ประวัติพระยาภิรมย์ภักดี กับประวัติโรงเบียร์/ส่วนที่ 1


ของ
พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร)
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ ถึง ๒๔๗๔ ค.ศ. ๑๙๓๑

วันเกิด, วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๓๓ ตรงกับวันที่ ๑๓ ตุลาคม ร.ศ. ๙๑ พุทธศักราช ๒๔๑๕ 13th October 1872 เวลาเพลแล้ว โดยพระภิรมย์ภักดี (ชม เศรษฐบุตร) บิดา นางมา เศรษฐบุตร มารดา ณ บ้านปลายสพานยาว วัดบพิตรพิมุข (เชิงเลน) ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลจักรวรรดิ์ อำเภอสัมพันธ์วงศ์ เมื่อยังเป็นเด็ก ชักว่าวถอยหลังตกสพานยาวหัวปักเลน มีผู้ช่วยขึ้นมาได้ ท่านบิดาจึงให้ชื่อว่า "บุญรอด" เป็นเด็กค่อนข้างซนกว่าเด็กเพื่อนบ้าน.
พ.ศ. ๒๔๒๖
เรียนหนังสือกับพระ, ท่านบิดาสอนหนังสือไทยให้ในบ้าน พออายุได้ ๑๑ ปี ก็ให้ไปเรียนต่อพระอาจารย์เนียม วัด (เชิงเลน) บพิตรพิมุข หลังบ้านนั้น ได้ปีเศษ ก็ให้ไปฝึกหัดวาดเขียน ณ บ้านหลวงฤทธิ์ฯ สพานยาว วัดจักวรรดิ์ราชาวาศ (สามปลื้ม) กลับบ้านยังช่วยเล่นว่าวตามเดิม.
พ.ศ. ๒๔๒๘
เรียนหนังสืออังกฤษ, อายุได้ ๑๔ ปี เห็นพวกพี่ไปเรียนหนังสืออังกฤษ จึงขอท่านบิดานำไปฝากท่านอาจารย์หมอ เอส. ยี. แมคฟาแลนด์ S. G. MacFarland ณ โรงเรียนหลวงสวนอนันต์ ในคลองมอญ ธนบุรี ต้องไปมาโดยเรือจ้างแจวทุกวัน เรียนอังกฤษอยู่ราว ๒ ปีเศษ โรงเรียนก็ย้ายมาตั้งสอนอยู่ที่สุนันทาลัย ปากคลองตลาด ตั้งแต่เริ่มต้นเรียน ณ โรงเรียนเก่าและย้ายมาเรียนในโรงเรียนใหม่ นายบุญรอดเรียนรู้ได้เร็ว จบเล่ม ๑ แล้วก็ต่อขึ้นเล่มสองของหนังสือเรียนปีละ ๒/๓ ครั้งทุกปี ด้วยสมัยนั้นยังไม่ได้จัดชั้นเรียน ใครเรียนได้เรียนเอา ผ่านพวกที่มาเรียนพร้อมกันและไล่ทันพวกที่มาเรียนก่อนนานแล้วก็หลายคน ณ โรงเรียนสุนันทาลัยนั้น ครูมังกร อมาตยกุล ภายหลังเป็นพระยาวินิจฯ เป็นครูสอนวิชาอัลยิบร่า เฆมิสตรี ฟิซิคส์ และไฟฟ้า คือ วิชาชุบเงินทองด้วยไฟฟ้า ให้แก่นายบุญรอด.
พ.ศ. ๒๔๓๒ ร.ศ. ๑๐๘ ค.ศ. ๑๘๙๑
สอบไล่การเรียนได้ที่ ๑, เมื่อต้นเดือนมีนาคมปีนี้ ได้มีการสอบไล่วิชาความรู้ของนักเรียนทุกคนเป็นงานใหญ่โดยมิสเตอร์มอรันต์ R. Morant ข้าหลวงใหญ่กระทรวงธรรมการตั้งมา ในที่สุดนายบุญรอดสอบได้ทุกวิชาเป็นที่ ๑ ของโรงเรียน ได้มีการพระราชทานรางวัล โดยสมเด็จเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ พระยุพราช เสด็จมาพระราชทาน ณ เวลาบ่ายวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ นั้น ทางโรงเรียนได้เชิญผู้ปกครองนักเรียนมาเฝ้าพร้อมกัน นายบุญรอดได้รับพระราชทานรางวัลชั้นที่ ๑ ทุกวิชาที่เรียน กับเงินอีก ๑๕๐ บาทเป็นรางวัลพิเศษ และประกาศนียบัตร์กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีธรรมการ ลงพระนาม.

ขณะหนุ่มน้อยจับคนอง บ่ายวันหนึ่งแม่น้ำเอ่อขึ้นกำลังนิ่ง ได้ชวนลงเล่นน้ำว่ายข้ามฟากแม่น้ำตรงหน้าบ้าน มีเรือใบ ๓ เสาทอดสมอกลางแม่น้ำ เพื่อนไม่กล้าดำรอดท้องเรือไป แต่นายบุญรอดได้ดำรอด แล้วดำรอดกลับว่ายมาบ้าน เกิดหูเป็นน้ำหนวกขึ้นข้าง ๑ ตั้งแต่บัดนนั้น รักษาไม่หายตลอดมา.

พ.ศ. ๒๔๓๓
รับราชการเป็นครูสอน, ครั้นเปิดโรงเรียนใหม่จากการหยุดต้นปีแล้ว กระทรวงธรรมการได้เลือกตั้งให้นายบุญรอดเป็นครูสอนนักเรียนในโรงเรียนนั้น รับเงินเดือน ๆ ละ ๑๕ บาท และท่านอาจารย์กำหนดเวลาว่างให้เรียนหนังสืออังกฤษเพิ่มเติมต่อไปอีกด้วย.
ย้ายไปเป็นครูโรงเลี้ยงเด็ก, เป็นครูสอนอยู่สุนันทาลัยเกือบปี ทางการโรงเลี้ยงเด็กอนาถาของพระอรรคชายาเธอมาขอนายบุญรอด กับนายนกยูง วิเศษกุล (พระยาสุรินทร์ราชา) ไปเป็นครูสอนเด็ก มิสเตอร์ เอส. กรีนรอด S. Greenrod ชาวอังกฤษ เป็นอาจารย์ปกครอง ณ โรงเลี้ยงเด็กนี้ มีแปลกอย่างหนึ่งที่เด็กอนาถาทุกคนให้ตั้งชื่อคำต้นว่า "บุญ" เช่น บุญเกิด บุญเทียม บุญธรรม บุญผ่อง ฯลฯ ไม่ซ้ำกันนับจำนวนร้อย แต่ไม่มีชื่อ "บุญรอด" สักคนเดียว การเป็นครู ณ ที่โรงเรียนเรียกว่าครูฝึกหัดอาจารย์รุ่นแรก มิสเตอร์กรีนรอด อาจารย์ใหญ่ สอนวิชาเพิ่มเติมให้เราทั้ง ๒ คนอีกด้วย ได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๓๐ บาท.
พ.ศ. ๒๔๓๕ ค.ศ. ๑๘๙๒
ลาออกจากโรงเรียน, เป็นครูสอนและเรียนเพิ่มเติมได้ปีเศษ ก็มีตำแหน่งเลขานุการกระทรวงธรรมการว่างลง เสนาบดีให้สอบความรู้ และให้ทอดลองทำหน้าที่นั้น แล้วก็รับนายบุญรอดจะให้ทำงานตำแหน่งนั้น เงินเดือน ๆ ละ ๒๔๐ บาท โดยให้นายบุญรอดลาออกจากหน้าที่ครูที่ทำอยู่เสียก่อน ฝ่ายมิสเตอร์กรีนรอดไม่ยอมให้ออก และสัญญาว่าให้อยู่เรียนไปอีกไม่ช้าจะจัดการให้ออกไปเรียนเพิ่มเติมเมืองนอก กลับมาจะได้ตำแหน่งดีกว่าอีก แต่นายบุญรอดไม่พอใจด้วยเห็นว่าเขาคัดขอจะได้รับเงินเดือนมากอีกหลายเท่า ครั้นกลับไปถามเสนาบดี ก็กลัวเขาว่าเขาไม่ให้ออกก็รับไว้ไม่ได้ จึงได้ลาออกมาอยู่บ้านราว ๓ เดือน ก็หางานทำได้ในห้างกิมเซ่งหลี สามเสน.
พ.ศ. ๒๔๓๖ ร.ศ. ๑๑๒ ค.ศ. ๑๘๙๓
ทำงานเสมียนห้าง, ต้นเดือนเมษายน อายุได้ ๒๑ ปี ได้งานทำเป็นเสมียนล่าม แปลหนังสืออังกฤษโต้ตอบ ส่งสินค้า และออกสินค้าที่โรงภาษี ณ ห้างกิมเซ่งหลีของนายอากรเต็ง โสภโนดร (หลวงอุดรพาณิชย์) กินอยู่ในห้าง ๆ นี้มีโรงสีไฟ ป่าไม้สัก และโรงเลื่อยจักร์ ได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๒๕ บาท ทำงานในห้างนี้เท่ากับได้เริ่มเรียนรู้ในเรื่องค้าขาย เฉพาะอย่างยิ่งในการวัดไม้ซุง ไม้เลื่อย และวิชาซื้อขายติดต่อกับบริษัทฝรั่ง ทำให้ภาษาอังกฤษในเรื่องซื้อขายเฟื่องฟูยิงขึ้น.
เรือรบฝรั่งเศสบุกเข้าแม่น้ำ, พอเข้าทำงานห้างกิมเซ่งหลีไม่กี่เดือน ก็ได้ข่าวว่า เรือรบฝรั่งเศส ๓ ลำแล่นบุกเข้ามาในแม่น้ำ จอดอยู่หน้าศุลกากร จะรบเอาเมืองไทย นายบุญรอดตกใจ ขอลากลับมาบ้านเดิมซึ่งอยู่ริมแม่น้ำปากคลองโอ่งอ่าง แล้วชวนเพื่อนลงเรือจ้างแจวไปดูเรือรบฝรั่งเศสชื่อลูตินกับคอเม็ต เห็นกลางคำคาดสาดโซ่สมอเต็มข้างเรือ ส่วนสนามหน้าศุลกากรขุดสนามเพลาะตั้งปืนใหญ่หลายกระบอก ครั้นกลับขึ้นมาก็ได้เห็นบนหอนาฬิกาไปรษณีย์ที่ ๑ ปากคลองโอ่งอ่าง มีทหารยามยืนถือธงและมีปืนใหญ่ตั้งอยู่เช่นกัน นายบุญรอดรีบกลับบ้าน ฉวยปืนแฝดยิงนกของตนขึ้นหลังคาบ้านริมแม่น้ำ แอบคอยยิงฝรั่งเศส โดยคิดว่า เรือฝรั่งเศสคงต้องวิ่งมาหน้าวังหลวง และคงจะถูกปืนใหญ่ที่โรงภาษีกับไปรษณีย์ยิงเรือรบแตก พวกฝรั่งเศสต้องว่ายน้ำจะขึ้นฝั่ง เป็นโอกาสให้ได้ต่อสู้ยิงมันเสีย.

ขณะนี้ในบ้านยังมีขุนลิปิกรณ์โกศล (ลัด เศรษฐบุตร) ลูกของลุง เดี๋ยวนี้เป็นพระยานรเนติบัญชากิจ ทำราชการอยู่กับท่านแยกคามิน (เจ้าพระยาอภัยราชา) ที่ปรึกษาของพระเจ้าอยู่หัว ได้คอยรายงานให้ครอบครัวทราบถึงการเจรจากับฝรั่งเศสทุกเช้าเย็นว่า วันนี้ยังไม่รบ แต่พรุ่งนี้ไม่รู้ ๆ เรื่อยมาเป็นเวลาหลายวัน รายงานเป็นทีุ่สดว่า เขาไม่รบกับเราแล้ว นายบุญรอดจึงกลับไปทำงานห้างกิมเซ่งหลีตามเดิม.

พ.ศ. ๒๔๔๐ ร.ศ. ๑๑๖ ค.ศ. ๑๘๙๗
ออกไปทำงานห้างฝรั่ง, ได้ทำงานห้างกิมเซ่งหลีเกือบครบ ๔ ปี นายห้างออกไปเมืองจีน ให้นายบุญเย็น (หลวงขจิตร์จำนงฯ) หุ้นส่วน ทำงานแทน ใช้งานนายบุญรอดเพิ่มขึ้นอีกมากอย่าง ขอเงินเดือนขึ้นไม่ให้ จึงได้ขอลาออกไปทำงานห้างเด็นนิมอตแอนด์ดิกซัน มีโรงเลื่อนจักร์เช่นกัน นายห้างชื่อมิสเตอร์ เอ. เย. ดิกซัน A. J. Dickson ให้ทำหน้าที่แปลหนังสือ คิดบัญชีพิกัดไม้ซุง หน้าไม้ และตรวจการดูแลโรงเลื่อยจักร์ทั่วไป ตั้งเงินเดือน ๕๐ บาทได้ ๓ เดือน ขึ้นให้ ๗๕ บาท ใช้ทำงานทั้งในออฟฟิศและดูแลงานภายนอกแทนตัวนายห้าง แล้วขึ้นเงินอีกเป็นระยะจนถึงเดือนละ ๑๔๐ บาท การทำงานในออฟฟิศได้ความรู้การหนังสือโต้ตอบซื้อขายกับต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีก ทั้งต้องคิดคำนวณหน้าไม้ทุกวันจนชำนาญ จึงได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเป็นตำราหน้าไม้สำเร็จ ออกจำหน่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔
พ.ศ. ๒๔๔๑
สมรสกับละม้าย เศรษฐบุตร, เมื่อท่านบิดาเห็นว่ามีงานทำในห้างดิกซันเป็นหลักแหล่งแล้ว ก็จัดการให้มีครอบครัว โดยขอบุตรีสาวของนายเงียบ แม่ซิ่ว บ้านฝั่งธนบุรี ตรงข้ามท่าราชวงศ์ และทำงานมงคลสมรสเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ปีนี้ เชิญผู้ที่เคารพและเพื่อนฝูงราว ๑๐๐ คน รวมทั้งนายห้างเด็นนิมอตแอนด์ดิกซันด้วย นายห้างให้เงินขวัญ ๕๐๐ บาท นับว่าเป็นเงินขวัญที่ดีถูกใจเลิศ แล้วเชิญผู้ที่มารดน้ำรับประทานอาหารค่ำ มีแตรวงมหาดเล็กบรรเลงด้วย กิจการได้เป็นไปอย่างร่าเริงเรียบร้อย ต่อมาวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๔๓ ละม้าย ภรรยา คลอดบุตรฝาแฝด แต่ตายเสียเมื่อคลอด แล้ววันที่ ๒๓ กันยายน ปีต่อมา ก็คลอดบุตรอีกคน อยู่ได้เพียงเดือนเศษก็สำรอกตายไปอีก จากนั้นในไม่ช้าก็ไปรับเอาบุตรของน้องพึ่งคลอดมาไว้เป็นบุตรแทน ให้ชื่อว่า วิทย์ เศรษฐบุตร.
การเล่นว่าวพนัน, ท่านบิดาเป็นนักล่อว่าวปักเป้าพนันชะนะว่าวจุฬา มีฝีมือเยี่ยมเลิศ ชื่อเสียงโด่งดังว่าว่าวปักเป้าพระภิรมย์ฯ ล่อเก่งที่สุดในสยาม ในสมัยนั้นถึงฤดูเล่นว่าวเดือน ๔ เดือน ๕ เป็นนัดเล่นว่าวพนันกันทุกปี เป็นกิฬาประชาชนนิยมชอบดูมาก นายบุญรอดกับพวกน้อง ๆ ก็ได้รับสนับสนุนจากท่านบิดาให้เล่นว่าวตั้งแต่ยังเด็ก พอโตขึ้นก็เข้าช่วยท่านบิดาล่อว่าวพนันจนมีความชำนาญขึ้น ในขณะทำงานอยู่ห้างดิกซัน ท่านบิดาต้องการให้ไปช่วยล่อว่าว เพราะท่านอายุมากแล้ว ฝีมือเนือยไป นายบุญรอดต้องขออนุญาตลานายห้างในตอนบ่ายในล่อว่าวพนันที่ท้องสนามหลวงทุกวัน นายห้างสงสัย แอบพาเพื่อนไปดู เห็นนายบุญรอดล่อว่าวเก่ง จุฬาตกทุกตัว ก็กรากเข้ามาจับมือแสดงความยินดี เลยอนุญาตให้ไปล่อว่าวได้ทุกวันเวลาบ่าย ซึ่งไม่มีลูกจ้างคนใดจะได้พิเศษอย่างนี้.
พ.ศ. ๒๔๔๗ ค.ศ. ๑๙๐๔
อุปสมบทเป็นภิกษุสงฆ์, เมื่อได้ทำงานตรากตรำอยู่กับห้างดิกซันเกือบ ๖ ปี เกิดความศรัทธาขึ้นมาพร้อมด้วยท่านบิดายินดี ก็ขอลานายห้างดิกซันบวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดบพิตรพิมุขนั้น ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗ เมื่อถึงกำหนดไปลาสึกท่านอุปัชฌาย์ ท่านขอห้ามไม่ให้ดื่มสุราต่อไป นายบุญรอดไม่ยอมรับปฏิญาณ รับแต่เพียงว่าดื่มแล้วจะไม่ให้เมามาย ถึงกับมีผู้นินทาถึงท่านอุปัชฌาย์อาจารย์เท่านั้น.
โชคอำนวยให้ทำการค้าเอง, สึกจากพระแล้วไปหานายอากรเต็ง นายห้างกิมเซ่งหลี ซึ่งกลับจากเมืองจีนแล้ว ท่านปรารภฐานกรุณาว่า เสียดายบุญรอดออกจากห้างไปเมื่อท่านไม่อยู่ มีความเฉลียวฉลาด รู้จักการค้าดี ทำไมไม่คิดทำการค้าเสียเอง มัวแต่รับจ้างเขาเมื่อไหร่จะรวย นายบุญรอดปรับทุกข์ว่า ไม่มีเงินทุน ท่านอากรเต็งก็กรุณาว่า ถ้าไม่โกงฉัน ๆ จะอนุญาตให้ซื้อไม้ซุงของห้างครั้งละกี่แพก็ตาม เอาไปขายก่อน แล้วเก็บเงินค่าไม้ส่งท่านภายหลัง ได้กำไรเท่าใดเป็นของบุญรอด จะฝากท่านไว้เป็นทุนต่อไปก็ได้ เมื่อมีโชคดีเช่นนี้ บุญรอดรับตกลงแล้วไปลานายห้างออกจากงานในเดือนนั้น เริ่มต้นไปเลือกไม้ซุงได้กี่แพก็ไปขายตามโรงเลื่อยในคลองบางหลวง คลองบางลำภู และตามหน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/16หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/17หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/18หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/19หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/20หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/21หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/22หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/23หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/24หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/25หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/26หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/27หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/28หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/29หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/30หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/31หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/32หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/33หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/34หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/35หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/36หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/37หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/38หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/39หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/40หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/41หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/42หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/43หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/44หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/45หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/46หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/47หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/48หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/49หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/50หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/51หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/52หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/53หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/54หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/55หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/56หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/57หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/58หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/59หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/60หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/61หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/62หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/63หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/64หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/65หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/66หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/67หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/68หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/69หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/70หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/71หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/72หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/73หน้า:Prawat Phraya Phiromphakdi Kap Prawat Rongbia 1950.djvu/74ทอดกฐินสร้างโรงเรียน ครั้งที่ ๒, วันที่ ๓๑ ตุลาคม เช้าบอกบุญเอาเรือยนต์ ๔ ลำพากันไปทอดกฐินวัดบางระหงษ์เป็นครั้งที่ ๒ ครั้งนี้เรี่ยไรได้เงินอีกรวมกับครั้งก่อนได้ ๒,๔๐๐ บาท พระยาภิรมย์ฯ ออกเพิ่มอีก ๒,๐๐๐ บาท จึงรวมเป็น ๔,๔๐๐ บาท พอจ้างเหมาให้สร้างโรงเรียนในวัดนั้นขึ้น.