ประมวลรัฐนิยม และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการแต่งกายฯ
ประมวลรัฐนิยม |
และ |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี |
เรื่อง ระเบียบการแต่งกายสตรีและข้าราชการ |
ที่ไปในงานพิธีต่าง ๆ การไว้ทุกข์ในงานศพ |
ในคราวพระราชทานเพลิงศพคุณพระประสานอักษรกิจ (ใย คุปตารักษ์) บิดาบังเกิดเกล้าของข้าพเจ้า นอกจากการบำเพ็ญกุศลอื่นแล้ว ข้าพเจ้าเห็นสมควรรวบรวมพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น เพื่อแจกเป็นอนุสสรณ์แก่บรรดาท่านที่มาเป็นเกียรติยศในงานนี้
หนังสือฉะบับนี้ได้รวบรวมบรรดารัฐนิยม และประกาศในทางราชการเกี่ยวกับการแต่งกายของประชาชนคนไทย ซึ่งทุกคนมีหน้าที่จะต้องรู้และปฏิบัติตาม ข้าพเจ้าจึงหวังที่จะให้หนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตามดังกล่าวแล้วโดยถูกต้อง และเพื่อประโยชน์ในการประกาศให้แพร่หลายยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกด้วย
ข้าพเจ้าขออุททิศส่วนผลานิสงส์นี้จงมีแด่บิดาบังเกิดเกล้าของข้าพเจ้า หากท่านจะพึงทราบได้ด้วยญาณวิถีใด จงสำเร็จเป็นปัตติทานมัยกุศลเพื่อประสพอิฐวิบุลผลสุขสมบัติโดยควรแก่คติวิสัยทุกประการ
(ชะอุ่ม จารุจินดา)
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๑
|
หน้า
|
๑ | |
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๒
|
”
|
๓ | |
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๓
|
”
|
๕ | |
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๔
|
”
|
๖ | |
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๕
|
”
|
๙ | |
คำชักชวนของรัฐบาล ให้พยายามปฏิบัติตามรัฐนิยม ฉะบับที่ ๕ ด้วยดี
|
”
|
๑๑ | |
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๖
|
”
|
๑๕ | |
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๗
|
”
|
๑๗ | |
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๘
|
”
|
๑๙ | |
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๙
|
”
|
๒๑ | |
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๑๐
|
”
|
๒๔ | |
รัฐนิยม ฉะบับที่ ๑๑
|
”
|
๒๖ | |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
|
หน้า
|
||
เรื่อง ระเบียบการแต่งกายของสตรี
|
”
|
๒๙ | |
เรื่อง ระเบียบการแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ
|
”
|
๔๐ | |
ว่าด้วยระเบียบการแต่งกายของข้าราชการที่ไปในงานพิธีต่าง ๆ
|
”
|
๔๒ | |
แก้ไขระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของสตรีพ้น ๑๘.๐๐ น. แล้ว จะสวมหมวกหรือไม่สวมก็ได้
|
”
|
๔๔ | |
ระเบียบการประดับเหรียญช่วยราชการเขตต์ภายใน
|
”
|
๔๕
|
โดยที่ชื่อของประเทศนี้มีเรียกกันเป็นสองอย่าง คือ "ไทย" และ "สยาม" แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า "ไทย" รัฐบาลเห็นสมควรถือเป็นรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติและความนิยมของประชาชนชาวไทย ดั่งต่อไปนี้
ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ให้ใช้ว่า "ไทย"
๑.ชื่อประเทศ ให้ใช้ว่า Thailand
๒.ชื่อประชาชนและสัญชาติ ให้ใช้ว่า Thai
แต่ทั้งนี้ ไม่กะทบถึงกรณีที่มีบทกฎหมายบัญญัติคำว่า "สยาม" ไว้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๒ เป็นต้นไป
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
ด้วยรัฐบาลพิจารณาเห็นว่า ชาติไทยต้องเป็นที่เทอดทูลของชาวไทยอย่างสูงสุดเหนือสิ่งใด ๆ การป้องกันรักษาชาติย่อมเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่ร่วมชาติกันจักต้องป้องกันอันตรายหรือความเสื่อมโทรมของชาติที่อาจจะมีมาด้วยประการต่าง ๆ จึ่งประกาศเป็นรัฐนิยมไว้ ดั่งต่อไปนี้
๑.ชนชาติไทยต้องไม่ประกอบกิจการใด ๆ โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์และความปลอดภัยของชาติ
๒.ชนชาติไทยต้องไม่เปิดเผยสิ่งซึ่งอาจเป็นผลเสียหายแก่ชาติให้ชนต่างชาติล่วงรู้เลยเป็นอันขาด การกระทำเช่นนั้นเป็นการทรยศต่อชาติ
๓.ชนชาติไทยต้องไม่ทำตนเป็นตัวแทนหรือเป็นปากเสียงของต่างชาติโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติไทย ต้องไม่ออกเสียงหรือแสดงตนเข้าข้างต่างชาติในกรณีที่เป็นปัญหาระหว่างชาติ การกระทำเช่นนั้นเป็นการทรยศต่อชาติ
๔.ชนชาติไทยต้องไม่แอบอ้างซื้อขายที่ดินแทนชนต่างชาติในทางที่เป็นภัยแก่ชาติ การกระทำเช่นนั้นเป็นการทรยศต่อชาติ
๕.เมื่อปรากฏว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดทรยศต่อชาติ เป็นหน้าที่ของชาวไทยต้องเอาใจใส่รีบระงับเหตุนั้น
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
ด้วยรัฐบาลเห็นว่า การเรียกชาวไทยบางส่วนไม่ต้องตา}ชื่อเชื้อชาติและความนิยมของผู้ถูกเรียกก็ดี การเรียกชื่อแบ่งแยกคนไทยออกเป็นหลายพวกหลายเหล่า เช่น ไทยเหนือ ไทยอิสาณ ไทยใต้ ไทยอิสลาม ก็ดี ไม่สมควรแก่สภาพของประเทศไทยซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกมิได้
จึ่งประกาศเป็นรัฐนิยมไว้ ดั่งต่อไปนี้
๑.ให้เลิกการเรียกชาวไทยโดยใช้ชื่อที่ไม่ต้องตามชื่อเชื้อชาติและความนิยมของผู้ถูกเรียก
๒.ให้ใช้คำว่า "ไทย" แก่ชาวไทยทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยก
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/13หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/14หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/15
หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/18หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/19หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/20หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/21
หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/28หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/29หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/30
หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/33หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/34หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/35
หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/36หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/37หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/38หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/39หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/40หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/41หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/42หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/43หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/44หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/45หน้า:รัฐนิยม - ชะอุ่ม จารุจินดา - ๒๔๘๔.djvu/46
งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก