ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๖

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๖ เรื่อง จดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนแผ่นดินพระเพทราชา ภาค ๓

พิมพ์ในงารพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยาวินิจวิทยาการ ( กร อมาตยกุล ) เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๗๐


พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

คำนำ เสวกตรี พระยาภักดีนรเศรษฐ์ (เลิศ เศรษบุตร์ ) มาขอหนังสือที่ราชบัณฑิตยสภา เพื่อจะพิมพ์แจกในงารปลงศพ อำมาตย์เอก พระยาวินิจวิทยาการ (กร อมาตยกุล ) ผู้เปนอาจารย์ กรรมการแนะให้ พิมพ์คำแปลจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งอยู่ในประเทศนี้ เมื่อกรุงศรีอยุธยายังเปนราชธานี อันเปนหนังสือซึ่งมีประโยชน์มากอยู่ พระยาภักดีนรเศรษฐ์ เห็นชอบ จึงได้พิมพ์ในครั้งนี้ จดหมายเหตุของคณะบาดหลวง ซึ่งเข้ามาตั้งอยู่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยานี้เปนหนังสือเรื่องใหญ่ บาดหลวงดลเนรวมพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓กรรมการแห่งสภานี้ได้จัดให้มีผู้แปลเปนภาษาไทยแลให้ศาสตรา จารย์ ยอช เซเดส์ อ่านตรวจรับรองว่าถูกต้องแล้ว กรรมการจึงจัดไว้ในหนังสือสำรองพิมพ์ ได้พิมพ์เปนลำดับมา กรมพระดำรงราชานุภาพได้ทรงแต่งอธิบายเหตุที่คณะบาดหลวงฝรั่งเศส เข้ามาตั้งในกรุงสยามพิมพ์ไว้ในภาคต้นแล้ว ภาคนี้เปนภาคที่ ๓. ราชบัณฑิตยสภา วันที่ ๙ เมษายน พระพุทธศกราช ๒๔๗๐ อุปนายก



อำมาตย์เอก พระยาวินิจวิทยาการ พ.ศ. ๒๔๐๗ - ๒๔๖๕


(๒) ประวัติสังเขป อำมาตย์เอก พระยาวินิจวิทยาการ ( กร อมาตยกุล )

วันเกิดและถึงอนิจกรรม เกิดวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๗ ถึงอนิจกรรม วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕ คำนวณอายุได้ ๕๙ ปี ตำแหน่งราชการ ๑.แรกเข้ารับราชการเปนครูรองโรงเรียนสุนันทาลัย เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๒ ๒. ย้ายไปเปนครูรองโรงเรียนธรรมสภา เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ๓.เปนอาจารย์ใหญ่โรงเรียนธรรมเสภา เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ๔. ย้ายไปเปนอาจารย์ใหญ่โรงเรียนไทยอังกฤษ (บ้านพระยานานา) เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ๕.ย้ายไปเปนอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชแพทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ ๖.ย้ายไปเปนอาจารย์ใหญ่โรงเรียนภาษาอังกฤษกลางคืน และ เปนผู้เล็กเชอร์พิเศษที่โรงเรียนราชแพทยาลัยกับโรงเรียนฝึกหัดครู เมื่อ วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙


(๓) ๗. ย้ายไปเปนอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมวิทยา เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ๘. เปนอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชบุรณะด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ๙. เปนผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ๑๐. ย้ายไปเปนปลัดสำรวจ (หัวหน้ากองสอบไล่) เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ๑๑.ลาออกขอรับพระราชทานเบี้ยบำนาญเพราะชราภาพเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๔

เงินเดือน ๑. ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๒ ได้รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ ๑๐๐ บาท ๒. ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๒ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๓๒ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๑๒๐ บาท ๓. ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๓๓ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๓๗ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๑๖๐ บาท ๔. ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๓๘ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๓๙ ได้รับพระราชาทานเงินเดือน ๒๐๐ บาท


(๔) ๕.ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๔๐ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๔๕ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๒๔๐ บาท ๖.ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๔๖ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๓๖๐ บาท ๗.ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๔๗ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๔๗ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๓๗๕ บาท ๘.ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๔๘ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๔๘ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๔๐๐ บาท ๙.ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๔๙ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๔๒๕ บาท ๑๐.ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๕๐ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๔๗๕ บาท ๑๑.ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๕๑ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๔๗๕ บาท ๑๒. ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๖๒ ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๕๐๐ บาท ๑๓. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้รับพระราชทานเงินเพิ่มพิเศษฉเพาะตัวอีก๑๐๐ บาท รวมเปนเงินเดือน ๖๐๐ บาท ๑๔. ลาออกรับพระราชทานเบี้ยบำนาญ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๔

(๕) บำเหน็จความชอบ ๑. ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เปนหลวงวินิจวิทยาการ เมื่อ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ ๒๔๔๔ ๒. ได้รับพระราชทานยศเปนอำมาตย์ตรี เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๔ ๓. ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ช้าง เผือก เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๕ ๔. ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเปนอำมาตย์โท และเลื่อนบรรดา ศักดิ์เปนพระวินิจวิทยาการ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ๕. ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเปนอำมาตย์เอก เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ๖. ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎสยาม เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๐ ๗. ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ เปนพระยาวินิจวิทยาการเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๒





สารบารพ์ จดหมายบาดหลวงตาชาบอกข่าวที่จะเข้ามาเมืองไทย หน้า ๒๐๖ ว่าด้วยการทำของต่าง ๆ ที่จะส่งเข้ามาถวาย " ๒๐๖ ขอให้เจ้าพระยาพระคลังช่วยสงเคราะห์พวกบาดหลวง " ๒๐๙ จดหมายบาดหลวงตาชาขอความช่วยเหลือฝรั่งเศสที่ติดคุก " ๒๑๐ จดหมายมองเซนเยอร์ลาโนติเตียนเจ้าพระยาพระคลังและชม ออกญาพิพัฒฯ " ๒๑๑ จดหมายบาดหลวงตาชาส่งคำสั่งมากับหลวงวรวาที " ๒๑๓ คำสั่งบาดหลวงตาชาที่ส่งมากับหลวงวรวาที " ๒๑๔ จดหมายมองเซนเยอร์ลาโนให้ความเห็นแก่บาดหลวงตาชา ที่จะเข้ามาเมืองไทย " ๒๑๘ จดหมายมองเซนเยอร์ลาโนบอกข่าวเรื่องไทยให้ไปรับ บาดหลวงตาชา " ๒๒๐ จดหมายเจ้าพระยาพระคลังชี้แจงถึงวิธีการที่บาดหลวง ตาชาจะต้องรีบเข้ามาเมืองไทย " ๒๒๒ จดหมายมองเซนเยอร์ลาโนเรื่องบาดหลวงตาชายังไม่เข้า มาเมืองไทย เพราะพวกฮอลันดาตีป้อมเมือง ปอนดีเชรีได้ " ๒๒๙ จดหมายบาดหลวงตาชาบอกข่าวเรื่องถูกพวกฮอลันดาจับ และได้เฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสรับสั่งให้มาเมืองไทย " ๒๓๑


(๗) จดหมายบาดหลวงตาชาบอกข่าวที่ได้เดิรทางมาพบพวก ฮอลันดาจนถึงเมืองมริด หน้า ๒๓๔ จดหมายเหตุของคณะบาดหลวงเรื่องบาดหลวงตาชา เข้ามาเมืองไทย " ๒๓๘ ว่าด้วยเรื่องไทยเมื่อได้รับข่าวว่าบาดหลวงตาชาจะมา " ๒๓๘ คำตอบของเจ้าพระยาพระคลัง ถึงบาดหลวงตาชา " ๒๔๑ การปรึกษาหารือในระหว่างมิชชันนารี " ๒๔๓ เจ้าพระยาพระคลังขัดขวางไม่ยอมให้รับรอง บาดหลวงตาชา " ๒๔๘ เรื่องของถวายพระเจ้ากรุงสยาม " ๒๕๐ เรื่องบาดหลวงตาชากลับไปเมืองเบงกอล " ๒๕๒ จดหมายบันทึกซึ่งพวกบาดหลวงได้แต่งยื่นต่อเจ้า พระยาพระคลังกล่าวเรื่องบาดหลวงตาชา มาที่เมืองมริด " ๒๕๕ พวกบาดหลวงฝรั่งเศสยื่นเรื่องราวเรื่องการรับรอง บาดหลวงตาชา " ๒๕๘ คำตอบเรื่องราวของพวกบาดหลวงฝรั่งเศส " ๒๖๐ คำชี้แจงของมองซิเออร์เฟเรอแก้คำตอบของไทย " ๒๖๔ สำเนาจดหมายบาดหลวงตาชาโต้แย้งเรื่องไทยไม่ ยอมรับรอง " ๒๖๖


(๘) จดหมายมองซิเออร์โบรด์ชี้แจงถึงเหตุที่ไม่ควรให้บาดหลวงตาชา มาเปนทูต ควรให้ราชบริษัทจัดการกับไทยดีกว่า หน้า ๒๖๙ สำเนาจดหมายบาดหลวงตาชาถามว่าไทยจะรับรองหรือไม่ " ๒๗๒ สำเนาจดหมายเจ้าพระยาพระคลังตอบว่าจะรับรอง บาดหลวงตาชา " ๒๗๖ จดหมายมองซิเออร์โบรด์เรื่องบาดหลวงตาชามาอีกครั้ง ๑ " ๒๗๘ ว่าด้วยการเตรียมรบในเมืองไทยก่อนหน้าบาดหลวง ตาชาเข้ามา " ๒๗๘ ว่าด้วยบาดหลวงตาชามาอยู่ที่เมืองมริด " ๒๗๙ ไทยจัดคนไปรับบาดหลวงตาชาที่เมืองมริด " ๒๘๐ บาดหลวงตาชามาถึงด่านภาษี " ๒๘๓ การโต้เถียงเรื่องจะรับรองพระราชสาสน " ๒๘๖ ว่าด้วยไทยไม่ยอมรับพระราชสาสนเต็มเกียรติยศ " ๒๙๓ มองซิเออร์เฟเรอคิดจัดการให้รับพระราชสาสน " ๒๙๔ บาดหลวงตาชาเข้าเฝ้า " ๒๙๘ บาดหลวงตาชาไปหาเจ้าพระยาพระคลัง " ๓๐๓ บาดหลวงตาชากลับจากเมืองไทย " ๓๐๖ สำเนาพระราชสาสนพระเจ้ากรุงสยามถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส " ๓๐๙ สำเนาจดหมายมองซิเออร์โบรด์บอกข่าวพวกบาดหลวง ในเมืองไทยและการถวายของ " ๓๑๑


(๙) จดหมายบาดหลวงตาชาลามองซิเออร์โบรด์ หน้า ๓๑๒ จดหมายมองซิเออร์โบรด์ขอบใจบาดหลวงตาชาและขอให้ ทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสให้ทรงเปนพระธุระแก่ พวกบาดหลวง " ๓๑๓ จดหมายบันทึกเปนคำสั่งซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสเรื่องจะสร้าง ป้อมที่เมืองมริดและหักหนี้สินกับไทย " ๓๑๕จดหมายมองเซนเยอร์เคเมอเนเรื่องให้ส่งคนไปรับที่เมือง มริด และเรื่องฮอลันดาคืนเมืองปอนดีเชรี " ๓๑๘ จดหมายมองเซนเยอร์เคเมอเนบอกข่าวว่ามาอยู่เมืองมริด " ๓๒๒ จดหมายมองซิเออร์โบรด์บอกข่าวเรื่องไทยไม่ใคร่เอา ใจใส่ต่อสังฆราชเดอซูร์ " ๓๒๓ จดหมายบันทึกของมองเซนเยอร์เคเมอเนเรื่องที่จะจัดการ ให้กรุงฝรั่งเศสกับกรุงสยามเปนไมตรีกัน แลเรื่องจะตั้งบริษัทที่เมืองมริด " ๓๒๘ คำตอบของเจ้าพระยาพระคลัง " ๓๓๔ สำเนาจดหมายของมองเซนเยอร์เคเมอเนเรื่องคำตอบ ของเจ้าพระยาพระคลัง " ๓๓๙ ความเห็นสังฆราชเคเมอเน " ๓๓๙ จดหมายมองเซนเยอร์เคเมอเนขอให้นำจดหมายถวาย พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส " ๓๔๑


(๑๐) จดหมายมองเซนเยอร์เคเมอเน กราบทูลพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ เรื่องตนมาเจรจาการในเมืองไทย หน้า ๓๔๓จดหมายมองซิเออร์โบรด์เรื่องพวกไทยไม่เห็นชอบในคำ แนะนำของสังฆราชเดอซูร์ " ๓๔๖ จดหมายมองซิเออร์โบรด์บอกข่าวสดวกแห่งการสอนสาสนา " ๓๔๗ จดหมายมองซิเออร์โบรด์บอกข่าวเรื่องญวนเข้ารีด " ๓๔๗ จดหมายมองซิเออร์โบรด์เรื่องศึกกลางเมืองไทย (เมืองนครราชสิมา) " ๓๔๙ จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซว่าด้วยการเกิดความไข้ใน เมืองไทย " ๓๖๑ จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซเรื่องเมืองทวายตีเมือง ตนาวศรีเมืองมริด " ๓๖๓ จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซเรื่องสะเปนมาขอเปนไมตรี กับกรุงสยาม " ๓๖๕ จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซขอให้มีบาดหลวงตั้งสอน สาสนาตามหัวเมืองต่าง ๆ ในกรุงสยาม " ๓๖๗ จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซบอกข่าวการสาสนาในเมืองไทย " ๓๖๘ จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซว่าด้วยนักเรียนญวนถูกจับ " ๓๗๐






จดหมายเหตุ ของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนแผ่นดินพระเพทราชา ( ต่อจากภาคที่ ๒ ) เรื่องบาดหลวงตาชาคิดอ่านจัดการ ให้ฝรั่งเศสกับไทยเปนไมตรี ติดต่อกันอย่างเดิม





๒๐๖ จดหมายบาดหลวงตาชาถึงเจ้าพระยาพระคลัง เมืองบาลาซอ วันที่ ๒๗ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๑๖๙๐ ( พ.ศ. ๒๒๓๓ )

เดิมได้กำหนดไว้ว่าพวกเราจะได้ออกจากประเทศฝรั่งเศสในเดือน มีนาคมปีกลายนี้ แต่ระดูล่าช้ามากไปจึงได้มีกระแสรับสั่งของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสให้รอจนถึงเดือนกันยายนจึงให้ออกเรือ และเรือที่จะรับพวกเราไปนั้น ก็ได้จัดส่งให้ไปช่วยกองทัพบกของเรา เพื่อได้ไปช่วยพระเจ้ากรุงอังกฤษ เพราะท่านปรินซ์ออฟออเรนช์ได้ขับไล่พระเจ้ากรุงอังกฤษออกจากราชอาณาเขตโดยความประทุษฐร้ายของพวกฮอลันดาในระหว่างที่พวกเราได้อยู่ในประเทศฝรั่งเศสน้อยเวลานั้นบริษัทได้รับสั่งพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสให้ทำของต่าง ๆ ซึ่งพระเจ้ากรุงสยามที่เสด็จสวรรคตจะต้องพระราชประสงค์นั้น ของเหล่านี้ก็ทำเกือบหมดแล้วเปนราคากว่า ๖ หมื่นเหรียญ เมื่อเดือนกันยายนได้เตรียมการพร้อมทุกอย่างที่จะลงเรือ เดิรทางกลับต่อไป ยังรอแต่ของเครื่องราชบรรณาการอยู่เท่านั้น ก็พอ ได้ทราบข่าวอันแน่ว่าได้เกิดการจลาจลขึ้นในเมืองไทยเสียแล้วจึงเปนการตกลงว่า คนผู้ดี ๑๐๐ คนซึ่งได้จัดการรวบรวมขึ้นไว้ตามกระแสรับสั่งของพระเจ้ากรุงสยามที่เสด็จสวรรคต ตามพระราชหัตถเลขาที่ข้าพเจ้า


๒๐๗ ถือไว้จะต้องปลดออกหมด การนี้ได้กระทำให้ลงเรือช้าไปหน่อย แต่ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสโดยที่ทรงโปรดและทรงมีพระราชไมตรี กับเมืองไทยทั้งทรงทราบด้วยว่าพระเจ้ากรุงสยามทรงเกรงพวกฮอลันดา เพราะพวกฮอลันดาได้จับพระเจ้าแผ่นดินเมืองบันตำไว้แล้วนั้น จึงโปรดให้จัดเรือรบ ๖ ลำ พร้อมด้วยนายเรือที่มีความชำนาญ เพื่อส่งไปช่วยพระเจ้ากรุงสยาม เพราะพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทรงทราบอยู่ว่า พวกฮอลันดาคงจะพยายามให้พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้แตกร้าวกัน เปนแน่ ท่านสังตปาปาได้รับรองพวกเราโดยใจไมตรี แลทำการรับรอง อย่างใหญ่โตงดงามเท่ากับพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเหมือนกัน ถ้าข้าพเจ้าไม่ ได้ทราบเรื่องที่เกิดจลาจลขึ้นในเมืองไทยแล้ว ข้าพเจ้าคงจะได้ไปรายงารให้ท่านทราบถึงการที่ข้าพเจ้าได้ไปราชการที่ประเทศฝรั่งเศสแลกรุงโรม แต่เมื่อการเปนอยู่ดังนี้ ข้าพเจ้าจะได้รอรับกระแสรับสั่งของพระเจ้ากรุงสยาม แลรอรับคำตอบของท่านที่นี่หรือที่เมืองปอนดีเชรีเสียก่อนจึงจะ ได้ไปยังเมืองไทยต่อไป ข้าพเจ้าจะขอบอกกล่าวให้ท่านทราบ ว่าพอหัวหน้าของข้าพเจ้า ได้กะให้ข้าพเจ้าไปยังเมืองไทยนั้น ข้าพเจ้ารู้สึกเกิดรักคนไทยขึ้นทันที แลรู้สึกตัวเหมือนเปนคนไทยผู้หนึ่งเหมือนกัน แลข้าพเจ้าไม่ทราบเลย ว่า ถ้าคนไทยแท้ ๆ จะได้พยุงการต่าง ๆ ดังข้าพเจ้าได้ทำมาหรือไม่ ถ้าข้าพเจ้าได้ทราบกระแสรับสั่งพระเจ้ากรุงสยามเวลาใด ข้าพเจ้าจะ


๒๐๘ มีความยินดีไปยังเมืองไทยตามรับสั่ง ถึงข้าพเจ้าจะต้องถูกกักขังหรือเสียชีวิตก็ไม่ว่า เพราะต้องการที่จะจัดการต่าง ๆ ให้เรียบร้อยเพื่อให้ พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินได้สนิธแน่นหนายิ่งกว่าเดิม แลเพื่อป้องกันมิให้เกิดการฆ่าฟันล้มตายกันเกินไป ข้าพเจ้าได้รับสินค้าจากมองซิเออร์คอนซตันซ์ คิดเปนราคาเพียง ๑๐๐๐๐ ปอนด์แล ๑๐๐๐ เหรียญเท่านั้น ซึ่งเปนเงินที่พระราชทานสำหรับการใช้จ่ายของข้าพเจ้า ของต่าง ๆ ยังตกค้างอยู่ที่สันดอนเปนอันมากเพราะเอาลงเรือไม่ได้ แลในกลางทางก็มีเข้าของเสียหายเปนอันมาก เช่นใบชาซึ่งตีราคา ๑๐๐๐๐ เหรียญเสียใช้ไม่ได้ต้องทิ้งอยู่ในโรงเก็บของของบริษัทเท่านั้นเอง ข้าพเจ้าได้ส่งบาญชีของต่าง ๆ ที่พระเจ้ากรุงสยามต้องพระราชประสงค์ ทั้งบาญชีเงินที่มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ฝากมายังบริษัทด้วย ท่านคงจะเห็นได้ว่าจำนวนรายจ่ายไม่มากเท่าที่ได้คาดไว้เพราะของได้บันทุกเรืออังกฤษเสียครึ่งหนึ่งตามคำสั่งของผู้ที่มีหน้าที่จะสั่ง ได้ ในส่วนตัวข้าพเจ้าได้ใช้จ่ายหลายอย่างในราชการของพระเจ้ากรุงสยาม การที่ไปกรุงโรมนั้นต้องใช้เงินค่าโสหุ้ยต่าง ๆ ถึง ๑๕๐๐๐ ปอนด์ เพราะมีคนไปด้วย ๑๔ คน ซึ่งต้องเลี้ยงดูตลอดทาง ส่วนคนผู้ดีที่ข้าพเจ้าได้รวบรวมไว้สำหรับพาไปยังเมืองไทยนั้น ข้าพเจ้าได้จ่ายเงินไปฉเพาะรายนี้ ๕๐๐๐ ปอนด์ เพราะได้จ่ายเงินเดือนล่วงหน้าให้ ๔ เดือน แล ยังได้ใช้จ่ายค่าโสหุ้ยต่าง ๆ สำหรับข้าราชการไทยและไทยหนุ่มซึ่งอยู่ ที่โรงเรียนหลุยเลอครังด้วย เพราะฉนั้นเมื่อได้รวมทั้งหมดแล้วการ

๒๐๙ ใช้จ่ายคงตกอยู่ในราว ๖๐๐๐๐ ปอนด์ เงินรายนี้พระเจ้ากรุงสยามได้โปรดพระราชทานให้บาดหลวงเดอลาเชซและตัวข้าพเจ้าบ้างแล้ว ในจำนวนเงินรายนี้ข้าพเจ้าได้บวกเงินสำหรับซื้อเสบียงอาหารส่วนตัวด้วยแล้ว ข้าพเจ้ามีความเสียใจเปนอันมาก ที่ได้ทราบว่าญาติของข้าพเจ้าผู้หนึ่ง ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จสวรรคตได้ขอไป แลที่ยังคงอยู่ในเมืองไทยโดยพระราชานุญาตของพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่นั้น ได้ถูก ทำโทษอย่าคนผิดสามัญ แลต้องจำคุกปนกับพวกขะโมยแลผู้ร้าย ฉกรรจ์ด้วย ข้าพเจ้าทราบว่าพวกที่ต้องโทษนี้คงจะไม่ดิ้นรนอย่างใด แลพระเปนเจ้าควรจะจัดการให้คนพวกนี้ได้พ้นจากทุกขเวทนาแลคงจะได้ รางวัลให้ต่อไป ข้าพเจ้าไม่จำเปนที่จะต้องอ้อนวอนขอให้ท่านช่วยจัดการให้พวกนี้ได้พ้นจากคุก เพราะเชื่อว่าท่านคงจะจัดการอยู่แล้ว ถ้าท่านได้จัดการสำเร็จจะเปนพระคุณของท่านที่สุดที่จะทำให้แก่พวกข้าพเจ้า แลข้าพเจ้าขอให้ท่านช่วยจัดการในเรื่องนี้ให้ชาวฝรั่งเศสทั้งหลาย ทั้งโปรดจัดการในเรื่องท่านสังฆราชด้วย เพราะท่านผู้นี้มีศีลธรรมซึ่งชนในชมพูทวีปแลยุโรปนับถือมาก เพื่อจะไม่ให้ท่านเบื่อหน่ายในจดหมายยืดยาวเช่นนี้เพราะท่านเปนผู้ ที่มีราชการมากนั้น ข้าพเจ้าจะมอบธุระให้ข้าราชการไทยได้อธิบายเหตุ การณ์ทั้งหลายให้ท่านทราบต่อไป ข้าพเจ้าจะขอบอกกล่าวให้ท่านทราบว่า ๒๗


๒๑๐ ข้าราชการไทยเหล่านี้ได้ประพฤติตัวดีมาก กระทำให้คนทั้งหลายพอใจทั่วไป ข้าพเจ้าหวังใจว่าท่านก็คงจะพอใจเหมือนกัน ข้าพเจ้าได้ส่ง ชาวตังเกี๋ยมาพร้อมกับข้าราชการไทยด้วยสองคน เพราะชาวตังเกี๋ย นี้จะกลับไปยังบ้านเมืองของเขา


จดหมายบาดหลวงตาชาถึงเจ้าพระยาพระคลัง วันที่ ๑๑ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๖๙๑ ( พ.ศ. ๒๒๓๔ ) ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้มีจดหมายมายังท่านจากเมืองเบงกอล ฝากมากับข้าราชการไทยสองคนที่ได้ไปกับข้าพเจ้าถึงเมืองฝรั่งเศสและอิตาลีนั้น ก็ยังไม่มีข่าวอะไรที่จะเรียนท่านอีก เปนแต่จะขอเรียนให้ทราบว่าข้าพเจ้ายังรอกระแสรับสั่งของพระเจ้ากรุงสยามอยู่ที่นี้ เพื่อจะได้กลับไปยังประเทศสยามทำราชการตามพระราชโองการของพระเจ้ากรุงสยาม ดังท่านคงจะทราบจากข้าราชการไทยสองคนผู้นำจดหมายของข้าพเจ้านั้นแล้ว ข้าพเจ้าไม่สงสัยเลยว่าข้อความตามจดหมายของข้าพเจ้า คงจะได้ทำ ให้เกิดผลขึ้นตามความคาดหมายของข้าพเจ้า แลเชื่อว่าความฉลาด ไหวพริบของท่าน ทั้งการที่ท่านรักใคร่พวกฝรั่งเศส คงจะทำให้ท่าน ได้จัดการเอาพวกฝรั่งเศสออกจากคุก เพราะพวกนี้ได้ติดมาช้านานแล้ว มองซิเออร์มาแตงผู้อำนวยการของราชบริษัท ก็ได้มีจดหมายมายัง ท่านฉบับหนึ่งกล่าวในเรื่องนี้เหมือนกัน ท่านผู้นี้เปนคนที่มีอำนาจ ทั้ง


๒๑๑ เปนคนมีความชำนาญและมีคนนับหน้าถือตามาก เพราะฉนั้นเปนคน ที่ท่านจะเชื่อใจได้ ข้าพเจ้าไม่เห็นมีใครที่จะเปนคนกลางตั้งใจดีแลจะทำการได้สำเร็จยิ่งกว่าท่านผู้นี้เลย


จดหมายมองเซนเยอร์ลาโน ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๑๘ เดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๖๙๒ ( พ.ศ. ๒๒๓๕ ) พวกเรายังมีชีวิตอยู่พอเปนสุขสบายอยู่บ้าง พวกไทยหวัง ในการที่จะเปนไมตรีกับฝรั่งเศสต่อไป แลเวลานี้ยังคอยคนไทยที่ เจ้าพนักงารได้ส่งไปรับบาดหลวงตาชา ที่เมือนปอนดีเชรีตั้งแต่ปีกลายนี้ การทั้งหลายที่จะสำเร็จไปนั้น ก็ดูจะไม่สู้กระไรเพราะฝ่ายพวกไทย ก็ดูเอาใจใส่อยู่บ้าง แต่ข้าพเจ้าเกรงว่าจะไปช้าที่เจ้าพระยาพระคลังผู้ ซึ่งเคยเปนราชทูตที่ ๒ ไปยังประเทศฝรั่งเศส เพราะตามธรรมดาการ งารทั้งหลายต้องผ่านเจ้าพระยาพระคลังก่อนทั้งสิ้น เจ้าพระยาพระคลังเปนคนที่มีแต่ปากแต่ทำอะไรให้สำเร็จไม่ได้จนอย่างเดียว เปนคนที่ มีความกลัวมาก จนไม่กล้าที่จะนำความอย่างใด ๆ กราบทูลพระเจ้า แผ่นดินให้ทรงทราบ ทั้งดูจะเปนคนไม่พอใจบาดหลวงตาชา เพราะ ได้เคยพูดติเตียนบาดหลวงตาชาในที่เปิดเผยอยู่เสมอ ในเวลานี้ก็ออก จะมีเสียงติเตียนพวกเราอยู่บ้างแล้ว แลเปนคนมีแต่จะหาความสบาย


๒๑๒ ส่วนตัวจะยึดไว้เปนหลักไม่ได้เปนอันขาด แต่อีกฝ่ายหนึ่งผู้ช่วยของเจ้าพระยาพระคลังชื่อออกญาพิพัฒ เปนคนที่กล้ากราบทูลข้อความต่าง ๆ ต่อพระเจ้าแผ่นดิน ทั้งเปนคนใจเร็วและตั้งใจดีด้วย ท่านออกญาพิพัฒเปน ผู้ที่มีบุญคุณต่อพวกเราเปนอันมาก แลในระหว่างที่พวกเราได้รับความเดือดร้อนอยู่นั้น ก็มีแต่ออกญาพิพัฒคนเดียวที่เข้ากับพวกเรา ถ้าการ ทั้งหลายได้ผ่านมือออกญาพิพัฒก็มีทางที่จะหวังดีได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้เองท่านผู้นี้ได้จัดการให้พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทราบในความยากจนของพวกเราจนได้โปรดให้พวกเรายืมเงิน ๓ ชั่ง เท่ากับ ๒๕๐เหรียญ แล ที่เราได้ตั้งตัวอยู่ได้จนทุกวันนี้ก็ด้วยเงิน ๓ ชั่งรายนี้เท่านั้น แล้วท่านออกญาพิพัฒได้จัดการให้เจ้าพนักงารได้ใช้เงินที่เปนหนี้พวกเราอยู่ ๒๐๐ เหรียญเศษ แลรับรองว่าถ้ามีโอกาศเหมาะเมื่อใด จะได้กราบทูล พระเจ้าแผ่นดินขอให้พระราชทานรูปแลของต่าง ๆ เครื่องประดับโบสถ์ที่เจ้าพนักงารได้ริบไปนั้นคืนให้พวกเรา ท่านออกญาพิพัฒสมควรที่จะได้รับของตอบแทนจากพวกเรา แต่เวลานี้เราไม่มีสมบัติอะไรเลย


จดหมายบาดหลวงตาชา ถึงออกญาพิพัฒ เมืองปอนดีเชรี วันที่ ๕ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๖๙๓ (พ.ศ. ๒๒๓๖) ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ทราบจากหลวงวรวาที (๑) แลทราบจากทางอื่นว่าท่านได้มีเมตตากรุณาแก่พวกฝรั่งเศสที่ต้องถูกกักอยู่ (๑) หลวงวรวาที คือล่ามที่ชื่อ แปงเฮโร ๒๑๓ ในเมืองไทย นอกจากการที่พระเปนเจ้าผู้สร้างฟ้าและดินจะให้พรแก่ตัวท่านแล้วข้าพเจ้าจะต้องบอกกล่าวให้ท่านทราบว่า ข้าพเจ้าจะพยายามที่สุดที่จะตอบแทนความซื่อสัตย์ของท่าน โดยกราบทูลให้พระเจ้าหลุยที่ ๑๔ ได้ทรงทราบถึงความดี ความฉลาดและความประพฤติของท่านโดยเลอียดซึ่งจะเปนการที่พระเจ้าหลุยที่ ๑๔ คงจะพอพระทัยเปนอันมาก หลวงวรวาทีจะได้เปนผู้เรียนให้ท่านทราบถึงเหตุผลต่าง ๆ ที่ทำไม่ให้ข้าพเจ้าไปยังเมืองไทยในปีนี้ เหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ข้าพเจ้าได้เขียน จดหมายไว้เปนข้อ ๆ เปนภาษาฝรั่งเศสมอบให้หลวงวรวาทีไว้แล้ว เพื่อหลวงวรวาทีจะได้นำข้อความเหล่านี้ไปเรียนให้ท่านทราบ ข้อความต่าง ๆ ที่จดไว้นี้เปนภาษาฝรั่งเศสและข้าพเจ้าได้ขอให้บาดหลวงเดอลาบเรอย์แปลให้ท่านฟังแล้ว ข้าพเจ้าได้ตรึกตรองทั้งกลางวันแลกลางคืนถึงวิธีที่จะสมานพระหฤทัยอันใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดินทั้งสอง แลให้ประเทศทั้งสองได้กลับเปนไมตรีอีกอย่างเดิม เพื่อจะได้เปนประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่ายและให้ศัตรูทั้งหลายได้หมดความคิดไป ข้าพเจ้าทราบได้ดีว่าพระเจ้า กรุงสยามโปรดปรานแลเชื่อถือท่านเท่าไร แลข้าพเจ้าทราบด้วยว่าท่าน มีความเต็มใจแลยินดีที่จะช่วยฝรั่งเศสต่อไป เพราะเหตุฉนี้ข้าพเจ้า จึงได้มีจดหมายมายังท่านโดยไว้ใจได้ ความฉลาดเฉลียวแลความ ระวังระไวของท่านคงจะหาทางให้ข้าพเจ้าได้กลับมาเมืองไทยได้โดยเร็วให้จงได้ แลคงจะหาทางให้ข้าพเจ้าได้เปนประโยชน์ในการที่จะเจรจากล่าวให้การทั้งปวงได้ดำเนิรโดยสดวก ซึ่งในเวลานี้คงจะไม่ยาก


๒๑๔

เท่าไรนัก แต่ถ้าทอดทิ้งให้ช้าไปคงจะทำให้ยากขึ้นมาก แต่คนอย่าง ท่านซึ่งมีปัญญาว่องไวคงจะเห็นหนทางดีกว่าข้าพเจ้ามาก เพราะฉนั้นโดยเหตุผลต่าง ๆ ดังที่ข้าพเจ้าได้จดไว้เปนข้อ ๆ แล้ว แลโดยที่หลวงวรวาทีจะได้เรียนท่านด้วยปาก ข้าพเจ้าจึงอ้อนวอนพระเปนเจ้าซึ่งมีที่แท้จริงแต่องค์เดียว ขอได้โปรดให้ท่านได้รับความเจริญแลสำเร็จความปราถนาในสิ่งดีที่ท่านมุ่งหมายไว้ แลขอได้โปรดให้ประเทศทั้งสองได้คืนดีกลับเปนไมตรีอีกอย่างเดิม การทั้งนี้ถ้าท่านได้จัดเปน ผลสำเร็จ ก็จะได้ทำให้ท่านมีเกียรติยศต่อพระผู้เปนเจ้า แลมนุษย์ ทั้งหลายทั่วไป ขอท่านได้โปรดกรุณาตอบจดหมายของข้าพเจ้าด้วย หรือมิฉนั้นขอได้โปรดบอกให้บาดหลวงเดอลาบเรอย์ได้ทราบในความคิดของท่านเพื่อบาดหลวงเดอลาบเรอย์จะได้นำความบอกให้ข้าพเจ้าทราบ แลข้าพเจ้าจะได้เปนบ่าวของท่านชั่วชีวิต ( เซ็น ) กีตาชา คำสั่งบาดหลวงตาชาให้ไว้กับหลวงวรวาที ให้ไปพูดในเวลา ที่หลวงวรวาทีได้กลับไปถึงเมืองไทยแล้ว


วันที่ ๗ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๖๙๓ (พ.ศ.๒๒๓๖) ข้อ๑พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้มีรับสั่งให้ข้าพเจ้าคิดหาทางป้องกันตัวต่าง ๆ ก่อนที่ข้าพเจ้าจะกลับไปเมืองไทยก็จริงอยู่ แต่ข้าพเจ้าจะไม่คิด

๒๑๕

หาเครื่องป้องกันตัวอย่างอื่น ๆ เปนอันขาด นอกจากจะถือพระราชโองการของพระเจ้ากรุงสยามเปนหลักเท่านั้น เพราะข้าพเจ้าถือว่าพระราชโองการของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ดีกว่าที่จะหาอย่างอื่นมาป้องกันตัวหลายเท่า แต่ก่อนที่ข้าพเจ้าจะกลับไปเมืองไทยนั้น จะต้องให้พระเจ้ากรุงสยามรับสั่งให้ข้าพเจ้าเข้าไปก่อน แลจะต้องให้พระเจ้ากรุงสยาม ได้ทรงยอมให้ข้าพเจ้าได้อยู่เมืองไทยโดยเรียบร้อย และจะต้องพระราชทานพระราชานุญาตให้ข้าพเจ้าได้อยู่ในเมืองไทย หรือออกจากเมืองไทยได้ตามแต่ข้าพเจ้าจะเห็นควร ข้อ ๒ การที่พระเจ้ากรุงสยามจะทรงพระกรุณาเรียกข้าพเจ้านั้น เจ้าพระยาพระคลังหรือเสนาบดีคนอื่น ๆ คงจะได้สั่งมายังข้าพเจ้าตามกระแสรับสั่ง การที่ข้าพเจ้าจะขอคำสั่งนี้ให้เปนลายลักษณ์อักษรเพื่อเปนหลักฐานนั้น ไม่ใช่เพราะข้าพเจ้าจะมีความสงสัยว่าเจ้าพระยาพระคลังไม่ได้รับกระแสรับสั่งเช่นนั้น แต่ประสงค์จะเอาคำสั่งฉบับนั้นถวายให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทอดพระเนตร แลให้เสนาบดีในประเทศฝรั่งเศสดูว่าข้าพเจ้าไม่ได้ไปยังเมืองไทยโดยลำพังใจของตัวเอง (เพราะเสนาบดีฝรั่งเศสคงจะมีความเห็นต่างกับข้าพเจ้า แลคงจะโทษข้าพเจ้า เพราะท่านเสนาบดีได้ มีคำสั่งมายังข้าพเจ้าในเรื่องนี้แล้ว ) ข้อ ๓ ความประพฤติของข้าพเจ้าในคราวนี้ จะกระทำให้เปนที่พอใจคนทุกจำพวกคือ ทำให้พวกฝรั่งเศสพอใจ เพราะเขาจะได้เห็นว่าข้าพเจ้าทำการกล้าได้กล้าเสียเพื่อเปนประโยชน์ต่อเขา จะทำให้พวกไทย

๒๑๖

พอใจยิ่งนัก เพราะเขาคงจะตรองเห็นได้ว่าการที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปยัง เมืองไทยก็โดยเชื่อพระวาจาของพระเจ้ากรุงสยามอย่างเดียว แลใน เมืองไทยพวกฝรั่งเศสก็ได้เคยถูกกดขี่อย่างสาหัสมาแล้ว แลที่ข้าพเจ้า ไปยังเมืองไทยนั้น ก็ประสงค์อย่างเดียวแต่จะจัดการสมานพระหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดินทั้งสอง ซึ่งจะเปนประโยชน์และเปนเกียรติยศต่อประเทศทั้งสองเปนอันมาก แต่ผู้ที่จะพอใจมากที่สุดนั้น ก็คือพระเปนเจ้าเพราะพระเปนเจ้าไม่ได้ถือว่ามนุษย์ทั้งหลายเปนแต่ฉเพาะคนของพระองค์ อย่างดียว ทรงถือว่ามนุษย์ทั้งหลายเปนบุตรของพระองค์ เพราะ ฉนั้นถ้าบุตรต่อบุตรได้เปนไมตรีสมานติดกันเปนคนเดียวได้แล้วพระเปนเจ้าจึงโปรดนักหนา ข้อ ๔ เพราะเหตุว่าพระเจ้ากรุงสยาม ทรงรักใคร่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมาก ทรงถือพระองค์ว่าเปนบิดาของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมากกว่าเปนพระเจ้าแผ่นดินนั้น จึงเปนอันแน่ใจได้ว่าคงจะทรงพระเมตตาแก่พวกฝรั่งเศสในเมืองไทย แลคงจะทรงพระเมตตาแก่มองเซนเยอร์เดอเมเต โลโปลิศ พวกมิซชันนารี นายทหารแลพวกทหารที่ยังค้างอยู่ในเมืองไทยโดยฉเพาะ ส่วนท่านบาดหลวงเดอลาบเรอย์นั้นข้าพเจ้าไม่พูดถึง เพราะข้าพเจ้าเชื่อใจว่าไทยคงจะปรานียิ่งกว่าคนอื่น เพราะในบันดาบาดหลวงคณะของเราที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สวรรคตแล้วได้ทรงขอร้องไปยังพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส แลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ส่งมาโดยเปนคนชำนาญวิชาเลข ก็เหลือแต่บาดหลวงเดอลาบเรอย์คนเดียวเท่านั้น แล

๒๑๗

ในการที่เกี่ยวด้วยบาดหลวงจำพวกนี้ พระเจ้าแผ่นดินสยามองค์ที่เสด็จสวรรคตก็ได้มีพระราชสาส์นไปยังพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ทรงรับเลี้ยง เปนพิเศษ และจะพระราชทานบ้านใหญ่ ๆ ให้สองบ้านด้วย ข้อ ๕ ไม่จำเปนที่ข้าพเจ้าจะต้องกำชับหลวงวรวาทีให้ชี้แจงต่อเสนาบดีของพระเจ้ากรุงสยาม ว่าข้าพเจ้าอยากจะมาเมืองไทยอย่างที่ สุด แลให้เรียนว่าข้าพเจ้ามีความนับถือพระเจ้าแผ่นดินสยามอย่างยิ่ง ทั้งมีความตั้งใจที่สุดที่จะทำการฉลองพระเดชพระคุณ แต่ควรจะรีบลงมือจัดการโดยเร็วก่อนเลิกสงคราม เพราะความต่าง ๆ เหล่านี้ ข้าพเจ้าได้ชี้แจงให้หลวงวรวาทีฟังบ่อย ๆ มานานแล้ว ถ้าข้าพเจ้าได้รับกระแส รับสั่งของพระเจ้ากรุงสยามเวลาใด ข้าพเจ้าจะได้รีบโดยสานเรือลำแรก ที่จะไปยังเมืองไทย ข้อ ๖ ข้าพเจ้าได้ชี้แจงให้หลวงวรวาทีฟังบ่อย ๆ ว่าพระราชสาสน์ที่ข้าพเจ้าได้เชิญมาจากสังตปาปาแลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้น เปนพระราชสาสน์สำหรับถวายพระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จสวรรคตเสียแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็ยอมที่จะถวายพระราชสาสน์นี้ให้พระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันได้ทอดพระเนตร เพื่อจะได้ทรงเห็นในพระราชดำริห์ แลพระราชไมตรีของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสต่อไป แต่ขอให้จัดการรับพระราชสาสน์ตามเกียรติยศที่ควรเท่านั้น ข้อ ๗ มองซิเออร์มาแตง ผู้อำนวยการของราชบริษัท ซึ่ง พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานยศให้นั้น ได้สัญญากับข้าพเจ้าว่าถ้าพระ ๒๘ ๒๑๘

เจ้าแผ่นดินทรงเห็นชอบแล้ว มองซิเออร์มาแตงจะได้จัดพนักงารของบริษัทให้ไปกับข้าพเจ้าคนหนึ่ง เพื่อจะได้ไปจัดการของบริษัทในเมือง ไทยให้เปนที่เรียบร้อยและเพื่อจะได้ลงมือทำการค้าขายต่อไปด้วย แต่เปนการจำเปนที่เจ้าพระยาพระคลังหรือเสนาบดีคนหนึ่งคนใดจะต้องรับรองให้เปนเกียรติยศบ้าง เพราะมองซิเออร์มาแตงได้บ่นว่าไทยไม่ได้แสดงความนับถือต่อเราเลย แลเขาก็อยู่ในตำแหน่งที่บังคับการงารแทน พระเจ้าแผ่นดินด้วย


จดหมายมองเซนเยอร์ลาในถึงบาดหลวงตาชา วันที่ ๗ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๖๙๓ (พ.ศ. ๒๒๓๖ ) ขอให้เราทั้งสองได้ระลึกถึงแต่พระเยซูเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น ข้าพเจ้าได้รับจดหมายของท่านหลายฉบับ แต่ยังไม่มีโอกาศที่ จะตอบได้เลย และจดหมายของซาเกรกาซิออง ( Sacree Cougr?gation) ซึ่งท่านได้ฝากมากับมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรนั้น ข้าพเจ้าก็ได้รับไว้แล้วเหมือนกัน ข้าพเจ้าขอบใจท่านเปนอันมาก พวกไทยได้ คอยให้ท่านมาด้วยความร้อนใจเปนอันมาก แต่เมื่อไทยได้เห็นว่าท่าน จะไม่มาก่อนที่จะรับความแน่ใจเสียก่อนนั้น พวกไทยจึงได้จัดให้มอง ซิเออร์เฟเรอไปรับท่านเพื่อให้ท่านได้รับความแน่ใจ และเพื่อจะได้ชี้แจงด้วยปากถึงความดำริห์ของข้าราชการไทย ซึ่งในเวลานี้ไม่มีความ


๒๑๙

ประสงค์อย่างอื่น นอกจากจะให้ท่านมาเมืองไทยเพื่อจะได้จัดการต่าง ๆ ให้ลงรอยให้เรียบร้อยอย่างเก่าก่อนที่เกิดจลาจลนั้น พวกข้าราชการไทย ไม่เต็มใจที่จะให้พวกฝรั่งเศสออกจากเมืองไทยก่อนที่ท่านจะมาถึงโดยอ้างเหตุว่า เกรงพวกฝรั่งเศสจะปรับเอา แต่ข้าพเจ้ากับบาดหลวง เดอลาบเรอย์ได้ชี้แจงว่าในข้อนั้นไม่ต้องกลัวอันใด ถ้าได้ปล่อยให้พวกฝรั่งเศสกลับไปแล้วจะกลายเปนผลดี แลจะทำให้ท่านมาเร็วเข้าอีก ในเรื่องนี้ข้าราชการไทยได้นำความกราบทูลให้ทรงทราบ จึงพระราช ทานพระราชานุญาตให้พวกฝรั่งเศสไปได้แล้ว เพราะฉนั้นพวกฝรั่งเศสจะได้กลับไปทุกคน บางคนจะลงเรือไปเมืองสุหรัต บางคนก็จะกลับ ทางเมืองตะนาวศรี แต่บางคนก็ไม่ยอมไปเลยก็มี เมื่อท่านได้กลับจากประเทศฝรั่งเศส ท่านได้รอฟังข่าวให้แน่เสียก่อนนั้นเปนการถูกดี แต่ในเวลาเดี๋ยวนี้การได้เปลี่ยนแปลงหมดแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่ท่านจะต้องกลัวแล้ว แต่ถ้าท่านมาพวกไทยจะยินดีรับรองท่านเสียอีก แลข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านคงจะเปนที่พอใจทุกอย่าง ความ จริงข้างฝ่ายไทยกำลังคิดอยู่ที่จะขอให้ท่านกลับไปยังประเทศฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำคำตอบของไทยไปด้วย แต่ในข้อนี้ข้าพเจ้ากับบาด หลวงเดอลาบเรอย์ได้บอกพวกไทยว่าท่านได้เดิรทางมามากแล้ว บาง ทีท่านจะต้องการหยุดพักเสียบ้างกระมัง ข้าพเจ้าจะไม่เขียนต่อไปอีก เพราะเกรงว่าความจะซ้ำกับบาดหลวงเดอลาบเรอย์ เพราะท่านผู้นี้คงจะได้มีจดหมายมายังท่านเปนแน่ ข้าพเจ้าจะขอร้องต่อท่านแต่อย่างเดียว

๒๒๐

ว่า เมื่อพวกฝรั่งเศสที่กลับไปจากเมืองไทยจะพูดว่ากระไรขอท่านอย่า ด่วนซื่อเกินไปนัก เพราะมีพวกฝรั่งเศสบางคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย แต่ชอบอวดอ้างว่ารู้การโดยตลอดแลชอบทำนายการต่าง ๆ ของเมืองไทยอย่างหมอดู ดุจตัวเปนผู้มีความรู้จริง ๆ เหมือนกัน ข้าพเจ้าได้อยู่ กับคนจำพวกนี้มานาน พอที่จะรู้จักอัธยาศัยความประพฤติแลความคิดของเขาได้ ในส่วนการอื่น ๆ นั้น ข้าพเจ้าขอมอบธุระให้มองซิเออร์เฟเรอเปนผู้เล่าให้ท่านฟังโดยเลอียดต่อไป


จดหมายมองเซนเยอร์ลาโน ถึง มองซิเออร์ เดอ ปองชาตแรง วันที่ ๑๐ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๖๙๓ ( พ.ศ. ๒๒๓๖ ) ในเวลานี้พวกไทยไม่ได้รบกวนพวกเราเลย เขาคอยให้บาดหลวงตาชากลับมา เพราะบาดหลวงตาชาได้มีหนังสือบอกมาว่า ตัวถืออำนาจมาสำหรับจัดการต่าง ๆ ได้ เพราะฉนั้นพวกไทยจึงคอยให้ บาดหลวงตาชามาจัดการต่าง ๆ ให้ลงรอยเดิมให้เปนที่เรียบร้อยต่อไป แลเพราะเหตุว่าบาดหลวงตาชาเปนผู้เชิญศุภอักษรของสังตปาปา แลเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสมาด้วยนั้น เจ้าพนักงารไทยจึงได้มีคำสั่งให้จัดที่พักตั้งแต่เมืองมริดตลอดถึงกรุงศรีอยุธยา เพื่อ จะได้จัดการรับพระราชสาส์นโดยเต็มเกียรติยศ เหมือนเมื่อครั้งรับพระ

๒๒๑

ราชสาส์นคราวก่อนเช่นนั้น ในเวลานี้ไทยได้อนุญาตให้ฝรั่งเศสเข้า ออกในพระราชอาณาเขตได้ตามชอบใจ แลไทยได้จัดให้มองซิเออร์ เฟเรอ ผู้เปนมิซชันนารีไปยังเมืองปอนดีเชรี เพื่อไปรับรองกับบาดหลวงตาชาตามความต้องการของบาดหลวง แลเพื่อจะชี้แจงให้บาดหลวง ตาชาทราบถึงข้อลำบากที่จะยังมีอยู่บ้างเล็กน้อยด้วย บาดหลวงตาชาเปนผู้รู้จักภาษาแลขนบธรรมเนียมของเมืองนี้ เพราะฉนั้นการที่ บาดหลวงตาชาจะเดิรทางจากเมืองตะนาวศรีจนถึงกรุงศรีอยุธยา จึงเปนการง่ายสดวกดี เพราะเวลานี้ไทยระวังนัก มิให้การเดิรทาง ของบาดหลวงตาชาติดขัดได้ ฝ่ายมองซิเออร์ มาแตง ผู้อำนวย การใหญ่ของบริษัทอินเดียก็รับรองว่า จะส่งคนมาเพื่อมาจัดการของบริษัทให้เรียบร้อยด้วย มองซิเออร์เดลานด์ ผู้อำนวยการของบริษัท ฉเพาะในเมืองเบงกอล ได้ทำการให้เปนที่พอใจของไทยมาก โดย ได้มีจดหมายมาแนะนำการต่าง ๆ ที่จะให้การงารทั้งปวงได้ลงรอยเดิม แต่พวกเราก็พอใจมากในวิธีที่ มองซิเออร์ เดลานด์ ได้มีจดหมายมายังไทย เพราะท่านผู้นี้ได้มาอยู่ในเมืองไทยหลายปี รู้จักนิสัยของไทย ได้ดี จึงได้มีจดหมายมาเปนสำนวนทำให้ไทยมีความหวังแลกลัว ด้วย แต่เมื่อจะตรวจถ้อยคำแล้ว ก็ไม่มีข้อรับรองอย่างใดเลย มองซิเออร์เดลานด์ผู้นี้ เปนคนที่ประพฤติตัวดีแลเปนคนตั้งใจดี เพราะฉนั้นเมื่อมีเรื่องขึ้นแล้ว เปนคนที่ไว้วางใจในฝ่ายอินเดียได้คนหนึ่ง เพราะเปนที่นับถือรักใคร่ของคนทั่วไปทั้งชาวยุโรปแลไทย เจ้าพระยา ๒๒๒ พระคลังก็ได้มีจดหมายมายังท่านฉบับ ๑ เหมือนกัน เพื่อแสดงให้ ท่านทราบว่า ไทยมีความประสงค์อยากจะให้การทั้งปวงได้เปนที่ปรองดองกันต่อไป แลเจ้าพระยาพระคลังได้ขอให้ข้าพเจ้ามีจดหมายมายังท่านพร้อมกับจดหมายของเจ้าพระยาพระคลังด้วย ซึ่งข้าพเจ้า ยินดีเปนอันมากที่จะเขียนจดหมายมายังท่านตามความประสงค์ของเจ้า พระยาพระคลัง แต่จดหมายของข้าพเจ้านั้น จะต้องแปลให้เจ้าพระยาพระคลังฟัง เพราะฉนั้นจึงต้องเขียนตามแบบของไทย ถ้าแม้ว่าผล ที่สุดของการเรื่องนี้จะเปนอันตกลงปรองดองกันแล้ว ขอท่านได้โปรด สั่งแก่ผู้ที่จะรับหน้าที่มาเจรจาในการเรื่องนี้ ให้คิดอ่านสอดส่องถึงประโยชน์ของพวกข้าพเจ้าด้วย เพราะการที่พวกข้าพเจ้าต้องติดคุกแลถูกริบทรัพย์สมบัติไปหมดนั้น ก็โดยเหตุที่พวกข้าพเจ้าได้เปน ประกันกองทหารฝรั่งเศสเท่านั้น แลการที่ได้เปนประกันเช่นนี้ ก็ เพราะเห็นแก่ประโยชน์แลพระเกียรติยศของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส


จดหมายเจ้าพระยาพระคลัง ถึง บาดหลวงตาชา(๑) จดหมายที่บาดหลวงตาชาได้ฝากมากับแขกมัวคนหนึ่งชื่อ อูเซน ซึ่งมาที่เมืองมริดกับเรือแขกมัวลำเล็ก แลแขกคนนี้ได้ไปยังเมือง

(๑) จดหมายฉบับนี้ใช้สำนวนสับปลับ ได้คัดสำเนามาตาม ต้นฉบับของคำแปลที่มีอยู่ในหอพระสมุด ฯ ๒๒๓ มสุลีปตัน เพื่อไปค้าขายได้กลับมาแล้วนั้น บาดหลวงเฟเรอ กับ ฟรังซัวแปงเฮโร ได้อ่านแลแปลให้ฟัง แลข้าพเจ้าได้ทราบความ ตามคำแปลนั้นโดยตลอดแล้ว ข้อความสิ่งใดในจดหมายฉบับนี้ ที่ เปนข้อความไม่สมควรแลขัดกับพระราชไมตรี ข้าพเจ้าได้ตัดออกเสีย แลได้นำความกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามแต่ฉเพาะข้อความที่ไม่ขัดกับพระราชไมตรีเท่านั้น ที่ท่านกล่าวในจดหมายของท่านว่า ข้อความบางอย่างที่เปนการ ไม่สมควร ท่านหาได้เขียนกราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสไม่ แต่ นอกนั้นท่านได้กราบทูลทั้งหมด เพราะท่านเห็นว่าเปนเรื่องดีที่มีประโยชน์ แลว่าท่านได้ชี้แจงให้หลวงวรวาที คือ มองซิเออร์ แวงซันแปงเฮโร ทราบว่า ท่านไม่ได้คิดทำการอย่างใดที่ไม่สมควรนั้น ความต่าง ๆ เหล่านี้ข้าพเจ้าได้นำขึ้นกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามให้ทรงทราบแล้ว ทรงมีพระทัยยินดีเปนอันมาก แลได้มีรับสั่งว่า บาดหลวงตาชาทำการ มีไหวพริบมาก แลเปนคนที่ต้องการจะให้พระราชไมตรีระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้คงสนิธสนมต่อไป แลรับสั่งต่อไปว่า เมื่อการทั้งปวงได้ลงรูปเปนที่เรียบร้อยดีแล้ว ก็จะเปนชื่อเสียงแก่บาดหลวงตาชา แลที่บาดหลวงตาชาได้ทำการดีเช่นนี้ ก็จะได้มีชื่อเสียง โด่งดังไปทั่วโลก ประเทศทั้งหลายคงจะได้ชมเชยสรรเสริญบาดหลวง ตาชาต่อไป ส่วนการที่เกี่ยวด้วยมองเซนเยอร์เดอเมเตโลโปลิศ พวกบาดหลวงแลชนสามัญนั้น เมื่อข้าราชการไทยสองคนได้กลับมาจากประเทศ ๒๒๔ ฝรั่งเศสได้รายงารถึงพระมหากรุณาของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส พระเจ้า กรุงสยามได้ทรงทราบก็ได้โปรดให้มองเซนเยอร์ เดอเมเตโลโปลิศ กลับไปอยู่โรงเรียนสามเณรตามเดิม พร้อมด้วยบาดหลวงแลคน สามัญทุก ๆ คน แลการที่โปรดให้ได้กลับไปอยู่โรงเรียนตามเดิมนั้น ก็เปนเวลาที่ยังหาได้รับจดหมายของบาดหลวงตาชาไม่ ที่ท่านกล่าวว่า มองซิเออร์แวงซังแปงเฮโร กับข้าราชการไทยสองคนได้นำจดหมายไปส่งยังท่านฉบับ ๑ มีใจความว่าพระเจ้ากรุงสยามโปรดให้ท่านกลับมายังเมืองไทยได้ แต่ก็มีคนบางคนได้ขอร้องคัดค้าน ไม่ให้ท่านมา แลว่าถ้าท่านมาเมืองไทยเมื่อใด ท่านจะได้พาบาดหลวง ผู้ชำนาญการแพทย์มาด้วย แลท่านกล่าวต่อไปว่ามองซิเออร์มาแตง ผู้อำนวยการใหญ่ของราชบริษัทแลเปนผู้ว่าการเมืองปอนดีเชรี ได้ พูดว่าการที่ท่านจะโดยสานมากับเรือพ่อค้าธรรมดาเปนการไม่สมควรแลท่านจะขัดมองซิเออร์มาแตงไม่ได้ แลว่าเรือที่จะมาจากทวีปยุโรปยังไม่ มาเพราะเหตุว่ายังมีสงครามติดต่อกับพวกฮอลันดาอยู่ แลท่านกล่าวว่าท่านได้บอกให้มองซิเออร์แวงซังแปงเฮโร มีจดหมายมายังเรา ถ้าจะรอ ไว้ก็จะช้าเสียเวลาไปอีกปีหนึ่ง แลในเรื่องนี้ท่านผู้อำนวยการใหญ่ไม่อยากจะทำการอย่างใดที่จะให้พระราชไมตรีเปลี่ยนแปลง จึงเห็นควรให้ส่งมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรมา เพื่อมาชี้แจ้งเหตุการทั้งปวงนั้น แลท่านอยากจะทราบด้วยว่าพระเจ้ากรุงสยามจะมีพระราชประสงค์ทอดพระเนตร์ศุภอักษรของสังตปาปา แลพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสหรือไม่ แลจะทรงรับพระราชสาสน์อย่างไรนั้น

๒๒๕ ตามที่ท่านกล่าวว่าท่านผู้อำนวยการใหญ่ไม่ยอมให้ท่านเชิญศุภอักษรของสังตปาปา แลพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสลงเรือ พ่อค้านั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านผู้อำนวยการใหญ่คิดถูกและเปนคนที่มี ไหวพริบสอดส่องถึงอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะศัตรูมีอยู่รอบข้าง ถ้าแม้ว่าได้เชิญพระราชสาส์นลงเรือพ่อค้าแลได้เกิดเหตุขึ้นกลางทาง ก็จะเปนการเสียพระเกียรติยศของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ซึ่ง เปนการไม่สมควรเลย เพราะในเวลานี้ก็ยังมีสงครามในระหว่าง ฝรั่งเศสแลฮอลันดาอยู่ ข้าพเจ้าหวังใจว่าพระเปนเจ้าคงช่วยให้สงครามนี้สงบลงสักเวลาหนึ่ง ส่วนที่ท่านถามว่าพระเจ้ากรุงสยามจะทรงรับศุภอักษรของสังตปาปาแลพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสอย่างไรนั้น ถ้ามีเรือมาจากประเทศยุโรปแลท่านได้เชิญศุภอักษรแลพระราชสาส์นมาแล้ว พระ เจ้ากรุงสยามจะทรงยินดีในอภินิหารแลอานุภาพของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส อย่างยิ่ง แลจะได้ทรงจัดรับพระราชสาส์นให้สมพระเกียรติยศของ พระเจ้าแผ่นดินอันใหญ่ยิ่งเพื่อเปนหนทางให้พระราชไมตรีได้สุกสว่างแล ได้ติดต่อยืนนาน ในข้อนี้พระเจ้ากรุงสยามได้มีกระแสรับสั่งอย่างหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้านำมาบอกให้ท่านทราบ กล่าวคือ ประเทศใดก็ตามเมื่อจะต้องการให้มีราชไมตรีติดต่อกันแล้ว ถ้าจะต้องการอย่างใดที่สมควร จะทำได้ ก็ต้องทำให้โดยเต็มใจ แต่ยังมีอีกข้อ ๑ ซึ่งน่ากลัวจะ ๒๙


๒๒๖ ลำบากบ้าง กล่าวคือ เรื่องอาหารการกินของผู้ที่จะมา เพราะในเมือง นี้จะหาได้แต่ผลไม้และผักต่าง ๆ ของพื้นบ้านเมืองเท่านั้น เพราะได้มีพระราชโองการให้ฆ่าแต่คนที่ทำความร้ายอย่างสาหัสเท่านั้น หาได้มีพระราชโองการให้ฆ่าสัตว์ต่าง ๆ ไม่ ที่ท่านว่าท่านจะพาบาดหลวงผู้ชำนาญวิชาแพทย์มาด้วยนั้น ท่านจะพามาก็ได้แลข้าพเจ้าจะยินดีมากถ้าท่านพามาจริง ตามที่ท่านว่า ถ้ามองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรได้กลับมาแล้ว ข้าพเจ้าคงจะได้ทราบความทุกอย่างนั้น ข้าพเจ้าขอบอกให้ท่านทราบว่า ข้าพเจ้าได้คอยมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรมาช้านานแล้วแลจนบัดนี้ก็ยังหาได้มาถึงไม่ ท่านกล่าวว่าเวลานี้ยังมีสงครามในประเทศยุโรปอยู่ ถ้าเลิกสงครามเมื่อใดเมืองไทยจะได้รับความรำคาญมาก ราษฎรพลเมืองของประเทศฝรั่งเศสแลประเทศสยามจะได้รับความเดือดร้อน เพราะพระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสคงจะทรงพระพิโรธในการที่ไทยได้ทำกับฝรั่งเศส แต่ถ้าหากว่าพวกเราได้จัดการให้เรียบได้แล้วไทยคงจะได้พ้นจากความลำบากเปน อันมาก แต่ถ้าจะถึงต้องทำสงครามกันแล้วภายหลังจะจัดการให้เรียบร้อยได้โดยมาก การที่ท่านได้เขียนมาเช่นนี้ทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจเปนอันมาก เพราะได้ทราบในพระมหากรุณาของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ซึ่งได้ทรงมีต่อข้าราชการไทยสองคนที่ได้กลับมาแล้วนั้น แลข้าราชการไทยสองคนนั้น


๒๒๗ ก็ได้บอกกับข้าพเจ้าว่าท่านอยากจะทราบความจริงจากข้าพเจ้าถึงเรื่องราวที่เกิดจลาจลขึ้น ข้าพเจ้าก็ได้มีหนังสือมายังท่านโดยยืดยาวเล่าถึง เหตุการณ์ที่ได้เปนไปตั้งแต่ต้น จนตลอดถึงเวลาที่นายพลเดฟาซ์กับ กองทหารได้ออกจากเมืองไทยโดยพาเอาขุนนางไทยไปด้วยแล้วภายหลัง จึงได้ส่งกลับมา ข้อความต่าง ๆ เหล่านี้ข้าพเจ้าได้เขียนในจดหมายที่ ได้ฝากมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรมาให้ท่าน ในคราวที่มองซิเออร์แวง ซังแปงเฮโรมาบอกท่านว่าท่านจะกลับมาเมืองไทยโดยไม่ต้องวิตกเกรงกลัวอะไรตามความประสงค์ของท่านก็ได้ เพราะท่านคิดจะกลับมา เมืองไทยพร้อมกับคนแทนของท่านผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท เพื่อจะได้มาจัดการของบริษัทให้เรียบร้อยต่อไปนั้น เมื่อท่านได้ทราบถึงความผิดของนายพลเดฟาซ์แลกองทหาร แลเมื่อได้พิเคราะห์ถึงสิ่งที่ถูกแลที่ผิดแล้ว เราก็จะได้ลืมความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้ทำกันทั้งสองฝ่าย แลผู้แทนของบริษัทกับเจ้าพนักงารพระคลังหลวงก็คงจะได้คิดอ่านทำบาญชีให้สำเร็จเรียบร้อยไป แต่บาดหลวงตาชาก็ ไม่มา ผู้แทนของบริษัทก็ยังไม่มา แวงซังแปงเฮโร ก็ยังไม่มากัน ทั้งนั้น เพราะฉนั้นการทั้งหลายจึงไม่ได้จัดให้เรียบร้อยไปได้ ในข้อที่ท่านกล่าวว่า เมื่อเลิกสงครามที่ประเทศยุโรปแล้ว เมืองไทยจะได้รับความรำคาญมาก เพราะพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสกริ้วใน การที่ไทยได้ทำแก่ฝรั่งเศสนั้น ข้อนี้ข้าพเจ้าได้พูดครั้งหนึ่งแล้วว่าเปน การน่าประหลาทมาก เพราะเหตุว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทรงพระปรีชา

๒๒๘ ญาณอันลึกซึ้งหาได้ทรงเชื่อความฝ่ายเดียวไม่ เพราะฉนั้นถ้าจะมีรับ สั่งให้ทำประการใดแล้วก็คงจะเปนสิ่งสำหรับประดับพระเกียรติยศแลเปน สิ่งที่คนทั่วโลกจะต้องสรรเสริญทั้งนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เชื่อว่าพระองค์จะ สั่งให้ทำการอย่างใดที่จะเปนสิ่งที่ไม่เปนประโยชน์ แลจะทำให้เกิด ความรำคาญขึ้น เปนการนานมาแล้วได้ปรากฏทั่วไปว่า ถ้าผู้ใดจะฝ่าฝืนขืนเอาเรือข้ามสันดอนเข้ามายังเมืองไทยเรือนั้นก็ต้องแตกทุกลำ คนชนิดนี้พวก ไทยหากลัวไม่ เพราะไม่ต้องทำอะไรหมดนอกจากรักษาปากน้ำให้มั่น แลคอยป้องกันอย่าให้เรือใหญ่เข้ามาได้เท่านั้นก็พอ ถ้าแม้ว่าข้าศึกจะ เข้ามาในเมืองไทยด้วยใช้เรือเล็กแล้วก็เท่ากับนำเหยื่อมาให้แก่คนไทย ถ้าเรือใหญ่จะพักอยู่ที่ท่าจอดเรือในเมืองไทยก็ดี เมืองมริดก็ดี ก็จะอยู่ ไม่ได้ เพราะขาดเสบียงแลคนเรือจะต้องล้มเจ็บมาก ถ้าเรือใหญ่จะจัดให้เรือเล็กเข้ามาหาน้ำหาฟืน ไทยก็จะจัดการป้องกัน ไม่ให้มาเอาน้ำเอาฟืนได้ เพราะฉนั้นผู้ใดคิดการเช่นนี้ก็จะเหนื่อยเปล่า เพราะฉนั้นถ้าหากว่าบาดหลวงตาชามีปราถนาจะให้พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองพระองค์แน่นหนามั่นคงแล้ว ข้าพเจ้าขอบอกกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ว่าได้มีกระแสรับสั่งให้มาได้โดยไม่ต้องเกรงกลัวอันตรายอย่างใด เมื่อบาดหลวงตาชาได้มาถึงแล้วจะได้จัดการ ทั้งปวงให้เรียบร้อย แลจะได้เห็นกันว่าใครถูกใครผิด แล้วต่อไปจะได้ ต่างคนต่างลืมสิ่งที่ไม่ดี แลจะได้ชำระสะสางบาญชีของบริษัท พร้อม


๒๒๙ ด้วยเจ้าพนักงารพระคลังหลวง เมื่อได้จัดการเรียบร้อยดังนี้แล้ว ต่อไปจะได้ไม่มีความลำบากอีก บาดหลวงเฟเรอซึ่งข้าพเจ้าได้จัดส่งให้ไปหาท่านนั้น จะได้ชี้แจง ให้ท่านทราบทุกอย่าง ในที่สุดนี้ขอให้ท่านทราบว่า ไทยยึดในความปฏิบัติอันดีของบาดหลวงตาชา สำหรับกระทำให้พระราชไมตรีในระหว่าง พระเจ้ากรุงสยาม แลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้สนิธสนมจนจะแตกร้าวไม่ ได้อีกต่อไป จดหมายฉบับนี้เขียนเมื่อณวันเสาร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค่ำ ปี ๒๒๓๗


จดหมายมองเซนเยอ ลาโน ถึง มองซิเออร์ เดอ ปองชาตแรง วันที่ ๒๓ เดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๖๙๔ (พ.ศ. ๒๒๓๗) ข้าพเจ้ามีความเสียใจที่ได้ทราบข่าวว่า พวกฮอลันดาตีป้อมเมืองปอนดิเชรีได้แล้ว แลได้พาพวกฝรั่งเศสซึ่งอยู่ณที่นั้นไปยังประเทศยุโรป พวกไทยได้แสดงความไม่พอใจเมื่อได้ทราบข่าวอันนี้ เพราะเหตุว่าผู้ที่มีอำนาจจะมาเจรจาการแลจัดการต่าง ๆ ไม่ได้อยู่ในอินเดียเสียแล้ว ซึ่งจะทำให้การต่าง ๆ ชักช้าไปอีก ท่านเจ้าพระยาพระคลังได้ขอให้ข้าพเจ้ามีจดหมายไปยังมองซิเออร์ เฟเรอ ซึ่งพักอยู่ชายทะเล ขอให้มองซิเออร์ เฟเรอ รีบส่งจดหมายที่เจ้าพระยาพระคลังได้มีมายังท่าน เพื่อท่านจะได้ทราบความประสงค์ของพวกไทย แลที่ยังไม่ได้จัดการลงไปให้เรียบร้อย ก็เพราะติดอยู่ด้วยข้อนี้

๒๓๐ ฝ่ายไทยได้จัดการหลายอย่างที่จะรับรองให้บาดหลวง ตาชา พอใจ เพื่อจะได้มายังเมืองไทย แต่บาดหลวง ตาชา ก็คงจะอ้างเหตุขัดข้องขึ้นร่ำไป แลบาดหลวง ตาชา ได้ชักช้าจนทำให้เสียการไปหมดแล้ว ในเวลานี้ไม่ทราบกันว่าบาดหลวง ตาชา จะมีอันตรายตามทาง หรือ ที่เมืองฝรั่งเศสอย่างใด แต่อย่างไรก็ดี ถ้าเรื่องนี้จะจัดการให้เรียบร้อยโดยไม่ต้องส่ง ราชทูตหรือส่งคนใหม่มาแล้ว พวกไทยจะพอใจให้ฝรั่งเศสมอบธุระกับ หัวหน้าของราชบริษัทคนใดคนหนึ่ง ซึ่งประจำอยู่ในอินเดียแล้ว เพราะคนจำพวกนี้อยู่ในที่นี้มีความชำนาญในการบ้านเมืองอยู่แล้ว จึงเห็นว่าจะเหมาะกว่าที่จะส่งคนใหม่ออกมา เพราะคนพวกนี้จะทำการได้สดวกกว่าคนใหม่ ในข้อนี้ท่านเจ้าพระยาพระคลังได้กำชับให้ข้าพเจ้าชี้แจง ให้ท่านเข้าใจให้จงได้ แลมอบธุระให้ข้าพเจ้าชี้แจงแก่ท่านตามแต่ข้าพเจ้าจะเห็นสมควร สำหรับถือเอาความสุขเปนใหญ่ แต่นอกจากข้อความ ที่มีอยู่ในจดหมายของข้าพเจ้า แลจดหมายของเจ้าพระยาพระคลังที่มีมาถึงท่านฉบับก่อน ๆ แลฉบับนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นมีข้อใดที่จะเพิ่มเติม นอกจากข้อที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว แลในความข้อนี้จะควร อย่างไรก็แล้วแต่ท่านจะเห็นควร อีกประการ ๑ การทั้งหลายก็ เรียบร้อยลงทุกที แลเกือบจะลงรูปเดิมหมดแล้ว พวกไทยก็แสดง ความไว้ใจแลไมตรีอย่างเดิม แลที่ไทยได้ขาดไมตรีไปชั่วคราวหนึ่ง นั้น ก็เปนการที่เกี่ยวด้วยการปอลิติกยิ่งกว่าอย่างอื่น


๒๓๑ ในที่สุดนี้ ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะชี้แจงให้ท่านทราบในเรื่องที่ข้าศึกยึดเมืองปอนดิเชรี นอกจากจะอ้อนวอนท่านอีกครั้งหนึ่ง ขอให้ท่าน กราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ให้ทรงพระเมตตากรุณาแก่พวกข้าพเจ้า ต่อไป พวกข้าพเจ้าก็ได้อ้อนวอนพระเปนเจ้าทุกวัน ขอให้พระเจ้า กรุงฝรั่งเศสได้ทรงมีชัยชนะแก่ข้าศึกทุกเมื่อ แลขอให้พระเปนเจ้า ช่วยพิทักษรักษาพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส แลพระราชวงศ์ให้ได้มีพระชนม์ ยืนยาวต่อไปด้วย


มองซิเออร์เฟเรอ มองซิเออร์ โบรด์ ค.ศ. ๑๖๙๖-๑๗๐๑ (พ.ศ. ๒๒๓๙-๒๒๔๔) เรื่องการเจรจาการบ้านเมืองแลการเปนไปของคณะบาดหลวง ค.ศ. ๑๖๙๖-๑๗๐๑ (พ.ศ. ๒๒๓๙-๒๒๔๔)

เรื่องบาดหลวงตาชาอยู่ที่เมืองมริด จดหมายบาดหลวง ตาชา ถึง มองเซนเยอร์ ลาโน เมืองมริด เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๖๙๗ (พ.ศ. ๒๒๔๐) นานมาแล้วข้าพเจ้าได้หวังใจว่าจะได้จูบมือท่าน แลพระเปนเจ้าทราบได้ดีว่าข้าพเจ้าได้มีความอดกลั้นเพียงไร ในการที่มีสิ่งมากีดขวางอยู่เสมอมาได้ ๕ หรือ ๖ ปีแล้ว แต่ในที่สุดนี้ พระเยซูเจ้าได้ฟัง คำอ้อนวอนข้าพเจ้าแลข้าพเจ้าก็จวนจะได้สมความปราถนาแล้ว เมื่อ


๒๓๒ เมืองปอนดีเชรีได้เสียแก่ข้าศึกและ้วนั้น พวกฮอลันดาได้พาข้าพเจ้าไป ยังเมืองแอมซเตอแดม แล้วจากเมืองนี้ได้พาข้าพเจ้าไปเมืองดันเคิก ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับพวกฮอลันดา พอข้าพเจ้าได้ไปถึงกรุงปารีส พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้โปรดมี รับสั่งให้ข้าพเจ้าไปยังเมืองฟอนเตนโบล เพราะเวลานั้นประทับอยู่ที่ เมืองนั้น อยู่มาอีกสองสามวันก็ได้โปรดให้ข้าพเจ้าเข้าเฝ้า ข้าพเจ้า ได้เฝ้าอยู่ช้านาน แต่ในเรื่องเฝ้าครั้งนี้ เมื่อข้าพเจ้ากลับไปถึงกรุง สยามจึงจะเล่าให้ท่านฟังต่อไป รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งข้าพเจ้าก็ป่วยเปนไข้ จึงจำเปนต้องกลับไปยัง กรุงปารีส แลก็ทำอะไรไม่ได้จนตลอดถึงต้นปี ๑๖๙๕ (พ.ศ. ๒๒๓๘) ในเวลานี้กองทัพเรือของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจวนจะออกอยู่แล้ว แลที่ จริงกองทัพเรือได้ออกกำลังระดูหนาว เวลานั้นอากาศหนาวจัดอย่าง ที่สุด จนเกือบจะเอาเครื่องศัตราอาวุธส่งลงเรือไม่ได้ เพราะบันดา ลำน้ำต่าง ๆ ก็เปนน้ำแขงไปหมด จึงจำเปนต้องเอาของทุกอย่างบันทุก รถมาจากปารีส ในคราวนั้นพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้โปรดให้ข้าพเจ้าเฝ้าเปนครั้งที่ ๒ ที่พระราชวังเวอซาย แลได้รับสั่งแก่ข้าพเจ้าเปนครั้งที่ ๒ ให้ข้าพเจ้า ไปยังเมืองไทย แลให้รีบไปกับเรือลำแรกที่จะออก เพราะพระเจ้า กรุงสยามกับเจ้าพระยาพระคลัง มีพระราชประสงค์และมีประสงค์จะรับพระราชสาส์น คือ ศุภอักษรของสังตปาปา อีโนซังที่ ๑๑ แลพระ ราชสาส์นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส

๒๓๓ แต่เพราะเหตุว่าการที่จะส่งข่าวทางจดหมายไม่เปนการแน่ได้ ข้าพเจ้าจึงจะรอให้ได้พบกับท่านเสียก่อน จึงจะเล่าความต่าง ๆ โดยเลอียด ข้าพเจ้าได้มีจดหมายไปยังเจ้าพระยาคลังฉบับ ๑ กล่าวถึงข้อความ ต่าง ๆ ทั่วไป แลข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าเจ้าพระยาพระคลัง คงจะมาขอ ให้ท่านแปลจดหมายฉบับนั้น เพราะฉนั้นข้าพเจ้าขอให้ท่านแปลตามแต่ท่านจะเห็นควร จะตัดทอนหรือเพิ่มเติมข้อความอย่างใดก็แล้วแต่ท่านจะเห็นเหมาะแก่เวลา แต่ขอได้โปรดบอกให้ข้าพเจ้าทราบว่าท่านได้แปลไว้ว่าอย่างไร เพื่อข้าพเจ้าจะได้พูดและปฏิบัติให้ตรงตามนั้น แลขอ ท่านได้โปรดชี้แจงให้ข้าพเจ้าทราบว่า ข้าพเจ้าควรปฏิบัติการอย่างใด เพื่อบังคับให้ไทยได้ทำการตามหน้าที่ ข้าพเจ้าเต็มใจจะทำการแต่ฉเพาะตามความเห็นชอบของท่าน เพราะเปนการจำเปนที่จะต้องทำการให้เข้ารูปจริง ๆ จึงจะเปนผลสำเร็จได้ ในส่วนที่เกี่ยวด้วยพวกบาดหลวงแลข่าวเดิรทาง ข่าวประเทศ ยุโรปแลข่าวต่าง ๆ นั้น ข้าพเจ้าได้มอบให้เปนธุระของบาดหลวงเดอลา บเรอย์ที่จะเล่าให้ท่านฟังโดยเลอียด เพราะบาดหลวงเดอลาบเรอย์จะมีจดหมายมายังท่านอยู่แล้ว แต่ข้าพเจ้าอดไม่ได้ที่จะต้องบอกให้ท่านทราบว่าข้าพเจ้าได้มาพบกับเทวดาแล้ว และถ้าข้าพเจ้าไม่อธิบายถึงคุณความดีของเขาต่อไป ก็เพราะเกรงว่าจะอธิบายถึงความดีของเขาไม่พอคน ๆ นี้ คือมองซิเออ ยาโรเซีย แลถ้าท่านได้พบกับเขาเมื่อใด ท่าน ๓๐


๒๓๔ ก็ควรจะรู้สึกว่ายากที่จะหาคุณความดีรวมอยู่ในคน ๆ เดียวได้ ข้าพเจ้าขอมอบให้มองซิเออร์ยาโรเซีย ได้บอกข่าวให้ท่านฟัง ถึงโรงเรียน สามเณรที่กรุงปารีส เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่าเขาคงจะเล่าได้ยืดยาว ข้าพเจ้าได้พบกับบาดหลวงบรีซาเซียสองหรือสามครั้ง แต่ได้พบ บาดหลวงตีแบช์แต่ครั้งเดียวเท่านั้น


จดหมายบาดหลวงตาชา ถึง มองซิเออร์เฟเรอ เขียนที่ท่าเรือเมืองมริด วันที่ ๕ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๖๙๗ (พ.ศ. ๒๒๔๐) ข้าพเจ้าต้องขอบใจท่านในการที่ท่านได้กรุณาเอื้อเฟื้อแก่ข้าพเจ้าหลายอย่าง ถ้าท่านได้รับจดหมายสองฉบับของข้าพเจ้าแล้ว ท่านก็คงจะเห็นได้ว่าข้าพเจ้ารู้สึกคุณของท่านเพียงไร ในการที่ท่านได้เหน็จ เหนื่อยเที่ยวไปเที่ยวมาสำหรับกิจของข้าพเจ้า แต่การที่ท่านไม่ได้พบข้าพเจ้าที่ฝั่ง (Cote) และที่เมืองเบงกอลนั้นก็จริง แต่ข้าพเจ้าจะต้องแจ้งให้ท่านทราบว่า จดหมายของท่านสองฉบับก็ได้ทำให้มีผลสมความ ปราถนาที่ท่านเจตนาในเวลามาหาข้าพเจ้าสองเที่ยว เปนการเคราะห์ดีมากที่สำเนาจดหมายซึ่งส่งไปยังกรุงลอนดอนได้มาถึงข้าพเจ้า โดย บาดหลวงตีแบช์กับบาดหลวงเดอบรีซาเซียได้ส่งมาให้ข้าพเจ้า เพราะท่านทั้งสองนี้ได้อุส่างห์ไปยังที่พักพวกบาดหลวงด้วยตนเอง พอข้าพเจ้า


๒๓๕ ได้รับจดหมายแล้วก็ได้คัดสำเนาส่งไปให้มองซิเออร์เดอปองชาตแรง แลได้ขอให้ท่านบาดหลวงเดอลาเชซ นำความในจดหมายนั้นกราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสให้ทรงทราบด้วย ข่าวดีต่าง ๆ ที่ท่านได้บอกมายังข้าพเจ้านั้นเปนที่พอพระทัยเจ้ากรุงฝรั่งเศสทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าพระเจ้า กรุงฝรั่งเศสได้มีรับสั่งว่าจะทรงยินดีให้ข้าพเจ้าได้กลับไปเมืองไทยก่อน ที่จะไปกรุงปารีสนั้นก็จริงอยู่ แต่ก็ได้มีรับสั่งกำชับอีกให้ข้าพเจ้ารีบไปเมืองไทยโดยเรือลำแรกที่จะออก เพราะฉนั้นจึงได้รับสั่งให้ข้าพเจ้าไปพร้อมกับกองทัพเรือ ซึ่งโปรดให้ไปยังเบงกอลอยู่แล้ว ข้าพเจ้ากล่าวว่ากองทัพเรือจะได้ไปยังเมืองเบงกอลนั้น ก็เพราะเหตุว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสไม่ทรงยอมให้กองทัพเรือแวะที่เมืองสุหรัด เพราะสินค้าของราชบริษัท จะส่งไปยังเมืองปอหลุยไม่ทันโดยเหตุที่อากาศกำลังหนาวมากนัก กองทัพเรือนี้มีเรือ ๖ ลำ เปนเรือที่มีปืนใหญ่ ๖๖ กระบอกสองลำ มีปืนใหญ่ ๔๖ กระบอกสองลำ อีกสองลำนั้นมีปืนใหญ่ ๓๐ กระบอก เรือสองลำนี้จะไปแวะที่เมืองเบงกอล ไปรับเรือซึ่งอยู่ในลำน้ำแกนซ์สองลำ แล้วจะได้พาข้าพเจ้าไปส่งยังเมืองมริด แต่เรือใหญ่ที่สุดสองลำ มีน้ำหนักมากจึงทำให้ชักช้า กว่าจะไปถึงเมืองสุหรัดต้องเดิรทางถึง ๑๑ เดือน การที่เรือเดิรช้าเช่นนี้ ทำให้เกิดการป่วยไข้ขึ้นในเรือซึ่งทำให้กำลังคน ในเรือน้อยไป จนถึงกับพวกนายเรือจะคิดกลับเสียแล้ว แต่ในเรื่องนี้เปนใหญ่อยู่ที่คอยจะป้องกันสินค้าที่เมืองสุหรัด แลทั้งได้ข่าวมาจากเมือง เบงกอลด้วยว่า เรือของเราซุดโทรมจะกลับไปยังประเทศฝรั่งเศสไม่ได้

๒๓๖ เพราะเหตุนี้นายเรือแลผู้อำนวยการของบริษัทที่เมืองสุหรัด จึงเห็นกันว่าถ้าจะไปอินเดียก็จะไม่มีอะไรทำ ฝ่ายเรือรบฮอลันดา ๘ ลำ ได้แล่นมาใกล้กับเมืองโกอา จะมารบกับเรือรบฝรั่งเศส ๕ ลำ แต่เรือใหญ่ลำ ๑ ได้พลัดกันที่เมืองอังยูอัง เมื่อเรือฮอลันดากับเรือฝรั่งเศสได้ยิงปืน ใหญ่โต้ตอบกันสักครู่หนึ่ง เรือฝรั่งเศสอยู่เหนือลมจะเทียบเข้าใกล้เรือฮอลันดาไม่ได้ ฝ่ายเรือข้าศึกไม่ต้องการจะเข้าใกล้เรือฝรั่งเศส นายเรือจึงตกลงแล่นเรือเดิรทางต่อไป พวกฮอลันดาก็หาตามไม่ แต่พวกฮอลันดาก็อยู่ใต้ลมด้วย เพราะฉนั้นเรือจึงได้เดิรทางมาถึงเมืองสุหรัดโดยเรียบร้อย แลได้พักอยู่ในเมืองนี้โดยไม่มีใครมารบกวนจนกว่าจะ ออกเรือต่อไป ข้าพเจ้าจึงได้ถ่ายลงเรือเล็กซึ่งชักธงปอตุเกศเพื่อไปยังเมืองเบงกอลต่อไป แลจากเมืองเบงกอลได้อาศรัยเรือแขกมัวไปจนถึงเมืองมริดโดยเรียบร้อย ท่านคงจะเห็นได้ว่า ในที่นี้ข้าพเจ้าจะอธิบายอะไรๆ ยังไม่ได้ จะต้องรอให้พบท่านเสียก่อนจึงจะอธิบายชี้แจงเหตุการณ์ทั้งปวงได้ แต่ในระหว่างนี้ขอให้ท่านพยายามพูดจาเกลี่ยกล่ายให้พระเจ้ากรุงสยามปฏิบัติการให้เปนที่พอพระทัยของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เวลา นี้เปนเวลาระหว่างสงคราม ซึ่งนับว่าเปนเวลาที่เหมาะ เพราะข้าพเจ้าสงสัยว่าเมื่อเลิกสงครามแล้ว ถ้าไทยยังไม่ได้ทำการให้เป็นที่พอใจ ของฝรั่งเศส พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะคงทรงทำพระทัยดีอยู่อย่างนี้หรือประการใด เพราะเมื่อพระเจ้ากรุงสยามที่สวรรคตยังมีพระชนม์อยู่ จะต้องพระราชประสงค์อันใด พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสก็ทรงยินดีทำให้ทุก


๒๓๗ อย่าง ที่กล่าวเท่านี้พอแล้ว ขอให้ท่านเชื่อเถิดว่าข้าพเจ้ามีความนับถือและรักใคร่กันอย่างที่สุด พวกบาดหลวงของเราทุกคน ได้ขอให้ข้าพเจ้าแสดงความนับถือมายังท่าน แลข้าพเจ้าขอให้ท่านโปรดจัดการพลิกแพลงให้จดหมายที่ข้าพเจ้าได้มีไปยังเจ้าพระยาพระคลัง แลออกยาพิพัฒได้มีผลที่ดี เพราะท่านเปนผู้รู้ถึงการเปนไปต่าง ๆ เพราะฉนั้นใจความในจดหมายนั้นท่านจะตัดทอนหรือเพิ่มเติมประการใด ก็แล้วแต่ท่านจะเห็นควร


จดหมายเหตุของคณะบาดหลวง เมื่อ ค.ศ ๑๖๙๗ (พ.ศ. ๒๒๔๐) ว่าด้วยเรื่องไทยเมื่อได้รับข่าวว่าบาดหลวงตาชาจะมา เมื่อวันที่ ๒๘ เดือนกุมภาพันธ์ ออกยาพิพัฒได้ให้ไปตามมอง ซิเออร์เฟเรอกับแวงซังแปงเฮโร ๆ ได้จัดให้บุตรชายชื่อฟรังซัวแปงเฮโร ไปแต่คนเดียวก่อน แล้วอีกสักครู่หนึ่ง พวกมิซชันนารีของเราสองคน กับแวงซังแปงเฮโร ได้ตามไปยังบ้านออกยาพิพัฒ เจ้าพนักงารจึงได้ มอบจดหมายให้ห่อหนึ่ง ซึ่งยังปิดผนึกอยู่ ครั้นเปิดห่อออกดูจึงเห็นหนังสือมีอยู่ ๔ ฉบับคือ จดหมายบาดหลวงตาชา ๒ ฉบับ ๆ หนึ่งสลักหลังซองถึงมองเซนเยอร์เดอเมเตโลโปลิศอีกฉบับ ๑ ถึงมองซิเออร์เฟเรอกับจดหมายมองซิเออร์ยาโรเซียถึงมองซิเออร์เฟเรอฉบับ ๑ แลจดหมาย


๒๓๘ บาดหลวงตาชาถึงแวงซังแปงเฮโรฉบับ ๑ ตามจดหมายที่มีมาถึงมอง ซิเออร์เฟเรอนั้น คงได้ความว่าห่อจดหมายนี้ได้มีกระดาษห่อนอกอีก ชั้นหนึ่ง ในห่อนี้มีจดหมายที่บาดหลวงตาชาเขียนมาถึงเจ้าพระยา พระคลังแลออกยาพิพัฒ แลที่ห่อหนังสือนั้นได้เขียนให้ส่งถึงโรงเรียนสามเณรแซงโยเซฟ หาได้สลักหลังถึงเจ้าพระยาพระคลังหรือถึงออกยาพิพัฒไม่ แต่ถึงดังนั้นออกยาพิพัฒก็ได้เปิดห่อเอาเสียเอง ถ้าแม้ว่าเจ้าพระยาพระคลังหรือออกยาพิพัฒได้เปิดจดหมายถึงมองเซนเยอร์เดอ เมเตโลโปลิศ แลมองซิเออร์เฟเรอ แลได้ให้เจ้าพนักงารแปลจดหมาย นั้นแล้ว ก็น่ากลัวจะเกิดสงสัยท่านสังฆราชไปต่าง ๆ เพราะมีใจความ ในจดหมายนั้นที่ไม่ควรจะกล่าวในเวลานี้ ครั้นฟรังซัวแปงเฮโรได้แปลจดหมายถึงเจ้าพระยาพระคลัง แลออกยาพิพัฒเสร็จแล้ว ก็ได้ส่ง จดหมายนั้นมาให้พวกมิซชันนารีอ่าน พวกมิซชันนารีอ่านแล้วก็ส่ง คืนไปให้ฟรังซัวแปงเฮโร เมื่อออกยาพิพัฒได้ทราบว่าพวกมิซชันนารีมาถึงแล้ว ออกยาพิพัฒก็ได้ออกมายังห้องสำหรับว่าราชการ ยื่นจดหมายถึงเจ้าพระยา พระคลังแลถึงตัวท่านเอง ส่งให้มิซชันนารีอ่าน แล้วถามว่า ดีหรือไม่ พวกมิซชันนารีตอบว่าดี ออกยาพิพัฒจึงได้จัดให้เสมียนนำจดหมาย แลพาพวกมิซชันนารีไปยังบ้านเจ้าพระยาพระคลัง ครั้นเสมียนได้ส่งคำแปลจดหมายเข้าไปยังเจ้าพระยาพระคลังแล้ว พวกมิซชันนารีจึงได้ตามเข้าไป เวลานั้นเจ้าพระยาพระคลังป่วย แลใจ


๒๓๙ ไม่สบาย ได้ถามว่า หนังสือฉบับนี้มาทางไหนแลมาอย่างไร แลใช้คำหยาบ ๆ หลายคำแล้วพูดขึ้นว่า เมืองไทยเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนแต่ก่อนเสียแล้ว แลไม่ต้องการทำอะไรให้ซู่ซ่าใหญ่โตเหมือนที่เคยทำมาแต่ปี ก่อน ๆ คือหมายความจะไม่ยอมจัดการรับรองให้ใหญ่โตเหมือนที่แล้ว มา แล้วเจ้าพระยาพระคลังจึงได้อ่านจดหมาย เมื่ออ่านเสร็จได้ถาม แวงซังแปงเฮโรเปนที่เหมือนจะปรึกษาว่าจะให้ท่านบาดหลวงพักที่ไหนดี ถ้าจะให้พักที่ห้างฝรั่งเศสเก่าจะไม่ได้หรืออย่างไร แล้วก็ถามต่อไปว่ามองซิเออร์เฟเรอจะไปยังเมืองมริดได้หรือไม่ได้ มองซิเออร์เฟเรอจึง ตอบว่า ป่วยไม่มีกำลังและไม่ได้เดิรออกจากห้องมาได้ ๗ หรือ ๘ เดือนแล้ว เจ้าพระยาพระคลังจึงพูดว่า ถ้าเช่นนั้นจะต้องให้มิซชันนารีที่อยู่นี้คนใดคนหนึ่งไปแทน (คือมองซิเออร์โปเก แลมองซิเออร์โบรด์ ซึ่ง มีงารทำอยู่ที่วัดแลที่โรงเรียน เต็มมือทั้งสองคน) การที่ไปหาเจ้าพระยาพระคลังในครั้งแรกมีความเท่านี้ แลพวก เราก็ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมีจดหมายอีกฉบับซึ่งบาดหลวงเดอลาบเรอย์ ได้มีมาถึงเจ้าพระยาพระคลังเขียนเปนภาษาไทยโดยยืดยาว แนะนำเหมือนกับบาดหลวงตาชาได้เขียนมาถึงแวงซันแปงเฮโร ว่าขอให้จัด ที่พักให้อยู่ในเมือง ขออย่าให้ไปอยู่ในเขตที่พวกมิซชันนารีฝรั่งเศสอยู่ หรืออย่าให้ไปอยู่ในค่ายปอตุเกศเลย แลในเรื่องนี้จะต้องพูดว่าเมื่อครั้งแวงซังแปงเฮโร ได้ออกไปรับบาดหลวงตาชานั้น ก็ได้พูดกันว่าจะได้ จัดบ้านของมองซิเออร์คอนซตันซ์ซึ่งถึงแก่กรรมแล้วนั้น ให้เปนที่พัก


๒๔๐ วันที่ ๑ เดือนมีนาคม พวกมิซชันนารีของเราคนหนึ่ง ได้ไปยังบ้านเจ้าพระยาพระคลังพร้อมด้วยแวงซังแปงเฮโร แต่หาได้พบเจ้าพระยาพระคลังไม่ จึงได้เลยไปหาออกยาพิพัฒ ๆ ได้ถามว่า เหตุใดบาดหลวง ตาชาจึงไม่ได้มากับเรือฝรั่งเศสซึ่งกลับมาจากสุหรัด บาดหลวงได้ ชี้แจงตามข้อความที่บาดหลวงตาชาได้อธิบายมาในจดหมาย ออกยาพิพัฒได้ฟังเปนที่พอใจแล้ว มิซชันนารีก็ลากลับมา แต่ได้สังเกตตาม คำถามแลเสียงของออกยาพิพัฒดูเหมือนการจะเปลี่ยนแปลงไปมาก ครั้นเวลาบ่าย ๓ โมง มิซชันนารีได้กลับไปยังบ้านออกยาพิพัฒอีก ได้ไปพบกับฟรังซัวแปงเฮโร ซึ่งออกยาพิพัฒได้ให้เรียกไปแต่ก่อน นั้นแล้ว ออกยาพิพัฒได้สั่งให้ฟรังซัวแปงเฮโรแปลจดหมายที่เจ้าพระยาพระคลังจะมีไปยังบาดหลวงตาชาเปนภาษาปอตุเกศ มิซชันนารีผู้ที่ไปหาออกยาพิพัฒพร้อมกับแวงซังแปงเฮโร ได้เห็นจดหมายฉบับนั้นซึ่ง มีใจความเท่ากับตัดทางไม่ให้บาดหลวงตาชามาเมืองไทยนั้น จึงได้ เขี้ยวเข็ญให้แวงซังแปงเฮโรพูดกับออกยาพิพัฒ เพราะแปงเฮโรได้ เห็นจดหมายก็ตกใจ แลสงสัยว่าจะไม่มีทางแก้ได้ แต่ก็ได้ลองพูดกับออกยาพิพัฒ ๆ ก็ดูตั้งใจฟัง แต่สำนวนที่พูดในเวลาตอบนั้นก็ไม่น่าจะหวังดีได้ เพราะออกยาพิพัฒได้พูดหลายหนว่า "หนังสือนี้ช่างเถอะจะเปนอะไร" แล้วออกยาพิพัฒก็เลยเข้าวัง แต่คนอื่นยังอยู่เพื่อชี้แจงให้เสมียนจดถึงการที่แต่งทูตมาแต่ก่อน แลถึงทูตครั้งมองเซนเยอร์เดลี โอโปลิศผู้ถึงแก่กรรมแล้วด้วย


๒๔๑ คำตอบของเจ้าพระยาพระคลัง ถึงบาดหลวงตาชา วันที่ ๒ เดือนมีนาคม เวลาประมาณบ่าย ๒ โมง แวงซังแปง เฮโรล่ามกำลังเตรียมตัวจะไปยังบ้านออกยาพิพัฒพร้อมด้วยมิซชันนารีคนหนึ่ง ก็พอได้รับจดหมายให้บุตร์ชายคือฟรังซัวแปงเฮโรไปยังบ้านเจ้าพระยาพระคลัง ทั้งสามคนจึงได้รีบไปบ้านออกยาพิพัฒก่อน พอไปถึงออกยาพิพัฒก็ได้ให้ฟรังซัวแปงเฮโรไปยังบ้านเจ้าพระยาพระคลังทันทีเพื่อจะได้ไปผนึกจดหมายที่เจ้าพระยาพระคลังจะมีไปยังบาดหลวงตาชา ที่บ้านเจ้าพระยาพระคลังนั้นมีโอกุศแตงโรซาดาล่ามชาติปอตุเกศอยู่ ณที่นั้น ซึ่งได้ถูกเรียกไปสำหรับให้สอบว่าคำแปลภาษาปอตุเกศ ตรงกับต้นฉบับหรือไม่ ในวันนี้ที่บ้านออกยาพิพัฒไม่ได้ถามอะไร นอกจากซักถามถึงการแต่งทูตเหมือนกับวันก่อน เช่นว่าราชทูตมา ทางไหน มีเรือมาด้วยกี่ลำ เรืออะไรบ้าง มาในปีอะไรดังนี้เปนต้น ลืมกล่าวไปว่าเมื่อวันก่อน มีล่ามฮอลันดาคน ๑ ชื่อ มาทิว อยู่ที่บ้านออกยาพิพัฒด้วย เพื่อคอยแก้ไขแลคัดค้านฟรังซัวแปงเฮโรในเวลา แปลจดหมายของเจ้าพระยาพระคลังถึงบาดหลวงตาชา จดหมายเจ้า พระยาพระคลังมีใจความว่าดังนี้ "ท่านได้กล่าวว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้จัดเรือ ๖ ลำ สำหรับเชิญพระราชสาส์นมาแลท่านได้พักอยู่ที่เมืองสุหรัดกับเรือ ๕ ลำ แล้วเรือ ๓๑


๒๔๒ ๕ ลำนี้ได้กลับไปยุโรปโดยทิ้งท่านแลพระราชสาส์นไว้ แล้วท่านจึงได้เชิญพระราชสาส์นโดยสานเรือปอตุเกศไปยังเมือง อูกลี แล้วจากเมือง อูกลีท่านได้โดยสานเรือแขกมัวไปยังเมืองมริด ความทั้งนี้ท่านขอให้ข้าพเจ้านำกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามนั้น แต่ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าเห็นว่า ยังจะกราบทูลให้ทรงทราบไม่ได้ เพราะเหตุว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ผู้ทรงพระปรีชายิ่งคนทั้งปวงได้จัดให้ท่านเชิญพระราชสาส์นมากับเรือ ๖ ลำ แต่เรือก็ไม่ได้มาหมดทั้ง ๖ ลำ แลได้ทิ้งท่านกับพระราชสาส์นที่เมือง อูกลีจนท่านต้องโดยสานเรือเปนคนโดยสานอย่างธรรมดามาถึงเมืองมริด ก็ถ้าข้าพเจ้านำเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามให้ทรงทราบแล้ว ก็ น่ากลัวจะต้องทรงแต่งราชทูตตอบไป แลราชทูตนี้ก็จะต้องไปด้วย เรือพ่อค้าเหล่านี้เอง ซึ่งข้าพเจ้าเห็นไม่เปนการสมควรเลย ทั้งดู เปนการผิดแบบราชประเพณีด้วย ถ้าความเรื่องนี้ทรงทราบไปถึงพระ เจ้ากรุงฝรั่งเศส ก็จะทรงติเตียนแลหาว่าข้าพเจ้าเปนคนโง่เขลา เพราะเมื่อเห็นว่าใครทำผิดแล้วจะต้องไปเอาอย่างคนผิดทำไม" "เพราะฉนั้นขอให้ท่านเชิญพระราชสาส์นกลับไปยังเมืองสุหรัดเถิด เมื่อมีเรือมาจากประเทศฝรั่งเศสเมื่อใด ท่านจึงคอยเชิญพระราชสาส์นมาตามแบบอย่างเดิม ๆ เมื่อเช่นนั้นข้าพเจ้าจึงจะนำความกราบทูล พระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้าให้ทรงทราบ พระเจ้ากรุงสยามจะได้ทรงจัดการรับพระราชสาส์นตามสมควร แลตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี"


๒๔๓ " ในข้อที่ท่านได้สัญญาไว้กับแขกอิกินมหะหมัด นายเรือซึ่งได้ พาท่านมาจากเมืองเบงกอลว่าท่านจะได้ชำระเงินค่าด่านภาษีทั้งขาเข้าแลขาออกจากเมืองมริดนั้น ในเรื่องนี้โดยที่ข้าพเจ้าเห็นแก่พระราชไมตรี ข้าพเจ้าจึงได้ห้ามเจ้าพนักงารมิให้เก็บภาษีอากรอย่างใดแก่แขกคนนั้น แลข้าพเจ้าได้สั่งแขกนายเรือลำนั้นเอง ให้รับท่านกับพระราชสาส์น กลับไปยังเมืองสุหรัดแล้ว เขียนเมื่อณวันขึ้น ๔ ค่ำ "

การปรึกษาหารือในระหว่างมิซชันนารี วันที่ ๓ เดือนมีนาคมเปนวันอาทิตย์ ได้มีคนเขียนจดหมายมา จากค่ายปอตุเกศว่ามีเสียงลือกันเซงแซ่ว่าท่านบาดหลวงตาชาถูกไล่กลับไปพร้อมด้วยพระราชสาส์น จนถึงกับบาดหลวงอันตวนดิยาซ หัวหน้าคณะเยซวิตปอตุเกศจะยอมพนันเปนเงิน ๑๐๐ เหรียญ ว่าทำอย่างไร ๆ ไทยก็จะไม่ยอมรับรองบาดหลวงตาชา แลว่าไทยได้เรียกพวกล่าม ในค่ายปอตุเกศกับพวกบาดหลวงเยซวิตปอตุเกศไปถาม ถึงขนบ ธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ในประเทศยุโรปในการส่งราชทูตว่าประเทศที่แต่งทูตไปนั้นไม่ได้จัดเรือของประเทศนั้นให้ราชทูตไปหรืออย่างไร พวกล่ามซิงเปนแขกอินเดียครึ่งชาติคงจะไม่มีความรู้ถึงขนบ ธรรมเนียมของประเทศยุโรปเท่าไรนัก เพราะพวกนี้เที่ยวพูดตรงกับ


๒๔๔ พวกบาดหลวงปอตุเกศ ว่าพระเจ้าแผ่นดินปอตุเกศนายของเขาไม่เคยแต่งราชทูตให้ไปเรือของคนอื่นเลย มีแต่จัดเรือปอตุเกศรับส่งราชทูตเสมอ การที่ราชทูตปอตุเกศได้ลงเรือพ่อค้าเคยมีแต่ครั้งเดียว คือ เมื่อครั้งราชทูตปอตุเกศมาจากเมืองมาเก๊ามาเมืองไทย เพื่อมาจัดการ ให้ไทยไล่พวกมิซชันนารีฝรั่งเศส ออกจากพระราชอาณาเขตครั้งเดียว เท่านั้น พวกบาดหลวงได้มาประชุมกันที่โรงเรียน เพื่อปรึกษาหารือถึงเรื่องหนังสือของเจ้าพระยาพระคลัง แลเมื่อได้ไคร่ครวญเห็นว่าบาดหลวงตาชาได้รับจดหมายเจ้าพระยาพระคลังแล้ว ก็คงจะทำการอันน่าเสียใจเปนแน่ เพราะไทยก็ไม่ยอมให้พวกเรามีหนังสือถึงบาดหลวงตาชาด้วย จึงได้ตกลงเห็นพร้อมกันว่า ควรจะต้องคิดอ่านประการใดประการหนึ่ง ขัดขวางไว้อย่าให้ส่งหนังสือฉบับนั้นไปได้ หรืออย่างดีก็ให้เจ้าพระยา พระคลังมีจดหมายไปอีกฉบับ ๑ ให้ลบล้างความในจดหมายฉบับก่อนเสีย เพราะฉนั้นพวกบาดหลวงจึงได้เห็นพร้อมกัน เพื่อป้องกันมิให้เจ้าพระยาพระคลังทำการซึ่งเปนการหมิ่นประมาทประเทศ แลซึ่งต่อไปจะทำให้ มีผลร้ายขึ้นนั้น จึงตกลงพร้อมใจกันทำเปนจดหมายบันทึกยื่นต่อเจ้า พระยาพระคลัง ในจดหมายบันทึกนั้นให้ยกข้อความต่าง ๆ ซึ่งพวกเราเห็นว่าเปนข้อที่สำคัญสำหรับขัดขวางในการที่เจ้าพระยาพระคลังกระทำเช่น นี้ เพราะในชั้นต้นก็ได้เตรียมการไว้ทุกอย่าง แลได้พูดจารับรองไว้ ว่าจะเรียกให้บาดหลวงตาชามายังเมืองไทยอยู่แล้ว


๒๔๕ วันที่ ๔ มีนาคม บาดหลวงสามคนกับแวงซังแปงเฮโรล่าม ได้ นำจดหมายบันทึกที่แต่งไว้นั้น ไปยังห้องว่าราชการของออกยาพิพัฒ ออกยาพิพัฒได้ตั้งใจอ่านโดยเลอียด แล้วบอกว่าเปนการดีมาก แล้วจึงสั่งให้พวกบาดหลวงนำจดหมายบันทึกนี้ไปส่งยังเจ้าพระยาพระคลัง แลให้บอกเจ้าพระยาพระคลังด้วยว่าในเรื่องนี้ออกยาพิพัฒเห็นชอบด้วยแล้ว แล้วออกยาพิพัฒได้ถามว่า ในการส่งทูตมาคราวนี้ เหตุใดจึงไม่มี พนักงารของราชบริษัทมาด้วยจนคนเดียว พวกบาดหลวงได้ตอบว่า ในเรื่องนี้บาดหลวงยังหาได้ทราบความโดยตลอดไม่ แล้วล่ามจึงได้พูดกับออกยาพิพัฒว่า ในเรื่องจดหมายที่เจ้าพระยาพระคลังจะมีไปยังบาดหลวงตาชานั้น ที่ค่ายปอตุเกศในเวลานี้ ไม่ได้พูดกันเรื่องอื่นนอกจาก พูดเรื่องจดหมายฉบับนี้ แลพวกปอตุเกศดูยินดีมากในการที่ประเทศ ฝรั่งเศสถูกหมิ่นประมาทในครั้งนี้ ออกยาพิพัฒได้ตอบอีกว่า "หนังสือนี้จะเปนอะไร ใครจะพูดว่าอย่างไรก็ตามใจเขา จะเปนอะไรไป" แล้วบาดหลวงจึงได้เลยไปยังบ้านเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งเวลานั้นป่วยมาได้ ๘ หรือ ๑๐ วันแล้ว โดยปวดแก้มเพราะเปนฝีที่แก้ม เพราะ ฉนั้นเจ้าพระยาพระคลังจึงทำการงารไม่ได้ แลทำให้ใจหงุดหงิด พบยาก เมื่อได้ไปรออยู่หลายชั่วโมง เจ้าพระยาพระคลังได้เรียกล่ามเข้า ไป ล่ามจึงยื่นจดหมายบันทึก เจ้าพระยาพระคลังได้รับไว้ บอกว่า แล้ว จึงจะอ่านล่ามก็ออกมาโดยไม่ได้พูดจากับเจ้าพระยาพระคลังอย่างใดเลย


๒๔๖ วันที่ ๕ มีนาคม ล่ามได้ไปยังบ้านเจ้าพระยาพระคลังอีก แลได้รับคำตอบแต่อย่างเดียวว่า เจ้าพระยาพระคลังยังป่วยมาก ยังหาได้ดู จดหมายบันทึกไม่ พวกบาดหลวงเห็นว่า เจ้าพระยาพระคลังป่วยทำงารไม่ได้ แลวัน ก็ล่วงไปทุกที จึงเห็นพร้อมกันว่า ควรจะยื่นเรื่องราวต่อออกยาพิพัฒ ขอให้ออกยาพิพัฒนำความเห็นต่าง ๆ ที่ได้จดไว้ในจดหมายบันทึกนั้น ขึ้นกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามให้ทรงทราบด้วย วันที่ ๖ มีนาคม เปนวันนักขัตฤกษ์ ไทยหยุดงารหมด เพราะฉนั้นการที่จะยื่นเรื่องราวต่อออกยาพิพัฒ ต้องรอไปวันพรุ่งนี้ วันที่ ๗ มีนาคม เปนวันที่ออกยาพิพัฒจะแห่ศพภรรยาเจ้าพระยาพระคลังซึ่งถึงแก่กรรมมาหลายเดือนแล้ว ไปเผายังโรงทึม แต่พวก บาดหลวงเกรงจะหาโอกาศที่จะพบออกยาพิพัฒไม่ได้ จึงได้รีบไปหา แต่เช้า ได้ไปพบออกยาพิพัฒออกจากบ้านแล้ว นั่งรอกระบวรแห่ อยู่ที่ศาลากลางทาง การที่จะไปรบกวนท่านในเวลาอย่างนี้ก็ดูไม่เหมาะแลดูจะเสียกิริยา แต่บาดหลวงเห็นว่าการเรื่องที่จะยื่นเรื่องราวนี้เปนเรื่องสำคัญมาก จะมัวรออยู่ไม่ได้ บาดหลวงจึงได้ตรงขึ้นไปยังศาลา ได้คำนับท่านออกยาพิพัฒ แล้วยื่นเรื่องราวให้ ซึ่งเปนการทำหนักมือ อยู่สักหน่อย ออกยาพิพัฒได้รับเรื่องราวไปอ่าน แล้วตอบว่าอีกสอง สามวันจึงกลับมาฟังใหม่ แล้วบาดหลวงก็ลากลับมา วันที่ ๙ มีนาคม เวลาบ่าย ๓ โมง พวกบาดหลวงกับล่ามได้ไป ยังบ้านออกยาพิพัฒ ท่านออกยาพิพัฒได้ส่งคำตอบจดหมายบันทึกของเรา

๒๔๗ แลบอกกับบาดหลวงว่าจะต้องเตรียมการให้เสร็จในบางข้อเสียก่อนจึงจะนำความกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามได้ เพราะฉนั้นบาดหลวงจะต้องแต่ง จดหมายบันทึกแก้กระทู้ของออกยาพิพัฒเสียก่อน แล้วจะต้องนำเรื่องราวซึ่งออกยาพิพัฒได้คืนมาส่งคืนไปหาออกยาพิพัฒอีก เพื่อออกยาพิพัฒจะได้ตอบเรื่องราวนั้นต่อไป บาดหลวงได้ถามว่าจดหมายเจ้าพระยา พระคลังถึงบาดหลวงตาชาได้ส่งไปแล้วหรือยัง ออกยาพิพัฒจึงตอบว่าได้ส่งไปได้สัก ๔-๕ วันแล้ว บาดหลวงจึงพูดว่าเมื่อบาดหลวงตาชา ได้เห็นจดหมายฉบับนั้นแล้วก็น่ากลัวจะกลับไปโดยทันที ออกยาพิพัฒ จึงตอบว่าพ่อค้าซึ่งรับบาดหลวงตาชามานั้นมีสินค้าที่จะขายมาก แลไทยก็ยกการเก็บภาษีให้ทั้งหมด คงจะออกเรือโดยเร็ววันไม่ได้ ในส่วนเรื่องมองซิเออร์ยาโรเซียซึ่งเปนพวกเรานั้น พวกเราก็ได้แนะนำกับออกยา พิพัฒครั้ง ๑ แล้วว่ามองซิเออร์โรเซียหาได้เกี่ยวในการทูตไม่ควรจะ เรียกให้มายังเมืองไทยโดยเร็ว เพราะฉนั้นวันนี้จึงได้พูดเรื่องมองซิเออร์ ยาโรเซียอีกครั้ง ๑ แลถามออกยาพิพัฒว่าพวกบาดหลวงจะมีหนังสือ ถึงมองซิเออร์ยาโรเซียจะได้หรือไม่ ออกยาพิพัฒตรองอยู่สักครู่ ๑ จึงตอบว่าถ้าจะมีหนังสือไปก็บางที่จะเกิดทำให้สงสัยขึ้น เพราะฉนั้น ออกยาพิพัฒจึงห้ามไม่ให้มีหนังสือไป แต่ส่วนในข้อต้นคือที่จะสั่งให้มองซิเออร์ยาโรเซียมายังเมืองไทยนั้น ออกยาพิพัฒบอกว่าจะปรึกษา กับเจ้าพระยาพระคลังดูก่อน วันที่ ๑๐ เดือนมีนาคม บาดหลวงคน ๑ กับล่ามได้นำเรื่องราวไปยังบ้านออกยาพิพัฒ ในคราวนี้ดูกิริยาออกยาพิพัฒออกจะตึง ๆ แล้ว

๒๔๘ ออกยาพิพัฒได้พูดว่า เจ้าพระยาพระคลังหรือออกยาพิพัฒไม่เคยได้มีหนังสือบอกให้บาดหลวงตาชามาเรือลำใดตามชอบใจได้เลย แลได้ นำความกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามแต่ในความ ๓ ข้อเท่านั้น แต่ตาม จดหมายบันทึกที่พวกบาดหลวงได้ยื่นกล่าวถึงความ ๗ ข้อนั้น เจ้าพระยาพระคลังหรือออกยาพิพัฒไม่ได้ทราบเรื่องด้วยเลย แล้วออกยาพิพัฒได้ส่งคำตอบจดหมายบันทึกให้แก่ล่ามแลส่งคำตอบมาเปนลายลักษอักษรพวกมิซชันนารีก็ได้รีบตอบโดยทันที วันที่ ๑๑ เดือนมีนาคม บาดหลวง ๓ คนกับล่ามสองคนคือทั้งบิดาแลบุตรได้ไปยังบ้านออกยาพิพัฒยื่นความเห็นตามข้อที่ถามมา ออกยาพิพัฒได้ตั้งใจอ่านโดยเลอียด จึงเห็นความจริงซึ่งมีพยานหลักฐานตามข้อความที่เราได้จดไป แลบางทีออกยาพิพัฒจะเห็นข้อความตรงกับความ ๗ ข้อ หรือจะอย่างไรก็ไม่ทราบ แต่ออกยาพิพัฒได้ตอบว่า เปนการ ดีแล้ว บาดหลวงกับล่ามก็ลากลับมาหาได้พูดจาอย่างใดไม่


เจ้าพระยาพระคลังขัดขวางไม่ยอมให้รับรองบาดหลวงตาชา วันที่ ๑๘ เดือนมีนาคม บาดหลวงผู้หนึ่งได้ไปหาข้าราชการผู้น้อยคนหนึ่งซึ่งได้เคยไปยังประเทศฝรั่งเศสกับบาดหลวงตาชา ข้าราชการผู้นี้ชื่อ ชำนาญ (Chamnan) ได้เล่าให้บาดหลวงฟังว่าข้าราชการโดยมากไม่เห็นด้วยในการที่จะรับรองบาดหลวงตาชาแลเล่าว่าเจ้าพระยาพระคลังพูดดัง ๆ แลขัดข้องขัดขวางในการรับรองบาดหลวงตาชายิ่งกว่าข้าราชการ


๒๔๙

ทั้งปวง ท่านชำนาญได้พูดต่อไปว่า ที่ข้าราชการคิดการเช่นนี้ดูเปนการไร้ปัญญา แลถามว่าที่ไทยทำการเช่นนี้ ข้าราชการในราชสำนักฝรั่งเศสจะไม่เห็นว่าเปนการหมิ่นประมาทหรืออย่างไร แลฝรั่งเศสจะไม่คิดส่งเรือรบมาแก้แค้นหรือ วันที่ ๒๐ มีนาคม บาดหลวงคน ๑ กับฟรังซัวแปงเฮโรได้ไปหาเจ้าพระยาพระคลังซึ่งทุเลาป่วยขึ้นบ้างแล้ว เจ้าพระยาพระคลังได้พูดหลายอย่างซึ่งทำให้เห็นได้ว่าท่านไม่ต้องการรับบาดหลวงตาชา คือ ๑ ว่าการที่บาดหลวงตาชาเปนทูตมาในคราวนี้ บางที่จะเปนแต่ทูตของพวกบาดหลวงหรือทูตของสังตปาปาเท่านั้น ถ้าเปนทูตของพระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสแล้ว ก็คงจะมาโดยเต็มเกียรติยศดังที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้เคยแต่งมาครั้งก่อน ๆ แล้ว ๒ บาดหลวงหาได้พาคนของราชบริษัทมาด้วยไม่ แลคนเหล่านี้ก็ล้วนแต่เปนคนที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสโปรดแลกรุณาทุกคน ๓ บาดหลวงตาชามีหนังสือมาก็ไม่ได้พูดถึงของต่าง ๆ ที่พระเจ้ากรุงสยามองค์สวรรคตได้ขอให้ราชบริษัทจัดทำขึ้น ๔ บาดหลวงตาชาไม่ได้พูดถึงคนไทยหนุ่มที่ได้ส่งให้ไปเรียนวิชาที่ประเทศฝรั่งเศสแลที่ได้สั่งให้ ส่งกลับมานั้น จะได้พามาด้วยหรือประการใดก็หาได้พูดถึงไม่ ๕ เจ้า พระยาพระคลังได้พูดกับฟรังซัวแปงเฮโรหลายหนว่า "ฉันรู้ว่าใครเปนบาดหลวงตาชา แลตัวท่านเองไม่รู้จักบาดหลวงตาชาดอกหรือ คน ๆ นี้ ๓๒


๒๕๐ เปนคนอย่างไรใครจะไปไว้ใจเขาได้" บาดหลวงได้ขอให้เจ้าพระยา พระคลังสั่งให้เรียกมองซิเออร์ยาโรเซียมายังเมืองไทย เจ้าพระยาพระคลังตอบว่าเรื่องนี้เปนหน้าที่ของออกยาพิพัฒให้บาดหลวงไปพูดกับออกยาพิพัฒ เอาเองเถิด


เรื่องของถวาย วันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม มิซชันนารีคน ๑ กับแวงซังแปงเฮโรล่ามได้นำคันธนู ซึ่งได้สั่งมาจากเมืองตังเกี๋ยไปส่งยังบ้านเจ้าพระยาพระคลังของเหล่านี้สำหรับถวายพระเจ้ากรุงสยามภาษาฝรั่งเศสใช้แต่คำว่า "Prince" ๔ อัน ถวายเจ้า ๓ อัน สำหรับเจ้าพระยาพระคลัง ๑ อัน แลยังมีหีบสำหรับใส่หมากอีกหลายหีบ เมื่อไปหาเจ้าพระยาพระคลังคราวนี้ไม่ได้พูดถึงบาดหลวงตาชาเลย แลเจ้าพระยาพระคลังก็ไม่ได้กล่าวถึงเหมือนกัน การที่เจ้าพระยาพระคลังนิ่งเสียไม่พูดถึงบาดหลวงตาชาเลยนั้น ดูประดุจเจ้าพระยาพระคลังเห็นว่าการที่บาดหลวงตาชาเปนราชทูตมาคราวนี้ไม่เปนการสำคัญอะไรเลย เมื่อก่อนหน้าหลายวัน ฟรังซัวแปงเฮโรได้ไปขอหนังสือเดิรทางจากเจ้าพระยาพระคลัง เจ้า พระยาพระคลังจึงตอบว่า "จะไปไหนก็ตามใจเถิดไม่มีพิธีอะไร การ เรื่องบาดหลวงตาชาเปนเรื่องที่แล้วไปแล้ว" แล้วบาดหลวงได้นำคันธนู กับหีบหมากไปให้ออกยาพิพัฒเหมือนกัน ออกยาพิพัฒเปนคนที่มีอัธยาศัยดี บาดหลวงจึงได้สนทนากับออกยา

๒๕๑

พิพัฒนานหน่อย ออกยาพิพัฒได้พูดหน้าเฉยตาเฉยว่ายังไม่ได้รับข่าวจากบาดหลวงตาชาเลย แลว่าพระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งถามถึง บาดหลวงตาชาหลายครั้งแล้ว ออกยาพิพัฒได้เล่าต่อไปว่าเจ้าเมืองตะนาวศรีได้มีหนังสือมาจริง แต่หนังสือนั้นพูดถึงเรื่องอื่นหาได้พูดถึงบาดหลวงตาชาไม่ รุ่งขึ้นวันที่ ๑๘ เมษายนเจ้าพระยาพระคลังมีจดหมายมายังแวงซังแปงเฮโรล่ามให้ส่งตัวอย่างเสื้อไป เพราะพระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์พระราชทานเสื้อและเสื้อยาวให้แก่หัวหน้าของโรงเรียนสามเณร ล่ามเห็นว่าการนี้เปนโชคดีสำหรับพวกเรา วันที่ ๒ เดือนพฤษภาคม บาดหลวงคน ๑ กับแวงซังแปงเฮโรล่ามได้ไปยังบ้านเจ้าพระยาพระคลังเพื่อไปรับเสื้อแลเสื้อคลุมยาว ที่พระเจ้ากรุงสยามโปรดให้ตัดเพื่อพระราชทานแก่หัวหน้าของโรงเรียนสามเณร เสื้อทั้งสองตัวนี้ทำด้วยแพรมาจากเมืองจีน เนื้อแพรเลอียดแลหนาดี เจ้าพระยาพระคลังได้ถามว่ามองซิเออร์เฟเรอสบายดีหรืออย่างไร แต่ การที่ถามนี้ก็ดูเหมือนจะแกล้งถาม เพราะเหตุว่าถ้ามองซิเออร์เฟเรอ ไม่ป่วยแล้วก็จำเปนจะต้องมารับเสื้อด้วยตนเอง แลจะต้องสวมเสื้อ พระราชทานต่อหน้าเจ้าพระยาพระคลังด้วย ดังเช่นเคยมีตัวอย่างซึ่งมองซิเออร์เฟเรอต้องปฏิบัติอย่างนี้ เมื่อครั้งมองเซนเยอร์เดอเมเตโล โปลิศได้ถึงแก่กรรมครั้ง ๑ แล้ว เพราะเวลานั้นก็ได้พระราชทานเสื้อ แพรสีม่วงตัว ๑ เหมือนกัน เจ้าพระยาพระคลังจึงได้บอกว่า จะได้

๒๕๒ นำข้อความอันไพเราะที่มองซิเออร์เฟเรอได้มีจดหมายมานั้นขึ้นกราบทูลและจะได้กราบทูลให้ทรงทราบว่า มองซิเออร์เฟเรอมาด้วยตัวเองไม่ได้ จึงได้จัดให้พวกพ้องมาแทน

เรื่องบาดหลวงตาชากลับไปเมืองเบงกอล เมื่อบาดหลวงได้ออกจากบ้านเจ้าพระยาพระคลังมาแล้ว ได้เลยไปหาออกยาพิพัฒด้วย แวงซังแปงเฮโรจึงเรียนออกยาพิพัฒว่า บันดาพวกบาดหลวงทั้งปวงมีความเศร้าโศกมากที่ได้ทราบข่าวว่าบาดหลวงตาชา ได้ลงเรือแขกมัวลำที่พามานั้นเอากลับไปยังเมืองเบงกอลแล้ว แลข่าวนี้ ก็เปนข่าวที่ทราบมาจากไทยที่มาจากเมืองตะนาวศรีซึ่งยืนยันว่าบาดหลวงตาชาได้ไปจริงแล้ว ท่านออกยาพิพัฒจะแกล้งทำเปนไม่เข้าใจ หรือจะเข้าใจผิดเพราะพูดอยู่เสมอว่าบาดหลวงตาชาจะไปเร็วไม่ได้ อย่างไร ก็ไม่ทราบ แต่ก็คงขืนพูดอยู่เสมอว่า พระเจ้ากรุงสยามรับสั่งถามถึง บาดหลวงตาชาอยู่บ่อย ๆ แลว่าเจ้าเมืองตะนาวศรียังไม่ได้มีใบบอกมา ในเรื่องนี้เลย ออกยาพิพัฒยกเหตุว่าถ้าบาดหลวงตาชาได้ลงเรือไป จริงแล้วเจ้าเมืองตะนาวศรีคงจะบอกเข้ามาเปนแน่ แวงซังแปงเฮโรจึงเรียนออกยาพิพัฒว่า บาดหลวงตาชามีเหตุที่จะไม่ไว้ใจไทยหลายข้อ กล่าวคือ ๑ เพราะว่าไทยได้มีหนังสือไปถึงบาดหลวงตาชาเปนสำนวน ไม่อ่อนหวานเลย ๒ หนังสือที่มีไปนั้นก็เปนภาษาโปตุเกศซึ่งไม่ได้บอกให้พวกบาดหลวงรู้เลยแลทั้งห้ามไม่ให้บาดหลวงมีหนังสือไปถึง บาดหลวง

๒๕๓

ตาชา ด้วยกลัวจะเกิดความสงสัยต่าง ๆ เช่นนี้ ออกยาพิพัฒจึงตอบว่า "เหตุใดจึงไม่ได้เขียนเปนภาษาฝรั่งเศสเล่า ไม่ใช่ฟรังซัวแปงเฮโร เปนผู้แปลดอกหรือ" แวงซังแปงเฮโรจึงตอบว่า "ฟรังซัวแปงเฮโร เปนผู้แปลจริง แต่ท่านได้เรียกล่ามมาจากค่ายโปตุเกศสองคนสำหรับ มาสอนคำแปลหรือไม่ ถ้าจะเขียนหนังสือเปนภาษาฝรั่งเศสจะต้องเรียกคนโปตุเกสมาทำไมเล่า "ออกยาพิพัฒไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไร แลได้ รับรองว่า จำได้ว่าได้ห้ามไม่ให้พวกบาดหลวงมีหนังสือไปจริง แวงซังแปงเฮโรจึงพูดว่า "ข้าพเจ้าเชื่อว่าเมื่อบาดหลวงตาชาได้อ่านจดหมายฉบับนั้นซึ่งเขียนเปนภาษาโปตุเกศแลไม่ได้รับจดหมายจากพวกบาดหลวงเลยจนที่สุดบาดหลวงอีกคน ๑ ซึ่งอยู่กับบาดหลวงตาชาแลเปนคนคณะเดียวกันก็ไม่ได้รับหนังสือเหมือนกัน ก็คงจะทำให้บาดหลวงตาชาสงสัยว่าจะมีเหตุอะไรสักอย่าง ๑ เปนแน่ แลบางทีจะสงสัยว่าท่านได้จับพวกบาดหลวงเข้าคุกเสียหมดแล้วก็จะเปนได้ ถ้าไทยได้ทำการร่วมกับพวกบาดหลวงแล้ว บาดหลวงตาชาก็คงจะไม่ได้มีความสงสัยอย่างใด แลคงจะไม่รับกลับไปดังนี้ ทั้งเราก็จะได้ทราบด้วยว่าการที่บาดหลวง ตาชามาคราวนี้ด้วยได้รับคำสั่งจากผู้ใด" ตามที่แวงซังแปงเฮโรชี้แจง ดังนี้ สังเกตดูออกยาพิพัฒก็ไม่เห็นร้อนใจอย่างใด แล้วออกยา พิพัฒจึงพูดว่า จะได้เรียกพวกไทยที่มาจากเมืองตะนาวศรีมาถามดูก่อน ภายหลังไม่กี่วัน ใบบอกเจ้าเมืองมริดก็มาถึง มีใจความว่า บาดหลวงตาชาได้ลงเรือแขกมัวลำที่พามานั้นเองกลับไปยังเมืองเบงกอล ๒๕๔

แล้ว เมื่อออกยาพิพัฒได้อ่านใบบอกแล้ว ก็หาได้เรียกพวกเราไปบอก ข่าวให้ทราบไม่ บาดหลวงจึงได้ให้ไปสืบที่เจ้าพระยาพระคลัง ๆ ได้ บอกว่า บาดหลวงตาชากับคนอื่น ๆ ได้ออกจากเมืองมริดแล้ว ยังอยู่แต่คนเดียวกับเสมียนอีกคน ๑ ที่เมืองมริดเท่านั้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอยู่เช่นนี้เสมอวันนี้ไปอย่าง ๑ พรุ่งนี้เปลี่ยนไปอีกอย่าง ๑ ดังนี้เปนการน่าพิศวงมาก ที่เปนดังนี้เราก็รู้ไม่ได้ว่าจะเปนด้วยพวกโปตุเกศคิดขัดขวางในเรื่องบาดหลวงตาชาแต่ชั้นต้น หรือจะ มาคิดขัดขวางในเวลาที่ไทยเรียกพวกโปตุเกศมาปรึกษาก็ทราบไม่ได้ แต่พวกฮอลันดาเราทราบว่าเขาไม่ได้คิดอ่านขัดขวางแลเกี่ยวข้องในเรื่อง นี้อย่างใด เปนแต่เพียงล่ามของพวกฮอลันดามาช่วยแปลหนังสือเจ้า พระยาพระคลังถึงบาดหลวงตาชาเปนภาษาโปตุเกศเท่านั้น เดือนพฤศจิกายน ก่อนวันที่ ๕ เดือนนี้สองสามวัน ฟรังซัวแปง เฮโรได้ไปยังบ้านออกยาพิพัฒ ได้เกิดพูดเรื่องบาดหลวงตาชากันขึ้น ออกยาพิพัฒจึงพูดว่า ได้ทราบมาเปนแน่แล้วว่าหนังสือต่าง ๆ ที่บาดหลวงตาชานำมาแลอ้างว่าเปนพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้น เปนหนังสือที่บาดหลวงตาชาได้แต่งเขียนประดิษฐขึ้นเองทั้งสิ้น ข้อนี้ร้ายมากที่ออกยาพิพัฒแลพวกไทยเชื่อเอาด้วยว่า บาดหลวงตาชาสามารถจะทำการทุจริตได้ถึงเพียงนี้


๒๕๕

จดหมายบันทึกซึ่งพวกบาดหลวงได้แต่งยื่นต่อเจ้าพระยาพระคลัง กล่าวเรื่องบาดหลวงตาชามาที่เมืองมริด ข้าพเจ้า ปีแยเฟเรอ มีความปราถนาอยากจะไปหาท่าน (หมายความว่าพูดกับเจ้าพระยาพระคลัง) ด้วยตนเอง แต่ข้าพเจ้าไปไม่ ได้ เพราะข้าพเจ้าไม่มีแรงเลย ด้วยข้าพเจ้าได้ป่วยมาหลายเดือนแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้วานให้ มองซิเออร์ โปเก มองซิเออร์ โบรด์ กับมองซิเออร์เดซเตรชี ไปแทนตัวข้าพเจ้า เพื่อเรียนให้ท่านทราบว่า บาทหลวง ตาชาซึ่งได้เปนราชทูตของพระเจ้ากรุงสยามที่เสด็จสวรรคตเสียแล้วนั้นได้ ไปเฝ้าท่านสังตปาปาและได้เฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และได้รับพระราชสาสนและศุภอักษรตอบ บัดนี้ก็ได้มาถึงเมืองมริดแล้ว พวกข้าพเจ้า ทั้งหลายได้มีความเสียใจมาก ที่ได้ทราบว่าท่านได้มีจดหมายถึงบาดหลวงตาชาให้กลับไปยังเมืองสุหรัต โดยท่านยกเหตุว่าบาดหลวงตาชาหาได้กลับเรือฝรั่งเศสไม่ ข้าพเจ้าต้องขอเรียนว่า การที่ท่านทำดังนี้ และที่ท่านไล่บาดหลวงตาชากลับไปเช่นนี้ เปนการตัดพระราชไมตรีอย่างเด็จขาด และซึ่งจะเชื่อมให้ต่อติดกันไม่ได้อีกแล้ว ข้าพเจ้าได้ทราบต่อไปว่าในจดหมายที่บาดหลวงตาชาได้เขียนถึงท่านจากเมืองมริดนั้น ก็มีข้อความบอกมาว่า บาดหลวงตาชาได้รับ จดหมายของท่านและของออกยาพิพัฒที่เมืองโกวา บาดหลวงตาชาจึง มีจดหมายตอบฝากมากับแวงซังแปงเฮโร ขอร้องมามีความ ๗ ข้อ ในความ ๗ ข้อนี้ท่านก็ได้มีจดหมายตอบไปแล้วว่าท่านได้เข้าใจความโดย

๒๕๖

ตลอด และได้นำความขึ้นกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามนายของท่านให้ ทรงทราบแล้ว ก็ในความ ๗ ข้อนี้บาดหลวงตาชาก็บอกมาว่า ถ้า พระเจ้ากรุงสยามจะโปรดให้บาดหลวงตาชาเชิญพระราชสาสนมายังเมืองไทยแล้ว บาดหลวงตาชาจะได้ลงเรือลำแรกที่จะหาได้และหวังใจว่าจะทำการต่าง ๆ ให้เปนที่ต้องพระทัยพระเจ้ากรุงสยามทุกอย่าง และที่ บาดหลวงตาชาคิดปฏิบัติดังนี้ ก็เปนการที่ไทยหรือฝรั่งเศสจะติเตียน ไม่ได้เลย พระเจ้ากรุงสยามจึงได้มีพระราชโองการสั่งโดยเด็จขาดให้ ท่านมีจดหมายไปยังบาดหลวงตาชา ให้บาดหลวงตาชาเชิญศุภอักษรของสังตปาปาและพระราชสาสนของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสมา และพระเจ้ากรุงสยามทรงสัญญาว่าจะได้ทรงรับพระราชสาสนตามสมควร ในจดหมายของท่านยังมีความอีกข้อ ๑ ว่า หนังสือของท่านกับหนังสือ ออกยาพิพัฒเท่ากับเปนหลักฐานสำหรับให้บาดหลวงตาชาแน่ใจ และท่านก็ได้ขอให้บาดหลวงตาชาได้ทำการทุกอย่าง สำหรับให้พระราช ไมตรีได้มีติดต่อกันเสมอไป และว่าการที่บาดหลวงตาชาได้ทำเช่นนี้จะเปนการที่ประเทศทั้งหลายจะได้ยกย่องสรรเสริญ และถ้าบาดหลวงตาชาเห็นควรจะทำการเพิ่มเติมหรือตัดทอนอย่างไรสำหรับให้พระราชไมตรีได้คงต่อไปนั้น ท่านก็อนุญาตให้บาดหลวงตาชาทำได้ตามแต่จะเห็นควร ท่านก็ยังได้มีจดหมายไปถึงบาดหลวงเดอลาเชซ ผู้ล้างบาปของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสฉบับ ๑ บอกไปว่าท่านได้จัดให้มองซิเออร์แปงเฮโร ขุนนางชั้นกระบี่ฝักทองคำไปเชิญบาดหลวงตาชา เพื่อให้บาดหลวงตาชา

๒๕๗

เชิญพระราชสาสนมา แล้ว่าถ้าบาดหลวงตาชาได้มาถึงแล้ว ท่านก็ ได้สั่งให้จัดการรับรองอย่างดีแล้ว แต่เพราะเหตุที่บาดหลวงตาชายัง ไม่มา พระเจ้ากรุงสยามจึงได้สั่งท่านให้จัดให้ข้าพเจ้าไปเพื่อไปเชิญ บาดหลวงตาชาเปนครั้งที่ ๒ และสัญญายืนคำอยู่ว่าถ้าบาดหลวงตาชามาเมื่อใด ก็จะได้จัดการรับรองตามกระแสรับสั่งของพระเจ้ากรุงสยาม มาบัดนี้ข้าพเจ้าได้ทราบว่าบาดหลวงตาชาได้มาถึงแล้วและได้เชิญพระราชสาสนมาด้วย และคงจะได้รับคำสั่งให้เปนผู้มาเจรจาว่ากล่าวถึงการต่าง ๆ ให้ลงรอยให้เรียบร้อยด้วย (แต่ในข้อนี้ข้าพเจ้าจะยืนยันเอาเปนแน่ยังไม่ได้) แต่ท่านกลับมีจดหมายไล่ให้บาดหลวงตาชากลับ ไปเสีย อีกประการ ๑ บาดหลวงตาชาก็ได้มีจดหมายบอกมายังท่านแล้ว ว่าในการที่จะมายังเมืองไทยนั้นบาดหลวงตาชาจะได้ลงเรือลำ แรกที่เชื่อใจได้ว่าจะมาถึง และบางทีบาดหลวงตาชาจะเห็นว่าเรือของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ๖ ลำได้เดิรทางล่าช้าถึง ๑๑ เดือน ถ้าจะให้ เรือเหล่านี้พาบาดหลวงตาชามาถึงเมืองไทย ก็อาจจะทำให้เสียราชการของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้เพราะจะไม่ทันมรสุม บาดหลวงตาชาจึงได้ปล่อยให้เรือฝรั่งเศส ๖ ลำกลับไปเสีย และได้ลงเรือพ่อค้ามาจนถึงเมืองเบงกอลและจากเมืองเบงกอลได้มาที่เมืองมริด บาดหลวงตาชา ก็หาได้ลงเรืออื่นไม่เพราะไม่ไว้ใจพวกฮอลันดา จึงได้ลงเรือชาติ ปอตุเกศที่เมืองสุหรัต เพราะพวกปอตุเกตหาได้ทำสงครามกับฮอลันดา ๓๓

๒๕๘

ไม่ เมื่อได้เดิรสานเรือปอตุเกตมาถึงเมืองเบงกอลแล้วก็ได้ลงเรือแขก มัวมายังเมืองมริด เพราะพวกแขกมัวกับพวกฮอลันดาเปนไมตรีกัน ท่านก็คงจะทราบได้ดีว่า พวกพนักงารของราชบริษัทที่อยู่ณเมืองเบงกอลจะจัดเรือฝรั่งเศสส่งบาดหลวงตาชาไม่ได้อยู่เอง เพราะเหตุว่ามีเรือรบฮอลันดา ๖ ลำจอดอยู่ที่ใต้แม่น้ำเมืองเบงกอล อีกประการ ๑ เมื่อบาดหลวง ตาชาได้เชิญพระราชสาสนมาแล้ว ถ้าไทยไม่ต้องการตอบพระราชสาสน ก็จะไม่ต้องตอบก็ได้ เพราะฉนั้นข้าพเจ้าและบาดหลวงทั้งปวงจึงขอร้องให้ท่านจัดการทุกอย่างให้สมกับพระราชไมตรีที่ได้มีไว้ในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสอง และโปรดจัดการให้พระราชไมตรีนั้นได้สนิทแน่นเข้า อีก เพื่อเปนการที่ประเทศทั้งปวงจะได้ชมเชยสรรเสริญท่านต่อไป ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าท่านคงจะมีความรู้ถึงขนบธรรมเนียมของประเทศต่าง ๆ เพราะเมื่อพระเจ้ากรุงเปอเซียได้แต่งทูตมาเจริญทางพระราช ไมตรีกับกรุงสยาม ทูตก็หาได้มาในเรือของเปอเซียไม่แต่ก็เดิรสาน มากับเรือพ่อค้า เมื่อครั้งราชทูตของพระเจ้ากรุงปอตุเกตได้มายังกรุงสยาม ราชทูตก็หาได้มาเรือของประเทศยุโรปไม่ แต่ก็ได้อาศรัย เรือพ่อค้ามาจากเมืองมาเก๊า ถึงดังนั้นพระเจ้ากรุงสยามที่เสด็จสวรรคต ก็ได้โปรดให้จัดรับราชทูตเหล่านี้ตามสมควร

เรื่องราวพวกบาดหลวงฝรั่งเศส ยื่นต่อออกญาพิพัฒ ข้าพเจ้าปีแยเฟเรอ ได้วานให้มองซิเออร์ โปเก มองซิเออร์ โบรด์ กับมองซิเออร์เดซเตรชีไปเรียนท่านว่า เวลานี้ท่านเจ้าพระยาพระคลัง ๒๕๙

ยังป่วยอยู่จึงไปพบท่านไม่ได้ ข้าพเจ้าเห็นว่าถ้าบาดหลวงตาชาได้รับ จดหมายซึ่งเจ้าพระยาพระคลังได้มีไปนั้น บาดหลวงตาชาก็คงจะรีบกลับโดยเร็วที่สุด และท่านก็คงจะทราบได้ว่าการที่บาดหลวงตาชาจะได้มายังเมืองไทยนั้น ก็โดยเหตุที่ไทยได้มีจดหมายบอกไปให้มา และ ก็มีกระแสรับสั่งของพระเจ้ากรุงสยามด้วยว่า ให้บาดหลวงตาชาลงเรือลำใดได้ตามพอใจ เพราะเหตุว่าไทยได้รับรองไปเช่นนี้ ซึ่งบาดหลวง ตาชาเชื่อว่าเปนการจริงคงจะกลับกลายไม่ได้ จึงได้มายังเมืองมริด ครั้นบาดหลวงตาชาได้มาถึงเมืองมริดแล้วไทยก็ไม่ยอมรับรอง กลับ มีหนังสือไล่ให้บาดหลวงตาชากลับไปเมืองสุหรัต เพื่อไปคอยเรือฝรั่งเศสจึงจะให้บาดหลวงตาชามาเมืองไทยได้ ทั้งนี้ก็โดยมิได้นำความกราบทูลให้พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบอย่างใด ซึ่งเปนการน่าปลาดมาก อีกประการ ๑ ทั้งเจ้าพระยาพระคลังและมองเซนเยอร์เดอเมเตโลโปลิศก็ได้มีจดหมายไปยังมองเซนเยอร์เดอปองชาตแรง และถึงบาดหลวงเดอลาเชซว่า ถ้าบาดหลวงตาชามายังเมืองไทย ๆ ก็จะได้จัดการ รับรองอย่างดี เพราะฉนั้นพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึงทรงยอมให้บาดหลวง ตาชากลับมายังเมืองไทย แต่ถึงดังนั้นมาบัดนี้ไทยก็ไม่ถือตามความ ที่เขียนไป และไม่ทำตามที่ได้สัญญาไว้ว่าจะได้จัดการรับรองบาดหลวงตาชาตามสมควร เพราะฉนั้นข้าพเจ้าจึงขอร้อง ขอท่านได้โปรดนำข้อความตามจดหมายบันทึกขึ้นกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินให้ทรงทราบ ข้าพเจ้าเชื่อใจว่า

๒๖๐

ถ้าท่านได้นำความกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ก็คงจะโปรดมีรับสั่งให้ จัดการรับรองบาดหลวงตาชาดังได้มีพระกระแสรับสั่งไว้แต่เดิมแล้ว และข้าพเจ้าขอร้องต่อไปให้ท่านระวังในเรื่องนี้ให้มาก และขอให้ท่านได้จัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่าให้เปนข้อบาดหมางกันอีกในระหว่างประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศส ข้าพเจ้าเชื่อในวุฒิของท่านที่จะจัดการในเรื่องนี้ได้ทุกประการ

คำตอบของออกยาพิพัฒ ตอบเรื่องราวของบาดหลวงฝรั่งเศส เรื่องราวที่มองซิเออร์เฟเรอได้ให้ มองซิเออร์โปเก มองซิเออร์ โบรด์ มองซิเออร์เดซเตรชีกับมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโร มายื่นยัง ข้าพเจ้านั้นได้รับและทราบความทุกประการแล้ว ท่านเจ้าพระยาพระคลังได้มีจดหมายไปยังบาดหลวงตาชาสองครั้ง แต่ในจดหมายทั้งสองฉบับนี้หาได้บอกบาดหลวงตาชาไม่ว่า ให้เชิญพระ ราชสาสนของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและศุภอักษรของสังตปาปามาด้วย และหาได้บอกไม่ว่าให้บาดหลวงตาชามายังเมืองไทยด้วยเรือพ่อค้า และ หาได้บอกให้เดิรสานเรือสองคราวดังบาดหลวงตาชาได้ทำไม่ เพราะ การที่ทำเช่นนี้ผิดด้วยพระราชประเพณีของพระเจ้าแผ่นดินอันมีพระอานุภาพ ด้วยผู้ที่เปนราชทูตจำเปนต้องปฏิบัติการให้ต้องด้วยพระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดิน และต้องปฏิบัติการในระหว่างที่ตัวเปนราชทูตทั้งไปและมาให้ถูกต้องตามพระราชประเพณี

๒๖๑

การที่ได้เขียนจดหมายไปถึงบาดหลวงตาชานั้นก็ได้ให้แวงซังแปงเฮโรเปนผู้เขียน และได้บอกบาดหลวงตาชาให้ทราบด้วยว่า มองซิเออร์เดลานด์หัวหน้าของราชบริษัทที่เมืองเบงกอลได้มีหนังสือมาบอกว่าบริษัทจะได้จัดชาวฝรั่งเศสมาคน ๑ สำหรับที่จะมาคิดบาญชีของบริษัทพร้อมด้วยเจ้าพนักงารพระคลังหลวง เพราะฉนั้นบาดหลวงตาชาซึ่งเปนคน มีสติปัญญาควรจะระวังให้พระราชไมตรีได้คงอยู่ และควรคิดอ่านให้พระราชไมตรีได้สนิทกันอย่างเดิม เพราะฉนั้นถ้าบาดหลวงตาชาได้ ตั้งใจโดยสุจริตแล้ว เมื่อจะมายังเมืองไทยก็ควรจะพาพนักงารของ บริษัทมาด้วยดังมองซิเออร์เดลานด์ได้บอกมา เพื่อจะได้มาคิดบาญชี กันให้เปนที่เรียบร้อย และเพื่อจะได้มารับรู้ในสิ่งที่ถูกและที่ผิดที่นาย พลเดฟาซ์กับกองทหารฝรั่งเศสได้ทำไว้ เมื่อได้ทราบความตลอดแล้ว จะได้นำความนั้นไปกราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ซึ่งทรงปกครองประ เทศอันใหญ่และทรงประกอบไปด้วยพระปรีชาสามารถรอบรู้ในการงาร ทั้งปวงให้ทรงทราบ และเมื่อได้ทรงทราบความโดยเลอียดแล้ว ก็เชื่อ ได้แน่ว่าคงจะทรงหาทางที่จะไม่ให้พระราชไมตรีแตกร้าวไปได้ ดังได้ เคยทรงปฏิบัติตั้งแต่ชั้นต้นมาแล้ว อีกประการ ๑ ก็ได้ขอให้บาดหลวงตาชาได้เปนธุระนำของต่าง ๆ ที่พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งให้ไปทำที่ประเทศฝรั่งเศส ทั้งขอให้พาคน ไทยหนุ่มซึ่งได้ส่งให้ไปเล่าเรียนวิชาต่าง ๆ ยังประเทศฝรั่งเศสกลับมา ด้วย ถ้าบาดหลวงตาชาได้ปฏิบัติตามที่ต้องการนี้แล้ว คนทั้งหลาย

๒๖๒

ก็คงจะชมเชยสรรเสริญว่าบาดหลวงตาชาได้ทำการดีมาก และได้ใช้ สติปัญญาทำการมิให้ประเทศทั้งสองบาดหมางกันได้ บาดหลวงตาชาได้มีจดหมายตอบฝากมากับมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโร ในจดหมายฉบับนี้มีเนื้อความ ๗ ข้อ เจ้าพระยาพระคลังจึงมี จดหมายตอบฝากไปกับมองซิเออร์เฟเรอซึ่งได้ให้ไปพบกับบาดหลวงตาชา แต่ได้ตอบแต่ฉเพาะเนื้อความ ๓ ข้อเท่านั้นซึ่งเปนข้อที่จำเปนจะต้องตอบ ในความ ๒ ข้อแรกนั้น บาดหลวงตาชาได้บอกมาว่าจะต้องการมาพร้อมกับมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรแต่มีใครคน ๑ ได้ห้ามไว้ และถ้าบาด หลวงตาชาจะมาเมื่อใด จะได้พาบาดหลวงเยซวิตซึ่งเปนผู้ชำนาญวิชาแพทย์มาด้วยสองสามคน และบอกมาว่าท่านผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัทได้บอกกับบาดหลวงตาชาว่าการที่จะมากับเรือพ่อค้านั้นเปนการไม่สมควร และว่าในเวลานี้เรือจะมาจากยุโรปไม่ได้เพราะเหตุว่ายังทำสงครามกับพวกฮอลันดาอยู่ แต่เพราะเหตุว่าเปนเวลาสิ้นมรสุมแล้ว ท่านผู้อำนวยการใหญ่จึงได้แนะนำให้บาดหลวงตาชาส่งมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรกลับมาเสียก่อน เพื่อจะนำความต่าง ๆ มาแจ้งให้ไทยทราบ และเพื่อจะได้ทราบให้แน่ว่าพระเจ้ากรุงสยามองค์ปัจจุบันนี้จะโปรดให้รับพระราชสาสนหรือไม่ และจะรับด้วยประการอย่างไรด้วย ในข้อนี้ท่านเจ้าพระยาพระคลังได้ตอบบาดหลวงตาชาไปว่า การ ที่ท่านผู้อำนวยการได้ห้ามไม่ให้บาดหลวงตาชาลงเรือพ่อค้านั้นเปนการที่คิดถูก เพราะในระหว่างที่ทำสงครามกันนี้ประเทศฝรั่งเศสมีศัตรูมาก

๒๖๓

ถ้าแม้ว่าบาดหลวงตาชาได้มาเรือพ่อค้าและได้เกิดอันตรายขึ้น ก็จะเปนการเสียพระเกียรติยศของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส แต่เจ้าพระยาพระคลังหวังใจว่า พระเปนเจ้าคงจะโปรดช่วยให้เลิกสงครามกับพวกฮอลันดาเสียโดยเร็ว ในข้อที่บาดหลวงตาชาถามมาว่าพระเจ้ากรุงสยามองค์ปัจจุบันนี้จะทรงรับพระราชสาสนหรือไม่และจะทรงรับอย่างไรนั้น เจ้าพระยาพระคลังได้ตอบไปว่า ถ้ามีเรือมาจากประเทศยุโรปและบาดหลวงตาชาได้เชิญพระราชสาสนมาด้วยแล้ว พระเจ้ากรุงสยามผู้เปนนายและซึ่งทรงนับถือพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้นจะได้ทรงให้จัดการรับพระราชสาสนให้สมพระเกียร ติยศ เพื่อเปนทางสำหรับให้พระราชไมตรีได้มีติดต่อชั่วกาลนาน อิกประการ ๑ พระเจ้ากรุงสยามก็ได้มีรับสั่งกับข้าพเจ้าว่า ถ้าผู้ใดได้มา เปนไมตรีกับเมืองไทยอย่างสนิท และผู้นั้นต้องประสงค์สิ่งใดในประเทศนี้แล้ว ประเทศไทยก็จะต้องจัดให้ตามความต้องการเท่าที่จะทำได้ตามสมควร แต่ในส่วนที่จะส่งอาหารการกินเลี้ยงผู้ที่จะมานั้น จะจัดหา ได้แต่เพียงผลไม้ในพื้นบ้านเมืองเท่านั้น เพราะพระเจ้ากรุงสยามไม่ โปรดในการฆ่าสัตว์ จนที่สุดการที่จะประหารชีวิตมนุษย์นั้นก็ต้องเปน คนที่ผิดอย่างร้ายแรงจึงจะประหารได้ ส่วนสัตว์ที่มีชีวิตนั้น ไม่ว่าสัตว์เล็กหรือใหญ่ไม่โปรดให้ฆ่าเลย ในส่วนบาดหลวงเยซวิตซึ่งบาดหลวง ตาชาบอกมาว่าเปนผู้ชำนาญวิชาแพทย์นั้น ถ้าบาดหลวงตาชาจะมายังเมืองไทยจะพามาด้วยก็ได้ แต่มองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรซึ่งบาดหลวง ตาชาได้ส่งกลับมาก่อนนั้น ยังหาได้มาถึงไม่ ๒๖๔

นี่แหละเปนข้อความย่อที่มีในจดหมายสองฉบับถึงบาดหลวงตาชาส่วนจดหมายที่เจ้าพระยาพระคลังกับมองเซนเยอร์เดอเมเตโลโปลิศได้มีไปถึงบาดหลวงเดอลาเชซนั้น หาได้มีข้อความบอกไปว่าให้บาดหลวง ตาชาเดิรสานเรือพ่อค้ามาไม่ เพราะฉนั้นในข้อนี้มองซิเออร์เฟเรอจะ เขียนเอาเองกระมังว่าให้บาดหลวงตาชามากับเรือลำใดตามแต่จะมาได้ เพราะข้อความในจดหมายไม่ตรงกับความในจดหมายที่อ้างนี้เลย เพราะ ฉนั้นให้มองซิเออร์เฟเรอตรึกตรองดูให้ดีแล้วตรวจตราเสียใหม่ และเมื่อได้ตรวจตราสอบสวนเสร็จแล้วให้มองซิเออร์เฟเรอทำคำชี้แจงมา


คำชี้แจงของมองซิเออร์เฟเรอ แก้คำตอบของออกญาพิพัฒ ด้วยข้าพเจ้าได้รับจดหมายบันทึกของท่าน ข้าพเจ้าได้อ่านและ เข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว การที่ข้าพเจ้าจะตอบตามคำสั่งของท่านนั้น จำเปนข้าพเจ้าจะต้องย้อนความทวนมาตั้งแต่ต้น ท่านคงจะได้ทราบแล้วว่าบาดหลวงตาชาได้เชิญพระราชสาสนของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และศุภอักษรของสังตปาปามาเพื่อถวายพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่เสด็จสวรรคตเสียแล้ว แต่เมื่อเรือแล่นมาใกล้จะถึงเมือง มริด ลมก็พัดมาปะทะหน้าผิดทางจึงเข้าไปยังเมืองมริดไม่ได้จำเปน ต้องไปยังเมืองเบงกอล ครั้นถึงเมืองเบงกอลแล้วบาดหลวงตาชาจึงได้ จัดให้ออกขุนวิเศษและออกขุนชำนาญ นำจดหมายและจดหมายเหตุ

๒๖๕

ของบาดหลวงตาชามายังเมืองไทยเพื่อให้มาชี้แจงถึงเหตุการณ์ทั้งปวงให้ท่านทราบ ส่วนตัวบาดหลวงตาชาได้ไปยังชายทะเล เพื่อไป คอยฟังข่าวจากเมืองไทยว่าถ้าบาดหลวงได้มายังเมืองไทยแล้ว ไทยจะ รับรองอย่างไร ในจดหมายของบาดหลวงตาชานั้นมีข้อความหลายอย่าง ซึ่งท่านจะปฏิเสธว่าไม่ทราบไม่ได้ ในครั้งนั้นพระเจ้ากรุงสยามได้โปรด ให้มองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรออกไปรับบาดหลวงตาชา แต่เพอิญมีคนบางจำพวกได้ห้ามมิให้บาดหลวงตาชามาพร้อมกับมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโร เพราะฉนั้นบาดหลวงตาชาจึงได้มีหนังสือฝากมากับแขกมัวคน ๑ ชื่อ อูเฟน ในหนังสือฉบับนี้มีเนื้อความ ๓ ข้อ จดหมายฉบับนี้จะได้ตอบไปโดยให้มองซิเออร์เฟเรอเปนผู้ถือไป ครั้นมองซิเออร์เฟเรอเตรียมตัวจะไปอยู่แล้ว ก็พอดีมองซิเออร์ แวงซังแปงเฮโรได้มาถึง นำจดหมายของบาดหลวงตาชามาอีกฉบับหนึ่งในจดหมายฉบับนี้มีเนื้อความ ๗ ข้อ เปนหนังสือเซ็นชื่อและประทับตราของบาดหลวงตาชาถึงเจ้าพระยาพระคลัง ความในจดหมายฉบับนี้เจ้า พระยาพระคลังได้นำขึ้นกราบทูลพระเจ้ากรุงสยาม จึงได้มีพระราชโองการดำรัสสั่งเปนเด็จขาดว่า ถ้าบาดหลวงตาชาเชิญพระราชสาสน มาถึงเมื่อใด ก็ให้จัดการรับรองตามสมควร ในจดหมายฉบับนี้ยังมี ข้อความอีกหลายอย่างซึ่งข้าพเจ้าไม่ต้องกล่าวถึง เพราะท่านคงจะทราบได้ดีเท่ากับข้าพเจ้าอยู่แล้ว ๓๔

๒๖๖

ข้าพเจ้าขอให้ท่านโปรดตรึกตรองถึงข้อความที่ข้าพเจ้าเรียนมานี้ เพราะการที่ข้าพเจ้าเรียนชี้แจงมาทั้งนี้ก็ไม่มีประสงค์อย่างใด นอกจาก จะต้องการให้ประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศสได้ปรองดองกันต่อไปเท่านั้น เพราะฉนั้นการทั้งปวงจะเปนอย่างไรต่อไปนั้น ข้าพเจ้าเชื่อในความ ปรีชาสามารถของท่านที่จะจัดการให้เรียบร้อยตลอดไปได้ (จดหมายบันทึกหรือคำโต้ตอบเหล่านี้ ข้าพเจ้า ป. เฟเรอ ผู้รับตำแหน่งโนแตร์อาปอศโตลิก เปนผู้แปลอย่างถูกต้อง)


สำเนา จดหมายบาดหลวงตาชาถึงเจ้าพระยาพระคลัง เมืองมริด วันที่ ๒๖ เดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๖๙๗ (พ.ศ. ๒๒๔๐) ข้าพเจ้าได้มีความสงสัยมานานแล้วว่า จดหมายที่ข้าพเจ้าได้ รับฉบับ ๑ ประทับตราของท่านจะเปนจดหมายของท่านจริงหรือไม่ ถ้าออกพระมริดไม่ได้มายืนยันว่าในห่อหนังสือนั้นก็มีจดหมายของท่านถึงออกพระมริดฉบับ ๑ เหมือนกันแล้ว ข้าพเจ้าก็จะเชื่อทีเดียวว่าศัตรูของประเทศสยามได้เขียนจดหมายฉบับนี้มายังข้าพเจ้า หาใช่เปนจดหมายของเจ้าพระยาพระคลังไม่ ในเวลาที่ข้าพเจ้าได้ไปยังเมืองไทยสองคราวนั้น ข้าพเจ้าก็ได้รู้สึกอยู่เสมอว่า พระวาจาของพระเจ้ากรุงสยามเปน คำที่เด็จขาดจะแก้ไขลบล้างเปลี่ยนแปลงอย่างใดไม่ได้ และเมื่อเสนาบดี ของพระเจ้าแผ่นดินได้รับพระราชโองการนั้น ๆ มาแล้ว ก็เปนการที่ วางใจได้ว่าเปนการจริงและจะเปลี่ยนแปลงไปอีกไม่ได้ แต่มาในครั้งนี้ ๒๖๗

ท่านได้หลอกลวงข้าพเจ้าอย่างน่าอดสูที่สุด ข้าพเจ้าได้มายังเมืองมริด ก็โดยท่านได้มีจดหมายมายังข้าพเจ้าหลายฉบับว่า ท่านได้รับพระราชโองการพระเจ้ากรุงสยามนายของท่านให้ข้าพเจ้ามายังเมืองไทยได้ เพื่อจะได้ปฤกษาหารือกับท่านถึงการที่จะให้พระราชไมตรีได้ติดต่อกันอย่างเดิม แต่ครั้นข้าพเจ้าได้เชิญพระราชสาสนของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเพื่อ มาถวายพระเจ้ากรุงสยามองค์ที่สวรรคตผู้เปนพระสหายของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้น พอข้าพเจ้ามาถึง ท่านก็มีจดหมายมาบอกให้ข้าพเจ้า กลับไปเสีย แต่พระราชสาสนนี้ท่านก็ต้องการนัก เพราะท่านได้แต่ง ให้คนมารับถึงสองคราว คราว ๑ ให้ขุนนางไทยมา ๓ คน อีกคราว ๑ ให้มองซิเออร์เฟเรอมารับ และทั้งสองคราวก็ได้มีจดหมายอันไพเราะ มาจากท่านถึงข้าพเจ้าด้วย การที่ท่านทำให้ข้าพเจ้าเสียหายและอับอายให้ประเทศทั้งหลายฝ่ายทิศตวันออกเห็นเช่นนี้ เปนการที่ท่านจะเสียหายและอับอายเองทั้งสิ้น ข้าพเจ้าจะขอถามท่านว่าที่ทำเช่นนี้ข้างฝ่ายใดจะเสียชื่อและเสียเกียรติยศ ผู้ที่ถูกหลอกโดยเชื่อถ้อยคำของเสนาบดีซึ่งรับพระราชโองการจากพระเจ้าแผ่นดิน หรือเสนาบดีผู้นั้นเองซึ่งอาจสามารถอ้างพระราชโองการจากพระเจ้าแผ่นดินผู้เปนนายของตัว ข้างฝ่ายใด จะเสียชื่อและเสียเกียรติยศแน่ เมื่อบรรดาประเทศทั้งปวงได้ทราบ ถึงข้อความที่ท่านได้สัญญาไว้เปนหลักฐานมั่นคง และภายหลังท่าน มาทำการอยุติธรรมต่อข้าพเจ้าเช่นนี้ ประเทศทั้งหลายจะว่าอย่างไรบ้างตามความในจดหมายฉบับหลังที่ท่านมีถึงข้าพเจ้านั้น ท่านพูดถูกที่ว่า ๒๖๘ ข้าพเจ้าควรจะมากับเรือรบเพื่อจะได้จัดการรับพระราชสาสนให้สมเกียรติยศ แต่ท่านไม่ทราบดอกหรือว่าเรือรบไม่สมกับคนที่หาเลี้ยงชีพอย่างข้าพเจ้า และคนอย่างข้าพเจ้าสมควรแต่จะพยายามอ้อนวอนป้องกันมิให้พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงอานุภาพยิ่งกว่าเจ้าแผ่นดินทั้งปวงในโลกนี้ได้กริ้วได้ ดีกว่า ที่จะทำให้กริ้วท่านและประเทศของท่านโดยพาเรือรบมาเช่นนี้ ถ้าแม้ว่าท่านจะต้องการเรือของฝรั่งเศสแล้ว เหตุใดท่านจึงบอกให้ข้าพเจ้าลง เรือของพวกพ่อค้าอินเดียเล่า จนที่สุดท่านจะต้องการเอาใจพวกพ่อค้าเพื่อให้เขารับข้าพเจ้ามายังเมืองมริด ถึงกับท่านยอมยกภาษีอากรต่าง ๆ ให้ดังนี้ ท่านควรจะพูดเสียตรง ๆ ดีกว่าว่าท่านกลัวว่าข้าพเจ้าจะมา สืบสาวราวเรื่องจนได้ความแน่ว่า การที่เกิดวุ่นวายกันขึ้นในระหว่าง ฝรั่งเศสกับไทยในเวลาที่ฝรั่งเศสจะยกออกจากบางกอกนั้น เปนด้วย ตัวท่านเองเปนต้นเหตุทำให้เกิดวุ่นขึ้น แต่คนอย่างข้าพเจ้าไม่ได้นึก อะไรนอกจากจะหาทางแก้ตัวให้คนที่ทำผิด คนอย่างข้าพเจ้าคิดแต่จะปิดบังความผิดของบุคคลไม่ได้คิดที่จะเปิดเผยให้แพร่หลายเลย ในที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่ตัดพ้อต่อว่าท่านอย่างใด เพราะน้ำใจของท่านควรรู้สึกพออยู่แล้ว และถึงการได้เปนไปถึงเพียงนี้แล้วก็ดี ก็ขอให้ท่านเชื่อใจเถิด ว่าข้าพเจ้าคงจะอ้อนวอนกราบไหว้พระเปนเจ้าผู้สร้างฟ้าและดินขอให้พระเปนเจ้าได้กรุณาและเปิดแสงสว่างให้ท่านเพื่อเปิดทางให้ท่านได้ขึ้นสวรรค์ได้ ถ้าข้าพเจ้าจะให้ท่านได้รับความกรุณาของพระเปนเจ้า โดยข้าพเจ้าต้องออกเลือดเนื้อของข้าพเจ้าให้ท่านแล้ว ข้าพเจ้าก็จะยอมให้โดยยินดีที่สุด

๒๖๙

ข้าพเจ้าได้ออกเงินให้แก่ออกขุนภูเบนทร์ข้าหลวงของพระเจ้าแผ่นดิน นายของท่าน ที่เมืองเบงกอลเปนเงิน ๑-๒ รูเปีย การที่ข้าพเจ้าได้ ให้ยืมไปนั้นก็เพราะออกขุนภูเบนทร์ได้แจ้งว่าได้เปนหนี้ในทางราชการของพระเจ้ากรุงสยาม เพราะฉนั้นขอท่านได้โปรดมอบเงินรายนี้ให้ไว้แก่มองซิเออร์เฟเรอ และข้าพเจ้าก็ได้มีจดหมายถึงมองซิเออร์เฟเรอด้วย แล้ว


จดหมายมองซิเออร์ โบรด์ ถึงผู้อำนวยการคณะการต่างประเทศ วันที่ ๒๓ เดือนสิงหาคม ค.ศ.๑๖๙๗ (พ.ศ. ๒๒๔๐) การที่ข้าพเจ้าจะออกความเห็นบ้างเล็กน้อย ถึงการที่ไทยได้ให้ บาดหลวงตาชากลับไปนั้น ขอท่านอย่าได้นึกอย่างไรเลย และขอ ได้ให้อภัยแก่ข้าพเจ้าด้วย เมื่อบาดหลวงตาชาได้มายังทวีปอินเดียด้วยกองทัพเรือของมองซิเออร์ดูเคนนั้น บาดหลวงตาชาได้เชิญพระราชสาสนของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เพื่อมาถวายพระเจ้ากรุงสยามองค์สวรรคตด้วย ฝ่าย พระเจ้ากรุงสยามองค์ปัจจุบันนี้ก็ทรงยอมที่จะรับพระราชสาสนจนถึงกับได้เตรียมการที่จะจัดรับอยู่แล้ว โดยจัดให้คนออกไปเชิญให้บาดหลวงตาชาเข้ามายังเมืองไทย การในชั้นต้นนี้ดีเรียบร้อยทุกอย่าง ถ้าบาดหลวง ตาชาได้มายังเมืองไทยเสียแล้วพวกไทยก็จำจะต้องรับรองทุกอย่าง แต่บาดหลวงตาชาหาได้เลยมาเมืองไทยไม่ กลับย้อนกลับไปประเทศ ๒๗๐

เสียอีก แต่การที่กลับไปนี้ก็นับว่าเปนเรื่องที่บาดหลวงตาชาจะทำอย่างอื่นไม่ได้ก็จริง ครั้นกลับไปถึงประเทศฝรั่งเศส บาดหลวงตาชาก็ ได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนายของเขา แล้วภายหลังก็ย้อนกลับออกมาอีกและยังคงเชิญพระราชสาสนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สวรรคตมาด้วย ในการที่บาดหลวงเชิญพระราชสาสนออกมาอีกในคราวนี้ท่านจะเห็นได้หรือไม่ ว่าพระราชสาสนฉบับนี้ไม่มีราคาอะไรเสียแล้ว แต่ พระราชสาสนก็เปนพระราชสาสนที่แท้จริงอยู่นั่นเอง บาดหลวงตาชาบอกว่าตนได้มาแทนพระเจ้าแผ่นดินที่มีอานุภาพใหญ่ยิ่งในทวีปยุโรปก็เปนการจริงอยู่ แต่ไทยก็ได้ทราบจากบาดหลวงตาชาเองว่าตนได้มา กับกองทัพเรือของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสซึ่งมีเรือรบอยู่ ๖ ลำ แต่ไทยก็ได้เห็นว่าบาดหลวงตาชาได้ลงเรือเล็กซึ่งยืมเขามาและได้มาพร้อมด้วยบาดหลวงเยซวิต ๕ หรือ ๖ คน เมื่อการเปนเช่นนี้และไทยกล่าวว่าที่บาดหลวงตาชามาด้วยอาการเช่นนี้ไม่สมกับเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินซึ่ง มีอานุภาพมาก เพราะไทยก็ได้เคยเห็นเปนตัวอย่างมาแล้วว่าราชทูตที่ มาแต่ก่อน ๆ ได้มาเปนเกียรติยศเพียงใด การไทยพูดเช่นนี้จะถือว่าพูดผิดได้หรือ และจะไม่ควรให้ไทยเกิดความสงสัยได้หรือ ว่าการ ที่บาดหลวงตาชามาคราวนี้คงจะมาแทนพวกคณะบาดหลวง หาได้เปนราชทูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสไม่ ดังเจ้าพระยาพระคลังได้พูดดัง ๆ ต่อหน้าคนชั้นสูง ๆ อยู่แล้ว ความจริงข้าพเจ้าก็แลไม่เห็นว่า เมอไทย ได้ทำกับฝรั่งเศสถึงเพียงนี้ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะต้องแต่งทูตมาทำไม ๒๗๑

แต่คงจะเปนด้วยพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสพระองค์นี้มีน้ำพระทัยดีนักจึงมีพระราชประสงค์จะให้ได้ทำความตกลงกันฉันมิตร์ และต้องมีพระทัยดีอย่างนี้ได้จึงจะไม่ถือในการที่เสียอำนาจและเกียรติยศ แต่ที่จริงการ เรื่องนี้ไปเห็นกันเสียว่าเปนเรื่องเล็กน้อย และถ้าไม่ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามควรแล้วก็ไม่ควรจะอ้างตัวว่าเปนราชทูต การที่เปนมาแล้วเช่นนี้ถ้าจะพูดรวมความก็ไม่ได้ทำให้ประเทศฝรั่งเศสมีเกียรติยศขึ้นเลย บาดหลวงตาชาก็ตาม หรือบาดหลวงคนใด ๆ ก็ตาม ไม่ใช่เปนบุคคลที่ สมควรจะมาจัดการที่เกี่ยวด้วยเรื่องบ้านเมืองเช่นนี้ การที่มอบให้บุคคลชนิดนี้มาเจรจาการบ้านเมืองนั้นเปนการไม่ถูก และส่วนตัวของบาดหลวงตาชาไม่ควรจะหวังเลยว่าตัวจะทำการสำเร็จได้แต่ผู้เดียว ถ้าได้อ่าน จดหมายเหตุที่พวกเราได้จดเขียนไว้ก็คงจะเห็นได้ว่าในเรื่องนี้เจ้าพระยาพระคลังพูดว่าอย่างไร และคงจะเห็นได้ว่าไทยมีความสงสัยบาดหลวงตาชาเพียงไร อีกประการ ๑ การที่จะพากองทัพมาก็เปนการน่ากลัวอันตรายอย่างยิ่ง และข้าพเจ้ากล้าที่จะพูดได้ว่าถ้าฝรั่งเศสไม่มีท่าเรือ ดี ๆ ในฝ่ายอินเดียเสียก่อนแล้ว ถึงจะยกกองทัพมาอย่างไรก็จะทำ การสำเร็จไม่ได้ และข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปด้วยว่าถึงจะจัดการระวังอย่างใด ๆ และจะยกกำลังมามากมายเพียงไรก็ตามก็น่ากลัวการที่คิดไว้นั้น จะต้องล้มละลายกลับกลายไปหมด เพราะฉนั้นเมื่อพระเจ้ากรุงสยามได้มีกระแสรับสั่งไว้แล้วว่า การ ที่บาดหลวงตาชาไม่มาก็ไม่เสียหายอะไร และว่าถ้าผู้อำนวยการ ใหญ่ได้ส่งคนมาก็จะโปรดให้เจ้าพนักงารเจรจาว่ากล่าวกับคนแทนของ ๒๗๒

บริษัทดังนี้แล้ว ทางดีที่สุดก็ควรจะมอบหมายการงารทั้งปวงให้ราชบริษัทเปนธุระต่อไป และบริษัทจะได้หาเวลาและหาโอกาศที่จะมาทำการค้าขายต่อไปในเวลาเมื่อการทั้งปวงได้ตกลงกันเปนที่เรียบร้อยแล้ว พวกไทยก็ประสงค์เพียงเท่านี้เอง และถ้าได้จัดอย่างนี้แล้วก็จะไม่ เปลืองโสหุ้ย ทั้งจะป้องกันความเสียหายและการน้อยใจต่าง ๆ ได้ด้วย นี่แหละข้าพเจ้าเห็นว่าท่านควรจะพยายามจัดการให้เปนไปตามที่กล่าวมานี้ และการที่ข้าพเจ้ากล้าหาญพูดออกความเห็นเช่นนี้ ขอท่านได้ให้อภัย แก่ข้าพเจ้าด้วย


บาดหลวงตาชามาเจรจาการครั้งสุดท้าย การรับรองบาดหลวงตาชาของพระเจ้ากรุงสยาม สำเนาจดหมายบาดหลวงตาชา ถึงเจ้าพระยาพระคลัง เมืองมริด วันที่ ๑๘ ตุลาคม ค.ศ. ๑๖๙๘ (พ.ศ. ๒๒๔๑) การที่ข้าพเจ้าได้ย้อนกลับมายังเมืองมริดอีกนั้น ควรจะเปนการ ทำให้ท่านเชื่อใจว่าข้าพเจ้าได้ตั้งใจดีและปราถนาอันดีต่อพระเจ้ากรุงสยาม และประเทศไทย เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงเมืองมริดเมื่อ ๒ ปีที่ล่วงไป แล้วนั้น ข้าพเจ้าได้มีจดหมายบอกมายังท่านว่า ข้าพเจ้าได้มาตาม กระแสรับสั่งของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เพื่อมาจัดการให้พระราชไมตรี ในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองและประเทศทั้งสองได้มีติดต่อกันในระหว่างที่ยังมีสงครามอยู่ในทวีปยุโรปนั้น เพราะเหตุว่าพอเลิก สงครามแล้ว พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะต้องส่งเรือมายังอินเดียเปนแน่ ๒๗๓

แต่หากว่าศัตรูของประเทศไทยและฝรั่งเศสได้มาแนะนำการไม่ดีและสัญญาข้อเท็จต่าง ๆ จึงเปนการขัดขวางแก่ความเจตนาดีของข้าพเจ้า ซึ่งหมายให้เปนประโยชน์แลให้ความสงบเรียบร้อยแก่ชมพูทวีป แต่ การที่ท่านไม่ยอมรับข้าพเจ้านั้นหาได้ทำให้ข้าพเจ้าย่อท้อไม่ กลับทำ ให้ข้าพเจ้าเจตนาดีและรักพระเจ้ากรุงสยามมากขึ้นกว่าเก่าอีก ความจริง พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสซึ่งไม่มีผู้ใดจะต่อสู้อำนาจได้ มี พระราชประสงค์จะแสดงพระเมตตากรุณาโดยให้ความสุขแก่ทวีปยุโรปทั่วไป ในเวลาที่พระองค์ควรจะประหารเจ้าแผ่นดินอื่น ๆ ซึ่งริษยาต่อ เดชานุภาพของพระองค์นั้น และทั้งในปีนั้นเองในเวลาที่กำลังทำ หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกันอยู่ กองทัพฝรั่งเศสได้ยึดที่สำคัญสามแห่งต่อหน้ากองทัพข้าศึก แต่ถึงดังนั้นพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสยัง อุส่าห์สั่งให้จัดกองทัพเรือลำใหญ่ ๆ ให้ไปยังอินเดียพร้อมด้วยเรือของ ราชบริษัท และได้มีกระแสรับสั่งโดยเฉพาะให้ผู้บังคับการนำเรือไป ยังเมืองเบงกอลแล้วให้เลยไปเมืองมริด เพื่อจะได้ทราบโดยเร็วว่า การที่ข้าพเจ้ามาเจรจาการเมืองกับไทยได้มีผลอย่างไรบ้าง ในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้ระฦกถึงแต่สิ่งที่จะเปนประโยชน์แก่พระเจ้ากรุงสยามและอาณาประชาราษฎรสยามและระฦกแต่ถึงความเมตตา กรุณาที่ข้าพเจ้าได้รับเมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในราชธานีของกรุงสยามเท่านั้น เพราะฉนั้นข้าพเจ้าจึงได้บอกแก่ผู้บังคับการกองเรือ ว่าพระเจ้ากรุงสยาม พร้อม อยู่ที่จะได้รับพระราชสาสนให้สมพระเกียรติยศของพระ เจ้ากรุงฝรั่งเศสและบอกว่าท่านเจ้าพระยาพระคลังได้เชิญให้ข้าพเจ้าไปยังเมืองไทยพร้อม ๓๕ ๒๗๔

ด้วยเรือฝรั่งเศสหลายครั้งแล้วเพื่อจะได้จัดการให้พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองพระองค์ได้เชื่อมติดต่อกันอย่างเดิม และท่านเจ้า พระยาพระคลังก็ได้รับรองกับข้าพเจ้าว่าเมื่อข้าพเจ้าไปถึงเมืองไทย ก็จะได้รับความสดวกเปนที่พอใจทุกอย่าง เมื่อข้าพเจ้าได้มีความมุ่งหมายเช่นนี้และ้วข้าพเจ้าจึงได้ขอเรือลำเล็กที่สุดในกองทัพเรือนี้ให้พาข้าพเจ้ามายังเมืองมริด โดยไม่ได้สงไสย เลยว่าในคราวนี้พระเจ้ากรุงสยามและข้าแผ่นดินไทยทั้งปวงคงจะเล็งเห็นว่า ถ้าไม่ฉวยโอกาศอันเหมาะคราวนี้แล้ว ผลที่สุดก็น่ากลัว จะร้ายมาก ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะพาคนของราชบริษัทไปด้วยบางคน แต่ผู้บังคับการกองทัพเรือ ได้บอกกับข้าพเจ้าว่าเปนการผิดด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และบอกต่อไปว่าถ้าไทยได้รับรองข้าพเจ้าดีแล้ว ให้ข้าพเจ้าแจ้งให้ท่านทราบว่า เมื่อเหตุการณ์ทั้งปวง ในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้ตกลงเปนที่เรียบร้อย และพระราชไมตรีได้สนิทกันอย่างเดิมแล้ว พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะได้โปรดให้พ่อ ค้าคนใดคนหนึ่งของราชบริษัทมายังเมืองไทย เพื่อมาตกลงกันว่าจะ ควรจัดการอย่างไรให้เรียบร้อยทั้งสองฝ่าย และเมื่อได้ตกลงกันแล้วจะ ได้ชำระเงินเสียให้เสร็จ เพราะฉนั้นข้าพเจ้าอาจจะบอกให้ท่านทราบได้ว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้มีกระแสร์รับสั่งให้มองซิเออร์มาแตง ผู้อำนวย การใหญ่ฝ่ายอินเดียไปยังเมืองมริด ก่อนที่จะไปรับเมืองปอนดีเชรี จากพวกฮอลันดา เพราะเวลานี้ได้ตกลงว่า พวกฮอลันดาจะต้องคืนเมือง ๒๗๕

ปอนดีเชรีให้แก่ฝรั่งเศส พร้อมทั้งเครื่องศัสตราอาวุธและกระสุนดินดำซึ่ง ฝรั่งเศสได้ทิ้งไว้ในเมืองนั้น ทั้งป้อมต่าง ๆ ซึ่งพวกฮอลันดาได้ไป สร้าง ขึ้นก็ต้องยกให้แก่ฝรั่งเศสทั้งหมดด้วย เพราะฉนั้นลมมรสุม ที่จะพัด ไปทางเมืองปอนดีเชรี จะตั้งต้นในราวเดือนธันวาคมหรือต้นเดือนมกราคม และทั้งข้าพเจ้าจะต้องบอกให้ผู้บังคับการกองทัพเรือทราบ ก่อนวันสิ้น เดือนหน้า ว่าการที่ข้าพเจ้าจะมาเมืองไทยจะร้ายดีประการใดจึงเปน การจำเปนที่จะต้องส่งคำสั่งของพระเจ้ากรุงสยามไปยังเมือง มริดโดย ทันที เพราะเหตุว่าถ้าไทยจะไม่ยอมรับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ ได้ลงเรือรบซึ่งพาข้าพเจ้ามานั้นกลับไป แต่ถ้าหากว่าไทยจะยอม รับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะได้เชิญพระราชสาสนของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งมีอานุภาพอย่างยิ่งฝ่ายทิศตวันตกเข้าไปยังเมืองไทยโดยทันที เพื่อ ไทย จะได้จัดการรับพระราชสาสนให้สมเกียรติยศ เพราะเรือรบฝรั่งเศส จะต้องออกจากเมืองมริดอย่างช้าในราววันที่ ๑๕ หรือ ๒๐ เดือนพฤศจิกายน เพื่อจะได้ทันลมมรสุม และจะได้ไปยังเมืองเบงกอล แล้วจึงจะได้ กลับมากับกองทัพเรือฝรั่งเศสทั้งหมด เพื่อมาฟังว่าไทยได้ จัดรับพระ ราชสาสนของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสอย่างไร และไทยได้ตอบว่าอย่างไร แต่จะอย่างไรก็ตามข้าพเจ้าขอบอกให้ท่านทราบ ว่าน้ำใจข้าพเจ้าเต็ม ไปด้วยความกตัญญู และเต็มไปด้วยความรักซึ่งอยากจะฉลองพระเดช พระคุณพระเจ้ากรุงสยามและประเทศสยาม และอยากจะทำการให้ เปนประโยชน์แก่ตัวท่านด้วย และในคราวนี้ข้าพเจ้าหวังว่าจะได้แสดง ให้ เห็นปรากฏทีเดียว (เซ็น) กี ตาชา ๒๗๖

สำเนาจดหมายเจ้าพระยาพระคลัง ถึงบาดหลวงตาชา กรุงศรีอยุธยา วันที่ ๙ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๖๙๘ (พ.ศ. ๒๒๔๑) เมื่อปีกลายนี้ข้าพเจ้าได้มีจดหมายตอบท่านที่เมืองมริด ตามเนื้อความที่ท่านได้มีจดหมายมา ในจดหมายของท่านฉบับนี้มีเนื้อความบอกมาว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ให้เรือมากับท่าน ๖ ลำ แต่เรือเหล่านี้ได้ มาถึงเมืองสุหรัตแต่เพียง ๕ ลำเท่านั้น เรือ ๕ ลำนี้ได้ส่งท่านขึ้นที่เมืองสุหรัตพร้อมกับพระราชสาสนแล้วก็ได้กลับไปยังประเทศยุโรป แล้วท่านจึงได้เดิรสานเรือชาติปอตุเกตไปยังเมืองอูกลี แล้วจากเมืองอูกลีท่านได้เดิรสานเรือแขกมัวไปยังเมืองมริด ท่านได้ขอให้ข้าพเจ้านำความเหล่านี้ขึ้นกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้าให้ทรงทราบว่า ท่านได้มาถึงเมืองมริดแล้ว แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่เปนการสมควร เพราะพระ เจ้ากรุงฝรั่งเศสทรงพระปรีชาสามารถได้จัดให้กองทัพเรือ ๖ ลำเชิญพระราชสาสนมา ข้าพเจ้าจึงเห็นว่ากองทัพเรือไม่ควรจะทิ้งท่านแลพระราชสาสน จนถึงกับท่านต้องเชิญพระราชสาสนลงเรือพ่อค้า และต้องถ่ายลำถึงสองทอดจึงได้มาถึงเมืองมริด การที่เปนเช่นนี้ข้าพเจ้าเห็นเปนการปลาดอย่างยิ่ง และถ้าข้าพเจ้าได้นำความขึ้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ถ้าหากว่าพระเจ้ากรุงสยามจะโปรดให้ตอบพระราชสาสน มิต้องส่งพระ


๒๗๗

ราชสาสนไปกับเรือพ่อค้าบ้างหรือ ซึ่งเปนการผิดประเพณีอยู่ ข้าพเจ้าได้นึกเหมือนกันว่า ผู้ที่เชิญพระราชสาสนของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสมานั้น ได้ทำการผิดแบบธรรมเนียม เมื่อข้าพเจ้าได้รู้สึกว่าเปนการผิดแต่คงทำการผิดไปด้วย พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสคงจะติเตียนข้าพเจ้า และคงจะติว่าข้าพเจ้าโง่จึงได้เอาอย่างคนที่ทำผิดแบบธรรมเนียมเช่นนี้ เพราะเหตุฉนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นควรจะต้องมีหนังสือมาถึงท่านบอกให้ท่านกลับไปเสียก่อน เพื่อคอยเรือของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เมื่อมีเรือฝรั่งเศสมาเมื่อใดก็ให้ ท่านกลับมา ข้าพเจ้าจะได้จัดการรับรองให้เปนเกียรติยศตามแบบประเพณีโบราณ ครั้นมาบัดนี้ ท่านได้บอกมาว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือมาที่เมืองอูกลี เพื่อรับท่านและพระราชสาสนมายังเมืองมริด ข้าพเจ้า จึงได้นำความทั้งนี้ขึ้นกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้าให้ทรงทราบว่าท่านได้มาถึงแล้ว พระเจ้ากรุงสยามผู้ทรงมีความรักใคร่พระ เจ้ากรุงฝรั่งเศส จึงได้มีพระราชโองการให้ข้าพเจ้าจัดการทุกอย่างที่ จะจัดรับพระราชสาสน ตามแบบธรรมเนียมโบราณ เพราะฉนั้นในเวลานี้ การที่จะให้พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้คงอยู่ และ ได้สนิทแน่นหนาต่อไปนั้น ก็ตกอยู่ในความไหวพริบและความผ่อนสั้นผ่อนยาวของท่านเท่านั้น


๒๗๘

จดหมายมองซิเออร์โบรด์ ถึงผู้อำนวยการ คณะการต่างประเทศ กรุงศรีอยุธยา วันที่ ๙ เดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๖๙๙ (พ.ศ. ๒๒๔๒) เรื่องบาดหลวงตาชากลับมาอีกครั้ง ๑ พระเจ้ากรุงสยามตกลงจะรับบาดหลวงตาชา เพราะเหตุที่ท่านอยากจะทราบว่าในเรื่องบาดหลวงตาชามายังเมืองไทยได้เปนอย่างไรบ้าง และพระราชสาสนที่บาดหลวงตาชาได้เชิญมาสำหรับถวายพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สวรรคต ตั้งแต่ครั้งปี ค.ศ.๑๖๘๙ (พ.ศ. ๒๒๓๒) ไทยได้จัดการรับอย่างไรนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความยินดี ที่จะให้ท่านทราบตามความประสงค์ และจะได้เล่าการโดยเลอียด และจะไม่ลืมเล่าถึงเรื่องแม้แต่เปนเรื่องเล็กน้อย เพื่อท่านจะไดทราบ เรื่องโดยตลอด เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๖๙๘ (พ.ศ. ๒๒๔๑) ในกรุงศรีอยุธยาได้ทราบความจากผู้ที่ได้รู้เห็น ว่าที่ประเทศยุโรปได้ทำหนังสือสัญญา สงบศึก ซึ่งประเทศฝรั่งเศสต้องทำศึกสงครามกับประเทศใกล้เคียง หลายปีมาแล้ว พอข่าวนี้ได้มาถึงเมืองไทย ก็ได้ทำให้พระเจ้ากรุงสยามและบรรดาเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่ต้องนึกตรึกตรอง เพราะเกิดร้อน ใจขึ้น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ข่าวต่อมาอีกว่า มีเรืออังกฤษหลายลำได้มา ยังอินเดีย ก็ได้ทำให้ไทยร้อนใจมากขึ้นอีก คือมีนายเรือฮอลันดาคน ๑

๒๗๙

มาบอกข่าวว่า กองทัพเรือฝรั่งเศสได้ผ่านแหลมเคปออฟกุดโฮบ มาแล้วและว่ากองทัพเรือนี้จะมายึดเมืองปอนดีเชรี และบางทีจะมายึดเมืองมริดด้วย ข่าวนี้ได้ทำให้ไทยตกใจมากขึ้นอีก ข่าวอันนี้ได้ทำให้ข้าราชการในราชสำนักตกใจเปนอันมาก พระเจ้ากรุงสยามจึงได้ตั้งเกณฑ์คนฝึกหัดการต่าง ๆ บางทีหัดให้ปล้ำกัน บางทีหัดให้ต่อยมวย บางทีหัดกระบี่กระบอง และหัดการต่าง ๆ ชนิดนี้อีกหลายอย่าง การฝึกหัดเหล่านี้ได้ทำให้พวกขุนนางข้าราชการมีงาร มากขึ้น และพระเจ้ากรุงสยามก็ทรงกริ้วกราดอยู่เปนนิตย์ ขุนนาง ข้าราชการจึงได้เดือดร้อนมาก เพราะใครจะมีความผิดอย่างใดแม้แต่ เล็กน้อยก็ต้องถูกเฆี่ยน และการที่เฆี่ยนกันนี้มีทุกวันมิได้เว้นเลย ผู้ที่ถูกลงอาญานี้ไม่เลือกว่าข้าราชการผู้น้อยหรือผู้ใหญ่ ต้องถูกกัน ทุกคนมิได้เว้น หลังของเจ้าพระยาพระคลังและออกญาพิพัฒเนื้อขาดอยู่เสมอ จนร้านยาของเราก็ไม่มียาจะใส่แผลที่หลังของท่านทั้งสอง นี้แล้ว มีเสียงพูดกันว่าข้าราชการแตกสามัคคีกันหมด และบางคน ก็คิดการขบถก็มี จนที่สุดงารการอย่างใดเปนอันไม่ได้ทำกัน ดูยุ่งเหยิงจนไม่รู้ว่าใครเปนใครแล้ว การในเมืองกำลังกระสับกระส่ายวุ่นวาย อยู่เช่นนี้ พอได้ข่าวมาว่าเรือฝรั่งเศสได้มาถึงเมืองมริด และได้รับ หนังสือบาดหลวงตาชา มีมาถึงเจ้าพระยาพระคลังและออกญาพิพัฒ ลงวันที่ ๑๘ เดือนตุลาคม เจ้าพระยาพระคลังจึงได้ให้คนมาตามพวก เราไปยังห้องว่าราชการของเจ้าพระยาพระคลัง เพื่อให้แปลหนังสือ

๒๘๐

เหล่านี้เปนภาษาไทย และในคืนวันนั้นเองเจ้าพระยาพระคลังได้นำความขึ้นกราบทูล พระเจ้ากรุงสยามจึงได้มีพระราชโองการโดยทันที ให้ตอบบาดหลวงตาชาไปว่าไทยจะได้จัดการรับรอง พวกเราได้แปล คำตอบนี้เปนภาษาฝรั่งเศส และได้มีจดหมายในส่วนพวกเราไปยัง บาดหลวงตาชาด้วยฉบับ ๑ จดหมายต่าง ๆ เหล่านี้ไทยได้มอบให้ พวกเราห่อและผนึกตามธรรมเนียมของเรา และภายหลังอีกสองวัน นักการก็ได้มารับหนังสือเหล่านี้ไปยังเมืองมริด ฝ่ายในกรุงก็เตรียม การที่จะรับบาดหลวงตาชาทุกอย่าง ไทยได้จัดให้ข้าราชการล่วงหน้าไปรับบาดหลวงตาชา คนสำคัญ ที่เปนหัวหน้าไปนั้น มีขุนนางที่เคยเปนราชทูตที่ ๓ ไปยังประเทศฝรั่งเศสคน ๑ ขุนนางผู้น้อยซึ่งได้เคยไปฝรั่งเศสและกลับมากับบาดหลวงตาชาและเคยผ่านมาทางเมืองเบงกอลมายังเมืองไทย เมื่อ ค.ศ.๑๖๙๒ (พ.ศ.๒๒๓๕) คน ๑ กับมองซิเออร์แวงซังแปงเฮโรล่ามของเราคน ๑ รวม ๓ คนเปนหัวหน้าออกไปรับบาดหลวงตาชา คนเหล่านี้ได้ออกเดิรทางภายหลังนักการสามหรือสี่วัน ฝ่ายเจ้าเมืองตนาวศรีก็ได้แจ้งต่อ บาดหลวงตาชา ว่าข้างกรุงได้มีคำสั่งมาว่า ถ้าบาดหลวงตาชาได้กลับมายังเมืองมริดอีก ก็ให้เจ้าเมืองตะนาวศรีจัดการรับรอง เพราะฉนั้น บาดหลวงตาชาจึงได้ลงจากเรือขึ้นบกโดยเชื่อใจ และเจ้าเมืองตะนาวศรีได้พาบาดหลวงตาชาจากเมืองมริดไปยังเมืองตะนาวศรี โดยมีการ รับรองให้เปนเกียรติยศตลอดทาง เมื่อบาดหลวงตาชาได้ขึ้นบกไปแล้ว เรือก็ได้ถอนสมอแล่นใบออกไปเข้ากองตามเดิม ๒๘๑

ในขณะนี้พวกฮอลันดาซึ่งใช้พวกแขกมัวเปนสาย ได้คิดพยายาม ที่จะให้การทั้งหลายได้ยุ่งเหยิงขึ้น เพื่อจะทำให้ไทยสงสัยบาดหลวงตาชา เพราะไทยได้เรียกพวกฮอลันดามาถามถึงข่าวที่เล่าลือว่า มีเรือฝรั่งเศสหลายลำได้มาประจำอยู่ในที่หลายแห่งรอบพระราชอาณาเขต และไทย ก็ได้ถามความเห็นของพวกฮอลันดา ว่าถ้าเรือฝรั่งเศสที่เมืองมริด จะควรทำประการใด ในขณะนี้พวกเราได้สังเกตว่าไทยได้เปลี่ยนกิริยา ทันที แต่ก่อน ๆ ไทยเคยเร่งรัดยินดีจะให้บาดหลวงตาชามา มาบัดนี้ มีแต่เจ้าพนักงารขัดข้องไปต่าง ๆ จนที่สุดการที่จะให้บาดหลวงตาชาพักในพระนครก็เกิดขัดข้องขึ้น จนถึงกับเจ้าพนักงารมาถามพวกเราหลายครั้งว่า จะให้พักในโรงเรียนของเราจะไม่ได้หรืออย่างไร และ ได้ให้เจ้าพนักงารมาตรวจแล้วัดที่ด้วย เพราะมีเสียงพูดกันว่าไม่ช้า บาดหลวงตาชาก็จะมาถึงอยู่แล้ว แต่จะอย่างไรก็ตามเมื่อไทยได้รับ จดหมายของบาดหลวงตาชา ซึ่งมีแต่ข้อความกล่าวแต่เรื่องไมตรี การที่กริ้วกราดต่าง ๆ ทั้งเดือนนั้นก็สงบดังกับปลิดทิ้ง พวกขุนนาง ข้าราชการก็หายใจคล่องขึ้น แผลถูกเฆี่ยนก็แห้งเข้า และเสียงเล่าลือต่าง ๆ ก็ซาลง ลงท้ายที่สุดการฝึกหัดต่าง ๆ ก็ไม่มีใครเอาเปนธุระ และทั้งหมดไม่ได้คิดอย่างอื่น นอกจากคิดถึงการเล่นให้เพลิดเพลิน มีการเล่นว่าวเปนต้น และมีนักขัตฤกษ์ฉลองวัด ซึ่งพระเจ้ากรุงสยาม ได้ทรงสร้างและทำแล้วสำเร็จภายในแปดหรือเก้าเดือน แต่ถึงดังนั้น ๓๖

๒๘๒

ก็ยังคิดอยู่เสมอ ถึงการที่จะรับพระราชสาสน และยังคงเตรียมการ อยู่เสมอ แต่ทำช้าอยู่สักหน่อย ช้า ๆ นาน ๆ ข้าพเจ้าเคยไปเยี่ยมเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งกำลัง ป่วยอยู่ และเคยไปหาออกญาพิพัฒผู้ช่วยของเจ้าพระยาพระคลังด้วย เพราะฉนั้นวัน ๑ ข้าพเจ้าได้ลองพูดกับออกญาพิพัฒว่า การทบาดหลวงตาชาจะมายังเมืองไทยนั้น ไม่ควรจะมีความสงสัยอย่างใด การที่ฝรั่งเศสจัดให้บาดหลวงตาชามานั้นก็โดยเจตนาอันดี เพราะฉนั้นบาดหลวงตาชาจึงได้กล้ามา และโดยเชื่อใจในคำรับรองต่าง ๆ ของ ไทย อนึ่งบรรดาถ้อยคำที่พวกศัตรูจะกล่าวต่าง ๆ นั้นไทยไม่ควรเชื่อ ถือเลย ออกญาพิพัฒได้ตอบข้าพเจ้าด้วยน้ำเสียงอ่อนหวาน ว่าในข้อนี้พวกข้าพเจ้าไม่ควรจะวิตก การทั้งหลายก็ได้ดำเนิรโดยสดวก และ บาดหลวงตาชาได้เดิรทางมาได้ครึ่งทางแล้ว ออกญาพิพัฒจึงถามข้าพเจ้าว่า จะให้บาดหลวงตาชาอยู่กับพวกข้าพเจ้าได้หรือไม่ ข้าพเจ้าจึงได้ตอบว่า บาดหลวงตาชาได้มีจดหมายบอกความประสงค์มาให้ทราบตั้งแต่ปีก่อนนี้แล้ว ออกญาพิพัฒจึงได้บอกกับข้าพเจ้าว่า พระ เจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์จะทรงทราบข้อความในพระราชสาสน เพื่อ จะได้ทรงเตรียมพระองค์ที่จะมีรับสั่งตอบบาดหลวงตาชาในวันที่เสด็จออกแขกเมือง และถามข้าพเจ้าว่าจะขอรับพระราชสาสนจากบาดหลวงตาชาก่อนวันเสด็จออกแขกเมือง เพื่อจะได้แปลถวายตามแบบธรรมเนียม ของบ้านเมืองจะได้หรือไม่ ข้าพเจ้าจึงตอบว่า การที่จะทำเช่นนี้ผิดด้วย ๒๘๓

แบบแผนของราชทูต แต่เรื่องนี้และเรื่องอื่น ๆ ก็คงจะพอพูดกับบาดหลวงตาชาในเวลาที่มาถึงและ้วได้ และข้าพเจ้าได้ออกความเห็นว่า บางที จะขอให้บาดหลวงตาชาบอกใจความของพระราชสาสนได้ แต่ที่คนอื่นจะรับพระราชสาสนไปจากบาดหลวงตาชาเห็นจะไม่ได้ เพราะพระ ราชสาสนนี้บาดหลวงตาชาจะต้องถวายตรงต่อพระหัดถ์ของพระเจ้ากรุงสยามพระองค์เดียวเท่านั้น ในเวลานี้ข้าพเจ้าได้ขอให้ออกญาพิพัฒได้ช่วยนำของถวายพระเจ้ากรุงสยามสิ่ง ๑ ซึ่งเปนของงามมาก ของสิ่งนี้ข้าพเจ้าได้ให้ออกญา พิพัฒดูสามสี่เดือนมาแล้ว และขอให้นำถวาย ทั้งพระเจ้ากรุงสยาม และถวายเจ้าด้วย แต่ออกญาพิพัฒไม่ยอมรับไปถวายให้ (เห็นจะ เปนด้วยเวลานั้น ออกญาพิพัฒเห็นว่ากำลังกริ้วกราดนัก) แต่มา ครั้งนี้ ออกญาพิพัฒยอมรับของไปถวายให้ เมื่อพระเจ้ากรุงสยาม ได้ทรงรับของถวายแล้วก็โปรดมาก และโปรดให้เจ้าพนักงารตีราคา จึงพระราชทานเงินมาใช้ค่าของนั้น เปนราคาสองเท่าตัวที่เจ้าพนักงาร ตีไว้ แล้วโปรดให้ไปเที่ยวเสาะหาผ้าแพรอย่างงามที่สุดที่จะหาได้ เพราะ จะโปรดให้เอาแพรนี้ตัดเสื้อยาวอย่างยี่ปุ่น จะพระราชทานข้าพเจ้าและมองซิเออร์ยาโรเซียคนละตัว สำหรับสวมในวันเสด็จออกแขกเมือง


บาดหลวงตาชามาถึงด่านภาษี ข้าราชการสามนายซึ่งได้ให้ออกไปรับบาดหลวงตาชานั้น ได้ไป พบบาดหลวงที่เมืองตะนาวศรี แล้วก็ได้ยกออกจากเมืองตะนาวศรีทันที ๒๘๔

เพื่อเชิญพระราชสาสนมาโดยรีบด่วน จึงได้มาถึงด่านภาษีในวันที่ ๒๘ ธันวาคมตอนกลางคืน ได้มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายคน ลงไปคอย รับบาดหลวงตาชาที่บางกอกก็มีใต้บางกอกก็มี และได้ให้เกียรติยศ แก่บาดหลวงตาชาโดยเรียกว่า ยอเอกซเลนซี บังเอิญในเวลานี้เปนนักขัตฤกษ์คริศมาศข้าพเจ้าติดธุระอยู่จึงลงไปรับบาดหลวงตาชาไม่ได้ดังความประสงค์ แต่รุ่งเช้าวันที่ ๒๙ ธันวาคม พอสว่างข้าพเจ้าก็ได้ลงไปทำความเคารพต่อบาดหลวงและได้นำอาหารเช้าไปเลี้ยงด้วย ผู้ที่มากับบาดหลวงตาชาไม่มีใครนอกจากบาดหลวงเดอลาบเรอย์คน ๑ สามเณรมอรีเซคน ๑ คนใช้ ๓ คน แต่คนใช้นี้ก็เปนคนใช้ของนายทหารเรือ กับแขกอินเดียเด็ก ๆ สองสามคนสำหรับเปนคนเดิรโต๊ะเท่านั้น คนทั้งหมดที่มาคราวนี้ได้แต่งตัวอย่างน่าทุเรศที่สุดและดูสกปรกไม่มีที่เปรียบได้ การที่เปนเช่นนี้ก็เพราะต้องออกจากเมืองเบงกอลโดยไม่รู้ตัว ในเรื่องนี้ เจ้าพระยาพระคลังได้ทราบก่อนบาดหลวงตาชาได้มาถึงด่านภาษีเสียอีกและได้แสดงวาจาดูถูกหลายครั้ง กับได้พูดกับข้าพเจ้าว่าการที่เจ้าพระยาพระคลังบ่นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะเปนการดูถูกไทยดอก แต่การที่จะมาโดยเกือบจะเปลือยกายและไม่มีเจ้าพนักงารข้าราชการติดสอยห้อยตามมาพอสมควรตามประเพณีของทิศตวันออกเช่นนี้ ไม่เปนการทำให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและประเทศฝรั่งเศสมีเกียรติยศเลย บาดหลวงตาชาคนนี้ เจ้าพระยาพระคลังรู้จักนิสัยดีว่าเปนคนทำอะไรไม่ได้ตรึกตรองเลย แต่ ที่เจ้าพระยาพระคลังพูดเช่นนี้ก็โดยเข้าใจผิด เพราะบาดหลวงตาชา ๒๘๕

หาได้วางตัวว่าเปนราชทูตไม่ เพราะฉนั้นเปนเรื่องที่ควรจะต้องระวังที่ จะไม่ใช้นามว่าราชทูต เพราะจะทำให้เกิดลำบากติดขัดขึ้น เพราะคำที่ใช้ว่าราชทูตและพระราชสาสนนั้นไทยถือว่าเปนคำเดียวกัน เพราะฉนั้นถ้าจะพูดว่าไม่ใช่ราชทูตก็เท่ากับบอกว่าหนังสือที่บาดหลวงเชิญมาไม่ใช่เปนพระราชสาสนของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเหมือนกัน ข้าพเจ้าได้สังเกตว่าบาดหลวงตาชาดูพอใจในการรับรองที่เมืองมริดและพอใจในการที่ให้เกียรติยศต่อพระราชสาสนตลอดทางที่มา เว้นแต่อาหารการกินดูเหมือนบ้านเมืองจะยากจนคับแค้นไป หรือมิฉนั้นผู้ที่มีหน้าที่หาเสบียงอาหาร มาเลี้ยงจะไม่ได้กระทำการเต็มตามหน้าที่ ในคืนที่มาถึงด่านภาษีนั้นเอง ขุนนางผู้น้อยชื่อ ระกำ (Racam) ซึ่งได้ออกไปรับบาดหลวงตาชาที่เมืองมริดนั้น ได้ล่วงหน้าขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อไปแจ้งความให้ทราบว่าบาดหลวงตาชาได้มาถึงแล้วและเพื่อรายงารถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วย แต่ขุนนางผู้นี้ถึงจะมีชื่อคริศเตียนก็จริงอยู่หาพอใจในบาดหลวงตาชาไม่ และได้เถียงทะเลาะกันมาตลอดทาง รุ่งขึ้นวันที่ ๒๙ ธันวาคมท่าน เอกซเลนซีได้คอยอยู่ตลอดวันหาได้รับข่าวจากใครจนคำเดียวไม่ วันที่ ๒ มีขุนนางชั้นหลวงมาคำนับบาดหลวงคน ๑ แต่การที่มาคำนับนี้ก็ดูทำโดยเสียไม่ได้และหาได้ให้เกียรติยศ เอกซเลนซี กับท่านบาดหลวงไม่ ท่านหลวงผู้นี้ได้มาแนะนำให้บาดหลวงตาชาไปพักยังบ้านของมองเซนเยอร์เดอเมเตโลโปลิศ และได้ชี้แจงการต่าง ๆ ซึ่งกระทำให้เห็นว่าพระเจ้ากรุงสยามจะรับพระราชสาสนอย่างเดียวกับเมื่อครั้งรับพระราชสาสนจากมองเซนเยอร์ เดอเบรีธ และมองเซนเยอร์ เดลีโอโปลิศ ๒๘๖

บาดหลวงตาชาจึงได้ถามท่านหลวงผู้นี้ว่าการที่มาคราวนี้ใครใช้ ให้มา จะเปนพระเจ้ากรุงสยามมีรับสั่งให้มาแทนพระองค์หรืออย่างไร ท่านหลวงพูดอ้อมแอ้มแล้วจึงตอบว่าเจ้าพระยาพระคลังใช้ให้มาเพราะเจ้า พระยาพระคลังยังป่วยอยู่ บาดหลวงตาชาจึงพูดตัดความว่าการที่มา ขัดข้องในเรื่องบ้านที่พักนี้ดูน่าปลาดมาก ขออย่าได้มาพูดในเรื่องนี้อีก ต่อไป ส่วนพระราชสาสนที่บาดหลวงตาชาเชิญมานั้น ขอให้จัดการรับโดยอาการกิริยาและพิธีอย่างเดียวกับคราวรับพระราชสาสนที่มองซิเออร์เดอโชมองได้มา ถ้าจัดรับอย่างอื่นแล้วบาดหลวงตาชาจะไม่ถวาย พระราชสาสนนี้เปนอันขาดและพูดต่อไปว่าถ้าเจ้าพระยาพระคลังป่วยอยู่ก็ให้ส่งผู้ช่วยมา หรือมิฉนั้นก็ให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาแทนพระเจ้า แผ่นดินทีเดียว บาดหลวงตาชาจะไม่ยอมเจรจากับคนอื่น ๆ เปนอันขาดท่านหลวงผู้นั้นจึงลากลับไป ท่าทางดูไม่พอใจอย่างยิ่งแล้วไปรายงารตามที่ได้พูดจากับบาดหลวงตาชาให้เจ้าพนักงารทราบ ภายหลังอิกสองวันท่านหลวงคนนั้นเองได้มาหาบาดหลวงตาชาอีก คราวนี้นำจดหมายมาด้วยฉบับ ๑ ในจดหมายฉบับนี้ยกเหตุผลต่าง ๆ เพื่อจะให้เห็นปรากฏว่าบาดหลวงตาชาเปนแต่เพียงบาดหลวงเท่านั้น หาได้เปนสังฆราชไม่ เพราะฉนั้นถ้าจะจัดรับบาดหลวงตาชาเท่ากับรับสังฆราชฟรังซัวปาลู ก็จะเปนการเกินไป แต่ส่วนมองซิเออร์เดอโชมองนั้น ได้มีข้าราชการเจ้าพนักงารมาด้วยตามเกียรติยศ เพราะฉนั้นไทย จึงจำเปนต้องจัดรับให้สมเกียรติยศที่มา

๒๘๗

พอท่านหลวงเอ่ยปากจะพูดให้ตรงกับความในหนังสือ บาดหลวงตาชารู้แล้วว่าจะพูดอย่างไร จึงทำท่าเอะอะลุกขึ้นจากเก้าอี้จะเดิรเข้าไปในห้องข้างใน และพูดกับท่านหลวงว่ามองซิเออร์ฟรังซัวปาลูจะเปนใครบาดหลวงตาชาหารู้จักไม่ เมื่อครั้งมองซิเออร์เดอโชมองเปนราชทูต มาตัวบาดหลวงตาชาเองก็อยู่ด้วย มองซิเออร์เฟเรอก็ได้มีจดหมาย ไปบอกว่า ไทยจะได้จัดรับพระราชสาสนเหมือนกับครั้งรับพระราชสาสน ที่มองซิเออร์เดอโชมองได้เชิญมา เจ้าพระยาพระคลังก็ได้มีจดหมาย ไปหลายฉบับข้อความก็ตรงกันกับที่มองซิเออร์เฟเรอบอกไป ถ้าแม้ว่า ไทยจัดการรับพระราชสาสนคราวนี้จะจัดพิธีแม้แต่เล็กน้อยแล้ว บาดหลวงตาชาจะไม่ยอมถวายพระราชสาสนเปนอันขาด ขอให้ผู้ใดมาแทนพระเจ้ากรุงสยามเพื่อพูดจาว่ากล่าวในเรื่องนี้ให้ตกลงกันเสีย หรือมิฉนั้นขอให้ไทยจัดการส่งบาดหลวงตาชากลับไปยังเมืองมริดเสียเถิด เพราะเรือรบฝรั่งเศสจวนจะไปถึงอยู่แล้ว ท่านหลวงได้พับหนังสือแล้วลากลับไป แต่ก่อนๆ มาช้าๆ นานข้าพเจ้าได้เคยไปบ้านออกญาพิพัฒเพื่อไปฟังข่าวคราวต่างๆ ในวัน ๑ ข้าพเจ้าได้ไปยังบ้านออกญาพิพัฒพร้อมด้วย ฟรังซัวแปงเฮโรตามเคย บังเอิญเปนเวลาประจวบกับวันที่ท่านหลวงผู้นั้นไปหาออกญาพิพัฒเพื่อไปรายงารถึงการที่ได้พูดจาโต้ตอบกับบาดหลวงตาชา เวลาที่ท่านหลวงเข้าไปหาออกญาพิพัฒนั้นดูน่าดูมาก ท่านหลวงได้กระหืดกระหอบเข้าไปและเล่าถึงการที่บาดหลวงตาชาโกรธมากเกินกว่าความจริง ท่านหลวงได้เล่าว่าบาดหลวงยังไม่ทันฟังอ่านหนังสือ ๒๘๘

ถึง ๓ บรรทัด ก็ลุกขึ้นเดิรข้ามท่านหลวงเข้าไปในห้องใน โดยมีกิริยาโทษะและท้าทายต่าง ๆ ด้วย แล้วท่านหลวงได้ยื่นคำตอบของบาดหลวงตาชาซึ่งได้จดไว้ ออกญาพิพัฒได้แก้บางอย่างแล้วก็เข้าไปในวัง ท่านหลวงก็ตามเข้าไปด้วย บาดหลวงตาชาได้รอฟังข่าวจากไทยอยู่สองหรือสามวันแต่ก็หาได้มีใครมาไม่ ในระหว่างนี้ออกญาพิพัฒได้ให้คนไปสืบที่แวงซังแปง เฮโรล่าม ว่าบาดหลวงตาชาจะพูดอย่างไรบ้าง แต่ล่ามก็ได้ตอบเสมอ ว่าบาดหลวงตาชายังคงยืนอยู่ตามที่ได้พูดไว้ไม่ได้เปลี่ยนความคิดเลย ภายหลังออกญาพิพัฒได้ให้คนมาบอกข้าพเจ้าว่าออกญาพิพัฒจะไปหาบาดหลวงตาชาเอง ออกญาพิพัฒได้ไปหาบาดหลวงพร้อมกับ ข้าราชการผู้ใหญ่อีกคน ๑ มียศเปนออกญาเหมือนกัน ก่อนที่ออกญาทั้งสองจะไปพบกับบาดหลวงตาชานั้นได้แวะเข้าไปยังวัดแห่งหนึ่งซึ่งใกล้กับด่านภาษี เพื่อปรึกษาหารือกันก่อน ครั้นข้าพเจ้าได้ไปถึงวัดก็มีคนมา บอกให้ข้าพเจ้ารออยู่ก่อนแล้วมาบอกอีกให้ข้าพเจ้าล่วงหน้าไปก่อนเถิด อีก สักครู่๑ออกญาทั้งสองก็ไปถึงแต่กว่าจะได้ลงมือพูดจากันก็ถึงบ่าย ๔ โมง ออกญาพิพัฒซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าออกญาอีกคน ๑เปนผู้ที่ออกหน้าพูดจาโต้ตอบ ออกญาพิพัฒได้ตั้งต้นแสดงความเสียใจว่าการที่เจ้าพระยา พระคลังป่วยนั้นได้ทำให้การทั้งหลายชักช้าไป แล้วก็แนะนำการต่าง ๆ เปนความอย่างเดียวกับที่ท่านหลวงได้มาพูดครั้ง ๑ แล้ว บาดหลวงตาชาจึงได้ถามขึ้นว่า การที่ออกญาทั้งสองมาในคราวนี้ พระเจ้ากรุงสยาม ๒๘๙

ใช้ให้มาหรือเจ้าพระยาพระคลังใช้ให้มา ครั้นออกญาพิพัฒตอบว่าเจ้า พระยาพระคลังใช้ให้มา บาดหลวงตาชาจึงได้ตอบเปนใจความคล้าย กับที่ได้ตอบไปกับท่านหลวงครั้ง ๑ แล้ว แล้วบาดหลวงตาชาได้พยายาม ชี้แจงให้เห็นว่าพระราชสาสนที่บาดหลวงตาชาเชิญมาคราวนี้ กับพระราชสาสนที่มองเซนเยอร์ฟรังซัวปาลูเชิญมานั้นต่างกันจะมาเทียบกัน ไม่ได้ เพราะพระราชสาสนที่มองเซนเยอร์ปาลูเชิญมานั้นเท่ากับเปนหนังสือแนะนำฝากฝังเท่านั้น แต่พระราชสาสนที่บาดหลวงตาชาเชิญ มาคราวนี้ เปนพระราชสาสนที่เกี่ยวด้วยราชการในระหว่างพระเจ้า แผ่นดินต่อพระเจ้าแผ่นดินและเกี่ยวด้วยพระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสอง ในระหว่างที่ทะเลาะกันอยู่ช้านานนั้นออกญาทั้งสองได้ออกวาจามาหลายคำที่ทำให้เข้าใจได้ว่าไทยมีความสงสัยบาดหลวงตาชา ซึ่งทำให้ท่านบาดหลวงโกรธมากและก็ควรจะโกรธอยู่บ้าง บาดหลวงตาชาได้กลั้นโทษะอยู่ช้านานจนที่สุดทนไม่ได้ก็ปล่อยโทษะออกมา และได้ พูดหลายหนว่าไทยได้สัญญาว่าจะจัดการรับรองบาดหลวงตาชาเหมือนเมื่อครั้งรับมองซิเออร์เดอโชมอง แต่ไทยปฏิเสธซึ่งเปนการที่ไทยไม่ รักษาวาจาเลย แต่อย่างไรก็ตามไม่เห็นจำเปนจะต้องวุ่นวายอย่างใด เพราะบาดหลวงตาชาไม่ได้มุ่งหมายจะข่มขืนให้ไทยรับพระราชสาสน ขอแต่ให้ไทยอนุญาตให้บาดหลวงได้กลับไปเปนแล้วกัน เพราะเรือรบ ๓๗ ๒๙๐

ฝรั่งเศสก็จวนจะมาถึงเมืองมริดแล้ว เพราะฉนั้นจะตกลงกันอย่างไร ก็ขอให้รีบตกลงกันเสีย และขอให้นำความกราบทูลพระเจ้ากรุงสยาม ให้ทราบโดยทันทีว่าบาดหลวงตาชาได้มาถึงด่านภาษีแล้ว (ในที่นี้ ควรจะกล่าวสักหน่อยว่าความจริงอะไร ๆ พระเจ้ากรุงสยามก็ทรงทราบหมดทุกอย่าง และที่ออกญาพิพัฒทำการอย่างใดก็โดยกระแสรับสั่งของ พระเจ้ากรุงสยามทั้งนั้น เพราะไม่มีใครไปปฤกษาหารือเจ้าพระยา พระคลังเลย ด้วยความเห็นของเจ้าพระยาพระคลังไม่ต้องด้วยพระอัธยาศัย ) ออกญาทั้งสองก็ลากลับไปและพาล่ามไปยังวัดด้วย ออกญา ทั้งสองได้เปนธุระจดถ้อยคำที่บาดหลวงตาชาได้ชี้เหตุผลต่าง ๆ และคำโต้ตอบลงในสมุดเพื่อนำความขึ้นกราบทูลให้ทรงทราบ กว่าจะจดลงสมุดเสร็จก็เกือบสว่าง เวลาล่วงไปได้อีกสามหรือสี่วันก็ยังไม่ได้ตกลงอย่างไรกัน ด้วย ทางในวังกำลังคิดหาเรื่องที่จะแก้ตัวอีก เพื่อจะยกเหตุผลที่จะไม่ต้องทำพิธีรับพระราชสาสนนี้ การที่เปนเช่นนี้ก็เพราะเหตุที่พวกศัตรูได้คิดอ่านขึ้นโดยชี้แจงว่าพระราชสาสนนี้เปนหนังสือเก่าที่มีมาสำหรับถวายพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สวรรคต แต่ฝรั่งเศสจะต้องการส่งกองทัพเรือมายึดเมือง มริดจึงเอาพระราชสาสนนี้ขึ้นมาอ้าง เพราะในเวลานี้ไม่จำเปนที่ฝรั่งเศสจะต้องแต่งทูตมาเลย ความที่เปนจริงในเรื่องนี้ก็คือบาดหลวงตาชาก็ หนีชื่อที่เรียกว่าราชทูต แต่ก่อนบาดหลวงตาชาเห็นว่าไม่จำเปนจะต้องอ้างตัวเปนทูตจริง ๒๙๑

พวกไทยก็เกรงกองทัพเรือฝรั่งเศสอยู่ แต่ก็ไม่ยอมที่จะทำพิธีรับ ราชทูตซึ่งมามือเปล่าหาได้มีเครื่องราชบรรณาการมาตามประเพณีของฝ่ายตวันออกไม่ เพราะฉนั้นไทยจึงต้องการลดการรับรองให้น้อยกว่าที่เคยรับราชทูตครั้งก่อน ๆ แต่ฝ่ายบาดหลวงตาชาจะต้องการได้เพิ่มให้มาก ยิ่งกว่าเก่าขึ้นไปอีก ภายหลังท่านออกญาทั้งสองได้กลับมาหาบาดหลวงตาชาอีกแจ้งว่าเจ้าพระยาพระคลังใช้ให้มาคราวนี้ได้ถือหนังสือมาฉบับหนึ่งซึ่งยกเหตุผลต่าง ๆ และแจ้งว่าได้รับคำสั่งมาให้อ่านหนังสือนี้ให้บาดหลวงฟังโดยตลอด ในหนังสือฉบับนี้ก็อ้างเหตุผลอย่างเดียวกับที่ได้พูดกันมาแล้ว และผลที่สุดก็ลงรอยเดิมนั้นเอง จนบาดหลวงตาชากลั้นโทษะไม่ได้จึงได้ไปกระชากเอาหนังสือออกจากมือล่ามแล้วนั่งทับหนังสือเสียและบอกว่าภายหลังจึงจะคืนให้ ออกญาทั้งสองได้ซักไซ้ไล่เลียงถึงพระราชสาสน ว่า พระราชสาสนนั้นประทับตราอย่างไร หีบที่บรรจุพระราชสาสน มาเปนหีบอย่างไร และได้ถามข้ออื่น ๆ ซึ่งทำให้ต่างคนทะเลาะโต้เถียงกัน บาดหลวงตาชาจึงได้พูดซ้ำอีกดังที่ได้พูดมาแล้วว่า บาดหลวงไม่มีความปราถนาที่จะข่มขืนให้ไทยรับพระราชสาสนอย่างใดเลย ขอแต่ให้ไทยอนุญาตให้บาดหลวงได้กลับไปเปนแล้วกัน ออกญาพิพัฒจึงตอบ ว่าการที่จะให้บาดหลวงตาชากลับไปเช่นนี้เปนการผิดแบบธรรมเนียมและเท่ากับยอมให้บาดหลวงทำความผิดอีกครั้ง ๑ เหมือนที่บาดหลวงได้ทำความผิดมาแล้วที่ได้ลงเรือพ่อค้ามายังเมืองมริดแต่ปีก่อน ๆ นั้น ๒๙๒

เพราะฉนั้นถ้าทำผิดอีกน่ากลัวพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะลงพระราชอาญา บาดหลวงตาชาจึงตอบว่า "จริง แต่ขอให้ข้าพเจ้าไปเถิด ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะไปรับพระราชอาญา แต่ก็คงจะได้เห็นกันว่าใครจะเปนผู้รับพระราชอาญากันแน่ ข้าพเจ้าหรือผู้ที่ทำการร้ายต่อพวกเราแน่" ในคราวนี้ท่านหลวงได้ตามท่านออกญาทั้งสองมาด้วย และท่านหลวงสอดปากเข้ามาพูดไม่หยุดเลย บาดหลวงตาชาจึงได้ตะหวาดเอาแล้วพูดว่า "อย่างไรกันท่านเปนแต่เพียงหลวงซึ่งเจ้าพระยาพระคลังใช้มาเท่านั้น จะมากล้าสอดปากพูดไม่หยุดต่อหน้าท่านออกญาทั้งสองซึ่งมาแทนพระเจ้าแผ่นดินทีเดียวหรือ ขอให้ห้ามอย่าให้คนนี้พูดอีกต่อไป และอย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นหน้าอีกเลย" การที่เกิดเอะอะบาดหมางกันเช่นนี้ดูเหมือน จะเปนด้วยเจตนาของไทยที่จะให้เปนดังนี้ เพราะท่านออกญาทั้งสองมิได้ทำอะไรนอกจากนั่งหัวเราะเท่านั้นแล้วออกญาทั้งสองได้พูดกับบาดหลวงว่าจะทำอย่างไรดีจึงจะได้ลดพิธีรับลงบ้างเล็กน้อย ฝ่ายบาดหลวงตาชาก็ยกเหตุผลมาอ้างให้เห็นว่าควรจะทำพิธีรับพระราชสาสนให้ใหญ่โตยิ่งกว่าเก่าขึ้นไปอีก ออกญาทั้งสองลุกขึ้นแล้วพูดว่า " ถ้าเช่นนั้นท่านบาดหลวงอยู่ที่นี่กับพระราชสาสนต่อไปเถิด เราจะได้มีหนังสือถึงท่านผู้อำนวยการมาแตง" บาดหลวงตาชาจึงร้องขึ้นว่า "ข้าพเจ้าไม่รู้จักมองซิเออร์ มาแตง มองซิเออร์มาแตงไม่มีหน้าที่จะมาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ข้าพเจ้า ขอร้องให้ท่านรีบส่งข้าพเจ้ากลับไปเถิด เพราะถ้าเรือรบฝรั่งเศสได้มา ถึงเมืองมริดและไม่ได้เห็นข้าพเจ้าก็จะทำให้เขาร้อนใจอย่างยิ่ง และบางที

๒๙๓

เรือรบจะถึงเมืองมริดแล้วก็จะเปนได้" แล้วบาดหลวงตาชาได้อ้อนวอนท่านออกญาอีกครั้ง ๑ ขอให้ท่านออกญาได้นำความกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามให้ทรงทราบ และขอให้จัดการอย่างใดอย่างหนึ่งให้การทั้งปวงได้เปนที่เรียบร้อย เพราะบาดหลวงเชื่อว่าพระเจ้ากรุงสยามเปรียบประดุจพระอาทิตย์ เมื่อพระอาทิตย์ส่องมาแล้วเมฆหมอกและความลำบาก ทั้งปวงคงจะหายสูญไปหมด บาดหลวงจึงหวังในพระบารมีของพระเจ้ากรุงสยามที่จะให้การทั้งปวงได้ลงรอยเปนที่เรียบร้อยต่อไป ท่านออกญาทั้งสองจึงลากลับไปและได้เลยไปแวะที่วัดเพื่อจัดการรวบรวมถ้อยคำที่ได้พูดโต้ตอบกันลงสมุดดังได้ทำแต่ครั้งก่อนมาแล้ว ในวันนี้ออกญาพิพัฒได้เรียกฟรังซัวแปงเฮโรมาถามว่า "ถ้าไทยจะต้อง การรับพระราชสาสนแต่บาดหลวงไม่ยอมมอบให้ดังว่าเช่นนี้บาดหลวงจะทำประการใด จะเอาพระราชสาสนเผาไฟหรือจะเอาไปทิ้งน้ำอย่างไร " ตั้งแต่ออกญาทั้งสองได้มาโต้เถียงกับบาดหลวงตาชาครั้งหลังนี้ ต่อนั้นมาฝ่ายไทยก็นิ่งเงียบเอาทีเดียว และมีเสียงเล่าลือเซ็งแซ่ไป หมดว่าไทยจะไม่ยอมรับราชทูต และยังมีเสียงลืออันน่าเกลียดไม่น่า ฟังยิ่งกว่านี้อีก ฝ่ายบาดหลวงตาชาก็ต้องทนย่างแดดอยู่ และมีความเสียใจมากที่ได้เชื่อใจในวาจาของไทยเกินไป แต่ในระหว่างนี้ไทยก็ยัง คงเตรียมจัดบ้านซึ่งอยู่ในถนนของพวกแขกมัว และยังคงเตรียมการอย่างอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ตามปรกติออกญาพิพัฒก็ให้คนไปสืบที่ ล่ามอยู่เสมอ ๆ ว่า บาดหลวงตาชาพูดว่าอย่างไรบ้าง และวันหนึ่ง

๒๙๔

ฟรังซัวแปงเฮโรไปหาออกญาพิพัฒ ออกญาพิพัฒจึงพูดขึ้นว่า "การ ที่บาดหลวงตาชามาคราวนี้เปนการให้ร้ายต่อข้าพเจ้าอย่างยิ่ง" การที่ออกญาพิพัฒพูดดังนี้จึงทำให้เปนที่น่าสงสัย ว่าการที่คิดจะจัดรับบาดหลวงตาชาตามแบบอย่างที่เคยรับมองเซนเยอร์ฟรังซัวปาลูนั้น คงจะเปนความคิดของออกญาพิพัฒกราบทูลแนะนำนั้นเอง เพราะเมื่อชั้นต้นเจ้าพนักงารก็ได้เตรียมการที่จะรับบาดหลวงคนนี้ตามแบบอย่างที่เคยรับมองซิเออร์ เดอโชมอง และมองซิเออร์เดอลาลูแบอยู่แล้ว เพราะฉนั้นพระเจ้า แผ่นดินทรงเห็นว่า คำแนะนำของออกญาพิพัฒไม่เปนการสำเร็จอย่างใด จึงโทษว่า ออกญาพิพัฒทำการไม่ถูก เพราะเหตุฉนี้เองออกยาพิพัฒจึงสลดใจอยู่เสมอและบ่นอยู่ไม่ขาดว่า บาดหลวงตาชาหัวดื้อมาก จนออกญาพิพัฒจวนจะต้องถูกเฆี่ยนอยู่แล้ว

มองซิเออร์เฟเรอคิดจัดการ แต่อย่างไรก็ตามเวลาก็ล่วงไปทุกทีและบาดหลวงตาชาก็รำคาญ ที่สุด บาดหลวงตาจึงได้คิดเขียนเรื่องราวเพื่อถวายพระเจ้ากรุงสยาม แต่ออกญาพิพัฒก็พูดว่า ข้อความในเรื่องราวนั้นก็ไม่ผิดแปลกอะไรกับ ที่ได้พูดกันมาแล้ว เพราะฉนั้นถ้าจะถวายก็ไม่เปนประโยชน์อะไร ใน การที่ไทยดูแฉะชานั้นก็คงจะเปนด้วยในวังจะมีพิธีใหญ่และมีงารหลายวัน แต่อย่างไรก็ดีสังเกตดูการงารไม่เปนที่เรียบร้อยเลย ถ้าจะดูสีหน้า ของออกญาพิพัฒแล้วก็ต้องรู้สึกได้ว่า พระเจ้ากรุงสยามคงจะไม่


๒๙๕

สบายพระทัย เพราะในเวลานี้ไม่มีใครกล้ารอหน้าและไม่มีใครพูดถึง พระราชสาสนเลย ตัวข้าพเจ้าก็ออกรู้สึกครั่นคร้ามอยู่บ้าง แต่ถึง ดังนั้นถ้าจะไม่จัดการเสียเลยการก็ไม่ดำเนิรไปได้ ข้าพเจ้าจึงได้ตก ลงในใจจะไปหาออกญาพิพัฒพร้อมด้วยฟรังซัวแปงเฮโร (เพราะบิดาของฟรังซัวแปงเฮโรประจำอยู่กับบาดหลวงตาชาที่ด่านภาษี) ข้าพเจ้า ได้ไปถึงบ้านออกญาพิพัฒ เห็นท่านผู้นี้กำลังทำธุระที่จะมีท้องตราตั้ง เจ้าเมืองมริดคนใหม่ และมีท้องตราสั่งไปยังเจ้าเมืองตะนาวศรีซึ่ง เปนหัวหน้าของเจ้าเมืองมริด ให้ทำป้อม ทำดินปืน ให้เกณฑ์คนมา ฝึกหัด ให้เกณฑ์คนเท่านั้นพันสำหรับไปตัดและหามเสา ให้เตรียมคน ไว้ให้พร้อมและอย่าให้คนเหล่านี้กระจายไปได้ และออกญาพิพัฒก็ เอาแผนที่เมืองมริด เมืองตะนาวศรี มาตรวจและได้คัดลอกแผนที่เพื่อนำขึ้นถวาย การที่ไทยเตรียมการอยู่เช่นนี้ก็พอเห็นได้ว่า เพราะคิดจะ สู้กองทัพเรือฝรั่งเศส ถึงกับเกณฑ์คนส่งไปช่วยเมืองมริดก็มี ออกญาพิพัฒในระหว่างที่ทำธุระวุ่นอยู่เช่นนี้ได้หันมาพูดกับข้าพเจ้า ว่า "ทำไมท่านจึงหายไปไม่เห็นมาหาบ้าง บาดหลวงพูดว่าอย่างไร บ้าง" ข้าพเจ้าจึงตอบว่า บาดหลวงตาชายังคงยืนคำอยู่ตามเดิมนั้นเอง เพราะบาดหลวงถือมั่นในพระราชโองการที่ให้ไปเชิญบาดหลวงมา เพราะ ฉนั้นบาดหลวงตาชาจึงมีความปลาดใจที่ได้มาฟังไทยปฏิเสธข้อที่รับรอง ไว้ทั้งปวง เพราะข้อรับรองเหล่านี้เท่ากับล่อให้บาดหลวงมายังเมืองไทย บาดหลวงตาชาจึงเร่งขอให้ไทยจัดการส่งให้บาดหลวงกลับไป หรือ

๒๙๖

มิฉนั้นก็ขอให้บอกมาโดยเร็วว่าไทยจะคิดการอย่างไรต่อไป ออกญาพิพัฒได้นั่งตรองอยู่สักครู่หนึ่งจึงได้พูดกับข้าพเจ้าว่า "ท่านจงไปหาบาดหลวงตาชาคิดอ่านพยายามพูดจาอย่างใดที่จะให้บาดหลวงตาชายอมลดพิธีรับพระราชสาสน ครั้งรับมองซิเออร์เดอโชมองลงเสียบ้าง และข้างฝ่ายเราก็จะเพิ่มพิธีรับครั้งมองเซนเยอร์ฟรังซัวปาลูขึ้นบ้าง" ข้าพเจ้าได้อิดออดขอตัว โดยบอกกับออกญาพิพัฒว่า ถ้าจะให้ฟรังซัวแปงเฮโรไปก็พอแล้ว แต่ออกญาพิพัฒไม่ยอมจะบังคับให้ข้าพเจ้าไป ให้จงได้และกำชับด้วยว่า ในเรื่องนี้อย่าให้บาดหลวงตาชารู้ว่า ออก ญาพิพัฒใช้ให้มา แต่ให้เปนทีว่า ความคิดนี้เปนความคิดของข้าพเจ้าเองข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเปนหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องบอกให้ออกญาพิพัฒรู้ตัวเสียแต่ชั้นต้น ว่าในข้อที่เกี่ยวด้วยพระราชสาสนนั้น คนอื่นจะรับ ไม่ได้เปนอันขาด แต่จะต้องถวายตรงต่อพระหัดถ์ เพราะฉนั้นในข้อ นี้ทำอย่างไร ๆ ก็จะแก้ไขไม่ได้ ออกญาพิพัฒจึงตอบว่า "ไปเถิด แต่ขอให้ไปจัดการอย่างดีที่สุดที่จะทำได้ เพราะไม่ควรจะให้พระราช ไมตรีซึ่งได้มีติดต่อกันมาหลายปีแล้ว ขาดลงได้เพราะเหตุที่มาแตก ร้าวกันเช่นนี้" ข้าพเจ้าจึงได้ไปหาบาดหลวงตาชา และได้แนะนำให้บาดหลวง ย่อความในพระราชสาสนส่งให้ไทยทราบ ส่วนการที่จะรับรองบาดหลวงตาชาจะควรมีพิธีใหญ่โตหรือเล็กน้อยสักเพียงไร ควรมอบให้เปนพระ ธุระของเจ้ากรุงสยามดีกว่าตามความแนะนำของข้าพเจ้าเช่นนี้บาดหลวง

๒๙๗

ตาชาก็เห็นด้วย เมื่อบาดหลวงได้รับปากว่าจะทำตามคำแนะนำของข้าพเจ้าแล้วข้าพเจ้าจึงได้จดบันทึกไว้และบาดหลวงก็เห็นชอบด้วย ข้าพเจ้า จึงได้ลาบาดหลวงตาชาและได้พามองซิเออร์แวงซังแปงเฮโร เพื่อไปหาออกญาพิพัฒด้วย ไปตามทางข้าพเจ้าได้อธิบายให้แวงซังแปงเฮโรเห็นถึงผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจากการที่จะแตกร้าวกันนี้ ซึ่งจะเปนการทำให้ บาดหลวงเดอลาเชซและบาดหลวงตาชาเสียชื่อ และทำให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสหมดไว้พระทัยในคนทั้งสองนี้ และได้อธิบายต่อไปว่า พระ เจ้ากรุงฝรั่งเศสมีอำนาจมาก เพราะฉนั้นไม่ควรจะทำให้กริ้ว และถ้าจะต้องการให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสรับพระราชสาสนตอบของไทยโดยดีแล้วก็ไม่ควรจะใช้คนชนิดบาดหลวงตาชา ข้อต่าง ๆ เหล่านี้ข้าพเจ้าได้แนะนำให้แวงซังแปงเฮโร อธิบายชี้แจงให้ออกญาพิพัฒเข้าใจโดย เลอียด รุ่งขึ้นเวลาเช้า ข้าพเจ้ากับแวงซังแปงเฮโร ได้ไปยังห้องว่าราช การของออกญา พิพัฒ แวงซังแปงเฮโรจึงได้อธิบายชี้แจงให้ออกญาพิพัฒฟังตามข้อความต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้แล้ว แวงซังแปงเฮโรจึงส่งเรื่องราวของบาดหลวงตาชาให้แก่ออกญาพิพัฒ ๆ ได้อ่านแล้วก็ ทิ้งเรื่องราวลงกับพื้นแล้วพูดว่า เรื่องราวฉบับนี้ก็มีแต่ในความซ้ำกัน อยู่นั้นเอง ข้าพเจ้าจึงได้เล่าให้ออกญาพิพัฒฟังถึงความที่ข้าพเจ้าได้ ไปตกลงกับบาดหลวงตาชา ออกญาพิพัฒจึงตอบว่า " ดีแล้ว ให้ ๓๗ ๒๙๘

ท่านเขียนมาเปนตัวหนังสือเซ็นชื่อของท่าน ให้เขียนมาโดยเลอียดให้ แจ่มแจ้ง และจะเอาข้อความในเรื่องราวของบาดหลวงตาชาแทรกลงไปบ้างบางข้อก็ได้" แล้วออกญาพิพัฒก็ชี้ให้ข้าพเจ้าดูว่าจะควรเอาข้อความของบาดหลวงตาชาลงข้อใดบ้าง ข้าพเจ้าก็ได้ลากลับมาบ้านและได้ จัดการเขียนข้อความที่ตกลงกันนี้อย่างดีที่สุดที่จะเขียนได้ ฟรังซังแปง เฮโรจึงนำหนังสือนี้ไปส่งให้ออกญาพิพัฒ ๆ ได้ อ่านแล้วดูพอใจมาก แต่พูดว่า น่ากลัวพระเจ้ากรุงสยามจะไม่โปรดเท่าใรนัก แล้วออกญา พิพัฒได้ส่งหนังสือนี้ไปให้เจ้าพระยาพระคลังดู เจ้าพระยาพระคลังก็ สั่งให้นำขึ้นถวาย ฟรังซัวแปงเฮโรเห็นเปนโอกาศดีจึงสกิดเจ้าพระยา พระคลังให้รู้สึกในกำลังและอำนาจของประเทศฝรั่งเศส เจ้าพระยา พระคลังจึงได้ให้ฟรังซัวแปงเฮโรกลับไปหาออกญาพิพัฒ และพูดว่า "ท่านจงไปเล่าให้ออกญาพิพัฒฟังถึงอำนาจและกำลังของประเทศฝรั่งเศสบ้าง เพราะข้อนี้เปนเรื่องที่สำคัญมาก"

บาดหลวงตาชาเข้าเฝ้า รุ่งขึ้นเวลาเช้า ออกญาพิพัฒได้เข้าไปยังพระราชวัง เพื่อนำหนังสือของข้าพเจ้าขึ้นถวายพระเจ้ากรุงสยามทรงเห็นชอบด้วยและรับสั่งว่า " เหตุใดบาดหลวงจึงไม่พูดเช่นนี้แต่ชั้นต้นเล่า " แล้วรับสั่งในเดี๋ยวนั้นเองให้จัดการรับรองราชทูตต่อไป ส่วนตัวข้าพเจ้าก็ได้ไปยังบ้านออกญาพิพัฒแต่เช้าเหมือนกัน เพื่อฟังข่าวว่าหนังสือของข้าพเจ้าได้เกิดผลอย่างไรบ้าง เมื่อไปพบออกญา ๒๙๙

พิพัฒนั้นดูท่านปลื้มอย่างที่สุด และที่เล่าอะไรต่ออะไรต่าง ๆ นั้นดูเหมือนพวกเราจะได้ช่วยให้ออกญาพิพัฒได้พ้นจากความลำบากอย่างสาหัสและพูดว่า ถ้าพระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานเงินหมื่นเหรียญก็จะไม่ยินดีเท่ากับที่ยินดีว่าเรื่องนี้เปนที่ตกลงกันแล้ว แล้วออกญาพิพัฒได้บอกให้ข้าพเจ้าไปหาบาดหลวงตาชาแจังให้ทราบว่า พรุ่งนี้พระเจ้ากรุงสยาม จะได้โปรดให้ไปทำความตกลงกับบาดหลวงตาชาถึงการที่จะเข้าเฝ้า ในวันนั้นเองตอนกลางคืน ออกญาพิพัฒได้ให้คนมาบอกให้ข้าพเจ้าไปรออยู่ที่ประตูเมืองในวันพรุ่งนี้เวลาเช้า ๒ โมง (๘ ก.ท.) พร้อมด้วยฟรัง ซัวแปงเฮโร เพื่อจะได้ไปหาบาดหลวงตาชาที่ด่านภาษี ในคราวนี้ออกญาทั้งสองได้ทำท่าทางกิริยาผิดกว่าครั้งก่อน ๆ มาก และได้ ตั้งต้นพูดโดยอ้างพระราชโองการว่า บาดหลวงตาชาอย่าได้นึกว่าไทย จะยอมทำให้ผิดประเพณี เพราะกลัวกองทัพเรือ ถึงจะมีกองทัพเรือหลายกองก็จะไม่ทำให้ผิดธรรมเนียมไปได้ และการที่ได้ชักช้าเสีย เวลาตั้งแต่บาดหลวงตาชามาถึงนั้นเปนความผิดของบาดหลวงเอง และเมื่องารพิธีในวังได้ทำเสร็จแล้วเมื่อใด ๑ ก็จะเสด็จออกแขกเมืองให้ บาดหลวงเฝ้า แล้วออกญาพิพัฒจึงได้อธิบายถึงวิธีที่จะเชิญพระราชสาสนและระเบียบที่จะเข้าเฝ้าตามระเบียบนี้บาดหลวงตาชาไม่ยอมอยู่สามหรือสี่ข้อ

(๑) คือพิธีโสกันต์พระราชบุตร์ของพระเจ้ากรุงสยาม พิธีนี้ได้ทำกันใหญ่โตมีงารถึง ๙ วันจึงได้เสร็จ

๓๐๐

และขอเพิ่มเติมอีกหลายอย่าง ออกญาทั้งสองรับรองว่าจะนำข้อความเหล่านี้ไปกราบทูลให้ทรงทราบ ภายหลังก็โปรดให้เปนไปตามประสงค์ของบาดหลวงตาชาทุกประการ แล้วบาดหลวงตาชาจึงได้นำหนังสือสัญญามาให้ออกญาทั้งสองดูสองฉบับ ๆ ๑ เปนสัญญาเกี่ยวด้วยการค้าขาย อีกฉบับหนึ่งเปนหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี สัญญาทั้งสองฉบับนี้เปนหนังสือสัญญา ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ได้พระราชทานมอบไปกับบาดหลวงตาชา และพระราชทานอนุญาตให้บาดหลวงตาชาแก้ไขเพิ่มเติมตัดรอนได้ตามแต่จะเห็นควรหนังสือสัญญานี้ได้ประทับพระราชลัญจกรของพระเจ้ากรุงสยามและเซ็นพระนามของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และบาดหลวงตาชาก็ได้ส่งสำเนาคำที่บาดหลวงตาชาจะกราบบังคมทูลให้ออกญาทั้งสองดูคำกราบบังคมทูลนี้กล่าวถึงเหตุผลที่บาดหลวงตาชามาในคราวนี้โดยยืดยาวมาก และได้เอาหัวข้อในพระราชสาสนโดยย่อส่งให้ออกญาทั้งสองด้วย แต่ในครั้งนี้ทั้ง ฝ่ายไทยและฝ่ายบาดหลวงมิได้กล่าวถึงศุภอักษรของสังตปาปา อินโนซังที่ ๑๑ เลยจนคำเดียว และศุภอัษรฉบับนี้บาดหลวงตาชาก็ ได้เชิญมาด้วยเหมือนกัน ได้สังเกตดูว่าการที่บาดหลวงตาชามอบการรับรองอยู่ในพระราชธุระของพระเจ้ากรุงสยามแล้วแต่จะทรงโปรดประการใดนั้น เปนการที่ พระเจ้ากรุงสยามและข้าราชการทั่วไปปลื้มใจเปนอันมาก เพราะเข้าใจกันว่าบาดหลวงตาชาได้ทำความยอมแล้ว แต่จะอย่างไรก็ดีเปนการที่

๓๐๑

แน่นอนว่าในเรื่องนี้ฝ่ายไทยมีความร้อนใจเปนอันมาก โดยที่ไทยได้ ดำเนิรการในทางผิดในชั้นต้นมาแล้วอย่าง ๑ โดยกลัวว่าฝรั่งเศสจะ ทำการแก้แค้นอย่าง ๑กลัวว่าในที่สุดจะต้องจำเปนจำใจรับพระราชสาสนเท่ากับถูกบังคับซึ่งจะเปนการอับอายแก่นานาประเทศอย่าง ๑ เพราะ ฉนั้นเมื่อไทยได้บิดพลิ้วต่าง ๆจนที่สุดแล้วจึงจำเปนต้องรับพระราชสาสน ที่จริงถ้าไทยได้ตกลงใจรับพระราชสาสนเสียโดยดีแต่ชั้นต้นแล้วจะดีกว่า แต่หากว่าต้องบิดพลิ้วไปก่อนเพื่อให้ศัตรูของเราได้รับความอายเท่านั้น เมื่อได้ทำพิธีโสกันต์เสร็จแล้วก็ยังรอกันต่อไปอีกสามหรือสี่วัน ในระหว่างสามสี่วันนี้ได้มีคนลือข่าวอันน่าเกลียดหลายอย่าง ครั้นมาเมื่อ ณวันที่ ๒๘ เดือนมกราคม ได้มีหมายคำสั่งมาว่าให้บรรดาชนต่างภาษาทุกชาติทุกภาษาไปกระทำความเคารพต่อท่านราชทูตฝรั่งเศส และสั่งบรรดาข้าราชการที่มีหน้าที่แห่พระราชสาสนและนำบาดหลวงเข้าเฝ้านั้นให้ไปรวมพร้อมกันที่ด่านภาษีในตอนกลางคืน ครั้นเมื่อณวันที่ ๒๙ เดือนมกราคม พอพระอาทิตย์ขึ้น ได้เดิรกระบวนแห่พระราชสาสนไปตาม ลำน้ำตลอดจนถึงพระราชวังกระบวรแห่นี้มีเรือเล็กใหญ่เปนอันมาก ตามลำน้ำทั้งสองฝั่งเต็มไปด้วยผู้คนยัดเยียดกันคอยดูท่านราชทูตซึ่งมีเสียงพูดกันต่าง ๆ นา ๆ มาแต่ชั้นเดิม ครั้นมาถึงประตูพระราชวังก็ได้ขึ้น จากเรือ เจ้าพนักงารจึงได้เชิญพระราชสาสนขึ้นวอปิดทอง และขุนนางผู้ซึ่งเคยมีหน้าที่หามพระราชยานของพระเจ้าแผ่นดินก็ได้มาหามวอบัญจุพระราชสาสนต่อไป ท่านบาดหลวงตาชากับบาดหลวงเดอลาบเรอย์ได้ ๓๐๒

เดิรติดท้ายพระวอ ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์ยาโรเซียและสามเณรมาริเซต์ ได้เดิรตามบาดหลวงตาชา ครั้นเดิรมาถึงเชิงอัฒจันท์ท้องพระโรงซึ่ง เปนที่ประทับนั้น เจ้าพนักงารได้เชิญพระราชสาสนลงจากพระวอบัญจุลงในพานแว่นฟ้าทองคำ บาดหลวงตาชาจึงได้ไปเชิญพานเดิรเข้าไปยัง ท้องพระโรง มีแต่บาดหลวงเดอลาบเรอย์เดิรตามเข้าไปด้วยคนเดียว เท่านั้น บาดหลวงตาชาเดิรพลางถวายคำนับพลางเปนทอด ๆ ไปครบ ๓ ครั้งแล้วจึงได้ส่งพานพระราชสาสนให้บาดหลวงเดอลาบเรอย์เชิญไว้ บรรดาขุนนางข้าราชการหมอบเฝ้าอยู่รอบไป บาดหลวงตาชาได้ยืน กราบบังคมทูลข้อความแต่สั้น ๆ จึงได้เชิญพระราชสาสนส่งถวายพระเจ้ากรุงสยามแล้วได้ถอยหลังมาสองก้าวจึงได้นั่งลงกับพรม พระราชโองการที่พระเจ้ากรุงสยามจะดำรัสว่าอย่างไร และคำกราบบังคมทูลตอบของบาดหลวงตาชาก็ได้เขียนไว้เปนตัวอักษรพร้อมแล้ว พระเจ้ากรุงสยาม มีพระราชดำรัสว่าอย่างไร มีข้าราชการผู้ใหญ่คน ๑ รับพระราชโองการ มาบอกกับบาดหลวงตาชา และบาดหลวงตาชาตอบว่าอย่างไร ข้า ราชการผู้นั้นเองก็นำคำตอบของบาดหลวงขึ้นกราบทูล ครั้นเสร็จพิธีออกแขกเมืองแล้ว บาดหลวงตาชาก็ออกมาจากที่ เฝ้า พวกเราก็ได้ไปสมทบกับบาดหลวง ในระหว่างที่เสด็จออกแขก เมืองนั้น ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์ยาโรเซียและสามเณรมอริเซต์ได้ไปนั่งคอยอยู่ในห้องติดกับท้องพระโรงพร้อมด้วยข้าราชการชั้นที่ ๒ เพราะ เจ้าพนักงารไม่ยอมให้พวกข้าพเจ้าเข้าไปในที่ๆเสด็จออกแขกเมือง ถึง

๓๐๓

บาดหลวงตาชาจะขอร้องอย่างไรเจ้าพนักงารก็หายอมไม่ บรรดาชน ชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในเมืองไทยทุกคนได้ไปพร้อมกันอยู่ในที่นั้นเพื่อคอยเข้ากระบวรแห่ แต่พวกฝรั่งเศสเหล่านี้หาได้เข้าไปในบริเวณพระราชวัง ได้ไม่ ครั้นบาดหลวงตาชาออกจากที่เฝ้าจึงได้ตรวจดูทั่วไป กล่าวคือ ตรวจดูจำนวนช้างม้า จำนวนขุนนางข้าราชการและทหาร แล้วจึง พูดว่า การรับรองในเขตพระราชวังคราวนี้ใหญ่โตยิ่งกว่าครั้งราชทูต ก่อน ๆ เข้าเฝ้าหลายเท่า และบาดหลวงตาชาได้เล่าให้พวกข้าพเจ้า ฟังว่า พิศดูพระเจ้ากรุงสยามดุจเปนทองทั้งพระองค์ และถ้าจะเปรียบ ก็คล้ายกับเปนพระเจดีย์ปิดทอง และเล่าต่อไปว่าท้องพระโรงนั้นงดงามมากประดับด้วยกระจกเงาที่ได้สั่งมาแต่ฝรั่งเศส ท้องพระโรงองค์นี้ พระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันนี้ได้ทรงสร้างขึ้น แล้วเจ้าพนักงารได้นำ เสื้อยาวสองเสื้อมาพระราชทานบาดหลวงตาชา เสื้อนี้เหมือนกับที่ได้ พระราชทานแก่พวกเรา เว้นแต่เสื้อที่พระราชทานบาดหลวงตาชานั้นผิดกันที่เปนสีม่วงเท่านั้น เมื่อได้ออกจากพระราชวังแล้ว พวกเราก็ได้ตามท่านบาดหลวงลงเรือ ๆ ได้ไปตามทางเดิมที่มานั้นเอง พวกเรากับข้า ราชการไทยหลายคนได้ไปส่งท่านบาดหลวงจนถึงที่พักซึ่งเจ้าพนักงารได้จัดเตรียมไว้ในถนนพวกแขกมัว


บาดหลวงตาชาไปหาเจ้าพระยาพระคลัง ครั้นรับประทานอาหารค่ำเสร็จและ้วเจ้าพนักงารได้มาตามพวกเราให้ไปยังพระราชวังเพื่อไปแปลพระราชสาสนเปนภาษาไทย ข้าพเจ้าจึงได้ ๓๐๔

ไปพร้อมกับมองซิเออร์ยาโรเซียและฟรังซัวแปงเฮโรและเจ้าพนักงารได้ พาไปยังห้อง ๆ หนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยขุนนางแก่ ๆ นั่งบนพรมเปอเซียตามลำดับยศ เจ้าพนักงารจึงได้นำโต๊ะเล็กซึ่งคลุมด้วยแผ่นเงินมาตั้งแล้ว เจ้าพนักงารก็บอกให้พวกเรานั่งลงข้างโต๊ะเล็กนั้น ในทันใดนั้นเจ้า พนักงารได้เชิญพระราชสาสนเข้ามาวางบนโต๊ะ วิธีที่เชิญพระราชสาสนมานั้นคือเอาพระราชสาสนขึ้นวางบนบ่าและมีกลองและเครื่องมโหรีนำมาด้วยพวกเราจึงได้เปิดพระราชสาสนออกแปล เมื่อแปลเสร็จแล้วเจ้าพนักงารได้เอาข้อความย่อที่บาดหลวงตาชาได้ให้ไว้นั้นมาเทียบทาน ครั้นเห็น ว่าข้อความตรงกันข้าราชการไทยก็แสดงความยินดี แล้วเจ้าพนักงาร จึงเชิญพระราชสาสกับคำแปลกลับเข้าไปข้างในโดยมีวิธีแห่อย่างเดียว กับเมื่อเชิญออกมา แล้วพวกเราก็ได้ลากลับมาบ้าน พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งไว้กับบาดหลวงตาชาว่า ถ้าจะต้องการพูดธุระเรื่องใด ๆ ก็ให้บาดหลวงไปพูดกับเจ้าพระยาพระคลัง แต่ล่ามของเราทั้งพ่อและลูกได้ขัดข้องต่าง ๆ โดยอ้างว่าเกรงจะเปนการรบกวนเจ้าพระยาพระคลัง เพราะฉนั้นบาดหลวงตาชาจึงไม่ได้ไปหาเจ้าพระยาพระคลังดังหวังไว้เพื่อจะได้ไปพูดจาถึงการงารต่าง ๆ ให้เปนการเสร็จไป เวลาได้ล่วงไปสองสามวันก็ยังหาได้จัดการอย่างใดไม่ อยู่ดี ๆ โดย ไม่ทันรู้ตัวเจ้าพนักงารก็มาตามพวกเราให้เข้าไปยังพระราชวัง เพื่อไป แปลพระราชสาสนที่พระเจ้ากรุงสยามจะได้ตอบไปยังพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเปนภาษาฝรั่งเศสที่จริงพระราชสาสนฉบับนี้ในชั้นเดิมไทยก็ได้ตั้งใจจะให้

๓๐๕

ฟรังซัวแปงเฮโรแปลเปนภาษาฝรั่งเศส ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์ยาโรเซีย จึงได้เข้าไปยังพระราชวังและได้แปลพระราชสาสนเปนภาษาฝรั่งเศส ร่าง ที่พวกเราเขียนไว้นั้นเจ้าพนักงารได้ยึดเอาไว้หาคืนให้เราไม่ แต่ข้อความทั้งหลายนั้นเราก็จำไว้ขึ้นใจได้หมดแล้ว เมื่อพวกเราได้ออกจากในวัง แล้วก็ได้เลยไปรับประทานอาหารว่างกับบาดหลวงตาชา การที่ไทย ได้เขียนพระราชสาสนตอบโดยยังไม่ทันได้พูดจาว่าอย่างไรกันเลยนั้นก็ต้องชมเชยสติปัญญาอยู่บ้าง ครั้นภายหลังบาดหลวงตาชาได้หาเวลาและ โอกาศไปหาเจ้าพระยาพระคลังจงได้ แต่พวกเราหาได้ไปด้วยไม่ เมื่อ ได้พูดจาทักทายปราสัยแสดงไมตรีซึ่งกันและกัน และเจ้าพระยาพระคลังได้เลี้ยงดูเสร็จแล้ว บาดหลวงตาชาก็จะเอ่ยพูดถึงการงารกับท่านเสนาบดี เจ้าพระยาพระคลังจึงตอบว่า พระราชสาสนของพระเจ้ากรุงสยามที่จะตอบไปยังพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้นได้เขียนเสร็จแล้ว ในพระราชสาสนนี้ได้กล่าวถึงข้อความทุกอย่างแล้วและอีกสองวันก็จะโปรดให้บาดหลวงตาชาเข้าเฝ้าเพื่อทูลลา เพราะจะต้องการให้บาดหลวงได้รีบกลับไปโดยเร็ว เพื่อจะไม่ต้องให้กองทัพเรือคอยเสียเวลาทั้งจะได้ทันลมมรสุมด้วย ใน ข้อนี้บาดหลวงตาชาไม่มีคำตอบจนคำเดียว และไม่กล้าพูดถึงเรื่องอื่น นอกจากจะขอให้บุตรีของชาวฝรั่งเศสสองคนได้พ้นโทษ เจ้าพระยา พระคลังรับรองว่าในเรื่องนี้จะได้นำความขึ้นกราบทูล แต่ก็ได้ล่วงเวลามาถึง ๓ เดือนและ้วก็ยังไม่เห็นเจ้าพระยาพระคลังได้กราบทูลว่าอย่างไรเลย ๓๙

๓๐๖

รุ่งขึ้นบาดหลวงได้มาเยี่ยมพวกเราที่โรงเรียนสามเณร เราได้ จัดอาหารเลี้ยงอย่างดีที่จะหาได้ ครั้นรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ภรรยามองซิเออร์คอนซตันซ์ได้มาหาบาดหลวงตาชา การที่มาคราวนี้ก็ต้องมาโดยเงียบ ๆ ไม่ให้ใครทราบเลย ภรรยามองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้ร้องไห้มากมาย แต่เวลาที่มาดำคอนซตันซ์จะปรับทุกข์กับบาดหลวงตาชาไม่พอ เพราะได้มีเจ้าพนักงารมาเร่งให้บาดหลวงตาชาไปยังบ้านเจ้าพระยาพระคลัง เพราะท่านผู้นี้อยากจะทราบว่าการที่บาดหลวงจะเดิรทางกลับไปคราวนี้จะต้องการเงินสักเท่าไร บาดหลวงตาชาจึงได้ตอบเจ้าพระยาพระคลังว่าไม่ต้องการเงินหรือไม่ต้องการของอย่างใดเลย ขอแต่ให้ใช้เงิน ๒๐๐ รูเปียซึ่งบาดหลวงตาชาได้ให้ข้าราชการไทยยืมที่เมืองเบงกอลเปนแล้วกัน เพราะเงินรายนี้ไทยไม่ใคร่จะยอมใช้ให้เลย แล้ว ก็ได้ตกลงกันต่อไปว่าในพระราชสาสนที่จะตอบไปยังพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้น จะได้เติมข้อความลงไปอีกเพื่อทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสให้ทรงทราบว่าไทย ได้จัดส่งบาดหลวงตาชาให้กลับไปเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสด้วยประการอย่างใด


บาดหลวงตาชากลับจากเมืองไทย ครั้นวันที่ ๔ เดือนกุมภาพันธ์ ภายหลังวันที่เสด็จออกแขกเมือง ๗ วัน เจ้าพนักงารได้มาพาบาดหลวงตาชาไปเฝ้าเพื่อทูลลา แต่ พวกเราก็หาได้ไปด้วยไม่ มีแต่สามเณรมอริเซต์ตามไปด้วย และ ๓๐๗

คราวนี้ได้เข้าไปจนถึงหน้าที่นั่ง ฝ่ายเจ้าพระองค์ใหญ่ ซึ่งทรงแก้ พระองค์ต่าง ๆ โดยไม่ยอมให้บาดหลวงตาชาได้เฝ้าโดยฉเพาะนั้น ได้ประทับอยู่ที่พระแกลข้างหลังพระเจ้ากรุงสยามและมีเจ้านายเล็ก ๆ อีกหลายองค์ประทับอยู่ ณ ที่นั้นด้วย พระเจ้ากรุงสยามจึงได้มีรับสั่งแก บาดหลวงตาชาว่าในพระราชสาสนที่จะตอบไปนั้นมีข้อความทุก ๆ อย่างตามความต้องการอยู่แล้ว และที่โปรดให้บาดหลวงตาชาได้รีบกลับไปโดยเร็วนั้นก็เพื่อให้ถูกใจบาดหลวง เพราะบาดหลวงได้พูดไว้แต่เดิม แล้วว่าจะต้องการกลับไปโดยเร็ว และรับสั่งให้บาดหลวงตาชาไปทูล พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ว่าทรงหวังพระทัยว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะได้ ทรงพระราชสำราญและทรงพระเจริญทุกประการ ข้อพระราชโองการ ที่จะดำรัสแก่บาดหลวง และคำตอบที่บาดหลวงจะต้องตอบนั้นได้เขียนเตรียมไว้เสร็จแล้ว และคำตอบของบาดหลวงก็ง่ายอย่างที่สุดเพราะ ไม่ต้องตอบอะไรนอกจากว่า "ดีแล้ว" ครั้นเสด็จขึ้นแล้ว เจ้า พนักงารได้เชิญพระราชสาสนลงเรือซึ่งได้จัดการเตรียมไว้แล้ว บาดหลวงตาชาก็ได้ลงเรือลำที่เชิญพระราชสาสนนั้น เจ้าพนักงารจึงได้เคลื่อนกระบวรมีการแห่และพิธีต่าง ๆ เหมือนกับเมื่อครั้งเชิญพระราชสาสน ฝรั่งเศสมา ครั้นบาดหลวงตาชาได้มาถึงหน้าโรงเรียน พวกเราก็ ได้เลยเข้ากระบวรด้วยและได้ไปส่งจนถึงด่านภาษี บาดหลวงได้รออยู่ที่ด่านภาษีสองสามวันเพื่อเตรียมการให้เรียบร้อย พระเจ้ากรุงสยามก็ได้ส่งเข้าสารและของต่าง ๆ มาพระราชทาน ของที่

๓๐๘

พระราชทานฉเพาะแก่บาดหลวงตาชานั้น ให้คำนวณดูทั้งเงินและเครื่องลายครามกับของอื่น ๆ รวมเปนราคาราว ๕๐๐ หรือ ๖๐๐ เหรียญ เมื่อได้เตรียมเสร็จแล้ว ท่านบาดหลวงก็ได้ลงเรือไปยังเมืองพิพลี (Piply) บาดหลวงตาชาได้ไปถึงเมืองมริดเมื่อวันที่ ๑ เดือนมีนาคม และเรือรบลำที่พาบาดหลวงมานั้นได้มาคอยอยู่ที่เมืองมริดได้ ๖วันแล้ว ครั้นรุ่งขึ้นเจ้าพนักงารได้เชิญพระราชสาสนลงเรือ แต่พวกไทยไม่กล้าขึ้นไปบนเรือได้แห่พระราชสาส์นไปเพียงฝั่งเท่านั้น ในพวกไทยมีแต่ยกรบัตร์ เมืองมริดคนเดียวเท่านั้นที่กล้าขึ้นไปบนเรือรบพร้อมดับฟรังซัวแปงเฮโร บนเรือรบนั้นได้จัดไว้อย่างสอาดเรียบร้อย และเมื่อพระราชสาสนมาถึงเรือนั้นก็ได้ยิงทั้งปืนใหญ่และปืนเล็กรับ ครั้นพระราชสาสนและบาดหลวงตาชาได้ลงเรือเสร็จแล้วอีกสองชั่วโมง เรือก็ได้ถอนสมอแล่นใบไปยัง เมืองปอนดีเชรี บาดหลวงตาชาได้มีหนังสือถึงข้าพเจ้ามีใจความอยู่ สองคำเท่านั้น ส่วนตัวข้าพเจ้าเองเชื่อว่าที่บาดหลวงตาชาได้ไปพ้นเสียเช่นนี้คงจะเบาใจเปนอันมาก และเมื่อยังไม่ได้ถึงเรือรบฝรั่งเศสก็ยัง ไม่หมดหวาดว่าจะมีอันตรายขึ้น บาดหลวงตาชาได้ร่ำร้องอยู่ว่าต่อไป จะไม่มาโดยง่าย ๆ อย่างนี้อีก ขอให้พระเปนเจ้าได้พาท่านบาดหลวง ไปสู่ที่ดีเถิด



๓๐๙ สำเนาพระราชสาสนพระเจ้ากรุงสยาม ถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ทูลพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงอาภินิหารและอานุภาพอย่างสูง ซึ่งพระอัธยาศรัยอันกล้าหาญได้กระทำให้พระนามได้เลื่องลือตลอดทั้งทวีปยุโรปและซึ่งเปนผู้ที่พระเปนเจ้าได้โปรดให้ได้ชัยชนะแก่พระเจ้าแผ่นดินผู้ เปนข้าศึกนั้น ข้าพเจ้าขออ้อนวอนต่อพระเปนเจ้าองค์นี้เองซึ่งปกครอง ดินฟ้าอากาศในโลกนี้และโลกโน้น ขอได้โปรดให้พระองค์และพระราชวงศ์ของพระองค์ได้มีพระชนมพรรษายืนยาว ขอให้พระองค์ได้มีอำนาจแผ่ไพศาลออกไปอีกและขอให้พระองค์มีพระเกียรติยศยิ่ง ๆ ขึ้นไปตลอดถึงชาติหน้านั้นด้วย ด้วยพระองค์ได้ทรงเห็นแก่พระราชไมตรีที่ได้มีไว้แก่พระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จสวรรคตแล้ว และพระองค์ทรงพระราชดำริห์จะให้พระราชไมตรีอันนี้ได้ติดต่อคงตามเดิม จึงได้โปรดจัดให้บาดหลวงตาชาเชิญพระราชสาสนมา ซึ่งเราได้รับที่กรุงศรีอยุธยาเมื่อณวันพุธ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปี ๒๒๔๒ ข้อความในพระราชสาสนที่ได้ทรงมอบมากับบาดหลวงตาชานั้นข้าพเจ้าได้เข้าใจความโดยตลอดแล้ว และข้าพเจ้ามีความยินดีและ ปลื้มใจเปนอันมาก ข้อความในพระราชสาสนนี้เต็มไปด้วยพระปรีชาของพระองค์ซึ่งมีแสงสว่างดังพระอาทิตย์และพระจันทร์อันส่องแสงสว่างไปทั่วโลก สมกับพระมหากษัตริย์ซึ่งมีอำนาจยิ่งกษัตริย์ทั้งปวงฝ่ายทิศตวันตก และซึ่งปกครองประเทศอันใหญ่ด้วยพระปรีชาสามารถอันสุขุม กระทำให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินและเจ้าแผ่นดินทั่วโลกสรรเสริญนิยมทั่วไปความรักและไมตรีนั้นเกิดจากน้ำใจและการที่จะให้ไมตรีนี้ได้ส่องสว่างชั่วกาลนาน ๓๑๐ ดุจดวงพระอาทิตย์และพระจันทร์นั้น ก็อยู่ในน้ำใจของพระองค์องค์เดียวเท่านั้นที่จะให้เปนเช่นนี้ได้เมื่อพระหทัยอันร่วมกัน ดุจทองคำอันมีเนื้อ บริทสุธิ์ได้ติดต่อเปนอันเดียวกันเช่นพระราชไมตรีในระหว่างเราทั้งสองแล้ว ถ้าเช่นนั้นเมื่อพระองค์จะมีพระราชประสงค์ของสิ่งใดในพระราชอาณาเขตของข้าพเจ้าซึ่งจะทำให้พระราชไมตรีอันนี้ได้สนิธเข้านั้น ก็ขอให้พระองค์วางพระทัยเสียเถิดว่าข้าพเจ้าจะได้จัดไปถวายด้วยความเต็มใจและยินดี และถ้าแม้ว่าข้างฝ่ายข้าพเจ้าจะต้องประสงค์สิ่งใดในประเทศฝรั่งเศสซึ่งจะทำให้พระราชไมตรีนี้ได้สนิธเหมือนกันนั้น ก็สมควรที่ พระองค์จะต้องพระราชทานตามความประสงค์เหมือนกัน ข้าพเจ้าได้จัดให้บาดหลวงตาชาเชิญพระราชสาสนฉบับนี้มาถวายต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอร้องต่อพระเปนเจ้าผู้มีอำนาจอันใหญ่ยิ่ง ทั่วโลก ได้โปรดให้พระองค์ได้มีพระชนมายุยืนยาวหลายปี ขอได้ โปรดให้พระองค์ได้อยู่ในราชสมบัติด้วยสิริสวัสดิ์พิพัฒมงคลทุกประการ และขอให้พระองค์ได้มีไชยชนะแก่หมู่ศัตรูทุกเมื่อ เพื่อพระองค์จะได้ ปกครองราชอาณาเขตฝรั่งเศสและกรุงนาวา ด้วยความสุขและ สวัสดิภาพทุกประการ เขียนที่พระราชวังกรุงศรีอยุธยาเมื่อ ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ ปี ๒๒๔๒ (๑)

(๑) วันแรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปี ๒๒๔๒ นั้น ตรงกับวันที่ ๒๘ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๖๙๙ และวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ ปี ๒๒๔๒ นั้น ตรงกับวันที่ ๑ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๖๙๙

๓๑๑ สำเนาจดหมายมองซิเออร์โบรด์ ถึงผู้อำนวยการคณะการต่างประเทศ วันที่ ๔ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๖๙๙ (พ.ศ. ๒๒๔๒) ในเวลาเดี๋ยวนี้พวกเราก็คงยังอยู่ปรกติอย่างเดิม จะพูดเรื่องอะไรกับใครก็ไม่ได้ ผู้คนซึ่งต้องกักขังอยู่ในวังสำหรับใช้ข้าราชการนั้น คงจะต้องทนทุกข์อยู่นานจึงจะพ้นออกไปได้ ถ้าหากว่าจะต้องการให้ จัดการกับไทยให้เปนที่เรียบร้อยจริงแล้ว ก็ควรจะมอบธุระให้แก่ท่านผู้อำนวยการของราชบริษัทแห่งอินเดียจึงจะเปนการสำเร็จ เพราะท่าน ผู้อำนวยการเหล่านี้มีวุฒิพอที่จะจัดการชนิดนี้ได้ เพราะไทยต้องการแต่บุคคลที่จะมาพูดด้วยการค้าขายเท่านั้น ถ้าแม้ว่าท่านบาดหลวงตาชา ได้กลับมายังเมืองไทยแต่ตัวคนเดียว ข้าพเจ้าสงสัยว่าการทั้งหลาย คงจะไม่เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ และน่ากลัวจะต้องตั้งต้นกันใหม่อีก พวกไทยยังคงมีความนับถือมองซิเออร์เดอเมเตโลโปลิศผู้ถึงแก่กรรมและพวกมิซชันนารีอยู่เสมอ ถ้าพวกไทยพูดกันเองและเรียกพวก เราว่าเปนบาดหลวงของพระทานมาสะกู (๑) (Pratanmasacou) แล้วก็นับว่าไทยยกย่องสรรเสริญพวกเราจริง ๆ และหมายความว่าพวกเรา เปนคนดี เมื่อสองสามเดือนมานี้เราได้นำคนโทน้ำทำด้วยเงินสลักลายโปร่งซึ่งเปนของมาแต่เมืองจีน ถวายแด่พระเจ้ากรุงสยามและได้โปรด รับไว้แต่พระราชทานเงินให้เปนค่าคิดเปนราคาแพงมาก เพราะเปนของ


(๑) ชื่อนี้เปนชื่อที่ไทยเรียกมองเซนเยอลาโน

๓๑๒ ที่โปรดมากและเปนของที่พวกเราถวายด้วย แล้วได้พระราชทานเสื้อ ยาวทำด้วยแพรทำให้แก่ข้าพเจ้าและมองซิเออร์ยาโรเซียคนละตัว เสื้อนี้ข้าพเจ้าได้สวมไปในเวลาที่เข้ากระบวรแห่พระราชสาสนของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เข้าไปยังพระราชวัง


จดหมายบาดหลวงตาชา ถึงมองซิเออโบรด์ เขียนที่ด่านภาษี วันที่ ๖ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๖๙๙ (พ.ศ.๒๒๔๒) การที่ข้าพเจ้าเขียนจดหมายฉบับนี้ซึ่งมีแต่เนื้อความสามสี่บันทัดนั้น ก็เพื่อความประสงค์จะลาท่านและจะขอบใจในการที่ท่านได้มีความเอื้อเฟื้อต่าง ๆ ขอพระเปนเจ้าได้ให้ข้าพเจ้ามีโอกาศได้ตอบบุญคุณของท่าน เจ้าพระยาพระคลังได้บอกให้ข้าพเจ้ามอบธุระไว้กับท่านในเรื่องที่จะขอบุตรีสองคนของฟรังซัวให้พ้นโทษ เพราะฉนั้นข้าพเจ้าจะต้องอ้อนวอนท่านขอให้ท่านหมั่นไปเตือนเจ้าพระยาพระคลัง ในการที่ได้รับปากไว้แล้วว่าจะได้ปล่อยหญิงทั้งสองนี้ให้พ้นโทษ และขอให้ท่านบอกฟรังซัวแปงเฮโรให้คิดอ่านจัดการในเรื่องนี้ซึ่งจะเปนการที่พระเปนเจ้าและพระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสจะโปรดมาก



๓๑๓ จดหมายมองซิเออร์โบรด์ ถึงบาดหลวงตาชา วันที่๑๔ เดือนมิถุนายน ค,ศ. ๑๖๙๙ (พ.ศ. ๒๒๔๒) การที่ท่านได้แสดงกิริยาอันซื่อตรงต่อข้าพเจ้าในเวลาที่ท่านอยู่ในเมืองไทยนั้นได้ทำให้ข้าพเจ้าเชื่อใจในท่านมาก เพราะฉนั้นข้าพเจ้าจะทำอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะบอกความในใจให้ท่านทราบว่าข้าพเจ้า มั่นใจแล้วว่าถึงท่านจะไม่คิดถึงประโยชน์ของพวกเราและของตัวท่านเองสักเพียงไรก็ตาม แต่ท่านได้คิดถึงประโยชน์ของพระเปนเจ้าและของ พระเจ้าแผ่นดินซึ่งแต่พระนามอย่างเดียวก็ทำให้พวกศัตรูครั่นคร้ามมาก ยิ่งกว่าอย่างอื่น เพราะเหตุฉนี้เมื่อท่านได้มีโอกาศเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเมื่อใด ขอท่านได้ระฦกถึงความตั้งใจของท่านเมื่อระหว่างท่านยังถูกกักอยู่ที่ด่านภาษี ว่าท่านจะต้องการพยายามแต่จะทำการสำหรับให้สาสนาของเรา และให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้รับเกียรติยศยิ่ง ๆ ขึ้น เพราะตามการ ที่ได้เปนไปแล้วซึ่งท่านคงจะไม่มีเวลาลืมเลย จะเชื่อในถ้อยคำของคนชนิดนี้ได้ละหรือ ในราชสำนักชนิดนี้จะพูดจาถึงการงารอย่างไรได้ เพราะในราชสำนักนี้ใครจะพูดเกินกว่าที่เขาสั่งให้พูดก็ไม่ได้ ถ้าจะ พูดจาถึงการงารอย่างใด ๆ ก็ต้องพูดกับเสนาบดี และเสนาบดีก็ไม่กล้าทูลอะไรต่อพระเจ้าแผ่นดินนอกจากสิ่งที่ตัวรู้สึกว่าจะเปนที่พอพระทัยของ ๔๐


๓๑๔ พระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น และเสนาบดีอาจจะทูลสิ่งต่าง ๆ ที่ตรงกันข้ามกับความที่เปนจริง และเมื่อพระเจ้าแผ่นดินจะรับสั่งว่าอย่างไร เสนาบดีก็อาจจะมากลับความเสียตามพอใจแล้วภายหลังปฏิเสธคำของตัวก็ได้ เมื่อการเปนอยู่ดังนี้ถ้าแม้ว่าจะต้องเปลี่ยนรัฐบาลเวลาใด การต่าง ๆ ที่ตก ลงไว้แล้วมิต้องกลับตั้งต้นใหม่อีกหรือ แต่ข้าพเจ้าเกรงว่าท่านจะหลงเชื่อในพระราชไมตรีที่ได้ตั้งต้นกันใหม่นี้ โดยที่ไทยได้มีพระราชสาสนอย่างไพเราะไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น เพราะฉนั้นข้าพเจ้าจึงขอเตือนว่าเปนการที่ไทยแกล้งทำเท่านั้นเมื่อท่านได้ออกเรือไปแล้วได้ประมาณ ๑๕ หรือ ๒๐ วัน ได้เกิดเรื่องขึ้นที่โรงเรียนเรื่อง ๑ และทั้งตามที่ไทยพูดว่าไทยได้ทำอุบายไว้สำหรับให้ท่านไปที่เมืองมริดนั้น เปนสิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าไทยไม่ได้เจตนาดีอย่างไร แต่ในเรื่องนี้ ขอให้ท่านถามบาดหลวงเดอบรีซาเซียดูเถิด ถ้าแม้ว่าอุบายของไทย เปนการที่ทำได้สำเร็จ ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าไทยคงจะฆ่าพวกเราทั้งหมด และคงจะทำลายโรงเรียนลงเหลือแต่พื้นดิน เพราะฉนั้นบ้านที่พวกเราพักอยู่ในเวลานี้จะมีประโยชน์อันใด นอกจากจะเปนสถานที่สำหรับให้ไทยมาฆ่าฟันพวกเราตายทั้งหมด ถ้าจะตั้งอยู่ที่แห่งใดแล้วก็ควรจะ ตั้งอยู่ในที่ซึ่งจะรักษาไว้ได้ต่อไป แต่ถ้าจะมาตัวคนเดียวและถือหนังสือมาฉบับเดียวกับทั้งขอร้องอะไรต่ออะไรต่าง ๆ แล้ว ทำอย่างไร ๆ ก็ จะไม่ได้ตามความปราถนาจนอย่างเดียว เพราะพวกไทยไม่ต้องการพวกฝรั่งเศสเลย ข้อนี้ข้าพเจ้าทราบโดยแน่นอนว่าพวกเราได้ถูกหลอกมา


๓๑๕ มากต่อมากแล้ว เพราะฉนั้นควรจะต้องระวังอย่าให้เปนเช่นนี้ได้อีก ใน ที่สุดข้าพเจ้าจึงจำเปนต้องขอร้องต่อท่านขอท่านอย่าได้ลืมพวกข้าพเจ้าเลย และขอท่านได้โปรดกราบทูลความจริงให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงทราบทั้งหมดดังที่ท่านได้มุ่งหมายไว้เมื่อท่านยังอยู่ที่เมืองไทย ที่จริงจะต้องกลัวอะไรเพราะพระเจ้าแผ่นดินของเราทรงพระปรีชาสามารถและมีอำนาจมากพออยู่แล้ว


การเจรจาของมองเซ็นเยอร์เคเมอเน จดหมายบันทึกเปนคำสั่ง ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศส ให้ไว้แก่สังฆราชเดอซูร์ ค.ศ. ๑๖๙๘ (พ.ศ. ๒๒๔๑) พระราชประสงค์ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสในเรื่องเมืองมริดนั้น ก็คือจะต้องการที่อันเหมาะสำหรับสร้างป้อม และให้มีท่าเรือสำหรับให้เรือรบและเรือฝรั่งเศสจอดได้ เพื่อเกิดสงครามขึ้นกับประเทศใหญ่ ๆ ที่มีกำลังหรือจะเกิดโจรสลัดขึ้น ซึ่งมักมาทำร้ายในแถบเหล่านี้บ่อย ๆ เรือเหล่านี้จะได้มีที่พักพ้นอันตรายได้ ทั้งจะได้เปนที่พักสำหรับเรือรบสยาม และเรือพ่อค้าไทยด้วย และถ้ามีเหตุการณ์ขึ้นป้อมก็จะได้ป้องกันให้ เรือไทยได้พ้นอันตรายเหมือนกัน ส่วนทหารที่จะรักษาอยู่ที่ป้อมนั้นก็จะ ได้เปนธุระคอยจับกุมพวกโจรสลัด และถ้าหากว่าจะมีศัตรูของประเทศสยามมาย่ำยีเมืองไทยแล้ว ทหารเหล่านี้ก็จะได้ช่วยไทยต่อสู้กับ

๓๑๖ ข้าศึกได้ด้วย พระราชประสงค์ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสมิได้มุ่งหมาย จะไปยึดที่ดินในเมืองมริดหรือเมืองใด ๆ ที่เปนส่วนพระราชอาณาเขต ของพระเจ้ากรุงสยามเลย เมื่อพระเจ้ากรุงสยามได้เคยเก็บภาษีอากรอย่างใด และคนไทยได้เคยทำการค้าขายอย่างใดก็คงให้เปนไปตาม เดิมนั้นเอง และส่วนราชบริษัทของประเทศฝรั่งเศส ก็ให้คงมีอำนาจ ที่จะทำการค้าขายได้ตามความพอใจ และจะรับสินค้าอย่างใดก็ได้ แล้วแต่จะเห็นควร การเก็บภาษีจากพ่อค้าแขกมัวและพ่อค้าอื่น ๆ ซึ่งจะผ่านมาทางนี้ก็คงให้เจ้าพนักงารของพระเจ้ากรุงสยามเก็บที่เมืองตะนาวศรี และที่เมืองตะนาวศรีก็คงจะต้องมีที่ทำการสำหรับเก็บภาษีนั้น ๆ แต่ส่วนภาษี ที่จะเก็บได้ในเมืองมริดนั้น จะต้องพยายามจัดการเอาเงินนั้น ๆ มาสำหรับบำรุงป้อม เพราะการที่จะรักษาป้อมนั้นจะต้องเปลืองโสหุ้ยมาก แต่ในข้อนี้ในชั้นต้นไม่ควรจะพูดถึง ต่อได้ทำหนังสือสัญญาเสร็จแล้วและไทยได้ยกท่าเมืองมริดให้แล้ว หรืออย่างต่ำไทยได้อนุญาตให้ ฝรั่งเศสสร้างป้อมที่เมืองมริดแล้ว จึงควรพูดถึงเรื่องเงินรายนี้ การที่ฝรั่งเศสจะไปตั้งอยู่ที่เมืองมริดนั้น จะเปนประโยชน์ต่อพระเจ้ากรุงสยาม ดังต่อไปนี้ คือ ป้องกันมิให้ศัตรูมาย่ำยีเมืองไทยได้ และถ้ามีศัตรูพวกใดจะมา คิดตีเมืองไทยแล้ว พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะได้ป้องกันมิให้ศัตรูเข้ามาได้


๓๑๗ เมื่อพระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานท่าเรือเมืองมริดให้แก่ฝรั่งเศสเวลาใด บริษัทฝรั่งเศสจะได้กลับไปตั้งห้างที่กรุงศรีอยุธยาอีก แต่จะ ต้องให้ไทยรับรองเสียก่อนว่า อำนาจและสิทธิที่ไทยได้ให้ไว้ตามหนังสือสัญญา ปี ๑๖๘๗ (พ.ศ. ๒๒๓๐) ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งได้ทำสัญญากันในระหว่างผู้แทนของสมเด็จพระนารายณ์ และราชทูตฝรั่งเศสนั้น คงจะได้แก่บริษัทฝรั่งเศสตามหนังสือสัญญานั้นทุกประการ พวกฝรั่งเศสที่จะไปตั้งห้างอยู่ที่กรุงศรีอยุธยานั้น ต้องนับว่าเท่ากับเปนประกันว่าฝรั่งเศสจะไม่ไปทำอะไรในเมืองมริด นอกจากที่ได้กล่าวมา ในข้อข้างต้นนั้นแล้ว ในส่วนบาญชีที่ไทยจะต้องการให้บริษัททำ และส่วนของต่าง ๆ ซึ่ง เปนสมบัติของมองซิเออร์คอนซตันซ์ผู้ถึงแก่กรรม ที่ได้ส่งไปไว้ยังประเทศฝรั่งเศสนั้น เราจะบอกได้ว่าเงินที่บริษัทได้รองจ่ายไปเปนเงิน มากมาย เกินกว่าจำนวนเงินที่พระเจ้ากรุงสยามอ้างว่าติดฝรั่งเศสอยู่ ซึ่งตามจดหมายของไทยเปนจำนวนเงินแสนตำลึง เพราะตามบาญชี ที่ห้างเมืองอูกลีได้รองจ่ายเงินไปสำหรับทำของต่าง ๆให้พระเจ้ากรุงสยาม ตามบาญชีสิ่งของที่มองซิเออร์คอนซตันซ์รับ ๆ สั่งพระเจ้ากรุงสยามให้ ทำขึ้นนั้นเปนราคาเงินกว่าสี่หมื่นเหรียญ ของต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ส่ง ไปยังเมืองไทย เพราะเวลานั้นเปนเวลาทำสงครามกันอยู่ ทั้งเปน เวลาที่กำลังแตกร้าวมัวหมองอยู่กับไทยด้วย ของเหล่านี้ได้ส่งกันไป ส่งกันมาจนช้ำมัวหมองและเสียหายมาก จนที่สุดเอาไปเก็บไว้ในโรง


๓๑๘ เก็บของที่เมืองอูกลีก็ได้หายไปหมดสิ้นแล้ว แต่ก็คงได้รองเงินไป สำหรับทำอยู่นั้นเอง นอกจากนี้บริษัทยังได้ส่งกระจกเงาต่าง ๆ ไปโดย เรือชื่อ เลอกอช คิดเปนราคาเงินห้าหมื่นเหรียญ และกระจกเงา เหล่านี้ก็ได้ทำตามคำสั่งของมองซิเออร์คอนซตันซ์เหมือนกัน เรือที่ บรรทุกกระจกเงานั้นได้ไปถึงเมืองมริด เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.๑๖๘๘ (พ.ศ. ๒๒๓๑) เปนเวลาที่กำลังเกิดการจลาจลในเมืองไทย เพราะฉนั้นในเวลานั้นจึงเอากระจกขึ้นมาจากเรือไม่ได้ ภายหลังเรือลำนี้ยังคงบรรทุกกระจกอยู่ก็ได้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส ครั้นมาถึงแหลมเคปออฟกูด โฮบ พวกฮอลันดาก็ได้จับเอาเรือลำนี้ไปเปนเชลย จำนวนเงินที่บริษัท ได้รองจ่ายไปมีมากกว่านี้อีกหลายอย่าง ซึ่งไม่จำเปนจะต้องกล่าว และถ้าจะมาเพิ่มค่าโสหุ้ยและค่าใช้จ่ายที่ต้องส่งกองทัพเรือไปนั้นอีกก็ได้ เพราะการที่ส่งกองทัพเรือไปนี้ ก็โดยสมเด็จพระนารายณ์ ขอมาทั้งนั้น


จดหมายมองเซนเยอร์ เคเมอเน ถึงคณะบาดหลวงที่กรุงศรีอยุธยา เมืองมริด วันที่ ๒๕ เดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๖๙๙ (พ.ศ. ๒๒๔๒) ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะบอกข่าวมายังท่านว่า ข้าพเจ้าได้มาถึงเมืองมริดเมื่อวันที่ ๒๐ เดือนนี้ และได้ขึ้นบกเมื่อวันที่ ๒๒ เดือนนี้ ท่าน


๓๑๙ นายพลมาแตงได้จัดเรือของราชบริษัทให้มาส่งข้าพเจ้ากับบาดหลวงอีกสาม คนยังบางกอก เรือเพิ่งได้ถอนสมอเพื่อรีบกลับไปยังเมืองเบงกอล เพื่อ ไปทันกับเรือของบริษัทสามลำ ซึ่งได้ไปถึงเมื่อเดือนกรกฎาคม และ ยังมีเรืออื่น ๆ อีก ๔ ลำ ซึ่งได้มาถึงเมืองสุหรัตแล้ว เวลานี้บริษัทกำลัง มีชื่อเสียงโด่งดังในฝ่ายอินเดีย เมื่อข้าพเจ้าได้มาพบและจูบท่านแล้ว ข้าพเจ้าจึงจะได้เล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ท่านฟังต่อไป ข้าพเจ้าได้รอในการ ที่จะไปเมืองจีน ซึ่งข้าพเจ้ามีหน้าที่จะต้องไปตามคำสั่ง เพื่อจะได้รีบมาพบกับท่านก่อน และข้าพเจ้าได้จัดให้บาดหลวงสามคนลงเรือชาติอังกฤษ ออกจากเมืองมัทราสตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ให้ล่วงหน้าไปเมืองจีนก่อนแล้ว ข้าพเจ้าได้ส่งจดหมายที่จะมีไปถึงเจ้าพระยาพระคลังมาด้วย ๑ ฉบับ เพื่อเรียนให้เจ้าพระยาพระคลังทราบว่า ข้าพเจ้าได้มาถึงแล้ว และขอให้เจ้าพระยาพระคลังมีคำสั่งสำหรับให้ข้าพเจ้าได้เดิรทางไปยังกรุงศรีอยุธยา ให้สดวกด้วย การที่ข้าพเจ้ามาคราวนี้ ข้าพเจ้าจะเปนบุคคลชนิดไร และจะมาเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินสยามในตำแหน่งอะไร เปนเรื่องที่ข้าพเจ้าจะเขียนเปนลายลักษณ์อักษรให้ท่านหรือเจ้าพระยาพระคลังทราบไม่ได้ เมื่อข้าพเจ้าได้ถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อใดจึงจะบอกได้ ขอให้ท่านบอกเจ้าพระ ยาพระคลังด้วยปากก็ได้ว่า ข้าพเจ้ามาเมืองไทยคราวนี้ อุปมาเหมือนเทวดาอันจะให้ความสุข ขอให้เจ้าพระยาพระคลังจัดการทุกอย่างให้ข้าพเจ้าได้มาโดยง่ายและสดวก และไม่ต้องมีการแห่หรือการรับรอง


๓๒๐ อย่างใด การรับรองและการเอะอะต่าง ๆ นั้นข้าพเจ้าไม่ต้องการเปน อันขาด เมื่อข้าพเจ้าได้ไปถึงแล้วเจ้าพระยาพระคลังจึงจะทราบความ ต่อไป ถ้าท่านเห็นควร และถ้าท่านเห็นจำเปนจะบอกให้แวงซังแปงเฮโร ตัวพ่อและเพื่อนเก่าของข้าพเจ้าให้ทราบ และถ้าแวงซังแปงเฮโรยังเปนพวกเราดุจเปนคนชาติเดียวกันอยู่แล้ว ก็ขอให้ท่านไปอ้อนวอนเจ้าพระ ยาพระคลังให้ส่งแวงซังแปงเฮโรมารับข้าพเจ้าด้วย เพราะข้าพเจ้าไม่ มีใครที่จะรู้จักภาษาและแบบธรรมเนียมของไทยเลย แต่จะอย่างไร ก็ตามต้องขอให้มองซิเออร์ยาโรเซียมาหาข้าพเจ้าให้จงได้ และให้มองซิเออร์ยาโรเซียนำคำสั่งมาให้เปนที่เรียบร้อยด้วย ถ้าข้าพเจ้ายัง ไม่ได้รับคำตอบอันเปนที่แน่นอนมั่นใจแล้ว ข้าพเจ้าจะไม่กระดิกออก จากที่นี่เปนอันขาด และคำตอบกับคำสั่งเหล่านี้ขอให้รีบส่งมาโดยเร็ว ที่สุด เพื่อข้าพเจ้าจะได้เขียนหนังสือฝากไปกับเรือ ๒ ลำ ซึ่งเวลานี้ ยังจอดอยู่ที่เมืองนี้ แต่จะได้ออกไปอย่างช้าจะถึงฝั่งชายทะเลราวนัก ขัตฤกษ์คริศมาศ แล้วหนังสือของข้าพเจ้านั้นจะได้ฝากต่อไปยังเมือง ฝรั่งเศส โดยฝากไปกับเรือของบริษัทที่เมืองเบงกอล เพราะเรือของบริษัทนี้จะต้องไปถึงเมืองปอนดีเชรีราวต้นเดือนมกราคม และจะได้ออกจากเมืองปอนดีเชรีไปยังเมืองฝรั่งเศสราววันที่ ๒๐ ในเดือนนั้นเอง ท่านคงจะได้ทราบแล้วว่าพวกฮอลันดาต้องคืนเมืองปอนดีเชรีให้แก่ฝรั่งเศสทั้งหมด โดยจะเปลี่ยนแปลงอย่างใดไม่ได้ กล่าวคือ พวก


๓๒๑ ฮอลันดาได้ตบแต่งบ้านเมืองให้งดงามขึ้นมาก ทั้งได้ซื้อที่ดินใกล้เคียงจากพวกรายาเปนที่ประมาณกว้าง ๒ ไมล์โดยล้อมรอบ ที่ดินและบ้านเมืองซึ่งฮอลันดาได้ตบแต่งเพิ่มเติมขึ้นอย่างไรต้องคืนให้ฝรั่งเศสตามรูปนั้นเอง พวกฮอลันดาได้เคยยึดบ้านเมืองในฝ่ายอินเดียแต่ก่อน ๆ ไว้ แห่งใด ก็ไม่เคยต้องคืนให้แก่ใครเลย เพราะฉนั้นเมื่อเราได้ยึดเมือง ปอนดีเชรีไว้ได้เช่นนี้ ก็ได้คิดจะตั้งตัวอยู่ในเมืองนี้ต่อไป จึงได้จัดบ้านเมืองโดยไม่ต้องเสียดายการใช้จ่าย ครั้นต้องมาคืนเมืองให้แก่ฝรั่งเศสเช่นนี้ก็ได้นึกละอายใจเปนอันมาก เมืองนี้จะเปนเมืองที่สำคัญแห่งหนึ่งตามชายทะเลนี้ และเจ้าพนักงารก็กำลังสร้างป้อมอยู่เสมอมิได้ขาด เวลานี้มีทหารฝรั่งเศสไปประจำอยู่ ๖ กองร้อยแล้ว และไม่ช้าก็จะได้ส่งทหารออกไปอีกให้ครบกองพัน พวกแขกมัวและแขกอามีเนียได้อพยพกันไปอยู่ในเมืองนี้หลายครัวแล้ว และมีคนเข้าไปอาศรัยอยู่เพิ่มขึ้นทุกวัน ดังกับมด ท่านนายพลมาแตงได้รับตำแหน่งหน้าที่ในบริษัทสูงขึ้น และพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสก็ได้พระราชทานเงินเดือนให้อย่างสูง เวลานี้ฝรั่งเศสได้ตั้งให้นายพลมาแตงเปนผู้บังคับบัญชาการกองทหารแล้ว ข่าวนอก จากนี้ข้าพเจ้าจะได้เล่าด้วยปากต่อไปเมื่อได้พบกันแล้ว ในนามของพระเปนเจ้า ขอท่านได้รีบเร่งให้ข้าพเจ้าได้ไปยังกรุงศรีอยุธยาพร้อม ด้วยหีบปัดเข้าของโดยเร็วด้วยเถิด ขอให้ไปบอกเจ้าพระยาพระคลัง ว่าอย่าได้รั้งรอชักช้าจนนาทีเดียวเลย ขอให้ท่านนึกเถิดว่าข้าพเจ้า ๔๑

๓๒๒ กระหายอยากจะไปจูบท่านที่สุด ข้าพเจ้ามีความเสียใจมากที่ได้ทราบว่าท่านได้รับความเดือดร้อน และข้าพเจ้าขอขอบคุณพระเยซูเจ้าที่ได้ จัดการให้ท่านได้รอดพ้นความเดือดร้อนมาได้

จดหมายมองเซนเยอร์เคเมอเน ถึงเจ้าพระยาพระคลัง เมืองมริดวันที่ ๒๕ ตุลาคม ค.ศ. ๑๖๙๙ (พ.ศ. ๒๒๔๒) ข้าพเจ้าได้มาจากประเทศฝรั่งเศสด้วยเรือของราชบริษัทจนถึงเมืองสุหรัตและเมืองปอนดีเชรีในชมพูทวีป ข้าพเจ้าได้ลงเรือของราชบริษัท อีกลำ ๑ ที่เมืองปอนดีเชรีและได้มาถึงเมืองมริดเมื่อวันที่ ๒๒ เดือนนี้ เพื่อจะได้รีบมายังราชธานีกรุงศรีอยุธยาโดยเร็วที่สุดที่จะมาได้ และเมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วจะได้เรียนให้ท่านทราบว่า เหตุใดข้าพเจ้าจึงได้รีบร้อนมาเช่นนี้ เพื่อท่านจะได้นำความกราบทูลสมเด็จ พระเจ้ากรุงสยามให้ทรงทราบด้วยแต่ในเวลานี้ข้าพเจ้าจะนำความต่าง ๆ เรียนให้ท่านทราบทางจดหมายไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงต้องขอร้องต่อท่านขอท่านได้โปรดนำความกราบทูล สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามให้ทรงทราบ และขอท่านได้โปรดรีบมีคำสั่งมาทางราชการ เพื่อจะให้ข้าพเจ้าได้มา ยังกรุงศรีอยุธยาโดยเร็วและโดยสดวก ข้าพเจ้าจะได้คอยคำสั่งของ ท่านที่เมืองมริดด้วยความร้อนใจเปนอันมาก ในที่สุดข้าพเจ้าขอแสดงตัวว่าข้าพเจ้าเปนบ่าวอันอ่อนน้อมต่อท่าน (เซ็น) หลุย สังฆราชเดอซูร์


๓๒๓ จดหมายมองซิเออร์โบรด์ ถึง ผู้อำนวยการคณะการต่างประเทศ กรุงศรีอยุธยา วันที่ ๑๒ เดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๗๐๐ (พ.ศ.๒๒๔๓) เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนตุลาคมปีกลายนี้ ท่านสังฆราชเดอซูร์ได้มา ถึงเมืองมริดด้วยเรือลำเล็กของราชบริษัทลำ ๑ พอท่านสังฆราชได้ขึ้นบกแล้ว เรือก็ได้ถอนสมอแล่นใบกลับไปยังเมืองเบงกอล ท่านสังฆราช จึงได้รีบมีจดหมายมาถึงเจ้าพระยาพระคลัง ขอให้เจ้าพระยาพระคลัง รีบจัดการให้ท่านสังฆราชได้มายังกรุงศรีอยุธยาโดยเร็ว เพราะมีเรื่อง ร้อนและสำคัญที่จะมาพูดกับไทยและเปนเรื่องสำคัญจนถึงไม่ไว้วางใจที่จะเขียนลงกระดาษได้ ท่านเจ้าเมืองตะนาวศรี ออกญาสงคลอ (Song Clo) ซึ่งเปนศัตรูอย่างร้ายกาจของประเทศฝรั่งเศส ได้กักจดหมายของท่านสังฆราชไว้ และได้มีใบบอกเข้ามาบอกข่าวถึงเหตุ ผลที่ท่านสังฆราชมาในคราวนี้ ว่าโป๊ปใช้ให้มาสำหรับมาเทศน์ในเมืองไทย และพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสใช้ให้มาสำหรับมาเจริญทางพระราชไมตรีกับไทย เจ้าเมืองตะนาวศรีจึงหารือเข้ามาว่าจะควรรับรองสังฆราชและ จะควรยอมให้เรือเข้ามาในท่าได้หรือไม่ ฝ่ายข้างไทยไม่ได้รับจดหมายจากท่านสังฆราชเลย ก็ออกจะ ไม่พอใจ แต่ถึงดังนั้นก็ได้มีท้องตราสั่งออกไปยังเจ้าเมืองตะนาวศรีให้รับรองท่านสังฆราช และถ้าท่านสังฆราชจะต้องการเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ก็ให้อนุญาตให้มาได้


๓๒๔ พวกเราได้ไปขอหนังสือเดิรทางเพื่อจะส่งออกไปให้ท่านสังฆราช แต่เจ้าพนักงารได้ตอบว่าการที่สังฆราชมาคราวนี้ พวกเราจะต้องทำเปนไม่รู้ไม่เห็น และออกญาพิพัฒก็ได้กล่าววาจา ซึ่งทำให้เข้าใจได้ ว่าการที่สังฆราชมาคราวนี้ไม่เปนการที่ไทยพอใจเลย ยังมีหญิงคน ๑ ได้ไปหาขุนนางจีน เพื่อไปขอหนังสือเดิรทางตามที่พวกเราต้องการ แต่หญิงผู้นั้นได้รับคำตอบแต่อย่างเดียวว่า การเรื่องนี้ไม่ใช่กิจของตัวอย่า มาเกี่ยวข้องด้วย ภายหลังประมาณสักเดือน ๑ จดหมายท่านสังฆราชได้มาถึงมือออกญาพิพัฒ ๆ ได้ส่งจดหมายนั้นมายังพวกเรา แต่ออกญาพิพัฒได้รอชักช้าอยู่หลายวันจึงได้นำจดหมายเข้าไปถวายพระเจ้ากรุงสยาม หรือจะเปนพระเจ้ากรุงสยามรอดำริห์ชักช้าอยู่หลายวันก็ทราบไม่ได้ ท่านสังฆราชขอให้ไทยจัดคนไปรับแต่อย่าให้มีการรับรองอย่างใด ตามที่ท่านสังฆราชขอมาเช่นนี้ไทยก็เข้าใจเลยไป จนถึงกับไม่ยอมให้ล่ามคนใดไปรับท่านสังฆราชที่เมืองมริด เพราะล่ามทั้งสองคนนั้นเปนหลวงคน ๑ เปนขุน คน ๑ แต่ถ้าจะเชื่อคำบอกเล่าของล่ามแล้ว ก็คงได้ความว่าไทยได้มี ท้องตราสั่งไปยังเจ้าเมืองตะนาวศรี ให้จัดพาหนะส่งท่านสังฆราชมา ยังกรุงศรีอยุธยาโดยไม่ต้องคิดค่าจ้างอย่างไร แต่เวลานั้นมีแต่เสียง เล่าลือกันว่าจะเกิดรบกันขึ้นทั้งจะหาเกวียนก็ลำบาก และท่านสังฆราช ก็ไม่ไว้ใจไม่กล้าออกเดิรทาง เพราะฉนั้นท่านสังฆราชจึงยังตกค้างอยู่ที่เมืองมริดจนทุกวันนี้ พร้อมกับมองซิเออร์ยาโรเซีย ซึ่งได้ล่วงหน้า ออกไปรับท่านสังฆราช

๓๒๕ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ท่านสังฆราชได้มีจดหมายมายังออกญาพิพัฒฉบับ ๑ แต่ท่านสังฆราชเข้าใจผิดไปหมายเสียว่าออกญาพิพัฒเปนตัวเจ้าพระยาพระคลัง ในจดหมายฉบับนั้นในข้างต้นมีใจความยกย่องชมเชยออกญาพิพัฒ แล้วจึงขอให้ออกญาพิพัฒส่งล่ามคนใดคนหนึ่ง ให้คุมเกวียนออกไปรับท่านสังฆราช และถ้าออกญาพิพัฒเห็นเปนการ จำเปนแล้วก็ขอให้นำความกราบทูลให้ทรงทราบด้วย และท่านสังฆราช ก็ได้ชี้แจงว่าเปนการจำเปนและสำคัญ ที่สังฆราชจะต้องมาถึงกรุงศรีอยุธยาโดยเร็ว และเรื่องที่สังฆราชจะมาพูดกับไทยคราวนี้เปนเรื่อง ซึ่งจะมีจดหมายมาไม่ได้ จดหมายฉบับนี้ฟรังซัวแปงเฮโรเปนผู้นำไป ส่งออกญาพิพัฒ และถ้าจะเชื่อตามคำบอกเล่าของฟรังซัวแปงเฮโรแล้ว ก็คงได้ความว่าออกญาพิพัฒได้ตอบว่าล่ามทั้งสองคนจะไปไม่ได้ ส่วนข้ออื่น ๆ นั้นจะต้องนำความกราบทูลให้ทรงทราบเสียก่อน เมื่อได้กราบทูลแล้ว ออกญาพิพัฒจึงจะเรียกล่ามไปสั่ง เวลานี้ก็ยังรอให้เรียก ล่ามอยู่ การที่ท่านสังฆราชปิดบังในข้อที่มาคราวนี้ น่าจะทำให้ไทยกระหายอยากให้ท่านสังฆราชมาอย่างที่สุด แต่ก็ดูเถิดไทยรีบร้อนที่จะ รู้ความลับอันนี้สักปานใด นิสัยของไทยเปนนิสัยตรงกันข้ามกับพวก เรา หนังสือและเรื่องต่าง ๆ ซึ่งพวกเราเห็นว่าควรจะปิดบังไม่ให้ใครรู้ นั้น ไทยก็เอาออกอ่านดัง ๆ และเอาเรื่องนั้นไปเที่ยวพูดกลางประชุมชน สิ่งที่พวกเราเห็นว่าจะเขียนเปนตัวหนังสือไม่ได้จึงต้องพูดเปนคำอรรถ ๆ


๓๒๖ นัย ๆ นั้น ไทยเห็นว่าเปนการอวดดีและเห็นว่าเปนเรื่องเล็กน้อยแต่แกล้งทำให้เปนเรื่องใหญ่ขึ้น ถ้าพวกเราเห็นว่าไทยเปนคนที่ไม่จริงและเปน คนโกง ฝ่ายไทยก็เห็นว่าพวกเราเปนพวกที่พูดปดและไม่มีจริงเหมือนกัน มองเซนเยอร์ดอรังรู้จักนิสัยของไทยได้ดีทีเดียว และท่านผู้นี้ ได้เคยมีจดหมายมายังข้าพเจ้า อธิบายนิสัยอย่างของไทยถูกต้องดี แต่มองเซนเยอร์เดอซูร์หารู้จักนิสัยไทยไม่ และมองซิเออร์ยาโรเซียก็ไม่ รู้จักเหมือนกัน เพราะท่านผู้นี้ได้มีจดหมายมายังข้าพเจ้าบอกว่า ถ้า ไทยได้เชื่อใจท่านสังฆราชเดอซูร์แล้ว ท่านสังฆราชก็คงจะจัดการให้ การต่าง ๆ ได้ดำเนิรอย่างดีได้ แต่ส่วนข้าพเจ้าอาจจะรับประกันได้ว่า ถ้าท่านสังฆราชใหม่คนนี้ขืนเชื่อในถ้อยคำและคำสัญญาของไทยแล้ว ก็คงจะต้องถูกหลอกเหมือนกับที่มองเซนเยอร์เดอเมเตโลโปลิศ และมอง ซิเออร์เฟเรอได้เคยถูกมาแล้ว ในข้อนี้ข้าพเจ้ารู้ได้จริงเปนการแน่นอน และวิธีดำเนิรการของไทยก็ทำให้เห็นปรากฏอยู่แล้วด้วย ถ้าฝรั่งเศสจะต้องการตั้งอยู่ที่มริดแล้วจะอยู่ไม่ได้เปนอันขาดนอกจากจะใช้กำลัง ควรบริษัทจะยุติในความคิดที่จะตั้งอยู่ที่เมืองมริดในแผ่นดินรัชกาลนี้ ถ้าไม่มีกองทัพเรือมาช่วยด้วยแล้ว บริษัทจะไม่ได้อยู่ในเมืองมริดเปนอันขาด และถ้าหากว่าได้เอากำลังกองทัพเรือมาช่วยด้วยแล้ว ถึงจะตั้งอยู่ในเมือง มริดได้ ๒๐ ปี ผลประโยชน์ที่จะได้ก็จะยังไม่คุ้มกับโสหุ้ยที่จะต้องใช้จ่ายไป เมื่อวันที่ ๒๘ เดือนพฤษภาคม มีคนเร็วถือหนังสือท่านสังฆราชมา หนังสือนั้นลงวันที่ ๔ พฤษภาคม มีใจความว่า ขอให้ไทยจัดส่ง

๓๒๗ ล่ามของเราคนใดคนหนึ่งให้คุมเกวียนไปที่ พิพลี (Piply) ปราณ (Pran) กุย (Cuyl) และถลาง (Jalongue) ๒๕ เล่ม ตั้งแต่นั้นมาล่ามของเราก็ได้เที่ยวไปบ้านออกญาพิพัฒทุกวัน เพื่อไปอ้อนวอนขอร้องให้จัดการในเรื่องนี้ แต่ออกญาพิพัฒขัดข้องในเรื่องเกวียนว่าเปนจำนวนมากนักบางทีก็พูดว่า จะต้องนำความกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามเสียก่อน บางที ก็พูดว่าจะต้องทูลเจ้า(๑)เสียก่อน เพราะออกญาพิพัฒจะทำการโดยลำพังของตัวเองไม่ได้ บางทีก็พูดว่าถ้าท่านสังฆราชจะมาเมื่อไรก็ได้แต่ท่านสังฆราชไม่อยากมาเองต่างหาก และออกญาพิพัฒก็ตั้งปัญหาถามว่าท่านสังฆราชมีอะไรสำคัญมาบ้าง ในผลที่สุดออกญาพิพัฒได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าไปพูดเองได้ในเรื่องนี้ ออกญาพิพัฒจึงรับรองอย่างแขงแรงว่าจะได้จัดการในเรื่องนี้ให้ตลอดไปเพราะไม่เปนการยากอะไร ด้วยการสงครามก็สงบลงหมดแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็เห็นว่า คงจะผัดเพี้ยนไปให้ชัก ช้ายืดยาวออกไปอีกซึ่งข้าพเจ้าจะต้องทำนายว่าผลที่สุดคงจะไม่เรียบร้อยเท่าไรนัก




(๑) ภาษาฝรั่งเศสใช้แต่คำว่า "Prince" ๓๒๘ จดหมายบันทึกของมองเซนเยอร์เคเมอเน ทำยื่นต่อเจ้าพระยาพระคลัง ความเห็นของสังฆราชเดอซูร์แนะนำต่อไทย เพื่อจัดการให้พระเจ้ากรุงสยามและพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ได้กลับเปนพระราชไมตรีตามเดิม จดหมายบันทึกนี้ได้ยื่นให้แก่เจ้าพระยาพระคลัง เมื่อวันที่ ๑๕ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๑๗๐๐ (พ.ศ.๒๒๔๓) หลุย สังฆราชเดอซูร์ ข้าพเจ้าขอโอกาศที่จะกราบทูลต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามให้ทรงทราบว่า เมื่อ ๔๐ ปีที่ล่วงมาแล้วพวกสังฆราชและบาดหลวงฝรั่งเศสซึ่งมีเจตนามุ่งหมายจะไปยังเมืองจีน ได้ผ่านมาทางเมืองไทยก่อน ในเวลานั้นสมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงทราบว่าสังฆราชและบาดหลวงฝรั่งเศสได้มายังเมืองไทย จึงทรงแสดงความยินดีเปน อันมาก ได้ทรงพระเมตตากรุณาเชื้อเชิญให้สังฆราชและบาดหลวงเหล่านั้นได้ตั้งอยู่ในเมืองไทย แลได้โปรดพระราชทานที่ดินสำหรับให้สังฆราชและบาดหลวงเหล่านั้นได้อยู่ต่อไปด้วย พวกสังฆราชและบาดหลวง ได้เทศน์และสั่งสอนสาสนาคริสเตียนในพระราชอาณาเขตสยาม ได้กระทำให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและพระเจ้ากรุงสยามได้มีพระราชสาสนเชื่อมติดต่อกัน จนถึงกับพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้เปนพระราชไมตรี ดังปรากฏที่ต่างพระองค์ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการและแต่งราชทูตไปมาหากันทั้งสองฝ่าย ฝ่ายราชบริษัทของ


๓๒๙ ประเทศฝรั่งเศสก็ได้ออกมาตั้งค้าขายในกรุงศรีอยุธยา จนไพร่ฟ้าข้า แผ่นดินทั้งสองประเทศได้อยู่สู่กินด้วยกันด้วยความปรองดองอย่างดีมิได้มีการบาดหมางหรือขัดใจกันอย่างใด จนตลอดเวลาที่เกิดความวุ่นวายขึ้น ภายหลังประเทศทั้งสองได้เกิดแตกร้าวกันขึ้น พอข่าวอันนี้ได้ไป ถึงกรุงปารีส พวกหัวหน้าและผู้อำนวยการของโรงเรียนสามเณร ก็ได้ ไปเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนายของข้าพเจ้า และได้กราบทูลฉเพาะแต่เหตุการณ์ซึ่งจะไม่ทำให้ขาดพระราชไมตรีได้ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึงได้ทรงรับรองว่าจะไม่รับสั่งให้จัดการอย่างใดที่จะทำให้พระราชไมตรีขาดได้ เพราะเหตุฉนั้นพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึงได้โปรดให้ท่านเชอวาเลียเดอโซเยีย ผู้บังคับการกองทัพเรือฝรั่งเศสในชมพูทวีป ไปจัดการพร้อม ด้วยนายพลมาแตง ทั้งสองคนมีอำนาจเด็ดขาดที่จะพูดจาว่ากล่าวและทำความตกลงในกิจการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวในระหว่างฝรั่งเศสและไทย และให้ตกลงในการงารทั่วไป ซึ่งเกี่ยวด้วยราชการของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และเกี่ยวด้วยการค้าขายของราชบริษัทได้โดยตลอดด้วย เพราะฉนั้นเพื่อจะให้การที่แตกร้าวกันเปนการสงบ และเพื่อจะให้พระราชไมตรีได้สนิธต่อไปอย่างเดิม เมื่อท่านทั้งสองนี้หรือคนหนึ่งคน ใดก็ตามได้ไปกระทำความตกลงไว้ประการใด รัฐบาลฝรั่งเศสก็จะยอมรับความตกลงนั้น ๆ เปนเด็จขาด และจะถือว่าการที่เปนไปแล้วอย่าง ใดนั้นเปนอันหมดเรื่องกันแล้ว ๔๒


๓๓๐ ส่วนตัวข้าพเจ้านั้นได้ไปอยู่ที่กรุงโรมได้ ๕ ปีกับเดือนเศษ เพื่อไปเฝ้าโป๊ปปฤกษาหารือในกิจการของสาสนา ครั้นกลับมายังประเทศฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้จัดการเดิรทางออกมายังอินเดียฝ่ายตวันออก เพื่อนำคำ สั่งของท่านสังตปาปาไปบอกแก่สังฆราชอื่น ๆ ซึ่งประจำอยู่ในเมืองจีนและเมืองอื่น ๆ เมื่อปีกลายนี้ข้าพเจ้าจึงได้เดิรทางผ่านมาทางเมืองปอนดีเชรี ได้พบกับท่านเชอวาเลียเดอโซเยีย ผู้บังคับการกองทัพเรือของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนายของข้าพเจ้า กับได้พบกับท่านนายพลมาแตงด้วย เมื่อข้าพเจ้าได้สนทนาและปฤกษาหารือกับท่านทั้งสองนี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงได้ตกลงใจจะมายังกรุงสยามก่อน ข้าพเจ้าทราบอยู่เต็มใจว่าพระราชดำริห์ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเปนพระราชดำริห์ที่ซื่อตรงและข้าพเจ้าก็ทราบในความคิดของท่านทั้งสองคือท่านเชอวาเลียเดอโซเยียและท่านนายพลมาแตง ซึ่งตั้งใจพยายามจัดการทั้งปวง ให้ต้องด้วยพระราชดำริห์ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนายของข้าพเจ้า เพราะฉนั้นในส่วนตัวข้าพเจ้าถือตัวว่าเปนเพื่อนด้วยกันทั้งสองฝ่าย และไม่ประสงค์อันใดนอกจากอยากจะเห็นพระราชไมตรีได้ติดต่อกันอย่างเดิมและให้ประเทศทั้งสองได้ติดต่อถึงกัน จึงหาโอกาศนี้เพื่อแนะนำหนทางให้ราชสำนักสยามทราบ ราชบริษัทเต็มใจและพร้อมอยู่ที่จะให้บาญชีที่ติดค้งอยู่กับเจ้าพนักงารท้องพระคลังหลวงเปนอันยุติเลิกแล้วแก่กัน และถ้าพระเจ้ากรุง


๓๓๑ สยามจะทรงยอมให้การเปนไปตามสัญญาและสิทธิ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ได้โปรดพระราชทานไว้เมื่อครั้ง มองซิเออร์เซเบเรต์ และมอง ซิเออร์เดอลาลูแบ เอกอรรคราชทูตฝรั่งเศสมาเจริญทางพระราชไมตรีในกรุงสยามนั้น เพราะถ้าราชบริษัทคงได้รับสิทธิเหล่านี้แล้ว บริษัทก็ ยินดีและเต็มใจที่จะกลับออกมาตั้งห้างที่พระราชธานีกรุงศรีอยุธยาอีก ราชบริษัทขอร้องในพระนามของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสผู้เปนนายของบริษัท ให้ได้มาตั้งการค้าขายอยู่ที่ท่าเรือเมืองมริด เพื่อจะได้รวบรวม ของทั้งปวงซึ่งจำเปนสำหรับใช้ในเรือรบหลวง และใช้ในเรือและห้างของบริษัท เช่นว่าจะซ่อมแซมเรือ หรือจะต่อเรือขึ้นใหม่ก็ได้ แต่เพราะเหตุว่าท่าเรือเมืองมริดนี้หาได้อยู่ทางทิศตวันตกไม่ ทั้งไม่ได้อยู่ริมชายทะเลหรืออยู่ริมฝั่ง เพราะฉนั้นการที่เรือรบหลวงจะมาพักจอดในที่นี้ หรือ สินค้าของบริษัทซึ่งจะเอาไว้ในที่นี้ จะไม่พ้นอันตรายได้ เพราะฉนั้นบริษัทจึงขออนุญาตจัดทำท่าเรือนี้ให้คุ้มครองเรือต่าง ๆ และทรัพย์ของประเทศทั้งสองได้ ทั้งจะได้คุ้มครองเรือและสมบัติของพ่อค้าชาวต่างประเทศซึ่งจะมาค้าขายในที่นี้ได้ด้วย ถ้าได้จัดทำเช่นนี้ได้แล้วก็จะเปนประโยชน์แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งสองประเทศเปนอันมาก ถ้าแม้ว่าจะมีพวกศัตรูหมู่ปัจจามิตร์บางจำพวก ซึ่งมีความ อิจฉาริษยาประเทศฝรั่งเศสจะนำความต่าง ๆ มาพูดซึ่งอาจจะทำให้พระราช ไมตรีแตกร้าวบาดหมางกันแล้ว ข้าพเจ้าต้องอ้อนวอนขอให้พระเจ้ากรุงสยามทรงเชื่อเถิดว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนายของข้าพเจ้า และราช


๓๓๒ บริษัทไม่ได้มีพระราชประสงค์หรือมุ่งหมายอย่างอื่น นอกจากจะหาท่าเรือสำหรับให้เรือจอดพักให้พ้นอันตรายในเวลามีพายุหรือในเวลามรสุมซึ่งเรือจะเดิรไม่ได้เท่านั้น ถ้าแม้ว่าฝรั่งเศสได้มีความมุ่งหมายอย่างอื่น แล้ว ไหนเลยบริษัทจะคิดไปตั้งห้างในราชธานีกรุงศรีอยุธยา เพราะพนักงารและคนใช้ของบริษัทไปตั้งอยู่ในกรุง ก็เท่ากับเปนประกันอยู่ในตัวแล้วพวกฝรั่งเศสจะไม่คิดทำร้ายอย่างใดเลย แต่จะได้ตั้งใจปฏิบัติให้ถูก ตรงกับข้อสัญญาซึ่งจะได้ตกลงกัน ในระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทุกประการ เมื่อราชบริษัทได้มาตั้งอยู่ที่เมืองมริดแล้ว เจ้าพนักงารของ พระเจ้ากรุงสยามจะได้เก็บภาษีอากรจากพ่อค้าอื่น ๆ ตามที่เคยเก็บมา จะได้ยกเว้นแต่ฉเพาะพวกฝรั่งเศสพวกเดียวเท่านั้น ซึ่งเจ้าพนักงารฝ่ายสยามจะมาเก็บภาษีอากรอย่างใด ๆ ไม่ได้ และฝ่ายฝรั่งเศสจะต้องรับเปนหน้าที่รักษาท่าเรือนี้ และคอยปัองกันปิดทางมิให้ศัตรูของประเทศ ทั้งสองซึ่งเปนไมตรีกันนั้น ได้เข้ามาได้เปนอันขาด ส่วนเสบียงอาหารและของต่าง ๆ ที่พวกฝรั่งเศสจะต้องการใช้ตลอดจนถึงการจ้างคนนั้น จะได้ชำระเงินให้ตามราคาที่ใช้กันอยู่ในพื้นเมืองนั้น ข้อนี้ก็เปนประโยชน์แก่พลเมืองเปนอันมาก เมื่อฝรั่งเศสได้มาตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ข้าศึกจะมาทำร้ายอย่างใดไม่ ได้เลย ทั้งทางเรือและทางบกก็จะมาไม่ได้เปนอันขาด และเมื่อพระราชไมตรีได้สนิธกันถึงเพียงนี้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะได้มี


๓๓๓ พระราชโองการสั่งกองทหารฝรั่งเศสให้เตรียมตัวสำหรับช่วยพระเจ้ากรุงสยามทุกเมื่อ ถ้าหากจะเกิดสงครามขึ้นและฝ่ายไทยจะต้องการกำลังของฝรั่งเศสเวลาใด ก็ให้กองทหารเตรียมที่จะช่วยอยู่เสมอ และข้าง ฝ่ายฝรั่งเศสนั้นถ้าจะต้องทำสงครามกับพวกในอินเดียขึ้นเวลาใดพระเจ้ากรุงสยามก็จะได้พระราชทานกองทัพไทยให้ออกไปช่วยฝรั่งเศสทุกเมื่อดุจเดียวกัน เมื่อได้ทำหนังสือสัญญานี้เปนการตกลงเด็จขาดแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะได้ ลืมถึงข้อบาดหมางและข้อที่เข้าใจผิดกันต่าง ๆ ซึ่งเปนการแล้วไปแล้ว และฝรั่งเศสกับไทยจะได้ทำสัญญารบและสู้ (Offensive Defensive Alliance) สำหรับต่อสู้พวกศัตรูของประเทศทั้งสองในฝ่ายชมพูทวีปต่อไป การที่ศัตรูของประเทศทั้งสองริษยานักและกลัวนักนั้น ก็ริษยา และกลัวในสัญญาที่จะทำกันนี้เอง เพราะเหตุฉนั้นข้าพเจ้าได้ระฦกถึงพระมหากรุณาของสมเด็จพระนารายณ์ผู้เสด็จสวรรคต ทั้งพระมหากรุณาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันนี้ ซึ่งได้มีต่อพวกสังฆราชและบาดหลวงฝรั่งเศสอยู่เนืองนิตย์ ทั้งข้าพเจ้ามีเจตนาอยากจะช่วยให้พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้กลับมีอย่างเดิม ข้าพเจ้า จึงอ้อนวอนขอให้พระเจ้ากรุงสยามได้โปรดมีรับสั่งว่าจะโปรดประการใด เพื่อข้าพเจ้าจะได้นำความไปแจ้งให้ท่านทั้งสองที่ได้ออกชื่อมาข้างบนนี้แล้วทราบต่อไป


๓๓๔ เจ้าพระยาพระคลังถึงมองเซนเยอรเคเมอเน คำตอบของเจ้าพระยาพระคลังตอบความเห็นของสังฆราช เดอ ซูร์ ซึ่งแนะนำจะจัดการให้ไทยและฝรั่งเศสได้กลับ เปนไมตรีอย่างเดิม ซึ่งได้ยื่นเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๗๐๐ (พ.ศ. ๒๒๔๓) เราได้สั่งแก่หลวงวรวาที (คือล่ามแปงเฮโร) ให้ไปบอกแก่ สังฆราช ซึ่งอ้างตนว่ามาเพื่อจะจัดการให้พระราชไมตรีในระหว่างสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามและฝรั่งเศสได้คงตามเดิมนั้น ว่าเราได้ฟังคำแนะนำ ซึ่งสังฆราชได้เขียนมาเปนจดหมายนั้น ได้เข้าใจความโดยตลอดแล้ว เมื่อวันที่สังฆราชได้มาพบกับเรา ๆ ได้บอกไว้ว่า ข้อใดซึ่งสมควร จะกราบทูลให้พระเจ้าแผ่นดินนายของเราทราบ เราก็จะได้นำกราบทูลให้ทรงทราบ และถ้าข้อใดไม่สมควรจะกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว เรา ก็จะได้จัดให้หลวงวรวาทีนำความไปแจ้งให้สังฆราชทราบ การที่สังฆราชผู้มีสติปัญญาอันเฉียบแหลมปราถนาจะให้พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้เชื่อมติดต่อกันนั้นเปนการที่เรา มีความยินดีมาก แต่ตามคำแนะนำของสังฆราชซึ่งขอให้บริษัทฝรั่งเศสได้สร้างห้างและโรงงารที่เมืองมริดเพื่อซ่อมแซมและต่อเรือ และจะสร้างของอื่น ๆ เพื่อป้องกันทรัพย์สมบัติของบริษัทให้พ้นอันตรายนั้น ข้อนี้เราไม่เห็นชอบด้วยเลย


๓๓๕ เราจะนำความกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินนายของเราไม่ได้อยู่เอง เพราะเหตุว่าการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวด้วยพระราชไมตรี มีแจ้งอยู่ในพระราชสารซึ่งได้มอบไปกับบาดหลวงตาชาไว้แล้ว อนึ่งถ้าแม้ว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสซึ่งทรงพระปรีชาสามารถอาจจะทรงทราบได้ว่าสิ่งใดควรและไม่ควร จะมีพระราชประสงค์สิ่งใดซึ่งจะเปนประโยชน์ต่อพระราชไมตรี และเปนการสมควรที่ประเทศสยามจะถวายได้แล้ว พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสคงจะต้องมีพระราชสาสนมาแสดงพระราชไมตรีนั้น ๆ เปนแน่ และเมื่อพระราชสาสนนั้นจะมีข้อความประการใดฝ่ายไทยก็จะได้ตอบไปตามที่ควรแก่พระราชไมตรีนั้น ว่าจะได้หรือไม่ได้ แต่มาในเวลานี้ก็ยังหาได้รับพระราชสาสนของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ไม่ฝ่ายสังฆราชก็เปนแต่มาแนะนำและพูดเอาเองทั้งสิ้นซึ่งล้วนแต่เปนข้อความตรงกันข้ามกับใจความในพระราชสาสนซึ่งบาดหลวงตาชาเชิญไปเพราะฉนั้นจะนำความกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินนายของเราไม่ได้อยู่เอง อีกประการ ๑ เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเสด็จสวรรคตแล้วนั้น มองซิเออร์เดอเซเนเล ได้พูดไว้กับ สุนทร ราชทูต ซึ่งเวลา นั้นไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ว่าราชบริษัทฝรั่งเศสอยากได้เมืองมริดเพื่อ ตั้งห้างสำหรับทำการค้าขาย ซ่อมแซมเรือ และทำของต่าง ๆ ซึ่งจำเปนสำหรับทำเรือนั้น สุนทร จึงได้ตอบว่า เมืองมริดเปนเมืองซึ่งตั้งอยู่ ในระหว่างแหลมมาลากาและทเลตวันตก ถ้าจะส่งเรือไปยังสันดอนเมืองไทยแล้ว เรือก็จะต้องเดิรอ้อมแหลมนี้ ซึ่งเปนหนทางไกลมาก

๓๓๖ และถ้าจะเอาสินค้าบันทุกเกวียนเดิรทางบกแล้วกว่าจะถึงราชธานีกรุงศรีอยุธยาจะต้องกินเวลาอย่างน้อย ๑ เดือน มองซิเออร์เดอเซเนเลจึงได้ เอาแผนที่มาดู ครั้นเห็นว่าตามที่สุนทรได้อธิบายเปนความจริงทั้งสิ้นนั้น มองซิเออร์เดอเซเนเลก็หาได้พูดถึงเรื่องนี้อีกต่อไปไม่ ครั้นราชทูตสุนทรได้กลับมาถึงเมืองไทยแล้ว ข้าราชการผู้ใหญ่ ได้นำความเรื่องนี้กราบทูลต่อสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีรับสั่งว่าดังนี้ "สมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้เปนพระราชไมตรีอย่างสนิธกับเรามาก แต่ถึงดังนั้นมองซิเออร์เดอเซเนเลกับราชบริษัทจะต้องการมาตั้ง อยู่ที่เมืองมริด แต่พลเมือง ๆ ตะนาวศรีและมริดเปนคนชาติพม่าต่าง กันกับชาติไทย และเปนคนชาวบ้านนอกไม่มีสติปัญญาอย่างใด จะบังคับบัญชาอย่างใดก็ไม่ได้ ทั้งเปนคนไม่รู้ผิดและชอบ เพราะฉนั้นถ้าจะอนุญาตให้ราชบริษัทไปตั้งอยู่ที่เมืองมริดแล้ว ก็น่ากลัวบริษัทจะแตกร้าวบาดหมางกับพวกพม่าซึ่งเปนคนหัวดื้อโง่เขลา และจะเปนเหตุทำ ให้พระราชไมตรีได้แตกร้าวกันได้" ต่อนั้นมาการเรื่องเมืองมริดก็ ยุติกันเพียงนี้ อนึ่งเมื่อครั้งนายพลเดฟาซ์กับกองทหารฝรั่งเศสได้รักษาป้อมอยู่ ที่บางกอก มองซิเออร์คอนซตันซ์ก็ได้ขอพระราชานุญาตต่อพระเจ้ากรุงสยามให้มองซิเออร์เดอโบเรอกาด์ไปเปนผู้ว่าราชการเมืองมริด และ ให้มองซิเออร์ดูบรูอังเปนผู้บังคับกองทหารฝรั่งเศส เพื่อรักษาป้องกัน


๓๓๗ เมืองมริด ครั้นอยู่มาไม่ถึงสามเดือน พวกผรั่งเศสไทยและพม่าก็ ได้เกิดวิวาทกันขึ้นจนถึงได้รับกัน ในครั้งนั้นทั้งพวกฝรั่งเศสและพวก ชาวเมืองมริดได้ล้มตายเปนอันมาก ฝ่ายมองซิเออร์ดูบรูอัง และมองซิเออร์เดอโบเรอกาด์ เห็นว่าจะ สู้กองทหารไทยและชาวเมืองมริดไม่ได้แล้ว จึงได้หอบทรัพย์สมบัติซึ่ง ยังเหลืออยู่นั้นหนีลงเรือของพระเจ้ากรุงสยามและได้พาทั้งเรือและเครื่องศัสตราวุธกับทั้งเครื่องเรือหนีไป นี่แหละเปนต้นเหตุที่ฝรั่งเศสคิดจะทำ ให้ขาดพระราชไมตรี มาบัดนี้ สังฆราชมาแจ้งว่าจะคิดอ่านจัดการให้พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้คงอยู่ตามเดิม จึงขออนุญาตให้ฝรั่งเศสได้มาตั้งอยู่ที่เมืองมริด แต่บิดามารดาญาติมิตร์และพวกพ้องของกองทหารไทย และชาวเมืองมริดซึ่งตายลงในเวลาที่รบกับฝรั่งเศสนั้น ก็ยังมีชีวิตอยู่เปนอันมาก จึงเปนการน่าวิตกว่าพวกนี้เองคงจะหาเรื่อง หาเหตุสำหรับจะได้วิวาทกับฝรั่งเศส และน่ากลัวจะดูถูกหมิ่นประมาทฝรั่งเศสจนถึงกับจะต้องวิวาทชกตีแทงฟันกัน ซึ่งจะไม่เปนการสมควร กับพระราชไมตรีเลย อีกประการ ๑ สังฆราชซึ่งเปนนักพรตใหญ่ในฝ่ายพวกคริศเตียนและเปนคนมีสติปัญญาไหวพริบ ได้กล่าวว่าไม่ได้ มุ่งหมายอย่างอื่นนอกจากจะช่วยจัดการเชื่อมพระราชไมตรีให้ติดต่อกัน จึงขออนุญาตให้ ๔๓


๓๓๘ บริษัทฝรั่งเศสได้สร้างห้างที่เมืองมริด ซึ่งเปนแห่งที่ฝรั่งเศสเคยไปก่อ การวิวาทครั้ง ๑ แล้ว การข้อนี้ไม่สมกับคนที่มีสติปัญญาเลย เพราะ เท่ากับสังฆราชปราถนาจะจัดการให้คนที่เคยวิวาทกันมาแล้วได้ไปอยู่ รวมกันจะได้เกิดเหตุขึ้นอีกซึ่งจะทำให้ขาดพระราชไมตรีอันจะติดต่อกันไม่ได้อีกเลย ข้อนี้เราเห็นว่าเปนการไม่สมควรเลย เพราะฉนั้นจึงเปนเรื่อง ที่จะนำความกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินนายของเราไม่ได้เปนอันขาด เพราะพระเจ้ากรุงสยามนายของเราได้ออกประกาศว่า ประเทศ ใด ๆ จะเปนประเทศเล็กก็ตามใหญ่ก็ตาม เมื่อได้เข้ามาในชายพระราชอาณาเขตเพื่อทำพระราชไมตรีแล้ว ถ้าประเทศนั้น ๆ ได้ทำการซึ่งควร แก่ทางพระราชไมตรีแล้วจึงให้พูดจารับรองต่อไปได้ แต่ถ้าประเทศใดมาทำการอันไม่ต้องด้วยทางพระราชไมตรีแล้ว ก็อย่าให้ทำการค้าขายติด ต่อกับประเทศนั้น ๆ เปนอันขาด ส่วนในความดำริห์ของเรานั้นไม่ได้ คิดอย่างใด นอกจากจะหาหนทางที่จะให้พระราชไมตรีในระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้คงอยู่และให้ได้เพิ่มพูลขึ้นทุก ๆ วัน แต่ที่จะให้เราเห็นพ้องด้วยกับความเห็นของสังฆราชที่จะอนุญาตให้ราชบริษัทฝรั่งเศส มาตั้งห้างที่เมืองมริดนั้น เราจะเห็นไปด้วยไม่ได้เปนอันขาด เพราะไม่ต้องสงไสยเลยว่าจะเปนเหตุให้เกิดการแตกร้าวซึ่งกันและกัน ซึ่งจะกระทำให้ขาดทางพระราชไมตรีอันจะเชื่อมติดอีกไม่ได้เปนแน่ เพราะ ฉนั้นเราจึงต้องพูดว่าเราจะไม่อนุญาตให้ราชบริษัทฝรั่งเศสมาตั้งห้างและทำการต่าง ๆ ในเมืองมริดเปนอันขาด


๓๓๙ ถ้าแม้ว่าจะมีการสิ่งใดที่ควรและที่เปนประโยชน์ต่อทางพระราชไมตรีแล้ว ถ้าสังฆราชจะพอใจมาพูดปฤกษาหารือกันก็ได้ แต่สิ่งที่ไม่ เปนประโยชน์และไม่ควรแก่ทางพระราชไมตรีแล้ว สังฆราชไม่ควร จะนึกถึงเลย เพราะจะเปนหนทางให้แตกร้าวกันได้

สำเนาจดหมายมองเซนเยอรเคเมอเน ถึงเจ้าพระยาพระคลัง ตามข้อความในหนังสือที่ท่านได้ให้ขุนจำนง (Kouncham Nongually) นำมาให้ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าได้ทราบข้อความโดยตลอดแล้ว การที่ข้าพเจ้าได้แนะนำไปโดยฐานเปนเพื่อนด้วยกันทั้งสองฝ่าย นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นว่าเปนการสมควรสำหรับให้พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสและสยามได้คงอยู่ต่อไป แต่ความเห็นของท่านกลับตรงกันข้ามก็ดีแล้ว แล้วแต่ท่านจะโปรด แต่ข้าพเจ้าก็คงพร้อมอยู่เสมอ ที่จะทำการฉลองพระเดชพระคุณชาติสยามดังแต่ก่อนทุกเมื่อ

ความเห็นของสังฆราชเคเมอเนีย คำตอบของเจ้าพระยาพระคลังได้ตอบมาไม่ช้าเลย ได้รับคำตอบ นี้ภายในวันเดียวหรือ ๒ วันเท่านั้น และถึงแม้ว่าเจ้าพระยาพระคลัง ไม่ได้ตอบมาทุกข้อ แต่ได้ยกความมาพูดซ้ำอีกตามแบบหนังสือของ ไทยกับทั้งกล่าวด้วยว่าไม่ได้นำความกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามก็จริงอยู่ แต่ก็เปนเรื่องที่ควรเชื่อได้ว่า ข้อโต้ตอบทั้งหมดนี้ได้ทำต่อพระพักตร์พระ

๓๔๐ เจ้าแผ่นดินทั้งสิ้น และบรรดาเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่คงต้องไปอยู่ในพระราชวังเพื่อปฤกษาหารือกันในเรื่องนี้ตลอดรุ่งทุกคืน เพราะบรรดาเสนาบดีไม่กล้าเลยที่จะเขียนหนังสือที่เกี่ยวด้วยการแผ่นดิน แม้แต่ บันทัดเดียวด้วยลำพังของตัวเองแต่จะต้องได้รับกระแสรับสั่งของพระเจ้าแผ่นดินทุกเรื่อง จนที่สุดจดหมายโต้ตอบในระหว่างข้าพเจ้า และเสนาบดีในเรื่องที่ข้าพเจ้าจะมายังเมืองไทยนี้ ก็ได้เขียนต่อหน้าที่นั่งทุกฉบับ แต่นี่แหละเปนนิสัยของชาติไทยดังนี้เอง อีกประการ ๑ เจ้าพระยาพระคลังคนนี้เปนคนหนุ่มและพึ่งจะเปนคนโปรดปรานขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง ขอให้คิดดูเถิดว่าเจ้าพระยาพระคลังจะมีความรู้และความคิดพอที่จะตอบมาได้ ดังนี้เทียวหรือ แต่จะอย่างไรก็ตามต้องเปนอันเชื่อได้แน่ ว่าการ ทั้งหลายทั้งปวงต้องดำเนิรไปด้วยความรู้เห็นของพระเจ้าแผ่นดินทั้งสิ้นและถ้าใครสงสัยในข้อนี้ก็สงสัยในสิ่งที่ผิด ตั้งแต่นั้นมาการพูดจาที่เกี่ยวด้วยราชการเปนอันสงบหมดไม่ได้พูดถึงอีกต่อไป และภายหลังมาอีกสองสามวัน เจ้าพระยาพระคลังได้ประกาศพระราชโองการ ห้ามมิให้ล่ามไม่ว่าล่ามชาติใด ๆ เขียนหนังสือแทนคนชาวต่างประเทศ และห้ามมิให้ยื่นหนังสือหรือเรื่องราวหรือจดหมายอย่างใด ๆ แทนคนชาวต่างประเทศเปนอันขาด เว้นไว้แต่ล่ามนั้น ๆ ได้ทราบเปนแน่แล้วว่าหนังสือหรือเรื่องราวนั้นจะเปนที่พอใจเจ้าพระ ยาพระคลัง จึงอนุญาตให้ยื่นได้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนประกาศนี้จะต้องรับโทษอย่างหนัก


๓๔๑ จดหมายมองเซนเยอร์เคเมอเน ถึงมองซิเออร์เดอตอร์ซี วันที่ ๔ เดือนมกราคม ค.ศ. ๑๗๐๑ (พ.ศ. ๒๒๔๔) เมื่อคราวข้าพเจ้าจะออกจากประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปยังชมพูทวีปนั้น ท่านได้มีความกรุณาโปรดให้ข้าพเจ้าได้พบท่านที่เวอซาย และท่านได้บอกกับข้าพเจ้าว่า ถ้าจะมีข่าวอย่างใดที่เกี่ยวด้วยการแผ่นดินของประเทศฝรั่งเศสแล้ว ท่านก็จะมีความยินดีที่จะได้รับข่าวนั้นเปนอันมาก เมื่อข้าพเจ้าได้ออกจากประเทศฝรั่งเศส ก็ได้ไปถึงเมืองสุหรัตก่อน จากเมืองสุหรัตข้าพเจ้าได้ไปยังเมืองปอนดีเชรี และได้ไปพบกับท่าน เชอวาเลียเดอโซเยีย ผู้บังคับการกองทัพเรือฝรั่งเศสฝ่ายอินเดีย และมองซิเออร์มาแตง ผู้อำนวยการใหญ่ของราชบริษัทแห่งประเทศฝรั่งเศส เมื่อข้าพเจ้าได้ปฤกษาหารือกับท่านทั้งสอง ถึงเรื่องเหตุการณ์ในประเทศสยามเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้เลยไปยังเมืองมริด เพราะข้าพเจ้ามีกิจธุระ ที่จะต้องแวะไปยังเมืองไทยก่อนจึงจะเลยไปเมืองจีนต่อไป ข้าพเจ้าได้ไปพักอยู่ที่เมืองมริดช้านานจึงได้เลยเข้าไปกรุงศรีอยุธยา ครั้นไปถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่าเปนหน้าที่ในฐานเปนเพื่อนทั้งสองฝ่ายที่จะต้องแนะนำออกความเห็นถึงวิธีที่จะให้พระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้ปรองดองเปนพระราชไมตรีกัน และทั้งต้องการทราบความจริงถึงเรื่องพระราชสาสน อันมีเนื้อความหลักลอย ซึ่งพระเจ้ากรุงสยามได้ฝากบาดหลวงตาชาไปถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนายของข้าพเจ้าด้วย


๓๔๒ ครั้นข้าพเจ้ากับท่านเจ้าพระยาพระคลังได้มีหนังสือโต้ตอบกันหลายฉบับแล้ว ข้าพเจ้าได้ไปพบกับเจ้าพระยาพระคลังผู้เปนอรรคมหาเสนาบดี ข้าพเจ้าจึงได้ชี้เหตุผลเปนข้อ ๆสำหรับที่จะให้พระราชไมตรีได้สนิธกันเข้า ภายหลังไม่ช้าวันเท่าไรนัก เจ้าพระยาพระคลังก็ได้ส่งคำตอบมาเปน จดหมาย ข้าพเจ้าได้แปลจดหมายฉบับนี้คำต่อคำตามภาษาและสำนวนของไทย ต้นฉบับนั้นอยู่ในห้องสมุดของคณะบาดหลวงที่กรุงศรีอยุธยา เพราะฉนั้นท่านหัวหน้าและผู้อำนวยการคณะต่างประเทศณกรุงปารีส คงจะได้ส่งต้นฉบับทั้งคำแปลเปนภาษาฝรั่งเศสมายังท่านต่อไป ข้าพเจ้าได้ถือโอกาศ มีจดหมายกราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสด้วยฉบับ ๑ เหมือนกัน และในจดหมายกราบทูลนั้นได้กล่าวข้อความยืดยาว และเพราะเหตุว่าหนังสือเหล่านี้คงจะตกถึงมือท่าน ข้าพเจ้าจึงไม่เขียนหนังสือถึงท่านโดยยืดยาวเพราะเกรงว่าจะเปนเครื่องรำคาญต่อท่าน และข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ถ้าข้าพเจ้าได้ไปในประเทศต่าง ๆ ในทวีปอาเซียซึ่งจะต้องไปตามหน้าที่แล้ว ข้าพเจ้าจะไม่ลืมเลยว่าจะต้องทำการตาม หน้าที่ของชาวฝรั่งเศสอันซื่อสัตย์ต่อชาติ เจ้าพระยาพระคลังคนที่ข้าพเจ้าออกชื่อมานี้ ไม่ใช่คนที่ได้เคยไปยังประเทศฝรั่งเศส เจ้าพระยาพระคลังคนที่เคยไปฝรั่งเศสนั้นได้ถูกเฆี่ยนตายเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีกลายนี้แล้ว ข่าวต่าง ๆ อันน่าทุเรศของเมืองไทยมีอย่างใด ท่านก็คงจะได้ทราบจากพวกบาดหลวงแล้ว


๓๔๓ จดหมายมองเซนเยอร์เคเมอเน กราบทูลพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ วันที่ ๕ เดือนมกราคม ค.ศ. ๑๗๐๑ (พ.ศ. ๒๒๔๔) ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เฝ้าทูลลานั้นในระหว่างที่เดิรทางอยู่ก็ได้นึกอยู่เสมอถึงการทั้งปวงที่จะเปนประโยชน์ต่อพระองค์และประเทศของพระองค์ ข้าพเจ้าได้ออกจากเมืองสุหรัตไปเมืองปอนดีเชรี เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๖๙๙ (พ.ศ. ๒๒๔๒) ข้าพเจ้าได้ไปพบกับท่าน เชอวาเลีย เดอโซเยีย ผู้บังคับการกองทัพเรือของพระองค์ และมอง ซิเออร์มาแตง ผู้อำนวยการใหญ่ของราชบริษัทแห่งประเทศฝรั่งเศสที่ เมืองปอนดีเชรีนั้นเมื่อข้าพเจ้าได้สนทนากับท่านทั้งสองนี้แล้ว มองซิเออร์ มาแตง ก็ได้สั่งให้เรือของบริษัทไปส่งข้าพเจ้ายังเมืองมริดลำ ๑ ครั้นข้าพเจ้าได้ไปถึงเมืองมริดแล้วก็ได้รีบมีจดหมายไปยังราชสำนักสยาม ขอร้องให้ข้าพเจ้าได้ไปยังกรุงศรีอยุธยาโดยเร็ว เพราะการในหน้าที่ ของข้าพเจ้าเร่งให้ข้าพเจ้าไปที่แห่งอื่นด้วย แต่การที่เกิดวุ่นวายและจลาจลขึ้นภายในประเทศสยาม ได้ทำให้ข้าพเจ้าพักรออยู่ที่เมืองมริดและเมืองตะนาวศรี ๘ เดือนเศษ ครั้นเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนั้นเอง คือปี ค.ศ.๑๗๐๐ (พ.ศ. ๒๒๔๓) ข้าพเจ้าได้ไปถึงกรุงศรีอยุธยา ได้พักอยู่สักสองสามเวลาจึงได้จัดการดำเนิรความ ตามพระราชดำริห์ กล่าวคือได้มีจดหมายเปนทีว่าข้อความต่าง ๆ ที่จะกล่าวนั้นเปนความคิดของข้าพเจ้าเอง โดยถือว่าข้าพเจ้าเปนเพื่อนทั้งสองฝ่ายและเปนผู้จะนำมาซึ่งความสุข ข้าพเจ้าจึงได้แนะนำออกความเห็น


๓๔๔ เปนข้อ ๆ ตามพระราชดำริห์ของพระองค์เพื่อจะให้พระราชไมตรีเปนสิ่งที่แน่นหนาและถาวรต่อไป การเรื่องนี้ได้มีจดหมายโต้ตอบกันหลายฉบับ และใจความตาม จดหมายเหล่านี้ เจ้าพนักงารก็ได้นำความกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามให้ทรงทราบโดยเลอียด ครั้นณวันที่ ๑๕ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๑๗๐๐ (พ.ศ.๒๒๔๓) เจ้าพระยาพระคลังและเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่ได้ยอมให้ข้าพเจ้าไปพบกับท่านเหล่านี้ ข้าพเจ้าจึงได้ยื่นข้อความที่ต้องการซึ่ง ได้เขียนไว้เปนตัวอักษร ภายหลังในไม่ช้าวันเท่าไรนัก ฝ่ายไทยก็ได้ ตอบมาเปนหนังสือเหมือนกัน หนังสือนั้นได้เขียนเปนภาษาไทยซึ่งข้าพเจ้าได้จัดให้แปลเปนภาษาฝรั่งเศสเพื่อจะได้ถวายต่อพระองค์และส่งให้กับเสนาบดีของพระองค์แล้ว การที่เปนเช่นนี้คงจะทำให้พระองค์ทรงเห็นได้ว่าไทยคิดการอย่างไรและเปนหน้าที่ของข้าพเจ้าในฐานที่รู้สึกกตัญญูต่อพระองค์ ที่จะต้องกราบทูลให้ทรงทราบว่าในราชสำนักไทย ยิ่งในรัชกาลปัจจุบันนี้แล้วจะหา ใครที่เปนมนุษย์ไม่ได้ เพราะในเวลานี้ราชสำนักไทย ล้วนแล้วไป ด้วยลิงทั้งสิ้น จะหาความจริงหรือวาจาที่จริงหรือความซื่อสัตย์ไม่ได้ เลยจนอย่างเดียว ด้วยพวกไทยไม่ได้คิดการอย่างใดนอกจากจะหาทางหลอกลวงและปฏิบัติการอย่างลิงค่าง และเข้าใจเสียด้วยว่าการที่ประ พฤติเช่นนี้ เปนอย่างคนฉลาดหาตัวเปรียบไม่ได้ทั้งโลก


๓๔๕ ไทยจะพูดว่ากระไรหรือจะเขียนจดหมายเปนใจความอย่างใดก็ตาม เปนการที่จะหาความจริงสักนิดเดียวก็ไม่ได้ และถ้าใครจะคอยจับคำ ของไทยโดยเชื่อว่าเปนจริงแล้ว ก็เปนการที่คิดผิดอย่างยิ่ง เพราะ เมื่อมีโอกาศขึ้นเมื่อใด ไทยก็คงจะแสดงตัวให้เห็นนิสัยดังได้เคย เห็นมาแต่ก่อน ๆ นี้แล้ว การที่ข้าพเจ้าจำเปนต้องกราบทูลเช่นนี้ ก็เพราะความซื่อสัตย์กตัญญูของข้าพเจ้า จึงต้องกราบทูลให้ทรงทราบไว้ การที่ไทย ได้ตอบข้อแนะนำของข้าพเจ้านั้น กระทำให้เห็นนิสัยของไทยอยู่บ้าง แล้ว เพราะเหตุว่าตามระเบียบราชการของไทยในเวลานี้ ไม่มี เสนาบดีคนใดเลยที่จะกล้าเขียนหนังสือตอบอย่างใด ๆ นอกจากจะ กราบทูลพระเจ้าแผ่นดินให้ทรงทราบเสียก่อน เพราะฉนั้นขอให้พระองค์ทรงนึกเถิดว่า การที่อรรคมหาเสนาบดีได้ตอบมาดังนี้ จะต้องกิน เวลากราบทูลหารือพระเจ้าแผ่นดินนานสักเท่าไร และถึงแม้ว่าอรรค มหาเสนาบดีจะกล่าวอย่างไม่รักษาเกียรติยศว่า ตัวไม่เห็นสมควรจะนำความกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินก็จริงแต่ก็เปนการแน่นอนว่าอย่างไร ๆ ในเรื่องนี้จะต้องกราบทูลโดยตลอดเรื่อง ข้าพเจ้าได้มีจดหมายตอบอรรคมหาเสนาบดีอย่างสั้น ๆ ฉบับ ๑ ซึ่งเปนหนังสือฉบับหลังที่สุด และตั้งแต่นั้นมาก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้อีกเลย หัวหน้าและผู้อำนวยการคณะต่างประเทศที่กรุงปารีศ จะได้นำข้อความต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้พยายามจัดทำในเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลให้ทรงทราบ ๔๔

๓๔๖ และจะได้ส่งไปเรียนเสนาบดีของพระองค์ให้ทราบตามทางราชการด้วย ตามคำสั่งของกรุงโรม ข้าพเจ้าจำเปนจะต้องไปอยู่ที่ประเทศจีนหลายเดือน และจะต้องไปอยู่ในเมืองอื่น ๆ ซึ่งมีคณะบาดหลวง ฝรั่งเศสเปนครั้งเปนคราวด้วย แต่ถึงข้าพเจ้าจะไปอยู่ในที่แห่งใด ซึ่งพระเปนเจ้าจะให้ข้าพเจ้าไปอยู่ก็ดี ข้าพเจ้าจะไม่วายเลยที่จะหา ช่องทางสำหรับปฏิบัติการให้สมกับชนชาติฝรั่งเศสอันแท้จริง เพราะบรรดากฎหมายทั้งปวง ก็บังคับให้ข้าพเจ้าเปนข้าแผ่นดินของพระองค์อันมีความนับถือพระองค์อย่างสุจริต (เซ็น) หลุย สังฆราชเดอซูร์


จดหมายมองซิเออร์โบรด์ถึงมองซิเออร์ลาเบ วันที่ ๑๖ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๗๐๑ (พ.ศ. ๒๒๔๔) พวกไทยไม่พอใจในความเห็นของมองเซนเยอร์เดอซูร์ซึ่งแนะนำ มาสำหรับทำไมตรีกับฝรั่งเศส จึงได้ตอบมาอย่างเด็จขาดว่าจะไม่ยอม ยกเมืองมริดให้แก่ราชบริษัท และทั้งอ้างว่าจะต้องคอยให้บาดหลวง ตาชากลับมาเสียก่อนด้วย เพื่อจะได้ทราบว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะ มีพระราชประสงค์อย่างไร ท่านสังฆราชได้ลงเรือไปเมืองจีนเมื่อวัน ที่ ๑๕ เดือนกรกฎาคม และได้ไปกับเรือลำเล็กของราชบริษัท ซึ่ง ได้แวะมาที่เมืองนี้เพื่อซ่อมแซมเรือ


๓๔๗ มองซิเออร์เฟเรอ-มองซิเออร์โบรด์ ค.ศ. ๑๖๙๖-๑๗๐๑ (พ.ศ. ๒๒๓๙-๒๒๔๔) (ต่อ) จดหมายมองซิเออร์โบรด์ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๒๑ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๑๖๙๙ (พ.ศ.๒๒๔๒) เวลานี้การที่จะสอนและรับคนไทยให้เข้ารีตนั้นยังเปนเวลาไม่เหมาะพวกไทยก็ปล่อยให้พวกเราทำการในหน้าที่ของสาสนาโดยไม่ได้มาเกี่ยวข้องรบกวนอย่างใดเลย พวกบาดหลวงไปไหนก็ไปได้ตามอำเภอใจ ตลอดจนไปเยี่ยมคนป่วยไข้ และรับพวกเด็กที่วิ่งกลางถนนเข้ารีตก็ได้ พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงแสดงพระเมตตากรุณาแก่พวกเรามาหลาย คราวแล้ว


จดหมายมองซิเออร์โบรด์ ถึงมองซิเออร์เดอลาวีน วันที่ ๑๕ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๗๐๑ (พ.ศ. ๒๒๔๔) ตามที่ท่านอยากจะทราบข่าวถึงพวกคริศเตียนชาติญวนในเมืองไทยนั้น ข้าพเจ้าจะได้เล่าให้ท่านฟังดังต่อไปนี้ เพื่อจะทำให้พวกนี้มีน้ำใจขึ้น ข้าพเจ้าจึงได้ให้เขาทำวัดเล็ก ๆ ขึ้นในกลางค่ายของเขา เพื่อ เขาจะได้อยู่รวบรวมกันและเพื่อจะได้มีการสั่งสอนได้บ่อย ๆ แต่การที่ ได้เกิดจลาจลขึ้นเมื่อสามปีที่ล่วงแล้วนั้น ได้ขัดขวางในการที่พวกนี้


๓๔๘ จะทำการได้โดยสดวก เพราะต้องถูกเกณฑ์ไม่หยุดหย่อนเลย เช่นว่า วันนี้ต้องถูกเกณฑ์ให้อยู่ยาม พรุ่งนี้ต้องถูกเกณฑ์ไปแจวเรือของเจ้า และถูกเกณฑ์ในการชนิดนี้หลายอย่าง จนพวกนี้เกือบจะหาเวลา มาฟังสวดมนต์ในวันนักขัตฤกษ์สำคัญ ๆ ไม่ได้ และบางทีในวัน อาทิตย์ก็มาไม่ได้ก็มีบ่อย ๆ เวลานี้พวกญวนเข้ารีตมีน้อยที่สุด เพราะเหตุว่าบางคนได้ไปเข้าเปนพรรคพวกกับชาวเขมรคน ๑ซึ่งได้ผู้หญิงญวนเปนภรรยา ชาวเขมรผู้นี้ได้คิดขบถที่เมืองจันทบุรี ได้ฆ่า เจ้าเมืองซึ่งเปนคนไทยตาย แล้วตั้งตัวเปนใหญ่ในเมืองนั้น พวก ไทยได้ไปจับพวกขบถได้โดยมาก บางคนต้องถูกเอาหัวเสียบกับขบถ ตัวการ บางคนไทยก็ปล่อยให้ตายในคุก แต่พวกที่หนีไปได้นั้นไทย ได้ไปจับบุตร์ภรรยาบิดามารดาญาติเครือมาทำโทษต่าง ๆ เพราะฉนั้น ในเวลานี้พวกญวนต้องลงเปนทาสได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส การที่พวกญวนได้รับความเดือดร้อนเช่นนี้ เปนการไม่สมควรที่จะทำกับ คนเข้ารีตเลย บุตร์ของล่าม คือคนที่เปนล่ามเมื่อครั้งท่านยังอยู่นั้นได้รับตำแหน่งแทนบิดาแล้ว แต่คนผู้นี้ไม่ใคร่จะเอาใจใส่ในการสาสนาเท่าไรนัก เพราะฉนั้นพวกเข้ารีตทั้งหลายจึงประพฤติตัวเกะกะ ไม่เปนธุระในการสาสนาโดยเอาอย่างล่ามคนนี้ ฝ่ายพวกฝรั่งที่เข้ารีตนั้นเหลือแต่เพียง ๙ หรือ ๑๐ ครัวเท่านั้น ครัว ๑ ก็ไม่มีคนมาก ด้วยตายเสียบ้างและไปที่อื่นเสียบ้าง


๓๔๙ เรื่องศึกกลางเมือง จดหมายมองซิเออร์โบรด์ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ เดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๗๐๐ (พ.ศ. ๒๒๔๓) พวกเราได้อยู่เปนสุขสบายโดยเรียบร้อยมาได้ปี ๑ แล้ว แต่ พวกไทยยังระส่ำระสายอยู่ เพราะได้เกิดรบกันโดยมีคน ๆ หนึ่งคิดจะ ชิงราชสมบัติ ได้ยุแหย่ให้รบอยู่เสมอ ข่าวที่เล่าลือกันอยู่เสมอเปนนิจนั้นลือกันว่า ผู้ที่คิดจะชิงราชสมบัตินั้นเปนพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินที่สวรรคตนั้น แต่ข่าวที่ลือนี้ก็มีเสียงต่าง ๆ กันจะจับเอาอะไรเปนแน่ก็ไม่ได้ ท่านคงจะไม่นึกเชื่อเลย ว่า ไทยได้รบราฆ่าฟันกันถึงปี ๑ มาแล้ว และข้าศึกก็อยู่ห่างหนทาง เพียง ๘ วัน ๑๐ วันเท่านั้น แต่ถึงดังนั้นก็ยังไม่มีใครจะทราบได้ว่า คน ที่จะคิดชิงราชสมบัตินี้จะเปนใครแน่ และยังมียิ่งกว่านี้อีกซึ่งเหลือที่ท่านจะเชื่อได้ คือมีข่าวเล่าลือกันว่า เจ้าได้ประชวรพระโรคอย่างร้ายแรง ได้สิ้นพระชนม์มาได้ ๗ เดือนแล้ว แต่ข่าวนี้ถึงจะสืบอย่างไรก็ไม่ได้ ความแน่ว่า เจ้าองค์นั้นจะได้สิ้นพระชนม์จริงหรือไม่ ผู้ที่คิดชิงราชสมบัตินั้นคงเปนคนที่ฉลาดรู้จักทางป้องกันที่จะไม่ให้ใครรู้ว่าตัวเปนใคร ทั้งเปนคนที่มีไหวพริบรู้จักทางล่อลวงด้วย ถ้าคนนี้ตายเสียแล้วก็อาจ จะเอาคนอื่นที่หน้าตารูปร่างคล้าย ๆ กันมาแทนอีกก็ได้ ข้าศึกซึ่งมีทหารอยู่ ๔๐๐ หรือ ๕๐๐ คน ได้เข้าไปตั้งมั่นอยู่ในเมืองนครราชสีมา ซึ่งเปนเมืองชายแดนติดกับเขตเขมร และข้าศึกนั้น


๓๕๐ ล้วนเปนคนต่างชาติต่างภาษาทั้งนั้น ไทยได้ไปตั้งล้อมเมืองนครราชสีมาไว้ ๖ เดือน และได้คิดกลอุบายต่าง ๆ ก็หาตีเอาเมืองนครราชสีมาได้ ไม่ ฝ่ายพระเจ้ากรุงสยามหาทราบไม่ว่าการที่เกิดศึกขึ้นครั้งนี้เพราะเหตุใด ทรงเห็นว่ากลอุบายต่าง ๆ ที่คิดไว้ก็ไม่เปนผลสำเร็จ จึงทรงคิด กลศึกขึ้นใหม่อีกอย่าง ๑ คือโปรดให้ส่งว่าวขึ้นไปยังกองทัพ นัยว่าให้ เอาดอกไม้เพลิงผูกว่าวขึ้นไปสำหรับเผาเมืองและเผาผู้คนให้ตายหมด แต่การชักว่าวนี้ก็ไม่สำเร็จ ยังหาตีเมืองนครราชสีมาได้ไม่ เพราะยัง กำลังทดลองที่จะเอาว่าวไปเผาเมืองนั้น ก็ได้เกิดลือขึ้น จะจริงเท็จประ การใดก็ไม่ทราบ ว่ากองทหารไทยได้หนีไปเข้ากับข้าศึกหมดแล้ว แต่ความจริงนั้นเปนเรื่องที่ไทยได้เกิดบาดหมางกันขึ้นเองในเรื่องที่ว่า เจ้า ได้สิ้นพระชนม์แล้ว เพราะเรื่องนี้พูดเปนเสียงอันเดียวกันหมดว่าสิ้นพระชนม์จริง เพราะฉนั้นพระเจ้ากรุงสยามจึงต้องระวังพระองค์ ได้มีพระราชโองการให้เตรียมการต่าง ๆ และได้รับสั่งเรียกให้ขุนนางข้า ราชการซึ่งขึ้นไปล้อมเมืองนครราชสีมานั้น ให้กลับคืนมายังกรุงศรี อยุธยาทั้งหมด ฝ่ายขุนนางข้าราชการที่ถูกเรียกกลับมานั้น ทราบอยู่แล้วว่าบุตรภรรยาและญาติพี่น้องได้ถูกจับมานานแล้ว เพราะเหตุว่าพระเจ้ากรุงสยามทรงสงสัยว่าข้าราชการเหล่านี้จะไม่ซื่อตรง กำลังจะตรึกตรอง อยู่ว่าจะควรทำประการใดต่อไป บังเอิญวันหนึ่งในเวลาเช้ามืดเกิดเพลิงไหม้ขึ้นในที่พัก ข้าราชการเหล่านี้ตกใจก็ต่างคนต่างหนีทิ้งเครื่องศัสตรา

๓๕๑ อาวุธทั้งหมด รีบลงมายังกรุงศรีอยุธยา มาเฝ้ากราบทูลเหตุการณ์ ให้ทรงทราบ แต่ยังมีข้าราชการบางคนเช่นออกขุนชำนาญ (Channang) เปนต้นได้หายไป ครั้นข้าราชการเหล่านี้ได้ลงมาถึงกรุงศรีอยุธยา ทยอย ๆ กันไม่พร้อมกัน ก็ต่างคนต่างเข้าเฝ้าและคิดจะเอาตัวรอดจึงต่างคนต่างซัดกัน มีขุนนางอยู่สองสามคนหาได้ตรงลงมาเฝ้าไม่ แต่ ทำท่าทางที่จะหนีจึงต้องถูกจับ พระเจ้าแผ่นดินทรงสงสัยในพวกนี้ และจะป้องกันไม่ให้พวกนี้คิดประทุษร้ายได้ จึงตั้งต้นเอาเหล็กเผาไฟจนแดงมานาบท้าวข้าราชการเหล่านี้เสียก่อน แล้วจึงตั้งต้นซักถามเอาความจริงต่อไป ในระหว่าง ที่ซักถามอยู่นั้นได้เอาไม้แหลมบีบลิ้นไว้ไม่ให้พูด เมื่อได้ซักถามและ ทำความทรมานอยู่เช่นนี้ได้สัก ๑๕ วัน หรือ ๓ อาทิตย์ ก็ได้ตัดสินลง พระราชอาญารวม ๔๘ คน โดยมิได้เลือกว่าคน ๔๘ คนนี้ จะมีอายุบรรดา ศักดิ์หรือตระกูลอย่างใด วิธีที่ลงพระราชอาญานั้นได้ทำกันดังนี้ คือ ในตอนเช้าวัน ๑ เจ้าพนักงารได้เอาหลักไปปักไว้ในที่ประชุมชนแล้วจึงได้พาพวกนักโทษซึ่งจำโซ่ตรวนไว้แน่นหนา และมีไม้อุดปากไว้ด้วยมาณที่นั้น เจ้าพนักงารได้บังคับให้นักโทษเหล่านี้นั่งขัดสมาธิตรง กับหลัก ๆ ละคน แล้วได้ผูกมัดตรึงไว้กับหลักอย่างแน่นหนา จึงมี เจ้าพนักงารเอามีดมาสับศีร์ษะ ๗ แห่ง แล้วเอามือจับคอไว้จึงเอามีดเชือดเนื้อตั้งแต่บั้นเอวจนหัวไหล่ และได้ตัดเนื้ออกจากแขนเปนชิ้น ๆ บังคับให้นักโทษกินเนื้อของตัวเอง บางคนได้ถูกตัดนิ้วเท้านิ้วมือ บาง


๓๕๒ คนถูกเอาเงินบาทละลายกรอกใส่ปาก เมื่อเสร็จแล้วเจ้าพนักงารได้ เรียกผู้หญิงทั้งในเมืองและนอกเมือง ให้เอากำปั้นทุบศีร์ษะพวกนักโทษเพื่อให้นักโทษได้รับความอาย เจ้าพนักงารได้ให้นักโทษตากแดดอยู่ประมาณ ๕ หรือ ๖ ชั่วโมง จึงได้คุมเอาตัวเข้าไปไว้ในคุกโดยไม่ให้ พบปะกับผู้ใดเลยเปนอันขาด นักโทษเหล่านี้ได้ถูกลงอาญาดังที่กล่าว มาแล้วนั้นหลายครั้ง บางคนก็ทนได้ถึง ๑๐ วัน ๑๒ วัน จนที่สุดพวก นักโทษทนอาญาไม่ไหว แล้วเจ้าพนักงารก็ประหารชีวิตเสียโดยแหวะ ท้อง แล้วเอาศพไปเสียบไว้ที่ประตูเมือง และเอาหนามไม้ไผ่ล้อมศพ ไว้ด้วย ทรัพย์สมบัติของคนเหล่านี้ได้ถูกริบจนหมดจนสิ้น เจ้าพนักงาร จึงได้คุมบุตร์ภรรยาและญาติพี่น้องออกจากคุกพาไปยังสวนแห่ง ๑ ซึ่งอยู่กลางทุ่ง เพราะพระเจ้าแผ่นดินจะเผาคนเหล่านี้ทั้งเปน แต่เพอิญมีพระสงฆ์มากราบทูลทัดทานไว้จึงหาได้เผาคนเหล่านี้ไม่ แต่พระสงฆ์เหล่านี้ได้เฝ้าอยู่รอบสวนนั้นทั้งกลางวันกลางคืนหลายเดือนเพื่อคอยป้องกันมิให้พวกนี้ถูกเอาไฟเผาทั้งเปน ภายหลังจึงได้ทรงพระกรุณายกโทษให้และได้ปล่อยตัวไปแต่ต้องไปเปนทาสจนตลอดชีวิต คนเหล่านี้โดย มากเปนพวกผู้ที่มีตระกูลเก่า ๆ อยู่ในเมืองนี้ ขุนนางซึ่งถูกลงอาญา คราวนี้ล้วนแต่เปนเจ้าพระยา ออกญา และหลวง และมีพวกแขกมะลายู ที่มีบรรดาศักดิ์หลายคนกับหัวหน้ายี่ปุ่นสองคน พวกนี้ต้องถูกชำระลงโทษฐานขบถต่อแผ่นดิน ข้าพเจ้าได้สืบดูว่าตามธรรมเนียมของกฎหมาย


๓๕๓ บ้านเมือง การลงโทษขบถต่อแผ่นดินได้ทำกันอย่างไร ก็ได้ความว่า ตามธรรมเนียมก็เคยแต่เพียงลงโทษแหวะท้องและตัดศีร์ษะเท่านั้น เพราะ ฉนั้นการที่ลงโทษอย่างร้ายกาจคราวนี้ ก็คงจะเปนด้วยพระเจ้าแผ่นดินกริ้วมาก และมีพระนิสัยโหดร้ายด้วย ในที่นี้ต้องงดไม่กล่าวถึงเรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่องไม่ฉนั้นจดหมายฉบับนี้จะยืดยาวเกินไปนัก ข้าราชการบางคนที่ได้กลับมาจากเมืองนคร ราชสีมาซึ่งพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงเห็นว่าเปนคนสุจริต หรือได้ทำการแก้ตัวได้ หรือได้รอดตัวเพราะความที่โปรดปรานนั้น ก็ต้องกลับขึ้นไปยังเมืองนครราชสิมาอีกพร้อมกับขุนนางอื่นที่ได้ตั้งขึ้นใหม่อีกหลายคน ฝ่ายพวกมลายูที่ได้หนีไปก็เพราะจะอยู่แต่พวกเดียวไม่ได้ด้วยไทยได้หนีไปหมดแล้ว ทั้งเปนคนที่ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระเจ้ากรุงสยามจริง ๆ นั้นก็ได้รับพระราชทานรางวัลเลื่อนยศบ้าง รางวัลเปนเงินบ้าง และได้กราบทูลรับรองต่อพระเจ้ากรุงสยามว่าจะไปตีเอาเมืองนครราชสิมาคืนมาในเร็ววันให้จงได้ จึงได้โปรดให้พวกมลายูเหล่านี้รีบขึ้นไปสมทบกับข้าราชการไทย พวกมลายูอันกล้าหาญเหล่านี้ได้พยายามปีนกำแพงเมืองขึ้นไป แต่ฝ่ายข้าศึกได้ต่อสู้อย่างสามารถ พวกมลายูล้มตายหลายคนจึงหมดอยาก ที่จะต่อสู้อีกต่อไป พวกมลายูจึงได้พักรออยู่โดยไม่ได้ทำอะไรเลย ๔ เดือน ครั้นเมื่อปลายเดือนเมษายนพวกชาวเมืองได้มาเปิดประตูเมืองและได้บอกพวกไทยที่ล้อมเมืองไว้ว่าพวกข้าศึกได้หนีไปหมดแล้ว แต่


๓๕๔ บางคนก็พูดว่าพวกชาวเมืองได้ออกจากเมืองเพื่ออพยพไปอยู่ที่อื่น ครั้นเมืองนครราชสิมาได้ตกมาอยู่ในอำนาจของไทยแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงตั้งเจ้าเมืองให้ขึ้นไปรักษาการ เจ้าเมืองได้ส่งพลเมืองชาวเมือง นครราชสิมาลงมาชำระยังกรุงศรีอยุธยาเปนอันมาก พวกนี้ได้ถูก ประหารชีวิตไปหลายคนแล้ว เมื่อข้าศึกได้หนีออกจากเมืองนครราชสิมานั้นก็หาได้ไปไกลไม่ เขาพูดกันว่าพวกข้าศึกได้เลยไปยึดเอาเมืองพิษณุโลก แต่ในเรื่องนี้ ไทยปิดไม่อยากให้ใครรู้และคอยพูดกลบเกลื่อนอยู่เสมอ จนถึงกับ พระเจ้าแผ่นดินได้มีพระราชโองการให้มีงารนักขัตฤกษรื่นเริงตามเคย แต่อย่างไร ๆ ก็เห็นได้ชัดว่าการศึกยังหาสงบไม่ บางคนพูดว่าพระเจ้า กรุงสยามคงจะมีชัยชนะ บางคนก็พูดว่าไทยเสียเปรียบมาก ความ จริงพวกพระสงฆ์ซึ่งเปนต้นเหตุยกให้พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ได้ครองราชสมบัตินั้น ก็ออกจะเห็นแล้วว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ไม่ซื่อตรงต่อใคร ถ้าพูดอย่างคำสามัญก็ต้องพูดว่าเปนคนหน้าไหว้หลังหลอก การประหารพวกขุนนางข้าราชการโดยอาการอย่างร้ายกาจ ทั้งบุตร์ภรรยาข้าราชการเหล่านี้ยังต้องเปนทาสอีกนั้น เปนการที่กระทำให้พระสงฆ์เหล่านี้เอาใจออกหากทุกคน ราษฎรพลเมืองอีกทั้งขุนนางข้าราชการก็เกลียดพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ทั้งสิ้น และที่พวกนี้ยังยั้งมืออยู่นั้นก็ด้วยยังมีความเกรง อยู่หน่อย การที่ไม่ได้เกิดขบถขึ้นทั้งเมืองนั้นก็โดยยังเห็นแก่พระมเหษีและพระราชบุตร์องค์เล็กของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น


๓๕๕ เจ้าพระยาพระคลังหาได้อยู่ในจำพวกขุนนางที่ถูกประหารชีวิตไม่ เพราะได้ตายเสียก่อนสองเดือนมาแล้ว เขาพูดกันว่าที่ตายนี้ก็เพราะ ถูกเฆี่ยนตายทั้งเสียใจที่ตัวต้องถูกเฆี่ยนและถูกลงอาญาบ่อย ๆ ด้วย เพราะเมื่อ ๔ ปีมาแล้วพระเจ้าแผ่นดินทรงกริ้วขึ้นมาก็ได้เอาพระแสงดาบตัดปลายจมูกเจ้าพระยาพระคลัง ตั้งแต่นั้นมาเจ้าพระยาพระคลังก็ต้องรับพระราชอาญาเรื่อยมา เพราะพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงไว้พระทัยเสียแล้ว ก่อนที่เจ้าพระยาพระคลังจะตายนั้น บุตร์สาวคนใหญ่ คน ๑ บุตร์ชายสองสามคนกับภรรยาน้อยของเจ้าพระยาพระคลังได้ถูกจับไปและถูกชำระ จึงได้เกิดลือกันว่าเจ้าพระยาพระคลังมีความเสียใจนักจึงได้เอามีดแทงชายโครงฆ่าตัวเองตาย การที่เจ้าพระยาพระคลังตายนี้พระเจ้าแผ่นดิน ก็ออกตัวได้ดี ได้ทรงแกล้งทำเสียพระทัยว่าเจ้าพระยาพระคลังได้ถึง อสัญกรรมเสียแล้ว จึงได้โทษว่าหมอจีนซึ่งเปนผู้รักษาเจ้าพระยา พระคลังได้เอายาพิษให้เจ้าพระยาพระคลังรับประทานจึงได้พระราชทานรางวัลโดยให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนหมอคนนั้นและให้เฆี่ยนทั้งหลังและท้องด้วย เวลากลางคืนได้ยกศพเจ้าพระยาพระคลังไปฝังไว้ยังวัดหาได้ มีการทำบุญให้ทานอย่างใดไม่ และมิได้ทำการศพให้สมกับเกียรติยศ ซึ่งต้องมีการแห่ศพไปไว้ยังโรงทึมและเผาตามธรรมเนียม นี่แหละเปน สิ้นชื่อของอรรคราชทูตสยามที่ได้ไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส และเปนอรรคมหาเสนาบดีของพระเจ้าแผ่นดินสยามองค์ปัจจุบันนี้ด้วย


๓๕๖ ออกญาพิพัฒผู้ช่วยของเจ้าพระยาพระคลังซึ่งเปนคนอัธยาศัยดีคงทำการให้พระเจ้าแผ่นดินโปรดอยู่เสมอ แต่ออกญาพิพัฒก็พูดอยู่เสมอ ว่ามิช้ามิเร็วก็คงจะถูกเหมือนอย่างคนทั้งหลายเหมือนกัน ในเมืองนี้พลทหารหามีเงินเดือนหรือผลประโยชน์อย่างใดไม่ เพราะฉนั้นการเดิรทางเปนการลำบากอย่างยิ่ง ทั้งพระเจ้าแผ่นดินและ ผู้จ่ายเงินเปนคนที่เหนียวแน่นอย่างที่สุด กองทัพจึงขาดเสบียงไม่มีข้าว จะรับประทาน จนผู้คนได้ตายด้วยความหิวและความไข้เจ็บเปนอันมาก ทั้งช้างก็ล้มตายหลายเชือกด้วย พวกในค่ายปอตุเกตและพวกจีนกับญวนได้รับสั่งมาหลายเดือนแล้วให้ไปรักษาเพนียด ซึ่งเปนที่อยู่เหนือราชธานีกรุงศรีอยุธยาเล็กน้อย พวกปอตุเกตจีนและญวนก็ได้ไปรักษา พเนียดตามคำสั่งโดยต้องใช้โสหุ้ยของตัวเองทั้งสิ้น ไทยหาได้จ่ายเงิน ให้จนอัฐเดียวไม่ ยังมีจีนคนหนึ่งเปนคนของมองซิเออร์คอนซตันซ์ฟอลคอนผู้ถึงแก่กรรมแล้วนั้น ได้จับหนังสือมาจากนครราชสิมาซึ่งเปนหนังสือที่มีมา ถึงพระสงฆ์หลายรูป จีนผู้นี้ได้นำหนังสือที่จับได้นั้นส่งเข้าไปถวาย ก็เกิดโปรดปรานจีนผู้นี้มาได้ประมาณ ๘- ๙ เดือนมาแล้ว แล้วได้โปรดตั้งให้จีนผู้นี้เปนออกญา แล้วภายหลังตั้งให้เปนอรรคมหาเสนาบดี แล้วภายหลังมาไม่ช้าวันนักพระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งให้หา ยอช บุตร์ของมองซิเออร์คอนซตันซ์ แล้วโปรดให้แต่งตัวอย่าง ดี ๆ และรับสั่งให้นายยอชเรียนภาษาไทยเสียให้รู้ ได้โปรดเอานายยอชไว้ใกล้ชิด


๓๕๗ พระองค์ และได้โปรดเปนครูด้วยพระองค์เองสอนภาษาไทยให้แก่นายยอช พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งถามนายยอชสองหรือสามครั้งถึงโรงเรียนสามเณรและพวกบาดหลวงซึ่งอยู่ในโรงเรียน และได้รับสั่งใช้ให้นายยอช มาหาพวกเราครั้ง ๑ เพื่อมาขอตำราสร้างป้อม นายยอชได้อยู่ชิดสนิธสนมกับพระเจ้ากรุงสยามอยู่อย่างนี้หลายเดือน จึงรับสั่งว่า "เจ้าจงไปอยู่ที่ห้างพ่อเจ้าเคยอยู่เถิด" แล้วได้ทรงฝากฝังนายยอชไว้กับจีนผู้ที่เปน ผู้ดูแลของห้างนั้น การที่ได้เกิดสงครามขึ้นคราวนี้ ได้ทำให้การค้าขายฉิบหายหมด พวกพ่อค้าได้ยากจนลงและมีความเดือดร้อนมาก พวกชาวต่างประเทศไม่มีเข้ามาในเมืองไทยอีกเลย ในปีนี้ได้มีพ่อค้าจีนมาสามหรือสี่ราย เท่านั้น สินค้าที่พาเข้ามานั้นก็ไม่ใคร่จะมีอะไรและจะหาคนซื้อก็เกือบจะไม่ได้ พวกพ่อค้าจีนได้ขายของโดยราคาอย่างถูกแต่ถึงดังนั้นก็ไม่มี ใครซื้อ การร้องรำทำเพลง การรื่นเริงต่าง ๆ ตลอดจนการศพการเมรุ ได้งดมาตั้งแต่เกิดศึกขึ้น ไม่มีใครจะกล้าทำอะไรซึ่งเปนการที่พวก พระสงฆ์เสียใจมาก เพราะอาหารการบิณฑบาตได้น้อยลงไปมาก พระเจ้ากรุงสยามทรงถือว่าข้าศึกในคราวนี้เท่ากับเปนขบถ และห้ามมิให้ใครพูดว่า ผู้ที่คิดขบถนั้นเปนพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สวรรคต ใครขืนพูดจะลงพระราชอาญาถึงประหารชีวิต แต่มีคน บางคนสงสัยว่าผู้ที่เปนต้นเหตุทำศึกในคราวนี้ไม่ใช่อื่นไกลเลยเปนพระราชบุตร์ของพระเจ้ากรุงสยามนั้นเอง คือว่าราชบุตร์จะคิดขบถขึ้น แต่


๓๕๘ พระราชบิดาทรงทราบจึงคิดปิดความและคิดเกลี่ยกล่ายให้ความนั้นสงบไป การที่พระเจ้าแผ่นดินเอาไม้ยัดปากพวกขุนนางไม่ใช่สำหรับป้องกันไม่ ให้ร้องหามิได้ แต่เปนเครื่องสำหรับให้ขุนนางผู้รับโทษนั้น ได้ประกาศความทุกข์ยากและความผิดของตัว ยังมีคนอื่นอีกที่คิดเห็นว่าศึกคราวนี้เปนอุบายของพระเจ้าแผ่นดิน เพราะทรงคิดจะเปลี่ยนขุนนางข้าราชการทั้งหมด และจะตั้งคนที่ไม่เคยได้ทำราชการและไม่รู้จักพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สวรรคตเลยเปนขุนนางต่อไป กล่าวคือ จะทรงคิดล้างขุนนาง เก่า ๆ ซึ่งอาจจะมีความริษยาในการที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติหรืออาจจะเปนเสี้ยนหนามแผ่นดินได้ การที่ทรงคิดเช่นนี้ก็ได้ตั้งต้นเอา พวกเราเข้าก่อน เพราะฉนั้นจะต้องเข้าใจว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงถือว่าพวกเราอยู่ในจำพวกที่จะต่อสู้กับพระองค์ แต่การตระเตรียมต่าง ๆ ทำกันอย่างใหญ่โตมากจึงเปนการยากที่จะเชื่อว่า ศึกคราวนี้ไม่ได้ประสงค์อะไรนอกจากจะเปนอุบายสำหรับลบล้างพวกขุนนางเก่า ๆ เท่านั้น แต่ ที่จริงอะไรบ้างที่ไทยจะทำไม่ได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้เองยังไม่ได้เดือนหนึ่งเลยออกญาพิพัฒก็ได้ถามว่า ในปีนี้พวกฝรั่งเศสจะเข้ามาเมืองไทยหรืออย่างไร ดูเหมือนทุก ๆ คนหวัง ว่าถ้าฝรั่งเศสได้เข้ามาแล้ว การเดือดร้อนทั้งปวงคงจะได้เบาลงไป บ้าง พวกไทยนึกถึงเรื่องนี้อยู่ทุกคืนทุกวัน และหวังใจอยู่เสมอว่าคงจะได้เห็นเรือฝรั่งเศสเข้ามาหลาย ๆ ลำ แต่ส่วนพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน นั้นดูไม่ทรงต้องการไมตรีของฝรั่งเศสเลย แต่เดิมก็ทรงครั่นคร้าม


๓๕๙ อยู่บ้าง ครั้นมาภายหลังทรงเห็นฝรั่งเศสไม่แข็งแรงอะไร และมา อ้อนวอนขอร้องต่าง ๆ เช่นบาดหลวงตาชา ก็ทรงเห็นเสียว่าพวกฝรั่งเศสกลัวเกรงไทย และทรงเห็นว่าชาติฝรั่งเศสเปนชาติที่อ่อนมาก พระเจ้าแผ่นดินจึงไม่มีพระราชประสงค์ที่จะเห็นฝรั่งเศสเข้ามาในพระราชอาณาเขตเลย เพราะฉนั้นถ้าใครยังนึกอยู่ว่า พระเจ้ากรุงสยามจะพระราชทานเมืองมริดให้แก่ฝรั่งเศสและ้วก็จะเปนการที่คิดผิด ถ้าจะต้องการเมือง มริดแล้วก็จะต้องใช้กำลังเท่านั้น และถึงดังนั้นก็ต้องเชื่อได้ว่า ถ้า ได้พระราชทานเมืองมริดโดยขัดขืนไม่ได้ ก็คงจะทรงหาโอกาศคิด กลอุบายอย่างใด ที่จะเอาคืนอีกให้จงได้ เมื่อวันที่ ๖ เดือนมิถุนายน ข้าพเจ้าได้ให้คนไปถามออกญา พิพัฒว่า ข้าพเจ้าจะไปหาได้หรือไม่ เพราะข้าพเจ้ามีความเสียใจ มากที่ไม่ได้พบกับท่านออกญามาช้านานแล้ว ออกญาพิพัฒได้ตอบมา ว่า ให้ข้าพเจ้าไปหาที่บ้านในวันมรืนนี้จึงจะได้พบกัน ครั้นถึงวันนัด ข้าพเจ้ากับล่ามแวงซังแปงเฮโรก็ได้ไปยังบ้านออกญาพิพัฒ ท่านเจ้า ของบ้านได้ให้เอาพรมผืนยาวปูในห้องแลมีหมอนด้วยสองใบ เมื่อเรา ไปถึงนั้น ออกญาพิพัฒคอยเราอยู่แล้ว ข้าพเจ้าได้แสดงความยินดีที่ท่านออกญาได้หลุดพ้นอันตรายต่าง ๆ ได้ ออกญาพิพัฒจึงได้พูดถึงเรื่องศึก และเล่าถึงวิธีที่ทหารได้ปีน กำแพงเมืองนครราชสีมาและเอาไฟเผาบ้านเมืองทั่วทุกแห่ง และได้ เล่าถึงความกล้าหาญของบุตร์ท่านเอง ซึ่งได้ถูกเจ็บป่วยมา เล่าถึง

๓๖๐ การที่ข้าศึกได้อพยพหนีไป ถึงการที่ได้เกิดขบถขึ้นที่เมืองพิษณุโลก และเมืองอื่น ๆ อีกหลายแห่ง ออกญาพิพัฒได้แจ้งว่า พวกขบถในที่ต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกจับโบยมาแล้ว แต่ข้าศึกคือผู้ที่คิดจะชิงราช สมบัตินั้นหนีไปเสียแล้วพร้อมด้วยผู้คนเปนอันมาก จะเปนจำนวนมากน้อยเท่าใดหาทราบไม่ ล้วนแต่เปนคนแข็งในการทัพศึกทั้งนั้น เข้า ใจกันว่าพวกข้าศึกคงจะหนีไปทางเมืองเขมรหรือเมืองลาวเปนแน่ข้าพเจ้าจึงถามออกญาพิพัฒว่า คนที่คิดจะชิงราชสมบัตินี้จะเปนใครแน่และคนนี้มาแต่ไหนมาอย่างไร ข้าพเจ้าไม่ได้รับคำตอบอย่างใดนอกจากว่า ดูเหมือนคน ๆ นี้จะผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และได้ความจากออกญาพิพัฒต่อไปว่า มีมหาดเล็กของพระเจ้าแผ่นดินติดสอยห้อยตามข้าศึกผู้จะ ชิงราชสมบัติคนหนึ่ง และว่าในเวลานี้กองทัพกำลังติดตามพวกข้าศึก ที่ยังหนีอยู่ ถ้อยคำที่ขุนนางผู้นี้กล่าว เปนถ้อยคำที่พอจะเชื่อได้ และ ถ้าจะพิเคราะห์ดูเหตุการณ์ทั้งปวงแล้ว ก็จะต้องสันนิฐานว่าการศึกได้สงบแล้ว แต่ออกญาพิพัฒเปนคนไทยที่ไหวพริบคนหนึ่ง จะหาใครเปรียบทั่วทั้งแผ่นดินเปนไม่ได้ เพราะฉนั้นจึงได้รักษาตัวอยู่ได้จนตลอดเรื่อง ที่มีการรื่นเริงกันอยู่ในเวลานี้ก็คงจะมีกันพอแก้หน้าเท่านั้น เพราะตามคุกต่าง ๆ ก็เต็มไปด้วยนักโทษทั้งผู้ชายผู้หญิงและเด็ก และยังจะมีคนที่จะต้องถูกชำระและเอาตัวไปประจานที่ประตูเมืองก็อีกมาก เมื่อทางราชการได้ริบทรัพย์สมบัติมากมายเช่นนี้ ก็คงจะทำให้ท้องพระคลัง

๓๖๑ เต็มไปหมด และการที่เกิดขึ้นครั้งนี้หาทำให้พระเจ้าแผ่นดินยากจนลง ไปไม่ แต่จะกลับทำให้มั่งคั่งบริบูรณ์ขึ้นเสียอีก ผู้คนราษฎรพลเมือง ในพระราชอาณาเขตเบาบางน้อยลงไปมาก แต่ก็ไม่เปนสิ่งที่จะทำให้ พระเจ้าแผ่นดินร้อนพระทัยอย่างไร ถ้าแม้ว่าการศึกสงครามคราวนี้ เปนแต่กลอุบายแล้ว ศึกจะเลิกเมื่อไรก็ได้ตามชอบใจของผู้ที่คิดอุบาย นี้ เพราะฉนั้นที่เรียกกันว่าข้าศึกนั้น ก็คงจะเปนเงาของข้าศึกเท่า นั้น เปรียบเท่ากับการเพาะเห็ด ๆ ยังไม่ทันขึ้นดี ก็ไปเก็บมารับประทานเสียแล้ว

จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๑๔ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๗๑๒ ( พ.ศ. ๒๒๕๕) ได้เกิดไข้ทรพิษขึ้นมาได้ ๕ - ๖ เดือนแล้ว และเวลานี้ก็กำลัง เปนกันอยู่ ผู้คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ล้มตายเปนอันมาก พวกเราได้ทำการทุกอย่างที่จะช่วยเหลือครอบครัวของผู้เจ็บซึ่งเปนคนที่เกี่ยวกับโรงเรียนนี้ พวกเราต้องออกไปตามในเมืองและหมู่บ้าน ต่าง ๆ เปนการพิเศษ และหมู่บ้านบางแห่งก็ไกลจากเมืองระยะทาง ตั้ง ๓ - ๔ ไมล์ก็มี การที่ต้องไปเช่นนี้ทำให้เปลืองโสหุ้ยขึ้นมากและ ต้องมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก เพราะจะต้องซื้อข้าวเลี้ยงพวกคนยากจน ซึ่งไม่มีกำลังจะซื้อข้าวรับประทานได้ เพราะข้าวเวลานี้ราคาแพงอย่าง ที่สุด ๔๖


๓๖๒ จดหมายมองเซนเยอร์เดอบูร์ (๑) ถึงมองซิเออร์เตเซีย วันที่ ๑๐ เดือนกันยายน ค.ศ. ๑๗๑๓ (พ.ศ. ๒๒๕๖) พวกข้าพเจ้าได้มาถึงเมืองไทยโดยสวัสดิภาพเมื่อวันที่ ๑ เดือนมีนาคม มองเซนเยอร์เดอซาบูร์ ได้จัดการอย่างดีเหลือที่ข้าพเจ้าจะพรรณาได้ ข้าพเจ้ามีความปลาดใจมากที่ได้เห็นบ้านเมืองร่วงโรยลงไปมากทั่วพระราชอาณาเขต เมืองไทยเวลานี้ไม่เหมือนกับเมืองไทย เมื่อครั้ง ๕๐ ปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งเปนเวลาที่พวกเราได้มาเห็นเปนครั้ง แรก ในเวลานี้ไม่ได้เห็นเรือต่างประเทศจำนวนมากมาย หรือเห็น เรือไทยไปมาค้าขายดังแต่ก่อนแล้ว ถ้าจะเทียบเมืองไทยในเวลานี้ เท่ากับเปนป่าที่ไม่มีคนอยู่ ด้วยราษฎรพลเมืองมีจำนวนลดน้อยลงกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อต้นปีนี้ได้เกิดไข้ทรพิษขึ้น ซึ่งกระทำให้พลเมืองล้มตาย ไปครึ่งหนึ่ง ทั้งการที่ข้าวยากหมากแพงก็ทำให้ราษฎรได้รับความ เดือดร้อนเปนอันมาก ตามปรกติในปีก่อน ๆ ข้าวที่เคยซื้อกันได้ราคา ๑ เหรียญนั้น บัดนี้ ๑๐ เหรียญก็ยังหาซื้อเกือบไม่ได้ การที่ข้าพเจ้า ได้มาคราวนี้ได้ทำให้มองเซนเยอร์เดอซาบูร์ ได้รับความลำบากขึ้นมาก เพราะต้องหาเลี้ยงผู้คนจำนวนมากขึ้น การนี้ข้าพเจ้าก็ไม่ได้มีเจตนาอย่างใดที่จะทำให้ท่านสังฆราชได้รับความลำบาก เพราะไปเข้าใจเสียว่า


๑) มองเซนเยอร์เดอบูร์นี้ได้เคยเปนวิแกอาปอศตอลิกที่เมืองตังเกี๋ย ฝ่ายตวันตก และเปนผู้ที่ถูกไล่ออกมาจากเมืองนั้นแล้ว


๓๖๓ การที่ข้าพเจ้าได้พาชาวตังเกี๋ยหนุ่มมา ๒๐ คนนั้น จะไม่เดือดร้อนอะไร เพราะเข้าใจว่าเมืองไทยเคยเปนเมืองที่บริบูรณ์ทั้งเข้าของก็ถูกดังได้เคยเห็นมาแต่ก่อน ๆ ด้วย แต่การที่ข้าพเจ้าไปเข้าใจเช่นนี้ เปนการที่ เข้าใจผิดโดยแท้


เมืองมริด จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๑๔ เดือนธันวาคม ค.ศ.๑๗๑๒ (พ.ศ. ๒๒๕๕) ตั้งแต่วันที่ข้าพเจ้าได้เขียนจดหมายฉบับนี้ ได้เกิดเรื่องอันสำคัญซึ่งควรจะเล่าให้ท่านทราบ เรื่องที่สำคัญนั้นก็คือมีไทยคน ๑ ซึ่งอ้าง ตัวว่าเปนเชื้อของพระราชวงศ์ก่อนคิดจะไปตีเมืองไทย จึงได้เกลี้ยกล่อมพวกมอญซึ่งเรียกกันว่าพวกทวายนั้น แล้วไปยึดเมืองมริดไว้ ข้าพเจ้า ไม่ทราบแน่ว่าพวกทวายจะมีจำนวนคนมากน้อยเท่าใด เพราะมีพวกไทยได้สมทบเข้ากับพวกทวายก็มาก บางคนก็พูดว่าพวกทวายได้รวบรวมกำลังไว้ถึง ๑๐,๐๐๐ คน บางคนก็ว่า ๑๕,๐๐๐ คน แต่ถึงพวกทวายจะมีคนมากน้อยเท่าใดก็ตาม สิ่งที่เปนการแน่ ก็คือพวกทวายได้ยึดเมืองมริดไว้ได้สัก ๕ หรือ ๖ เดือนมาแล้ว และ เวลานี้ก็กำลังรุกขึ้นไปทางเมืองตะนาวศรี เจ้าเมืองตะนาวศรีมีความกลัวว่าพวกทวายจะมาล้อมเมือง จึงได้มีจดหมายมายังข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าเองก็ไม่เคยได้เห็นหน้าท่านเจ้าเมืองคนนี้เลย ขอให้ข้าพเจ้าส่งบาดหลวง

๓๖๔ ไปเมืองตะนาวศรีสักคน ๑ เพื่อให้บาดหลวงไปเกลี้ยกล่อมพวกเข้ารีต ซึ่งอยู่ในเมืองตะนาวศรีและหมู่บ้านใกล้เคียง ให้เข้ามารับราชการของพระเจ้ากรุงสยาม และเพื่อให้บาดหลวงไปเกลี้ยกล่อมพวกเข้ารีตที่เมือง มริดซึ่งอยู่ที่เมืองมริดในเวลาที่ผู้คิดชิงราชสมบัติได้ตีเมืองมริดนั้น ให้กลับเข้ามาทำราชการของพระเจ้ากรุงสยามให้หมด หรือมิฉนั้นก็ขอให้พวกเข้ารีตได้ตั้งตัวเปนกลางอย่าได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ อย่าได้รับหน้าที่เปนผู้ยิงปืนใหญ่ เพราะเข้าใจกันว่าพวกเข้ารีตชำนาญการยืงปืนใหญ่มากกว่าพวกพื้นเมือง แต่จดหมายฉบับนี้เจ้าพระยาพระคลังได้อ่านเสียแล้ว เพราะจดหมายได้ผ่านมาทางเจ้าพระยาพระคลังก่อนที่จะมาถึงมือข้าพเจ้า ๆ จึงได้ส่งจดหมายกลับไปยังเจ้าพระยาพระคลัง ขอให้นำความกราบทูลให้ พระเจ้ากรุงสยามทรงทราบเสียก่อน เจ้าพระยาพระคลังก็ได้นำความกราบทูลในวันนั้นเอง พระเจ้ากรุงสยามจึงได้มีพระราชโองการสั่งให้บาดหลวงได้ออกไปยังเมืองตะนาวศรีโดยทันที และให้บาดหลวงทำการช่วยเจ้าเมือง ตะนาวศรีทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ ในเรื่องนี้ข้าพเจ้ามีความร้อนใจมาก เพราะการที่จะส่งบาดหลวงไปเช่นนี้ต้องเปลืองโสหุ้ยมากและจะต้องจ่ายค่าอาหารในระหว่างที่บาดหลวงจะต้องอยู่ที่เมืองตะนาวศรีก็เปนเงินไม่ใช่น้อย เพราะเข้าและกับต่าง ๆ ในเมืองตะนาวศรีแพงอย่างที่สุด เพราะ ฉนั้นข้าพเจ้าจึงได้ไปยืมเงินจากเจ้าพระยาพระคลังเพื่อรองจ่ายในการที่

๓๖๕ บาดหลวงจะเดิรทางไปเมืองตะนาวศรี เจ้าพระยาพระคลังจึงตอบมาว่าตามธรรมเนียมของเมืองไทย ผู้ใดได้รับเกียรติยศที่จะทำราชการ ฉลองพระเดชพระคุณพระเจ้าแผ่นดินในเวลามีศึกสงครามนั้น ก็ต้องทำราชการนั้นโดยไม่ได้คิดเอาผลประโยชน์อย่างใด เพราะฉนั้นในเรื่องนี้เจ้าพระยาพระคลังจึงจะให้ข้าพเจ้ายืมเงินไม่ได้ เรื่องนี้ก็เปนอันต้องยุติกันเพียงนี้ แต่เพื่อบาดหลวงจะได้มีเงินเปนค่าโสหุ้ยเดิรทางนั้น จึงได้ตกลงกันโดยไม่เต็มใจอย่างยิ่งว่าจะต้องเอาเครื่องเงินเช่นไม้ยศ สังฆราช ชามอ่างเงิน ถ้วยเงิน ไม้กางเขนเงินและของอื่น ๆ มายุบ การที่ยุบเครื่องเงินเหล่านี้ก็ได้ทำให้เราเสียใจมากเพราะทั้งหมดก็ขายได้เงินเพียง ๒๕๐ เหรียญเท่านั้น เพราะฉนั้นเราจึงจำเปนต้องยืมเงินจากนายเรือชาติอังกฤษซึ่งได้มาจากเมืองเบงกอลเปนเงิน ๑๒๕๐ รูเปีย และเงินรายนี้สัญญาว่าเมื่อนายเรือได้ไปถึงฝั่ง แล้วจะได้ใช้ให้ ถ้ายังไม่ได้ใช้ให้ก็จะต้องคิดดอกเบี้ยให้ ๑๐๐ ละ ๑๐ หรือ ๑๒


เมืองภูเก็ต จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๑๕ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๗๑๘ (พ.ศ. ๒๒๖๑) เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ ท่านผู้ว่าราชการเมืองมนีลาได้แต่งทูตในนามของพระเจ้ากรุงสะเปน ให้มาเฝ้าพระเจ้ากรุงสยาม เพื่อมาจัดการค้าขายในระหว่างประเทศสยามและประเทศสะเปน พระเจ้ากรุงสยาม


๓๖๖ ได้ทรงรับราชทูตสะเปนและตกลงในเรื่องที่จะทำการค้าขายให้ติดต่อกันจึงได้พระราชทานที่ดินอันเหมาะสำหรับที่จะได้ตั้งห้างต่อไปท่านเจ้าเมืองมนิลา ท่านดอกเตอร์ฟรันซิซโกราโยกับคนอื่น ๆ อีกหลายคน ได้ขอ ให้ข้าพเจ้าช่วยให้การเรื่องนี้ได้เปนผลสำเร็จ ข้าพเจ้าจึงได้จัดการช่วย ทุกอย่างที่จะช่วยได้ และถึงแม้ว่าพวกฮอลันดาและอังกฤษได้คิด ขัดขวางต่าง ๆ นั้น การเรื่องนี้ก็ได้สำเร็จไปสมความปราถนาทุกประการ เพราะฉนั้นรองจากพระเปนเจ้าแล้ว พวกสะเปนจะต้องคิดถึงบุญคุณพวกเรามาก ในเรือของท่านราชทูตสะเปนลำ ๑ กับเรือที่ได้ตามราชทูตมาด้วยอีกลำ ๑ นั้น ได้มีบาดหลวงอาศัยมากับเรือ ๒ รูป ๆ ๑ เปนพวกคณะ ฟรังซิซแกงและเปนคนชาวชาติโปแลนด์ซึ่งเคยไปอยู่เมืองจีนหลายปี บาดหลวงคนนี้พูดภาษาจีนได้คล่องและเคยได้อยู่กับมองซิเออร์เดอลียอน และมองซิเออร์เมโกรปีหนึ่ง และการที่ได้จากท่านทั้งสองนี้ไป ก็เพราะสังฆราชดาโกลีได้มีคำสั่งให้ไปอยู่กับท่านสังฆราช บาดหลวงคนนี้ ยังมีความนับถือมองซิเออร์เดอลียอนและมองซิเออร์เมโกรมาก จนถึง กับยอมตัวเปนลูกศิษย์ของท่านทั้งสองนี้ เพราะฉนั้นจึงว่าตัวมีเรื่องติดต่อกับโรงเรียนซอบอน บาดหลวงคนนี้ได้ออกจากเมืองจีนเพื่อไปทำความเคารพต่อโป๊ป แล้วได้ไปอยู่ที่เมืองมานิลาเกือบ ๑๐ ปี โดยหวังว่าการทางเมืองจีนคงจะเรียบร้อยดีขึ้นกว่าเก่าครั้นหมดหวังที่จะกลับไปเมืองจีนแล้ว จึงได้เข้ามาทำงารในคณะบาดหลวงณกรุงสยาม ข้าพเจ้าจึงได้


๓๖๗ มอบหน้าที่ให้บาดหลวงผู้นี้ไปทำการที่เกาะภูเก็ตและเมืองใกล้เคียงตลอดจนถึงเมืองมริด บาดหลวงคนนี้ชื่อ ปลาซีด ดีโปโลเนีย อายุราว ๖๐ ปี บาดหลวงที่เดิรสานมาด้วยอีกคน ๑ นั้นเปนพวกคณะคาม ได้รับหน้าที่จากโป๊ปให้ไปทำการในประเทศโมโกล์ บาดหลวงคนนี้ชื่อ โยเซฟ เฟลิกซ์ อาซังตา มาเรีย เปนคนที่ฉลาดไหวพริบ และเปนคนมีนิสัยเรียนภาษาต่าง ๆ ได้ง่าย บาดหลวงคนนี้คงจะทำการในหน้าที่ให้เปนประโยชน์ได้มาก หากว่าความยากจนและความเดือดร้อนต่าง ๆ กระทำให้เขาเสียเวลาหลายปีที่จะต้องเดิรทางข้ามน้ำข้ามทะเล เพื่อไปขอทานสำหรับมาเลี้ยงชีพของตัวและของบาดหลวงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ด้วยกัน


จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๒๓ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๗๑๖ (พ.ศ. ๒๒๕๙) ขอท่านอย่าได้นึกเลยว่าในเมืองไทยไม่มีอะไรจะทำ จริงอยู่เวลานี้พระเปนเจ้าไม่ได้โปรดให้การในเมืองไทยได้สำเร็จดีเหมือนอย่างที่เมือง ตังเกี๋ยและเมืองญวน แต่ก็จริงอยู่เหมือนกันว่าในเมืองไทยขาด ความอุดหนุน เพราะฉนั้นต่อไปควรจะคิดอ่านแก้ไขในข้อนี้ บรรดาผู้ที่จะรู้จักพื้นบ้านเมืองนี้ ก็เห็นพร้อมกันว่า ถ้าได้มีบาดหลวงที่เมืองพิพลี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองกำแพง และเมืองพิษณุโลกแล้ว การที่ จะสอนสาสนาก็จะเจริญขึ้นมาก


๓๖๘ จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๒๖ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๗๐๔ (พ.ศ. ๒๒๔๗) จะต้องรับสารภาพว่าพวกไทยที่เปนผู้ใหญ่แล้วนั้น น้อยคนที่สุดที่จะเข้ารีด และในระหว่างที่รัฐบาลยังกวดขันอยู่เท่ากับที่เปนอยู่เดี๋ยวนี้แล้ว ก็ไม่ต้องนึกเลยว่าสาสนาของเราจะเจริญขึ้นได้ พวกไทยต้องทำการหนักมากจนเกือบจะไม่มีเวลาหายใจได้แล้ว พระเจ้ากรุงสยามพระองค์ใหม่ โปรดแต่ในการเพลิดเพลินพระทัยเพราะทรงไล่เนื้อ หรือทรงตกเบ็ดมิได้ขาดเลย หรือมิฉนั้นก็เสด็จประพาสตามหัวเมืองต่าง ๆ และบางทีข้าราชการทั้งหมดก็ต้องตามเสด็จไปด้วย เพราะฉนั้นพวกชาวบ้านต้องถูกเกณฑ์ไม่หยุดไม่หย่อนจึงต้องทำการหนักมาก การที่พระเจ้า แผ่นดินเสด็จประพาสให้เพลินพระทัยเช่นนี้ พวกราษฎรที่ถูกเกณฑ์ นั้นได้ล้มตายเปนอันมาก และพวกที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์นั้นก็ล้วนแต่เปน คนที่เจ็บป่วยหรือเปนบาดแผลซึ่งไม่รู้ว่าจะรักษาอย่างไร การที่มีคนเจ็บป่วยเช่นนี้เปนเวลาที่ยาและน้ำมันของเราต้องใช้มาก เพราะใครมาขอ เราก็ให้ทั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เคยเห็นบ่อย ๆ ตามหมู่บ้าน พอชาวบ้าน เห็นเรือของเราก็วิ่งมาเกรียวใหญ่ ทั้งผู้ชายผู้หญิงเด็กและคนแก่เพื่อ จะมาขอยา เพราะพวกชาวบ้านเรียกเรือของเราว่าเรือยา และยาที่ พวกชาวบ้านมาขอนั้น ก็เปนยาทุกชนิดสำหรับรักษาแผลบ้างรักษาความป่วยไข้ต่าง ๆ บ้าง พวกเราก็พยายามที่จะแจกยาให้ทั่วหน้ากัน และ คอยให้ยาให้ตรงกับโรค ค่าโสหุ้ยในการแจกยานี้เปนเงินมากไม่ใช่น้อย

๓๖๙ แต่ความจริงก็ไม่ควรจะบ่น เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงเมืองนี้ก็ได้มีความยินดี ที่ได้เห็นว่าระเบียบการที่มองเซนเยอร์เดอเมเตโลโปลิศได้จัดไว้นั้นคงได้ปฏิบัติกันต่อมาจนทุกวันนี้ ระเบียบนั้นก็คือ ไม่ให้คิดค่ายาและค่ารักษาแก่คนไทยเลย และในเวลาที่ข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นั้น ข้าพเจ้าก็จะพยายามไม่เปลี่ยนแปลงวิธีนี้เลยเพราะเปนการให้ทานที่ดีมาก ผลอย่างดีของการสาสนาเวลานี้ก็คือการที่ไปเที่ยวหาเด็กมารดน้ำมนต์ให้เข้ารีต เพราะได้ให้น้ำมนต์เด็กทุก ๆ ปี ๆ หนึ่ง ๘๐๐ คนบ้าง ๙๐๐ คนบ้าง บางปีก็ถึง ๑,๐๐๐ คน ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าเปนผู้ที่มีอายุมากก็จริง แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าเปนหน้าที่ที่จะต้องไปเที่ยวหาเด็กที่จวนจะตายมา รดน้ำมนต์ เพราะฉนั้นในอาทิตย์ ๑ ข้าพเจ้าต้องไปครั้ง ๑ เสมอเปนนิตย์ ในชั้นต้นข้าพเจ้าได้รับความลำบากมากเพราะมีผู้คัดค้านว่าการที่ข้าพเจ้าทำเช่นนี้เปนการเสียเกียรติยศของสังฆราช แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ยอมคงดื้อ ทำจงได้ มาบัดนี้ก็ได้รับแต่ความสรรเสริญของคนทั่วไป แต่ก็จริงอยู่ ถ้าพระเจ้าแผ่นดินประทับอยู่ในเมือง ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เข้าไปในเมืองเลย แต่ได้ไปตามตำบลและหมู่บ้านซึ่งไกลออกไปหนทางตั้งแต่สองหรือสามไมล์ และในเวลาไปเช่นนี้ก็ได้ไปอย่างนักพรตสามัญ ไม่ได้มีไม้ กางเขน หรือแหวน หรือเครื่องหมายตำแหน่งอย่างใดเลย ๔๗



๓๗๐ จดหมายมองเซนเยอร์ซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๑๙ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๗๐๖ (พ.ศ. ๒๒๔๙) เวลานี้ได้เกิดเหตุขึ้น คือ นักเรียนญวนของเราสองคนซึ่งเราได้ตั้งใจไว้ว่าจะให้ไปกับมองซิเออร์เฮิต ซึ่งจะลงเรือไทยไปยังเมืองญวนนั้น ได้ถูกจับไปใส่คุกเสียแล้ว การที่เปนดังนี้จะเปนด้วยเจ้าพระยาพระคลังไม่ได้กราบทูลว่าญวน ๒ คนนี้เปนนักเรียน หรือจะเปนด้วยในวันนั้น พระเจ้าแผ่นดินทรงกริ้ว หรือจะเปนด้วยเหตุที่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ นี้ไม่โปรดพวกฝรั่งเศสและไม่โปรดชาวต่างประเทศทั่วไป หรือจะเปน ด้วยเหตุประการใดก็ตาม แต่เมื่อมีผู้ได้กราบทูลถึงเรื่องจะมีญวน ๒ คน ไปกับมองซิเออร์เฮิตนั้น ก็ได้ทรงกริ้วมากและได้รับสั่งด่าสาสนา ของเราและโรงเรียนของเราเปนคำหยาบ ๆ หลายอย่าง ข้าพเจ้าจึงได้แจ้งความไปให้มองซิเออร์เดอตีโลโปลิศทราบ ถึงเรื่องที่ได้เกิดขึ้น และได้อธิบายถึงเหตุผลอันร้ายที่อาจจะเกิดจากเรื่องนี้ได้ เพื่อจะให้มองซิเออร์เดอตีโลโปลิศหมดนึกที่จะกลับมาเมืองนี้อีก เพราะมอง ซิเออร์เดอตีโลโปลิศไปเข้าใจเสียว่าทางที่จะไปเมืองญวนนั้นง่ายและสดวกกว่าไปทางเมืองจีน ซึ่งเปนข้อที่ข้าพเจ้าได้คัดค้านอยู่เสมอ และซึ่งมองซิเออร์เดอตีโลโปลิศจะได้เห็นด้วยตัวเองเมื่อไปถึงเมืองกวางตุ้งแล้ว แต่เพื่อจะป้องกันมิให้เสียใจได้ในภายหลังนั้น ข้าพเจ้าได้ยอมสละของแปลก ๆที่เปนของรักเพื่อเอาไปให้เจ้าพระยาพระคลังและข้าราชการอื่น ๆ ท่านเหล่านี้จะได้จัดการปล่อยนักเรียนของเราให้พ้นโทษ เพราะในเวลา ที่คนทั้งสองต้องติดคุกทั้งเสื้อยาวนั้นกระทำให้พวกเราละอายใจอยู่บ้าง

๓๗๑ แต่เจ้าพระยาพระคลังหรือข้าราชการคนใดก็ไม่กล้าที่จะกราบทูลพระเจ้า แผ่นดิน เพราะกลัวจะถูกกริ้วและกลัวว่าถ้ากราบทูลแล้ว บางที นักเรียนที่ติดคุกอยู่นั้น จะต้องรับอาญาหนักลงไปอีกก็จะเปนได้ ของ ต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้ให้นั้นไม่ได้ทำให้มีผลอย่างใดนอกจากป้องกันไม่ให้ นักโทษสองคนต้องถูกสักหน้าและได้รับอนุญาตให้ปลูกเรือนเล็ก ๆ ติด กับคุกสำหรับให้นักโทษสองคนนี้อยู่ต่างหากเพื่อจะได้มีโอกาศมาฟังสวด ในวันอาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์เท่านั้น มองซิเออร์ดอรังได้ส่งคันธนู อย่างงาม ๖ อัน กับลูกศรอย่างดี ๓๐ เล่ม จากเมืองตังเกี๋ย เพราะฉนั้น เรา จะได้เอาของเหล่านี้ไปให้แก่ข้าราชการอีก เพื่อพยายามเอานักเรียนของเราสองคนให้พ้นโทษให้จงได้ ถ้าการนี้สำเร็จตามปราถนาเราก็จะได้ขอบพระคุณพระเยซูเจ้า ถ้าไม่สำเร็จแล้วญวนสองคนนี้ก็จะต้องเปนทาสและเปนนักโทษตลอดชีวิต หรือจะต้องเปนนักโทษจนกว่าพระเจ้าแผ่นดินจะสวรรคต ในระหว่างนั้นเราก็จะต้องเลี้ยงดูตลอดไป และบางครั้งบางคราวก็จะต้องให้เงินแก่ผู้คุมเพื่อผู้คุมจะได้ผันผ่อนบ้าง การที่จะต้องจ่ายเงินเช่นนี้ ถึงเราจะไม่บ่นก็จริง แต่เปนการที่ต้องเพิ่มราย จ่ายขึ้น และในเวลาที่เราอัดคัดอยู่เช่นนี้ จึงเปนการไม่เหมาะเลย นอกจากที่ นักเรียนของเราสองคนต้องรับความทุกขเวทนาเช่นนี้ก็ยัง เปนการติดขัดที่มองซิเออร์เฮิตยังไปเมืองญวนไม่ได้ และถึงจะได้มีโอกาศ ที่จะให้ไป ได้หลายครั้งก็จริง แต่เราก็ยังไม่กล้าที่จะให้ไปในเวลานี้ มีขุนนางอยู่ คนหนึ่งซึ่งเปนคนฉลาดกว่าขุนนางทั้งปวง ชื่อออกญาพิพัฒ และเปนคนที่ชอบพวกเรามากกว่าคนอื่น ได้บอกกับเราว่าในเวลานี้ถ้าขืนคิดจะให้มองซิเออร์เฮิตไปเมืองญวนแล้ว จะเปนการไม่เหมาะอย่างยิ่ง


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก