ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๙

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๙ เรื่องจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ ราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในกรุงสยาม ครั้ง แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( ตอนที่ ๓ ต่อจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๘ )

พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย)

เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๗๑

พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ ศรีกรุง


คำนำ คุณ หญิง จำเริญ พิจารณาปฤชามาตย์ ผู้เปนเจ้าภาพงานศพ มหาอำมาตย์ โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตร์สุปฤชา (สุหร่าย วัชราภัย) มาแจ้งความยังราชบัณฑิตสภาว่าปรารถนาจะพิมพ์ หนังสือสำหรับแจกเมื่องานพระราชทานเพลิงศพสามี ขอให้ราชบัณฑิตย สภาช่วยเลือกเรื่องหนังสือให้ พระยาพิจารณา ฯ เปนมิตรเก่าของ ข้าพเจ้าคนหนึ่ง ชอบกันมาตั้งแต่ยังเปน มหาดเล็กวิเศษในรัชชกาล ที่ ๕ จนตลอดอายุ ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีด้วยได้มีโอกาสช่วยทำงานศพให้ บ้างเล็กน้อย เสียดายอยู่หน่อย ที่งานศพ ประจวบเวลา ข้าพเจ้ามี กิจธุระอย่างอื่น ไม่สามารถจะแต่งหนังสือ ซึ่งเดิมได้จำนง สำหรับจะ พิมพ์ในงานศพพระยาพิจารณาฯ ให้สำเร็จทันงานได้ จึงได้เลือก หนังสือเรื่องจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ ราชทูตฝรั่งเศส ซึ่ง เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คุณหญิงจำเริญพิมพ์ตามประสงค์ อันหนังสือจดหมายเหตุเรื่องฝรั่งเศส ซึ่งมีการติดต่อกับไทย นั้นมีมากมาย เริ่มแต่แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลงมาจน ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร เปนหนังสือสัญญาบ้าง รายการบ้าง รายงาน บ้าง คำสั่งบ้าง จดหมายบ้าง เก็บรวบรวมอยู่ในกระทรวงว่าการเมือง ขึ้นของฝรั่งเศสก็มี ในกระทรวงต่างประเทศก็มี ในหอสมุด สำหรับเมืองก็มี ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ เลขานุการราชบัณฑิตย


ก สภา ได้ขอคัดสำเนา มาไว้ในหอพระสมุด ฯ คราวออกไปเยี่ยมบ้าน เรือนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ราชบัณฑิตสภาเห็นเปนจดหมายเหตุที่ให้ ความรู้ทางพงศาวดารอันเกี่ยวกับต่างประเทศเปนอย่างดี จึงได้ จัดให้แปลขึ้นไว้เปนหนังสือสำรองพิมพ์เปนพวก ๆ เช่น จดหมาย เหตุของพวกบาดหลวงฝรั่งเศส และของพวกพ่อค้าฝรั่งเศส รวมเรียก ว่าประชุมพงศาดาร มีผู้ขออนุญาตพิมพ์ไปแล้วเปนลำดับ เรื่องจดหมายของมองซิเออร์ เซเบเรต์ ซึ่งเปนเอกอัครราช ทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงสยาม ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช นี้มี ๓ ตอน มีผู้รับพิมพ์ไปแล้ว ๒ ตอน คือ ตอนมา ถึงกรุงศรีอยุธยากับตอนจัดการกับไทย ตอนที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ เปนตอนที่สุดท้าย หมดเรื่องเพียงราชทูตฝรั่งเศสกลับไปกรุงปารีส ราชบัณฑิตยสภาขอขอบคุณท่านทั้งหลาย ที่ได้รับพิมพ์ตอนอื่น ๆ มา กับทั้งคุณหญิง จำเริญ พิจารณาปฤชามาตย์ ซึ่งได้รับพิมพ์ตอนท้าย เปนการเพิ่มให้สำเร็จการพิมพ์หนังสือนี้ตลอดเรื่อง ต่อนี้ไปจะ ได้กล่าวถึงประวัติ พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ ตามที่ข้าพเจ้าทราบ ประกอบกับที่เจ้าภาพจดมาให้โดยสังเขป

ประวัติ พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มหาอำมาตย์ โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตร์ สุปฤชา (สุหร่าย วัชราภัย) ป.ม. ท.จ.ว. ท.ช. องคมนตรี เกิดใน


ข รัชชกาลที่ ๕ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๑๒ ที่บ้าน เดิมริมถนนสีลม ในจังหวัดพระนคร พระยาพิจารณาฯ เปนบุตร์หลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) มารดา ชื่อปั้น เปนสมาชิกในสกุลสูงศักดิ์ ทั้งบิดาและมารดา นับทาง ฝ่ายบิดาพระยาพิจารณาฯ เปนเหลนเจ้าพระยาพลเทพ (หลง) ในรัชชกาล ที่ ๔ นับทางฝ่ายมารดา พระยาพิจารณาฯเปนหลานเจ้าพระยาวิเชียรคิรี ( เม่น ) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา มาแต่ในรัชชกาลที่ ๔ จนถึง รัชชกาลที่ ๕ ด้วยเหตุนี้พระยาพิจารณาฯ จึงมีเครือญาติ กว้างขวาง จนถึงเจ้านาย มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เปนต้น และกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็ทรงนับว่าเปนพระญาติ ทางข้างฝ่ายมารดา ก็เปนญาติเกี่ยวเนื่องกับพวกสกุลณสงขลาทั่วไป ควรนับว่าพระยาพิจารณาฯกอปด้วยชาติวุฑฒิเปนเบื้องต้น ส่วนคุณวุฑฒิอันจำต้องเสาะแสวงเองนั้น พระยาพิจารณา ฯ อยู่ในรุ่นหลังของบุคคลจำพวกหนึ่ง ซึ่งเปนคนอาภัพแต่มีโอกาสพิเศษ ประกอบกัน บุคคลจำพวกนี้มีทั้งในราชสกุลและในสกุลขุนนาง ที่ว่าเปนคนอาภัพ ด้วยเกิดในสมัยบ้านเมืองเริ่มต้องการวิชชาความ รู้ของชาวทวีปตะวันตก แต่ยังไม่ถึงสมัยเมื่อมีโอกาสอาจไปศึกษา วิชชาการได้ถึงต่างประเทศโดยสะดวก การศึกษาในประเทศ ของตนเองก็ยังฝึกสอนบกพร่องกว่าทุกวันนี้อยู่เปนอันมาก บุคคล


ค จำพวกที่กล่าวมาได้ วิชชาความรู้จากศึกษาสถานไม่เท่าใดนัก ต้อง อาศัยพยายามศึกษาหาความรู้เอาเองเปนพื้น ผู้ใดไม่อุตสาหะ พากเพียร ก็มักตกอยู่ใน ฐานะเช่นว่า "อย่างเก่าก็ไม่ได้ อย่างใหม่ ก็ไม่ดี" ดังนี้ ที่ว่ามีโอกาสพิเศษประกอบนั้น คือสมัยนั้นเปน เวลารัฐบาลเริ่มจัดการต่าง ๆ หันหาวิธีทวีปตะวันตก กำลังต้อง การตัวคนที่ได้ศึกษาอบรมพอแก่การ แม้เพียงเหมาะแก่สมัยนั้น เปนอันมาก ผู้ที่ได้เล่าเรียนสำเร็จในศึกษาสถานมักหาตำแหน่ง รับราชการได้ง่าย แต่ว่าผู้ที่ได้เลื่อนยศและตำแหน่งขึ้นถึงชั้นสูงในสมัยต่อมานั้น อาจกล่าวได้ว่าล้วนเปนผู้ ซึ่งพยายามศึกษาหา ความรู้เอาเองต่อมาในเวลาเมื่อเข้ารับราชการแล้วทั้งนั้น พระยาพิจารณา ฯ ได้เริ่มศึกษาที่โรงเรียนหลวง ณ สวนนันท อุทยานตั้งแต่อายุได้ ๙ ขวบ เรียนภาษาไทยตลอดหลักสูตรซึ่งสอน ในสมัยนั้น ภาษาอังกฤษก็ได้เรียน แต่จะรู้เพียงใดข้าพเจ้าหา ทราบไม่ เมื่ออายุสมควรได้ถวายตัวเปนมหาดเล็กวิเศษตามประเพณี ที่เปนบุตร์ข้าราชการตระกูลสูง แล้วเข้าเรียนภาษาบาลีในมหามกุฎ ราชวิทยาลัย จนอุปสมบทเปนพระภิกษุในสำนักสมเด็จพระมหาสมณ เจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ณวัดบวรนิเวศวิหาร สอบวิชชา ที่ได้เรียนในมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ปริญญาชั้นนักเรียนตรีพิเศษ เมื่อลาสิกขาแล้ว ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเปนที่นายรองเล่ห์อาวุธ


ง มหาดเล็กโปรด ฯ ให้ไปมีตำแหน่งราชการในกระทรวงพระคลัง ฯ ชั่ว คราว ในระวางนั้น ทรงพระกรุณาโปรด ฯ ให้ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้น เปนนายเสนองานประพาส หุ้มแพร เมื่อพ,ศ, ๒๔๑๖ แล้วกลับไปรับ ราชการในกรมมหาดเล็กตามเดิม ต่อนั้นมาไม่ช้าเมื่อกรมหลวงราชบุรี ดิเรกฤทธิเปนเสนาบดีกระทรวงยุตติธรรม ทรงเริ่มจัดการสอนกฏหมาย ก็ได้โอกาสเข้าศึกษาวิชชากฎหมายในนักเรียนจำพวกแรก มาจน สามารถสอบวิชชากฎหมายได้เปนเนติบัณฑิตสยาม เมื่อ พ,ศ, ๒๔๔๑ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ จึงกราบบังคมทูล ฯ ขอไปรับราชการใน กระทรวงยุตติธรรม ได้เปนตำแหน่งเลขานุการของเสนาบดีเปนตำแหน่ง แรก แล้วรับราชการในกระทรวงยุตติธรรมต่อมาได้เลื่อนตำแหน่ง และยศบรรดาศักดิ์สูงขึ้นโดยลำดับ จนได้เปนมหาอำมาตย์ โท พระยา พิจารณาปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตร์สุปฤชา ตำแหน่งกรรมการ ศาลฎีกา แล้วออกจากราชการด้วยแก่ชรา ได้พระราชทานเบี้ย บำนาญจนตลอดอายุ ตำแหน่งต่าง ๆ กับทั้งบรรดาศักดิ์ซึ่งพระยาพิจารณา ฯ ได้เปน เมื่อภายหลังเปนตำแหน่งเลขานุการของ เสนาบดีกระทรวงยุตติธรรม และได้เลื่อนขึ้นโดยลำดับตามวัยวุฑฒินั้น พรรณนาแต่โดยย่อคือ พ,ศ, ๒๔๔๒ เปนปลัดกรมอัยการอยู่ ๒ เดือน แล้วไปเปน อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลภูเก็ต


จ พ,ศ, ๒๔๔๓ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เปนพระสิริศาสตร ประสิทธิ พ,ศ, ๒๔๔๕ ได้เปนอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลอยุธยา พ,ศ, ๒๔๔๙ เปนผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ข้าหลวงพิเศษ พ,ศ, ๒๔๕๒ เปนผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์กรุงเทพ ฯ พ,ศ, ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานยศเปนมหาอำมาตย์ตรี พ,ศ, ๒๔๕๕ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เปนพระยาพิจารณา ปฤชามาตย์ มานวธรรมศาสตรสุปฤชา พ,ศ, ๒๔๖๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปนองคมนตรี และไปเปนกรรมการศาลฎีกาชั่วคราว แล้วเปนตัวกรรมการในศกนั้น พ,ศ, ๒๕๖๗ เลื่อนยศเปน มหาอำมาตย์ โท

ตำแหน่งพิเศษ ๑) เปนกรรมการสอบไล่วิชชานักเรียนกฎหมายแทบทุกคราว ๒) เปนกรรมการเนติบัณฑิตยสภา ๓) เปนมรรคนายกวัดสุทธิวราราม และเปนผู้อุปการะ โรงเรียนแห่งวัดนั้นด้วย ๔) เปนสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งสภากาชาดสยาม เกียรติคุณของพระยาพิจารณา ฯ ซึ่งปรากฏแก่คนทั้งหลาย และสมควร ยกย่อง ในส่วนปัญญาวุฑฒินั้นพรรณนาแต่ โดยย่อก็คือ


ฉ ๑) ได้เรียบเรียงหนังสือกฎหมายขึ้น ใช้เปนบทเรียนของผู้ ศึกษาวิชชากฎหมายและทนายความ คือหนังสือลักษณะผัวเมียและ ลักษณมรดก พ,ศ, ๒๔๖๑ หนังสือกฎหมายลักษณที่ดินเล่ม ๑ พ,ศ, ๒๔๖๒ ๒) เปนอาจารย์สอนวิชชากฎหมายแก่นักเรียน ทั้งที่บ้านและ ที่โรงเรียนของกระทรวงยุตติธรรม จนมีผู้ที่เปนศิษย์สอบไล่ได้เปน เนติบัณฑิตไปแล้วก็มาก ในส่วนอัธยาศัย เมื่อได้คุ้นเคยสมาคมกับผู้ใดไม่ว่าจะ เปนชั้นบรรดาศักดิ์สูงหรือต่ำ ย่อมมีจรรยาอันสุภาพอ่อนโยนไม่ ถือยศถือศักดิ์ จึงเปนที่ชอบพอรักใคร่ของผู้ที่ได้คุ้นเคยแทบทั่ว ไป และถ้าจะกล่าวว่าพระยาพิจารณา ฯ เปนผู้มีมิตรสหายหรือผู้ที่ ชอบพอรักใคร่กว้างขวางอย่างยิ่งคนหนึ่งก็เห็นจะไม่ผิดห่างไกลนัก พระยาพิจารณา ฯ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ ต่าง ๆ เปนบำเหน็จความชอบและเปนเครื่องประกอบฐานันดรเปนลำดับ มาดังนี้

เหรียญ พ,ศ, ๒๔๓๕ เหรียญรัษฎาภิเษก พ,ศ, ๒๔๙๐ เหรียญประพาสยุโรป พ,ศ, ๒๔๕๐ เหรียญรัชชมงคล


ช พ,ศ, ๒๔๕๑ เหรียญรัชชมังคลาภิเษก พ,ศ, ๒๔๕๔ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชชกาลที่ ๖ พ,ศ, ๒๔๖๒ เหรียญจักรพรรดิมาลา พ,ศ, ๒๔๖๖ เหรียญราชาภิเษก พ,ศ, ๒๔๖๘ เหรียญบรมราชาภิเษกทองรัชชกาล ที่ ๗ ตรา พ,ศ, ๒๔๓๕ เบญจมาภรณมงกุฎ ชั้นที่ ๕ พ,ศ, ๒๔๓๖ เบญจมาภรณช้างเผือก ชั้นที่ ๕ พ,ศ, ๒๔๕๑ เลื่อนขึ้นรับจัตุรถาภรณมงกุฏ ชั้นที่ ๔ พ,ศ, ๒๔๕๓ เลื่อนขึ้นรับจัตุรถาภรณช้างเผือก ชั้นที่ ๔ พ,ศ, ๒๔๕๗ เลื่อนขึ้นรับตรีตาภรณมงกุฎ ชั้นที่ ๓ พ,ศ, ๒๔๕๘ เลื่อนขึ้นรับตรีตาภรณช้างเผือก ชั้นที่ ๓ พ,ศ, ๒๔๕๙ ทุติยจุลจอมเกล้า และ พานทอง พ,ศ, ๒๔๖๑ เลื่อนขึ้นรับทวีติยาภรณมงกุฏ ชั้นที่ ๒ พ,ศ, ๒๔๖๓ เลื่อนขึ้นรับทวีติยาภรณช้างเผือก ชั้นที่ ๒ พ,ศ, ๒๔๖๕ เลื่อนขึ้นรับประถมาภรณมงกุฏ ชั้นที่ ๑ พ,ศ, ๒๔๖๗ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ ป่วยเปนโรคลำไส้พิการเรื้อรัง มาช้านานจนถึงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ,ศ,๒๔๗๐ เวลา ๒๐นาฬิกา (๘ล.ท.)


ซ ถึงอนิจกรรมที่บ้านถนนสีลม จังหวัดพระนคร คำนวณอายุได้ ๕๘ ปี ได้รับพระราชทานน้ำอาบศพของหลวง มีประโคมกลองชนะเขียว ๑๐ จ่าปี ๑ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานโกศประกอบ ศพตั้งบนชั้นประดับกระจก ๒ ชั้น มีฉัตรเบญจา ตั้ง ๔ เปนเกียรติยศ บุตร และธิดา ที่ เกิด แต่ อบ ภรรยา ๑, ธิดาชื่อ ถนอม เปน ภรรยา นายขวัญ จารุรัตน์ เจ้าของ โรงพิมพ์ พิศาลบรรณนิติ์ ๒, ธิดาชื่อ เพิ่ม เปน คุณหญิงดำรงแพทยาคุณ ( ชื่น พุทธิ แพทย์) จ,จ, ที่ เกิด แต่ นาค ภรรยา ๗, ธิดาชื่อ ระรวย เปนหม่อมห้ามในหม่อมเจ้าสมบูรณศักดิ์ ที่ เกิด แต่ จำรัส ภรรยา ๔, ธิดาชื่อ เกษม เปนภรรยาหลวงสารนัยประสาสน์ ( ธัญญา ณสงขลา ) ๕, บุตรชื่อ กระแสร์ เปนเนติบัณฑิตสยาม เวลานี้ฝึกหัด ราชการในกรมร่างกฎหมาย ที่ เกิด แต่ คุณหญิง จำเริญ พิจารณาปฤชามาตย์ ๖, บุตรชื่อ ประพันธ์ เวลานี้ศึกษาวิชชาอยู่ในจุฬาลงกรณ์


ฌ มหาวิทยาลัย ๗, ธิดาชื่อ ประไพ เปนภรรยาหลวงติรณสารวิศวกรรม ( ตี๋ ศรีสุข ) ๘, ธิดาชื่อ ประพา ๙, บุตรชื่อ ประพัทธ์ เวลานี้ศึกษาวิชชาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ๑๐,ธิดาชื่อ ประพิทธิ ๑๑,บุตรชื่อ ประภาศ วายชนม์เมื่อ อายุ ๑๕ ปี ภายหลังบิดา ถึงอนิจกรรม ๑๒, บุตรชื่อ ประพจน์ ๑๓, บุตรชื่อ ประพนธ์ ๑๔, บุตรชื่อ ประพงศ สิ้นประวัติพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ เพียงเท่านี้ กรรม การ ราชบัณฑิตย สภา ขออนุโมทนา ในกุศลบุญราศี ทัก ษิณานุปทาน ซึ่งคุณหญิงจำเริญพิจารณาปฤชามาตย์ได้บำเพ็ญเปน ปัตติทานมัย ด้วยความกตัญญูกตเวที ขอผลแห่งกุศลนี้จงสำเร็จ เปนอุปถัมภกปัจจัยอำนวยผลสุขสวัสดิ์แก่ผู้มรณะ สมควรแก่คติ อุปบัตินั้น ๆ เทอญ วันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๑

นายกราชบัณฑิตยสภา

มหาอำมาตย์ โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ ( สุหร่าย วัชราภัย ) พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๗๐ จดหมายเหตุ มองซิเออร์ เซเบเรต์ ซึ่งเปนเอกอัครราชทูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงสยาม เมื่อปี ค.ศ. ๑๖๗๗-๑๖๘๘ ( พ.ศ. ๒๒๓๐-๒๒๓๑ ) ตอนที่ ๓ ( ต่อจากตอนที่ ๒ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๘ ) ในวันนี้เอง ข้าพเจ้าได้หาโอกาสพูดกับมองซิเออร์คอนซตันซ์ ขอให้จัดการให้เราได้เฝ้า เพื่อทูลลาพระเจ้ากรุงสยามกลับไปประเทศ ฝรั่งเศส มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงได้ตอบว่าจะต้องกราบทูล เสียก่อน รุ่งขึ้นมองซิเออร์คอนซตันซ์ได้บอกกับข้าพเจ้าว่า พระเจ้า กรุงสยามจะได้โปรดให้เราเฝ้าทูลลาในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ณวันที่ ๙ เดือนธันวาคม ได้เกิดเสียง ลือขึ้นว่า พระเจ้า กรุงสยามทรงพระประชวร และในวันนี้เองมองซิเออร์คอนซตันซ์ ก็ได้บอกกับข้าพเจ้าว่า เดิมพระเจ้ากรุงสยามได้ทรงกำหนดให้ เราเฝ้าทูลลาในวันที่ ๑๐ แต่บัดนี้ทรงพระประชวรเสียแล้ว จะเสด็จ ออกให้เราเฝ้ายังไม่ได้ จึง เปนการจำเปนต้องรอให้หายพระ ประชวรเสียก่อนจึงจะเฝ้าทูลลาได้ แต่ในรวางนี้ก็ขอให้เราทำ ธุระของเราให้สำเร็จไป เพราะแบบธรรมเนียมในเมืองไทยเคยมี ว่า เมื่อได้เฝ้าทูลลาแล้วก็จะต้องลงเรือโดยทันที จะอยู่ต่อไป อีกไม่ได้ ๑ ๒ ที่ข้าพเจ้าได้พูดกับมองซิเออร์คอนซตันซ์ ตามที่กล่าวมานี้ ข้าพเจ้าก็ได้รีบไปบอกให้ มองซิเออร์เดอลาลูแบทราบทุกประการ แต่ตามเสียงที่มองซิเออร์คอนซตันซ์พูดนั้น ทำให้ ข้าพเจ้ารู้สึก ว่าเปนอุบายของมองซิเออร์ คอนซตันซ์ ที่จะหน่วงเหนี่ยวให้เรา อยู่ในเมืองไทยต่อไปอีก เพราะว่าการทั้งปวงยังเตรียมไม่พร้อม ที่จะส่งบาดหลวงตาชาไปได้ และมองซิเออร์ เดอลาลูแบก็ได้ทราบ ความมาว่า การที่กล่าวกันว่าพระเจ้ากรุงสยามทรงพระประชวร นั้นหาจริงไม่ แต่เปนการแกล้งทำประชวร และข้อนี้ก็มีพยาน ปรากฏให้เห็นจริงว่าหาได้ประชวรไม่ คือในวันที่มองซิเออร์คอนซ ตันซ์ได้บอกข้าพเจ้าว่าจะได้เฝ้าทูลลานั้น มองซิเออร์เดอลาลู ได้บอกกับมองซิเออร์คอนซตันซ์ว่า มองซิเออร์เดอลาลูจะต้องกลับ ไปลงเรือพร้อมกับเรา มองซิเออร์ คอนซตันซ์จึงได้ตอบมองซิเออร์ เดอลาลูว่า ไม่จำเปน จะต้องรีบร้อนอย่างใด มองซิเออร์เดอ ลาลูจึงได้ตอบมองซิเออร์ คอนซตันซ์ว่า เราได้เตรียมจะเฝ้าทูลลา ในวันที่ ๑๐ อยู่แล้ว และเมื่อเฝ้าแล้วเราก็จะไปลงเรือทีเดียว มองซิเออร์ คอนซตันซ์จึงได้ตอบว่า " จริง แต่ในวันนั้น พระเจ้ากรุงสยามคงจะทรงพระประชวร เพราะฉะนั้นท่านราชทูตจะต้อง ทำใจเย็น ๆ ไว้ " มองซิเออร์ เดอลาลูแบได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังต่อไปว่า การที่


๓ มองซิเออร์ คอนซตันซ์ได้พูดดังนี้ มองซิเออร์ เดอลาลูเองเปนผู้มา เล่าให้มองซิเออร์ เดอลาลูแบฟัง แต่ข้าพเจ้าเองก็ออกจะมีความร้อนใจอยู่บ้าง เพราะจวน จะหมดระดูที่จะเดินเรือได้แล้ว และข้าพเจ้าก็จำเปนจะต้อง รีบไป ยังฝั่งคอรอมันเดลด้วย ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้ออกเรือภายในสองสามวัน นี้แล้ว ก็น่ากลัวจะต้องค้างอยู่ในประเทศอินเดียอีกปี ๑ และจะ ทำให้เรือเปรซิเดน ซึ่งคอยข้าพเจ้าอยู่ ที่เมืองมะริดเสียโอกาสที่ จะออกเดินให้ทันระดูนี้ได้ เพราะเหตุฉะนี้ข้าพเจ้าจึงได้ทำความ ตกลงกับมองซิเออร์ เดอลาลูแบ ว่าข้าพเจ้าจะได้ขอให้มองซิเออร์ คอนซตันซ์ได้กราบทูลพระเจ้ากรุงสยาม ขอพระราชทานพระราชา นุญาตให้ข้าพเจ้าไปยังเมืองมะริด เพราะข้าพเจ้าจะรอต่อไปอีก ไม่ได้แล้ว แต่ส่วนมองซิเออร์เดอลาลูแบนั้นให้รอจนกว่าพระเจ้า กรุงสยามจะหายพระประชวรเสียก่อน จึงค่อยเฝ้าทูลลา เมื่อได้ ทูลลาเสร็จแล้วจึงไปลงเรือที่ท่าเรือต่อไป ตามความคิดของข้าพเจ้า ดังนี้ มองซิเออร์เดอลาลูแบก็เห็นชอบด้วย ข้าพเจ้าจึงได้ไปพูด กับมองซิเออร์คอนซตันซ์ตามเรื่องที่คิดไว้นั้น มองซิเออร์คอนซตันซ์ ก็ตกลงตามความต้องการของข้าพเจ้า จึงได้บอกให้ข้าพเจ้าทำเปน จดหมายกราบทูลพระเจ้ากรุงสยาม และมองซิเออร์คอนซตันซ์ก็จะ รับธุระจำจดหมายนั้นถวายให้ ข้าพเจ้าได้นำความตามที่พูดกับ


๔ มองซิเออร์คอนซตันซ์เล่าให้มองซิเออร์เดอลาลูแบฟังทุกประการ และ เมื่อข้าพเจ้าได้เขียนจดหมายเสร็จแล้ว ก็ได้นำไปให้มองซิเออร์ เดอลาลูแบดูเสียก่อน จึงได้เอาจดหมายไปส่งกับมองซิเออร์คอนซ ตันซ์ มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้นำจดหมายของข้าพเจ้าไปอ่านถวาย พระเจ้ากรุงสยาม และตอนเย็นมองซิเออร์คอนซตันซ์จึงได้บอกกับ ข้าพเจ้าว่า พระเจ้ากรุงสยามได้โปรดพระราชทานพระราชานุญาตให้ ข้าพเจ้าได้กลับไปแล้ว แต่ทรงเสียพระทัยที่ข้าพเจ้าจะไปเสียก่อน โดยมิได้เฝ้าอีกสักครั้ง ๑ ข้าพเจ้าจึงได้ตอบมองซิเออร์คอนซตันซ์ ว่า ถ้าระดูสำหรับเดินเรือไม่บังคับให้ข้าพเจ้ารีบกลับไปแล้ว ข้าพเจ้า ก็จะได้อยู่ในเมืองไทยต่อไป จนกว่าพระเจ้ากรุงสยามจะโปรดให้เรา ได้เข้าเฝ้าทูลลา แล้วข้าพเจ้าจึงได้ รีบเตรียมตัวที่จะได้ออกเรือโดย เร็วที่สุด ณวันที่ ๑๑ เดือนธันวาคมเวลาเย็น ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์ เดอลาลูแบได้เซ็นหนังสือสัญญา ซึ่งพระเจ้ากรุงสยามพระราชทาน พระราชานุญาตให้บริษัทฝรั่งเศสมาทำการค้าขาย และพระราชทาน สิทธิต่าง ๆ ให้แก่บริษัทด้วย แต่หนังสือสัญญาฉบับนี้เราได้ตกลง ทำกับพระยาพระคลังและข้าราชการอื่น ๆ ซึ่งพระเจ้ากรุงสยามได้ทรง เลือกคัดสำหรับให้มาทำหนังสือสัญญากับเรา หาได้ทำสัญญากับ มองซิเออร์คอนซตันซ์ไม่ แต่ในเวลาที่ทำและเซ็นสัญญากันนั้น


๕ มองซิเออร์คอนซตันซ์ก็อยู่ในที่นั้นด้วย การที่เราต้องทำสัญญา กับพระยาพระคลังนั้น ก็เพราะเหตุว่าถ้าสัญญาทั้งหลายได้ทำกัน เปนภาษาไทยกับพระยาพระคลังและข้าราชการอื่น ๆ แล้ว สัญญา ฉะบับนั้นก็เปนสัญญาที่มั่นคงใช้กันได้ชั่วกาลนาน และไม่มีผู้ ใด จะคัดค้านว่ากล่าวได้ แต่ถ้าสัญญานั้นไม่ได้ทำกับพระยาพระคลัง แล้ว ก็อาจจะมีคนคัดค้านได้ในภายหลัง ในจดหมายบันทึกฉะบับนี้ ข้าพเจ้าหาได้กล่าวถึงข้อความที่ได้ ปรึกษาหารือและโต้เถียงกันในเวลาทำหนังสือสัญญาฉะบับนี้ไม่ และ ไม่ได้กล่าวถึง หนังสือสัญญาฉะบับที่มองซิเออร์คอนซตันซ์เข้าหุ้นกับ บริษัท เพราะถ้าจะเล่าความให้ละเอียดแล้ว ก็จะเปนข้อความ อันยืดยาวมาก และจะเล่าไปก็ไม่เปนประโยชน์อันใดเลย เพราะ ฉะนั้นข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงความแต่ข้อเดียว และจะกล่าวอย่างสั้น ที่สุดที่จะกล่าวได้ ตั้งแต่แรกข้าพเจ้าได้มาถึงเมืองไทย และยังพักอยู่บนเรือรบ บาทหลวงตาชาก็ได้ถามข้าพเจ้าว่า ถ้ามองซิเออร์คอนซตันซ์จะเข้า หุ้นทำการค้าขายกับบริษัท ๆ จะยอมหรือไม่ ข้าพเจ้าได้ตอบว่า บริษัทไม่มีความขัดข้องอย่างใด ถ้ามองซิเออร์คอนซตันซ์จะเข้าหุ้น ด้วยก็ได้ บาทหลวงตาชาจึงได้บอกข้าพเจ้าว่า มองซิเออร์คอนซ ตันซ์ได้ตั้งใจไว้ว่า จะเข้าหุ้นทำการค้าขายกับบริษัทเปนทุน


๖ ๑๐๐,๐๐๐ แฟรง ข้าพเจ้า จึง ตอบ บาทหลวง ตาชา ว่า ถ้า เรื่อง ให้ กองทหารของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ประจำ อยู่ที่บางกอกและมะริดเปน การสำเร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อใด จึงมาพูดเรื่องนี้กันใหม่ ภายหลังมาอีกหลายวัน บาดหลวงตาชาเห็นว่าข้าพเจ้ามิได้ พูดถึงเรื่องมองซิเออร์คอนซตันซ์จะเข้าหุ้นกับบริษัทอีก บาทหลวง ตาชาจึงได้ถามข้าพเจ้าว่า เมื่อเราได้ขึ้นไปที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์เดอลาลูแบจะไม่พูดกับมองซิเออร์คอนซตันซ์เรื่อง ทำหนังสือสัญญาสำหรับการค้าขายหรืออย่างไร ข้าพเจ้าจึงได้ตอบ บาทหลวงตาชาว่า ถ้ากิจการของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสยังไม่สำเร็จ เรียบร้อยตราบใด เราก็จะไม่พูดถึงการค้าขายเปนอันขาด การที่ข้าพเจ้าได้ตอบบาทหลวงตาชาดังนี้ ก็เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์เดอลาลูแบ ได้ทำความตกลงกันไว้ว่าจะต้องพูด อย่างนี้ เพื่อมองซิเออร์คอนซตันซ์จะได้รีบร้อนจัดการต่าง ๆ ให้ เปนที่เรียบร้อย เพราะมองซิเออร์คอนซตันซ์ต้องการนักที่จะให้บริษัท ฝรั่งเศสมาตั้งในเมืองไทย เพื่อตัวจะได้เข้าหุ้นทำการค้าขายกับ บริษัทต่อไป เมื่อมองซิเออร์คอนซตันซ์ปรารถนาเช่นนี้แล้ว จะได้ รีบจัดการต่าง ๆ ให้เปนที่พอใจของเรา ภายหลังบาทหลวงตาชาได้มาแนะนำกับข้าพเจ้าว่า วิธีดี ที่สุดสำหรับให้ มองซิ เออร์คอนซตันซ์ทำหนังสือสัญญาให้บริษัทได้


๗ ประโยชน์มากที่สุดนั้น ก็ควรจะตกลงล่วงหน้าไว้กับมองซิเออร์ คอนซตันซ์ เสียก่อน ว่าจะให้มองซิเออร์คอนซตันซ์เข้าหุ้นกับบริษัท เปนจำนวนมากน้อยเท่าไร ในเวลานั้นข้าพเจ้าก็ไม่ได้รับรองกับ บาทหลวงตาชาอย่างไร และตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้ อีกต่อไป จนเราได้ขึ้นมาอยู่ที่เมื่องลพบุรีแล้วจึงได้เอาเรื่องนี้ มาพูดกันอีก ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์เดอลาลูแบได้ตกลงกันไว้ว่า ในเรื่อง ที่จะทำสัญญาเกี่ยวด้วยการค้าขายนั้น ให้ข้าพเจ้าพูดจากับมอง ซิเออร์คอนซตันซ์แต่ผู้เดียว เพราะมองซิเออร์เดอลาลูแบได้รู้สึกว่า มองซิเออร์คอนซตันซ์กำลังเอาใจข้าพเจ้าอยู่ เพราะมองซิเออร์ คอนซตันซ์หวังใจว่า ตนจะได้รับประโยชน์ต่าง ๆ จากบริษัทเปน อันมาก เพราะฉะนั้นเมื่อบาทหลวงตาชาได้มาพูดกับข้าพเจ้าถึง เรื่องทำสัญญาการค้าขายอีกครั้ง ๑ ข้าพเจ้าจึงได้ตอบว่า ถ้ามอง ซิเออร์คอนซตันซ์ จะต้องการทำสัญญาเมื่อใดก็ได้ไม่มีขัดข้องอย่าง ไร ข้าพเจ้าพร้อมอยู่ที่จะได้ปรึกษาหารือ ทำสัญญากับมองซิเออร์ คอนซตันซ์ทุกเมื่อ ในวันนั้นเอง บาดหลวงตาชาก็ได้มาเชื้อเชิญให้ข้าพเจ้าไป ปรึกษาหารือทำความตกลงกับมองซิเออร์คอนซตันซ์ เพราะฉะนั้น ในเย็นวันนั้น พวกเราจึงได้ไปพร้อมกันที่วัดซึ่งมองซิเออร์คอนซตันซ์


๘ ได้ให้สร้างขึ้นใหม่ และมองซิเออร์คอนซตันซ์ได้เลือกเอาวัดเปน ที่ประชุม ก็เพราะเหตุว่าเปนที่สงัดเงียบไม่มีใครจะมากวนเราได้ ในคราวประชุมครั้งนี้บาทหลวงตาชาก็ได้มาประชุมด้วย มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ตั้งต้นพูดขึ้นว่า มองซิเออร์คอนซตันซ์มีความประสงค์ยิ่งนัก ที่จะให้บริษัทมาตั้งทำการค้าขายในประเทศอินเดีย เสียโดยเร็ว และอยากจะให้บริษัทมาตั้งในประเทศสยามนี้โดย ฉะเพาะด้วย ซึ่งเปนการที่พระเจ้ากรุงสยามนายของมองซิเออร์ คอนซตันซ์มีพระราชประสงค์ยิ่งนัก การที่บริษัทจะมาทำการ ค้าขายในเมืองไทยนั้น มีช่องทางที่บริษัทจะหาประโยชน์ได้เปน อันมาก เพราะเหตุว่ามองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ทำการติดต่อกับ เมืองจีนอยู่แล้ว และภายหลังจะทำการติดต่อกับเมืองอื่น ๆ ให้ แพร่หลายออกไปอีกก็ได้ ถ้าบริษัทได้มาตั้งห้างค้าขายในเมืองไทย แล้ว นอกจากประโยชน์ที่บริษัทจะได้จากการค้าขายนั้น บริษัท ก็ยังจะได้มีโอกาสทำให้ อำนาจของบริษัทฮอลันดาลดน้อยถอยลง ไปได้เปนอันมาก เพราะในเวลานี้บริษัทฮอลันดาได้ทำให้ประเทศ ฮอลันดาได้มีอำนาจขึ้นมาก แล้วมองซิเออร์คอนซตันซ์ได้อธิบาย ถึงความดำริของมองซิเออร์คอนซตันซ์ในเรื่องการค้าขายนี้ มอง ซิเออร์คอนซตันซ์จึงได้บอกกับข้าพเจ้าว่า มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ ส่งสินค้าซึ่งมาจากเมืองจีน ฝากไปกับเรือเลอฟอชส่งไปยังประเทศ


๙ ฝรั่งเศสเปนจำนวนสินค้ามาก สินค้าเหล่านี้มองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้ฝากไปที่บริษัทฝรั่งเศส และได้ขอให้บริษัทจัดการจำหน่าย สินค้าเหล่านี้ให้ด้วย เมื่อขายได้เงินมากน้อยเท่าใดก็ขอให้บริษัทเอา เงินนั้น เก็บไว้ทำทุน และคิดดอกเบี้ยให้แก่มองซิเออร์คอนซตันต์ หรือมิฉะนั้นก็ขอให้เอาเงินที่ขายสินค้าได้นั้น ลงเปนทุนของมองซิเออร์ คอนซตันซ์เอง และขอให้บริษัทคิดดอกเบี้ยให้ มองซิเออร์คอนซตันซ์ ตามแต่บริษัทจะเห็นควรก็ได้ ในขณะนี้บาดหลวงตาชาได้พูดขึ้นว่า บาดหลวงตาชา ได้พูดกับข้าพเจ้าไว้แล้วในเรื่องที่ มองซิเอร์คอนซตันซ์คิดจะเข้าหุ้น กับบริษัท ข้าพเจ้าก็รับรองตามที่บาดหลวงตาชาพูดนั้น ว่าเปนความจริง แล้วข้าพเจ้าจึงได้พูดกับมองซิเออร์คอนซตันซ์ว่า ตามการที่ดำริ จะเข้าหุ้นกับบริษัทนั้น บริษัทก็ยอมรับให้มองซิเออร์คอนซตันซ์ เข้าหุ้นด้วย มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงขอทำหนังสือสัญญาโดย ฉะเพาะในรวางมองซิเออร์คอนซตันซ์และข้าพเจ้าผู้แทนบริษัท แต่ มองซิเออร์คอนซตันซ์ขอให้ข้าพเจ้าทำจดหมายบันทึกให้ฉะบับ ๑ บอก ให้ทราบว่า ทุนของบริษัทมีเท่าไร บริษัทได้กำไรหรือขาดทุน อย่างไร และบริษัทดำริจะทำการค้าขายด้วยวิธีใดต่อไป ๒


๑๐ ข้าพเจ้าก็ได้รับปากว่า จะได้ทำจดหมายบันทึกบอกข้อความ ต่าง ๆ ตามความประสงค์ของมองซิเออร์คอนซตันซ์ เพราะข้าพเจ้า ไม่เห็นเปนการยากอะไร แต่ในเรื่องที่จะทำสัญญากับมองซิเออร์ คอนซตันซ์นั้น เปนเรื่องที่ลำบากอยู่สักหน่อย เพราะเปนเรื่องที่ จะต้องทำความตกลงกันให้เด็ดขาด ว่ามองซิเออร์คอนซตันซ์จะ ได้มีหุ้นกับบริษัทนับตั้งแต่วันใดเปนต้นไป เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า จะต้องการหาเวลาสำหรับไปปรึกษากับ มองซิเออร์เดอลาลูแบเสียก่อน ข้าพเจ้า จึงได้พูดกับ มองซิเออร์คอนซตันซ์ว่า ข้าพเจ้าเชื่อใจได้ แน่ว่า ถ้ามองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ใช้อำนาจที่มีอยู่ในเมืองไทยสำหรับ ช่วยบริษัท และได้เอาความรู้ความชำนาญของมองซิเออร์คอนซตันซ์ ช่วยให้การค้าขายของบริษัทได้เจริญแล้ว ก็คงจะได้ผลประโยชน์ ดีต่อไปในภายหน้า แต่ในเวลานี้ข้าพเจ้ายังหาเห็นไม่ว่าบริษัทจะ ได้ประโยชน์มาจากทางใด แล้วข้าพเจ้าจึงได้ชี้แจงถึงการค้าขาย ที่ควรจะทำได้ในเมืองนี้ และข้าพเจ้าได้อธิบายให้มองซิเออร์ คอนซตันซ์เห็นว่า ข้าพเจ้ารู้สึกได้ ดีทีเดียวว่าการค้าขายในเมืองไทย นี้ ไม่มีอะไรที่จะหาผลประโยชน์ได้มากมายเลย เมื่อข้าพเจ้า ได้มีโอกาสเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงได้เลยชี้แจงกับมองซิเออร์คอนซตันซ์ ต่อไปว่า การที่บริษัทคิดจะมาตั้งห้างทำการค้าขายในเมืองไทย นั้น มิได้หวังแต่ประโยชน์และกำไรอย่างเดียวหามิได้ แต่


๑๑ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ทรงพระราชดำริเห็นว่า การค้าขายของ บริษัทเท่ากับเปนเครื่องมือสำหรับนำความเจริญมาสู่ การสาสนา เพราะพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส มิได้ทรงพระราชดำริจะหาผลประโยชน์ อย่างใด แต่ทรงมุ่งอย่างเดียวแต่จะให้การสาสนาคริศเตียนได้ แพร่หลายออกไปเท่านั้น จึงได้มีพระราชดำรัสสั่งให้บริษัทออก มา ตั้งห้าง ทำการค้าขาย ในประเทศสยาม ซึ่งเปนคำสั่งที่บริษัท มีความยินดี ที่จะทำตามทุกประการ แต่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้น ทรงพระเมตตากรุณาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ทั่วไป และ ทรงพระเมตตาแก่บริษัทโดยฉะเพาะ เพราะพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทรง อุปถัมภ์บำรุงบริษัทนี้อยู่ ถ้าทรงเห็นว่าการที่บริษัทจะมาตั้งห้าง ทำการค้าขายในเมืองไทย จะเปนการเดือดร้อนและขาดทุนแล้ว ก็คงจะไม่ทรงยอมให้บริษัทมาตั้งห้างเปนแน่ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า จึงจำเปนต้องอธิบายให้มองซิเออร์คอนซตันซ์เข้าใจว่า ถ้าบริษัท ไม่ได้รับความเอื้อเฟื้อ และไม่ได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ในเมืองไทยแล้ว ทำอย่างไร ๆ บริษัท ก็จะไม่มาตั้งห้างใหญ่โตในเมืองนี้ อีกประการ ๑ ถึงแม้ว่าบริษัทได้มาตั้งห้างแล้วก็ดี แต่ถ้าการที่ไทยได้รับรอง กองทหารฝรั่งเศส และวิธีที่กองทหารฝรั่งเศสได้เข้าไปประจำรักษา บางกอก เปนสิ่งที่ไม่พอพระทัยพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสแล้ว การ ที่บริษัทได้มาตั้งห้างอยู่แล้วนั้น ก็จะไม่เปนประโยชน์เท่าไรนักเหมือนกัน


๑๒ ในรวางที่ข้าพเจ้าพูดชี้แจง กับมองซิเออร์คอนซตันซ์อยู่นั้น บาดหลวงตาชาได้พูดแทรกเข้ามาหลายครั้ง และข้าพเจ้าได้สังเกต เห็นว่าบาดหลวงตาชา ได้พยายามจะให้มองซิเออร์คอนซตันซ์เชื่อ ข้าพเจ้าให้ได้ ในการที่ปฤกษาหารือกันถึงเรื่องการค้าขายในคราวนี้ หา ได้ทำความยุตติตกลงประการใดไม่ ข้าพเจ้าจึงได้รับปากว่าจะ ได้ส่งจดหมายบันทึกมาให้มองซิเออร์คอนซตันซ์ตามที่ขอไว้ แล้ว ข้าพเจ้าก็ลากลับมายังที่พัก รุ่งขึ้นข้าพเจ้าได้เขียนจดหมายบันทึกเสร็จ แล้ว ได้ให้มองซิเออร์เดอลาลูแบ ดูเห็นชอบด้วยแล้ว ข้าพเจ้าจึง ได้ส่งจดหมายบันทึกนั้นไปให้มองซิเออร์คอนซตันซ์ ต่อนั้นมาเมื่อได้พูดจา ปรึกษาหารือกับมองซิเออร์คอนซตันซ์ ถึงเรื่องการค้าขายอีกครั้ง ๑ จึงได้เปนอันตกลงกันว่า มองซิเออร์ คอนซตันซ์จะได้เข้าหุ้นกับบริษัทเปนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ แฟรง และมองซิเออร์ คอนซตันซ์ จะได้กำไรหรือขาดทุนกับบริษัท นับตั้งแต่วันที่ ๑ เดือน มกราคม ค.ศ. ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๐) เปนต้นไป และได้ตกลงกันต่อ ไปว่า บรรดาสินค้าทั้งปวงซึ่งมองซิเออร์คอนซตันซ์ได้เตรียมไว้ สำหรับฝากเรือรบฝรั่งเศสส่งไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มองซิเออร์ คอนซตันซ์ยอมเอาสินค้าเหล่านี้ขายให้แก่บริษัทครึ่ง ๑ เพื่อได้เอา เงินนั้นทำทุนสำหรับเข้าหุ้นกับบริษัทต่อไป และราคาสินค้าที่มองซิเออร์


๑๓ คอนซตันซ์จะขายให้แก่บริษัทนั้น ได้ตกลงราคากันตามบาญชีที่ มองซิเออร์เวเรต์ได้ส่งไว้กับข้าพเจ้า การที่ข้าพเจ้าได้จัดการไปดังนี้ก็โดยเห็นว่า ถ้าได้ทำให้ มองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้รับความสะดวก ในการที่จะหาทุนเข้าหุ้นกับ บริษัทแล้ว ก็คงจะเปนประโยชน์ต่อราชการของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และเปนประโยชน์ต่อบริษัทเปนอันมาก เพราะข้าพเจ้าเห็นว่าเมื่อ มองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้มีหุ้นส่วน มีทางได้ทางเสียกับบริษัทแล้ว มองซิเออร์คอนซตันซ์คงจะใช้อำนาจของตัว ทำสัญญาการค้าขาย ให้เปนประโยชน์แก่เรามากที่สุดที่จะทำได้ ทั้งมองซิเออร์คอนซตันซ์ คงจะเอาใจใส่คอยตรวจตราให้การทั้งปวงได้ดำเนินตามสัญญานั้นด้วย เมื่อได้ทำความตกลงกันเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าจึง ได้ส่งร่าง สัญญาการค้าขายให้แก่มองซิเออร์คอนซตันซ์ ซึ่งเปนสัญญาที่ ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์เดอลาลูแบได้เห็นชอบพร้อมกันแล้ว ครั้น ข้าพเจ้าได้ยื่นสัญญาให้แก่มองซิเออร์คอนซตันซ์แล้ว เมื่อได้พบกัน ในคราวหลังต่อไป ข้าพเจ้าได้สังเกตว่ามองซิเออร์คอนซตันซ์ไม่ ใคร่เต็มใจในข้อที่จะให้บริษัทมีอำนาจ ทำการค้าขายโดยเปิดเผยไม่มี ข้อกีดกันอย่างใด ข้าพเจ้าจึงได้อธิบายให้มองซิเออร์คอนซตันซ์ เข้าใจว่า การเปิดโอกาสให้บริษัทได้ทำการค้าขายได้เต็มที่ เปน หลักสำคัญสำหรับให้บริษัทตั้งอยู่ได้ และในข้อที่ให้บริษัทได้


๑๔ มีอำนาจรับซื้อสินค้าได้ก่อนคนอื่น ซึ่งเปนข้อที่ตกลงไว้ครั้ง เชอวาเลียเดอโชมองนั้น เปนข้อสำคัญสำหรับป้องกันมิให้เจ้าพนักงาน คลังของพระเจ้ากรุงสยามมีโอกาสที่จะข่มเหงรังแกบริษัทได้ และ สัญญาฉะบับนี้ก็จะได้ใช้กันชั่วกาลนาน เพราะฉะนั้นจำเปนต้อง หาทางป้องกันมิให้เจ้าพนักงานรบกวนบริษัทได้ มองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้ฟังข้าพเจ้าชี้แจงก็มิได้โต้แย้งประการ ใด เปนแต่พูดว่าสำนวนในร่างสัญญานั้นแรงเกินไป จะนำขึ้น ถวายพระเจ้ากรุงสยามไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงได้ตอบว่า คำพูดและสำนวนนั้นเปนสิ่งที่จะแก้ ได้ง่าย แต่ในข้อที่จะยอมให้บริษัทได้ทำการค้าขายโดยไม่มีข้อ กีดขวางอย่างใดนั้นเปนเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าไม่ยอมตานี้แล้ว เราก็จะไม่ยอมทำสัญญาเหมือนกัน มองซิเออร์คอนซตันซ์ จึงได้ตอบว่า ร่างสัญญาที่ได้เขียน มานี้ มองซิเออร์คอนซตันซ์จะแก้ไข เปลี่ยนแปลงเอาเองไม่ได้ เว้น แต่เราจะยอมให้แก้ไขจึงจะได้ เพราะฉะนั้นมองซิเออร์คอนซตันซ์ จึงขอให้ข้าพเจ้ายอมให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงร่างสัญญานี้ได้ และขอให้ ข้าพเจ้าทำเปนจดหมายยอมให้ด้วย เมื่อข้าพเจ้าได้ยอมให้แก้ ร่างสัญญาแล้ว มองซิเออร์คอนซตันซ์จะได้จดหัวข้อของสัญญามา ให้เรา ข้าพเจ้าก็ได้ยอมตามความประสงค์ของมองซิเออร์คอนซตันซ์


๑๕ และเมื่อมองซิเออร์คอนซตันซ์ได้จดหัวข้อสัญญามาให้เรา และมองซิเออร์ คอนซตันซ์ได้เซ็นชื่อในหัวข้อเหล่านั้นแล้ว ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์ เดอลาลูแบ จึงได้ยอมให้มองซิเออร์คอนซตันซ์แก้ร่างสัญญาได้ มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงได้ลงมือร่างสัญญาขึ้นใหม่อีกฉบับ ๑ ใช้ถ้อย คำและสำนวน ซึ่งเห็นว่าเปนสำนวนที่สมควรจะถวายพระจ้ากรุงสยามได้ และได้ขอพระราชานุญาต ให้มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้มีอำนาจที่จะ ทำสัญญากับเราได้ต่อไป หนังสือที่ขอพระราชทานพระราชานุญาต นั้น ตามความเห็นของเราก็ดูไม่เหมาะเลย แต่ก็ไม่เปนเรื่อง สำคัญอันใด ขอแต่ให้ได้ทำสัญญาให้บริษัทได้รับสิทธิต่าง ๆ ตาม ความต้องการของเราเปน แล้วกัน ในที่นี้จะต้องกล่าวไว้ให้ทราบว่า เปนธรรมเนียม ใน เมืองไทยถ้าได้ทำสัญญากันครั้ง ๑ แล้ว เมื่อจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง อย่างใดเปนการยากนักหนาทีเดียว ข้อนี้เองทำให้มองซิเออร์ คอนซตันซ์ อึดอัดในใจมาก เพราะเหตุว่าหนังสือสัญญาได้ทำไว้ ครั้งเชอวาเลียเดอโชมองฉะบับ ๑ แล้ว ถ้าจะแก้ ไขเปลี่ยนแปลง ใหม่ตามร่างสัญญาของเรา พระเจ้ากรุงสยามก็จะทรงเข้าพระทัย ว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสไม่พอพระทัยในหนังสือสัญญาที่ได้ทำไว้ ครั้งเชอวาเลียเดอโชมอง ซึ่งอาจจะทำให้พระเจ้ากรุงสยามทรง กริ้วมองซิเออร์คอนซตันซ์ก็ได้ เพราะฉะนั้นมองซิเออร์คอนซตันซ์


๑๖ จึงได้ทำหนังสือกราบทูล ขอพระราชทานอำนาจให้มองซิเออร์ คอนซตันต์ทำสัญญากับเราได้ ครั้นพระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทาน พระราชานุญาตแล้ว เราจึงได้ช่วยกันแก้ไขร่างสัญญาเสียใหม่ ซึ่งยอมให้บริษัทได้รับสิทธิต่าง ๆ ตามความต้องการของเราทุกอย่าง จริงอยู่ในข้อที่เกี่ยวด้วยสินค้าอันผิดกฎหมายนั้น เรา จะงดไม่ระบุชื่อสินค้าอันผิดกฎหมายไม่ได้ เพราะเหตุว่าข้อนี้กิน ไปถึงพ่อค้าประเทศอื่นเหมือนกัน และไทยไม่ยอมยกเว้นข้อนี้ให้ ผู้ใดเปนอันขาด กับในข้อที่เกี่ยวด้วยสินค้าซึ่งเปนส่วนของพระ เจ้ากรุงสยามนั้นจะแก้ไขให้เปนอย่างอื่นก็ไม่ได้เหมือนกัน เพราะ สินค้าเหล่านี้เปนสินค้าที่พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงผูกขาดมาตั้งแต่ เดิมแล้ว ดุจเดียวกับสินค้าเกลือในประเทศฝรั่งเศสเหมือนกัน ในส่วนหนังสือสัญญาเรื่องพริกไทยนั้น มองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้บอกกับข้าพเจ้า ว่าหาไม่ทำสัญญาเรื่องพริกไทยกับเชอวาเลีย เดอโชมองไม่ เปนแต่ได้ทำสัญญาและแรติไฟสัญญาที่ได้ทำกับ มองซิเออร์เดลานด์เท่านั้น และว่าหนังสือสัญญาฉะบับที่ทำกับ มองซิเออร์เดลานด์นั้น เปนหนังสือสัญญาที่ใช้ได้อยู่แล้ว ข้าพเจ้าจึงได้ชี้แจงให้มองซิเออร์คอนซตันซ์ฟังว่า ตาม ข้อความในหนังสือสัญญาฉะบับนี้ มีข้อติดขัดอยู่หลายอย่าง มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงได้ตอบข้าพเจ้าว่า ข้อติดขัดไม่มีอย่างใด


๑๗ ที่เห็นว่าติดขัดนั้น คงจะเปนด้วยคนแปลจะแปลความไม่ถูก มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงรับว่าจะแปลสัญญานั้นให้ใหม่ และ มองซิเออร์คอนซตันซ์ก็ได้บอกว่า ถึงอย่างไรก็จะแก้สัญญานั้น ไม่ได้เสียแล้ว เพราะสัญญานั้นเปนเรื่องที่ได้ตกลงในที่ประชุมแล้ว ภายหลังมองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้เอาคำแปลหนังสือสัญญา ที่มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้แปลขึ้นใหม่มาส่งให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า ได้ตราจดูคำแปลใหม่ เห็นว่าเปนใจความดีกว่าคำแปลฉะบับเดิม ข้าพเจ้าจึงได้ขอให้มองซิเออร์คอนซตันซ์ เติมความลงในหนังสือ สัญญาค้าขายอีกสองสามข้อ ซึ่งข้าพเจ้ากับมองซิเออร์เดอลาลูแบ เห็นเปนการจำเปนสำหรับให้สิทธิต่าง ๆ ที่ได้ยกให้แก่บริษัทได้เปน การมั่นคง และมองซิเออร์คอนซตันซ์ก็ได้ยอมเติมข้อความใน หนังสือสัญญาตามความต้องการของข้าพเจ้า จะต้องเปนที่สังเกตไว้ว่า ตามหนังสือสัญญาสำหรับทำการ ค้าขายนี้ พระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานเกาะซึ่งอยู่ใกล้กับเมือง มะริด สำหรับให้บริษัทไปตั้งห้างเกาะ ๑ ตามความที่พระราชทาน เกาะนี้ให้บริษัทนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่ควรจะคัดค้านอย่างใด เพราะ มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้แสดงอยู่เสมอว่า เมืองมะริดนั้นหาได้ถวาย ขาดให้แก่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสไม่ เปนแต่พระเจ้ากรุงสยามได้ทรง ๓


๑๘ มอบ เมืองมะริด ให้กองทหารของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสพิทักษรักษา ไว้เท่านั้น เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ข้าพเจ้าจึงระวังนัก มิให้มองซิเออร์ คอนซตันซ์ มีความสงสัยไปอย่างอื่นได้ มิฉะนั้นการที่มองซิเออร์ คอนซตันซ์ได้รับรองไว้ว่า จะได้รีบส่งมองซิเออร์ดูบรูอังกับกอง ทหารไปประจำอยู่ที่เมืองมะริดนั้น อาจจะเปนการเหลวไปก็ได้ ณ วันที่ ๑๒ เดือนธันวาคมเวลาเย็น มองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้บอกกับข้าพเจ้าว่า พระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานพระราชา นุญาตให้ข้าพเจ้าได้กลับไปก่อนแล้ว แต่ก่อนที่ข้าพเจ้าจะได้ออก จากเมืองไทยนั้น พระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์จะให้ข้าพเจ้า เข้าเฝ้าโดยฉะเพาะอีกครั้ง ๑ และมองซิเออร์คอนซตันซ์ก็ได้อ้อนวอน ขอให้ข้าพเจ้ายอมเฝ้า ข้าพเจ้าได้ปรึกษากับมองซิเออร์เดอลาลูแบ เห็นชอบพร้อมกันแล้ว จึงได้ยอมเข้าเฝ้าตามพระราชประสงค์ ในวันนี้เองเวลาเย็นมองซิเออร์เดอลาลูแบ ได้เอาหนังสือมา ให้ข้าพเจ้าดูฉบับ ๑ ซึ่งเปนหนังสือที่มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้เขียน มา ข้าพเจ้าได้อ่านแล้วก็เห็นว่า ใจความหนังสือฉะบับนี้เต็มไป ด้วยความเหนบแนมและใช้ถ้อยคำหยาบคายตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ ข้าพเจ้า จึงเห็นว่าไม่ควรจะตอบหนังสือฉะบับนี้เลย และให้แก้ตัวเสียว่า เราจวนจะกลับไปประเทศฝรั่งเศสอยู่แล้ว จึงไม่มีเวลาจะตอบ จดหมายฉะบับนี้ได้ อีกประการ ๑ ถึงแม้ว่าเรา จะตอบจดหมายฉะบับ


๑๙ นี้ ก็คงจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะมองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้ตั้งใจไว้แล้ว ว่าจะได้ปฏิบัติกับเราเหมือนกับที่ได้ทำมาแต่ชั้น ต้น และการสิ่งใดที่ยังเกี่ยวค้างอยู่ ก็จะมอบให้บาดหลวงตาชา จัดการทั้งสิ้น เพราะบาดหลวงตาชาจะได้ไปประเทศฝรั่งเศส โดย รับอำนาจไปเต็มที่อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการทั้งหลายก็คงเปนอัน ค้างอยู่อย่างนี้ ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์เดอลาลูแบจึงได้ตกลงกันว่า มองซิเออร์เดอลาลูแบจะไม่ยอมเซ็นสัญญาหรือเซ็นอะไรหมด โดย จะอ้างเหตุว่าข้าพเจ้าไม่อยู่เสียแล้ว เว้นแต่ถ้าสิ่งใดเราได้ประโยชน์ หรือได้เปรียบมองซิเออร์เดอลาลูแบจึงจะยอมเซ็น นอกจากนี้ มองซิเออร์เดอลาลูแบ ก็จะได้รอให้พระเจ้ากรุงสยามหายประชวร เสียก่อนจะได้เฝ้าทูลลา แล้วจะได้ออกจากเมืองไทยกลับไปประเทศ ฝรั่งเศสทีเดียว วันนี้เราได้ทำคำสั่งถึงมองซิเออร์เดฟาชฉะบับ ๑ บังคับให้ มองซิเออร์เดฟาชส่งทหารปืนใหญ่ พร้อมด้วยปืนใหญ่และลูกแตก กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส ก่อนที่ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงเรื่อง ที่ข้าพเจ้าได้ออกจากเมืองไทย นั้น จำเปนจะต้องอธิบายถึงเรื่องกำไรและวิธีใช้เงิน ซึ่งบริษัท ได้ทดรองไปสำหรับทำของต่างๆ ให้พระเจ้ากรุงสยามเสียก่อน ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าได้พูดกับมองซิเออร์คอนซตันซ์ ชี้แจง


๒๐ เหตุผลต่าง ๆ ที่บริษัทได้ทดรองเงินไป มองซิเออร์คอนซตันซ์จึง ได้ตอบข้าพเจ้าว่า ราชทูตสยามได้รายงานมาว่า บริษัทไม่ ยอมทดรองเงิน ให้สำหรับทำของเหล่านี้ แต่บริษัทรับว่าจะได้ เปนธุระทำของต่าง ๆ ตามที่พระเจ้ากรุงสยามจะต้องพระราชประสงค์ ราชทูตสยามจึงได้ทำความตกลงกับบริษัทว่า พระเจ้ากรุงสยาม จะได้โปรดชำระเงินค่าของเหล่านี้ตามราคาทุนที่ได้จ่ายไป และ จะได้พระราชทานส่วนกำไรให้แก่บริษัท คิดเปนกำไร ๒๕ เปอเซ็นต์ แต่ความจริง ใน เรื่องนี้บริษัทได้ปฏิเสธไม่ยอมรับรู้ตามที่ผู้อำนวย การได้ทำความตกลงกับราชทูตสยามเช่นนี้ มาควิศเดอเซเนเลจึง ได้สั่งให้บริษัทส่งผู้อำนวยการคนอื่น ให้มาทำความตกลงกับ ราชทูตสยาม ถึงเรื่องวิธีที่จะชำระเงินและคิดกำไรกันเสียใหม่ ครั้นบริษัทได้ส่งผู้อำนวยการมาใหม่ ก็คงเปนอันตกลงกับราชทูต สยามเหมือนครั้งก่อน คือว่าจะคิดกำไรให้บริษัท ๒๕ เปอเซ็นต์ นอกจากนั้นถ้าจะเกิดการเสียหายขึ้นอย่างใด ก็ต้องตกอยู่ใน ความรับผิดชอบของบริษัททั้งสิ้น ข้าพเจ้าจึงได้ตอบมองซิเออร์คอนซตันซ์ว่า ในข้อที่กล่าว ว่าบริษัทไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่ราชทูตสยามนั้น เปนสิ่งที่เปนไป ไม่ได้ เพราะบริษัทได้จ่ายเงินออกไปแล้ว และการที่บริษัทรับ เปนธุระทำของต่าง ๆ ให้นั้นก็เพื่อจะเอื้อเฟื้อแก่ราชทูตสยาม เพราะ


๒๑ บริษัทเห็นว่าถ้าไม่รับธุระแล้วทำอย่างไร ๆ ราชทูตสยามก็คงจะจัดการ ให้สำเหร็จไม่ได้ และที่บริษัทได้รับภาระไปเช่นนี้ก็เพื่อประสงค์ จะทำการให้เปนที่พอพระทัยของพระเจ้ากรุงสยามเท่านั้น เพราะ ของต่าง ๆ เหล่านี้ก็ได้ทำขึ้นโดยความเห็นชอบของราชทูตสยาม และ นายช่างก็ได้ประดิษฐ์ของเหล่านี้ไม่ผิดกับแบบตัวอย่างเลย บริษัท จึงคิดเห็นว่าเมื่อได้ทำของเหล่านี้เปนการสำเหร็จ สมพระราชประสงค์ ของพระเจ้ากรุงสยามแล้ว ก็คงจะเปนการพอพระทัยทุกอย่าง การที่บริษัทได้ให้ทำของต่าง ๆ เหล่านี้ ก็มิได้รับคำสั่งจากมาควิศ เดอเซเนเลเลย และมองซิ เออร์คอนซตันซ์เองก็ได้ออกปากชม ว่า ของต่างๆ ที่ได้ทำขึ้นเปนครั้งแรกนี้ ได้ทำอย่างดีถูกต้องทุก อย่าง จริงอยู่ได้มีของเสียหายชำรุดไปหลายอย่าง แต่ข้อนี้ เปนด้วยการข้ามน้ำข้ามทะเล อันเปนหนทางไกลเดินทางช้าวันมาก จะโทษ อย่างอื่นไม่ได้ แต่ที่ว่า ๆ ราชทูตสยามได้ทำความตกลงกับ บริษัทในเรื่องกำไรนั้นเปนความไม่จริง เพราะในเรื่องนี้บริษัทได้ มอบให้ข้าพเจ้ามาจัดการ ในเวลาที่ข้าพเจ้าได้มาถึงประเทศสยามแล้ว มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงได้บอกกับข้าพเจ้าว่า ในเรื่อง กำไรของบริษัทนั้น พระเจ้ากรุงสยามคงจะได้พระราชทานให้เปนที่ พอใจของบริษัท มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงแนะนำ ข้าพเจ้าว่าอย่า ให้ข้าพเจ้ากะอัตรากำไรจะดีกว่า ทำอย่างไร ๆ พระเจ้ากรุงสยาม


๒๒ ก็คงจะพระราชทานกำไรให้พองาม ข้าพเจ้าจึงได้ตอบมองซิเออร์คอนซตันซ์ว่าข้าพเจ้าจะได้ปฏิบัติ ตามคำแนะนำของมองซิเออร์คอนซตันซ์ด้วยความเต็มใจ แต่ข้าพเจ้า ต้องขอให้มองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้คิดถึงข้อเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ได้ มองซิเออร์คอนซตันซ์ก็รับรองว่าจะได้คิดให้เหมือนกัน ในเรื่องนี้ต่อมา มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้นิ่งอยู่นานมิได้พูด ถึงอีกเลย ข้าพเจ้าจึงจำเปนต้องถามขึ้นว่า มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ กราบทูลพระเจ้ากรุงสยามในเรื่องนี้แล้วหรือยัง มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงได้ตอบข้าพเจ้าว่า มองซิเออร์ คอนซตันซ์ได้กราบทูลแล้ว พระเจ้ากรุงสยามจึงได้รับสั่งให้หา ราชทูตสยามและได้มีรับสั่งถามว่า เหตุใดราชทูตจึงมิได้ทำ ความตกลงไว้กับบริษัท ราชทูตได้กราบทูลว่า ได้ตกลงกันไว้ แล้วว่าจะได้คิดดอกเบี้ยให้แก่บริษัท ๒๕ เปอร์เซ็นต์ดังมีแจ้งอยู่ในรายงาน ของราชทูตนั้นแล้ว พระเจ้ากรุงสยามจึงได้รับสั่งว่า ถ้าราชทูตได้ ไปตกลงไว้เช่นนั้น ก็ต้องให้เปนไปตามนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ตอบมองซิเออร์คอนซตันซ์ว่า ราชทูตสยามมิ ได้ไปทำความตกลงกับบริษัทอย่างใดเลย มองซิเออร์คอนซตันซ์ จึงได้ให้คนไปตามราชทูตมา ราชทูต ได้พารายงานมาด้วย และได้ยืนยันว่าราชทูตได้ทำความตกลง


๒๓ กับผู้อำนวยการ ซึ่งบริษัทได้จัดให้มาโดยได้รับคำสั่งจากท่าน มาควิศเดอเซเนเล แล้วราชทูตก็ได้อ่านรายงานตอนที่กล่าวถึงข้อ ตกลงกับผู้อำนวยการของบริษัทให้ข้าพเจ้าฟัง ข้าพเจ้าจึงพูดกับมองซิเออร์คอนซตันซ์ว่า ข้าพเจ้าก็มี หลักฐานที่จะให้เห็นได้ชัดเจนว่า ตามที่ราชทูตได้กล่าวนั้น เปนความไม่จริง เพราะบริษัทก็ได้ส่งรายงานมาให้ข้าพเจ้าฉะบับ ๑ เหมือนกัน และในรายงานฉะบับนั้นก็ได้กล่าวถึงข้อความที่ได้พูดกัน เมื่อครั้งประชุมกันที่กรุงปารีศ ในระหว่างราชทูตสยามและผู้แทนของ บริษัท ข้าพเจ้าจึงได้อ่านรายงานของบริษัทให้มองซิเออร์คอนซตันซ์ฟัง มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงพูดกับข้าพเจ้าว่า เห็นแล้วว่ารายงาน ของบริษัทมีความอย่างไร แต่พระเจ้ากรุงสยาม ได้ทรงกำหนดไว้ แล้ว ว่าจะได้พระราชทานดอกเบี้ยให้แก่บริษัท ๒๕ เปอร์เซ็นต์ การที่เปนไปดังนี้ ข้าพเจ้านึกเสียใจและไม่พอใจเปนอันมาก เพราะไม่ใช่แต่บริษัทได้รับความเสียหายอย่างเดียว แต่พระเจ้า กรุงสยามได้ทรงเอาความเท็จมาวินิจฉัย ซึ่งตรงกันข้ามกับความจริง และเปนที่ดูเหมือน พระเจ้ากรุงสยามจะสงสัยในคำพูดของข้าพเจ้าที่ พูดแทนบริษัทนั้นด้วย มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงได้บอกกับข้าพเจ้าว่า มองซิเออร์ คอนซตันซ์ ได้ให้ตัดความออกจากรายงานของราชทูตสยามหลาย


๒๔ อย่าง เพราะข้อความเหล่านี้อาจจะทำให้คนเข้าใจผิดอันจะทำ ความเสียหายให้เกิดแก่บริษัทก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นในรายงาน ได้กล่าวว่า บริษัทได้ห้ามไม่ให้พ่อค้าและนายช่างเข้าไปหาราชทูตซึ่ง ราชทูตได้ ให้ไปเรียกมา เพราะบริษัทไม่อยากให้ราชทูตทราบ ราคาค่าของต่าง ๆ ที่ให้ทำนั้น ดังนี้เปนต้น ข้าพเจ้าจึงได้ตอบมองซิเออร์คอนซตันซ์ว่า การที่มองซิเออร์ คอนซตันซ์ ได้ให้ตัดความเช่นนี้ออกนั้น บริษัทมีความขอบใจอยู่แล้ว แต่การที่หาว่า บริษัทได้สั่งห้ามมิให้พ่อค้าและนายช่างเข้าไปหา ราชทูตนั้น เปนความไม่จริงเลย เพราะเหตุว่าบริษัทไม่มีอำนาจ ที่จะทำเช่นนี้ได้ ถึงแม้ว่าบริษัทคิดอยากจะทำเช่นนี้ก็จะทำไม่ ได้เปนอันขาด เพราะไม่มีอำนาจที่จะทำได้อีกประการ ๑ เจ้าพนักงาน ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเปนคนรับใช้ และเปนคนพิทักษรักษาราชทูต และราชทูตก็ได้รับความเอื้อเฟื้อ และได้รับความต้อนรับอย่างพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีตัวอย่างในประเทศฝรั่งเศสเลย เพราะฉะนั้นที่ราชทูต ไปคิดเห็นว่า บริษัทคอยกีดกันมิให้พวกพ่อค้าและนายช่างมาหานั้น ไม่มีมูลอย่างใดและไม่ควรจะคิดเช่นนั้นเลย ที่ราชทูตสยามได้ คิดเช่นนี้กระทำให้ข้าพเจ้าปลาดใจอย่างยิ่ง เพราะข้าพเจ้าเองก็มี พยานหลักฐานที่จะชี้ให้เห็นว่า ตามที่ราชทูตสยามกล่าวนั้นเปน ความไม่จริง โดยเหตุว่าในเวลาที่ข้าพเจ้าได้ไปหาราชทูต


๒๕ คราวใด ก็ได้พบราชทูตอยู่กับพวกพ่อค้าและนายช่างทุกคราว จนที่สุดบรรดานายช่างและคนงานที่มีหน้าที่ทำของต่าง ๆ ของพระเจ้า กรุงสยามนั้น ก็ได้ไปหาราชทูตสยามยังโฮเต็ลที่พักบ่อย ๆ ทุก ๆ คน เพื่อจะไปเรียน ทางปฏิบัติจากราชทูต และที่บริษัทได้รับธุระไป จัดทำของให้นั้น ก็ประสงค์อย่างเดียวแต่จะให้เปนการพอพระทัย ของพระเจ้ากรุงสยามและพอใจท่านราชทูตสยามเท่านั้น ข้าพเจ้า จึงเห็นว่าการที่บริษัทได้ทำความดีนั้น ได้กลับเปนความร้ายเสียแล้ว มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ฟังข้าพเจ้าชี้แจงดังนี้ ก็ออกจะ เชื่อตามที่ข้าพเจ้าพูด แต่ถึงดังนั้นกำไรที่จะให้แก่บริษัทนั้นก็คง ตกลงให้ ๒๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง มองซิเออร์คอนซตันซ์จึงได้ให้ เจ้าพนักงานไปขนเงินมาไว้บ้านของตัวต่อหน้าข้าพเจ้า เพื่อจะได้ชำระ เงินกันเสียให้เสร็จ แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าถ้าจะรับเปนตัวเงินมาจะ ไม่ได้ประโยชน์เท่ากับรับเปนสินค้า อันเปนสินค้าที่สมควรจะนำไป จำหน่ายที่ประเทศฝรั่งเศสและที่ฝั่งคอรอมันเดลได้ ข้าพเจ้าจึงจัดการ ว่าราคาสินค้าต่าง ๆ กับมองซิเออร์คอนซตันซ์ แต่มองซิเออร์ คอนซตันซ์ยังกะราคาเงินและดอกเบี้ยไม่ได้ เพราะเหตุว่ามีกระจก ได้แตกไปหลายบาน และของอื่น ๆ ก็ได้เสียหายชำรุดเปนอันมาก ซึ่งจะทำบาญชีรายละเอียดภายในเวลา ๒ เดือนไม่ได้ ข้าพเจ้าจึง ๔


๒๖ ได้มอบหน้าที่ให้มองซิเออร์เวเรต์ เปนผู้ทำบาญชีรายละเอียดนี้ต่อไป และข้าพเจ้าเชื่อว่ามองซิเออร์เวเรต์ คงจะได้ทำบาญชีส่งไปให้บริษัท ภายในปีนี้ สินค้าต่าง ๆ ได้บรรทุกลงเรือเปรซิเดนส่งไปยังฝั่งคอ รอมันเดลหลายอย่างแล้ว และในสินค้าเหล่านี้ล้วนแต่มีกำไร ๒๕ เปอร์เซนต์ทุกอย่าง ณ วันที่ ๑๓ เดือนธันวาคม ข้าพเจ้าได้ไปเฝ้าพระเจ้ากรุงสยาม ตามที่ได้นัดกันไว้แล้ว ราชทูตที่ ๑ ผู้ที่เคยไปเจริญทางพระราช ไมตรีในประเทศฝรั่งเศส กับขุนนางข้าราชการอีกหลายนายได้ เปนผู้พาข้าพเจ้าไปยังที่เฝ้า และระเบียบที่เข้าเฝ้าในคราวนี้ ก็ ได้มีเช่นเดียวกับเมื่อครั้ง ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์เดอลาลูแบได้เข้าเฝ้า โดยเฉพาะในคราวก่อน พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งว่า ทรงมีความเสียพระทัยที่ ระดูเดินเรือ ได้บังคับให้ข้าพเจ้าต้องรีบร้อนกลับไปจากราชสำนัก สยามเช่นนี้ แล้วจึงรับสั่งถามว่า การที่ได้ทรงพระกรุณาผ่อนผัน ให้บริษัทได้มาตั้งห้างในพระราชอาณาจักร์สยามนั้น เปนการที่ ข้าพเจ้าพอใจหรือไม่ ข้าพเจ้าได้กราบทูลขอบพระเดชพระคุณ ที่ได้ทรงพระเมตตา แก่บริษัท แล้วข้าพเจ้าจึงได้กราบทูลต่อไปว่า เมื่อข้าพเจ้าได้ กลับไปถึงประเทศฝรั่งเศสแล้ว ข้าพเจ้าจะได้กราบทูลให้พระเจ้ากรุง


๒๗ ฝรั่งเศสทรงทราบ ในการที่พระเจ้ากรุงสยามทรงตั้งพระไทยดีต่อบริษัท พระเจ้ากรุงสยามจึงได้รับสั่งถามข้าพเจ้าว่า มองซิเออร์ เดลานด์บูโรจะได้อยู่ในประเทศสยามต่อไปหรืออย่างไร ข้าพเจ้าจึงได้กราบทูลว่า บริษัทได้กะไว้แล้วว่าจะให้มอง ซิเออร์เดลานด์ไปประจำอยู่ที่เมืองเบงคอลต่อไป ข้าพเจ้าได้สังเกตเห็นว่าพระเจ้ากรุงสยาม โปรดปรานมองซิ เออร์เดลานด์อยู่บ้าง และคงจะพอพระทัยให้มองซิเออร์เดลานด์ ได้ประจำอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาแทนมองซิเออร์เวเรต์ แล้วพระเจ้ากรุงสยาม จึงได้รับสั่งว่าอยากจะทรงเห็นบุตร์ชาย ของข้าพเจ้าในทันใดนั้นบุตร์ชายข้าพเจ้าก็ลุกขึ้นถวายคำนับ พระ เจ้ากรุงสยามจึงได้รับสั่งว่า ทรงยินดีที่บุตร์ชาย ของข้าพเจ้าได้ เล่าเรียนอยู่กับพวกบาดหลวงเยซวิต แล้วจึงได้พระราชทาน สายสร้อยทองคำให้บุตร์ชายข้าพเจ้าสาย ๑ พระเจ้ากรุงสยามได้ รับสั่งขอให้ข้าพเจ้าไปกราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ถึงพระราชไมตรี ของพระองค์ และทรงหวังพระทัยว่าพระราชไมตรีนี้จะได้มีติดต่อ สืบเนื่องกันชั่วกาลนาน เมื่อรับสั่งเสร็จแล้วพระเจ้ากรุงสยามก็เสด็จขึ้น แต่ข้าพเจ้า เห็นว่าการเสด็จขึ้นครั้งนี้ดูออกจะรีบด่วนอยู่สักหน่อย แต่มอง ซิเออร์คอนซตันซ์ ได้อธิบายให้ข้าพเจ้าฟังว่า การที่ต้องรีบเสด็จ


๒๘ ขึ้นเช่นนี้ก็เพราะเหตุที่ยังทรงพระประชวรอยู่ มิฉะนั้นก็คงจะ โปรดให้ข้าพเจ้าได้เฝ้าอยู่นานกว่านี้ เมื่อข้าพเจ้าได้ออกจากที่เฝ้าแล้ว ก็ได้เลยไปรับประทานอาหาร ที่บ้านมองซิเออร์คอนซตันซ์ แล้วจึงได้เซ็นหนังสือสัญญาพิเศษใน เรื่องที่มองซิเออร์คอนซตันซ์จะเข้าหุ้นกับบริษัทนั้นด้วย มองซิเออร์ คอนซตันซ์ ได้สัญญากับข้าพเจ้าว่าจะได้ทำจดหมายบันทึก แสดง ถึงการค้าขายว่าจะควรทำการค้าขายในเมืองไทยด้วยวิธีใด และ จะได้ส่งจดหมายบันทึกนี้ฝากไปกับเรือรบฝรั่งเศส อันที่จริง จดหมายบันทึกอันนี้ มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้รับปากจะทำให้ ข้าพเจ้ามาช้านานแล้ว และรับว่าจะได้ส่งให้ข้าพเจ้าก่อนข้าพเจ้า จะกลับจากเมืองไทย แต่มองซิเออร์คอนซตันซ์มิได้มีเวลาว่างเลย จึงยังหาได้ทำให้ข้าพเจ้าไม่ ในวันนี้เวลาบ่ายประมาณ ๓ โมง ข้าพเจ้าได้ลามองซิเออร์ เดอลาลูแบ ซึ่งจำเปนต้องลาด้วยความอาลัยเสร็จแล้ว ข้าพเจ้า จึงได้ลาออกจากบ้านที่พัก บรรดานายทหารฝรั่งเศสทั้งหลายทั้ง นายทหารบกและนายทหารเรือซึ่งอยู่ที่เมืองลพบุรี ได้มาพร้อม กันอยู่ที่บ้านเพื่อคอยส่งข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้เดินไปลงเรือต่อไป เมื่อข้าพเจ้าเดินผ่านบ้านมองซิเออร์คอนซตันซ์ ๆ ก็ออกมาต้อนรับ แล้วได้เดินไปส่งข้าพเจ้าจนถึงเรือ ซึ่งเจ้าพนักงานได้เตรียมไว้พร้อม


๒๙ แล้ว มองซิเออร์เดฟาชกับพวกบาดหลวงเยซวิตทั้งคณะก็ได้ไปส่ง ข้าพเจ้าถึงเรือด้วย เมื่อข้าพเจ้าได้ลาท่านผู้ที่มาส่งทุกคนแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้ลงเรือ และมองซิเออร์คอนซตันซ์กับท่านผู้ที่มาส่ง ได้ยืนอยู่ที่ตลิ่ง จนเรือได้ออกไปไกลแล้วจึงได้ต่างคนต่างกลับไป เวลากลางคืนประมาณ ๕ ทุ่ม (๑๑ล.ท.) ข้าพเจ้าได้มาถึงกรุง ศรีอยุธยา รุ่งขึ้นข้าพเจ้าได้พักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาตลอดวัน เพื่อ จะได้ทำธุระต่าง ๆ และทำคำสั่งมอบไว้กับมองซิเออร์เวเรต์และเจ้าพนัก งานอื่น ๆ ของบริษัทเสียให้เสร็จ แล้วข้าพเจ้าได้ไปลาท่านสังฆราช เดอเมเตโลโปลิศและท่านสังฆราชเดอโรซาลีที่กรุงศรีอยุธยา แต่ใน รวางเวลาที่กำลังเดินไปบ้านท่านสังฆราชนั้น ได้พบกับท่านสังฆราช ทั้งสองเดินสวนทางมา เพื่อจะพาพวกมิชันนารีทั้งปวงมาเยี่ยม เยือนข้าพเจ้า ในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้เซ็นคำสั่งกำหนดอัตราเงินเดือนของพลทหาร ซึ่งข้าพเจ้าได้กะอัตราให้เปนเบี้ยเลี้ยงวันละ ๔ แฟรง ถ้าจะดู เผิน ๆ แล้วอัตราเบี้ยเลี้ยงวันละ ๔ แฟรงนี้ดูจะแรงมาก แต่ข้าพเจ้า จะกะให้น้อยกว่านี้ไม่ได้ เพราะสะเบียงอาหารในเมืองนี้แพงมาก และ ถึงให้วันละ ๔ แฟรงก็เกือบจะไม่พอเสียซ้ำไป พวกปอตุเกตที่ ประจำอยู่ที่บางกอกนั้น ได้รับพระราชทานเบี้ยเลี้ยงจากพระเจ้า กรุงสยามถึงวันละ ๑๐ แฟรง ภายหลังจึงค่อยจัดการให้กองทหารได้


๓๐ ซื้อสะเบียงอาหารให้ถูกกว่านี้ก็ได้ ตามบาญชีที่ได้ทำมานั้นท่าน มาควิศเดอเซเนเล คงจะเห็นได้ว่าเปนการจำเปนที่จะให้เบี้ยเลี้ยงแก่ พลทหารน้อยกว่านี้ไม่ได้ ณวันที่ ๑๕ เดือนธันวาคม เวลาเที่ยงข้าพเจ้าได้ออกเรือจาก กรุงศรีอยุธยาล่องลงไปบางกอก และได้ไปถึงบางกอกในราว ๒ ยาม ( เที่ยงคืน ) มองซิเออร์เดอแวเดอซาลผู้บังคับการกองทหาร ในเวลาที่มองซิเออร์เดฟาชไม่อยู่นั้น ได้มาคอยรับข้าพเจ้าอยู่ที่ สะพานท่าน้ำ แล้วเจ้าพนักงานได้พาข้าพเจ้าไปยังที่พักซึ่งได้จัด เตรียมไว้ให้ข้าพเจ้าพัก ในรวางที่เดินทางจากท่าน้ำไปยังที่ พักนั้น ได้มีกองทหารถืออาวุธเรียงแถวรายอยู่ทั้งสองข้างทาง และทหารก็ได้ตีกลองด้วย ในลานบ้านที่พักนั้นมีกองทหารเกียรติยศ ๕๐ คน มีนายร้อยเอก ๑ นาย ร้อยโท ๑ และมีนายร้อยตรี ๑ คน ในรวางทีเดินทาง ตั้งแต่ประตูเมืองจนถึงที่พักซึ่งเปนหนทางประมาณ ๑๐๐ ก้าวนั้น ปืนใหญ่ก็ได้ยิงสลุตตลอดทาง เมื่อข้าพเจ้าได้ ออกรับพวกนายทหารฝรั่งเศส และขุนนางข้าราชการซึ่งประจำอยู่ใน เมืองบางกอกเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้เลยเข้านอน ในรวางที่ ข้าพเจ้าเดินทางจากกรุงศรีอยุธยามาบางกอกนั้น ได้มีเรือคอยแวด ล้อมอยู่เปนอันมาก และบรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่ผ่านมาตามทาง ก็คอยมาส่งจนหมดเขตต์ของตัวทุกแห่ง


๓๑ ณวันที่๑๖เดือนธันวาคม ข้าพเจ้าได้พักอยู่ที่บางกอกตลอดวัน เพื่อทำธุระต่างๆ ที่ค้างเสียให้เสร็จ และเพื่อจะได้เตรียมตัวกลับไปประ เทศฝรั่งเศสด้วย เมื่อข้าพเจ้าพักอยู่ที่บางกอกนั้น มองซิเออร์เดอ โวครีคูร์ก็ได้มาหาเพื่อมาทำความตกลงถึงเรื่อง จะถอนเรือลานอมันด์ ซึ่งมองซิเออร์เดอคูร์เซลเปนผู้บังคับนั้น ข้าพเจ้ากับมองซิเออร์ เดอโวครีคูร์จึงได้ตกลงพร้อมกันว่า ตามคำสั่งของพระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสนั้น เรือลำนี้จะต้องไปยังเมืองปอนดีเชรีโดยเร็ว แล้วจึง ให้ออกจากเมืองปอนดีเชรีไปยังแม่น้ำเมืองเบงคอล เพื่อไปบรรทุก สินค้าสำหรับบริษัท แล้วจึงให้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส ข้าพเจ้าได้ไปดูการฝึกหัดทหารฝรั่งเศส และได้สังเกตเห็นว่า กองทหารฝรั่งเศสได้ฝึกท่าทางดีมาก ดูมองซิเออร์เดอแวเดอซาลจะ เอาใจใส่ในการฝึกทหารนี้เปนอันมาก

รายงานระยะเดินทาง รวางบางกอกและฝรั่งเศส ณวันที่ ๑๗ เดือนธันวาคม เวลาเช้า ข้าพเจ้าได้ลงเรือพร้อม ด้วยบาดหลวงเดสปานยักบาดหลวงเยซวิต ซึ่งจะต้องไปประจำอยู่ที่ เมืองมะริด ออกพระวิสูตร์สุนทรก็ได้ลงเรือเหมือนกัน เพราะ ท่านผู้นี้จะไปส่งข้าพเจ้าจนถึงเมืองมะริด และมีหน้าที่จะไปกับ มองซิเออร์เดอเบรซีเอนยินเนียของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เพื่อไปทำ


๓๒ แผนที่เกาะซึ่งพระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานให้แก่บริษัท ในวันนี้ ได้เดินทางตลอดวัน และได้มีเรือพวกเจ้าเมืองซึ่ง ข้าพเจ้าได้ผ่านไปนั้น ได้ออกมาต้อนรับและคอยกำกับไปหลายลำ ในกลางทางรวางบางกอกและท่าจีนนั้น ข้าพเจ้าได้พบกับเจ้าเมือง เมืองใหญ่ซึ่งเรียกกันว่าเมืองราชบุรี ได้มีเรืออื่น ๆ อีกเปนอันมาก ได้ตามเรือเจ้าเมืองราชบุรีมาด้วย เมื่อเจ้าเมืองราชบุรีได้มาต้อน รับ ข้าพเจ้าเสร็จแล้ว จึงได้ออกเรือนำหน้าเรือข้าพเจ้า และบรรดา พวกเรือเมืองราชบุรีก็ตามเรือเจ้าเมืองไปด้วยกันทั้งหมด ในขณะ นี้เจ้าเมืองบางกอกได้มาลาข้าพเจ้าเพื่อกลับไปบางกอก เพราะหมด เขตต์ของตัวแล้ว จะต้องกล่าวให้ทราบไว้ในที่นี้ว่า ตามเมืองหรือตำบล ทุก ๆ เมือง มีขุนนางคน ๑ เปนผู้ที่ชำระตัดสิน อรรถคดีของราษฏร พลเมืองทั้งปวง และขุนนางคนนี้เองเปนผู้คอยรับคำสั่งจากราช สำนักสำหรับมาจัดการทั้งปวงทั่วไป ถ้าเมืองใดมีป้อมหรือมีกอง ทหารประจำอยู่ ขุนนางคนนี้หาได้ว่ากล่าวบังคับบัญชากองทหารไม่ แต่ต้องมีนายทหารอีกคน ๑ สำหรับบังคับบัญชากองทหารเปนส่วน ๑ ต่างหาก และกองทหารเหล่านี้โดยมากก็มักจะเปนคนต่างชาติ ต่างภาษาทั้งนั้น เมื่อข้าพเจ้าได้เดินทางจากบางกอกมาได้ประมาณ ๔ หรือ ๕


๓๓ ไมล์ ข้าพเจ้าได้พบกับกะลาสีเรือ ๒๕ คนซึ่งข้าพเจ้าได้เรียกมาจาก เมืองมะริด และเปนกะลาสีที่ประจำอยู่ในเรือเปรซิเดน การที่ ข้าพเจ้าได้เรียกพวกกะลาสีมานั้น ก็เพื่อให้มาช่วยกำลังของเรือ รบฝรั่งเศสและช่วยกำลังเรือโดรมาแดโดยฉะเพาะ เพราะถ้าไม่เรียก กะลาสีพวกนี้มาช่วยแล้ว เรือลำนี้ก็จะกลับไปประเทศฝรั่งเศสไม่ ได้ เพราะกะลาสีประจำเรือลำนี้ได้ล้มตายไปเสียหลายคน แม่น้ำในตอนนี้แคบเข้าทุกทีเกือบจะเปนคลองเล็ก ๆ อยู่แล้ว น้ำก็ตื้นมาก จึงต้องใช้กระบือสำหรับลากเรือไปตามเลนจนกว่าจะ ไปถึงน้ำลึก และกระบือเหล่านี้ก็ได้วางไว้เปนระยะ ๆ ตลอดทาง ซึ่งเปนระยะยาวอยู่ในราว ๒ หรือ ๓ ไมล์ เมื่อพ้นที่ตื้นไปถึงน้ำ ลึกแล้ว ก็ได้เดินทางไปถึงท่าจีนอย่างสะดวก และได้ไปถึงท่า จีนในราวบ่าย ๕ โมง ในระยะนี้ได้เดินทางผ่านแม่น้ำหลายแม่น้ำ ซึ่งมีคลองขุดเปนคลองตรง ๆ ติดต่อถึงกันหมด เมืองท่าจีนนี้เปนเมืองใหญ่ ไกลจากบางกอกหนทางประมาณ ๘ ไมล์ และเปนเมืองที่ขึ้นกับเมืองราชบุรี ตั้งอยู่ริมลำน้ำซึ่งเปน แม่น้ำที่งามน่าดูมาก แม่น้ำนี้ลึกเรือขนาดมีระวางเพียง ๑๐๐ ตันขึ้น ล่องได้สะดวก และในเวลาที่ข้าพเจ้าได้ไปถึงท่าจีนนั้น ก็มีเรือ สำเภาจีนขนาด ๑๐๐ ตัน และเรือแขกมะลายูจอดอยู่ในแม่น้ำหลายลำ ๕


๓๔ เจ้าพนักงานได้จัดให้ข้าพเจ้า ขึ้นพักบนเรือนซึ่งได้ปลูกขึ้นโดย เฉพาะสำหรับรับข้าพเจ้า และบนเรือนนี้ก็มีเครื่องเรือนตามธรรมดา ที่เมืองนี้มีป้อมเล็ก ๆ อยู่ ๑ ป้อมก่อด้วยอิฐ และกำแพงป้อมนั้นสูงอยู่ ในราว ๑๐ ฟิต แต่หามีคู่หรือชานป้อมไม่ มีแต่หอรบซึ่งมีปืน ขนาด เล็กและเปนปืนทองเหลืองด้วย เมื่อข้าพเจ้ามาถึง ปืนเหล่านี้ก็ ยิงรับข้าพเจ้า ในที่นี้มีน้ำสำหรับรับประทานเปนน้ำดีมาก ณวันที่ ๑๘ เดือนธันวาคมข้าพเจ้าได้ออกจากท่าจีนเพื่อไปแม่ กลอง ตามทางรวางท่าจีนและแม่กลองนี้มีบางแห่งซึ่งน้ำตื้นต้อง ใช้กระบือลากเรือเหมือนวันก่อน แต่ตอนที่ตื้นวันนี้ยาวกว่าวาน นี้และลากลำบากกว่าวานนี้มาก เวลาเย็นข้าพเจ้าได้ไปถึงแม่ กลองซึ่งไกลจากท่าจีนระยะทางประมาณ ๑๐ ไมล์ครึ่ง เมืองแม่กลอง นี้เปนเมืองที่ใหญ่กว่าท่าจีน และตั้งอยู่ริมแม่น้ำซึ่งเรียกกันว่า แม่น้ำแม่กลอง และอยู่ห่างกับทะเลหนทางประมาณ ๑ ไมล์ น้ำรับ ประทานในเมืองนี้เปนน้ำที่ดี เมืองแม่กลองนี้หามีกำแพงเมืองไม่ แต่มีป้อมเล็กๆ สี่เหลี่ยมอยู่ ๑ ป้อม บนป้อมนั้นมีหอรบอยู่ ๔ แห่ง แต่เปนหอรบเล็กมากก่อด้วยอิฐ คูก็หามีไม่ แต่น้ำท่วมอยู่รอบ ป้อม กำแพงหรือรั้วในระหว่างหอรบนั้น ทำด้วยเสาใหญ่ ๆ ปักลง ในดินและมีเคร่าขวางถึงกันเปนระยะ ๆ เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงแม่กลองแล้ว รุ่งขึ้นวันที่ ๑๙ เดือน


๓๕ ธันวาคมข้าพเจ้าก็ได้เปลี่ยนเรือ เรือที่เปลี่ยนใหม่นี้เปนเรือแจว สอาดและกว้างขวางพอใช้ได้ และเจ้าพนักงานก็ได้เตรียมเรือแจว และเรืออีกชะนิด ๑ ซึ่งเรียกกันว่า มีรู (miroux) อีกหลายลำสำหรับ ให้คนของข้าพเจ้านั่งไปและสำหรับบรรทุกของ ๆ ข้าพเจ้าด้วย ผู้ว่า ราชการเมืองราชบุรีได้ไปส่งข้าพเจ้าจนถึงปากน้ำ เมื่อถึงปากน้ำ แล้วผู้ว่าราชการเมืองราชบุรีก็ลาข้าพเจ้ากลับไป ส่วนผู้ว่าราชการ เมืองแม่กลองพร้อมด้วยข้าราชการ และบ่าวไพร่ได้เอาเรือเลียบทะเล มาตามชายฝั่ง จึงได้มาสมทบกับข้าพเจ้าที่ปากน้ำเมืองเพ็ชรบุรี ซึ่งเปนหนทางไกลประมาณ ๔ ไมล์ ในที่นี้ทะเลเปนอ่าวใหญ่กว้าง ประมาณ ๔ ไมล์ และแม่น้ำแม่กลองซึ่งไหลจากทิศเหนือมาทิศใต้ นั้น ก็มาตกทะเลในที่นี้ แม่น้ำเพ็ชรบุรีก็ไหลมาตกในที่นี้เหมือน กัน แต่แม่น้ำนี้ไหลจากทิศใต้ไปทิศเหนือ เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงกลางอ่าว ก็ได้เห็นปลายเสากระโดงเรือ รบฝรั่งเศสซึ่งจอดอยู่ตรงปากน้ำเจ้าพระยา และไกลจากอ่าวนี้ ประมาณ ๖ หรือ ๗ ไมล์ เรือรบฝรั่งเศสเหล่านี้จอดอยู่ทางทิศตะวันออก ครั้นเรือข้าพเจ้าได้เข้าในลำน้ำเพ็ชรบุรีแล้ว ก็ได้พบผู้ว่าราช การเมืองเพ็ชรบุรีซึ่งมาคอยรับข้าพเจ้าอยู่ ผู้ว่าราชการเมืองเพ็ชร บุรีคนนี้เปนคนชาติแขกเตอรกีเกิดที่เมืองบูโอซ และเมื่อครั้งเชอ วาเลียเดอโชมองได้มาที่เมืองไทยนั้น แขกคนนี้ยังเปนผู้ว่าราชการ


๓๖ เมืองบางกอกอยู่ เมื่อผู้ว่าราชการเมืองเพ็ชรบุรีมารับข้าพเจ้านั้น มีข้าราชการและผู้คนตามมาด้วยเปนอันมาก แลผู้ว่าราชการ เมืองได้นั่งเรือออกนำหน้าเรือพวกเรา และได้ให้โยงเรือพวกเรา ๓ ลำขึ้นไปจนถึงเมืองเพ็ชรบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากปากน้ำประมาณ ๘ ไมล์ ในแถวปากน้ำเพ็ชรบุรีนี้เปนที่เปล่าเปลี่ยวไม่มีผู้คนอยู่เลย แต่เมื่อได้ขึ้นไปตามลำแม่น้ำได้สัก ๒ ไมล์ ภูมิประเทศดูดีขึ้น ทั้งสองข้างแม่น้ำเปนทุ่งนา ซึ่งราษฎรพลเมืองมาทำนาหว่านเพาะ เข้า บางแห่งก็เปนทุ่งซึ่งเต็มไปด้วยโคกระบือซึ่งเจ้าของพา มาเลี้ยง เมื่อจวนจะถึงเมืองเพ็ชรบุรี ผู้ว่าราชการเมืองได้รีบออกหน้า ไปก่อน พอข้าพเจ้าขึ้นจากเรือผู้ว่าราชการเมืองเพ็ชรบุรีก็คอย รับอยู่ที่สะพานน้ำ แล้วปืนซึ่งตั้งอยู่ริมตลิ่งตรงกับประตูเมืองก็ได้ยิง สถุตรับข้าพเจ้า ผู้ว่าราชการเมืองเพ็ชรบุรีจึงได้นำข้าพเจ้าไปพัก ที่เรือนหลัง ๑ ซึ่งได้จัดเตรียมไว้เสร็จแล้ว เรือนหลังนี้ก็มีรูปทรง และเครื่องเรือนคล้ายกับเรือนอื่น ๆ ที่ข้าพเจ้าได้พักมาแล้ว หน ทางจากแม่กลองมาเพ็ชรบุรีเปนระยะทางประมาณ ๑๒ ไมล์ เมืองเพ็ชรบุรีนี้เปนเมืองขนาดใหญ่ในประเทศสยาม และ เดิม ๆ มาพระเจ้าแผ่นดินสยามก็เคยมาประทับอยู่ในเมืองนี้เสมอ ๆ เมืองนี้มีกำแพงก่อด้วยอิฐล้อมรอบ และมีหอรบหลายแห่ง แต่


๓๗ กำแพงนั้นชำรุดหักพังลงมากแล้ว ยังเหลือดีอยู่แต่แถบเดียวเท่านั้น บ้านเรือนในเมืองนี้ไม่งดงามเลย เพราะเปนเรือนปลูกด้วยไม่ไผ่ ทั้งสิ้น สิ่งที่งามก็มีแต่วัดวาอารามเท่านั้น และวัดในเมืองนี้ ก็มีเปนอันมาก แต่วัดซึ่งอยู่ใกล้กับท่าน้ำนั้นเปนวัดที่งามปิดทอง อร่ามไปหมด เวลาเย็นผู้ว่าราชการเมืองได้มาหา อ้อนวอนขอให้ข้าพเจ้า เลื่อนกำหนดที่จะออกเดินทางให้ช้าไปอีกสักวัน ๑ เพราะเกวียน และคนหาบหามซึ่งได้เรียกไว้นั้น ยังหามาพร้อมกันไม่ และถ้า ข้าพเจ้าจะรีบออกเดินทางก่อนเกวียนและผู้คนจะพรักพร้อมแล้ว ก็ หน้ากลัวผู้ว่าราชการเมืองจะต้องรับพระราชอาชญา ข้าพเจ้าก็ต้อง การรีบออกเดินทางโดยเร็วที่สุดที่จะไปได้ เพราะระดูสำหรับเดิน เรือก็เร่งจะให้ไปอยู่แล้ว แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าผู้ว่าราชการเมืองเปน ทุกข์เปนร้อนนัก ทั้งถ้าข้าพเจ้าจะรีบออกเดินทางไปก่อนก็จะขาด ตกบกพร่องหลายอย่าง ข้าพเจ้าจึงได้รับปากกับผู้ว่าราชการเมือง ว่าจะได้พักอยู่ที่เมืองนี้อีกวัน ๑ ณวันที่ ๒๐เดือนธันวาคม เจ้าพนักงานได้นำเกวียนมายังที่พัก ประมาณ ๔๐ เล่ม มีโคเทียมเกวียนด้วยเล่มละ ๒ โค แต่เกวียนเหล่านี้ ก้นแคบนัก เพราะฉะนั้นถ้าหีบหรือห่อซึ่งกว้างกว่าฟุตครึ่งแล้ว เปนอันจะเอาลงบรรทุกเกวียนไม่ได้ ครั้นเวลาประมาณเที่ยงวัน


๓๘ เจ้าพนักงานได้จัดการเอาของต่างๆ ของข้าพเจ้า และของคนที่มากับ ข้าพเจ้าบรรทุกลงเกวียนประมาณ ๓๐ เล่ม พอเย็นข้าพเจ้าก็ได้ให้ เกวียนบรรทุกของออกล่วงหน้าไปก่อน เอาแต่เกวียนบรรทุกของ ที่ข้าพเจ้าจะต้องการใช้ไว้ไปพร้อมกับข้าพเจ้า ณวันที่ ๒๑ เดือนธันวาคมเวลาเช้ามืด ข้าพเจ้าได้ออกเดิน ทางเพื่อไปแรมที่จาม ( Chaam ) ผู้ว่าราชการเมืองได้มารับข้าพเจ้า ณะที่พักและได้พาข้าพเจ้าไปขึ้นเก้าอี้หาม กับได้ขอโทษในการที่ มิได้ยิงปืนใหญ่ส่งข้าพเจ้า เพราะเกรงว่าถ้ายิงปืนใหญ่แล้วช้าง จะตื่น แล้วผู้ว่าราชการเมืองจึงได้ขึ้นนั่งบนหลังช้าง และมี ทหารไปด้วย๑๐๐คนถือธงทำด้วยผ้ากำมะหริดขาว ๒ ธง หมดกองทหาร ต่อข้าพเจ้าไปก็ถึงช้าง ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้เตรียมไว้ให้ข้าพเจ้าขี่ช้าง ตัวนี้ผูกเก้าอี้ปิดทองและมีเพดานเปนหลังเต่าซึ่งใช้ต่างร่ม มีเสา รับเพดาน ๔ เสา และมีพรมปูกับมีหมอนปักไหมทองด้วย กูบช้างนี้ ได้ปิดทองอย่างงามทั้งหลัง เครื่องประดับช้างนั้น มีผ้าแดงกว้าง ๔ นิ้วฝังตะปูเงินคล้ายกับบังเหียนม้าซึ่งใช้กันในยุโรป ต่อจาก ช้างของข้าพเจ้านั้น ยังมีช้างตามมาอีก ๑๐ เชือก บนหลังช้างเหล่า นี้มีเก้าอี้และมีเพดานคลุมคล้ายกับกันยาเรือของพวกออกพระ แต่ สัปคับเหล่านี้บางอันก็ทาชาดแดงบางอันก็ทาดำ แต่ปิดทองทุกอัน



๓๙ ช้าง ๑๐ เชือกนี้พวกที่มากับข้าพเจ้าได้ขี่ไป และยังมีช้างสำหรับ ให้บ่าวและคนใช้ข้าพเจ้าขี่อีก ๑๘ เชือกแต่ช้างเหล่านี้มีแต่สัปคับสาน ด้วยไม้ไผ่เท่านั้น เมื่อหมดกระบวนช้างแล้วก็ถึงแคร่หามอย่าง แบบของพื้นเมืองมีหลังคาสานด้วยไม้ไผ่ ๕ หลัง แคร่หามอัน ๑ มีคนหาม ๔ คน และยังมีคนอาไหล่สำหรับผลัดเปลี่ยนกันหามอีก ๔ คน เมื่อหมดกระบวนแคร่หามแล้วก็ถึงคนหาบหามหีบปัดเข้าของ ๆ ข้าพเจ้าและของคนที่มากับข้าพเจ้ากับเครื่องครัว รวมคนหาบ หามทั้งสิ้น ๑๓๐ คน เดินเรียงกันเปนแถวเดียวตามกันไป เมื่อ หมดคนหาบหามแล้วก็มีพลทหารรั้งท้าย ๕๐ คน ต่อพลทหารก็ถึง ท่านราชทูต ( สยาม ) ขี่ช้างซึ่งผูกสัปคับยศออกพระและถึงหัวหน้าบ๋อย ของข้าพเจ้าขี่ม้าตามมาสุดท้าย ทางที่เดินผ่านมาในวันนี้เปนภูมิประเทศงดงามมาก พ้น ไปได้สัก ๒ ไมล์ก็ได้มาถึงบ้านแห่ง ๑ ซึ่งเรียกกันว่า ปอนตาเดอเซรา และซึ่งไทยเรียกว่าบัวขาว ( Boa Kao ) ข้าพเจ้าได้ลงจากเก้าอี้ หามเพื่อพักรับประทานอาหารในที่นี้ ผู้ว่าราชการเมืองได้มาหา เพื่อขอโทษที่จะไปกับข้าพเจ้าอีกไม่ได้ เพราะได้รับคำสั่งมาให้รีบ เข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาทันที ในตำบลนี้มีเกวียนมาคอยอยู่ประมาณ ๑๐๐ เล่ม เปน เกวียนสำหรับบรรทุกของ ๆ ข้าพเจ้า ๓๐ เล่ม นอกนั้นสำหรับบรรทุก


๔๐ เสบียงอาหารและเครื่องใช้ตามทาง และมีข้าราชการไทยมาคอย กำกับอยู่ด้วยกว่า ๓๐ คน เมื่อข้าพเจ้าได้รับประทานอาหารเสร็จ แล้ว ก็ได้ออกเดินทางต่อไป ผู้ว่าราชการเมืองได้ตามส่งต่อ ไปหนทางประมาณ ๑ หรือ ๒ ไมล์ แล้วจึงได้ลาข้าพเจ้ากลับไป ยังเมืองเพ็ชรบุรี เมื่อพระอาทิตย์ตกข้าพเจ้าได้มาถึงตำบลจาม ซึ่งเปน หนทางห่างจากปอนตาเดอเซราประมาณ ๗ ไมล์ หมู่บ้านนี้หามี กำแพงหรือรั้วกั้นอย่างใดไม่ และบ้านเรือนก็ได้ปลูกด้วยไม้ไผ่ทั้ง สิ้น เจ้าพนักงานได้นำให้ข้าพเจ้าไปพักยังเรือนธรรมดาซึ่งได้ ปลูกขึ้นโดยฉะเพาะ ก่อนที่จะถึงบ้านจามนี้ มีภูเขาหินสูงและชันมาก แต่ เปนเขาเล็กไม่ใหญ่เท่าไรนัก ตั้งอยู่กลางทุ่งอันไม่มีผู้คนอยู่ เลย ที่กลางเขานี้มียัดอยู่วัด ๑ ซึ่งมีผู้ขุดเขาสำหรับสร้างวัด และมีบันไดหินขึ้นไปจนถึงวัด พระสงฆ์ก็ได้ไปสร้างกุฎีอยู่ใน หุบเขาซึ่งตั้งวัดเหมือนกัน บนเขานี้มีพระเจดีย์ก่อด้วยอิฐถือ ปูนขาวหลายเจดีย์ ซึ่งเท่ากับเปนเครื่องประดับของวัดเหมือนกัน ในตำบลนี้น้ำสำหรับรับประทานเปนน้ำดี บาดหลวง เดชปานยักกับมองซิเออร์เดลานด์ได้มาถึงที่พักดึกมาก แต่การที่ ท่านทั้ง ๒ ได้มาถึงนั้นกระทำให้ข้าพเจ้าสิ้นวิตกไป เพราะข้าพเจ้า


๔๑ เกรงว่าท่านทั้ง ๒ จะเปนอันตรายตามทาง โดยเหตุที่มีเสือและ ช้างป่าชุกชุมมาก ณ วันที่ ๒๒ เดือนธันวาคมเวลาเช้า ข้าพเจ้าได้ออกเดินทาง ต่อไปและผู้ที่ไปด้วยนั้นก็มีกระบวนอย่างเดียวกับวันวานนี้ เว้น แต่ขาดกองทหารเมืองเพ็ชรบุรีหามีไม่ เพราะกองทหารนี้ได้กลับ ไปยังเมืองเพ็ชรบุรีเสียแล้ว แต่กองทหารเมืองจามได้ไปแทน ทหารเมืองเพ็ชรบุรี ตามทางที่เราได้เดินไปนั้น เปนทุ่งเปนป่าหามีผู้คนอยู่ไม่ นาน ๆ จะได้พบฝูงโคกระบือสักครั้ง ๑ แต่ฝูงโคกระบือนี้ก็อยู่ ห่าง ๆ กันและไม่มีคนเลี้ยงด้วยเสียซ้ำไป เวลาเย็นได้ไปถึงเมือง ปราน (Praan) ซึ่งไกลจากเมืองจามหนทาง ๑๑ ไมล์ครึ่ง เมือง ปรานนี้เปนเมืองใหญ่พอดูได้ บ้านเรือนและวัดวาอารามทำด้วย ไม้ไผ่ทั้งสิ้น รูปเมืองนี้สี่เหลี่ยมยาว มีรั้วทำด้วยเสาไม้ปัก ลงดินที่สี่มุม มีป้อมสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐกว้างยาวประมาณ ๑๒ ฟิต บนป้อมนั้นมีหอรบและใบเสมา แต่ไม่มีชานป้อมและคูก็ไม่มี ในรั้วนั้นได้ปลูกกอไผ่ชิด ๆ กัน ซึ่งเปนรั้วอยู่ในตัวแลดูงามพอ ใช้ได้ เจ้าพนักงาน ได้จัดให้ข้าพเจ้าพักในเรือนธรรมดาซึ่งได้ ปลูกขึ้นโดยฉะเพาะ ๖


๔๒ มีแม่น้ำไหลตามเสาระเนียดที่เปนเขตต์เมือง ซึ่งอยู่ไกล จากทะเล ๒ ไมล์ และเรือขึ้นล่องตามลำน้ำนี้ได้อย่างสะดวก เมื่อ ข้าพเจ้ามาถึงนั้นเปนเวลาที่น้ำในแม่น้ำเค็ม เพราะน้ำทะเลไหลขึ้นแรง มาก และเปนเวลาที่กันดารน้ำรับประทานด้วย ข้าพเจ้าได้ข้าม แม่น้ำนี้ด้วยเจ้าพนักงานได้ทำสะพานให้ข้าม สะพานนั้นคือเอาเรือ ต่อเข้า ๒ ลำแล้วเอากระดานปูขวางเรือ แน่นหนาพอให้เกวียน เดินได้ แต่ช้างนั้นต้องลงข้ามน้ำ พอลงถึงน้ำก็มิดตะลิ่งและช้าง นั้นก็ได้เอางวงพ่นน้ำเปนครั้งเปนคราว พวกไทยบอกว่าช้างได้ ว่ายน้ำแต่ข้าพเจ้าไม่ได้สังเกตแน่ว่าช้างจะได้ว่ายน้ำหรือจะได้เดินข้ามไป รุ่งขึ้นวันที่ ๒๓ เดือนธันวาคม ข้าพเจ้าได้ยกจากเมืองปราณ เพื่อไปยังเมืองกุย ซึ่งเปนหนทางไกล ๙ ไมล์ เมืองกุยนี้เปน เมืองคล้ายกับเมืองปราณ ตั้งอยู่บนเนินและมีแม่น้ำเล็ก ๆ ไหล อยู่ที่เชิงเนิน แม่น้ำนี้ไหลไปตกทะเลทางประมาณ ๑ ไมล์ครึ่ง เรือเดินขึ้นล่องได้อย่างสะดวกไปได้จนถึงห่างทะเลประมาณ ๓ ไมล์ เมื่อได้ออกจากเมืองกุยแล้วข้าพเจ้าได้ไปแรมที่ บาฮิรอน ( Bahiron ) หนทางไกล ๖ ไมล์ครึ่ง ที่ตำบลนี้ไม่มีบ้านเลย มีแต่ฉะเพาะหลังเดียวที่เจ้าพนักงานได้ปลูกขึ้น สำหรับให้ข้าพเจ้าพัก เท่านั้น ที่พักหลังนี้ได้ปลูกขึ้นในป่าเชิงเขาหิน ในที่นี้เสือชุม มากจนถึงกับต้องให้อยู่ยามตามไฟ และยิงปืนรอบที่พักเพื่อให้เสือ


๔๓ กลัว เพราะเสือในตำบลนี้เคยมากินคนและสัตว์ในเวลากลาง คืน ราชทูต ( สยาม ) ได้บอกกับข้าพเจ้าว่า คนไทยที่เจ้าพนักงาน ได้เกณฑ์ให้มารักษาเฝ้าที่พักนี้ ต้องทิ้งที่พักหนีไปเพราะเสือ ได้มาเปนฝูง ๆ จะมาทำอันตรายคนเฝ้าที่พัก ตามที่ได้ความดังนี้ จึงทำให้พวกเราต้องคอยระวังอยู่เสมอ ครั้นเวลาประมาณ ๕ ทุ่ม (๑๑ ล.ท.) ข้าพเจ้าได้ยินเสียงคนร้องเอะอะเกรียวกราวเปนเสียง คนตกใจ ข้าพเจ้าก็เชื่อแน่ว่าเสือคงมาแล้ว แต่ครั้นออกไปดู จึงเห็นว่าที่พักหลังที่คนของข้าพเจ้าพักอยู่นั้นได้เกิดไฟไหม้ขึ้น และ ที่เอะอะเรียวกราวกันนั้นเปนด้วยตกใจไฟไหม้ดอก หาใช่เสือ มาไม่ ที่พักซึ่งได้ทำขึ้นในตำบลนี้ได้ทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงด้วย แฝก ข้าพเจ้าจึงวิตกว่าไฟคงจะไหม้หมดหลังเปนแน่ แต่เดชะบุญ ก็หาเปนอะไรไม่ เปนแต่ตกใจเท่านั้น และคนใช้ของข้าพเจ้าคน ๑ ซึ่งนอนอยู่ใกล้กับที่ไฟไหม้ขึ้นนั้น ได้ลุกหนีไม่ทันก็ถูกไฟลวก เอา ๒ - ๓ แห่ง ใกล้กับที่ไฟลุกขึ้นนั้นมีดินปืนอยู่ถัง ๑ ซึ่งเอาเสื่อ คลุมปิดไว้ แต่ดินปืนก็หาได้ถูกไฟระเบิดขึ้นไม่ ณ วันที่ ๒๔ เดือนธันวาคม เวลาเช้ามืด ข้าพเจ้าได้ออกเดิน ทางต่อไปเพื่อข้ามภูเขา เขานี้เมื่อขึ้นไปถึงยอดแล้ว ก็แลเห็น ทะเลได้ทั้ง ๒ ทะเล กล่าวคือข้างทิศตวันออกนั้นเห็นทะเลข้าง ฝ่ายเมืองไทย และข้างทิศตวันตกนั้นเห็นทะเลอ่าวเบงคอล ใน


๔๔ วันนี้ได้พักรับประทานอาหารที่เนินไผ่ ( Nonpaye ) ระยะทาง ๕ ไมล์ และได้ไปพักแรมที่เซรา ( Sera ) ที่ตำบลนี้ไม่มีบ้านเรือนเลย มี อยู่แต่ฉะเพาะที่พัก ซึ่งเจ้าพนักงานได้ปลูกขึ้นให้ข้าพเจ้าพักหลังเดียว เท่านั้น ระยะตั้งแต่ เนินไผ่ถึงเซรา เปนหนทาง ๒ ไมล์ ณวันที่ ๒๕ เดือนธันวาคม ได้พักรับประทานอาหารที่ตำบล แม่น้ำ ( Menam ) ซึ่งเปนหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในช่องเขา ระยะ ทางจากเซราเปนหนทาง ๔ ไมล์ ก่อนที่จะถึงตำบลนี้มีแม่น้ำอยู่ แม่น้ำ ๑ แต่ที่ตรงนี้ใกล้กับต้นน้ำ เพราะฉนั้นจึงไม่รู้สึกว่าเปน แม่น้ำ น้ำในลำธารนี้เปนน้ำไสจืดสนิท ซึ่งเปนครั้งแรกที่ได้พบ น้ำตั้งแต่ออกจากเมืองกุย น้ำที่ราชทูตสยามได้ให้บรรทุกเกวียน มานั้น พวกไทยได้รับประทานเสียหมดตั้งแต่วันแรกออกเดินทาง เสียแล้ว และถ้าข้าพเจ้าไม่ได้เตรียมน้ำใส่กระบอกมาแล้ว ข้าพเจ้า คงจะได้รับความลำบากอดน้ำเปนแน่ เพราะในระยะนี้อากาศร้อน จนเกือบจะทนไม่ได้ ผู้ว่าราชการเมืองแม่น้ำ ( Menam ) ได้ออกมาคอยรับข้าพเจ้า ห่างจากเมืองประมาณ ๒ ไมล์ และได้พาหัวหน้าในเมืองนั้นออกมา ด้วย เมื่อผู้ว่าราชการเมืองได้ต้อนรับข้าพเจ้าเสร็จแล้ว จึงได้ เดินนำหน้าช้างข้าพเจ้าตลอดจนถึงที่พัก ซึ่งเจ้าพนักงานได้จัด



๔๕ เตรียมไว้ ครั้นข้าพเจ้าได้มาถึงที่พักแล้วผู้ว่าราชการเมืองได้เอา เนื้อและปลาต่าง ๆ กับผลไม้ ต่าง ๆ มาให้ ข้าพเจ้าตามประเพณีของเมือง นี้ ข้าพเจ้ามีความประหลาดใจเปนอันมากที่ได้เห็นพลเมือง ๆ นี้ ผอมแห้งไม่มีกำลังเลย ข้าพเจ้าจึงได้ถามว่าเหตุใดจึงเปนเช่นนี้ ราชทูตสยามจึงอธิบายว่า อากาศในเมืองนี้เปนอากาศที่ไม่ดีมี เชื้อโรคมาก ทั้งชาวยุโรปและไทยจะอยู่ในเมืองนี้ไม่ได้เปน อันขาด และผู้ที่อยู่ได้ก็ฉะเพาะแต่คนที่เกิดในพื้นเมืองนี้เอง แต่ ถึงดังนั้นอายุก็ไม่ยืนและมีความป่วยเจ็บอยู่เสมอเปนนิตย์ ตาม ที่ราชทูตสยามได้อธิบาย เช่นนี้ ในไม่ช้าข้าพเจ้าก็ได้เห็นปรากฏ ว่าเปนความจริง เพราะคนที่มากับข้าพเจ้าได้ล้มเจ็บลงในวันนั้น เองหลายคน และได้รักษากันอย่างแขงแรงจึงได้รอดมาได้ เมื่อได้ยกออกจากเมืองแม่น้ำแล้ว ข้าพเจ้าได้เลยไปแรมที่เมือง แกลง (Gclingue) ซึ่งเปนระยะทางไกล ๔ ไมล์ ออกพระผู้ว่า ราชการเมืองซึ่งเปนคนชราอายุเกือบ ๘๐ ปี เดินเกือบจะไม่ได้อยู่แล้ว ได้ออกมาคอยรับข้าพเจ้าอยู่และได้มีคนมาด้วยอีกหลายคน คน เหล่านี้ได้ถือโล่ห์ ๒ คน และคนอื่น ๆ ได้ถือกระบี่ก็มี ถือหอกก็มี ตามแบบของเมืองนี้ และยังมี เจ้าพนักงานกรมการเมืองได้มากับ ผู้ว่าราชการเมืองอีก ๖ หรือ ๗ คน ตอนค่ำเมื่อข้าพเจ้าได้มาถึง เมืองแกลงแล้ว ข้าพเจ้าได้ทราบว่าเกวียนบรรทุกของยังหามาถึง


๔๖ ไม่ และได้ทราบความต่อไปว่าเกวียนบรรทุกของเหล่านี้ได้หายไป สัก ๒ วันมาแล้ว ซึ่งเปนการกระทำให้ข้าพเจ้าต้องพักรออยู่ที่ เมืองนี้ในวันที่ ๒๖ ตลอดวัน ต่อวันที่ ๒๗ สายแล้วจึงได้ออกเดินทาง ต่อไปได้ เพราะในที่นี้จะต้องถ่ายเอาของลงจากเกวียนบรรทุกเรือ ท้องแบน ซึ่งเปนเรือทำไว้ฉะเพาะสำหรับเดินในลำน้ำนี้ ณ วันที่ ๒๗ เดือนธันวาคม ข้าพเจ้าได้ลงเรือและได้ล่องไปตาม ลำแม่น้ำ ซึ่งมีน้ำตื้นมาก พอได้ล่องเรือไปไม่ถึง ๑ ไมล์ ก็ได้มา ถึงแก่งซึ่งต้องเอาเรือข้ามในระวางก้อนหิน แก่งในแม่น้ำนี้มี หลายแก่ง และบางแก่งก็สูงถึง ๖ และ ๗ ฟิต ในระดูน้ำมากแก่ง เหล่านี้เปนที่น่ากลัวต่ออันตรายมาก เพราะในเวลาที่เรือล่องจาก แก่งถ้าเรือไปกระแทกกับหินแล้วเรือก็จะต้องแตกทันที และคน ในเรือก็อาจจะตกน้ำตายได้ เพราะน้ำในแก่งลึกและไหลเชี่ยวแรง มาก ก้นแม่น้ำนี้แคบมากและตลิ่งก็สูงมาก นอกจากแก่งซึ่ง ข้าพเจ้านับจำนวนได้ถึง ๓๒ แก่งนั้น ยังมีต้นไม้ใหญ่ ๆ เปนอันมาก ล้มขวางลำแม่น้ำ เพราะฉะนั้นในระดูน้ำมากจึงเดินเรืออย่างลำบาก และน่ากลัวอันตรายที่สุด จากแกลง (Gclingue) ข้าพเจ้าได้ไปถึงปากาเร (Pacarays) หนทาง ๑ ไมล์ จากปากาเร ข้าพเจ้าได้ ไปถึงเคมปาชา (Quempachar)


๔๗ หนทาง ๒ ไมล์ จากเคมปาชาได้ไปถึงลาอู (Lauou) หนทาง ๒ ไมล์ ครึ่ง จากลาอูได้ไปถึงเพ็ชร์ (Phes) หนทาง ๒ ไมล์ จากเพ็ชร์ได้ไปถึงกำเปลน (Camplaint) หนทาง ๒ ไมล์ จากกำเปลนได้ไปถึงควีรีนัน (Quirinaon) หนทาง ๓ ไมล์ ๓ /๔ จากควีรีนันได้ไปถึงลูมา (Louma) หนทาง ๓ ไมล์ ๑/๔ จากลูมาได้ไปถึงรีโอเดซอน (Riosdayson) หนทาง ๓ ไมล์ จากริโอเดซอนได้ไปถึงเมืองตะนาวศรี หนทาง ๓ ไมล์ ในตำบลต่าง ๆ ตามที่ได้ออกชื่อมาข้างบนนี้ ไม่มีบ้าน เรือนเลย นอกจากเรือนที่พักซึ่งเจ้าพนักงานได้ปลูกไว้คอยรับข้าพเจ้า เท่านั้น นอกจากนั้นหามีหมู่บ้านหรือผู้คนพลเมืองไม่ แม่น้ำ ที่ผ่านไปนั้นก็มีแต่หินและต้นไม้ทั้ง ๒ ฝั่ง และตามทางนั้นก็เปน ป่าเปนดงไม่มีผู้คนเลย ตามทางลำน้ำนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นที่ริม ตลิ่ง มีรอยเท้าช้างและแรตป่าซึ่งลงมารับประทานน้ำ และพวก ข้าพเจ้าได้ยิงนกยุงบ่อย ๆ เพราะตามลำน้ำนี้มีนกยุงชุมมาก เมื่อใกล้จะถึงเมืองตะนาวศรีแม่น้ำก็กว้าง และลึกลงเปนลำดับไป ปลัดของออกยาเมืองตะนาวศรี ได้ออกมาคอยรับข้าพเจ้าแทนตัว ออกยา เพราะตัวออกยานั้นได้ถูกจับและคุมขังขึ้นไปยังเมือง ลพบุรีโดยรับสั่งของพระเจ้ากรุงสยาม เกี่ยวด้วยเรื่องที่พวก


๔๘ อังกฤษได้ถูกฆ่าตายที่เมืองมะริด ณวันที่๓๐เดือนธันวาคมเมื่อใกล้จะถึงเมืองตะนาวศรี ข้าพเจ้า ได้พบเรือยาวแต่งประดับประดาอย่างงาม ซึ่งเจ้าพนักงานได้ส่งออก มารับข้าพเจ้า และยังมีเรือยาวอีกหลายลำ สำหรับคนที่มากับ ข้าพเจ้าด้วย แต่ข้าพเจ้ารีบร้อนอยากจะถึงเมืองมะริดเสียโดยเร็ว ข้าพเจ้าจึงไม่ยอมถ่ายเรือ แต่ได้เลยไปจนถึงเมืองตะนาวศรีทีเดียว เมื่อได้พบเรือที่เจ้าพนักงานส่งออกมารับสักครู่ ๑ ก็ได้พบเชอวาเลีย เดอฟอแบง ๑ มองซิเออร์โบเรอกาออกพระเมืองมะริด ๑ กับ มองซิเออร์เซอนอล ๑ รวม ๓ นายออกมาคอยรับข้าพเจ้า ๆ จึง ได้ลงเรือของท่านทั้ง ๓ นี้ เพื่อจะได้รีบไปให้ถึงเมืองตะนาวศรี เสียโดยเร็ว เมื่อข้าพเจ้าได้ไปถึงเมืองตะนาวศรีนั้น เจ้าพนักงาน ได้ยิงปืนใหญ่รับหลายนัด ในระวางทางตั้งแต่ท่าน้ำจนถึงที่พัก ได้มีทหารถือปืนเรียง ๒ ข้างทาง และมีกลองกับธงด้วยเปนอันมาก ตามทางเดินนั้นเจ้าพนักงานได้เอาผ้าดอกปูลาดตลอดทางและมีดอกไม้ กับใบไม้โปรยตามทางตลอดไปด้วย เจ้าพนักงานได้จัดเก้าอี้ หามมารับข้าพเจ้า และได้จัดม้าสำหรับคนที่มากับข้าพเจ้า แต่ หนทางระวางท่าน้ำถึงที่พักเปนหนทางสั้นใกล้มาก ข้าพเจ้าจึงได้ เดินหาได้ขึ้นนั่งเก้าอี้หามไม่ ครั้นไปถึงที่พัก เจ้าพนักงานได้นำข้าพเจ้าเข้าไปยังห้อง ๆ ๑


๔๙ ซึ่งได้ปลูกเวทีสูงไว้ บนเวทีนั้นได้ดาดเพดานด้วยผ้า และใต้ เพดานดาดนั้นมีเก้าอี้ ๑ ตัว ข้าพเจ้าจึงได้ขึ้นไปนั่งบนเก้าอี้ เชอวาเลียเดอฟอแบง มองซิเออร์โบเรอกา กับมองซิเออร์ เซอนอลได้ยืนอยู่ข้างข้าพเจ้า แล้วจึงได้มีพวกแขกมัวเปนอันมาก ล้วนแต่หน้าตาท่าทางดีล่ำสัน และแต่งตัวอย่างงามมาคำนับข้าพเจ้า พร้อมด้วยข้าราชการกรมการไทยของเมืองนี้ แล้วพวกนี้ได้ไป นั่งอยู่ข้างล่างโดยแสดงกิริยาอย่างอ่อนน้อม พวกนี้ได้นั่งอยู่สัก ครู่ใหญ่ ๆ จึงได้ลุกออกไป แล้วเจ้าพนักงานก็ได้เอาอาหารมาเลี้ยง พอข้าพเจ้ารับประทานอาหารเสร็จแล้ว ก็ได้กลับไปลงเรือเพื่อ ไปยังเมืองมะริดต่อไป พอข้าพเจ้าก้าวลงเรือเจ้าพนักงานก็ได้ ยิงปืนใหญ่อีกครั้ง ๑ ปืนใหญ่นี้ได้ยิงจากป้อมแห่ง ๑ ซึ่งทำด้วย เสาตะลุงอยู่ใต้เมืองตะนาวศรีลงไปหน่อยหนึ่ง เมืองตะนาวศรีนี้เปนเมืองใหญ่มาก และมีผู้คนพลเมืองแน่น หนา พิเคราะห์ดูจะเปนเมืองที่สำคัญมาแต่ก่อน ๆ เพราะมี กำแพงก่อด้วยอิฐล้อมรอบ แต่เวลานี้กำแพงนั้นชำรุดหักพังลงไป มากแล้ว ยังมีวัดเข้ารีต ๑ วัด กับบ้านซึ่งพึ่งจะปลูกแล้วหลัง ๑ ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำฝั่งโน้นเกือบตรงกับป้อม วัดเข้ารีตกับบ้านนั้น เปนของพวกมิชันนารีฝรั่งเศส และพวกมิชันนารีนั้นทำการตามหน้าที่ ๗


๕๐ ของตัวได้อย่างสะดวก เพราะผู้คนพลเมืองมีความนับถือพวก มิชันนารีเหล่านี้เปนอันมาก ที่ลำน้ำใต้เมืองตะนาวศรีมีเรือขนาด ๓๐๐ ตันทอดสมออยู่ ลำ ๑ เขาบอกกับข้าพเจ้าว่าเรือลำนี้เปนเรือที่มิศเตอร์วิตชาว อังกฤษ ซึ่งเคยเปนเจ้าพนักงานอยู่ที่เมืองมะริดได้จับมาโดยคำสั่ง ของมองซิเออร์คอนซตันซ์ และเปนเรือของมองซิเออร์มาการา ชาวอามีเนีย น้องของมองซิเออร์มาการาซึ่งอยู่ที่กรุงปารีศใน ทุกวันนี้ เรือนี้ได้เคยไปค้าขายตามลำแม่น้ำซีเรียนในเมืองมอญ ถ้าจะตีราคาสินค้าในเรือลำนี้ก็อยู่ในราว ๘๐,๐๐๐ แฟรง ข้าพเจ้าได้ไปถึงเมืองมะริดเมื่อวันที่๑เดือนมกราคม ค.ศ.๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๐) เวลาเย็น ข้าพเจ้าได้เดินทางจากเมืองตะนาวศรีถึง เมืองมะริดซึ่งเปน ระยะทาง ๑๖ ไมล์เพียง ๒๔ ชั่วโมงก็ถึง เพราะ ข้าพเจ้าได้เดินทางตลอดรุ่ง เจ้าพนักงาน ได้จัดที่พักไว้เปนระยะ ๆ ก็จริง แต่ ข้าพเจ้าหายอมพักไม่ เพราะจะต้องการให้รีบไปถึง เมืองมะริดเสียโดยเร็ว เมืองมะริดนี้ เปนเกาะตั้งอยู่ที่ปากน้ำแม่น้ำเมืองตะนาวศรี และห่างจากฝั่งก็โดยฉะเพาะมีแม่น้ำคั่นอยู่เท่านั้น น้ำในแม่น้ำนี้ ลึก ๓ วา ตลอดลำน้ำ และเปนน้ำดีรับประทานได้เว้นแต่ตอนใกล้ ทะเลเท่านั้นเปนน้ำเค็ม และที่ปากน้ำนั้นมีหินอยู่หลายก้อนแต่พอ


๕๑ เอาเรือหลีกหินได้ง่าย เกาะมะริดนี้วัดโดยรอบประมาณ ๑๐ ถึง ๑๑ ไมล์(?) ต้นฉะบับ เขียนไม่ชัด เปนพื้นที่ราบและมีป่ามาก แต่มีเนินเล็ก ๆ ๕ หรือ ๖ เนินติด ๆ กัน นอกนั้นเปนที่ราบทั้งสิ้น บนเนินเหล่านี้มีป้อม เล็ก ๆ อยู่ ๑ ป้อมทำเปนรูปคล้ายดาว รั้วป้อมนั้นทำด้วยเสาระเนียด สูง ๑๐ ฟิตปักลงดินและข้างบนนั้นมีเคร่าโยงตลอดถึงกัน ที่ด้าน ข้างนั้นมีปืนใหญ่อยู่ ๓ - ๔ กระบอก และมีช่องปืนทำคล้ายช่อง ปืนที่กราบเรือ แต่ชานป้อมหรือดูก็ไม่มี ป้อมนี้วัดโดยรอบ กว้างประมาณ ๕๐ ก้าวและใต้ป้อมนี้มีปืนใหญ่อยู่ ๓๔ หรือ ๓๖ กระบอก ตั้งอยู่ที่ดินราบสำหรับป้องกันท่าเรือ แต่หาได้มีป้อมหรือที่กำบัง อย่างไรไม่ เปนแต่มีรั้วทางเดินติดต่อกับป้อมเท่านั้น ท่าเรือเมืองมะริดนั้น เปนท่าเรือที่ดีบังคลื่นลมได้ทุกระดู และถ้าจะมีเหตุจำเปนขึ้นแล้ว ก็จะทำให้เปนที่แข็งแรงขึ้นได้อีกโดย เอาสายโซ่ขึงขว่างทางเรือเข้าเสีย และการที่จะเอาสายโซ่ขึงนี้ ก็จะไม่ต้องเปลืองโสหุ้ยเท่าไรนัก เพราะที่ตรงปากช่องนี้มีตลิ่ง สูงทั้ง ๒ ข้าง ร่องน้ำแคบ และเวลาน้ำลงก็มีน้ำเพียง ๓ หรือ ๔ วา แต่พอน้ำทะเลขึ้นมากทั้ง ๒ ข้างก็เปนตลิ่งชันขึ้นไป ที่หน้าท่าเรือนั้น ยังมีเกาะเล็ก ๆ บังอยู่เกาะ๑ ชื่อเกาะบาดรากัน ( Badracan ) อยู่ตรง กับเกาะมะริด บนเกาะมะริดนั้นใกล้กับท่าจอดเรือ มีน้ำรับประทาน


๕๒ แต่เล็กน้อยเท่านั้น ถ้าจะหาน้ำสำหรับบรรทุกเรือแล้วก็จะเปนการ ยากอยู่สักหน่อย แต่ที่เกาะบาดรากันมีแม่น้ำเล็กอยู่แม่น้ำหนึ่ง ซึ่งมีน้ำจืด ถ้าจะเอาน้ำจากแม่น้ำเกาะบาดรากันมาบรรทุกเรือก็ ได้ เพราะที่จอดเรืออยู่ในระวางเกาะมะริดและเกาะบาดรากัน ไม่ ห่างไกลกันเท่าไรนัก ข้าพเจ้าจำเปนต้องพักอยู่ที่เมืองมะริดถึง ๓ วัน เพราะ การที่จะเอาเรือเปรซิเดนออกจากท่าเรือไปจอดที่อ่าว ซึ่งเปนหนทาง ๓/๔ ไมล์นั้นต้องเสียเวลามาก และที่อ่าวนั้นเรือก็อยู่ในที่กำบัง ดีเท่ากับอยู่ที่ท่าเรือเหมือนกัน ครั้นณวันที่ ๔ เดือนมกราคมข้าพเจ้า จึงได้ไปลงเรือ และได้ถอนสมอออกเรือไปในวันนั้นเอง ออก พระวิสูตร์สุนทรกับเรือรบเล็ก ๆ ลำ ๑ กับเรืออื่น ๆ อีกหลายลำได้ไป ส่งข้าพเจ้าจนถึงเกาะปูโลทวาย ซึ่งเปนเกาะที่พระเจ้ากรุงสยามได้พระ ราชทานให้แก่บริษัท เกาะนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะดีมาก และมี ไม้บนเกาะนี้ซึ่งเปนไม้ดีสำหรับต่อเรือและปลูกบ้านได้ บน เกาะนี้มีน้ำพุและน้ำตกหลายแห่ง และมีแม่น้ำเล็ก ๆ หลายลำซึ่งล้วน แต่เปนน้ำจืดทั้งสิ้น ส่วนเรือนั้นจะจอดรอบเกาะได้ทุกแห่ง นอก จากนี้ยังมีท่าเรือที่ดีเพราะมีเกาะเล็ก ๆ บังอยู่ ๓ เกาะ และเมื่อ เรือได้เข้าไปจอดอยู่ในเกาะเหล่านี้แล้ว ก็อยู่ในที่กำบังอย่างดี ที่สุด ถ้าเรือจะเดินไปจากฝั่งคอรอมันเดลและเมืองเบงคอลไปเมือง


๕๓ มะริดแล้ว ก็จะต้องถึงเกาะทวายนี้ก่อน เมื่อวันที่ ๒๔ เดือนมกราคม ข้าพเจ้าได้ไปถึงเมืองมัธราฐ ปาตานเชอวาเลียเดอฟอแบง ซึ่งได้เดินสารเรือเปรซิเดนมากับข้าพเจ้า นั้นจะต้องการขึ้นไปบนบก จึงได้เดินสารเรือพื้นเมืองซึ่งได้ออก มาตรวจเรือเปรซิเดน พอเชอวาเลียเดอฟอแบงได้ลงจากเรือแล้ว ก็มีเรือพื้นเมืองมาถึงอีกลำ ๑ และในเรือลำนี้มีบาดหลวงฝรั่งเศส คน ๑ ชื่อบาดหลวงราเฟลได้มาในนามของเจ้าเมืองมัธราฐเพื่อมาหา กับตันเรือเปรซิเดน ครั้นบาดหลวงผู้นี้ได้ทราบว่าข้าพเจ้าก็อยู่ บนเรือด้วย บาทหลวงผู้นี้จึงได้มาหาข้าพเจ้า และได้บอก ข้าพเจ้าว่าถ้าเจ้าเมืองได้ทราบว่าข้าพเจ้าได้มากับเรือลำนี้แล้ว เจ้าเมือง ก็คงจะได้จัดให้เจ้าพนักงานลงมาต้อนรับ บาดหลวงราเฟลได้ รับประทานอาหารกับข้าพเจ้า และได้เล่าว่าเวลานี้ในเมืองมัธราฐ กำลังตื่นตกใจกันมาก เพราะได้ทราบข่าวมาว่าพระเจ้าโมกูลจะส่ง กองทัพมาตีเมืองมัธราฐและจะไล่พวกอังกฤษให้ ออกจากเมืองให้ หมด ผู้คนพลเมืองซึ่งอยู่ใกล้กับบริษัทจึงได้พาทรัพย์สมบัติหนี้เข้า ไปอาศัยอยู่ในป้อม และต่างคนก็ต่างเตรียมจะต่อสู้อย่าง แข็งแรง เพราะเชื่อกันได้แน่ว่าทำอย่างไร ๆ พระเจ้าโมกูลคงจะ พยายามตีเมืองนี้ให้ได้ เพราะเมืองอื่น ๆ ในเมืองคอลกอนดาก็ ตกอยู่ในมือพระเจ้าโมกูลหมดสิ้นแล้ว ยังเหลือแต่เมืองมัธราฐเมือง


๕๔ เดียวเท่านั้น เมืองคอลกอนดาได้ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าโมกูล เมื่อวันที่ ๔ เดือนพฤศจิกายน พระเจ้าโมกูลได้เข้าไปยึดเมืองหลวง และได้จับพระเจ้าแผ่นดินจำตรวนเสียด้วย บาทหลวงราเฟลได้เล่า ให้ข้าพเจ้าฟังต่อไปว่า พวกคณบาดหลวงไม่ได้รับความเดือดร้อน จากอังกฤษอย่างใดเลย และพวกอังกฤษก็ยอมให้พวกบาดหลวง ได้ทำการในหน้าที่มิชันนารีโดยไม่มีข้อขีดขั้นเลย จนที่สุดพวก บาทหลวงก็มีวัดเข้ารีดและที่สำนักบาดหลวงอยู่ในเมืองด้วย เมื่อเชอวาเลียเดอฟอแบงได้ขึ้นไปบนบกแล้ว ก็ตรงไปหา เจ้าเมือง พอเจ้าเมืองได้ทราบจากเชอวาเลียเดอฟอแบงว่าข้าพเจ้า อยู่บนเรือ เจ้าเมืองก็สั่งให้เจ้าพนักงานยิงปืนใหญ่ที่ป้อมคำนับ ข้าพเจ้า ๑๖ นัด ข้าพเจ้าก็สั่งให้เรือยิงสลุตตอบทันทีเหมือนกัน ครั้นได้ยิงสลุตโต้ตอบกันแล้ว บาดหลวงราเฟลก็ลากลับขึ้นบก ข้าพเจ้าก็ได้สั่งให้ถอนสมอแล่นใบไปเมืองปอนดีเชรีต่อไป เรือได้ เดินผ่านเมืองเซนต์ธอเม ซึ่งเปนเมืองร้างหักพังทำลายลงหมดแล้ว เมืองนี้เปนเมืองซึ่งพวกปอตุเกต ได้ขอมาจากเจ้าแผ่นดินเมืองคอล กอนดาและขอมาจากพระเจ้าโมกูล เวลานี้พวกปอตุเกตกำลังสร้าง เมืองขึ้นใหม่ และวัดเข้ารีตได้สร้างขึ้นใหม่เสร็จแล้ว เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนมกราคม ข้าพเจ้าได้ไปถึงเมืองปอนดีเชรี ได้เห็นเรือรบฝรั่งเศสชื่อลัวโซทอดสมออยู่ที่ท่าเรือ เรือนี้มองซิเออร์


๕๕ ดูเคนเปนผุ้บังคับ ได้ออกจากเมืองไทยเมื่อวันที่ ๒๕ เดือนพฤศจิกายน ได้เดินทางเข้าช่องมะลากา และได้มาถึงเมืองปอนดีเชรีก่อนข้าพเจ้า ๕ วัน เรือลัวโซลำนี้เปนเรือรบของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสลำแรกที่จะ ได้เคยเดินในทะเลเกาะมะลากา ครั้นข้าพเจ้าได้ไปถึงแล้วมองซิเออร์ ดูเคนก็ได้มาหาข้าพเจ้า และได้บอกกับข้าพเจ้าว่าได้เตรียมการ ที่จะเดินเรือกลับไปประเทศฝรั่งเศสไว้พร้อมทุกอย่างแล้ว และได้ บรรทุกของขึ้นเรือเต็มท้องเรือหมดแล้ว แต่ถึงดังนั้นก็จะได้พยายาม บรรทุกของเพิ่มเติมขึ้นอีกบ้างให้ได้ ในวันนี้เวลาเย็นข้าพเจ้าได้ขึ้นไปบนบก และรุ่งขึ้นได้ พบปะหารือกับมองซิเออร์มาแตง มองซิเออร์เดลานและมองซิเออร์ มาแตงหนุ่ม และเมื่อข้าพเจ้าได้รับคำแนะนำจากท่านเหล่านี้ใน เรื่องที่ข้าพเจ้าดำริจะตั้งบริษัท ในเมืองแถบนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็ได้ ลงมือเขียนรายงานและออกคำสั่ง ซึ่งข้าพเจ้าเห็นเปนการจำเปน สำหรับการของบริษัท ครั้นเสร็จแล้วข้าพเจ้าก็ได้ลงเรือลัวโซเมื่อ วันที่ ๒ เดือนกุมภาพันธ์ และในวันนั้นเองเรือก็ได้กางใบแล่นไป เพื่อกลับไปยังประเทศฝรั่งเศส ส่วนเรือเปรซิเดนนั้นไม่มีเวลา พอที่จะบรรทุกของขึ้นเรือให้ทันได้ จึงต้องรออยู่ที่เมืองปอนดีเชรี ก่อนและกำหนดจะได้ออกจากเมืองปอนดีเชรีในวันที่๘เดือนกุมภาพันธ์ ข่าวเรื่องพระเจ้าโมกูลตีเมืองคอลกอนดา และจับองค์


๕๖ เจ้าแผ่นดินไว้นั้นเปนข่าวที่จริงแน่ เพราะข้าพเจ้าได้ทราบความที่ เมืองปอนดีเชรีเปนความตรงกับที่ข้าพเจ้าได้ทราบมาแล้ว มองซิเออร์ มาแตงจึงได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟัง ถึงการงานของบริษัทในเมืองคอลกอนดา และได้เอาหนังสือจากเมืองซูรัตมาให้ข้าพเจ้าดูฉะบับ ๑ หนังสือ ฉะบับนี้ เปนหนังสือที่ผู้อำนวยการของบริษัทได้มีมายังมองซิเออร์ มาแตงบอกข่าวว่า เจ้าเมืองคอลกอนดาได้กดขี่ข่มเหงพวกชาว ยุโรป แต่พวกฝรั่งเศสนั้นได้รับความยกเว้นไม่ใคร่ได้ถูกบีบคั้น เหมือนชนชาติอื่นๆ ในหนังสือฉะบับนั้นเล่าความต่อไปว่า การ ที่พระเจ้าโมกูลได้มีชัยชะนะเช่นนี้ ได้ทำให้พระเจ้าโมกูลเย่อหยิ่ง ขึ้นมาก และเจ้าพนักงานข้าราชการของพระเจ้าโมกูลก็พลอย หยิ่งไปด้วย เพราะพระเจ้าโมกูลดูถูกพวกชาวยุโรปเปนอันมาก ฝ่ายพวกอังกฤษนั้นเล่า ก็ได้จับไพร่บ้านพลเมืองของพระเจ้าโมกูลไว้ เปนอันมาก และหนังสือสำคัญที่ผู้อำนวยการฝรั่งเศสได้ให้ไว้แก่ พวกเรือแขกมัว ซึ่งได้มาขอร้องเอาธงฝรั่งเศสเปนที่พึ่งนั้น พวก อังกฤษก็หาได้เชื่อถือยกเว้นให้ไม่ เมื่อแต่เดิมมองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ออกความเห็นว่า ข้าพเจ้า ควรจะส่งคนใดคนให้หนึ่งไปเฝ้าพระเจ้าโมกูล เพื่อขอหลักฐานในความ ชอบธรรมและสิทธิของบริษัท และเพื่อขอตราตั้งสำหรับให้บริษัท ได้เห็นเรือรีบเมืองเบงคอลได้ ข้าพเจ้าจึงได้นำความเห็นของ


๕๗ มองซิเออร์คอนซตันซ์ตามที่กล่าวมานี้ หารือต่อมองซิเออร์มาแตง และข้าพเจ้าได้กะจะให้มองซิเออร์เดลานด์ เปนผู้ไปเฝ้าพระเจ้าโมกูล แต่ครั้นข้าพเจ้าได้มาฟังความเห็นของมองซิเออร์มาแตง จึงได้งด ความคิดที่จะส่งมองซิเออร์เดลานด์ไป มองซิเออร์มาแตงได้ชี้แจง ว่า การที่จะจัดให้ใครไปเฝ้าพระเจ้าโมกูลนั้น จะเปนการ เปลืองโสหุ้ยของบริษัทโดยไม่ได้ผลอย่างใดเลย ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ประการ ๑ พิเคราะห์ดูพระเจ้าโมกูลก็คงจะไม่รับรองคนแทนของ บริษัท แลประการที่ ๒ พระเจ้าโมกูลก็ชรามากแล้ว เพราะฉะนั้น ถึงพระเจ้าโมกูลจะออกตราตั้ง อนุญาตให้บริษัทไปตั้งห้างที่เมือง เบงคอล ถ้าพระเจ้าโมกูลสิ้นชีพลง ก็จะต้องกลับตั้งต้นพูดจา ขอร้องกันใหม่ และจะต้องเปลืองโสหุ้ยอีกครั้ง ๑ กับจะต้อง หาของให้เจ้าเมืองเบงคอลอีก จึงจะได้จัดการตามตราตั้งของ พระเจ้าโมกูลได้ อนึ่งผู้ที่เปนเจ้าเมืองเบงคอลในเวลานี้ ชื่อเจ๊ะเอศคาน เปนอาว์ของพระเจ้าแผ่นดินและชรามากอายุถึง ๘๐ ปีเศษ ทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ตาก็บอดเสียแล้วด้วย คงจะไม่มีอายุยืน นานไปได้สักเท่าไร และใครจะเปนผู้ว่าราชการเมืองเบงคอลต่อไป ก็เปนเรื่องที่ทราบกันไม่ได้ เพราะเมืองนี้เปนเมืองขึ้นของพระเจ้าโมกูล ต้องเสียเงินให้พระเจ้าโมกูลปีละ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ ทุกๆ ปี เพราะฉะนั้น ๘


๕๘ มองซิเออร์มาแตงจึงเห็นว่า ในเวลานี้ควรจะปฏิบัติตามตราตั้งฉะบับ เก่าไปก่อน และควรจะเข้าหาเจ้าเมืองคนชรานี้ไปพลาง เพราะ เจ้าเมืองคนนี้ชอบพวกฝรั่งเศสอยู่บ้าง บริษัทก็จะได้ทำการ ค้าขายต่อไปจนกว่าเจ้าเมืองคนนี้จะถึงแก่กรรม เมื่อเจ้าเมือง คนนี้ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ก็จะต้องคอยดูเหตุการณ์ไปก่อน แล้ว จึงคิดอ่านขอตราตั้งเสียใหม่ แต่ตรา ตั้งใหม่นั้นจะขอจากเจ้าเมือง คนใหม่ หรือจะขอจากพระเจ้าโมกูลองค์ใหม่ ก็แล้วแต่จะ สะดวกในภายหน้า พระเจ้าโมกูลองค์นี้มีราชบุตร ๒ องค์ แต่องค์ใหญ่นั้น อยู่ในถานพระบิดากำลังลงพระอาชญา จนถึงกับหนีไปอาศัยอยู่กับ พระเจ้ากรุงเปอเซียเสียแล้ว พระราชบุตรองค์ใหญ่นี้มีพัครพวก ในประเทศราชปุตเปนอันมาก และฝ่ายมารดาก็คอยหาช่องอยู่ ถ้าพระเจ้าโมกูลสิ้นชีพลงเมื่อใด ก็จะคิดจัดการชิงราชสมบัติให้ แก่บุตร เพราะพระเจ้าโมกูลได้ประกาศตั้งให้ราชบุตรที่ ๒ เปน รัชชทายาทแล้ว โดยเหตุที่ราชบุตรที่ ๒ นี้เปนคนโปรดปรานของบิดา และพระบิดาก็เอามาเลี้ยงใกล้พระองค์อยู่เสมอ เพราะฉะนั้นเมื่อ พระเจ้าโมกูลสิ้นชีพลงเมื่อใด ก็คงจะเกิดวุ่นวายในบ้านเมือง แตกกันเปนก๊กเปนเหล่าเปนแน่ เมื่อข้าพเจ้าได้ฟังมองซิเออร์มาแตงชี้แจงดังนี้ ข้าพเจ้า


๕๙ ก็เห็นด้วยจึงได้งดความคิดเดิมเสีย และได้ตกลงว่าให้คอยฟัง เหตุการณ์ต่อไป เมื่อเห็นท่วงทีอย่างไรที่จะให้บริษัทได้ทำการค้าขาย โดยสะดวกแล้ว ก็จะให้จัดการไปอย่างดีที่สุดที่จะทำได้ ข้าพเจ้าได้มาถึงแหลมเคปออฟกุดโฮปเมื่อวันที่๑๑เดือนเมษายน และได้พักอยู่ในที่นี้จนถึงวันที่ ๑๙ เดือนเมษายน หนังสือต่าง ๆ ที่ กับตันเรือเซนนิโกลาศ์ ซึ่งเปนเรือของบริษัทได้ฝากไว้ให้ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าได้รับไว้หมดแล้ว เรือเซนนิโกลาศ์นี้ได้คอยข้าพเจ้าอยู่ถึง ๓ อาทิตย์ ครั้นเห็นว่าข้าพเจ้ายังไม่มากัปตันจึงได้ออกเรือไป เมื่อวันที่ ๑๒ เดือน มีนาคม ก่อนที่ข้าพเจ้าจะได้ออกจากแหลมเคปออฟกุดโฮบวัน ๑ ได้ เห็นเรือเลอโดรมาแดกับเรือเลซิเออเข้ามาถึงทั้ง ๒ ลำ เรือเลซิ เออนี้ได้มาจากเมืองสุรัต ได้มาพบกับเรือเลอโดรมาแดที่ตำบล บังเดชเอกวิลจึงได้เลยมาด้วยกัน มองซิเออร์ดังเดนผู้บังคับการเรือโดรมาแด ได้บอกกับข้าพเจ้า ว่า ได้ออกจากเมืองไทยพร้อมกับมองซิเออร์โวดรีคูร์และมองซิเออร์ เดอยัวเยอเมื่อวันที่๓ เดือนมกราคม เมื่อวันที่ ๑ เดือนกุมภาพันธ์เรือโดร มาแดได้ แล่นออก จากช่องซอนดา ครั้นเมื่อ วันที่ ๑๕ เดือนกุมภาพันธ์ ได้ ถูกพายุซึ่ง พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรือโดรมาแด จึงได้ พลัด กับเรือ อีก ๒ ลำในที่และติจูตใต้ ๑๔ ดีกรี ๑๙ นิมิต และลองติจูต


๖๐ ๑๑๗ ดีกรี ๔ นิมิต มองซิเออร์ดังเดนได้รายงานต่อไปว่า บาทหลวง ตาชาได้ลงเรือเลอกายยา โดยได้รับตำแหน่งราชทูตเอนวอยเอกซ ตราออดีนารีของพระเจ้ากรุงสยามไปยังประเทศฝรั่งเศส และเมื่อ บาทหลวงตาชาได้เชิญพระราชสาส์น ของพระเจ้ากรุงสยามลงเรือนั้น ก็ได้มีการแห่แหนและทำพิธีตามแบบธรรมเนียมไทยทุกอย่าง บาดหลวงตาชาได้พาคนไทยมาด้วยรวม ๑๘ คน คือเปน ข้าราชการไทยสำหรับประดับเกียรติยศบาดหลวงตาชา ๖คนอีก๑๒คนนั้น เปนชายหนุ่มซึ่งบาดหลวงตาชา จะพาไปฝากยังโรงเรียนพวกบาด หลวงคณเยซวิตที่กรุงปารีศ นอกจากนี้บาดหลวงตาชาได้เชิญ เครื่องราชบรรณาการ ของพระเจ้ากรุงสยามและของต่างๆ เปนอันมาก สำหรับไปถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และถวายเจ้านายในพระราช วงศ์ฝรั่งเศส ทุก ๆ องค์ด้วย ข้าพเจ้าได้ ไปถึงเกาะอาเซนชันเมื่อวันที่ ๑๙ เดือนพฤศภาคม เมื่อได้มาถึงเกาะนี้ แล้วข้าพเจ้าได้รับหนังสือจากกัปตันเรือเลซิเออ ฉะบับ ๑ ในจดหมายฉะบับนี้มีความว่าเรือรบฝรั่งเศส ๒ ลำ คือเรือ กายยากับเรือลาลัวได้ไปถึงแหลมเคปออฟกุดโฮมเมื่อวันที่๒๔และจะได้ พักอยู่ ณ ที่นั้นจนถึงวันที่ ๑ เดือน พฤศภาคม จึงจะได้ออกเรือต่อไป เมื่อวันที่ ๒๗ เดือนพฤศภาคม ได้พบกับเรือเลอเฟลรีซังที่ใต้ เส้นศูนย์กลางโลก ๑ ดีกรี เรือลำนี้ได้มาจากประเทศฝรั่งเศส และ


๖๑ ได้เดินทางมาถึงที่นี้ ๓๗ วัน นายเรือโทซึ่งบังคับการเรือลำนี้ได้ ขึ้น มาบนเรือของเรา และได้เล่าว่าประเทศฝรั่งเศสได้ประกาศ สงครามกับพวกแขกอาลเยียแล้ว


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก