ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๙ หมวด ฉ

หมวด  ฉ
  • จดหมายมองเซนเยอร์คูเดว่าด้วยพวกบาดหลวงเกิดขัดใจกับพวกปอตุเกต หน้า ๑๔๕
  • จดหมายมองซิเออร์เดคูร์วิแยร์ ว่าด้วยพวกปอตุเกตหาความพวกบาดหลวง " ๑๕๒
  • จดหมายมองซิเออร์วิลแมง ว่าด้วยไทยส่งกองทัพไปเมืองญวน " ๑๕๔
  • ว่าด้วยพม่ายกทัพมาเมืองไทยอีก " ๑๕๖
  • จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์ ว่าด้วยไทยไปตีเมืองทวาย " ๑๕๗
  • จดหมายมองซิเออร์ลาวูเอ ว่าด้วยญวนและเขมรเชลยในบางกอก " ๑๕๘
  • จดหมายมองซิเออร์ลาวูเอ ว่าด้วยพวกเข้ารีดไม่ยอมทำการก่อกำแพงวัด " ๑๖๐
  • จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์ว่าด้วยว่าด้วยสอนสาสนาแก่พวกลาว " ๑๖๒
  • จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์ ว่าด้วยพวกเข้ารีดถูกบีบคั้น " ๑๖๔
  • จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์ ว่าด้วยขุนนางเข้ารีดไปบวชเปนพระสงฆ์ " ๑๖๕
  • จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์ ว่าด้วยคิดจะตั้งโรงพิมพ์ในบางกอก " ๑๖๘

(หน้า ๑๔๕)

จดหมายมองเซนเยอร์คูเดว่าด้วยพวกบาดหลวงเกิด ขัดใจกับพวกปอตุเกต

พวกบาดหลวงเกิดขัดใจกับพวกปอตุเกต

มองเซนเยอร์คูเด
ถึงมองซิเออร์เดคูร์วีแยร์
วันที่ ๑ เดือน มิถุนายน ค.ศ. ๑๗๘๔ (พ.ศ. ๒๓๒๗)

การที่ท่านเข้าใจว่าเมื่อปี ค.ศ. ๑๗๘๓ (พ.ศ. ๒๓๒๖) ข้าพเจ้าได้กลับเข้ามาอยู่ในราชธานีของประเทศสยามนั้นแล้ว เปนการที่ ท่านเข้าใจถูก เมื่อพระเจ้ากรุงสยามได้ทรงทราบว่าข้าพเจ้าได้มา ถึงเมืองนี้แล้ว ได้โปรดให้มีท้องตราไปยังผู้ว่าราชการเมืองให้จัด ส่งข้าพเจ้าเข้าไปยังบากอกโดยทันที แต่ถึงได้มีพระราชโองการอย่างเด็จขาดเช่นนี้ก็จริงอยู่ แต่พระเปนเจ้าหาได้ยอมให้ข้าพเจ้าเข้าไป บางกอกในปีนั้นไม่ การที่ข้าพเจ้าได้ไปช้าดังนี้ มีทั้งผลดีและร้าย เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอกเมื่อวันที่ ๔ เมษายนปีนี้ (พ.ศ. ๒๓๒๗) ข้าพเจ้าได้เห็นพวกเข้ารีดแตกสามัคคีกันหมด และการ แตกสามัคคีนี้ดูฝังดูดดื่มนัก ข้าพเจ้าออกจะทอดอาลัยว่าจะจัดการให้เปนที่เรียบร้อยไม่ได้เสียแล้ว พวกปอตุเกตได้ทำการขัดขวางมิให้การสาสนาได้แผ่ออกไปได้ โดยจะต้องการให้พวกที่เข้ารีดใหม่ เปนคนในบังคับของพระเจ้ากรุง ปอตุเกตทั้งหมด โรงเรียนเก่าก็ได้ช่วยในการที่จจะให้คณะบาดหลวง


๑๙



(หน้า ๑๔๖)

ให้ล้มเลิกไป และได้พยายามในการนี้ทุกอย่างจนถึงกับแก้ไข แบบธรรมเนียมของบ้านเมือง แก้ไขวิธีการแต่งกาย แก้ไขการอีก หลายอย่าง การที่ข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอกช้าไปเปนการให้ผลร้าย ก็ โดยทำให้มีเวลาที่จะให้บาดหลวงปอตุเกตคณะโดมินีแกง ได้มา ถึงบางกอกก่อนข้าพเจ้า แต่ก่อนนี้พวกบาดหลวงคณะนี้เคยมีวัดและ มีคนเข้ารีดอยู่พวก ๑ ครั้นเมื่อเกิดศึกขึ้นพวกเข้ารีดในค่ายปอตุเกต ก็ได้มารวมอยู่กับพวกเข้ารีดของเรา และนับว่าพวกนี้เปนพวกเดียว กับเราแล้วจนถึงกับเข้าได้ทอดอาลัยว่าคงจะไม่ได้เห็นบาดหลวง ปอตุเกตต่อไปอีกแล้ว ครั้นบาดหลวงปอตุเกตคนนี้มาถึง ก็เปน เวลาเหมาะเพราะพวกทหารเข้ารีดได้รับความยกเว้นไม่ต้องถือน้ำ พระพิพัฒน์สัตยาแล้ว จึงตั้งหน้าคอยบาดหลวงเพื่อจะได้ปฏิบัติการสาสนาได้ต่อไปอีก ยาดหลวงปอตุเกตคนนี้ได้นำหมายตั้งมาให้ดู หมายตั้งเหล่านี้เปนหมายตั้งของสังฆราชผู้จัดการคณะบาดหลวงเมืองโกอา และเปนหมายตั้งหัวหน้าในคณะของเขาเอง บาดหลวง ปอตุเกตคนนี้จึงได้แสดงตัว ว่ามีอำนาจทำการได้ทุกอย่างโดยไม่ ต้องขึ้นอยู่กับใครฝ่ายพวกเข้ารีดซึ่งแต่ก่อนเคยอยู่ในความปกครอง ของมิชชันนารีฝรั่งเศส ก็ขัดขวางไม่ยอมขึ้นกับบาดหลวงปอตุเกต คนนี้ และคงรักษาวัดและบ้านของเราให้คงอยู่ดังมองเซนเยอร์เลอ บอง และข้าพเจ้าได้จัดไว้ก่อนที่ข้าพเจ้าได้ออกจากเมืองไทย บาด



(หน้า ๑๔๗)

หลวงปอตุเกตจะเข้าไปทำพิธีในวัดก็ได้ แต่ลูกกุญแจและของต่าง ๆ คงอยู่ในเมืองครูสอนสาสนา ที่เราได้มอบไว้ให้รักษา ในระหว่างนั้น พวกเข้ารีดได้เกิดแตกสามัคคีขึ้น พวกเข้ารีดเถียงบาดหลวงปอตุเกตุ อยู่เสมอ แต่เพอิญเคราะห์ดี ด้วยในเวลานั้นเปนเวลาที่เกิด ศึกสงครามขึ้นทางเมืองเขมรและเมืองญวน มองเซนเยอร์ดาดรัง จะอยู่ในเมืองเหล่านั้นไม่ได้แล้ว จึงได้หนีเข้ามาอยู่เมืองจันทบุรี ซึ่งเปนเมืองขึ้นของไทย และในระหว่างที่พวกเข้ารีดแตกหมู่แตก คณะกันนั้นก็พอดีมองเซนเยอร์ ดาดรังก็ได้เข้ามาถึงบางกอก ท่านสังฆราชจึงได้จัดการทุกอย่างที่จะให้การเรื่องนี้สงบไป จึงได้เอาประกาศและหมายตั้งต่า งๆ มาให้บาดหลวงปอตุเกตดู ให้เห็นถึง การที่ควรจะต้องแบ่งหน้าที่และอำนาจกันอย่างไร บาดหลวงปอตุเกตได้เห็นประกาศและหมายตั้งแล้ว ก็สงบไป แต่ก็มิได้วายที่จะคิด ตั้งใจหาอำนาจ หากว่ามีความเกรงใจท่านสังฆราชจึงหยุดมิได้วุ่น วายต่อไปบาดหลวงปอตุเกตกับท่านสังฆราชจึงได้ตกลงกันว่า ในเวลานี้ยังไม่ต้องจัดการอย่างไรให้รอข้าพเจ้ามาถึงเสียก่อน ครั้นท่านสังฆราชได้ออกจากบางกอกก็เกิดความลำบากขึ้นอีกยิ่งกว่าเก่าเวลาก็จวนถึงวันนักขัตฤกษ์อิศเตอร์แล้ว ฝ่ายพวกปอตุเกต จะต้องการทำพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวด้วยงารนักขัตฤกษ์นี้จึงได้คิดขออำนาจบ้านเมือง โดยไปทูลขอสมเด็จพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดิน ให้ประทานวัดของเราให้แก่บาดหลวงปอตุเกตต่อไป การที่พวกปอตุเกต



(หน้า ๑๔๘)

คิดการครั้งนี้ก็สมปราถนา เพราะเหตุว่าสมเด็จพระอนุชาทรงเห็นว่า วัดเข้ารีดไม่มีบาดหลวงแล้ว มีแต่คนสามัญเฝ้ารักษาอยู่จึงได้มี รับสั่งให้มอบวัดเข้ารีดให้แก่บาดหลวงปอตุเกต จนกว่าข้าพเจ้าจะ มาถึง เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนมีนาคมเจ้าพนักงารจึงได้ไล่ให้ครูสอน สาสนาของเราออกจากวัดและออกจากบ้าน ครั้นเมื่อวันที่ ๔ เดือนเมษายนข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก พวกปอตุเกตและบาดหลวงปอตุ เกตก็ได้เข้าไปปกครองอยู่ในวัดนั้นแล้ว ฝ่ายพวกเข้ารีดไปเข้าใจ เสียว่าตัวได้ถูกไล่ออกจากวัดเสียแล้วก็ไม่เหยียบเข้าไปในวัดอีก เลย บางคนคิดที่จะทิ้งค่ายไปที่อื่น บางคนได้ไปขออนุญาต ท่านอรรคมหาเสนาบดี จะจัดเรือออกไปรับข้าพเจ้าก็มี และได้ เตรียมการที่จะออกเรือในวันที่ ๔ เดือนเมษายนในเวลาน้ำลง ครั้น ได้ทราบกันว่าข้าพเจ้าได้มาถึงแล้ว ก็พากันยินดีพร้อมกันหมด และได้จัดเรือไปรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้ไปยังบ้านสังฆราชซึ่งเปนบ้านเก่าของเราในเวลาเช้า ๕ โมง แต่หาได้ตีระฆังไม่ เพราะระฆังนี้อยู่ในความรักษาและ ปกครองของพวกปอตุเกต เวลานั้นข้าพเจ้าเหนื่อยล้ามากและได้ เปนไข้มาถึง ๘ วันแล้ว ข้าพเจ้าไม่มีแรงที่จะตรงไปเข้าโบสถ์ ได้ เมื่อข้าพเจ้าได้ต้อนรับพวกเข้ารีดทั้งหญิงชาลและเด็กซึ่งได้พา กันมาหาข้าพเจ้าเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้หยุดพักผ่อนร่างกาย ใน พวกเข้ารีดที่มาหาข้าพเจ้านั้นได้มีพวกปอตุเกตปนเข้ามาบ้าง



(หน้า ๑๔๙)

บางคน พวกที่ไม่ได้มานั้นได้แก้ตัวว่าข้าพเจ้าไม่ให้เข้า ส่วน บาดหลวงปอตุเกตนั้นหาได้มาไม่ แต่ข้าพเจ้าก็ทำไม่รู้เสีย มองซิเออร์วิลแมงได้มาถึงเมื่อวันอาทิตย์เวลา ๕ ทุ่ม ซึ่งกระ ทำให้ข้าพเจ้ามีความยินดีเปนอันมาก พอพระเจ้ากรุงสยามได้ทรงทราบว่าข้าพเจ้าได้มาถึงแล้ว ก็ได้ มีรับสั่งให้เจ้าพนักงารพาข้าพเจ้าไปเฝ้า เพราะฉนั้นเมื่อวันอังคารข้าพเจ้าจึงได้เข้าเฝ้ายังพระราชวัง ข้าพเจ้าไม่มีของที่จะถวาย เลย และที่จริงข้าพเจ้าก็ไม่พอใจในการที่ต้องถวายของเช่นนี้ แต่ข้าพเจ้าก็ได้เอาถุงมือไปถวาย ๓ คู่ กับกระดาษอย่างดีของยุโรป ถวายหลายแผ่น ของเหล่านี้พระเจ้ากรุงสยามโปรดมาก แต่ในวัน นั้นไม่สู้จะทรงสบายจึงทรงนัดเลื่อนให้ข้าพเจ้าไปเฝ้าในวันอื่น ตั้งแต่ วันนั้นมาก็ยังไม่ได้รับสั่งให้หาข้าพเจ้าอีกเลย ข้าพเจ้าได้มอบให้มองซิเออร์วิลแวงเปนธุระดูแลในโบสถ์ ลูกกุญแจต่าง ๆ ก็ยังตกอยู่ในมือบาดหลวงปอตุเกต ข้าพเจ้าจึงได้ให้คนไปเรียกเอามา ซึ่งกระทำฝห้พวกเข้ารีดในคณะบาดหลวงปอตุเกต ขัดเคืองข้าพเจ้า พวกนี้จึงนำความเข้าไปร้องในวัง คำขอร้อง พวกเข้ารีดคณะปอตุเกตนี้เจ้าพนักงารได้ถวายต่อสมเด็จพระอนุชา ของพระเจ้ากรุงสยาม สมเด็จพระอนุชาจึงได้มีรับสั่งให้แยกพวก เข้ารีดหอตุเกตออกพวก ๑ ต่างหาก ไม่ให้ปะปนกับพวกเข้ารีดของ ข้าพเจ้า และรับสั่งให้ก่อโบสถ์ขึ้นอีกหลัง ๑ ซึ่งพระองค์เองจะทรง



(หน้า ๑๕๐)

ช่วยด้วย แต่โบสถ?นี้ข้าพเจ้าฟังไม่แน่ว่าจะได้มีรับสั่งยกให้บาด หลวงปอตุเกตหรืออย่างไร เวลาเช้า ๔ โมงทหารรักษาพระองค์ของสมเด็จพระอนุชา ได้มาบอกข้าพเจ้าให้ไปเฝ้าสมเด็จพระอนุชาใน เวลาเที่ยง และได้เลยไปบอกบาดหลวงปอตุเกตฝห้ไปเฝ้าเหมือน กัน ข้าพเจ้าจึงได้ไปเฝ้าตามกำหนดพร้อมกับมองซิเออร์วิลแมง บาดหลวงปอตุเกตกับพวกเข้ารีดก็ได้ไปเฝ้าพร้อมกัน ครั้นพวกเรา ได้ไปคอยเฝ้าอยู่ถึง ๕ ชั่วโมงแล้ว จึงได้มีข้าราชการของสมเด็จ พระอนุชาเข้ามาในห้องคน ๑ ข้าราชการคนนี้ได้เรียกให้ข้าพเจ้า เข้าไปหาดุจข้าพเจ้าเปนผู้ร้ายหาใช่ข้าพเจ้าเปนสังฆราชไม่ ข้าพเจ้า จึงได้รู้สึกว่า พวกเข้ารีดปอตุเกตได้กล่าวโทษข้าพเจ้าต่อศาลของ บ้านเมือง ข้าราชการคนนี้ได้แสดงกิริยาอย่างหยาบต่อข้าพเจ้า และ ติข้าพเจ้าในการที่ข้าพเจ้าไปอยู่ในวัดซึ่งเปนของ ๆ ข้าพเจ้า แล้วข้า ราชการคนนี้จึงได้สั่งให้ข้าพเจ้ามอบวัดให้แก่บาดหลวงปอตุเกตโดย อ้างว่าเปนรับสั่งของสมเด็จพระอนุชา และได้สั่งบรรดาคนเข้ารีด ทั้งสองฝ่ายให้ช่วยกันสร้างวัดให้ข้าพเจ้าใหม่อีกหลัง ๑ ข้าพเจ้า จะต้องการตอบชี้แจง แต่ข้าราชการผู้นั้นไม่ยอมฟังคำอธิบายของข้าพเจ้า ข้าราชการผู้นี้ได้รับของกำนันจากพวกเข้ารีดปอตุเกต จึงได้หลับตาลำเอียงเข้าข้างผู้ให้ของ และแกล้งหาว่าข้าพเจ้ากับ บาดหลวงปอตุเกตวิวาทกัน ข้าพเจ้าและบาดหลวงปอตุเกตได้ช่วยกันปฏเสธว่าเราหาได้วิวาทกันไม่ ความจริงในเรื่องนี้นี้ถ้าหากว่า



(หน้า ๑๕๑)

พวกเข้ารีดปอตุเกตไม่ได้เข้ามายุ่งด้วยแล้ว บาดหลวงปอตุเกต กับข้าพเจ้าก็พอจะทำความตกลงกันได้ พวกเข้ารีดซึ่งได้ทำการฝ่าฝืนหมายตั้งของข้าพเจ้านั้นได้กลับไปด้วยความรื่นเริง และคิดจะพาบาดหลวงปอตุเกตลงเรือไปกับเขา ด้วย แต่บาดหลวงปอตุเกตหายอมไปกับพวกนั้นไม่ จึงได้ มาลงเรือของข้าพเจ้า ซึ่งทำให้พวกเข้ารีดไม่พอใจอย่างยิ่ง รุ่งขึ้นวันที่ ๒๘ เดือนเมษายนข้าพเจ้าได้บอกกับบาดหลวง ปอตุเกตให้มาจัดการเปนเจ้าของวัดต่อไป บาดหลวงปอตุเกตไม่ ยอม พวกเข้ารีดปอตุเกตก็บ่นไม่พอใจ วันเสาร์ที่ ๓๐ ข้าพเจ้า จึงได้ให้เรียกพวกผู้เถ้าทั้งสองฝ่ายให้มาประชุมพร้อมกัน บาด หลวงปอตุเกตกับมองซิเออร์วิลแมงก็มาประชุมด้วย ข้าพเจ้าจึงได้ ชี้แจงว่า การที่พวกเข้ารีดได้ประพฤติเช่นนี้เปนการไม่สมควรอย่างยิ่ง ที่พวกเข้ารีดจะฟ้องกล่าวโทษสังฆราชของตัวต่อศาลสามัญนั้นไม่เคย มีตัวอย่างเลย แต่เพราะเหตุว่าพระเจ้าแผ่นดินเปนนายอยู่ในที่ นี้ และพื้นแผ่นดินก็เปนของท่าน เพราะฉนั้นอิฐปูนกระเบื้อง สำหรับก่อวัดนั้นก็ต้องเปนของท่านด้วยเหมือนกัน จึงเปนการจำเปนที่ข้าพเจ้าจะต้องปฏิบัติตามพระราชประสงค์ แต่เมื่อการเปนดังนี้ข้าพเจ้าจะต้องประกาศว่าตั้งแต่วันนี้เปนต้นไป ข้าพเจ้าจะไม่เหยียบเข้าไปในวัดนี้อีกต่อไปและจะไม่ถือว่าที่นี้เปนวัด เพราะฉนั้นข้าพเจ้า ขอมอบวัดนี้ให้แก่บาดหลวงปอตุเกตตามอำนาจที่บาดหลวงได้รับมา



(หน้า ๑๕๒)

จากพระเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้าจึงได้ให้เอากุญแจมามอบกับบาด หลวงปอตุเกต แต่บาดหลวงหายอมรับไว้ไม่ เพราะบาดหลวงมิ ได้ขอเอาตัววัดนี้ ครั้งบาดหลวงไม่ยอมรับลูกกุญแจแล้ว ข้าพเจ้า จึงเอาลูกกุญแจมามอบไว้แก่พวกเข้ารีดปอตุเกตที่เปนผู้เถ้า แต่ คนเหล่านี้ก็ไม่ยอมรับไว้เหมือนกัน โดยอ้างว่าเขามิได้ขอเอาวัดนี้ รุ่งขึ้นเปนวันอาทิตย์ ข้าพเจ้าได้ทำพิธีสวดในวัดเล็กที่มีอยู่กับบ้านมองซิเออร์วิลแมงกับบาดหลวงปอตุเกตก็ได้มาเหมือนกัน ส่วนพวก เข้ารีดจะมาก็ได้ แต่พวกปอตุเกตมิได้มาเลยจนคนเดียว มิหนำ ซ้ำกลับห้ามบุตร์หลานมิให้มาเสียด้วย เพราะฉนั้นโบสถ์หลังใหญ่ เท่ากับถูกห้ามไม่ให้ใครเข้าไป และระฆังก็ไม่ได้ยินเสียงตีมา เกือบเดือน ๑ แล้ว


จดหมายมองซิเออร์เดคูร์วิแยร์ ว่าด้วยพวกปอตุเกต หาความพวกบาดหลวง

จดหมายมองซิเออร์เดคูร์แยร์
ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
ค.ศ. ๑๗๘๔ (พ.ศ. ๒๓๒๗)

มองซิเออร์วิลแมงได้มจดหมายมาเมื่อเดือนกรกฎาคม บอก มาว่าเวลานี้ยังเหลือคนเข้ารีดอยู่ประมาณ ๑๐๐ คนเท่านั้น และ ในหนังสือฉบับอื่น ๆ ก็บอกมาว่า พวกเข้ารีดไม่ได้เหยียบเข้าไป ในวัดเสียกว่าครึ่ง มีจีนเข้ารีดคน ๑ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในเมือง ไทยและเปนคนที่รักมิชชนนารีฝรั่งเศสได้มีหนังสือถึงข้าพเจ้าฉบับ ๑



(หน้า ๑๕๓)

บอกข่าวมาว่า พวกเข้ารีดปอตุเกตได้วุ่นขึ้นอีกคือ ๑ ได้พยายาม อีกครั้ง๑ ที่จะขอให้พระมหาอุปราชทำลายวัดของมองเซนเยอร์คูเดลงเสีย และได้กล่าวหาพวกฝรั่งเศสอย่างที่เคยถูกหามาแต่ก่อน แล้วว่า พวกฝรั่งเศสได้คิดขบถต่อพระเจ้ากรุงสยามตั้งแต่ครั้ง สมัยคนซตันตินปอลคอน ๒ พวกเข้ารีดปอตุเกตได้หาว่ามองเซน เยอร์ดาดรังได้ลักลอบส่งเสบียงอาหารให่แก่พระเจ้ากรุงญวน ซึ่ง หนีและๆม่ยอมกลับเข้ามาเมืองไทย ๒ และหาว่าพวหฝรั่งเศสได้รับ คนเข้ารีดผิดด้วยกฎหมายของแผ่นดินหลายคน ในจดหมายฉบับ นี้ได้เล่าต่อไปว่า เมื่อพระมหาอุปราชได้รับคำร้องพวกเข้ารีดปอตุ- เกต กล่าวโทษพวกฝรั่งเศสดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ดูพระ มหาอุปราชก็เฉย ๆ อยู่ หาได้เปนพระธุระในเรื่องนี้อย่างใดไม่ แต่การต่อไปจะเปนอย่างไร ไม่มีใครคาดการถูกได้

๒๐


(หน้า ๑๕๔)

จดหมายมองซิเออร์วิลแมง ว่าด้วยไทยส่งกองทัพไป เมืองญวน

เรื่องไทยส่งกองทัพไปเมืองญวน พม่ายกทัพมาเมืองไทยอีก

จดหมายมองซิเออร์วิลแมง ถึง
มองซิเออร์เดคูร์วิแยร์
บางกอก ค.ศ. ๑๗๘๕-๑๗๘๖ (พ.ศ. ๒๓๒๘ - ๒๓๒๙)

กองทัพไทยได้มีฃัยชนะมาหลายครั้งหลายคราวแล้ว ครั้น วันที่ ๑๘ เดือนมกราคมกองทัพไทยได้แพ้และได้แตกกระจายไปหมดกองทัพไทยต้องทิ้งเรือไว้หลายร้อยลำ และเรือของกองทัพเขมร ซึ่งบันทุกเสบียงอาหารก็ต้องทิ้งไว้เหมือนกัน ข้าศึกได้มาจับเรือพวก นี้ได้หมดทั้งศัสตราอาวุธไทยก็ต้องทิ้งเสียเปนอันมาก และมีคนไทย กว่า ๕๐๐ คน คนเข้ารีด ๑๖ คนหนีไม่ทันต้องตกค้างอยู่ฝั่งแม่น้ำ ฝั่งโน้น และในหมู่นี้คือเดือนมิถุนายน ทหารในกองทัพไทยซึ่งยัง เหลืออยู่ก็หนีกลับมาในกรุงอยู่เนือง ๆ กองทัพไทยในชั้นเดิมนั้นมี คนอยู่ราว ๕๐๐๐ ถึง ๖๐๐๐ คน ในคนเหล่านี้ได้ตายเสียในที่รบราว ๑ ใน ๓ ส่วน และพวกเขมรก็ตายมากเหมือนกัน พลทหารบางคน ซึ่งกลับมาถึงกรุงนั้น ถูกอาวุธบาดเจ็บปางตายหลายคน แต่ข้างฝ่ายข้าศึกนั้นทหารได้ล้มตายมากกว่าฝ่ายไทย เมืองเขมรนี้ดูน่าอนาถใจมาก ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พวก เข้ารีดในเมืองไทยซึ่งพวก ไท้สน (Tay-son) ได้พาไปเมืองญวนนั้น ได้ถูกกองทัพเขมรบังคับให้กลับไปอยู่เมืองเขมร เพราะในเวลานี้


(หน้า ๑๕๕)

ได้เปลี่ยเจ้าเมืองเขมรใหม่แล้ว และฝ่ายแม่ทัพไทยก็ได้แนะนำ ให้พวกนี้ไปอยู่เมืองเขมรเหมือนกันแต่ครั้นกองทัพไทยได้แตก ยับเยินในคราวนี้ พวกเข้ารีดก็เกิดกลัวพวกไท้สนขึ้นจึงได้หนีเข้า ป่าไปหมด มีคนเล่ากันว่ามองซิเออร์ลังเกอนัว ก็ถูกปล้น และเมื่อวันซืนนี้ได้มีคนไทยมาชวนใหข้าพเจ้าซื้อของจากวัดเมืองเขมร ข้าพเจ้าจะ ได้พยายามจัดการช่วยมองซิเออร์ลังเกอนัวบ้าง บางทีข้าพเจ้าก็จะ ชักชวนให้เขามาอยู่ในเมืองนี้ด้วย มองซิเออร์ ปิแยร์ลังเกอนัวได้เดิรทางบกมาถึงบางกอกเมื่อวัน ที่ ๒๙ เดือนกรกฎาคม และได้พาคนเข้ารีดมาจากเมืองเขมรประมาณ ๔๕๐ คน กับชาวเขมรซึ่งเปนทาสของพวกเข้ารีดอีก ๑๐๐ คนเศษ มองซิเออร์ลังเกอนัวได้ทิ้งพถวกเข้ารีดไว้ที่เหนือเมืองเขมรประมาณ ๒๗๐ คน และมองซิเออร์ลังเกอนัวบอกว่า เมื่อการทั้งปวงสงบ เรียบร้อยแล้วจะได้กลับไปอยู่เมืองเขมรอีก

_________________________________________________________
๑ ในเรื่องที่พวกเข้ารีดถูกปล้น คือมีเรือประมาณ ๑๕ ลำ กับของเครื่องแต่งตัว เขมรซึ่งได้ทำขึ้นที่เมืองซาเด็กนั้น ขอให้เข้าใจว่าผู้ที่ปล้นนั้น เปนพวกญวนพรรคพวก ของเจ้าแผ่นดินญวนองค์เก่า หาใช่พวกไทยปล้นไม่ ผู้บังคับการกองทัพไทยชื่อพระยานครสวรรค์ ได้ถูกหาว่าเปนขบถพระเจ้ากรุงสยามจึงมีรับสั่งให้จับตัว และไปจับตัวพระยานครสวรรค์ได้ที่ปากน้ำเมืองญวน เจ้าพนักงารได้พาพระยานครสวรรค์กลับไปเมืองไทย พระ- ยานครสวรรค์ ต้องรับพระราชอาญาประหารชีวิตและถูกริบราชบาทว์ด้วย เมื่อได้ไปริบ ของ ๆ พระยานครสวรรค์จึงได้ไปพบของบางอย่างซึ่งพวกญวนได้ปล้นไป



(หน้า ๑๕๖)

ว่าด้วยพม่ายกทัพมาเมืองไทยอีก

พวกพม่าได้ยกทัพเข้ามาไม่หยุดเลยจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๗๘๖(พ.ศ. ๒๓๒๘) แต่เปนการเคราะห์ดีที่พระเจ้ากรุงสยามของเรา
ได้ทรงตระเตรียมการไว้ล่วงหน้า โดยโปรดให้จัดกองทัพให้ เปนระเบียบดีขึ้น และโปรดให้ขุดสนามเพลาะเตรียมไว้
เพราะพวกพม่าข้าศึกได้เตรียมการที่จะมาตีเมืองไทยอยู่หลายเดือน

อยู่ดี ๆ โดยไม่ทันรู้ตัว พม่า ก็ยกทัพมามีพลประมาณ ๙๐,๐๐๐ คน ซึ่งเปนคนไทยบ้าง ลาวบ้าง แขกอารากันบ้าง
พวกข้าศึกได้แยกกองทัพเข้ามาเปน ๔ กอง แต่ด้วย พระเปนเจ้าช่วย
ไทยได้ไปต้านทานกองทัพพม่าแตกหนีไปทั้ง ๔ กอง โดยเกือบจะไม่ต้องรบกันเลยก็ว่าได้ เพราะทั้งสองฝ่ายไม่ใคร่ได้มีคนล้มตาย

และพวกเข้ารีด ไม่ได้ตายเลยจนคนเดียว ไทยจับของเชลยจากพม่า ได้เปนอันมาก มีช้างม้าและโคเปนต้น
และจับพม่ามาเปนเชลยหลายร้อยคน เชลยเหล่านี้ ล้วนแต่ต้องจำโซ่ตรวนทั้งนั้น
และในเวลาที่พม่าข้าศึกแตกหนีไปนั้น ไทยก็ได้ไล่ฆ่าฟันล้มตายเปนอันมากทั้ง ๔ กอง

เขาพูดกันว่า ทัพพม่าที่แตกหนีไปคราวนี้ ได้รับคำสั่งให้พักอยู่ที่ชายแดนพม่ากับไทย และให้ทหารเหล่านี้ระดมกันทำนา
เมื่อเก็บเกี่ยวเข้าเสร็จแล้ว พม่าจะได้ยกลงมาตีไทยอีก แต่การที่พม่าคิดการเช่นนี้ เห็นจะเปนการขู่
เพราะพม่ากลัวไทยจะไล่ติดตามไปอีก
แต่จะอย่างไรก็ดี ถ้าพม่ายกเข้ามาคราวใด อาหารการกินในเมืองไทยก็แพงขึ้นทุกที
วันนี้เข้าเกวียนหนึ่ง ๘๐ สัดเล็กเปนราคาถึง ๔๕ บาท -



(หน้า ๑๕๗)

- (เหรียญ ๒๗ เหรียญ)ฉ
แต่การที่เข้าแพงนั้นเปนด้วยในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนน้ำท่วมมาก ซึ่งทำให้เข้าในนาเสียเปนอันมาก ทั้งทำให้ผลไม้ตามสวนในบางกอก
และในที่ใกล้เคียง ล้มตายมากที่สุด
ที่เมืองเขมรน้ำก็ท่วมนาเสียและต้นผลไม้ล้มตายเหมือนกับในเมืองไทย แต่ที่อาหารการกินแพงนั้น ก็เพราะพม่าข้าศึกมาช่วยกินและเผา
เสียก็มากเหมือนกัน


จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์ ว่าด้วยไทยไปตีเมืองทวาย

จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์
ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
เกาะหมากวันที่ ๒๔ เดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๗๘๘ (พ.ศ. ๒๓๓๑)

ด้วยพวกไทยมีความเบื่อหน่าย ในการที่พม่ายกเข้ามาทำศึกทุก ๆ ปีไม่เว้นเลย
และการที่พม่าเข้ามาคราวใด ก็ต้องพ่ายแพ้กลับไปทุกที เพราะฉนั้น ไทยเบื่อหน่ายเข้าเต็มทีแล้ว จึงได้ยกกองทัพไปตีพม่าบ้าง

ตามข่าวที่ทราบมา ได้ความว่า กองทัพไทยได้ตีเมืองทวาย และเมืองมะริดกลับคืนมาได้แล้ว
และได้ทราบต่อไปว่าพม่าเห็นจะสู้ไทมยไม่ไหวเปนแน่ เพราะไทยกลับแขงแรงและกล้าหาญขึ้นมาก
ไม่อ่อนแอเกียจคร้านเหมอนแต่ก่อนแล้ว พวกเราหวังกันว่าในไม่ช้าก็จะถึงเวลาที่จะได้รับความสุข ไม่ต้องวุ่นวายดังแต่ก่อน ๆ มา
พระเปนเจ้าจงโปรดให้เราได้รับความสุข ต่อไปเถิด



(หน้า ๑๕๘)

จดหมายมองซิเออร์ลาวูเอ ว่าด้วยญวนและเขมรเชลย ในบางกอก

เรื่องพวกญวนและเขมรเปนเชลยในบางกอก

จดหมายของมองซิเออร์ลาวูเอ
ถึงมองซิเออร์ อาลารี
ค.ศ. ๑๗๙๐ (พ.ศ. ๒๓๓๓)

ด้วยพวก ชาวตั๋งเกี๋ย ได้หนี พวกไท้สน (Tay-son) ไปทำการค้าขายยังเมืองลาว ไทยจึงได้จับพวกชาวตั๋งเกี๋ยวเปนเชลยประมาณ ๔๐๐ คน
และได้พาเชลยเหล่านี้มายัง บางกอก เมื่อมาถึงบางกอกแล้ว
พวกเชลยเหล่านี้ได้ตายไปด้วยอดอาหารบ้าง ทนความเหน็จเหนื่อ เดิรทางไม่ได้บ้าง ประมาณ ๓๐๐ คนแล้ว

ได้มีพวกเข้ารีดไปอาศรัยอยู่กับพวกไทยประมาณ ๒๐ คน คนเหล่านี้ได้ไปอยู่นอกเมืองไม่ห่างไกลเท่าไรนัก เพราะเปนที่ซึ่งพระเจ้ากรุงสยาม
ได้ทรงจัดให้พวกนี้ไปตั้งค่ายอยู่

ข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมพวกนี้และได้เอายาไปแจกด้วย ข้าพเจ้าเจตนาจะช่วยพวกนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่วิญญาณและร่างกายของเขา
จึงได้ปลูกวัดเล็ก ๆ ให้ ๑ หลัง เพื่อพวกนี้จะได้รวบรวมกันได้

มีพวกไม่ได้เข้ารีดหลายคน ได้มาขอจะ เข้ารีด ถ้าหากว่า มีมิชชันนารีคอยจัดการอยู่สักคน ๑ พวกนี้ก็คงจะเข้ารีดทุกคน
แต่เปนการเคราะห์ร้ายด้วยเวลานี้ไม่มีใครเลย เพราะมีแต่ มองซิเออร์ ฟลอรังซ์ อยู่ที่บางกอกคนเดียวเท่านั้น
และท่านผู้นี้ก็มีหน้าที่ควบ -



(หน้า ๑๕๙)

- คุมพวกเข้ารีดไทย และปอตุเกต ซึ่งมีจำนวนถึง ๖๐๐ คนอยู่แล้ว
ใกล้กับค่ายพวกญวนนั้น ยังมีค่ายเขมรอีกค่าย ๑ มีคนประมาณ ๕๐๐ คน
เมื่อ พวกเขมร ได้เห็นข้าพเจ้า สร้างวัดขึ้น พวกนี้ก็พากันดีใจ แต่พวกนี้ ก็หาได้เปนคนเข้ารีดไม่
ถ้าข้าพเจ้าจะคงอยู่กับพวกนี้ได้ ดูเหมือนจะมีคนมารับคำสั่งสอนมาก -

................................


(หน้า ๑๖๐)

จดหมายมองซิเออร์ลาวูเอ ว่าด้วยพวกเข้ารีดไม่ยอมทำ การก่อกำแพงวัด

เรื่องเกตุที่เกิดขึ้นในเวลาสร้างพระอาราม

จดหมาย มองซิเออร์ ลาวูเอ
ถึงมองซิเออร์ บัวเรต์
บางกอก วันที่ ๑๒ เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๗๙๑ (พ.ศ. ๒๓๓๓)

เวลานี้ ข้าพเจ้ากลับมาอยู่ที่บางกอก แทน มองซิเออร์ฟลอรังซ์แล้ว เพราะ มองซิเออร์ฟลอรังซ์ จะไปอยู่เมืองจันทบุรีหลายเดือน

เมื่อวารนี้ วันที่ ๑๑ เดือนกุมภาพันธ์ พวกเข้ารีดของเรา เกือบต้องเปนอันตรายทุกคน หากว่าพระเยซูได้โปรดช่วยให้เข้าได้รอดพ้นอันตราย
โดยมีเกียรติยศอยู่บ้าง
เรื่องที่เกิดขึ้น เกี่ยวแก่การที่ไทย จะก่อกำแพงวัด พวกเข้ารีดที่เปนชาวเขมร อยู่ในบังคับ ปอตุเกต
ได้ร้องขึ้นว่า การที่จะก่อกำแพงวัดเช่นนี้ เปนการที่ สาสนาคริศเตียน ห้ามไม่ให้เขาทำ
พวกข้าราชการไทยที่กำกับการก่อกำแพงนั้น หาฟังเสียงพวกเข้ารีดไม่ จึงพูดว่า
"พระเจ้าแผ่นดิน ได้มีรับสั่งแล้ว เพราะฉนั้น ต้องทำตามรับสั่ง ถึงวันกำหนดพวกนี้ ต้องมาทำงาร ตามรับสั่ง"

พวกหัวหน้าเข้ารีด จึงได้ปรึกษาหารือกับพวกทหารเข้ารีด และได้ตกลงกันว่า จะเปนตายร้ายดีอย่างไรก็ตาม
พวกนี้จะไม่ยอมก่อกำแพงวัดเปนอันขาด
แต่ถ้าถึงกำหนดวันพวกเข้ารีดจะต้องไป -



(หน้า ๑๖๑)

- พร้อมกัน
และถ้าเสนาบดี จะสั่งให้พวกนี้ทำงารแล้ว ก็ให้ขอร้องขึ้นพร้อมกัน ขอทำงารอย่างอื่น
ครั้นรุ่งเช้า พวกเข้ารีด ได้ไปพร้อมกันอยู่ใกล้กับวัด พอข้าราชการผู้กำกับงานเห็นพวกนี้เข้าก็สั่งให้ไปทำงาร
พวกเข้ารีดก็ไม่ยอมไป ข้าราชการผู้นี่นก็โกรธเปนอันมาก จึงได้ฉวยหวายไล่ตีพวกทหารเพื่อจะให้กลัว

ในขณะนั้นพอดี พระเจ้ากรุงสยามก็เสด็จมาทอดพระเนตร์งาร จึงรับสั่งถามว่า เฆี่ยนตีด้วยอะไรกัน
ครั้นทรงทราบว่า เพราะเหตุที่พวกเข้ารีดไม่ยอมทำงาร ที่เกี่ยวด้วยวัด โดยเขาอ้างว่าเปนการผิดสาสนานั้น
จึงได้รับสั่งว่า ไม่ได้มีพระราชประสงค์จะข่มขืนให้พวกเข้ารีดทำการ ที่ผิดด้วยกฎหมายของเขา และในเรื่องนี้ก็ได้รับสั่งไว้ครั้ง ๑ แล้ว

เพราะฉนั้น โปรดให้พวกเข้ารีดกลับไปได้ แต่รับสั่งว่า ในเรื่องนี้ก่อนที่จะทำอะไร ก็ควรจะกราบทูลให้ทรงทราบเสียก่อน
ในคราวนี้ มีผู้ถูกตี ๘ หรือ ๑๐ คนเท่านั้น
ครั้นพวกเข้ารีด เห็นว่า พระเจ้ากรุงสยาม มิได้ทรงถือโทษอย่างไร ก็พากันยินดีเปนที่สุด ต่างคนจึงรีบมายังวัดเข้ารีด
เพื่อขอบพระคุณ พระเปนเจ้า ที่ได้ช่วยเหลือเห็นประจักษ์แก่ตา เช่นนี้


๒๑


(หน้า ๑๖๒)

จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์ว่าด้วยว่าด้วยสอนสาสนาแก่ พวกลาว

ข่าวบางกอกตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๘ ถึง ค.ศ. ๑๘๑๐ (พ.ศ. ๒๓๔๐ ถึง ๒๓๕๐)
ว่าด้วยพวกลาว

จดหมายมองเซนเยอ กาโนต์
ถึงมองซิเออร์เดคูร์วิแยร์
บางกอกวันที่ ๒ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๗๙๘ (พ.ศ. ๒๓๔๑)

เมื่อ ๓ปีล่วงมาแล้ว ได้มี คนอพยพยกครอบครัวมาอยู่เมืองนี้ เปนอันมาก ไม่ทราบว่าคนจำพวกนี้จะเปนคนชาติใด แต่พูดภาษาลาว
คล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก พอพูดเข้าใจกันได้ง่าย

พวกนี้ ไม่ได้นับถือ พุทธสานา และโดยมากสักแขนเปนรูปไม้ กางเขน
พอพวกนี้ มาอยู่บางกอกได้ สองสามวัน หัวหน้าก็ได้ มาหาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้จัดให้คนเข้ารีดทั้งหญิงและชายไปเยี่ยมคนพวกนี้
และให้ช่วยกันรักษาพวกที่ป่วยด้วย

ข้าพเจ้าเองก็ได้ไปเยี่ยมพวกนี้ เขาจึงได้เอาหนังสือมาให้ข้าพเจ้าดู ตัวอักษรนั้น คล้ายกันอักษรไทยมาก ข้าพเจ้าดูอยู่ครู่เดียวก็อ่านออก
หนังสือที่เขาเอามาให้ข้าพเจ้าดูนั้น เกี่ยวด้วยการสาสนา ที่เขาได้จดจำเอาไว้ สังเกตข้อความก็คล้ายคลึงกับในคัมภีร์ของสาสนาคริศเตียนมาก
เพราะฉนั้น ถ้าได้ลงมือสอนสาสนาแล้ว พวกนี้ก็คงเข้าใจได้ง่าย
ข้าพเจ้าก็หมายว่า จะตั้งหน้าสอนพวกนี้สักคราว แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะเหตุว่าพวกนี้ ต้องถูกเกณฑ์ไปทำการโยธา ไกลจากกรุง ฯ
หนทางถึง ๒ - ๓ วัน คนที่อพยพมา -



(หน้า ๑๖๓)

- คราวนี้จำนวนคน ๘๐๐ คน เม่อสองสามเดือนที่ล่วงมาแล้วนักเรียนของเราคน ๑ ได้เข้าไปในเมืองเพื่อไปค้าขาย จึงได้ไปพบลาวชราคน ๑
นักเรียนของเรา จึงได้ไปสั่งสอนลาวคนนี้ แล้วถามว่า ตามที่สอนนี้เชื่อหรือไม่ ลาวคนนี้จึงได้บอกว่าเชื่อ

และเล่าต่อไปว่า พุทธสาสนานั้น ลาวคนนี้ไม่เชื่อเลย ลาวคนนี้เดิมบวชเปนพระสงฆ์ไทย และก็เปนคนใหญ่ อยู่ในคณะสงฆ์ด้วย
อีกสองสามวัน ลาวคนนี้ก็ได้กลับไปยังบ้านเมืองของตัว ซึ่งเปนเมืองขึ้นแก่ไทย



(หน้า ๑๖๔)

จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์ ว่าด้วยพวกเข้ารีดถูก บีบคั้น

พวกเขารีดถูกกดขี่บีบคั้น

จดหมายของมองเซนเยอร์กาโนต์
ถึงมองซิเออร์เดคูร์วิแยร์
บางกอกวันที่ ๒ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๗๙๘ (พ.ศ. ๒๓๔๑)

ข้าพเจ้า ต้องรายงารให้ ท่านคาดีแนล ทราบ ถึงการที่เราได้ถูกกดขี่บีบคั้นมาตั้งแต่เดือน กันยายน ค.ศ. ๑๗๙๖ (พ.ศ. ๒๓๓๙)
ตลอดถึงราวกลางปี ค.ศ. ๑๗๙๗ (พ.ศ. ๒๓๔๐) แต่การที่เราได้ถูกกดขี่คราวนี้ ได้ทำให้สาสนามีชื่อและเกียรติยศขึ้นเปนอันมาก
เพราะ เรื่องนี้ได้เลื่องลือไปตลอดทั่ววพระราชอาณาเขต
จนที่สุดในเวลานี้ พระเจ้ากรุงสยาม ไม่ทรงฟังในการที่ มีผู้กล่าวโทษพวกเข้ารีดแล้ว

การที่เกิดขึ้นคราวนี้ เกิดจากพวกเข้ารีดของเราเอง ได้แตกสามัคคีกันขึ้น เพราะพวกเข้ารีดเหล่านี้ คิดจะไล่สังฆราชไปเสีย
และ คิดจะพา บาดหลวงปอตุเกต มาแทน สังฆราช จนถึงกับจัดคนไปเมืองจีน ๒ คน แล้ว เพื่อให้ไปหาสังฆราชเมืองมาเก๊า

สังฆราช เมืองมาเก๊า ก็ได้รับรองตามความต้องการของพวกเข้ารีด ในสิ่งที่ไม่ขัดกับอำนาจของโป๊ปและไม่ขัดกับการปกครองของคณะบาดหลวง
แต่ในชั้นนี้ สังฆราชเมืองมาเก๊า เปนแต่มีจดหมายมาถึงพวกเข้ารีดเท่านั้น
จดหมายฉบับนี้ ข้าพเจ้าได้พบอยู่ในห่อหนังสือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้เรียกพวกเข้ารีดมา เพื่อจะมอบหนังสือให้

ตั้งแต่แรกได้เกิดการกดขี่กันขึ้นได้มีพวกเข้ารีดผู้หญิงบางคน -



(หน้า ๑๖๕)

ไปเฝ้าเจ้านายผู้หญิง เจ้านายผู้หญิงจึงรับสั่งว่า
"เอะอะอะไรกัน เห็นจะเปนด้วยเหตุมีบาดหลวงปอตุเกตมาบางกอกแล้วกระมัง"
พวกเข้ารีดผู้หญิงจึงได้ทูลว่า "บาดหลวงปอตุเกตยังหามาไม่"
แต่เจ้านายผู้หญิงไม่ใคร่จะทรงเชื่อ เพราะยังทรงจำได้ว่าบาดหลวงปอตุเกตมาคราวก่อน เอะอะกันอย่างไรบ้าง


จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์ ว่าด้วยขุนนางเข้ารีดไป บวชเปนพระสงฆ์

จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์
ถึงเปรเฟเดอลาโปรปากานด์
วันที่ ๘ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๗๙๘ (พ.ศ. ๒๓๔๑)

เราได้พ้นจากการกดขี่ อันเปนที่น่าน้อยใจเพราะเหตุว่า เปนเรื่องที่เกิดขึ้นจากพวกเข้ารีด ซึ่งคิดเอาใจออกหากจากคณะบาดหลวง
ตั้งแต่วันแรก ๆ ที่เกิดเรื่องขึ้น พวกเข้ารีดเกรง ขุนนางที่เข้ารีดอยู่คน ๑
เพราะขุนนางผู้นี้ ยังซื่อตรงต่อคณะบาดหลวง ของตัวอยู่

พวกเข้ารีด จึงคิดจะกำจัดขุนนางผู้นี้เพื่อจะไม่ให้มาขัดขวางได้ จึงกล่าวโทษหาว่าขุนนางผู้นี้
ได้ละทิ้งสาสนา ของบิดามารดา ไปเข้ารีดเปนคริศเตียน
พอความนี้ ทรงทราบถึงพระเจ้ากรุงสยาม จึงได้ มีรับสั่งให้ขุนนางผู้นั้น เข้าวัดและให้บวชเปนพระสงฆ์เสีย
แต่ใน ครั้งนั้น ขุนนางผู้นี้ มีโอกาศพอจะหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปบวชได้ ต่อมาได้มีรับสั่งเปนครั้งที่ ๒ ให้ขุนนางผู้นี้ ไปบวชเปนสงฆ์
และห้าม มิให้ เข้าไปในวัดเข้ารีดอีก ต่อไป เปนอันขาด

ขุนนางผู้นี้ซึ่งมีความ -



(หน้า ๑๖๖)

- รู้ในสาสนาคริศเตียนแต่เล็กน้อย และรู้เท่าที่บุตร์หญิงลักสอนให้ในเวลากลางคืนนั้น จึงได้ ละสาสนาคริศเตียนไปเข้าไปบวชเป็นภิกษุสงฆ์
ตามรับสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน และ กลับเปน ผู้กดขี่ครอบครัวของตัวเสียด้วยซ้ำ
การเรื่องนี้มีเรื่องราวดังนี้

ในชั้นเดิม พระเจ้ากรุงสยาม ได้ตั้งพระทัยไว้ว่า จะยกขุนนางผู้นี้ขึ้นเปนขุนนางผู้ใหญ่ มาวัน ๑ พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงปรึกษาเรื่องนี้
อยู่กับสมเด็จ พระอนุชา ๆ จึงได้กราบทูลว่า ขุนนางผู้นี้ เปนคนไม่ซื่อสัตย์ และขัดพระราชโองการ โดยขืนไปยังวัดเข้ารีดบ่อย ๆ ผิดรับสั่ง

พระเจ้ากรุงสยามจึงได้กริ้วและรับสั่งให้ไต่สวนเรื่องนี้ต่อไป และโปรดให้เอาภรรยาและบุตร์ชายบุตร์หญิงของขุนนางจำเลยผู้นี้มาเปนประกันว่า
ต่อไปขุนนางผู้นี้ จะเปนผู้ซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดี ต่อพระเจ้าแผ่นดิน
บุตร์ภรรยาของขุนนางผู้นี้ เดิมก็เปนคนเข้ารีด แต่ได้ถูกบังคับให้ละทิ้งสาสนาคริศเตียน และให้นับถือ พุทธสานา ต่อไป

เมื่อต้นเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๗๙๖ (พ.ศ. ๒๓๓๙) เจ้าพนักสารได้นำภรรยาของจำเลย ไปยังผู้พิพากษา แต่คำให้การในชั้นแรกเปนถอยคำซึ่ง
สมควรพระเจ้าแผ่นดินจะควรกริ้วอยู่บ้าง ผู้พิพากษาจึงได้อธิบายว่า การที่จะดื้อดึงอยู่เช่นนี้เปนการให้ใส่ร้ายแก่ตัวเอง
แต่ หญิงภรรยาจำเลยก็ไม่ยอมถอนคำที่ได้ให้ไว้แต่เดิม เจ้าพนักงาร จึงได้เอาหญิงผู้นี้จำตรวนเสีย เพื่อจะให้กลับใจมานับถือพุทธ -



(หน้า ๑๖๗)

- สาสนาต่อไป

ภายหลังอีก ๓ วัน คือวันที่ ๑๐ เดือนกันยายน เจ้าพนักงารได้พาบุตร์ของจำเลยไปยังศาล คือ ผู้ชาย ๒ คน ผู้หญิง ๒ คน
คนสุดท้องนั้น เปนผู้ชายอายุ ๑๔ ปี และ เปนนักเรียนอยู่ในโรงเรียน ของเรามาได้ ๒-๓ เดือนแล้ว
เจ้าพนักงารได้ พาพี่ชายและพี่สาวไปก่อน ส่วนน้องสุดท้องคนที่ว่านี้ ยังรออยู่ที่โรงเรียน เพราะเขาทราบอยู่แล้วว่า
บิดามารดา ได้ถูกทำโทษมาอย่างไร
ครั้นมีคนถาม เด็กนี้ว่า จะยอมตามที่เจ้าพนักงารบังคับ เพื่อไม่ต้องถูกกดขี่หรือ อย่างไร เด็กผู้นี้ก็ได้ตอบว่า
ถ้าทำเช่นนั้น ก็เสียเกียรติยศของคนเข้ารีต และเขาได้บอกกับมารดาของเขาว่า เขายอมตายกับมารดาเพื่อสำหรับรักษาชื่อของพระเยซูไว้

.............................



(หน้า ๑๖๘)

จดหมายมองเซนเยอร์กาโนต์ ว่าด้วยคิดจะตั้งโรงพิมพ์ ในบางกอก

เรื่องคิดจะตั้งโรงพิมพ์ในบางกอก

จดหมาบมองเซนเยอร์ กาโนต์
ถึงมองซิเออร์เดคูร์วิแยร์
เมืองปอนดีเชรีวันที่ ๑๓ เดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๗๘๗ (พ.ศ. ๒๓๓๐)

ขอท่านได้โปรดจัดส่งตัวพิมพ์มายังข้าพเจ้าด้วย เพราะโรงพิมพ์นี้ จะเปนประโยชน์แก่ข้าพเจ้าเปนอันมาก
ด้วยเวลานี้ข้าพเจ้า มีคนเข้ารีดที่อ่านหนังสือฝรั่งได้ถึง ๙ คน
ข้าพเจ้าจะพิมพ์สำเนา และอ่านทานคนเดียวไม่ไหว ตัวพิมพ์ที่ท่านจะส่งมายังข้าพเจ้านั้น
ขอได้โปรดเลือกตัวพิมพ์ และ หมึกที่จำเปนจะต้องใช้ และซึ่งจะหาในเมืองนี้ไม่ได้