ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉะบับหลวงตรา 3 ดวง/เล่ม 1/ส่วนที่ 11
งานนี้ยังไม่เสร็จ สามารถดูและร่วมพัฒนาได้ที่ดัชนีนี้: 1 |
พระไอยการลักษณภญาน[1]
จะกล่าวซึ่ง[2] ลักษณอันชื่อสักขินั้น มีบาฬีว่า |
โย จายํ ปิ สจฺจภูโต ยุตฺโต สกฺขิ ติ นามโก |
โส ปิ ธมฺโม วิวาทานํ กงฺขฉินฺทนิทสฺสโน |
แปลว่า โย จ อยํ ธมฺโม อันว่าสภาวะอันใด สจฺจภูโต |
รู้มีสภาวะเหนได้ยินโดยจริง กงฺขฉินฺทนิทสฺสโน อันสำแดง |
ซึ่งข้อความให้ขาดสงไสย วิวาทานํ แห่งชนทังหลายผู้วิวาทกัน |
โส ปิ ธมฺโม แม้นอันว่าสภาวะนั้น สกฺขิ ติ นามโก มีชื่อ ๆ |
ว่าสักขิคือพญาน ยุตฺโต ก็ควร |
อนึ่ง สาขคดีอันมีโดยคำภีรพระธรรมสาตร อันสมเดจ์ |
บรมราชกระษัตรบันญัติ จัดเปนบทมาตราสืบ ๆ กันมาดั่งนี้ |
ศุภมัศดุ ศักราช ๑๘๙๔ พยักฆสังวัจฉะระเชษฐมาเสกาล |
ปักเขเอกาทศมีดิดถียังอาทิตยวาระ พระบาทสมเดจ์พระรามา |
ธิบดีศรีสุนธรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ผู้ผ่าน |
กรุงเทพมหานครบวรทวาราวะดีศรีอยุทธยามหาดิหลกภพ |
นพรัตนราชธานีบุรีรมยอุดมมหาสถาน ทรงทศพิทราชธรรมอัน |
ประเสริฐ เสดจ์สถิตยณะพระธินั่งรัตนสิงหบัญชรมหาปราสาท |
พร้อมด้วยหมู่มาตยาภิมุกขมนตรีกระวีชาติราชปโรหิตตาจารย |
เฝ้าพระบาทสมเดจ์บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว จึ่ง |
มีพระราชโองการมาณะพระ[3] บันทูลสุรสิงหนาทดำหรัดแก่ |
ผู้พิภากษาสุภากระลาการทุกกระทรวงถบวงการว่า เมื่อ |
กระลาการจะเผชิญพญาณไซ้ ให้กระลาการประกาศจำเภาะ |
หน้าพญาณว่า สมเดจ์พระกุกกุสนธ พระโกนาคม |
พระกัษษป ทังสามพระองคนี้ ได้ตรัสแก่พระสรรพัญตัญาญาณ |
แล้วเสดจ์เข้าสู่พระบรินฤพานไปเปนลำดับ แลสมเดจ์ |
พระศรีสากยมุนีโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราทรงส้างพระสมภาร |
บาระมี ๔ อสงไขยแสนมหากัลป บำเพญพุทธบริจาคทัง ๕ |
พระบาระมี ๓๐ ทัศ จึ่งได้ตรัสเปนสมเดจพระพุทธิเจ้าในพระรัตน |
บันลังก์ควงไม้ทุมราชพระมหาโพธิ โปรดจัตุบรรพสัตวทัง ๔ คือ |
พระภิกษุ ภิกษุนี อุบาสก อุบาสีกา ให้ลุะพระอรหัตปฏิสัมภิทา |
ญาณครบกำหนดพุทธเวไนย ภอพระชนมายุศมท่วน ๘๐ พระ |
พรรษา ก็เสดจ์เข้าสู่พระอมัตมหานครนฤพาน ทรงพระมหา |
กรรุณาพระราชทานพระบวรพุทธสาศนาไว้ ๕๐๐๐ พระพรรษา |
แลพระไตรยปิฎกธรรม ๘ หมื่น ๔ พันพระธรรมขันธ กับทังพระ |
ปฏิมากรเจดีย ฉลองพระองคไว้เปนที่ไหว้ที่สการะบูชาแก่ |
เทพยุดามานุษยทังปวง แลปางนี้ฃอเทพยุดาเจ้าทังหลาย |
คือ พระอินท พระพรหม พระยมราช แลท้าวจาตุโลกบาล |
พระจันท พระอาทิตย์ ภูมอารักษอากาศเทพยุดาผู้รักษา |
พระพุทธสาศนา แลเทพยุดาอันรักษาซึ่งขอบขันธเสมาแล |
พระมหาบวรเสวตรฉัตรจงเสดจ์มาประชุมให้พร้อมกันในสถาน |
ที่นี้ ฟังซึ่งคำคนผู้จะเปนสักขิพญาณแก่กัน ถ้าเหน ให้ว่าเหน |
ได้ยิน ให้ว่าได้ยิน รู้ ให้ว่ารู้ ถ้าหมีได้เหน ว่าได้เหน หมีใด้[วซ 1] ยิน ว่า |
ได้ยิน หมี[4] รู้ ว่ารู้ แผ่นพระธรณีอันหนาได้สองแสนสี่หมื่น |
โยชนอย่าได้ทรงซึ่งคนอันหาความสัจหมีได้ไว้เลย ให้เปนพิกล |
บ้าไบ้วิบัดิต่าง ๆ ถ้าจะไปบกเข้าป่า ให้เสือกิน แลต้องอะสุนีบาต |
สายฟ้าฟาด แลบังเกิดอุบัดิโลหิตตกจากปากจะหมูกถึงซึ่ง |
ชีวิตรพินาศ อย่าให้ทันสั่งบุตรภรรยา แลคำสาบาลทังนี้จงให้ |
ได้แก่คนอันหาความสัจมิได้ |
ประการหนึ่ง ให้ท่านตัดศีศะคนซึ่งเปนพญาณหาความสัจ |
หมีได้ให้มากกว่าก้อนส้าวคนทังหลายในมนุษโลกยนี้ อนึ่ง |
ให้ท่านตัด |
|
เสียให้มากกว่าเส้นหญ้า อนึ่ง ให้ท่านเชีอดเนื้อ |
คนอันหาความสัจมิได้ให้มากกว่าแผ่นดินอันหนาได้สองแสน |
สี่หมื่นโยชน อนึ่ง ให้ท่านควักตาคนอันหาความสัจหมีได้ให้ |
มากกว่าดาวในพื้นอากาศ แลคนอันหาความสัจหมีได้นั้น ครั้น |
จุติจากมนุษแล้ว ให้ไปบังเกิดเปนเปรดในเชิงเขาคิชกูฎมี |
ตัวอันสูงได้สามคาพยุต มีปากเท่ารูเขม เอาเลบตนแกะซึ่งโลหิต |
ในกายกินเปนภักษาหาร สิ้นพุทธันดรกัลปหนึ่ง ครั้นจุติ |
จากเปรดแล้ว ให้ไปตกในมหานรกทนทุกขเวทนาแสนสาหัศ |
สิ้นพุทธันดรกัลปหนึ่ง ซึ่งหมีรู้ว่ารู้นั้น นายนิริยบาลเอากาย |
ขึ้นวางเหนือแผ่นเหลกแดง แล้วเอาเหลกแดงตรึงศีศะ |
ตรึงเท้าไว้แล้วเอาขวานผ่าอกตัดตีนสีนมือเสีย ซึ่งหมีได้ยินว่า |
ได้ยินนั้น นายนิริยบาลเอากายขึ้นวางเหนือแผ่นเหลกแดง แล้ว |
เอาหอกอันใหญ่แทงหูขวาตะหลอดหูซ้ายแทงหูซ้ายตะหลอด |
หูขวา ซึ่งหมีได้เหนว่าได้เหนนั้น นายนิริยบาลเอากายขึ้นวาง |
เหนือแผ่นเหลกแดง เอาฃอเกี่ยวตา |
|
คร่าออกมา แลคน |
ผู้หาความสัจหมีได้นั้นกลัวไภย แล่นลงไปยังขุมคูธนรกอันเตม |
ไปด้วยลามกอาจมเดือดพล่านว่ายอยู่ มีตัวอันลลายไปแล้ว |
เกิดขึ้นมาเสวยทุกขเวทนาอีกเล่า ครั้นจุติจากนรกแล้ว |
จักเกิดเปนสุนักขเรื้อนเปนสัตวเดือนกิ้งกื ถ้าเกิดเปนมนุษ |
จะเปนง่อยเปลี้ยแต่ในครรภ์ แลตานั้นบอดหูนั้นหนวก เปนคน |
เตี้ยค่อมบ้าใบ้แต่กำเนิด เกิดวิบัดิสรรพต่าง ๆ แลไภยอันตราย |
ซึ่งกล่าวมาทังนี้ จงได้แก่พญาณอันหาความสัจมิได้นั้น |
ถ้าแลผู้เปนสักขิพญาณกล่าวแต่ตามสัจตามจริงไซ้ แล |
เกิดมาในภพใด ๆ ถ้าเปนบุรุษ จะบริสุทธไปด้วยรูปโฉมพรรณ |
สัณฐานอันประเสริฐ บังเกิดเปนนักปราชกอปรด้วยปรีชาชาญ |
ถ้าเปนสัตรีจะมีพรรณสัณฐานอันไพบูรรณ แลผลแห่งตน |
อันมีความสัจนั้น ไปในอะนาคต จะทรงพระไตรยปิฎกธรรมอัน |
เปนที่จะยกเอตะทักคะในพระพุทธสาศนา สมเดจ์พระศรี |
อาริยเมตไตรยเจ้าอันจะมาตรัสในภายภาคหน้า แลจะบ่ายหน้า |
เข้ายังพระอมัตะมหานครนฤพานนั้นแล |
อนึ่ง ให้ผู้พิภากษาสุภากระลาการเลงดูคำพญาณนั้นโดยระบุะสำนวน ควรที่จะฟัง ก็ให้ฟัง มิควรที่จะฟัง อย่าให้ฟัง ให้ฟังเอาคำพญาณแต่ที่อันจริง ได้เนื้อความประการใด จึ่งให้เลงดูคำสักขิพญาณ แลให้ผู้พิภากษาตั้งสติปัญาผูกพันทในอารมณ พิจารณาดูโทษอันใหญ่ น้อย อันมีภาย[5] ในภายนอกสรรพการแห่งอาตมาภาพให้แจ้งในปัญาก่อน แล้วจึ่งให้ตั้งใจปลงฟังคำพญาณจงหนัก อย่าให้ลุะอำนาทแก่ใจอันเปนบาป แลพิภากษาว่ากล่าวประกอบด้วยปัญาจงเลอียด อย่าให้เลาะและปากเบา จึ่งจะสมเปนใหญ่ในที่พิภากษาปรับคดีทั้งปวง แม้นจะว่ากล่าวพิภากษาเนื้อความคดีทังปวงนั้น ให้เลงดูในคำพญาณแลทางความให้เหนแน่ใจในคนเดียวก่อน ถ้าได้พิภากษาว่ากล่าวออกไปแล้วมีผู้เหนคดีนั้นบมิควรแลจะทักท้วงควรให้ฤ้ๅพิภากษาพิจารณาไปจงได้จริง อย่าลุะอำนาทมัวเมาถือทฤฐิมานะจะได้อัปราไชยแก่ผู้มีปัญาเปนอัน[6] เที่ยงแท้ ผู้พิภากษาสุภากระลาการจงรู้ในลักษณพญาณทัง ๕ ประการนี้ ก็ย่อมจะเปนที่สรรเสริญแก่บุทคลทังปวง แลพญาณ ๕ ประการนั้น คือ ราชสกูลประการ ๑ พราหมณสกูลประการ ๑ แพทยสกูลประการ ๑ สูทธสกูลประการ ๑ หินะสกูลประการ ๑ อันว่าพินิจพิดเคราะหสกูลแห่งพญาณท่านกล่าวไว้ดั่งนี้ |
อนึ่ง ในลักษณพญาณกอปรด้วยองค ๖ ประการ คือ บุทคลกอปรด้วยเคหสถานอันบริบูรรณ ๑ คือว่าบุทคลอันบริบูรรณด้วยลูกหลานมาก ๑ คือว่าบุทคลกอปรด้วยน้ำใจเปนสัปรุษ ๑ คือว่าบุทคลมีน้ำใจกอปรด้วยกุศล ๑ คือว่าบุทคลกอปรด้วยตระกูลเปนเศรษฐีอันประเสริฐ ๑ คือว่าบุทคลเปนที่สการบูชาแก่คนทังปวง ๑ อันว่าบุทคลกอปรด้วยองคหกประการดั่งนี้ จึ่งควรให้กระลาการถามเอาผู้นั้นเปนพญาณ |
ถ้าทวยราษฎรทังปวงผู้มีอรรถคดีอ้างพญาณ จะฟังเอาเปนพญาณหมีได้ คือว่า |
คน ๓๓ จำพวก |
คนหมีได้อยู่แก่ศีล | ๘ |
๑ | คนไม่มีเรือนเที่ยวจร | ๑ | แล | |||||||||||||
คนกู้นี่ยืมสีนผู้เปนความ | ๑ | คนถือกระเบื้องกระลาฃอทาน | ๑ | ||||||||||||||||
คนผู้เปนทาษผู้เปนความ | ๑ | คนหูหนวก | ๑ | ||||||||||||||||
คนเปนญาติผู้เปนความ | ๑ | คนตาบอด | ๑ | ||||||||||||||||
คนเปนมิศหายผู้เปนความ | ๑ | หญิงนครโสภิณี | ๑ | ||||||||||||||||
คนเปนเพื่อนกินอยู่สมเล | ๑ | หญิงแพศยา | ๑ | ||||||||||||||||
กับผู้เปนความ | หญิงมีครรภ | ๑ | |||||||||||||||||
คนวิวาทกับผู้เปนความ | ๑ | เปนกระเทย | ๑ | ||||||||||||||||
คนมักมาก | ถ้อย ความ |
๑ | เปนบันเดาะ | ๑ | |||||||||||||||
คนผูกเวรกับผู้เปนความ | ๑ | คนเปน | พ่อ แม่ |
มด | ๑ | ||||||||||||||
คนเปนโรคมาก | ๑ | คนเปนพิกลจริต | ๑ | ||||||||||||||||
เดก ๗ เข้า | ๑ | หมอยาหมีได้เรียนคำภีรแพท | ๑ | ||||||||||||||||
เถ้า ๗๐ | ๑ | ช่างเกือก | ๑ | ||||||||||||||||
คนมักเสียดส่อท่าน | ๑ | คนปะมง | ๑ | ||||||||||||||||
คนเต้นรำฃอทานเลิ้ยงชีวิตร | ๑ | คนนักเลงเล่นเบี้ยบ่อน | ๑ | ||||||||||||||||
คนขับฃอทานท่าน | ๑ | คนเปนโจร | ๑ | ||||||||||||||||
คนโทโสมาก | ๑ | ||||||||||||||||||
คนเปนเพชฆาฎ | ๑ |
คน ๓๓ จำพวกนี้ อย่าให้ฟังเอาเปนพญาณ ถ้าโจท จำเลย ยอมให้สืบ ฟังเอาเปนพญาณได้ |
1 |
---|
๑อันว่าลักษณพญาณนั้นมีสามจำพวก คือว่า[วซ 2]ทิพ อุดร อุตริ พญาณ ๑ อันว่าทิพพญาณนั้น คือ พระภิกษุทรงธรร[วซ 3] พราหมณาจารยอันอยู่แก่ศีลแลพรศกรรม แลนักปราชราชบัณฑิตยอันอยู่แก่ธรรม แลขุนนางผู้มีบันดาศักดิ์ดำรงราช |
2 |
๒อุดรพญาณนั้น คือ นายหัวพันหว[วซ 4] ปากภูดาษทำมรงจ่าเสมียรนักการพ่อค้าแม่ค้าคนทำไร่ไถนาพึงเอาเปนมูลความ |
3 |
๓อุตริพญาณนั้น คือว่า พี่น้องพ้องพันธุญาติกาตนเอง แลมิตรสหายเพื่อนกินอยู่สมเล คนผู้ยากเปนวนิพกแลคนพญาธิเรื้อนหูหนวกตาบอดอันอยู่รัทยาหาวงษาหมีได้ |
4 |
๔มาตราหนึ่ง ผู้มีอรรถคดีทังสองเปนความกันอ้างพญาณ ฝ่ายค่างหนึ่งอ้างได้ทิพญาณก็ดี อุดรพญาณก็ดี อุตริพญาณก็ดี ท่านให้พิดเคราะดูคำพญาณ ๓ ประการนี้ไซ้ ถ้าว่าสมด้วยผู้อ้าง ให้พึงพิจารณาดูผู้มีอรรถคดีทังสองนั้น ผู้ใดเปนอุก ผู้ใดหมีได้เปนอุก ให้พิภากษาตามโทษนั้นเถิด |
5 |
๕อนึ่ง ทังสองอ้างพญาณร่วมกันอันเดียว ถ้าสมข้างผู้ใด ให้เอาข้างผู้นั้นเปนชณะแก่ความ ท่านเรียกว่า สมพญาณ ถ้าสมพญาณมีพิรุท ท่านเรียกว่า อะสมพญาณ ท่านว่า หมีเปนชณะแก่ความ ให้เลงดูเขาทังสองสถานนี้ ให้พญาณนั้นพิสูทตัวเอง ถ้าชณะแก่พิสูทแล้ว เปนชณะแก่ความ กล่าวมาทังนี้ชื่อว่า สมพญาณอะสมพญาณ |
6 |
๖อนึ่ง ถ้าโจท จำเลย อ้างพญาณต่าง ๆ กัน ชื่อ นา ๆ พญาณ ถ้าอ้างร่วมกัน ชื่อ สมะพญาณ สมคำผู้ใดเปนชณะแก่ความ ถ้าพิรุทไซ้ ชื่อ อะสมพญาณ หมีเปนชนะแก่ความ ให้ใคร่ดูทิพพญาณอุดร อุตริ พญาณที่จะฟังได้หฤๅหมีได้ ให้ฟังเอาแต่ที่อันจริง ถ้าผู้หนึ่งอ้างพญาณ ครั้นไปเผชิญพญาณ ๆ ให้การว่า มีผู้รู้เหนได้ยินเปน ๓ ต่อออกไป ชื่อ โยนพญาน สมดังคำอ้าง ฟังเอาเปนพญาณได้ |
7 |
๗มาตราหนึ่ง โยนพญาณนั้น คือ ทังสองอ้างพญาณ๒ ๓ คน พญาณพิสูทตัวแล้วกล่าวคดีสมอ้าง แลมีคำพญาณนั้นระบุะว่า มีผู้รู้เหนได้ยินด้วยอีกคน๑ ๒ คนก็ดี ท่านว่า ให้เอาคำพญาณซึ่งระบุะอ้างต่อไปนั้นกฎเอาไว้ แล้วให้บังคับบันชา ถ้ามิควรจะสืบ อย่าให้สืบ ถ้าควรที่จะสืบ ให้สืบ ถ้าโยนพญาณนั้นกล่าวสมคำพญาณ ท่านว่า ชื่อ ชะนะสมพญาณ ถ้าโยนพญาณกล่าวคดีหมีสม อย่าให้ฟังถ้อยคำมันผู้เทจ์ |
8 |
๘อนึ่ง ยลพญาณนั้น คือ วานท่านให้ไป[7] นั่งรู้เหนด้วย แลคนนั้นก็รับว่า มีผู้รู้เหนสามต่อไซ้ ท่านให้พิดเคราะหดูคำเขาทังสองนั้น ถ้าสมแล้ว ให้ฟังเอาคำพญาณนั้นได้ |
9 |
๙อนึ่ง กลพญาณนั้น คือ วานท่านไปถามเปนคำนับข้างหนึ่งรับ ท่านให้พิจารณาดู ถ้าเปนทิพพญาณ อุดรพญาณ ฟังได้ ถ้าเปนอุตริพญาณ ฟังเอาหมีได้ ท่านว่า บาปบุญคุณโทษไว้แก่ผู้กล่าว |
10 |
๑๐อนึ่ง ผู้มีอรรถคดีอ้างพญาณ ๆ ให้การแลแก้ค้านเข้าด้วยฝ่ายโจท จำเลย ไซ้ ชื่อพญาณอาษา ท่านบให้พึงฟัง ให้กฎเอาคดีนั้นเปนแพ้ |
11 |
๑๑อนึ่ง สมพญาณนั้น คือว่าโจท จำเลย ทังสองอ้างพ่อแม่พี่น้องญาติฝ่ายข้างหนึ่งเปนพญาณ ๆ พิสูทตัวแล้วกล่าวสมอ้างผู้นั้น ท่านว่า เปนองคพญาณ เปนชะนะแก่ความ บาปบุญคุณโทษไว้แก่ผู้กล่าว |
12 |
๑๒ทิพพญาณนั้นมี ๑๕ ประการ ๆ หนึ่ง อ้างผู้อยู่แก่ศีลทรงพรต ประการหนึ่ง อ้างนักปราชราชบัณฑิตยผู้อยู่แก่ธรรม ประการหนึ่ง อ้างท่านผู้มีบันดาศักดิ ประการหนึ่ง อ้างพญาณร่วมกัน ประการหนึ่ง พระภิกษุวิวาทกันพระครูเจ้าวัดเปนพญาณ ประการหนึ่ง ศิษยโยมวิวาทกัน ครูบาอาจาริยชิต้นเปนพญาณ คู่ความทังสองวิวาทกัน สุภากระลาการเปนพญาณ บิดามานดาวิวาทกันบุตรเปนพญาณ บุตรเปนความกัน บิดามานดาเปนพญาณ พี่วิวาทกัน น้องเปนพญาณ น้องวิวาทกัน พี่เปนพญาณ หลานวิวาทกัน ปู่ญ่าตายายลุงป้าน้าอาวอาเปนพญาณ ปู่ญ่าตายายลุงป้าน้าอาวอาวิวาทกัน หลานเปนพญาณ บ่าววิวาทกัน นายเปนพญาณ ข้าเปนความกัน เจ้าเงินเปนพญาณ |
กล่าวมาทัง ๑๕ ประการนี้ พิสูทตัวชะนะแก่พิสูทกล่าวคดีสม ท่านให้เอาเปนทิพพญาณ ชะนะแก่ความ บาปบุญคุณโทษไว้แก่ผู้กล่าว |
13 |
๑๓อนึ่ง ลักษณพญาณอันจะฟังเอาเปนมูลคดีนั้น คือว่า อยู่ด้วยกัน ไปด้วยกัน ทำกินด้วยกัน จะฟังเอาเปนพญาณได้แลหมีได้นั้น มีดั่งนี้ |
คือ เมียน้อยเมียหลวงวิวาทกัน อ้างผัวเปนพญาณ ท่านหมีให้ฟังเอาได้ เหตุผัวมืดมัวด้วยเสน่หรักษใคร่แลอาไลยอยู่ในทรัพยสิ่งของ หมีได้กล่าวแต่ที่อันจริง ท่านให้ฟังเอาแต่ชาวเกลอแลเพื่อนบ้านเปนพญาณในมูลคดีความ |
ประการหนึ่ง ในคงคามหาสมุท ชาวเรือ สำเภา วิวาทกัน เพื่อนเรือ สำเภา เปนพญาณ |
ประการหนึ่ง ชาวเรือ สำเภา ลำเดียวกัน ผู้ไปเรือ สำเภา ลำเดียวกันเปนพญาณ |
ประการหนึ่ง เดิรหนทางด้วยกันวิวาทกัน ผู้เดิรหนทางด้วยกันเปนพญาณ |
ประการหนึ่ง เดิรหนไปอาไศรยศาลาด้วยกันวิวาทกัน[8] ผู้เดิรหนอาไศรยศาลาด้วยกันเปนพญาณ |
ประการหนึ่ง ไปกลางป่ากลางดงห้วยเขาด้วยกันวิวาทแก่กัน เอาพรานป่าแลโขมดป่าผู้ไปด้วยกันเปนพญาณหน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/353หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/354หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/355หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/356หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/357หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/358หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/359หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/360หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/361หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/362หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/363หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/364หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/365หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/366หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/367หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/368หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/369หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/370หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/371 |
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "วซ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="วซ"/>
ที่สอดคล้องกัน