ผู้ใช้:นคเรศ/ทดลองเขียน

คำนำ แก้ไข

บัญชีพระนามฯ แก้ไข

บัญชีรายพระนามและนามคณะบรรณาธิการ


ที่ปรึกษา
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร


ประธาน
พระยาอนุมานราชธน


คณะบรรณาธิการ
พระราชธรรมนิเทศ
นายรอง ศยามานนท์
นายพันตำรวจเอก หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย


เลขานุการ
นายเจริญ อินทรเกษร

แก้ไข

อักษรตัวแรกในวรรคต้นของพยัญชนะไทย มีเสียงเกิดจากเอาลิ้นจดเพดานอ่อนของปาก เพื่อกักลมที่พุ่งขึ้นมาให้ชะงักอยู่ ก็เกิดเป็นลักษณะของเสียง ก ที่เป็นตัวสะกดในแม่กก ถ้าปล่อยลิ้นที่กดเพดานอ่อนให้กลับที่เดิมในทันที ลมที่ดันอยู่ก็จะหลุดโผละออกมา เป็นเสียงระเบิด ในตำราสัทศาสตร์ (Pronetic) จึงเรียกพยัญชนะ ก ว่าพยัญชนะระเบิด (Explosive consonant) ถ้าเป็น ก ตัวสะกดเรียกว่าพยัญชนะอุบ (Implosive consonant) เสียง ก ซึ่งเป็นเสียงระเบิดเป็นแต่เสียงดัง (Noise) เท่านั้น ต้องเอาเสียงสระซึ่งเป็นเสียงโฆษะ (Voice) หรือเสียงก้องเข้าผสม เช่นในภาษาไทยใช้เสียงสระ ออ เข้าช่วยจึงออกเสียงว่า ก ได้ แต่เมื่อเขียนเป็นพยัญชนะ ก เวลาออกเสียงย่อมมีเสียง ออ อยู่ในตัวเสมอไป ในพยัญชนะตัวอื่นก็เป็นทำนองเดียวกัน ถ้าไม่เอาเสียงสระ ออ เข้าช่วยก็ออกเสียงเป็น ก ไม่ได้ ในตำราสัทศาสตร์เรียก ก ว่าเป็นพยัญชนะในพวกเกิดแต่เพดานอ่อน (Velar consonant) ในสันสกฤตและบาลีเรียกว่า พยัญชนะเกิดแต่ คอ (กัณฐชะ) และเป็นเสียงอโฆษะ (Unvoice) สิถิล (Unaspirate) คือเป็นเสียงไม่ก้องเบา เสียงพยัญชนะที่เปล่งออก ถ้าตอนที่ลมผ่านช่องลูกกระเดือก (glottis) ออกมา เอ็นเนื้อที่อยู่สองข้างของปากช่องลูกกระเดือก (Vocal chord) ไม่มีอาการสั่นสะบัดก็เป็นเสียงอโฆษะ ถ้ามีอาการสั่นสะบัดก็เป็นเสียงโฆษะ เช่น ก เป็นเสียงอโฆษะ ถ้าให้ ก เป็นเสียงโฆษะก็จะเกิดเป็นเสียง g ในภาษาอังกฤษและในภาษาบาลีและสันสกฤต เสียง g ไม่มีในระบบเสียง (Phonetic system) ของภาษาไทย เราจึงถ่ายเสียง g ออกมาเป็นเสียง ค โดยอนุโลมเท่านั้น คำว่า สิถิล คือเสียงพยัญชนะซึ่งไม่มีเสียง ห หรือ ฮ ผสมอยู่ด้วย ถ้ามีผสมอยู่ด้วยเรียกว่า ธนิต หรือเสียงหนัก (Aspirate) เช่นพยัญชนะวรรค ก ก็มีพยัญชนะที่เป็นเสียงหนัก คือ ข (Aspitate—hard) และ ค (Aspirate—soft). ส.ก.

กก แก้ไข

กก ๑. พันธุ์ไม้มีหลายชนิด ขึ้นอยู่ในที่ชื้นและมีขึ้นอยู่ทั่วไป เช่นในนาและที่ที่น้ำท่วมแฉะ อยู่ในจำพวก Cyperus ลำต้นกลมหรือสามเหลี่ยม ถ้าขึ้นในที่น้ำลึกลำต้นจะยาว และใช้ทำเสื่อได้ ถ้าขึ้นในที่น้ำตื้นต้นจะสั้น พื้นดินที่มีต้นกกขึ้นแสดงว่า ดินนั้นมีความเปรี้ยว (กรด). ล.ก.
๒. แม่น้ำ ยอดน้ำมาจาก อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ยาวประมาณ ๑๒๐ กม. ไหลผ่าน อ.เมืองเชียงราย และ อ.แม่จัน ไปออกแม่น้ำโขงที่ใต้ท่ากิ่งเชียงแสน อ.แม่จัน มีเรือโดยสารเดินถึงที่ว่าการ อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำกกที่ตัวจังหวัดเชียงรายยาวประมาณ ๖๐ ม. ; อ.ภ.

กกขนาก แก้ไข