ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๙ หมวด ง
หมวด ง
- ว่าด้วยพระเจ้าตากถึงลัทธิของคฤศเตียน หน้า ๙๐
- ว่าด้วยพระนิสัยของเจ้าตาก " ๙๒
- ว่าด้วยพระเจ้าตากส่งกองทัพไปตีเมืองเขมรจดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง ว่าด้วยความอัตคัดของพวกเข้ารีด " ๙๕
- จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง ว่าด้วยพม่าเข้าตีเมืองไทย " ๙๖
- ประกาศห้ามมิให้ ไทยและมอญเข้ารีดและถือสาสนามหมัด " ๙๗
- จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง ว่าด้วยต้นเหตุที่จะประกาศ " ๙๘
- จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง ว่าด้วยสังฆราชห้ามมิให้พวกเข้ารีดถือน้ำตามพิธีไทย " ๑๐๐
- ว่าด้วยสังฆราชและพวกมิชชันนารีต้องจำคุก " ๑๐๒
- ว่าด้วยสังฆราชและมิชชันนารีถูกซักและถูกเฆี่ยน " ๑๐๔
- ว่าด้วยขุนนางเข้ารีดใจไม่แขง " ๑๐๖
- ว่าด้วยพระราชดำรัสของพระเจ้าตาก " ๑๐๙
- จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง ว่าด้วยสังฆราชและพวกมิชชันนารีพ้นโทษ " ๑๑๑
(หน้า ๙๐)
เงินตามแบบธรรมเนียมของเมืองนี้แล้วจึงได้รับสั่งให้เสนาบดีเพิ่มที่ดิร ต่อกับ ที่ดิร(น)เดิม ซึ่งได้พระราชทานให้พวกเข้ารีดไว้แล้วนั้นด้วย
รุ่งขึ้นพระเจ้าแผ่นดินรับสั่งให้คนมาถามเรา ว่าจะต้องให้เงิน แก่มองซิเออร์ลอค่าของที่เอามาถวายนั้นสักเท่าไร
เราจึงได้ตอบไปว่า การที่มองซิเออร์เลอได้ส่งของมาถวายนั้น มิได้คิดจะเอาราคา อย่างใดดอก
เปนแต่จะขอให้พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงพระกรุณาแก่สังฆราช มิชชันนารี และพวกเข้ารีดซึ่งอยู่ในพระราชอาณาเขต
และขอได้ทรงพระเมตตาแก่บรรดาเรือฝรั่งเศส ซึ่งจะไปค้าขายในเมืองไทยเท่านั้น
เมือ่เจ้าพนักงารได้นำคำตอบอันนี้ไปกราบทูลแล้ว จึงได้มีรับสั่งว่า
" ถ้าเช่นนั้น เราจะจัดเรือไปเมืองปอนดีเชรีบันทุกช้างไปให้มองซิเออร์ลอสัก ๕ ช้างก็ได้ "
ง
ว่าด้วยพระเจ้าตากถึงลัทธิของคฤศเตียน
เมื่อวันที่ ๒ เดือนเมษายน ได้มีพระราชโองการให้เราไปเฝ้าอีก และในครั้งนี้ได้มีรับสั่งให้พระสงฆ์ที่สำคัญ ๆ กับพระเจ๊กไปเฝ้าด้วย
วันนั้นเปนวันรื่นเริงทั่วพระราชอาณาเขต เพราะเปนวันขึ้นปีใหม่ของไทย
พระเจ้าแผ่นดินกำลังสำราญพระทัย จึงได้ลงประทับกับเสื่อธรรมดาอย่างพวกเราเหมือนกัน
ในชั้นแรกได้รับสั่งถึงการต่าง ๆ หลายอย่าง แล้วจึงได้รับสั่งถามว่า การที่เราได้เปนบาดหลวงและ มีเมียไม่ได้ จะต้องเปนอยู่อย่างนี้ชั่วชีวิตหรืออย่างไร
เราจึงได้ทูลตอบว่า เมื่อเราได้อุทิศตัวให้แก่พระเปนเจ้าแล้ว ก็ต้องเปนอยู่เช่นนี้ชั่วชีวิต จะกลับกลายเปลี่ยนแปลงไม่ได้
จึงได้รับสั่งว่า -
(หน้า ๙๑)
- "เราตั้งใจว่าจะให้พระสงฆ์ของเราเปนเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉนั้น ต่อไปเมื่อพระสงฆ์ได้บวชแล้ว ห้ามมิให้สึกและห้ามมิให้มีเมีย "
พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงพระราชดำริห์ การอย่างดีสำหรับที่จะให้พลเมืองขอพระองค์เปนคนดี พระองค์ทรงถือพุทธสาสนา
และทรงเห็นชอบในสาสนาคริศเตียน แต่ข้อเดียว คือว่า ผู้ที่ได้ทำการในสาสนาแล้ว ไม่ควรจะมีภรรยา
และการที่ทรงบัญญัติเช่นนี้ก็หาได้ ทรงเกรงว่า อาณาประชาราษฎร ในพระราชอาณาเขตจะลดน้อยไปไม่
ในคราวนั้นพวกบาดหลวงเห็นเปนโอกาสอันเหมาะ จึงได้กราบทูลอธิบายถึงการสาสนาโดยยืดยาว
พระเจ้ากรุงสยามก็ตั้งพระทัยฟังจริง ๆ และทรงรับรองว่า ความจริงก็มีพระเปนเจ้าที่เปนใหญ่แต่พระองค์เดียวเท่านั้น
นอกนั้นก็เท่ากับเปนขุนนางรอง ๆ ลงมา
บางทีก็ทรงคัดค้านบ้าง เปนต้นว่ารับสั่งถามว่า "ถ้าพระเปนเจ้าไม่มีตัวตนแล้วจะพูดกับมนุษย์อย่างไรได้เล่า"
พวกเราก็ทูลอธิบายให้เข้าพระทัย ไม่ยากอย่างไร เพราะเราได้กราบทูลว่า "ผู้ที่ได้สร้างลิ้น หู และเสียงนั้น ถึงจะไม่มีตัวตนก็คงจะรู้จักหาทางที่ จะพูดกับมนุษย์ให้จงได้"
การที่บาดหลวงได้กราบทูลต่อพระเจ้าแผ่นดินเช่นนี้ เปนอันเชื่อได้แน่ว่า ตั้งแต่เกิดมาก็คงไม่มีใครได้ยินได้ฟังดังนี้เลย
บรรดาขุนนางข้าราชการที่เฝ้าอยู่ในที่นั้น ต่างคนประหลาดใจ ที่ได้เห็นบาดหลวงสอนสาสนาแก่พระเจ้าแผ่นดิน
ในเวลาเสด็จออกขุนนาง ทั้ง -
(หน้า ๙๒)
- อัศจรรย์ใจ ที่ได้เห็นพระเจ้าแผ่นดินโปรดฟัง และรับสั่งโต้ตอบกับบาดหลวงดังนี้
แล้วพระเจ้าตาก จึงหันพระองค์ไปทางที่พระสงฆ์เฝ้าอยู่ จึงรับสั่งว่า
"ตั้งแต่นี้จ่อไปเมื่อใครบวชแล้วจะสึกไม่ได้ และจะมีเมียไม่ได้เปนอันขาด"
และเพราะเหตุว่า พระเจ้าแผ่นดินเปนหัวหน้าของพุทธสาสนา จึงได้มีรับสั่งให้พระสงฆ์เรียนภาษาบาลีต่อไป
เพราะภาษาบาลีเปนภาษาที่พระสงฆ์ต้องใช้ ตรงกับของเราต้องใช้ภาษาลาตินเหมือนกัน
เพื่อพระสงฆ์จะได้อ่านหนังสือเข้าใจด้วยตัวเองได้ และได้รับสั่งว่า
"นิทานต่าง ๆ ที่เคยเล่ากันมาให้ตัดออกเสียบ้าง เพราะนิทานเหล่านี้ล้วนแต่ไม่จริงทั้งนั้น"
เมื่อจวนจะเสด็จขึ้น ได้รับสั่งให้เสนาบดีจัดการต่อเรือยาวสำหรับพระราชทานเรา ๒ ลำ
ว่าด้วยพระนิสัยของเจ้าตาก
บรรดาคนทั้งหลายเรียก พระเจ้าตากว่า เปนพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองเรียกพระองค์เองว่า เปนแต่เพียงผู้รักษากรุง เท่านั้น
พระเจ้าตาก หาได้ทรงประพฤติเหมือน อย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่
และในธรรมเนียมของเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตวันออก ที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วย กลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น
พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย
พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะฉนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่า ถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์
และถ้าจะทรงมีรับสั่งด้วยแล้ว จะทำให้เสียพระราชอำนาจลงอย่างใด
เพราะพระองค์มีพระประสงค์จะทอดพระเนตร์การทั้งปวงด้วยพระเนตร์ของพระองค์เอง
และจะทรงฟัง -
(หน้า ๙๓)
- การทั้งหลาย ด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น
พระองค์ทรงทนทานแก่ความเหน็ดเหนื่อย ทั้งทรงกล้าหาญและพระปัญญาก็เฉียบแหลม มีพระนิสัยกล้าได้กล้าเสียและพระทัยเร็ว
ถ้าจะว่าก็เปนทหารอันกล้าหาญคน ๑ ตั้งแต่ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้เสด็จยกทัพไปปราบเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองไทรบุรี
ก็มา ยอมอ่อนน้อมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์แล้ว
เมือ่เร็ว ๆ นี้พระเจ้าตาก ได้เสด็จไปตีเมืองคันเคา และเมืองป่าสัก มาได้ และทางฝ่ายเขมร นั้นไม่มีใครคิดต่อสู้พระองค์เลย
ถ้าในระหว่างที่กำลังรบกันอยู่ พระเจ้าตากทรงเห็นนายทัพนากองคนใดถอยหลังแล้ว ก็เสด็จเข้าหานายทัพนายกองคนนั้นรับสั่งว่า
" เองกลัวดาบของข้าศึก แต่เองไม่กลัวคมดาบของข้าดอกหรือ"
แล้วก็ทรงเงื้อมพระแสงดาบฟันศีร์ษะ ฆ่านายทัพนายกองคนนั้นทันที
พระเจ้าตาก ทรงวางพระทัยในพวกเข้ารีดมาก ถ้าเสด็จทัพคราวใด ก็ต้องมีพวกเข้ารีดตามเสด็จไปด้วยเสมอทุกคราว
พวกเข้ารีด เปนพวกกล้าหาญ ของพระเจ้าตาก และพระเจ้าตากก็ทรงจัดไว้ ให้พวกเข้ารีดเปนทหารสำหรับรักษาพระองค์
ทั้งทรงโปรดยกเว้นไม่ให้พวกเข้ารีดต้องถูกเกณฑ์ไปทำการอย่างอื่นด้วย
ในเวลานี้พระเจ้าตากกำลังเตรียมการจะยกทัพไปอีก จะเสด็จไปทางไหนแน่ยังไม่ทราบกัน แต่เชื่อกันว่าคงจะเสด็จไปปราบทางเมืองเขมร
และเมืองญวน กับทรงเตรียมทัพอีกทัพ ๑ จะได้ไปตีพม่า ที่เมืองมะริด และให้ตีเมืองมะริด กลับคืนมาให้จงได้
ในระหว่าง -
(หน้า ๙๔)
- เวลาที่เปนระดูหนาวนั้น พระเจ้าตากทรงโปรดให้ตัดถอนหนทาง ซึ่งเปนการผิดแบบพระราชประเพณีของพระเจ้าแผ่นดิน แต่ก่อน ๆ
และโปรดให้สร้างป้อมขึ้นหลายป้อมด้วย เวลานี้ได้โปรดให้ยกกองทัพล่วงหน้า ไปคอยทัพหลวงในแดนเขมร
ทัพหน้านี้มีพล ๑๕,๐๐๐ คนหรือ ๒๐,๐๐๐ คน และได้โปรดให้ไถหว่านเข้า ให้ได้เข้าพอเลี้ยงกองทัพใน ๔ หรือ ๔ เดือน
นอกจากการที่เล่ามาข้างบนนี้ เราก็ยังหวั่นอยู่เสมอ ว่า น่ากลัวจะเกิดการจลาจลขึ้นอีก และบางทีจะถึงกับเกิดศึกภายนอกหรือภายในก็จะเปนได้
ป.ล. วันที่ ๒๒ มอถุนายน ถึงแม้ว่าพระเจ้าตากได้ทรงต้อนรับพวกเราอย่างดี ดังได้กล่าวมาข้างบนนี้แล้วนั้น
ถึงดังนั้น ข้าพเจ้าก็เกรงว่าจะต้องเกิดเรื่องขึ้น เพราะเหตุว่า ไทยถือว่าพวกเข้ารีดเปนคน ที่มีความรู้มากกว่าคนอื่น
พระเจ้าตากจึงโปรดเกณฑ์พวกนี้ไป ทำการต่าง ๆ มากกว่าเกณฑ์คนอื่น
และในการต่าง ๆ ที่เกณฑ์พวกเข้ารีดไปทำนั้น มีการที่เกี่ยวด้วยบำรุงพระพุทธสาสนาและ เกี่ยวด้วยพิธีของพระพุทธสาสนามาก
เพราะฉนั้นเมื่อพวกเข้ารีด ต้องถูกเกณฑ์ไปทำการที่เกี่ยวด้วยพระพุทธสาสนาแล้ว
ข้าพเจ้าจึงจำเปนต้อง ห้ามพวกเข้ารีดมิให้ไปทำการนั้น ๆ
เมื่อเร็ว ๆ นี้พวกเข้ารีด ถูกเกณฑ์ไปทำการ พวกเข้ารีดก็ มิได้รู้สึกว่าอย่างไร ก็ได้ลงมือทำการตามที่เขาสั่งให้ทำ
ข้าพเจ้าจึงได้เรียก พวกเข้ารีดเหล่า -
(หน้า ๙๕)
- นั้นให้กลับเสีย พวกเข้ารีดก็เลิกงารทันที ต่อหน้าเสนาบดี ซึ่งคุมงารอยู่ในที่นั้น
เจ้าพนักงารจึงได้ไปเรียนต่อ เสนาบดีว่า การที่พวกเข้ารีดได้เลิกงารไปนั้น ก็โดยคำสั่งของ สังฆราช
ข้าพเจ้า ไม่ทราบว่าการเรื่องนี้ จะมีผลอย่างไรต่อไป แต่จะอย่างไรก็ตาม ต้องเอาพระเปนเจ้าเปนใหญ่กว่าสิ่งอื่น
ชีวิตของเราก็ยอมสละถวายพระเจ้าแผ่นดินได้ แต่ต้องสละในสิ่งที่ ไม่เสียแก่สาสนาของเรา แต่ในสิ่งที่ขัดขวางแก่การของพระเปนเจ้าแล้ว
จะต้องยอมสละชีวิต ๑๐๐๐ ชีวิตดีกว่าที่จะไปช่วยในงารเช่นนั้น
ว่าด้วยพระเจ้าตากส่งกองทัพไปตีเมืองเขมร จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง ว่าด้วยความอัตคัดของ พวกเข้ารีด
จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง
ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
วันที่ ๓ เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๗๗๕ (พ.ศ. ๒๓๑๘)
จนถึงเวลาเดี๋ยวนี้ อาหารการกินในเมืองนี้ยังแพงมาก เพราะบ้านเมืองไม่ได้เปนอันทำมาหากินมา ๑๕ ปีแล้ว เพราะเหตุว่ามีสงครามไม่หยุดเลย และในเวลานี้ก็ยังหาสงบทีเดียวไม่ เงิน ๒๐๐ เหรียญในทุกวันนี้มีราคาไม่เท่ากับเงิน ๕๐ เหรียญ เมื่อ ๑๐๐ ปีมาแล้วซึ่งเปนเวลาที่เราได้ แรกมาตั้งคณะบาดหลวงในเมืองนี้ พวกเข้ารีดก็ไม่ได้ช่วยเหลืออะไรเราเลย เรากลับต้องเลี้ยงดูพวก เข้ารีดบางคนเสียอีก เวลานี้เราต้องเลี้ยงคนถึง ๒๐ คนทุกวันเรา ได้ตั้งต้นจัดโรงเรียนเล็ก ๆ ขึ้นแล้วมีนักเรียน ๕ หรือ ๖ คน และ
(หน้า ๙๖)
เราก็กำลังเรียกพวกบาดหลวงของเราที่ยังอยู่เมืองปอนดีเชรีให้กลับ มาแล้ว
จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง ว่าด้วยพม่าเข้าตี เมืองไทย
จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง
ถึงมองเซนเยอร์บรีโกต์
วันที่ ๑๑ เดือน มิถุนายน ค.ศ. ๑๗๗๕ (พ.ศ. ๒๓๑๘)
ข้าพเจ้าขอให้ท่านส่งมิชชันนารีมาให้อีกสัก ๒ คน เพื่อจะได้ จัดให้ไปอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ได้ เช่นเมืองเพ็ชรบุรี เมืองนคร- ศรีธรรมราช เมืองจันทบุรีเปนต้น เวลานี้ เมืองมะริดยังไม่ได้ เปนของเรา ในปีนี้ พวกพม่าได้เข้ามาตีไทยอีกแล้ว คราวนี้เข้ามาพร้อมกัน ๒ ด้านคือทางเหนือและทางตวันตก ไทยได้ออกไปต่อสู้มีไชยชนะ พวกพม่าได้ล้มตายไปประมาณ ๑๐๐ คน และไทยจับเปนเชลยได้ประมาณ ๒๐๐๐ คน พวกพม่าเชลยเหล่านี้ต้องจำตรวนและทำงารโยธาทุกคน พวกไทยยังล้อเลียนเราในเรื่องสาสนาอยู่เสมอ แต่ การทีเปนดังนี้ต้องโทษพวกเข้ารีดของเราเองมากกว่าพวกอื่น
(หน้า ๙๗)
ประกาศห้ามมิให้ ไทยและมอญเข้ารีดและถือสาสนามหะหมัด
ประกาศของไทยลงวันที่ ๑๓ เดือนตุลาคม
ค.ศ. ๑๗๗๕ (พ.ศ. ๒๓๑๗)
ห้ามมิให้ไทยและมอญ เข้ารีดและนับถือสาสนามหะหมัด
มองเซนเยอร์เลอบองเปนผู้แปล
ด้วยพวก เข้ารีดแลพวกที่ถือสาสนามหะหมัด เปนคนที่อยู่นอกพระพุทธสาสนา
เปนคนที่ไม่มีกฎหมายและไม่ประพฤติตามพระพุทธวจนะ
ถ้าพวกไทยซึ่งเปนคนพื้นเมืองนี้ตั้งแต่กำเนิดไม่นับถือและไม่ประพฤติตามพระพุทธสาสนาถึงกับลืมชาติกำเนิดของตัว
ถ้าไทยไปประพฤติและปฏิบัติตามลัทธิของ พวกเข้ารีดและพวกมหะหมัด ก็จะตกอยู่ในฐานความผิดอย่างร้ายกาจ
เพราะฉนั้นเปนอันเห็นได้เที่ยงแท้ว่า
ถ้าคนจำพวกนี้ตายไป ก็ต้องตกนรกอเวจี ถ้าจะปล่อยให้พวกนี้ทำตามชอบใจ
ถ้าไม่เหนี่ยวรั้งไว้ ถ้าไม่ห้ามไว้แล้ว พวกนี้ ก็จะทำให้วุ่นขึ้นทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว จนที่สุดพระพุทธสาสนาก็เสื่อมทรามลงไป
เพราะเหตุฉนี้ จึง ห้ามขาด มิให้ไทยและมอญ ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ ได้ไปเข้าพิธีของ พวกมหะหมัด หรือ พวกเข้ารีด
ถ้าผู้ใดมีใจดื้อแขง เจตนาไม่ดี มืดมัวไปด้วยกิเลสต่าง ๆ จะฝ่าฝืนต่อประกาศอันนี้
ขืนไปเข้าในพิธีของพวกมหะหมัดและพวกเข้ารีด แม้แต่อย่างใดอย่าง ๑ แล้ว
ให้เปนหน้าที่ของสังฆราช หรือ -
๑๓
(หน้า ๙๘)
- บาดหลวงมิชชันนารี หรือบุคคล ที่เปนคริศเตียนหรือมหะหมัด จะต้องคอย ห้ามปรามมิให้คนเหล่านั้น
ได้เข้าไปในพิธีของพวกคริศเตียนและพวกมหะหมัด
ให้เจ้าพนักงารจับกุมคนไทยและมอญที่ไปเข้าพิธีเข้ารีดและมหะหมัด ดังว่ามานี้ ส่งให้ผู้พิพากษาชำระ
และให้ผู้พิพากษาวางโทษถึงประหารชีวิต
ถ้าแม้สังฆราช ก็ดี มิชชันนารีคนใด ก็ดี หรือ คนเข้ารีดและพวกมหะหมัดคนใด ก็ดี ไม่เกรงกลัวต่อประกาศพระราชโองการนี้
ขืนชักชวน คนไทยหรือมอญ ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ ให้เข้าไปในพิธีของพวกเข้ารีตและพวกมะหะหมัด
แม้แต่พิธิใดๆ ก็ตาม
ก็ให้เจ้าพนักงารจับกุม สังฆราช หรือบาดหลวงมิชชันนารี หรือบุคคลที่เข้ารีดหรือเปนมหะหมัดนั้น ๆ ไว้
และให้วางโทษถึงประหารชีวิต
ให้เจ้าพนักงารจับกุมคนไทยหรือมอญ ซึ่งได้ไปเข้าพิธีของพวกเข้ารีตและพวกมหะหมัดนั้น วางโทษถึงประหารชีวิตเหมือนกัน
ประกาศพระราชโองการนี้ได้ส่งให้ไว้แก่ล่าม
เพื่อให้ไปปฏิบัติตามพระราชโองการนี้จงทุกประการ
ประกาศมาณวันอาทิตย์
ขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๑๑ ปีมะเมีย ฉศก
(ตรงกับวันที่ ๑๓ เดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๕ พ.ศ. ๒๓๑๗)
.......................
จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง ว่าด้วยต้นเหตุที่จะ ประกาศ(พระราชโองการ)
จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง
ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
วันที่ ๒๖ เดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๗๗๕ (พ.ศ. ๒๓๑๗)
ต้นเหตุที่จะเกิดมีประกาศพระราชโองการห้ามการเข้ารีดกับเข้า
(หน้า ๙๙)
สาสนามหะหมัดนั้น ก็คือ
เมื่อสองสามวันที่ล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินได้รับสั่งให้พระสงฆ์ไทย บาดหลวงมิชชันนารีฝรั่งเศสกับพวกมหะหมัด
มาโตเถียงกันถึงเรื่อง สาสนา
ฝ่ายไทย ถือว่าการฆ่าสัตว์นั้นบาป พวกเข้ารีดและพวกมหะหมัดเถียงว่า การฆ่าสัตว์ไม่บาป
ในเวลาที่โต้เถียงกันอยู่นั้น พระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จมาประทับ เปนประธานและทรงรับสั่งโต้เถียงด้วยเหมือนกัน
ครั้นทรงฟังความเห็นของ พวกเข้ารีดและพวกมหะหมัดว่า การฆ่าสัตว์ไม่บาปนั้น ก็ไม่พอพระทัย
พอรุ่งขึ้นก็ได้ออกประกาศพระราชโองการนี้ทีเดียว
เมื่อเขาได้เอาประกาศมาให้เรา กูเรา ก็ได้ตอบว่า สาสนาของเราคือ สาสนาของพระเปนเจ้าที่แท้จริง บังคับให้เราทำทุกอย่างไม่ว่าในเมืองใด
ที่จะรับคนเข้ารีดแปลงว่า เราจะต้องสอนให้มุนษย์ทั่วไป รู้จักพระเปนเจ้าที่จริง เพื่อให้มนุษย์ได้รับความสุขชั่วกาลนปาวสาน
และการที่เราได้มาในเมืองไทยก็เพราะมีเจตนาจะทำเช่นนี้ เพราะฉนั้น เราจะยอมตายดีกว่าที่จะละโอกาศทำการตามหน้าที่สำคัญของเราเช่นนี้
การเรื่องนี้ก็เปนอันยุติกันเพียงนี้เอง เพราะในเวลานี้พวกพม่าข้าศึกได้ยกทัพเข้ามาถึงชายแดนพระราชอาณาเขตแล้ว
และไทย ก็ไม่ได้คิดการอย่างอื่น นอกจากจะไปต่อสู้พวกข้าศึก
และพระเจ้ากรุงสยาม ก็ยังเสด็จกทัพไปสู้ข้าศึก อยู่จนทุกวันนี้
ที่ ๒๖ มีนาคม ค.ศ. ๑๗๗๕ (พ.ศ. ๒๓๑๗) ก็ยังหาเสด็จกลับมาไม่
.....................
(หน้า ๑๐๐)
จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง ว่าด้วยสังฆราชห้ามมิให้ พวกเข้ารีดถือน้ำตามพิธีไทย
มองเซนเยอร์เลอบอง
ค.ศ. ๑๗๗๖ - ๑๗๘๐ (พ.ศ. ๒๓๑๙ - ๒๓๒๓)
พวกมิชชันนารีถูกไล่ออกจกาเมืองไทย
ค.ศ. ๑๗๗๙ (พ.ศ. ๒๓๒๒)
เรื่องพวกเข้ารีดถูกกดขี่
ขุนนางที่เข้ารีดถูกจำคุก
จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง
ถึงน้องและพี่สาว
วันที่ ๒๑ เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๗๗๖ (พ.ศ. ๒๓๑๙)
พวกมิชชันนารีซึ่งอยู่ในเมืองไทยได้สอนพวกเข้ารีดถึงความบริสุทธิ์ของสาสนาคริศเตียน ซึ่งจะเอาการอย่างอื่นเช่นการกราบไหว้ ตกตาเข้ามาปนไม่ได้เปนอันขาด และได้ชี้เแจงโดยฉเพาะถึงการที่ ตนจะต้องกระทำสาบาลที่จะมีความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดินนั้น ว่าพวกเข้ารีดจะไปทำพิธีซึ่งเปนประเพณีของไทย เช่นไปวัดและดื่มน้ำซึ่งพราหมณ์และพระสงฆ์ไดทำพิธีแช่งไว้และซึ่งเอาเครื่องอาวุธ -
(หน้า ๑๐๑)
- ของพระเจ้าแผ่นดินลงจุ่มตามแบบของไทยไม่ได้ (๑)
ว่าด้วยสังฆราชและพวกมิชชันนารีต้องจำคุก
ครั้นถึงเดือนกันยายนซึ่งเปนเวลาที่จะต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาคนเข้ารีดสามคนซึ่งเปนข้าราชการของพระเจ้าแผ่นดิน หาได้ไปยัง วัดสำหรับถือน้ำหรือไปเข้าในพิธีของพราหมณ์และของพระสงฆ์ และ หาได้ไปดื่มน้ำที่เข้าพิธีไม่ แต่ข้าราชการเข้ารีดทั้งสามคนนี้ได้ไป ยังวัดเข้ารีดในตอนเช้า ไปยืนอยู่หน้าที่บูชาพระ และได้สาบาลตัว ว่าจะมีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน การสาบาลตัว คราวนี้ ข้าราชการทั้งสามคนได้สาบาลตัวเปนภาษาไทยแต่ทำ อย่างแบบของคนเข้ารีดและได้มีพวกเข้ารีดยืนดูเปนอันมาก และ ท่านสังฆราชก็กำกับอยู่ด้วย ครั้นความเรื่องนี้ทรงทราบไปถึงพระ เจ้ากรุงสยาม ก็ได้มีรับสั่งให้จับข้าราชการทั้งสามนี้และให้จำคุก
.......................
(๑) ธรรมเนียมนี้เปนธรรมเนียมอันเก่าแก่ในเมืองไทย ซึ่งถือกันว่าเท่ากับเปนกฎหมายอย่าง ๑ คือ
การถือน้ำพิพัฒน์สัตยาการที่จะสาบาลตัวว่าจะมีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินนั้นไม่เปนการผิดต่อสาสนาของเราอย่างใด
แต่วิธีที่สาบาลกันนั้นขัดอยู่บ้าง พิธีถือน้ำของไทยนั้นทำดังนี้
เมื่อถึงวันกำหนดถือนา พวกขุนนางข้าราชการทั้งปวง ต้องไปพร้อมกันยังวัดซึ่งเต็มไปด้วยพระพุทธรูป แล้วมีพระสงฆ์ไปที่วัดนั้น
สวดมนต์ทำพิธีน้ำให้ศักดิ์สิทธิ์ขึ้น เมื่อพระสงฆ์สวดมนต์แล้วเจ้าพนักงาร จึงเชิญพระแสงดาบและราชศัตราวุธของพระเจ้าแผ่นดิน
จุ่มลงในน้ำนั้น ครั้นเอาพระแสงลงจุ่มแล้ว บรรดาขุนนาง ข้าราชการก็เรียกพระพุทธรูปและเทวดาต่าง ๆ ให้มาเปนพยาน
แล้วจึงดื่มน้ำที่ทำพิธีไว้แล้วนั้น เพราะน้ำนี้ศักดิ์สิทธิ์ด้วยพระสงฆ์ได้สวดมนต์
และใครคิดขบถทรยศต่อพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อดื่มน้ำอันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว ก็จะต้องตาย
บางทีมีบางคนไม่ได้ดื่มน้ำนี้ ก็มี แต่ถือกันว่าดื่มแล้ว เจ้าพนักงาร ก็จดชื่อว่า ผู้นั้นได้ดื่มน้ำแล้วก็เปนอันหมดเรื่องกัน
(หน้า ๑๐๒)
เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนกันยายน เมื่อข้าราชการทั้งสามต้องจำคุกแล้ว ได้สัก ๒ วัน ท่านสังฆราชกับมิชชันนารี ๒ คน คือ มองซิเออร์กาโนต์ กับมองซิเออร์คูเด ก็ได้เข้าไปเยี่ยมในคุก เมื่อวันที่ ๒๔ เดือน กันยายน ท่านสังฆราชได้นั่งสนทนาอยู่กับข้าราชการที่เปนนักโทษ จึงได้พูดขึ้นว่า สังเกตดูเหตุผลต่าง ๆ ไม่ช้าสังฆราชก็คงจะต้องมา ติดคุกกับนักโทษทั้ง ๓ นี้เปนป่น การที่สังฆราชทำนายไว้เช่นนี้ ไม่ช้าก็ได้เปนจริงดังทำนาย
สังฆราชเลอบองกับมิชชันนารี สองคนต้องจำคุก
รุ่งขึ้นวันที่ ๒๕ เดือนกันยายน เจ้าพนักงารได้มาจับสังฆราชกับบาดหลวง ๒ คนและได้คุมตัวไปเฝ้าพระเจ้ากรุงสยาม ข้าชการเข้า รีด ๓ คนที่เปนนักโทษนั้น ก็ได้ถูกคุมไปเฝ้าอยู่ในที่นั้นเหมือนกัน พระเจ้าแผ่นดินทรงพระพิโรธมาก ได้รับสั่งด้วยพระสุรเสียงอย่างดัง สัก ๒-๓ องค์ จึงมีรับสั่งให้ลงพระอาญาแก่พวกเรา ในทันใดนั้น มีเจ้าพนักงาร ๒ คนถือเชือกและมัดหวาย ได้มาจับพวกเราทั้ง ๖ คน แล้วถอดเสื้อยาวเสื้อชั้นในและเสื้อเชิ๊ดออกจากตัว เหลือแต่ตัวเปล่า ๆ จึงได้เอาเราไปมัดมือมัดเท้าไว้ในระหว่างหลัก ๒ หลัก เจ้าพนักงาร ได้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนข้าราชการเข้ารีดด้วยหวายคนละ ๕๐ ที วิธี ที่เฆี่ยนนั้น เจ้าพนักงารยืนข้างผู้ที่จะถูกเฆี่ยนข้างละคน แล้วต่าง
(หน้า ๑๐๓)
คนต่างผลัดกันเฆี่ยนข้างละที ส่งนสังฆราชกับบาดหลวง ๒ คนนั้น รอดไปได้ในวันนั้น เพียงแต่ได้รับความตกใจและต้องเข้าผูกมัด ในหลักคาเท่านั้น วิธีที่เจ้าพนักงารได้เอาเราเข้าผูกกับหลักคานั้น ก็คือ ผูก พวกเราทั้ง ๖ คนเรียงเปนแถวเดียว หันหลังตรงกับที่ประทับหลัก ที่ผูกมักเรานั้นก็เปนคาในตัว เพราะต้องเอาศีร์ษะลอดเข้าไปในหลัก นั้นจนหันตัวไปข้างไหนก็ไม่ได้ คือผู้ที่ต้องเข้าหลักเข้าคานั้นจะหัน หรือเหลียวไปดูเพื่อนที่ถูกเฆี่ยนด้วยกันไม่ได้ แต่การที่เราต้อง ถูกมัดเข้าหลักเข้าคานั้น ก็หาได้มีใครบอกว่าเราจะถูกเพียง ต้องเปลื้องเสื้อออกและต้องเข้าหลักคาจะไม่ต้องถูกเฆี่ยน แต่จะเฆี่ยน ฉเพาะขุนนางเข้ารีด ๓ คนเท่านั้น เพราะฉนั้นเมื่อข้าพเจ้าได้ยินเสียงหวายและได้ยินเสียงร้องของผู้ถูกเฆี่ยน ข้าพเจ้าก็เข้าใจว่าพวกเรา ทั้ง ๖ คนคงถูกเฆี่ยนพร้อมกัน แต่ข้าพเจ้าก็มิได้รู้สึกหวายลง หลังสักทีเดียว จึงต้องสาระภาพให้ท่านฟังว่าในชั้นแรก ข้าพเจ้า ไปมุ่งหมายว่าพระเปนเจ้าได้ทำเหตุอัศจรรย์ให้เห็น โดยทำไม่ให้ข้าพเจ้ารู้สึกความเจ็บปวดอย่างใด แล้วภายหลังข้าพเจ้ามานึกว่า หรือพระเจ้าแผ่นดินจะรับสั่งให้งดลงพระราชอาญาฉเพาะข้าพเจ้าเปนพิเศษโดยจะทรงเห็นแก่ตำแหน่งและอายุมากของข้าพเจ้ากระมัง ส่วนอีก ๕ คน ก็คงจะถูก ลงพระราชอาญาพร้อมกันเปนแน่ จนที่สุด เมื่อเจ้าพนักงารได้แก้เราออกจากหลักจากคาและได้พาไปยังคุกนั้น
(หน้า ๑๐๔)
ข้าพเจ้าก็ร้องไห้บ่นเสียใจ ที่พระเจ้าแผ่นดินนได้ทรงยกเว้นไม่ลงพระราชอาญาแก่ข้าพเจ้าเปนพิเศษและพูดดังว่า ๆ "ถ้าในเรื่องนี้มีความ ผิดแล้ว เราก็มีความผิดเท่า ๆ กัน ตัวข้าพเจ้าเองก็เปนหัวหน้า ของคนผิด เพราะฉะนั้นจะไปเฆี่ยนคนอื่นและยกเว้นข้าพเจ้าเพราะ เหตุใด" ครั้นเข้าไปถึงคุกแล้วข้าพเจ้าจึงได้ทราบความจริง ว่า บาดหลวงสองคนก็ไม่ได้ถูกลงำพระราชอาญาเหมือนกับข้าพเจ้าต่อ นั้นไปในวันแรกก็ดี วันรุ่งขึ้นก็ดี ซึ่งเจ้าพนักงารได้จับเรา.ไปมัดกับ หลักคาเปนครั้งที่ ๒ และคราวนี้ได้เฆี่ยนข้าพเจ้าจริง ๆ พอข้าพเจ้า รู้สึกว่าเจ้าพนักงารมาเอาตัวไปเฆี่ยน ข้าพเจ้าก็หมดสติทีเดียว
ว่าด้วยสังฆราชและมิชชันนารีถูกซักและ ถูกเฆี่ยน
เมื่อคืนวันที่ ๒๕ ต่อกับวันที่ ๒๖ (กันยายน ) เจ้าพนักงารได้คุมเราทั้ง ๖ คนไปยังศาล เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป และการพิจารณากันนี้กินเวลาเกือบตลอดรุ่ง พวกขุนนางที่นั่งพิจารณาความนั้นได้ขอ ให้พวกเราได้ยอมทำตามที่เขาจะสั่งต่อไป เพื่อให้เรื่องนี้ได้เปนอัน แล้วกันสักที ขุนนางเหล่านั้นจึงสั่งให้ขุนนางเข้ารีด ๓ คนไปดื่มน้ำ ที่เข้าพิธี และสั่งให้สังฆราชกับบาดหลวงสองคนรับสารภาพว่าผิด และให้ขอโทษต่อพระเจ้าแผ่นดินเสีย แต่พวกเราทั้ง ๖ คนได้นัด กันไว้แล้วว่าทำอย่างไร ๆ ก็ไม่ยอม ผู้พิพากษาจึงออกไปจากห้อง-
(หน้า ๑๐๕)
-และขัดเคืองพวกเรามากเพราะหาว่าเราหัวดื้อ การที่ผู้พิพากษาไปรายงารในเรื่องนี้ก็ทำให้ไทยมีความโกรธเรามากขึ้น เพราะฉนั้นพอ ส่วางวันที่ ๒๖ กันยายน พระเจ้ากรุงสยามก็รับสั่งให้หาเราไปหน้าที่นั่งอีก
ในวันนี้ทรงกริ้วมากกว่าวันก่อนอีก จึงรับสั่งให้ถอดเสื้อสังฆราชและบาดหลวงสองคน และให้เอาตัวสังฆราชกับบาดหลวงเข้าหลักเข้าคา
พระเจ้าแผ่นดินน จึงรับสั่งให้เจ้าพนักงาร ซึ่งยืนอยู่ข้างเราข้างละคน เฆี่ยนเราด้วยหวายคนละ ๑๐๐ ทีต่อหน้าที่นั่ง(๑)
เมื่อได้ถูกเฆี่ยนครบจำนวนแล้ว เนื้อหลังก็ขาดเลือดก็โซมตัว เจ้าพนักงารก็ได้คุมพวกเราไปไว้ยังคุกสามัญ และได้จำเราครบ ๕ ประการ คือ
มีเครื่องจองจำ ๕ อย่าง
๑ ตรวนใส่เท้า
๒ เท้าติดขื่อไม้
๓ โซ่ล่ามคอ
๔ คาไม้ใส่คอทับโซ่
๕ มือสองมือลอดเข้าไป
_________________________________________________________
(๑) ในเรื่องที่สังฆราช กับบาดหลวงต้องถูกลงพระราชอาญาในครั้งนี้ มองซิเออร์คูเดเขียนเล่าว่าดังนี้
เจ้าพนักงารได้เอาหวายเฆี่ยนหลังเรา เนื้อเปล่า ๆ คนละ ๑๐๐ ที เวลาที่เฆี่ยนนั้นเจ้าพนักงารได้นับดัง ๆ ทุกทีไป
พระเจ้าแผ่นดินก็ประทับทอดพระเนตร์อยู่ในที่นั้นด้วย
ข้าพเจ้ารู้สึกว่าพอหวายลงทีแรกเลือดก็ไหลทันที ข้าพเจ้าคอยอยู่ว่าจะขาดใจเมื่อไร
เพอิญเคราะห์ดีไม้กางเขนก็อยู่ตรงหน้าข้าพเจ้า ๆ จึงได้เอาไม้กางเขนนั้น เปนหลักสำหรับตั้งสติ
ทั้ง ๓ คนนิ่งกันหมดเวลาที่ถูกเฆี่ยน มิได้ครางหรือร้องจนคำเดียว พระเยซูได้ให้กำลังแก่เรา
สำหรับทำให้คนทั้งหลายเห็นว่าเราไม่มีความผิดอะไร การที่เราไม่ได้ร้องนั้นทำให้พระเจ้าแผ่นดินประหลาดพระทัยเปนอันมาก
เพราะเจ้าพนักงารก็เฆี่ยนเต็มแรงด้วยกลัวพระเจ้าแผ่นดินจะกริ้วว่า เจ้าพนักงารเฆี่ยนไม่แรง
เราก็ทนอยู่จนตลอดเวลา และเราก็ออกจากที่นั้น โดยหลังขาดเปนรอยริ้วและเลือดโซมตัว
(หน้า ๑๐๖)
- ในคาและไปติดกับขื่อมือทำด้วยไม้
การที่เราถูกจองจำเช่นนี้ไม่เปนการเหมาะสำหรับรักษาแผลที่หลังและที่สีข้างให้หายเลย เพราะฉนั้นเมื่อได้ล่วงเวลามาได้ ๒ เดือนแล้ว
แผลที่หลังยังไม่หายเลย
ใน ๔ หรือ ๕ วันแรกที่จำคุกอยู่นั้น เจ้าพนักงารได้ให้เราอยู่รวมกันทั้ง ๖ คน ซึ่งทำให้เราสบายใจบ้างเล็กน้อย
แต่เมื่อวันที่ ๒๙ หรือ ๓๐ เดือนกันยายน เจ้าพนักงารได้แยกเราออกเปน ๒ พวก คือพวกขุนนางเข้ารีด ๒ คนไปอยู่ในคุก ๑ ต่างหาก
สังฆราชกับบาดหลวง ๒ คนไปอยู่อีกคุก ๑
ว่าด้วยขุนนางเข้ารีดใจไม่แขง
เมื่อเราได้ติดคุกอยู่เช่นนี้ได้ ๒ เดือน เจ้าพนักงารได้ถอดเครื่องจำจองออกจากขุนนางเข้ารีด ๓ คน และเราได้ทราบซึ่งเปนการน่าเสียใจว่า
ขุนนางเข้ารีดทั้ง ๓ คนได้ออกจากคุกแล้ว ก็ตรงไปยังวัด เพื่อไปดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
แล้วพระเจ้ากรุงสยามจึงมีรับสั่งให้บรรดาทหารที่เข้ารีดทุกคน ไปถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดเสียด้วย
ทหารเข้ารีดเหล่านี้มีจำนวนอยู่ ๗๙ คน เราได้ทราบว่า มีทหารเข้ารีด ที่ไม่ได้ถือน้ำ แต่คนเดียวเท่านั้น
และก็ไม่เห็นใครจะรู้สึกว่ากระไร นอกจากนั้น ได้ไปถือน้ำทุกคน เพราะกลัวว่าถ้าไม่ไปถือน้ำตามคำสั่งแล้ว จะต้องรับโทษถึงตาย
เมื่อวันที่ ๒๖ เดือนกันยายน เมื่อเราได้ถูกเฆี่ยนแล้ว ได้มี -
(หน้า ๑๐๗)
- คนเข้ารีดทั้งผู้หญิงผู้ชายหลายคน ได้ร้องไห้พากันไปเยี่ยมเราในคุก เจ้าพนักงารก็อนุญาตให้พวกเข้ารีดเข้าไปเยี่ยมเราได้
พวกเข้ารีด ได้ต่างช่วยกันเช็ดล้างแผลให้เราและได้ช่วยเหลือเราทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
ยังมีหญิงแม่หม้ายคน ๑ ได้เอาผ้ามาเช็ดเลือดที่แผลเรา แล้วได้เก็บผ้าเปื้อนเลือดนั้นหอบเอาไปบ้านด้วย
ฝ่ายพวกเข้ารีด อื่น ๆ ทั้งผู้หญิงผู้ชาย ซึ่งมิได้เข้าไปเยี่ยมเราในคุกนั้น ได้พากันไปบ้านหญิงแม่หม้าย ขอดูผ้าที่เปื้อนเลือด
ครั้นหญิงแม่หม้าย ได้เอาผ้ามาให้ดูแล้ว พวกเข้ารีดก็ได้เอาผ้านั้นมาจูบ และกราบไหว้ กระทำการเคารพต่อผ้าที่เปื้อนเลือดนั้นด้วย
เรื่องพวกเข้ารีดไปกราบไหว้ผ้าเปื้อนเลือดนั้น ในเวลานั้นเราได้ทราบเรื่องไม่ เพราะเวลานั้นแผลถูกเฆี่ยนก็ยังสดอยู่
เลือดก็ยังไหลอยู่เสมอ เราจึงไม่ได้นึกถึงเรื่องอะไรเลย นอกจากนึกถึงความเจ็บปวดของเรา
แต่ในเรื่องนี้จวนจะเปนเรื่องใหญ่โตขึ้นซึ่งน่ากลัวมาก คือ มีคนเข้ารีดคน ๑ เปนบ่าวของเราและเปนคนชั่ว
มีความเกลียดชังหญิงแม่หม้ายคนนั้นมาก และก็ไม่สู้รักใคร่เรา เท่าไรนักด้วย
ครั้นเมื่อปลายเดือนธันวาคม คนเข้ารีดคนนี้ได้ ทำคำร้องกล่าวโทษหญิงแม่หม้ายและกล่าวโทษเรา
หาว่าเราเปนผู้แนะนำให้หญิงแม่หม้ายเก็บผ้าที่เช็ดเลือดเราไว้ และเราได้ห้ามหญิงแม่หม้าย ไม่ให้ล้างผ้า แต่ให้เลือดแห้งติดผ้าอยู่อย่างนั้น เพื่อจะได้ -
(หน้า ๑๐๘)
- เอาผ้าเปื้อนเลือดนั้น ส่งไปยังประเทศยุโรปและฝรั่งเศส สำหรับยุ ให้พวกฝรั่งมารบ กับไทย
เจ้าพนักงารได้รับคำร้องนี้ไว้ และได้ไต่สวนหาความจริงต่อไป
ในเวลานั้นมีเรือที่จะออกไปเมืองบาตาเวีย หลายลำ ไทยจึงได้ไปห้ามเรือเหล่านี้ มิให้รับฝากหนังสือหรือเข้าของอย่างใด จากพวกเข้ารีดเปนอันขาด
เจ้าพนักงารได้เรียกเราไป ถามปากคำ เราจึงได้ปฏิเสธตลอดข้อหา เพราะในข้อหาไม่มีความจริง อย่างใด
จะมีก็เพียงผ้าเช็ดเลือดดังได้เล่ามาข้างบนนี้แล้ว ซึ่งเรา มิได้เกี่ยวหรือรับรู้ด้วยเลย
เจ้าพนักงารก็ได้ไปค้นหาผ้าที่เปื้อนเลือด ซึ่งโจทย์หาว่า หญิงแม่หม้ายเก็บรักษาไว้อย่างดี แต่ก็หาได้พบไม่
คดีเรื่องนี้เจ้าพนักงารได้นำความกราบทูลว่าเปนเรื่องที่ ไม่มีมูลอย่างใด
และในข้อหาข้ออื่นซึ่งโจทย์หาว่า เราได้เอาผืนดินปืนและศิลา สำหรับปืนซ่อนไว้ในบ้านและหาว่า เราได้รับคนเข้ารีดใหม่ ผิดด้วยข้อบังคับนั้น
ก็ไม่มีมูลเหมือนกัน โจทย์ก็ไม่มีพยานจะอ้าง และในข้อหาที่ว่าเรารับคนเข้ารีดนั้น เราก็ไม่ได้ต่อสู้อย่างใด
เพราะฉนั้นคดีเรื่องนี้เปนอันสงบเลิกกันไป
ผู้พิพากษาเองก็ได้ถามว่า เราจะกลับฟ้องโจทย์ผู้หาความใส่เราหรือไม่ เราจึงได้ตอบผู้พิพากษาว่า ธรรมเนียมของคนคริศลเตียน
ไม่ต้องการทำดังนั้น เพราะสาสนาคริศเตียนสอนให้ให้อภัยแก่ศัตรูของเรา
เพราะฉนั้นในเรื่องนี้ ไม่ใช่แต่เรา จะให้อภัยแก่โจทนย์อย่างเดียว แต่เราจะอนุญาตให้โจทย์ได้ออกจากบ้านของเรา โดยไม่ต้องนำเงินค่าตัว
มาใช้ให้ก็ได้ -
(หน้า ๑๐๙)
พระราชดำรัสของพระเจ้าตาก
เมื่อวันที่๑๕ เดือนมกราคม พระเจ้าตากได้เสด็จยกทัพด้วยพระองค์เอง เพื่อไปต่อสู้กับพวกพม่าข้าศึก
และได้ทิ้งเราไว้ในคุก ทั้งต้องจำโซ่ตรวนอยู่จนตลอดถึงวันนี้ (ที่ ๑๕ เมษายน) เราก็ยังหาได้พ้นการจองจำออกจากคุกได้ไม่
การเรื่องนี้จะไปสิ้นสุดเอาแค่ไหนเปนสิ่งที่ทราบไม่ได้
เราได้ทราบมาว่าเมื่อพระเจ้าตากได้ประทับอยู่ในพระราชวังได้มีรับสั่งว่า
" สังฆราชกับพวกบาดหลวงจองหองนักมันไม่ยอมขอโทษเลย "
มีเสียงลือกันว่า พระเจ้ากรุงสยามทรงพระราชดำริห์ จะส่งพวกเราไปยังเมืองมาเก๊า โดยเรือลำแรกที่จะออก
ขอให้พระเปนเจ้าได้โปรดให้เปน ดังนั้นจริงเถิด การที่เรามาอยู่ที่นี่ก็โดยบารมีของพระเปนเจ้า เพราะฉนั้นที่ต้องติดคุกอยู่เช่นนี้จึงหักใจได้
ในเวลานี้ ขออย่าได้คิดถึงการที่ จะส่งมิชชันนารี ออกมาใหม่อีกเลย เพราะตัวเราเองบางที ก็จวนจะต้องออกจากเมืองไทยอยู่แล้ว
การในเมืองไทยไม่เหมือนกับในเมืองจีน เพราะในเมืองไทยจะไปแอบซ่อนตัวที่ไหนไม่ได้ หรือจะปลอมตัวไม่ให้คนรู้จักก็ไม่ได้เหมือนกัน
เมื่อปลายเดือนมีนาคม เราได้รับจดหมายฉบับ ๑ ซึ่งคนเข้ารีดในกองทัพคน ๑ ได้เขียนมาถึงสังฆราช เพื่อขอบใจสังฆราช
ที่ได้ แสดงวาจาปลอบโยนแก่คนเข้ารีด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และในจดหมายฉบับนั้นเล่ามาว่า
พระเจ้าตากได้ทรงรับสั่งต่อหน้าพวก -
(หน้า ๑๑๐)
- เข้ารีดว่า
"เรามีความเวทนาพวกเข้ารีดเหล่านี้มาก เมื่อเรากลับไปถึงบางกอก ก็จะต้องปล่อยสังฆราชและบาดหลวงออกเสียที"
ถ้าพระเจ้าตากทรงพระราชดำริห์ดังที่รับสั่งจริงแล้ว จะต้องรอให้เสด็จกลับมาถึงเสียก่อนด้วยเหตุใด
ถ้ารับสั่งให้ปล่อยเราออกคำเดียวเท่านั้น เราก็จะออกจากคุกได้โดยทันที
แต่เมื่อเวลายังประทับอยู่ที่บางกอก ก่อนที่เสด็จไปสงครามนั้น ก็ได้รับสั่งอย่างนี้หลายครั้ง แต่ก็ไม่เห็นมีผลอะไร
และการที่รับสั่งเช่นนี้ ก็ได้รับสั่งต่อหน้าพวกเข้ารีด ทุกคราว ดู ๆ ก็เหมือนพระเจ้าตาก จะต้องการเอาหน้าแก่พวกเข้ารีด
เมื่อเร็วๆ นี้เองเราได้รับจดหมายจากพลทหารและพวกเข้ารีดในกองทัพอีกฉบับ๑ ในจดหมายฉบับนี้ พวกทหารและคนเข้ารีดบอกว่า
เขาได้สังเกตเห็นว่า การที่สาสนาคริศเตียนถูกบีบคั้นในเวลานี้นั้น เปนเพราะเหตุที่ ในปีนี้ไทยเอาไชยชนะแก่ข้าศึกยากนัก
และจำนวนพม่า ก็น้อยกว่าไทยเปนอันมาก ถึงดังนั้นพม่าก็สู้รบอย่างแขงแรง ไทย จะเอาไชยชนะให้ได้เปรียบแก่พม่าไม่ได้เลย
พวกทหารที่มีหนังสือ มานั้น เปนคนที่เคยได้เปนนักเรียนที่ มหาพราหมณ์ จึงเอาเหตุ ในคัมภีร์มายกอ้างเปนตัวอย่าง
ซึ่งเปนข้อที่ควรจะชมเชยเข้าอยู่บ้าง
เมืองไทยวันที่ ๒๑ เดือนเมษายน
เขียนสนคุกที่บางกอก
ป.ล. การที่ข้าพเจ้าเขีนจดหมายฉบับนี้ได้ โดยยืดยาวนั้น ก็เพราะเหตุว่ามือข้าพเจ้าได้หลุดจากขื่อมือ วันนี้เอง
(หน้า ๑๑๑)
จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง ว่าด้วยสังฆราชและ พวกมิชชันนารีพ้นโทษ
สังฆราชและมิชชันนารีพ้นโทษ
จดหมายมองเซนเยอร์เลอบอง
ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
เดือน พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๗๗๖ (พ.ศ. ๒๓๑๙)
จดหมายฉบับก่อนของเราที่เขียนในคุกนั้น ได้ลงวันที่ ๒๙ เดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๖๗๖(พ.ศ. ๒๓๑๙) เมื่อเดือนกรกฎาคม
พวกเข้ารีด กับชาวอังกฤษคน ๑ ได้ไปพูดจาว่ากล่าวกับเสนาบดีที่ปรึกษาราชการของพระเจ้าแผ่นดินสยาม เพื่อขอให้ปล่อยยเราให้พ้นโทษ
เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม
เจ้าพนักงารได้มาปลดคา ออกจากคอและได้ถอด ขื่อเท้าและ ขื่อมือออก แต่การที่จะปล่อยให้พ้นจากคุกนั้น
เจ้าพนักงารได้บอกว่ายังจะปล่อยไม่ได้ เพราะต้องรอให้ ข้าราชการอื่น ๆ กลับจากทัพเสียก่อน และคงไม่ช้า ข้าราชการเหล่านั้นก็คงจะกลับมา
เมื่อวันที่ ๑๔ เดือน สิงหาคม เจ้าพนักงารได้เอาโซ่ออกจากคอ เหลือแต่ตรวนติดเท้าอยู่ เท่านั้น เจ้าพนักงารจึงได้คุมเราไปทั้งตรวน
ไปหาอัคมหาเสนาบดี เพราะพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงมอบธุระให้ อัคมหาเสนาบดีได้สอบสวน เรื่องเราเสียใหม่ ให้เปนการเสร็จเด็ดขาดไป
และรับสั่งว่า ไม่ต้องพระราชประสงค์ที่จะฟังเรื่องนี้อีกต่อไป เสนาบดี ต้องการให้พวกเข้ารีด ที่เปนคนสำคัญและเปนหัวหน้า -