ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๙ หมวด ค
ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙
เรื่อง จดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ
กับ ครั้งกรุงธนบุรีแลกรุงรัตนโกสินทรตอนต้น ภาคที่ ๖
มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าธำรงศิริ
พิมพ์ในการบำเพ็ญกุศล อายุครบ ๕๐ ปี
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศรีหงส์
หมวด ค
- ว่าด้วยพม่าตีค่ายพวกเข้ารีดและค่ายจีน หน้า ๔๕
- ว่าด้วยมองเซนเยอร์บรีโกต์ยอมให้พม่าจับ " ๔๖
- ว่าด้วยเสียพระนครศรีอยุธยา " ๔๙
- ว่าด้วยบาญชีจำนวนสิ่งของที่ฝังไว้ ในบริเวณบ้านบาดหลวงที่กรุงศรีอยุธยา " ๕๐
- จดหมายมองซิเออร์อาโตด์ ว่าด้วยพวกมิชชันนารี หนีพม่าไปทางเมืองจันทบุรี " ๕๒
- จดหมายมองซิเออร์คอร์ ว่าด้วยเจ้าศรีสังข์ หนีไปอยู่เขมร " ๕๕
- ว่าด้วยเจ้าตากคิดตั้งตัวเปนใหญ่ " ๕๖
- ว่าด้วยเจ้าตากคิดจะจับเจ้าศรีสังข์ " ๕๖
- จดหมายมองซิเออร์อาโตด์ ว่าด้วยเจ้าตาก ขอให้เจ้าเมืองคันเคา จับเจ้าศรีสังข์ " ๕๘
- ว่าด้วยญวนคิดจะให้มองซิเออร์ ไปเมืองเขมร (ไปเกลี้ยกล่อมเจ้าศรีสังข์) " ๖๑
- ว่าด้วยข้อสัญญาของ มองซิเออร์อาโตด์ ที่จะไปเมืองเขมร " ๖๓
- ว่าด้วยมองซิเออร์อาโตด์ไปเมืองเขมร " ๖๖
- จดหมาย มองซิเออร์มอวัน ว่าด้วยเจ้าเมืองคันเคา รบกับ เจ้าตาก " ๖๗
ค
ว่าด้วยพม่าตีค่ายพวกเข้ารีดและค่ายจีน
ฝ่ายพวกเข้ารีดในค่ายปอตุเกตได้ไปสมทบกับพวกจีน ครั้นพวกพม่าเห็นว่าพวกจีนในค่ายฮอลันดาต่อสู้อย่างสามารถนัก จึงได้เลยยกไปตีที่วัดซึ่งมีจีนเข้าไปอาศรัยอยู่ ๒๐๐๐ คน แล้วพวกพม่า ก็ตัดทางมิให้พวกจีนในวัดนี้และพวกจีนในค่ายฮอลันดาไปมาถึงกัน ได้ โดยประสงค์จะล้อมไว้ เมื่อจีนคนใดออกจากวัดไปเพื่อหาอาหาร รับประทาน พวกพม่าก็จับฆ่าเสียทุกคน แล้วพวกข้าศึกได้เข้า ไปตีพวกจีนแตกหนีออกจากวัด จึงได้ยกกองไปตีวัดอีกวัด ๑ ซึ่งอยู่ใกล้กับค่ายปอตุเกตระยะห่างเพียงหนทางปืนเล็กเท่านั้น ในขณะ นั้นมีสามเณรคณะเยซวิตชาติปอตุเกตคน ๑ มีความกลัวและหิวด้วย จึงได้หนีไปหาสังฆราช เพื่อไปหาอาหารรับประทานพวกบาดหลวงได้รับไว้และได้ให้อาหารรับประทานซึ่งทำให้สามเณรคนนี้สบายขึ้นมาก
ภายหลังพม่าได้ตีป้อมซึ่งอยู่นอกพระนครจากไทยได้ และได้เอาไฟไปเผาห้างฮอลันดา พม่าล้อมกรุงอยู่รวม ๘ วัน ครั้น วันที่ ๒๑ เดือนมีนาคมพม่าได้ยกไปตีค่ายปอตุเกต บาดหลวงคณะ ดอมินีแกงคน ๑ กับบาดหลวง คณะเยซวิตคน ๑ ซึ่งอยู่ในค่ายนั้นก็ยอมให้ข้าศึกจับโดยดี ข้าศึกได้งดรอไม่เผาวัดอยู่ ๒ วัน เพื่อเปนการล่อให้สังฆราชกับพวกเข้ารีดไปเข้าหาข้าศึก แต่ที่จริงท่าน-
(หน้า ๔๖)
-สังฆราชจะทำอย่างใดได้ ทหารก็ไม่มีป้อมก็ไม่มี ข้าศึกก็มีคน ถึง ๕๐๐๐ และได้มาล้อมโรงเรียนอยู่แล้ว
.........
มองเซนเยอร์บรีโกต์ ยอมให้พม่าจับ
การปล้นของ
แต่ข้างพวกพม่าก็ไม่อยากจะให้ผู้คนล้มตายโดยใช่เหตุ แม่ ทัพพม่าจึงได้ให้บาดหลวงปอตุเกตมีจดหมายถึงสังฆราชบอกว่า ถ้าสังฆราชยอมให้ข้าศึกจับไปโดยดีแล้ว ข้าศึกจะไม่ทำอันตรายต่อ วัดหรือโรงเรียนหรือเข้าของทรัพย์สมบัติของบาดหลวงเลย ท่านสังฆราชจึงได้จัดให้คนเข้ารีดคน ๑ ออกไปเจรจากับข้าศึก แม่ทัพพม่าจึงได้ยึดตัวคนเข้ารีดคนนี้ไว้ เพราะต้องการให้สังฆราชไปด้วยตัวเอง แม่ทัพได้ต้อนรับท่านสังฆราชอย่างดี และคงยืนคำว่าจะไม่ทำ อันตรายต่อวัดและโรงเรียน แต่การที่สัญญาเช่นนี้ก็พูดกันด้วยปาก หาได้เขียนเปนลายลักษณอักษรไว้ไม่ แล้วแม่ทัพพม่าจึงได้บอกว่า ในเวลากลางคืนแม่ทัพจะได้ให้เอาไฟไปเผาค่ายพวกเข้ารีดให้หมด เพราะฉนั้นให้พวกเข้ารีดไปอาศรัยอยู่ในโบสถ์หรือที่โรงเรียน ส่วน ตัวสังฆราชนั้นแม่ทัพพม่าบังคับให้เข้าไปอยู่ในวัดไทยแห่ง ๑ เมื่อการเปนดังนี้ก็จำต้องยอมจะทำอะไรไม่ได้ ครั้นเมื่อวันที่ ๒๓ เดือนมีนาคม เมื่อรับประทานอาหารค่ำแล้ว พวกพม่าได้เอาไฟไปเผาค่านพวก
(หน้า ๔๗)
เข้ารีดอย่างว่า แต่ไฟได้ลุกลามไปไหม้เอาวัดเข้ารีดด้วย และวัดนั้นทั้งเครื่องประดับและของต่าง ๆ ได้ไหม้ไฟไปสิ้น
แล้วแม่ทัพพม่าจึงได้เข้าไปปล้นเก็บของในโรงเรียนหมด ซึ่งเปนการที่ผิดจากคำที่ได้สัญญาไว้ พม่าจึงได้จับพวกบาดหลวง พวกนักเรียนและพวกเข้ารีดไปยังค่ายและได้เก็บเข้าของทรัพย์สมบัติของพวกนี้ทั้งหมด
มีเจ้าองค์ ๑ ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าอังวะองค์เก่าเปนหัวหน้าอยู่ในตำบลนี้ เคยเปนผู้ส่งเข้าสารและเนื้อโค มาให้บาดหลวงและพวกเข้ารีด ครั้นมาในบัดนี้เจ้าองค์นี้ก็ได้ให้ คนของตัวควบคุมพวกบาดหลวงและพวกเข้ารีด
เพื่อระวังไม่ให้พวกนี้หนีได้ ฝ่ายพวกพม่าก็สงสัยว่า ท่านสังฆราชคงจะส้อนเข้าของ เงินทองไว้เปนแน่ แต่ถึงพม่าจะถามเท่าไร ๆ ท่านสังฆราชก็หาบอกไม่ เพราะฉนั้นพวกพม่าจึงได้ เนรเทศท่านสังฆราชไปอยู่ที่อื่น
คือ ที่หอคอยสูงใกล้กับตัวแม่ทัพ ไม่ช้าเท่าไหร่นัก บาดหลวงคณะเยซวิต ก็ตามไปอยุ่กับท่านสังฆราชด้วย
เมื่อคืนวันที่ ๗ - ๘ เดือนเมษายน พม่าข้าศึกได้ตีกรุงแตก และเอาไฟเผากรุงเสียด้วย เมื่อกรุงแตกแล้ว มองซิเออร์ คอร์ มิชชันนารีฝรั่งเศส ซึ่งได้อาศรัยอยู่ที่เตนท์ พร้อมกับพวกเข้ารีดนั้น จึงได้ไปเยี่ยมท่านสังฆราชได้
..............
บางกอกวันที่ ๑ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๗๖๙ (พ.ศ. ๒๓๑๒)
พวกพม่าได้ยกทัพมาตั้งอยู่ข้างบ้านมหาพราหมณ์ และได้ยก-
(หน้า ๔๘)
-จากค่ายมหาพราหมณ์ ออกโจมตีไทยอยู่เสมอ ๆ แต่พม่าทำการได้ตามชอบใจเพราะไม่มีใครออกมาต่อสู้เลย แต่เพื่อจะกันมิให้ราษฏรพลเมืองไว้ว่า พวกไทยจึงได้ยกออกต่อสู้ข้าศึกบ้างเปนครั้งเปนคราว
แต่การต่อสู้นี้ก็ทำกันโดยอย่างเสียไม่ได้ เพราะเมื่อไทยออกต่อสู้พม่าคราวใด ก็สำหรับส่งอาวุธให้แก่ข้าศึกเท่านั้น
ไทยกับพม่า ไม่ได้รบกันประชันหน้า จนครั้งเดียว ฝ่ายพวกพม่าก็เห็นว่า ไทยไม่สู้จึงจัดการล้อมพระนครไว้ และเอาวัดต่าง ๆ ซึ่งอยู่รอบ พระนครเปนที่ตั้งมั่น
ส่วนพวกจีนนั้นก็ได้เตรียมการต่อสู้อยู่ในห้างฮอลันดา พวกพม่าจึงได้ไปตีค่ายพวกจีน ๑๘ วัน ๑๘ คืน พวกจีนชื่อ เฮียนเสือ (Hien Su) ถูกกระสุนปืนที่ศีร์ษะ พวกพม่าจึงตีพวกจีนแตกหนีไปและได้เอาไฟเผาห้างฮอลันดาจนหมดเหลือแต่กำแพง เท่านั้น
มีเสียงลือกันว่า การที่จีนแพ้พม่า โดยหัวหน้าถูกยิงนั้น เปนด้วยเกิดใส้ศึกในค่ายจีน แต่ข้อนี้จะจริงเท็จประการใด ข้าพเจ้า หาทราบไม่
ที่ วัดแซงโดมีนี ก็ถูกเพลิงไหม้เหมือนกัน แต่ วัดเซนปอล ได้รอดไปหาถูกเพลิงไหม้ไม่ แต่เข้าของในวัดนั้นหมดไม่มีเหลือ
ด้วยพวกจีนและไทย ได้เข้าไปลักของ จนที่สุดไม้เครื่องบนหลังคาก็เก็บเอาไปด้วย
(หน้า ๔๙)
ว่าด้วยเสียพระนครศรีอยุธยา
วัดและโรงเรียนสามเณรของเราก็ถูกไฟไหม้เหมือนกัน แต่ ไหม้คนละคราว พวกเข้ารีดที่วัดเซนต์ปอลได้ถูกจับเปนเชลยไป หมด ข้าศึกได้จับข้าพเจ้าและมองเซนเยอร์ตาบรากากับพวกเข้ารีด ไปไว้ยังวัดท่าใหม่ (Vat Thamai) พม่าได้เที่ยวเอาไฟเผาบ้านเรือน ทุบต่อยเข้าของและฆ่าผู้ฟันคนทั่วไปหมด เมื่อพม่าจับโรงเรียนสามเณรได้สัก ๘ วัน ก็ตีกรุงแตก พม่าได้เข้าไปในพระนคร
ได้ทราบมาเปนการแน่ว่า พระศรีสุราย ( Phra Si Surai) น้องภรรยาของพระเจ้าแผ่นดิน ได้สมรู้ร่วมคิดกับพวกข้าศึกด้วย แต่การที่คิด การเช่นนี้จะประสงค์อะไรก็ตาม แต่ฏ้หาได้สำเร็จตามความปรารถนาไม่ เพราะต้องถูกจำตรวนพร้อมด้วยเจ้าพระยาพระคลังและขุนนางอื่น ๆ ด้วย
ฝ่ายพระเจ้ากรุงสยามซึ่งเปนพระโรคเรื้อนนั้นก็หนีข้าศึกไป และไปสวรรคตที่โพธิ์สามต้น เมื่อพม่าได้ยกกลับไปแล้ว
เมื่อพม่าเข้ากรุงได้แล้วนั้น พม่าได้เอาไฟเผาบ้านเรือนทำลายเข้าของ อยู่ ๑๕ วัน และได้ฆ่าผู้ฟันตนไม่เลือกว่าคนมีเงินหรือไม่ มีเงินก็ฆ่าเสียสิ้น
แต่พวกพม่าก็พยายามฆ่าพวกพระสงฆ์มากกว่า และได้ฆ่าเสียนับจำนวนไม่ถ้วน ข้าพเจ้าเองได้เห็นพม่าฆ่าพระสงฆ์ ในตอนเช้าวันเดียวเท่านั้นกว่า ๒๐ องค์
เมื่อพม่าได้เผาบ้านเรือนในพระนครตลอดจนพระราชวังและวัดวาอารามหมดสิ้นแล้ว พวกพม่าจึงเตรียมการที่จะยกทัพกลับไป
พวก -
๗
(หน้า ๕๐)
-พม่าได้ยกทัพออกจากกรุงเมื่อวันที่ ๑๕ เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๗๖๗ ( พ.ศ. ๒๓๑๐)
บาดหลวงแบนาดีโนได้ตกน้ำตายใต้บางกอก บาดหลวงเยซวิต ได้ตายที่ข้างช้าง บาดหลวงอีซีดอร์ ได้หนีไปที่เมืองคันเคา ซาอานา ซิโอกับภรรยา ถูกพม่าเก็บทรัพย์สมบัติจนหมดตัว ลงปลายที่สุด ก็อดอาหารตาย
ส่วนตัวข้าพเจ้านั้น ได้หนีไปบางกอกพร้อมด้วย พวกเข้ารีด ๓๐๐ คน แล้วได้ลงเรือจีนไปยังเมืองคันเคาต่อไป
บาญชีและจำนวนของที่ได้ฝังไว้ ในบริเวณบ้านบาดหลวงที่กรุงศรีอยุธยา
ก่อนพม่าเข้ามาและซึ่งภายหลังหาไม่พบ มองซิเออร์คอร์เปนผู้จด
ค.ศ. ๑๗๗๔ ( พ.ศ. ๒๓๑๗)
๑ ฝังไว้ในห้องเก็บน้ำมันซึ่งอยู่ใกล้กับห้องของโกลดีโอ
ไม้ยศของสังฆราช กับของต่าง ๆ ของคณะบาดหลวงแต่จะเปนของอะไรบ้าง สังฆราชาได้บอกข้าพเจ้าไม่
สมุดจดเรื่องต่าง ๆ เล่ม ๑ น้ำมันที่เสกแล้วหีบ ๑ กับของ อื่น ๆ อีก
(หน้า ๕๑)
หีบเก็บเงินใบใหญ่ทาสีขาวหีบ ๑ มีเงินในนั้น ๖ ถึง ๗ ชั่ง เปนเงินของ โซาตาซา
เงิน ๑๐ ตำลึงหรือ๑ ชั่ง เท่าไรแน่ข้าพเจ้าไม่ทราบ เปนเงินของมาแตงเล็ก
เงิน ๑๐ ตำลึง ของไครอตภรรยาตาฉิม
เงิน ๑ หรือ ๒ ชั่ง ใส่ไว้ในหีบดำเปนเงินของ โบ
๒. ฝังไว้ที่ประตูสวนใกล้กับห้องนักเรียน
คือ เสื้อผ้าของ นางอันโตนีอากับหลุยลาเลอมัน
๓. ฝังไว้ข้างโบสถ์ใกล้กับหอระฆัง
ซึ่งนักเรียนเคยไว้โอ่งน้ำ เงิน ๑ ชั่ง ของนางอันโตนีอา
๔. ฝังไว้ในห้องน้ำมันซึ่งกล่าวมาแล้ว และในที่เดียวกันกับเงินของพวกเข้ารีด
มีเครื่องแต่งตัวเปนของรูปพรรณ ของยังคาน และบุตรหญิง ชื่อ บีบีนาอา
ที่บันไดเล็กบ้านบาดหลวงห่าง ๘ หรือ ๑๐ ก้าว ไปข้างด้านที่บูชา ได้เอาเครื่องเงินของ คณะบาดหลวงฝังไว้ลึก ๕ หรือ ๖ ฟิต และมีเงินเหรียญประมาณ ๖๐ เหรียญ ซึ่งมองเซนเยอร์เดอตาบรากา ได้ฝังไว้ด้วย
................
(หน้า ๕๒)
จดหมายมองซิเออร์อาโตด์ ว่าด้วยพวกมิชชันนารีหนีพม่า ไปทางเมืองจันทบุรี
จดหมายมองซิเออร์อาโตด์ ถึง ผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
วันที่ ๑๔ เดือนมกราคม ค.ศ. ๑๗๖๖ ( พ.ศ. ๒๓๐๘)
กองทัพพม่าได้ไปยึดหมู่บ้านไว้ได้หลายแห่ง จึงได้ตั้งค่าย มั่นไว้ในที่แห่ง ๑ แล้วก็ออกเที่ยวปล้นสดมภ์ทำร้ายต่าง ๆ ทั่วไป หมด จนใกล้เข้ามาเกือบถึงโรงเรียนหนทางอีกครึ่งวันก็จะถึงอยู่แล้วเพราะฉนั้นจึงเปนการจำเปนที่จะต้องพาพวกนักเรียนไปเสียให้พ้นมือข้าศึก ข้าพเจ้ากับพวกมองซิเออร์แคแฮเวได้ต่างคนรับอาสาจะอยู่แต่ต่างคนไม่ยอมจึงตกลงพาพวกนักเรียนไปพร้อมกันทั้ง ๒ คน การที่ล่องลง ไปถึงสันดอนนั้นล้วนมีแต่อันตรายรอบตัว และเมื่อไปถึงสันดอน แล้วก็กลับมีอันตรายทวีมากขึ้นอีก แต่ด้วยความช้วยเหลือพระ เยซูและความฉลาดไหวพริบของมองซิเออร์ แคแฮเว จึงได้ลงเรือต่อไปได้ การเดิรทางนั้นก็ไม่ช้าเท่าไร แต่น่ากลัวอันตรายมาก เพราะตั้งแต่ไหน ๆ มาไม่เคยมีพวกโจรสลัดซึ่งเปนพวกแขกมาลายู และพวกญวน มาอยู่ในอ่าวสยามมากเหมือนครั้งนี้เลย เมื่อเรา ได้ออกจากกรุงศรีอยุธยาได้สองวัน พวกข้าศึกก็ไปยึดบางกอก ไว้ได้ แล้วจึงล่องกลับมาที่สันดอนเผาบ้านซึ่งเราพักอาศรัยอยู่ใน วันก่อน พวกพม่าได้ฆ่าคนไทยตายเปนอันมากซึ่งผิดธรรมเนียมที่ พม่าเคยทำมา แต่ที่ฆ่าครั้งนี้ก็เห็นจะเปนเพราะพม่าแค้นที่ไทยได้ ต่อสู้ที่บางกอก แต่ความจริงการที่ไทยต่อสู้พม่าที่บางกอกก็ประ-
(หน้า ๕๓)
-เดี๋ยวเดียวเท่านั้น ดูเหมือนไม่ถึงครึ่งชั่วโมงไทยก็หนีพม่าไป ท่าน คงจะเห็นตามที่กล่าวเล่ามานี้ว่าความกล้าหาญของไทยจะมีสักเพียงใดข้าพเจ้าเชื่อว่าทั้งโลกเห็นจะไม่มีประเทศไหน ที่จะทำสงครามไม่เปนเหมือนกับประเทศสยามนี้เลย
ครั้นพวกข้าพเจ้าได้ไปถึงเมืองจันทบุรี ก็พเอิญเปนเวลาระดู ที่กำลังเก็บเกี่ยวเข้า ข้าพเจ้าจึงได้ซื้อเข้ามาเก็บไว้เพราะเชื่อว่าจะ อยู่ในเมืองจันทบุรีจนกว่าจะเลิกสงคราม ฝ่ายพม่าข้าศึกก็รุก ใกล้เข้ามาทุกที และโจรผู้ร้ายในเมืองจันทบุรีก็ชุกชุมมากขึ้นกว่า เดิมหลายเท่า เพราะพวกในเวลานั้นพวกผู้ร้ายหมดกลัวด้วยบ้านเมืองกำลังระส่ำระสายข้าพเจ้าเห็นว่าจะอยู่ไม่ได้แล้ว จึงได้ยกออกจาก เมืองจันทบุรีเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน และได้ให้เข้าของกับบาดหลวงยากซ์ เพื่อตอบแทนในการที่บาดหลวงคนนี้ต้องเปลืองโสหุ้ยในเวลาที่เราพักอยู่ในเมืองนั้น การเดิรทางคราวนี้เปนที่เรียบร้อยไม่มี เหตุการณ์อย่างใด และเมื่อต้นเดือนธันวาคมเราก็ได้ไปถึงเมือง คันเคา เมื่อเวลาเราจะออกจากกรุงศรีอยุธยานั้น มองเซนเยอร์ ดอตาบรากาได้มอบเงินให้เราไว้ ๒ - ๓ ชั่งเท่านั้น เพราะฉนั้นเมื่อ เราได้ไปถึงเมืองคันเคาเงินจึงหมดไม่มีจะใช้แล้ว เมื่อวานนี้ข้าพเจ้า ได้รับจดหมายจากมองเซนเยอร์เดอคานาธ(๑) บอกมาว่าได้ส่งเงิน-
.............
(๑) คือมองเซนเยอร์ ปีกูเอล (Piguel)
(หน้า ๕๔)
-มาให้ข้าพเจ้า ๕๐ เหรียญ พอได้เลี้ยงชีพไปได้พลาง เพราะเรา จะต้องอยู่ที่เมืองนี้ตลอดไปจนกว่าสงครามทางกรุงศรีอยุธยาจะได้สงบ ข้าพเจ้ามองไม่เห็นว่าจะยืมเงินจากใครได้บ้างและถึงจะยืมได้ ก็คง จะต้องเสียดอกเบี้ยแพงเปนแน่
..................
(หน้า ๕๕)
จดหมายมองซิเออร์คอร์ ว่าด้วยเจ้าศรีสังข์หนีไปอยู่ เขมร
เจ้าไทย พระดำริห์ของเจ้าไทย จะร้องไป ยังประเทศฝรั่งเศส
จดหมายมองซิเออร์คอร์ ถึง มองซิเออร์ดารากอง
เมืองเขมร
วันที่ ๓ เดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๗๖๘ (พ.ศ.๒๓๑๑)
เมื่อวันที่ ๑๙ เดือนธันวาคมปีกลายนี้ ได้มีเจ้าไทยองค์ ๑ ทรงพระนามว่าเจ้าศรีสังข์(๑) ได้เสด็จมายังเมืองเขมร เจ้าศรีสังข์ องค์นี้เปนพระราชโอรสของพระมหาอุปราชทรงพระนามว่าวัง (Vang) ซึ่งถูกพระอนุชาและพระเชษฐาปลงพระชนม์เสียก่อน
ข้าพเจ้าได้-
....................
(๑) เจ้าศรีสังข์องค์นี้เปนพระราชบุตรของเจ้าองค์ที่เรียกกันในเมืองไทยและในประเทศ ยุโรปว่าพระมหาอุปราช (Grand Prince) พระมหาอุปราชองค์นี้เองซึ่งทรงอุดหนุนเอื้อ เฟื้อแก่พวกเข้ารีดและทรงนับถือชาวยุโรปนัก ในเวลานั้นได้มีคนหวังกันว่าเมื่อพระราชบิดา ซึ่งทรงพระชราและทรงพระประชวรจวนจะสวรรคตอยู่แล้ว เมื่อเสด็จสวรรคตเมื่อใด พระ มหาอุปราชคงจะได้ขึ้นครองราชสมบัติแทนพระบิดา และคงจะได้เข้ารีดนับถือ ศาสนาคริศเตียนและคงจะทรงทำให้ใต้ฟ้าข้าแผ่นดินได้นับถือพระเปนเจ้าที่จริงแท้ทั่วกัน หมด แต่การที่หวังกันดังนี้หาได้สำเร็จตามหวังไม่ เพราะพระมหาอุปราชองค์นี้ถูกปลง พระชนม์เกือบได้พระเนตร์พระราชบิดา เมื่อพระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์แล้วไม่กี่วัน สมเด็จพระราชบิดาก็เสด็จสวรรคตเหมือนกัน พระโอรสของพระมหาอุปราช คือเจ้าศรีสังข์ นั้น พระเจ้ากรุงสยามผู้เปนพระอาว์ได้เอาไปเลี้ยงไว้ในหระราชวัง ครั้นพระม่าเข้ามา ตีกรุงศรีอยุธยา เจ้าศรีสังข์กับพระอนุชาได้เล็ดลอดหนีพม่าไปได้ (คัดจากจดหมายของ ซิเออร์ อาโตด์)
(หน้า ๕๖)
-ไปถึงกรงศรีอยุธยาสักสองสามปี ในเรื่องพระมหาอุปราชองค์นี้ ท่านก็คงได้ยินออกพระนามอยู่บ่อย ๆ แล้ว เพราะทรงปกครอง ควบคุมพวกเข้ารีดและตั้งพระทัยที่จะช่วยการสาสนาด้วย ฝ่ายเจ้า ศรีสังข์มีพระชนม์เพียง ๒๒ ปี ทรงพระปรีชาสามารถได้เสด็จมา หาพวกเราเพื่อปรึกษาถึงการทรงดำริห์ว่าจะเสด็จไปยังประเทศยุโรป ในเมื่อพม่าเข้าไปตีกรุงนั้น เจ้าศรีสังข์ได้เสด็จเล็ดลอดหนีข้าศึกไปได้ จึงได้เสด็จด้นดั้นอยู่ตามป่าประมาณ ๓ เดือน ครั้นพวกพม่ายกกลับไปแล้ว เจ้าศรีสังข์จึงเสด็จกลับไปยังบางกอก แล้วจากบางกอก แล้วเสด็จไปยังบางปลาสร้อย
ว่าด้วยเจ้าตากคิดตั้งตัวเปนใหญ่
ว่าด้วยเจ้าตากคิดจะจับเจ้าศรีสังข์
ในเวลานั้นพระยาตากซึ่งเปนชาติจีน ครึ่ง ๑ นั้น กำลังดำริห์จะเอาราชสมบัติ ได้ทราบว่ามีเจ้าเชื้อ พระราชวงศ์เสด็จไปที่บางปลาสร้อย จึงได้จัดเรือให้ออกไปจับเจ้า ศรีสังข์มายังเมืองจันทบุรี ยังมีคนเข้ารีดของเราคน ๑ ได้เข้า ไปเปนพรรคพวกของเจ้าศรีสังข์ เพราะเห็นว่าเจ้าองค์นี้มีอัธยาศรัยอันดี คือพระทัยกว้างขวาง ทรงพระปรีชาเฉียบแหลมเกินกว่าอายุและยิ่ง กว่าคนไทยทั้งปวง ทั้งโปรดปรานพวกเข้ารีดและนับถือพวกฝรั่งเศส จึงมีพระประสงค์นักที่จะได้ไปเห็นของอันน่าพิศวง ซึ่งได้กล่าวไว้ใน จดหมายเหตุของราชทูตครั้งร้อยปีรอบที่ ๑๗ คนเข้ารีดคนนี้จึงได้ทูลเจ้าศรีสังข์ว่าเราจะได้ช่วยทุกอย่างให้การที่ทรงพระดำริห์ไว้นั้นได้เปนการสำเร็จ เพราะการที่คิดจะเสด็จไปประเทศยุโรปนั้นเปนสิ่งที่เราเห็นชอบด้วย เมื่อเจ้าศรีสังข์ได้ฟังดังนี้จึงได้เสด็จลงเรือลำเล็ก
หนทาง -
(หน้า ๕๗)
-ที่จะเสด็จใกล้จริงแต่น่ากลัวอันตรายมาก เพราะมีพวกโจรสลัดทั้ง ญวนและแขกมลายู ได้ไล่จับเรือเจ้าศรีสังข์ คลื่นก็ใหญ่มาก แต่ลง ท้ายที่สุดเจ้าศรีสังข์ได้เสด็จถึงเมืองฮอนดัตโดยเรียบร้อย เพราะ เจ้าศรีสังข์เข้าพระทัยว่าจะได้พบกับข้าพเจ้าในเมืองนั้น
ฝ่ายมอง ซิเออร์อาโตด์รู้จักนิสัยเจ้าเมืองคันเคา จึงไม่ยอมพบกับเจ้าศรีสังข์ เลย และได้บอกกับคนเข้ารีดคนนั้นให้ทูลเชิญให้เสด็จไปยังเมือง เขมร เพราะข้าพเจ้าอยู่ที่เมืองนั้นแล้ว เจ้าศรีสังข์จึงมิได้เสด็จขึ้นบก แต่ได้ออกเรือเลยขึ้นไปตามลำน้ำ อีกไม่เท่าไรวันก็ได้เสด็จไปถึง เมืองพราหมณ์ใบชม (Prambleichom) มองเซนเยอร์เดอคานาธได้ รับรองเจ้าศรีสังข์อย่างดี รุ่งขึ้นมองเซนเยอร์เดอคานาธได้ไปทูล พระเจ้ากรุงเขมรเรื่องเจ้าศรีสังข์เสด็จมา พระเจ้ากรุงเขมรได้ทรง ทราบก็ทรงยินดีเปนอันมาก พระเจ้ากรุงเขมรรับสั่งให้มาถามว่า เจ้าศรีสังข์องค์นี้เปนเจ้าที่เปนเชื้อพระราชวงศ์โดยตรงหรือไม่ใช่ ใน เรื่องนี้ได้โต้ตอบกันไปมาหลายเที่ยว จนที่สุดพระเจ้ากรุงเขมรได้เสด็จออกรับเจ้าศรีสังข์โดยให้เกียรติยศเต็มที่ แล้วพระเจ้ากรุงเขมรได้มี รังสั่งให้สร้างวังให้แก่เจ้าศรีสังข์ทำด้วยไม้ไผ่ เจ้าศรีสังข์ได้ไป ประทับในวังนี้โดยไม่สู้เต็มพระทัยเท่าไรนัก และได้อยู่กับพระเจ้า กรุงเขมรจนพระเจ้ากรุงเขมรโปรดปรานมาก เจ้าศรีสังข์จึงวิตกว่า จะเสด็จออกจากเมืองเขมรไม่ได้เสียแล้ว
๘
(หน้า ๕๘)
ในเวลาที่พวกบาดหลวงในเมืองเขมรหวังใจกันว่าในไม่ช้าคณะบาดหลวงอันได้ล้มไปแล้วคงจะตั้งขึ้นได้อีก และสรรเสริญพระเยซูที่ ได้ให้การร้ายกลายเปนดีนั้น
ที่เมืองคันเคาได้เกิดเรื่องขึ้นซึ่งตรงกัน ข้ามกับเมืองเขมร ด้วยเจ้าเมืองคันเคาเกิดริษยาขึ้นในการที่เขมร ได้รับรองเจ้าไทย และเคืองว่าเจ้าไทยได้ผ่านบ้านเมืองของตัวโดย ตัวหาได้รู้เรื่องไม่ จึงได้คิดอ่านจะจัดการให้เจ้าศรีสังข์กลับมายัง เมืองคันเคาให้จงได้ แต่วิธีที่เจ้าเมืองคิดจะให้เจ้าศรีสังข์กลับมานั้น ทางยุติธรรมตามความเห็นของเจ้าเมือง ก็คือเอาบาดหลวงที่อยู่ที่ โรงเรียน กับมองซิเออร์ยากซ์ บาดหลวงชาติจีนขังคุกเสีย
จดหมายมองซิเออร์อาโตด์ ว่าด้วยเจ้าตากขอให้เจ้าเมือง คันเคาจับเจ้าศรีสังข์
จดหมายมองซิเออร์อาโตด์
ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
เมื่อปี ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ. ๒๓๑๐) เจ้าศรีสังข์ (Chau Si Sang) ซึ่งหนีมาจากเมืองไทยนั้น ได้ผ่านมาทางเมืองฮอนดัต เพื่อจะมา พบกับบาดหลวงที่ประจำโรงเรียน คือมองซิเออร์ปินโย กับมองซิเออร์อาโตด์ แต่บาดหลวงทั้งสองเกรงว่าจะมีเรื่องขึ้นจึงไม่ยอมพบกับเจ้า ศรีสังข์ ๆ จึงได้เลยไปเฝ้าเจ้ากรุงเขมร และเจ้ากรุงเขมรได้จัด การรับรองเจ้าศรีสังข์อย่างใหญ่โตมาก ฝ่ายบาดหลวงประจำที่ โรงเรียนก็คงทำการตามหน้าที่ของตัวโดยมิได้รู้สึกว่า
ทางในเมือง-
(หน้า ๕๙)
-ได้ทำอะไรกันบ้าง เพราะเวลานั้นเจ้าเมืองพึ่งได้รับจดหมายจาก
พระยาตากฉบับ ๑ พระยาตากคนนี้เปนคนที่ฉลาดไหวพริบมาก ได้ไปตั้งอยู่ที่บางกอก และได้ซ่อมแซมป้อมซึ่งพวกฝรั่งเศสได้สร้าง ขึ้นไว้เมื่อครั้งแผ่นดินหลุยที่ ๑๔ และซึ่งพวกพม่าได้ทำลายลง เมื่อ ได้ตีกรุงแล้ว
พอพระยาตากได้ทราบว่าเจ้าศรีสังข์ได้หนีมาที่เมืองคันเคา ก็ได้มีจดหมายมาถึงเจ้าเมืองคันเคาให้ส่งตัวเจ้าศรีสังข์ให้จงได้ ถ้า ส่งเปนไม่ได้ก็ให้ส่งตาย แต่เรื่องนี้มิได้ปิดกันเงียบมาก แต่ภายหลัง อีกนานจึงได้ทราบเรื่องในเวลาที่พระยาตากมีหนังสือมาถึงเจ้าเมือง คันเคานั้น พระยาตากได้ส่งของอย่างดี ๆ มาให้ด้วย มีปืนใหญ่ ๒ กระบอกหล่ออย่างแบบยุโรปซึ่งเปนของที่ชาวเมืองนี้ตื่นกันมาก และพระยาตากสัญญาว่าถ้าเจ้าเมืองคันเคาส่งตัวเจ้าศรีสัข์ให้แล้ว พระ ยาตากจะส่งปืนชนิดนี้มาให้อีกหลายกระบอก ฝ่ายเจ้าเมืองคันเคา ไม่เคยได้เห็นปืนอย่างนี้เลย มีความยินดีนักที่ได้มา ๒ กระบอก และกระหายอยากจะได้อีก จึงได้ให้เที่ยวค้นหาตัวเจ้าศรีสังข์ให้ จงได้ ครั้นได้ทราบว่าเจ้าศรีสังข์ได้มาแวะใกล้กับโรงเรียน และยัง มีคนหาความต่อไปว่า เจ้าศรีสังข์ได้ขึ้นมาพักอยู่ที่โรงเรียนหลายวัน และพวกบาดหลวงได้เสือกไสให้เจ้าศรีสังข์เลยไปเมืองเขมรอย่าง เงียบ ๆ เจ้าเมืองคันเคาจึงโกรธเปนนักหนา และเจ้าเมืองคนนี้ เปนคนโทโสร้าย ถ้ายิ่งดื่มสุราเข้าไปแล้วก็ยิ่งโทโสมาก
ซึ่ง-
(หน้า ๖๐)
-เปนอย่างนี้หลายปีมาแล้ว เพราะฉนั้นเจ้าเมืองคันเคาจึงออก คำสั่งให้ไปจับตัวพวกบาดหลวงไปใส่คุกเสีย และให้ทำลายวัด เข้ารีดเสียด้วย เจ้าพนักงารจึงได้ส่งทหารไปให้จัดการตามคำสั่ง บางคนก็ได้ตรงไปยังโรงเรียน บางคนก็จะไปทำลายวัดเข้ารีด แต่
มีขุนนางคน ๑ ชื่อคายโท (Cai Tho) เปนขุนนางผู้ใหญ่และเปนคน สนิทของเจ้าเมือง ทั้งเปนคนตั้งอยู่ในความยุติธรรมและอารีอารอบจึงได้คัดค้านเจ้าเมืองคันเคาว่า
"การที่จะทำลายวัดเข้ารีดนั้น ข้าพเจ้า เห็นว่าเมื่อได้ฟังคำแก้ของพวกบาดหลวงแล้วจึงทำลายก็ได้ เพราะ บางทีพวกบาดหลวงจะมีคำแก้ตัวบ้างกระมัง ถ้าพวกบาดหลวงมี ความผิดและท่านยังคงต้องทำลายวัดอยู่ จะทำลายเสียพรุ่งนี้ เท่ากับในวันนี้ หรือจะทำลายลงเมื่อไร ๆ ก็ได้ อีกประการ ๑ ถ้าทำลายวัดลงเสียแล้ว พวกเข้ารีดที่มาเมืองนี้สำหรับทำพิธีของสาสนามิหนีทิ้งเมืองไปหมดหรือ"
เมื่อขุนนางคายโทคัดค้านดังนี้ เจ้าเมืองก็หาได้ตอบประการใดไม่ คายโทจึงได้ออกไปห้ามไม่ให้ทำลายวัด ดังที่ได้เตรียมการไว้แล้ว เมื่อวันที่ ๘ เดือนมกราคม ค.ศ. ๑๗๖๘ (พ.ศ. ๒๓๑๐) เวลา ๙ ทุ่มพวกทหารได้มาจับพวกบาดหลวงแล้วพาไปยังคุกเมืองคันเคา
(หน้า ๖๑)
ว่าด้วยญวนคิดจะให้มองซิเออร์ไปเมือง เขมร (ไปเกลี้ยกล่อมเจ้าศรีสังข์)
ญวนคิดจะให้มองซิเออร์อาโตด์ ไปเมืองเขมร
พวกญวนคงจะเชื่อเปนแน่ว่าพวกบาดหลวงไม่มีความผิดอะไร แต่ถึงดังนั้นก็ยังจำพวกบาดหลวงไว้ยังคุก เพื่อจะให้บาดหลวงจัด การให้เจ้าเมืองไทยกลับมาจงได้ และญงนได้ให้คนมาบอกว่าถ้า บาดหลวงจัดการให้เจ้าศรีสังข์มาได้เมื่อใดก็จะปล่อยบาดหลวงออกทันที และญวนก็ได้ให้ไปบอกพวกนักเรียนหลายครั้งว่า ถ้าจะต้องการบาดหลวงคืนมาแล้ว ก็ให้ไปพาองค์เจ้าศรีสังข์มาก็แล้วกัน ภายหลังญวนได้ให้มาบอกพวกบาดหลวง ว่าให้บาดหลวงคนใดคน ๑ ไปรับ เจ้าศรีสังข์มาจากเมืองเขมร และเมื่อเจ้าศรีสังข์มาถึงแล้วจะได้ ปล่อยบาดหลวงอีก ๒ คนออกจากคุกทีเดียวฝ่ายท่านหัวหน้าบาดหลวงก็ได้อ้อนวอนขอให้มองซิเออร์ อาโตด์ไปยังเมืองเขมรตามความต้องการของญวน เพื่อการทั้งหลายจะได้เรียบร้อยต่อไป มองซิเออร์ อาโตด์ขัดข้องไม่ยอมไป เพราะไม่เต็มใจที่จะไปทำการเช่นนี้และ พูดว่า ยอมติดคุกอยู่ย่างนี้ดีกว่า แต่เจ้าเมืองและอุปราชก็มา รบเร้าอีก บาดหลวงอาโตด์จึงเห็นว่าเปนการจำเปนจะต้องไปแล้ว จึงได้ให้บอกเจ้าเมืองว่า จะยอมไปเมืองเขมรตามความต้องการ แต่มีข้อจะต้องสัญญากับเจ้าเมืองและอุปราช ซึ่งเมืองนี้เรียกกันว่า เฮียบตรำ (Hiep Tram) (แปลว่า ผู้ช่วยการแผ่นดิน) เสียก่อน ฝ่ายผู้พิพากษาก็อิดออดไม่ใคร่จะยอม เพราะเขาทราบอยู่ว่าบาดหลวง-
(หน้า ๖๒)
-คนนี้พูดตรง ๆ โดยไม่กลัวและไม่ทราบว่าบาดหลวงจะทำข้อสัญญาอย่างไรบ้าง แต่ครั้นเห็นว่าบาดหลวงยังคงยืนคำอยู่ พวกพิพากษา จึงไปแจ้งให้เจ้าเมืองทราบ เจ้าเมืองจึงบอกว่ารับประทานอาหารค่ำแล้วก็ให้บาดหลวงไปหา
ครั้นเวลาค่ำยาม ๑ ผู้พิพากษาที่ ๒ ได้เข้าไปรับตัวบาดหลวง ยังคุก ผู้พิพากษาที่ ๒ ได้คำนับบาดหลวงหลายครั้งจึงได้พาบาดหลวงไปยังที่ซึ่งผู้พิพากษานั่งชำระความ
แล้วผู้พิพากษาคนที่ ๒ จึงได้บอกกับผู้คุมว่า เจ้าเมืองได้ปล่อยบาดหลวงให้พ้นโทษแล้ว และได้สั่งให้บาดหลวงไปหายังบ้านผู้พิพากษาที่ ๒
จึงได้ลุกขึ้นแล้วพาบาดหลวงไปยัง องค์วาช (Ong Vach)(๑)
ผู้พิพากษาที่ ๑ องค์วาช ได้สั่งน้ำชาให้บาดหลวงรับประทานแล้วจึงพาไปที่แม่ทัพ เมื่อได้พบแม่ทัพแล้วจึงได้พาไปยังบ้านเจ้าเมือง
แต่ครั้งถึงบ้านเจ้าเมือง พวกทหารยามได้บอกว่าจะเข้าไปหาเจ้าเมืองไม่ได้ เพราะเจ้าเมืองมีความเสียใจมากที่ได้ทราบ ข่าวว่าชาวเรือสามลำที่ได้บันทุกของไปถวายเจ้าแผ่นดินญวนได้แตกเสีย แล้ว
แต่ผู้พิพากษาที่ ๑ และที่ ๒ ได้ให้เข้าไปบอกเจ้าเมืองว่า บาดหลวงได้มาถึงแล้ว
เจ้าเมืองจึงได้ตอบมาว่า เวลานี้จะออกไปพบกับบาดหลวงไม่ได้ ให้พาบาดหลวงไปพบอุปราชเถิด
....................
(๑) ในภาษาฝรั่งเศส ใช้คำว่า (Vriceroy) และวัง (Palace)
(หน้า ๖๓)
เวลานั้นอุปราช (Hiep Tram) กำลังทำการบุญศพบิดาที่วัด ผู้พิพากษาจึงได้พาบาดหลวงไปพบกับอุปราชที่วัดนั้นเอง
....................
ว่าด้วยข้อสัญญาของมองซิเออร์อาโตด์ที่จะไป เมืองเขมร
ข้อสัญญของมองซิเออร์อาโต
อุปราชได้รับบาดหลวงในโบสถ์โดยกิริยาอย่างสุภาพอันน่าอัศ จรรย์ และได้ให้บาดหลวงนั่งเคียงกับอุปราชแล้วเวลาที่อุปราชพูด กับบาดหลวงนั้นก็ได้แสดงกิริยาอย่างนบนอบ และได้ส่งน้ำชากับ หมากพลูให้แก่บาดหลวงด้วยมือของตัวเอง อุปราชจึงได้พูดกับ บาดหลวงอาโตด์ ขอให้บาดหลวงไปยังเมืองเขมรเพื่อชักชวนให้ เจ้าศรีสังข์กลับมายังเมืองคันเคา บาดหลวงอาโตด์จึงได้ตอบว่า การที่จะให้ไปเมืองเขมรนั้นบาดหลวงมีความรังเกียจมาก แต่เพื่อ จะไม่ขัดใจเจ้าเมืองและอุปราชก็จะยอมไปให้ แต่ต้องขอมีสัญญา ๔ ข้อเสียก่อนบาดหลวงจึงจะยอมไป คือ
๑ ก่อนที่บาดหลวงจะไป เมืองเขมรนั้น ขอให้ปล่อยบาดหลวง ๒ คนที่ยังติดคุกอยู่นั้นออก เสียก่อน เพราะถ้าบาดหลวง ๒ คนนั้นยังติดคุกอยู่บาดหลวง อาโตด์ จะทิ้งไปอย่างไรได้ ด้วยบาดหลวงอาโตด์รักบาดหลวงทั้ง ๒ นั้นมากกว่ารักตัวของตัวเอง จึงยอมติดคุกอยู่ด้วยกันดีกว่า
ข้อ ๒ ขอให้ เจ้าเมืองและอุปราชสัญญาว่า เมื่อเจ้าศรีสังข์ได้เสด็จมาแล้วจะไม่ ต้องถูกควบคุมอย่างใด แต่จะไปไหนมาไหนหรือจะออกจากเมือง -
(หน้า ๖๔)
-คันเคาได้ตามพระทัยของเจ้าศรีสังข์ทุกอย่าง บาดหลวงอาโตด์จึง ชี้แจงต่อไปในข้อนี้ว่า
"ถ้าท่านมีความประสงค์จะควบคุมกักขังเจ้า ศรีสังข์แล้วข้าพเจ้าจะเกี่ยวด้วยไม่ได้ การที่ขัาพเจ้าจะต้องการให้ ตัวข้าพเจ้าเองได้พ้นที่คุมขังนั้น ไม่ปราถนาจะให้คนอื่นได้รับความรำคาญเลย"
ข้อ ๓ การที่จะให้บาดหลวงไปเมืองเขมรนั้น ไม่ใช่ ไปในตำแหน่งราชทูตหรือตำแหน่งอย่างใดซึ่งผิดด้วยระเบียบการเลี้ยงชีพของบาดหลวง การที่มีหนังสือไปหรือจะให้พูดจากับใคร ๆ อย่าง ใด ขอให้จัดเจ้าพนักงารไปโดยเฉพาะ บาดหลวงจะเปนแต่ผู้ไป ด้วยเท่านั้น
ข้อ ๔ บาดหลวงไม่รับที่จะไปกราบทูลพระเจ้ากรุงเขมรอย่างใดเพราะไม่รู้จักกัน จะไปพูดกับเจ้าศรีสังข์อย่างเดียวเท่านั้น
และถ้าอุปราชยอมรับรองตามข้อสัญญานี้แล้ว บาดหลวงก็จะไปทูล เจ้าศรีสังข์ว่า เจ้าเมืองหรืออุปราชเมืองคันเคาไม่ได้คิดร้ายต่อเจ้า ศรีสังข์อย่างใด แต่การที่เจ้าศรีสังข์จะมาหรือไม่นั้น บาทหลวง ไม่รับรองอย่างใด
ข้อสัญญาข้อสุดท้ายนี้ ญวนถือว่าบาดหลวงพูดเช่นนี้ เพราะถ่อมตัว การที่จะไปชักชวนเจ้าศรีสังข์มานั้นคงจะไม่ลำบากอะไร
ส่วนสัญญาข้อ ๒ นั้นอุปราชรับรองว่า ทั้งเจ้าเมืองและตัวอุปราชจะยอม สาบาลให้ว่าจะไม่กักขังควบคุมเจ้าศรีสังข์อย่างใด เพราะเจ้าเมือง และอุปราชเมืองคันเคาอยากเปนไมตรีกับเจ้าศรีสังข์ และอยากจะ ช่วยให้เจ้าศรีสังข์ได้ขึ้นครองราชสมบัติซึ่งเปนของพระอัยกา
และการ -
(หน้า ๖๕)
- ที่อยากจะให้เจ้าศรีสังข์มายังเมืองคันเคา ก็เพื่อจะป้องกันไม่ให้ เกิดความสงสัยต่าง ๆ เท่านั้น
ส่วนสัญญาข้อ ๑ คือให้ปล่อย บาดหลวงปินโยกับบาดหลวงยากซ์ นั้น เปนข้อที่สำคัญมากไม่ใช่จะตกลงกันได้
เพราะองค์วาช คัดค้าน ว่าผิดความประสงค์ของเจ้าเมือง ซึ่งสั่งไว้ให้ขังบาดหลวงทั้ง ๒ ไว้ในคุกสำหรับล่อให้เจ้าศรีสังข์ได้รีบมาเมืองคันเคา
บาทหลวง อาโตด์จึงคัดค้านว่าถ้าทำเช่นนี้ ทำอย่างไร ๆ เจ้าศรีสังข์ก็คงจะไม่มาเปนแน่ และบาดหลวงอาโตด์ก็ไม่ยอมไปเพราะจะเสียเวลาเปล่า ๆ
ถึงหากว่าอุปราชจะปล่อยบาดหลวงทั้ง ๒ จริง บาดหลวงอาโตด์ก็ยังสงสัยอยู่ว่าเจ้าศรีสังข์จะมาหรือไม่ แต่การที่บาดหลวงจะยอมไปเมืองเขมรคราวนี้
ก็ไม่รับรองจะได้ทำการสมความปราถนาหรือไม่
ผู้พิพากษาที่ ๑ จึงได้ลุกออกไปนอกห้อง และอุปราชก็กล่าวว่า บาดหลวงพูดถูก
แต่เพื่อจะไม่ให้องค์วาช ขัดใจ อุปราชจึงคิดอลุ่มอล่วยให้ถูกใจทั้ง ๒ ฝ่าย คือจะให้เอาบาดหลวงทั้ง ๒ ออกจากคุก และอนุญาตให้ไปอยู่กับข้าราชการซึ่งเปนผู้เข้ารีด ๑ คน
ข้าราชการผู้นี้รับผิดชอบในตัวบาดหลวงทั้ง ๒ องค์วาช เห็นว่าจะแก้ไขอย่างอื่นไมได้ก็ยอมตามความเห็นของอุปราช
แต่บาดหลวงอาโตด์เห็นว่า การที่ทำดังนี้ก็ไม่เปนประโยชน์อะไรต่อโรงเรียนเลย
จึงได้คัดค้าน -
๙
(หน้า ๖๖)
-ว่าถ้าทำดังนี้ ก็เท่ากับย้ายบาดหลวงทั้ง ๒ ออกจากคุกนี้ ไปขังไว้ในคุกโน้น และเปนข้อที่จะไปทูลกับเจ้าศรีสังข์ไม่ได้
ว่าบาดหลวง ทั้ง ๒ ได้พ้นที่คุมขังแล้ว เมื่อได้โต้เถียงกันและได้ปรึกษาหารือกันอยู่ ช้านาน
จึงเปนอันตกลงจะปล่อยบาดหลวงทั้ง ๒ ออกจากคุก
................
ว่าด้วยมองซิเออร์อาโตด์ไปเมืองเขมร
มองซิเออร์อาโตด์ไปเมืองเขมร
มองซิเออร์อาโตด์จึงไดลงเรือไปเมืองเขมร ครั้นไปถึงเมืองเขมรแล้ว มองเซนเยอร์เดอคานาธได้รับรองอย่างดี และได้พา มองซิเออร์อาโตด์ไปเฝ้าเจ้าศรีสังข์ พอเจ้าศรีสังข์ได้เห็นบาดหลวง อาโตด์ก็แสดงกิริยายินดีต่าง ๆ ครั้นเจ้าศรีสังข์ได้ทราบว่า มองซิเออร์อาโตด์มาเฝ้าด้วยเรื่องอะไร จึงรับสั่งว่าทำอย่างไร ๆ ก็จะเสด็จไปยังเมืองคันเคาไม่ได้ เพราะทรงทราบเปนการแน่นอนว่า เจ้าเมืองคันเคาจะจับพระองค์ส่งให้แก่พระยาตาก และได้รับส่งต่อ ไปว่า "การที่พระยาตากได้ส่งของดี ๆ มาให้เจ้าเมืองคันเคานั้น ก็เท่ากับซื้อศีร์ษะข้าพเจ้าเท่านั้น" การที่รับสั่งเช่นนี้ก็ไม่มีหลักฐาน อะไร แต่เหตุผลที่ทรงยกมาอ้างนั้น ก็พอที่จะทำให้บาดหลวง หยุดรบกวนที่จะให้เสด็จไปเมืองคันเคา บาดหลวงอาโตด์ จึงปล่อยให้คนแทนของเจ้าเมืองคันเคาได้พูดจากันเอาเอง แล้ว ได้กลับไปเมืองคันเคา โดยหาได้ตัวเจ้าศรีสังข์ไปด้วยไม่
(หน้า ๖๗)
จดหมายมองซิเออร์มอวัน ว่าด้วยเจ้าเมืองคันเคารบกับ เจ้าตาก
จดหมายมองซิเออร์มอวัน
ถึงมองซิเออร์โฮดี
เมืองวิรำปาตนำ วันที่ ๒๒ เดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๗๗๑ (พ.ศ. ๒๓๑๓)
การที่เราได้จัดการสร้างโรงเรียนใหม่ขึ้นในเมืองนี้ก็ไม่ได้รับผลเท่าไร ในไม่ช้าเราก็ต้องหนีไปหมด เพราะในเวลานั้นคือเมื่อ เดือนกันยายน ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ. ๒๓๑๒) เจ้าเมืองคันเคา ได้เกิดเปนอริ ขึ้นกับพระยาตากพระเจ้าแผ่นดินสยามองค์ใหม่ เจ้าเมืองคันเคา จึงได้จัดกองทัพเรือ ๒ กอง ให้ไปรบกับพระเจ้าตากยังกรุงสยาม ฝ่ายพวกเขมร ๔ ตำบลกับจีนพวก ๑ เห็นว่ารัฐบาลเมืองคันเคากำลังอ่อนแอ จึงได้คบคิดกันเอาตัวออกหากจากญวนเมื่อเดือนตุลาคม พวกเขมรและจีนพวกนี้ได้มายังบ้านมองซิเออร์อาโตด์ พอเข้าไปถึงบ้านก็ ได้ยินคนพูดภาษาญวน พวกเขมรและจีนจึงลงมือจับพวกญวน ฆ่า จนมองซิเออร์อาโตด์ซึ่งเวลานั้นป่วยอยู่ ได้ชักม่านมาพูด ด้วยเสียงอย่างเบา พวกเขมรและจีนจึงหยุดการที่ฆ่าฟันพวกญวน ครั้นเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๗๖๙ (พ.ศ. ๒๓๑๒) พวกจลาจลได้เข้ามายังบ้านบาดหลวงเปนอันมาก เพื่อจะมาดูว่าในโรงเรียนจะมีพวกจีนมาแอบซ่อนอยู่ด้วยหรือไม่ พวกจลาจลได้พบกับพวกจีนอยู่ในบ้านบาดหลวงอยู่ครัวเรือน ๑ พวกจลาจลจึงได้จับฆ่าหมด แต่เดิม ก็มีพวกจลาจลเข้ามาแต่ ๒ คนเท่านั้น
ครั้นทราบว่ามีพวกญวนอยู่ใน-
(หน้า ๖๘)
-บ้านบาดหลวงด้วย พวกจลาจลก็เข้ามากว่า ๑๐๐ คน พบใครก็จับฆ่าหมดสิ้น พวกเราจึงได้หนีลงเรือไปยังเมืองคันเคา พอเราออก เรือไปแล้วพวกจลาจลก็เข้าไปปล้นโรงเรียน และได้เอาโรงเรียนเปนที่พักต่อไป
.....................