไม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า สถานที่ต่าง ๆ ในวังน่าที่ไม่เปน สิ่งสำคัญ จะลงทุนบุณณปฏิสังขรณ์ขึ้นก็ไม่เปนประโยชน์อันใด ควร รักษาไว้แต่ที่เปนสิ่งสำคัญ จึงโปรดให้รื้อป้อมปราการสถานที่ต่าง ๆ ส่วนชั้นนอกข้างด้านตวันออกลงเปิดที่เปนท้องสนามหลวง ต่อมาเมื่อ เสด็จกลับจากประพาศนานาประเทศในยุโรปครั้งแรก เมื่อรัตนโกสินทร ศก ๑๑๖ พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงจัดการตกแต่งพระนครให้ไพบูลย์ขึ้น โปรดให้ข้างด้านตวันออกทำถนนราชดำเนินในแลท้องสนามหลวงขยาย ต่อขึ้นไปข้างเหนือ จึงรื้อป้อมปราการสถานที่ต่าง ๆ ต่อไปอิก คงไว้แต่ พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส แล้วจึงโปรดให้สร้างตึกขึ้นในสนาม ข้างด้านเหนือ ๓ หลัง เปนที่ว่าการกระทรวงธรรมการ แล้วเปลี่ยนมา ใช้ราชการกระทรวงยุติธรรมอยู่จนบัดนี้ แลสร้างโรงไว้พระมหาพิไชย ราชรถต่อลงมาข้างใต้ ที่ริมน้ำข้างด้านตวันตกก็รื้อสถานที่ของเดิม สร้างโรงทหารราบที่ ๑๑ ขึ้นใหม่ ส่วนข้างในพระราชวังบวร ฯ นานมา มีคนอยู่ลดน้อยลง ตำหนักข้างในร้างว่างเปล่ามาก จึงโปรดให้ กันตำหนักตอนข้างด้านใต้ออกเปนข้างน่าตอน ๑ ให้จัดเปนคลังเครื่อง สรรพยุทธ ทำประตูใหม่ขึ้นตรงมุมถนนพระจันทร์ แลรื้อเขื่อนเพ็ชร เดิมก่อเปนกำแพงใบเสมาเหมือนกำแพงเดิมต่อไปข้างด้านตวันออกจน จรดกำแพงรั้วเหล็กซึ่งทำใหม่ในตอนเขตรพิพิธภัณฑ์สถาน ว่าโดยย่อ อย่างที่เปนอยู่ทุกวันนี้

๘๖ ถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ เมื่อพระองค์เจ้าสุดาสวรรค์สิ้นพระชนม์ โปรดให้พระองค์เจ้าวงจันทร์ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในวังน่าแทนพระองค์ เจ้าสุดาสวรรค์ต่อมา จนปีขาล พ.ศ. ๒๔๕๙ พระองค์เจ้าวงจันทร์ สิ้นพระชนม์ เจ้านายข้างในยังเหลืออยู่น้อยพระองค์ สมัคจะเสด็จ ไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราช ทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายฝ่ายในพระราชวังบวร ฯ เสด็จลง ไปอยู่ในพระราชวังหลวง แลทรงพระราชดำริห์ว่า พระราชมณเฑียร สถานในพระราชวังบวร ฯ ซึ่งเปนที่ประดิษฐานพระอัฐิกรมพระราช วังบวร ฯ แต่ก่อนมา ชำรุดทรุดโทรมมากนัก ไม่สมควรจะเปนที่ ประดิษฐานพระอัฐิต่อไป จึงโปรดให้เชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ ทั้ง ๔ พระองค์ แห่มาจากพระราชวังบวร ฯ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๖๐ มาประดิษฐานไว้ที่วิหารพระธาตุ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วน ที่วังน่านอกจากบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานนั้น โปรดให้กระทรวงกลาโหม ดูแลปกครองรักษาต่อมาจนทุกวันนี้ อธิบายแผนที่วังน่า

?ได้กล่าวมาข้างต้น ว่าจะอธิบายด้วยแผนที่พระราชวังบวร ฯ ในตอนหนึ่งต่างหาก จะอธิบายต่อไปในตอนนี้ พระราชวังบวร ฯ ดูตามแผนที่ แนวกำแพงวังไม่เท่ากันทุกด้าน เข้าใจว่าเมื่อลงมือสร้างแล้ว จึงต่อกำแพงด้านตวันตกขึ้นไปข้างเหนือ

๘๗ ให้ได้แนวคลองคูเมืองเดิม เอาเปนคูวังด้านเหนือ กำแพงวังด้าน เหนือจึงต้องชักเปรตามออกไป วัดตามแนวกำแพงวังประมาณ ด้านตวันออก ๗ เส้น ด้านใต้ ๙ เส้น ด้านตวันตก ๑๒ เส้น ด้านเหนือ ๑๐ เส้น กำแพงวังชั้นนอกสร้างเปนกำแพงใบเสมาเหมือนพระราชวังหลวง มีป้อมประจำกำแพงวัง ๑๐ ป้อม ด้านตวันออก ๑ ป้อมมุกดาพิศาล (อิสาณ) ป้อมมุมเหนือ ๒ ป้อมเพ็ชรบุรพา กลาง ๓ ป้อมวิเชียรอาคเณย์ มุมใต้ ด้านใต้ ๔ ป้อมไพฑูรย์ ๕ ป้อมเขื่อนเพ็ชร ๖ ป้อมเขื่อนขันธ์ อยู่ตรงวัดมหาธาตุ ด้านตวันตก ๗ ป้อมพระจันทร์ มุมใต้ ๘ ป้อมพระอาทิตย์ มุมเหนือ ด้านเหนือ ๙ (สืบไม่ได้ชื่อ บางคนว่าไม่ใช่ป้อม) ๑๐ ป้อมนิลวัตถา ชื่อป้อมพระราชวังบวร ฯ ไม่คล้องสัมผัสกันตลอดเหมือนป้อม พระราชวังหลวง เข้าใจว่าแต่เดิมชื่อจะไม่คล้องกัน จะเรียกสั้น ๆ แต่ว่าป้อมพระจันทร์ ป้อมพระอาทิตย์ ป้อมเพ็ชร ป้อมนิล ป้อมมุกดา ป้อมวิเชียร ป้อมไพฑูรย์ ป้อมเขื่อนขันธ์ ป้อมเขื่อนเพ็ชร ดังนี้ ๘๘ ประตูพระราชวังบวร ฯ ชั้นนอกมี ๑๓ ประตู ชื่อคล้องสัมผัส กันหมด ขึ้นต้นแต่ด้านใต้เวียนไปเหนือ คือ ด้านใต้ ๑ ประตูพรหมทวาร ของเดิมตรงถนนน่าพระธาตุ ทางเสด็จพระราชวังหลวง ด้านตวันออก ๒ ประตูพิศาลสุนทร ของเดิม ๓ ประตูบวรยาตรา ทำใหม่ในรัชกาลที่ ๔ เหนือ พลับพลาสูง ให้เปนคู่กับ ประตูพิศาลสุนทร ๔ ประตูศักดาพิไชย ของเดิม ด้านเหนือ ๕ ประตูอำไพพิมล ของเดิม เรียกกันว่าประตู โรงเหล็ก ๖ ประตูมงคลสถิตย์ ทำใหม่ในรัชกาลที่ ๔ เปน ทางฉนวนออกวังใหม่ ด้านตวันตก ๗ ประตูพิจิตรเจษฎา ของเดิม ๘ ประตูไอยราสนาน ประตูสกัดเหนือ เข้าใจว่าทำ ใหม่ในรัชกาลที่ ๔ ๙ ประตูสารซับมัน ของเดิม ประตูท่าขุนนาง เปน ทางช้างระวางในลงน้ำแต่ก่อน ๑๐ ประตูอนันตโสภา ของเดิม ทางพระฉนวนลง ตำหนักแพ ๑๑ ประตูกัลยาประพาศ ของเดิม ทางฉนวนข้างใน ๑๒ ประตูสอาดชลธาร ของเดิม เปนทางไขน้ำเข้าวัง ด้านใต้ ๑๓ ประตูตระการไพจิตร สกัดใต้เข้าใจว่าทำในรัชกาลที่ ๔

๘๙ น่าจะมีอิกประตูหนึ่ง จะมีชื่อ เช่นว่า " วิวิธบวร " ฤาอะไรทำนองนี้ แต่อุดเสีย ก่อนทำแผนที่ เพราะชื่อขาดสัมผัสอยู่ชื่อ ๑ ๑๔ ประตูไกรสรลีลาศ ของเดิมทางเสด็จออกวัดมหาธาตุ ประตูชั้นกลางมี ๘ ประตู ขนานนามคล้องกันอิกชุด ๑ ตั้งต้น แต่ประตูกลางด้านตวันออก คือ ด้านตวันออก ๑ ประตูมหาโภคราช เรียกประตูสองชั้น สร้างใน รัชกาลที่ ๔ แต่จะมีประตูเดิม อยู่แล้วฤาอย่างไรสงไสยอยู่ ด้านเหนือ ๒ ประตูโอภาษพิมาน ของเดิม ๓ ประตูอลงการโอฬาร์ ทางออกวัดบวรสถาน ฯ เข้าใจ ว่าของเดิม สำหรับออกสวน ด้านตวันตก ๔ ประตูสุดายุรยาตร เรียกประตูฉนวนใหม่ ทางลง ตำหนักแพ สร้างในรัชกาลที่ ๔ ๕ ประตูนาฏจรลี ของเดิม ประตูฉนวนเก่า ๖ ประตูนารีจรจรัล ของเดิม เรียกประตูดิน ด้านใต้ ๗ ประตูสวรรยาภิรมย์ เรียกกันว่าประตูผี ๘ ประตูอุดมโภคคัย เห็นจะเปนของเดิม ประตูชั้นในมี ๕ ประตู ชื่อคล้องกันอิกชุด ๑ คือ ๑ ประตูพรหมภักตร์ อยู่ข้างใต้พระที่นั่งศิวโมกข์ สงไสยว่าทำหม่ในรัชกาลที่ ๔ ๑๒ ๙๐ ๒ ประตูจักรมหิมา อยู่ข้างหลังพระที่นั่งศิวโมกข์ จะ เปนของเดิมฤๅอย่างไรสงไสยอยู่ ๓ ประตูสนธยายน เรียกประตูยามค่ำ เข้าใจว่า สร้างในรัชกาลที่ ๓ อยู่ใต้พระ ที่นั่งอิศราวินิจฉัย ๔ ประตูสถลศิวาไลย ตรงกับประตูสนธยายน อยู่ข้าง เหนือเข้าใจว่า สร้างในรัชกาลที่ ๓ ๕ ประตูสถานมณเฑียร ทางเข้าโรงรถที่เสด็จออก ในรัช กาลที่ ๔ แลที่ ๕ เห็นจะ ทำใหม่ในรัชกาลที่ ๔ ประตูวังน่าเปนของเดิมก็มี สร้างใหม่ชั้นหลังก็มี ที่มีชื่อเข้า สัมผัสคล้องต่อกันหมดทั้งเก่าใหม่ เห็นได้ว่าชื่อที่คล้องกันนี้เปนของ ตั้งขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๔ ชื่อเดิมจะเปนอย่างไร จึงสงไสยอยู่ แต่ สังเกตได้ว่าเอาชื่อประตูพระราชวังกรุงเก่ามาใช้โดยมาก เช่นประตู จักรมหิมา ประตูมหาโภคราช ๒ ประตูนี้ เหมือนกับชื่อประตูพระ ราชวังหลวงกรุงเก่าทีเดียว นอกนั้นแก้ไขให้ผิดกันแต่พอรู้เค้าได้ ดังจะเทียบให้เห็นต่อไปนี้ ชื่อประตูพระราชวังกรุงเก่า ชื่อประตูพระราชวังบวร ฯ ประตูพรหมสุคต ประตูพรหมทวาร ประตูมงคลสุนทร ประตูพิศาลสุนทร ประตูนครไชย ประตูศักดาพิไชย

๙๑ ประตูนิเวศน์วิมล ประตูอำไพพิมล ประตูทวารเจษฎา ประตูพิจิตรเจษฎา ประตูช้างระวางใน ประตูสารซับมัน ประตูอุดมคงคา ประตูสอาดชลธาร ประตูทวารวิจิตร ประตูตระการไพจิตร ประตูโอฬาริกฉัตร ประตูอลงการโอฬาร์ ประตูกัลยาภิรมย์ ประตูสุดายุรยาตร ประตูมหาไพชยนต์ ประตูสถานมณเฑียร สถานที่ต่าง ๆ มีในพระราชวังบวร ฯ ชั้นนอก ตามที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ ข้างด้านตวันออก จะว่าแต่เหนือลงมาใต้ คือ ๑ โรงรถ เปนของสร้างใหม่ สร้างใน รัชกาลที่ ๔ ฤๅที่ ๕ หาทราบไม่ ๒ ศาลาลูกขุน มหาดไทยหลัง ๑ กลาโหมหลัง ๑ สร้างเปนเครื่องไม้ในรัชกาลที่ ๔ ตามของเดิม ๓ ศาลาสารบาญชี สำหรับสัสดี สร้างเปนเครื่องไม้ในรัชกาลที่ ๔ ตามของเดิม ๔ โรงรวมปืนใหญ่ ๒ โรง สร้างในรัชกาลที่ ๔ ๕ โรงปืนเล็ก สร้างในรัชกาลที่ ๔ ๖ โรงช้างระวางใน ๓ โรง ของเดิมเปนโรงเครื่องไม้ สร้าง ใหม่ในรัชกาลที่ ๔ เปนตึก

๙๒ ๗ โรงหัดทหาร ๒ โรง สร้างในรัชกาลที่ ๔ ๘ พลับพลาโถง ขนาดพระที่นั่งไชยชุมพล สำหรับทอดพระเนตรหัดทหาร สร้างในรัชกาลที่ ๔ ๙ โรงม้าแซง ๒ หลัง สร้างในรัชกาลที่ ๔ ๑๐ พลับพลาสูง สร้างบนกำแพงวัง สร้างใน รัชกาลที่ ๔ ดังกล่าวมาแล้ว ๑๑ โรงปืนใหญ่สองข้างประตูชั้นนอก มีทุกประตู เข้าใจว่าสร้างใหม่ ในรัชกาลที่ ๔ ให้เหมือนอย่าง พระราชวังหลวง สถานที่ต่าง ๆ มีในพระราชวังบวร ฯ ชั้นนอก ข้างด้านเหนือ คือ ๑๒ วัดบวรสถานสุทธาวาศ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงสร้าง ได้แสดงตำนานมาแต่ก่อนตอน ๑ แล้ว ยังมีเรื่องตำนาน ต่อมา ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชดำริห์จะให้เชิญพระพุทธสิหิงค์ ไปประดิษฐานเปนประธานใน พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาศ อย่างเดียวกับพระแก้วมรกฏเปน ประธานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระราชวังหลวง โปรดให้ ก่อฐานชุกชีที่จะตั้งบุษบกกลางพระอุโบสถ แลเขียนเรื่องตำนาน พระพุทธสิหิงค์ที่ฝาผนัง แต่การค้างอยู่จนสิ้นรัชกาลที่ ๔ จึงหาได้ เชิญพระพุทธสิหิงค์ไปไม่


๙๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อรื้อกำแพงพระราชวังบวร ฯ แล้วนั้น ใน รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ พ.ศ. ๒๔๔๓ จะพระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ โปรดให้แต่งพระ อุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาศเปนพระเมรุพิมาน ที่ประดิษฐานพระบรม ศพเวลาสมโภชแลทรงบำเพ็ญพระราชกุศล แทนพระเมรุใหญ่ท้อง สนามหลวงอย่างแต่ก่อน ปลูกพระเมรุน้อยที่พระราชทานเพลิงต่อ ออกมาข้างเหนือ จึงเปลี่ยนนามเรียกว่า " พระเมรุพิมาน " โปรด ให้ทำการพระศพสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระบรม ราชอุปัธยาจารย์ก่อน แล้วจึงทำงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสา ธิราช ต่อมาทำงานพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศรี ธรรมราชธำรงฤทธิ์ แลเจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณงาน ๑ แล้วงานพระศพ สมเด็จพระมาตามไหยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร กับ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์อิกงาน ๑ ซึ่ง มีงานในปีเดียวกันนั้น ก็ประดิษฐานพระศพในพระเมรุพิมานนี้ อิกอย่างหนึ่ง ที่วัดบวรสถานสุทธาวาศนี้ มีเก๋งเปนที่ไว้พระศพ เจ้านายฝ่ายในพระบวรราชวัง อย่างหอธรรมสังเวชในพระราชวังหลวง แลทางด้านตวันตกมีหอหลัง ๑ หลังคาเปนทรงจีน สร้างไว้แต่ใน รัชกาลที่ ๓ เหมือนกัน เรียกว่าหอพระมณเฑียรธรรม แต่ใช้เปนที่ไว้ พระอัฐิเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวร ฯ อย่างหอพระนาคในพระราชวังหลวงมาจนโปรดให้สร้างที่ประจุที่หลังพระประธานณะวัดชนะสงครามในรัชกาลปัจจุบันนี้.

๙๔ สถานที่อย่างอื่นในพระราชวังบวร ฯ ชั้นนอกด้านเหนืออันปรากฏ อยู่ในแผนที่ สืบไม่ได้ความว่าเดิมสร้างสำหรับการอย่างใดหลายหลัง ด้วยผู้รู้เห็นที่มีตัวอยู่ เคยเห็นแต่เมื่อมาใช้การอื่นในชั้นหลัง มีปรากฏ ชัดแต่โรงกลั่นลมประทีปสำหรับจุดใช้ในพระราชวัง อันไฟแคสนี้ เปนของแรกมีขึ้นในเมืองไทยในรัชกาลที่ ๔ จึงเข้าใจว่าโรงกลั่นลม ประทีปในพระราชวังบวร ฯ เห็นจะสร้างขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ฤๅจะมาสร้างต่อครั้งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ก็เปนได้ ลานพระราชวังบวร ฯ ด้านใต้กับด้านตวันตกกระชั้นชิดกำแพงวัง ชั้นนอก ด้านใต้มีแต่ทางเดิน ด้านตวันตกก็เห็นจะเปนเรือนพวก ขอเฝ้าชาววัง ทำนองอย่างข้างพระราชวังหลวง มีสิ่งซึ่งควรกล่าว อยู่ข้างด้านตวันตกแต่ ๒ อย่าง คือ ท่อน้ำอย่าง ๑ สีร์สำราลอย่าง ๑ ท่อน้ำนั้นก็คือประปาในชั้นแรกสร้างพระราชวังบวร ฯ ถึงพระราชวัง หลวงก็เหมือนกัน ขุดเปนเหมืองให้น้ำไหลเข้าไปได้แต่แม่น้ำ ตอน ปากเหมืองข้างนอกก่อเปนท่อกรุตารางเหล็ก ข้างบนถมดิน แต่ข้าง ในวังเปิดเปนเหมืองน้ำมีเขื่อนสองข้าง ตักน้ำใช้ได้ตามต้องการ สีร์สำราลนั้น คือเว็จของผู้หญิงชาววัง ปลูกเว็จไว้ที่ริมแม่น้ำ แล้วทำทางเดินเปนอุโมงค์ คือก่อผนังทั้งสองข้างมีหลังคาคลุม แต่ประตูวังไปจนเว็จ ที่ถนนข้างนอกวังตรงผ่านอุโมงค์ก็ทำสพานข้าม ผู้หญิงชาววังลงไปสีร์สำราลได้แต่เช้าจนค่ำ เหมือนกับเดินในวัง ไม่มีผู้ชายมาปะปน

๙๕ ในกำแพงพระราชวังบวร ฯ มีเขตรกั้นเปนชั้นในอิกชั้นหนึ่ง เขตรที่กั้นทำเปนเขื่อนเพ็ชร หันน่าเข้าข้างในทั้งสี่ด้าน จะเปนของเดิม สร้างครั้งรัชกาลที่ ๑ เพียงใด สร้างใหม่ในรัชกาลที่ ๔ เพียงใดทราบ ไม่ได้แน่ ภายในเขื่อนเพ็ชรเปนลานพระราชวังชั้นกลางที่ผู้ชายอยู่ แต่ตอนข้างตวันออกเฉียงเหนือ ประมาณสักเสี้ยวของวังใน นอกจาก นั้นเปนพระราชวังชั้นในที่ผู้หญิงอยู่ทั้งนั้น เขื่อนเพ็ชรด้านตวันออกตอนเหนือเปนทิมดาบตำรวจแลโรงทหาร ปืนใหญ่ ๒ ตอน ต่อมาข้างใต้เปนคลังราชการแลคลังเครื่องสรรพยุทธ มีตึกดินอยู่ในนั้นด้วย เขื่อนเพ็ชรด้านเหนือเปนโรงม้ารวางใน แล โรงหมอ เขื่อนเพ็ชรนอกจากที่กล่าวมานี้อยู่ชั้นในเปนที่อยู่ของผู้หญิง ฝ่ายในทั้งนั้น. สถานที่ต่าง ๆ ในลานพระราชวังบวร ฯ ชั้นกลาง ข้างด้านใต้ ต่อมุมพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน เปนโรงทหารรักษาพระองค์หลัง ๑ โรงชาวที่หลัง ๑ มีศาลาโถงที่ขุนนางเฝ้าอยู่น่าพระที่นั่งคชกรรม ประเวศ เหมือนศาลาน่าพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์แต่ก่อน ๒ หลัง ริมศาลาข้างใต้ตั้งเสาธงสำหรับพระบวรราชวัง เสาธงครั้งพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ชักธงพระจุฑามณี แต่ในรัชกาลที่ ๕ ชักธงช้างจนตลอดสมัยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ข้างด้านเหนือ มีตึกสองชั้น สร้างในรัชกาลที่ ๔ สำหรับรับแขกเมืองหลัง ๑ เรียกว่า โฮเตล ต่อมาทางตวันตกตรงพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ไปข้างเหนือมี โรงไว้สูบน้ำดับไฟหลัง ๑ เข้าใจว่าสร้างในรัชกาลที่ ๕ หลังโรงสูบน้ำ ไปข้างเหนือเปนโรงงิ้วหลัง ๑ ๙๖ ในเรื่องงิ้ววังน่า เคยได้สดับว่าแรกมีขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ ๒ กรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลนั้นโปรดให้หัดทั้งลครแลงิ้วผู้หญิง ผู้ ที่ได้เปนงิ้วยังมีตัวเปนเถ้าแก่อยู่ในพระราชวังหลวงมาจนในรัชกาลที่ ๕ ครั้งกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ มีแต่ลครผู้หญิง ทรง พระราชนิพนธ์บทลครขึ้นใหม่ ยังมีปรากฏอยู่หลายเรื่อง พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีงิ้วผู้ชายโรง ๑ แต่เข้าใจว่าจะเปนงิ้ว ข้าหลวงเดิม คืองิ้วจีนนอกที่ถวายตัวพึ่งพระบารมีทั้งโรง เจ้านาย ใหญ่โตแต่ก่อนมีงิ้วเช่นนั้นเกือบจะทุกพระองค์ หาได้ทรงฝึกหัดขึ้นเอง ไม่ ปรากฏว่าทรงแต่ปี่พาทย์มโหรีแลศักรวากับโปรดแอ่วลาวดังกล่าว มาแล้ว มาในครั้งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ลครเปนของเจ้าคุณ จอมมารดาเอมหัดขึ้น กรมพระราชวังบวรฯ เปนแต่ทรงแต่งบทประทาน บ้าง ส่วนที่ทรงเองนั้น แต่แรกสร้างหุ่นเล็กขึ้นโรง ๑ ทำโรงคล้าย ๆ โรงลครฝรั่ง แต่เล่นอย่างหุ่นไทย ได้เคยมามีถวายพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร ในงานสมโภชช้างเผือกที่น่า พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ครั้ง ๑ ต่อมาทรงสร้างหุ่นจีน อย่างหุ่นไหหลำขึ้น อิกโรง ๑ ว่าสร้างประทานพระองค์เจ้าไชยรัตนวโรภาษลูกเธอ ซึ่งทรง พระเมตตามาก ทรงพระนิพนธ์บทให้เปนภาษาจีนแปลเปนไทย ยังปรากฎอยู่หลายตอน ทีหลังจึงทรงหัดงิ้วผู้ชายขึ้นโรง ๑ เอางิ้วของพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเปนครู แต่ตัวงิ้วเปนไทยทั้งนั้น เปน ผู้ดีก็มีมาก วิธีเล่น ๆ เต็มตำราอย่างจีน แต่กระบวนตกแต่งเครื่องอาน ดีกว่างิ้วโรงอื่น ๆ ทั้งนั้น งิ้วโรงนี้อยู่มาจนกรมพระราชวังบวร ฯ ทิวงคต

๙๗ โรงงิ้วที่ปรากฏในแผนที่พระราชวังบวร ฯ คืองิ้วของกรมพระราชวังบวร วิไชยชาญที่กล่าวมานี้ ต่อโรงงิ้วมาทางตวันตก ฟากถนนข้างเหนือเปนโรงพระยาช้าง สร้างเปนตึกในรัชกาลที่ ๔ แต่จะมีของเดิมอยู่ก่อนฤาอย่างไรไม่ทราบ แน่ ฟากถนนข้างใต้เปนโรงทหารรักษาพระองค์ ๓ หลัง เข้าใจว่า สร้างในรัชกาลที่ ๔ ต่อมาทางตวันตกถึงทิมมหาวงษ์ ว่าเปนของเดิม ซึ่งเหลือรื้อคราวสร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยเมื่อในรัชกาลที่ ๓ อยู่ตอน ๑ เปนเขตรต่อกับพระราชวังชั้นใน ตำหนักข้างใน สร้างเปนตำหนักหมู่อย่าง ๑ เปนเรือนแถว อย่าง ๑ ว่ามีเต็มที่มาแต่รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัวเปนแต่ทรงซ่อมแซม มีตำหนักพิเศษที่ควรกล่าวโดยเฉภาะ แต่ ๒ หมู่ คือ ตำหนักเจ้าฟ้าพิกุลทองหมู่ ๑ กับตำหนักแดงอิกหมู่ ๑ ตำหนักเจ้าฟ้าพิกุลทองนั้น คือตำหนักเจ้ารจจาผู้เปนพระชนนี ที่เปนพระอรรคชายาของกรมพระ ราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เจ้ารจจา เปนน้องของพระเจ้ากาวิละพระเจ้าเชียงใหม่ ในพงษาวดารเชียงใหม่ เรียกว่า " เจ้าศรีอโนชา " กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรง สู่ขอต่อพี่ชายได้มาเปนพระอรรคชายา แต่เมื่อยังดำรงพระยศเปนเจ้า พระยาสุรสีห์ฯ มีจดหมายเหตุปรากฏว่า เมื่อครั้งพระยาสรรค์ขึ้น นั่งกรุงธนบุรี กรมพระราชวังหลังเสด็จยกกองทัพเข้ามาแต่เมือง นครราชสิมา พระยาสรรค์ปล่อยเจ้ารามลักษณ์ออกไปรบกรมพระ ๑๓

๙๘ ราชวังหลัง เวลานั้นกรมพระราชวังบวร ฯ เสด็จไปการสงครามเมือง เขมรกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทางนี้เจ้ารจจา รวบรวมกำลังพวกลาวบ่าวไพร่ ออกช่วยกรมพระราชวังหลังรบพุ่งเปนสามารถ เจ้ารจจามีลูกเธอแต่เจ้าฟ้าพิกุลทอง ทรงยกย่องเปนเจ้าฟ้า แต่พระองค์เดียวในพระราชบุตรพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวร ฯ ใน รัชกาลที่ ๑ ครั้นกรมพระราชวังบวร ฯ เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์โปรดให้สถาปนาเปนเจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทร แต่เจ้ารจจานั้นสิ้นชีพเมื่อปีไรหาปรากฏไม่ ตำหนักนั้นทำใหญ่โต แลยกหลังคาเปนสองชั้น มีมุขทั้งข้างน่าข้างหลังคล้ายพระวิมาน พิเคราะห์ตามภูมิแผนที่ เข้าใจว่าเดิมพระราชมณเฑียรของกรมพระ ราชวังบวร ฯ เห็นจะอยู่ตรงตำหนักนี้ ครั้งทรงสร้างพระวิมานใหม่แล้ว จึงพระราชทานให้เปนตำหนักของเจ้ารจจา เจ้าฟ้าพิกุลทองจึงได้เสด็จ อยู่ต่อมา เมื่อเจ้าฟ้าพิกุลทองสิ้นพระชนม์แล้ว ท่านผู้ใดจะอยู่ที่ตำหนัก นี้ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ หาทราบไม่ ในรัชกาลที่ ๓ ครั้งกรมพระราชวัง บวรมหาศักดิพลเสพ กล่าวกันว่าไม่มีผู้ใดอยู่ แต่ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าคุณจอมมารดาเอมอยู่ที่ตำหนักนี้ แลพระองค์เจ้าวงจันทร์เสด็จอยู่ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ จน เสด็จขึ้นไปอยู่ที่พระที่นั่งบวรบริวัติ ตำหนักแดงนั้น เดิมพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงสร้างเปนตำหนักหมู่ใหญ่ที่ในพระราชวังหลวง ถวายเปนที่ประทับ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ คู่กับตำหนัก

๙๙ เขียว ซึ่งทรงสร้างถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา เทพสุดาวดี ที่เรียกว่าตำหนักแดง ตำหนักเขียว เพราะเหตุที่ ทาสีแดงตำหนัก ๑ ทาสีเขียวตำหนัก ๑ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี เปนพระธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ได้ ประทับอยู่ตำหนักแดงแต่เดิมมา ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระศรี สุริเยนทร ฯ เสด็จออกไปประทับอยู่พระราชวังเดิมกับพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นจะเปนเมื่อรื้อตำหนักเครื่องไม้ในพระราชวัง หลวง สร้างเปนตำหนักตึก พระราชทานตำหนักแดงของเดิมให้ไป ปลูกถวายสมเด็จพระศรีสุริเยนทร ฯ ที่พระราชวังเดิม เมื่อสมเด็จ พระศรีสุริเยนทร ฯ สวรรคตแล้ว ตำหนักแดงส่วนที่สมเด็จพระศรี สุริเยนทร ฯ เสด็จประทับ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ให้รื้อไปปลูกถวายเปนกุฏิพระราชาคณะวัดโมฬีโลกย์ ตำหนักแดง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับ ยังคงอยู่ในพระราชวังเดิม ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้ย้ายมาไว้ในพระบวรราชวัง ส่วนตำหนักแดง ซึ่งไปปลูกถวายพระไว้ที่วัดโมฬีโลกย์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรดให้ย้ายไปปลูกเปนกุฏิเจ้าอาวาศวัดเขมาภิรตาราม ซึ่ง เปนวัดสมเด็จพระศรีสุริเยนทร ฯ ทรงสร้าง ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ แลทรงสร้างกุฏิตึกแทนพระตำหนักแดงของเดิมพระราชทานให้เปนกุฏิ พระราชาคณะวัดโมฬีโลกย์ ยังปรากฏอยู่เหมือนกัน ๑๙ บางคนว่า ตำหนักแดงเปนของสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ ตำหนักเขียว เปนของสมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อย ข้าพเจ้าสอบพบหนังสือเก่าเรียกตรงกันหลาย ฉบับ จึงอนุมัติตาม ๑๐๐ พระราชมณเฑียรในพระราชวังบวร ฯ ขนานนามคล้องกันเปน ๒ ชุด พระราชมณเฑียรครั้งรัชกาลที่ ๑ นามคล้องกัน ๕ องค์ คือ ๑ พระที่นั่งพิมานดุสิดา หอพระกลางสระ ๒ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ๓ พระที่นั่งวสันตพิมาน พระวิมานหลังใต้ ๔ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระวิมานหลังกลาง ๕ พระที่นั่งพรหเมศรังสรรค์ พระวิมานหลังเหนือ มีพระที่นั่งอิก ๒ องค์ นามไม่เข้าสำดับคล้องสัมผัส ด้วยเหตุ ใดจะอธิบายต่อไปข้างน่า คือ ๖ พระที่นั่งพรหมภักตร์ ท้องพระโรงน่าเดิม ๗ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน สร้างอย่างพระที่นั่งทรงปืนกรุงเก่า เรียกกันว่าพระที่นั่งทรงธรรม ถึงรัชกาลที่ ๓ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงปฏิสังขรณ์พระราชมณเฑียรของเดิมทั่วไป แล้วทรงสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่บ้าง จึงแก้ไขระเบียบนามพระราชมณเฑียร จัดใหม่เปนชุด ๗ องค์ดังนี้ ๑ พระที่นั่งวสันตพิมาน ๒ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ ๓ พระที่นั่งพรหเมศธาดา ๔ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ๕ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์


๑๐๑ ๖ พระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก ๗ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พระราชมณเฑียรสร้างต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ นามต่อกันอิก ชุดหนึ่ง ๖ องค์ คือ ๑ พระที่นั่งมังคลาภิเศก ๒ พระที่นั่งเอกอลงกฏ ๓ พระที่นั่งคชกรรมประเวศ ๔ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสร ๕ พระที่นั่งบวรบริวัติ ๖ พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาศ เหตุใดพระนามพระที่นั่งชุดหลังจึงไม่ต่อสัมผัสกับพระที่นั่งชุดก่อน ข้อนี้สงไสยอยู่ จะว่าจงใจขนานให้เห็นเปนของสร้างต่างยุคกันก็ใช่ที่ ได้ยินว่าพระที่นั่งสนามจันทร์ ในวังน่ามีนามอิกนาม ๑ แต่ไม่มีใครเรียก ก็เลยสูญไปเสีย จึงเข้าใจว่า นามพระที่นั่งสนามจันทร์นั้นเอง ที่เชื่อม สัมผัส คงจะมีนามทำนองว่า " พระที่นั่งสำราญราชจรรยา " ต่อสัมผัส กับพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน แลต่อน่าพระที่นั่งมังคลาภิเศก พระที่นั่งนามไม่เข้าสัมผัสคล้องกับนามพระที่นั่งอื่นมีองค์ ๑ คือ พระที่นั่งนทีทัศนาภิรมย์ ตำหนักที่ริมแม่น้ำ เห็นจะเปนเพราะอยู่เปน เอกเทศแห่ง ๑ ต่างหาก จึงไม่นิยมที่จะให้นามคล้องสัมผัสกับพระที่นั่ง องค์อื่น ที่นี้จะอธิบายถึงพระราชมณเฑียรในพระราชวังบวร ฯ ที่ได้กล่าว

๑๐๒ นามมาแล้วต่อไปที่ละองค์ ให้ผู้อ่านเข้าใจลักษณะแลประวัติของพระ ที่นั่งนั้น ๆ ถ้วนถี่ดีขึ้นกว่าที่ได้อ่านมาในตอนตำนาน แลเมื่อจะแต่ง ความตอนนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าไปพิจารณาดูพระราชมรเฑียรที่ยังมีอยู่ใน วังน่าอิกครั้ง ๑ ไปสังเกตเห็นบางแห่งเมื่อไปคราวหลังนี้ผิดกับเข้าใจมา แต่ก่อน เพราะฉนั้นความที่จะกล่าวต่อไปในตอนนี้ ถ้าท่านผู้อ่านเห็นว่า แห่งใดไม่ตรงกับที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ขอจงเข้าใจว่าเพราะได้ไปพิจารณาได้ความรู้ขึ้นใหม่เมื่อพิมพ์ตอนข้างต้นเสียแล้ว จะแก้ไขตอน นั้นไม่ทัน ความจึงคลาศกันไปบ้าง แต่ก็มีเล็กน้อยไม่มากเท่าใดนัก. ในบรรดาพระราชมณเฑียรในพระราชวังบวร ฯ พระวิมาน ๓ หลัง ที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสร้าง เปนสำคัญยิ่งกว่า พระราชมณเฑียรองค์อื่น ๆ ทั้งสิ้น เพราะใหญ่โตรวมพระที่นั่งอยู่ใน หมู่เดียวกันถึง ๑๑ องค์ ฝีมือที่สร้างก็ประณีตบรรจง ลวดลายแล ฝีมือแกะไม้ที่พนักกับหูช้างกรอบพระบัญชร ยังเปนของควรพิศวงอยู่จน ทุกวันนี้ ด้วยยักเยื้องแบบอย่างต่าง ๆ เกือบไม่มีซ้ำกันสักช่องหนึ่ง ตัวพระวิมานนั้นยาว ๗ ห้องเปนพื้นสองชั้น ปลูกเรียงกัน หัน ด้านสกัดมาข้างน่าทั้ง ๓ หลัง หลังใต้ชื่อพระที่นั่งวสันตพิมาน หลัง กลางชื่อพระที่นั่งวายุสถานอมเรศ แลหลังเหนือชื่อพระที่นั่งพรหเมศ ธาดา มีมุขพื้นชั้นเดียวต่อออกจากพระวิมานหลังกลางเปนมุขยาว ๑๐ ห้องเหมือนกันทั้งข้างน่าข้างหลัง มุขนั้นปันเปน ๒ ตอน ตอนใน ๕ ห้องที่ต่อกับพระวิมานกั้นเปนห้องยาว เหมือนกับเปนห้องนอกของ พระวิมาน บันไดพระวิมานลงห้องนั้นทั้งสองด้าน คงเปนที่เสวย


๑๐๓ แลที่พระสนมกำนัลเฝ้า มีนามขนานห้องด้านน่าพระวิมานว่า พระที่ นั่งภิมุขมณเฑียร ด้านหลังขนานว่า พระที่นั่งปฤษฎางค์ภิมุข มุข ด้านน่า ๕ ห้องตอนต่อพระที่นั่งภิมุขมณเฑียรออกไปข้างนอกเปนมุขโถง ท้องพระโรงที่เสด็จออกแขกเมือง มีพระที่นั่งบุศบกราชบังลังก์ตั้ง ตรงพระทวารในออกมา ท้องพระโรงน่าที่กล่าวมานี้เรียกว่า " พระที่นั่ง พรหมภักตร์ " นามนี้พบในหนังสือเก่าหลายฉบับ แต่เดิมข้าพเจ้า เข้าใจว่าจะเรียกรวมหมดทั้งหมู่พระวิมาน เหมือนอย่างพระวิมาน วังหลวงแต่ก่อนเรียกรวมกันว่า " พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน " ฉนั้น แต่ มาเห็นในหนังสือนิพพานวังน่า ซึ่งแต่งแต่ในรัชกาลที่ ๑ มีนามทั้ง พระที่นั่งพรหมภักตร์ พระที่นั่งวสันตพิมาน พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระที่นั่งพรหเมศรังสรรค์ แยกกันอยู่ชัดเจน จึงเข้าใจว่าพระที่นั่ง พรหมภักตร์นั้นมีอยู่องค์ ๑ ต่างหาก พิจารณาไปถึงข้างตอนท้าย หนังสือนิพพานวังน่านั้น พบอิกแห่ง ๑ กล่าวถึงเวลาเมื่อกรมพระราชวัง บวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้ว เจ้านายวังน่าจะเสด็จลงมาถือน้ำ ที่พระราชวังหลวง เมื่อผ่านพระวิมานในกลอนกล่าวไว้ดังนี้ " โอ้พระมิ่งมงกุฏอยุทธเยศ ไยทุเรศแรมร้างพระวงษา กระทั่งถือน้ำพิพัฒสัตยา มาหยุดน่ามุขน้อมศิโรเรียง ครั้งนี้ยังแต่ที่พรหมภักตร์ ไม่ประจักษ์สิงหนาทประพาศเสียง อันอนงค์ชิดเชยที่เคยเคียง บำราศเวียงจากพระอัฐิเธอ " ความในกลอนตอนนี้ให้เห็นได้ชัดว่า ที่เรียก " พรหมภักตร์ " นั้น หมายความว่าพระที่นั่งบุษบกราชบัลลังก์ที่เสด็จออกแขกเมือง อันตั้ง

๑๐๔ อยู่มุขน่า ชรอยแต่เดิมจะมีหน้าพรหมทำไว้ที่ยอด ( ตรงเหมต้นบัวกลุ่ม ต่อกับบัลลังก์ เหมือนที่ปราสาททองที่ตั้งพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ ซึ่งสร้างไว้ในพระวิมานกลางเมื่อรัชกาลที่ ๔ ) อันนี้เองเปนเหตุให้ เรียกนามท้องพระโรงน่าว่า " พระที่นั่งพรหมภักตร์ " ความที่กล่าวนี้ มีหลักฐานประกอบ ด้วยท้องพระโรงในพระราชวังหลวง เมื่อก่อน ขนานนามว่า พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในรัชกาลที่ ๓ ก็เรียกว่า " พระที่นั่งบุษบกมาลา " ตามนามบุษบกราชบัลลังก์ซึ่งตั้งในท้อง พระโรงนั้นอย่างเดียวกัน มีปรากฏอยู่ในบานแพนกหนังสือเก่าหลาย ฉบับ ครั้นกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างท้องพระโรง ใหม่ ขนานนามว่าพระนั่งอิศราวินิจฉัย ท้องพระโรงเดิมถูกแก้ไขคง เปนแต่มุขกระสัน นามพระที่นั่งพรหมภักตร์จึงสูญไปจากทำเนียบนาม พระราชมณเฑียร ส่วนมุขข้างด้านหลังพระวิมานก็มีท้องพระโรง เหมือนกับด้านน่า เรียกแต่ว่าท้องพระโรงหลัง เปนที่เสด็จออกให้ ผู้หญิงชาวนอกวังเฝ้า ตั้งพระแท่นพระราชบัลลังก์เปนแต่อย่างสามัญ ไม่เหมือนท้องพระโรงน่า. ในหมู่พระวิมานมีพระที่นั่งหลังขวางพื้นชั้นเดียวสร้างต่อจากพระที่นั่งมุขมณเฑียรมุขพระวิมานกลาง มาข้างใต้จนตลอดน่าพระที่นั่งวสันต พิมานองค์ ๑ ไปข้างเหนือจนตลอดน่าพระที่นั่งพรหเมศธาดาองค์ ๑ ด้านหลังก็มีพระที่นั่งหลังขวางต่อออกไปจากมุขกลางอย่างเดียวกันจึง เปนพระที่นั่งขวาง ๔ องค์ด้วยกัน ต่อหลังคาพระวิมานหลังเหนือหลัง ใต้เปนมุขออกมาเชื่อมกับหลังคาพระที่นั่งหลังขวางเป็น ๔ มุข จึงเรียก

๑๐๕ พระที่นั่งหลังขวางว่ามุข องค์ตวันออกเฉียงเหนือขนานนามว่า พระที่นั่ง บุรพาภิมุข องค์ตวันออกเฉียงใต้ขนานนามว่า พระที่นั่งทักษิณาภิมุข องค์ตวันตกเฉียงใต้ขนานนามว่า พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข องค์ตวัน ตกเฉียงเหนือขนานนามว่า พระที่นั่งอุตราภิมุข จึงมีพระที่นั่งรวมเปน ๑๑ องค์ทั้ง ( พระที่นั่งพรหมภักตร์ ) ท้องพระโรงน่าแลท้องพระโรง หลังอยู่ในหมู่เดียวกัน มีเฉลียงรอบเปนทางเดินได้ในร่มตลอดถึงกัน ทุกองค์. พระที่นั่งวสันตพิมาน พระวิมานหลังใต้ เห็นจะจัดเปนที่พระบรรธม ของกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๑ ด้วยในหนังสือนิพพานวังน่า ว่าด้วยกรมพระราชวังบวร ฯ ทรงอาไลย กล่าวเปนกลอนไว้ดังนี้ " ตรัสสั่งวสันตพิมานแก้ว จะลาแล้วแรมร้างอย่าหมางหมอง เคยสำราญเนาสถานพิมานทอง จะไกลห้องทิพเยศนิเวศน์วัง " แต่พระวิมานอิก ๒ หลังในกลอนเปนแต่ว่าพระแกลเปิดดังเปนลาง หาได้ แสดงว่าทรงอาไลยอย่างไรโดยเฉภาะไม่ อิกประการ ๑ ความปรากฎ ในหนังสือพระราชพงษาวดาร ว่ากรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาล ที่ ๒ สวรรคตที่พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระวิมานหลังกลาง ข้อนี้ชวน ให้เห็นว่าเสด็จมาอยู่พระวิมานหลังกลาง เพราะจะไม่ให้ร่วมที่ประทับ ๒๐ ในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า เมื่อพิธีอุปราชาภิเศกกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ สวดมนต์ที่พระที่นั่งพรหมภักตรอิกแห่ง ๑ แต่ก่อนข้าพเจ้าเข้าใจว่าจะหมายความว่าพระที่นั่งพรหเมศธาดา จึงสันนิษฐานว่า จะจัดพระวิมานข้างเหนือ อันเรียกว่าพระที่นั่งพรหเมศธาดาเปนที่พระบรรธม พึ่งมาเห็นแน่ใจว่า กรมพระ ราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ ประทับที่พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระวิมานองค์กลาง ที่เสด็จสวรรคตนั้นมาแต่แรกอุปราชาภิเศก. ๑๐๖ ของกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ พระวิมานหลังใต้ว่างมาจนถึง รัชกาลที่ ๔ จึงจัดเปนที่พระบรรธมของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้า อยู่หัว พระวิมานวังน่าเดิมใช้กั้นม่านแทนฝาประจันห้อง เหมือน พระที่นั่งครั้งกรุงเก่า ต่อเมื่อจัดเปนที่พระบรรธมพระบาทสมเด็จพระ ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกั้นฝาเพี้ยมตามยาวตลอดพระที่นั่งวสันตพิมาน แล้วตั้งพระแท่นแขวนเสวตรฉัตรข้างในเหมือนห้องพระบรรธมที่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระราชวังหลวง ส่วนพระวิมานหลังกลางแลหลัง เหนือไม่มีฝาประจันห้องมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระ ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่พระที่นั่งวสันตพิมาน จนสร้างพระราช มณเฑียรใหม่ทางในสวน แล้วก็เสด็จไปประทับที่พระราชมณเฑียรใหม่ ต่อมาจนตลอดพระชนมายุ เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ อุปราชา ภิเศกก็ประทับที่พระที่นั่งวสันตพิมาน แต่เล่ากันว่า ประทับอยู่พระที่นั่ง วสันตพิมาน ๓ วันแล้วก็เสด็จไปประทับอยู่ที่ชั้นต่ำในพระที่นั่งบวรบริวัติ จนสร้างพระที่นั่งสาโรชรัตนประพาศเสร็จแล้ว จึงเสด็จไปประทับที่นั้น. พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระวิมานกลาง มีปราสาททองที่ประดิษฐานพระอัฐิอยู่องค์ ๑ ยังปรากฎอยู่ในบัดนี้ เปนปราสาทยาว ๓ ห้อง ห้องกลางที่ตรงยอดเปนที่ตั้งพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาล ที่ ๑ ยกพื้นสูงกว่าห้อง ๒ ข้าง อันเปนที่ตั้งพระอัฐิกรมพระราชวัง บวร ฯ รัชกาลที่ ๒ ข้าง ๑ กรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๓ ข้าง ๑ ลักษณะปราสาททองที่ประดิษฐานพระอัฐิเช่นกล่าวนี้ เห็นได้ว่าต้อง


๑๐๗ เป็นของสร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๔ จึงจัดที่ตั้งพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ ซึ่งสวรรคตก่อนนั้นมา ๓ พระองค์ จึงมีข้อต้องสันนิฐานว่า แต่ก่อน นั้นมาพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ ประดิษฐานไว้ที่ไหน ความที่ผู้หลัก ผู้ใหญ่เล่ากันมา ปรากฏแต่ว่าพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาล ที่ ๒ แต่เดิมอยู่ในหอพระธาตุมณเฑียรในพระราชวังหลวง พึ่งเชิญขึ้น ไปวังน่าเมื่อในรัชกาลที่ ๔ อันนี้ก็สมด้วยเรื่องปราสาททองที่กล่าว มาแล้ว คือเชิญไปเมื่อสร้างปราสาททองนั้นเอง อนึ่งความที่ปรากฎว่า กรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ เสด็จอยู่ที่พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระวิมานกลาง ข้อนี้ก็เปนหลักฐานให้เห็นว่าพระอัฐิกรมพระราชวัง บวร ฯ รัชกาลที่ ๑ แต่เดิมหาได้ประดิษฐานไว้ที่พระวิมานกลางไม่ ยังข้อที่ปรากฎว่า เมื่อบวรราชาภิเศกพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้า อยู่หัว จัดพระที่นั่งวสันตพิมานหลังใต้เปนที่พระบรรธม ก็น่าจะเปน กลักฐานว่า ไม่ได้ประดิษฐานพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ ไว้ในพระที่นั่งวสันตพิมาน เพราะที่ไหนจะให้ย้ายพระอัฐิไปสำหรับจะเอาพระพิมานเปนที่พระบรรธม เพราะฉนั้นจึงเห็นว่าแต่เดิมมาพระอัฐิกรม พระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ เห็นจะประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งพรหเมศ ธาดา พระวิมานหลังเหนือ แต่พระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาล ที่ ๓ เห็นจะประดิษฐานไว้ในหอพระอัฐิ ซึ่งทรงสร้างไว้ข้างเหนือพระ ที่นั่งอิศราวินิจฉัย ด้วยเหตุใดจะอธิบายต่อไปข้างน่า ครั้งถึงรัชกาล ที่ ๔ เพราะมีพระราชประสงค์จะเฉลิมพระเกียรติยศกรมพระราชวัง บวร ฯ แต่ก่อนมา จึงถวายพระวิมานกลางอันเปนสำคัญยิ่งกว่าพระ

๑๐๘ ราชมณเฑียรทั้งปวง เปนที่ประดิษฐานพระอัฐิ จึงได้ทรงสร้าง ปราสาททอง แล้วเชิญพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ มาไว้พระวิมาน กลางทั้ง ๓ พระองค์ พระวิมานกลางจึงเปนที่ประดิษฐานพระอัฐิตลอด มา จนเชิญพระอัฐิไปไว้ที่วิหารพระธาตุในพระบรมมหาราชวัง ดัง กล่าวมาแล้ว. พระที่นั่งพรหเมศธาดา พระวิมานหลังเหนือ เดิมชื่อพระที่นั่ง พรหเมศรังสรรค์ ( ด้วยเหตุใดได้อธิบายแล้ว ) มาเปลี่ยนสร้อยเปน พระที่นั่งพรหเมศธาดาเมื่อในรัชกาลที่ ๓ เพื่อจะให้ชื่อได้สัมผัสคล้อง กับพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระที่นั่งพรหเมศธาดาองค์นี้ ไม่มีเรื่อง ราวปรากฎว่าได้ใช้เปนที่สำหรับการอย่างไร พึ่งมาคิดเห็นว่า จะ เปนที่ไว้พระอัฐิดังได้กล่าวมาแล้ว สันนิฐานต่อไปว่า บางทีกรมพระ ราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จะทรงอุทิศเปนที่ประดิษฐานพระอัฐิ มาแต่ในรัชกาลที่ ๑ แล้วก็จะเปนได้ ด้วยไม่ปรากฏว่าในวังน่าหอพระ อัฐิมีที่อื่น เพราะฉนั้นเมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ สวรรคต แล้ว จึงเชิญพระอัฐิไปไว้ในพระที่นั่งพรหเมศธาดา โดยเปนหอ พระอัฐิอยู่แต่ก่อนแล้ว แลด้วยเหตุที่เปนหอพระอัฐิกรมพระราชวัง บวร ฯ รัชกาลที่ ๑ ดังกล่าวมานี้ ในเวลาต่อมาจึงไม่ปรากฏว่าได้จัด พระวิมานองค์นี้เปนที่ประทับของกรมพระราชวังบวร ฯ พระองค์หนึ่งพระ องค์ใด แม้จนครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อจัดที่ประดิษฐานพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ ทั้ง ๓ พระองค์ เปนยุติแล้ว พระวิมานหลังเหนือนี้ก็ใช้เปนแต่ที่เก็บของต่อมาจนตลอด.

๑๐๙ อนึ่งได้กล่าวมาแต่ก่อนว่า เมื่อครั้งกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาล ที่ ๑ นั้นไม่บรรธมแห่งใดเปนยุติแต่แห่งเดียว มีที่พระบรรธมทั้งที่บนพระวิมานแลที่มุข ในหนังสือพระราชพงษาวดารของเจ้าพระยาทิพากร วงษ์ว่า สวรรคตที่พระที่นั่งบุรพาภิมุข คือมุขทิศตวันออกเฉียงเหนือ แต่ชาววังน่าเขายืนยันว่าสวรรคตที่พระที่นั่งอุตราภิมุข คือมุขตวันตก เฉียงเหนือ ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่ามีปราสาททองที่สรงพระภักตร์ของกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ อยู่ที่มุของค์ ๑ ถึงจะบรรธมที่ไหนคงเสด็จมาสรงพระภักตร์ที่ปราสาท ทองนั้นเปนนิตย์ แต่ปราสาททองนี้จะอยู่ที่มุขไหน ไม่มีหลักที่จะ สันนิษฐาน เพราะที่เรียกว่ามุขในหมู่พระวิมานซึ่งอาจจะตั้งปราสาททอง นั้นได้มีถึง ๖ มุขด้วยกัน อิกอย่าง ๑ เมื่อครั้งกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๑ นั้น ที่สรง ที่ลงพระบังคน ก็สร้างเปนหลัง ๑ ต่างหาก อยู่ที่ชาลาระหว่างพระวิมาน ในชาลาข้าง ๑ สร้างที่สรง อิกข้าง ๑ สร้างที่ลงพระบังคน แลในชาลาทั้ง ๒ ข้างนั้นยังมีเกย ก่อเปนแท่น มีพนักเปนที่ประทับสำราญพระราชอิริยาบถด้วยอิกอย่าง ๑ ตามแบบโบราณดังมีอยู่ในคำสำหรับร้องกันเล่นว่า " เสด็จขึ้นเกย เสวยน้ำชา " นั้น. เมื่อรัชกาลที่ ๓ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพไม่ได้เสด็จขึ้น ไปประทับบนพระวิมาน ให้แก้มุขด้านน่าทั้งพระที่นั่งบุรพาภิมุขแล ทักษิณาภิมุขเปนที่ประทับ เสด็จประทับที่มุขจนสวรรคตที่พระที่นั่ง บุรพาภิมุข ลักษณการที่แก้ไขครั้งนั้น ให้ยกพื้นขึ้นตามยาวตลอดข้าง ด้านตวันออกจนกลางห้อง แล้วกั้นฝาเพี้ยมเปนห้องที่ประทับบนตอนยก

๑๑๐ พื้นแลสร้างที่สรงขึ้นใหม่ในพระที่นั่งทักษิณาภิมุข ทำห้องลงพระบังคน ในพระที่นั่งบุรพาภิมุข ถังน้ำสรงแลฐานที่ลงพระบังคนยังปรากฏอยู่จน ทุกวันนี้ กล่าวกันว่าเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๓ นั้น พระองค์เจ้าดาราวดี พระอรรคชายาของกรมพระราชวังบวร ฯ ก็เสด็จอยู่ที่พระราชมณเฑียร เห็นจะประทับอยู่ ๒ มุขข้างด้านตวันตก ในรัชกาลที่ ๔ มุขพระ วิมานพระที่นั่งปัจฉิมาภิมุขด้านตวันตกเฉียงใต้ เปนที่พักของเจ้าคุณ จอมมารดาเอม นอกนั้นใช้เปนที่เก็บเครื่องแต่งพระองค์แลสิ่งของ ด้วยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดทรงส่ำสมสิ่งของต่าง ๆ เช่นเครื่องลายครามเปนต้น ทั้งของจีน ของฝรั่งหลายอย่าง ถึงรัชกาล ที่ ๕ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญโปรดให้เจ้าคุณจอมมารดาเอม พระชนนีย้ายไปอยู่ที่พระที่นั่งบุรพาภิมุข อยู่มาจนถึงอสัญกรรมที่นั้น. มีข้อความซึ่งควรจะกล่าวในเรื่องหมู่พระวิมานวังน่าอิกอย่าง ๑ คือเมื่อกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อใน รัชกาลที่ ๓ นั้น เครื่องบนของเดิมเห็นจะชำรุดมาก ต้องรื้อเครื่องบน ทำใหม่หมด สงไสยว่าทรวดทรงหลังคาของเดิมจะงามกว่าที่กรมพระ ราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงสร้างใหม่ อย่างที่แลเห็นอยู่ทุกวันนี้. พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรง สร้างในรัชกาลที่ ๓ พร้อมกับเมื่อทรงปฏิสังขรณ์พระวิมานวังน่า เหตุ ที่สร้างเห็นจะเปนเพราะเสด็จลงมาประทับอยู่ที่มุขน่าพระวิมาน ท้อง พระโรงน่าของเดิมกระชั้นชิดที่ประทับนัก จึงสร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ขึ้นเปนท้องพระโรงใหม่ต่อออกไปข้างน่า แก้ท้องพระโรงเดิมเปนมุข

๑๑๑ กระสันในระหว่างท้องพระโรงใหม่กับพระวิมาน พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยนี้ เอาอย่างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระราชวังหลวงไปสร้างหมดทุกอย่างเปนแต่ลดให้เล็กลง กับไม่ทำซุ้มพระแกลแลพระทวาร พระที่นั่ง บุษบกที่ท้องพระโรงเดิมก็ย้ายไปไว้เปนประธานในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เหมือนอย่างพระที่นั่งบุษบกมาลาในพระราชวังหลวง ลักษณะที่ใช้ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยก็เปนอย่างเดียวกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย คือ เปนที่เสด็จออกแขกเมืองแลบำเพ็ญพระราชกุศล เช่นมีเทศน์มหาชาติ เปนต้น ส่วนการพระราชพิธีเช่นพิธีตรุษสารทแลโสกันต์ ซึ่งทาง วังหลวงทำที่พระมหาปราสาท วังน่าก็ทำที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แต่ ผิดกันอย่าง ๑ ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยเปนที่ตั้งพระศพกรมพระราชวัง บวร ฯ แลเปนที่ทำพิธีอุปราชาภิเษกในเวลาต่อมาทุกรัชกาล. สองข้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย กรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาล ที่ ๓ ทรงสร้างหอข้างละหลัง ข้างขวาเปนหอพระเจ้า ข้างซ้ายเปนหอ พระอัฐิ เหมือนอย่างหอพระสุราลัยพิมานแลหอพระธาตุมนเฑียรใน พระราชวังหลวง ผิดกันแต่เอาด้านสกัดของหอเข้าหาพระที่นั่งอิศรา วินิจฉัย แลหลังคาหอทำเปนทรงเก๋งจีน แต่เข้าใจว่ามิได้เชิญพระอัฐิ กรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ มาไว้หอซึ่งสร้างใหม่นี้ หอพระเจ้า คงเปนที่ไว้พระพุทธรูปของในพระองค์ เช่นพระฉลองพระองค์เปนต้น หอพระอัฐิก็คงจะเปนที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิแลพระอัฐิที่เชิญมาจากวังเดิม แลที่มีขึ้นใหม่ อันสมควรเก็บรักษาไว้ในพระราชวัง แลที่สุด


๑๑๒ อาจจะดำรัสสั่งให้ไว้พระอัฐิพระองค์เองในหอนั้นด้วยก็จะเปนได้ เพราะ เวลาเสด็จดำรงพระชนม์อยู่ก็ไม่เสด็จขึ้นไปอยู่บนพระวิมาน. ทั้งหอพระเจ้าแลหอพระอัฐิในวังน่า มาถึงรัชกาลที่ ๔ ทรงจัด การใหม่ มีหมายรับสั่งปรากฎว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวพระราชทานพระแก้ว (ผลึก) ซึ่งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้น ไปไว้ในพระบวรราชวังองค์ ๑ แห่ขึ้นไปเมื่อเดือนอ้ายแรม ๘ ค่ำปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖ เข้าใจว่าคงพระราชทานไปให้ประดิษฐานในหอพระเจ้า ให้เหมือนอย่างประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตนฯ ไว้ในหอพระสุราลัยพิมาน ส่วนหอพระอัฐินั้นเมื่อเชิญพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ฯ ไปประดิษฐานที่ปราสาททองบนพระวิมานกลางทั้ง ๓ พระองค์แล้ว เข้าใจว่าโปรดให้เชิญพระอัฐิเจ้านายวังน่า ไปไว้ที่หอพระมณเฑียรธรรมวัดบวรสถานสุทธาวาศ ในคราวนั้นเอง แล้วจึงจัดหอพระอัฐิวังน่าให้เปนทำนองเดียวกับหอ พระธาตุมณเฑียรในพระราชวังหลวง ความปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เชิญพระอัฐิพระชนกสมเด็จพระศรีสุริเยนทร กับทั้งพระอัฐิเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ มนตรี เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ซึ่งเปนพระภาดาสมเด็จพระศรี สุริเยนทรไปไว้ที่หอพระอัฐิวังน่า ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับพระอัฐิพระชนกสมเด็จ

๒๑ พระอัฐิพระชนกสมเด็จพระศรีสุริเยนทร แต่ก่อนเห็นจะอยู่ที่พระราชวังเดิม พระอัฐิอิก ๓ พระองค์นั้นแต่ก่อนคงอยู่หอพระนาคในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. ๑๑๓ พระศรีสุริเยนทรมาไว้ ที่พระตำหนักเดิมในพระราชวังหลวง ส่วนพระอัฐิ เจ้าฟ้า ๓ พระองค์ยังคงไว้ที่หอพระอัฐิวังน่า จนหอชำรุดรื้อในรัชกาล ที่ ๕ จึงได้เชิญมาไว้ในหอพระนาควัดพระศรีรัตนศาสดาราม. พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ อยู่ตรงน่าพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยออกไป เปนของสร้างครั้งรัชกาลที่ ๑ เดิมชื่อว่าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ มา เปลี่ยนเปนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาล ที่ ๓ ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ พระที่นั่งองค์นี้ยกพื้นสูง แลเชิงผนังข้างนอก ทำเปนฐานบัทม์ ทำนองพระมหาปราสาทในพระราชวังหลวง เข้าใจว่า เดิมกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเห็นจะทรงพระราชดำริห์จะสร้าง ขึ้นสำหรับทำการพระราชพิธี มีพระราชพิธีตรุษสารทแลโสกันต์ลูก เธอเปนต้น อย่างเช่นทำที่พระมหาปราสาทในพระราชวังหลวง แต่ใน เวลาที่ยังไม่ได้ลงมือสร้างฤากำลังสร้างอยู่นั้น เสด็จขึ้นไปเมืองเชียง ใหม่ ได้พระพุทธสิหิงค์ซึ่งเปนพระพุทธรูปสำคัญลงมา จึงทรงพระราช อุทิศพระที่นั่งองค์นี้ถวายเปนที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ จึงให้เขียนฝาผนังข้างในเปนรูปเทพชุมนุมข้างบน แลเขียนเรื่องพระปฐมสมโพธิ ที่ผนังหว่างพระแกลเปนพุทธบูชา แต่คงทำการพระราชพิธีต่าง ๆ ที่พระ ที่นั่งองค์นี้ตามพระราชดำริห์เดิมด้วย พระที่นั่งสุทธาสวรรย์จึงเปนที่ สำหรับทำการพระราชพิธีเหมือนอย่างพระมหาปราสาทในวังน่ามาตั้งแต่ รัชกาลที่ ๑ ตลอดจนรัชกาลที่ ๕. ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ สวรรคตแล้ว เวลาวัง น่าว่างอยู่นั้น ทำนองจะมีผู้ร้ายลอบงัดพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ฤๅ ๑๕ ๑๑๔ อย่างไร ความปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทรง พระราชดำริห์ว่า พระพุทธรูปเงินทองแลของพุทธบูชามีอยุ่ในพระที่นั่ง สุทธาสวรรย์มาก ทิ้งไว้ผู้ร้ายจะลักเอาไปเสีย จึงโปรดให้เชิญพระ พุทธสิหิงค์กับทั้งพระพุทธรูปอื่น ๆ กับของพุทธบูชาลงมาไว้ในพระ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้บน ฐานชุกชีด้านน่าในพระอุโบสถ ตรงที่ตั้งพระสัมพุทธพรรณีทุกวันนี้ อยู่ตลอดรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ จนรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้เชิญพระ พุทธสิหิงค์กลับไปวังน่า ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวดัง กล่าวมาแล้วในที่อื่น เมื่อเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาพระราชวังหลวง แล้ว ทางโน้นในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เหลืออยู่แต่ปราสาทปรางค์ ห้ายอด ซึ่งกรมพระราชวังบวร ฯ ทรงสร้างไว้เปนที่ประดิษฐานพระ พุทธสิหิงค์ ปรากฏในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวว่า ถึงรัชกาลที่ ๒ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์โปรดให้ รื้อปราสาทปรางค์ห้ายอดนั้นเสีย แล้วให้ตั้งพระแท่นเสวตรฉัตร ที่ในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เปนที่เสด็จออกแขกเมืองแลพระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนาต่อมา ก็คือว่าคงเปนแต่ที่ทำการพระราชพิธีเหมือนอย่าง พระมหาปราสาท ครั้นเมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ สวรรคต จึงประดิษฐานพระศพไว้ในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เหมือนอย่างพระ มหาปราสาททางพระราชวังหลวงฉนั้น. พระแท่นเสวตรฉัตรวังน่า ที่ปรากฎในพระราชนิพนธ์พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เห็นจะสร้างขึ้นไว้แต่เมื่อในรัชกาล

๑๑๕ ที่ ๑ แล้ว แต่เมื่อก่อนย้ายมาตั้งที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จะตั้งไว้ที่ ไหนสงไสยอยู่ เพราะที่ซึ่งอาจจะตั้งมีหลายแห่ง แบบตั้งพระแท่น เสวตรฉัตรครั้งกรุงเก่าเข้าใจว่าตั้งกลางพระมหาปราสาทตรงยอดลงมาทำนองเช่นที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระราชวังหลวง ที่วังน่าครั้ง รัชกาลที่ ๑ ไม่มีปราสาท อาจจะตั้งพระแท่นเสวตรฉัตรไว้ที่ในพระ ที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระวิมานองค์กลางสมมตแทนปราสาทก็เปนได้ เพราะฉนั้นเมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ จะเสด็จไปเฉลิมพระ ราชมณเฑียร ประทับพระวิมานองค์กลาง จึงให้ย้ายพระที่นั่งเสวตร ฉัตรออกมาตั้งที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ถ้ามิได้เปนดังกล่าวมานี้ พระ แท่นเสวตรฉัตรวังน่าแต่เดิมเห็นจะตั้งอยู่ที่พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน อัน เปนท้องพระโรงเดิมก่อนสร้างพระวิมาน ครั้นสร้างพระวิมานแล้ว ปรากฏว่าเปนพระที่นั่งทรงธรรม พระสงฆ์เห็นจะถวายเทศน์บนพระแท่นเสวตรฉัตรที่ตั้งอยู่นั้น ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อสร้างพระที่นั่งอิศรา วินิจฉัยแล้ว จึงย้ายพระแท่นเสวตรฉัตรมาตั้งในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย บังน่าพระที่นั่งบุษบก เหมือนอย่างพระแท่นเสวตรฉัตรในพระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัยแต่ก่อนนี้ แต่พิจารณาดูรูปสัณฐานพระแท่นเสวตรฉัตร วังน่าที่ยังอยู่ในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยทุกวันนี้ ดูทำเอาอย่างพระแท่น เสวตรฉัตรวังหลวง แลมีตราพระจุฑามณีปั้นไว้ที่พนัก จึงสงไสยว่าจะ เปนของสร้างขึ้นใหม่ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระแท่นองค์เดิมเห็นจะสูญไปเสียแล้ว


๑๑๖ ในรัชกาลที่ ๓ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงซ่อม แปลงปฏิสังขรณ์พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นแก้ ไขของเดิมหลายอย่าง สังเกตได้โดยแบบอย่างฝีมือช่างที่ทำ คือรื้อ เครื่องบนทำใหม่หมด เปลี่ยนหลังคาพาไลของเดิม ต่อเปนเฉลียง เสาลอย ไว้ผนังข้างบนเปนคอสองรอบ ซุ้มพระแกลของเดิมเห็นจะ ไม่มี ทำซุ้มขึ้นใหม่ทั้งหมด การปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นน่าชมอย่างหนึ่ง ที่ของเดิมสิ่งใดดีเอาไว้หมดทุกอย่าง เปนต้นว่าเครื่องไม้กรอบแลบาน พระแกล ทวยที่รับชายคา คงใช้ของเดิมไม่เปลี่ยน ข้างในลายที่ เขียนผนังแลลายเพดาน รักษาของเดิมไว้ไม่แก้ไข เปนแต่ซ่อม แซมที่ชำรุด จึงยังแลเห็นของเดิมที่ทำโดยประณีตบรรจงมาได้จน ทุกวันนี้. ที่เปลี่ยนนามพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เปนพุทไธสวรรย์ เห็นจะเปน ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือประการที่ ๑ เมื่อสร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยขึ้น แลย้ายพระแท่นเสวตรฉัตรไปไว้พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยแล้ว กรมพระ ราชวังบวรมหาศักดิพลเสพคงจะทรงพระราชดำริห์ จะจัดให้กลับเปนที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ให้ต้องตามที่มีลายเขียนผนังเปนเครื่องพุทธ บูชามาแต่เดิม ประการที่ ๒ ชื่อเดิมว่าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะเห็นว่า ใกล้กับชื่อพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงสร้างทางพระราชวังหลวงนัก จึงเปลี่ยนให้หลีกไปเสีย ประการที่ ๓ จะให้ชื่อคล้องสัมผัสกับพระที่นั้งอิศราวินิจฉัยที่สร้างใหม่ แต่ไม่ได้พระราชทานพระพุทธสิหิงค์ขึ้นไป จะตั้งพระพุทธรูปองค์ใด


๑๑๗ เปนประธาน ข้อนี้หาทราบไม่ แต่มีตู้พระธรรมสร้างขึ้นสำหรับ ตั้งในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เหมือนอย่างฝาประจันห้อง ๓ ตู้ ลงรักเขียน ทองลายรดน้ำด้าน ๑ เขียนสีเรื่องรามเกียรดิ ๓ ด้านทุกใบ เก็บคัมภีร์ พระธรรมวังน่าไว้ในตู้ทั้ง ๓ นี้ แลเข้าใจว่าโดยปรกติคงโปรดให้ อาจารย์บอกหนังสือพระสงฆ์สามเณรในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เหมือน อย่างทางวังหลวง โปรดให้บอกหนังสือพระสงฆ์สามเณรที่ในพระมหาปรา สาทนั้นด้วย ส่วนการพระราชพิธีต่าง ๆ ก็คงทำในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ดังแต่ก่อนต่อมาตลอดจนในรัชกาลที่ ๔ แลที่ ๕. พระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก กรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างใหม่ที่เกาะกลางสระ ตรงที่กรมพระราชวังบวรมหา สุรสิงหนาทจะทรงสร้างปราสาท แล้วเปลี่ยนเปนพระพิมานดุสิตา ซึ่ง รื้อเสียเมื่อในรัชกาลที่ ๒ ดังได้บรรยายมาแล้วนั้น เหตุที่สร้างพระที่นั่ง องค์นี้ขึ้น เพราะที่บริเวณสระนั้น ถึงเมื่อมีหอพระอยู่ในรัชกาลที่ ๑ ที่จริงเปนที่สวนสำหรับเสด็จประพาศสำราญพระราชอิริยาบถ อยู่ใกล้ กับพระราชมณเฑียร มีความพรรณาไว้ในหนังสือนิพพานวังน่าชัดเจน ดังนี้ " โอ้พิมานอมรินทร์ ดังอินทร์สว่าง เด่นอยู่กลางสระรอบกระสินธุ์สม มีโสกเรียงเคียงน่าลำดวนดม รำเพยลมกลิ่นแก้วผการาย ทรงไว้พระเนาวโลกย์โมฬีเลื่อง แต่งเครื่องมัสการทุกวันถวาย มณฑาหอมน้อมก้านบานขจาย ดังจะหมายน้อมรศเรณูนวล

๒๒ หมายว่าพระพิมานดุสิดา

๑๑๘ บูชาพระสัพพัญญูคู่ทวีป ขยายกลีบแย้มพุ่มโกสุมภ์สงวน เคยมีสีหโนภาษบัณฑูรชวน สั่งประมวญหมู่สนมหนึ่งบุตรี ให้สวดมัสการพระชินรัตน์ ตามบัญญัติเพศพุทธชินศรี ประทานทั้งแตรดังระฆังตี จบแล้วก็ชุลีบรมญาณ เคยถวายพระกุศลศรัทธารับ ทรงคำนับน้อมรศพระกรรมฐาน เคยประสาทโภชาพระราชทาน มัจฉซ้องสาธุการถึงเมืองพรหม ประกอบหมู่มัจฉาในสาคเรศ ทอดพระเนตรระงับร้อนแรมปฐม แขยงแย่งแย้งเย้ายวนนิยม เนื้อออนอ่อนอ้อนระทมบ้าบ่มใจ เห็นกระแหแห่แห้โบกหางเหิน แก้วลองล่องล้องเดินสายชลไหล แมลงภู่ทองท่องท้องมากินไคล สวายหว่ายหว้ายไปแสวงรอย จะหาเหยื่อเผือเผื่อเผื้อภักษา เหล่าเทพาพ่าพ้าสื่อสนสร้อย กระทิงหลายหล่ายหล้ายกรายกรีดลอย นกเขาเข่าเข้าคอยชะม้อยดู ได้เคยรับประทานอาหารหาย ตวันบ่ายว่ายเวียนมาเปนหมู่ ไม่ยลพระมิ่งมณเฑียรยกเศียรชู เหมือนจะรู้ว่าพระราชบิดา เสร็จนิราศแรมร้างมไหสูรย์ โอ้อาดูรทุกข์ทั่วถึงมัจฉา ประพาศสวนเสร็จสรวลชวนพงา นำยุพาเคยพายุพินชม คณานางล้วนนางอนงค์แน่น ประดับแสนนับแสนพระสนม สำราญรื่นเริงรื่นชื่นอารมณ์ ถวายลมโบกลมอยู่งานงาม เห็นกาหลงเพลินหลงประสงค์หอม ลูกจันทน์น้อมกิ่งน้อมเหลืองอร่าม ระย้าแก้วแสงแก้วออกแวววาม กุหลาบหนามหลีกหนามเด็ดดอกดม เสาวคนธ์ระคนกลิ่นบุหงา จำปาแขกเมื่อแขกมาถวายถม

๑๑๙ มณฑาหอมหวนหอมยิ่งตรอมตรม จะจากชมชวนชมระบมทรวง ยี่หุบหุ้มกลีบหุ้มขยายแย้ม ลำเจียกแหลมกลิ่นแหลมล้วนของหลวง ลำดวนเย็นหอมเย็นดูเด่นดวง พิกุลร่วงดอกร่วงลงดาดดิน เสาวรศทรงรศตระหลบฟุ้ง ดังจันทน์ปรุงประปรุงระคนกลิ่น การเกดแก้วเกดอินทนิล บุหรงบินรีบบินไปจากรัง ให้หนักจิตรจิตรหวนรัญจวนโหย ฤดีโดย ๆ ดิ้นถวิลหวัง เหมือนอกเรา ๆ จะร้างนิราศวัง จึงโศกสั่ง ๆ สวนอยุทธยา " ปรากฎในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า เมื่อรื้อพระที่นั่งพิมานดุสิดาไปแล้ว กรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาล ที่ ๒ ยังเสด็จประพาศสวนนั้นต่อมา กรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาล ที่ ๓ ก็คงเสด็จประพาศที่สวนนั้น จึงทรงสร้างพระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก ขึ้นเปนที่ประทับเวลาเสด็จลงประพาศสวน แต่ก่อนมีเก๋งจีน รูปเปน ตรีมุข พื้นชั้นเดียว อยู่ที่เกาะกลางสระหลังหนึ่ง ข้าพเจ้าสำคัญว่า พระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลกจะเปนเก๋งจีนนั้นเอง แต่พวกชาววังน่าบอกว่า เก๋งจีนนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง ถ้าความจริง เปนเช่นนั้น พระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลกที่กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ พลเสพทรงสร้างคงเปนเครื่องไม้ ผุพังสูญไปเสียหมดแล้ว พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสร้างเก๋งจีนใหม่ เพราะสวนนั้นยัง เปนที่ประพาศต่อมาจนในรัชกาลที่ ๔. ได้กล่าวมาแต่ก่อนว่าพระที่นั่งที่สร้างครั้งรัชกาลที่ ๑ มีชื่อไม่ คล้องกันอยู่ ๒ องค์ คือพระที่นั่งพรหมภักตร์องค์ ๑ พระที่นั่งศิวโมกข์

๑๒๐ พิมานองค์ ๑ ส่วนพระที่นั่งพรหมภักตร์ได้อธิบายมาแล้ว ว่าเปนชื่อ บุษบกราชบัลลังก์ ซึ่งตั้งอยู่ในท้องพระโรงน่า มิใช่พระราชมณเฑียร แต่ส่วนพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน ข้าพเจ้าคิดไม่เห็นว่าเหตุใดนามจึง ไม่คล้องกับพระที่นั่งองค์อื่น ได้นึกสงไสยว่า ฤๅจะเปนนามตั้งขึ้น ใหม่ต่อเมื่อในรัชกาลที่ ๓ ของเดิมจะเรียกแต่ว่าพระที่นั่งทรงธรรม แต่มามีข้อสังเกต ด้วยนามพระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก สังเกตดูความไม่เหมาะแก่พระราชมณเฑียรที่สร้างตรงนั้น เห็นว่าที่ขนานนามว่าพระ ที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก เพราะจะให้คล้องสัมผัสกับนามพระที่นั่ง ศิวโมกข์ของเดิมเปนต้นเหตุ ข้อนี้เปนหลักฐานว่านามพระที่นั่ง ศิวโมกข์พิมานมีมาแล้วแต่ในรัชกาลที่ ๑ จึงมานึกขึ้นว่าฤานามเดิม เปน " พระที่นั่งศิวโมกข์สถาน " อยู่น่าพระที่นั่งพิมานดุสิดาดอกกระมัง ถ้าเช่นนั้นนามพระราชมณเฑียรครั้งรัชกาลที่ ๑ ก็คล้องกันได้หมด พระที่นั่งศิวโมกข์พิมานนี้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสร้างเปนท้องพระโรง ตั้งแต่แรกสร้างพระราชวังบวร ฯ ตามแบบ อย่างพระที่นั่งทรงปืนที่พระราชวังหลวงกรุงเก่า ดังกล่าวมาแล้ว องค์ เดิมเข้าใจว่าเปนเครื่องไม้ แลเล็กว่าพระที่นั่งศิวโมกข์พิมานที่ปรากฎ อยู่ทุกวันนี้ แต่แรกคงเปนที่เสด็จออกขุนนางแลทรงบำเพ็ญพระราช กุศลอย่างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระราชวังหลวง ครั้นเมื่อสร้าง พระวิมานแล้วมาเสด็จออกที่พระวิมาน พระที่นั่งศิวโมกข์ ฯ เห็นจะเปน แต่ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เช่นมีเทศน์มหาชาติเปนต้น เพราะเหตุ นี้จึงเรียกกันว่า พระที่นั่งทรงธรรม เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงห

๑๒๑ นาทสวรรคต ประดิษฐานพระศพไว้ในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมานนี้ ครั้น รัชกาลที่ ๓ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงรื้อของเดิม สร้าง ใหม่เปนเครื่องก่ออิฐถือปูน ขยายให้ใหญ่โตขึ้น เปนพระที่นั่งโถง มีฝาแต่ด้านใต้กับด้านตวันตก เพราะเปนเขตรต่อกับข้างใน แต่จะใช้ เปนที่สำหรับราชการอย่างไรสืบไม่ได้ความ เพราะกิจต่าง ๆ ที่เคยทำที่ พระที่นั่งศิวโมกข์ ฯ มาแต่ก่อน มีพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยเปนที่ทำแทน หมดทุกอย่าง สืบถามผู้ที่มีอายุทันได้เห็น ได้ความแต่ว่าเคยเห็น ทำกงเต๊กที่พระที่นั่งศิวโมกข์ ฯ เมื่องานพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แลใช้เปนที่หัดทหารแตรต่อมาในครั้งกรมพระ ราชวังบวรวิไชยชาญ ได้ความแต่เท่านี้ เปนที่ว่างมาจนจัดเปน พิพิธภัณฑ์สถานเมื่อในรัชกาลที่ ๕ พระที่นั่งสนามจันทร์ในพระราชวังหลวงเปนของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยทรงพระราชดำริห์สร้างขึ้นไว้ เห็นจะเปนด้วย เหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติยศในพระบวร ราชวัง เพราะฉนั้นรูปสัณฐานพระที่นั่งสนามจันทร์วังน่า จึงถ่ายแบบ องค์ในพระราชวังหลวงไปทำหมดทุกอย่าง ผิดกันแต่ลวดลายที่เขียน ทองนั้นเล็กน้อย แลไม่หากระดานใหญ่แผ่นเดียวทำพื้นเหมือนพระ ที่นั่งสนามจันทร์ในพระราชวังหลวง ที่ตั้งก็ตั้งที่ชลาข้างซ้ายท้อง พระโรงอย่างเดียวกัน กล่าวกันว่าแต่เดิมขนานนามหนึ่งต่างหาก ๑๖

๑๒๒ แต่ไม่มีใครเรียกนามนั้นก็สูญ คงเรียกกันแต่ว่าพระที่นั่งสนามจันทร์ มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จ ออกพระที่นั่งสนามจันทร์โดยกำหนดอย่างใดหาทราบไม่ ได้ยินแต่ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่พระบวรราชวังในตอนหลัง เวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระเจริญเสด็จออกไปประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบแล้ว เวลา เสด็จขึ้นไปเฝ้าสมเด็จพระบรมชนกนารถที่พระบวรราชวัง เสด็จประทับ ที่พระที่นั่งสนามจันทร์เปนที่พัก พระที่นั่งมังคลาภิเศก พระที่นั่งเอกอลงกฎ ๒ องค์นี้ สร้างใน รัชกาลที่ ๔ เปนพระที่นั่งโถงคู่กัน อยู่บนกำแพงแก้วน่าท้องพระ โรง ตรงมุมข้างใต้องค์ ๑ ข้างเหนือองค์ ๑ มีเกยสำหรับทรงพระ ราชยานอยู่ข้างน่าทั้ง ๒ องค์ แบบอย่างพระที่นั่ง ๒ องค์นี้ก็ทำตามทำนองพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ในพระราชวังหลวง แต่ไม่ถึงถ่ายแบบไป ทีเดียว พระที่นั่งอย่างนี้เรียกกันแต่ก่อนว่า พระที่นั่งเย็น หมายความ ว่าเปนพระที่นั่งโถง สำหรับประทับตากอากาศ มีในบานแพนกพระราชปุจฉาครั้งรัชกาลที่ ๑ เสด็จออกประทับพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ มีรับสั่ง ให้ราชบัณฑิตไปเผดียงพระราชปุจฉา ในบานแพนกใช้ว่า " เสด็จออกประทับพระที่นั่งเย็น " ในพระราชวังหลวงก็มี ๒ ข้างท้องพระโรง เปนพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ข้าง ๑ เปนหอสาตราคมข้าง ๑ แต่หอสาตราคม ลวดลายที่ปรากฏทุกวันนี้เปนของแก้ไขใหม่ในรัชกาลที่ ๔ ฤๅเดิมจะ เปนพระที่นั่งเย็นเหมือนกันทั้ง ๒ ข้าง อย่างไปสร้างที่วังน่าได้ดอก กระมัง ๑๒๓ นามพระที่นั่งเย็นที่วังน่า เอานามของพระที่นั่งโบราณมาขนาน องค์ ๑ คือ พระที่นั่งมังคลาภิเศก เปนนามพระมหาปราสาทครั้ง กรุงเก่า ซึ่งมาแปลงนามเปนพระวิหารสมเด็จเมื่อไฟไหม้แล้วสร้างใหม่ ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระที่นั่งคชกรรมประเวศ ซึ่งสร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๔ เพราะจะให้มีปราสาทในพระบวรราชวัง วิเศษกว่าพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ก่อนมา รูปสัณฐานอย่างไร ได้พรรณามาแล้วไม่ต้องอธิบาย ซ้ำอิก ควรกล่าวในที่นี้แต่ว่า ปราสาทองค์นี้เพราะเปนเครื่องไม้อยู่ มาผุหักชำรุดทรุดโทรม จึงโปรดให้รื้อเสียเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ยังคง แต่ฐานปราสาทกับเกยช้างอยู่ข้างน่าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จนทุกวันนี้ มีของที่น่าสังเกตอยู่ที่พระราชมณเฑียรในวังน่าอย่าง ๑ คือ มีศิลาจาฤกนามพระที่นั่งติดไว้ข้างน่าพระที่นั่งในหมู่พระวิมานทุกองค์ ตั้งแต่ พระที่นั่งวสันตพิมานแลมุขทั้งปวง ออกมาจนถึงพระที่นั่งมังคลาภิเศก พระที่นั่งเอกอลงกฎ แลพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เปนที่สุด เข้าใจได้ว่า เปนของติดเมื่อในรัชกาลที่ ๔ คงเปนเพราะคนเรียกนามพระที่นั่งทั้งเก่า ใหม่ไม่ถูก จึงโปรดให้จาฤกนามติดไว้ให้เห็น พระที่นั่งอิศเรศราชานุสร พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างตามแบบอย่างตึกฝรั่ง ( แม้ปล่อง ชิมนี เตาผิงไฟก็ยังคงรูปมี อยู่ที่สุดอกไก่หลังคาทั้งสองข้าง ) เปนตึกเก้าห้องพื้น ๒ ชั้น รูป ๔ เหลี่ยม รี มีบันไดทำเปนมุขขึ้นข้างนอก เพราะในสมัยนั้นยังถือกันอยู่ว่า ถ้า ขึ้นทางใต้ถุนเปนอัประมงคล ตัวพระที่นั่งด้านน่ามีเฉลียงโถง ๗ ห้อง

๑๒๔ ข้างในประธาน ตอนกลาง ๓ ช่องกั้นเปนห้องเสวย ห้องต่อมาข้าง ใต้ ๒ ช่องเปนห้องพระบรรธม มีฝาเพี้ยมกระจกกั้นขวางอิกชั้น ๑ ต่อมา ถึงที่สุดด้านใต้เปนห้องเล็กชั่วช่อง ๑ ยาวตลอดในประธาน เปนห้องแต่ง พระองค์ แต่เล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสว่าใน ห้องพระบรรธมร้อนนัก ให้ตั้งพระแท่นเล็กบรรธมที่ห้องแต่งพระองค์นี้ ที่มุมตวันตกเฉียงใต้กั้นเปนห้องสรง ด้านหลังเปนเฉลียงทึบกั้นเปน ห้องเก็บของ มีบันไดเล็กสำหรับพนักงานขึ้นลง แลมีห้องอุ่นเครื่องอยู่ ข้างหลังห้องเสวย ในประธานอิก ๒ ช่องต่อห้องเสวยไปทางเหนือ เปนห้องรับแขก เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรหนัก เสด็จแปรสถานมาประทับในห้องนี้จนสวรรคต ต่อห้องรับแขกไปถึงห้อง ยาวข้างด้านสกัดเปนห้องทรงพระอักษร แลห้องพระสมุด อยู่สุดพระที่นั่งข้างด้านเหนือ ชั้นล่างเปนแต่ที่พนักงานอาไศรยหาได้ใช้การอื่นไม่ ลักษณที่ตกแต่งพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรเปนอย่างฝรั่งทั้งสิ้น พระแท่น บรรธมสั่งมาแต่เมืองนอก เปนพระแท่นคู่ มีรูปช้างเผือกสลักอยู่ที่พนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยกไปตั้งที่พระที่นั่ง ในพระราชวังบางปอิน ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ เวลามีแขกเมืองฝรั่ง ต่างประเทศ เช่นราชทูตเข้ามา ก็ทรงรับรองเลี้ยงดูที่พระที่นั่งอิศเรศ ราชานุสรนี้ เล่ากันว่า ถึงที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ อยู่ที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรก็เสด็จอยู่อย่างฝรั่ง มีบ๋อยผู้ชาย แล พนักงานข้างในเปนสาวใช้อยู่จำกัดพอสำหรับใช้ แม้เจ้าจอมก็อยู่ เฉภาะผู้ที่เปนราชูปฐาก พระเจ้าลูกเธอแลพระสนมกำนัลขึ้นเฝ้าแต่

๑๒๕ เฉภาะเวลาเสวยเท่านั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้จัดห้อง กลาง อันเปนห้องเสวยเดิม เปนที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ โปรดให้ ทำตู้ทองที่ผนังด้านในเรียงกัน ๓ ตู้ แล้วเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย จากหอพระอัฐิในพระบวรราชวังมาประดิษฐานไว้ ที่ตู้ใหญ่ซึ่งอยู่กลาง พระอัฐิสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีไว้ ตู้เล็กข้าง ๑ พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ตู้เล็ก ข้าง ๑ ทำเพดานแลอัฒจันท์สำหรับตั้งเครื่องบูชาไว้ตรงที่ประดิษฐาน พระบรมอัฐินั้น ครั้นเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เชิญพระอัฐิประดิษฐานไว้ กับพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยกัน แลต่อมาเสด็จ ขึ้นไปวังน่า ทอดพระเนตรเห็นพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรชำรุดทรุดโทรม ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ให้คืนดีทั่วทั้งพระที่นั่งครั้ง ๑ พระที่นั่งบวรบริวัติ เปนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างค้างไว้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเปน ที่ประทับต่อมา ดังกล่าวมาแล้ว ตอนที่สร้างพระที่นั่งบวรบริวัติ มีประตู แลกำแพงกันเปนบริเวณหนึ่งต่างหาก เปนแต่ต่อติดกับบริเวณพระที่นั่ง อิศเรศราชานุสร ศาลาแลสวนที่สร้างในบริเวณพระที่นั่งบวรบริวัติ เปนอย่างจีนทั้งสิ้น พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้า อยู่หัว คงจะทรงจัดเปนอย่างจีนบริเวณ ๑ เปนอย่างฝรั่งบริเวณ ๑ มาแต่เดิม เข้าใจว่าคงจะเปนที่สำหรับเสด็จออกประพาศฝ่ายใน ตัวพระ

๑๒๖ ที่นั่งบวรบริวัติเปนเก๋งจีน ยาว ๕ ห้อง ๒ ชั้น ชั้นบนเมื่อพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับ มีแต่ห้องพระบรรธม ห้อง ๑ ห้องที่ประทับห้อง ๑ พระเจ้าลูกเธอที่ไปตามเสด็จเสด็จอยู่ ชั้นล่าง เล่ากันมาว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรด พระที่นั่งบวรบริวัติ ว่าหันน่ารับแดดตวันตกร้อนนัก จึงโปรดให้สร้าง พระที่นั่งขึ้นใหม่อิกองค์ ๑ ต่อไปข้างเหนืออยู่ชิดกำแพงวัง ให้หันน่า มาข้างใต้ แต่การสร้างพระที่นั่งหลังนี้ค้างอยู่จนสิ้นรัชกาล มาถึงครั้ง กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พอเสร็จงานพระราชพิธีอุปราชาภิเศก แล้ว ก็เสด็จมาประทับอยู่ชั้นต่ำพระที่นั่งบวรบริวัติ จนสร้างพระที่นั่ง สาโรชรัตนประพาศแล้วเสด็จไปอยู่ที่นั้นแล้ว ที่พระที่นั่งบวรบริวัติชั้น ต่ำยังใช้เปนห้องพระสมุด แลเปนที่เสด็จออกฝ่ายในมาจนทิวงคต เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญประชวรจะทิวงคตนั้น เสด็จไปประทับอยู่ที่พระตำหนักริมป้อมเสือซ่อนเล็บ แขวงจังหวัดสมุทปราการประชวรพระอาการหนักลง จึงเชิญเสด็จกลับมากรุงเทพ ฯ มาพักอยู่ ที่ชั้นต่ำพระที่นั่งบวรบริวัติได้น่อยหนึ่งก็ทิวงคต พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาศ คือพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างค้างไว้ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงสร้างต่อจนสำเร็จ เปนตึกขนาดย่อม ๒ ชั้นยาว ๕ ห้องทำอย่างฝรั่ง มีเฉลียงโถงข้างด้านน่า ข้างชั้นบนพอเปนห้องพระบรรธมห้อง ๑ กับห้องที่ประทับห้อง ๑ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงทรงสร้างศาลา โถงเครื่องไม้เปนชั้นเดียว ต่อออกมาข้างน่าเปนที่ประทับสำราญพระ

๑๒๗ อิริยาบถหลัง ๑ กล่าวกันว่าประทับอยู่ที่ศาลานี้โดยมาก ข้างศาลา ทำสวนปลูกไม้ดอกแลมีน้ำพุอ่างเลี้ยงปลา มีกำแพงกั้นบริเวณพระ ที่นั่งสาโรชรัตนประพาศเปนส่วนหนึ่งต่างหาก จากบริเวณพระที่นั่ง บวรบริวัติ จัดเปนที่รโหฐาน พระที่นั่งนทีทัศนาภิรมย์ เรียกว่าตำหนักแพวังน่า ซึ่งสร้าง ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น หลังกลางเปน ๒ ชั้นมี ฝา หันน่ามุขลงแม่น้ำ แลมีมุขโถงต่อจากหลังกลางขึ้นข้างเหนือ มุข ๑ ลงข้างใต้มุข ๑ ข้าพเจ้าผู้แต่งหนังสือนี้ไม่เคยขึ้นไปดู จน กระทั่งรื้อเสียเมื่อในรัชกาลที่ ๕ จึงไม่สามารถจะพรรณาได้เลอียดกว่านี้ พระราชมณเฑียรแลสถานที่ต่าง ๆ ในพระราชวังบวรสถานมงคล อันปรากฏอยู่ในแผนที่ ที่พิมพ์ผนึกไว้ในสมุดเล่มนี้ พรรณามาแต่สิ่ง สำคัญ แลสิ่งซึ่งสามารถจะทราบเรื่องราวได้โดยเคยรู้เคยเห็นเองบ้าง สืบถามผู้มีอายุที่ทราบเรื่องราวมาแต่ก่อนเล่าให้ฟังบ้าง ประกอบกับ ความสันนิฐานตามเหตุผลดังได้อธิบายไว้ ยังมีสิ่งซึ่งทราบเรื่องราว ไม่ได้ ด้วยหมดตัวผู้รู้เห็นเสียแล้วก็มาก เห็นว่าถ้าไม่มีใครเขียน เรียบเรียงบันทึกลงไว้เสีย ยิ่งนานไปเรื่องตำนานวังน่าก็จะยิ่งสูญหาย หมดไปทุกที ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงได้ลองเรียบเรียงลงไว้ ถ้ามีวิปลาศ พลาดพลั้งไปบ้างอย่างไร ขอท่านทั้งหลายจงให้อภัย เทอญ.



๑๒๘ เทศนาบวรราชประวัติ สมเด็จพระวันรัต (ทับ) วัดโสมนัศวิหาร ถวายที่วังน่า ในงานสมโภชพระนครครบรอบร้อยปี ? เม ภิก์ขเว ปุค์คลา ทุล์ลภา กตเม โย จ ปุพ์พการี โย จ กตัญ์ญูกตเวที อิเมโข ภิก์ขเว ปุค์คลา ทุล์ลภา

บัดนี้สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระปรารภซึ่งพระบรมญาติที่สวรรคตสิ้นพระชนม์ล่วงไปแล้ว คือกรมพระราชวังบวร ฯ ๓ พระองค์ แลพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แลกรมหลวง เทพหริรักษ์ กรมหลวงพิทักษมนตรี กรมขุนอิศรานุรักษ์ กรมขุน อนัคฆนารี ๘ พระองค์นี้ ให้เปนอารัมมณูปัตติเหตุ จึงได้ทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลมีทานมัยเปนต้น ทรงอุทิศกัลปนาผลให้เปนบุพพเปตพลี ทักขิณานุปปทานส่วนญาติสงเคราะห์ครั้งนี้ ตามสมควรแก่ประฏิบัติ ของโบราณบัณฑิตย์ในวงษ์กรรมวาทีกิริยวาที ข้อที่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงบำเพ็ญพระราช กุศลญาติสังคหะนี้ ก็สำเร็จด้วยอำนาจพระปัญญาบารมีซึ่งทรงพระราชดำริห์ ในพระกตัญญุตา กตเวทิตาคุณสมบัติเปนบุพพภาค จึงได้ทรง พระอุสาหะบำเพ็ญพระราชกุศลบุพพเปตพลีทักขิณานุปปทานส่วนญาติสังคหะดังนี้ บุคคลที่สันดานดีเปนกตัญญูกตเวทีนี้ เปนมนุษรัตน ผู้วิเศษหาได้ด้วยยากยิ่งนักในโลกย์ เพราะเหตุนั้นสมเด็จพระสุคต

๑๒๙ ทศพลเจ้าจึงตรัสเทศนาแก่ภิกษุสงฆ์ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้วิเศษสองจำพวกนี้เปนบุคคลหาได้ด้วยยากในโลกย์ บุคคล สองจำพวกนั้นเปนไฉน บุคคลใดได้ทำอุปการคุณไว้แก่ผู้อื่นก่อน คือสงเคราะห์ด้วยสั่งสอนให้รู้ศิลปสาตรแลวิชาต่าง ๆ ก็ดี ฤๅให้ เรือกสวนไร่นาทรัพย์สมบัติพัศดุสิ่งของใด ๆ ก็ดี ฤๅสร้างพระนคร ตามสถานที่พักที่อาไศรยใด ๆ ก็ดี ให้เปนประโยชน์แก่ญาติสาโลหิต แลประชุมชนซึ่งเกิดในภายหลัง บุคคลผู้นี้ชื่อว่าบุพพการี ทำอุปการ คุณไว้แก่ผู้อื่น เปนผู้วิเศษหาได้ด้วยยากในโลกย์ บุคคลผู้ใดได้รู้ อุปการคุณที่ท่านได้ทำไว้แล้วแก่ตนว่าท่านผู้นี้มีคุณแก่เรา ก็สนอง คุณแทนคุณท่านให้ประชุมชนได้เห็นชัด ส่อแสดงซึ่งคุณสมบัติของตน ให้ปรากฏ บุคคลผู้นี้ชื่อว่า กตัญญูกตเวที รู้คุณแทนคุณท่านให้ ปรากฏแก่มหาชน เปนผู้วิเศษหาได้ด้วยยากในโลกย์ บุคคลผู้ วิเศษสองจำพวก คือบุพการีแลกตัญญูกตเวทีนี้ สมเด็จพระผู้ ทรงพระภาคย์ ทรงตรัสสรรเสริญว่าเปนผู้วิเศษหาได้ด้วยยากยิ่งนัก ในโลกย์ด้วยประการฉนี้ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมประกอบไปด้วย อวิชชาแลตัณหากล้าหนานักในสันดาน มุ่งหาแต่ประโยชน์ตนภาย เดียว ไม่เหลียวแลดูผู้อื่นเลยโดยมาก อนึ่งนรชาติใดมารฦกถึง อุปการคุณของบุญกุศลที่ตนได้ทำไว้แล้ว ว่ามีคุณใหญ่ยิ่งมากนัก นำเอาศุขสมบัติมาให้ตามประสงค์ได้ทุกอย่าง ประหนึ่งขุมทรัพย์อันประเสริฐ ก็ไม่ประมาทแทนคุณบุญกุศลนั้น คือก่อสร้างบำเพ็ญ ๑๗

๑๓๐ ให้ทวียิ่ง ๆ ขึ้นไป นรชาตินี้ก็ชื่อว่ากตัญญูกตเวที รู้คุณแทนคุณ ของบุญกุศลหาได้ด้วยยากในโลกย์ อนึ่งกตัญญูกตเวทีบุคคลนี้ พระองค์ก็ทรงตรัสสรรเสริญว่าเปนสัปปุรุษตั้งอยู่ในธรรมของสัปปุรุษ ว่า เปนรัตนให้เกิดความยินดีอย่างหนึ่ง ยากที่จะเกิดจะมีขึ้นในโลกย์ ประหนึ่งคชรัตนอัสสรัตนเปนต้น อันหาได้ด้วยยากยิ่งนักฉนั้น อนึ่ง กตัญญูกตเวทิตาคุณนี้ พระองค์ก็ทรงตรัสว่าเปนภูมิของสัปปุรุษแล เปนอปริหานิยธรรม เปนเหตุให้เจริญยิ่ง ๆ แห่งความศุขแลสมบัติ ฝ่ายเดียว ก็ซึ่งสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ดำรงอยู่ใน กตัญญูกตเวทิตาคุณ จึงได้ทรงพระอุสาหบำเพ็ญพระราชกุศลบุพพ เปตพลีญาติสังคหะนี้ ได้ชื่อว่าทรงสถิตย์ในสัปปุริสภูมิแลอปริหา นิยธรรม ควรเปนที่ตั้งแห่งศุภอรรถอิฏฐวิบุลผล ดังพระราช หฤไทยประสงค์ทุกประการ บัดนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในโบราณวงษ์ประวัติ ของกรมพระราชวังบวรฯ ๓ พระองค์ แลพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลทั้ง ๔ โดยสังเขป สนองพระเดชพระคุณตามพระราช ประสงค์ เพื่อให้เกิดภาวนามัยกุศลอันพิเศษ คือมรณสติแลอนิจจ สัญญาซึ่งเปนทางพระนฤพาน ก็ในโบราณวงษ์ประวัติของกรมพระ ราชวังบวร ฯ พระองค์ซึ่งเปนปฐมในรัชกาลที่ ๑ นั้น ดำเนินความโดยสังเขปดังนี้ว่า ครั้นเมื่อจุลศักราช ๑๑๔๔ ปีขาลจัตวาศกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติปราบดาภิเศก เปนปฐมบรมมหาราชาธิราชพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ ในสยามรัฐมหาชน

๑๓๑ บทนี้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ดำรงในที่อุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ให้รับอุปราชาภิเศก ตามโบราณจารีตราชประเพณีกษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนมา ครั้นสมเด็จ พระอนุชาธิราช ได้ดำรงในที่อุปราช กรมพระราชวังบวร ฯ แล้ว จึงมีพระราชบัณฑูรดำรัสสั่งให้สถาปนาพระราชวังขึ้นใหม่ ใกล้บุราณ คามคฤหสถานที่เดิมเปนพระบวรราชวังแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ ตั้งแต่งเสนามาตย์ราชบริพารให้มียศศักดิฐานันดร ตาม สมควรแก่ความชอบโดยลำดับ ครั้นกาลล่วงมาภายหลัง กรม พระราชวังบวร ฯ ทรงพระราชศรัทธาดำรัสสั่งให้สถาปนาพระอารามขึ้น ใหม่ พระราชทานนามว่าวัดตองปุ อาราธนาพระสงฆ์รามัญมาอยู่ ให้พระมหาสุเมธาจารย์เปนเจ้าอาราม ครั้งหนึ่งพระองค์มีพระราช บัณฑูรดำรัสสั่งให้ปฏิสังขรณ์วัดสลัก ให้ทำพระอุโบสถวิหารการ บุเรียนแลพระมณฑปขึ้นใหม่ แล้วให้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรม ธาตุไว้ภายในพระมณฑป ก่อพระระเบียงล้อมรอบแล้ว สร้างเสนาศนะ กุฎีฝากระดานถวายพระสงฆ์ แล้วให้ก่อตึกสามหลังถวายพระ วันรัตผู้เจ้าอาวาศ แล้วทรงพระราชทานนามว่าวัดนิพพานาราม ครั้ง หนึ่ง มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระ ราชวังบวร ฯ ให้เสด็จไปสถาปนายกพระมณฑปพระพุทธบาท สมเด็จ พระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร ฯ ก็เสด็จพระราชดำเนินโดยทาง ชลมารควิถี ถึงที่ประทับท่าเจ้าสนุก จึงมีพระราชบัณฑูรดำรัสสั่ง ให้เกณฑ์ข้าราชการขนตัวไม้เครื่อง บนพระมณฑปขึ้นไปยังเขาพระพุทธ

๑๓๒ บาท ส่วนพระองค์ก็ทรงพระอุสาหด้วยกำลังพระราชศรัทธา เสด็จ พระราชดำเนินด้วยพระบาท ทรงยกตัวลำยองเครื่องบนพระมณฑป ตัวหนึ่งด้วยพระหัดถ์ ขึ้นประดิษฐานเหนือพระอังษา ทรงแบกด้วย พระองค์ เสด็จพระราชดำเนินโดยสถลมารถวิถี ให้ตั้งขาหยั่ง แลพลับพลาไว้ณที่ประทับ ครั้นเสด็จถึงก็ทรงวางตั้งตัวไม้ไว้บนขา หยั่ง แล้วเสด็จขึ้นประทับบนพลับพลานั้น ทรงประทับในระหว่าง ๆ อย่างนี้โดยลำดับ จนถึงเขาพระพุทธบาท ด้วยอำนาจกำลังพระ ราชศัรทธาทรงพระอุสาหะ มิได้คิดแก่ลำบากพระกาย ด้วย พระราชประสงค์จะให้เปนพระราชกุศลอันพิเศษไพศาล ครั้นเสด็จ ถึงเขาพระพุทธบาทแล้ว จึงรับสั่งให้นายช่างยกเครื่องบนแลยอด โดยลำดับ ให้จับการลงรักปิดทองประดับกระจกแล้ว ให้ทำ พระมณฑปน้อยกั้นรอยพระพุทธบาท ภายในพระมณฑปใหญ่ เสา ทั้ง ๔ กับทั้งเครื่องบน แลยอดพระมณฑปน้อย ล้วนแผ่ทองคำหุ้ม ทั้งสิ้น การพระมณฑปใหญ่น้อยสำเร็จบริบูรณ์แล้ว ก็เสด็จกลับ ยังกรุงเทพมหานคร ขึ้นเฝ้าสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า กราบ ทูลถวายพระราชกุศล ในกาลเมื่อสำเร็จพระมณฑปนั้น จุล ศักราช ๑๑๕๐ ปีวอกสัมฤทธิศก อนึ่งเมื่อกัตติกบุรณมีดิถีเพ็ญเดือน ๑๒ ในปีวอกสัมฤทธิศกนั้น สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า ทรงอาราธนา ให้พระสงฆ์ราชาคณะถานานุกรม ปเรียญ อนุจร รวม ๒๑๘ รูป กับ ราชบัณฑิตยาจารย์ ๓๒ คน สันนิบาตประชุมกันในอุโบสถวัดพระศรี สรรเพชดาราม ชำระพระไตรปิฎกซึ่งนับเนื่องเข้าในนวมะสังคายนาย

๑๓๓ นั้น สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร ฯ ก็ได้ช่วยสมเด็จพระ บรมเชษฐาธิราชเจ้า เปนสาสนูปถัมภก จนสำเร็จการสังคายนาย นั้น ครั้งหนึ่งสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร ฯ เสด็จไป ปราบปรามอริราชไพรี คือ พม่าข้าศึกซึ่งมาล้อมเมืองเชียงใหม่อยู่นั้น ครั้นมีไชยชนะแก่อริราชไพรีแล้ว จึงเสด็จไปประทับณพลับพลาน่า เมืองเชียงใหม่ พระเจ้าเชียงใหม่ออกมาถวายบังคมทูลแถลงกิจ ราชการเสร็จสิ้นทุกประการแล้ว จึงทูลถวายพระพุทธรูปพระสิหิงค์ องค์หนึ่ง พระองค์จึงมีพระราชบัณฑูรดำรัสสั่ง ให้เจ้าพนักงาน เชิญพระพุทธรูปพระสิหิงค์นั้น ขึ้นประดิษฐานบนหลังคชสารกับพระ ไชยนำเสด็จมา ส่วนพระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินทัพหลวงกลับมา ยังกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร ฯ พร้อมด้วยมุข มาตยานิกร เสด็จยาตราพยุหทัพหลวงจะไปปราบปรามภุกามประจา มิตร ซึ่งมาย่ำยีเขตรแดนด้านอุตรทิศประเทศเชียงใหม่ ครั้นดำเนิน กองทัพไปถึงเมืองเถิน ก็ทรงประชวรโรคขัดพระบังคนเบาให้มีพิศม์ ร้อน ต้องเสด็จลงแช่อยู่ในชลประเทศ จะเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ ก็ยังมิได้ จึงมีพระราชบัณฑูรดำรัสสั่งให้นายทัพนายกองคุมพลนิกร ล่วงไปก่อน ครั้นพระอาการที่ทรงพระประชวรนั้นค่อยคลายแล้ว ก็เสด็จ พระราชดำเนินกองทัพหลวงขึ้นไปณเมืองเชียงใหม่ ครั้นถึงเมืองเชียง ใหม่แล้วก็ทรงปราบปรามอริราชไพรีให้เรียบร้อยเปนปรกติแล้วก็เสด็จ กลับยังกรุงเทพมหานคร ครั้นถึงอาสาฬหมาศ พระโรคก็กลับกำเริบ

๑๓๔ กล้าขึ้น สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า ก็เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมประชวรณพระราชวังบวร ฯ ครั้นถึงกัตติกมาศพุฒวารกาฬปักขดิถีที่ ๔ เพลายามหนึ่งกับ ๕ บาท สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร ฯ ก็เสด็จสวรรคตล่วงไป พระองค์ประสูตรเมื่อเดือน ๑๑ ขึ้นค่ำหนึ่งวัน พฤหัศบดี ปีกุญเบญจศก จุลศักราช ๑๑๐๕ ขณะเมื่อรับพระอุปราชา ภิเศกนั้น พระชนม์ได้ ๓๘ พรรษา ได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งกรม พระราชวังบวร ฯ ๒๑ พรรษา กับ ๔ เดือน ๕ วัน รวมพระชนม์ได้ ๖๐ พรรษากับเดือนหนึ่ง พระองค์ได้ทรงสถาปนาวัดสลักวัด ๑ พระราชทานนาม ว่า วัดนิพพานาราม เมื่อทำสังคายนายนั้นพระราชทานนามใหม่ ว่าวัดศรีสรรเพชดาราม ครั้นกาลล่วงมาถึงเดือนยี่ปีกุญเมื่อพระสงฆ์ ประชุมกันแปลหนังสือ พระราชทานนามใหม่อิกว่าวัดมหาธาตุ บุรณ วัดตองปุวัด ๑ พระราชทานนามว่า วัดชนะสงคราม บุรณวัด สามเพ็งวัด ๑ อุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกาธิบดี พระราชทานนาม ว่า วัดประทุมคงคา รวมเปนสามวัด สิ้นความในโบราณวงษ์ประวัติ ของกรมพระราชวังบวร ฯ พระองค์ซึ่งเปนปฐมในรัชกาลที่ ๑ โดยสัง เขปแต่เท่านี้ ในโบราณวงษ์ประวัติของกรมพระราชวังบวร ฯ ที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ นั้น ดำเนินความโดยสังเขปดังนี้ว่า ครั้นสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร ฯ ซึ่งเปนปฐมสวรรคตล่วงไปแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรด เกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นประดิษฐานในที่อุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ให้รับอุปราชา

๑๓๕ ภิเศกตามโบราณจารีตราชประเพณี เปนลำดับมา แล้วจึงทรงพระ กรุณาโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพระองค์น้อย ซึ่งเปน กรมหลวงเสนานุรักษ์ ให้รับที่พระบัณฑูรน้อย ครั้งนั้นเสนามาตย์ ราชบริพารทั้งหลายจะกราบทูลพระกรุณา ก็ออกพระนามว่าพระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อย เท่านั้น ครั้นกาลล่วงมาถึงปีมเสงเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ วันพฤหัศบดี เพลาราตรี สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ซึ่งเปนปฐมบรมธรรมิกมหาราชาธิราชเสด็จสวรรคตแล้ว ครั้นรุ่งขึ้น วันที่ ๒ กรมพระราชวังบวร ฯ กับสมเด็จพระอนุชาธิราชพระบัณฑูร น้อย พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์ฝ่ายน่าฝ่ายใน เสด็จไปโสรจสรง พระบรมศพด้วยอุทกวารี แล้วทรงเครื่องปิลันทนาภรณ์สำหรับพระบรม ศพพระเจ้าแผ่นดินใหญ่เสร็จแล้ว จึงเชิญเข้าสู่พระลองเงินแล้วประกอบ พระโกษฐทองคำจำหลักลายกุดั่นประดับพลอยนพรัตน์ แล้วเชิญ ขึ้นประดิษฐานบนพระยานุมาศ ตั้งขบวนแห่ไปประดิษฐานณพระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาทด้านมุขปัจฉิมทิศ ประดับด้วยมหาเสวตรฉัตรแล เครื่องสูง ตั้งเครื่องต้นแลเครื่องราชูปโภคเฉลิมพระเกียรติยศตาม บุรพราชประเพณีพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ ครั้งพระนครศรีอยุทธยา ฉนั้น ครั้นกรมพระราชวังบวร ฯ ซึ่งดำรงที่พระบัณฑูรใหญ่ได้สำเร็จ ราชการแผ่นดินแล้ว ก็เสด็จประทับแรมอยู่ณพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ครั้นถึงเพลาบุพพัณหสมัย สายัณหสมัย เสด็จพระราชดำเนินไปถวายบังคมพระบรมศพ ถวายไทยธรรมพระสงฆ์สดัปกรณ์

๑๓๖ ครั้นถึงเดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำวันอังคาร ได้อุดมฤกษ์แล้ว จึงพระราชวงษานุวงษ์เสนาบดี แลสมเด็จพระสังฆราช แลพระราชาคณะ ผู้ใหญ่ผู้น้อย พร้อมกันเชิญเสด็จกรมพระราชวังบวร ฯ ขึ้นเถลิงถวัลย ราชสมบัติปราบดาภิเศก เปนบรมมหาราชาธิราชพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ ในสยามรัฐมหาชนบทนี้ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สิ้นความในโบราณวงษ์ประวัติของกรมพระราชวังบวร ฯ ที่ ๒ ในรัชกาล ที่ ๑ โดยสังเขปแต่เท่านี้ ในโบราณวงษ์ประวัติของกรมพระราชวังบวร ฯ ที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๒ นั้นดำเนินความโดยสังเขปว่า เมื่อสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ เถลิงถวัลยราชสมบัติเปนบรมมหาราชาธิราชแล้ว จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนา นุรักษ์ รับพระบัณฑูรน้อยนั้น ดำรงในที่อุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ให้รับอุปราชาภิเศกตามโบราณจารีตราชประเพณีกระษัตรา ธิราชเจ้าแต่ก่อนมา อยู่มาณกาลครั้งหนึ่ง มีอริราชไพรีคือพม่าข้าศึก มาย่ำยีพระราชอาณาเขตร ทางหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายทเล ๔ ตำบล คือ เมืองชุมพร เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองตะกั่วป่า เมืองฉลาง สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระอนุชา ธิราช กรมพระราชวังบวร ฯ เสด็จยกพยุหโยธาทัพหลวงไปปราบปราม ประจามิตรที่มาย่ำยีเขตรแดนเหล่านั้น ครั้นกองทัพไปถึงเมืองชุมพร แล้วก็ได้สู้รบกับพม่าข้าศึกเปนสามารถ ด้วยเดชะอำนาจบุญฤทธิ์ พวกพม่าประจามิตรที่มาย่ำยีเขตรแดนทั้ง ๔ ตำบลเหล่านั้น ก็ปราไชย

๑๓๗ พ่ายแพ้หนีไป แล้วจับได้พม่าที่ตกค้างอยู่ณเมืองชุมพรบ้าง เมือง ตะกั่วป่าบ้าง ส่งเข้ามายังกรุงเทพมหานคร แล้วทรงพระกรุณา โปรดให้พระยาจ่าแสนยากร อยู่รักษาเมืองชุมพร ส่วนพระองค์ ก็เสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร ครั้นถึงแล้วจึงขึ้นเฝ้าสมเด็จพระ บรมเชษฐาธิราชเจ้า ทูลแถลงราชกิจการสงครามให้ทรงทราบทุก ประการ ครั้นอยู่มาในอปรภาคสมัย ก็ทรงพระประชวรไข้พิศม์ พระอาการมาก จนถึงบนพระองค์ทรงผนวช ครั้นพระโรคเสื่อม คลายหายเปนปรกติแล้ว ก็ได้ทรงผนวชเสด็จประทับอยู่ณวัดมหาธาตุ ปุรณะ ๗ ทิวา แล้วก็ลาผนวชในปีมเมียโทศกนั้น เมื่อจุลศักราช ๑๑๗๖ ในเดือน ๕ นั้น สมเด็จพระบรมเชษฐา ธิราชเจ้า ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าทางลัดที่ต้นโพธินั้น กรมพระ ราชวังบวร ฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ลงไป ทำยังค้างอยู่ จะเปนที่ไว้ใจแก่การศึกสงครามทางทเลมิได้ จะ ต้องทำเสียให้สำเร็จ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระ อนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร ฯ ไปเปนแม่การ แบ่งเอาแขวงกรุงเทพ ฯ แลแขวงเมืองสมุทปราการต่อกัน สร้างเปนเมืองขึ้นที่ปากลัดนั้น พระราชทานนามว่าเมืองนครเขื่อนขันธ์ ยกเอาครัวรามัญเมืองประทุม ธานี พวกพระยาเจ่งลงไปตั้งอยู่ มีชายฉกรรจ์สามร้อยคน ครอบ ครัวด้วย แล้วสร้างป้อมสามป้อม กับป้อมเก่าป้อมหนึ่ง บรรจบเปน ๔ ป้อม แล้วสร้างข้างฝั่งตะวันออกอิก ๕ ป้อม บรรจบเปน ๙ ป้อม ๑๘

๑๓๘ ด้วยกัน แล้วให้ชักกำแพงถึงกัน ข้างหลังเมืองก็ให้มีกำแพงล้อมรอบ ตั้งยุ้งฉาง พลับพลา ศาลาไว้เครื่องสาตราวุธแลตึกดินมีพร้อมทุก ประการ แล้วให้ทำสายโซ่ลูกทุ่นไว้สำหรับจะได้ขึงกันสู้รบกับข้าศึก ที่มาทางทเล แลทรงสร้างพระอารามขึ้นในเมืองพระอารามหนึ่ง พระราชทานนามว่าวัดทรงธรรม โรงพระอุโบสถเปนเครื่องไม้ฝา กระดาน แล้วโปรดให้เอาสมิงธอมา บุตรพระยาเจ่ง ซึ่งเปน พระยาพระราม น้องเจ้าพระยามหาโยธา มาตั้งเปนพระยานครเขื่อน ขันธ์ผู้รักษาเมือง แล้วตั้งแต่งกรมการพร้อมทุกตำแหน่ง ครั้นสร้าง เมืองนครเขื่อนขันธ์เสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร ขึ้น เฝ้าสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า ทูลแถลงกิจราชการที่ได้สร้าง เมืองนครเขื่อนขันธ์เสร็จสิ้นทุกประการ ครั้นอยู่มาณกาลภายหลัง ทรงพระประชวรพระยอดที่พระที่นั่ง โปรดให้แพทย์ผ่า พระโรคก็ยิ่งกำเริบมีพิศม์กล้าไม่เสื่อมถอย ครั้น ถึงจุลศักราช ๑๑๗๙ ปีฉลูนพศก เดือนแปดอุตราสาธ ขึ้นสามค่ำ วันพุฒ เพลา ๕ โมงเช้ากับแปดบาท พระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณพระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระองค์ประสูตรจุลศักราชได้ ๑๑๓๕ ปีมเสงเบญจศก เดือนห้า ขึ้นเจ็ดค่ำ วันจันทร์ ขณะเมื่อได้รับอุปราชา ภิเศกนั้น พระชนม์ได้ ๓๖ พรรษากับ ๔ เดือน ๒๐ วัน ได้ดำรง อยู่ในตำแหน่งกรมพระราชวังบวร ฯ ๗ พรรษากับ ๑๑ เดือน รวมสิริ พระชนม์ได้ ๔๔ พรรษา พระองค์ได้ทรงสถาปนาวัดลิงขบที่บางจาก วัด ๑ พระราชทานนามว่าวัดบวรมงคล วัดประโคนวัด ๑ พระราช

๑๓๙ ทานนามว่าวัดดุสิตาราม กับวัดทรงธรรมที่เมืองนครเขื่อนขันธ์วัด ๑ รวมสามวัด สิ้นความในโบราณวงษ์ประวัติ ของกรมพระราชวังบวร ฯ (พระองค์ ๓ ) ในรัชกาลที่ ๒ โดยสังเขปแต่เท่านี้ ในโบราณวงษ์ประวัติของกรมพระราชวังบวร ( ที่ ๔ ) ในรัชกาล ที่ ๓ นั้นดำเนินความโดยสังเขปดังนี้ว่า กาลเมื่อพระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเศก เปนพระ เจ้าแผ่นดินใหญ่ในสยามรัฐมหาชนบทนี้แล้ว จึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ ซึ่งเปน พระราชปิตุลา ประดิษฐานณตำแหน่งที่อุปราช กรมพระราชวังบวร สถานมงคล ให้รับอุปราชาภิเศกตามโบราณจารีตราชประเพณีกระษัตรา ธิราชเจ้าแต่ก่อนมา แลกรมพระราชวังบวร ฯ พระองค์นี้ มีพระหฤไทยประกอบด้วยศรัทธาแลเมตตากรุณาเปนอันมาก ได้ทรงถวายนิตยภัตร แก่ปเรียญสามประโยค ที่ยังไม่มีนิตยภัตร เดือนละตำลึง ที่แปลได้ สองประโยค พระราชทานเดือนละสามบาท ที่แปลได้ประโยคหนึ่ง พระราชทานเดือนละกึ่งตำลึง แลทรงพระราชทานจีวรสมณะบริขาร แก่ภิกษุที่มาไล่ปาฏิโมกข์ได้ แลทรงบริจาคพระราชทรัพย์จ้างอาจารย์ บอกปริยัติในพระบวรราชวัง แลทรงคิดสร้างตาลปัตรเลื่อมถวาย ปเรียญเปนตัวอย่างมา ครั้นกาลล่วงมาถึงปีจออัฐศก ฝ่ายข้างมลาประเทศ เจ้าอนุผู้ ครองนครศรีสัตนาคนหุต เมืองเวียงจันท์ เปนคนอกะตัญญูมีจิตรคิดประทุษฐร้าย เปนขบถต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ๆ จึงมี

๑๔๐ พระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้กรมพระราชวังบวร ฯ เปนแม่ทัพ ถืออาญาสิทธ์ยกพยุหาทัพหลวงพร้อมด้วยเสนานิกรใหญ่น้อยทั้งปวง เสด็จโดยชลมารค สถลมารควิถี ครั้นถึงเมืองเวียงจันท์แล้ว ได้ ปราบปรามหมู่ขบถลาวอริราชไพรีในมลาประเทศให้สงบเรียบร้อยแล้ว โปรดให้ข้าราชการเข้าไปค้นหาพระบาง ก็หายไปหาพบไม่ ได้ทราบ ข่าวว่าข้าพระเอาไปฝังเสีย ได้แต่ พระรัศมี พระศุกร พระไส พระแส้คำ พระแก่นจันทน์ พระสรงน้ำ พระเงินหล่อ พระเงินบุ รวม ๘ พระองค์ แต่จะเอาลงมากรุงเทพมหานครได้แต่พระแส้คำองค์หนึ่ง ได้พระบรมธาตุบรรจุไว้ในพระแส้คำนั้นหลายร้อยพระองค์ กับได้พระ ฉันผลสมอน่าตัก ๑๐ นิ้วองค์ ๑ พระนากสวาดใหญ่น่าตัก ๑๐ นิ้วองค์ ๑ พระนากสวาดเล็กน่าตัก ๘ นิ้วองค์ ๑ พระนาคปรกศิลาน่าตัก ๕ นิ้วองค์ ๑ แลพระที่ส่งมากรุงเทพ ฯ มิได้นั้น ก็ให้ก่อพระเจดีย์ณค่ายหลวงเมือง พันพร้าว เหนือวัดซึ่งสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทรงสร้างไว้ เมื่อครั้งเสด็จไปตีเวียงจันท์ครั้งก่อน ฐานกว้าง ๕ วา สูง ๘ วา ๒ ศอก บรรจุพระพุทธรูปที่เชิญลงมาไม่ได้นั้น ไว้เปนที่สักการ บูชา ครั้นก่อเจดีย์เสร็จแล้ว จึงพระราชทานนามว่า พระเจดีย์เจ้า ปราบเวียง แลให้จารึกนามไว้ที่พระเจดีย์นั้นด้วย แล้วพระองค์ ก็ทรงพระปรารภการที่จะเสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร จึงมีพระ ราชบัณฑูรดำรัสสั่งให้ส่งตัวราชบุตร เจ้าสุวรรณ ซึ่งจับไว้ได้นั้น ให้ ข้าราชการคุมตัวลงมายังกรุงเทพมหานครก่อน แล้วโปรดให้พระยา ราชสุภาวดีอยู่จัดแจงกวาดต้อนครอบครัวพวกลาวเสียให้เรียบร้อย แล้ว

๑๔๑ พระราชทานอาญาสิทธิการสงคราม แลขุนนางทั้งวังน่าวังหลวง ตามแต่ชอบใจ ให้เลือกไว้ตามปรารถนา ครั้นพระองค์ดำรัสสั่งพระ ยาราชสุภาวดีเสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินกองทัพหลวง กลับจากเมืองศรีสัตนาคนหุตเวียงจันท์ มาประทับแรมอยู่ณเมือง นครราชสิมา ได้ปฏิสังขรณ์กำแพงเมืองนครราชสิมา ที่พวกเจ้าอนุทำ ลายเสียด้านหนึ่งให้บริบูรณ์ขึ้นใหม่ แลขุดคูรอบนอกกำแพงเมือง นครราชสิมา ให้กว้างฦกกว่าของเก่าเปนปรกติแล้ว จึงมีพระราช บัณฑูรดำรัสสั่งพระยาอร่าม ให้เปนแม่กองปฏิสังขรณ์พระอารามใน กำแพงเมืองนครราชสิมาขึ้นใหม่ ๒ พระอารามเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับ ยังกรุงเทพมหานคร ครั้นถึงแล้วขึ้นเฝ้าสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทูลแถลงกิจราชการสงคราม ให้ทรงทราบทุกประการเสร็จแล้ว จึงทูล เสนอความชอบในการสงครามให้พระยาราชสุภาวดี ครั้งนั้นเจ้าพระยา อภัยภูธรคุมกองทัพไปถึงเมืองพันพร้าว ก็ถึงแก่อสัญกรรม พระเจ้าอยู่ หัวจึงทรงพระกรุณาโปรด ฯ ให้มีท้องตราขึ้นไปตั้งพระยาราชสุภาวดีเลื่อน ยศขึ้นไป ให้เปนที่เจ้าพระยาราชสุภาวดีที่สมุหนายก ( แล้วโปรดให้ พระสุริยภักดีเลื่อนเปนที่พระราชวรินทร์ ) ด้วยมีความชอบครั้งเมื่อไป ศักเลขที่เมืองยโสธร ได้ทราบข่าวว่าในมลาประเทศกำเริบ แล้วจึง กลับมากราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบโดยเร็ว ครั้นอยู่มาในอปรภาคสมัย กรมพระราชวังบวร ฯ ก็ทรงพระ ประชวรมารโรคช้านานประมาณปีเศษ พระอาการมากขึ้น แพทย์ หมอประกอบพระโอสถถวาย พระอาการก็ไม่คลาย ครั้นถึงกาลเมื่อ

๑๔๒ จุลศักราช ๑๑๙๔ ปีมโรงจัตวาศก เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ วันอังคาร กรมพระราชวังบวร ฯ ก็เสด็จสวรรคตล่วงไป พระองค์ประสูตรเมื่อปี มเสงสัปตศกจุลศักราช ๑๑๔๗ เดือน ๑๑ แรม ๓ ค่ำ วันศุกร ขณะเมื่อได้รับอุปราชาภิเศกนั้น พระชนม์ได้ ๓๙ พระพรรษากับเศษเดือน ๑๑ เดือน ดำรงอยู่ในตำแหน่งกรมพระราชวังบวร ฯ ๗ ปีกับ ๘ เดือน รวมพระชนม์ได้ ๔๖ พรรษากับ ๔ เดือน พระองค์ได้ทรงสถาปนา พระอาราม ๖ พระอาราม คือวัดบวรนิเวศน์วิหารวัด ๑ วัดบวรสถานที่ บวรราชวังวัด ๑ แต่ยังหาสำเร็จไม่ วัดโปรดเกษแลวัดไพชยนต์พลเสพ ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ ๒ วัด วัดที่เมืองนครราชสิมา ๒ วัด บรรจบเปน ๖ พระอาราม กับพระเจดีย์ที่เมืองศรีสัตนาคนหุตเวียงจันท์องค์ ๑ อนึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาท้องพระโรงขึ้น ต่ออุตราภิมุขออกมาองค์ หนึ่ง พระราชทานนามว่าพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย สิ้นความในโบราณ วงษ์ประวัติของกรมพระราชวังบวร ฯ (ที่ ๔ ) ในรัชกาลที่ ๓ โดยสังเขป แต่เท่านี้ ในโบราณวงษ์ประวัติของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๔ นั้น มีความโดยสังเขปดังนี้ว่า กาลเมื่อพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหามกุฏพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย ราชสมบัติบรมราชาภิเศกเปนพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ ในสยามรัฐมหา ชนบทนี้แล้ว จึงทรงพระราชดำริห์เห็นว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ซึ่งเปนสมเด็จพระอนุชาธิราชนั้น ทรงพระปรีชารอบรู้ในพระนคร แลต่างประเทศ แลขนบธรรมเนียมต่าง ๆ แลชำนาญในสรรพอาวุธ

๑๔๓ ในการณรงค์สงครามเปนอันมาก แลแคล่วคล่องชัดเจนในการทรง พาหนะมีคชสารเปนต้น อนึ่งเปนที่นิยมนับถือของพระบรมวงษานุวงษ์ ข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยเปนอันมาก ครั้นทรงพระราชดำริห์ ฉนี้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราช ดำรงที่พระมหาอุปราช ให้รับพระบวรราชโองการ พระราชทาน พระเกียรติยศใหญ่ยิ่งกว่ากรมพระราชวังบวร ฯ ทุก ๆ แผ่นดิน มิได้ รับพระราชบัณฑูรดังกรมพระราชวังบวร ฯ ทุก ๆ พระองค์มา แลการ พระราชพิธีอุปราชาภิเศกโปรดให้เรียกบวรราชาภิเศก ครั้นเสร็จการ พระราชพิธีแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ ราชทานพระสุพรรณบัตร ซึ่งจารึกพระนามอันพิเศษคล้ายกับพระนาม ของพระองค์นั้น พระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระปวเรนทราเมศวร์ มหิศเรศรังสรรค์ มหันตวรเดโชไชย มโหฬารคุณอดุลยเดช สรรพ เทเวศรานุรักษ์ บวรจุลจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธ เคราะหณี จักรีบรมนารถ อิศรราชรามวรังกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูร โสทรานุชาธิบดินทร์ เสนางคนิกรินทรปวราธิเบศร์ พลพยุหเนตร นเรศวรมหิทธิวรนายก สยามาทิโลกยดิลกมหาบุรุษรัตน์ ไพบูลย์ พิพัฒน์สรรพศิลปาคม สุนทโรดมกิจโกศล สับดปดลเสวตรฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาบวรราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศพิชิตไชย อุดมมไหสวริยมหาสวามินทร์ สเมกธรณินทรานุราช บวรนารถ ชาติอาชาวไสย ศรีรัตนไตรยสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิสรรพรัษฎาธิ เบนทร์ ปวเรนทรธรรมิกราชบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์

๑๔๔ ทรงตั้งอยู่ในสัปปุริสธรรม คือ กตัญญูกตเวทิตาคุณ แลให้เสด็จเลียบ พระนครโดยคชพยุหแลอัศวพยุหวันหนึ่ง แลพระราชทานเงินเบี้ย หวัดข้าราชการเพิ่มขึ้นปีละพันชั่ง รวมทั้งที่กรมพระราชวังบวร ฯ ได้ เคยรับพระราชทานมาแต่เดิมเปนส่วนพันชั่ง แลเงินภาษีอากรนั้น ๆ ก็พระราชทานขึ้นอิกเปนอันมาก สำหรับรักษาพระเกียรติยศซึ่งยิ่ง ใหญ่ขึ้นไป แลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ ทรงรับพระอัษฐิกรมพระราชวัง ฯ ซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ขึ้นไปประดิษฐานในพระราชวังบวร ฯ แต่ครั้งนั้นมา พระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างเรือรบกลไฟไว้สำหรับแผ่นดินสองลำ คือเรืออาสาวดีรศ ๑ แลเรือยงยศอโยชฌิยา ๑ ก็การธรรมเนียมเลียบพระนครในกรมพระราชวังบวร ฯ แต่ก่อน ๆ มาก็มิได้เคยมี แต่ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง พระกรุณาโปรดให้สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลียบพระนครด้วย ให้เหมือนอย่างพระองค์ทรงเลียบพระนครเช่นนั้น จึงมีพระบรมราช โองการดำรัสสั่งเสนามาตย์ราชบริพาร ให้จัดขบวนแห่พยุหายาตรา ที่จะเลียบพระนครเปนขบวนแห่ห้าแถว ขบวนช้าง ขบวนม้า ขบวนเดินเท้า แต่งตัวถือเครื่องสาตราวุธต่าง ๆ แลให้เจ้าพนักงานแต่งวิถีทางซึ่ง พระองค์จะเสด็จทรงเลียบพระนครนั้น ครั้นณเดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ เจ้าพนักงานจัดขบวนแห่เสร็จแล้ว จึงผูกช้างพระที่นั่ง ชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพพลาย สูง ๖ ศอกคืบ มีรัตคนพานหน้าซองหางเครื่องมั่น ติดประจำยามทองคำจำหลักลายกุดั่น

๑๔๕ ประดับพลอยต่างสี มีผ้าปกหลัง ภู่ห้อยหูตาข่ายทองปกหน้า แล้วเอา ช้างมาประทับไว้ที่น่าเกย นายปราบไตรภพเปนควาญท้ายช้าง ครั้นย่ำ รุ่งแล้ว ๔ นาฬิกา สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องรณยุทธ ทรงพระมหามาลประดับเพ็ชร เสด็จขึ้นเกยสถิตย์เหนือตอช้างพระที่ นั่งต้น ทรงพระแสงของ้าว ฝรั่งแม่นปืนเปนกระบวนน่า ก็ยิงปืนคำนับ มาต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมมหาราชวัง ๒๑ นัด มีช้างดั้งช้างเขนไปน่าเปนอันมาก พลทหารแห่น่าหลังพรั่งพร้อม เดินขบวนแห่ประทักษิณเวียนไปตามกำแพงพระบวรราชวังมาถึงท้อง สนามไชยน่าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทอดพระเนตรอยู่บนพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ครั้นเสด็จมาตรงน่าพระที่นั่ง ก็ผันหน้าช้างพระยาไชยานุภาพเข้าไป ส่งพระแสงของ้าวให้นายควาญ ช้างรับไว้แล้วถวายบังคม ๓ ครั้ง แล้วทรงรับพระแสงของ้าว บ่าย หน้าช้างพระที่นั่งเสด็จเลยไปถึงวัดพระเชตุพน ประทับช้างพระที่นั่งที่ เกย แล้วเสด็จลงจากตอช้างพระที่นั่งมาขึ้นพลับพลาพัก แล้วเสด็จ พระราชดำเนินเข้าไปในพระอุโบสถ ทรงนมัสการพระพุทธรูป ถวาย ไทยธรรมแก่พระสงฆ์ทั่วทุกองค์เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ มาพลับพลาที่พัก ทรงฉลองพระองค์พระกรน้อย ทรงพระอนุราช มงกุฎ เหน็บพระแสงศร ขึ้นทรงม้าพระที่นั่งพระยาราชสินธพผ่านดำ ผูกเครื่องอานพานหน้า ซองหางภู่ห้อย ใบโพธิปิดหน้าทำด้วยทองคำ จำหลักลายกุดั่นประดับพลอยต่างสี เสด็จอ้อมประทักษิณวัดพระเชตุพน ๑๙

๑๔๖ แลพระบรมมหาราชวัง มาสู่พระบวรราชวัง แลเมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ไปทางสถลมารคนั้น ก็ทรงโปรยเงินพระราชทานให้ประชาราษฎรชาย หญิงใหญ่น้อย ซึ่งมาคอยกราบถวายบังคมชมเชยพระบรมโพธิสมภาร แลพวกแขกเมืองต่าง ๆ ซึ่งมาคอยดูนั้น ก็ได้รับพระราชทานเงินตรา แลดอกไม้ทองดอกไม้เงินด้วย สิ้นพระราชทรัพย์เปนอันมาก อันนี้เปน พระราชพิธีเลียบพระนครของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็คล้าย ๆ กันกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลียบพระนครฉนั้น ต่างกับแต่ที่ทรงช้างพระที่นั่ง แลทรงม้าพระที่นั่งเท่านั้น แล้วโปรดให้ อันเชิญพระอัษฐิขึ้นไปประดิษฐานไว้ณพระที่นังวังจันทร์ ได้รับพระ ราชทานพรรณาความตามพระราชประวัติ แห่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า ทั้ง ๔ พระองค์ โดยสังเขปเพียงเท่านี้ อนึ่งกาลเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง พระเดชพระคุณในการพระบรมศพนั้นจนเสร็จสิ้นทุกประการ เมื่อ พระองค์ได้ดำรงอยู่ในบวรราชสมบัตินั้น ได้เสด็จประทับอยู่ในพระ บวรราชวังบ้าง เสด็จไปประทับที่สีทาบ้าง แลได้ทรงช่วยสมเด็จ พระบรมเชษฐาธิราชเจ้าทำนุบำรุงรักษาพระนคร ให้พันไภยนิราศ ปราศจากอุปัทวันตรายต่าง ๆ ครั้นอยู่มาในอปรภาคสมัย พระ องค์ก็ทรงพระประชวรวิชามยโรคช้านานประมาณ ๕ พรรษา แพทย์ หมอประกอบพระโอสถถวาย พระอาการก็ไม่คลาย มีแต่ทรุดหนัก

๑๔๗ ลงถ่ายเดียว ครั้นถึงปีฉลูสัปตศกจุลศักราช ๑๒๒๗ ปี เดือนยี่แรม ๖ ค่ำ วันอาทิตย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จ สวรรคตล่วงไป พระองค์ประสูตรเมื่อปีมโรงสัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๑๗๐ พรรษา เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันอาทิตย์ ขณะเมื่อรับบวรราชา ภิเศกนั้น พระชนม์ได้ ๔๓ พรรษา กับ ๑๐ เดือน ได้ดำรงอยู่ ในบวรราชสมบัติ ๑๔ พรรษา รวมพระชนม์ได้ ๕๗ พรรษา กับ ๔ เดือน สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชโปรดพระราชทานพระลองเงินให้ทรงพระศพ แลทำพระเมรุท้องสนามหลวงโดยราชประเพณี พระองค์ได้ทรงสถาปนา วัดส้มเกลี้ยงวัด ๑ กับทรงปฏิสังขรณ์พระอารามไว้ ๔ พระอาราม คือ วัดบวรสถาน ที่ค้างอยู่ให้สำเร็จบริบูรณ์ขึ้น ๑ วัดหงษาราม ๑ วัด โมฬีโลกย์ ๑ วัดศรีสุดาราม ๑ รวมเปน ๔ พระอาราม สิ้นความ ในโบราณวงษ์ประวัติของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาล ที่ ๔ โดยสังเขปแต่เท่านี้ แลในการพระราชกุศลครั้งนี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระปรารภพระบรมญาติราชสัมพันธวงษ์เธอ แลพระเจ้าบวรวงษ์ เธอ แลพระเจ้าวรวงษ์เธอ อันมีพระอัษฐิประดิษฐานอยู่ในพระราชวัง บวร ฯ แลในวังต่าง ๆ ซึ่งได้ดำรงพระยศเปนพระองค์เจ้าต่างกรม ฤๅ ที่ได้ทรงรู้จักคุ้นเคย โปรดให้เชิญพระอัษฐิมาประดิษฐาน ทรง บำเพ็ญพระราชกุศลด้วยณบัดนี้ คือสมเด็จพระสัมพันธวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ แลเจ้าฟ้ากรมหลวงอนัคฆนารี อันเปนพระ


๑๔๘ เชษฐาธิบดี แลพระเชษฐภคินี แห่งกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา มาตย์ แลสมเด็จพระสัมพันธวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ อันเปนพระอนุชาของกรมสมเด็จพระศรี สุริเยนทรามาตย์ แลพระเจ้าบวรวงษ์เธอชั้น ๑ กรมหมื่นเสนีเทพ ๑ พระองค์เจ้าดวงจันทร์ ๑ พระองค์เจ้าดารา อันเปนพระอรรคชายากรม พระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ๑ กรมขุนนรานุชิต ๑ พระองค์เจ้า ปัทมราช ๑ แลพระเจ้าบวรวงษ์เธอชั้น ๒ กรมขุนธิเบศร์บวร ๑ กรมหมื่นอมรมนตรี ๑ พระองค์เจ้าขนิษฐา ๑ กรมหมื่นกระษัตริย์ศรี ศักดิเดช ๑ กรมหมื่นอมเรศรัศมี ๑ พระองค์เจ้าพัน ๑ พระองค์เจ้า ใย ๑ พระองค์เจ้าชุมแสง ๑ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ อันได้รับ ราชการกำกับกรมช่างทหารใน ๑ พระองค์เจ้านุ่ม ๑ กรมหมื่นสิทธิ สุขุมการ อันได้ทรงรับบังคับการโรงทอง ๑ พระเจ้าบวรวงษ์เธอชั้น ๓ กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ ๑ เจ้าฟ้าอิศราพงษ์ เกวลวงษ์วิสุทธิ์ สุรสีหุตมศักดิ อภิลักษณปวโรภยาภิชาติ บริสัษยนารถนราธิบดี ซึ่งได้รับราชการบังคับกรมช่างแลราชการต่าง ๆ ในพระบวรราชวัง ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑ พระเจ้าบวรวงษ์เธอชั้น ๔ พระองค์เจ้าเบญจางค์ ๑ พระองค์เจ้ากระจ่าง ๑ พระวรวงษ์ เธอชั้น ๕ พระองค์เจ้าปฐมพิศมัย อันเปนพระธิดาใหญ่ในกรม พระราชวังบวร ฯ ๑ รวม ๒๕ พระองค์ มาตั้งในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แล้วทรงบำเพ็ญพระราชกุศล โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์มีพระราชาคณะ เปนประธาน ๔๕ รูป มารับพระราชทานฉัน แล้วพระราชทานไตร

๑๔๙ จีวร ๒๔ รูป ทรงพระราชอุทิศเปนส่วน ๆ ถวายกรมพระราชวังบวร มหาสุรสีหนาท ๕ ส่วน กรมพระราช วังบวรมหาเสนานุรักษ์ ๕ ส่วน กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ๕ ส่วน พระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัว ๕ ส่วน สมเด็จพระสัมพันธวงษ์เธอ ๔ พระองค์ ทรง พระราชอุทิศพระราชทานองค์ละ ๑ ส่วน ยังจีวรสบงอิก ๒๑ ส่วนนั้น ทรงพระราชอุทิศพระราชทานพระเจ้าบวรวงษ์เธอทั้ง ๔ ชั้น แลพระ วรวงษ์เธออันได้ออกพระนามมาแล้วพระองค์ละส่วน แล้วสดัปกรณ์ รายใหญ่ ๕๐๐ รูป แลให้มีพระธรรมเทศนาเครื่องกัณฑ์กระจาดใหญ่ ซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ ให้ขุนนางในพระราชวังบวร ฯ ทำขึ้น เปนธรรมเทศนาบูชา ครั้นเพลาค่ำพระสงฆ์จะได้เจริญพระพุทธมนต์ แลพระราชทานไทยธรรมต่าง ๆ ตามสมควร ทรงพระราชอุทิศส่วน พระราชกุศล ถวายสมเด็จพระบวรราชเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ แลพระราช ทานพระราชกุศลแด่พระสัมพันธวงษ์แลพระบวรวงษ์พระวรวงษ์ทั้งหลาย อันได้บรรยายพระนามมาแล้วนั้น ให้ได้ทรงยินดีอนุโมทนาในอภิลักขิต สมัยณครั้งนี้ รับพระราชทาน พระบวรราชประวัติกถาซึ่งถวายวิสัชนามานี้ เปนเหตุให้เกิดสังเวชแลมรณสติอนิจจสัญญา แก่ผู้ที่ได้สดับแล้วมาทำใน ใจ ดังนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายที่บริบูรณ์มั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์สมบัติก็ดี ที่จน ไม่บริบูรณ์มั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์สมบัติก็ดี หมดทั้งสิ้น ย่อมมีมรณภัย เปนธรรมดา ล่วงมรณภัยไปไม่ได้ ถึงเราทั้งหลายก็มีมรณภัยเปน ธรรมดา ล่วงมรณภัยไปไม่ได้เหมือนกัน เหตุนั้นควรที่เราทั้งหลายจะ

๑๕๐ พึงยังทานศีลภาวนาบุญกุศลที่เปนที่พึ่งของตน ให้ถึงพร้อมบริบูรณ์ ด้วยดีด้วยความไม่ประมาทฝ่ายเดียวจึงจะชอบ เพราะว่าในมรณภัยนี้ สิ่งอื่นนอกจากบุญกุศลแล้วที่จะเปนที่พึ่งของตนไม่มี อนึ่งสมเด็จพระผู้ ทรงพระภาคย์เมื่อจะปรินิพพาน พระองค์ก็ได้ทรงตรัสไว้แด่ภิกษุสงฆ์ว่า วยธัม์มา สํขารา ดังนี้เปนต้น ความว่าสังขารธรรม คือ นามรูปที่ ปัจจัยประชุมแต่งทั้งสิ้น มีอันเสื่อมสิ้นไปเปนธรรมดา เปนของไม่ เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป เหตุนั้นท่านทั้งหลายจงยังศีลสมาธิปัญญา ไตรสิกขากุศลที่ให้เกิดวิบุลยผลแก่ตนให้ถึงพร้อมให้บริบูรณ์ด้วยดีด้วย ความไม่ประมาทเถิด ฯ อนึ่ง สังขาร คือ เบญจขันธที่ปัจจัยประชุม สร้างขึ้นทั้งสิ้น มีอันเกิดขึ้นเสื่อมไปเปนธรรมดาเปนของไม่เที่ยง ย่อม เกิดขึ้นแล้วดับไปไม่ถาวรยั่งยืนอยู่ได้ ความเข้ารำงับสังขารเหล่านั้น เสียสิ้นเปนศุขอย่างยิ่ง ปัญญาที่มาพิจารณาเห็นจริงว่า สังขารทั้งสิ้น เปนของไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป ไม่ถาวรยั่งยืนอยู่ได้ ดังนี้ก็ดี เห็นจริงว่า สังขารทั้งสิ้นเปนทุกข์ทนยาก เพราะอันความเกิด ดับเบียดเบียนบีบคั้นอยู่เปนนิจ แลรุ่มร้อนอยู่ด้วยเพลิงกิเลศแลเพลิง ทุกข์ดังนี้ก็ดี เห็นจริงว่าธรรมทั้งสิ้นเปนอนัตตาใช่ตัวใช่ตน ตัวตน สัตว์บุคคลไม่มี เปนแต่ขันธ์อายัตนะธาตุนามแลรูปไปหมดสิ้นดังนี้ก็ดี ปัญญาที่มาพิจารณาเห็นจริงอย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักเปนยอดในกุศลธรรม ทั้งสิ้น สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคย์ ตรัสสรรเสริญว่ามีผลอานิสงษ์ ใหญ่ยิ่งกว่าทานศีลเมตตาภาวนาพรหมวิหารหมดทั้งสิ้น เพราะวิปัสนาปัญญานี้ ย่อมเปนไปเพื่อความบริสุทธิพิเศษจากกิเลศเครื่องเศร้า

๑๕๑ หมองของสัตว์ เปนมรรคาให้บรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เพราะเหตุนั้น สมเด็จพระสุคตผู้ทรงพระภาคย์เปนผู้ฉลาดในมรรคา จึง ได้ภาสิตแสดงซึ่งทางแห่งความบริสุทธิพิเศษจากกิเลศด้วยพระคาถาทั้ง สามว่า สัพ์เพ สังขารา อนิจ์จาติ ดังนี้เปนต้น ความในคาถา ทั้งสามนั้นว่า เมื่อใดผู้มีปรีชามาเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารคือธรรมที่ ปัจจัยประชุมแต่งทั้งสิ้นไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไปฉนี้แล้ว เมื่อนั้น ผู้มีปรีชาญาณ ก็ย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ที่เปนของไม่เที่ยง ก็ ความเบื่อหน่ายในทุกข์ด้วยนิพพิทาญาณนั้น เปนมรรคาแห่งความ บริสุทธิหมดจดพิเศษจากกิเลศ เปนเหตุให้บรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพาน เมื่อใดผู้มีปรีชามาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งสิ้นเปน ทุกข์ อันสัตว์ทนยากฉนี้แล้ว เมื่อนั้นผู้มีปรีชาญาณก็ย่อมเบื่อหน่าย ในทุกข์ที่สัตว์ทนยาก ก็ความเบื่อหน่ายในทุกข์ด้วยนิพพิทาญาณนั้น เปนมรรคาแห่งความบริสุทธิหมดจดพิเศษจากกิเลศเปนเหตุให้บรรลุ มรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนฤพาน เมื่อใดผู้มีปรีชามาเห็นด้วยปัญญา ว่า ธรรมทั้งสิ้นเปนอนัตตาใช่ตัวใช่ตนไม่เปนไปในอำนาจฉนี้แล้ว เมื่อ นั้นผู้มีปรีชาญาณ ก็ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ที่ใช่ตัวใช่ตน ก็ความเบื่อ หน่ายในทุกข์ด้วยนิพพิทาญาณนั้น เปนธรรมดาแห่งความบริสุทธิ หมดจดพิเศษจากกิเลศเปนเหตุให้บรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนฤพาน สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคย์ทรงแสดงซึ่งวิปัสนาญาณว่าเปนทางแห่ง ความบริสุทธิหมดจดพิเศษจากกิเลศด้วยประการฉนี้ ก็ความบริสุทธิ หมดจดพิเศษจากกิเลศทั้งสิ้น เปนนฤพานดับเสียจากทุกข์ทั้งสิ้น

๑๕๒ นิพ์พานํ ปรมํ สุญ์ญํ นิพพานเปนธรรมสูญอย่างยิ่ง เพราะเปนธรรมสูญ จากสังขารทุกข์ทั้งสิ้น นิพ์พานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเปนศุขอย่างยิ่ง ด้วย เปนธรรมดับเครื่องรัอนคือเพลิงกิเลศเพลิงทุกข์เสียสิ้น เอเตน สัจ์จัวช์ เชน ด้วยสัจจภาสิตที่กล่าวอ้างคุณคือพระนิพพานนี้ก็ดี ด้วยอำนาจ รัตนัตยคุณานุภาพแลพระราชกุศลที่ทรงบำเพ็ญนี้ก็ดี ขอสรรพศิริ สวัสดิพิพัฒมงคลพระชนมศุภอัตถอิฏฐวิบุลยผล จงประสิทธิแด่สมเด็จ บรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทั้งพระบรมวงษานุวงษ์แลเสนามาตย์ ราชบริพาร ข้าราชการทั้งฝ่ายน่าฝ่ายใน จงถึงซึ่งความเกษมศุข สำราญนิราศปราศจากภยุปัททวันตรายทั้งสิ้น ดังพระราชหฤไทยประสงค์ทุกประการ อรหํ สัม์มาสัม์พุท์โธ ฯลฯ อิจ์เจตํ ตรนัต์ตยํ พระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ได้บรรลุถึงธรรมอันอุดมแล้ว ให้สงฆ์หมู่ใหญ่ตรัสรู้ตื่นจาก กิเลศนิทรา เบิกบานปรีชาคุณขึ้นได้ พระรัตนไตรยอุดมสูงสุดกว่ารัตนอื่น แม้ถึงต่าง ๆ กันโดยวัตถุว่า พุท์โธ ธัม์โม สํโฆ ฉนี้ ก็จริงอยู่แล ก็ แต่เปนอันเดียวกัน โดยเนื้อความ เพราะไม่พรากจากกันได้ พระพุทธ เจ้าผู้ตรัสรู้ตื่นเบิกบานได้ก่อน ก็สอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ธรรม ธรรมเล่า พระสงฆ์ได้ทรงไว้ พระสงฆ์เล่าก็เปนสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ตื่น เบิกบานได้ก่อน สามรัตนนี้ เนื่องเปนอันเดียวกันฉนี้ รัตนทั้งสามนี้ บริสุทธิสูงสุดประเสริฐในโลกย์ ย่อมเปนไปด้วยดีเพื่อความบริสุทธิ พิเศษอย่างยิ่งแก่สัตว์ผู้เลื่อมใสแล้ว ผู้ปราถนาความบริสุทธิแก่ตน


๑๕๓ ปฏิบัติโดยชอบอยู่ ความบริสุทธิหมดจดพิเศษจากกิเลศทั้งปวง เปน นฤพานดับจากทุกข์ทั้งหลาย นฤพานเปนธรรมสูญอย่างยิ่ง นฤพาน เปนศุขอย่างยิ่ง ด้วยสัจจวาจาภาสิตนี้ ขอสวัสดิศุภวิบูลยผลจงเกิด มีเปนวิบากสมบัติ ด้วยเดชานุภาพพระรัตนไตรยเปนปฏิพาหโนบาย กางกั้น ขออุปัททวันตรายอุปสัคขัดข้องทั้งหลาย จงอย่าได้ถูกต้อง พ้องพานสยามรัฐมหาชนบทนี้เลย จงนิราศบำราศไกลด้วยประการ ทั้งปวง ความศุขสำราญปราศจากโรคคันตราย แลความเปนผู้มี อายุยืนนานแลบริบูรณ์แห่งวัตถุทั้งหลาย ซึ่งจะเกื้อกูลแก่ความไม่มี โรคแลอายุยืนนั้น ทั้งศุขโสมนัศแลสวัสดิศุภผล จงเกิดมีพร้อม บริบูรณ์แด่สมเด็จพระบรมราชสมภารเจ้า กับทั้งพระบรมวงษานุวงษ์ แลข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวง ซึ่งอภิบาลบำรุงสยามรัฐมหาชนบทนี้ ขอเทพยเจ้าทั้งหลายผู้สิงสถิตย์ณสยามรัฐนี้ ซึ่งสมเด็จพระบรมราช สมภารเจ้าได้บูชา ด้วยธรรมพลีอามิศพลีเนืองนิตย์ จงตั้งไมตรีจิตร อภิบาลรักษาสมเด็จพระบรมราชสมภารเจ้า กับทั้งรัฐมณฑลทั่วทั้ง จังหวัดพระราชอาณาเขตร ให้สถาพรพ้นสรรพอันตราย สิท์ธมัต์ถุ สิท์ธมัต์ถุ สิท์ธมัต์ถุ อิทํ ผลํ สาทน เจตโส ขอผลแห่งจิตรที่เลื่อมใส ในพระรัตนไตรยอุดมวัตถุนั้น จงเปนผลสัมฤทธิ จงเปนผลสัมฤทธิ จงเปนผลสัมฤทธิ ตามพระบรม ราชประสงค์ทุกประการ เอวํก็มี ๒๐

๑๕๔ พระนามพระโอรสธิดา ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท รัชกาลที่ ๑ ประสูตรก่อนอุปราชาภิเศก

๑ เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง ประสูตรปีระกานพศก จุลศักราช ๑๑๓๙ พ.ศ. ๒๓๒๐ เจ้ารจจา น้องพระเจ้ากาวิละเมืองเชียงใหม่เปนพระมารดา ใน รัช กาลที่ ๑ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมขุนศรีสุนทร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีมเมีย จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ ๒ พระองค์เจ้าชายลำดวน ประสูตรปีกุญเอกศก จุลศักราช ๑๑๔๑ พ.ศ. ๒๓๒๒ เจ้าจอมมารดาขะ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ๓ พระองค์เจ้าหญิงเกสร ประสูตรปีกุญเอกศก จุลศักราช ๑๑๔๑ พ.ศ. ๒๓๒๒ เจ้าจอมมารดาแก้ว สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๔ พระองค์เจ้าชายอินทปัต ประสูตรปีชวดโทศก จุลศักราช ๑๑๔๒ พ.ศ. ๒๓๒๓

๑๕๕ เจ้าจอมมารดาตัน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ๕ พระองค์เจ้าชายก้อนแก้ว ประสูตรปีฉลูตรีศก จุลศักราช ๑๑๔๓ พ.ศ. ๒๓๒๔ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาล่า สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๖ พระองค์เจ้าชายช้าง ประสูตรปีฉลูตรีศก จุลศักราช ๑๑๔๓ พ.ศ. ๒๓๒๔ เจ้าจอมมารดาปุย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ประสูตรเมื่ออุปราชาภิเศกแล้ว

๗ พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ ประสูตรปีเถาะเบญจศก จุล ศักราช ๑๑๔๕ พ.ศ. ๒๓๒๖ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาฉิม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ๘ พระองค์เจ้าชายอสนี ประสูตรปีเถาะเบญจศก จุลศักราช ๑๑๔๕ พ.ศ. ๒๓๒๖ เจ้าจอมมารดาขำ ในรัชกาลที่ ๑ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นเสนีเทพ เมื่อณวันอังคาร เดือน ๙ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมโรงสัมฤทธิศก

๑๕๖ จุลศักราช ๑๑๗๐ พ.ศ. ๒๓๕๑ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๙ พระองค์เจ้าหญิงโกมล ประสูตรปีเถาะเบญจศก จุลศักราช ๑๑๔๕ พ.ศ. ๒๓๒๖ เจ้าจอมมารดาแก้วศาลาลอย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๑๐ พระองค์เจ้าหญิงบุนนาค ประสูตรปีมเสงสัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ เจ้าจอมมารดามา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๑๑ พระองค์เจ้าหญิงดาราวดี ประสูตรปีมเสงสัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาน้อย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๑๒ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีมเสงสัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ เจ้าจอมมารดาสุวรรณา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๑๓ พระองค์เจ้าหญิงโกสุม ประสูตรปีมเสงสัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ เจ้าจอมมารดาพ่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ๑๕๗ ๑๔ พระองค์เจ้าหญิงกำภูฉัตร ประสูตรปีมเมียอัฐศก จุล ศักราช ๑๑๔๘ พ.ศ. ๒๓๒๙ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดานักองค์อี ธิดาสมเด็จพระอุไทยราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๑๕ พระองค์เจ้าหญิงปัทมราช ประสูตรปีมแมนพศก จุลศักราช ๑๑๔๙ พ.ศ. ๒๓๓๐ เจ้าจอมมารดานุ้ย ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช พัฒน์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๑๖ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีมแมนพศก จุลศักราช ๑๑๔๙ พ.ศ. ๒๓๓๐ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาฉิม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ๑๗ พระองค์เจ้าชายมั่ง ประสูตรปีชวดสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๕๐ พ.ศ. ๒๓๓๑ เจ้าจอมมารดาเกษ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๑๘ พระองค์เจ้าชายสิงหราช ประสูตรปีชวดสัมฤทธิศก จุล ศักราช ๑๑๕๐ พ.ศ. ๒๓๓๑ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาล่า สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๑๕๘ ๑๙ พระองค์เจ้าหญิงกลัด ประสูตรปีระกาเอกศก จุลศักราช ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒ เจ้าจอมมารดามีใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๒๐ พระองค์เจ้าหญิงฉิมพลี ประสูตรปีระกาเอกศก จุลศักราช ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒ เจ้าจอมมารดางิ้ว สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ๒๑ พระองค์เจ้าชายสังกะทัต ประสูตรปีระกาเอกศก จุลศักราช ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาฉิม ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นรานุชิต ครั้นรัชกาลที่ ๔ เลื่อนเปนกรมขุนนรานุชิต สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๒๒ พระองค์เจ้าหญิงแก้ว ประสูตรปีระกาเอกศก จุลศักราช ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒ เจ้าจอมมารดาแจ่ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ๒๓ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดานักองค์เภา ธิดาสมเด็จพระอุไทยราชา

๑๕๙ พระเจ้ากรุงกัมพูชา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ๒๔ พระองค์เจ้าหญิงศรีสุดาอับศร ประสูตรปีกุญตรีศก จุล ศักราช ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ เจ้าจอมมารดาเพ็ง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๒๕ พระองค์เจ้าหญิงลมุด ประสูตรปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ เจ้าจอมมารดามีน้อย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ณวัน ๒ เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๒๓๖ พ.ศ. ๒๔๑๗ ๒๖ พระองค์เจ้าชายบัว ประสูตรปีชวดจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดานักองค์เภา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๒๗ พระองค์เจ้าหญิงปุก ประสูตรปีชวดจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดานักองค์เภา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ๒๘ พระองค์เจ้าหญิงดุษฎี ประสูตรปีชวดจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕

๑๖๐ เจ้าจอมมารดาเสม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๒๙ พระองค์เจ้าชายสุก ประสูตรปีชวดจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕ เจ้าจอมมารดาเอม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๓๐ พระองค์เจ้าชายเพ็ชรหึง ประสูตรปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖ เจ้าจอมมารดาชู สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ๓๑ พระองค์เจ้าหญิงวงษ์มาลา ประสูตรปีฉลูเบญจศก จุล ศักราช ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดานักองค์อี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๓๒ พระองค์เจ้าหญิงกนิษฐา ประสูตรปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาน้อย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๓๓ พระองค์เจ้าหญิงกำพร้า ประสูตรปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ เจ้าจอมมารดาบับภา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ๑๖๑ ๓๔ พระองค์เจ้าหญิงกลิ่น ประสูตรปีขาลฉลก จุลศักราช ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ เจ้าจอมมารดาภู่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๓๕ พระองค์เจ้าหญิงรุ่ง ประสูตรปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ เจ้าจอมมารดาพลับจีน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๓๖ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ เจ้าจอมมารดาล้อม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ๓๗ พระองค์เจ้าชายนพเก้า ประสูตรปีเถาะสัปตศก จุลศักราช ๑๑๕๗ พ.ศ. ๒๓๓๘ เจ้าจอมมารดาสวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๓๘ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีเถาะสัปตศก จุลศักราช ๑๑๕๗ พ.ศ. ๒๓๓๘ เจ้าจอมมารดาตุ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๓๙ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีมโรงอัฐศก จุลศักราช ๑๑๕๘ พ.ศ. ๒๓๓๙ ๒๑ ๑๖๒ เจ้าจอมมารดาทรัพย์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ๔๐ พระองค์เจ้าชายสุด ประสูตรปีมเสงนพศก จุลศักราช ๑๑๕๙ พ.ศ. ๒๓๔๐ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาน้อย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ๔๑ พระองค์เจ้าชายเณร ประสูตรปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓ เจ้าจอมมารดาไผ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เปนต้นสกุล นีรสิงห์ ณกรุงเทพ ๔๒ พระองค์เจ้าชายหอย ประสูตรปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาตานี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ๔๓ พระองค์เจ้าชายแตน ประสูตรปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาตานี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ประสูตรมาแต่ในแผ่นดินตาก ๖ พระองค์ ประสูตรใน วังน่า ๓๗ พระองค์ รวม ๔๓ พระองค์

๑๖๓ พระนามพระโอรสธิดา ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ รัชกาลที่ ๒ ประสูตรก่อนอุปราชาภิเศก

๑ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาสำลี ๆ เปนธิดาพระเจ้ากรุงธนบุรี สิ้น พระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ๒ พระองค์เจ้าชายประยงค์ ประสูตรปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาน่วม ในรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นธิเบศร์บวร ในรัชกาลที่ ๔ เลื่อนกรม เปนกรมขุนธิเบศร์บวร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เปนต้นสกุลบรรยงกะเสนา ณ กรุงเทพ ๓ พระองค์เจ้าหญิงประชุมวงษ์ ประสูตรปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาสำลี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔


๑๖๔ ๔ พระองค์เจ้าชายปาน ประสูตรปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาน่วม ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นอมรมนตรี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๕ พระองค์เจ้าหญิงนัดดา ประสูตรปีมโรงอัฐศก จุลศักราช ๑๑๕๘ พ.ศ. ๒๓๓๙ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาสำลี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๖ พระองค์เจ้าหญิงขนิษฐา ประสูตรปีมเมียสัมฤทธิศก จุล ศักราช ๑๑๖๐ พ.ศ. ๒๓๔๑ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพฤหัศบดี เดือน ๒ แรม ๕ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ พ.ศ. ๒๔๑๙ พระชัณษา ๗๙ ปี ๗ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีมแมเอกศก จุลศักราช ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒ ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ๘ พระองค์เจ้าชายพงษ์อิศเรศ ประสูตรปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓


๑๖๕ ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตรเปนกรมหมื่นกระษัตริย์ ศรีศักดิเดช เมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๖ แรม ๑๓ ค่ำ ปีจอจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๒๔ พ.ศ. ๒๔๐๕ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อเดือน ๘ อุตราสาธ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖ พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็นต้นสกุลอิศรเสนา ณกรุงเทพ ๙ พระองค์เจ้าหญิงสุวรรณ ประสูตรปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาก้อนทอง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๑๐ พระองค์เจ้าชายไม้เทศ ประสูตรปีจอจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕ เจ้าจอมมารดาเหมใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ๑๑ พระองค์เจ้าชายภุมริน ประสูตรปีจอจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๑๒ พระองค์เจ้าหญิงอำพัน ประสูตรปีกุญเบญจศก จุลศักราช ๑๑๖๕ พ.ศ. ๒๓๔๖ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาปิ่น ๑๖๖ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันพุฒ เดือน ๓ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมเสงตรีศก จุลศักราช ๑๒๔๓ พ.ศ. ๒๔๒๔ พระชัณษา ๗๙ ปี ๑๓ พระองค์เจ้าภุมเรศ ประสูตรปีกุญเบญจศก จุลศักราช ๑๑๖๕ พ.ศ. ๒๓๔๖ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์ ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นอมเรศรัศมี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ๑๔ พระองค์เจ้าหญิงนฤมล ประสูตรปีชวดฉศก จุลศักราช ๑๑๖๖ พ.ศ. ๒๓๔๗ ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดาสำลี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๑๕ พระองค์เจ้าหญิงงาม ประสูตรปีขาลอัฐศก จุลศักราช ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาก้อนทอง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๑๖ พระองค์เจ้าชายเสือ ประสูตรปีขาลอัฐศก จุลศักราช ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙ ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เปนต้นสกุลพยัคฆเสนา ณกรุงเทพ

๑๖๗ ๑๗ พระองค์เจ้าชายใย ประสูตรปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๑๖๙ พ.ศ. ๒๓๕๐ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาศิลา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๑๘ พระองค์เจ้าชายกระต่าย ประสูตรปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๑๖๙ พ.ศ. ๒๓๕๐ ที่ ๖ ในเจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๑๙ พระองค์เจ้าชายทับทิม ประสูตรปีมโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๗๐ พ.ศ. ๒๓๕๑ เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๒๐ พระองค์เจ้าหญิงมณฑา ประสูตรปีมเสงเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒ ที่ ๗ ในเจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๒๑ พระองค์เจ้าชายฤกษ์ ประสูตรณวันพฤหัศบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมเสงเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ทรงผนวชเปนสามเณรมาแต่ในรัชกาลที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๓ ได้ เปนพระราชาคณะ สถิตย์ณวัดบวรนิเวศน์ ครั้นรัชกาลที่ ๔ ได้


๑๖๘ ทรงรับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ ฯ ครั้น รัชกาลที่ ๕ ได้เลื่อนพระยศเปนพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระ ปวเรศวริยาลงกรณ์ ฯ ต่อมาได้ทรงรับมหาสมณุตมาภิเศกเปน สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ฯ ดำรงพระเกียรติเปน สมเด็จพระมหาสังฆปรินายกทั่วทั้งพระราชอาณาเขตร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๒๘ กันยายน (ตรงกับ ณวัน ๔ ๑๑ ค่ำ ปีมโรงจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๕๔) พ.ศ. ๒๔๓๕ พระชัณษา ๘๓ ปี ประสูตรเมื่อุปราชาภิเศกแล้ว

๒๒ พระองค์เจ้าชายแฝด ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์ สิ้นพระชนม์ในวันประสูตร ๒๓ พระองค์เจ้าหญิงแฝด ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์ สิ้นพระชนม์ในวันประสูตร ๒๔ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาศิลา

๑๖๙ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ๒๕ พระองค์เจ้าหญิงปทุเมศ ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ๒๖ พระองค์เจ้าหญิงเกสร ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาปิ่น สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ๒๗ พระองค์เจ้าชายชุมแสง ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ เจ้าจอมมารดาเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เปนต้นเหตุสกุลสหาวุธ ณกรุงเทพ ๒๘ พระองค์เจ้าชายสาททิพากร ประสูตรปีมเมียโทศก จุล ศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๒๙ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาม่วง ๓๐ พระองค์เจ้าหญิงนุ่ม ประสูตรปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔ ๒๒ ๑๗๐ เจ้าจอมมารดานิ่ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ ณ วันพฤหัศบดี เดือน ๗ แรม ๑๒ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๒๔๐ พ.ศ. ๒๔๒๑ ๓๑ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีวอกจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๗๔ พ.ศ. ๒๓๕๕ เจ้าจอมมารดานก (ซึ่งภายหลังเปนท้าวสมศักดิ) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ๓๒ พระองค์เจ้าชายยุคันธร ประสูตรปีวอกจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๗๔ พ.ศ. ๒๓๕๕ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นอนันตการ ฤทธิ เมื่อณวันจันทร์เดือน อ้ายขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้ว่ากรมช่างทหารในญวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เปนต้นสกุลยุคันธร ณกรุงเทพ ๓๓ พระองค์เจ้าชายสีสังข์ ประสูตรปีระกาเบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเอื่ยม เปนต้นสกุลสีสังข์ ณกรุงเทพ ๓๔ พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ ประสูตรปีรกาเบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖ ๑๗๑ เจ้าจอมมารดาศรี ธิดาเจ้าเวียงจันท์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ๓๕ พระองค์เจ้าชายรัชนิกร ประสูตรปีจอฉศก จุลศักราช ๑๑๗๖ พ.ศ. ๒๓๕๗ เจ้าจอมมารดาพลับ (จินตหรา) สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๔ เปนต้นสกุลรัชนิกร ณกรุงเทพ ๓๖ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีจอฉศก จุลศักราช ๑๑๗๖ พ.ศ. ๒๓๕๗ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๓๗ พระองค์เจ้าชายทัดทรง ประสูตรปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙ เจ้าจอมมารดาแจ่ม ๓๘ พระองค์เจ้าชายรองทรง ประสูตรปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙ เจ้าจอมมารดาภู่ (อิเหนา) ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นสิทธิสุขุมการ เมื่อณวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๙ ค่ำ ปีเถาะนพศก จุล ศักราช ๑๒๒๙ พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้ทรงบังคับการโรงทอง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ ณ วันพฤหัศบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำ

๑๗๒ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ พ.ศ. ๒๔๑๙ พระชัณษา ๖๑ ปี เปนต้นสกุลรองทรง ณกรุงเทพ ๓๙ พระองค์เจ้าชายสุดวอน ประสูตรปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐ เจ้าจอมมารดามี (บุษบา) สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๓ ๔๐ พระองค์เจ้าหญิงสุดศาลา ประสูตรปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ประสูตรเมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนกรมขุนเสนานุรักษ์ ๑๔ พระองค์ ประสูตรเมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนพระบัณฑูรน้อย ๗ พระองค์ ประสูตรเมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนกรมพระราชวังบวร สถานมงคล ๑๙ พระองค์ รวม ๔๐ พระองค์




๑๗๓ พระนามพระโอรสธิดา ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ รัชกาลที่ ๓ ประสูตรเมื่อก่อนอุปราชาภิเศก ๑ พระองค์เจ้าหญิงอรุณ ประสูตรณวัน ๑๑๑ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จุลศักราช ๑๑๖๗ พ.ศ. ๒๓๔๘ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาน้อย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ณวัน ๒ ค่ำ ปีรกาสัปตศก จุลศักราช ๑๒๔๗ พ.ศ. ๒๔๒๘ ๒ พระองค์เจ้าหญิงสำอาง ประสูตรณวัน ๗ ๖ ค่ำ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๑๖๙ พ.ศ. ๒๓๕๐ เจ้าจอมมารดาคุ้มใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ณวัน ๑ ๖ ค่ำ ปีมเสงเอกศก จุลศักราช ๑๒๓๑ พ.ศ. ๒๔๑๒ ๓ พระองค์เจ้าชายสว่าง ประสูตรณวัน ๒ ๑๐ ค่ำ ปีกุญสัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ พ.ศ. ๒๓๕๘ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดางิ้ว สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ณวัน ๓ ๓ ค่ำ ปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔

๑๗๔ ๔ พระองค์เจ้าหญิงอัมพร ประสูตรณวัน ๑ ๑ ค่ำ ปีกุญสัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ พ.ศ. ๒๓๕๘ เจ้าจอมมารดาแสง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ.๒๓๖๐ ๕ พระองค์เจ้าหญิงสังวาล ประสูตรณวัน ๒ ๘ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเฟือง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ณวัน ๒ ๖ ค่ำ ปีมโรงโทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ พ.ศ. ๒๔๒๓ ๖ พระองค์เจ้าชายกำภู ประสูตรณวัน ๕ ๖ ค่ำ ปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ.๒๓๖๐ เจ้าจอมมารดาคำ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ พ.ศ. ๒๔๑๙ เปนต้นสกุลกำภู ณกรุงเทพ ๗ พระองค์เจ้าชายกัมพล ประสูตรณวัน ๖ ๗ ค่ำ ปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาตานี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ปีมแมเบญจศก จุลศักราช ๑๑๘๕ พ.ศ. ๒๓๖๖ ๘ พระองค์เจ้าชายอุไทย ประสูตรณวัน ๓ ๙ ค่ำ ปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐ ๑๗๕ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดางิ้ว สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ณวัน ๖ ๘ ค่ำ ปีระกาเอกศก จุลศักราช ๑๒๑๑ พ.ศ. ๒๓๙๒ ๙ พระองค์เจ้าชายเกษรา ประสูตรณวัน ๑ ๑๑ ค่ำ ปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ ๒๓๖๐ เจ้าจอมมารดาคุ้มเล็ก ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นอานุภาพ พิศาลศักดิ เมื่อณวัน ๕๔ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ พ.ศ. ๒๔๐๘ สิ้นพระชนม์ในรัช กาลที่ ๕ ณวัน ๑ เดือน ๑๐ แรม ๑๒ ค่ำปีระกา เบญจ ศก จุลศักราช๑๒๓๕ พ.ศ. ๒๔๑๖ ๑๐ พระองค์เจ้าชายเนตร ประสูตรณวัน ๕ ๑๒ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๘๐ พ.ศ. ๒๓๖๑ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเฟือง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ปีมเมียฉศก จุลศักราช ๑๑๙๖ พ.ศ. ๒๓๗๗ ๑๑ พระองค์เจ้าชายขจร ประสูตรณวัน ๑๕ ค่ำ ปีมโรงโทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ.๒๓๖๓ เจ้าจอมมารดานิ่ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ณวัน ๔ ๓ ค่ำ ปีมเมียฉศก จุลศักราช ๑๑๙๖ พ.ศ. ๒๓๗๗ ๑๗๖ ๑๒ พระองค์เจ้าชายอิศราพงษ์ ประสูตรณวัน ๕ ๑๒ ค่ำ ปีมโรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓ พระองค์เจ้าดาราวดี ในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ เปนพระมารดา ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนเจ้า ฟ้าอิศราพงษ์ เมื่อณวัน ๕ เดือน ๑๒ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ณวัน ๓ ๑๑ ค่ำ ปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔ เปนต้นสกุล อิศรศักดิ์ ณกรุงเทพ ๑๓ พระองค์เจ้าหญิงอัมพา ประสูตรณวัน ๕ ๘ ค่ำ ปีมเสงตรีศก จุลศักราช ๑๑๘๓ พ.ศ. ๒๓๖๔ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาฉิมสิงหฬ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ปีมแมเบญจศก จุลศักราช ๑๑๘๕ พ.ศ. ๒๓๖๖ ๑๔ พระองค์เจ้าชายนุช ประสูตรณวัน ๑ ๑๑ ค่ำ ปีมเสงตรีศก จุลศักราช ๑๑๘๓ พ.ศ. ๒๓๖๔ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาเฟือง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ณวัน ๔ ๑๑ ค่ำ ปีจอฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖ พ.ศ. ๒๔๑๗


๑๗๗ เปนต้นสกุลอนุชะศักดิ์ ณกรุงเทพ ๑๕ พระองค์เจ้าชายแฉ่ง ประสูตรณวัน ๖ ๖ ค่ำ ปีมเมียจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ พ.ศ. ๒๓๖๕ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดางิ้ว สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ปีมโรงฉศก จุลศักราช ๑๒๐๖ พ.ศ. ๒๓๘๗

ประสูตรเมื่ออุปราชาภิเศกแล้ว ๑๖ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรณวัน ๔ ๑ ค่ำ ปีวอกฉศก จุล ศักราช ๑๑๘๖ พ.ศ.๒๓๖๗ เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ปีกุญนพศก จุลศักราช ๑๑๘๙ พ.ศ. ๒๓๗๐ ๑๗ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรณวัน ๖ ค่ำ ปีรกาสัปตศก จุล ศักราช ๑๑๘๗ พ.ศ. ๒๓๖๘ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาฉิมสิงหฬ สิ้นพระชนม์ในวันประสูตร ๑๘ พระองค์เจ้าชาย (ป๊อก) ประสูตรณวัน ๒ ๕ ค่ำ ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๑๑๙๑ พ.ศ. ๒๓๗๒ เจ้ามารดาเอม ๒๓ ๑๗๘ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ณวัน ๗ ๗ ค่ำ ปีมเมียจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๔๔ พ.ศ. ๒๔๒๕ ๑๙ พระองค์เจ้าบันเทิง ประสูตรณวัน ๒ ๕ ค่ำ ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๑๑๙๑ พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้เปนพระชายา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เจ้าจอมมารดาภู สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ๒๐ พระองค์เจ้าชายอินทวงษ์ ประสูตรณวัน ๑ ๘ ค่ำ ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๑๑๙๑ พ.ศ. ๒๓๗๒ เจ้าจอมมารดาพัน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ณวัน ๖ ๘ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘ ประสูตรมาแต่วังนอก ๑๕ พระองค์ ประสูตรในวังน่า ๕ พระองค์ รวม ๒๐ พระองค์




๑๗๙ พระนามพระเจ้าลูกเธอ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูตรเมื่อก่อนบวรราชาภิเศก ๑ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีมแมสัปตศก จุลศักราช ๑๑๙๗ พ.ศ. ๒๓๗๘ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเอม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๒ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรณวัน ๕ ๑๐ ค่ำ ปีระกานพศก จุล ศักราช ๑๑๙๙ พ.ศ.๒๓๘๐ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดามาไลย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๓ พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร ประสูตร ณวัน ๕ ๑๐ ค่ำ ปีจอสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๐๐ พ.ศ. ๒๓๘๑ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นบวรวิไชย ชาญ เมื่อณวัน ๖ ๔ ค่ำปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔



๑๘๐ ถึงรัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานอุปราชาภิเศก เปนกรมพระราชวัง บวรสถานมงคล ทิวง คตในรัชกาลที่ ๕ ณวัน ๖ ๙ ค่ำ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ ๔ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรณวัน ๑ ๑๐ ค่ำ ปีจอสัมฤทธิศก จุล ศักราช ๑๒๐๐ พ.ศ. ๒๓๘๑ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดากุหลาบ ๕ พระองค์เจ้าหญิงดวงประภา ประสูตรณวัน ๕ ๓ ค่ำ ปีจอ สัมฤทธิศก จุลศัราช ๑๒๐๐ พ.ศ. ๒๓๘๑ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดามาไลย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ วันที่ ๒ เมษายน ร.ศ. ๑๑๔ พ.ศ. ๒๔๓๘ ๖ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตร ณ วัน ๖ ๔ ค่ำ ปีจอสัมฤทธิศก จุล ศักราช ๑๒๐๐ พ.ศ.๒๓๘๑ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาตาด ๗ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีกุญเอกศก จุลศักราช ๑๒๐๑ พ.ศ. ๒๓๘๒ เจ้าจอมมารดาใย ๘ พระองค์เจ้าหญิงบุปผา ประสูตรณวัน ๑ ฯ ๘ ค่ำ ปีกุญเอกศก จุลศักราช ๑๒๐๑ พ.ศ. ๒๓๘๒ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดากลีบ


๑๘๑ ๙ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีกุญเอกศก จุลศักราช ๑๒๐๑ พ.ศ. ๒๓๘๒ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาบาง ๑๐ พระองค์เจ้าชายสุธารศ ประสูตรณวัน ๒ ๙ ค่ำ ปีชวดโทศก จุลศักราช ๑๒๐๒ พ.ศ. ๒๓๘๓ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดากุหลาบ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๑๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๒ พ.ศ. ๒๔๓๖ ๑๑ พระองค์เจ้าหญิงสุดาสวรรค์ ประสูตรณวัน ๔ ๙ ค่ำ ปีชวด โทศก จุลศักราช ๑๒๐๒ พ.ศ. ๒๓๘๓ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดามาไลย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อณวันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๓๑ พ.ศ. ๒๔๕๕ ๑๒ พระองค์เจ้าชายวรรัตน ประสูตรณวัน ๗ ๖ ค่ำ ปีฉลูตรีศก จุล ศักราช ๑๒๐๓ พ.ศ. ๒๓๘๔ เจ้าจอมมารดาเกด ในรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ เมื่อณวันอาทิตย์ เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ำ ปีมเสงตรีศก จุล ศักราช ๑๒๔๓ พ.ศ. ๒๔๒๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๒๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๕ พ.ศ. ๒๔๔๙ เปนต้นสกุลวรรัตน ณกรุงเทพ ๑๘๒ ๑๓ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีฉลูตรีศก จุลศักราช ๑๒๐๓ พ.ศ. ๒๓๘๔ เจ้าจอมมารดาบัว ๑๔ พระองค์เจ้าหญิงตลับ ประสูตรปีฉลูตรีศก จุลศักราช ๑๒๐๓ พ.ศ. ๒๓๘๔ ที่ ๒ เจ้าจอมมารดากลีบ ๑๕ พระองค์เจ้าชายปรีดา ประสูตรณวัน ๑ ฯ ๘ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๐๔ พ.ศ. ๒๓๘๕ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาเอม ๑๖ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรณวัน ๗ ๕ ค่ำ ปีมโรงฉศก จุล ศักราช ๑๒๐๖ พ.ศ.๒๓๘๗ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาบาง ๑๗ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีมโรงฉศก จุลศักราช ๑๒๐๖ พ.ศ. ๒๓๘๗ ที่ ๑ ใน เจ้าจอมมารดาเพื่อน ๑๘ พระองค์เจ้าชายภาณุมาศ ประสูตรณวัน ๗ ๑๒ ค่ำ ปีมเสง สัปตศก จุลศักราช ๑๒๐๗ พ.ศ. ๒๓๘๘ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวัน ๗ ๙ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ พ.ศ. ๒๔๓๑ เปนต้นสกุลภานุมาศ ณกรุงเทพ


๑๘๓ ๑๙ พระองค์เจ้าชายหัศดินทร์ ประสูตรณวัน ๓ ๑๒ ค่ำ ปีมเสง สัปตศก จุลศักราช ๑๒๐๗ พ.ศ. ๒๓๘๘ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดารหนู ในรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระสุพรรรณบัตร เปนกรมหมื่นบริรักษ์ นรินทร์ฤทธิ์ เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๒ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมเสงตรีศก จุลศักราช ๑๒๔๓ พ.ศ. ๒๔๒๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวัน ๗ ๙ ค่ำ ปีจออัฐศก จุลศักราช ๑๒๔๘ พ.ศ.๒๔๒๙ ๒๐ พระองค์เจ้าชายเนาวรัตน ประสูตรณวัน ๓ ๔ ค่ำ ปีมเสง สัปตศก จุลศักราช ๑๒๐๗ พ.ศ. ๒๓๘๘ ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นสถิตย์ธำรง สวัสดิ เมื่อณวันศุกร เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมเสงตรีศก จุล ศักราช ๑๒๔๓ พ.ศ. ๒๔๒๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ เปนต้นสกุลนวรัตน ณกรุงเทพ ๒๑ พระองค์เจ้าชายเบญจางค์ ประสูตรณวัน ๖ ๔ ค่ำ ปีมเสงตรี ศก จุลศักราช ๑๒๐๗ พ.ศ. ๒๓๘๘ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเพื่อน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวัน ๒ ๒ ค่ำ ปีชวดอัฐศก พ.ศ. ๒๔๑๙ ๑๘๔ ๒๒ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีมแมนพศก จุลศักราช ๑๒๐๙ พ.ศ. ๒๓๙๐ เจ้าจอมมารดาด๊า ๒๓ พระองค์เจ้าชายยุคุนธร ประสูตรณวัน ๒ ๘ ค่ำ ปีวอกสัมฤทธิ ศก จุลศักราช ๑๒๑๐ พ.ศ. ๒๓๙๑ เจ้าจอมมารดาแย้ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ๒๔ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีวอกสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๑๐ พ.ศ. ๒๓๙๑ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดากลีบ ๒๕ พระองค์เจ้าหญิงราษี ประสูตรณวัน ๗ ๑๒ ค่ำ ปีวอกสัมฤทธิ ศก จุลศักราช ๑๒๑๐ พ.ศ. ๒๓๙๑ เจ้าจอมมารดาเยียง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๘ พ.ศ. ๒๔๔๒ ๒๖ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีระกาเอกศก จุลศักราช ๑๒๑๑ พ.ศ. ๒๓๙๒ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม ๒๗ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีรกาเอกศกจุลศักราช ๑๒๑๑ พ.ศ. ๒๓๙๒ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาด๊า


๑๘๕ ๒๘ พระองค์เจ้าชายประสูตรปีรกาเอกศก จุลศักราช ๑๒๑๑ พ.ศ. ๒๓๙๒ เจ้าจอมมารดาเท้ย ๒๙ พระองค์เจ้าชายกระจ่าง ประสูตรณวัน ๔ ๑๐ ค่ำ ปีระกาเอก ศก จุลศักราช ๑๒๑๑ พ.ศ. ๒๓๙๒ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาเพื่อน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ๓๐ พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์ ประสูตรณวัน ๓ ค่ำ ปีจอโทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ พ.ศ. ๒๓๙๓ ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดาเอม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อณวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ๓๑ พระองค์เจ้าชายวัชรินทร์ ประสูตรปีจอโทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ พ.ศ. ๒๓๙๓ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาตาด ๓๒ พระองค์เจ้าหญิงจำเริญ ประสูตรณวัน ๓ ค่ำ ปีจอโทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ พ.ศ. ๒๓๙๓ ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดากลีบ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๑๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๖ พ.ศ. ๒๔๕๐ ๓๓ พระองค์เจ้าหญิงถนอม ประสูตรณวัน ๔ค่ำ ปีจอโทศก จุล ศักราช ๑๒๑๒ พ.ศ. ๒๓๙๓ เจ้าจอมมารดาพัน ๒๔

๑๘๖ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวัน ๓๑๒ ค่ำ ปีระกาสัปตศก จุลศักราช ๑๒๔๗ พ.ศ. ๒๔๒๘ ประสูตรเมื่อบวรราชาภิเศกแล้ว ๓๔ พระองค์เจ้าชายโตสินี ประสูตรณวัน ๗ ๑๒ ค่ำ ปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔ ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดากลีบ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อณวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๘ เปนต้นสกุลโตษะณีย์ ณกรุงเทพ ๓๕ พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณวงษ์ ประสูตรวัน ๒ ๙ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ พ.ศ. ๒๓๙๖ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาขลิบ ในรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระสุพรรณบัตรเปนกรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร เมื่อณวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๖ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อณวันที่ ๑๓ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๕๖ ๓๖ พระองค์เจ้าชายนันทวัน ประสูตรณวัน ๓ ๑๑ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ พ.ศ. ๒๓๙๖ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาหนู สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๒ เมษายน ร.ศ. ๑๑๐ พ.ศ. ๒๔๓๔ เปนต้นสกุลนันทวัน ณกรุงเทพ


๑๘๗ ๓๗ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ พ.ศ. ๒๓๙๖ เจ้าจอมมารดาจัน ๓๘ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ พ.ศ. ๒๓๙๖ ที่ ๖ ในเจ้าจอมมารดากลีบ ๓๙ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๒๑๖ พ.ศ. ๒๓๙๗ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาพลับ ๔๐ พระองค์เจ้าชายวัฒนา ประสูตรณวัน ๗ ๑ ค่ำ ปีขาลฉศก จุล ศักราช ๑๒๑๖ พ.ศ.๒๓๙๗ เจ้าจอมมารดาลำภู ๔๑ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๒๑๖ พ.ศ. ๒๓๙๗ ที่ ๗ ในเจ้าจอมมารดากลีบ ๔๒ พระองค์เจ้าหญิงภัควดี ประสูตรณวัน ๒ ๕ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘ เจ้าจอมมารดาพลอย ๔๓ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีเถาะสัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาช้อย


๑๘๘ ๔๔ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีเถาะสัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘ ที่ ๘ ในเจ้าจอมมารดากลีบ ๔๕ พระองค์เจ้าหญิงวรภักตร์ ประสูตรณวัน๑๑๒ ค่ำปีเถาะสัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘ เจ้าจอมมารดาส่าน ๔๖ พระองค์เจ้าหญิงวิไลยทรงกัลยา ประสูตรณวัน ๒ ๒ ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาขลิบ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ๔๗ พระองค์เจ้าหญิงเฉิดโฉม ประสูตรณวัน ๗ ๕ ค่ำ ปีมโรง อัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙ เจ้าจอมมารดาสีดา ๔๘ พระองค์เจ้าหญิงประโลมโลกย์ ประสูตรณวัน ๗ ๗ ค่ำ ปีมโรง อัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙ เจ้าจอมมารดาแก้ว สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๒๕ มกราคม ร.ศ. ๑๑๙ พ.ศ. ๒๔๔๓ ๔๙ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีมโรงอัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาพลับ ๑๘๙ ๕๐ พระองค์เจ้าชายพรหเมศ ประสูตรณวัน ๔ ๙ ค่ำ ปีมโรงอัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙ เจ้าจอมมารดาพรหมา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ๕๑ พระองค์เจ้าหญิงโศกส่าง ประสูตรณวัน ๕ ๑๐ ค่ำ ปีมโรง อัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙ เจ้าจอมมารดาหงษ์ ๕๒ พระองค์เจ้าหญิงพิมพับศรสร้อย ประสูตรณวัน ๔ ๑ ปีมโรง อัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาวันดี ๕๓ พระองค์เจ้าชายจรูญโรจน์เรืองศรี ประสูตรณวัน ๓ ๔ ค่ำ ปี มโรงอัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาช้อย ในรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นจรัสพรปฏิ ภาณเมื่อณวันพุฒที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๙ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๒๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๖ เปนต้นสกุลจรูญโรจน์ ณกรุงเทพ ๕๔ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีมเสงนพศก จุลศักราช ๑๒๑๙ พ.ศ. ๒๔๐๐ ที่ ๙ ในเจ้าจอมมารดากลีบ ๕๕ พระองค์เจ้าชายสนั่น ประสูตรณวัน ๗ ๑๐ ค่ำ ปีมเสงนพศก จุลศักราช ๑๒๑๙ พ.ศ. ๒๔๐๐ ๑๙๐ เจ้าจอมมารดาอ่อน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อณวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๖ ๕๖ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีมเสงนพศก จุลศักราช ๑๒๑๙ พ.ศ. ๒๔๐๐ ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาช้อย ๕๗ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีมเมียสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๒๐ พ.ศ. ๒๔๐๑ เจ้าจอมมารดาสายบัว ๕๘ พระองค์เจ้าหญิงสอางองค์ ประสูตรณวัน ๕ ๒ ค่ำปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๒๒๒ พ.ศ. ๒๔๐๓ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาวันดี ประสูตรก่อนบวรราชาภิเศก ๓๓ พระองค์ ประสูตรใน วังน่า ๒๕ พระองค์ รวม ๕๘ พระองค์





๑๙๑ พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ รัชกาลที่ ๕ ประสูตรก่อนอุปราชาภิเศก ๑ - ๒ พระองค์เจ้าชายแฝด ประสูตรปีมเสงนพศก จุลศักราช ๑๒๑๙ พ.ศ. ๒๔๐๐ จอมมารดาหม่อมหลวงปริก สิ้นพระชนม์ปีเดียวกัน ๓ พระองค์เจ้าหญิงปฐมพิศมัย ประสูตรณวัน ๕ ๙ ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๒๔ พ.ศ. ๒๔๐๕ จอมมารดากรุด สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณ วันอาทิตย์ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๔๐ พ.ศ. ๒๔๒๑ ประสูตรเมื่ออุปราชาภิเศกแล้ว ๔ พระองค์เจ้าชายวิไลยวรวิลาศ ประสูตรณวัน ๔ ๕ ปีมเสง เอกศก จุลศักราช ๑๒๓๑ พ.ศ. ๒๔๑๒ จอมมารดาเข็ม เปนต้นสกุลวิลัยวงศ์ ณกรุงเทพ ๕ พระองค์เจ้าชายกาญจโนภาษรัศมี ประสูตรณวัน ๒ ๘ ค่ำ ปีมเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๓๒ พ.ศ. ๒๔๑๓

๑๙๒ จอมมารดาปริกเล็ก ในรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นชาญไชย บวรยศ เมื่อณวันจันทร์ ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ เปนต้นสกุลกาญจนวิชัย ณกรุงเทพ ๖ พระองค์เจ้าชาย (ยังไม่มีพระนาม) ประสูตรปีมเมียโทศก จุล ศักราช ๑๒๓๒ พ.ศ. ๒๔๑๓ ที่ ๑ ในจอมมารดาเวก สิ้นพระชนม์ปีเดียวกัน ๗ พระองค์เจ้าชาย (ยังไม่มีพระนาม) ประสูตรปีมเมียโทศก จุล ศักราช ๑๒๓๒ พ.ศ. ๒๔๑๓ จอมมารดาลม้าย ๘ พระองค์เจ้าหญิงภัททาวดีศรีราชธิดา ประสูตรณวัน ๕ ค่ำ ปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ พ.ศ. ๒๔๑๔ ที่ ๑ ในจอมมารดาเลี่ยมเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๒๕ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๘ พ.ศ. ๒๔๔๒ ๙ พระองค์เจ้าชายกัลยาณประวัติ ประสูตรณวัน ๒๑๑ ค่ำ ปีมแม ตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ พ.ศ. ๒๔๑๔ จอมมารดาเลี่ยมใหญ่ ในรัชกาลปัจจุบันนี้ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่น กวีพจน สุปรีชา เมื่อณวันอังคารที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖ เปนต้นสกุลกัลยาณะวงศ์ ณกรุงเทพ ๑๙๓ ๑๐ พระองค์เจ้าหญิงธิดาจำรัสแสงศรี ประสูตรณวัน ๗ ๑ ค่ำ ปี มแมตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ พ.ศ. ๒๔๑๔ จอมมารดาเขียวใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๒๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๖ พ.ศ. ๒๔๔๐ ๑๑ พระองค์เจ้าหญิงฉายรัศมีหิรัญพรรณ ประสูตรณวัน ๓ ๒ ค่ำ ปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ พ.ศ. ๒๔๑๔ จอมมารดาปุ้ย ๑๒ พระองค์เจ้าหญิง ยังไม่มีพระนาม ประสูตรปีวอกจัตวาศก จุล ศักราช ๑๒๓๔ พ.ศ. ๒๔๑๕ พ.ศ. ๒๔๑๕ ที่ ๒ ในจอมมารดาเวก สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน ๑๓ พระองค์เจ้าหญิงกลิ่นแก่นจันทนารัตน์ ประสูตรณวัน ๒๑๑ ค่ำ ปีวอกจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ พ.ศ. ๒๔๑๕ ที่ ๑ ในจอมมารดาจั่น สิ้นพระชนม์ในรัช กาลที่ ๕ เมื่อณปีกุญสัปตศก จุลศักราช ๑๒๓๗ พ.ศ. ๒๔๑๘ ๑๔ พระองค์เจ้าชายสุทัศนนิภาธร ประสูตรณวัน ๖๔ ค่ำ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ พ.ศ. ๒๔๑๕ จอมมารดาหม่อมหลวงนวม ๒๕ ๑๙๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อณวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ เปนต้นสกุลสุทัศนีย์ ณกรุงเทพ ๑๕ พระองค์เจ้าชายวรวุฒิอาภรณ์ ประสูตรณวัน ๔ ๕ ค่ำ ปีระกา เบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ พ.ศ. ๒๔๑๖ จอมมารดาป้อม เปนต้นสกุลวรวุฒิ ณกรุงเทพ ๑๖ พระองค์เจ้าชายโอภาษไพศาลรัศมี ประสูตรณวัน ๑ ๖ ค่ำ ปี ระกาเบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ พ.ศ. ๒๔๑๖ จอมมารดาหม่อมราชวงษ์กลีบ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๖ พ.ศ. ๒๔๔๐ ๑๗ พระองค์เจ้าชาย ยังไม่ทันมีพระนาม ประสูตรปีระกาเบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ พ.ศ. ๒๔๑๖ จอมมารดาอิน สิ้นพระชนม์ปีเดียวกัน ๑๘ พระองค์เจ้าหญิงอับศรศรีราชกานดา ประสูตรณวัน ๑ ๒ ค่ำ ปีระกาเบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ พ.ศ. ๒๔๑๖ จอมมารดาต่วน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อณวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๖๐ ๑๙ พระองค์เจ้าชายรุจนาวรฉวี ประสูตรณวัน ๔ ค่ำ ปีจอฉศก

๑๙๕ จุลศักราช ๑๒๓๖ พ.ศ. ๒๔๑๗ จอมมารดาสมบุญ เปนต้นสกุลรุจจวิชัย ณกรุงเทพ ๒๐ พระองค์เจ้าหญิงเทวีวิไลยวรรณ ประสูตรณวัน ๗ ๗ ค่ำ ปีกุญ สัปตศก จุลศักราช ๑๒๓๗ พ.ศ. ๒๔๑๘ จอมมารดาสุ่นใหญ่ ๒๑ พระองค์เจ้าชายวิบูลยพรรณรังษี ประสูตรณวัน ๔ ๒ ค่ำ ปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ พ.ศ. ๒๔๑๙ จอมมารดาเขียวเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗ พ.ศ. ๒๔๕๑ ๒๒ พระองค์เจ้าชายรัชนีแจ่มจรัส ประสูตรณวัน ๔ ๒ ค่ำ ปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ พ.ศ. ๒๔๑๙ ที่ ๒ ในจอมมารดาเลี่ยมเล็ก ในรัชกาลปัจจุบันนนี้ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นพิทยา ลงกรณ์ เมื่อณวันอังคาร ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖ เปนต้นสกุลรัชนี ณกรุงเทพ ๒๓ พระองค์เจ้าชายไชยรัตนวโรภาษ ประสูตรณวัน ๓ ๓ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ พ.ศ. ๒๔๑๙ จอมมารดาปริกใหญ่

๑๙๖ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๑๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๖ พ.ศ. ๒๔๔๐ ๒๔ พระองค์เจ้าหญิงวิมลมาศมาลี ประสูตรณวัน ๔ ๔ ค่ำ ปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ พ.ศ. ๒๔๑๙ ที่ ๒ ในจอมมารดาจั่น ๒๕ พระองค์เจ้าหญิงสุนทรีนาฏ ประสูตรณวัน ๓ ๖ ค่ำ ปีมโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ พ.ศ. ๒๔๒๓ จอมมารดาสุ่นเล็ก ๒๖ พระองค์เจ้าหญิงประสาทสมร ประสูตรณวัน ๔ ๔ ค่ำ ปีมเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๔๔ พ.ศ. ๒๔๒๕ จอมมารดายิ้ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อณวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ๒๗ พระองค์เจ้าชายบวรวิสุทธิ ประสูตรณวัน ๒ ๒ ค่ำ ปีมแมเบญจศก จุลศักราช ๑๒๔๕ พ.ศ. ๒๔๒๖ จอมมารดาสอาด สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๘ เมษายน ร.ศ. ๑๒๙ พ.ศ. ๒๔๕๓ ๒๘ พระองค์เจ้าหญิงกมุทมาลี ประสูตรณวัน ๖ ๙ ค่ำปีวอกฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ พ.ศ. ๒๔๒๗ จอมมารดาหม่อมราชวงษ์เชื้อ

๑๙๗ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อณวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๓๐ พ.ศ. ๒๔๕๔ ๒๙ พระองค์เจ้าหญิงศรีสุดสวาดิ ประสูตรณวัน ๖๑๑ ค่ำ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ พ.ศ. ๒๔๒๗ จอมมารดาแข ประสูตรก่อนอุปราชาภิเศก ๓ พระองค์ ประสูตรในวังน่า ๒๖ พระองค์ รวม ๒๙ พระองค์


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก