ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๐

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๐ เรื่อง ตำนานเมืองระนอง พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียง

สมาชิกในสกุลณระนองพิมพ์ทูลเกล้า ฯ ถวาย สนองพระเดชพระคุณ เมื่อเสด็จเลียบมณฑลภูเก็ต พ.ศ. ๒๔๗๑

พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร


คำนำ พวกสมาชิกสกุลณระนองมอบฉันทให้อำมาตย์เอก พระยาทวีวัฒนากร ( คอยู่เที้ยน ณระนอง ) มาแจ้งความยังราชบัณฑิตยสภา ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จเลียบมณฑลภูเก็ตถึงเมืองระนองในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๑ นี้ บรรดาสมาชิกสกุลณระนองพร้อมใจกันจะสนองพระเดชพระคุณในการรับเสด็จที่เมืองระนอง และเนื่องในการนั้นปรารถนาจะพิมพ์หนังสืออนุสสร เป็นของถวายและจ่ายแจกสักเรื่อง ๑ ขอให้ราชบัณฑิตยสภาช่วยเลือกหาเรื่องหนังสือซึ่งเห็นสมควรและจัดการพิมพ์ให้ตามประสงค์ ข้าพเจ้าเห็นชอบด้วยความดำริของพวกสมาชิกสกุลณระนอง และคิดว่าหนังสือซึ่งจะพิมพ์แจกนั้น จะหาเรื่องใดอื่นจะเหมาะเหมือนเรื่องตำนานเมืองระนองหามีไม่ ด้วยเป็นเรื่องเนื่องกับสกุลณระนองมาแต่เดิม ทั้งมีเหตุการณ์ในพงศาวดารเกี่ยวเนื่องกับเมืองระนองก็หลายเรื่องแต่เรื่องราวแยกย้ายกันอยู่ในท้องตราบ้าง ในจดหมายเหตุบ้าง แม้พระราชนิพนธ์ว่าด้วยเมืองระนองก็มีหลายแห่ง นอกจากหนังสือเก่าตัวข้าพเจ้าเองก็ได้เคยไปเมืองระนองหลายครั้ง ทั้งได้คุ้นเคยกับชั้นผู้ใหญ่ในสกุลณระนองมาแต่ก่อนก็มาก พอจะแต่งเชื่อมเรื่องให้ติดต่อกันเป็นตำนานได้ จึงได้รับเรียบเรียงเรื่องตำนานเมืองระนอง และขอให้พระยาทวีวัฒนกรทำบัญชีลำดับชั้นวงศสกุลกับช่วยหารูปต่างๆ มาให้บ้าง ดังพิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้

นายกราชบัณฑิตยสภา วันที่๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๑ สารบารพ์ ตอนที่ ๑ ตำนานเมืองระนองในโบราณสมัย หน้า ๑ ว่าด้วยอาณาเขตต์เมืองระนอง " ๒ ว่าด้วยอาชีพของชาวเมืองระนอง " ๒ ว่าด้วยตั้งเจ้าภาษีขุดแร่ดีบุกที่เมืองระนอง " ๓ สำเนาตราตั้งจีนคอซู้เจียง เป็นหลวงรัตนเศรษฐี " ๓ ตอนที่ ๒ ยกเมืองระนองขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา " ๙ สำเนาตราตั้งหลวงรัตนเศรษฐีเป็นพระ เจ้าเมืองระนอง " ๙ ยกเมืองระนองมาขึ้นกรุงเทพ ฯ " ๑๕ สำเนาตราตั้งพระรัตนเศรษฐีเป็นพระยา ผู้สำเร็จราชการ เมืองระนอง " ๑๕ ว่าด้วยวิธีปกครองหัวเมืองในสมัยนั้น " ๑๘ ว่าด้วยพระยารัตนเศรษฐีบำรุงเมืองระนอง " ๒๐ ประวัติสังเขปบุตรพระยารัตนเศรษฐี " ๒๐ ตอนที่ ๓ เรื่องตั้งข้าหลวงประจำหัวเมืองฝ่ายตะวันตก " ๒๒ ว่าด้วยภาษีอากรผลประโยชน์หัวเมืองตะวันตกใน รัชชกาลที่ ๔ " ๒๒ ว่าด้วยเหตุที่จะประมูลภาษีอากรผลประโยชน์ " ๒๔ ว่าด้วยผลของพระราชทรัพย์ที่เจริญขึ้นด้วยการประมูล " ๒๖ ว่าด้วยตั้งข้าหลวงตรวจและรับส่งเงินหลวง " ๒๖


( ๒ ) ว่าด้วยผู้รับประมูลภาษีอากรผลประโยชน์คิดวิธีหากำไร หน้า ๒๗ ว่าด้วยผลร้ายที่เกิดจากการที่ผู้รับประมูลคิดหากำไร " ๒๘ ว่าด้วยจีนกุลีที่เมืองระนองกำเริบ " ๒๙ สำเนาใบบอกพระยารัตนเศรษฐีเรื่องจีนกุลีกำเริบ " ๓๐ ว่าด้วยจีนกุลีที่เมืองภูเก็ตกำเริบ " ๓๒ สำเนาใบบอกพระยามนตรีสุริยวงศเรื่องจีนกุลีกำเริบ " ๓๓ ว่าด้วยเพิ่มกำลังรักษาเมืองภูเก็ต " ๔๓ โปรดให้พระยารัตนเศรษฐีเป็นพระยาดำรงสุจริต จางวาง กำกับเมืองระนอง " ๔๓ สำเนาสารตราตั้งพระยารัตนเศรษฐีเป็นพระยาดำรงสุจริต " ๔๔ สำเนาสารตราตั้งพระศรีโลหภูมิพิทักษเป็นพระยารัตนเศรษฐี " ๔๗ พระยาดำรงสุจริตจัดการเรื่องทรัพย์สมบัติ " ๔๙ พระยาดำรงสุจริตถึงอนิจกรรม " ๕๐ สำเนาสารตราพระราชทานคำจารึกฮ่องสุยพระยาดำรงสุจริต " ๕๐ สำเนาจารึกป้ายที่ฮ่องสุยพระยาดำรงสุจริต " ๕๔ ทรงตั้งหลวงบริรักษโลหพิสัยเป็นพระอัษฎงคตทิศรักษา " ๕๖ ตอนที่ ๕ รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เมืองระนอง " ๕๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบแหลม มะลายู " ๕๘


( ๓ ) พระราชนิพนธ์ว่าด้วยเมืองระนอง หน้า ๕๙ เสด็จจากเมืองตระถึงเมืองระนอง " ๕๙ เสด็จประทับที่เมืองระนอง " ๖๕ เสด็จประพาสตลาดเมืองระนอง " ๖๖ เสด็จไปบ้านพระยาระนอง " ๖๗ พระราชทานชื่อสถานที่ในเมืองระนอง " ๖๘ เสด็จไปทอดพระเนตรที่ฝังศพพระยาดำรงสุจริต " ๖๙ ว่าด้วยการปกครองเมืองระนอง " ๗๐ เสด็จกลับจากเมืองระนอง " ๗๒ พระราชทานที่ฝังศพสกุลณระนอง " ๗๒ สำเนาพระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ฝังศพสกุลณระนอง " ๗๓ สำเนาสารตราพระราชทานที่ฝังศพสกุลณระนอง " ๗๔ โปรดให้พระยารัษฎานุประดิษฐ (คอซิมบี๋) เป็น ผู้ว่าราชการเมืองตรัง " ๗๗ ประวัติสกุลณระนองสมัยจัดมณฑลเทศาภิบาล " ๗๗ ตอนที่ ๖ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณเมืองระนอง " ๗๙ เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ " ๗๙ เสด็จถึงเมืองระนอง " ๘๐ พระราชทานพระแสงราชศัสตราสำหรับเมืองระนอง " ๘๑ คำถวายชัยมงคล " ๘๒

( ๔ ) พระดำรัสตอบ หน้า ๘๔ เสด็จประพาสที่ฮ่องสุยศพสกุลณระนอง " ๘๗ ทอดพระเนตรระบำพะม่า " ๘๘ เสด็จจากเมือ ง ระนอง " ๘๙ ลำดับวงสกุลณระนอง " ๙๑ สกุลณระนองชั้นที่ ๑ " ๙๑ สกุลณระนองชั้นที่ ๒ " ๙๒ สกุลณระนองชั้นที่ ๓ " ๙๗








บัญชีรูป ๑ เหมืองแร่ดีบุกเมืองระนอง หน้า ๒ ๒ เหมืองแร่ดีบุก เมืองระนอง " ๒ ๓ ฮ่องสุยพระยาดำรงสุจริต ( คอซู้เจียง ) " ๕๐ ๔ ตลาดเก่าครั้งพระยาดำรงสุจริต ( คอซู้เจียง) " ๖๖ ๕ ทางไปพุน้ำร้อนเมืองระนอง " ๖๖ ๖ พุน้ำร้อนเมืองระนอง " ๖๖ ๗ ทางเข้าบ้านผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง " ๖๘ ๘ สวนจันทน์ เมืองระนอง " ๖๘ ๙ กล้องสูบยาแดงคันแรก ของพระยาดำรง ฯ ( คอซู้เจียง ) " ๖๘ ๑๐ วังรัตนรังสรรค์ เมืองระนอง " ๗๐ ๑๑ วังรัตนรังสรรค์เมืองระนอง " ๗๐ ๑๒ ฮ่องสุยพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) " ๗๒ ๑๓ ฮ่องสุย พระยารัษฎานุประดิษฐ (คอซิมปี๋ ) " ๗๔ ๑๔ รูปพระยาดำรงสุจริต ฯ ( คอซู้เจียง ) " ๙๐ ๑๕ รูปพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) " ๙๒ ๑๖ รูปหลวงศรีสมบัติ ( คอซิมจั๋ว ) " ๙๔ ๑๗ รูปพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมขิม ) " ๙๖ ๑๘ รูปพระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต๊ก ) " ๙๘ ๑๙ รูปพระยารัษฎานุประดิษฐ ( คอซิมปี๋ ) " ๑๐๐


ตำนานเมืองระนอง

ตอนที่ ๑ ตำนานในโบราณสมัย เมืองระนองเดิมเป็นแต่เมืองขึ้นของเมืองชุมพรมาแต่สมัยเมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง เรียกชื่อตามนามเมืองว่า "หลวงระนอง" แต่รับตราตั้งจากกรุงเทพ ฯ เช่นเดียวกับเจ้าเมืองขึ้นทั้งปวง ประเพณีกำหนดอาณาเขตต์ในการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ เอาราชธานีตั้งเป็นหลัก มีเมือง ( จัตวา ) รายรอบ การต่าง ๆ ในเมืองเหล่านั้นขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของเจ้ากระ ทรวงในราชธานี เป็นทำนองมณฑลราชธานี ภายนอกมณฑลราชธานีออกไป เอา "หัวเมือง" เป็นหลัก ( กำหนดว่าเป็นหัวเมืองเอก หัวเมืองโท หรือหัวเมืองตรี ตามขนาด ) หัวเมืองหนึ่งก็มีเมืองขึ้นรายรอบและบังคับบัญชาทำนองเดียวกับมณฑลราชธานี เป็นมณฑล ๆ ไป ดังนี้ หัวเมืองใดอาณาเขตต์กว้างขวางก็มีเมืองขึ้นมาก หัวเมืองที่อาณาเขตต์แคบก็มีเมืองขึ้นน้อย และเมืองขึ้นนั้นกำหนดด้วยท้องที่ สุดแต่ให้พนักงานปกครองต่างเมืองไปมาถึงกันได้ในวันหนึ่งหรือสองวัน ( ในสมัยเมื่อทางคมนาคมยังกันดาร ) เพื่อจะได้บอกข่าวและช่วยเหลือกันเมื่อเกิดเหตุการณ์ ส่วนจำนวนผู้คนพลเมืองในท้องที่จะมีมากหรือน้อยไม่ถือเป็นข้อสำคัญในการตั้งเมืองขึ้น เพราะผู้คนมักย้ายไปถ่ายมาได้ง่าย ๑


๒ ในบรรดาหัวเมืองทางแหลมมะลายูที่ตั้งมาแต่โบราณ เมืองชุมพร ประหลาดผิดกับเพื่อนอยู่อย่างหนึ่งที่ไม่มีตัวเมือง เหมือนเมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองปัตตานี และเมืองถลางเมืองตะกั่วทุ่ง ทางฝ่ายตะวันตก ล้วนมีโบราณวัตถุปรากฎอยู่ รู้ได้ ว่าเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่ส่วนเมืองชุมพร ข้าพเจ้าผู้ (๑)แต่งหนังสือนี้ได้ให้ค้นหานักแล้ว ยังมิได้พบโบราณวัตถุเป็นสำคัญ บางทีจะเป็นด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือมีที่ทำนาไม่พอคนมากอย่าง ๑ และอยู่ตรงตอแหลมมะลายูมักเป็นสมรภูมิรบพุ่งกันตรงนั้น จึงไม่สร้างบ้านเมือง แต่ก็ต้องตั้งรักษาเป็นเมืองด่าน เมืองชุมพรจึงได้มีศักดิ์เป็นหัวเมืองชั้นตรีมีอาณาเขตต์ตกถึงทะเลทั้ง ๒ ฝ่ายมาแต่โบราณ เมืองขึ้นของเมืองชุมพรทางฝ่ายตวันออก มี ๔ เมือง ลำดับแต่เหนือลงไปใต้ คือ เมืองปะทิว ๑ เมืองท่าแซะ ๑ อยู่ข้างเหนือตัวเมืองชุมพร เมืองตะโก ๑ เมืองหลังสวน ๑ อยู่ข้างใต้ ทางฝ่ายตะวันตกมี ๓ คือ คือ เมืองตระ ๑ เมืองมลิวัน ( เดี๋ยวนี้อยู่ในแดนดังกฤษ ) (๒)๑ เมืองระนอง ๑ เมืองระนองอาณาเขตต์ทางเหนือต่อเมืองตระ ทางตะวันออกต่อเมืองหลังสวน ทางใต้ต่อเมืองตะกั่วป่า ทางตะวันตกเป็นทะเลและต่อเขตต์เมืองมลิวัน ในพื้นเมืองระนองเปนภูเขาโดยมากมิใคร่มีที่ราบ ราษฎรทำไร่นายากจึงมิใคร่มีผู้คนพลเมือง แต่ว่าเป็นท้องที่มีแร่ดีบุกทั้งบนภูเขาและตามที่ราบ ชาวเมืองจึงหาเลี้ยงชีพด้วยขุดแร่ดีบุกขายมาแต่โบราณ ฝ่ายรัฐบาลจะผ่อนผันให้ราษฎรเป็นผาสุก จึงกำหนดให้ส่งส่วยดีบุกแทนรับราชการอย่างอื่นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มาจนในสมัยกรุงรัตน

๓ โกสินทร์ (เห็นจะเป็นเมื่อในรัชชกาลที่ ๓ หรือก่อนนั้นไม่ทราบแน่) (๑) ให้มีเจ้าภาษีรับผูกขาดอากรดีบุก คือจัดบำรุงการขุดแร่และมีอำนาจที่จะซื้อและจะเก็บส่วยดีบุกในแขวงเมืองตระตลอดลงมาจนถึงเมืองระนอง โดยยอมสัญญาส่งดีบุกแก่รัฐบาลปีละ๔๐ภารา (คิดอัตราในเวลานั้นภารา๑ หนัก ๓๕๐ ชั่ง เป็นดีบุก ๑๔,๐๐๐ ชั่ง) เป็นอย่างนี้มาจนปลายรัชชกาล ที่ ๓ ครั้นเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗ จีนคอซู้เจียง ( ซึ่งภายหลังได้เป็นที่พระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี ผู้เป็นต้นสกุลณระนอง ) เข้ามายื่นเรื่องราวต่อกระทรวงกระลาโหมขอประมูลอากรดีบุกแขวงเมืองตระและระนองขึ้นเป็นปีละ ๔๓ ภารา หรือคิดเป็นเงินราคาภาราละ ๔๘ เหรียญ รวมเป็นเงินอากรปีละ ๒,๐๖๔ เหรียญ ได้รับพระราชทานพระบรมราชา นุญาต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรด ฯ ให้ตั้งจีนคอซู้เจียงเป็นที่หลวงรัตนเศรษฐีตำแหน่งขุนนางนายอากรแต่นั้นมามี สำเนาท้องตราพระคชสีห์ตั้งหลวงรัตนเศรษฐีความพิสดารดังนี้ ตราตั้งจีน ( คอซู้เจียง ) เป็นหลวงรัตนเศรษฐี หนังสือ เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริปรากรมพาหุ สมุห พระกระลาโหม มาถึงพระยาเพ็ชร์กำแหงสงคราม พระยาชุมพรและกรมการเมืองชุมพร เมืองตระ เมืองระนอง ด้วยจีนเจียงเข้าไปณกรุงเทพพระมหานคร ทำเรื่องราวให้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า อากรดีบุกเมืองกระ หลวงจำเริญวานิชทำอยู่ที่ระนอง ทุ่งคา บางริ้น สระส้มแป้น ๔ ตำบล เป็นอากรปีละ ๔๐ ภารา จีนเจียงเห็นว่าที่เกิดแม่แร่ดีบุกยังมีอยู่มาก จะขอชักชวนไทยจีนแขก

๔ มาทำเหมืองใหญ่ เหมืองแล่น ขุดร่อนแม่แร่ขึ้นที่ปลายคลองปากจั่นตำบลหนึ่ง ระนองตำบลหนึ่ง ทุ่งคาตำบลหนึ่ง พอนรั้งตำบลหนึ่ง บางริ้นตำบลหนึ่ง สระส้มแป้นตำบลหนึ่ง กะเปอร์(๑) ฟากแม่น้ำแขวงระนองตำบลหนึ่ง รากกรูดตำบลหนึ่ง ตำบลบางพระหนึ่ง แขวงเมืองตะโกที่หาดทรายขาวปลายคลองตะโกตำบลหนึ่ง เข้ากัน ๑๐ ตำบล โรงกลวงเดิมตั้งอยู่ที่เมืองระนองแล้ว จะขอตั้งโรงกลวงขึ้นใหม่อีกที่บางพระตำบลหนึ่ง ปลายคลองปากจั่นโรงหนึ่ง ราดกรูดโรงหนึ่ง กะเปอร์โรงหนึ่ง หาดทรายขาวโรงหนึ่ง แต่ปีมะเส็ง สัปตศก ปีแรกทำจะขอประมูลอากรขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแต่ ๓ ภาราก่อน เข้ากันเป็นอากรเดิมอากรประมูลปีละ ๔๓ ภารา ถ้าทำหมดอากรครบปีมีภาษีกำไรจะบอกทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายขึ้นอีกทุกปี ๆ จึงนำเอาเรื่องราวจีนเจียงขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า อากรดีบุกเมืองตระ เมืองระนองนั้น หลวงจำเริญวานิชรับทำมาก็หลายปีแล้วไม่เป็นภาคภูมิ์ขึ้นได้ อากรจำนวนปีเถาะเบ็ญจศกส่ง มะโรงก็ยังค้าง จะให้หลวงจำเริญวานิชทำอากรดีบุกเมืองตระ เมืองระนองสืบต่อไป อากรก็จะค้างทบเท่ามากขึ้น ซึ่งจีนเจียงจะรับทำอากรดีบุกเมืองตระ เมืองระนองเดิม ๔๐ ภารา ประมูล ๓ ภารา เข้ากัน ๔๓ ภารานั้น ก็ให้จีนเจียงรับทำอากรต่อไปเถิด โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จีนเจียงเป็นที่หลวงรัตนเศรษฐีนายอากร พระราชทานเสื้อเข้มขาบก้านแย่งตัวหนึ่ง เสื้อมังกรน้ำเงินตัวหนึ่ง แพรขาวห่มเพลาะหนึ่ง แพรขาวห่มผืนหนึ่ง ผ้า

๕ ปูมผืนหนึ่ง ผ้าเชิงปูมผืนหนึ่ง ให้หลวงรัตนเศรษฐีทำอากรตำบลหาดทรายขาวแขวงเมือง ตะโก ระนอง ทุ่งคา พอนรั้ง บางริ้น สระส้มแป้น บางพระ ราดกรูด กะเปอร์ ปลายคลองปากจั่น แขวงเมืองตระ เมืองระนอง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอังกฤษ เป็นอากรปีละ ๔๓ ภารา ตั้งแต่วันเดือน ๕ ขึ้นค่ำหนึ่งปีมะเส็งสัปตศกสืบไป กำหนดให้ส่งอากรดีบุกต่อเจ้าพนักงานณกรุงเทพพระมหานครปีละ ๒ งวด ๆ เดือนสิบส่งงวดหนึ่ง เดือน ๔ ส่งงวดหนึ่ง ให้หลวงรัตนเศรษฐีส่งอากรดีบุกงวดเดือนสิบ หนัก ๒๑ ภารา หาบ ๕๐ ชั่ง งวดเดือน ๔ หนัก ๒๑ ภารา หาบ ๕๐ ชั่ง ให้ส่งเสมอปีละ ๒ งวด จงทุกงวดทุกปี อย่าให้ดีบุกอากรของหลวงขาดค้างล่วงงวดล่วงปีไปแต่จำนวนหนึ่งได้ ถ้าจะส่งเงินเข้าไปแทนดีบุกก็ให้คิดเงินส่งภาราละ ๔๘ เหรียญ ถ้าจะส่งดีบุกก็ให้ส่ง ๓๕๐ ชั่งต่อภารา ให้หลวงรัตนเศรษฐี ตั้งโรงกลวงสูบฉลุงแร่ดีบุกในที่แขวงเมืองตระ เมืองระนอง เมืองตะโก อย่าให้ล่วงแขวงล่วงอำเภอเมืองอื่น เกิดอริวิวาทกัน ด้วยที่เขตต์แดนเป็นอันขาดทีเดียว ถ้าทำอากรครบปีมีภาษีกำไรก็ให้บอกทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายขึ้นอีกจะได้เป็นความชอบกับหลวงรัตนเศรษฐีสืบต่อไป และให้หลวงรัตนเศรษฐีทำอากรดีบุกโดยสัตย์โดยธรรม ถ้าราษฎร์ขุดร่อนแม่แร่ดีบุกจะเอามาตวงขึ้นโรงกลวงสูบฉลุงมากน้อยเท่าใด ให้หลวงรัตนเศรษฐีคิดค่าแร่ให้กับราษฎรให้ครบ อย่าให้ทำฎีกาให้แก่ราษฎรใช้สอยแทนเงินแทนดีบุก และขันเฟืองลูกตุ้มคันวิสัยสำหรับตวงแม่แร่ชั่งดีบุกนั้น มีอยู่สำหรับโรงกลวงแล้ว ให้หลวงรัตนเศรษฐีเอาขันเฟือง

๖ ลูกตุ้มคันวิสัยของหลวง ซึ่งให้ออกมาสำหรับโรงกลวงนั้น มาใช้สอยสำหรับตวงแม่แร่ดีบุกของราษฎร อย่าให้ขันเฟืองลูกตุ้มใหญ่แปลกปลอมมาตวงแร่ดีบุกของราษฎรให้เหลือเกิน ถ้าและราษฎรได้แม่แร่ดีบุกมาตวงขึ้นโรงกลวงมากน้อยเท่าใดก็คิดเงินให้ค่าแม่แร่ของราษฎรให้ครบ อย่าให้ทำฎีกาให้ราษฎรเจ้าของแร่ให้ได้ความยากแค้นเดือดร้อน ถ้าสูบฉลุงได้น้ำแม่แร่ดีบุกจะทำเป็นดีบุกย่อยใช้สอยซื้อขายกันกลางบ้านกลางเมือง ก็อย่าให้เรียกเอาเศษดีบุกเลย ถ้าผู้ใดจะเอาดีบุกปึกดีบุกย่อยไปซื้อขายจำหน่ายนอกประเทศ ก็ให้เจ้าเมืองกรมการนายอากรกำกับกันตีตราดีบุกปึกดีบุกย่อยเรียกเศษดีบุกภาราละ ๒ เหรียญ อย่าให้ผู้ใดเอาดีบุกปึกดีบุกย่อยซึ่งยังไม่ได้ตีตราเรียกเศษ ลักลอบออกไปซื้อขายนอกบ้านนอกเมืองได้เป็นอันขาดทีเดียว ถ้าเรียกเงินเศษดีบุกจำนวนปีใดได้มากน้อยเท่าใด ก็ให้เจ้าเมืองกรมการทำหางว่าวจำนวนเงินเศษดีบุกปีนั้นเท่านั้น บอกส่งเงินและหางว่าวเข้าไปยังกรุงเทพพระมหานครจงทุกปี ได้ทำตราเหล็กสำหรับตอกพิมพ์ดีบุกปึก ดีบุกย่อยมอบให้ออกมากับหลวงรัตนเศรษฐีด้วยแล้ว อนึ่งเป็นอย่างธรรมเนียมนายอากรคนใหม่คนเก่ารับอากรต่อกัน นายอากรคนใหม่ต้องรับรองและโรงกลวง โรงกงษี เรือใหญ่ เรือน้อย เครื่องมือใช้สอยแม่แร่มูลตะกางและถ่านต่อนายอากรคนเก่า คิดราคาให้นายอากรคนเก่าตามอย่างธรรมเนียมเมืองพังงาเมืองตะกั่วป่าทำมาแต่ก่อน อนึ่งให้หลวงรัตนเศรษฐีกำชับห้ามปรามบ่าวและทาษสมัครพรรคพวกซึ่งทำอากรด้วยกันนั้น อย่าให้คบหากันเป็นโจรผู้ร้ายปล้นสดมภ์ลักช้างม้าโคกระบือ

๗ เครื่องอัญมณีของสมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎร ลูกค้าวานิชทางบกทางเรือให้ได้ความยากแค้นเดือดร้อน และซื้อขายสิ่งของต้องห้ามกระทำให้ผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมายห้ามปรามเก่าใหม่แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อนึ่งเทศกาลพระราชพิธีตรุษสารท ก็ให้หลวงรัตนเศรษฐีไปพร้อมด้วยเจ้าเมืองกรมการเมืองระนองณพระอาราม บ่ายหน้าต่อกรุงเทพพระมหานคร กราบถวายบังคมรับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัตยาปีละ ๒ ครั้งเสมอจงทุกปีอย่าให้ขาด ครั้นลุท้องตรานี้ไซ้ก็ให้พระยาชุมพรกรมการเมืองชุมพร กรมการเมืองตระ กรมการเมืองระนองจำลองท้องตรานี้ไว้แล้วส่งต้นตราตั้งนี้ให้หลวงรัตนเศรษฐี ทำอากรเมืองตระ เมืองระนอง เมืองตะโกสืบไป หนังสือมาณวันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๐๖ ปีมะโรง นักษัตรฉศก (พ.ศ. ๒๓๘๗) ตรารูปคนถือดาบประจำครั่ง ตราพระคชสีห์น้อยประจำผนึก จีนคอซู้เจียงผู้ได้เป็นที่หลวงรัตนเศรษฐีนี้เป็นจีนฮกเกี้ยน เกิดที่เมืองเจียงจีนจิวหูในประเทศจีน เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๔๐ ครั้งอายุได้ ๒๕ ปี ออกจากเมืองจีนมายังเกาะหมาก ประกอบกรรมกรเป็นอาชีพพอสะสมได้ทุนบ้างแล้ว เข้ามาอยู่ตั้งค้าขายในพระราชอาณาเขตต์ที่เมืองตะกั่วป่า ได้อาศัยความอุปการะของท้าวเทพสุนทร ซึ่งเป็นสตรีมีทุนทำค้าขายอยู่ในจังหวัดนั้น ครั้นทำมาหากินมีทุนมากขึ้นเห็นว่าที่เมืองพังงาเป็นทำเลการค้าดีกว่าที่เมืองตะกั่วป่า จึงไปตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นหลักแหล่งที่ตลาดเมืองพังงา จนทำมาหากินได้ทุน

๘ ทรัพย์บริบูรณ์ขึ้น จึงคิดต่อเรือกำปั่นใบลำหนึ่งแล้วลงเรือนั้นไปเที่ยวค้าขาย รับซื้อสินค้าที่เกาะหมากเที่ยวขายตามหัวเมืองชายทะเลตะวันตกไปจนเมืองระนองเมืองตระ และรับซื้อสินค้าตามหัวเมืองเหล่านั้นมีดีบุกเป็นต้น ไปขายยังเกาะหมาก อาศัยการที่เที่ยวค้าขายเช่นนี้ จึงได้รู้เบาะแสที่ทำมาหาผลประโยชน์ทางหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก มาเห็นว่าเมืองระนองเป็นทำเลที่มีดีบุก แต่ผู้ทำการขุดหาค้าขายยังมีน้อยอาจจะตั้งทำมาหาเลี้ยงชีพได้ด้วยค้าดีบุกที่เมืองระนอง ให้เป็นการใหญ่โตขึ้นโดยมิต้องแย่งชิงกับผู้ใด จึงได้เข้ามาขอผูกอากรดีบุกเมืองระนองภายหลังยกครอบครัวย้ายมาตั้งภูมิลำเนาอยู่เมืองระนอง บ้านเดิมที่ตลาดเมืองพังงาก็ยังให้รักษาไว้ เห็นจะเป็นด้วยไม่ประมาท หมายว่าถ้าทำการอาชีพที่เมืองระนองไม่สำเร็จ ก็จะกลับไปอยู่ที่เมืองพังงา บ้านที่เมืองพังงานั้นยังรักษาไว้เป็นที่ระลึกต่อมาจนถึงชั้นบุตรหลาน.






๙ ตอนที่ ๒ ยกเมืองระนองเป็นหัวเมืองจัตวา ถึงรัชชกาลที่ ๔ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ เป็นปีที่ ๔ ในรัชชกาลนั้น ตำแหน่งเจ้าเมืองระนองว่าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงรัตนเศรษฐี ( คอซู้เจียง ) ขึ้นเป็นพระรัตนเศรษฐี เจ้าเมืองระนอง แต่ยังคงเป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพรต่อมา มีสำเนาตราพระคชสีห์นำเมือง ดังนี้

ตรานำเมืองตั้งพระรัตนเศรษฐี ( คอซู้เจียง ) เป็นเจ้าเมืองระนอง หนังสือ เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริปรากรมพาหุ สมุหพระกระลาโหม มาถึงพระยาเพ็ชร์กำแหงสงคราม ผู้สำเร็จราชการเมืองชุมพร ด้วยมีใบบอกเข้าไปแต่ก่อนว่า หลวงระนองป่วยถึงแก่กรรมที่เจ้าเมืองว่างเปล่าอยู่ จึงนำหนังสือบอกพระยาชุมพรขึ้นกราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระบรมราชโองการการตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่าเมืองระนองเป็นเมืองอากรดีบุกอยู่ฝ่ายทะเลตะวันตก ล่อแหลมเขตต์แดนใกล้กับอังกฤษสำคัญอยู่ เจ้าเมืองยังหามีตัวไม่ จะไว้ใจแก่ราชการไม่ได้ ทรงพระราชดำริเห็นว่าหลวงรัตนเศรษฐีทำอากรดีบุกมาช้านาน ๒

๑๐ หลายปี เงินภาษีอากรของหลวงมิได้ขาดค้างเกี่ยวข้อง แล้วก็เป็นคนผู้ใหญ่อารีรอบคอบ กรมการเมืองระนองก็รักใคร่นับถือพอจะเป็นที่เจ้าเมืองระงับกิจทุกข์ของไพร่บ้านพลเมืองสืบต่อไปได้ จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานสัญญาบัตร์ ตั้งให้หลวงรัตนเศรษฐี เลื่อนขึ้นเป็นที่พระรัตนเศรษฐี ผู้สำเร็จราชการ(๑) เมืองระนองถือศักดินา ๘๐๐ ไร่ โปรดพระราชทานถาดหมากคนโทกาไหล่ทองสำรับหนึ่ง เสื้อเข็มขาบริ้วตัวหนึ่ง เสือมังกรห้าเล็บอย่างจีนตัวหนึ่ง ผ้าเช็ดหน้าเขียนลายทองผืนหนึ่ง แพรขาวย่นหนังไก่เพลาะหนึ่ง ผ้าห่มนอนปักทองมีซับผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง หมวกจุกทองคำอย่างจีนหนึ่งให้พระรัตนเศรษฐีผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง ออกมาระงับกิจทุกข์ของอาณาประชาราษฎรทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป ถาดหมากคนโทเงินซึ่งโปรดพระราชทานสำหรับที่หลวงระนองเศรษฐีนั้น โปรดพระราชทานให้แก่หลวงโลหภูมิผู้ช่วยราชการ และเมืองระนองขึ้นอยู่กับเมืองชุมพร ให้พระรัตนเศรษฐีผู้สำเร็จราชการเมืองระนองฟังบังคับบัญชาพระยาชุมพร ให้ปลัดยกระบัตร์กรมการเมืองระนอง ฟังบังคับบัญชาพระรัตนเศรษฐี ผู้สำเร็จราชการเมือง แต่ซึ่งชอบด้วยราชการจงทุกประการ อย่าให้ถือเปรียบขัดแก่งแย่งกัน ให้เสียราชการไปแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ๑๑ ให้พระรัตนเศรษฐี ผู้สำเร็จราชการเมืองระนองตั้งใจทำราชการฉลองพระเดชพระคุณโดยสุจริต ให้มีจิตต์โอบอ้อมอารีแก่สมณ พราหณาจารย์กรมการไพร่บ้านพลเมืองลูกค้าวานิช ให้อยู่เย็นเป็นสุขอย่ากระทำข่มเหงกรมการไพร่บ้านพลเมือง ให้ได้ความยากแค้นเดือดร้อนแต่สงใดสิ่งหนึ่งได้ ประการหนึ่งกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อยว่างเปล่าอยู่ เห็นว่าผู้ใดได้ราชการดีก็ให้ปรึกษากับพระยาชุมพร จัดแจงตั้งแต่งขึ้นไว้ ให้ครบตามตำแหน่ง แล้วให้พระยาชุมพรบอกเข้าไปณกรุงเทพพระมหานคร เจ้าพนักงานจะได้ตั้งแต่งออกมาให้ตามอย่างตามธรรมเนียม ประการหนึ่งถ้าราษฎรจะเกี่ยวข้องด้วยคดีฟ้องหากล่าวโทษแก่กันเป็นแต่ความเล็กน้อย ก็ให้พระรัตนเศรษฐี และกรมการพิจารณาว่ากล่าวให้สำเร็จที่เมืองระนอง ถ้าเป็นความมหันตโทษข้อใหญ่ให้ส่งไปยังเมืองชุมพร ชำระว่ากล่าวตามอย่างตามธรรมเนียมสืบมาแต่ก่อน ถ้าจะพิจารณาพิพากษา ว่ากล่าวคดีของราษฎรให้เป็นยศเป็นธรรมโดยอุเบกขาญาณ อย่าเห็นแก่หน้าบุคคลอามิสสินจ้างสินบนเข้าด้วยฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลย กลับเท็จเป็นจริงกลับจริงเป็นเท็จ กลบเกลื่อนเนื้อความแพ้เป็นชนะ ชนะเป็นแพ้ ให้ราษฎรได้ความเดือดร้อนยากแค้นและกระทำให้ผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมายห้ามปรามเก่าใหม่ แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อนึ่งถ้าเป็นระดูการถึงเทศกาลทำนา ให้ตักเตือนว่ากล่าวแก่อาณา ประชาราษฎรให้ชักชวนกันทำไร่นาให้เต็มภาคภูมิ์ให้ได้ผลเมล็ดเข้า

๑๒ จงมาก จะได้เป็นกำลังราชการทำบุญให้ทานเป็นกุศลสืบไป แล้วให้บอกรายงานน้ำฝนเข้าไปยังเมืองชุมพรเนือง ๆ เมืองชุมพรจะได้บอกเข้าไปยังณกรุงเทพพระมหานคร อนึ่งส่วยสาอากรซึ่งขึ้นท้องพระคลังมีอยู่ในแขวงเมืองระนองมากน้อยเท่าใด ถึงงวดถึงปีจะส่งก็ให้พระรัตนเศรษฐีว่ากล่าวแก่เจ้าพนักงาน ให้คุมเอาส่วยสาอากรของหลวงเข้าไปส่งยังเมืองชุมพรจงทุกงวดทุกปี เมืองชุมพรจะได้ส่งเข้าไปณกรุงเทพพระมหานคร ประการหนึ่งให้พระรัตนเศรษฐีชำระบัญชีค่าส่วยและเลขสมพักษรจร อาศัย เลขสำหรับเมืองจะโจทก์ไปอยู่แห่งใดตำบลใด ก็ให้ชำระเอา ตัวคืนมาอยู่ตามเดิมแล้วให้รู้บัญชีเลขไพร่พลเมือง สมสังกัดพันข้าพระโยมสงฆ์ส่วยส้องกองช่างตราภูมิ์คุ้มห้ามมีอยู่ณแขวงหัวเมืองระนองมากน้อยเท่าใด และเลขพลเมือง เลขด่าน เลขกองนอก คงสักหมวดใด กองใดให้คัดเอาบัญชีให้รู้จำนวนเลขไว้ให้แน่นอน มีราชการขุกค่ำคืนมาประการใด จะได้กะเกณฑ์ราชการทันท่วงที อนึ่งเลขหมวดใดกองใดซึ่งหลบหนีไปแอบแฝงอยู่ มิได้สักข้อมือใช้ราชการแผ่นดินนั้น ให้พระรัตนเศรษฐีว่ากล่าวชักชวนเกลี้ยกล่อมให้มาตั้งบ้านเรือนให้เป็นภาคภูมิ์ ลงทำมาหากินให้บ้านเมืองบริบูรณ์ มั่งคั่งจะได้ใช้ราชการสืบไป และทุกวันนี้ทางทะเลเกิดโจรผู้ร้ายชุกชุม พระรัตนเศรษฐีจะส่งเงินอากรขึ้นมาณเมืองชุมพรนั้น หนทางตั้งแต่เมืองระนองจะมาเมืองตระ


๑๓ ทางเปลี่ยว จะคุมเงินมาแต่ตามลำพังกรมการเมืองระนองจะไว้ใจไม่ได้ ให้พระยาชุมพรแต่งกรมการไปบรรจบกรมการเมืองตระจัดแจงเรือไปรับป้องกันขึ้นมาสักลำหนึ่ง ๒ ลำ มาถึงเมืองชุมพรแล้วก็จัดแจงเรือและกรมการกำกับคุมเอาเงินอากรของหลวงส่งเข้าไปให้ถึงกรุงเทพพระมหานคร อย่าให้เป็นอันตรายตามทางได้เป็นอันขาดทีเดียว อนึ่งถึงเทศกาลพระราชพิธีตรุษสารท ก็ให้พระรัตนเศรษฐีกรมการและขุนหมื่นนายอำเภอแขวงเมืองระนอง ไปพร้อมด้วยกรมการณวัดวาอารามกระทำสัตยานุสัตย์ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท กราบถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รับพระราชทานถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาปีละ ๒ ครั้ง ตามอย่างธรรมเนียมจงทุกปีอย่าให้ขาด ประการหนึ่งจะมีใจประดิพัทธรักใคร่ลูกสาวหลานสาวกรมการ และอาณาปราชาราษฎรผู้ใด ก็ให้แต่งเฒ่าแก่ไปว่ากล่าวสู่ขอตามอย่างธรรมเนียม ห้ามอย่าให้กระทำข่มเหงฉุดคร่าเอาลูกสาวหลานสาวกรมการและอาณาประชาราษฎรมาเป็นภรรยา ให้ราษฎรได้ความยากแค้นเดือดร้อนแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อนึ่งเมืองระนองอยู่ชายทะเลล่อแหลม จะไว้ใจแก่ราชการไม่ได้ ให้พระรัตนเศรษฐี จัดแจงเรือและคนสรรพไปด้วยเครื่องสาตราวุธให้พร้อมสรรพ ลาดตะเวนรักษาปากน้ำตามอ่าวคุ้งแขวงเมืองระนองจง


๑๔ กวดขัน อย่าให้สลัดศัตรูเล็ดลอดเข้ามากระทำร้ายแก่โรงกงษีและบ้านเมืองได้เป็นอันขาด แล้วคอยระวังสืบสวนข่าวคราวราชการ ได้ข่าวราชการมาประการใดก็ให้เร่งรีบบอกไปยังเมืองชุมพร และหัวเมืองต่อกันโดยเร็ว เมืองชุมพรจะได้บอกส่งเข้าไปยังกรุงเทพพระมหานคร ประการหนึ่ง พระรัตนเศรษฐี ผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าราชการผันแปรประการใด ก็ให้คิดอ่านผ่อนปรนผันแปรโดยข้อราชการให้ชอบจงทุกประการ สุดแต่อย่าให้เสียราชการไปได้ อนึ่งให้พระรัตนเศรษฐีกำชับห้ามปรามบุตร์ภรรยาเสมียนทนายข่าวและทาส อย่าให้คบหากันเป็นโจรผู้ร้ายปล้นสดมภ์ฉกชิงฉ้อตระบัด เอาพัศดุทองเงินเครื่องอัญมณีของสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรลูกค้าวานิช และทำลายพระพุทธรูป พระสถูปพระเจดีย์ พระวิหาร การเปรียญวัดวาอาราม ฆ่าช้างเอางาและขนาย ฆ่าสัตว์อันมีคุณ ตัดต้นไม้อันมีผลซื้อขายสิ่งของต้องห้าม กระทำให้ผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมายห้ามปรามเก่าใหม่แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นอันขาดทีเดียว ครั้นลุท้องตรานี้ไซ้ ก็ให้พระยาชุมพรกรมการลำลองลอกเอาท้องตราตั้งไว้ ประทวนสั่งต้นตรานี้ และตราจำนำ เลขสำหรับที่สารบานบัญชี เลขสมพลเมือง กฎหมายกระทงความเก่าใหม่ ซึ่งมีอยู่



๑๕ สำหรับเมืองระนองมากน้อยเท่าใด ให้แก่พระรัตนเศรษฐี ผู้สำเร็จราชการเมืองระนองเข้ารับ ราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป หนังสือมาณวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๖ ปีขาลฉศกตรารูปคนถือดาบประจำครั่ง ตราพระคชสีห์ห้อยประจำผนึก ต่อมาความปรากฎว่า รัฐบาลอังกฤษจัดการปกครองหัวเมืองซึ่งได้ไปจากพะม่ากวดขันขึ้นโดยลำดับมาถึงที่ต่อแดนพระราชอาณาเขตต์ทางทะเลตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า เมืองตระและเมืองระนองเป็นเมืองขึ้นอยู่ในเมืองชุมพร จะรักษาราชการทางชายแดนไม่สะดวก จึงโปรด ฯ ให้ยกเมืองตระและเมืองระนองขึ้นเป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ ส่วนเมืองระนองนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐี คอซู้เจียง ขึ้นเป็นพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนองเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕ มีสำเนาสารตราพระคชสีห์นำเมืองดังนี้

สำเนาสารตรานำเมืองตั้งพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง สารตรา ท่านเจ้าพระยาอัครมหาเสนา ฯ มาหลวงศรีโลหภูมิผู้ช่วยราชการ หลวงอินทคิรีปลัด หลวงพรหมภักดี กรมการผู้รักษาเมืองระนอง


๑๖ ด้วยมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า เมืองระนองแต่ก่อนเป็นเมืองขึ้นเมืองชุมพร บ้านเมืองก็อยู่ในป่าดงรกร้างหาเป็นภูมิฐานบ้านเมืองไม่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้พระรัตนเศรษฐีให้เป็นผู้สำเร็จราชการรักษาบ้านเมือง พระรัตนเศรษฐีชักชวนเกลี้ยกล่อมไทยจีนให้มาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุข บ้านเมืองบริบูรณ์มั่งคั่งขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก พระรัตนเศรษฐี รับทำอากรดีบุกพระราชทรัพย์ของหลวงทวีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน พระรัตนเศรษฐีเข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ ครั้งนี้ทรงพระราชดำริว่า พระรัตนเศรษฐีทำราชการฉลองพระเดชพระคุณมาช้านานหามีระแวงในข้อราชการแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ เป็นคนมีความชอบมาก พระรัตนเศรษฐีก็เป็นผู้ใหญ่ควรจะเลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐีขึ้นให้ควรแก่ความชอบ จะได้เป็นพระเกียรติยศแก่นานาประเทศ จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนพระรัตนเศรษฐีขึ้นเป็นที่พระยารัตนเศรษฐี ผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง ให้ถือศักดินา ๒๐๐๐ ให้พระราชทานเครื่องยศแก่พระยารัตนเศรษฐี หมวกจีโบดำจุกทองคำ ๑ ลูกประคำทองสาย ๑ ถาดหมากทองคำ ๑ คนโททองคำ ๑ เสื้อมังกร ๑ เสื้อเข้มขาบ ๑ ผ้าส่านห่มนอนผืน๑ผ้าแพรสีชมภูสิบแถบ ๑ ผ้าแพรจินเจาขาวเพลาะ๑ ผ้าปูมเขมรผืน ๑ รวม ๑๐ สิ่ง ให้ยกเมืองระนองมาขึ้นกรุงเทพ ฯ และให้พระยารัตนเศรษฐีตั้งใจทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ ประพฤติการแต่ที่ชอบที่ควรต่างพระเนตร์พระกรรณโดยพระราชกำหนดกฎหมาย คิดอ่านทำนุบำรุงบานเมืองให้บริบูรณ์มั่งคั่งให้ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ให้สม

๑๗ แก่ทรงพระมหากรุณาชุบเลี้ยง จะได้มีความเจริญถาวรสืบต่อไป ถ้ามีราชการสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ให้พระยารัตนเศรษฐีผู้สำเร็จราชการกรมการบอกให้กรมการถือเข้ามาวางเวรกรุงเทพ ฯ ตามกระทรวงเหมือนอย่างหัวเมืองขึ้นกรุงเทพ ฯ ทั้งปวง ถ้าถึงกำหนดส่งเงินภาษีอากรดีบุกพระราชทรัพย์ของหลวงเมื่อใด ก็ให้บอกหนังสือแต่งกรมการคุมเข้าไปส่งต่อเจ้าพนักงานกรุงเทพ ฯ อย่าให้เงินอากรพระราชทรัพย์ของหลวงค้างล่วงงวดปีไปได้ อนึ่งถึงเทศกาลพระราชพิธีตรุษสารท ก็ให้พระยารัตนเศรษฐีไปพร้อมด้วยพระหลวงขุนหมื่นกรมการนายอากร นายกอง นายหมวด ณพระอารามจำเพาะพระพักตรพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า บ่ายหน้าต่อกรุงเทพ ฯ กระทำสัตยานุสัตย์ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กราบถวายบังคมรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาปีละ ๒ ครั้ง ตามอย่างธรรมเนียมอย่าให้ขาด และให้พระยารัตนเศรษฐีประพฤติการรักษาบ้านเมืองตามพระราชสัญญาบัตรและท้องตราตั้งออกมาครั้งนี้ก่อนจงทุกประการ สารตรามาณวัน ๒๘ ค่ำ ปีจอจัตวาศก " ในคราวที่พระราชทานสัญญาบัตรพระยารัตนเศรษฐี คอซู้เจียงนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรนายคอซิมก๊วง ( ซึ่งได้เป็นพระยารัตนเศรษฐีและพระยาดำรงสุจริตเมื่อในรัชชกาลที่ ๕ ) ผู้เป็นบุตร ให้เป็นที่หลวงศรีโลหภูมิ ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนองด้วย. ๓

๑๘ วิธีการปกครองหัวเมืองในสมัยเมื่อแรกยกเมืองระนองขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวานั้น ยังเป็นแบบโบราณ คือเจ้าเมืองกรมการได้แต่ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นผลประโยชน์แทนเงินเดือน และต้องบำรุงบ้านเมืองโดยลำพัง แต่อาจทำไร่นาค้าขายหาผลประโยชน์ได้ จะเรียกราษฎรใช้สอยในกิจการของตนก็ได้ มีข้อห้ามเพียงอย่าให้ฉ้อฉนกดขี่ให้อาณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน ส่วนการเก็บภาษีอากรนั้นนอกจากเงินส่วยซึ่งมาเปลี่ยนเป็นรัชชูปการในรัชชกาลที่ ๖ ไปแล้ว ให้มีเจ้าภาษีนายอากรประมูลกันรับผูกขาดไปจากในกรุงเทพ ฯ อำนาจเหนือราษฎรตามหัวเมือง จึงมีอำนาจเจ้าเมืองกรมการในการปกครองอย่าง ๑ อำนาจเจ้าภาษีนายอากรในการเรียกเก็บภาษีอย่าง ๑ หัวเมืองใดเป็นหัวเมืองใหญ่เจ้าเมืองเป็นคนสำคัญ เจ้าภาษีนายอากรก็อ่อนน้อมด้วยจำต้องอาศัยความอนุเคราะห์ของเจ้าเมืองจึงจะเร่งเรียกภาษีอากรได้สะดวกในเมืองนั้น ถ้าเป็นเมืองไม่สำคัญและเจ้าเมืองเป็นแต่คนชั้นสามัญ เจ้าภาษีนายอากรก็มิสู้ยำเกรงแม้จนชวนเข้าหุ้นส่วนในการเก็บภาษีอากรในเมืองนั้นก็มีพระยาระนอง ( คอซู้เจียง ) เป็นพ่อค้าอยู่ก่อน แล้วมาเป็นเจ้าภาษีนายอากรที่เมืองระนองอยู่เมื่อก่อนเป็นเจ้าเมือง รู้ชำนาญการในท้องที่อยู่แล้ว ครั้นได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองก็แลเห็นว่าจำต้องรวมอำนาจทั้ง ๒ อย่างนั้นไว้ด้วยกันจึงจะปกครองทำนุบำรุงบ้านเมืองได้สะดวก และเป็นประโยชน์ทั้งในราชการและในส่วนตัวเองด้วย จึงขอรับผูกขาดเก็บภาษีอากรเมืองระนองด้วยก็ได้รับอนุญาตจากกรุงเทพ ฯ ตามประสงค์ เพราะในสมัยนั้นเมืองระนองเป็นอย่างว่า " อยู่สุดหล้าฟ้าเขียว " พวก

๑๙ กรุงเทพ ฯ ที่รับทำภาษีอากรเป็นอาชีพไม่มีใครปรารถนาหรือกล้าจะรับไปเก็บภาษีอากรถึงเมืองระนองพวกที่อยู่ในท้องถิ่นก็ไม่มีทุนและกำลังพอจะประมูลสู้พระยารัตนเศรษฐีได้ ภาษีอากรที่เก็บณเมืองระนองในสมัยนั้นมี ๕ อย่าง คือเก็บภาษีดีบุกที่ออกจากเมืองอย่าง ๑ เก็บภาษีสินค้าขาเข้าเมือง ๑๐๐ ชัก ๓ ตามราคาอย่าง ๑ อากรฝิ่นอย่าง ๑ อากรสุราอย่าง ๑ อากรบ่อนเบี้ยอย่าง ๑ เรียกรวมกันทั้ง ๕ อย่างว่า "ภาษีผลประโยชน์" ลักษณการที่ให้ผู้ว่าราชการเมืองรับผูกขาดเก็บภาษีผลประโยชน์ดังว่ามา ดูเหมือนจะจัดขึ้นที่เมืองระนองก่อน ครั้นเห็นว่าเป็นประโยชน์ดีจึงขยายต่อออกไปถึงเมืองที่ใกล้เคียง คือเมืองตะกั่วป่า เมืองพังงา และเมืองภูเก็ต ที่เป็นประโยชน์ข้อสำคัญนั้น คืออำนาจในการปกครองและอำนาจในการเก็บภาษีอากร รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การที่รวมอำนาจเช่นนั้น ถ้าเป็นแต่แลดูเผิน ๆ ดูเหมือนจะเป็นทางให้ราษฎรได้ความเดือนร้อน เพราะเจ้าเมืองจำต้องเงินภาษีอากรส่งพระคลังให้ได้ปีละเท่านั้น ๆ ถ้าเก็บได้มากกว่านั้นขึ้นไปเท่าใดก็เป็นกำไรของเจ้าเมือง ถ้าเก็บได้น้อยไป เจ้าเมืองก็ต้องขาดทุน เจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาราษฎรได้ก็น่าจะเรียกเร่งเอาเงินภาษีอากรให้เกินพิกัดอัตราเพื่อหากำไร แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น ด้วยมีเครื่องป้องกันอยู่ในทางเศรษฐกิจ คือหัวเมืองเหล่านั้นผู้คนพลเมืองมีน้อย แต่มีแร่ดีบุกซึ่งเป็นของมีราคาอยู่ในแผ่นดินมาก จำต้องมีคนมากสำหรับเป็นแรงงานขุดดีบุกขึ้นจำหน่ายจึงจะเกิดผลประโยชน์มาก เจ้าเมืองที่รับทำภาษี

๒๐ ผลประโยชน์ไม่ใช่แต่จำเป็นต้องปกครองเอาใจมิให้ราษฎรในท้องที่ทิ้งถิ่นถานไปอยู่อื่นเท่านั้น ยังต้องพยายามขวนขวายหาคนจากที่อื่นเข้ามาอยู่ในเมืองเพื่อเพิ่มเติมแรงงานสำหรับขุดดีบุกให้มีมากขึ้น อีกประ การ ๑ ถ้ายิ่งมีผู้คนเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้นเพียงใด กำไรของเจ้าเมืองซึ่งพึงได้ในภาษีอากรทั้ง ๕ อย่าง ซึ่งรวมเรียกว่าภาษีผลประโยชน์ก็ยิ่งมากขึ้นเพียงนั้น ความอันนี้เป็นเครื่องป้องกันมิให้เจ้าเมืองกดขี่ราษฎรในเมืองของตนอยู่ในตัว พระยารัตนเศรษฐี ( คอซู้เจียง ) ปกครองทำนุบำรุงเมืองระนองโดยวิธีดังกล่าวมา บ้านเมืองก็มีความเจริญ ส่วนตัวก็มีทรัพย์สมบัติเพิ่มพูนขึ้น ได้ตั้งห้างโกหงวนที่เมืองเกาะหมากสำหรับซื้อขายสินค้าของเมืองระนอง และขยายการทำเหมืองแร่ดีบุกข้ามเขาบรรทัดเข้ามาจนในแดนเมืองหลังสวน ใช้ทุนและกำลังของห้างโกหงวนบำรุงการค้าขายในเมืองหลังสวนเจริญขึ้นอีกเมือง ๑ จึงโปรด ฯ ให้ยกเมืองหลังสวนขึ้นเป็นเมืองจัตวามาขึ้นกรุงเทพ ฯ เหมือนอย่างเมืองระนอง เมื่อพระยารัตนเศรษฐี ( คอซู้เจียง ) ยังเป็นพ่อค้าอยู่ที่เมืองพังงาในรัชชกาลที่ ๓ นั้น ได้หญิงไทยชาวเมืองเป็นภริยา มีบุตรด้วยกัน ๕ คน คนที่ ๑ ชื่อคอซิมเจ่ง ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชชกาลที่ ๔ เป็นที่หลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง แล้วถึงแก่กรรมในตำแหน่งนั้น


๒๑ คนที่ ๒ ชื่อคอซิมก๊อง ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชชกาลที่ ๔ เป็นที่หลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ถึงรัชชกาลที่ ๕ ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระศรีโลหภูมิพิทักษ์และเป็นพระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองระนองแทนบิดา ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร คนที่ ๓ ชื่อคอซิมจั๋ว ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชชกาลที่ ๕ เป็นหลวงศรีสมบัติ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง แล้วถึงแก่กรรม คนที่ ๔ ชื่อคอซิมขิม ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชชกาลที่ ๕ เป็นหลวงแล้วเลื่อนเป็นพระศรีโลหภูมิพิทักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง แล้วได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองตระบุรี ( เป็นตำแหน่งกิตติศักดิ์ ด้วยในชั้นหลังมาเมืองตระจัดลงเป็นอำเภอขึ้นเมืองระนอง ) คนที่ ๕ ชื่อคอซิมเต็ก ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชชกาลที่ ๕ เป็นพระแล้วเลื่อนเป็นพระยาจรูญราชโภคากร ผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน เมื่อพระยารัตนเศรษฐี ( คอซู้เจียง ) ไปอยู่ที่เมืองระนองแล้วมีบุตรเกิดด้วยภรรยาอื่นอีกคน ๑* เป็นที่ ๖ ชื่อคอซิมบี๋ ถวายตัวเป็นมหาด เล็กในรัชชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่หลวงบริรักษโลหวิสัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง แล้วเลื่อนเป็นที่พระอัศดงคตทิศรักษาผู้ว่าราชการเมืองตระบุรี ( เมื่อยังเป็นหัวเมืองจัตวา ) ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ผู้ว่าราชการเมืองตรังแล้วเลื่อนขึ้นเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ตอนที่ ๓ เรื่องตั้งข้าหลวงประจำหัวเมืองฝ่ายตะวันตก

ตั้งแต่รัฐบาลยอมให้เจ้าเมืองรับผูกขาดเก็บภาษีอากรผลประโยชน์ หัวเมืองฝ่ายตะวันตกในรัชชกาลที่ ๔ ดังกล่าวมาในตอนก่อน เมืองพังงา (รวมกับเมืองตะกั่วทุ่ง) ส่งเงินภาษีอากรเข้าพระคลังปีละ ๒๖,๙๖๐ บาท เมืองภูเก็ตปีละ ๑๗,๓๖๐ บาท เมืองตะกั่วป่าปีละ ๒๖,๙๖๐ บาท เมืองระนองปีละ ๔,๗๒๐ บาท ถึงตอนปลายรัชชกาลที่ ๔ ในยุโรปต้องการซื้อดีบุกมากขึ้น ดีบุกก็ขึ้นราคา ผู้ที่ทำเหมืองดีบุกในแหลมมะลายูทั้งในแดนอังกฤษและตามหัวเมืองในแดนไทยพากันได้กำไรรวยมาก ผู้ที่ปรารถนาจะหาผลประโยชน์ในการทำเหมืองดีบุกก็มีมากขึ้น และเมื่อในรัชชกาลที่๔นั้นพ่อค้าจีนอยู่ที่เมืองสิงคโปร์คนคนหนึ่งแซ่ตันชื่อกิมเจ๋ง ประกอบการค้าขายติดต่อกับกรุงเทพฯ ตัวเองก็ได้เข้ามาเฝ้าแหนคุ้น เคยชอบพระราชอัธยาศัยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งให้เป็นที่หลวงพิเทศพาณิชย์ ต่อมา ทรงพระราชดำริว่ารัฐบาลสยามควรจะมีกงสุลคอยดูแลรักษาประโยชน์ของไทยอยู่ที่เมืองสิงค์โปร์ และหลวงพิเทศพาณิชย์ตันกิมเจ๋งเป็นผู้ซึ่งอังกฤษนับถือ จึงโปรดฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระพิเทศพาณิชย์ ตำแหน่งกงสุลสยามณะเมืองสิงคโปร์ พระพิเทศพาณิชย์เป็นพ่อค้าโดยอาชีพ ครั้นเห็นว่าการทำเหมืองดีบุกได้กำไรมากและตนฝากฝ่ายอยู่กับไทย จึงคิดจะเข้ามาทำ


๒๓ เหมืองดีบุกในแดนสยามทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตก เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ เข้ามากรุงเทพ ฯ กราบบังคมทูล ฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอไปตรวจดูเหมืองดีบุกที่เมืองตระบุรีเมืองระนอง เมืองหลังสวน และเมืองตะกั่วป่า ก็โปรด ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามประสงค์ และให้มีข้าหลวงไปด้วย เมื่อไปตรวจดูตลอดท้องที่แล้ว พระพิเทศพาณิชย์ขอพระราชทานทำเหมืองดีบุกที่เมืองตระบุรี ซึ่งยังไม่มีผู้ใดรับทำมาแต่ก่อน ผะเอิญในเวลานั้นเกิดมีข้อวิตกของรัฐบาลขึ้นเนื่องด้วยเมืองตระบุรี เหตุด้วยฝรั่งเศสขุดคลองสุเอสในประเทศอิยิปต์สำเร็จได้พวกฝรั่งเศสก็พากันคิดจะหาที่ขุดคลองทำนองเดียวกันในประเทศอื่นต่อไป มีฝรั่งเศสบางจำพวกคิดจะขุดคลองแต่เมืองตระบุรีมาออกเมืองชุมพรให้เป็นทางใช้เรือกำปั่นจากยุโรปไปถึงเมืองจีนเร็วขึ้นได้หลายวันโดยมิต้องอ้อมแหลมมะลายูไปทางเมืองสิงค์โปร์ ถึงคิดแผนที่และเรียกชื่อว่า "คลองตระ" ความคิดของฝรั่งเศสในเรื่องคลองตระครั้งนั้น เป็นแต่เลื่องลืออื้อฉาว แต่ยังไม่ปรากฎในทางราชการว่ารัฐบาลฝรั่งเศสจะสนับสนุนสักเพียงใด แต่ฝ่ายไทยคิดเห็นได้ว่าถ้าฝรั่งเศสมีอำนาจถึงได้ขุดคลองตระในครั้งนั้นคงจะมีผล ๒ อย่าง คือเสียแดนดินพระราชอาณาเขตต์ทางแหลมมะลายูมิมากก็น้อยอย่าง ๑ เสียประโยชน์การค้าขายของอังกฤษทางเมืองเกาะหมาก และสิงคโปร์ด้วยจะมีเรือไปค้าขายน้อยลงอย่าง ๑ กับแลเห็นความสำคัญในส่วนไทยอีกข้อ ๑ ที่ต้องให้อังกฤษเชื่อว่าไทยมิได้สนับสนุนฝรั่งเศสในเรื่องจะขุดคลองนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ๒๔ พระพิเทศพาณิชย์ทำเหมืองดีบุกที่เมืองตระบุรี จึงทรงตั้งพระพิเทศพาณิชย์ให้เป็นที่พระยาอัษฎงคตทิศรักษา ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตระเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ อันเป็นปีที่สุดแห่งรัชชกาลที่ ๔ นั้น แต่ตัวพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( ตันกิมเจ๋ง ) ก็คงอยู่ที่เมืองสิงค์โปร์และทำราชการเป็นกงสุลสยามอยู่ด้วย เป็นแต่แต่งผู้แทนตัวไปทำเหมืองดีบุกที่เมืองตระบุรี ก็หาสำเร็จผลได้กำไรร่ำรวยเหมืองอย่างเมืองอื่นไม่ ถึงรัชชกาลที่ ๕ เมื่อปีวอก พ.ศ.๒๔๑๕ พระยาอัษฎงคตทิศรักษา (ตันกิมเจ๋ง) เข้ามายื่นเรื่องราวต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บัง คับการหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตกอยู่ในสมัยนั้น ว่าพระยาวิชิตสงครามจางวางว่าราชการเมืองภูเก็ต เก็บภาษีอากรได้เงินเอาเป็นผลประโยชน์ ส่วนตัวเสียเป็นอันมาก คงส่งเงินหลวงแต่ปีละ ๑๗,๓๖๐ บาท พระยาอัษฎงคต ฯ ขอรับผูกขาดเก็บเงินภาษีอากรเมืองภูเก็ต จะประมูลเงินขึ้นปีละ ๒๐๒,๖๔๐ บาท รวมเป็นปีละ ๓๒๐,๐๐๐ บาท การที่พระยาอัษฎงคต ฯ ขอประมูลเงินภาษีอากรเมืองภูเก็ตครั้งนั้น เป็นเหตุข้อสำคัญอัน ๑ ในเรื่องตำนานหัวเมืองฝ่ายตะวันตก รวมทั้งเมืองระนองด้วย ด้วยมีผลทั้งฝ่ายข้างดีและฝ่ายข้างร้ายในเวลาต่อมา คือเมื่อพระยาอัษฎงคต ฯ ยื่นเรื่องราวร้องประมูลนั้น ลักษณะการเก็บภาษีอากรยังใช้วิธีเรียกประมูลอยู่ทั้งในกรุงเทพ ฯ และตามหัวเมือง ที่เจ้าเมืองทางฝ่ายตะวันตกได้มีอำนาจในการเก็บภาษีอากรในเมืองที่ตนปกครอง


๒๕ เป็นด้วยเข้ารับประมูลเป็นเจ้าภาษีในเมืองนั้น ๆ และไม่มีผู้ใดกล้าแย่งประมูลมาแต่ก่อน มิได้เป็นผู้เก็บภาษีโดยเป็นตำแหน่งเจ้าเมือง แต่ส่วนการทำนุบำรุงบ้านเมือง เช่นทำถนนหนทาง หรือให้ผลประโยชน์แก่เจ้าพนักงานรักษาการบ้านเมืองนั้น อยู่ในหน้าที่ส่วนเป็นผู้ว่าราชการเมือง การที่เจ้าเมืองเป็นเจ้าภาษีด้วยได้ใช้เงินกำไรในการปกครองทำนุบำรุงบ้านเมืองไปในตัว มิได้เป็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวอย่างเดียวถ้ายอมรับประมูลของพระยาอัษดงคตฯ อำนาจและผลประโยชน์อันเป็นกำลังของหัวเมืองจะเกิดแยกกัน ฝ่ายพระยาอัษดงคต ฯ เป็นเจ้าภาษีนายอากรเก็บเงินได้เท่าใด เหลือจากส่งหลวงแล้วก็เป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว หาต้องจ่ายใช้ในการทำนุบำรุงบ้านเมืองไม่ ฝ่ายเจ้าเมืองเมื่อมิได้เป็นเจ้าภาษีนายอากรด้วยก็สิ้นทุนที่จะใช้ในการปกครองทำนุบำรุงบ้านเมือง จึงเป็นความลำบากเกิดขึ้น ด้วยพระยาอัษดงคต ฯ รับประมูลเพิ่มเงินผลประโยชน์แผ่นดินขึ้นอีกมากมาย จะไม่รับพิจารณาก็ไม่ได้ แต่ถ้ายอมให้รับประมูลตามปรารถนา ความยุ่งเหยิงระส่ำ ระสายก็จะเกิดขึ้นในเมืองภูเก็ต สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ในเวลานั้น จึงว่ากล่าวเกลี้ยกล่อมพระยาวิชิตสงครามจางวางผู้สำเร็จราชการเมืองภูเก็ตให้รับประมูลเงินภาษีอากรเมืองภูเก็ตสูงกว่าพระยาอัษดงคต ฯ ๑๖,๐๐๐ บาท รวมเป็นปีละ ๓๓๖,๐๐๐ บาท แล้วออกท้องตราตั้งพระยาวิชิตสงครามให้เป็นเจ้าภาษีเมืองภูเก็ตต่อไป ฝ่ายพระยาวิชิตสงครามเห็นว่าตนเสียเปรียบ ๔

๒๖ เจ้าเมืองอื่นในฝ่ายตะวันตกด้วยกันจึงเอาวิธีของพระยาอัษดงคต ฯ มาใช้ ยื่นเรื่องราวขอประมูลภาษีอากรตามหัวเมืองฝ่ายตะวันตกบ้าง คือเมืองระนอง เดิมส่งเงินภาษีอากรเข้าพระคลังปีละ ๔,๗๒๐ บาท ขอประมูลเพิ่มอีก ๙๗,๖๘๐ บาท รวมเป็นปีละ ๑๐๒,๔๐๐ บาท เมืองตะกั่วป่ากับเมืองพังงา เดิมส่งเงินภาษีอากรเข้าพระคลัง ปีหนึ่งเมืองละ ๒๖,๙๖๐ บาท พระยาวิชิตสงครามขอประมูลเพิ่มเมืองละ ๒๙,๐๔๐ บาท รวมเป็นเมืองละ ๕๖,๐๐๐ บาท สมเด็จเจ้าพระยา ฯ เรียกเจ้าเมืองเหล่านั้นมาไต่ถาม ต่างชี้แจงรายได้รายจ่ายให้ทราบ และร้องว่าเหลือกำลังที่จะประมูลเงินเพิ่มขึ้นไป แม้เพียงเท่าที่พระยาวิชิตสงครามร้องประมูลสมเด็จเจ้าพระยา ฯ เห็นจริงด้วย จึงเปรียบเทียบให้ยกภาษีอากรเมืองตะกั่วทุ่ง มารวมกับเมืองตะกั่วป่า แล้วให้พระยาเสนานุชิต (นุช ณนคร) รับประมูลเงินภาษีอากรเพิ่มขึ้นเพียงปีละ ๑๖,๐๐๐ บาท เมืองพังงากับเมืองระนองนั้นเปรียบเทียบให้พระยาบริรักษภูธร (ขำ ณนคร) กับพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) รับประมูลเพิ่มเงินหลวงปีหนึ่งเมืองละ ๘,๐๐๐ บาท แล้วให้เป็นเจ้าภาษีนายอากรต่อไปตามเดิม การที่ประมูลเงินภาษีอากรหัวเมืองฝ่ายตะวันตกขึ้นครั้งนั้น มีการเกิดขึ้นเป็นผล ๒ อย่าง คือ อย่าง ๑ จำนวนเงินหลวงที่จะต้องส่งจากหัวเมืองฝ่ายตะวันตก มายังพระคลังมหาสมบัติมากขึ้นกว่า แต่ก่อนหลาย เท่า ต้องตั้งข้าหลวงให้ออกไปอยู่ประจำที่เมืองภูเก็ต มีหน้าที่ สำหรับเรียกเร่งเงินภาษีอากรให้ส่งทันตามกำหนด แล้วข้าหลวงรวบรวมส่งมายังกรุงเทพ ฯ ลักษณการที่ส่งนั้น ชั้นเดิมให้มีเรือรบออกไป

๒๗ เป็นกำหนดรับเงินพาอ้อมแหลมมะลายูเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ครั้นเมื่อมีแบงก์เข้ามาตั้งในกรุงเทพ ฯ ทำการติดต่อกับรัฐบาล จึงแก้ไขวิธีข้าหลวงส่งเงินนั้นให้ไปส่งที่สาขาของแบงก์ณะเมืองเกาะหมาก และแบงก์ทางกรุงเทพ ฯ นำส่งเงินต่อพระคลัง ฯ เป็นดังนี้ต่อมา ผลอีกอย่าง ๑ นั้น เมื่อเจ้าเมืองต้องส่งเงินหลวงมากขึ้นกว่าแต่ก่อนต่างก็ต้องขวนขวายคิดอ่านจัดการให้เกิดผลประโยชน์ในบ้านเมือง อันเป็นทางที่จะเก็บภาษีอากรได้เงินมากขึ้น ก็ในหัวเมืองเหล่านั้นมีแต่แร่ดีบุกเป็นสิ่งสำคัญซึ่งสามารถจะให้เกิดผลประโยชน์ แต่ว่าจำนวนคนในพื้นเมืองมีน้อยไม่พอการ พวกเจ้าเมืองจึงคิดอ่านชักชวนจีนต่างด้าวเข้ามาทำเหมืองดีบุกให้มากขึ้น ทั้งที่เป็นเฒ่าเก๋นายเหมืองและจีนกุลีกรรมกร เจ้าเมืองไปกู้ยืมเงินพวกพ่อค้าที่เกาะหมากมาทำทุนทดรองให้พวกจีนทำเหมือง แล้วรับซื้อดีบุกส่งไปขายพวกพ่อค้าที่เกาะหมากด้วยในสมัยนั้นยังไม่มีพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ เจ้าเมืองจะให้ใครทำเหมืองดีบุกในอาณาเขตต์ปกครองของตนสักกี่แห่งก็ได้ วิธีจัดการดังกล่าวมาเกิดผลประโยชน์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรงนั้นคือทำดีบุกได้มากขึ้นเงินอากรดีบุกก็ย่อมเพิ่มพูนขึ้น ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อมนั้น คือ มีจีนเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น ฝิ่นและสุราก็จำหน่ายได้มากขึ้น คนเล่นเบี้ยในบ่อนก็มากขึ้น สินค้าเข้าเมืองซึ่งต้องเสียภาษี ๑๐๐ ชัก ๓ ก็มากขึ้น เงินได้จากภาษีอากรเหล่านี้ ซึ่งเจ้าเมืองเป็นผู้ ผูกขาดจากรัฐบาลก็ได้มากขึ้นตามกัน ยังผลประโยชน์ทางอ้อมอีกอย่าง ๑ คือ เกิดมีตึกกว้านร้านเรือนตลาดยี่สานมั่งคั่งขึ้น

๒๘ ในบ้านเมือง ทั้งเกิดการค้าขายอุดหนุนทางอาชีพของพวกราษฎรพลเมืองที่อยู่มาก่อน อาจหาทรัพย์สมบัติได้สมบูรณ์และสะดวกขึ้น เพราะเหตุที่มีจำนวนคนเข้ามาอยู่ในบ้านเมืองทวีขึ้น บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วย แต่ทางข้างเสียก็มี ด้วยการที่จัดบำรุงผลประโยชน์ให้เพิ่มพูน ขึ้นครั้งนั้น เกิดแต่ความคิดของเหล่าเจ้าเมือง ซึ่งมุ่งหมายแต่จะให้ได้ผลประโยชน์ส่งพระคลัง ทั้งเป็นกำไรส่วนของตนให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นประมาณ ไม่ได้คิดถึงทางได้ทางเสียของราชการบ้านเมืองให้ยืดยาวหรือเป็นการรอบคอบ รัฐบาลในกรุงเทพ ฯ ในสมัยนั้นก็ยังไม่รู้การในท้องที่ถ้วนถี่ และยังไม่ได้ คิดที่จะแก้ไขวิธีการปกครองตามหัวเมืองปล่อยให้เจ้าเมืองจัดการบำรุงหาผลประโยชน์โดยอำเพอใจ ก็เกิดทางข้างเสียมีขึ้นแต่แรก ด้วยผลประโยชน์ซึ่งเกิดเพิ่มพูนขึ้นนั้น ไปตก เป็นกำไรของบุคคลแต่บางจำพวก ดังจะพึงเห็นได้ในอธิบายต่อไปนี้ คือ ๑. เจ้าเมืองเป็นอย่างนายธนาคาร และเป็นเจ้าภาษี และเป็นพ่อค้ารับสินค้าเข้าออก กำไรที่ได้ในการเหล่านี้ตกอยู่แก่เจ้าเมือง ๒. พวกเฒ่าเก๋นายเหมืองรับผูกช่วง อากรสุรา ฝิ่น และบ่อนเบี้ย สำหรับบริเวณเหมืองของตน ขุดหาแร่ดีบุกมาขายแก่เจ้าเมือง รับซื้อสินค้าจากเจ้าเมืองไปจำหน่ายเป็นรายย่อยแกพวกกุลีทำเหมือง กำไรในส่วนนี้ได้แก่พวกนายเหมือง ๓. พวกจีนกุลีที่มาจากเมืองจีน ด้วยเห็นแก่ค่าจ้างอัตราสูง ยอมทำสัญญากับเฒ่าเก๋นายเหมือง ว่าจะรับจ้างอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น ๆ ปีเป็นกำหนด ถ้าหลบหนียอมให้เฒ่าเก๋มีอำนาจจับกุมร้องฟ้องมีโทษ

๒๙ ทางอาชญา ถ้าการเป็นไปโดยปกติ พวกจีนกุลีทำเหมืองครบกำหนดเวลาสัญญา ก็จะได้เงินค่าจ้างถึงร่ำรวยกลับไปเมืองจีน ข้อนี้เป็นเครื่องล่อใจให้พวกจีนกุลีสมัครมารับจ้างทำเหมือง แต่การมิได้เป็นปกติแก่จีนกุลีทั่วไป เหตุด้วยมีเครื่องยั่วยวนอันนายเหมืองจัดตั้งขึ้นหากำไรส่วนตัว ในบริเวณเหมือง คือโรงสุราโรงสูบฝิ่นและบ่อนเบี้ย ทั้งรานขายของต่าง ๆ ซึ่งพึงต้องการใช้สรอย เช่น เครื่องนุ่งห่มเป็นต้นก็เป็นของนายเหมืองขาย ตลอดจนเวลาต้องการเงินใช้สรอยจะขอยืมนายเหมืองก็ต้องเสียดอกเบี้ย เพราะมีการเหล่านี้พวกกุลีที่รับจ้างทำเหมืองถึงได้ค่าจ้างแรงก็มีทางที่เสียไปเสียโดยมาก ไม่มีคนใดที่จะเก็บได้เต็มตามคาดหมาย แม้เพียงได้เงินติดตัวพอเป็นกำไรกลับไปบ้านเมืองก็น้อย ที่ทำงานได้ค่าจ้างมาแล้วเสียหมดไปมีมาก ครั้นหลบหนีก็ถูกจับกุมทำโทษจะฟ้องร้องนายเหมืองก็ไม่ได้ ด้วยการที่สูบฝิ่นกินสุราหรือเล่นเบี้ยเสียทรัพย์หมดไปเป็นด้วยใจสมัครของตนเอง เพราะทางเสียมีดังพรรณนามานี้ พวกกุลีที่ทำเหมืองตามหัวเมืองฝ่ายตะวันตกจึงเป็นคนขัดสน มีแต่ตัวกับแรงที่ทำงานอยู่โดยมาก. ตั้งแต่เพิ่มเงินภาษีอากรขึ้นในหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ต่อมาภายใน ๓ ปี มีพวกจีนกุลีซึ่งนายเหมืองดีบุกพาเข้ามาอยู่ในบ้านเมืองก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกมากมาย โดยฉะเพาะที่เมืองภูเก็ตกับเมืองระนองนั้น จนถึงมีจำนวนจีนมากกว่าไทยที่เป็นพลเมืองเดิม ก็การเบียดเบียฬกันในรวางพวกจีนที่ทำเหมืองมีอยู่ดังอธิบายที่กล่าวมาแล้ว พอถึงตรุษจีน ปีชวด พ.ศ.๒๔๑๙ ก็เกิดเหตุขึ้นที่เมืองระนอง ด้วยพวกกุลีกำเริบต่อสู้เจ้าเมือง

๓๐ กรมการจนเกือบจะเสียเมืองระนองในครั้งนั้น เรื่องพิสดารแจ้งอยู่ในใบบอกของพระยารัตนเศรษฐี ( คอชู้เจียง ) มายังกรุงเทพฯ ดังนี้ " ข้าพระพุทธเจ้า พระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนองและกรมการ ขอบอกปรนนิบัติมายังท่านออกพันทนายเวร ขอได้นำขึ้นกราบเรียน ฯ พณ ฯ หัวเจ้าท่านที่สมุหพระกระลาโหม ด้วยที่เมืองระนองข้าพระพุทธเจ้าได้จัดให้คนรักษาด่านทางระมัดระวังบ้านเมืองอยู่ ครั้น ณวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้นค่ำ ๑ ปี ชวด อัฐศก เพลากลางวัน พวกจีนเหมืองใหญ่ซึ่งเป็นหนี้ติดเงินโรงภาษีพระราชทรัพย์ของหลวงคุมพวกเพื่อนประมาณ ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน พากันหนีออกหักด่านทาง พอนรังตะงาว ราชตรูต ช่องไทร แขวงเมืองระนอง แล้วพวกจีนเข้าบุกรุกฟันแทงพวกชาวด่าน ๔ ตำบลสู้รบแก่กัน พวกจีนตายบ้าง พวกไทยตายบ้าง พวกด่านเจ็บป่วยถึงสาหัสหลายคน พวกด่านตะงาวจับตัวพวกจีนได้ ๘ คน กำกับตัวพาเดินทางมาส่งที่เมืองระนอง ครั้นพวกด่านคุมพวกจีน ๘ คนเดินมากลางทางพวกจีนเหมืองเข้ากลุ้มรุมทุบตีฟันแทงพวกด่าน ๆ สู้รบแก่กัน พวกด่านตายบ้างพวกจีนตายบ้าง พวกด่านน้อยตัวสู้รบพวกจีนไม่ได้ ก็พากันแตกหนีแล่นเข้าป่าไป พวกจีนแย่งชิงเอาจีน ๘ คนไปได้ ครั้นณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีชวดอัฐศก พวกจีนคุมพวกประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ คนพากันออกจากโรงเหมืองมาเที่ยวไล่ฆ่าพวกไทยในตลาดเมืองระนอง ฆ่าหลวงมหาดไทยกรมการตายคนหนึ่ง ฆ่าพวกทนายตายคนหนึ่ง ฆ่าพวกด่านน้ำตาย ๒ คน และฆ่าราษฎร

๓๑ ทั้งชายหญิงในเมืองระนองตายประมาณ ๒๑ คน และฆ่าคนที่เดินราชการมาแต่เมืองอื่นตายบ้าง แต่หาทราบว่าตายสักกี่คนไม่ และเที่ยวฆ่าคนตามแขวงอำเภอตายสักกี่คนยังหาได้ตรวจดูไม่ ที่ยังเหลืออยู่พาครอบครัวแล่นหนีซ่อนตัวอยู่ในป่าดงเป็นอันมาก แล้วพวกจีนเอาไฟเผาเรือนราษฎรในแขวงอำเภอเมืองระนอง บางกลาง, บางริม, พอนรัง, ตะงาว, ๔ ตำบล แล้วพวกจีนเหมืองและพวกจีนจรคิดอ่านกันคุมพวกอยู่มาก แล้วแต่งกองออกสะกัดทางบกทางเรือมิให้พวกไทยตามแขวงอำเภอเข้ามาในเมืองระนองได้ แล้วพวกจีนคิดจะเข้าอุกปล้นเอาโรงภาษีพระราชทรัพย์ของหลวง ครั้นข้าพระพุทธเจ้าและกรมการจะจัดคนออกให้ต่อสู้ด้วยพวกจีน ก็เห็นว่าพวกไทยมิน้อยตัว จึงข้าพระพุทธเจ้าและกรมการได้จัดคนป้องกันโรงภาษีพระราชทรัพย์ของหลวงไว้ ครั้นณวันอาทิตย์ เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีชวดอัฐศก พวกจีนเข้าอุกเอาสะเบียงอาหารในฉางที่เมืองระนองได้แล้วพากันเอาเรือของข้าพระพุทธเจ้าและเรือของราษฎรชาวบ้านประมาณ ๙-๑๐ ลำหนีไปทางเมืองตะกั่วป่าเมืองภูเก็ต ประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน แล้วพวกจีนคุมพวกประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน พากันหนีเดินทางบกไปทางปากทรงพะโต๊ะแขวงเมืองหลังสวน การ (ภา) ษาจีนที่เกิดฆ่าฟันษาไทย(๑) ที่เมืองระนองนั้น ก็ค่อยสงบลง แต่ยังไว้ใจไม่ได้ด้วยษาจีนยังมีใจกำเริบอยู่ ข้าพระพุทธเจ้ากรมการก็ยังจัดคนให้ป้องกันโรงภาษีพระราชทรัพย์ของหลวงอยู่ ๓๒ เสมอมิได้ขาด ข้อหนึ่งเมื่อพวกจีนเที่ยวฆ่าพวกษาไทยนั้น ข้าพระพุทธเจ้ากรมการได้มีหนังสือลงวันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีชวดอัฐศกฉะบับ ๑ ลงวันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีชวดอัฐศกฉะนับ ๑ รวม ๒ ฉะบับ คำนับเแจ้งข้อราชการไปยังเจ้าหมื่นเสมอใจราชปริวิเคาน์ซิลกอมมิศเนอข้าหลวงณเมืองภูเก็ตด้วยแล้ว กับข้าพระพุทธเจ้ากรมการมีหนังสือลงวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีชวดอัฐศก แจ้งข้อราชการไปยังพระยาเพ็ชรกำแหงสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองชุมพรฉะบับ ๑ ไปยังพระเพ็ชรคีรีศรีสุรสงคราม พระสวีฉะบับ ๑ ไปยังหลวงปลัดกรมการผู้รักษาเมืองหลังสวนฉะบับ ๑ รวม ๓ ฉะบับ ขอให้ท่านเจ้าเมืองกรมการเมืองชุมพร สวี, เมืองหลังสวน จัดกรมการพาคนไปช่วยข้าพระพุทธเจ้าป้องกันโรงภาษีพระราชทรัพย์ของหลวงที่เมืองระนองด้วย กรมการเมืองชุมพร สวี, เมืองหลังสวน ยังหาพาคนไปถึงเมืองระนองไม่ ข้าพระพุทธเจ้ากรมการขอรับพระราชทานได้โปรดให้ท่านข้าหลวงออกไป ช่วยข้าพระเจ้าป้องกันโรงภาษีพระราชทรัพย์ของหลวงที่เมืองระนองด้วย ควรมิควรสุดแล้วแต่จะโปรด ขอบอกปรนนิบัติมาณวันพุธ เดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีชวดอัฐศก" แต่เวลานั้นมีเรือรบหลวงอยู่ที่เมืองภูเก็ตไปช่วยทัน การที่จีนกุลีกำเริบในเมืองระนองก็สงบลง แต่เมื่อข่าวเรื่องจีนกุลีที่เมืองระนองกำเริบขึ้น ทราบถึงเมืองภูเก็ต (ทำนองจะลือว่าพวกจีนกุลีตีเมืองระนองได้) พวกจีนกุลีที่เมืองภูเก็ตก็พากันกำเริบขึ้นบ้าง เป็นการใหญ่โตกว่าที่เมืองระนอง ด้วยจีนกุลีที่เมืองภูเก็ตมีจำนวนมากกว่าที่เมืองระนองหลายเท่า เรื่องจีนกุลีที่เมืองภูเก็ต กำเริบ ตามจีนกุลีที่เมืองระนองมีแจ้งอยู่ในใบบอก

๓๓ พระยามนตรีสุริยวงศ ( ชุ่ม บุนนาค ) เมื่อยังเป็นที่เจ้าหมื่นเสมอใจราช เป็นข้าหลวงอยู่ณะเมืองภูเก็ต ดังนี้ "ข้าพระพุทธเจ้า เจ้าหมื่นเสมอใจราชปริวิเคาน์ซิล บอกมายังออกพันนายเวร ขอได้นำขึ้นกราบเรียน ฯ พณ ฯ ที่สุมหพระกระลาโหมทราบ ขอพระราชทานนำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยสมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาศรีสุริยวงศมีพระประสาสน์ให้เรือมุรธาวสิทธ์สวัสดิอยู่รักษาเมืองภูเก็ต ให้เรืองสยามมกุฏชัยวิชิตบรรทุกเงินภาษาหัวเมืองเข้ามาส่งกรุงเทพฯ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้กัปตันริชลิว (๑) พาเรือสยามมกุฏชัยวิชิตไปเมืองพังงา รับเงินภาษี เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองพังงา เรือสยามมกุฏชัยวิชิตกลับมาถึงเมืองภูเก็ตณวันจันทร เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ กำหนดเรือสยาม มกุฏชัยวิชิตออกจากเมืองภูเก็ตเข้ามากรุงเทพฯ ณวันจันทร เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ครั้นณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ได้ทราบเกล้า ฯ ว่า จีนที่เมืองระนองเข้ามาที่เมืองภูเก็ตประมาณ ๓๐๐ ตน เที่ยวเรี่ยราย

(๑) กัปตันริชลิวเปนนายทหารเรือเดนมารค เมื่อยังหนุ่มพระเจ้าศรีสเตียนที่ ๙มีพระราชสาส์นฝากรับราชการอยู่ในประเทศสยาม ด้วยมีใจสมัคร์ จึงโปรดให้เปนนายเรือรบสยามมงกุฏชัยวิชิต เวลานั้นออกไปรับราชการอยู่ทางหัวเมืองตะวันตก ภายหลังได้เปนหลวงชลยุทธโยธินทร บังคับการเรือพระที่นั่งเวสาตรี เข้ามารับราชการกรุงเทพ ฯ ได้เลื่อนยศศักดิ์ขึ้นนกรมทหารเรือโดยลำดับ จนได้เปนนายพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ แล้วจึงออกจากราชการเมื่อชรา

๓๔ อาศัยอยู่ตามเหมืองพวกจีนพูดว่าที่เมืองระนองจีนเกิดวิวาทแก่กัน จึ่งข้าพระพุทธเจ้าให้สืบได้ จีนเมืองระนองมา ๓ คน ถามให้การว่าวันจันทร เดือน ๓ แรม ๑๔ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จีนลูกจ้างเมืองระนองคิดค่าจ้างกับจีนนายเหมือง เกิดวิวาทขึ้นถึงยิงแทงกันตาย พวกจีนที่มีความผิดพากันหนี พระยารัตนเศรษฐีให้กักด่านทางจับพวกจีน พวกจีนสู้รบพวกด่าน เอาปืนยิงถูกพวกจีนตาย ๑๑ - ๑๒ คน แล้วพวกจีนพากันกลับมาที่เหมืองชวนเพื่อนคุมกันประมาณคน ๒๐๐ เศษจะสู้รบกับพวกด่านอีก จีน ๓ คน ก็พากันมาเมืองภูเก็ต ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบเกล้า ฯ ดังนี้ จึงให้กับตันไตเกลอพาเรือมุรธาวสิทธิสวัสดิไปฟังเหตุการณ์ที่เมืองระนองแต่ณวันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำเพลาเช้า ครั้นเพลาเที่ยงข้าพระพุทธเจ้าได้รับหนังสือพระยารัตนเศรษฐีลงณวันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีชวดอัฐศกฉะบับ ๑ เพลาบ่าย ๕ โมง หลวงนากรมการเมืองระนองถือหนังสือพระยารัตนเศรษฐีลงวันพุธ เดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีชวดอัฐศก มาถึงข้าพระพุทธเจ้าอีกฉะบับ ๑ ความว่าที่เมืองระนองพระยารัตนเศรษฐีได้จัดให้คนรักษาด่านทางระมัดระวังบ้านเมืองอยู่ ครั้นณวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ค่ำ ๑ ปีชวด อัฐศก เพลากลางวัน พวกจีนเหมืองใหญ่ซึ่งเป็นหนี้โรงภาษี คุมพวกเพื่อนประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ คน พากันหนีหักด่านพอนรัง ด่านตะงาว ด่านช่องไทร ด่านราชตรูด แขวงเมืองระนอง พวกจีนบุกรุกฟันแทง พวกด่าน ๔ ตำบล ๆ ต่อสู้ พวกจีนตายบ้าง พวกด่านตายบ้าง ที่เจ็บลำบากถึงสาหัสก็หลายคน พวกด่านตะงาวจับพวกจีนได้ ๘ คนจะพา ลงมาเมืองระนอง เดินมาถึงกลางทางพวกจีนเหมืองเข้ากลุ้มรุมฟันแทง

๓๕ พวกด่านสู้รบ พวกจีนตายบ้างพวกด่านตายบ้าง พวกจีนแย่งชิงเอาจีน ๘ คนไปได้ ครั้นณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีชวดอัฐศก พวกจีนคุมกันประมาณ ๕๐๐ - ๖๐๐ คนพากันออกจากโรงเหมือง เที่ยวไล่ฆ่าพวกไทยในตลาดเมืองระนอง ฆ่าหลวงมหาดไทยกรมการตายคนหนึ่ง ฆ่าพวกทนายตายคนหนึ่ง ฆ่าพวกด่านน้ำตาย ๒ คน ฆ่าราษฎรชายหญิงในเมืองตายประมาณ ๒๐ คน ฆ่าคนที่เดินราชการมาแต่เมืองอื่นตายบ้าง แต่ยังไม่ทราบว่าตายสักกี่คน คนตามแขวงอำเภอพวกจีนฆ่าตายสักกี่คนยังหาได้ตรวจดูไม่ ที่ยังเหลืออยู่พาครอบครัวหนีเข้าป่าดงไปเป็นอันมาก แล้วพวกจีนเอาไฟเผาบ้านเรือนราษฎรในแขวงเมืองระนอง ๔ ตำบล พวกจีนเหมืองจีนจรคุมกันเป็นอยู่มาก แล้วแต่งกองออกสะกัดทางบกทางเรือ มิให้พวกไทยตามแขวงอำเภอเข้ามาในเมืองระนองได้ พวกจีนคิดจะเข้าปล้นเอาโรงภาษีพระราชทรัพย์ของหลวงพวกไทยซึ่งจะออกต่อสู้น้อยกว่าพวกจีน พระยารัตนเศรษฐีจึงจัดแต่การป้องกันรักษาโรงภาษีพระราชทรัพย์ของหลวงไว้ ครั้นณวันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ พวกจีนเข้าปล้นเอาสะเบียงอาหารที่เมืองระนองได้ แล้วเอาเรือพระยารัตนเศรษฐี เรือราษฎรประมาณ ๙ - ๑๐ ลำ พากันหนีไปทางเมืองภูเก็ต เมืองตะกั่วป่า ประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ คน หนีไปทางบกแขวงหลังสวนประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ คน พวกจีนซึ่งฆ่าฟันพวกไทยนั้นค่อยสงบลง แต่ยังไว้ใจไม่ได้ด้วยพวกจีนยังมีใจกำเริบอยู่ ขอให้เรือรบไปช่วยพระยารัตนเศรษฐี มีความในหนังสือดังนี้


๓๖ ข้าพระพุทธเจ้าซักถามหลวงนากรมการเมืองระนองซึ่งถือหนังสือมาให้การว่าพระยารัตนเศรษฐีกวาดหาคนในแขวงเมืองระนองได้มาเข้าค่ายรักษาบ้านพระยารัตนเศรษฐีประมาณ ๓๐๐ คน ปืนใหญ่กระสุน ๕ นิ้ว ๖ นิ้ว มีอยู่ ๒๐ กระบอก ปีนเล็กมีอยู่ประมาณ ๒๐๐ กระบอก กระสุนดินดำไม่ทราบว่าจะมีสักเท่าไร จีนที่เมืองระนองประมาณคน ๓๐๐๐ เศษ แต่ที่คิดกำเริบนั้นจะมีสัก ๒๐๐๐ คน พระยารัตนเศรษฐีได้มีหนังสือไปถึงเมืองสวี เมืองชุมพร เมืองหลังสวน ขอให้ยกคนมาช่วย คนถือหนังสือไปตั้งแต่ณวันเดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ ๗ ค่ำ คนหัวเมืองยังหายกมาถึงไม ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่าคนไทยในเมืองระนองน้อยกว่าพวกจีนมาก เกลือกการที่เป็นจะไม่สงบเรียบร้อย จึงให้เรือสยามมกุฏชัยวิชิตรอฟังราชการอยู่ก่อน ครั้นวันอาทิตย เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีชวดอัฐศก กะลาสีเรือสยามมกุฏชัยวิชิตขึ้ตมาบนเมืองภูเก็ต เพลาบ่าย ๕ โมง จีนเอียวอั้นเยิ้ยนมาแจ้งความว่า กะลาสีเรือรบขึ้นมาตลาดเมากลัวจะวิวาทกับพวกจีนในตลาด จึ่งข้าพระพุทธเจ้าให้โปลิศออกไปเอาตัวกะลาสี โปลิศกลับมาแจ้งว่ากะลาสีกลับไปเรือรบเสียแล้ว เวลาทุ่มเศษนายหมัศยายอุ่มแขกกะลาสีเรือรบสยามมกุฏชัยวิชิต มาแจ้งความแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า เพลาพลบค่ำนายหมัศนายอุ่มพากันไปตลาดถนนทางวัดมงคลนิมิตร จะซื้อหมากพลูที่ร้านจีน ครู่หนึ่งได้ยินเสียงจีนอึงขึ้น นายหมัศ นายอุ่ม เห็นจีนถือเครื่องศัสตราวุธไม้ตะบองไม้คานกลุ้มรุมเข้ามาตีถูกนายหมัศนายอุ่มมีบาดแผลหลายแห่ง ข้าพระพุทธเจ้าให้กรมการทำกระทงพิจารณาบาดแผลไว้แล้ว ให้มิศเตอรเวเบอนายทหาร

๓๗ โปลิศไปสืบจับพวกจีนซึ่งตีกะลาสี มิศเตอรเวเบอนายทหารโปลิศจับได้จีนตันหงิมพวกตั้นแจหนึ่ง จีนอึงเหียบพวกล้าอัวหนึ่ง มาส่งข้าพระพุทธเจ้า ๆ สั่งให้เกาะตัวไว้ที่ออฟฟิศก่อนพรุ่งนี้จึงจะชำระ ข้าพระพุทธเจ้าให้พระพิมลสมบัติพานายหมัศนายอุ่มไปแจ้งแก่พระยาวิชิตสงครามจางวาง ทันใดนั้นพวกจีนคุมกันประมาณ ๓๐๐ คนเศษ ถือเครื่องศัสตราวุธพากันเดินมาตามตลาด พบขุนจำนงพวกจีนไล่ฟังแทงถูกขุนจำหนง ๕ แห่ง เจ็บถึงสาหัสแทบบรรดาตาย แล้วพวกจีนพากันจะเข้ามาแย่งชิงเอาจีน ๒ คนซึ่งเกาะไว้ที่ออฟฟิศ จีนอองขิวซึ่งเป็นที่หลวงประเทศจีนารักษ์มาแจ้งว่า พวกจีนคุมกันกำเริบเห็นจะห้ามไม่หยุด พระยาวิชิตสงครามให้มาแจ้งแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ปล่อยจีน ๒ คนออกไปเสียก่อน ข้าพระพุทธเจ้าให้พระพิมลสมบัติกลับไปแจ้งแก่พระยาวิชิตสงคราม ว่าจีน ๒ คนซึ่งเกาะมาไว้ก็ไม่ได้จัดทำโทษอะไร เป็นแต่เกาะตัวไว้จะชำระ ถ้าปล่อยจีน ๒ คนให้กับพวกจีนเห็นว่าจะเสียอำนาจแผ่นดินไป เมือพระยาวิชิตสงครามเห็นว่าปล่อยจีน ๒ คนไปให้กับพวกจีน จะไม่เป็นที่เสียอำนาจแผ่นดินแล้ว สุดแต่พระยาวิชิตสงคราม ข้าพระพุทธเจ้าให้เอาตัวจีน ๒ คนไปมอบไว้ที่พระยาวิชิตสงคราม ๆ ปล่อยจีน ๒ คนให้จีนอองขิวซึ่งเป็นที่หลวงประเทศจีนารักษ์จีนตัวแทนคิวรับตัวออกไป ครู่หนึ่งจีนสาฮีมาแจ้งว่าพวกจีนคุมกันกลับขึ้นไปรื้อโรงโปลิศที่ท้ายตลาดทางไปกะทู พระยาภูเก็ต(๑) มาแจ้งแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่าพวกจีนกำเริบไม่หยุด พระยาวิชิตสงครามสั่งให้พระยา

(๑) พระยาภูเก็ตชื่อลำดวน เปนบุตรพระยาวิชิตสงคราม ๓๘ ภูเก็ตเตรียมปืน พูดเท่านั้นแล้วพระยาภูเก็ตก็กลับไป ราษฎรเห็นพวกจีนกำเริบก็พากันแตกตื่นทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่าดงไปมาก ทันใดนั้น พวกจีนยกพวกถือธงพร้อมด้วยเครื่องศัสตราวุธพากันลงมาทางท่าเรือสามกองพวก ๑ ทางกู้กูพวก ๑ ทางกะทูท่าแครงพวก ๑ ประมาณ ๒๐๐๐ เศษ พวกจีนพากันปล้นแย่งชิงของตามบ้านเรือนกรมการราษฎรแล้วเอาไฟเผาบ้านหลวงภิรมย์ บ้านพระยกกระบัตร บ้านพระพิพิธสมบัติ เผาบ้านเรือนราษฎรซึ่งอพยพหลายตำบล ข้าพระพุทธเจ้าให้ขับต้อนคน ซึ่งอพยพได้มา ๗๓ คน กับทหารโปลิศซึ่งอยู่รักษาเมือง ๑๐๐ คน รวม ๑๗๓ คน จัดให้ไปรักษาบ้านพระยาวิชิตสงครามบ้าง อยู่รักษาที่ออฟฟิศบ้าง ข้าพระพุทธเจ้าให้ถอดคนโทษออกประจำรักษาหน้าที่ ให้พระภักดีสงครามปลัด หลวงนรินทร ออกรักษารอบนอก ให้พระยศภักดียกกระบัตรรักษาข้างใน ให้หลวงอินทร หลวงนาตรวจหน้าที่ ข้าพระพุทธเจ้าเขียนหนังสือในเพลา ๒ ยาม ให้คนโทษถือไปถึงพระยาถลางให้เกณฑ์คนยกมาช่วยฉะบับ ๑ ถึงพระยาบริรักษภูธรเมืองพังงา ให้ยกคนมาช่วยฉะบับ ๑ เรียกทหารเรือรบขึ้นมารักษาบนเมือง ฉะบับ ๑ แล้วข้าพระพุทธเจ้าให้เขียนตั๋วจีนเรียกหัวหน้าได้ตัวเข้ามาในออฟฟิศ จีนอองขิวซึ่งเป็นที่หลวงประเทศจีนารักษ์หัวหน้าพวกแซ่ ออง ๑ จีนตันเชาซึ่งเป็นที่หลวงพิทักษ์จีนประชา ๑ จีนตันแทนคิว หัวหน้าพวกตันแจ ๑ จีนตันว้านแห่งซึ่งเป็นที่หลวงวิเศษจีนนิกร ๑ จีนตันเหียนหัวหน้าพวกแซ่ตัน ๑ จีนตันบักสัว ๑ จีนตันเลี้ยง ๑ จีนลิมซวนหัวหน้าพวกแปฮาง ๑ จีนเอียวอันเยียน ๑ จีนเอียวแช่งลอง ๑


๓๙ หัวหน้าพวกแซ่เอียวรวม ๑๐ คน เข้ามาถึงออฟฟิศเพลา ๘ ทุ่มเศษ ข้าพระพุทธเจ้าปรึกษาว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เรือรบและข้าหลวงออกมาประจำรักษาเมืองภูเก็ต เพราะมีพระราชประสงค์จะทำนุบำรุงบ้านเมืองและราษฎรลูกค้าให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วกัน อย่าให้เกิดเหตุการสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ กะลาสีเรือรบวิวาทกับพวกจีนเป็นแต่ความเล็กน้อยไม่ควรพวกจีนจะกำเริบก่อถ้อยความให้โตใหญ่ขึ้น จีนหัวหน้าก็มีบุตรภรรยาตั้งตึกร้านค้าขายมีผลประโยชน์อยู่ในเมืองภูเก็ตก็มาก แล้วก็ได้ทรงพระกรุณาชุบเกล้า ฯ ตั้งให้มียศบรรดาศักดิ์เป็นปลัดจีน อำเภอจีนสำหรับจะได้ระงับถ้อยความเหตุการณ์ต่าง ๆ ควรที่จีนหัวหน้าจะคิดถึงพระเดชพระคุณช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมือง ระงับพวกจีนชั่วร้ายอย่าให้กำเริบขึ้นได้จึงจะชอบ จีนหัวหน้าเหตุเกิดขึ้นในเวลากลางคืนยังไม่ทราบว่าจีนพวกไหนแน่ ข้าพระพุทธเจ้าจะให้จีนหัวหน้าทำเป็นประการใด จะขอทำตาม ข้าพระพุทธเจ้าจึงให้จีนหัวหน้าเขียนตั๋วออกไปห้ามพวกจีนตามกงสีตามแซ่ ที่พากันยกลงมาให้เลิกกลับขึ้นไป ถ้ามีความเกี่ยวข้อประการใดก็ให้ออกมาว่า กล่าวจะได้พร้อมด้วยจีนหัวหน้าชำระตัดสินให้ พวกจีนหัวหน้าพร้อมกันที่ออฟฟิศเขียนตั๋วในเวลานั้น ออกไปห้ามตามพวกกงสีตามแซ่ พวกจีนกงสีตามแซ่ได้รับตั๋วทราบแล้วก็พากันกลับไป ข้าพระพุทธเจ้าให้จีนหัวหน้าคุมพวกจีนแยกกองออกเป็น ๕ กอง รักษาตลาดกอง ๑ รักษาต้นทางท่าเรือกอง ๑ รักษาต้นทางไปกะทูท่าแครงกอง ๑ รักษาทางตรอกตลาดกอง ๑ รักษาทางปากน้ำกอง ๑ ครั้นเพลา ๑๐ ทุ่มกัปตันรีเจลิวพาทหารกระลาสีเรือ

๔๐ สยามมงกุฎพิชัยวิชิตขึ้นมาบนเมือง ๑๐๐ คน รุ่งขึ้นณวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลา ๕ โมงเช้า เรือมรุธาวสิทธิสวัสดิ์ซึ่งไปฟังราชการเมืองระนองกลับมาถึงเมืองภูเก็ต กัปตันไตเกลอพาทหารขึ้นมาบนเมือง ๒๐ คน ข้าพระพุทธเจ้าได้รับหนังสือพระยารัตนเศรษฐีลงวันเสาร์เดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีชวดอัฐศกฉะบับ ๑ ประทับตรากรมการ ๑๑ รายชื่อใจความว่าพวกจีนยังกำเริบอยู่ ขอให้เรือรบกลับไปเมืองระนองอีกสักครั้งหนึ่งก่อน ในเวลานั้นที่เมืองภูเก็ต พวกจีนโจรยังลอบเผาบ้านเรือนของราษฎรฆ่าฟันกัน แต่ยังไม่ทราบว่าไทยจีนจะตายสักเท่าใด พวกจีนหัวหน้าพวกจีนต้นแซ่รวม ๕๐ นาย พากันเข้ามาที่ออฟฟิศปรึกษาพร้อมกันทำหนังสือสัญญาไว้ต่อข้าพระพุทธเจ้า และพระยาวิชิตสงครามจางวาง ใจความว่าพวกจีนหัวหน้าซึ่งเป็นต้นแซ่จะกำชับพวกจีนตามแซ่มิให้เที่ยวปล้นชิงเผาบ้านเรือนทำอันตรายแก่คนฝ่ายไทย และจะห้ามพวกจีนมิให้ถือเครื่องศัสตราวุธเข้ามาในเมือง จีนผู้ใดไม่ฟังจะเอาปืนยิง ถ้าถูกตายจะตรวจดูว่าคนที่ตายนั้นเป็นแซ่ไหนแน่แล้ว จะปรับไหมจีนหัวหน้าต้นแซ่นั้นให้กับผู้ตาย ณวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ข้าพระพุทธเจ้าให้กัปตันไตเกลอพาเรือมรุธาวสิทธิสวัสดิ์ ถือหนังสือไปถึงเจ้าพระยาไทรบุรี ขอคนมาช่วยรักษาเมืองภูเก็ต และได้เขียนหนังสือถึงกรแนนแอนเซนแลบเตอแนล เกาวนาปีนัง ความว่าพวกจีนเมืองระนอง เมืองภูเก็ต เกิดวิวาทกันขึ้นกับพวกคนไทย ขอให้แลบเตอแนลเกาวนาห้ามปืนกะสุนดินดำ อย่าให้ลูกค้าบรรทุกเข้ามาขายในเมืองไทย แล้วได้สั่งให้กัปตันไตเกลอซื้อกัศริสปัสตันปืน

๔๑ สไนเดอเข้ามาใช้สำหรับเมืองภูเก็ตด้วย รุ่งขึ้นณวันพฤหัสบดีเดือน ๔ แรมค่ำ ๑ พระพลสงครามเมืองถลางให้ขุนหมื่นลงมาแจ้งแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า พระยาถลางเกณฑ์ไพร่ ๘๕ คน ให้พระพลสงครามคุมมาแต่วันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ครั้นมาถึงท่าเรือทราบว่าพวกจีนตั้งกองกักด่านทางไม่ให้คนไทยไปมาได้ พระพลสงครามจะพาไพร่ฝ่าพวกจีนมาเกรงจะเกิดความวิวาทขึ้น พระพลสงครามจึงรออยู่ที่บ้านริพร ข้าพระพุทธเจ้ากับพระยาวิชิตสงครามจึงให้จีนลิมเถขึ้นไปรับพระพลสงครามคุมไพร่ลงมาถึงเมืองภูเก็ตณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ พระบริสุทธิโลหภูมินทรผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วทุ่งคุมขุนหมื่นนายไพร่ รวม ๑๐๐ คน มาถึงเมืองภูเก็ตณวันศุกร์อาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๓ ค่ำ พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ประสิทธิสงดงามผู้ว่าราชการเมืองถาง คุมขุนหมื่นนายไพร่ รวม ๒๐๐ คน ในมาถึงเมืองภูเก็ตณวันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ เมืองพังงาพระยาบริรักษ์ภูธรผู้ว่าราชการเมืองพังงา แต่งให้พระณรงค์ชลธี หลวงสัสดี คุมขุนหมื่นนายไพร่รวม ๑๐๐ คนมาถึงเมืองภูเก็ตณวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๖ ค่ำ เมืองไทร เจ้าพระยาไทรบุรี แต่งให้ตนกูสะมาแอ ตนกูมุสา หวันอาหวัง คุมแขกไพร่ ๓๓๕ คน มาด้วยเรือมุรธาวสิทธ์สวัสดิ์ ถึงเมืองภูเก็ตณวันอังคารเดือน ๔ แรม ๗ ค่ำ เจ้าพระยาไทรบุรีมีหนังสือไปถึงข้าพระพุทธเจ้าว่าเจ้าพระยาไทรบุรียัง กวาดหาคนให้เรือสติมลอนบรรทุกเพิ่มเติมมาครั้งหลังอีก ๑๖๕ คน คนหัวเมืองยกมาถึงเมืองภูเก็ตแล้ว ๘๑๕ คน คน ๖

๔๒ เมืองภูเก็ต ๓๗๓ คน ทหารเรือรบ ๑๒๐ คน รวม ๑๓๐๘ คน และกับตันไตเกลอแจ้งว่ากัศริสปัสตันปีนสไนเดอจัดซอที่เมืองเกาะหมากไม่ได้กรแนนแอนเสลยอมให้ยืมของคอเวอแมนต์มาใช้พลางก่อน ๔๐๐๐ ปัสตัน และที่อำเภอฉลองแขวงเมืองภูเก็ต พวกไทยพวกแขกแตกหนีเข้าป่าพาครอบครัวประชุมกันอยู่ ชายฉกรรจ์ประมาณ ๑๕๐ คน พวกจีนคุมกัน ๒๐๐ - ๓๐๐ คนจะไปปล้นเผาบ้านเรือนไทยแขกต่อไปอีก พวกไทยพวกแขกสู้รบกับพวกจีนแตกถอยมา พวกไทยพวกแขกเอาไฟเผาทับโรงจีนที่อำเภอฉลองประมาณ ๔๐ - ๕๐ โรง พวกจีนกับพวกไทยแขกสู้รบกันมาถึงณวันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๓ ค่ำ (๑) ข้าพระพุทธเจ้า และพระยาวิชิตสงครามให้กรมการจีนหัวหน้าขึ้นไปห้ามปรามพวกไทยจีนทั้งสองฝ่ายค่อยหยุดลง แต่พวกไทยจีนซึ่งผูกใจเจ็บแค้นแก่กันยังคุมพวกละ ๔ - ๕ คน ลอบกระทำร้ายแก่กันตามดงป่าแขวงอำเภออยู่บ้าง พวกจีนคนร้ายเห็นกองทัพมาพร้อมกันก็มีความกลัว พากันหนีออกจากบ้านเมืองบ้าง การเหมืองแร่ดีบุกได้ลงมือทำการเป็นปกติแล้วบ้างก็มี ที่ยังหวาดหวั่นอยู่มิได้ลงทำการเหมืองแร่ก็มี ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า การที่เมืองภูเก็ตถ้าไม่จัดเสียให้เรียบร้อย พวกพ่อค้า ซึ่งตั้งทำมาค้าขายและราษฎรไทยแขกเห็นไม่อาจอยู่ คงจะพากันอพยพออกจากบ้านเมืองไปอยู่เมืองอื่นเสียโดยมาก และหนังสือพระยา

(๑) การที่ชาวเมืองสู้รบจีนที่อำเภอฉลองครั้งนั้น ด้วยได้เจ้าอธิการวัดฉลองซึ่งนับถือกันว่าเปนผู้มีวิทยาคมขลังคุ้มครอง เมื่อเสร็จการปราบจีนแล้ว โปรด ฯ ให้ตั้งพระอธิการนั้นเปนพระครูวิสุทธิวงศาจารย์

๔๓ รัตนเศรษฐีซึ่งมีมาถึงข้าพระพุทธเจ้า ว่าด้วยจีนที่เมืองระนองกำเริบนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้คัดสำเนาหนังสือฉะบับที่ ๑ ฉะบับที่ ๒ ฉะบับที่ ๓ ใส่มาในซองนี้ด้วยแล้ว ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ บอกมาณวันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๙ ค่ำ ปีชวดอัฐศก" การปราบปรามพวกจีนกุลีที่เมืองภูเก็ต ถึงต้องเกณฑ์กำลังต่างเมืองไปช่วยคล้ายกับเป็นการสงคราม จึงปราบปรามลงได้ แต่นั้นรัฐบาลก็จัดวางการป้องกัน คือให้เพิ่มเติมกำลังโปลิศและทหารอยู่ประจำเป็นต้น ก็มิได้มีเหตุเช่นนั้นขึ้นอีก. เมื่อก่อนที่จะเกิดเหตุเรื่องจีนกุลีกำเริบที่เมืองระนอง พระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) มีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูล ฯ ว่ามีความแก่ชราลงมากแล้ว ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาไปเมืองจีน เพื่อไปบำเพ็ญการกุศลที่บ้านเดิมสักครั้งหนึ่ง ได้พระราชทานพระบรมราชา นุญาตให้ไปตามประสงค์ พอพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) กลับมาจากเมืองจีนไม่ช้านักก็เกิดเหตุพวกจีนกุลีกำเริบ ครั้นเมื่อปราบปรามเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) แก่ชรา จึงพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ตำแหน่งจางวางผู้กำกับราชการเมืองระนอง และทรงตั้งพระศรีโลหภูมิพิทักษ์ (คอซิมก๊อง) ซึ่งเป็นบุตรคนใหญ่และเป็นตำแหน่งผู้ช่วยราชการอยู่ในเวลานั้น เป็นพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐ มีสำเนาตราพระคชสีห์ นำเมือง ดังนี้ ๔๔ ตราตั้งพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี สาตรา ท่านเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ สมุหพระกระลาโหม มาถึงพระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองระนอง ด้วยพระยารัตนเศรษฐีคนเก่า เข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการที่จีนเกิดกบฏณเมืองระนอง ตั้งแต่เกิดขึ้นจนข้าหลวงผู้มีอำนาจและทหารไปด้วยเรือรบกลไฟชื่อมุระธาวสิตสวัสดี พร้อมด้วยผู้ว่าราชการเมืองกรมการชำระตัดสินทำโทษตามโทษานุโทษเสร็จ บ้านเมืองเรียบร้อยเป็นปกติ ได้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาททุกประการแล้ว มีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ทรงพระมหากรุณาตั้งให้พระยารัตนเศรษฐี เป็นผู้ว่าราชการเมืองระนองรักษาพระราชอาณาเขตต์ ทำนุบำรุงบุตร์หลานกรมการไพร่บ้านพลเมืองลูกค้าวาณิชได้ทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุข พระยารัตนเศรษฐีได้รับทำภาษีผลประโยชน์ ซึ่งเกิดขึ้นในบ้านเมืองทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายก็มาก ถึงงวดถึงปีบอกส่งเข้ามาณกรุงเทพมหานครมิได้ตกค้าง ทรงพระราชดำริเห็นว่า พระยารัตนเศรษฐีเป็นผู้ว่าราชการเมืองมาช้านานจนแก่เฒ่าชรา จะว่าราชการบ้านเมืองก็เป็นความลำบากแก่ตัว พระยารัตนเศรษฐีมาก ได้พระราชทานสัญญาบัตร์ตั้งให้พระศรีโลหภูมิ

๔๕ พิพักษ์ผู้ช่วยราชการซึ่งเป็นบุตรผู้ใหญ่ เป็นที่พระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองให้สืบตระกูลโดยมีความชอบในราชการแผ่นดิน จะเพิ่มยศขนให้เป็นพระยาจางวาง ก็พอกราบถวายบังคมลาไปเมืองจีนการจึ่งได้ค้างอยู่ ครั้นนี้จึนเกิดกบฏขึ้นณเมืองระนอง กรุงเทพมหานครก็แต่งข้าหลวงมีอำนาจคุมทหารปืนใหญ่เล็กและเกณฑ์กองทัพหัวเมืองมาช่วยระงับปราบปราม พระยารัตนเศรษฐีกลับมาแต่เมืองจีนถึงเมืองระนองทันราชการ ได้ช่วยข้าหลวงทหารปืนใหญ่เล็ก และกองทัพหัวเมืองปราบปรามทำโทษจีนคนชั่วราบคาบ บ้านเมืองจึงเรียบร้อยได้โดยเร็ว พระยารัตนเศรษฐีมีความชอบในราชการแผ่นดิน จิงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานสัญญาบัตร์ เลื่อนยศพระยารัตนเศรษฐีขึ้นเป็น พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวางกำกับราชการเมืองระนอง ถือศักดินา ๓๐๐๐ พระราชทานโต๊ะทองคำใหญ่ ๑ คนโททองคำ ๑ กะโถนทอง ๑ สัปทนบัศตูแดง ๑ เป็นเครื่องยศกับเสอผ้าตามบรรดาศักดิ์ ออกมาทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ พร้อมด้วยพระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองกรมการ แล้วให้พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวางเอาเครื่องยศเดิมสำหรับที่พระยารัตนเศรษฐีนั้นพระราชทานให้แก่พระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองเป็นเกียรติยศสืบไป ให้พระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองกรมการฟังบังคับบัญชาพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวาง ถ้ามีราชการเกิดขึ้นแก่บ้านเมือง

๔๖ ประการใด ให้พระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองกรมการปรึกษาหารือพระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดีจางวางตามซึ่งเห็นพร้อมชอบด้วยราชการ อย่าถือเปรียบแก่งแย่งให้เสียราชการไปแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อนึ่งถ้าถึงกำหนดงวดกำหนดปีส่งเงินภาษีอากร ณเมืองระนองเมื่อใด ก็ให้พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวาง พร้อมด้วยพระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองกรมการ รวบรวมเงินภาษีอากรเข้าหีบปิดตราประจำครั่ง แต่งกรมการคุมเข้ามาส่งณกรุงเทพมหานคร อย่าให้เงินภาษีอากรค้างล่วงงวดล่วงปีไปได้ อนึ่งถ้าถึงเทศกาลพระราชพิธีตรุษสารท ก็ให้พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวาง ไปพร้อมด้วยพระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองกรมการณพระอารามตามเคย จำเพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พรสงฆเจ้า ป่ายหน้าต่อกรุงเทพมหานคร กราบถวายบังคมต่อใต้ฝ่าละอองะลีพระบาท ทำสัตยานุสัตย์ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ แล้วรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาปี ละ ๒ ครั้ง อย่าให้ขาดได้ อนึ่งให้พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวาง กำชับห้ามปรามบุตรหลานเสมียนทนายบ่าวไพร่ข้าทาสสมกำลัง อย่าให้คบหากันสูบฝิ่นกินฝิ่นซื้อฝิ่นขายฝิ่น และเป็นโจรผู้ร้ายปล้นสดมภ์ลักช้างม้าโคกระบือ ตัดพกฉกชิงวิ่งราวฉ้อตระบัตเอาพัสดุทองเงินเครื่องอัญมณี ของสมณะ


๔๗ ชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร ไพร่บ้านพลเมืองลูกค้าวาณิชทางบกทางเรือให้ได้ความเดือดร้อนแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ครั้นลุสารตรานี้ไซ้ ให้พระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองกรมการจำลองลอกเอาท้องตราตั้งนี้ไว้ แล้วประทวนส่งต้นตราตั้งและตราจำนำสำหรับที่บัญชีจำนวนเลขสำหรับเมือง ให้แก่พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวางเข้ารับราชการตามตำแหน่งสืบไป สารตรามาณวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๖ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๓๙ ปีฉลูนพศก ตรารูปมนุษย์ถือสมุดประจำครั่ง ตราพระคชสีห์น้อยประจำผนึก

สำเนาตราตั้งพระศรีโลหภูมิพิทักษ์ (คอซิมก๊อง) เป็นพระยารัตนเศรษฐี สารตรา ท่านเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีอภัยพิริยปรากรมพาหุ สมุหพระกระลาโหม มาถึงหลวงปลัด หลวงมหาดไทย หลวงศักดิศรีสมบัติผู้ว่าราชการ กรมการอยู่รักษาเมืองระนอง ด้วยพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง ทำเรื่องราวให้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระยารัตนเศรษฐีแก่ชราอายุ ๗๘ ปี ขอลาออกนอกราชการ กราบถวายบังคมลาไปเมืองจีนทำบุญให้บิดามารดาญาติพี่น้องสักครั้งหนึ่ง ขอให้พระศรีโลหภูมิผู้ช่วยราชการว่าราชการบ้านเมืองต่อไป จึงมีพระบรมราชโองการมาณพระบัญฑูรสุรสิงหนาท


๔๘ ดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมว่า พระศรีโลหภูมิผู้ช่วยราชการเป็นบุตรใหญ่ (พระยารัตนเศรษฐี) ได้ทำราชการสนองพระเดชพระคุณช่วยพระยารัตนเศรษฐีรักษาบ้างเมืองมาช้านาน หามีระแวงในราชการแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ ใจคอมั่นคงสมควรเป็นผู้ใหญ่รักษาบ้านเมืองได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามสัญญาบัตรให้พระศรีโลหภูมิผู้ช่วยราชการ เป็นที่พระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองระนอง ถือศักดินา ๓๐๐๐ ไร่ พระราชทานสัปทนคัน ๑ ลูกประคำปล่ำทองสาย ๑ โต๊ะทองคำ ๑ กะโถนทองคำ ๑ กาทองคำ ๑ กระบี่บั้นทองคำ ๑ หมวกตุ้มปี่ทรงประพาส ๑ เสื้อทรงประพาสตัว ๑ เสื้อมังกร ๔ เล็บตัว ๑ เสื้อเข็มขาบริ้วดีตัว ๑ ผู้ปูมเขมรผืน ๑ ผ้าแพรขาวผืน ๑ เป็นเครื่องยศออกมาทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบต่อไป ให้หลวงปลัด หลวงมหาดไทย หลวงศักดิศรีสมบัติผู้ช่วยราชการกรมการ นายกองบอกส่วยอากรเมืองระนอง ฟังบังคับบัญชาพระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมือง แต่ซึ่งชอบด้วยราชการตามอย่างตามธรรมเนียมสืบมาแต่ก่อน อย่าให้ถือเปรียบแก่งแย่งให้เสียราชการไปแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ ให้พระยารัตนเศรษฐีมีน้ำใจโอบอ้อมทำนุบำรุงญาติพี่น้องในวงศ์ตระกูลและกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อยไพร่บ้านพลเมืองลูกค้าวาณิชให้ได้ความสุขสะบาย ให้บ้านเมืองเจริญบิรบูรณ์ขึ้นจะได้เป็นความชอบสืบไป อนึ่งถึงเทศกาลพระราชพิธีตรุษสารทก็ให้พระยารัตนเศรษฐี พร้อมด้วย


๔๙ ญาติพี่น้องแลกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อยไปณพระอารามตามเคยฉะเพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า บ่ายหน้าต่อ กรุงเทพพระมหานครกราบถวายบังคมต่อใต้ฝ่าละออกธุลีพระบาท ทำสัตยานุสัตย์ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ แล้วรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาปีละ ๒ ครั้ง ตามอย่างธรรมเนียมจงทุกปีอย่าให้ขาดได้ มีพระราชโอวาทสำหรับที่ผู้ว่าราชการเมือง ประทับตราพระคชสีห์ออกมาด้วยฉะบับ ๑ ความแจ้งทุกประการแล้ว สารตรามาณวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีระกา เบ็ญจศก ตรารูปมนุษย์ถือดาบประจำครั่ง ตราพระคชสีห์น้อยประจำผนึก ตั้งแต่ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองแล้ว พระยาดำรงสุจริตก็คิดจัดแบ่งการค้าขายที่เคยทำให้แก่บุตร คือในบรรดาการที่เมืองระนองมอบให้พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) การที่ห้างโกหงวน ณเมองเกาะหมากมอบแก่หลวงศรีโลหภูมิพิทักษ (คอซิมขิม) การที่เมืองหลังสวนมอบให้พระจรูญราชโภคคากร ( คอซิมเต๊ก ) และส่งนายคอซิมบี๋บุตรคนเล็กให้ไปเล่าเรียนที่เมืองจีน ตัวเองเป็นแต่ผู้ตรวจตราดูแล นอกจากนี้คิดทำพินัยกรรมสั่งให้ผู้รับมฤดกรวมทรัพย์ที่ได้รับมฤดกนั้นเป็นทุนในห้างโกหงวน ทำการค้าขายหาผลประโยชน์ไป ๗


๕๐ ด้วยกัน ตลอดเวลานับตั้งแต่พระยาดำรงสุจริต ฯ (คอซู้เจียง) ถึงอนิจกรรมไปอีก ๓๐ ปี จึงให้แบ่งทรัพย์มฤดกแยกกันไปได้ พระยาดำรงสุจริต (คอซู้เจียง) อยู่มาจนปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕ จึงถึงอนิจกรรม เมื่ออายุได้ ๘๖ ปี เมื่อพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ถึงอนิจกรรมแล้ว นายคอซิมบิ๋ซึ่งบิดาส่งให้ไปเล่าเรียนที่เมืองจีนนั้นเสร็จการศึกษากลับมา พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) ผู้พี่นำถวายตัวเป็นมหาดเล็กพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นหลวงบิรรักษโลหวิสัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนองแล้ว พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) ผู้เป็นหัวหน้ากับบรรดาบุตรหลานของพระยาดำรงสุจริต ฯ มีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ว่าได้จัดการฝังศพไว้ที่เมืองระนองตามประเพณีจีน ขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตทำคำจารึกศิลาปักไว้ให้เป็นเกียรติยศ ณที่ฝังศพ โปรด ฯ ให้ตรวจคำจารึกนั้นแล้ว ทรงพระกรุณาโปรเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำตามประสงค์

สารตราพระราชทานคำจารึกป้ายปักหน้า ฮ่องซุ้ย และเครื่องขมาศพ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ( คอซู้เจียง ) สารตรา ท่านเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีอภัยพิริยปรากรมพาหุ สมุหพระกระลาโหม มาถึงพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมือง พระศรี โลหภูมิพิทักษ ผู้ช่วยราชการ หลวงบริรักษโลหวิสัย ผู้ช่วยราชการ

๕๑ พระจรูญราชโภคากร ผู้ว่าราชการเมือง หลวงสโมสรราชกิจ ปลัดและบุตร์หลานญาติพี่น้องวงศตระกูลพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี จางวาง ณเมืองระนองเมืองหลังสวน ด้วยพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมือง พระศรีโลหภูมิพิทักษผู้ช่วยราชการเมืองระนอง พระจรูญราชโภคากร ผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน มีใบบอกลงวันอังคาร เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะเมีย จักตวาศก ส่งจดหมายถามถ้อยคำผู้เฒ่าผู้แก่เมืองระนอง ให้หลวง (สรร) พากรกรมการถือมา มีความว่า พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี จางวางเมืองระนองป่วยเป็นวัณณโรคขึ้นที่สันหลัง หมอประกอบยารักษาพยาบาลอาการหาคลายไม่ ณวันพฤหัสบดี เดือน ๗ ขึ้น ๘ ค้ำ ปีมะเมียจัตวาศกพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวาง ถึงแก่อสัญญกรรม (๑) อายุได้ ๘๖ ปี ศพฝังมีฮ่องซุ้ยตามธรรมเนียมจีนที่เมืองระนอง หาได้พระราชทานเพลิงไม่ พระยารัตนเศรษฐี พี่น้องบุตร์หลานขอรับพระราชทานจารึกป้ายศิลาปักหน้าฮ่องซุ้ยพศพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวาง จะได้เป็นเกียรติยศแก่บุตร์หลาน ซึ่งรับราชการฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสืบไป มีความในใบบอกหลายประการ ได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระบรมราชโองการ ๕๒ มาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี จางวาง รับอำนาจแต่ท่านเสนาบดี ซึ่งได้บังคับหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกในการนั้น ไปเป็นผู้ก่อสร้างเมืองระนอง ชักชวนไทยจีนและลูกค้า มาตั้งบ้านเรือนทำเรือกสวนไร่นาเป็นภูมิ์ฐานบ้านเมืองขึ้น พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี จางวาง ทำเหมืองดีบุกลงทุนให้ราษฎรขุดร่อนแม่แร่ดีบุกมาขึ้นโรงกลวง สูบฉลุงได้เนื้อดีบุกจำหน่ายเก็บภาษีทำนุบำรุงบ้านเมืองเกิดภาษีผลประโยชน์แผ่นดินเจริญ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี จางวาง ทำนุบำรุงบุตร์ชายใหญ่เล็กได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบตระกูล และทำนุบำรุงอาณาประชาราษฎรลูกค้าวาณิชได้ทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุข พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี จางวาง มีความชอบต่อราชการแผ่นดินเป็นอันมาก ซึ่งพระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองระนอง กับพี่น้องขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จารึกป้ายศิลาตั้งแต่วันเดือนปีเกิดตำบลบ้านเมืองจีน แล้วทำมาหากินอยู่ในประเทศสยาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาชุบเลี้ยงมียศบรรดาศักดิ์ ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาจนถึงแก่อสัญกรรม จะได้ปักหน้าฮ่องซุ้ยศพพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวาง ให้เป็นเกียรติยศแก่บุตร์หลานตามธรรมเนียมจีน จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อธิบดีกรมพระกระลาโหม ซึ่งได้บังคับหัวเมืองฝ่ายใต้ ฝ่ายทะเลตะวันตก เรียบเรียงอักษรถ้อยคำซึ่ง


๕๓ จารึกป้าย นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายทรงทอดพระเนตร์ เห็นสมควรใช้ได้แล้ว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จารึกป้ายศิลาส่งออกมาพระราชทานพระยารัตนเศรษฐีกับพี่น้อง ปักหน้าฮ่องซุ้ยศพพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวางเถิด ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานจัดธูปเทียนดอกไม้จันทน์ประจุหีบเหมือนศิลาหน้าเพลิงสำรับ ๑ เงินเฟื้อง ๓๐๐ เฟื้อง ผ้าไตร ๕ ไตร ผ้าขาว ๑๐ พับ ร่ม ๕๐ คัน รองเท้า ๕๐ คู่ มอบให้หลวง ( สรร ) พากรกรมการ คุมออกมาพระราชทานแก่พระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนองกับพี่น้องให้ทำบุญในการศพ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี จางวาง โดยสมควรแก่ยศบรรดาศักดิ์ แต่ธูปเทียนดอกไม้จันทน์นั้นเป็นของหลวงขมาศพ ให้พระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมืองระนองเชิญหีบธูปเทียนดอกไม้จันทน์ขึ้นตั้งบนที่หน้าป้ายศิลาตามสมควร เงินเฟื้องผ้าไตรผ้าขาวร่มรองเท้านั้นให้มีเทศนาชักบังสกุลมหาบังสกุลและทิ้งทาน ถ้าทำบุญเสร็จแล้วเป็นจำนวนพระสงฆ์มากน้อยเท่าใดให้มีใบบอกถวายพระราชกุศลเข้ามาให้แจ้ง สารตรามาณวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะแมเบ็ญจศก ศักราช ๑๒๔๕ (พ.ศ. ๒๔๒๖) ตรารูปมนุษย์ถือสมุดประจำครั่ง ตราพระคชสีห์น้อยประจำผนึก


๕๔ คำจารึก ประวัติพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ( คอซู้เจียง ) จางวางเมืองระนอง ประกาศไว้ ให้ท่านทั้งหลายผู้จะได้อ่านหนังสือนี้ทราบทั่วกันว่า เดิมท่านพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี จางวางเมืองระนองนี้ ท่านเป็นจีนฮกเกี้ยนเกิดในบ้านแอ่ชู่อำเภอระยองเขตต์แขวงเมืองเจียงจิวหู ท่านเกิดนับตามวันข้างจีน เป็นวัน ๒๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง นามเดิมชื่อซู้เจียงแซ่คอ ครั้นอายุครบ ๒๕ ปีได้เข้ามาจากเมืองเจียงจิวหู มามีภรรยาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่ณเมืองพังงาช้านาน จนค่อยเจริญขึ้นสืบมา ถึงณวันอังคารเดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีมะโรงฉศกศักราช ๑๒๐๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้เป็นหลวงรัตนเศรษฐี นายอากรดีบุกเมืองระนอง ขึ้นเมืองชุมพรได้ทำอากรดีบุกแขวงเมืองชุมพร เมืองกระบุรี เมืองระนอง รวม ๑๐ ตำบล ทูลเกล้า ฯ ถวายเป็นอากรดีบุกปีละ ๔๓ ภารา ภายหลังโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง แต่ที่ตำบลราดกรูด บางริ้น พอนรั้ง ทั้ง ๓ ตำบลนี้ยังไม่มีบ้านเรือนผู้คน ตำบลเมืองระนองเมื่อแรกหลวงรัตนเศรษฐีมาตั้งทำภาษีอากร เมื่อปีมะเส็งสัปตศกศักรา ๑๒๐๗ นั้น ก็ยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าอยู่มาก มีคนไทยจีนตั้งบ้านเรือนอยู่ ๑๗ ครอบครัว เหมืองคลองมีบ้างเล็กน้อย ที่นั้นเป็นแขวงเมืองชุมพรยังไม่เป็นภูมิ์บ้านเมือง ไม่มีเรือกสวนไร่นาทำเลที่ทำมาหากิน ครั้น


๕๕ ณปีขาลฉศกศักราช ๑๒๑๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศหลวงรัตนเศรษฐีเป็นพระรัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง พระรัตนเศรษฐีมาตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองระนอง แล้วตั้งเกลี้ยกล่อมชักชวนไทยจีนให้มาตั้งทำมาหากินอยู่ที่แขวงเมืองระนองถึง ๙ ตำบล มีผู้คนบ้านเรือนตั้งเป็นภูมิลำเนาแน่นหนา ทำเหมืองดีบุกสร้างสวนไร่นาปลูกพืชน์ผลต่าง ๆ สมบูรณ์เป็นภูมิฐานบ้านเมืองสนุกสำราญ ภาษีอากรผลประโยชน์แผ่นดินก็เจริญมากขึ้น ครั้นวันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ ปีจอ จัตวาศกศักราช ๑๒๒๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯเลื่อนยศให้เป็นพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง ยกเมืองระนองเป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นกรุงเทพ ฯ ครั้นบันลุถึงรัชชกาลที่ ๕ ปัจจุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เลื่อนยศพระยารัตนเศรษฐีเป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี จางวาง เป็นอธิบดีในเมืองระนอง แล้วโปรดเกล้า ฯ ตั้งพระศรีโลหภูมิบุตรที่ ๒ เป็นพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนองแทนบิดา ท่านพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีนี้ ได้รับราชการมาตั้งแต่รัชชกาลที่ ๓ ตลอดมาจนถึงรัชชกาลที่ ๕ ฉลองพระเดชพระคุณโดยกตัญญูกตเวทีซื่อตรงดำรงสุจริต คิดให้ผลประโยชน์เจริญขึ้นเป็นคุณแก่แผ่นดินโดยมาก ควรเป็นที่สรรเสริญและเป็นแบบฉะบับสำหรับข้าราชการทั้งปวง พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีอยู่ในที่จางวางเมืองระนองได้


๕๖ ๕ ปี ๙ เดือน ๑๖ วัน อายุ ๘๖ปีถึงอสัญญกรรม วันพฤหัสบดีเดือน ๗ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศกศักราช ๑๒๔๔ มีบุตรชาย ๖ คน บุตรชายที่ ๑ ( ชื่อคอซิมเจ่ง ) เป็นหลวงศรีโลหภูมิ ผู้ช่วยราชการเมืองระนองถึงแก่กรรม บุตรชายที่ ๒ ( ชื่อคอซิมก๊อง ) เป็นพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนองแทนบิดา บุตรชายที่ ๓ (ชื่อคอซิมจั๋ว) เป็นหลวงศักดิ์ศรีสมบัติ ผู้ช่วยราชการเมืองระนองถึงแก่กรรม บุตรชายที่ ๔ ( ชื่อคอซิมขิม ) เป็นหลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง บุตรชายที่ ๕ ( ชื่อคอซิมเต็ก ) เป็นพระจรูญราชโภคากร ผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน บุตรชายที่ ๖ (ชื่อคอซิมบี๋) เป็นหลวงบริรักษ์โลหวิสัย ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง บุตรชายทั้ง ๖ นี้ ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สืบเชื้อสายวงศ์ตระกูลพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีมา ควรเป็นที่สรรเสริญว่าเป็นอนุชาตบุตรตั้งอยู่ในโอวาทบิดามารดา และมีกตัญญูกตเวทีรักษาชื่อเสียงของบิดามารดาเชิดชูให้ปรากฎอยู่ในแผ่นดินสยามสิ้นกาลนาน ได้จาฤกแผ่นศิลาประกาศไว้ณวันจันทร์เดือน ๙ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีมะแมเบ็ญจศก ศักราช ๑๒๔๕ แต่นั้นมาบุตรทั้ง ๕ คนก็ช่วยกันประกอบการต่อมาตามคำสั่งของบิดา ครั้นต่อมาเมื่อโปรด ฯ ให้พระยาอัษฎงคตทิศรักษา (ตันกิมเจ๋ง) เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาอนุกูลสยามกิจ ตำแหน่งกงสุลเยเนอราล


๕๗ สยามที่เมืองสิงคโปร์ จึงพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนหลวงบริรักษโลหวิสัย (คอซิมบี๋) ขึ้นเป็นที่พระอัษฎงคตทิรักษา ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตระบุรีต่อมา ๘









ตอนที่ ๕ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เมืองระนอง

ถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ ( ร.ศ. ๑๐๙ ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบแหลมมะลายู ระยะทางที่เสด็จไปครั้งนั้น ทรงเรือสุริยมณฑล ( ลำแรก ) เป็นเรือพระที่นั่งไปจากกรุงเทพ ฯ แล้วทรงช้างพระที่นั่งเสด็จทางสถลมารคจากเมืองชุมพรข้ามแหลมมะลายูไปลงเรือที่เมืองตระบุรี เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศออกไปคอยรับเสด็จอยู่ที่เมืองระนอง เสด็จตรวจหัวเมืองชายทะเลในพระราชอาณาเขตต์ แล้วผ่านไปในเมืองมะลายูของอังกฤษ ประทับที่เมืองเกาะหมาก เมืองสิงคโปร์ขาเสด็จกลับเสด็จทอดพระเนตรหัวเมืองมะลายูและหัวเมืองไทยทางปักษ์ใต้ตลอดมา ในคราวเสด็จเลียบมณฑลครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องระยะทางเป็นพระราชหัตถ เลขาพระราชทานมาถึงเสนาบดีสภาซึ่งรักษาพระนคร (หอพระสมุด ฯ ได้รวมพระราชหัตถเลขาคราวนั้นเข้าเป็นหนังสือเสด็จประพาสแหลมมะลายู พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕) ในพระราชหัตถเลขาทรงพรรณนาและพระราชทานพระบรมราชาธิบายว่าด้วยเมืองระนองในสมัยเมื่อเสด็จไปครั้งนั้น เป็นเรื่องตำนานถ้วนถี่พิสดารดีกว่าหนังสืออื่น จึงคัดพระราชนิพนธ์ฉะเพาะตอนว่าด้วยเมืองระนองมาพิมพ์ไว้ในหนังสือนี้



๕๙ พระราชนิพนธ์ว่าด้วยเมืองระนอง วันที่ ๒๒ เมษายน (ร.ศ. ๑๐๙ พ.ศ. ๒๔๓๓) เวลา ๔ โมงเช้าน้ำขึ้น ลงเรือกระเชียงเรือไฟลากล่องลงมาตามลำน้ำปากจั่น น้ำขึ้นไหลเชี่ยวอย่างน้ำทะเล ฝั่งสองข้างตอนบนเป็นเลน ตามฝั่งข้างอังกฤษแลเห็นเทือกเขาสันแหลมมลายูตลอดไม่ขาดสาย แต่ข้างฝ่ายเราเป็นเขาไม่สู้ใหญ่นัก ที่ริมฝั่งหน้าเทือกเขานั้นเป็นเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ ไป โดยมากที่หว่างเนินก็ตกเป็นท้องทุ่งกว้าง ๆ มีหมู่บ้านเรือนคนแลเห็นต้นหมากต้นมะพร้าว ทั้งฝ่ายเราฝ่ายเขาก็อยู่ในข้างละห้าหกหมู่เหมือนกันแต่ตอนนี้เสียเปรียบอังกฤษ ที่ลงไปหน่อยหนึ่งถึงที่มีศาลชำระความมีเรือนโรงใหญ่ ๆ หลายหลัง ว่าเป็นที่ตั้งเมืองแต่ก่อน แต่ศาลนั้นสี่เหลี่ยมหลังเล็ก ๆ ปลูกอยู่กลางแจ้งไม่อัศจรรย์อันใดเลย โรงโปลิศที่ตะพานเหล็กวัดสะเกศโตกว่า ลงมาประมาณชั่วโมงหนึ่งถึงโรงโปลิศตั้งอยู่บนหลังเนินต่ำ ๆ ริมปากแม่น้ำน้อย โรงโปลิศนี้ก็เล็กเท่า ๆ กันกับศาลนั้นเอง มีโปลิศถือปืนลงมายืนรับ ๑๑ คน เป็นพะม่านุ่งผ้าโพกผ้า ๖ คน เป็นแขกซิกสวมกางเกงอย่างทหาร ๕ คน นายทหารพะม่า แต่ไม่เห็นศัสตราวุธ นุ่งผ้าและสวมเสื้อทหาร ตั้งแต่เหนือโรงโปลิศขึ้นมา ดูบ้านคนถี่กว่าคลองท่าโรงที่เกาะกงสักนิดหนึ่ง ต่อลงมาข้างล่างแล้วไม่มีผิดกับท่าโรงที่เกาะกงเลย พบวัดหนึ่งอยู่ที่ชายเขาเรียกว่าวัดขี้ไฟ โบสถ์หลังคาจาก แต่ไม่อยู่ในน้ำเหมือนเกาะกง ลงมา ๓ ชั่ วโมงถึงที่ตำบลน้ำจืด ซึ่งเป็นเมืองพระอัษฎงค์ (๑)ไปตั้งขึ้นใหม่ มีตะพานยาวขึ้นไปจดถนน เพราะที่นั้นเป็นที่ลุ่ม เวลา

(๑) พระอัษฏงคตทิศรักษา (คอซิมบี๊ ณระนอง) ภายหลังได้เปนที่พระยารัษฏานุประดิษฐ์ ๖๐ น้ำขึ้นปกติท่วมขึ้นไปมาก ๆ ตะพานแต่งใบไม้และธง มีซุ้มใบไม้ที่ต้นตะพาน มิสเตอรเมริฟิลด์ แอสสิสตัน คอมมิสชันเนอที่มลิวันลงมาคอยรับอยู่ที่ตะพาน ทักทายปราสัยแล้วขึ้นเสลี่ยงจะไป มิสเตอรเมริฟิลด์จะขอเข้าแห่เสด็จด้วยกับทหารและโปลิศ เพราะเวลานั้นแต่งตัวเป็นทหาร ได้บอกให้เดินตามไปภายหลังกับพระอัษฎงค์ ถนนที่ขึ้นไปกว้างประมาณสักแปดศอกหรือสิบศอก ยาวประมาณ ๑๐ เส้นเศษ ผ่านไปในที่ซึ่งตัดต้นไม้ลงไว้จะทำนา ขึ้นไปถึงที่สุดถนนนี้ มีถนนขวางอีกสายหนึ่ง มีประตูใบไม้และร้านพระสงฆ์สวดชยันโตอยู่ที่สามแยกนั้นเลี้ยวขึ้นไปที่บ้านพระอัษฎงค์ ซึ่งเป็นเรือนขัดแตะถือปูนพื้นสองชั้นอย่างฝรั่ง ดูภายนอกเป็นตึกพอใช้ได้ แลดูจากบนเรือนนั้น เห็นที่ซึ่งปลูกสร้างขึ้นไว้และบ้านเรือนไร่นาราษฎรตลอด ตามแนวถนนขวางมีโรงโปลิศเป็นสามมุข ฝาขัดแตะถือปูนหลังหนึ่ง ห่างไปจากถนนใหญ่สัก ๒ เส้น มีศาลชำระความเป็นศาลากลางสามมุข เป็นตึกอยู่ริมถนน ยังไม่แล้วเสร็จหลังหนึ่ง นอกนั้นก็เป็นโรงเรือนราษฎรหลายหลัง ความคิดพระอัษฎงค์ซึ่งยกเมืองลงมาตั้งที่น้ำจืดนี้ เพื่อจะให้เรือใหญ่ขึ้นไปถึงได้การค้าขายจะได้ติด และระยะนี้คลองกว้าง ถ้าสักคนลงมาติดได้ที่นี่ การที่จะข้ามไปข้ามมากับฝั่งอังกฤษค่อยยากขึ้นหน่อยหนึ่ง หาไม่โจรผู้ร้ายหนีข้ามไปมาได้ง่ายนัก อีกประการหนึ่ง ที่แถบนี้มีทำเลที่ทำนากว้าง ถ้าตั้งติดเป็นบ้านเมืองก็จำเป็นที่ทำมาหากินได้มาก เดี๋ยวนี้ขัดอยู่อย่างเดียว แต่เรื่องคนไม่มีพอแก่ภูมิที่เท่านั้น ได้ถามมิสเตอรเมริฟิลด์ถึงการโจรผู้ร้าย ก็ว่าเดี๋ยวนี้สงบเรียบร้อย การที่โจรผู้ร้าย

๖๑ สงบไปได้นี้ ก็ด้วยอาศัยกำลังมิสเตอรซิมบี๊ เป็นธุระแข็งแรงมาก และว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผู้ร้ายฆ่าคนตายในแดนอังกฤษ ได้ขอให้พระยาชุมพรช่วย พระยาชุมพรก็ได้ช่วยจนได้ตัวผู้ร้ายแล้ว แต่ผู้ซึ่งไปตามผู้ร้ายนั้นต้องเสือกัดตายคนหนึ่ง มิสเตอรเมริฟิลด์รับอาสาจะโดยเสด็จต่อไปอีก ได้บอกขอบใจและห้ามเสีย พระสงฆ์ซึ่งมาคอยชยันโตอยู่นี้ มีเจ้าอธิการวัดนาตลิ่งชัน ซึ่งพระอัษฎงค์ว่าเป็นหัวหน้ายี่หินศีร์ษะกระบือ (๑) ภายหลังมาสาบาลให้พระอัษฎงค์ ว่าจะไม่ประพฤติเช่นนั้นต่อไป อธิการวัดชี้ไฟอีกองค์หนึ่ง พระอัษฎงค์ว่าเป็นคนดีรับว่าจะข้ามมาอยู่ที่น้ำจืดพระสงฆ์เมืองหลังสวนออกไปอยู่ ๔ องค์ นอกนั้นเป็นพระมาแต่ฟาก มลิวันอีก ๑๗ ได้ถวายเงินตามสมควรแล้วลงเรือล่องมา ประมาณ สัก ๕๐ มินิตถึงปากคลองพระขยางข้างฝ่ายเรา ดูกว้างกว่าแม่น้ำน้อยลงไปอีกไม่ช้าก็ถึงคลองลำเลียง ซึ่งเป็นพรมแดนเมืองตระกับเมืองระนอง ดูปากช่องกว้างใหญ่ แต่เข้าไปข้างในเห็นท่าจะไม่โต แต่นี้ไปฝนตกมากบ้างน้อยบ้างตลอดทางไม่ใคร่จะได้ดูอันใดได้ สองฟากเป็นภูเขาสลับซับซ้อนกันสูงใหญ่ เวลาฝนตกมืดกลุ้มไปเป็นเมฆทับอยู่ครึ่งเขาค่อนเขา ลำน้ำกว้างออกกว้างออกทุกที แต่ไม่ใคร่เห็นมีบ้านผู้เรือนคน ลงมาจากน้ำจืด ๒ ชั่วโมงถ้วน ถึงเรืออุบลบุรทิศ ซึ่งขึ้นไป


๖๒ จอดคอยรับอยู่ที่ตรงปากคลองเขมาข้างฝั่งอังกฤษ (๑) ถึงเรือใหญ่ฝนจึงได้หาย เดิมคิดว่าจะไปไล่กระจงที่เกาะขวาง แต่เวลามาถึงบ่าย ๕ โมงเสียแล้ว จึงได้ทอดนอนอยู่ที่ปากคลองเขมาคืนหนึ่ง วันที่ ๒๓ ออกเรือเวลาโมงหนึ่งกับ ๒๐ มินิต เป็นเวลาน้ำขึ้นครู่หนึ่งถึงเกาะขวาง ที่เกาะขวางนี้พระยาระนองร้องอยู่ว่าแผนที่อังกฤษทำ คือแผนที่กัปตันแบกเป็นต้น หมายสีไม่ต้องกันกับหนังสือสัญญาในหนังสือสัญญาว่าเกาะทั้งสองฝั่ง ใกล้ฝั่งข้างไทยเป็นของไทย ใกล้ฝั่งอังกฤษเป็นของอังกฤษ เว้นไว้แต่เกาะขวางเป็นของไทย ส่วนเกาะที่ในแผนที่นั้น เกาะสมุดที่อยู่ใกล้ฝั่งข้างอังกฤษเป็นเกาะย่อม จดชื่อว่าเกาะขวาง ทาสีเขียวให้เป็นของไทย ส่วนเกาะขวางซึ่งเป็นสามเกาะใหญ่ ๆ อยู่ใกล้ฝั่งข้างไทยเกาะหนึ่งอยู่เกือบจะสูญกลางค่อนข้างไทยสักหน่อยหนึ่ง สองเกาะที่ชาวบ้านนี้ตลอดจนถึงนายโปลิศฝ่ายอังกฤษ ก็ยองรับว่าเป็นเกาะขวางนั้นหมายแดงเป็นของอังกฤษ ได้มีใบบอกเข้าไปก็ตัดสินรวมๆ ออกมาว่าที่หมายแดงเป็นของอังกฤษที่หมายเขียวเป็นของไทย แต่ลักษณเกาะที่เป็นอยู่นั้นขัดอยู่กับหนังสือสัญญาเช่นนี้ขอให้ฉันดู ได้ตรวจดูก็เห็นเป็นหน้าสงสัยจริงอย่างเช่นเขาว่า จะเป็นด้วยแกล้งหรือด้วยแผนที่ผิดก็ได้ เรื่องนี้จะได้ชี้แจงด้วยแผนที่ในที่ประชุมต่อไป (๒)

(๑) เสด็จประพาสเที่ยวนี้ โปรด ฯ ให้เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศล่วงหน้าไปคอยรับอยู่ที่เมืองระนอง เสด็จไปจากกรุงเทพ ฯ ด้วยเรือสุริยมนฑล ลำที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ต่อ (๒) เรื่องเกาะขวางนี้ เมื่อเสด็จมาถึงพระนคร ได้โปรด ฯ ให้ว่ากล่าวกับ รัฐบาลอังกฤษ ตกลงให้คืนมาเปนของไทย ตามหนังสือสัญญา ๖๓ ได้ถามถึงการที่ได้ประโยชน์เสียประโยชน์ในที่เกาะไขว้กันเช่นนี้อย่างไรบ้างก็ว่าเกาะเหล่านี้ ไม่มีคนตั้งบ้านเรือนอยู่ประจำ แต่เป็นที่มีชันมากทุก ๆ เกาะ ถ้าเป็นเกาะข้างฝ่ายอังกฤษ คนเราจะไปทำไม่ขอหนังสือต่อเขาก่อนเขาไม่ให้ไปทำ เป็นความลำบากแก่คนของเราที่จะไปทำมาหากินในที่นั้น ตั้งแต่เกาะขวางนี้ลงไปฝ่ายข้างเราเขาสูงมากเป็นเทือกใหญ่ ดูเหมือนอย่างเกาะช้าง เรียกว่าท่าครอบ ข้างฝ่ายอังกฤษดูแนวเขาใหญ่ปัดห่างออกไปเป็นแต่เขาย่อม ๆ มีคนตั้งอยู่ริมน้ำเที่ยวทำชันบ้างเป็นแห่ง ๆ ต่อท่าครอบลงไปมีลำคลองเรียกว่า ละอุ่นขึ้นระนอง ในระยะนี้มีที่ตื้นอยู่สองตำบล นอกนั้นก็ลึกตลอดจนถึงปากอ่าวระนอง ฝั่งทั้งสองข้างนั้นไม่ได้มีที่ราบเลยจนสักแห่งหนึ่ง เป็นแต่เขาใหญ่เขาเล็กตลอดไปจนกระทั้งถึงปลายแหลม เวลาเช้า ๔ โมงทอดสมอที่ใต้เกาะผี ปากอ่าวเมืองระนอง ที่นี่พระอัษฎงค์ทำเรือนตะเกียงเช่นที่บางประอินตั้งไว้เสาหนึ่ง มีเรือสำเภาบันทุกเข้ามาแต่เมืองพะม่าจอดอยู่ลำหนึ่ง เรือมุรธาวสิตยิงปืนสลุต รอผ่อนของขึ้นบกอยู่จนเที่ยงจึงได้ลงเรือกระเชียงเรือไฟลากข้ามไปดูแหลมเกาะสอง ซึ่งอังกฤษเรียกว่าวิกตอเรียปอยนต์ อ้อมปลายแหลมออกไปดูข้างหน้านอกแล้วเลียบเข้าจนถึงคอแหลมหน้าใน ที่แหลมนี้เป็นเนินสูงดินแดง ๆ ไม่ใคร่มีต้นไม้คอแหลมทั้งหน้านอกหน้าในมีบ้านเรือนคนอยู่ หน้านอกไม่ได้เข้าไปใกล้แต่หน้าในเห็นมีเรือนปั้นหยาฝาจาก พื้นสองชั้นสามหลัง มีโรงใหญ่เล็กประมาณสัก ๒๐ หลัง มีต้นหมากมะพร้าว แต่ที่แผ่นดินที่หมู่บ้านตั้งนั้นเป็นที่ต่ำแอบคอแหลมอยู่หน่อยเดียว ที่บนหลังเนินปลายแหลมมี

๖๔ ศาลชำระความแบบเดียวกับที่นาตลิ่งชัน ตั้งอยู่กลางแจ้งแดดร้อนเปรี้ยงมีเรือนปั้นหยาฝาจากอยู่หลังหนึ่งซุดโทรมยับเยินทั้งสองหลัง คล้ายกันกับที่นาตลิ่งชัน การที่อังกฤษจัดรักษาในที่แถบนี้ไม่กวดขันแขงแรงอันใดอยู่ข้างโกโรโกเตกว่าเราเสียอีก คนที่อยู่บนบกแลเห็นเป็นแขก เขาว่าเป็นมะลายูบ้างจีนบ้างประมาณสักสามสิบครัวทั้งหน้านอกหน้าใน หากินด้วยทำปลา เรืออ้อมมาหว่างเกาะเล็กของอังกฤษที่แอบฝั่งอยู่สองเกาะเข้าปากอ่าวเมืองระนอง ที่ฝั่งขวามีโรงจีนตัดพื้นสำหรับส่งเรือเมล์ประมาณสักสามสิบหลัง ฝั่งซ้ายเป็นที่ตลิ่งชายเนินสูง ตั้งโรงโปลิศอยู่ในที่นั้นเวลาน้ำขึ้นเรือขนาดองครักษ์ขึ้นไปได้ถึงท่า ตั้งแต่ทะเลเข้าไปสองไมล์เท่านั้น ตะพานที่ขึ้นยาวประมาณสักสองเส้นเศษ มีแพลอยและศาลาปลายตะพาน ผูกใบไม้ปักธงตลอด เมื่อถึงต้นตะพานมีซุ้มใบไม้ซุ้มหนึ่ง พระยาระนองและกรมการไทยจีนรับอยู่สัก ๕๐-๖๐ คน ขึ้นรถที่เขาจัดลงมารับ มีรถเจ้านายและข้าราชการหลายรถ ขึ้นไปตามหนทางซึ่งเป็นถนนถมศิลาแข็งเรียบดีอย่างยิ่ง แต่ถนนนี้แคบกว่าถนนข้างใน ๆ กว้างประมาณสักสามวา สองข้างทางข้างตอนต้นเป็นป่าโกงกางขึ้นขึ้นไปหน่อยหนึ่งก็ถึงที่เรือกสวนรายขึ้นไปทั้งสองข้าง ข้ามตะพานสามตะพาน เป็นตะพานเสาไม้ปูกระดานมีพนักทาสีขาว เข้าไปข้างในมีทุ่งนาแปลงหนึ่ง แลดูที่แลเห็นเขาซึ่งเป็นพลับพลา แล้วก็เข้าในหมู่สวนหมู่ไร่ต่อไปอีกจนถึงต้นตลาดเก่า แลเลี้ยวแยกไปตามถนนทำใหม่เป็นถนนกว้างสักแปดวา ไปจนถึงถนนขึ้นเขา มีโรงเรือนสองข้างทางแน่นหนาแต่ไม่มีตึกเลย ผู้คนครึกครื้น ตามระยะทางที่มามีซุ้มแปลก

๖๕ กันถึง ๖ ซุ้ม ซุ้มที่จะเข้าถนนตลาดเป็นอย่างจีน เก๋งซ้อน ๆ กันมีเสามังกรพัน เป็นงามกว่าทุกซุ้ม ทางที่ขึ้นเขาตัดอ้อมวงไป ท่าทางก็เหมือนกันกับที่คอนเวอนเมนต์เฮาส์สิงคโปร์ หรือที่บ้านใคร ๆ ต่าง ๆ ที่เขานี้เขาว่าสูงร้อยสิบฟิต แต่เป็นเนินลาด ๆ มีที่กว้างใหญ่โตกว่าเขาสัตนาถมาก พลับพลาที่ทำนั้นก็ทำเสาไม้จริงเครื่องไม้จริง กรอบฝาและบานประตูใช้ไม้จริง แต่กรุใช้ไม้ระกำทั้งลำเข้าเป็นลายต่าง ๆ หลังคานั้นมุงไม้เกล็ดแล้วสองหลัง นอกนั้นมุงจากดาดสี ใช้สีน้ำเงินจะให้เหมือนกันกับหลังคาไม้ซึ่งทาสีไว้ มีท้องพระโรงหลังหนึ่ง ที่อยู่ข้างในใหญ่หลังหนึ่ง ยกเป็นห้องนอนสูงขึ้นไปหลังหนึ่ง มีคอนเซอเวเตอรียาวไปจนหลังแปดเหลี่ยมอีหลังหนึ่ง ที่หลังเล็กซึ่งเป็นที่นอนและที่หลังแปดเหลี่ยม แลดูเห็นเมืองระนองทั่งทั้งเมือง หน้าต่างทุก ๆ ช่องเมื่อยืนดูตรงนั้นก็เหมือนหนึ่งดูปีกเชอแผ่นหนึ่งแผ่นหนึ่ง ด้วยแลเห็นทุ่งนาออกไปจนกระทั่งถึงภูเขาซึ่งอยู่ใกล้ชิด ได้ยินเสียงชะนีร้องเนือง ๆ สลับซับซ้อนกันไป ด้านหนึ่งก็เป็นได้อย่างหนึ่ง ด้านหนึ่งก็เป็นอย่างหนึ่ง ไม่เคยอยู่ที่ใดซึ่งตั้งอยู่ในที่แลเห็นเขาทุ่งป่าและบ้านเรือนคนงามเหมือนอย่างที่นี้เลย การตบแต่งประดับประดาและเครื่องที่จะใช้สอย พรักพร้อมบริบูรณ์อย่างปีนัง ตามข้างทางและชายเนิน ก็มีเรือนเจ้านายและข้าราชการหลังโต ๆ มีโรงบิลเลียดโรงทหารพรักพร้อมจะอยู่สังเท่าใดก็ได้ วางแผนที่ทางขึ้นทางลงข้างหน้าข้าใน ดีกว่าเขาสัตนาถมาก เสียแต่ต้นไม้บนเนินนั้นไม่มีต้นไม้ใหญ่ ที่เหลือไว้ก็เป็น ๙

๖๖ ต้นไม่สู้โต ต้นเล็ก ๆ ที่ตัดก็ยังเป็นตอสะพรั่งอยู่โดยรอบ แต่ในบริเวณพลับพลาปลูกหญ้าขึ้นเขียวสดบริบูรณ์ดีทั่วทุกแห่ง พระยายุทธการโกศล (๑) มาคอยรับอยู่ที่เมืองระนองนี้ห้าวันมาแล้ว เดิมคิดว่าต้องมานอนที่เกาะเขมาเกินโปรแกรมวันหนึ่ง จะย่นวันเมืองระนองเข้าอยู่แต่สองคืน แต่ครั้นเมื่อไปเห็นที่เขาทำไว้ ให้อยู่ลงทุนรอนมาก และการต้อนรับนั้นโดยความเต็มใจแข็งแรงจริง ๆ จึงได้ผ่อนวันออกไปอีกวันหนึ่งเวลาเย็นได้ลงดูตามเนินนั้นโดยรอบ แล้วขึ้นเขาเล็กอีกเขาหนึ่งซึ่งอยู่หน้าท้องพระโรง คล้ายเขาหอพระปริตที่เพ็ชร์บุรี ปลูกศาลาไว้ในหมู่ร่มไม้เป็นที่เงียบสงัด เวลากลางวันนี้ไม่ร้อนด้วยครึ้มฝน เวลากลางคืนหนาวปรอทถึง ๓๕ องศา วันที่ ๒๔ เวลาเช้าไปดูที่ตลาดเก่ามีโรงปลูกหลังชิด ๆ กันทั้งสองฟากเกือบร้อยหลัง แลเห็นเป็นจีนไปทั้งถนน ที่สุดถนนนี้ถึงบ้านเก่าของพระยารัตนเศรษฐี ซึ่งตั้งอยู่ที่หาดใกล้ฝั่งคลอง ต้นคลองนั้นเป็นที่ทำเหมืองแร่ดีบุก น้ำล้างดินทรายซึ่งติดแร่ลงมาถมจนคลองนั้นตัน ดินกลับสูงขึ้นกว่าพื้นบ้าน สายน้ำก็ซึมเข้าไปในบ้านชื้นไปหมด ผนังใช้ก่อด้วยดินปนปูน ตึกรามพังทลายไปบ้างก็มี ที่ยังอยู่ผนังชื้นทำให้เกิดป่วยไข้ จึงได้ย้ายไปตั้งบ้านใหม่ ที่ย้ายไปตั้งบ้านใหม่เสียนั้นเป็นดีมากทำให้เมืองกว้างออกไปอีกสามสี่เท่า ด้วยถนนตลาดเก่านี้ไปชนคลองจะขยายต่อออกไปอีกก็ไม่ได้อยู่แล้ว เวลาบ่ายไปดูบ่อน้ำร้อน ระยะทางเจ็ดสิบเส้น มีถนนดีเรียบร้อย ได้เห็นทางซึ่งเขาทำชักสายน้ำมาทำ

(๑) พระยายุทธการโกศล (ตนกูไออุดิน) เปนอาว์พระยาไทรบุรี

๖๗ เหมืองดีบุก แย่งเอาน้ำในลำธารโต ๆ เสียทั้งสิ้น จนลำธารนั้นแห้งไม่มีน้ำเลย ที่บ่อน้ำร้อนนี้ ดูเป็นที่ซึ่งสำหรับจะร้อนนั้นออกมาจากเขาน้ำตกริน ๆ ออกมาจากศิลาขวางกับลำธารน้ำเย็น ทำนบซึ่งกั้นเปิดน้ำเย็นให้ไปตามรางสายน้ำทำเหมืองข้ามมาบนที่ซึ่งเป็นน้ำร้อน น้ำฟากข้างนี้ก็ร้อนฟากข้างโน้นก็ร้อนน้ำเย็นไปกลาง น้ำร้อนที่นี่ไม่มีกลิ่นกำมถันหรือกลิ่นหินปูนเลย แต่ร้อนไม่เสมอกัน บ่อหนึ่งปรอท ๑๔๔? บ่อหนึ่งปรอท ๑๕๔? ถ้าไปอึกกระทึกใกล้เคียง เดือดและควันขึ้นแรงได้จริง วันที่ ๒๕ เวลาเช้าไปที่บ้านใหม่พระยาระนองผ่านหน้า " โรงราง " คือตราง ทำเป็นตึกหลังคาสังกระสีแบบคุกที่ปีนัง ดูเรียบร้อยใหญ่โตดีมากแต่ยังไม่แล้วเสร็จ บ้านพระยาระนองเองก่อกำแพงรอบสูงสักสิบศอก กว้างใหญ่เห็นจะสักสามเส้นเศษสี่เส้น แต่ไม่หันหน้าออกถนนด้วยซินแสว่าหันหน้าเข้าข้างเขาจึงจะดี ที่บนหลังประตูทำเป็นเรือนหลังโต ๆ ขึ้นไปอยู่เป็นหอรบ กำแพงก็เว้นช่องปืนกรุแต่อิฐบาง ๆ ไว้ ด้วยกลัวเจ๊กที่เคยลุกลามขึ้นครั้งก่อน เมื่อมีเหตุการณ์ก็จะได้กระทุ้งออกเป็นช่องปืน ที่กลางบ้านทำตึกหลังหนึ่งใหญ่โตมาก แต่ตัวไม่ได้ขึ้นอยู่เป็นแต่ที่รับแขกและคนไปมาให้อาศัย ตัวเองอยู่ที่เรือนจากเตี้ย ๆ เบียดชิดกันแน่นไปทั้งครัวญาติพี่น้องรวมอยู่แห่งเดียวกันทั้งสิ้น มีโรงไว้สินค้าปลูกริมกำแพงยืดยาว ในบ้านนั้นก็ทำไร่ปลูกมัน ปีหนึ่งได้ถึงพันเหรียญ เป็นอย่างคนหากินแท้ ออกจากบ้านพระยาระนองไปสวนซึ่งเป็นที่หากินด้วยทดลองพืชพรรณไม้ต่าง ๆ ด้วย ที่กว้างใหญ่ปลูกต้นจันทน์เทศและกาแฟ ส้มโอปัตเตเวียมะพร้าวดุกูแลพริกไท ๆ นั้น

๖๘ ได้ออกจำหน่ายปีหนึ่งถึงสามสิบหาบแล้ว เวลาบ่ายวันนี้ไม่ได้ไปแห่งใดด้วยเป็นเวลาครึ้มฝนหน่อยหนึ่งฝนก็ตก พระยาระนองขอให้ตั้งชื่อพลับพลานี้เป็นพระที่นั่ง ด้วยเขาจะรักษาไว้เป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒสัจจา และขอให้ตั้งชื่อถนนด้วย จึงได้ให้ชื่อพระที่นั่งว่า " รัตนรังสรรค์ " เพื่อจะให้แปลกล้ำ ๆ พอมีชื่อผู้ทำเป็นที่ยินดี เขาที่เป็นที่ทำวังนี้ ให้ชื่อว่า " นิเวศนคิรี " ถนนตั้งแต่ท่าขึ้นมาจนสุดตลาดเก่าแปดสิบเส้นเศษ ให้ชื่อว่า " ถนนท่าเมือง " ถนนทำใหม่ตั้งแต่สามแยกตลาดเก่าไปตามหน้าบ้านใหม่พระยาระนองถึงตะพานยูง เป็นถนนใหญ่เกือบเท่าถนนสนามไชย ให้ชื่อว่า "ถนนเรืองราษฏร์ " ถนนตั้งแต่ตะพานยูงออกไปจนถึงที่หองซุ้ยพระยาดำรงสุจริต (๑) สัก ๗๐ เส้นเศษย่อมหน่อยหนึ่ง ให้ชื่อ " ถนนชาติเฉลิม " ถนนตั้งแต่ถนนไปบ่อน้ำร้อน ถึงเหมืองในเมืองให้ชื่อ "ถนนเพิ่มผล" ถนนทางไปบ่อน้ำร้อน ๗๐ เส้นเศษ ใช้ชื่อ " ถนนชลระอุ " ถนนหน้าวังซึ่งเป็นถนนใหญ่ ให้ชื่อ " ถนนลุวัง " ถนนออบรอบตลาดนัดต่อกับถนนลุวังกับถนนเรืองราษฎร์ เป็นถนนใหญ่ แต่ระยะทางสั้น ให้ชื่อ " ถนนกำลังทรัพย์ " ถนนตั้งแต่ถนนเรืองราษฎร์มาถึงถนนชลระอุผ่านหน้าศาลชำระความซึ่งทำเป็นตึกสี่มุขขึ้นใหม่ยังไม่แล้ว ให้ชื่อ " ถนนดับคดี " ถนนแยกจากถนนเรืองราษฎร์ลงไปทางริมคลองให้ชื่อ " ถนนทวีสินค้า " กับอีกถนนหนึ่งซึ่งพระยาระนองคิดจะทำออกไปถึงตำบลหินดาด ซึ่งเป็นทางโทรเลข ขอชื่อไว้ก่อนจึงได้ให้ชื่อว่า

(๑) พระยาดำรงสุจริต ( คอซู้เจียง ) ๖๙ " ถนนผาดาด " ถนนซึ่งเขาทำและได้ให้ชื่อทั้งปวงนี้ เป็นถนนที่น่าจะได้ชื่อจริง ๆ ใช้ถมด้วยศิลากรวดแร่แข็งกร่าง และวิธีทำท่อน้ำของเขาเรียบร้อยทุกหนทุกแห่ง ฝนตกทันใดนั้น จะไปแห่งใดก็ไปไม่ได้ วันที่ ๒๖ เวลาเช้าไปดูที่ฝั่งศพพระยาดำรงสุจริต ตามทางที่ไปเป็นนาเป็นสวนตลอด เมื่อจวนจะถึงที่ฝังศพเป็นสวนพระยาระนองทั้งสองฟาก ปลูกหมากมะพร้าวมะม่วงเป็นระยะท่องแถวงามนัก มะพร้าวปลูกขึ้นไปจนถึงไหล่เขา ที่หน้าที่ฝังศพปลูกต้นไม้ดอกต่าง ๆ เมอเวลาอยู่เมืองระนองเวลาค่ำ ๆ มีบุหงาส่ง ทฝังศพนั้นมีป้ายศิลาสูงสักสี่ศอกเศษ จารึกเรื่องชาติประวัติของพระยาดำรงสุจริตทั้งภาษาไทยภาษาจีนเป็นคำสรรเสริญตลอดจนบุตรหลาน ถัดเข้าไปมีเสาธงศิลาคู่หนึ่ง แพะ คู่หนึ่ง เสือคู่หนึ่ง ม้าคู่หนึ่ง ขุนนางฝ่ายบุ๋นฝ่ายบู๊คู่หนึ่ง แล้วก่อเขื่อนศิลาปูศิลาเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปสามชั้น จึงถึงลานที่ฝังศพ มีพนักศิลาสลักเป็นรูปสัตว์และต้นไม้เด่น ๆ ที่กุฏินั้นก็ล้วนแล้วด้วยศิลาตลอดจนถึงที่ทำเป็นหลังเต่า ต่อขึ้นไปเป็นเนินพูนดินเป็นลอน ๆ ขึ้นไป ๓ ลอน ตามแบบที่ฝังศพจีน แต่แบบต้องอยู่ที่กลางแจ้ง ไม่มีร่มไม้เลย ลงทุนทำถึง ๖๐๐ ชั่งเศษ ที่ฝังศพมารดาและญาติพี่น้องอยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ต้องไว้ระยะห่าง ๆ ดูหน้าจะเปลืองที่เต็มที่ กลับจากที่ฝังศพไปดูทำเหมือง พึ่งจะเข้าใจชัดเจนในครั้งนี้ จะพรรณนาว่าทำอย่างไรให้ละเอียดก็จะยืดยาวนัก ไม่มีเวลาเขียน เช้า ๕ โมงเศษกลับมาลงเรือ ออกจากอ่าวระนองไปทอดที่เกาะพลูจืด ซึ่งเป็นด่านต่อเขตต์แดน มีโรงโปลิศของเมืองระนองตั้งรักษาอยู่ในที่นั้น

๗๐ แต่ที่แท้เกาะพลูจืดนี้ไม่เป็นปลายเขตต์แดนทีเดียว เกาะคันเกาะหาดทรายยาวเป็นที่ต่อ แต่สองเกาะนั้นไม่มีน้ำกินจึงไปตั้งไม่ได้ เวลาที่ไปนี้เลียบไปใกล้เกาะวิกตอเรีย เกาะนี้มีที่ราบมาก มีลำคลอง คนออกไปตั้งทำปลาอยู่ที่นั้นก็มี เวลาบ่ายลงเรือไปรอบเกาะพลูจืด ให้คนขึ้นไล่เนื้อ เพราะที่เกาะนี้เขาเคยได้เนื้อเสมอ และคนที่ด่านก็เข้ามาแจ้งความว่ามีแน่ เพราะเข้ามากินกล้วยชาวด่านปลูก แต่จะเป็นด้วยคนมากหรือเกินไปอย่างไร เลยตกลงเป็น " โห่เปล่า " เมื่ออยู่ที่เมืองระนอง พวกจีนในท้องตลาดมาหาเกือบจะหมดเมืองมีส้มหน่วยกล้วยใบตามแต่จะหาได้ จีนผู้หนึ่งเป็นมิวนิสิเปอลกอมมิสชันเนอในเมืองมะริด ทำภาษีรังนกและภาษีฝิ่นในเมืองตะนาวศรี และบิดาจีนอองหลายซึ่งเป็นล่ามเมืองตระ และเป็นน้องเขยพระยาระนองลงมาแต่เมืองมะริดมาหาด้วย การรับรองเลี้ยงดูของพระยาระนองแข็งแรงอย่างยิ่ง พี่น้องลูกหลานกลมเกลียวกัน คิดอ่านจัดการแต่จะให้เป็นที่สบายทุกอยางที่จะทำได้ การทำนุบำรุงรักษาบ้านเมือง เขาบำรุงจริง ๆ รักษาจริง ๆ โดยความฉลาดและความตั้งใจ ยากที่จะหาผู้รักษาเมืองผู้ในให้เสมอเหมือนได้ คนไทยในเมืองระนองนี้ ผิดกันกับเมืองตระ คือไม่ได้เก็บเงินค่าราชการ หรือจะเรียกว่าค่าหลังคาเรือนอย่างเช่นเมืองตระ เลขสักข้อมือสมกรมการก็ไม่มีเหมือนเมืองหลังสวน ที่เมืองหลังสวนเก็บเงินข้าราชการแต่ตัวเลขที่สักข้อมือ คนขึ้นใหม่ไม่ได้เก็บ ที่เมืองตระไม่มีสมกรมการ แต่เก็บเงินทั่วหน้า เมืองระนองนี้ไม่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง

๗๑ ว่าแต่ก่อนมีก็คืนเสียแล้วไม่ได้เก็บเงินอันใด ชั่วแต่เกณฑ์มารักษาเมือง ( หรือบ้านเจ้าเมือง ) ในเวลาตรุษจีน คือตั้งแต่เดือน ๓ เดือน ผลัดละสิบห้าวัน แต่ก็ยังไม่พอ ต้องไปเอาคนหลังสวนมาอีกห้าสิบคน (๑) เวลาคนมายู่ประจำการกินอาหารกงษีกับการจร เช่นทางโทรเลขใช้เกณฑ์ ไม่ได้จ้างเหมือนเมืองตระ เขายื่นยอดสำมโนครัวกรมการเมืองระนอง ๒๔ ครัว อำเภอ ๘๖ ครัว ไพร่ชายฉกรรจ์ ๑๕๓๐ คน เด็ก ๗๔๙ คน รวมชาย ๒๒๗๙ คน หญิงฉกรรจ์ ๑๑๐๙ คน เด็ก ๖๑๖ คน รวมหญิง ๑๗๒๕ คน รวม ๔๐๐๔ คน รวมทั้งครัวกรมการอำเภอ ๑๑๒๒ ครัว แขกเดิมหลวงขุนหมื่น ๘ ครัว ไพร่ชายฉกรรจ์ ๔๒ เด็ก ๖๕ คน รวม ๑๐๗ คน หญิงฉกรรจ์ ๓๗ เด็ก ๒๑ รวม ๕๘ คน รวมชายหญิง ๑๖๕ คน เป็นครัว ๓๕ ครัว จีนมีบุตรภรรยา ๓๐๐ จีนจร ๒๘๐๐ ( เห็นจะเป็นเอสติเมต ) รวม ๓๑๐๐ รวมคนเดิมชาย ๕๖๐๔ หญิง ๑๗๘๓ รวม ๗๓๘๕ คน คนใหม่มาแต่เมืองอื่น ๆ คือไชยา ๒๙ ครัว หลังสวน ๙๐ ครัว ชุมพร ๑๐ ครัว นคร ๒ ครัว ตระ ๒ ครัว ฝ่ายอังกฤษ ๒ ครัว รวม ๑๓๕ ครัว ชายฉกรรจ์ ๑๘๕ คน เด็ก ๑๒๖ คน รวม ๔๑๑ คน หญิงฉกรรจ์ ๑๗๕ คน เด็ก ๙๑ คน รวม ๒๖๖ คน รวมไทยมาใหม่ ๕๗๗ คน แขกมาแต่เมืองถลาง ๑๔ ครัว เมืองตะกั่วทุ่ง ๑๗ ครัว รวม ๓๑ ครัว เป็นชาย

(๑) ที่ต้องรักษาเวลาตรุษจีนเพราะเคยมีเหตุ พวกกุลีทำเหมืองกำเริบขึ้นคราว หนึ่ง เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ ทั้งที่เมืองระนองและเมืองภูเก็ตดังกล่าวมาข้างต้น จึ่งต้อง ระวังกันแต่นั้นมา

๗๒ ฉกรรจ์ ๔๓ เด็ก ๓๐ รวม ๗๓ คน หญิงฉกรรจ์ ๓๕ เด็ก ๓๗ รวม ๗๒ รวมชายหญิง ๑๔๕ คน รวมเก่าใหม่ชาย ๕๙๘๘ คน หญิง ๒๑๒๑ คน รวมทั้งสิ้น ๘๑๐๙ คน การทำนามีแต่ชั่วคนไทย ทำเข้าไร่ทั้งนั้น นาพื้นราบทำน้อยที่เห็นอยู่เพียงสามแปลงก็เป็นนาเจ้าเมืองเสียแปลงหนึ่ง แต่ยังมีเข้าพอคนไทยกินได้มาก ไม่สู้จะต้องซื้อพะม่านัก ส่วนจีนนั้นไม่ได้กินเข้าในเมืองเลย กินเข้าในเมืองพะม่าทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเข้าเมืองพะม่าจึ่งเป็นสินค้าสำคัญในแถบนี้ เรือเมล์ชำรุดหยุดเดินก็เกือบจะอดเข้า เรือเมล์ที่เดินอยู่ทุกวันนี้สองลำ คือเรือเซหัวของพระยาระนองลำหนึ่ง เรือเมอควี ของอังกฤษลำหนึ่ง แต่เรือเซหัวอยู่ข้างจะคล่องแคล่วกว่าเรือเมอควีเจ้าพนักงานอังกฤษกล่าวโทษเรือเมอควีอยู่ว่าเสียเปรียบเซหัว การในเมืองระนองยังมีอยู่อีกซึ่งจะต้องแจ้งความต่อภายหลัง วันที่ ๒๗ เวลา ๑๑ ทุ่ม ออกเรือเดินทางช่องหว่างเกาะเสียงไหกับเกาะช้าง ที่ในแผนที่เขียนว่าแสดดัลไอล์แลนด์มาไม่มีคลื่นลมอันใดเป็นปกติ พระราชนิพนธ์เรื่องเมืองระนองมีปรากฎเพียงนี้ ในเวลาเมืองเสด็จประทับอยู่ที่เมืองระนองนั้น พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) กราบบังคมทูล ฯ ขอพระราชทานให้มีที่บริเวณสำหรับฝังศพวงศสกูลณระนอง ต่อจากที่ฝังศพพระยาดำรงสุจริต ( คอซู้เจียง ) ผู้เป็น ต้นสกุล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตามประสงค์ ครั้นเสด็จกลับเข้ามาถึงกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ทำหนังสือสำคัญพระราชทานที่สำหรับฝังศพตระกูลนั้น และให้กระทรวงกลาโหมส่งไปพระราชทานมีสำเนาดังพิมพ์ไว้ต่อไปนี้ ๗๓ พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ฝังศพ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ( คอซู้เจียง )

ร. ที่ ๑๑๕/๑๐๙ ท.ร. ๓ สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ขอประกาศให้แก่ชนทั้งหลายทั้งปวง หรือผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งจะได้ทราบความในหนังสือสำคัญฉะบับนี้ ให้ทราบว่า ที่ดินตำบลเขาระฆังทองอำเภอบางนอนแขวงเมืองระนอง วัดกว้างยาวตามที่สูงๆ ต่ำ ๆ โดยยาวทิศเหนือ ๑๘ เส้นทิศใต้ ๒๐ เส้น โดยกว้าง ทิศตะวันออก ๒๐ เส้น ๑๕ วา ทิศตะวันตก ๑๕ เส้น เป็นที่ลดเลี้ยวไม่เสมอกัน ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกมีลำคลองเป็นเขตต์ ด้านเหนือมีหลักซึ่งกรมการปักไว้เป็นเขตต์ด้านใต้ มีตลิ่งลงที่เลนเป็นเขตต์ตามแผนที่ที่ผูกติดอยู่กับหนังสือนี้ มีเส้นแดงหมายเขตต์ไว้โดยรอบแล้ว คิดจำนวนเนื้อที่เป็นตรางเส้นได้ ๓๗๕ เส้น กับ ๓๐๐ ตรางวา ที่ซึ่งกล่าวมานี้พระยารัตนเศรษฐี ( คอซิมก๊อง ) ผู้ว่าราชการเมืองระนอง ได้ขอต่อเราพระเจ้ากรุงสยามสำหรับทำเป็นที่ฮ่องซุ้ยฝังศพญาติวงศ์ในตระกูลของพระยารัตนเศรษฐี เราได้อนุญาตยกที่นี้ให้แก่พระยารัตนเศรษฐีแล้ว พระยารัตนเศรษฐี และผู้ที่จะสืบตระกูลต่อไปจะก่อสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นในที่นั้นก็ก่อสร้างได้ตามความประสงค์ ให้ที่ตำบลซึ่งกล่าวมานี้ คงเป็นที่สำหรับฝังศพในตระกูลพระยารัตนเศรษฐี ๑๐

๗๔ สืบไป ผู้ใดผู้หนึ่งจะทำลายรื้อถอนสิ่งที่ตระกูลของพระยารัตนเศรษฐีก่อสร้างไว้ โดยความกดขี่อย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ แต่ที่รายนี้ เราพระเจ้ากรุงสยามยกให้แก่พระยารัตนเศรษฐีสำหรับเป็นที่ฝังศพ มิใช่ยกให้อย่างถวายเป็นที่วัด ซึ่งยกเป็นแผนกหนึ่งต่างหากจากพระราชอาณาเขตต์ เพราะฉะนั้นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในที่เหล่านี้ต้องพิกัดภาษีอากรอย่างหนึ่งอย่างใด พระยารัตนเศรษฐีและผู้ที่จะเป็นเจ้าของที่นี้สืบต่อไป ต้องเสียภาษีอากรตามธรรมเนียมจะยกเว้นไม่ได หนังสือสำคัญนี้ ได้ลงชื่อประทบพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินและสำหรับตัวเรา มอบให้พระยารัตนเศรษฐี และได้คัดสำเนาให้กรมพระกระลาโหมรักษาไว้ฉบับหนึ่งเป็นพยานด้วย หนังสือสำคัญฉะบับนี้ได้ทำให้แก่พระยารัตนเศรษฐี แต่วันที่ ๒๘ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ เป็นวันที่ ๘๑๑๔ ในรัชชกาลปัจจุบันนี้ ลายพระราชหัตถ์ (จุฬาลงกรณ์) ตรานำส่งพระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ฝังศพ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ( คอซู้เจียง ) ส.ร. ๒๕/๑๐๐ ศาลาลูกขุนในฝ่ายขวา วันที่ ๖ เดือนกุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ สารตรา ท่านเจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริปรากรมพาหุ สมุหพระกระลาโหม มาถึงพระบริรักษโลหวิสัย หลวงพิไชยชิณเขตต์ผู้ช่วยราชการ หลวงพรหมภักดียกระบัตร์ หลวงมหาดไทย หลวงเมืองหลวงวัง หลวงคลัง หลวงนา กรมการผู้อยู่รักษาเมืองระนอง

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า เมื่อณเดือนพฤศจิกายน รัตนโกสนทรศก ๑๐๙ เสด็จพระราชดำเนินไปประพาสหัวเมืองทะเลตะวันตกประทับประพาสที่เมืองระนอง แล้วเสด็จไปประพาสที่ฝังศพ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวางที่เขาระฆังทอง พระยารัตนเศรษฐีผู้ว่าราชการเมือง ได้กราบบังคมทูลพระกรุณา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอรับพระราชทานที่เขาระฆังทอง อำเภอบางนอนแขวงเมืองระนอง เป็นที่ฮ่องซุ้ยฝังศพญาติพี่น้องต่อไป บัดนี้ ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้แก่พระยารัตนเศรษฐี ( คอซิมก๊อง ) โดยยาวทิศเหนือ ๑๘ เส้น ทิศใต้ ๒ เส้น โดยกว้างทิศตะวันออก ๒๐ เส้น ๑๕ วา ทิศตะวันตก ๑๕ เส้น เป็นที่ลดเลี้ยวไม่เสมอกัน ด้านตะวันออก และด้านตะวันตกมีลำคลองเป็นเขตต์ ด้านเหนือมีหลักซึ่งกรมการปักไว้เป็นเขตต์ ด้านใต้มีตลิ่งลงที่เลนเป็นเขตต์ ตามแผนที่ ๆ ผูกติดอยู่กับหนังสือพระบรมราชานุญาต ซึ่งได้พระราชทานแต่วันที่ ๒๘ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ มีข้อความพิสดารแจ้งอยู่ในหนังสือพระบรมราชา นุญาตนั้นทุกประการแล้ว คิดจำนวนเนื้อที่เป็นตรางเส้นได้ ๓๗๕ เส้นกับ ๓๐๐ ครางวา ที่รายตำบลพระราชทานซึ่งกล่าวมานี้ คงเป็นที่สำหรับฝังศพในตระกูลพระยารัตนเศรษฐีสืบไป ผู้ใดผู้หนึ่งจะทำลายรื้อถอนสิ่งที่ตระกูลของพระยารัตนเศรษฐีก่อสร้างไว้ โดยความกดขี่อย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ แต่ที่รายนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระ


๗๖ หม่อมพระราชทานยกให้แก่พระยารัตนเศรษฐี สำหรับเป็นที่ฝังศพมิใช่ยกให้อย่างถวายเป็นที่วัด ซึ่งยกเป็นแผนกหนึ่งต่างหากจากพระราชอาญาเขตต์ เพราะฉะนั้นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในที่เหล่านี้ ต้องพิกัดภาษีอากรอย่างหนึ่งอย่างใด พระยารัตนเศรษฐี และผู้ที่จะเป็นเจ้าของที่นี้สืบต่อไป ต้องเสียภาษีอากรตามธรรมเนียมจะยกเว้นไม่ได้ หนังสือสำคัญนั้น ได้ทรงเซ็นพระนามประทับตราพระราชลัญจกร สำหรับแผ่นดินและสำหรับพระองค์ มอบให้พระยารัตนเศรษฐี และได้คัดสำเนาให้กรมพระกระลาโหมรักษาไว้ฉะบับหนึ่งเป็นพยานด้วย หนังสือสำคัญฉะบับนี้ได้ทรงพระราชทานให้แก่พระยารัตนเศรษฐี แต่วันที่ ๒๘ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ เป็นวันที่ ๘๑๑๔ ในรัชชกาลปัจจุบันนี้ ความแจ้งอยู่แล้ว ถ้ารับท้องตรานี้วันใดให้หลวงบริรักษโลหวิสัย หลวงพิไชยชินเขตต์ผู้ช่วยราชการ หลวงพรหมภักดียกระบัตร์ หลวงมหาดไทย หลวงเมือง หลวงคลัง หลวงนา ประชุมกรมการอำเภอกำนันหน้าที่ฮ่องซุ้ยอ่านท้องตรานำนี้ และหนังสือสำคัญทรงเซ็นพระนามประทับตราพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินให้ทราบทั่วกัน แล้วมอบหนังสือสำคัญให้พระยารัตนเศรษฐีรักษาไว้สำหรับเมือง เทอญ

ประทับตราพระคชสีห์ใหญ่มาเป็นสำคัญ

ตรารูปมนุษย์ถือสมุดประจำครั่ง ตราคชสีห์น้อยประจำผนึก

๗๗ อนึ่งในคราวเสด็จเลียบมณฑลครั้ง พ.ศ. ๒๔๓๓ นั้น เมื่อเสด็จมาถึงเมืองตรัง ทรงพระราชดำริว่าเป็นทำเลที่สำคัญ หากการปกครองยังไม่ดีจึงไม่มีความเจริญ ได้ทอดพระเนตรเห็นพระอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมบี๋ ) จัดการทำนุบำรุงเมืองตระบุรีชอบพระราชหฤทัย และเมืองตรังเป็นเมืองใหญ่สำคัญกว่าเมืองตระ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนพระอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมบี๋ ) ขึ้นเป็นพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง และเลื่อนพระศรีโลหภูมิพิทักษ์ (คอซิมขิม) ขึ้นเป็นพระยาอัษฎงคตทิศรักษาผู้ว่าราชการเมืองตระบุรี ต่อมาถึงสมัยเมื่อจัดการปกครองหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาล โปรด ฯ ให้หัวเมืองมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยแต่กระทรวงเดียวทั้งหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือและฝ่ายตะวันออก ทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เลื่อนขึ้นเป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร ต่อมาทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยารัษฎานุประดิษฐ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ส่วนเมืองระนองพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนพระบริรักษโลหวิสัย (คอยูหงี) บุตรคนใหญ่ของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ( คอซิมก๊อง ) ขึ้นเป็นพระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง ส่วนพระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต๊ก ) ผู้ว่าราชการเมืองหลังสวนนั้น ก็ได้พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเป็นพระยาจรูญราชโภคากร บุตรของพระยาดำรงสุจริต ( คอซู้เจียง ) ซึ่งได้เป็นพระยาทั้ง ๔ คนนั้น พระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง )

๗๘ รับราชการในตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลอยู่จนแก่ชรา กราบถวายบังคมลาออกจากราชการกลับไปอยู่เมืองระนองจนถึงอนิจกรรมในรัชชกาลที่ ๖ พระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมขิม ) ถึงอนิจกรรมที่เกาะหมากในรัชชกาลที่ ๕ พระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต๊ก ) ว่าราชการเมืองหลังสวนอยู่จนแก่ชรา กราบถวายบังคมลาออกจากราชการไปอยู่บ้านที่เกาะหมาก พึ่งถึงอนิจกรรมในรัชชกาลปัจจุบันนี้ พระยารัษฎานุประดิษฐ ( คอซิมบี๋ ) ถึงอนิจกรรมในรัชชกาลที่ ๖ เมื่อยังเป็นตำแหน่ง สมุทเหศาภิบาลมณฑลภูเก็ต








ตอนที่ ๖ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวณเมืองระนอง

ในรัชชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เสด็จทรงรถไฟออกจากกรุงเทพ ฯ วันที่ ๖ เมษายน ประทับแรมที่เมืองเพ็ชรบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองชุมพร แล้วทรงช้างพระที่นั่งเสด็จโดยสถลมารคข้ามแหลมมลายูไปลงเรือพระที่นั่งที่ลำน้ำปากจั่น เสด็จถึงเมืองระนองเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ประทับแรมอยู่ ๓ ราตรี แล้วทรงเรือพระที่นั่งจากเมืองระนองไปยังเมืองภูเก็ต และเมืองตรัง เสด็จทรงรถไฟจากเมืองตรังไปยังเมืองนครศรีธรรมราช ขากลับประทับแรมที่เมืองสุราษฎร์ธานี เมืองประจวบคีรีขันธ์ และเมืองเพ็ชรบุรีเป็นระยะ ถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม. ที่เมืองระนองเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปในคราวที่กล่าวมานี้ พระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) ถึงอนิจกรรมแล้ว และพระยารัตนเศรษฐี ( คอยู่หงี ) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง) ก็ป่วยเป็นโรคอัมพาตทุพลภาพไม่สามารถรับราชการได้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนเป็นพญาดำรงสุจริต และโปรด ฯ ให้พระระนองบุรีศรีสมุทรเขตต์ (คอย่โงย บุตรพระยาจรูญราชโภคากร คอซิมเต๊ก) เป็นผู้ว่าราชการเมือง การรับเสด็จมีรายการปรากฏดังพรรณนาต่อไปนี้.


๘๐

เสด็จถึงเมืองระนอง

วันอังคารที่ ๑๗ เมษายน เวลาบ่าย ๑ โมง กระบวนเรือพระที่นั่งออกจากอ่าวปากคลองละอุ่นไปปากน้ำระนอง บ่าย ๔ โมงถึงอ่าวระนอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องครึ่งยศเสือป่ากรมพรานหลวงรักษาพระองค์ เสด็จประทับเรือกลไฟเล็กศรีสุนทร เรือรบหลวงสุครีพครองเมืองยิงปืนถวายคำนับ เรือศรีสุนทรแล่นเข้าลำน้ำระนอง พอผ่านตลาดจีนชาวประโมงที่ปากน้ำจุดประทัดดอกใหญ่ถวายคำนับ เรือศรีสุนทรเข้าเทียบสะพานยาวหน้าเมือง นายพลโทพระยาสุรินทรราชา (๑) นำเสด็จไปประทับปรำปลายสะพาน พระสงฆ์สวดชยันโตถวายชัยมงคล ข้าราชการสกุลณระนองและกรมการพ่อค้านายเหมืองเฝ้าทูลละองธุลีพระบาท เสือป่าและลูกเสือจังหวัดระนองจังหวัดตะกั่วป่าตั้งแถวรับเสด็จ แตรวงเสือป่ากรมพรานหลวงรักษาพระองค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับรถม้าเป็นรถพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปตามถนนซึ่งมีราษฎรคอยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ทั้ง ๒ ฟากทาง ผ่านซุ้มซึ่งพ่อค้าฝรั่งพ่อค้าพะม่าและพ่อค้าจีนตกแต่งรับเสด็จตามระยะทาง เสด็จขึ้นเขานิเวศน์ประทับแรมณพระที่นั่งรัตนรังสรรค์

(๑) พระยาสุรินทราชา ( หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ) สมุหเทศา ภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต บัดนี้เป็นพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร. ๘๑

การพระราชทานพระแสงราชศัสตราที่จังหวัดระนอง

วันพุธที่ ๑๗ เมษายน เวลาบ่ายเจ้าพนักงานได้ไปทอดพระราชบัลลังก์และแต่งตั้งเครื่องราชูปโภคที่พลับพลาทองจตุรมุขมีปรำรอบตัวอันสร้างขึ้นที่สนามตรงจวนเจ้าเมืองเก่า หนทางห่างจากที่ประทับขึ้นไปประมาณ ๑๐ เส้น เสือป่ากรมพรานหลวงรักษาพระองค์พร้อมด้วยแตรวงธงประจำกอง ๑ กองร้อยในบังคับนายหมวดเอก พระพำนักนัจนิกรได้เดินแถวไปตั้งเป็นกองเกียรติยศตรงหน้าพลับพลา มีหมวดทหารมหาดเล็กและตำรวจภูธรตั้งแถวอยู่สองข้าง สมาชิกเสือป่าจังหวัดระนองและตะกั่วป่ามีดอกไม้ธูปเทียนทูลเกล้า ฯ ถวาย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในปรำเบื้องขวา. เวลาบ่าย ๓ โมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเต็มยศเสือป่า เสด็จทรงรถพระที่นั่งไปยังพลับพลาทอง แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และเสือป่า ทหาร ตำรวจภูธร ถวายวันทยาวุธ เมื่อสุดเสียงแตรสรรเสริญพระบารมีแล้ว นายพลโทพระยาสิรินทราชาสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต อ่านคำกราบบังคมทูลพระกรุณาดังต่อไปนี้ ๑๑


๘๒

คำถวายชัยมงคล ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้ารับฉันทานุมัติของข้าละอองธุลีพระบาทและประชาชนจังหวัดระนอง ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยในการที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลภูเก็ต ร้อนแรมมาในทางกันดารทั้งทางบกและทางน้ำจนบรรลุถึงจังหวัดระนองครั้งนี้ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกเป็นพระมหากรุณาธิคุณพิเศษโดยฉะเพาะ เพราะในพระพุทธศักราช ๒๔๕๒ เมื่อทรงดำรงพระราชอิสสริยยศสมเด็จพระยุพ ราชก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมาครั้งหนึ่งแล้ว ข้าพระพุทธเจ้ายังคำนึงถึงพระเดชพระคุณอยู่มได้ขาด แต่ถึงแม้มาตรว่าข้าพระพุทธเจ้ามีความ ปราร์ถนาที่จะได้ชมพระบารมีอีกสักปานใด ก็เป็นอันพ้นวิสัยที่จะให้สมหวังในเวลาอันรวดเร็วเช่นนี้ประการ ๑ อีกประการ ๑ เมื่อปีก่อนใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตัดถนนและสร้างทางโทรเลขแต่จังหวัดชุมพรมาเชื่อมต่อกับจังหวัดระนอง ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังเร่งรีบทำอยู่ณบัดนี้ ก็ควรนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนจังหวัดระนองโดยฉะเพาะเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการที่ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทครั้งนี้ จึงทำให้ข้าพระพุทธเจ้าปีติยินดีเป็นพ้นที่จะพรรณนาตั้งแต่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงรับพระราชภาระปกครองพระราชอาณาจักร พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงชักจูงประเทศสยามขึ้นสู่ความเจริญโดย

๘๓ รวดเร็วเพียงใด ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเห็นประจักษ์อยู่แล้ว เป็นต้นว่าทางพระราชไมตรีในระวางนานาประเทศก็รุ่งเรืองพระเกียรติยศพระเกียรติคุณขจรฟุ้งเฟื่องทั่วทิศานุทิศ จนพระราชาธิบดีแห่งประเทศอังกฤษซึ่งเป็นมหาประเทศในยุโรปได้ถวายยศนายพลเอกในกองทัพบกอังกฤษแด่ใต้ฝ่าละองธุลีพระบาท และทรงรับดำรงยศนายพลเอกในกองทัพบกสยาม ทั้งนี้ควรนับว่าเป็นเกียรติยศอย่างสูงส่วนหนึ่ง ส่วนการป้องกันพระบรมเดชานุภาพและพระราชอาณาจักร ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทก็ได้ทรงทำนุบำรุงกองทัพบก ทัพเรือ และกองอาสาสมัครเสือป่า ลูกเสือ ให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ทั้งทรงอุดหนุนราชนาวีสมาคมและสภากาชาด ซึ่งควรนับว่าเป็นกำลังและเป็นสง่าสำหรับบ้านเมืองสมควรแก่สมัย ทั้งการไปมาค้าขายก็ได้ทรงทำนุบำรุงให้สะดวกเจริญขึ้นเป็นลำดับ แม้มหาประเทศในยุโรปได้ทำการสงครามขับเขี้ยวกันมาเกือบ ๓ ปีแล้ว การไปมาค้าขายเกิดขัดข้องมากน้อยบ้างทั่วไปทุกประเทศ การค้าขายในพระราชอาณาเขตต์ก็ดำเนินอยู่เรียบร้อย และฉะเพาะในมณฑลภูเก็ตกลับมีผลประโยชน์ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนอีก คนต่างประเทศก็เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่เป็นนิจ เพราะแสวงหาอาชีวะได้คล่องดี ความเจริญรุ่งเรืองทั้งหลายนอกจากนี้ยังมีอีกเหลือที่จะยกขึ้นพรรณนา เพราะได้อาศัยพระบุญญาภินิหารในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ประกอบกับพระปรีชาสามารถและพระราชวิริยะอุตสาหะในราชกิจทั้งปวง จึงเป็นผลลุล่วงเห็นประจักษ์ปานฉะนี้


๘๔ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งซึ่งเป็นใหญ่ในสกลโลก จงอภิบาลรักษาพระองค์พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงพระเจริญสุขทุกทิพาราตรีกาล พระชนมายุยั่งยืนนานปราศจากโรคาพาธ ศัตรูทั้งหลายจงพินาศพ่ายแพ้พระบุญญาภินิหาร ขอให้ทรงเกษมสำราญในพระหฤทัย จะทรงประกอบราชกิจใด ๆ จงเป็นผลสำเร็จสมดังพระบรมราชประสงค์ทุกประการ. ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

สิ้นคำถวายไชยมงคลแล้วมีพระราชดำรัสตอบดังนี้

พระราชดำรัสตอบ " เราได้ฟังคำของสมุหเทศาภิบาลกล่าวในนามของข้าราชการและอาณาประชาชนจังหวัดระนองนี้ เรามีความปีติและจับใจเป็นอันมาก ที่ได้ทราบว่าท่านทั้งหลายรู้สึกตัวว่าเราได้พยายามและตั้งใจที่จะทำนุบำรุงพวกท่านทั้งหลายให้มีความสุขและความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ข้อนี้เป็นข้อที่เราปราร์ถนายิ่งกว่าอย่างอื่น ส่วนตัวเราที่จะมีความสุขความสำราญและรื่นรมย์อย่างหนึ่งอย่างใดก็โดยรู้สึกว่าได้กระทำการตามหน้าที่มากที่สุดที่จะทำให้เป็นผลสำเร็จ เมื่อได้มาแลเห็นผลสำเร็จแม้ไม่เต็มที่ เป็นแต่ส่วน ๑ ก็นับว่าเป็นที่สะบายใจ ส่วนจังหวัดระนองนี้เราได้เคยมาแต่ครั้งก่อน ตามที่สมุหเทศา ภิบาลได้กล่าวมาแล้ว และได้มารู้สึกว่าเป็นที่ซึ่งอาจเป็นเมืองเจริญ ๘๕ ได้แห่งหนึ่งในพระราชอาณาจักรของเรา แต่หากว่าลำบากในทางคมนาคม จึงทำให้ความเจริญนั้นดำเนินได้ช้ากว่าที่จะเป็นไปได้ เราจึงได้ให้จัดการสร้างถนนรวางจังหวัดชุมพรกับจังหวัดระนองเพื่อให้ทางคมนาคมดีขึ้น ครั้นเมื่อเราได้มาในคราวนี้อีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็ได้เดินตามทางที่ตัดใหม่ ซึ่งถึงแม้ยังไม่แล้วสำเร็จดีก็อาจทำความสะดวกขึ้นอีกเป็นอันมาก เมื่อทางไปมาจากจังหวัดชุมพรมาจังหวัดระนองสะดวกขึ้นได้ในทางบกแล้ว การค้าขายและการติดต่อในทางทำนุบำรุงอาณาเขตต์ก็จะทำได้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ข้อนี้ทำให้เรารู้สึกยินดี และรู้สึกเหมือนตัวเราได้มาอยู่ใกล้กับพวกท่านทั้งหลายอีกส่วนหนึ่ง และยังหวังอยู่ว่าจะสามารถจัดการให้การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้นกว่าที่ทำได้ในเวลานี้. ในที่สุดนี้เราขอกล่าวว่าจังหวัดระนองเป็นที่ไปมายากเช่นนี้ เราจึงมีความเสียใจที่จะเยี่ยมไม่ได้บ่อย ๆ เท่าที่เราปราร์ถนาจะมา แต่ด้วยความรู้สึกเป็นห่วงอยู่เสมอ จึงจะขอให้ของไว้เป็นที่ระลึกแทน คือพระแสงราชศัสตราที่เปนของเราใช้ ไว้สำหรับท่านทั้งหลายจะได้รับไว้รักษาเพื่อเป็นเกียรติยศแก่เมืองนี้ เพื่อเป็นเครื่องแทนตัวเราผู้มาอยู่เองไม่ได้ ขอให้เข้าใจว่าพระแสงนี้เรามอบให้ไม่ฉะเพาะแต่แก่เจ้าเมืองเท่านั้น เรามอบให้ท่านทั้งหลายที่เป็นข้าราชการทุกคน ต้องช่วยกันตั้งใจทำนุบำรุงรักษาพระแสงนี้ไม่ให้เสื่อมเสียเกียรติยศลงไปได้แม้แต่เล็กน้อย ถึงแม้อาณาประชาชนพลเมืองจงรู้สึกว่ามีหน้าที่เคารพและ


๘๖ ช่วยรักษาเหมือนกัน เพราะต้องรู้สึกว่าในส่วนผู้ที่มีหน้าที่ปกครองพระ แสง ย่อม เป็น เครื่อง หมายพระราชอำนาจที่ท่านทั้งหลายรับแบ่งมาใช้ในทางสุจริตธรรม เพื่อทำความร่มเย็นแก่อาณาประชาชน ฝ่ายอาณาประชาชนก็จงรู้สึกว่าพระแสงนี้เป็นอำนาจปกครองเช่นนั้นเหมือนกันและเมื่อรู้สึกว่ามีอำนาจปกครองอยู่ในที่นี้ สมควรจะได้รับความร่มเย็นจากอำนาจนั้นแล้ว ก็ต้องเคารพต่ออำนาจนั้นว่าเป็นเครื่องป้องกันสรรพภัย ดังนี้ ถ้าจะประพฤติให้ถูกต้อง ต้องตั้งตนอยู่ในศีลในธรรมความสุจริตซื่อตรงจงรักภักดีอยู่ในพระราชกำหนดกฎหมายและประพฤติตนให้เป็นพลเมืองดีโดยทั่วกัน. ขอให้ผู้ว่าราชการรับพระแสงนี้ไปรักษาไว้แทนบรรดาข้าราชการและอาณาประชาชนพลเมืองจังหวัดระนองเพื่อเป็นสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลแก่ท่านทั้งหลายทั่วกัน." จึงอำมาตย์ตรี พระระนองบุรีศรีสมุทเขตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดรับพระราชทานพระแสงราชศัสตราฝักทองคำจำหลักลายจากพระหัตถ์ขณะนั้นพระสงฆ์สวดชัยมงคล และข้าราชการจังหวัดและประชาชนถวายไชโยพร้อมกัน และพระระนองบุรีกราบบังคมทูลรับกระแสพระบรมราโชวาทเหนือเกล้า ฯ เพื่อปฏิบัติตาม และรับพระแสงราชศัสตราอันเป็นเครื่องราชูปโภครักษาไว้ เพื่อเป็นเกียรติยศและสวัสดิมงคลแก่จังหวัดระนองสืบไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ซึ่งประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว แก่พระระนองบุรีศรีสมุทเขตต์ แล้วพระยาสุรินทราชานำหีบบรรจุคำถวายชัยมงคล

๘๗ มีรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ และสมุดที่ระลึกในการเสด็จเลียบมณฑลภูเก็ตขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย และสมุดนั้นได้แจกข้าราชการทั่วไปด้วยแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินจากพลับพลาทองพระระนองบุรีศรีสมุทเขตต์ทูลเกล้า ฯ ถวายพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดระนอง ทรงรับมาพระราชทานให้เชิญตามเสด็จพระราชดำเนินเสด็จกลับสู่พระที่นั่งรัตนรังสรรค์โดยกระบวนรถม้าตามทางเดิม. สมุดที่ระลึกเสด็จเลียบมณฑลภูเก็ต ซึ่งพระยาสุรินทราชาเรียบเรียงขึ้นนั้นมีข้อความสังเขป ว่าด้วยภูมิประเทศของมณฑล และจังหวัดต่าง ๆ ในมณฑล และแนะถึงที่ควรดูในจังหวัดต่าง ๆ มีส่วนสำมะโนครัวจำนวนพลเมือง จำนวนพาหนะ จำนวนอาวุธ รายได้เงินแผ่นดิน จำนวนโรงเรียน จำนวนถนน การไปรษณีย์โทรเลข เรือเมล์ และธรรมเนียบข้าราชการ ทำเนียบเสือป่า ลูกเสือ จำนวนตำรวจภูธร ทั้งระยะทางเสด็จโดยย่อสำหรับเป็นประโยชน์แก่ผู้ไปเที่ยวในมณฑลภูเก็ตได้ทราบเรื่องต่าง ๆ โดยสังเขป. วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน เวลาบ่าย ๔ โมง เสด็จทรงรถม้าประพาสบ้านเมือง ผ่านสวนซึ่งเป็นที่ตั้งฮ่องซุ้ยที่ฝังศพผู้ใหญ่สกุล ณระนอง เมื่อผ่านทางเข้าไปที่ฝังศพพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ณระนอง ) ซึ่งถึงอนิจกรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ มหาอำมาตย์ตรีพระยาดำรงสุจริต (คอยู่หงี ณระนอง) บุตรผู้สืบตระกูลคอยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องขะมาศพให้นำไปพระราชทานที่ฮ่องซุ้ย แล้วทรงรถพระที่นั่งต่อไป

๘๘ ถึงฮ่องซุ้ยพระยารัษฎานุประดิษฐ ( คอซิมบี๋ ณระนอง ) ซึ่งเดิมเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต ถึงอนิจกรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ฝังศพและพระราชทานเครื่องขะมาศพโดยพระองค์เอง หลวงบริรักษ์โลหวิสัย ( คอยู่จ๋าย ณระนอง ) บุตรผู้สืบตระกูลได้คุกเข่าลงกราบถวายบังคมอย่างธรรมเนียมจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้แสดงพระราชหฤทัยอาลัยในท่านพระยารัษฎานุประดิษฐ ผู้ทรงคุ้นเคยและเป็นที่ต้องพระราชอัธยาศรัย แล้วพระราชทานพระบรมราโชวาทให้หลวงบริรักษ์โลหวิสัยประพฤติตนให้สมควรเป็นผู้สืบตระกูลวงศ์และพระราชทานพร (๑) แล้วเสด็จประทับในปรำบนสนามหญ้าหน้าฮ่องซุ้ย ข้าราชการประจำจังหวัดระนองตั้งเครื่องพระสุธารสถวายและเลี้ยงน้ำชาข้าราชการทั่วไป พระประดิพัทธภูบาลได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายดินสอเงินมีห่วงห้อย และแจกดินสอเงินนั้นแก่ผู้ตามเสด็จเปนที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินที่ฮ่องซุ้ย และหลวงบริรักษ์โลหวิสัยได้แจกบุหรี่ฝรั่งที่ปลายโตซึ่งเปนบุหรี่ของชอบของพระยารัษฎานุประดิษฐผู้บิดา พอเป็นที่ระลึกแก้ผู้ตามเสด็จโดยทั่วกัน เวลาจวนย่ำค่ำ เสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ที่ประทับณพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ ครั้นเวลาค่ำราษฎรชาติพะม่าซึ่งมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในจังหวัดระนองมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และได้เตรียมฝึกหัดบุตรหลานชั้นดรุณีไว้ฟ้อนรำถวายตัว พวกดรุณีที่มาฟ้อนถวายประมาณ

(๑) ต่อมาคราวเมื่อเสด็จไปเกาะหมากได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนหลวงบริรักษ์ (คอยู่จ่าย) ขึ้นเป็นพระยารัษฏาธิราชภักดี. ๘๙ ๒๐ คน แต่งตัวเสื้อผ้าแพรสีสวมมาลัยที่มวยผม ที่เอวเสื้อมีโค้งเหมือนรูปแตรงอนทั้ง ๒ ข้าง มีสะไบคล้องคอ ชั้นแรกจับระบำและร้องเพลงพร้อม ๆ กัน ได้ความว่าเป็นคำถวายชัยมงคล ขอให้เทพเจ้าอภิบาลรักษาใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทรงพระเกษมสำราญ แล้วจึงจับเรื่องละคอน มีจำอวดผู้ชายเข้าเล่นด้วย ๒ คน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเสมาเงินมีอักษรพระปรมาภิธัยย่อแก่เหล่าดรุณีที่ฟ้อนถวายตัว และพระราชทานแหนบสายนาฬิกาอักษรพระปรมาภิธัยย่อเงินลงยาแก่พะม่าผู้เป็นล่ามแปลเรื่องละคอนถวาย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิมแก่พระยาดำรงสุจริต ( คอยู่หงี ณระนอง ) ด้วย. วันที่ ๒๐ เมษายน เวลาเช้า ๔ โมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรถพระที่นั่งไปยังท่าจังหวัดระนอง กองเสือป่าและลูกเสือจังหวัดระนองและตะกั่วป่าตั้งกองเกียรติยศส่งเสด็จ และมหาอำมาตย์ตรีพระยาดำรงสุจริต พระประดิพัทธภูบาล หลวงพิชัยชินเขตต์ หลวงบริรักษ์โลหวิสัย กับกรมการคฤหบดี ไทย จีน แขก พะม่า ก็มาส่งเสด็จพร้อมกัน พระสงฆ์สวดถวายชัยมงคล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดระนอง แก่พระระนองบุรีศรีสมุทเขตต์ แล้วเสด็จประทับเรือกลไฟศรีสุนทรล่องลำน้ำระนอง เมื่อถึงตลาดปากน้ำพวกจีนจุดประทัดดอกใหญ่ถวายเวลา ๑๒


๙๐ เสด็จขึ้นเรือหลวงถลาง เรือรบหลวงสุครีพครองเมืองยิงปืน ๒๑ นัด กระบวนตามเสด็จมีเรือรัวโตรัวของบริษัทอิสเตินชิปปิง ซึ่งเดินเมล์ รวางปินังภูเก็ตและระนอง และเรือมัมบางซึ่งเป็นเรือหลวงสำหรับจังหวัดสตูลเพิ่มขึ้นอีก ๒ ลำ นายพลโท พระยาสุนทราชา สมุหเทศา ภิบาลโดยเสด็จพระราชดำเนินในเรือพระที่นั่ง เวลาเที่ยงเรือรบหลวงสุครีพครองเมืองนำกระบวนเรือพระที่นั่งออกจากอ่าวระนอง.









ลำดับสะกุลณระนอง

สกุลณระนองสืบมาแต่พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ( คอซู้เจียง ) จางวางกำกับเมืองระนอง เป็นต้นสกุล ชั้นที่ ๑ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ต้นสกุลณระนอง) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ คอซิมเจ่ง เป็นหลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ที่ ๒ บุตรชื่อ คอซิมก๊อง เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ที่ ๓ บุตรชื่อ คอซิมจั๋ว เป็นหลวงศรีสมบัติ ที่ ๔ บุตรชื่อ คอซิมขิม เป็นพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ที่ ๕ ธิดาชื่อ ฉุ้น ที่ ๖ ธิดาชื่อ ติ๋ว ที่ ๗ บุตรชื่อ คอซิมเต็ก เป็นพระยาจรูญราชโภคากร จางวาง กำกับราชการเมืองหลังสวน ที่ ๘ ธิดาชื่อ กิมซั่ว ที่ ๙ บุตรชื่อ คอซิมบี๋ เป็นพระยาอัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ที่ ๑๐ ธิดาชื่อ ดาว ที่ ๑๑ ธิดาชื่อ แดง หรือ พุฒ ชั้นนี้หมดตัวแล้ว


ชั้นที่ ๒ หลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ( คอซิมเจ่ง ณระนอง ) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซู้เจียง ) มีธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ อบ

พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ( คอซิมก๊อง ณระนอง ) บุตรพระยาดำรง ( คอซู้เจียง ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ คอยู่ซิ่น เป็นหลวงพิไชยชิณเขตต์ ที่ ๒ ธิดาชื่อ คอซุ่ยหลิว ที่ ๓ บุตรชื่อ คอยู่หงี เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีจางวางกำกับราชการเมืองระนอง ที่ ๔ บุตรชื่อ คอยู่จ่าย เป็นหลวงอัษฎงคตทิศรักษา ที่ ๕ ธิดาชื่อ คอซ่วนเนี่ยว หรือ ปุก ที่ ๖ บุตรชื่อ คอยู่เหล เป็นพระยาประดิพัทธภูบาลกงสุลเยเนราลสยามณสิงคโปร์ ที่ ๗ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยยก ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๘ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยงี่น " ที่ ๙ บุตรชื่อ คอยู่เกียด เป็นพระสถลสถานพิทักษ์ " ที่ ๑๐ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยล่วน " ที่ ๑๑ บุตรชื่อ คอยู่ตี่ เป็นพระยาประวัติสุจริตวงศ์ ที่ ๑๒ ธิดา ชื่อ คอฮงเนี่ยว " ที่ ๑๓ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยอี่ "

๙๓ ที่ ๑๔ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยเนี่ยว ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๑๕ บุตรชื่อ คอยู่ปิ๋ว เป็นหลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ที่ ๑๖ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยอิ่ว " ที่ ๑๗ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยฮ่ง " ที่ ๑๘ บุตรชื่อ คอยู่ง่วน หรือ ช้าง ที่ ๑๙ บุตรชื่อ คอยู่ซ่อง ที่ ๒๐ บุตรชื่อ คอยู่กุ่ย หรือ ฮวด ที่ ๒๑ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยหงิม ที่ ๒๒ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยเหนียว ที่ ๒๓ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยอ๋วน ที่ ๒๔ บุตรชื่อ คอยู่เบ๋ง เป็นขุนอนุบาลสิมารักษ์ ปลัดอำเภอสาทรจังหวัดพระนคร ที่ ๒๕ ธิดา ชื่อ คอซุ่ยพร เป็นภรรยาหลวงวิชิตภักดี (เลียบ) ที่ ๒๖ บุตรชื่อ คอยู่บี่

หลวงศักดิ์ศรีสมบัติ ( คอซิมจั่ว ณระนอง ) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซู้เจียง ) มีบุตรธิดาคือ ที่ ๑ ธิดา ชื่อ คอซกจ๊ก ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๒ บุตรชื่อ คอยู่กัด "


๙๔ พระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมขิม ) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซู้เจียง ) ที่ ๑ บุตรชื่อ คอยู่เชียด เป็นมหาดเล็กในรัชชกาลที่ ๕ ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๒ บุตรชื่อ คอยู่โฉ " ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๓ บุตรชื่อ คอยู่ตก เป็นพระรัตนเศรษฐี ที่ ๔ ธิดา ชื่อ คอสวดเอ้ง " ที่ ๕ ธิดา ชื่อ คอสวดเลี่ยง " ที่ ๖ บุตรชื่อ คอยู่ม่อ เป็นมหาดเล็กในรัชชกาลที่ ๕ " ที่ ๗ ธิดา ชื่อ คอสวดล้าย " ที่ ๘ ธิดา ชื่อ คอสวดลี้ " ที่ ๙ บุตรชื่อ คอยู่ฉ้ง เป็นมหาดเล็กในรัชชกาลที่๕ " ที่ ๑๐ ธิดา ชื่อ คอสวดล่วน " ที่ ๑๑ ธิดา ชื่อ คอสวดเนี่ยว " ที่ ๑๒ ธิดา ชื่อ คอสวดลิ่ว " ที่ ๑๓ บุตรชื่อ คอยู่เบ๊ก ที่ ๑๔ บุตรชื่อ คอยู่ฮั่น ที่ ๑๕ บุตรชื่อ คอยู่เยี้ยง ที่ ๑๖ ธิดา ชื่อ คอสวดซี้


๙๕ พระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต๊ก ณระนอง) จางวางกำกับราชการจังหวัดหลังสวน บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซู้เจียง ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ คอยู่จีน เป็นหลวงสโมสรราชกิจ กรมการพิเศษจังหวัดหลังสวน ที่ ๒ บุตรชื่อ คอยู่เพี้ยน เป็นพระยาทวีวัฒนากร เจ้ากรมอากรสำรวจ ในกรมสรรพากร ที่ ๓ บุตรชื่อ คอยู่ต้วน ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๔ ธิดาชื่อ คอเบ่งเนี่ยว ที่ ๕ บุตรชื่อ คอยู่ลิบ ที่ ๖ บุตรชื่อ คอยู่อ้น ที่ ๗ บุตรชื่อ คอยู่หุ้ย เป็นขุนพรประศาสน์ นายอำเภอตุยง จังหวัดปัตตานี ที่ ๘ บุตรชื่อ คอยู่เต้น ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๙ ธิดาชื่อ วาศ ที่ ๑๐ ธิดาชื่อ คอเบ่งห่ง หรือลับ เป็นภรรยาพระยาอนุกูลนิธยากร สรรพากรมณฑลพายัพ ที่ ๑๑ บุตรชื่อ คอยู่ฉ้วน ที่ ๑๒ บุตรชื่อ คอยู่โง่ย เป็นพระระนองบุรีศรีสมุทเขตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่


๙๖ ที่ ๑๓ ธิดาชื่อ คอเบ่งหั้ว เป็นภรรยาพระยาศิริชัยบุรินทร์ ( เบี๋ยน ) ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๑๔ บุตรชื่อ คอยู่ฉ่ำ เป็นขุนราชรัษฎากร ที่ ๑๕ บุตรชื่อ คอย่เฉี้ยน ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๑๖ ธิดาชื่อ ลาบ เป็นภรรยาหลวงบุรกรรมโกวิท ที่ ๑๗ บุตรชื่อ เพิ่ม เป็นหลวงสุริยามาตย์ ปลัดจังหวัดอุดรธานี ที่ ๑๘ บุตรชื่อ คอยู่เซี้ยง เป็นขุนไกรประชาบาล ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๑๙ บุตรชื่อ คอยู่ติ๊ด ที่ ๒๐ ธิดาชื่อ คอเบ่งหลี้ ที่ ๒๑ บุตรชื่อ คอยู่ซก เป็นนายร้อยตรีทหารบก ที่ ๒๒ บุตรชื่อ คอยู่เตียน เป็นจมื่นรณภพพิชิต นายร้อยเอกกองทหารรักษาวัง ที่ ๒๓ ธิดาชื่อ เอิบ เป็นภรรยารองอำมาตย์โท นายพื้น รัศมิภูติ ที่ ๒๔ ธิดาชื่อ อาบ เป็นภรรยานายสวัสดิ์ ที่ ๒๕ บุตรชื่อ คอยู่ต๋ง ที่ ๒๖ ธิดาชื่อ อบ พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ( คอซิมบี๋ ณระนอง ) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซู้เจียง ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ คอซุ่ยลั๋น ที่ ๒ ธิดาชื่อ คอซุ่ยฮั้ว

๙๗ ที่ ๓ บุตรชื่อ คอยู่จ๋าย เป็นพระยารัษฎาธิราชภักดี ที่ ๔ ธิดาชื่อ คอซุ่ยซวด ที่ ๕ ธิดาชื่อ คอซุ่ยอี่น เป็นภรรยาพระสุนทรเทพกิจจารักษ์ ( เข็ม ) ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๖ ธิดาชื่อ ปรุงปลื้ม เป็นภรรยานายสมบุญ ศิริธร ( สนิทราชการ )


ชั้นที่ ๓ สายพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) หลวงพิไชยชิณเขตต์ ( คอยู่ซิ่น ณระนอง ) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ คอเบียนห้อง ที่ ๒ ธิดาชื่อ คอจู้เอี๋ยน ที่ ๓ ธิดาชื่อ คอจู้หุ่ย ที่ ๔ บุตรชื่อ คอเบียนเตียด ผู้ช่วยต่างประเทศจังหวัดระนอง ที่ ๕ ธิดาชื่อ คอจู้เตี้ยน ที่ ๖ ธิดาชื่อ คอจู้เลี้ยม ที่ ๗ ธิดาชื่อ คอจู้อุ้ย ที่ ๘ บุตรชื่อ คอเบียนหม่อ ๑๓

๙๘ ที่ ๙ บุตรชื่อ คอเบียนเตี่ยง ที่ ๑๐ ธิดาชื่อ คอจู้บิ๋น ที่ ๑๑ ธิดาชื่อ คอจู้คี่น ที่ ๑๒ ธิดาชื่อ คอจู้เต้ง ที่ ๑๓ บุตรชื่อ คอเบียนหิ้น ที่ ๑๔ ธิดาชื่อ คอจู้เฉ้ง ที่ ๑๕ บุตรชื่อ คอเบียนจ๋วน ที่ ๑๖ ธิดาชื่อ คอจู้เซ็ก พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ( คอยู่งี่ ณระนอง ) จางวางกำกับราชการจังหวัดระนอง บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) มีบุตร คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ คอเบียนพก ที่ ๒ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวหง้อ ที่ ๓ บุตรชื่อ คอเบียนเอ๋ง ที่ ๔ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวคิ้ม ที่ ๕ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวเล็ก ที่ ๖ บุตรชื่อ คอเบียนก้าว ที่ ๗ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวเอ๊ก ที่ ๘ บุตรชื่อ คอเบียนหุ้น ที่ ๙ บุตรชื่อ คอเบียนยี่น


๙๙ ที่ ๑๐ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวหลุ้น ที่ ๑๑ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวเบียน ที่ ๑๒ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวอิ่ม ที่ ๑๓ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวเซก ที่ ๑๔ บุตรชื่อ คอเบียนเฉ้ง ที่ ๑๕ บุตรชื่อ คอเบียนถ้อง ที่ ๑๖ บุตรชื่อ คอเบียนเจี้ยว ที่ ๑๗ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวขิม ที่ ๑๘ บุตรชื่อ คอเบียนท้วน ที่ ๑๙ บุตรชื่อ คอเบียนจก ที่ ๒๐ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวจิด ที่ ๒๑ ธิดาชื่อ คอเกี่ยวเซี่ยน หลวงอัษฎงคตทิศรักษา ( คอยู่จ่าย ณระนอง ) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ คอส้อจู้ ที่ ๒ บุตรชื่อ คอเบียนฮ้อ ที่ ๓ บุตรชื่อ คอเบียนลี่ ที่ ๔ บุตรชื่อ คอเบียนซิ้ว ที่ ๕ บุตรชื่อ คอเบียนกั้ว ที่ ๖ ธิดาชื่อ ส้อกิ้น


๑๐๐ ที่ ๗ บุตรชื่อ คอเบียนเตียด ที่ ๘ บุตรชื่อ คอเบียนเกี้ยม ที่ ๙ ธิดาชื่อ คอส้อเหี้ย ที่ ๑๐ บุตรชื่อ คอเบียนอิ๋ว ที่ ๑๑ ธิดาชื่อ คอส้อจีน ที่ ๑๒ ธิดาชื่อ คอส้อติ้น ที่ ๑๓ ธิดาชื่อ คอส้อเอี๋ยบ ที่ ๑๔ บุตรชื่อ คอเบียนติ้น

พระยาประดิพัทธภูบาล ( คอยู่เหล ณระนอง ) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ เกื้อ เป็นหม่อมห้ามในหม่อมเจ้าวิบูลย์ ที่ ๒ ธิดาชื่อ ชัด เป็นภรรยาจมื่นรณภพพิชิต ( คอยู่เตียน ) บุตรพระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต๊ก ณระนอง ) ที่ ๓ ธิดาชื่อ กูล เป็นภรรยาพระศรีสยามกิจ ผู้ช่วยกงสุลสยาม ณสิงคโปร์ ที่ ๔ ธิดาชื่อ น้อย ภรรยาพระปราบพลแสน ที่ ๕ บุตรชื่อ คอเบียนซิด หรือโป๊ะ ที่ ๖ ธิดาชื่อ คล้อง เป็นหม่อมห้ามในหม่อมเจ้าชัชวลิต ที่ ๗ บุตรชื่อ คอเบียนเอ้ง หรือล้าน ที่ ๘ บุตรชื่อ คอเบียนจิ๋ว หรือเหลือ

๑๐๑ ที่ ๙ บุตรชื่อ เอี๋ยน ที่ ๑๐ บุตรชื่อ บี๋

พระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณระนอง) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ คอกุ้ยอิ้ม หรือเล็ก ที่ ๒ บุตรชื่อ คอเบียนแคะ

พระยาประวัติสุจริตวงศ์ ( คอยู่ตี่ ณระนอง ) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ ตอม เนติบัณฑิต ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๒ บุตรชื่อ เติม ที่ ๓ ธิดาชื่อ ป้อง ที่ ๔ บุตรชื่อ ตับ ที่ ๕ บุตรชื่อ เติบ ที่ ๖ ธิดาชื่อ ปิ่น ที่ ๗ บุตรชื่อ สตางค์ ที่ ๘ ธิดาชื่อ กุศล ที่ ๙ บุตรชื่อ บรรพต


๑๐๒ หลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ( คอยู่บิ๋ว ณระนอง ) บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) มีบุตร์ธิดาคือ ที่ ๑ บุตรชื่อ คอเบียนจิ่น ที่ ๒ บุตรชื่อ คอเบียนฮู่ ที่ ๓ ธิดาชื่อ คอซกหลู ที่ ๔ บุตรชื่อ คอเบียนฮวด ที่ ๕ ธิดาชื่อ คอซกเฮี่ยน ที่ ๖ ธิดาชื่อ คอซกเคี่ยม ที่ ๗ บุตรชื่อ คอเบียนซุ่น ที่ ๘ ธิดาชื่อ คอซกอ่วน ที่ ๙ ธิดาชื่อ คอซกลุ่น ที่ ๑๐ ธิดาชื่อ คอซกเจ้ง ที่ ๑๑ บุตรชื่อ คอเบียนกี๋ ที่ ๑๒ บุตรชื่อ คอเบียนอุ่น ที่ ๑๓ บุตรชื่อ คอเบียนเฉี่ยง ที่ ๑๔ บุตรชื่อ คอเบียนอี๋ ที่ ๑๕ บุตรชื่อ คอเบียนจุ่น ที่ ๑๖ บุตรชื่อ คอเบียนเจี๋ยม



๑๐๓ นายคอยู่ง่วน หรือช้าง ณระนอง บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ อำนวย ที่ ๒ บุตรชื่อ การุญ

นายคอยู่ซ่อง ณระนอง บุตรพระยาดำรงสุจริต ( คอซิมก๊อง ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ จูจู๋ ที่ ๒ ธิดาชื่อ อานิ๋ ที่ ๓ บุตรชื่อ เบี่ยนก๊อ

สายหลวงศรีสมบัติ ( คอซิมจั๋ว ) นายคอยู่กัด ณระนอง บุตรหลวงศรีสมบัติ ( คอซิมจั๋ว ) มีบุตร คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ คอเบียนเฮ็ก

สายพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมขิม ) นายคอยู่เชียด ณระนอง บุตรพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมขิม ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ คอเบียนโก้ ที่ ๒ ธิดาชื่อ เขียว ที่ ๓ ธิดาชื่อ เบี้ยว ๑๐๔ นายคอยู่โฉ ณระนอง บุตรพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมขิม ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ คอเบียนจี่ ที่ ๒ บุตรชื่อ คอเบียนตัด ที่ ๓ ธิดาชื่อ ซ๊อกจิ้น

พระรัตนเศรษฐี ( คอยู่ต๊ก ณระนอง ) บุตรพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมขิม ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ เพ็กเอี๋ยง ที่ ๒ บุตรชื่อ คอเบียนโฮ่ ที่ ๓ บุตรชื่อ คอเบียนอ๊วน ที่ ๔ ธิดาชื่อ คอเพ็กจิ้น ที่ ๕ ธิดาชื่อ คอเพ็กเซ็ก ที่ ๖ บุตรชื่อ คอเบียนต็อง ที่ ๗ ธิดาชื่อ คอเพ็กเกี้ยว ที่ ๘ บุตรชื่อ คอเบียนเฮ่า ที่ ๙ ธิดาชื่อ คอเพ็กซี่ม ที่ ๑๐ ธิดาชื่อ คอเพ็กโบ๊ย



๑๐๕ นายคอยู่เบ๊ก ณระนอง บุตรพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมขิม ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ คอสิ้วเพ็ก ที่ ๒ ธิดาชื่อ คอสิ้วเฉ้ง ที่ ๓ บุตรชื่อ คอเบียนเฮก

นายคอยู่ฮั่น ณระนอง บุตรพระยาอัษฎงคตทิศรักษา (คอซิมขิม) มีธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ คอสิ้วโฮ้

นายคอยู่เยี้ยง ณระนอง บุตรพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( คอซิมขิม ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ คอเบียนเจี๋ยด ที่ ๒ บุตรชื่อ คอเบียนเลี่ยม ที่ ๓ ธิดาชื่อ คอเพ็กห้อง ที่ ๔ บุตรชื่อ คอยอนนี ที่ ๕ ธิดาชื่อ คอเพ็กง๊วด ๑๔



๑๐๖ สายพระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต็ก ) หลวงสโมสรราชกิจ ( คอยู่จีน ณระนอง ) บุตรพระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต็ก ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ เจียร ที่ ๒ ธิดาชื่อ สวน ที่ ๓ บุตรชื่อ คอเบียนหงวน ที่ ๔ ธิดาชื่อ กระจ่าง ที่ ๕ ธิดาชื่อ คอจุ้ยง้อ 0ที่ ๖ ธิดาชื่อ แส ถึงแก่กรรมแล้ว ที่ ๗ ธิดาชื่อ องุ่น ที่ ๘ บุตรชื่อ คอเบียนตั่ว ที่ ๙ บุตรชื่อ คอเบียนเง็ก ที่ ๑๐ บุตรชื่อ คอเบียนคุ่น ที่ ๑๑ ธิดาชื่อ อรุณ ที่ ๑๒ ธิดาชื่อ จิรัง ที่ ๑๓ ธิดาชื่อ สอิ้ง ที่ ๑๔ บุตรชื่อ คอเบียนตุ่น ที่ ๑๕ บุตรชื่อ คอเบียนค้ำ ที่ ๑๖ ธิดาชื่อ สาว ที่ ๑๗ บุตรชื่อ อุดม


๑๐๗ ที่ ๑๘ บุตรชื่อ แดง ที่ ๑๙ ธิดาชื่อ สาคร

พระยาทวีวัฒนากร ( คอยู่เที้ยน ณระนอง ) พระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต็ก ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ พยง ที่ ๒ ธิดาชื่อ พยอม ที่ ๓ ธิดาชื่อ พยุง ที่ ๔ บุตรชื่อ คอเบียนฮก หรือเฉลิม ที่ ๕ ธิดาชื่อ พยูร

นายคอยู่ลิบ ณระนอง บุตรพระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต็ก ) มีธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ คอเตียวฮง ที่ ๒ ธิดาชื่อ คอเง็กเลี่ยง หรือหลง

ขุนพรประศาสน์ (คอยู่หุ้ย ณระนอง) บุตรพระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต็ก ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ เนื่อง ที่ ๒ บุตรชื่อ เล็ก


๑๐๘ รองอำมาตย์โท คอยู่ฉ้วน (ณระนอง) บุตรพระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต็ก ) มีธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ เอื้อน ที่ ๒ ธิดาชื่อ สอิ้ง

พระระนองบุรีศรีสมุทเขต ( คอยู่โง้ย ณระนอง ) บุตรพระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต๊ก ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ เม็ดบัว ที่ ๒ ธิดาชื่อ นงพาล ที่ ๓ บุตรชื่อ ดุษฎี ที่ ๔ ธิดาชื่อ เล็ก ที่ ๕ ธิดาชื่อ เอียด ที่ ๖ บุตรชื่อ ตุ๊ ที่ ๗ ธิดาชื่อ ปุก

ขุนราชรัชฎากร ( คอยู่ฉ่ำ ณระนอง ) บุตรพระยาจรูญราชโภคากร ( คอซิมเต๊ก ) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ บุตรชื่อ ประสงค์ ที่ ๒ ธิดาชื่อ ประสบ


๑๐๙ หลวงสุริยามาตย์ (เพิ่ม ณระนอง) บุตรพระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต๊ก) มีบุตรธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ กูล ที่ ๒ บุตรชื่อ สกล

นายร้อยตรี คอยู่ซก ณระนอง บุตรพระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต๊ก) มีธิดา คือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ นันทา นายร้อยเอก จมื่นรณภาพิชิต ( คอยู่เตียน ณระนอง ) บุตรพระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต๊ก) มีบุตรธิดาคือ ที่ ๑ ธิดาชื่อ จิตรา ที่ ๒ บุตรชื่อ ตาล ที่ ๓ บุตรชื่อ กำธร ที่ ๔ ธิดาชื่อ ระชัด ที่ ๕ เด็กชาย ( ยังไม่ได้ตั้งชื่อ ) สายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ( คอซิมบี๊ ) พระยารัษฎาธิราชภักดี ( คอยู่จ่าย ณระนอง ) บุตรพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ( คอซิมบี๋ ) มีบุตร คือ- ที่ ๑ บุตรชื่อ คอเบียนเจ้ง หรือ อิ๊ต.

(๑) คำว่า "ผู้สำเร็จราชการ" ใช้ในหนังสือครั้งรัชชกาลที่ ๔ หมายความ ว่าเปนผู้บัญชาการ มาใช้เป็นคำสูงศักดิ์ต่อในรัชชกาลที่ ๕

(๑) คำว่า ษาไท มาแต่คำว่า ภาษาไทย จีนชาวนคร ฯ เรียกคนที่เปนชาติ ไทยว่า ษาไทย ชาวจีนว่า ษาจีน

(๑) คำว่าอสัญญกรรม โดยปกติใช้แต่ศพเทียบชั้นเจ้าพระยา ที่ใช้ในสารตรา ฉบับนี้จะใช้ผิด หรือโดยคำสั่งให้ใช้เป็นพิเศษ ข้อนี้ไม่มีทางที่จะสอบให้ทราบแน่ (๑) คืออั้งยี้ทางหัวเมืองเหล่านั้น ในสมัยนั้นมีเปน ๒ พวก เรียกว่าพวกยี่หิน ศีร์ษะกระบือพวก ๑ พวกปุนเถาก๋งพวก ๑


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก