เรื่อง : หัวข้อสำคัญและมาตราที่ควรให้ความสนใจสำหรับการสอบภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2549

เนื่องจากตอนนี้ใกล้สอบภาคการศึกษาที่ 2/2549 แล้วจึงได้รวบรวมหัวข้อสำคัญและมาตราที่ควรให้ความสนใจสำหรับการสอบในครั้ง นี้เข้าไว้ในที่เดียวกัน เพื่อความสะดวกในการค้นหา

โดยในครั้งนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลใหม่บางส่วน แก้ไขข้อมูลเดิมที่ผิดพลาด และเพิ่มเติมข้อมูลใหม่บางส่วนที่เห็นว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนนักศึกษา

สำหรับวิชากฎหมายระหว่างประเทศ หน่วยเน้นคือ หน่วยที่ 2-6 และหน่วยที่ 10-15 นั้น ไม่ได้จัดทำขึ้นไว้ เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่เพื่อนนักศึกษาต้องทำความเข้าใจเอง และข้อสอบก็ออกได้กว้างขวางมาก ส่วนสรุปย่อนั้น อาจารย์ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล ได้ทำไว้ให้เป็น courseware ในสาระหน่วยการเรียนนิติศาสตร์แล้ว ซึ่งเป็นการสรุปประด็นต่างๆ ไว้ดีมากอยู่แล้ว และเพื่อนๆ นักศึกษาสามารถเข้าชมการสอนเสริมทางไกลผ่านดาวเทียมของสาขาวิชา โดยเข้าไปที่หน้าแรกของ werbsite และทำการ click ไปที่ media on demand ซึ่งอาจารย์ก็ได้สรุปประเด็นต่างๆ ไว้ดีมากอยู่แล้ว และแนวข้อสอบก็อยู่ในการสอนเสริม อย่าลืมดูเหตุการณ์ปัจจุบันที่สามารถนำมาเป็นข้อสอบได้ด้วย

และสิ่งที่ผมเน้นย้ำเป็นประจำก็คือ หัวข้อสำคัญและมาตราที่ผม list ไว้ให้ใช้สำหรับการสอบอัตนัยเท่านั้น ส่วนการสอยปรนัยซึ่งออกหน่วยละ 4 ข้อนั้น ยังคงเป็นภาระของเพื่อนนักศึกษาที่ต้องอ่านให้หมด และทำความเข้าใจทั้งหมด จะมาอาศัยพึ่งหน่วยเน้นและมาตราเน้นไม่ได้

สิ่งที่สำคัญคือ ความพยายามพากเพียร และการทำความเข้าใจในเนื้อหาทุกเรื่องอย่างถ่องแท้ เพราะมีหลายครั้งเหมือนกันที่อาจารย์ออกข้อสอบอัตนัยโดยไม่ออกตามหน่วยเน้น ก็มีหลายครั้ง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยก็ควรดูให้ครบถ้วนทั้งหมด

ขอให้เพื่อนนักศึกษาทุกท่านโชคดีในการสอบครั้งนี้ครับ

เอกรินทร์


กฎหมายอาญา 1 : ภาคบทบัญญัติทั่วไป

แก้ไข

หน่วยเน้น : หน่วยที่ 5, 7-9, 11-12

เนื้อหาที่นำมาออกข้อสอบมี 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : หน่วยที่ 5 และหน่วยที่ 7 เรื่องความรับผิดอาญา และการพยายามกระทำความผิด

แก้ไข

มีหัวข้อที่ควรให้ความสนใจดังนี้

1. องค์ประกอบภายนอก ประกอบไปด้วยผู้กระทำ การกระทำ และวัตถุแห่งการกระทำ ให้ดูถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำด้วย ถ้าการกระทำไม่ครบองค์ประกอบภายนอก ไม่มีความรับผิดทางอาญา (เปรียบเทียบกับการพยายามกระทำความผิดตามมาตรา 81) ดูเรื่องการกระทำความผิดโดยอ้อม (Innocent agent) ด้วย ซึ่งต้องแยกจากการเป็นผู้ถูกใช้ให้กระทำความผิด ตามมาตรา 84

2. เจตนา ตามมาตรา 59 วรรค 3 และมาตรา 59 วรรค 2

ได้แก่ เจตนาประสงค์ต่อผล และเจตนาเล็งเห็นผล(การพิจารณาเรื่องเจตนาให้พิจารณาตามวรรค 3 ก่อนวรรค 2)

เรื่องเจตนาโดยพลาด (เจตนาโอน) ตามมาตรา 60 ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น ไม่มีการประมาทโอน ความสำคัญผิดในตัวบุคคล จะถือว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ ตามมาตรา 61 (ไม่มีเจตนาโดยสำคัญผิด เนื่องจากมาตราที่บัญญัติเรื่องเจตนามีเฉพาะมาตรา 59 และมาตรา 60 เท่านั้น)

ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง โดยผู้กระทำเชื่อว่าข้อเท็จจริงนั้นมีอยู่จริง และถ้ามีข้อเท็จจริงนั้นจะเป็นการยกเว้นความผิด ยกเว้นโทษ หรือลดโทษ ก็ให้ผู้กระทำได้รับยกเว้นความผิด ยกเว้นโทษ หรือลดโทษ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 62 วรรค 1 แต่ถ้าความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเกิดจากความประมาทตามมาตรา 59 วรรค 4 ก็ต้องได้รับโทษสำหรับการประมาทนั้นด้วย ตามมาตรา 62 วรรค 2 นอกจากนี้ผู้กระทำความผิดที่ต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด ผู้กระทำต้องรู้ถึงข้อเท็จจริงนั้น ตามมาตรา 62 วรรค 3 (เหตุฉกรรจ์)

3. ประมาท ตามมาตรา 59 วรรค 4

เป็นการกระทำซึ่งมิใช่การกระทำโดยเจตนา แต่เป็นการกระทำที่บุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ โดยผู้กระทำสามารถใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

4. การพยายามกระทำความผิด ตามมาตรา 80-82

มาตรา 80 เป็นหลักทั่วไปของการพยายามกระทำความผิด ผู้กระทำต้องมีเจตนา และกระทำความผิดถึงขั้นลงมือกระทำ การกระทำโดยประมาทไม่สามารถมีการพยายามกระทำความผิดได้ มาตรา 81 เป็นเรื่องการพยายามกระทำความผิดที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุแห่งปัจจัยที่ใช้ในการกระทำ หรือเพราะเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ เป็นมาตราที่ต่อเนื่องมาจากมาตรา 80 (เปรียบเทียบกับมาตรา 59 วรรค 3) มาตรา 82 เป็นเรื่องการพยายามกระทำความผิดโดยการยับยั้งเสียเอง หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ให้ดูด้วยว่าความผิดใดที่มีการพยายามกระทำความผิดได้ ความผิดใดที่มีการกระทำความผิดไม่ได้

กลุ่มที่ 2 หน่วยที่ 8,9 มีหัวข้อที่ควรให้ความสนใจ ดังนี้

แก้ไข

1. เหตุยกเว้นความผิด

1) ความยินยอม ต้องเป็นความยินยอมที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน + ต้องเป็นความยินยอมที่ได้ให้ต่อผู้กระทำก่อนหรือขณะกระทำความผิด + ต้องเป็นความยินยอมโดยสมัครใจ

2) การกระทำโดยป้องกันสิทธิ มาตรา 68 (เปรียบเทียบกับการกระทำโดยจำเป็น ตามมาตรา 67) ดูฎีกามากๆ

3) จารีตประเพณีให้อำนาจกระทำได้ ต้องเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน + มีความเชื่อมั่นว่าจารีตประเพณีนั้นเป็นกฎหมาย + ต้องปฏิบัติกันมาโดยสม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนแปลง + ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษร

2. เหตุยกเว้นโทษ

1) การกระทำโดยจำเป็น ตามมาตรา 67 มี 2 อนุมาตรา (เปรียบเทียบกับมาตรา 68 เพราะคล้ายคลึงกันมาก) ผลของมาตรา 67 ผู้กระทำยังคงมีความผิดอยู่ แต่ได้รับการยกเว้นโทษ แต่ผลตามมาตรา 68 คือผู้กระทำไม่มีความผิด

2) การกระทำความผิดในขณะไม่รู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะเหตุมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ตามมาตรา 65 วรรค 1

3) การกระทำความผิดระหว่างมึนเมา ตามมาตรา 66 วรรค 1

4) การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิขอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตใจว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ถือเป็นเหตุยกเว้นโทษ ตามมาตรา 70

5) การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐานความผิดที่สามีกระทำต่อภริยา หรือภริยากระทำต่อสามี ตามมาตรา 71 วรรค 1

6) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี กระทำความผิด ตามมาตรา 73

7) เด็กอายุ 7 – 14 ปีกระทำความผิด ตามมาตรา 74

กลุ่มที่ 3 หน่วยที่ 11-12 ผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด

แก้ไข

1. ตัวการ มาตรา 83 มีองค์ประกอบคือ ต้องมีการกระทำร่วมกัน + มีเจตนาร่วมกัน

2. ผู้ใช้ ตามมาตรา 84 มี 2 กรณีคือ ผู้ใช้ให้กระทำความผิดในกรณีที่ความผิดนั้นได้มีการกระทำ และผู้ใช้ให้กระทำความผิดในกรณีที่ความผิดนั้นมิได้กระทำลง ซึ่งรับโทษ 1 ใน 3 ของความผิดสำเร็จ ให้เปรียบเทียบกับการกระทำความผิดโดยอ้อม (Innocent agent) ด้วย

3. ผู้ใช้โดยการโฆษณาหรือประกาศ ตามมาตรา 85 (ต้องเป็นความผิดที่มีโทษขั้นสูงไม่ต่ำกว่า 6 เดือน)

4. ผู้สนับสนุน มาตรา 86 มีองค์ประกอบคือ ต้องมีการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิด (ไม่รวมหลังการกระทำความผิด) + ต้องมีเจตนาที่จะช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำความผิด ถ้าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกหลังการกระทำความผิด ไม่เข้ามาตรา 86 การกระทำความผิดตามมาตรา 83-86 นั้น ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น การกระทำโดยประมาทไม่สามารถมีการช่วยเหลือในการกระทำความผิดได้

อย่าลืมดูฎีกาในเอกสารการสอนมากๆ โดยเฉพาะการแยกระหว่างตัวการ และผู้สนับสนุน

ข้อแนะนำในการศึกษาและตอบข้อสอบอัตนัย กฎหมายอาญา 1

1.ตัวบทกฎหมายอาญา 1 ถือว่ามีจำนวนน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่นๆ ในสาขานิติศาสตร์ ดังนั้นจึงควรจำตัวบทได้

2. ควรยกตัวบทขึ้นก่อน และต้องมีการอธิบายตัวบทด้วยเสมอ และในวิชานี้อาจมีการให้ตอบปัญหาวินิจฉัยโดยการอธิบายทฤษฎี เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล กฎหมายจารีตประเพณีที่เป็นการยกเว้นความผิด ความยินยอมอันเป็นเหตุของการยกเว้นความผิด ก็ต้องสามารถอธิบายหลักดังกล่าวได้ด้วย

3. มาตราที่เกี่ยวกับฐานความผิดต่างๆ เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา การฆ่าคนตายโดยประมาท ไม่จำเป็นต้องยกไปอ้าง เพราะเป็นอยู่ในเนื้อหาภาคความผิดของกฎหมายอาญา 2

4. อย่าลืมดูคำพิพากษาศาลฎีกาโดยทุกๆเรื่อง เพราะสามารถนำมาสร้างเป็นข้อสอบได้เสมอ

5. วิชากฎหมายอาญา 1 ยังไม่ใช่วิชาที่ยากของสาขานิติศาสตร์ ถ้าสามารถศึกษาจนเข้าใจ และสามารถอ้างตัวบทได้ ก็จะสอบผ่านได้โดยง่าย ขอให้โชคดีครับ


กฎหมายแพ่ง 1 บุคคล นิติกรรม สัญญา

แก้ไข

หน่วยเน้น หน่วยที่ 3, 7-9, 12-14

แบ่งเนื้อหาได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 หน่วยที่ 3 เรื่องความสามารถของบุคคล

แก้ไข

1. บุคคลบรรลุนิติภาวะ มีได้ 2 กรณีตามมาตรา 19**,20**

2. ผู้เยาว์ทำนิติกรรม (ไม่รวมเรื่องนิติเหตุ เช่น ละเมิด) มีหลักทั่วไปตามมาตรา 21**** ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆียะ มีข้อยกเว้นที่ไม่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ คือ

1) นิติกรรมที่ได้สิทธิหรือพ้นหน้าที่ มาตรา 22*

2) นิติกรรมที่ต้องทำเองเป็นการเฉพาะตัว มาตรา 23

3) นิติกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีพ มาตรา 24*

4) กรณีผู้เยาว์ทำพินัยกรรม มาตรา 25**

5) ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สิน มาตรา 26

6) ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจ หรือสัญญาจ้างแรงงาน มาตรา 27

2. บุคคลไร้ความสามารถ

1) กรณีการขอให้ศาลสั่งบุคคลผู้วิกลจริตให้เป็นคนไร้ความสามารถ มาตรา 28***

2) ผลของนิติกรรมที่ผู้ไร้ความสามารถกระทำลง ตกเป็นโมฆียะ มาตรา 29**** แม้ได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาล ก็ตกเป็นโมฆียะ

3) ผลของนิติกรรม ที่บุคคลวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถกระทำลง มาตรา 30**** เป็นโมฆียะต่อเมื่อ ได้กระทำขณะผู้นั้นจริตวิกล + อีกฝ่ายหนึ่งรู้ด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต

3. บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ

1) การขอให้ศาลสั่งว่าเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ มาตรา 32**

2) นิติกรรมที่คนเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มาตรา 34**

กลุ่มที่ 2 หน่วยที่ 7-9 เรื่องนิติกรรม

แก้ไข

1. ความหมายของนิติกรรม มาตรา 149*

2. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามด้วยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน มาตรา 150*

3. นิติกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบ มาตรา 152*** (ทำความเข้าใจเรื่องทำเป็นหนังสือ และการมีหลักฐานเป็นหนังสือ)

4. นิติกรรมที่ไม่ได้เป็นไปตามความสามารถของบุคคล มาตรา 153**

5. เจตนาซ่อนเร้น มาตรา 154****

6. เจตนาลวง มาตรา 155 วรรค 1****

7. นิติกรรมอำพราง มาตรา 155 วรรค 2*** บังคับตามนิติกรรมที่ถูกอำพราง

8. สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม มาตรา 156***

9. สำคัญผิดในคุณสมบัติของนิติกรรม มาตรา 157***

10. กลฉ้อฉล มาตรา 159*** กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ มาตรา 161* กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง มาตรา 162* กลฉ้อฉลทั้งสองฝ่าย มาตรา 163*

11. การข่มขู่ มาตรา 164*** ขนาดของการข่มขู่ มาตรา 165 บุคคลภายนอกข่มขู่ มาตรา 166

12.การแสดงเจตนาต่อบุคคลเฉพาะหน้า มาตรา 168***

13. การแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง มาตรา 169*** โดยเฉพาะมาตรา 169 วรรค 2**** ซึ่งต้องนำไปใช้ในเรื่องสัญญา

14. การแสดงเจตนาต่อผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ มาตรา 170**

15. โมฆะกรรม มาตรา 172****, 173***, 174**

16. ผู้บอกล้างโมฆียกรรม มาตรา 175**** ต้องเป็นบุคคลตามมาตรานี้เท่านั้นจึงจะมีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรม บุคคลอื่นไม่มีสิทธิ

17. ผลของการบอกล้างโมฆียกรรม มาตรา 176****

18. การให้สัตยาบันโมฆียกรรม มาตรา 177***

19.วิธีการบอกล้างหรือการให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม ทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง มาตรา 178***

20. ความสมบูรณ์ของการให้สัตยาบัน มาตรา 179*

21. ระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียกรรม มาตรา 181

กลุ่มที่ 3 หน่วยที่ 12-14 เรื่องสัญญา

แก้ไข

1. คำเสนอ

1) คำเสนอมีระยะเวลาให้ทำคำสนอง มาตรา 354****

2) คำเสนอต่อบุคคลที่อยู่ห่างกัน มาตรา 355**

3) คำเสนอต่อบุคคลเฉพาะหน้า มาตรา 356****

4) คำเสนอสิ้นความผูกพัน มาตรา 357****

2. คำสนอง

1) คำสนองมาถึงล่วงเวลา มาตรา 359***

2) การบอกกล่าวคำสนองซึ่งส่งโดยทางการมาถึงล่วงเวลา มาตรา 358**

3) กรณีที่ไม่นำมาตรา 169 วรรค 2 มาใช้บังคับ ตามมาตรา 360**** ซึ่งเป็นเรื่องคำเสนอเท่านั้น ส่วนเรื่องคำสนองอยู่ในบังคับของมาตรา 169 วรรค 2

3. การเกิดสัญญา มาตรา 361*

4. คำมั่น มาตรา 362, 363, 364

5. การตีความสัญญา

1) กรณีที่เป็นที่สงสัยข้อตกลงในข้อความใดแห่งสัญญา มาตรา 362

2) สัญญาได้ทำขึ้นแล้ว แต่มีบางข้อที่ยังไม่ได้ตกลง มาตรา 367

6. ผลของสัญญาต่างตอบแทน มาตรา 369***, 370*****, 371****, 372**** สำคัญมากๆๆๆๆ ต้องเปรียบเทียบความแตกต่างให้ได้โดยเฉพาะมาตรา 370, 371, 372

7. มัดจำ มาตรา 377, 378

คำแนะนำในการศึกษาและตอบข้อสอบ วิชากฎหมายแพ่ง 1

1. ข้อสอบมี 3 ข้อ ข้อแรกเป็นเรื่องบุคคล ในเนื้อหากลุ่มที่ 1 มักจะพ่วงคำถามเกี่ยวกับโมฆะ หรือโมฆียะร่วมด้วยเสมอ ข้อที่สองเป็นเรื่องของการแสดงเจตนาต่างๆ ในหน่วยที่ 8 ข้อที่สามเป็นเรื่องสัญญา

2. ให้ตอบโดยยกตัวบทขึ้นก่อน ตามด้วยการปรับหลักกฎหมาย และสรุปธงคำตอบเสมอ ถ้าสรุปแต่ธงคำตอบอย่างเดียวถึงแม้ว่าคำตอบจะถูกต้องก็ได้คะแนนเพียง 1-2 คะแนน จาก 20 คะแนนเท่านั้น

3. การใช้ภาษากฎหมายต่างๆ ต้องแม่นยำ เช่น โมฆะ โมฆียะ สมบูรณ์ ไม่บริบูรณ์ กลฉ้อฉล การฉ้อฉล อย่าใช้สับไปสับมา เพราะคำเหล่านี้มีความหมายแตกต่างกัน

4. กฎหมายแพ่ง 1 เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญของสาขานิติศาสตร์ เพราะว่าเรื่องบุคคล นิติกรรม สัญญา จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นๆเป็นอันมาก โดยทั่วไปไม่ยาก ถ้าตั้งใจ ขอให้โชคดีครับ

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด

แก้ไข

หน่วยเน้นของกฎหมายอาญา 2 ของเทอมนี้ หน่วยที่ 2,6,7,9,11,12,13

แบ่งเนื้อหาได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน (หน่วยที่ 2)

แก้ไข

ความผิดต่อเจ้าพนักงาน อย่าลืมดูว่าเจ้าพนักงานหมายถึงบุคคลใดบ้าง

(1) ความผิดที่กระทำต่อเจ้าพนักงาน มาตรา 136*(แจ้งความเท็จ),137*(ดูหมิ่น),138, 139, 143**, 144**** (ให้สินบนเจ้าพนักงาน ควรดูควบคู่ไปกับมาตรา 149**** ด้วย)

(2) กรณีเจ้าพนักงานกระทำความผิด มาตรา 147**, 148****, 149****(เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างมาตรา 148 + 149 ให้ดี) , 157*

กลุ่มที่ 2 ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย (หน่วยที่ 6,7,9)

แก้ไข

หัวข้อที่ 1 เรื่องความผิดต่อชีวิต (หน่วยที่ 6) มาตราที่ควรให้ความสนใจ

(1) มาตรา 288 (ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา)

(2) มาตรา 289 (เหตุฉกรรจ์ของมาตรา 288)

(3) มาตรา 290 (ทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นความผิดที่ต้องการผล จึงไม่มีการพยายามการกระทำความผิด)

(4) มาตรา 291 (ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เวลาตอบข้อสอบต้องอ้างมาตรา 59 วรรค 4 ด้วยเพื่อแสดงให้เห็นว่าเหตุใดจึงเป็นประมาท)

(5) มาตรา 292-293**** (ยุยงให้ผู้อื่นฆ่าตนเอง เปรียบเทียบความแตกต่างของ 2 มาตรานี้ให้ดี) และดูต่อไปด้วยว่าเมื่อใดถือว่าเป็นความผิดสำเร็จ

(6) มาตรา 294**** (ชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และเหตุยกเว้นโทษ) นอกจากนี้ควรดูความผิดลหุโทษ มาตรา 374 เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกับมาตรา 288 ด้วย (ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่จักต้องทำเพื่อป้องกันผลนั้น ตามมาตรา 59 วรรคท้าย)

หัวข้อที่ 2 เรื่องความผิดต่อร่างกาย (หน่วยที่ 7) มาตราที่ควรให้ความสนใจ

(1) มาตรา 295** ทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

(2) มาตรา 296 (เหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 290 + 295),

(3) มาตรา 297**** (อันตรายสาหัสทั้ง 8 อนุมาตรา)

(4) มาตรา 299** (ชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส) และดูเหตุยกเว้นโทษด้วย

(5) มาตรา 300**(ประมาทเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแก่กาย)

นอกจากนี้ให้ดูไปถึงความผิดลหุโทษตามมาตรา 391 เป็นการใช้กำลังทำให้บาดเจ็บโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และมาตรา 390 เป็นการกระทำโดยประมาทเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ

หัวข้อที่ 3 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ

(1) มาตรา 309**** เป็นบททั่วไปของความผิดต่อเสรีภาพ ซึ่งมีการพยายามกระทำความผิดด้วย

(2) มาตรา 310* เป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น หรือกระทำโดยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย

(3) มาตรา 311* เป็นการกระทำโดยประมาททำให้ผู้อื่นถูกหน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือปราศจากเสรีภาพในร่างกาย

(4) มาตรา 313 ความผิดฐานเรียกค่าไถ่

(5) มาตรา 317**, 318**, 319 เป็นเรื่องความผิดฐานพรากผู้เยาว์

กลุ่มที่ 3 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (หน่วยที่ 11,12, 13)

แก้ไข

(1) ลักทรัพย์ (มาตรา 334****) เหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ (มาตรา 335*) วิ่งราวทรัพย์ (มาตรา 336*** = ลักทรัพย์ + ฉกฉวยซึ่งหน้า)

(2) กรรโชกทรัพย์ (มาตรา 337 เปรียบเทียบกับความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309 ด้วย) รีดเอาทรัพย์ (มาตรา 338) ชิงทรัพย์ (มาตรา 339 = ลักทรัพย์ + ทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งต้องแยกออกจากความผิดฐานลักทรัพย์ + ทำร้ายร่างกาย) และปล้นทรัพย์ (มาตรา 340 = ชิงทรัพย์โดยมีตัวการมากกว่าหรือเท่ากับ 3 คนขึ้นไป) (3) ฉ้อโกง ตามมาตรา 341** แยกระหว่างการฉ้อโกง และการลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย

(4) โกงเจ้าหนี้ ตามมาตรา 349** และมาตรา 350

(5) ยักยอก ตามมาตรา 352 วรรค 1 และวรรค 2*** แยกให้ออกระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์ ฉ้อโกง และยักยอก

ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนใหญ่ออกมาตราหลัก ไม่ค่อยออกมาตราที่เป็นเหตุฉกรรจ์

ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานต่างๆ ข้างต้นต้องอ่านจนเข้าใจ และสามารถเปรียบเทียบความผิดแต่ละฐานได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ทุกฐานความผิดต้องเข้าใจความผิดฐานลักทรัพย์ (มาตรา 334) เป็นพื้นฐาน


คำแนะนำในการตอบข้อสอบอัตนัยกฎหมายอาญา 2

1. ข้อสอบจะถามว่านาย...... กระทำความผิดฐานใด ตอบฐานความผิดให้ชัดเจน อย่าตอบแบบเหวี่ยงแหหรือแสดงความไม่มั่นใจในการตอบ เช่น ตอบว่านาย.... มีความผิดฐานฉ้อโกง หรือผิดฐานยักยอกทรัพย์ อย่างนี้จะไม่ได้คะแนน อย่าตั้งชื่อฐานความผิดขึ้นมาเอง ชื่อฐานความผิดที่ถูกต้องให้ดูในเอกสารการสอน

2. การอ้างหลักกฎหมาย จะอ้างเป็นข้อความตามที่ปรากฏใน ปอ. หรือจะแจกแจงองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน (เจตนา เจตนาพิเศษ ประมาท) ก็ได้ ไม่ต้องระบุโทษ และถ้าจำเลขมาตราไม่ได้ ไม่ต้องใส่ลงไป ถ้าอ้างเลขมาตราผิด ก็จะเสียคะแนนอีก

3. บางครั้งการตอบข้อสอบ ก็ต้องอ้างความรู้ตามกฎหมายอาญา 1 ด้วย เช่น นาย..... ไม่มีความผิดฐาน...... เนื่องจากผู้กระทำไม่รู้องค์ประกอบภายนอกของความผิดฐาน....... จึงถือว่าไม่มีเจตนาตามมาตรา 59 วรรค 3 หรือผู้กระทำความผิดกระทำการไม่ตลอด หรือกระทำการไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล ถือว่าเป็นการพยายามกระทำความผิด ต้องได้รับโทษ 2 ใน 3 ส่วนของความผิดที่ได้กระทำลง ตามมาตรา 80 หรือในกรณีที่เป็นการกระทำโดยประมาท ก็ควรอ้างด้วยว่าเป็นการกระทำโดยประมาทอย่างไรตามมาตรา 59 วรรค 4 เป็นต้น

4. นอกจากมาตราที่เน้นให้ข้างต้นแล้ว ควรดูคำพิพากษาฎีกาในเอกสารการสอนมากๆ เพราะข้อสอบหลายๆครั้งนำมาจากคำพิพากษาในเอกสารการสอนนั่นเอง

5. เทปเสียงประจำชุดวิชา ซึ่งเป็นเสียงของอาจารย์สุจินตนา ชุมวิสูตร ซึ่งมี 4 ม้วนนั้น และเอกสารสอนเสริมทั้ง 2 ครั้ง สามารถนำมาใช้ทบทวนได้ดีมาก ฟังและอ่านบ่อยๆ ก็จะจำได้เอง

โดยทั่วไปวิชานี้ไม่ใช่วิชาที่ยากของสาขานิติศาสตร์ มสธ. ถ้าอ่านหนังสือ ดูตัวบทที่สำคัญจนสามารถอ้างได้ ก็จะสามารถสอบผ่านได้โดยง่าย ขอให้โชคดีครับ


กฎหมายแพ่ง 2 หนี้ ละเมิด

แก้ไข

เนื้อหาของกฎหมายแพ่ง 2 หน่วยเน้น หน่วยที่ 2,4,7,8,11,12,13

ที่นำมาออกข้อสอบอัตนัย มี 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เรื่องการไม่ชำระหนี้ (หน่วยที่ 2 ) และการรับช่วงสิทธิ การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ และการเพิกถอนการฉ้อฉล (หน่วยที่ 4)

แก้ไข

มีมาตราที่ควรให้ความสนใจดังนี้

เรื่องที่ 1 เรื่องการไม่ชำระหนี้ (หน่วยที่ 2)

1. กำหนดชำระหนี้ และกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด มาตรา 203**, 204**, 206 ออกสอบทุกรอบ

2. ข้อยกเว้นที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด มาตรา 205*

3. ผลของการที่ลูกหนี้ผิดนัด มาตรา 215*, 216, 217**

4. การชำระหนี้ที่ตกเป็นพ้นวิสัย มาตรา 218**, 219**

5. ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด มาตรา 224*

6. กรณีที่ถือว่าเจ้าหนี้ผิดนัด มาตรา 207, 210

7. ข้อยกเว้นที่ไม่ถือว่าเจ้าหนี้ผิดนัด มาตรา 211, 212

8. ผลของการที่เจ้าหนี้ผิดนัด มาตรา 221

ข้อสอบส่วนใหญ่ออกเรื่องลูกหนี้ผิดนัด มากกว่าเรื่องเจ้าหนี้ผิดนัด ส่วนเรื่องค่าสินไหมทดแทนในการชำระหนี้ไม่เคยออกเป็นข้อสอบอัตนัย

เรื่องที่ 2 เรื่อง การควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้ (หน่วยที่ 4)

1. เรื่องรับช่วงสิทธิ ช่วงทรัพย์ มาตรา 226, 229, 230 แต่ไม่ค่อยนำมาออกข้อสอบ

2. เรื่องการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ มาตรา 233**,236

3. เรื่องการขอเพิกถอนการฉ้อฉล มาตรา 237**,238, 239, 240*

กลุ่มที่ 2 เรื่องเจ้าหนี้ลูกหนี้หลายคน และโอนสิทธิเรียกร้อง (หน่วยที่ 7-8)

แก้ไข

เรื่องที่ 1 เจ้าหนี้ลูกหนี้หลายคน (หน่วยที่ 7)

1. กรณีที่ถือว่าการชำระหนี้สามารถแบ่งกันได้ มาตรา 290**

2. เรื่องลูกหนี้หลายคน มาตรา 290**, 292, 293, 294, 295, 296**, 301

3. เรื่องเจ้าหนี้หลายคน มาตรา 297*, 298, 299, 300

ข้อสอบมักออกเรื่องลูกหนี้ร่วม มากกว่าเรื่องเจ้าหนี้ร่วม

เรื่องที่ 2 การโอนสิทธิเรียกร้อง (หน่วยที่ 8) มีมาตราที่ควรให้ความสนใจคือ มาตรา 303*, 304, 305*, 306**, 308** ไม่ออกเรื่องการโอนหนี้ที่ต้องพึงชำระตามเขาสั่ง

กลุ่มที่ 3 เรื่องละเมิด (หน่วยที่ 11-13)

แก้ไข

1. ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง มาตรา 420***, 423*, 432*, 428

2. ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของบุคคลอื่น มาตรา 425**, 426*, 427**, 429*, 430* จะต้องมีการกระทำของบุคคลอื่นที่เป็นละเมิดตามมาตรา 420 ก่อนเสมอ

3. ความรับผิดเพื่อละเมิดเนื่องจากความเสียหายจากทรัพย์ มาตรา 433**, 434*, 435*, 436*, 437** ให้ระมัดระวังในการเขียนตัวบท โดยเฉพาะมาตรา 420 ตัวบทใช้คำว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่จงใจประมาทเลินเล่อ เพราะการประมาทเลินเล่อไม่สามารถมีการกระทำโดยจงใจได้

เรื่องค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้ ไม่นำมาออกเป็นข้อสอบอัตนัย

วิชากฎหมายแพ่ง 2 ถือว่าเป็นวิชาที่มีความสำคัญมากในสาขานิติศาสตร์ พยายามทำความเข้าใจให้เป็นลำดับขั้นตอน เพราะการเข้าใจเรื่องหนี้ที่ดี ย่อมสามารถทำให้เข้าใจเรื่องเอกเทศสัญญาต่างๆได้ดี เพราะเอกเทศสัญญาต่างๆนั้นก่อให้เกิดหนี้ทั้งสิ้น พยายามอ่านเอกสารการสอนและค่อยๆท่องตัวบท ตัวบทอาจจะค่อนข้างยากเพราะเป็นภาษาไทยสมัยเก่า แต่ถ้าใช้ความพยายามก็สามารถสอบผ่านได้ไม่ยาก ขอให้โชคดีครับ


กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน

แก้ไข

หน่วยเน้นกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน หน่วยที่ 3-7,9

เนื้อหาข้อสอบอัตนัยของกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1

แก้ไข

ได้แก่มาตรา 1299 วรรค 1**** วรรค 2**** และ มาตรา 1300*** ออกทุกรอบ โดยเฉพาะมาตรา 1299 วรรค 1 และวรรค 2 ในประเด็นของการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิโดยทางนิติกรรม และการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิโดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม (หน่วยที่ 9) สมัยผมออกเรื่องการตีใช้หนี้ ตามมาตรา 1299 วรรค 1

กลุ่มที่ 2 ได้แก่เรื่องสิทธิครอบครอง ในหน่วยที่ 6

แก้ไข

มาตราที่สำคัญ ได้แก่ มาตรา 1367*, 1368, 1369, 1374**, 1375**, 1377, 1378, 1380, 1381, 1382***,1383*, 1384* สมัยที่ผมสอบออกเรื่องการรบกวนการครอบครองและแนวทางในการแก้ไขตามมาตรา 1374

กลุ่มที่ 3 ออกเรื่องใดก็ได้ในกลุ่มต่อไปนี้

แก้ไข

1. *สาธารณสมบัติของแผ่นดิน มาตรา 1304, 1305, 1306, 1307

2. *ที่งอกริมตลิ่ง มาตรา 1308 (หน่วยที่ 4)

3. *โรงเรือนลุกล้ำ มาตรา 1310, 1311, 1312 (1313-1315) (หน่วยที่ 4)

4. การเอาสังหาริมทรัพย์มารวมจนเป็นส่วนควบ หรือการใช้สัมภาระของบุคคลอื่นมาทำสิ่งใดขึ้นใหม่ ตามมาตรา 1316-1317 (หน่วยที่ 4)

5. ***บทตัดกรรมสิทธิ์ มาตรา 1329, 1330, 1331, 1332 (หน่วยที่ 4)

6. ***อำนาจของกรรมสิทธิ์ มาตรา 1336 (หน่วยที่ 3)

7. **เหตุเดือดร้อนรำคาญ มาตรา 1337 (หน่วยที่ 3)

8. **ทางจำเป็น มาตรา 1349, 1350 (หน่วยที่ 5)

9.* ส่วนควบของทรัพย์ มาตรา 144, 145, 146 มักไม่ออกตรงๆ แต่ต้องนำไปตอบประกอบการวินิจฉัย (หน่วยที่ 1)

10. กรรมสิทธิ์รวม มาตรา 1357**, 1358**, 1360**, 1361**, 1364***

11. ภาระจำยอม* มาตราที่น่าสนใจ มาตรา 1387, 1388, 1389, 1390, 1397, 1398, 1399, 1400, 1401


เรื่องที่ไม่เคยเอามาออกเป็นข้อสอบอัตนัยคือ ข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์ (ยกเว้นเรื่องทางจำเป็น) สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน และภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ สมัยที่ผมสอบออกเรื่องทางจำเป็นตามมาตรา 1349, 1350

นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินตาม สมควรเพื่อช่วยในการตอบข้อสอบอัตนัย โดยเฉพาะเรื่องที่ดินมีโฉนดซึ่งมีกรรมสิทธิ์ กับที่ดินมือเปล่าซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครอง (นส. 3, นส. 3 ก, สค. 1 ที่ดินที่ได้รับรองว่าทำประโยชน์แล้ว เป็นต้น) แต่เวลาตอบสอบไม่ต้องอ้างประมวลกฎหมายที่ดิน

วิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน อาจารย์มักออกข้อสอบค่อนข้างยาก แต่ไม่ค่อยหลุดประเด็นที่ผมได้บอกไปแล้วข้างต้น ต้องนำไปใช้ในกฎหมายอื่นๆอีกมาก ขอให้โชคดีนะครับ


กฎหมายพาณิชย์ 1

แก้ไข

หน่วยเน้น หน่วยที่ 2-3, 9-10, 12-13

เนื้อหาที่สามารถนำมาออกข้อสอบอัตนัย มี 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เรื่องซื้อขาย (หน่วยที่ 2-3)

แก้ไข

เรื่องที่ 1 หลักทั่วไปของการซื้อขาย

1. มาตรา 454 คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย

2. มาตรา 456 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ สัญญาจะซื้อหรือจะขายทรัพย์สินตามมาตรา 456 วรรค 1 สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆ ต้องแยกให้ได้ว่าอย่างไรเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด อย่างไรเป็นสัญญาจะซื้อขาย ในวรรค 2 สัญญาจะซื้อขาย หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามมาตรา 456 วรรค 1 + ทรัพย์สินตามมาตรา 456 วรรค 3 (สังหาริมทรัพย์ราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป) ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ (ไม่ใช่แบบ) หรือวางมัดจำ หรือชำระหนี้บางส่วน จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

3. มาตรา 458 เวลาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์

4. มาตรา 459 สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไข กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอนจนกว่าการจะเป็นไปตามเงื่อนไขแล้ว

5. มาตรา 460 การซื้อขายทรัพย์สินที่ไม่ได้กำหนดแน่นอน ดูเปรียบเทียบกับมาตรา 195 ด้วย

เรื่องที่ 2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ซื้อและผู้ขาย

1. มาตรา 465 ผู้ขายส่งมอบสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้อง

2. มาตรา 466 ผู้ขายส่งมอบอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้อง

3. มาตรา 467 ข้อรับผิดกรณีทรัพย์เกินหรือขาดตกบกพร่อง

4. มาตรา 468 การยึดหน่วงทรัพย์สินที่ขาย ดูเรื่องหลักทั่วไปของสิทธิยึดหน่วงตามมาตรา 241 ด้วย

5. มาตรา 470 กรณีที่ผู้ซื้อต้องรับผิด

6. มาตรา 472 ความรับผิดของผู้ขายในกรณีทรัพย์สินที่ซื้อขายชำรุดบกพร่อง + มาตรา 473 ข้อยกเว้นที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินชำรุดบกพร่อง + มาตรา 474 อายุความในการฟ้องคดี

7. มาตรา 475 หลักทั่วไปเกี่ยวกับการรอนสิทธิ + กรณีที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิตามมาตรา 476 และมาตรา 482 + อายุความในการฟ้องคดีเกี่ยวกับการรอนสิทธิตามมาตรา 481

8. มาตรา 479 ทรัพย์สินหลุดจากผู้ซื้อเพราะเหตุแห่งการรอนสิทธิ และมาตรา 480 อสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอม

9. มาตรา 483+484+485 ข้อสัญญาที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิด

10. มาตรา 488 ผู้ซื้อพบเห็นความชำรุดบกพร่อง ก็ชอบที่จะยึดหน่วงราคาไว้ได้


กลุ่มที่ 2 เช่าทรัพย์ (หน่วยที่ 9-10)

แก้ไข

1. มาตรา 538 หลักฐานและแบบของสัญญาเช่า สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆๆ อย่าสับสนกับมาตรา 456 เด็ดขาด ตามมาตรา 538 ไม่มีคำว่าเป็นโมฆะ (อย่าไปสับสนกับเรื่องซื้อขายเด็ดขาด) ให้ดูไปถึงเรื่องสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาด้วย ซึ่งไม่อยู่ในบังคับมาตรา 538

2. มาตรา 540 กำหนดเวลาเช่าอสังหาริมทรัพย์

3. มาตรา 542 การเรียกเอาสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันโดยอาศัยมูลของสัญญาเช่าต่างราย + มาตรา 543 การเรียกเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันโดยอาศัยมูลของสัญญาเช่าต่างราย

4. มาตรา 544 เรื่องการให้เช่าช่วง + ความรับผิดของผู้เช่าช่วงตามมาตรา 545 (เช่าช่วงโดยชอบ + เช่าช่วงโดยมิชอบ)

5. มาตรา 546 หน้าที่ในการส่งมอบทรัพย์สินของผู้ให้เช่า

6. มาตรา 547 หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาทรัพย์สินของผู้ให้เช่า ยกเว้นเฉพาะค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ซึ่งผู้เช่าต้องเป็นผู้เสีย ดูด้วยว่าอย่างไรเป็นการบำรุงรักษาตามปกติ อย่างไรเป็นการซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย

7. มาตรา 548 สิทธิในการเลิกสัญญาของผู้เช่า เมื่อผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินฝ่าฝืนมาตรา 546

8. มาตรา 550 ความรับผิดในความชำรุดบกพร่องของผู้ให้เช่า

9. มาตรา 552 การใช้ทรัพย์สินของผู้เช่า + มาตรา 553 การสงวนทรัพย์สินที่เช่า และการทำการซ่อมแซมเล็กน้อย + ถ้าผู้เช่าฝ่าฝืนมาตรา 552, 553 ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ตามมาตรา 554

10. มาตรา 555 การเข้าตรวจดูทรัพย์สินโดยผู้ให้เช่า + มาตรา 556 กรณีมีเหตุต้องซ่อมแซมทรัพย์สินเร่งด่วน ผู้เช่าต้องยอมให้ผู้ให้เช่าซ่อมแซม เว้นแต่การซ่อมแซมกินเวลานานจนไม่สามารถใช้ทรัพย์นั้นได้ ดังนี้ผู้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาได้

11. มาตรา 557 กรณีที่ผู้เช่าต้องแจ้งเหตุแก่ผู้เช่าโดยพลัน มี 3 กรณี

12. มาตรา 558 การดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สินที่เช่า

13. มาตรา 560 กรณีผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า

14. มาตรา 561 ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสภาพทรัพย์สินที่เช่า

15. มาตรา 562 ความรับผิดของผู้เช่าในความสูญหายหรือบุบสลายของทรัพย์สิน

16. มาตรา 563 อายุความในการฟ้องผู้เช่า

17. มาตรา 564 กรณีสัญญาเช่าระงับ

18. มาตรา 566 กำหนดเวลาเช่าไม่ปรากฏ ถึงจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้ ถ้าเป็นสัญญาเช่าที่มีกำหนดเวลา ไม่เป็นกรณีตามมาตรานี้

19. มาตรา 567 ทรัพย์สินที่ให้เช่าสูญหายไปทั้งหมด + มาตรา 568 ทรัพย์สินที่ให้เช่าสูญหายไปบางส่วน

20. มาตรา 569 ความระงับของสัญญาเช่าเพราะเหตุแห่งการโอนกรรมสิทธิ์

21. มาตรา 570 กรณีที่ถือว่าทำสัญญาเช่าใหม่โดยปริยาย

กลุ่มที่ 3 จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน (หน่วยที่ 12-13)

แก้ไข

เรื่องที่ 1 จ้างแรงงาน

1. มาตรา 575 ลักษณะทั่วไปของสัญญาจ้างแรงงาน

2. มาตรา 577 นายจ้างโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ต้องมีความยินยอมพร้อมใจ

3. มาตรา 579 ลูกจ้างขาดงานโดยมีเหตุอันสมควร นายจ้างไม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้

4. มาตรา 581 กรณีที่ถือว่าทำสัญญาจ้างใหม่โดยปริยาย

5. มาตรา 582 กรณีการเลิกจ้างโดยการบอกกล่าวล่วงหน้า ทำความเข้าใจเรื่องการนับระยะเวลาให้ดีด้วยว่าเมื่อไรจึงจะบอกเลิกจ้าง และการเลิกจ้างจะมีผลเมื่อใด

6. มาตรา 583 เหตุแห่งการเลิกจ้างโดยนายจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน มีอยูู่ 5 เหตุ ดูฎีกาด้วย

7. มาตรา 585 ใบสำคัญแสดงการผ่านงาน

8. มาตรา 586 กรณีนายจ้างต้องจ่ายเงินค่าเดินทางขากลับให้แก่ลูกจ้าง

เรื่องที่ 2 จ้างทำของ

1. มาตรา 587 ลักษณะทั่วไปของสัญญาจ้างทำของ

2. มาตรา 591 ความชำรุดบกพร่อง ความชักช้าเกิดขึ้นเพราะสภาพสัมภาระของผู้ว่าจ้าง

3. มาตรา 593 ผู้รับจ้างไม่เริ่มกระทำการ หรือกระทำการชักช้า

4. มาตรา 603 การที่จ้างพังทลายหรือบุบสลายก่อนส่งมอบและผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ + มาตรา 604 ที่จ้างพังทลายหรือบุบสลายก่อนส่งมอบและผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ

5. มาตรา 605 สิทธิในการบอกเลิกสัญญาของผู้ว่าจ้าง

6. มาตรา 607 ผู้รับจ้างช่วง

ข้อแนะนำในการศึกษาและการตอบข้อสอบอัตนัยกฎหมายพาณิชย์ 1

1. วิชากฎหมายพาณิชย์ 1 ไม่ใช่วิชาที่ยากต่อการทำความเข้าใจ ขอให้ทบทวนหลักเบื้องต้นในกฎหมายแพ่ง 1 กฎหมายแพ่ง 2 และกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินให้ดี เพราะต้องนำมาใช้มาก

2. ข้อสอบอัตนัยมี 3 ข้อ ข้อแรกเป็นเรื่องซื้อขาย แต่มีบางปีออกเรื่องสัญญาแลกเปลี่ยนซึ่งโดยทั่วไปก็ใช้บทบัญญัติในเรื่อง ซื้อขายนั่นเอง (มาตรา 519) ข้อสองส่วนใหญ่เป็นเรื่องเช่าทรัพย์ มีบ้างบางปีที่ออกเรื่องเช่าซื้อ ข้อสามเป็นเรื่องจ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ซึ่งมีความใกล้เคียงกันมาก หลายครั้งที่ข้อสอบถามว่าสัญญาตามปัญหาเป็นสัญญาอะไร

3. ใกล้สอบพยายามทบทวนตัวบท และเทปเสียงที่ทาง มสธ. ส่งไปให้

4. สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนต่อ นบท. สัญญารับขนถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง เพราะเป็นพื้นความรู้ในการเข้าใจกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับ พรบ. รับขนของทางทะเล พศ. 2534 จึงควรทำความเข้าใจอย่างดีด้วย


กฎหมายพาณิชย์ 2

แก้ไข

หน่วยเน้น หน่วยที่ 3, 7-8, 11, 12, 15

เนื้อหาที่นำมาออกข้อสอบอัตนัย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม


กลุ่มที่ 1 เรื่องการกู้ยืมเงิน (หน่วยที่ 3)

แก้ไข

1. มาตรา 653 เรื่องการกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาท (ไม่ใช่ตั้งแต่ 2,000 บาท) ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ส่วนการนำสืบการใช้เงินนั้นตามมาตรา 653 นั้นหมายถึงเฉพาะเงินต้นเท่านั้น ส่วนการนำสืบเรื่องการใช้ดอกเบี้ยสามารถนำสืบด้วยพยานบุคคลได้ (ไม่เป็นกรณีตามมาตรา 653) ดูฎีกามากๆ ดูฎีกามากๆ

2. มาตรา 654 + พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พศ. 2475 สรุปว่าไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ได้ (ไม่ใช้บังคับกับการกู้ยืมเงินของธนาคาร) ถ้าฝ่าฝืนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งหมด แต่ยังคงฟ้องให้มีการใช้เงินต้นกันได้ (ตามมาตรา 173) และต้องทำความเข้าใจว่าดอกเบี้ยตามสัญญาเงินกู้ กับดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 เป็นคนละประเด็นกัน แม้ดอกเบี้ยตามสัญญากู้เป็นโมฆะแล้ว แต่เจ้าหนี้สามารถเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ตามมาตรา 224 ดูฎีกามากๆ

3. มาตรา 655 เป็นกรณีห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้น ซึ่งไม่ใช้กับประเพณีทางการค้า บัญชีเดินสะพัด และดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปีและได้ทำสัญญาตกลงกันไว้เป็นหนังสือ ดูเรื่องบัญชีเดินสะพัด (สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี) ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่ตกไปยังทายาท ดูฎีกามากๆ

4. มาตรา 656 กรณีผู้กู้ยืมเงินยอมรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนเงิน

นอกจากนี้อาจต้องอ้างมาตรา 7, มาตรา 224, มาตรา 321, มาตรา 650 ในการตอบข้อสอบด้วย

กลุ่มที่ 2 เรื่องตัวแทน (หน่วยที่ 7-8)

แก้ไข

1. มาตรา 805 ห้ามตัวแทนทำการเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของบุคคล ภายนอก เว้นแต่นิติกรรมนั้นมีเฉพาะการชำระหนี้

2. มาตรา 806 ตัวการเปิดเผยชื่อ ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 798

3. มาตรา 807 หน้าที่ต้องทำตามคำสั่งของตัวการ

4. มาตรา 808 หน้าที่ที่ตัวแทนต้องทำการด้วยตนเอง

5. มาตรา 810 หน้าที่ที่ต้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่รับไว้แทนตัวการ + มาตรา 811 ตัวแทนเอาเงินของตัวการไปใช้เป็นการส่วนตัว

6. มาตรา 812 ความรับผิดของตัวแทน มี 4 กรณี สำคัญมากๆๆๆๆ

7. มาตรา 813 ตัวแทนตั้งตัวแทนช่วง + มาตรา 814 ความรับผิดของตัวแทนช่วง

8. มาตรา 817 การจ่ายบำเหน็จให้ตัวแทน + มาตรา 818 กรณีที่ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ

9. มาตรา 819 สิทธิที่ตัวแทนจะยึดหน่วงทรัพย์สินของตัวการ

10. มาตรา 820 ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก

11. มาตรา 821 ตัวแทนเชิด ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 798

12. มาตรา 822 กรณีตัวแทนทำเกินขอบอำนาจ แต่มีมูลเหตุอันสมควรทำให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าตัวแทนได้ทำการในขอบอำนาจ (ดูคู่ไปกับมาตรา 821)

13. มาตรา 823 ตัวแทนทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนือขอบอำนาจ ไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการให้สัตยาบัน (ดูคู่ไปกับมาตรา 822)

14. มาตรา 824 ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ในต่างประเทศ

15. มาตรา 825 ตัวแทนเข้าทำสัญญาโดยเห็นแก่อามิสสินจ้าง ไม่ผูกพันตัวการ

16. มาตรา 826 กรณีสัญญาตัวแทนระงับ

17. มาตรา 827 การบอกเลิกการเป็นตัวการและตัวแทนซึ่งกันและกัน

18. มาตรา 828 กรณีตัวการตาย ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย + มาตรา 829 กรณีตัวแทนตาย ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย

19. มาตรา 831 ข้อต่อสู้บุคคลภายนอกในเรื่องสัญญาระงับ

กลุ่มที่ 3 ประกันภัย (หน่วยที่ 11,12,15)

แก้ไข

1. มาตรา 861 ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย

2. มาตรา 863 ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย สำคัญมากๆๆๆๆ

3. มาตรา 864 กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิลดเบี้ยประกันภัย

4. มาตรา 865 กรณีสัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆ + มาตรา 866 กรณีที่ถือว่าสัญญาประกันภัยสมบูรณ์

5. มาตรา 867 วรรค 1 การฟ้องร้องบังคับคดีเกี่ยวกับสัญญาประกันภัย ตัวกรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่ตัวสัญญาประกันภัย แต่ถือว่าเป็นหลักฐานเป็นหนังสือ

6. มาตรา 889 ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันชีวิต

7. มาตรา 891 สิทธิของผู้เอาประกันชีวิตที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญา

8. มาตรา 892 ค่าไถ่ถอนกรมธรรม์กรณีบอกล้างสัญญาตามมาตรา 865

9. มาตรา 893 กรณีแถลงอายุคลาดเคลื่อนเป็นเหตุให้กำหนดเบี้ยประกันต่ำ

10. มาตรา 894 การบอกเลิกสัญญาด้วยการงดส่งเบี้ยประกัน

11. มาตรา 895 เหตุมรณะที่ผู้รับประกันไม่ต้องใช้เงิน สำคัญมากๆๆๆๆๆๆ ดูฎีกาด้วย โดยเฉพาะเรื่องฆ่าตัวตายเพื่อเอาเงินประกันภายใน 1 ปี แต่ผลคือความตายเกิดขึ้นหลังจากทำสัญญาประกันชีวิตเกิน 1 ปี

12. มาตรา 896 กรณีมรณภัยเกิดขึ้นเพราะความรับผิดของบุคคลภายนอก (เปรียบเทียบกับมาตรา 880) ในสัญญาประกันชีวิตผู้เอาประกันชีวิตสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ 2 ทาง คือ เรียกเอาจากผู้ก่อความเสียหายโดยตรง และเรียกเอาจากผู้รับประกันภัย

13. มาตรา 897 กรณีกำหนดให้ใช้เงินแก่ทายาทโดยไม่ได้ระบุชื่ออย่างเจาะจง

คำแนะนำในการศึกษาและตอบข้อสอบอัตนัยกฎหมายพาณิชย์ 2 1. วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 ถือว่าเป็นวิชาที่มีจำนวนมาตราน้อยที่สุดในชุดวิชากฎหมายแพ่งทั้งหมด ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจทุกมาตราที่เป็นมาตราสำคัญข้างต้น และกฎหมายพาณิชย์ 2 ไม่ใช่วิชายาก ถ้ามีความรู้พื้นฐานของกฎหมายแพ่งที่ดี

2. ข้อสอบอัตนัยมี 3 ข้อ ข้อแรกเป็นเรื่องกู้ยืมเงิน ข้อที่สองเป็นเรื่องตัวแทน ข้อที่สามเป็นเรื่องประกันภัย จำนวนมาตราที่ใช้ตอบในแต่ละข้อไม่มาก ประมาณ 1-2 มาตรา ขอให้โชคดีครับ





กฎหมายพาณิชย์ 3

แก้ไข

ข้อสอบวิชากฎหมายพาณิชย์ 3 ประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ตั๋วเงิน

ข้อสอบอัตนัยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ (หน่วยเน้น 1-5, 8-13)

กลุ่มที่ 1 เรื่องค้ำประกัน (หน่วยที่ 1 และหน่วยที่ 2)

มาตราที่ควรสนใจ มาตรา 680*, 681*, 682 วรรค 2, 683, 685, 686*, 687*, 688*, 689*, 690*, 691*, 692*, 693, 694*, 695*, 696, 697, 698*, 699, 700*, 701*

สมัยผมสอบออกเรื่องการค้ำประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่ เจ้าหนี้ตามมาตรา 699 สรุปแล้วออกได้ทุกมาตราของเรื่องค้ำประกัน

กลุ่มที่ 2 เรื่องจำนอง (หน่วยที่ 3-5)

แก้ไข

มีมาตราที่ควรให้ความสนใจ ดังนี้

1. หลักทั่วไปของสัญญาจำนอง มาตรา 702*, 703, 705*, 706, 707*, 710*, 711*, 712*, 713, 714*

2. สิทธิจำนองครอบเพียงใด มาตรา 715, 716, 717, 718, 719*, 720*, 721*

3. สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง มาตรา 722*, 723*, 724*, 725*, 726*

4. การบังคับจำนอง มาตรา 728*, 729*, 730, 731, 732, 733**

5. สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์ซึ่งจำนอง มาตรา 735*

5. ความระงับสิ้นไปของสัญญาจำนอง มาตรา 744*, 745*, 746

สมัยผมสอบ ข้อสอบถามว่าผู้เช่าที่ดินและบ้านสามารถทำการจำนองทรัพย์สินที่เช่าได้หรือ ไม่ คำตอบคือไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีเพียงสิทธิครอบครอง ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่านั้น เป็นไปตามมาตรา 705 ที่บอกว่านอกจากผู้เป็นเจ้าของในขณะนั้นแล้ว ท่านว่าใครอื่นจะจำนองหาได้ไม่

กลุ่มที่ 3 เรื่อง ตั๋วเงิน (หน่วยที่ 8-13)

แก้ไข

1. หลักทั่วไป มาตรา 899, 900**, 901, 902, 903, 904, 905**

2. การออกและสลักหลังตั๋วแลกเงิน มาตรา 911, 912, 914**, 915*, 916*,917*, 918*, 919, 920, 921*, 922*, 923*

3. การรับรอง มาตรา 927*, 928, 931, 934, 935*, 936*, 937*

4. อาวัล มาตรา 938*, 939*, 940**

5. การใช้เงิน มาตรา 941, 942, 943, 948*, 949*

6. การสอดเข้าแก้หน้า ไม่นำมาออกเป็นข้อสอบอัตนัย

7. สิทธิไล่เบี้ยเพราะเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน มาตรา 959,* 960, 967**, 970, 971,973*

8. ตั๋วแลกเงินเป็นสำรับ ไม่นำมาออกเป็นข้อสอบอัตนัย

9. ตั๋วสัญญาใช้เงิน มาตรา 986*

10. เช็ค มาตรา 989**, 990*, 991*, 992*, 993*

11. อายุความ ไม่นำมาออกเป็นข้อสอบอัตนัย

12. ตั๋วเงินปลอม ตั๋วเงินถูกลัก ตั๋วเงินหาย มาตรา 1006, 1007**, 1008**, 1009*

คำแนะนำในการศึกษากฎหมายเรื่องตั๋วเงิน เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องหลายคนในตั๋วเงินเนื่องจากคู่สัญญาไม่จำกัด เวลาอ่านหนังสือให้เขียนแผนภูมิควบคู่กันไป จะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้น

ลักษณะข้อสอบตั๋วเงินจะคล้ายๆ กฎหมายแพ่ง 3 ที่ข้อหนึ่งๆต้องตอบหลายมาตรา โดยทั่วไปประมาณ 5 มาตราขึ้นไป โดยต้องตอบให้มีเหตุผลและแสดงความต่อเนื่องของคำตอบ นอกจากนี้ผู้เข้าสอบต้องจำให้ได้ว่ามาตราใดของตั๋วแลกเงินที่นำไปใช้กับ เรื่องเช็ค หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ข้อสอบมักจะถามความรับผิดของคู่สัญญาต่างๆ ดังนั้นเวลาตอบข้อสอบจะต้องตอบว่ามีใครบ้างที่ต้องรับผิด และต้องรับผิดในฐานะอะไร หรือใครมีสิทธิไล่เบี้ยได้บ้าง เวลาอ่านคำถามพยายามแผนภูมิประกอบเพื่อจะได้ไม่สับสน มาตราที่นำมาตอบสอบเสมอในเรื่องตั๋วเงินในเรื่องความรับผิดคือมาตรา 900, 914, 967 ยกเว้นถ้าเป็นในกลุ่มของตั๋วเงินปลอม ตั๋วเงินถูกลัก ตั๋วเงินหาย กลุ่มมาตราที่ใช้ตอบจะอยู่มนกลุ่มมาตรา 1006-1009

ข้อสอบอัตนัยออก 3 ข้อ คือเรื่องค้ำประกัน 1 ข้อ จำนอง 1 ข้อ และเรื่องตั๋วเงิน 1 ข้อ มาตราค่อนข้างเยอะ คงไม่สามารถระบุมาตราที่แน่นนอนเหมือนกลุ่มกฎหมายอาญาซึ่งมีมาตราน้อยกว่า ไม่ยากแต่ต้องใช้ความพยายามโดยเฉพาะเรื่องตั๋วเงิน ถ้าอ่านไม่ทันให้อ่านเรื่องค้ำประกันและจำนองก่อน ขอให้โชคดีครับ

กฎหมายพาณิชย์ 4

แก้ไข

กฎหมายพาณิชย์ 4 หุ้นส่วน บริษัท หน่วยเน้น 2-8

แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ

แก้ไข

มีมาตราที่ควรให้ความสนใจ ดังนี้

1. นิยามของห้างหุ้นส่วนสามัญ มาตรา 1025****, 1050****

2. ทรัพย์สินที่นำมาลงหุ้น มาตรา 1026*, 1027**, 1028 * และดูไปถึงการเอาทรัพย์สินมาให้ใช้ในการลงหุ้น มาตรา 1029 และการให้กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินในการลงหุ้น มาตรา 1030

3. ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตน ตามมาตรา 1031* ให้สังเกตคำว่า "ไม่ส่งมอบเสียเลย" แปลว่าถ้าส่งมอบเพียงบางส่วนก็ไม่สามารถเอาหุ้นส่วนคนนั้นออกได้

4. การห้ามเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมหรือประเภทกิจการ ตามมาตรา 1032**

5. การจัดการห้างหุ้นส่วน มาตรา 1033**, 1034, 1035**, 1036 (เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างมาตรา 1033 และมาตรา 1035)

6. สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วน ตามมาตรา 1037

7. ข้อห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอันมีสภาพดุจเดียวกันและเป็นการแข่งขัน กับห้าง มาตรา 1038**** (ดูเปรียบเทียบกับมาตรา 1066****, 1067**** ในเรื่องห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมาตรา 1090 เรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัด และมาตรา 1168 ในเรื่องบริษัทจำกัด) ออกข้อสอบบ่อยครั้ง

8. หน้าที่ของผู้เป็นหุ้นส่วนในการจัดการงานด้วยความระมัดระวัง มาตรา 1039

9. การชักนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วน ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน มาตรา 1040** (เปรียบเทียบกับมาตรา 1091 เรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัด)

10. ผู้เป็นหุ้นส่วนโอนกำไรให้บุคคลภายนอก มาตรา 1041**

11. การแบ่งส่วนกำไรขาดทุน มาตรา 1044***, 1045*** ระวังให้ดีอย่าสับสนในเรื่องการลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน และความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ตามมาตรา 1050

12.สิทธิของหุ้นส่วนเรียกเอาประโยชน์ในกิจการที่ไม่ปรากฏชื่อของตน มาตรา 1048

13. สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก มาตรา 1049** (เปรียบเทียบกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มาตรา 1068)

14. ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว มาตรา 1051* และความรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน มาตรา 1052* (เปรียบเทียบกับมาตรา 1068 เรื่องห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล)

15. ข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่ยังไม่ได้จดทะเบียน มาตรา 1053

16. ผู้ที่ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน มาตรา 1054****

17.เหตุในการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ มาตรา 1055**** (เปรียบเทียบกับห้างหุ้นส่วนสามัญบุคคลล้มละลายตามมาตรา 1069 และเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นกับหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ เลิกกันตามมาตรา 1092, 1093, 1094) + การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญตามความประสงค์ของหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง ตามมาตรา 1056**** + เหตุที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ มาตรา 1057****

18. กรณีที่ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงทำการเป็นหุ้นส่วนต่อไปโดยปริยาย มาตรา 1059

19. กรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนรับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วน ตามมาตรา 1055 (มาตรา 1060*)

20. การชำระบัญชีเมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ มาตรา 1061, 1062*, 1063*

สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ให้ดูเพิ่มในเรื่อง

1. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลล้มละลาย มาตรา 1069

2. ห้างหุ้นส่วนผิดนัดชำระหนี้ มาตรา 1070* + กรณีขอให้ศาลบังคับเอาสินทรัพย์ของห้างมาชำระหนี้ก่อน มาตรา 1071*

3. สิทธิของเจ้าหนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะตัว มาตรา 1072 (เปรียบเทียบกับมาตรา 1095 ในการบังคับชำระหนี้กับหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด)

4. การควบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มาตรา 1073-1076 ( เปรียบเทียบกับการควบหุ้นส่วนบริษัทจำกัด)

กลุ่มที่ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด

แก้ไข

1.นิยามของห้างหุ้นส่วนจำกัด มาตรา 1077***

2. ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วน กรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดยังไม่ได้จดทะเบียน มาตรา 1079**

3. การใช้ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในชื่อห้างหุ้นส่วน มาตรา 1081****, 1082****

4. การลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วน มาตรา 1083** หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้ามลงหุ้นด้วยทุนแรงงาน

5. การแบ่งเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด มาตรา 1084*

6. กรณีผู้เป็นผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดแสดงต่อบุคคลภายนอกว่าลงหุ้นมากกว่าที่เป็นจริง มาตรา 1085*

7.ข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นเมื่อเปลี่ยนแปลงประเภทของทรัพย์สินหรือลดจำนวนหุ้นที่ต้องจดทะเบียน มาตรา 1086

8. ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด มาตรา 1087**

9. ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วน มาตรา 1088****

10. ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดประกอบกิจการค้าขายแข่งกับห้าง มาตรา 1090**** (เปรียบเทียบกับมาตรา 1038, 1066, 1067, 1168)

11. การโอนหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด มาตรา 1091

12. ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นบุคคลไร้ความสามารถ มาตรา 1092, 1094

13. การฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด มาตรา 1095** (เปรียบเทียบกับมาตรา 1072)

กลุ่มที่ 3 เรื่องบริษัทจำกัด

แก้ไข

หัวข้อที่ 1 การจัดตั้งบริษัทจำกัด

1. นิยามของบริษัทจำกัด มาตรา 1096*

2. ผู้เริ่มก่อการ มาตรา 1097*

3. การทำหนังสือบริคณห์สนธิ มาตรา 1099

4.ความรับผิดของกรรมการบริษัท มาตรา 1101**

5. จำนวนหุ้นทั้งหมดซึ่งจดทะเบียน มาตรา 1104**

6. การออกหุ้น มาตรา 1105 *และความผู้กพันผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น มาตรา 1106*

7. การประชุมจัดตั้งบริษัท มาตรา 1107* และกิจการที่พึงกระทำในการประชุมจัดตั้งบริษัท มาตรา 1108

8.การออกเสียงลงคะแนนของผู้เข้าร่วมก่อการ หรือผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น มาตรา 1109**

9. การดำเนินการภายหลังการประชุมจัดตั้งบริษัท คือ การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นร้อยละ 25 มาตรา 1110***

10. ระยะเวลาในการยื่นขอจดทะเบียน มาตรา 1112***

11. ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัท มาตรา 1113****

12. การฟ้องร้องขอให้ศาลเพิกถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้น มาตรา 1114*

หัวข้อที่ 2 เรื่องหุ้น

1. หุ้นไม่สามารถแบ่งแยกได้ มาตรา 1118*

2.การใช้เงินเป็นค่าหุ้น มาตรา 1119*

3. กำหนดส่งเงินค่าหุ้น มาตรา 1120

4. การเรียกเงินค่าหุ้น และกรณีไม่ส่งเงินค่าหุ้น มาตรา 1121*, 1122*,1123*

5. การริบหุ้น มาตรา 1124*, 1125*

6. การโอนหุ้น มาตรา 1129**** อย่าสับสนกับเรื่องการโอนตั๋วแลกเงิน

7. ความรับผิดของผู้โอนหุ้นในเงินที่ค้างชำระ มาตรา 1132***

8.หุ้นผู้ถือ มาตรา 1134, 1135, 1136

9. หุ้นระบุชื่อ มาตรา 137

10. หุ้นบุริมสิทธิ มาตรา 1142

หัวข้อที่ 3 การจัดการบริษัทจำกัด

1.การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิภายหลังการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดแล้ว มาตรา 1145***

2. การจดทะเบียนข้อบังคับที่ตั้งใหม่หรือเปลี่ยนแปลง มาตรา 1146*

3.กรรมการล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ มาตรา 1154 + กรณีตำแหน่งสภากรรมการว่างลง มาตรา 1155

4. กรรมการลดลงกว่าองค์ประชุม มาตรา 1159**

5. องค์ประชุมของกรรมการ มาตรา 1160**

6. การมอบอำนาจให้ผู้จัดการหรืออนุกรรมการ มาตรา 1164*

7. หน้าที่และความรับผิดของกรรมการ มาตรา 1168 ****(เปรียบเทียบกับมาตรา 1038, 1066, 1067, 1090)

8. กรรมการทำความเสียหายให้แก่บริษัท มาตรา 1169****

9. การกระทำของกรรมการที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ มาตรา 1170***

10.เหตุและการเรียกประชุมวิสามัญ มาตรา 1172*, 1173*, 1174

11.คำบอกกล่าวการเรียกประชุมใหญ่ มาตรา 1175***

12. องค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่ มาตรา 1178****

13. กรณีจำนวนผู้ถือหุ้นไม่ครบองค์ประชุม มาตรา 1179**

14. การเลื่อนประชุม มาตรา 1181**

15.การนับคะแนนเสียง มาตรา 1182*

16. จำนวนหุ้นไม่ถึงจำนวนคะแนนที่ออกเสียง มาตรา 1183

17. ผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน มาตรา 1184

18. ผู้ถือหุ้นมีส่วนได้ส่วนเสียในการพิจารณา มาตรา 1185

19.การออกเสียงลงคะแนนของผู้ทรงหุ้นชนิดผู้ถือ มาตรา 1186

20. หนังสือมอบฉันทะ มาตรา 1188*, 1189*

21. การลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ มาตรา 1190**

22. การลงคะแนนโดยการชูมือ มาตรา 1191**

23. มติพิเศษ มาตรา 1194**** สำคัญมากๆ ให้ดูด้วยว่ามีกรณีใดบ้างที่ต้องอาศัยมติพิเศษ

24. การร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ มาตรา 1195****

หัวข้อที่ 4 การเพิ่มทุนและการลดทุน

1. การเพิ่มทุนของบริษัท มาตรา 1220**

2. การออกหุ้นใหม่เสมือนได้ใช้ค่าหุ้นแล้ว มาตรา 1221 (ดูคู่กับมาตรา 1108(5))

3. หลักเกณฑ์ในการขายหุ้นใหม่ มาตรา 1222***

4. การลดทุนของบริษัท มาตรา 1124**,1125**,1126**

5. ความรับผิดของเจ้าหนี้ซึ่งไม่ได้คัดค้านการลดทุน มาตรา 1227*

หัวข้อที่ 5 เรื่องการเลิกบริษัท มาตรา 1236****, 1237****

หัวข้อที่ 6 การควบบริษัทจำกัด มาตรา 1238**, 1239*, 1240****, 1241*, 1242, 1243**



คำแนะนำในการสอบข้อสอบอัตนัยวิชากฎหมายพาณิขย์ 4 โดยลักษณะวิชาแล้วมีมาตราจำนวนมาก

1. พิจารณาว่าโจทย์ถามอะไร ว่าเป็นเรื่องของห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด อย่านำกฎหมายเรื่องหนึ่งไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง

2. ให้ระวังเรื่องตัวเลขและระยะเวลาให้ดี นอกจากจะจำตัวเลขได้แล้ว ต้องรู้ด้วยว่าเป็นตัวเลขที่คิดจากฐานอะไร และนับระยะเวลาจากอะไร เช่น มาตรา 1178 เรื่ององค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่ เท่ากับ 1 ใน 4 ของจำนวนทุน ไม่ใช่จำนวนผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุม มติบริษัทจึงจะชอบด้วยกฎหมาย

3. คำถามแต่ละคำถามตอบโดยใช้จำนวนมาตราไม่มาก ประมาณ 1-3 มาตรา ไม่เกินนี้ ไม่เหมือนกฎหมายเรื่องตั๋วเงิน หรือเรื่องครอบครัว มรดก

4. ใกล้สอบดูตัวบทให้มากๆเข้าไว้ เปิดตัวบทบ่อยๆ ให้ผ่านหูผ่านตา จะได้จำได้

ไม่สามารถให้เป็นมาตราเน้นๆเหมือนกับกฎหมายอาญาได้ เนื่องจากโดยลักษณะวิชาแล้ว กฎหมายลักษณะหุ้นส่วนบริษัทมีมาตราจำนวนมาก (รองลงมาจากกฎหมายแพ่ง 3 ซึ่งมีจำนวนมาตรามากที่สุด) ถ้าอ่านไม่ทันก็ให้ดูตรงมาตราที่มีเครื่องหมาย * ซึ่งเป็นมาตราที่มีความสำคัญ

สมัยผมสอบออกเรื่องการแบ่งกำไรขาดทุนมาตรา 1144, 1145 การทำการค้าแข่งของผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดตามมาตรา 1090 และเรื่องการโอนหุ้น มาตรา 1129


กฎหมายวิธีสบัญญัติ 1 หลักทั่วไปในการพิจารณาความแพ่ง

แก้ไข

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในกฎหมายวิธีสบัญญัติ 1

มีเนื้อหาที่นำมาออกข้อสอบได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ (หน่วยเน้น หน่วยที่ 3,5,8,9,10,12)

กลุ่มที่ 1 มาตราที่ควรให้ความสนใจ (หน่วยที่ 3,5)

แก้ไข

1. มาตรา 4 **ทั้งหลาย โดยเฉพาะมาตรา 4, 4 ทวิ, 4 ตรี, 4 จัตวา เรื่องเขตอำนาจศาล + มาตรา 2, 3 แยกให้ดีระหว่างคำฟ้อง กับคำร้องขอ และประเด็นในเรื่องคำฟ้องอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 4 ทวิ และบทบัญญัติทั้งหลายต้องอยู่ภายใต้มาตรา 7 ซึ่งมี 4 กรณี

2. มาตรา 18* เรื่องการยื่นและตรวจคำคู่ความ ให้ความสนใจเป็นพิเศษในการรับและไม่รับคำคู่ความว่าทำให้คดีนั้นเสร็จเด็ด ขาดหรือไม่ หรือเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา และมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ทันทีหรือไม่

3. มาตรา 23 เรื่องการยื่นขอขยายระยะเวลา มี 2 กรณี

4. มาตรา 55 เป็นมาตราที่เริ่มต้นในคดีแพ่ง โดยการที่จะฟ้องคดีแพ่งได้ต้องถูกโต้แย้งซึ่งสิทธิ หรือมีกรณีที่จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล

5. มาตรา 56 กรณีที่ความสามารถของผู้ยื่นฟ้องบกพร่อง และการแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้น ดูนิยามของคนไร้ความสามารถตามมาตรา 1(12) ด้วย

6. มาตรา 57** เรื่องการร้องสอด ทำความเข้าใจให้ดีกับการร้องสอดทั้ง 3 กรณี แยกความแตกต่างระหว่างการร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์หรือจำเลยฝ่ายเดียวกันตรม มาตรา 57(2) กับการเป็นคู่ความร่วมตามมาตรา 59

7. มาตรา 58** เรื่องผลของการร้องสอดทั้ง 3 กรณี ให้ความสนใจในเรื่องสิทธิที่ได้จากการร้องสอดว่าเท่าเทียมหรือเหนือกว่าคู่ ความเดิมอย่างไร ส่วนตามมาตรา 58 วรรคท้าย เป็นเรื่องการอ้างสิทธิระหว่างผู้ร้องสอดกับคู่ความตั้งต้นในคดีเดิม ไม่ใช่เรื่องผู้ร้องสอดอ้างสิทธิกับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง

8. มาตรา 59** เรื่องคู่ความร่วม ดูเรื่องกรณีที่จะเข้ามาเป็นคู่ความร่วม และผลของการเป็นคู่ความร่วม

9. มาตรา 60 เรื่องการตั้งผู้แทนในการดำเนินคดี และการตั้งทนายความ

10. มาตรา 74-77* เรื่องการส่งคำคู่ความและเอกสาร ในกรณีที่ส่งแล้วไม่มีคู่ความรับ หรืออายุยังไม่ถึง 20 ปี

11. มาตรา 78 **และ 79** เรื่องการวางหมาย และการปิดหมาย แยกความแตกต่างให้ได้ และดูด้วยว่าหน้าที่ในการวางหมายหรือการปิดหมาย กรณีใดที่เป็นอำนาจศาล กรณีใดที่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง

กลุ่มที่ 2 เรื่องคำพิพากษาและคำสั่ง และการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา (หน่วยที่ 8-9)

แก้ไข

มีมาตราที่ควรให้ความสนใจดังนี้

1. มาตรา 144*** และมาตรา 148*** เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และการฟ้องซ้ำ ดูความแตกต่างให้ดี สังเกตได้ว่าในการดำเนินกระบานพิจารณาซ้ำ คดีนั้นยังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 147 แต่มีการวินิจฉัยหรือชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้ว แต่การฟ้องซ้ำนั้น เป็นกรณีที่คดีนั้นถึงที่สุดตามมาตรา 147 แล้ว ทั้ง 2 กรณีเหมือนกันตรงที่เป็นการห้ามคู่ความเหมือนกัน ให้เปรียบเทียบกับกรณีฟ้องซ้อนตามมาตรา 173 วรรค 2(1) ด้วยซึ่งเป็นการห้ามโจทก์ ไม่ใช่การห้ามคู่ความ

2. มาตรา 145* เรื่องผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งว่ามีผลผูกพันคู่ความ ยกเว้น 2 กรณี

3. มาตรา 147 กรณีที่ถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นที่สุด

4. มาตรา 155** และมาตรา 156*** เรื่องกรณีการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ดูขั้นตอน การสาบานตน กรณีที่จะใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ให้มีการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ว่าสามารถใช้สิทธิได้ 2 ประการแต่จะต้องเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 156 วรรค 4 และวรรค 5

การใช้สิทธิตามมาตรา 156 วรรค 4 ต้องเป็นการขอสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน ซึ่งต้องมีการไต่สวนมาก่อนแล้ว ถ้าศาลยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยอ้างว่าคดีไม่มีมูล หรือไม่มีเหตุสมควรอุทธรณ์หรือฎีกา ต้องใช้สิทธิตามมาตรา 156 วรรค 5 เท่านั้น

กลุ่มที่ 3 เรื่องพยานหลักฐาน (หน่วยที่ 11-12)

แก้ไข

3. มาตรา 87** พิจารณาว่าเป็นกรณีที่สามารถใช้พยานหลักฐานหรือไม่ และพิจารณาต่อไปว่าพยานหลักฐานที่ได้มานั้นได้มีการยื่นและปฏิบัติตาม ปวพ. โดยชอบหรือไม่

4. มาตรา 88*** เรื่องการยื่นบัญชีระบุพยาน ต้องยื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ดูเรื่องการนับวันดีๆ และดูความหายของคำว่าการสืบพยานตามมาตรา 1(10) ว่าต้องเป็นการสืบพยานนัดแรกหรือไม่ ถ้าไม่มีพยานมาในการสืบพยานนัดแรกจะถือว่าเป็นวันสืบพยานตามมาตรา 1(10) หรือไม่

5. มาตรา 89 เรื่องการถามค้านพยานไว้ก่อนเพื่อให้มีสิทธินำสืบพยานฝ่ายตนได้

6. มาตรา 90* เรื่องการส่งสำเนาสำหรับพยานเอกสาร ดูกรณีที่ให้ส่งสำเนาและข้อยกเว้นของการที่ไม่ต้องส่งสำเนาซึ่งมี 3 กรณี ให้ระวังว่าภาพถ่ายไม่ใช่พยานเอกสาร แต่เป็นพยานวัตถุ จึงไม่ต้องมีการส่งสำเนารูปถ่ายตามมาตรา 90

7. มาตรา 93* เรื่องการอ้างเอกสารต้องอ้างต้นฉบับ ยกเว้นอยู่ 3 กรณี ให้ดูมาตรา 93(2) ให้ดีเพราะต้องนำไปใช้ในมาตรา 94 ด้วย (ซึ่งสามารถนำสืบด้วยสำเนาเอกสาร หรือนำสืบด้วยพยานบุคคลก็ได้)

8. มาตรา 94**** สำคัญมากๆ ออกข้อสอบบ่อยที่สุดในเรื่องพยานหลักฐาน เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และข้อยกเว้น การที่จะตอบข้อสอบมาตรา 94 ได้ดี ต้องมีความรู้กฎหมายแพ่งในเรื่องแบบของสัญญาต่างๆอย่างดีด้วย ว่าสัญญาแบบไหนต้องทำเป็นหนังสือ ทำเป็นหนังสือ + จดทะเบียน หรือทำหลักฐานเป็นหนังสือ ต้องเข้าใจความหมายของคำว่าไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 94 วรรคท้ายว่าหมายถึงอะไร

ความเชื่อมโยงกันของพยานเอกสารคือ เมื่อมีการส่งสำเนาเอกสารตามมาตรา 90 แล้ว คู่ความที่ได้รับสำเนาเอกสาร หากต้องการโต้แย้งว่าสำเนาเอกสารไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ หรือไม่มีต้นฉบับ หรือเอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอม คู่ความที่ได้รับสำเนาเอกสารนั้นต้องทำการคัดค้านเอกสารตามมาตรา 125 เมื่อทำการคัดค้านเอกสารแล้วจึงจะเกิดประเด็นว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอม หรือไม่ ซึ่งสามารถนำสืบด้วยพยานบุคคลได้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย ถ้าคู่ความที่ได้รับสำเนาไม่ทำการคัดค้านเอกสาร ถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องเอกสารปลอม ซึ่งจะถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วตาม มาตรา 93(1) จึงเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องนำสืบด้วยต้นฉบับ

ถ้ามีการคัดค้านเอกสารแล้ว ต้องพิจารณาว่าต้นฉบับอยู่ที่คู่ความฝ่ายใด ถ้าต้นฉบับอยู่ที่ฝ่ายอ้างเอกสาร เป็นกรณีตามมาตรา 122 ถ้าต้นฉบับอยู่ที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นกรณีตามมาตรา 123 วรรค 1 ถ้าต้นฉบับอยู่ที่บุคคลภายนอกเป็นกรณีตามมาตรา 123 วรรค 2 (ดูคู่กับมาตรา 90 วรรคท้าย ประกอบกับมาตรา 90(2)) ถ้าบุคคลที่มีต้นฉบับเอกสารไม่ยอมส่งต้นฉบับ จะมีบทลงโทษตามมาตรา 124 และมาตรา 123 วรรค 1

สำหรับมาตรา 122, 123, 124, 125 นั้นอยู่ในหน่วยที่ 15 ไม่นำมาออกเป็นข้อสอบอัตนัย

ตัวบทของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ละมาตราค่อนข้างยาว เวลาตอบข้อสอบให้เลือกเอาเฉพาะส่วนที่จะตอบข้อสอบมาใช้ เช่น ในเรื่องการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ถามเรื่องว่าผู้ขอดำเนินคดีมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ดำเนินคดีอย่างคน อนาถา ก็ให้นำมาตรา 156 วรรค 4 และวรรค 5 มาตอบ โดยไม่ต้องตอบมาตรา 156 วรรค 1 และวรรค 2

การเรียนกฎหมายวิธีพิจารณาความนั้น นอกจากความสำคัญจะอยู่ที่ตัวบทแล้ว ส่วนที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งอยู่ในเอกสาร การสอน เพราะหลักกฎหมายของวิธีพิจารณาความหลายครั้งเกิดจากการตีความของศาลนั่นเอง หลายครั้งที่ข้อสอบเอาคำพิพากษามาออก ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญด้วย

กฎหมายวิธีสบัญญัติ 2 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายล้มละลาย

แก้ไข

หน่วยเน้น หน่วยที่ 1,2,5,6,7,12,13

เนื้อหาของกฎหมายวิธีสบัญญัติ 2 ที่นำมาออกข้อสอบได้ มี 3 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 เรื่องการดำเนินกระบวนการพิจารณาในศาลชั้นต้น (หน่วยที่ 1 และ 2)

แก้ไข

1. คำฟ้อง มาตรา 172 วรรค 2 คำฟ้องต้องประกอบด้วยข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่า ฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยต้องยกเป็นข้อต่อสู้ไว้จึงจะเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท

2. ฟ้องซ้อน มาตรา 173 วรรค 2(1) เมื่อคดีอยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณา ห้ามโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น ให้แยกความแตกต่างออกจากฟ้องซ้ำและการดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ ให้ระวังเวลาฟ้องแย้ง เพราะจำเลยมีฐานะเป็นโจทก์ในฟ้องแย้ง ส่วนโจทก์ก็มีฐานะเป็นจำเลยในฟ้องแย้ง ดังนั้นจำเลยในคดีแรกจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องซ้อนตามมาตรา 173 วรรค 2(1) ด้วยเพราะมีฐานะเป็นโจทก์ในฟ้องแย้ง คำว่าโจทก์รวมถึงผู้สืบสิทธิของโจทก์ด้วย และให้ความสำคัญกับคำว่าคดีเรื่องเดียวกัน ซึ่งหมายถึงฟ้องที่มีสภาพข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน แต่คำขอบังคับท้ายฟ้องไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

3. ทิ้งฟ้อง มาตรา 174 มี 2 กรณี อ้างวรรคให้ถูกต้อง การทิ้งอุทธรณ์ และทิ้งฎีกามีได้ ต้องอ้างมาตรา 174(2)

4. ถอนฟ้อง มาตรา 175 มี 2 กรณีคือก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และกรณีที่จำเลยยื่นคำให้การแล้วซึ่งต้องถามจำเลยก่อน

5. มาตรา 176 ผลของการทิ้งฟ้องและถอนฟ้อง ให้คู่ความกลับสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการยื่นฟ้องกันเลย ให้ดูฎีกาด้วยว่าถ้าโจทก์แถลงว่าไม่ติดใจที่จะยื่นฟ้องต่อไป ก็เป็นการผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่สามารถยื่นคำฟ้องใหม่ได้

6. การยื่นคำให้การของจำเลย มาตรา 177 วรรค 1 และวรรค 2 คำให้การของจำเลยต้องมีข้อความแห่งการรับหรือการปฏิเสธ ถ้าปฏิเสธต้องมีเหตุแห่งการปฏิเสธ มิฉะนั้นจะถือว่าจำเลยรับและไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ แต่ถ้าจำเลยปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้วแต่ไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบอยู่

7. ฟ้องแย้ง มาตรา 177 วรรค 3 และมาตรา 179 วรรคท้าย ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาด้วยกันได้ ให้ฟ้องแย้งมาในคำให้การหรือคำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ การที่จะมีฟ้องแย้งได้ต้องมีฟ้องเดิมอยู่ก่อน แต่ถ้าภายหลังฟ้องเดิมตกไปโดยเหตุที่ไม่ใช่ฟ้องซ้อน หรือเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องแย้งนั้นก็ยังมีอยู่ ศาลสามารถพิจารณาพิพากษาตามฟ้องแย้งที่มีอยู่ได้

8. การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและคำให้การ ตามมาตรา 178 และมาตรา 179 ให้ดูกรณีว่ากรณีใดเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง และกรณีใดเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (ซึ่งสามารถทำได้ยืดหยุ่นกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง)

9. มาตรา 180 ระยะเวลาในการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและคำให้การ แยกว่าเป็นคดีที่ต้องมีการชี้สองสถานหรือไม่ ถ้าไม่มีการชี้สองสถานให้นับระยะเวลาเทียบกับวันสืบพยาน

10. มาตรา 188 เรื่องการดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาท มีหลัก 4 ประการตามมาตรา 188(1)-(4) โดยปกติจะใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ แต่มีข้อยกเว้นตามมาตรา 188(3) ถ้ามีผู้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก็ให้ดำเนินคดีแบบมีข้อพิพาท ดังนั้นจึงต้องอ้างตัวบทที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบมีข้อพิพาทไปด้วย

ในการตอบข้อสอบในกลุ่มที่ 1 นี้ อย่าลืมอ้างคำนิยามในมาตรา 1 โดยเฉพาะ คำฟ้อง (1(3)) คำให้การ (1(4)) การดำเนินกระบวนพิจารณา (1(7)) วันสืบพยาน (1(10)) คู่ความ (1(11)) จะทำให้ได้คะแนนเพิ่มขึ้น

การดำเนินคดีมโนสาเร่ และการพิจารณาโดยขาดนัด ไม่นำมาออกเป็นข้อสอบอัตนัย

กลุ่มที่ 2 เรื่องอุทธรณ์ ฎีกา วิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา และการบังคับคดี

แก้ไข

1. อุทธรณ์ ฎีกา มีมาตราที่ควรให้ความสนใจดังนี้ (หน่วยที่ 5)

1.1 มาตรา 223 กรณีที่สามารถอุทธรณ์ได้ ถือเป็นหลักทั่วไป ถ้าไม่มีกฎหมายห้ามถือว่าอุทธรณ์ได้ทุกกรณี ผู้ที่อุทธรณ์ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะคู่ความในศาลชั้นต้นเท่านั้น ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในคดีก็สามารถอุทธรณ์ได้ มีข้อยกเว้นที่ไม่ให้อุทธรณ์ตามมาตรา 223 อยู่ 4 กรณี

1.2 มาตรา 224 เรื่องการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย แยกให้ได้ว่าอะไรเป็นปัญหาข้อเท็จจริง อะไรเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องการคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ปัญหาข้อกฎหมายอุทธรณ์ได้เสมอ ปัญหาข้อเท็จจริงต้องพิจารณาว่าทุนทรัพย์เกิน 50,000 บาทหรือไม่ (50,000 บาท อุทธรณ์ไม่ได้) ดูคดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ คดีที่เกี่ยวกับสภาพบุคคลและสิทธิในครอบครัวว่ามีความหมายอย่างไร (คดีหมั้นไม่ใช่คดีสิทธิสภาพในครอบครัว) ดูว่าแม้เป็นคดีที่ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาทจะทำอย่างไรถึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ซึ่งมีอยู่ 3 วิธี

1.3 มาตรา 225 ประเด็นที่จะอุทธรณ์ได้นั้นต้องมีการว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น สำหรับกรณีที่เป็นข้อยกเว้นตามมาตรา 225 วรรค 2 นั้นเป็นข้อยกเว้นของเรื่องที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบตามมาตรา 225 วรรค 1 ไม่ได้เป็นข้อยกเว้นของเรื่องอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้ง หรืออุทธรณ์ที่ไม่เป็นข้อสาระแห่งคดี สำหรับมาตรา 225 วรรค 2 เรื่องปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่คู่ความสามารถยกขึ้นว่า กล่าวได้แม้ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นก็ตาม ให้เปรียบเทียบกับมาตรา 142(5) ด้วย

1.4 มาตรา 226, 227, 228 การอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณา คำสั่งระหว่างพิจารณา หมายถึง คำสั่งที่ไม่ทำให้คดีเสร็จไปจากสำนวน คู่ความที่ประสงค์จะอุทธรณ์ต้องทำการโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ก่อน ซึ่งเป็นหลักทั่วไปตามมาตรา 226 มีข้อยกเว้นว่าถึงแม้จะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก็สามารถอุทธรณ์ได้ทันที โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ก่อน ตามมาตรา 227, 228 ซึ่งจะต้องเข้าใจมาตรา 18 เรื่องการรับหรือไม่รับคำคู่ความของศาล และมาตรา 24 เรื่องการชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายด้วย ให้ดูประเด็นในเรื่องร้องสอดตามมาตรา 57 ด้วยว่าการร้องสอดในกรณีมาตรา 57(3) นั้นเป็นกรณีของคำสั่งระหว่างพิจารณา ดังนั้นคู่ความที่ไม่เห็นด้วยในการร้องสอดต้องโต้แย้งคำสั่งให้มีการร้อง สอดไว้ก่อน จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้

1.5 มาตรา 229 ระยะเวลาที่ให้อุทธรณ์ได้ นับกำหนดระยะเวลา 1 เดือน ไม่ใช่ 30 วัน โดยต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น แม้เป็นฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้นก็ตาม ก็อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ ส่วนเรื่องเงินค่าขึ้นศาล มี 2 จำนวน คือเงินค่าขึ้นศาลตามมาตรา 18 วรรค 2 และเงินที่ต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเงินตามมาตรา 229

1.6 มาตรา 246, 247 เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ให้นำกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับ

1.7 มาตรา 248 เรื่องการฎีกาในข้อเท็จจริงและการฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ต่างกันที่เรื่องทุนทรัพย์ว่าถ้าไม่เกิน 200,000 บาท ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และให้ดูมาตรา 248 วรรค 3 ซึ่งเป็นบทบัญญัติพิเศษในชั้นฎีกา ไม่มีในมาตรา 224

2. วิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา (หน่วยที่ 6)

2.1 การคุ้มครองจำเลยชั่วคราว ตามมาตรา 253 ซึ่งเป็นการคุ้มครองจำเลยในศาลชั้นต้น และมาตรา 253 ทวิ เป็นการคุ้มครองจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์และฎีกา ให้ดูว่าศาลใดมีอำนาจสั่งให้มีการคุ้มครองจำเลยชั่วคราว 2.2 การคุ้มครองโจทก์ชั่วคราว ตามมาตรา 254 ให้ดูกรณีที่โจทก์มีอำนาจร้องขอให้มีการคุ้มครองโจทก์ชั่วคราวได้ ซึ่งมี 4 กรณี (ให้ความสำคัญกับมาตรา 254(1) และมาตรา 254(2) เป็นพิเศษ) คดีที่โจทก์สามารถขอตามมาตรา 254 ได้นั้นต้องไม่ใช่คดีมโนสาเร่ ให้ความสำคัญกับเรื่องโจทก์สามารถยื่นคำขอฝ่ายเดียว (ให้ดูมาตรา 21(3) ร่วมด้วย) โจทก์สามารถขอคุ้มครองชั่วคราวได้ทุกชั้นศาล ให้ดูว่าต้องยื่นที่ศาลใด และศาลใดมีอำนาจในการสั่งคุ้มครองโจทก์ชั่วคราวตามมาตรา 254 วรรคท้าย ซึ่งจะมีความแตกต่างจากมาตรา 253,มาตรา 253 ทวิ และมาตรา 264 2.3 การคุ้มครองคู่ความชั่วคราวระหว่างการพิจารณา ตามมาตรา 264 เป็นเรื่องที่คู่ความสามารถใช้สิทธิได้ ให้ดูกรณีอื่นๆที่อาจขอให้มีการคุ้มครองชั่วคราวนอกจากที่ยกตัวอย่างไว้ใน มาตรา 264 ด้วย การขอตามมาตรา 254 และมาตรา 264 เรื่องที่ขอจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำขอบังคับท้ายฟ้อง ถ้าไม่เกี่ยว ขอไม่ได้

3. การบังคับคดี (หน่วยที่ 7 และ 8)

3.1 มาตรา 271 ระยะเวลาในการขอบังคับคดี ต้องเข้าใจว่าระยะเวลา 10 ปีที่นับตั้งแต่วันมีคำพิพากษานั้นไม่ใช่อายุความ จึงไม่มีกรณีที่อายุความสะดุดหยุดลง ระยะเวลา 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด (คำพิพากษาถึงที่สุดมีความหมายตามมาตรา 147) การขอบังคับคดีนั้นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 275, 276 และมาตรา 278 ครบถ้วนแล้วจึงจะถือว่ามีการขอบังคับคดีโดยชอบแล้ว ส่วนระยะเวลาที่พ้นจากมาตรา 275, 276, 278 ไปแล้ว ไม่อยู่ภายใต้ระยะเวลา 10 ปีตามมาตรา 271 3.2 มาตรา 275 และมาตรา 276 เป็นเรื่องรายการในคำขอบังคับคดี และขั้นตอนในการขอบังคับคดี 3.3 มาตรา 285 และมาตรา 286 เป็นเรื่องของทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องที่ไม่อยู่ในข่ายของการบังคับคดี ดูมาตรา 285(4) เรื่องทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในข่ายของการบังคับคดี เช่น สิทธิการเช่าซึ่งถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่โอนไปยังทายาท ให้ดูความหมายของการยึด และการอายัด ดูว่ากรณีใดที่ใช้การยึด กรณีใดที่ต้องใช้การอายัด

3.4 มาตรา 287, 288 เรื่องการขอกันส่วน และการร้องขอขัดทรัพย์ (การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด) แยกความแตกต่างให้ได้ ดูประเด็นของการร้องขอขัดทรัพย์ซึ่งต้องมีประเด็นเดียวคือการโต้แย้งว่า ทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ในเรื่องขอกันส่วนตามมาตรา 287 นั้น การบังคับกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ ที่มีบุริมสิทธิ หรือสิทธิอื่นๆ ที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น ให้ความสำคัญกับคำว่าสิทธิอื่นๆ ซึ่งหมายถึงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมตาม ปพพ. มาตรา 1357 สินสมรสและหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาตาม ปพพ. มาตรา 1474 และ 1490 และสิทธิของผู้ที่สามารถจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตาม ปพพ. มาตรา 1300

3.5 มาตรา 290 เรื่องการร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ โดยปกติเมื่อมีการยึดหรืออายัดทรัพย์ใดแล้ว จะทำการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไม่ได้ ได้แต่ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ การต้องห้ามทำการยึดหรืออายัดทรัพย์ซ้ำนั้น ต้องเป็นการยึดหรืออายัดโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้ง 2 คดี (ดังนั้นในการยึดหรืออายัดชั่วคราวจึงมีการยึดหรืออายัดทรัพย์ซ้ำได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 290 วรรค 1 เพราะการยึดหรืออายัดชั่วคราวตามมาตรา 254(1) นั้น ผู้ยึดหรืออายัดคือโจทก์ ซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ให้ดูต่อไปถึงกรณีของเจ้าหน้าที่ภาษีอากรที่มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เพื่อค่าภาษีอาการค้าง ว่ากรณีใดที่สามารถยึดหรืออายัดได้เลย กรณีใดที่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ดูระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามวรรค 4-6 นอกจากนี้ให้ดูเรื่องการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยหรือสละสิทธิไม่ บังคับคดี ให้เป็นสิทธิของผู้เฉลี่ยทรัพย์หรือผู้ขอกันส่วนตามมาตรา 287 เข้าสวมบังคับคดีแทนตามมาตรา 290 วรรค 8

กลุ่มที่ 3 กฎหมายล้มละลาย หน่วยเน้นหน่วยที่ 12, 13

แก้ไข

มีมาตราที่ควรให้ความสนใจดังนี้ คือ

1. มาตรา 91*** นับระยะเวลา 2 เดือนหลังจากมีคำสั่งโฆษณาพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (ดูมาตรา 28 ด้วย) ไม่ว่าเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ ก็ไม่ได้มีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้อื่นๆ หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง เจ้าหนี้ไม่มีประกันทุกรายต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ทั้งสิ้น (ดูมาตรา 27 ด้วย)

2. มาตรา 92* เป็นบทขยายระยะเวลาตามมาตรา 91 ซึ่งมีมาตราที่ต้องทำความเข้าใจไปด้วยกันคือมาตรา 109(3), มาตรา 115 และมาตรา 122

3. มาตรา 93 เป็นบทขยายตามมาตรา 91 เรื่องการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนลูกหนี้แล้วแพ้คดี

4. มาตรา 94*****(หนี้ที่นำมาขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย) ต้องเป็นหนี้ที่เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเป็นคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว หรือคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ได้ (ตามนิยามมาตรา 6) ดูกรณีหนี้ที่ไม่สามารถยื่นคำขอรับขำระหนี้ได้ 2 กรณีแม้เป็นหนี้ที่เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์,

5. มาตรา 95 (การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน) เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ แต่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินนั้น และมาตรา 96 เป็นวิธียื่นคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน

6. มาตรา 101** การยื่นคำขอรับชำระหนี้ของลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกัน หรือผู้อยู่ในฐานะเดียวกันกับผู้ค้ำประกัน (ผู้อาวัลในตั๋วแลกเงิน)

7. มาตรา 102* เรื่องการขอหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย แม้วัตถุแห่งหนี้เป็นคนละอย่าง หรือหนี้ทั้ง 2 รายไม่ถึงกำหนด ก็สามารถขอหักกลบลบหนี้กันได้ เปรียบเทียบกับการหักกลบลบหนี้ในคดีแพ่งตาม ปพพ. มาตรา 341

8. มาตรา 109**(ทรัพย์สินที่นำมาขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย) ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับมาตรา 109(3) ซึ่งต้องทำความเข้าใจร่วมกับมาตรา 92 ด้วย

9. มาตรา 110 และ 111 เรื่องการยึดทรัพย์ในกรณีที่มีการยึดทรัพย์ทั้งในคดีแพ่งและคดีล้มละลาย

10. มาตรา 113** เรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตาม ปพพ. มาตรา 237 ซึ่งมีบทขยายความเรื่องภาระการพิสูจน์ในคดีตามมาตรา 114

11. มาตรา 115** เรื่องการเพิกถอนการโอนหรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ต่างกับมาตรา 113 ตรงที่มาตรา 115 ต้องเป็นเจ้าหนี้ทั้ง 2 ราย ส่วนการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 เป็นกรณีที่บุคคลผู้ได้ลาภงอกไม่เป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย

12. มาตรา 117, 118, 119** เรื่องการทวงหนี้

13. มาตรา 122* เรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธสิทธิที่ลูกหนี้ได้รับตามสัญญาโดยอ้างว่ามีภาระเกินควร ให้ดูมาตรา 92 ร่วมด้วย

14. มาตรา 133 เรื่องการปิดคดีล้มละลาย และมาตรา 134 เรื่องผลของการปิดคดีล้มละลาย

15. มาตรา 135** เรื่องกรณีที่ขอให้ยกเลิกการล้มละลาย 4 กรณี ซึ่งการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(1) และมาตรา 135(2) ลูกหนี้ยังต้องรับผิดในหนี้นั้นอยู่ ตามมาตรา 136*

16. มาตรา 146** เรื่องการโต้แย้งการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าไม่ได้ปฏิบัติไปตามกฎหมายล้มละลาย

17. มาตรา 158* เรื่องการร้องขัดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ใช้เฉพาะกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์เท่านั้น ถ้าเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไม่ชอบ เป็นกรณีตามมาตรา 146 ให้เปรียบเทียบกับการร้องขัดทรัพย์ตาม ปวพ. มาตรา 288 ด้วย

อย่าลืมดูคำนิยามต่างๆ ตามมาตรา 6 ด้วย เช่น เจ้าหนี้มีประกัน พิทักษ์ทรัพย์(หมายถึงการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวและการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มติ มติพิเศษ)

หลายครั้งที่ข้อสอบกฎหมายล้มละลายไม่ได้ออกตามหน่วยเน้น แต่ออกนอกเหนือจากหน่วยเน้นหลายครั้ง จึงควรดูมาตราต่อไปนี้ด้วย คือ มาตรา 7*, 8*, 9***, 10***, 14****, 17, 22****, 24*, 25*,26*, 27***, 30, 31, 36**, 42, 45**, 53*, 56***, 59**, 60** ,61**, 62, 63, 67, 71, 77***,81/1, 81/2, 82, 88**, 89***, 90

ข้อสอบของกฎหมายวิธีสบัญญัติ 2 ค่อนข้างยากทั้งอัตนัย และปรนัย คำถามหลอกล่อมากๆ ต้องเข้าใจเนื้อหาอย่างดี อย่าลืมดูคำพิพากษาฎีกาในเอกสารการสอนด้วยเพราะนำมาออกเป็นข้อสอบได้เสมอๆ โชคดีครับ

วิ 2 เป็นวิชาที่ค่อนข้างยาก มีข้อแนะนำในการอ่านเอกสารการสอนดังนี้

1. หน่วยที่ 1 อ่านในเอกสารการสอนได้

2. หน่วยที่ 2 มาตราที่แก้ไข ลองอ่านของอาจารย์ไพโรจน์ วายุภาพ ในหนังสือวิธีพิจารณาความสามัญในศาลชั้นต้น หรือคำบรรยายเนติของอาจารย์จำลอง สุขศิริ และอาจารย์สมชาย พงษธา

3. หน่วยที่ 3 และ 4 เรื่องคดีมโนสาเร่ และวิธีพิจารณาความโดยขาดนัด อ่านในหนังสือวิธีพิจารณาความมโนสาเร่ และการพิจารณาความโดยขาดนัด ของอาจารย์ไพโรจน์ วายุภาพ หรือคำบรรยายเนติของอาจารย์มนตรี รอดปัญญา ส่วนเรื่องอนุญาโตตุลาการ อ่านในเอกสารการสอนได้

4. หน่วยที่ 5 อุทธรณ์ ฎีกา อ่านในเอกสารการสอนพร้อมใบแทรกได้

5. หน่วยที่ 6 วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษา อ่านในหนังสือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษา และการบังคับคดี ของอาจารย์สุรชัย สุวรรณปรีชา (ตำราของมหาวิทยาลัยรามคำแหง อ่านเข้าใจง่ายดีมาก) หรือของอาจารย์พิพัฒน์ จักรางกูร ก็ได้

6. หน่วยที่ 7 หลักทั่วไปในการบังคับตามคำพิพากษา และคำสั่ง บทมาตราที่แก้ไข ให้อ่านในหนังสืออ่านในหนังสือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษา และการบังคับคดี ของอาจารย์สุรชัย สุวรรณปรีชา (ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง) หรือของอาจารย์พิพัฒน์ จักรางกูร ก็ได้

7. หน่วยที่ 8-9 อ่านในเอกสารการสอนได้

8. หน่วยที่ 10 -14 กฎหมายล้มละลาย อ่านในเอกสารการสอนได้ ยกเว้นบทมาตราที่แก้ไข ให้อ่านของอาจารย์เอื้อน ขุนแก้ว กฎหมายล้มละลายของเนติบัณฑิตยสภา หรือคำบรรยายเนติของอาจารย์ประดิษฐ์ เอกมณี และอาจารย์ชีพ จุลมนต์

9. หน่วยที่ 15 หลักในการดำเนินคดีแพ่ง ส่วนที่เป็นมาตราที่สัมพันธ์กับ วิ. 1 และวิ 2 จะเป็นตัวบทเก่า ให้ทบทวนเอกสารการสอนที่เกี่ยวข้องกับตัวบทนั้นๆ

ตัวบทที่มีการแก้ไข จะไม่นำมาออกเป็นข้อสอบ แต่เราควรศึกษาตามตัวบทที่แก้ไขใหม่ เพื่อการนำไปใช้ และการศึกษาต่อครับ

ถ้าเป็นฉบับย่อ ลองอ่านหนังสือหลักกฎหมายวิธีสบัญญัติ 2 ของอาจารย์สถิตย์ เล็งไธสง เป็น pocket book อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก แต่รายละเอียดไม่มากครับ

ขอให้ทุกคนโชคดีในการศึกษาวิชานี้ครับ


กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

แก้ไข

หน่วยเน้น หน่วยที่ 1, 2, 7-11

เนื้อหาของกฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 วิธีพิจารณาความอาญา แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 หน่วยที่ 1 และ หน่วยที่ 7

แก้ไข

มีมาตราที่ควรให้ความสนใจดังนี้

1. อำนาจของพนักงานสอบสวน ตามมาตรา 18 **และความผิดที่เกิดขึ้นในหลายท้องที่ตามมาตรา 19** ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับมาตรา 19(3) เรื่องความผิดต่อเนื่อง และมาตรา 19(4) เรื่องความผิดหลายกรรมได้กระทำลงในท้องที่ต่างๆกัน ดูว่าพนักงานสอบสวนในท้องที่ใดที่มีอำนาจสอบสวนทั้งในกรณีที่จับตัวผู้ต้อง หาได้และจับตัวผู้ต้องหาไม่ได้ และในกรณีที่มีพนักงานสอบสวนหลายคน พนักงานสอบสวนคนไหนเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน

2. อำนาจศาล ตามมาตรา 22*** ให้ดูว่าศาลใดมีอำนาจในการรับฟ้องในคดีอาญา ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับอำนาจของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 18,19,20

3. การโอนคดี มี 3 กรณี ตามมาตรา 23 วรรค 1* และวรรค 2*, 26* เปรียบเทียบข้อแตกต่างว่าใครมีอำนาจในการโอนคดี (โจทก์ จำเลย หรือทั้งสองฝ่าย) และจะโอนคดีไปยังศาลใด

4. ศาลที่รับฟ้องคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกันตามมาตรา 24 ***มี 3 กรณี ดูว่าศาลใดมีอำนาจในการรับฟ้อง

5. ผู้เสียหาย มาตรา 2(4)***** ให้ดูด้วยว่าความผิดฐานใดผู้ใดเป็นผู้เสียหาย (ผู้เสียหายต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย) และผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามมาตรา 4*,5****,6* โดยเฉพาะมาตรา 5 ให้ระวังในเรื่องความหมายของผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้สืบสันดาน บุพการี สามี ภริยา และตามมาตรา 5(2) จะต้องเป็นกรณีที่ผู้เสียหายถึงตายหรือไม่สามารถจัดการเองได้ซึ่งเป็นผลจาก การกระทำความผิด ดูต่อไปถึงมาตรา 3*** เรื่องอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการแทนผู้เสียหาย มีอยู่ 5 กรณี

6. ผู้ที่มีอำนาจในการฟ้องคดีอาญา มาตรา 28***** เป็นจุด start ของวิธีพิจารณาความอาญา (เปรียบเทียบกับวิธีพิจารณาความแพ่งที่ start ที่มาตรา 55) ผู้ที่นำคดีมาฟ้องศาลได้ ได้แก่ พนักงานอัยการ และผู้เสียหาย

7. กรณีที่ผู้เสียหายที่ยื่นฟ้องคดีตาย ตามมาตรา 29 *ดูว่าใครบ้างที่มีอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป (เป็นข้อสอบของภาคการศึกษา 2/2548) ผู้เสียหายตามมาตรา 29 นั้นหมายถึงผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้มีอำนาจในการจัดการแทนผู้เสียหายตามมาตรา 4,5,6 ด้วย

8. การขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมของพนักงานอัยการและผู้เสียหาย ตามมาตรา 30 และ 31 เปรียบเทียบว่าพนักงานอัยการมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ในทุกชั้นศาล ส่วนผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะศาลชั้นต้นเท่านั้น

9. คดีอาญาเลิกกัน ตามมาตรา 37* และมาตรา 38* ดูกรณีที่ทำให้คดีอาญาเลิกกัน (เปรียบเทียบกับคดีที่พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบตาม มาตรา 144)

10. กรณีที่สิทธิในการฟ้องคดีอาญาระงับไป ตามมาตรา 39*****( สำคัญมากๆๆๆๆ ออกสอบบ่อยมากๆๆๆๆ มีอนุมาตราที่ควรให้ความสนใจดังนี้

(1) มาตรา 39(2) มี 3 กรณี คือ การถอนคำร้องทุกข์ (ดูคู่กับมาตรา 126) การถอนฟ้อง (ดูคู่กับมาตรา 35,36) และการยอมความในความผิดต่อส่วนตัว ต้องพิจารณาว่าโจทย์ถามกรณีไหนใน 3 กรณีนี้ จึงจะอ้างมาตราได้ถูก ถ้าอ้างแบบเหวี่ยงแหไป แม้ว่าจะได้ธงคำตอบที่ถูก ก็จะได้คะแนนน้อย

(2) มาตรา 39(4) มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้อง = ห้ามฟ้องซ้ำในคดีอาญา ต้องพิจารณาให้ครบองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อ (ไม่เหมือนกับการฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง) ในคดีอาญานั้นพิจารณาว่าจำเลยเป็นคนคนเดียวกันหรือไม่ แม้ว่าโจทก์จะต่างคนกันก็ตาม กรณีเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามมาตรา 39(4) ส่วนมาตรา 39 ที่เหลือ เช่น ผู้กระทำความผิดตาย คดีอาญาเลิกกัน คดีขาดอายุความ นำมาออกข้อสอบบ้างแต่ไม่บ่อยเท่า 2 อนุมาตราแรก

11. คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา มีมาตราที่ควรให้ความสนใจคือ มาตรา 40, 41, 43*** (ต้องจำฐานความผิดให้ได้ว่าคดีใดบ้างที่พนักงานอัยการจะขอเรียกค่าเสียหาย และใช้คืนราคาทรัพย์รวมไปกับคดีอาญาได้เลย ระวังอย่าสับสนกับมาตรา 192 วรรค 3 ซึ่งจะมีฐานความผิดคล้ายกัน), 44***, 46*** (การถือข้อเท็จจริงในคดีอาญามาพิจารณาในคดีส่วนแพ่ง คดีอาญาต้องถึงที่สุดแล้ว) และมาตรา 51 เรื่องอายุความในการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ส่วนมาตรา 44/1 และมาตรา 44/2 ให้อ่านพอเข้าใจ แต่ไม่น่าจะออกสอบ เพราะเอกสารใหม่ยังไม่มีคำอธิบายมาตรานี้

12. แบบของคำฟ้อง ตามมาตรา 158 ***มี 7 หัวข้อ ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับมาตรา 158(5), (6), (7) และดูว่ากรณีใดเป็นฟ้องเคลือบคลุมในคดีอาญา ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และให้ดูต่อไปว่าถ้ามีการยกฟ้องเพราะคำฟ้องไม่ครบรายการ ถ้านำคดีมาฟ้องใหม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำตามมาตรา 39(4) หรือไม่

13. อำนาจของศาลในการสั่งพิจารณา ว่า รับฟ้อง ยกฟ้อง ไม่ประทับรับฟ้อง ตามมาตรา 161 นอกจากนี้ให้ดูด้วยว่าผลของการฟ้องคดีอาญา คือ ห้ามฟ้องซ้อน ซึ่งนำ วิ.แพ่งมาตรา 173 วรรค 2 (1) มาปรับใช้ได้

กลุ่มที่ 2 หน่วยที่ 2 เรื่องหมายเรียก หมายอาญา การจับ

แก้ไข

1. มาตรา 52 ผู้ที่มีอำนาจออกหมายเรียก และกิจการที่ออกหมายเรียก

2. มาตรา 55 การส่งหมายเรียกให้ผู้ต้องหา ส่งให้ได้แก่ใครบ้าง

3. มาตรา 55/1 การส่งหมายเรียกในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และการสืบพยานล่วงหน้า (ให้เปรียบเทียบกับมาตรา 173/2 และมาตรา 237 ทวิด้วยในเรื่องการสืบพยานล่วงหน้า)

4. มาตรา 59 ศาลเท่านั้นที่มีอำนาจออกหมายอาญา

5. มาตรา 66** กรณีที่สามารถออกหมายจับได้ มี 2 กรณี และสามารถออกหมายจับได้แม้ไม่รู้จักชื่อ แต่ต้องพรรณนาลักษณะของผู้นั้นให้ละเอียดเท่าที่จะทำได้ ตามมาตรา 67 และกรณีที่หมายจับสิ้นผลตามมาตรา 68

6. มาตรา 69** เหตุในการออกหมายค้น มี 5 กรณี + มาตรา 70 ในกรณีที่หมายค้นและต้องการจับบุคคลด้วย ต้องมีทั้งหมายจับและหมายค้น

7. มาตรา 71* เหตุในการออกหมายขัง ต้องพิจารณาตามมาตรา 66 ด้วย

8. มาตรา 78**** กรณีที่สามารถจับได้โดยไม่มีหมาย 4 กรณี (ดูมาตรา 80, 66(2) และมาตรา 117 ด้วย)

9. มาตรา 80**** ความหมายของความผิดซึ่งหน้าตามมาตรา 80 วรรค 1 และกรณีที่ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าตามมาตรา 80 วรรค 2 ซึ่งต้องดูความผิดอาญาท้าย ป.วิ.อ. ด้วย ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทั้งสิ้น

10. มาตรา 79**** (เฉพาะความผิดซึ่งหน้าตามมาตรา 80 วรรค 1 หรือวรรค 2 ที่เป็นความผิดท้าย ป.วิ.อ.) และมาตรา 82*** (เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานจัดการตามหมายจับ ไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานจับได้โดยไม่มีหมายจับตามมาตรา 78) เป็นกรณีที่ราษฎรสามารถจับได้โดยไม่มีหมาย

11. มาตรา 83** ขั้นตอนการจับ และต้องแจ้งสิทธิการจับ 4 ประการตามมาตรา 83 วรรค 2

12. มาตรา 84** ต้องแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับเมื่อมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนอีกครั้งตาม มาตรา 84 วรรค 1 และวรรค 2 ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับมาตรา 84 วรรคท้าย**** เรื่องคำรับสารภาพของผู้ถูกจับ แม้มีการแจ้งสิทธิก็ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน (ต้องห้ามตามมาตรา 226 ด้วย) แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่นที่ไม่ใช่คำรับสารภาพ ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามมาตรา 83 วรรค 2 หรือมาตรา 84 วรรค 1 แล้ว

13. มาตรา 85** การค้นภายหลังการจับ

14. มาตรา 87*** ระยะเวลาในการที่ศาลสั่งขังในความผิดลหุโทษ และความผิดที่มีโทษอัตราต่างๆ

15. มาตรา 90**** การร้องขอต่อศาลให้ปล่อยบุคคลที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดูบุคคลที่ร้องขอได้ และขั้นตอนการไต่สวนและพิจารณาของศาลตามมาตรา 90 วรรค 2

กลุ่มที่ 3 หน่วยที่ 8

แก้ไข

1. start การไต่สวนมูลฟ้อง มาตรา 162** ได้แก่การไต่สวนมูลฟ้องที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และการไต่สวนมูลฟ้องกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ในคดีที่จำเลยรับสารภาพ ก็ให้ประทับฟ้องเพื่อดำเนินการพิจารณาต่อไป จะพิจารณาพิพากษาเลยไม่ได้ ไม่เป็นกรณีตามมาตรา 176 วรรค 1

2. การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตามมาตรา 165 วรรค 1 และวรรค 2***** และการดำเนินกระบวนพิจารณากรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ตามมาตรา 165 วรรค 3 ****เปรียบเทียบความแตกต่าง โดยเฉพาะในการไต่สวนมูลฟ้องที่ราษฎรเป็นโจทก์ ให้ถือว่าจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะจำเลยจนกว่าศาลจะมีคำสั่งประทับรับฟ้อง ผลคือว่าจำเลยไม่มีสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปได้

3. ผลของการไม่มาศาลในวันไต่สวนมูลฟ้องตามมาตรา 166***** เป็นกรณีของโจทก์ขาดนัดพิจารณาในนัดไต่สวนมูลฟ้อง ในนัดพิจารณา (มาตรา 181 และมาตรา 166) ในนัดวันตรวจพยานหลักฐานตามมาตรา 173/2 กรณีที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องคดีได้แม้โจทก์ขาดนัดตามมาตรา 165 วรรค 3 มาตรานี้นำไปใช้เรื่องการขาดนัดในดารพิจารณาตามมาตรา 181***** ด้วย ให้ดูมาตรา 166 วรรค 3 ด้วยว่าในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ไม่ตัดอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ เว้นแต่เป็นความผิดต่อส่วนตัว

4. ศาลมีอำนาจสั่งว่าคดีมีมูล หรือไม่ประทับรับฟ้อง คำสั่งที่สั่งว่าคดีมีมูลถือเป็นที่สุด ไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้ ตามมาตรา 168**, 169**

5. การดำเนินการพิจารณาและการสืบพยานต้องทำโดยเปิดเผยและต่อหน้าจำเลย ตามมาตรา 172*** มีข้อยกเว้น 3 กรณีตามมาตรา 172 ทวิ

6. กรณีที่ศาลต้องหาทนายความให้ก่อนการดำเนินกระบวนพิจารณา ตามมาตรา 173 ดูว่าวรรคใดที่จำเลยต้องร้องขอก่อน ในกรณีมาตรา 173 วรรค 1 ในคดีที่มีโทษประหารชีวิต หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องยังอายุไม่ถึง 18 ปี ถ้าจำเลยไม่มีทนายความ ศาลต้องตั้งทนายความให้จำเลยเสมอ ไม่ว่าจำเลยจะต้องการทนายความหรือไม่

7. กรณีที่จำเลยรับสารภาพตามมาตรา 176 ****ดูเรื่องโทษที่กำหนด ให้ความสำคัญกับคำว่าตั้งแต่ หรือมากกว่า 5 ปี (โทษขั้นต่ำ) ถ้าเกินกว่านี้ศาลจะต้องสืบพยานจนกว่าศาลจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง

8. การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ ตามมาตรา 163***** และมาตรา 164 วรรค 1***** และการแก้ไขคำให้การของจำเลย ตามมาตรา 163 วรรค 2 ***ดูโจทย์ด้วยว่าเป็นคำฟ้อง หรือคำให้การ อ้างให้ถูกมาตราและถูกวรรค ให้ความสนใจกับคำว่าไม่เป็นกรณีที่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ

9.การถอนฟ้องตามมาตรา 35**** แยกเป็นการถอนฟ้องในความผิดต่อแผ่นดิน ตามมาตรา 35 วรรค 1 และการถอนฟ้องในความผิดต่อส่วนตัว ตามมาตรา 35 วรรค 2 ผลของการถอนฟ้องและข้อยกเว้นที่สามารถนำคดีที่ถอนฟ้องมาฟ้องใหม่ได้ ตามมาตรา 36

กลุ่มที่ 4 หน่วยที่ 9, 10, 11

แก้ไข

1. กรณีที่จะทำคำพิพากษาหรือคำสั่ง และกรณีที่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างกระบวนพิจารณา ตามมาตรา 182** ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างกระบวนพิจารณา มีผลตามมาตรา 196***** ที่ว่าการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างการพิจาณา จะต้องอุทธรณ์ในประเด็นสำคัญแห่งคดีนั้นด้วย

2. การอ่านคำพิพากษา ตามมาตรา 182*** เมื่อไรที่จะอ่านคำพิพากษาลับหลังคู่ความได้ กรณีใดที่ต้องออกหมายจับจำเลย

3. กรณีที่ศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องตามมาตรา 185 ***มีอยู่ 4 กรณี

4. ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ตามมาตรา 192 *****สำคัญมากๆๆๆๆๆ ออกข้อสอบบ่อยมากๆๆๆๆๆ มีอยู่ 6 วรรค วรรคแรกเป็นหลักทั่วไป วรรคที่ 2 เป็นเรื่องที่ศาลสามารถสั่งหรือพิพากษาได้หากว่าข้อเท็จจริงที่นำสืบกับข้อ เท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องไม่แตกต่างกันมาก วรรค 3 เป็นเรื่องของฐานความผิดต่างๆ (เปรียบเทียบกับมาตรา 43 เนื่องจากฐานความผิดใกล้เคียงกันมาก)เรื่องเจตนากับประมาท วรรค 4 เรื่องการที่โจทก์ไม่ประสงค์ลงโทษ วรรค 5 เรื่องการอ้างมาตราผิด แต่โจทก์สืบสมตามฟ้อง และวรรค 6 เรื่องกรณีที่การกระทำอย่างหนึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานหนึ่ง เช่น ฟ้องขอให้ลงโทษความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ แต่ทางนำสืบพบว่าเป็นความผิดฐานเสรีภาพ เช่นนี้สามารถลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 ได้ เพราะความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานกรรโชก ทรัพย์

5. อุทธรณ์ start มาตรา 193 ดูเรื่องการห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 193 ทวิ ***มี 4 กรณี + มาตรา 194 และ 195

6. การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา มาตรา 196*****

7. การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ตามมาตรา 201, 202

8. การอุทธรณ์ตามมาตรา 212*** ที่สามารถอุทธรณ์ในทางที่เพิ่มโทษจำเลยได้ ถ้าโจทก์อุทธรณ์ในทำนองนั้น

9. การอุทธรณ์ตามมาตรา 213*** ที่ผลของการอุทธรณ์มีผลถึงจำเลยอื่นด้วย หากเหตุนั้นเป็นเหตุในลักษณะคดี ต้องรู้ว่าอะไรเป็นเหตุลักษณะคดี อะไรเป็นเหตุส่วนตัว ตาม ป. อาญามาตรา 89

10. การฎีกา มาตรา 218** เป็นการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนหรือแก้ไขเล็กน้อย โดยถ้าศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยไม่เกิน 5 ปี ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ถ้าศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ห้ามโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนมาตรา 219** ต้องเป็นเรื่องการแก้ไขมาก โดยถ้าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษไม่เกินนี้ ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ข้อห้ามนี้มิให้ใช้กับจำเลยถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติม โทษจำเลย สำหรับมาตรา 218 และมาตรา 219 ให้ความสำคัญกับคำว่าพิพากษายืน แก้ไขเล็กน้อย แก้ไขมาก เพิ่มเติมโทษจำเลย ส่วนมาตรา 220** เป็นกรณีห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และปัญหาข้อกฎหมาย เพื่อศาลพิพากษายกฟ้องทั้งสองศาล

11. มาตรา 193 ตรี และมาตรา 221 เป็นวิธีการที่ทำให้คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ หรือต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้

12. พยานหลักฐาน start ที่มาตรา 226 เรื่องพยานหลักฐานที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบทขยายตามมาตรา 84 วรรคท้าย และมาตรา 134/4 วรรคท้าย

13. การเดินเผชิญสืบ และการส่งประเด็นไปสืบ ตามมาตรา 228, 230 แยกให้เห็นความแตกต่าง และผู้มีอำนาจกระทำ

14. ลำดับในการนำสืบพยาน ตามมาตรา 174 *

15. ห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานในคดีอาญา ตามมาตรา 232 ***

16. การอ้างเอกสารเป็นพยานในคดีอาญา มาตรา 238, 239, 240

17. การนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญต้องเป็นกรณีที่ศาลสั่งจึงจะเข้ามาตรา 243** ถ้าเป็นกรณีที่คู่ความร้องขอให้พยานผู้เชี่ยวชาญมาเป็นพยานก็ไม่เป็นกรณี ตามมาตรา 243


คงต้องอ่านหนังสือมากๆ ทบทวนตัวบทมากๆ โดยทั่วไป วิ. 3 ง่ายกว่าวิ. 2 ดูคำพิพากษาฎีกามากๆ สมัยที่ผมสอบข้อสอบเอามาจากฎีกาในเอกสารการสอนทั้ง 3 ข้อ (สมัยผมออกการยอมความกันในคดีอาญา มาตรา 39(2) การอุทธรณ์คำสั่งในการไต่สวนมูลฟ้องกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าคดีมีมูล ถามว่าจำเลยสามารถฎีกาได้หรือไม่ คำตอบคือไม่สามารถฎีกาได้เนื่องจากคำสั่งที่สั่งว่าคดีมีมูลถือว่าเป็นที่ สุดตามมาตรา 168 และจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะจำเลยตามมาตรา 165 วรรค 3 และออกเรื่องการพิพากษาเกินคำขอตามมาตรา 192 วรรค 5 ฟ้องลักทรัพย์ แต่นำสืบได้ว่ายักยอกทรัพย์ และโจทก์นำพยานมาสืบสมตามฟ้อง เช่นนี้สามารถลงโทษความผิดฐานยักยอกทรัพย์ได้ แม้ว่าจะฟ้องลักทรัพย์ก็ตาม)

อย่าลืมทบทวนความรู้กฎหมายอาญา 1 และอาญา 2 ด้วย โดยเฉพาะความผิดฐานใดเป็นความผิดอันยอมความได้หรือไม่ เพราะบางครั้งในคำถามก็ไม่ได้บอก ต้องรู้เอง ขอให้โชคดีครับ