ผู้ใช้:Xiengyod~thwikisource/กระดาษทด
แม่ ก กา
แก้ไข(ยานี๑๑) | ||
๏ สะธุสะ จะขอไหว้ | พระศรีไตรสะระณา | |
พ่อแม่แลครูบา | เทวะดาในราษี | |
ข้าเจ้าเอา ก ข | เข้ามาต่อ ก กา มี | |
แก้ไขในเท่านี้ | ดีมิดีอย่าตรีชา | |
จะร่ำคำต่อไป | พอล่อใจกุมารา | |
ธระณีมีราชา | เจ้าพาราสาวะถี | |
ชื่อพระไชยสุริยา | มีสุดามะเหษี | |
ชื่อว่าสุมาลี | อยู่บูรีไม่มีไภย | |
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา | มีกิริยาอะฌาศัย | |
พ่อค้ามาแต่ไกล | ได้อาศัยในพารา | |
ไพร่ฟ้าประชาชี | เชาบุรีก็ปรีดา | |
ทำไร่เขาไถนา | ได้เข้าปลาแลสาลี |
อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า | ก็หาเยาวะนารี | |
ที่หน้าตาดีดี | ทำมะโหรีที่เคหา | |
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ | เข้าแต่หอฬ่อกามา | |
หาได้ให้ภะริยา | โลโภพาให้บ้าใจ | |
ไม่จำคำพระเจ้า | เหไปเข้าภาษาไสย | |
ถือดีมีข้าไท | ฉ้อแต่ไพร่ใส่ขื่อคา | |
คะดีที่มีคู่ | คือไก่หมูเจ้าสุภา | |
ใครเอาเข้าปลามา | ให้สุภาก็ว่าดี | |
ที่แพ้แก้ชะนะ | ไม่ถือพระประเวณี | |
ขี้ฉ้อก็ได้ดี | ไล่ด่าตีมีอาญา | |
ที่ซื่อถือพระเจ้า | ว่าโง่เง่าเต่าปูปลา | |
ผู้เฒ่าเหล่าเมธา | ว่าใบ้บ้าสาระยำ | |
ภิก์ษุสะมะณะ | เล่าก็ละพระสะธำม์ | |
คาถาว่าลำนำ | ไปเร่ร่ำทำเฉโก | |
ไม่จำคำผู้ใหญ่ | ศีรษะไม้ใจโยโส | |
ที่ดีมีอะโข | ข้าขอโมทะนาไป | |
พาราสาวะถี | ใครไม่มีปรานีใคร | |
ดุดื้อถือแต่ใจ | ที่ใคร่ได้ใส่เอาพอ | |
ผู้ที่มีฝีมือ | ทำดถดื้อไม่ซื้อขอ | |
ไล่คว้าผ้าที่คอ | อะไรฬ่อก็เอาไป | |
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา | มิได้ว่าหมู่ข้าไทย์ | |
ถือน้ำร่ำเข้าไป | แต่น้ำใจไม่นำพา | |
หาได้ใครหาเอา | ไพร่ฟ้าเศร้าเปล่าอุรา | |
ผู้ที่มีอาญา | ไล่ตีด่าไม่ปราณี | |
ฝีป่ามากระทำ | มระณะกำม์เชาบุรี | |
น้ำป่าเข้าธานี | ก็ไม่มีที่อาศัย | |
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา | หนีไปหาพาราไกล | |
ชีบาล่าลี้ไป | ไม่มีใครในธานี |
|
|
(ฉบัง๑๖) |
|
|
|||
|
๏ ขึ้นใหม่ในกน |
ก กาว่าปน |
ระคนกันไป |
|
|
|
|
|
|
๏ ขึ้นกกตกทุกข์ยาก |
แสนลำบากจากเวียงไชย |
|
|
๏ ขึ้นกดบทอัศจรรย์ |
เสียงครื้นครั่นชั้นเขาหลวง |
(ยานี๑๑) |
|
๏ ขึ้นกบจบแม่กด |
พระดาบศบูชากูณฑ์ |
|
|
๏ ขึ้นกมสมเด็จจอมอารย์ |
เอ็นดูภูบาล |
แม่ เกย
แก้ไข(ฉบัง๑๖) | ||
๏ ขึ้นเกยเลยกล่าวท้าวไทย์ | ฟังธรรมน้ำใจ | |
เลื่อมใสศรัทธากล้าหาญ | ||
เห็นไภยในขันธสันดาน | ตัดห่วงบ่วงมาร | |
สำราญสำเร็จเมตตา | ||
สององค์ทรงหนังพยัคฆา | จัดจีบกลีบชะฎา | |
รักษาศีลถือฤาษี | ||
เช้าค่ำทำกิจพิธี | กองกูณฑ์อัคคี | |
เป็นที่บูชาถาวร | ||
ปะถะพีเป็นที่บรรฐร | เอนองค์ลงนอน | |
เหนือขอนเขนยเกยเศียร | ||
ค่ำเช้าเอากราดกวาดเตียน | เหนื่อยยากพากเพียร | |
เรียนธรรมบำเพ็ญเคร่งครัน | ||
สำเร็จเสร็จได้ไปสวรรค์ | เสวยสุขทุกวัน | |
นานับกัปกัลป์พุทธันดร | ||
กุมารการรุญสุนทร | ไว้หวังสั่งสอน | |
เด็กอ่อนอันเยาว์เล่าเรียน | ||
ก ข ก กา ว่าเวียน | หนูน้อยค่อยเพียร | |
อ่านเฃียนผสมกมเกย | ||
ระวังตัวกลัวครูหนูเอ๋ย | ไม้เรียวเจียวเหวย | |
กูเคยเข็ดหลาบขวาบเขวียว | ||
หันหวดปวดแสบแปลบเสียว | หยิกซ้ำช้ำเฃียว | |
อย่าเที่ยวเล่นหลงจงจำ | ||
บอกไว้ให้ทราบบาปกรรม | เรียงเรียบเทียบทำ | |
แนะนำให้เจ้าเอาบุญ | ||
เดชะพระมหาการุญ | ใครเห็นเป็นคุณ | |
แบ่งบุญให้เราเจ้าเอยฯ |
พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม
แก้ไขพระราชพงศาวดารกรุงสยาม
วันที่ ๕ ฯ ๒ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๖๙ ปีเถาะ นพศก เพลาค่ำเสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ล้นเกล้า ฯ กรมพระราชวังบวร ฯ ทูลเกล้าถวาย เล่ม ๑
และในเรื่องราวเดิมเหตุนั้น ยังมีดาบสทั้งสองชื่อพระสัชนาลัยและเจ้าฤาษีสิทธิมงคล พี่น้องอายุยืนได้ ๑๐๐ ปี แต่พระชินศรียังเป็นพระยาตราบเท่าได้ตรัส และพราหมณ์ทั้ง ๑๐๐ บ้านยอมเป็นลูกหลาน พระฤาษีทั้งสองจึ่งสั่งสอนว่าสูทั้งหลายอย่าประมาท จงช่วยกันทำกำแพงกันตัว อย่าเมามัวแก่ตัณหา สาตราเร่งตกแต่งไว้ อันพงศ์พราหมณ์สืบไปในภายหน้า จะเป็นกระหัสจะตัดจุกเกล้า เหล่าชีพ่ออย่ามัวเมาทุกตำบล จะละคำทศพลเอาแต่ โลภะ โทสะ โมหะ มักได้ให้ท่านฉิบหาย อนึ่งท่านทั้งหลายจงเอาพนมเพลิงเข้าไว้ในเมืองเป็นที่บูชา ครั้นเจ้าฤาษีสั่งสอนลูกหลานแล้วก็เหาะไป
วันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะโรงนักษัตร โทศก พุทธศักราชล่วงแล้ว ๑๑๐ ปี มีบาธรรมราชเป็นประธาน ให้ชีพ่อชีพราหมณ์ตัดเอาแลงมาทำกำแพง สถาปนาพระนคร ๗ ปี จึ่งแล้ว และให้สร้างอาวาสวิหารให้เป็นประธานแก่สงฆเจ้าทั้งหลาย จึ่งฝูงชีพ่อตั้งเทวสถาน และขึ้นรำพาวายแก่พระอิศวรผู้เป็นเจ้า ฝ่ายพระดาบสทั้งสองคำนึงตระกูล จึ่งเข้าฌาณสมาบัติอันเป็นบาทแห่งอภิญญา แล้วเหาะมาในอากาศก็เข้าถึงพนมบูชา ยังชีพ่อพราหมณ์ทั้งหลายและมีบาธรรมราชเป็นประธาน ว่าข้าแต่ปู่เจ้าทั้งสอง ตูข้าสร้างเมืองตามคำปู่เจ้าก็บริบูรณ์แล้ว และนามกรเมืองนี้จะสมควรประการใด พระฤาษีจึ่งว่า เราไปเยี่ยมพระอินทร์ ยังเทวโลกกลับลงมาบัดนี้ จึ่งประสาทนามว่า เมืองสวรรค์เทวโลก แล้วพระดาบสให้ชุมนุมชีพ่อพราหมณ์ทั้งหลายปรึกษาว่า เห็นผู้ใดจะคู่ควรด้วยพระนคร พราหมณ์ทั้งนั้นว่า เห็นแต่บาธรรมราชเป็นผู้แก่กว่าตูข้าทั้งหลาย พระฤาษีจึ่งว่า ในราชธานีนี้จะเป็นกษัตริย์มี ๓ ตระกูล คือคหบดีและเศรษฐีและพราหมณ์ประเสริฐในแผ่นดิน แล้วพระดาบสทั้งสองจึ่งอภิเษกบาธรรมราชให้เป็น พระยาชาธรรมราช และนำเอานางท้าวเทวี อันเป็นหลานสาวแห่งนางโมคัลลีบุตร ในบ้านหริภุญไชยมาเป็นอัครมเหสี แล้วบอกว่าธาตุเกศองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า อันพระยาศรีธรรมโศกราชแจกไว้ ยังฝังอยู่ใต้ต้นรัง แร้งตัวเมียหากอยู่เฝ้ารักษา และท่านจงนำมาประดิษฐานไว้เถิด
ครั้นพระฤาษีสั่งแล้วก็เหาะไปถึงภูผา ล่วงเจ็ดวันก็กระทำกาลกิริยาตาย พระยาศรีธรรมราชเจ้าให้บาพิษณุและบาชีชาพิทบาทั้ง ๕ คน อันเป็นช่างมาคิดการสถาปนาพระมหาธาตุ ว่าเราจะทำให้ประหลาดกว่าช่างทั้งหลายในแผ่นดิน จึ่งให้ตัดเอาแลงมาทำแผ่นรจนาเป็นหน้ากระดานฐานสิงห์ และลดชั้นคันเชิงบาท บัวหงาย บัวกลุ่ม ระฆังบัลลังก์เสร็จสำเร็จ แล้วให้ขุดสระกรุแล้วด้วยแลง จึ่งตั้งฐานชั้นหนึ่ง และสมเด็จพระบรมธรรมราชาธิราชเจ้าจึ่งเสด็จด้วยพยุหยาตราราชยศอันเป็นอัศจรรย์ ครั้นถึงต้นรังแล้ว จึ่งให้ขุดเอาผอบแก้วใหญ่ ๕ กำ ซึ่งใส่พระสารีริกบรมธาตุนั้นขึ้นถวายอามิสมหันตสักการบูชาแล้ว จึ่งอัญเชิญเสด็จมาสู่พระนครด้วยราชานุภาพ และที่นั้นจึ่งเรียกว่าเขารังแร้งแต่นั้นมา พระธรรมราชาจึ่งป่าวประกาศแก่คนทั้งหลายผู้ศรัทธาเอาทองมาประมวลกันได้ ๒๕๐๐ ตำลึง ให้รจนาเป็นสำเภาเภตรา แล้วจึ่งประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าลอยไว้ในสระน้ำ ให้สถาปนาพระสถูปครอบที่นั้น ปีหนึ่งจึงสำเร็จ และอัคคีธาตุพระสารีบุตรเถรเจ้าก็บรรจุไว้ในพระเจดีย์ข้างเหนือ ในเมืองสวรรคโลก และพระธาตุพระโมคคัลลาเจ้าก็บรรจุไว้ในบ้านนางโมคคัลลีบุตรในพระนครนั้น ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าธรรมราชาธิราชให้ทำกำแพงในจันตมัฌชคามรอบคอบแล้ว ให้ชื่อเมืองหริภุญไชย จึ่งรับเจ้าอุโลกกุมารราชโอรสมาราชาภิเษก ทรงนามพระยาศรีธรรมโศกราช และให้ชาวบ้านอุตรคามทำกำแพงล้อมบ้านมั่นคง แล้วจึ่งใช้ชีพ่อผู้ใหญ่มารับเจ้าธรรมกุมารราชบุตรไปราชาภิเษกด้วยนางพราหมณี จึ่งได้ชื่อว่ากำโพชนครศรีเมืองทุ่งยั้ง แล้วให้ตกแต่งบูรคามชื่อพิบูรณะครบบริบูรณ์ แล้วจึ่งเสกเจ้าเจ้าสิงหกุมารกับด้วยนางพราหมณีไว้ แต่กษัตริย์สืบ ๆ กันมาทั้งสี่เมืองถึงเจ็ดชั่วตระกูลช้านาน มิได้มีหิงสาการแก่กัน จึ่งมีพระยาองค์หนึ่งชื่ออภัยคามินี ทรงศีลาจารย์บริสุทธิ์อยู่หริภุญไชยนคร ย่อมไปจำศีลอยู่ในเขา จึ่งนาคธิดาขึ้นมาจากนาคพิภพ แปลงตนเป็นมนุษย์นารีมาอยู่ร่วมเมถุนสังวาสด้วยพระมหากษัตริย์ ๗ ราตรีแล้ว พระเจ้าอภัยคามินีจึงพระราชทานผ้ากำพลและธำมรงค์วงหนึ่ง นางก็ลาไป ครั้นจำนวนนานมานาคบุตรีนั้นทรงครรภ์แก่ จึ่งขึ้นมาคลอดบุตรไว้ในคีรีราชาอาสน์ ที่พระมหากษัตริย์เคยมาจำศีลอยู่แต่ก่อน และบุตรนั้นเป็นมนุษย์กุมารทรงโฉมบริสุทธิ์ นางจึ่งไว้ผ้ากำพลและแหวนกับลูกตน แล้วก็กลับไป ขณะนั้นยังมีวนจรกผู้หนึ่งพเนจรมาพบทารกนั้น เห็นประหลาดก็นำมาเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรมแห่งตน ครั้นกุมารนั้นค่อยวัฒนาการจำเริญขึ้น พอบพิตรกรุงหริกุญไชยตั้งการสถาปนาพระที่นั่งมงคลพระมหาปราสาท และพรานนั้นเข้าไปทำการ จึ่งยังกุมารนั้นให้สำนักอยู่ในฉายามหาปราสาท จึ่งปรากฏเป็นอัศจรรย์ด้วยพระมหาปราสาทนั้นเอียงโอนหนีเป็นหลายทีประจักษ์แก่คนทั้งปวง บพิตรทอดพระเนตรเห็นจึ่งตรัสถามว่า กุมารนี้เป็นบุตรผู้ใดวนจรกนั้นกราบทูลตามความจริงแล้ว ถวายผ้ากำพลกับธำมรงค์อันได้จากกุมารนั้น พระเจ้าอภัยคามินีก็ตรัสทราบว่ากุมารนี้เป็นราชบุตรแห่งพระองค์ พระองค์จึ่งประสาทราชรางวัลแก่พรานนั้นแล้ว จึ่งตรัสให้ชะแม่และนางท้าวพระสนมอัญเชิญเสด็จพระราชโอรสเข้าสู่พระราชมนเทียรสถาน แล้วตั้งการสมโภชพระราชทานนามว่า พระอรุณราชกุมาร และพระฤทธิกุมารราชบุตรอันเกิดด้วยพระอัครมเหสีนั้นอ่อนกว่าพระอรุณราช และเจ้าพี่น้องทั้งสองนิยมรักใคร่ร่วมใจกัน อนึ่งในอดีตภพครั้งเมื่อสมเด็จพระบรมสัมพุทธเจ้ายังทรงพระทรมานอยู่นั้น พระองค์เสด็จมาฉันในที่นอกบ้านปัจมัฌชคาม ครั้งนั้นยังมีพระยาอุรคราชตัวหนึ่ง มีศรัทธาบันดาลน้ำถวายยังพระองค์ให้สรงในที่นั้น พระองค์จึ่งแย้มพระโอษฐ์ดำเนินวิลาสพุทธพยากรณ์ต่อพระอานนท์ว่า พระยาพุชคินธรตนนี้ เมื่อตถาคตนิพพานแล้วได้ ๙๕๐ ปี จะบังเกิดเป็นกษัตริย์ ชื่อพระยาอรุณราช จะได้ลบศักราชตถาคตเมื่อถ้วนพัน และเดชะผลานิสงส์ให้น้ำเป็นทานนี้ และกระแสน้ำไหลไปถึงที่ใดก็จะเป็นอาณาเขตไปถึงที่นั้น ท้าวพระยาทั้งชมพูทวีปจะทนทานอานุภาพมิได้ ครั้นพระองค์ตรัสทำนายแล้ว ก็เสด็จไปโปรดเวไนยสัตว์โดยพุทธวิสัย ฝ่ายพระเจ้าอภัยคามมินีตรัสเห็นพระอรุณราชจำเริญขึ้น พระองค์จึ่งนำไปราชาภิเษกไว้ ณ เมืองสัชนาลัย จึ่งได้พระนามว่าพระยาร่วงแต่นั้นมา พระองค์จึ่งให้สร้างพระวิหารทั้งสี่ทิศติดพระมหาธาตุ และระเบียงสองชั้น เอาแลงทำค่ายและเสาโคมรอบวิหาร แล้วให้ช่างทองเอาทองแดงกระทำลำพุขันยาว ๘ ศอก แก้วใสยอด ๑๕ ใบ บัลลังก์ใหญ่ ๙ กำ หุ้มทองแดงแต่ครีบขนุนลงมาถึงเชิงคูหา แล้วให้สถาปนาอุโบสถกุฎีวิหารสะพานศาลา อุทิศถวายเป็นทานแก่สงฆเจ้าทั้งหลาย อนึ่งให้กระทำที่ต้นรังบรรจุพระบรมธาตุนั้นเป็นวิหารและเจดีย์ แล้วให้ชื่ออารามเขารังแร้ง และครั้งนั้นกรุงกษัตริย์ทั้งปวงก็น้อมนำราชบรรณาการมากราบถวายบังคมทูล ชมพระบุญฤทธิ์อานุภาพแห่งสมเด็จพระร่วงเจ้าสกลชมพู
ครั้นพระชนม์ได้ ๕๐ พรรษา พุทธศักราชถ้วน ๑๐๐๐ จึ่งคนอันเป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลายนำเอาช้างเผือกงาดำมาถวาย ครั้งนั้นพระองค์จะลบศักราช จึ่งให้นิมนต์พระอชิตเถร พระอุตคุตเถร พระมหาเถร และพระอรหันต์เจ้าทั้ง ๕๐๐ พระองค์ ทั้งพระพุทธโฆษาวัดเขารังแร้งมาชุมนุม ณ วัดโคกสิงฆารามกลางเมืองสัชนาลัย และพร้อมท้าวพระยาในชมพู คือไทยและลาว มอญ ญวน พม่า ลังกา พราหมณ์เทศเพทต่าง ๆ ในปีมะแม เดือนหกขึ้นค่ำหนึ่ง และพระพุทธเจ้าเสด็จนิพพานปีมะเส็ง ตั้งมะเมียเป็นเอกศก ทีนี้ตั้งมะแมโทศก พระองค์จึ่งให้หนังสือไทยแล และเฉียงไทย และลาวไทย มอญไทย พม่าไทย และขอมเฉียง ขอม ก็มีมาแต่ครั้งนั้น จึ่งพระราชทานที่สัดนาสัดวัดอาราม ไว้ค้ำชูพระศาสนา ๕๐๐๐ พระวัสสาเป็นกัลปนา อุทิศไว้แด่กษัตริย์ได้เสวยราชสมบัติทั้ง ๕ เมือง จนศักราช ๑๒๐๐ ปี พระร่วงเจ้าทิวงคตแล้วจึ่งเกิดรบพุ่งกัน ชีพ่อกลายเป็นกระหัสเป็นอกุศลนัก เพราะประมาทลืมตน ย่อมถ่ายเทเมืองเสียให้เป็นป่าช้า ป่าเสือก็บังเกิดมีมากแก่คนทุกภาษา
ศุภมัสดุ ๑๐๒๖ พระร่วงเจ้าทรงพระกัลปนาที่ไร่และนาสัด ไว้สำหรับวัดโคกสิงฆาราม วัดอุทธยาน วัดเขาหลวง วัดราชประดิษฐานและไตรภูมิป่าแก้ว วัดพระมหาธาตุ วัดเขาอินทร์ คณะคามวาสีอรัญวาสีเสร็จบริบูรณ์ แล้วตรัสแก่พระฤทธิกุมารอนุชาว่า กรุงกษัตริย์ทั้งปวงก็มาช่วยเราตั้งการลบศักราชในสมัยนี้เป็นมหาสโมสรสมาคมอันใหญ่ แต่พระยามัคธราชกรุงเดียวนี้โอหังนัก มิมาคารวะ ควรเราจะไปน้อมนำมาเป็นเมืองขึ้นแก่เรา
ครั้น ณ วัน ๑ อุษาโยคอุดมฤกษ์ ทั้งสองกษัตริย์ก็ลงสู่วรรณนาวา เสด็จโดยชลมารคมหาสมุทรหาภัยอันตรายมิได้ ถ้วนกำหนดเดือนหนึ่งจึ่งถึงกรุงจีน สมัยนั้นปรากฏเป็นอัศจรรย์ คือ แผ่นดินไหว และอากาศเป็นหมอกมัว ไม่เห็นดวงพระอาทิตย์ บรรดาจีนในราชธานีและชนบทประเทศ ก็บังเกิดขนลุกหนังพองไป สิ้น ฝ่ายบพิตรกรุงมัคธตรัสเห็นการเป็นอัศจรรย์ ดังนั้น จึ่งให้ ขุนแก้วกาญจนอำมาตย์ไปพิจารณาเหตุในมหาสมุทร เห็นกษัตริย์ทั้งสองขี่เรือน้อยเข้ามาสู่อ่าว ก็รีบมากราบทูล พระเจ้ากรุงจีนก็ทราบพระญาณโดยได้ทรงฟังเรื่องพระพุทธพยากรณ์ไว้แต่ก่อนว่า จะมีกษัตริย์ฝ่ายกรุงสยามสองพี่น้องทรงบุญฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ข้าม ทะเลมาหาดูถึงมัคธประเทศ ด้วยเสร็จการลบศักราชแห่งองค์ สัมพุทธบพิตรเจ้าเที่ยงแท้ แล้วพระองค์จึ่งแต่งพลทหารออกมาอัญเชิญกษัตริย์ทั้งสองขึ้นไปสู่ราชธานี กรุงมัคธก็กราบถวาย บังคมแล้ว จึ่งนำพระราชธิดามาทูลถวาย บพิตรก็มีพระทัย ยินดี พระยากรุงจีนจึ่งให้แต่งสำเภาถวายลำหนึ่ง พร้อมด้วยเครื่องมงคลราชบรรณาการ แล้วผ่าตรามังกรออกเป็นสองภาค และให้ ราชธิดามาภาคหนึ่ง เพื่อจะสันทัดในราชสาส์นอันไปมาถึงกัน สมเด็จพระร่วงเจ้าจึ่งพาพระอนุชาธิราช พระอัครมเหสี และจีนบริวาร ๕๐๐ ลงสู่สำเภากลับมากรุงสัชนาลัย สำเภาลูกค้าวาณิชก็ไปมา ได้สะดวก และจีนทั้งหลายทำถ้วยชามถวาย จึ่งเกิดมีถ้วยชามแต่ นั้นมา พระองค์จึ่งให้เจ้าสุทธิกุมารผู้น้องตั้งพระราชวังอยู่นอกเมือง
ฝ่ายข้างเชียงใหม่นั้นพระเจ้าแผ่นดินทิวงคต มีแต่พระ ราชธิดา อำมาตย์จึ่งมากราบทูลขอพระฤทธิกุมารไปผ่านแผ่นดิน สมเด็จพระร่วงเจ้า จึ่งให้เจ้าสุทธิกุมารอยู่รักษาพระนครกับนางสุท เทวี แล้วพระองค์ทรงช้างเผือกงาดำพาพระอนุชาและเสนางคนิกร โยธาหาญเสด็จโดยพนมใหญ่ถึงกลางหนทาง จึ่งให้เจ้าฤทธิกุมาร ผ่านหน้าช้างเข้ามาต่อพระองค์ จึ่งจับคณฑีทองอันเต็มไปด้วยน้ำ หลั่งพิษฐานให้เป็นแดนแว่นแคว้นแห่งเจ้าวันนี้ แล้วให้เอาตะปูทองแดงอันใหญ่สามกำสามตัวปักแดนให้แล้ว ก็เสด็จขึ้นถึงเมือง นางมลิกาเทวีลูกเจ้าเชียงใหม่มารับเสด็จเข้าในเมืองหลวง ท้าว พระยาเสนาทั้งหลายก็กราบถวายบังคมทูล ขณะนั้นพระอรหันต์เจ้า ได้บุพเพนิวาสานุสติวิชชา ก็ยังมีเป็นหลายพระองค์ พระมหา กษัตริย์เจ้าจึงถามว่านางมลิกาเทวีผู้นี้เป็นฉันใด พระอรหันต์เจ้า จึ่งบอกว่าอุบาสกและนางนั้น เขาได้ให้ทานข้าวบิณฑบาตอันรายไป (ด้วย) ดอกมะลิ พระองค์ก็ชื่นชมยินดี จึ่งเสกเจ้าฤทธิกุมารกับด้วยนางมลิกาเทวี จึ่งได้นามว่าพระยาฤา ณ พิชัยเชียงใหม่ ติดตระกูล แต่นั้นมาสาวจึ่งสู่ขอผัวเป็นจารีต
ครั้นพระร่วงเจ้ากลับมาเมืองแล้ว พระเกียรติยศ ก็ปรากฏยิ่งกว่าแต่ก่อน พระองค์รอบรู้วิชาไตรเพทเชี่ยวชาญ หาผู้เสมอมิได้ และทรงวจีสัจสุจริตว่าให้ตายก็ตาย จะว่าให้เป็น ก็เป็น และขอมดำเนินดินผุดขึ้นมาแล้ว ก็กลายเป็นศิลามะขาม ก็ขึ้นมิได้ อนึ่งอำนาจแก้วอุทกประสาทอันพระยากรุงจีนให้มา แก่พระองค์นั้น จะไป ๗ วันจะบริโภคน้ำก็ได้ อยู่มาในสมัยหนึ่ง พระองค์ทรงว่าวขาดลอยไปถึงนครตองอู และพระยาตองอูนั้นเดิมเป็นคนอนาถา ไปทำไร่คล้องได้วานรเผือกมาถวายสมเด็จพระร่วง เจ้า พระร่วงเจ้าจึ่งโปรดให้เป็นพระยา แล้วตั้งเมืองตองอู และเมื่อ ว่าวทรงขาดไปคล้องยอดปราสาทอยู่นั้น พระร่วงเจ้าตามไปถึง เมืองตองอูแต่พระองค์เดียว เข้าอยู่ในบรรณศาลาภายนอกเมืองนั้น ครั้นเพลาค่ำ พระองค์ก็ลอบเข้าไปทำชู้ด้วยลูกสาวพระยาตองอูถึงปราสาทอันล้อมด้วยเหล็ก และเมื่อพระร่วงเจ้าจะขึ้นเอาว่าวนั้น พระบาทหนึ่งเหยียบอังสาพระยาตองอู พระบาทหนึ่งเหยียบศีรษะ ยื่นพระหัตถ์หยิบเอาว่าว พระยาตองอูก็มิถือ เพราะมีความสุจริต ครั้นพระองค์ได้ว่าวแล้ว เพลาค่ำก็หนีมา ธิดานั้นจึ่งนำประพฤติเหตุเข้าทูลแก่ท้าวบิดา พระยาตองอูก็ให้ติดตามเอาพระองค์คืนมาได้ ชักสาวเอาพระอันตะออกจากพระองค์ใส่พานไว้แล้ว ก็ทรงเสด็จขึ้น มาเมืองสัชนาลัย และพระองค์จะได้รู้เหตุนั้นหามิได้ อนึ่งเป็นวิสัยจะกละฉมบกินไส้พุงคนทั้งปวง ครั้นพระร่วงเจ้าเสด็จขึ้นปราสาทเปลื้องอาภรณ์แล้ว จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งเจ้าสุทธิกุมารว่า แม้นไม่เห็นพี่มาแล้ว เจ้าจงเป็นพระยาแทนเถิด ครั้นตรัสสั่งแล้วก็เสด็จพระราชดำเนินลงไปสรงน้ำที่แก่งกลางเมืองนั้น ก็อันตรธานไป สมเด็จพระอนุชาธิราชและมุขมนตรี พระสนมกำนัลและราษฎรทั้ง ปวงก็โสกาดูรภาพร่ำรักรำพันพระคุณเป็นอันมาก พระสุทธิกุมารจึ่ง ให้ราชทูตไปทูลแก่พระญาฤา ณ พระนครเชียงใหม่ ลงมาตั้งการถวัลยราชราชาภิเษกพระองค์เป็นอิสราอิศรภาพในพระนครสัชนาลัย แล้วให้ขุนไตรภพนาถซ่อมแปลงพระนิเวศ ก่อกำแพงตั้งค่ายชั้นใน ชั้นนอก ตั้งค่ายเชิงเรียงพนมเชิงแห่งหนึ่ง พนมหัวช่างแห่งหนึ่ง พนมหัวเปียแห่งหนึ่ง แล้วให้แต่งป้อมช่องปืนใหญ่และให้ตกแต่ง หัวเมืองเอก ๕ หัวเมือง หัวเมืองโท ๘ หัวเมือง หัวเมืองสรรพยุทธ ทั้งปวงไว้สำหรับแล้ว ขอช่างมาแต่มคธให้ตั้งหล่อปืนใหญ่น้อย ๑๕๐ บอก และตีปืนนกสับคาบชุด ๕๐๐ บอก
ครั้นถึงเดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เมืองเชียงแสนให้ตรวจจัดรี้พลโยธาช้างม้า และเครื่องสรรพยุทธให้ พระยาเชียงราย พระยาเชียงลือเป็นทัพหน้า พระยาเชียงเงิน พระยาเชียงตุง เป็นปีกขวา พระยาเชียงทอง พระยาเชียงฝางเป็น ปีกซ้าย จะยกกองทัพลงมาตีเมืองสัชนาลัย เมืองสัชนาลัยทราบ เหตุ จึ่งให้มีราชสาส์น ฝ่ายม้าใช้กองสอดแนมรู้เหตุก็นำเอา อึงกฤดาการรีบมากราบทูล สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยทราบเหตุจึ่งให้มีราชสาส์นไปเมืองชียงใหม่ ถึงพรหมวดีราชนัดดาราโชรส พระยาฤาราชอันทิวงคตนั้น ให้จัดแจงเมืองแพร่ เมืองน่าน เมือง นครให้มั่นคง อนึ่งให้แต่งกองออกลาดลักตัดลำเลียงแห่งข้าศึกให้ ถอยกำลังจงได้ ฝ่ายข้างกรุงศรีสัชนาลัยนั้น ก็ให้เกณฑ์พลทะแกล้วทหาร ขึ้นรักษาหน้าที่ แล้วให้กวาดครัวอพยพเข้าพระนคร ข้าง พระเจ้าศรีธรรมราชไตรปิฎกยกพลมาถึง จึ่งให้ตั้งค่ายหลวงใกล้ เมืองทาง ๕๐ เส้น แล้วให้ดาพลโยธาล้อมเมืองสัชนาลัยไว้โดยรอบ ให้พลทหารเข้าปีนปล้นเป็นหลายครา ชาวพระนคร ก็ระดมกันยิงปืน ยิงตกคูตายเป็นอันมาก จะหักเอามิได้ พระ พุทธโฆษาจารย์จึ่งไปถวายพระพรแก่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (ให้) ระงับสงครามเสียทั้งสองฝ่าย กษัตริย์ทั้งสองก็โดยคำพระอรหันต์เจ้าพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยจึ่งให้แต่งนางปทุมเทวีราชธิดาแล้ว พระก็ เสด็จออกไปบังคมถวายราชธิดา พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกก็มีความ ยินดี ให้เลิกทัพกลับไปเมืองเชียงแสน และนางปทุมเทวีนั้นมีราช- บุตรด้วยพระยาธรรมไตรปิฎกสององค์ ชื่อเจ้าไกรสรราชองค์หนึ่ง ชื่อเจ้าชาติสาครองค์หนึ่ง และพระเจ้าเชียงแสนนั้นได้ทราบว่า สมเด็จสรรเพชญ์พุทธเจ้าเสด็จไปอาศัยกระทำภัตกิจใต้ต้นสมอ พระองค์จึ่งดำริสร้างเมืองในที่นั้น จึ่งมีพระราชโองการสั่งจ่านกรอง และจ่าการบูร ให้ทำเป็นพ่อค้าเกวียนไปคนละ ๕๐ เล่ม เต็มไป ด้วยทุนทรัพย์ทั้งหลาย มาถึงเมืองลิลมพล ไหว้พระบาทพระพุทธเจ้านั้นแห่งหนึ่ง จึ่งข้ามแม่น้ำตะนิมมาถึงภูผาหลวง และมาถึงเมืองสวางคบุรี ไหว้พระธาตุพระพุทธเจ้านั้นแล้ว จึ่งข้ามแม่น้ำกรอม แม่น้ำแก้วน้อย จึ่งถึงทุ่งบ้านพรานที่พระพุทธเจ้าไปบิณฑบาต ข้างตะวันออก ๑๕๐ เรือน ข้างตะวันตก ๑๐๐ เรือน จึ่งปรึกษา กันว่าจะสร้างเมืองถวาย เห็นจะต้องด้วยราชประสงค์และราชอุบายอันเจ้าเราใช้มา ครั้นเห็นชอบพร้อมกันแล้ว จึ่งเริ่มการสถาปนา พระนครโดยไสยศาสตร์ ให้ชีพ่อขึ้นถีบอำภาวายและเชิญเทวรูปออกแห่ตั้งทิศ จึ่งให้พราหมณ์ชักรั้วที่จะตั้งเมืองแล้วปันหน้าที่ยาว ๕๐ เส้น สกัด ๑๐ เส้นชั่ววาคนโบราณ
ครั้นวันพฤหัสบดี เดือนสาม ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีฉลู ฉศก เพลาเช้า สถาปนาเมืองนั้น อนึ่งเมื่อเพลาพระพุทธเจ้าฉันจังหันใต้ต้นสมอวัน นั้น พระอุบาลีเถร พระคิริมานนท์ ก็นฤพานในที่นั้น แต่ก่อนก็ร้องเรียกว่าพนมสมอ บัดนี้เรียกว่าเขาสมอแครง บรรจุธาตุพระขีณาสพเจ้าทั้งสองไว้ในที่นั้น จึ่งเรียกว่าอรัญวาสี จ่านกรองสร้างข้างตะ- วันตก จ่าการบูรสร้างข้างตะวันออก ปีหนึ่งกับเจ็ดวันจึ่งแล้ว และ รอบบ้านพราหมณ์ทั้งหลายขุดคูรอบ กันหนทางเด็กเลี้ยงโคบ้านหริภุญไชยไปมา และปั้นพระพุทธไสยาสน์ทั้งสองฟาก ครั้นการทั้งปวงสำเร็จ จึ่งกลับมาทูลประพฤติเหตุ บพิตรก็มีพระทัยยินดี จึ่งเสด็จยาตราพลออกจากเมืองเชียงแสน ณ เดือนอ้าย แรมหกค่ำ วันอาทิตย์ เพลาเช้า ไปได้ ๒ เดือนจึ่งถึง และเมื่อจะพระราชทานนามเมือง นั้น จึ่งตรัสถามชีพ่อว่าเราจะให้ชื่ออันใด ชีพ่อทูลว่าพระองค์เสด็จ มาถึงวันนี้ ได้ยามพิษณุ จึ่งตรัสประสาทนามว่าเมืองพระพิษณุโลก และว่า ตามพระพุทธเจ้ามาบิณฑบาตก็ชื่อว่าโอฆบุรีตะวันตก ตะวัน-ออกชื่อจันทบูร แล้วให้สร้างพระธาตุ และวิหารใหญ่ ๔ ทิศสำเร็จ แล้ว จึ่งดำริจะสร้างพระพุทธรูปให้แล้วด้วยทองสัมฤทธิ์ จึ่งให้หา ช่าง ได้บาพิษณุคนหนึ่ง บาพราหมณ์คนหนึ่ง บาธรรมราชคนหนึ่ง บาราชกุศลคนหนึ่ง ได้มาแต่เมืองสัชนาลัย ๕ คน มาแต่เมืองหริภุญไชยคนหนึ่ง จึ่งตรัสสั่งแก่ช่างว่า ท่านทั้งหลายชวนกันรักษา ศีล ๕ ประการอย่าให้ขาด แล้วให้ขนดินและแกลบไปให้แก่ช่าง ประสมดินปั้นรูปพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์เท่ากัน ฝ่ายท้าวพระยา ทั้งหลายก็นำเอาทองมาถวาย ช่วยพระองค์หล่อพระพุทธรูปเป็นอันมาก ครั้นได้ฤกษ์วันพฤหัสบดี เพ็ญเดือนสี่ ปีจอนักษัตรศก ชุมนุม พระสงฆ์สบสังวาส มีพระอุบาลีและพระคิริมานนท์ เป็นประธาน เททองพระพุทธรูปทั้ง ๓ พระองค์ พระศรีศาสดาพระชินศรีทั้งสอง พระองค์นั้นทองแล่นเสมอกันบริบูรณ์ พระองค์หนึ่งนั้นมิได้เป็น รูปองค์หามิได้ แต่ช่างหล่อถึง ๓ ครั้งก็หามิได้ และพระเจ้าพระ ไตรปิฎกก็ทรงพระปรารภเป็นทุกข์พระทัย จึ่งตั้งสัจจาธิษฐานว่า เดชอาตมได้เรียนพระไตรปิฎกและได้บำเพ็ญเรียนในวิธีพระวิปัสนากรรมฐานสอนสงฆ์ทั้งหลายให้ดำเนินโดยมรรคปฏิบัติ อนึ่งอาตม ก็ได้ปรารถนาพระโพธิญาณจะรื้อสัตว์ให้พ้นภัยในสงสาร ขอ อานุภาพผลศีลทานความสัจนี้ จงบันดาลให้สำเร็จดังมโนรถความปรารถนาเถิด แล้วจึ่งสั่งพระปทุมเทวีมเหสีให้ทรงสัจจาธิษฐาน ดุจพระองค์ปรารภนั้น ด้วยเดชอำนาจสัตยาธิษฐานแห่งกษัตริย์ทั้ง สอง จึ่งบันดาลร้อนอาส์นองค์อดิศรเทวราช ก็นิรมิตเพศเป็นปะขาว ลงมาช่วยกระทำการหล่อพระพุทธรูปให้สำเร็จบริบูรณ์ได้ แล้วทำ ตรีศูลไว้ในพระพักตร์เป็นสำคัญ ว่าพระอินทร์เจ้าสุลาลัยลงมาช่วย และเมื่อหล่อนั้นศักราช ๑๕๐๐ ปี วันพฤหัสบดี เดือนหก ขึ้นแปดค่ำ ปีฉลู ตรีศก พระองค์ จึ่งสั่งฝากนามไว้ว่าราชนาม พระเจ้าชื่อพระชินราช แล้วให้นำไปตั้งไว้ในสามถาม* เป็น พระเสี่ยงทายท่ามกลางเมืองพิษณุโลก แล้วให้ตั้งพระราชวังฝ่าย ตะวันตกบริบูรณ์ จึ่งให้นำเจ้าสุทเทวีราชธิดาพระยาสัชนาลัยมาราชาภิเษกกับเจ้าไกรสรราช ณ เมืองลพบุรี แล้วตั้งจ่านกรองเป็นมหาเสนาซ้าย จ่าการบูรเป็นมหาเสนาขวา และ้วให้พลเสนาไปถึงนคร บุรีรมย์ จึ่งให้สร้างเมืองอันหนึ่งใกล้เมืองลพบุรี ทาง ๕๐๐ เส้น ให้ รับเจ้ากรางเกรี้ยงกริศราชกับพระราชเทวีไปราชาภิเษก ณ เมืองนั้น ชื่อว่าเสนาราชนคร ลุศักราช ๑๕๐ ปี ให้ชาติสาครไปกินเมือง เชียงราย ครั้นพระเจ้าธรรมไตรปิฎกทิวงคตแล้ว อำมาตย์ทั้งหลาย จึ่งเชิญเจ้าชาติสาครลงมาจากเมืองเชียงราย ฌาปนกิจพระบิดาแล้ว ก็ได้ผ่านเอกราชในเมืองเชียงแสนแต่นั้น กษัตริย์พระญาติทั้งปวง จะได้ไปมาหากันหามิได้ถึง ๗ ชั่วกษัตริย์
ทีนี้จะกล่าว เรื่องพุทธพยากรณ์แห่งสมเด็จพระพุทธกัสสป-โลกเชษฐ์เจ้าในอดีตพิภพโน้น อันพระองค์ตรัสทำนายไว้ว่า บุรุษผู้อุปถัมภกเป็นพุทธาญาติในพระศาสนาตถาคตนี้ ไปภายหน้าจะได้ เป็นกษัตริย์ ทรงบุญฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ครั้นถึงพระบรมครูเจ้าแห่งเรา บุรุษผู้นั้นมาเกิดในตระกูลเศรษฐี ณ บ้านอโอรชคามินิ เศรษฐี ๕๐๐ เป็นบริวาร ชื่อเจ้าสุทัสนกุมาร ขณะนั้นองค์ท้าวสหัสนัยบพิตรใช้พระเวสสุกรรมเทวบุตรลงมาบันดาลปราสาททอง มีพื้นใต้เจ็ด ชั้นประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ ทั้งโรงช้างม้า เรือนหลวง กำแพง แก้ว ๗ ชั้น และสวนพระอุทยาน สระโบกขรณีอันอาเกียรณ์ด้วยเบญจปทุมชาติชื่อว่า เมืองอินทปตนคร เศรษฐีทั้งหลายจึงราชาภิเษกเจ้าสุทัสนเป็นกษัตริย์ ครั้นเมื่อพระอนันตชินญาณเจ้าแห่งเราได้ ตรัสแล้ว พระองค์มาเที่ยวสัปธานจารึกในประเทศนั้น จึ่งมี วณิพกจัณฑาลผู้หนึ่ง มีศรัทธาน้อมนำอาหารมาใส่ในบาตรด้วยนิ้ว มืออันเน่า พระองค์จึ่งตรัสทำนายว่า วณิพกผู้นี้ไปภายหน้าจะได้ เป็นกษัตริย์ ประกอบด้วยวรราชฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ และจะได้ลบ ศักราช ครั้นนานมาพระยาสุทัสนราชทิวงคตแล้ว พระนครนั้นก็ บันดาลเป็นศิลาปกติสิ้นพระพุทธศักราช ๑๖๐ ปี แล้วสืบมาหลายชั่วจึ่งถึงพระยาโฆษเทวราชได้เป็นกษัตริย์ ขณะนั้นราษฎรทั้งปวงก็เล่า ลือกันโดยได้รู้เหตุอันพฤฒาจารย์ทำนายว่า ผู้มีบุญบังเกิดแล้ว บ้านเมืองเราจะเป็นสุขสมบูรณ์ และวณิพกอันพระพุทธเจ้าทำนายนั้น ก็มาบังเกิดในตระกูลวณิพก มีรูปอันวิการสรรพคอดคด ทั้งอง- คาพยพก็เปื่อยเน่ามิบริบูรณ์ และวณิพกผู้นั้นได้ยินการเอิกเกริกอัน หมู่มหาชนมาสันนิบาตประชุมชมภูมิบริบูรณ์นั้น ตนก็อุตส่าห์ค่อย ขยับถัดคลานมาโดยมรรคประเทศ ขณะนั้นท้าวสุเรนทร์เทวราช เอาเพศเป็นมานพ มือซ้ายหิ้วกระทอ มือขวาจูงม้าเดินตามทางราบวณิพกผู้นั้นจึ่งว่า เราจะฝากม้าและกระทอนี้ไว้แก่ท่าน แล้วสั่งว่า ถ้าเรามิได้กลับมาของทั้งนี้จงเป็นสิทธิแก่ท่าน ครั้นพระอินทร์สั่ง แล้วก็อันตรธานไป วณิพกผู้นั้นนั่งอยู่ท่าช้านาน จึ่งเผยกระทอออกดูเห็นขวดน้ำมันทิพย์ ก็เอาทาแขนและกายที่ขอดคด ก็เหยียดคลาย สมบริบูรณ์ดังประสงค์ ก็เข้าใจว่าตนเป็นผู้มีบุญ จึ่งสวมสอดสรรพ-ทิพาภรณ์ทิพมกุฎวิเชียรมาลี ขัดพระขรรค์แก้ว แล้วสู่เทพดุรงราช เหาะทะยานมาในอากาศ โอภาสไปด้วยแสงสัตพิธรัตนกาญจนกนกภูษิตามาศวลัยกร ประชาชนก็เซ็งเสียงสโมสรแซ่สนั่น ถวาย ทัศนักขภิวันท์เดียระดาษ พระยาโคตเทวราชเห็นดังนั้น ก็สะดุ้ง พระทัย พาพระอัครมเหสี พระราชบุตรี ภาคีในนาถมุขมาตยาพิรีย์โยธาพลพหลหาญหัยชาติราชรถคชนิกร ออกจากพระนครวันนั้น ทั้งแปดหมื่นไปโดยประจิมทิศ ชนทั้งปวงจึ่งพร้อมกันร้องอัญเชิญ ถวัลยราช ราชาภิเษก ทรงพระนามพระยาแกรก และนำเอานาง อินทเทวีมาเป็นอัครมเหสี ขณะนั้นจุลศักราชถ้วน ๑๐๐๐ ปี จึ่ง ทำการลบศักราชพร้อมด้วยราชฤทธิ์และเทวฤทธิ์ในมหาสมัยนั้นเป็นอัศจรรย์
ฝ่ายพระยาโคตเทวราช มาถึงบ้านโกญธัญคาม พราหมณ์ ทั้งหลายก็มาต้อนรับ แล้วทูลว่า บ้านนี้เป็นถิ่นโบราณ และสมเด็จ พระสรรเพชญ์พระพุทธเจ้าเคยมาบิณฑบาตแต่ก่อน เห็นสมควรที่ พระองค์สร้างพระนครในที่นี้ พระยาโคตเทวราชโสมนัสนัก จึ่งให้ชีพ่อตั้งพิธีรำเสนง ๗ วัน แล้วสระเกล้าขึ้นโล้ชิงช้ารำภาวายและเป่าสังข์ เวียน ๓ รอบที่จะตั้งเมืองเป็นทักขิณาวัฏ แล้วให้ขุด คูพูนกำแพง ถึง ๗ เดือนจึ่งแล้ว สมเด็จพระเจ้าโคตเทวราชก็เสด็จ อยู่สำราญพระทัย พุทธศักราชได้ ๑๐๖๐ ปี มีพระราชบุตรสององค์ชื่อเจ้าภาลจณะกุมาร ผ่านพิภพแทนพระบิดาไปสร้างเมืองพิจิตร จึ่งมีชื่อพระญาโคตะบอง เจ้าไวยักษาสร้างเมืองพิชัยชื่อพระยา มือเหล็ก ฝ่ายเมืองสัชนาลัยนั้น พระเจ้าพัดตาวราชทิวงคต พระ ราชบุตรพระเชษฐานั้น ไม่รักสมบัติ ก็ออกไปทรงผนวช เสนา พฤฒามาตย์ จึ่งอัญเชิญพระราชบุตรองค์น้อยขึ้นผ่านแผ่นดิน ทรงพระนามว่า โกรพยราช ให้สร้างอารามถวายพระเชษฐาท่านแล้ว ให้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระเกศพระเจ้าพี่อันปลงนั้น จึ่งเรียกว่า อารามวัดจุฬามณีมาเท่าบัดนี้
ข้างพิชัยเชียงใหม่นั้น พระเจ้าสุคันธคีรีย์ มีราชบุตร สององค์ ชื่อทัศกุมาร ไชยเสนกุมาร และเจ้าทั้งสองนี้อุปสมบทเป็นภิกษุขึ้นไปเรียนพระไตรปิฎกถึงเมืองภุกาม ชำนาญทั้งไตรเพทางค- ศาสตร์และราชศาสตร์เสร็จบริบูรณ์ แล้วลงมาเมืองวิเทหะคือ กรุงหงสาวดี จึ่งลองความรู้ เพลาราตรีภาคก็กำบังขึ้นไปอุ้มเอาพระราชธิดาพระเจ้าหงสาออกมาถึงวัด แล้วพิจารณาเป็นกรรมฐานมิได้ เอื้อเฟื้อในเมถุนสังวาส แต่ทำฉะนี้เนือง ๆ คนทั้งปวงก็มิรู้ พระเจ้า หงสาวดีเห็นประหลาด จึ่งเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดใส่ในมวยผมพระราชธิดา และเมล็ดพันธุ์ผักกาดก็ตกเรียงรายงอกเรียงไปจนกุฎีภิกษุนั้น พระองค์จึ่งให้นำเอาเจ้ากุมารทั้งสองมาจะฆ่าเสีย ภิกษุนั้นจึ่งขอ น้ำ ได้มาแล้วก็บันดาลตนเป็นปลาว่ายวนอยู่ในขัน แล้วเจ้ากุมาร องค์หนึ่ง บันดาลตนเป็นนกยาง คาบเอาปลาและ้วก็พากันบินหนีมาเมืองเชียงใหม่ พระราชบิดาก็มีพระทัยยินดีให้ปริวรรตออกแล้ว จึ่ง ยกพระไชยทัศกุมารขึ้นผ่านแผ่นดิน ขณะนั้นรู้กิตติศัพท์ว่า พระ- ราชธิดากรุงศรีสัชนาลัยนั้น อุดมด้วยศิริวิลาส พระองค์จึ่งเอาเพศเป็นสามเณร พาพระภิกษุผู้น้องนั้นมาเป็นเพื่อน เพลากลางคืนก็ ลอบเข้าไปทำชู้ด้วยพระราชธิดาจนทรงพระครรภ์ ฝ่ายพระราชบิดา นั้น ตรัสเห็นเหตุ ก็ทรงพระพิจารณาราชดำริโดยรอบคอบแล้ว ให้ ทำลอบเหล็กไปใส่ไว้โดยช่องท่อรอบพระราชวัง ครั้นพระไชยทัศ กุมารเข้าไป ก็ติดลอบตายอยู่ในที่นั้น จึ่งเป็นโบราณกล่าวสืบมาว่า คิดมิชอบเข้าลอบตายเองคุ้งเท่าบัดนี้ ครั้นเพลาเช้าชาวเมืองล้อม พระราชวังนำเอาศพมาถวาย จะให้สืบหา ได้น้องชายเป็นภิกษุ ทราบว่าบุตรพระเจ้าเชียงใหม่ ก็มีความอาลัย ครั้นนานมาพระเจ้าแผ่นดินทิวงคตแล้ว เจ้าไชยเสนจึ่งเสกพระสุวรรณราชนัดดาไว้ แล้ว พระองค์ก็คืนเมืองเชียงใหม่ และสมเด็จพระเจ้าสุวรรณราชา คิดถึงพระคุณพระราชบิดา จึ่งให้หล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์พระ องค์หนึ่ง หน้าตัก ๔ วา เสร็จบริบูรณ์
เบื้องว่ากัมพุชประเทศนั้น พระเจ้าแผ่นดินทิวงคต หา พระวงศ์มิได้ ชนทั้งปวงจึ่งยกเจ้าอู่ทองอันเป็นบุตรโชฎึกเศรษฐีมาราชาภิเษกผ่านถวัลยราช ครั้งนั้นบังเกิดไข้ทรพิษนัก ราษฎรทั้งปวง ล้มตายเป็นอันมาก พระองค์จึ่งยังเสนาและอพยพราษฎรออกจาก เมืองแต่เพลาราตรีกาล ไปโดยทักขิณทิศเพื่อจะหนีห่า และพระ เชษฐาท่านนั้นเข้าพักพลปรกติอยู่ในประเทศเมืองสุพรรณบุรี แต่ พระเจ้าอู่ทองนั้นยาตราพลรอนแรมไปหลายราตรี จึ่งพบแม่น้ำใหญ่แล้วเห็นเกาะหนึ่งเป็นปริมณฑล ประดิษฐานอยู่ท่ามกลางภูมิภาค นั้นราบรื่นดูสะอาด พระองค์จึ่งให้ข้ามพลพยุหเข้าตั้งถึงเกาะดงโสนแล้วพบพระดาบสองค์หนึ่ง จึ่งกระทำคารวะประพฤติปราศรัยว่า พระนักสิทธิ์มาสำนักอยู่ในประเทศนี้แต่ครั้งใด พระฤาษีจึ่งแจ้ง อนุสนธิ์ว่า อาตมาสร้างพรตพิธีอยู่ที่นี้แต่ครั้งองค์พระพิชิตมารโมลี โลกเจ้ายังทรมานอยู่ และอาจารย์เราสองคน คนหนึ่งไปตายในเขา สัพลึงค์ คนหนึ่งไปตายในพนมภูผาหลวง และครั้งเมื่อพระสรร- เพชญ์พุทธองค์เสด็จมาในที่นี้ เราได้ถวายผลมะขามป้อมและสมออาราธนาให้พระองค์นั่งฉันเหนือประเทศตอตะเคียน อันลอยมา ขวางอยู่ที่นั้น พระองค์จึ่งมีพุทธบัณฑูรตรัสทำนายว่า อรัญประเทศนี้ไปเบื้องหน้าจะปรากฏเป็นราชธานีหนึ่ง ชื่อว่าพระนครทวาราวดี ศรีอยุธยา แล้วพระดาบสจึ่งเขียนรูปเมืองด้วยถ่านเพลิง และ้วทิ้งขึ้น ไปในอากาศ ตกลงมาเป็นผ้าสาฎก ประจักษ์หนทางสามแพร่ง ให้ เห็นว่าชนเกิดในประเทศนี้ จะเจรจามุสาวาท ความจริงน้อย แล้ว พระมหาโยคีจึ่งว่า ปางนี้บรมขัตตยาธิบดีเสด็จมาถึงแล้ว พระองค์จงอยู่ในประเทศนี้สำราญราชหฤทัยเถิด อาตมาจะลาไปรักษา พระบทวลัญชรลักษณ์ในขุนเขาคีรีโน้น เบื้องว่าพระดาบสว่า ดังนั้นแล้วก็เหาะไปสำนัก เจริญพรตพรหมวิหารเท่าถึงอาสัญภาพในภูเขาสุมภูนั้น
ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒ ปีขาลโทศก วันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ เพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ชีพระพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบาท ได้สังข์ทักขิณาวัฏใต้ต้นหมันใบ หนึ่ง แล้วสร้างพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระ ที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วพระเจ้าอู่ทองสมเสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนาม ชื่อสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรม-บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพ- นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ จึ่งให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระรามเมศวร ขึ้นไปครองราชสมบัติในเมืองลพบุรี ครั้งนั้นพระยาประเทศราชขึ้น ๑๖ เมือง คือ เมืองมะละกา เมืองชวา เมืองตะนาวศรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา เมืองจันทบูร เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมือง พิจิตร เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์
ศักราช ๗๑๕ ปีมะเส็ง เบญจศก วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้นค่ำ ๑ เพลา ๒ นาฬิกา ๕ บาท ทรงพระกรุณาตรัสว่า ที่พระ ตำหนักเวียงเหล็กนั้น ให้สถาปนาพระวิหารและพระมหาธาตุเป็น พระอาราม แล้วให้นามชื่อวัดพุทไธสวรรย์ ม้าขุนสุวรรณพินิจจัย ตกลูกศีรษะเดียว ตัวเป็น ๒ ตัว ๘ เท้า เดินชิงศีรษะกัน ไก่พระศรีมโหสถ ฟักฟองตกลูกตัวเดียว ๒ ศีรษะ
ศักราช ๗๒๕ ปีเถาะ เบญจศก ทรงพระกรุณาตรัสว่า เจ้าแก้ว เจ้าไท ออกอหิวาตกโรคตาย ให้ขุดขึ้นเผาเสีย ที่ปลงศพนั้น ให้สถาปนาเจดีย์วิหารเป็นอาราม แล้วให้นามวัดป่าแก้ว
ศักราช ๗๓๑ ปีระกา เอกศก สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี สมเด็จพระรามเมศวรเสด็จมาแต่เมืองลพบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติ
ครั้นถึงศักราช ๗๓๒ ปีจอ โทศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเข้ามา (แต่) เมืองสุพรรณบุรี เสนาบดีกราบทูลว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จเข้ามา สมเด็จพระรามเมศวร ก็ออกไปอัญเชิญเสด็จเข้ามาพระนคร ถวายราชสมบัติ ถวายบังคมลาขึ้นไปลพบุรีดังเก่า
ศักราช ๗๓๓ ปีกุน ตรีศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองฝ่ายเหนือ และได้เมืองเหนือทั้งปวง
ศักราช ๗๓๔ ปีฉลู เบญจศก เสด็จไปเอาเมืองชากังราว และพระยาไซแก้ว พระยากำแหง เจ้าเมือง ออกต่อรบท่าน ท่านได้ตัวพระยาไซแก้วตายแล้ว แต่พระยากำแหงและไพร่พลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็เสด็จกลับคืนมาพระนคร
ศักราช ๗๓๖ ปีขาล ฉศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า พระเถรธรรมากัลญาณ แรกสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุฝ่ายบูรทิศ หน้าพระบรรพชั้นสิงห์สูง ๑๙ วา ยอดนภศูลสูง ๓ วา
ศักราช ๗๓๗ ปีเถาะ สัปตศก เสด็จไปเอาเมืองพิษณุโลก และได้ตัวขุนสามแก้ว เจ้าเมือง กวาดครัวอพยพมาครั้งนั้นมาก
ศักราช ๗๓๘ ปีมะโรง อัฐศก เสด็จไปเอาเมืองชากังราวได้ พระยากำแหงและท้าวผากองคิดกันว่า จะยอทัพหลวงหา มิได้ ท้าวผากองเลิกกองทัพหนี เสด็จยกทัพหลวงตามตีท้าวผากองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แล้วทัพหลวงเสด็จ กลับคืน
ศักราช ๗๔๐ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก ไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นมหาธรรมราชาออกมาถวายบังคม
ศักราช ๗๔๒ ปีวอก โทศก เสด็จไปเมืองเชียงใหม่และให้เข้าปล้นเมืองนครลำปางมิได้ จึ่งแต่งหนังสือให้เข้าไปแก่หมื่น นคร ให้เจ้าเมืองนครลำปางออกมาถวายบังคม และทัพหลวงเสด็จกลับคืน
ศักราช ๗๔๔ ปีจอ จัตวาศก สมเด็จบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๑๓ ปี จึ่งเจ้าทองลันราชกุมารขึ้นเสวย ราชสมบัติได้ ๗ วัน สมเด็จพระรามเมศวรเสด็จลงมา (แต่) เมือง ลพบุรีเข้าในพระราชวัง กุมเอาเจ้าทองลันได้ ให้พิฆาตเสีย (ณ) วัดโคกพระยา
ศักราช ๗๔๖ ปีชวด ฉศก สมเด็จพระรามเมศวรให้เลียบ พลยกขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ ตั้งค่ายหลวงไกลคูเมือง ๑๕๐ เส้น ให้นายทัพนายกองตั้งค่ายล้อมและแต่งการปล้นเอาจงได้ ฝ่ายเจ้า หน้าที่ยิงปืนใหญ่ออกมา กำแพงพังกว้างประมาณ ๕ วา พระเจ้าเชียงใหม่ขึ้นยืนถือพัชนีอยู่บนเชิงเทน ให้ทหารเอาหนังสือนั้นว่า* ขอพระราชทานให้งด ๗ วัน จะนำเครื่องบรรณาการออกไปเจริญ พระราชไมตรี พระเจ้าอยู่หัวจึ่งปรึกษาด้วยมุขมนตรีว่า พระเจ้าเชียงใหม่ให้มีหนังสือออกมาดังนี้ ควรจะให้งดหรือประการใด มุขมนตรีนายทัพนายกองปรึกษาว่า เกลือกพระเจ้าเชียงใหม่จะ เตรียมการมิทัน จึ่งคิดเป็นกลอุบายมา ขอพระราชทานให้ปล้น เอาเมืองจงได้
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า เป็นกษัตริย์ขัตติยวงศ์ เขาไม่ รบแล้ว เราจะให้รบนั้น ดูมิบังควร ถึงมาตรว่าพระเจ้าเชียงใหม่ จะมิได้คงอยู่ในสัตยานุสัตย์ก็ดี ใช่ว่าจะพ้นทหารเรานั้นเมื่อไร ฝ่ายในเมืองเชียงใหม่นั้น ตีแตะบังกำแพงทะลายนั้นให้ก่อขึ้น ครั้น ๗ วันแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่มิได้เอาเครื่องเจริญพระราชไมตรีออก มา นายทัพนายกองข้าทหารร้องทุกขราชว่า ข้าวในกองทัพทะนาน ละ ๑๐ สลึง หามีที่ซื้อไม่ จะขอพระราชทานเร่งปล้น พระเจ้า อยู่หัวบัญชาตามนายทัพนายกอง ทรงพระกรุณาสั่งให้เลิกกองทัพเสียด้านหนึ่ง ให้เร่งปล้น วันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๔ เพลา ๓ ทุ่ม ๒ บาท เดือนตก เจ้าพนักงานยิงปืนใหญ่น้อย ระดม ๓ ด้าน เอากระไดหกพาดปีนกำแพงขึ้นไป พระเจ้าเชียงใหม่ต้านทานมิได้ ก็ พาครัวหนีออกเพลา ๑๑ ทุ่ม ทหารเข้าเมืองได้ ได้แต่นักส้างบุตร พระเจ้าเชียงใหม่องค์หนึ่งมาถวาย พระเจ้าอยู่หัวตรัสต่อนักส้างว่า พระเจ้าเชียงใหม่บิดาท่าน หาสัตยานุสัตย์มิได้ เราคิดว่าจะออกมา หาเราโดยสัตย์ เราจะให้คงราชสมบัติ ตรัสดังนั้นแล้วก็ให้นักส้าง ถวายสัตยานุสัตย์ พระเจ้าอยู่หัวก็แบ่งไพร่พลเมืองไว้พอสมควร เหลือนั้นก็ให้เอาครัวอพยพหญิงชายลงมา ให้นักส้างลงมาส่งเสด็จ ถึงเมืองสวางคบุรี ทรงพระกรุณาให้นักส้าง กลับขึ้นไปครอง ราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้าเมืองพิษณุโลกนมัสการพระชินศรี พระชินราช เปลื้องเครื่องต้นทำสักการบูชา สมโภช ๗ วัน เสด็จลงมาพระนคร และลาวซึ่งต้อนลงมานั้น ให้ ส่งลงไปไว้เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองละคร เมืองจันทบูร แล้วเสด็จออกทรงศีลยังพระที่นั่งมังคลาภิเศก เพลา ๑๐ ทุ่ม ทอด พระเนตรไปโดยฝ่ายทิศบูรพา เห็นพระสารีริกบรมธาตุเสด็จ ปาฏิหารย์ เรียกปลัดวังให้เอาราชยานทรงเสด็จออกไป ให้เอา กรุยปักขึ้นไว้ สถาปนาพระมหาธาตุนั้นสูง ๑๙ วา ยอดนภศูลสูง ๓ วา ชื่อวัดมหาธาตุ แล้วให้ทำพระราชพิธีประเวศพระนคร และเฉลิมพระราชมนเทียร ขณะนั้นพระยากัมพูชายกเข้ามาถึงเมืองชลบุรี กวาดเอา ครัวอพยพหญิงชายในเมืองชลบุรีและเมืองจันทบูร คนประมาณ ๖-๗ พันกลับไปเมืองกัมพูชาธิบดี พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัว ให้พระยาไชยณรงค์เป็นทัพหน้ายกไปถึงสะพานแยก ชาวกัมพูชาออกมาตีทัพระยาไชยณรงค์ ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ พระยากัมพูชาก็แตกฉาน พระเจ้าอยู่หัวให้ตั้งค่ายประจันทัพอยู่ ๓ วัน พระเจ้าอยู่หัวยกเข้าตีแตกฉาน เข้าเมืองได้ พระยากัมพูชา ลงเรือหนี พระเจ้าอยู่หัวลงจากช้าง ให้ยิงปืนนกสับลงไปต้องหม้อ ดินเป็นเพลิงลุกขึ้น พระยากัมพูชาหนีรอด จับได้แต่อุปราชลูก พระยากัมพูชา ให้พระยาไชยณรงค์อยู่รั้งเมืองกัมพูชาไว้คน ๕,๐๐๐ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จคืนพระนครศรีอยุธยา ครั้นอยู่มาญวนยกมารบ ถ้ามาน้อยชาวกัมพูชาเป็นใจรบ ถ้ามามากเรรวนไป พระยาไชยณรงค์บอกหนังสือมากราบทูล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้มีหนังสือตอบไป ให้กวาดครัวอพยพมาถึงพระนคร แล้วให้ทำพิธี ประเวศพระนคร แล้วปูนบำเหน็จนายทัพนายกอง
ศักราช ๗๔๙ ปีเถาะ นพศก สถาปนาวัดภูเขาทอง เพลาเย็นเสด็จไปพระที่นั่งมังคลาภิเศก ท้าวมนซึ่งตายแต่ก่อนนั้น มานั่งขวางทางเสด็จอยู่และหายไป สมเด็จพระรามเมศวรบรมบพิตรก็เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๖ ปี จึ่งพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติ ๑๔ ปี
ศักราช ๗๖๓ ปีมะเส็ง ตรีศก สมเด็จพระยารามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้ามหาเสนาบดี และท่านให้คุมเอาตัว เจ้ามหาเสนาบดีหนีรอดข้ามไปอยู่ฟากปทาคูจาม จึ่งให้ไปเชิญสมเด็จพระอินทราชา ณ เมืองสุพรรณบุรีเสด็จเข้ามาถึง จึ่งเจ้ามหาเสนาบดียกปล้นเอาเมืองนครศรีอยุธยาได้ จึ่งเชิญสมเด็จพระอินทราชาขึ้นเสวยราชสมบัติ ให้สมเด็จพระยา (ราม) ไปกินเมืองปทาคูจาม แล้วพระราชทานเจ้ามหาเสนาบดีลูกพระสนมองค์ (หนึ่ง) เจียดทองคู่หนึ่ง พานทองคู่หนึ่ง เต้าน้ำทอง กระบี่กั้นหยั่น เสลี่ยงงาเลียบกลีบบัว
ศักราช ๗๖๕ ปีมะแม เบญจศก มีข่าวมาว่าพระมหาธรรมราชาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลก เสด็จสวรรคต และเมืองเหนือ ทั้งปวงเป็นจลาจล จึ่งเสด็จขึ้นไปถึงเมืองพระบาง พระยาบาลเมือง พระยารามออกมาถวายบังคม พระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับพระนครแล้ว จึ่งให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าอ้ายพระยา กินเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยากินเมืองแพรกศรีราชา เจ้าสามพระยากินเมืองชัยนาท
ศักราช ๗๘๐ ปีจอ สัมฤกธิศก สมเด็จพระอินทราชาเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปี เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา ยกเข้ามาชิงกันจะเอาราชสมบัติ เจ้าอ้ายพระยายกมาตั้ง ตำบลป่ามะพร้าว ที่วัดพลับพลาไชย เจ้ายี่พระยามาตั้งอยู่วัดชัยภูมิจะเข้าทางตลาดเจ้าพรหม ช้างต้นมาปะทะกันเข้าที่เชิงสะพานป่าถ่าน ทั้งสองพระองค์ทรงพระแสงของ้าวต้องพระศอขาดพร้อมกัน ทั้งสองพระองค์ มุขมนตรีออกไปเฝ้าเจ้าสามพระยา ทูลความตามซึ่งพระเชษฐาขาดคอช้างทั้งสองพระองค์ แล้วเชิญเสด็จเข้ามาในพระนคร เสวยราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ท่านจึ่งให้ขุดเอาพระศพเจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา ไปถวายพระเพลิง ที่ถวายพระเพลิงนั้น ให้สถาปนาพระมหาธาตุและพระวิหารเป็นพระอาราม แล้วให้นามชื่อว่าวัดราชบูรณะ ที่เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา ชนช้างกันถึงพิราลัย ให้ก่อเจดีย์สององค์ไว้ที่เชิงสะพานป่าถ่าน
ศักราช ๗๘๓ ปีฉลู ตรีศก สมเด็จพระบรมราชาธิราช เจ้าเสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ ท่านจึ่งให้พระราชกุมารท่านพระนครอินทร์เจ้า เสวยราชสมบัติเมืองนครหลวง ท่านจึ่งให้เอาพระยาแก้ว พระยาไซและครอบครัว และทั้งรูปพระโค รูปสิงห์ สัตว์ทั้งปวงมาด้วย ครั้นถึงพระนครศรีอยุธยา จึ่งให้เอารูปสัตว์ทั้งปวงไปบูชาไว้ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบ้าง ไปไว้วัดพระศรีสรรเพชญ์บ้าง
ศักราช ๗๘๖ ปีมะโรง ฉศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชฃเจ้าสร้างวัดมเหยงคณ์ สมเด็จพระรามเมศวรเจ้าผู้เป็นพระราชกุมารท่าน เสด็จไปเมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเห็นน้ำพระเนตรพระพุทธเจ้า พระชินราชตกออกเป็นโลหิต
ศักราช ๗๘๘ ปีมะเมีย อัฐศก ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระราชมนเทียรสถาน
ศักราช ๗๘๙ ปีมะแม นพศก ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข
ศักราช ๗๙๐ ปีวอก สัมฤทธิศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ และเข้าเมืองมิได้ ก็ทรงพระประชวร ทัพหลวงเสด็จกลับคืน
ศักราช ๗๙๒ ปีจอ โทศก เสด็จขึ้นไปตีเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง และตั้งทัพหลวงตำบลท้ายเกษม ครั้งนั้นได้เชลย ๑๒๐,๐๐๐ ทัพหลวงเสด็จกลับคืน
ศักราช ๗๙๖ ปีขาล ฉศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๑๖ ปี
สมเด็จพระรามเมศวรเจ้าผู้เป็นพระราชกุมาร ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อว่าพระบรมไตรโลกนาถ ยกวังทำเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จมาอยู่ริมน้ำ จึ่งให้สร้างพระที่นั่งเบญจรัตน-มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทองค์หนึ่ง แล้วพระราชทานชื่อขุนนางตำแหน่งหน้า ให้เอาทหารเป็นสมุหพระกลาโหม เอาพลเรือนเป็นสมุหนายก เอาขุนเมืองเป็นพระนครบาลเมือง เอาขุนวังเป็นพระธรรมาธิกรณ์ เอาขุนคลังเป็นโกษาธิบดี ให้ถือศักดินาหมื่นหนึ่ง และที่ถวายพระเพลิงสมเด็จพระรามาธิบดีที่พระ (องค์) สร้างกรุงนั้น ให้สถาปนาพระมหาธาตุ และพระวิหารเป็นพระอาราม ให้นามชื่อวัดพระราม
ศักราช ๘๐๒ ปีวอก โทศก ครั้งนั้นคนออกทรพิษตายมากนัก
ศักราช ๘๐๓ ปีระกา ตรีศก แต่งทัพไปเอาเมืองมะละกา
ศักราช ๘๐๔ ปีจอ จัตวาศก แต่งทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน
ศักราช ๘๐๕ ปีกุน เบญจศก ข้าวเปลือกแพงเป็นทะนานละ ๘๐๐ เบี้ย เบี้ยเฟื้องละ ๘๐๐ เบี้ย เกวียนหนึ่งเป็นเงิน ๓ ชั่งกับ ๑๐ บาท
ศักราช ๘๐๖ ปีชวด ฉศก ให้บำรุงพระพุทธศาสนาบริบูรณ์ และหล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๕๐ พระชาติ
ศักราช ๘๐๘ ปีขาล อัฐศก เล่นการมหรสพฉลองพระและพระราชทานสมณชีพราหมณ์และวณิพกทั้งปวง ครั้งนั้นพระยาชะเลียงคิดกบฏ พาเอาครัวทั้งปวงไปแต่มหาราช
ศักราช ๘๐๙ ปีเถาะ นพศก พระยาชะเลียงนำมหาราช มาเอาเมืองพิษณุโลก เข้าปล้นเอาเมืองสามารถมิได้ จึ่งยกทัพแปรไปเอาเมืองกำแพงเพชร เข้าปล้นเมืองถึง ๗ วันมิได้ สมเด็จพระบรมโลกไตรนาถเจ้า และสมเด็จพระอินทราชาเสด็จขึ้นไปช่วยเมืองกำแพงเพชรทัน และสมเด็จพระอินทราชาเจ้าตีทัพพระยาเกียน* แตก ทัพท่านมาปะทัพหมื่นนคร ได้ชนช้างด้วยหมื่นนครและข้าศึกลาวทั้ง ๔ ช้าง เข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งช้างเดียว ครั้งนั้น พระอินทราชาเจ้าต้องปืนหน้าพระพักตร์ ทัพมหาราชนั้นเลิกกลับ คืนไป
ศักราช ๘๑๐ ปีมะโรง สัมฤทธิศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี
ศักราช ๘๑๑ ปีมะเส็ง เอกศก สมเด็จบรมไตรโลกนาถเจ้า ทรงพระผนวชวัดจุฬามณีได้ ๘ เดือน แล้วลาผนวช
ศักราช ๘๑๓ ปีมะแม ตรีศก ครั้งนั้นมหาท้าวบุญ ชิงเมืองเชียงใหม่แก่ท้าวลูก
ศักราช ๘๑๕ ปีระกา เบญจศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ช้างเผือก
ศักราช ๘๑๖ ปีจอ ฉศก สมภพพระราชโอรสท่าน
ศักราช ๘๑๘ ปีชวด อัฐศก เสด็จไปเมืองชะเลียง
ศักราช ๘๒๑ ปีเถาะ เอกศก แรกตั้งนครไทย
ศักราช ๘๒๒ ปีมะโรง โทศก พระศรีราชเดโชถึงแก่กรรม
ศักราช ๘๒๔ ปีมะเมีย จัตวาศก พระยาล้านช้างถึงแก่กรรม พระราชทานให้อภิเษกพระยาซ้ายขวาเป็นพระยาล้านช้าง
ศักราช ๘๒๖ ปีวอก ฉศก ทรงพระกรุณาให้เล่นการมหรสพฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ๑๕ วัน
ศักราช ๘๒๘ ปีจอ อัฐศก พระบรมราชาผู้เป็นพระราชโอรสทรงพระผนวช
ศักราช ๘๒๙ ปีกุน นพศก สมเด็จพระราชโอรสเจ้าลาผนวช ประดิษฐานพระองค์ไว้ในที่พระมหาอุปราช
ศักราช ๘๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปวังช้างตำบลสัมฤทธิบริบูรณ์
ศักราช ๘๓๑ ปีฉลู เอกศก มหาราชท้าวลูก พิราลัย
ศักราช ๘๓๒ ปีขาล โทศก สมเด็จบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จยกทัพไปตีเมืองทวาย และเมื่อเมืองทวายจะเสียนั้นเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ โคตกลูกตัวหนึ่งเป็น ๘ เท้า ไก่ฟักฟองตกลูก ตัวหนึ่งเป็น ๔ เท้า ไก่ฟักฟองคู่ขอนตกลูกเป็น ๖ หัว อนึ่งข้าว สารงอกเป็นใบ ในปีนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าเสด็จ สวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๓๘ ปี ปีมะโรง จัตวาศก แรกให้ ก่อกำแพงเมืองพิชัย
ศักราช ๘๓๕ ปีมะเส็ง เบญจศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อสมเด็จพระรามาธิบดี
ศักราช ๘๓๖ ปีมะเมีย ฉศก ประดิษฐานพระอัฐิธาตุสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าไว้ในมหาสถูป
ศักราช ๘๓๘ ปีวอก อัฐศก ท่านประพฤติการเบญจาเพส พระองค์ให้เล่นการคิดดาบัน (ดึกดำบรรพ์?)
ศักราช ๘๓๘ ปีระกา นพศก ให้ทำการปฐมกรรม
ศักราช ๘๔๑ ปีกุน เอกศก แรกสร้างพระวิหารวัดศรีสรรเพชญ์ สมเด็จพระรามาธิบดีแรกหล่อพระศรีสรรเพชญ์ใน วันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖
ครั้นถึงศักราช ๘๔๕ ปีเถาะ เบญจศก วันศุกร์ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ฉลองพระพุทธเจ้าพระสรรเพชญ์ ขณะหน้าพระพุทธเจ้า นั้น แต่พระบาทถึงยอดพระรัศมีสูงได้ ๘ วา พระพักตร์นั้นยาวได้ ๔ ศอก โดยกว้างได้ ๓ ศอก พระอุระกว้าง ๑๑ ศอก และทอง หล่อพระพุทธเจ้าหนัก ๕๓,๐๐๐ ชั่ง ทองคำหุ้มหนัก ๒๘๖ ชั่ง ข้างหน้านั้นทองเนื้อ ๗ หน้าสองข้าง ๆ หลังนั้นทองเนื้อ ๖ น้ำสองข้าง*
ศักราช ๘๔๖ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก ** สมเด็จพระรามาธิบดี แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม และแรกทำสารบาญชีพระราชพิธีทุกเมือง
ขณะนั้นคลองสำโรงที่จะไปศีรษะจระเข้ คลองทับนางจะ ไปปากน้ำเจ้าพระยาตื้น เรือใหญ่เดินไปมาขัดสน จึงให้ชำระขุดได้รูปเทพารักษ์ ๒ องค์ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ จารึกชื่อองค์หนึ่งชื่อพระยาแสนตา องค์หนึ่งชื่อบาทสังฆังกร ในที่รวบ (ร่วม) คลองสำโรงกับคลองทับนางต่อกัน จึ่งให้พลีกรรมบวงสรวงแล้วรับออก มาปลูกศาล เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ เมืองพระประแดง
ศักราช ๘๖๖ ปีชวด ฉศก ครั้งนั้นงาเบื้องขวาช้างต้น พระยาปราบแตกออกไป อนึ่งในเดือน ๗ นั้น คนทอดบัตรสนเท่ห์ ครั้งนั้นให้ฆ่าขุนนางเสียมาก
ศักราช ๘๖๗ ปีฉลู สัปตศก น้ำน้อยข้าวตายฝอยสิ้นอนึ่งแผ่นดินไหวและเกิดอุบาทว์หลายประการ
ศักราช ๘๖๘ ปีขาล อัฐศก (ข้าวแพง) เป็นสามทะนาน ต่อเฟื้อง เบี้ย ๘๐๐ ต่อเฟื้องข้าวเกวียนหนึ่งเป็นเงิน ๑๑ ชั่ง ๒ ตำลึง ๑ สลึง ครั้งนั้นประดิษฐานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระอาทิตย วงศ์ไว้ในที่มหาอุปราช ให้ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก
ศักราช ๘๗๑ ปีมะเส็ง เอกศก ในเพลาราตรีภาค เห็น อากาศนิมิตเป็นอินธนูแต่ทิศหรดี ผ่านมาทิศพายัพ มีพรรณสีขาว อยู่ ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ สมเด็จพระยารามาธิบดีเจ้าเสด็จ สวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๓๘ ปี
สมเด็จพระอาทิตยวงศ์เจ้าเสวยราชสมบัติ ทรงพระนาม ชื่อสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
ศักราช ๘๗๕ ปีระกา เบญจศก สมเด็จพระบรมราชาเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๕ ปี สมเด็จพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติ
ศักราช ๘๗๖ ปีจอ ฉศก สมเด็จพระราชกุมารท่านถึงแก่พิราลัย สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้าได้ราชสมบัติ
ศักราช ๘๘๐ ปีขาล สัมฤทธิศก แรกให้พูนดินวัดชีเชียง ถึงเดือน ๑๑ เสด็จไปเชียงกรายเชียงกราน ถึงเดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำเพลาประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพายุพัดหนัก คอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมานั้นหัก เรือไตรแก้วนั้นหักแตก อนึ่งเมื่อเสด็จมาแต่กำแพงเพชรนั้น พระยานารายณ์เป็นกบฎ ให้คุมพระยานารายณ์ฆ่าเสียในเมืองกำแพงเพชร
ศักราช ๘๘๗ ปีระกา สัปตศก ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๗ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเมืองเชียงใหม่ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นแม่ทัพ ยกพลออกตั้งทัพชัย ตำบลบางบาล วันเสาร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ จึ่งยกทัพหลวงจากที่ทัพขัยไปถึงเมืองกำแพงเพชร วันอาทิตย์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ ยกทัพไปตั้งเมือง เชียงทอง แล้วยกไปถึงเชียงใหม่ ครั้น ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ เสด็จยกพยุหยาตราทัพหลวงกลับคืนยังพระนครศรี อยุธยา อยู่ ณ วันพุธ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ เกิดเพลิงไหม้ในพระนครแต่ท่ากลาโหมลงไปถึงพระราชวังท้ายตลาดยอด ลมหอบเอาลูกเพลิงไปตกลงตะแลงแกง ไหม้ลามลงไปต้องป่าตองโรงครามฉะไกร ๓ วันจึงดับ มีบาญชีเรือนศาลากุฎีพระวิหารไหม้ ๑๐๐,๐๕๐ เรือน
ศักราช ๘๘๘ ปีจอ อัฐศก ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้า เสด็จยกพยุหยาตราทัพไป เมืองเชียงใหม่ ดำรัสให้พระยาพิษณุโลกถือพล ๒๐,๐๐๐ เป็นกอง หน้า เสด็จยกพยุหแสนยากรรอนแรมไปโดยระยะทาง ๑๒ เวน ถึง เมืองกำแพงเพชร เสด็จประทับแรมอยู่ ๑๕ เวน ครั้น ณ วัน พฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๓ เสด็จตั้งทัพชัย ถึง ณ วันเสาร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ จึ่งยกทัพหลวงเสด็จจากที่นั้น ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔ ได้เมืองลำพูนชัย ถึง ณ วันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ ได้เมืองเชียงใหม่ ณ วันศุกร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๔บังเกิดอุบาทว์นิมิต เห็นโลหิตตกอยู่ ณ ประตูบ้านและเรือนชนทั้งปวงในเมืองนอกเมือง ทุกตำบล ครั้น ณ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ เสด็จยกพยุหยาตราทัพหลวงจากเมืองเชียงใหม่จะมายังพระนครศรีอยุธยา
ศักราช ๘๘๙ ปีกุน นพศก เสด็จสวรรคต ณ มัชฌิมวิถีประเทศ มุขมนตรีเชิญพระบรมศพเข้าพระนครศรีอยุธยา สมเด็จ พระไชยราชาธิราชเจ้าเสด็จอยู่ในศิริราชมไหศวรรย์ ๑๔ พระวษา มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ พระราชโอรสผู้พี่ทรงพระนามชื่อพระยอดฟ้า พระชนม์ได้ ๑๑ พระวษา พระโอรสผู้น้องทรงพระ นามชื่อพระศรีสิน พระชนม์ได้ ๕ พระวษา ครั้นถวายพระเพลิงพระไชยราชาเสร็จแล้ว ฝ่ายพระเทียรราชาราช ซึ่งเป็นเชื้อ พระวงศ์สมเด็จพระไชยราชานั้น จึ่งดำริว่า ครั้นกูจะอยู่ในฆราวาสบัดนี้เห็นภัยจะบังเกิดมีเป็นมั่นคง ไม่เห็นสิ่งใดที่จะเป็นที่พึ่งได้ เห็นแต่พระพุทธศาสนาและผ้ากาสาวพัตร์ อันเป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์ จะเป็นที่พำนักพ้นภัยอุปัทวันตราย ครั้นดำริแล้วก็ออกไปอุปสมบทเป็นภิกษุภาวะอยู่ ณ (วัด) ราชประดิษฐาน
ฝ่ายพระสมณพราหมณาจารย์ มุขมนตรี กวีราช นัก ปราชญ์บัณฑิต โหรา ราชครูสโมสร พร้อมกัน ประชุมเชิญพระยอดฟ้า พระชนม์ได้ ๑๑ พระวษา เสด็จผ่านพิภพถวัลยราชประเพณี สืบสุริยวงศ์อยุธยาต่อไป และนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ผู้เป็นสมเด็จพระชนนีช่วยทำนุบำรุงประคองราชการแผ่นดิน ใน ปีนั้นแผ่นดินไหว
ครั้นศักราช ๘๙๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ณ วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ สมเด็จพระยอดฟ้าเสด็จออกสนาม พร้อมด้วยมุข อำมาตย์มนตรีเฝ้าพระบาทยุคลเป็นอันมาก ดำรัสสั่งให้เอาช้างบำรูงากัน บังเกิดทุจริตนิมิต งาช้างพระยาไฟนั้นหักเป็น ๓ ท่อน ครั้น เพลาค่ำ ช้างต้นพระฉัตทันต์ไหลร้องเป็นเสียงคนร้องไห้ ประการ หนึ่งประตูไพชยนต์ร้องเป็นอุบาทว์ ครั้นอยู่มานางพระยาแม่อยู่หัว ศรีสุดาจันทร์เสด็จไปประพาสเล่น ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา หอพระข้างหน้า ทอดพระเนตรเห็นพันบุตรศรีเทพผู้เฝ้าหอพระ ก็มีความเสน่หารักใคร่พันบุตรศรีเทพ จึ่งสั่งสาวใช้ให้เอาเมี่ยงหมากห่อผ้าเช็ดหน้าไปพระราชทานพันบุตรศรีเทพ พันบุตรศรีเทพรับแล้วก็รู้อัชฌาสัยว่านางพระยามีพระทัยยินดีรักใคร่ พันบุตรศรีเทพจึ่งเอาดอกจำปาส่งให้สาวใช้เอาไปถวายแก่นางพระยา นางพระยาก็ยิ่ง มีความกำหนัดในพันบุตรศรีเทพเป็นอันมาก จึ่งมีพระเสาวนีย์ สั่งพระยาราชภักดีว่า พันบุตรศรีเทพเป็นข้าหลวงเดิม ให้เอามา เป็นขุนชินราช รักษาหอพระข้างใน ให้ไปเปลี่ยนขุนชินราชออกไป เป็นพันบุตรศรีเทพ แล้วรักษาหอพระข้างหน้า ครั้นพันบุตศรีเทพ เป็นขุนชินราชเข้าไปอยู่รักษาหอพระข้างใน แล้วนางพระยาก็ลอบลักสมัครสังวาสกับด้วยขุนชินราชมาช้านาน แล้วดำริเอาราชสมบัติให้สิทธิแก่ขุนชินราช จึ่งตรัสสั่งพระยาราชภักดีว่า ให้ตั้งขุน ชินราชเป็นขุนวรวงศาธิราช ให้ปลูกจวนอยู่ริมศาลาสารบาญชีให้พิจารณาเลกสังกัดสมพล หวังจะให้กำลังมากขึ้น แล้วให้เอา เตียงที่อันเป็นอาสน์ไปตั้งไว้ข้างหน้า สำหรับขุนวงวงศาธิราชนั่ง เพื่อจะให้ขุนนางทั้งปวงอ่อนน้อมยำเกรง แล้วนางพระยาสั่งให้ปลูกจวนให้ขุนวรวงศาธิราชว่าราชการ ณ ประตูดินริมต้นหมัน อยู่ มาพระยามหาเสนาพบพระยาราชภักดี จึ่งพูดว่า เมื่อแผ่นดินเป็น ทรยศฉะนี้ เราจะคิดประการใด ครั้นรุ่งขึ้นนางพระยารู้ว่า พระยามหาเสนาพูดกันกับพระยาราชภักดี จึ่งสั่งให้หาพระยามหา เสนาเข้ามาเฝ้าที่ประตูดิน ครั้นเพลาค่ำพระยามหาเสนากลับออกไป มีผู้แทงพระยามหาเสนาล้มลง เมื่อจะใกล้สิ้นใจพระยามหาเสนาจึ่งว่า เมื่อเราเป็นดังนี้ แล้วผู้อยู่ภายหลังจะเป็นประการใดเล่า ขณะนั้นนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์มีครรภ์ด้วยขุน วรวงศาธิราช จึ่งมีพระเสาวนีย์ตรัสปรึกษาด้วยมุขนตรีทั้งปวงว่า พระยอดฟ้าโอรสเรายังเยาว์นัก สาละวนแต่จะเล่นจะว่าราชกิจ การแผ่นดินนั้นเห็นเหลือสติปัญญานัก อนึ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือเล่า ก็ยังมิปรกติ จะไว้ใจแก่ราชการมิได้ เราคิดจะให้ขุนวรวงศาธิราชว่าราชการแผ่นดิน จนกว่าพระราชบุตรเราจะเจริญขึ้น จะเห็น ประการใด มุขมนตรีรู้อัชฌาสัยก็ทูลว่า ซึ่งตรัสโปรดมานี้ควรอยู่ แล้ว นางพระยาจึ่งมีพระเสาวนีย์ตรัสสั่งปลัดวัง ให้เอาราชยาน และเครื่องสูงแตรสังข์ กับขัตติยวงศ์ออกไปรับขุนวรวงศาธิราช เข้ามาในพระราชนิเวศมนเทียรสถาน แล้วตั้งพระราชพิธีราชาภิเษกขุนวรวงศาธิราช ขึ้นเป็นเจ้าพิภพกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา จึ่ง เอานายจันทร์ผู้น้องขุนวรวงศาธิราช บ้านอยู่มหาโลกนั้น เป็นมหาอุปราช แล้วขุนวรวงศาธิราชผู้เป็นเจ้าแผ่นดินตรัสปรึกษากับ นางพระยาว่า บัดนี้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยรักเราบ้างชังบ้าง หัว เมืองเหนือทั้งปวงก็ยังกระด้างกระเดื่องอยู่ เราจำจะให้หาลงมา ผลัดเปลี่ยนเสียใหม่ จึ่งจะจงรักภักดีต่อเรา นางพระยาก็เห็นด้วย ครั้นรุ่งขึ้นเสด็จออกขุนนาง สั่งสมุหนายกให้มีตราไปหาเมืองเหนือ ๗ เมืองลงมา
ครั้นศักราช ๘๙๑ ปีกุน เอกศก วันอาทิตย์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดินกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ให้ เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา แต่พระศรีสินน้องชาย พระชนม์ได้ ๗ พระวษานั้น เลี้ยงไว้ สมเด็จพระยอดฟ้า อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปีกับ ๒ เดือน
ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพเชื้อพระวงศ์ กับขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ บ้านลานตากฟ้า ๔ คนไว้ใจกันเข้าใน ที่ลับ แล้วปรึกษากันว่า เมื่อแผ่นดินทรยศดังนี้ เราจะละไว้ดูไม่ ควร จำจะกุมเอาขุนวรวงศาธิราชประหารชีวิตเสีย ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศจึ่งว่า ถ้าเราทำได้สำเร็จแล้ว จะ เห็นผู้ใดเล่าที่จะปกครองประชาราษฎรสืบไป ขุนพิเรนทรเทพจึ่งว่า เห็นแต่พระเทียรราชาที่บวชอยู่นี้จะเป็นเจ้าแผ่นดินได้ ขุนอินทร เทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศจึ่งว่า ถ้าฉะนั้นเราจะไปเฝ้า พระเทียรราชา ปรึกษาให้เธอรู้จะทำด้วยกัน แล้วขุนอินทรเทพ ขุนพิเรนทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศพากันไปยังวัดราชประดิษฐาน เข้าไปเฝ้าพระเทียรราชาถวายนมัสการ จึ่งแจ้งความว่า ทุกวันนี้แผ่นดินเกิดทรยศ ข้าพเจ้าทั้ง ๔ คนนี้ คิดจะจับขุน วรวงศาธิราชฆ่าเสีย แล้วเชิญพระองค์ลาผนวชขึ้นครองศิริราช สมบัติ จะเห็นประการใด พระเทียรราชราชาก็เห็นด้วย
ฝ่ายขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ จึ่งว่า เราคิดการทั้งนี้เป็นการใหญ่หลวงนัก จำจะไปอธิษฐานเสี่ยงเทียน จำเพาะพระพักตร์พระพุทธปฏิมากรเจ้า ขอเอาพระพุทธคุณเป็นที่พำนักให้ประจักษ์แจ้ง ว่าพระเทียรราชาประกอบด้วยบุญบารมีจะ เป็นที่ศาสนูถัมภก ปกป้องอาณาประชาราษฎรได้หรือมิได้ประการใดจะได้แจ้ง พระเทียรราชาก็เห็นด้วยขุนพิเรนทรเทพจึ่งว่า เราคิดการใหญ่หลวงถึงเพียงนี้ อนึ่งก็ได้เตรียมการไว้พร้อมแล้วถ้าเสี่ยงเทียนมิสมดั่งเจตนา จะมิเสียชัยสวัสดิมงคลไปหรือ ถ้าไม่ เสี่ยงเทียน ตก(ลง) จะไม่ทำหรือประการใด ว่าแล้วต่างคนต่างก็ไป ครั้นค่ำลงวันนั้น ฝ่ายขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวง ศรียศ พระเทียรราชาก็ชวนกันฟั่นเทียน ๒ เล่ม ขี้ผึ้งหนักเท่า กัน ด้ายไส้นั้นนับเส้นเท่ากัน เล่มเทียนสั้นยาวเสมอกัน แล้ว พากันไป ณ อุโบสถวัดป่าแก้ว
ฝ่ายพระเทียรราชากราบถวายบังคมนมัสการ พระพุทธปฏิมากรเจ้าโดยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึ่งทำเสี่ยงวจีสัจจาธิษฐานว่า ปางเมื่อพระบรมไตรโลกนาถเจ้า เสด็จยังสถิตเที่ยวโปรดสัตว์อยู่ยัง โลกอันมีความวิมุติให้สันดานบริสุทธิ์สิ้นสงสัยด้วยพระญาณสัพพัญญู ครั้นพระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่พระมหาปรินิพพาน ก็ยังทรงพระมหากรุณาประดิษฐานพระเจดีย์ทั้ง ๕ พระปฏิมากร มหาโพธิ์ พระ สถูป พระชินธาตุ พระไตรปิฎก ไว้สนองพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งสัตว์โลกอันเกิดมาภายหลัง เป็นความสัตย์แห่งข้าพระพุทธเจ้าฉะนี้ ประการหนึ่งข้าพระพุทธเจ้าคิดจะใคร่ได้ราชสมบัติครั้งนี้ ด้วยโดย กิจจิตจะใคร่เป็นใหญ่ ได้จัดแจงราชกิจจานุกิจให้สถิตอยู่ในยุติธรรม จะได้เป็นที่พึ่งที่พำนักในนิกรราชบรรพสัตว์ ให้มีสุข สมบูรณ์ ตามโบราณราชประเพณี แห่งความสัตย์แห่งข้าพระพุทธเจ้า ฉะนี้ถ้วนเคารพสอง และยังมีความสงสัยอยู่ จักสมลุดั่งมโนรถแล หรือ หรือมิสมลุประการใดมิได้แจ้ง ข้าพระพุทธเจ้าขอพระบวร คุณานุภาพพระมหาเจดียฐานเจ้าทั้ง ๕ มีพระพุทธปฏิมากรเจ้าเป็น อาทิ อันพระพุทธองค์ทรงประดิษฐานไว้ต่างพระองค์ วจีสัจจาธิษฐานทั้งสองสัตย์แห่งข้าพระพุทธเจ้า จงเป็นที่พำนักตัดความสงสัย ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำสัตย์เสี่ยงเทียนของข้าพระองค์เล่มหนึ่ง ของขุนวรวงศาธิราชเล่มหนึ่ง ถ้าข้าพระองค์จะสมลุมโนรถ ความปรารถนา ด้วยบุญญาธิการโบราณและปัจจุบันกรรม ควรจะ ได้มหาเศวตฉัตรสกลรัฎฐาธิปไตย อันจะได้ (ระงับ) ทุรยศยุคเข็ญ เป็นจลาจลแห่งสมณพราหมณ์เสนาบดี ไพร่ฟ้าประชาราษฎรได้ ความเดือดร้อน และได้เป็นมหาอัครทานทายก อุปถัมภกพระบวรพุทธศาสนาในวราชัยสวรรยาสืบไป ขอให้เทียนขุนวรวงศาธิราช ดับก่อน ถ้ามิสมลุดังมโนรภความปรารถนาแล้ว ขอให้เทียนข้า พระองค์ดับก่อนขอพระบวรคุณานุภาพ และความสัตย์ทั้งสองแห่งข้าพระพุทธเจ้า จงมาตัดความสงสัยให้ปรากฎตามเสี่ยงวจีสัจจาธิษฐาน อันข้าพระพุทธเจ้าจงอุทิศเทียนสองเล่มนี้เป็นพุทธสักการ บูชา และเสี่ยงกระทำด้วยสัตย์เคารพนี้เถิด
ครั้นอธิษฐานเสร็จแล้ว ก็จุดเทียนทั้งสองเล่มนั้นเข้า ฝ่าย ขุนพิเรนทรเทพ ไปเห็นเทียนขุนวรวงศาธิราชยาวกว่าเทียน (ของ) พระเทียรราชก็โกรธ จึ่งว่าห้ามมิให้ทำสิขืนทำเล่า ก็คายเอาชานหมากดิบทิ้งไป จะได้ตั้งใจทิ้งเอาเทียนขุนวรวงศาธิราชนั้นหามิได้ เป็นศุภนิมิตเหตุพอทิ้งไปต้องเทียนขุนวรวงศาธิราชดับลง คน ทั้ง ๕ ก็บังเกิดโสมนัสยินดียิ่งนัก ขณะนั้นมีพระสงฆ์องค์หนึ่งครองไตรจีวรครบ ถือตาลปัตรเดินเข้าไปในพระอุโบสถ ให้พรว่า ท่านทั้งนี้จะได้สำเร็จมโนรถความปรารถนาแท้ ทั้ง ๕ คนก็ นมัสการรับพร พระสงฆ์นั้นกลับออกมาก็หายไปต่างคนต่างก็กลับมายังที่อยู่ ครั้นประมาณ ๑๕ วัน กรมการเมืองลพบุรีบอก ลงมาว่า ช้างพลายสูง ๖ ศอก ๔ นิ้ว หูหางสรรพต้องลักษณะ ติดโขลง สมุหนายกกราบทูล ตรัสว่า เราจะขึ้นไปจับอยู่อีก ๒ วัน จะเสด็จแล้วสั่งให้มีตราขึ้นไปให้กรมการจับเสียเถิด ครั้นอยู่มา ประมาณ ๗ วัน โขลงชักปกเถื่อนเข้ามาทางวัดแม่นางปลื้ม เข้า เพนียดวัดซอง สมุหนายกกราบทูล ตรัสว่า พรุ่งนี้เราจะไปจับครั้นเพลาค่ำ ขุนพิเรนทรเทพจึ่งสั่งหมื่นราชเสน่หานอกราชการ ใหออกไปคอยทำร้ายมหาอุปราชาอยู่ที่ท่าเสือ สั่งแล้วพอพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลกลงมาถึง ขุนพิเรนทรเทพ จึ่งให้ไปบอกโดยความลับ พระยาพิชัย พระยาสวรรคโลกก็ดีใจ ไปซุ่มอยู่ที่คลองบางปลาหมอกับขุนพิเรนทรเทพ หลวงศรียศ หมื่นราชเสน่หาใน ราชการ ขี่เรือคนละลำ พลพายมีสาตราอาวุธครบมือ ฝ่ายหมื่นราชเสน่หานอกราชการ ถือปืนไปแอบคอยอยู่ ทำอาการดุจหนึ่ง ทนายเลือก ครั้นเห็นมหาอุปราชาขี่ช้างจะไปเพนียด หมื่นราช เสน่หา ก็ยิงถูกมหาอุปราชาตกช้างตาย ครั้นเช้าตรู่ขุนวรวงศาธิราชกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และราชบุตรีซึ่งเกิดด้วยกัน ทั้งพระศรีสิน ก็ลงเรือพระที่นั่งลำเดียวกันมาตรงคลองสระบัว ขุนอินทร เทพก็ตามประจำมา
ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพ พระยาพิชัย พระยาสวรรคโลก หลวงศรียศ หมื่นราชเสน่หาในราชการ ครั้นเรือพระที่นั่งขึ้นมา ก็พร้อมกันออกสกัด ขุนวรวงศาธิราชร้องไปว่า เรือผู้ใดตรงเข้า มา ขุนพิเรนทรเทพ ร้องตอบไปว่า กูจะมาเขาชีวิตเอ็งทั้งสอง
ฝ่ายขุนอินทรเทพ ก็เร่งให้พายรีบกระหนาบเรือพระที่นั่งขึ้นมา แล้วช่วยกันกลุ้มรุมจับขุนวรวงศาธิราชกับแม่อยู่หัวศรีสุดา จันทร์และบุตรซึ่งเกิดด้วยนั้นฆ่าเสีย แล้วให้เอาศพไปเสียบประจานไว้ ณ วัดแร้ง แต่พระศรีสินนั้นเอาไว้ ขุนวรวงศาธิราช อยู่ในราชสมบัติ ๕ เดือนขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ กับขุนนางทั้งปวงกลับเข้ามารักษาพระราชวัง
ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพจึ่งให้หลวงราชนิกูล พระรักษมนเทียร และเจ้าพนักงานทั้งปวง เอาเรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ไปยัง วัดราชประดิษฐาน อัญเชิญพระเทียรราชาให้ปริวรรตลาผนวช แล้วเชิญเสด็จลงเรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ อลงการประดับด้วยเครื่องสูงมยุรฉัตร พัดโบก จามรมาศ ดาดาษด้วยเรือดั้งกัน แห่เป็นขนัดแน่นโดยชลมารควิถี เสด็จถึงประทับฉนวนน้ำ แล้วเชิญเสด็จเข้าสู่ พระราชวัง ครั้นได้มหาหุติวารศุภฤกษ์พิชัยฤทธิ์ จึ่งประชุม สมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะคามวาสีอรัญวาสี มุขมาตยามน ตรี กวีโหราราชครู หมู่พราหมณ์ปุโรหิตาจารย์ ก็โอมอ่านอิศวรเวทวิษณุมนต์ พร้อมทั้งพุทธจักรอาณาจักร มอบเครื่องเบญจราชกกุธ ภัณฑ์ ถวายอภิเษโกทกมุรธารา ปราบดาภิเษกถวัลยราชประเพณีสืบสุริยวงศ์กษัตริย์ ดำรงแผ่นดินพิภพมณฑลเสมาอาณาจักรกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมพระราชนิเวศมหาสถานสืบไป ทรงพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า
ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพ จึงพาเอาตัวพระศรีสินไปถวายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ทรงพระมหากรุณาการุญภาพเลี้ยงพระศรีสินไว้ ครั้นรุ่งขึ้นจึงเสด็จออกจากหมู่มุขมนตรีทั้งปวงพร้อมแล้ว ตรัสปรึกษาความชอบขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ บ้านลานตากฟ้า ๔ คนนี้เป็นปฐม คิด และพระหลวงขุนหมื่นหัวเมืองทั้งปวงเป็นช่วยราชการ พระ มหาราชครูทั้ง ๔ เชิญพระธรรมนูญหอหลวงมาปรึกษาความชอบ เอาบำเหน็จ ครั้นมหาเสนาบดีรับพระอินทราชาเข้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรีเข้าพระราชวัง ได้เอาเปรียบในบำเหน็จนั้น พระ ราชทานลูกพระสนมองค์หนึ่ง เจียดทองคู่หนึ่ง พานทองคู่หนึ่ง เต้าน้ำทอง กระบี่กั้นหยั่น และเสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว เอาคำ ปรึกษากราบบังคมทูล ทรงพระดำรัสว่าน้อยนัก คน ๔ คนนี้เอาชีวิตและโคตรแลกความชอบไว้ในแผ่นดิน แล้วตรัสว่า ขุน พิเรนทรเทพนี้เล่า บิดาเป็นพระราชวงศ์พระวรวงศ์* มารดาไซร้ เป็นพระราชวงศแห่งสมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้า ขุนพิเรนทรเทพ ปฐมคิด เอาเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ให้รับพระ ราชบัณฑูรครองเมืองพระพิษณุโลก จึ่งตรัสเรียกสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอพระสวัสดิราช ถวายพระนามชื่อพระวิสุทธิกษัตรี เป็น ตำแหน่งพระอัครมเหสีเมืองพิษณุโลก เครื่องราชูปโภค ให้ตำแหน่งศักดิ์ฝ่ายพลเรือน เรือชัยพื้นแดงพื้นดำคู่หนึ่ง และเครื่องกุกุธภัณฑ์ให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าทรงขึ้นไป เอาขุนอินทรเทพ เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช พระราชทานลูกพระสนมองค์หนึ่ง เจียดทองคู่หนึ่ง พานทองคู่หนึ่ง เต้าน้ำทองคู่หนึ่ง กระบี่กั้นหยั่น เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว เครื่องสูง เอาหลวงศรียศเป็นเจ้าพระยา มหาเสนาบดี เอาหมื่นราชเสน่หาเป็นเจ้าพระยามหาเทพ พระ ราชทานลูกพระสนมองค์หนึ่ง และเครื่องสูง เครื่องทอง เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว เจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยามหาเทพ เหมือน กันกับเจ้าพระยาธรรมโศกราช หมื่นราชเสน่หานอกราชการ ที่ยิง มหาอุปราชตกช้างตายนั้น ปูนบำเหน็จให้เป็น เจ้าพระยาภักดีนุชิตเจียดทองซ้ายขวา กระบี่บั้งทอง เต้าน้ำทอง พระราชทานลูกพระสนมเป็นภรรยา ฝ่ายพระยาพิชัย พระยาพิษณุโลกนั้น พระราชทาน บำเหน็จโปรดให้เป็นเจ้าพระยาพิชัย เจ้าพระยาสวรรคโลก พระราชทานเจียดทองซ้ายขวา กระบี่บั้งทอง เต้าน้ำทอง พระหลวงขุนหมื่นนอกนั้น พระราชทานบำเหน็จความชอบโดยอนุกรมลำดับ แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรัสหารือตำรับสาบาน ไว้ว่า กษัตริย์พระองค์ใดได้ครองพิภพภายหน้า อย่าให้กระทำแก่ญาติพี่น้องพวกพ้องพงศ์สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า และเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช เจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยา มหาเทพ ให้โลหิตไหลตกในแผ่นดิน ถ้ากษัตริย์พระองค์ใดมิได้ กระทำตามเราสาบานไว้ อย่าให้กษัตริย์พระองค์นั้นคงอยู่ใน เศวตฉัตร ครั้งนั้นได้ช้างเผือกตัวหนึ่ง
ขณะเมื่อแผ่นดินพระนครศรีอยุธยาเป็นทุรยศ ก็ปรากฏขึ้นไปถึงกรุงหงสาวดี สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีแจ้งประพฤติเหตุไป ว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เจ้าแผ่นดินพระนครศรีอยุธยา สวรรคตแล้ว เสนาบดียกพระยอดฟ้าราชกุมาร พระชนม์ ๑๑ ขวบ ขึ้นครองราชสมบัติ แม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ มารดาพระยอดฟ้ากระทำทุราจาร สามัคคีรสสังวาสด้วยขุนชินราช ให้ฆ่าพระยอดฟ้าเสีย ยกขุนชินราชขึ้นผ่านพิภพกรุงทวาราวดีศรีอยุธยา เสนาพฤฒามาตย์มีความพิโรธเคืองแค้น คิดกันฆ่าขุนชินราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์เสีย แผ่นดินเป็นจลาจล สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทรงพระราชดำริว่า ถ้าพระนครศีรอยุธยาเป็นดังนี้จริงเห็นว่าหัวเมืองขอบขัณฑเสมาและเสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวง จะกระด้างกระเดื่องมิปรกติ ถ้ายกกองทัพรุดไปโจมตีเอา เห็นจะได้พระนครศรีอยุธยาโดยง่าย ทรงพระดำริแล้วก็ตรัสให้จัดพลทหาร รบ ๓๐,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๓๐๐ ม้า ๓,๐๐๐ เศษ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็เสด็จยกทัพรุดรีบมา โดยทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ตีเมืองกาญจนบุรี จับได้กรมการ ถามให้การว่า พระนครเป็นจลาจลก็จริง แต่บัดนี้พระเทียรราชาได้ครองราชสมบัติ เสนาพฤฒามาตย์และหัวเมืองทั้งปวงเป็นปรกติพร้อมมูลอยู่แล้ว สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าได้ล่วงเกินมาแล้ว จะกลับเสียนั้นดูไม่มีเกียรติยศเลย จำจะเข้าไปเหยียบให้ถึงชานเมือง พอเห็น พระนครแล้วจะกลับ ประหนึ่งจะได้เห็นฝีมือทหารกรุงศรีอยุธยา ผู้ใดจะออกมารับทัพเราบ้าง ตรัสแล้วก็ยกไปตีเมืองสุพรรณบุรี แล้วเดินตัดทุ่งเข้าท้ายป่าโมก ข้ามพลเข้าไปตั้งค่ายหลวงตำบลลุมพลี ณ วันอังคาร ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช ๘๙๒ ปีขาล โทศก ขณะนั้นมีหนังสือเมืองสุพรรณบุรี บอกราชการเข้าไปถึงกรุง พอทัพพระเจ้าหงสาวดีก็ถึงทุ่งลุมพลีพร้อมกัน สมเด็จพระ มหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าตกพระทัย ตรัสให้เร่งพลนอกเมืองในเมืองขึ้นรักษาหน้าที่เป็นโกลาหล สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตั้งอยู่ลุมพลี ๓ วัน พอทอดพระเนตรดูกำแพงพระนครศรีอยุธยาและปราสาทราชมนเทียรแล้ว ก็เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดีโดยทางมา
ขณะเมื่อพระเจ้าหงสาวดียกทัพมานั้น ฝ่ายพระยาละแวก รู้ว่า พระนครศรีอยุธยาผลัดแผ่นดินใหม่ ก็ยกทัพรีบมาถึงเมืองปราจีนบุรี ตีจับได้คนถามให้การว่า พระเทียรราชาครองราชสมบัติเสนาบดีพร้อมมูลอยู่ พระยาละแวกก็มิอาจยกเข้ามา กวาดแต่ครัวอพยพชาวปราจีนบุรี แล้วกลับไปเมืองละแวกครั้นพระเจ้าหงสาวดียกกลับไปแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดแค้นแก่พระยาละแวกว่า กรุงหงสาวดีดูหมิ่นแล้ว เมืองเขมรมาดูหมิ่นด้วยเล่า ถ้าราชการฝ่ายหงสาวดีสงบลงเมื่อไร เรา จะแก้แค้นให้จงได้ แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ซ่อมแซมกำแพง พระนครซึ่งชำรุดปรักหักพังให้รอบคอบ แล้วให้สถาปนาที่ตำหนัก วังเป็นพระอุโบสถ และสร้างพระวิหารอารามให้นามชื่อวัดวังชัย เจ้าอธิการให้ชื่อพระนิกรม แล้วตรัสว่า เมื่อเราอุปสมบทนั้น บิณฑบาตขึ้นไปป่าโทน ป่าถ่าน ขึ้นไปจนถึงป่าชมพู อากรซึ่งขึ้นสรรพากรเป็นหลวงนั้น ให้เถรเณรไปขอเป็นกัปปิยจังหันเถิด
ศักราช ๘๙๓ ปีเถาะ ตรีศก เดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำ ทำการพระราชพิธีปฐมกรรม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช เจ้าที่ตำบลท่าแดง พระกรรมวาจาเป็นพระพฤฒิบาศ พระพิเชษฐ เป็นหัสดาจารย์ พระอินโทรเป็นธรรมการ
ศักราช ๘๙๔ ปีมะโรง จัตวาศก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ฟังข่าวราชการเมืองหงสาวดีสงบอยู่ ก็ตรัสเตรียมทัพ (ณ) เพนียด ๕๐,๐๐๐ ให้เกณฑ์หัวเมืองปักษ์ใต้เป็น ทัพเรือ ให้พระยาเยาว์เป็นแม่ทัพพระศรีโชฎึกเป็นกองหน้า
ศุภมัสดุ จุลศักราช ๑๑๕๗ ปีเถาะ สัปตศก สมเด็จบรมธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้าอยู่หัว ผู้ผ่านถวัลยราช ณ กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา เถลิงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงชำระพระราชพงศาวดาร ตั้งแต่ พระรามาธิบดีสร้างศรีอยุธยา ลำดับกษัตริย์ลงมา ๑๑ องค์ ถึงพระไชยราชา จนจับขุนวรวงศา แม่ศรีสุดาจันทร์ฆ่าเสีย แล้วหงสาวดียกทัพมาถึง แล้วกลับคืนไป พระมหาจักรพรรดิให้เตรียมกองทัพไปเมืองละแวก
ถึงวันอาทิตย์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๒ เพลาเช้า ๒ โมง ๓ บาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จ (ยก) กองทัพหลวงไปโดยทาง ปัตบองถึงเมืองละแวก ฝ่ายทัพเรือไปปากน้ำพุทไธมาศ เข้าคลอง เชิงกระชุม และกองหน้าตั้งห่างเมือง ๑๐ เส้น ทัพหลวงตั้งไกลเมือง ๑๕๐ เส้น ฝ่ายพระยาละแวกเห็นจะป้อง (กัน) เมือง ไว้มิได้ จึ่งให้มีศุภอักษรแต่งเสนาบดีถือมากราบถวายบังคมสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในลักษณะนั้นว่า ข้าพระองค์ผู้ครองเมืองกัมพูชาธิบดี ขอถวายบังคมมาแทบพระบาทบงกชมาศ สมเด็จ พระนั่งเกล้าพระองค์ผู้ทรงอิศวรภาพ เป็นปิ่นกรุงเทพทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานี บุรีรมยอุดมพระราชมหาสถาน ด้วยข้าพระองค์เป็นคนโมหจริตมิได้คิดเกรงพระเดชเดชานุภาพ และยกทัพเข้าไปกวาดเอาชาวปราจีนบุรี อันเป็นข้าขอบขัณฑเสมากรุงเทพพระมหานครมานั้น ผิดหนักหนาอยู่แล้ว ขอสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้โปรดอดโทษานุโทษแก่ข้าพระองค์เถิด อย่าเพิ่งยกพยุหโยธาเข้าหักเอาเมืองก่อนเลย งด (ไว้) ๓ วัน ข้าพระองค์จะแต่งเครื่องราชบรรณาการออกไปถวาย ขอเป็น ข้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไปตราบเท่ากัลปาวสาน
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ทรงพระการุญภาพแก่พระยาละแวก ตรัสกำหนดนายทัพนายกอง ให้งดการ ซึ่งจะเข้าหักเมืองโดยศุภอักษรพระยาละแวก ครั้นถ้วนกำหนด ๓ วัน พระยาละแวกนำเครื่องราชบรรณาการกับนักพระสุโท นักพระสุทัน อันเป็นราชบุตรออกมาเฝ้า ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเป็นข้าพระบาท สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็สิ้นความพิโรธ จึ่งตรัสแก่พระยาละแวกว่า ท่านจงรักษาแผ่นดิน กรุงกัมพูชาธิบดี โดยยุติธรรมราชประเพณีสืบมาแต่ในกาลก่อนนั้น เถิด แล้วพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า นักพระสุโทนักพระสุทันนี้ เราจะ ขอไปเลี้ยงเป็นโอรส พระยาละแวกมิอาจที่จะขัดได้ ก็โดยบัญชา พระเจ้าอยู่หัว แล้วพระยาละแวกก็ถวายบังคมลาเข้าไปเมือง จัด แจงเครื่องราชูปโภคชายหญิงให้แก่ราชบุตร แล้วก็พามาถวายกราบทูลฝาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ท่านอย่าวิตกเลย อัน บุตรท่านทั้งสองนี้เหมือนโอรสแห่งเรา พระยาละแวกมีความยินดีนัก ให้เสนาบดีไปต้อนครัวอพยพชาวปราจีนบุรีมาส่งยังค่ายหลวง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จยกกองทัพกลับมายังกรุงพระนคร ศรีอยุธยา จึ่งทรงพระกรุณาให้นักพระสุทันขึ้นไปครองเมืองสวรรคโลก
ศักราช ๘๙๕ ปีมะเส็ง เบญจศก ครั้งนั้นพระเจ้าอยู่หัว ให้แปลงเรือแซเป็นเรือชัย และเรือศรีษะสัตว์ต่าง ๆ
ศักราช ๘๙๖ ปีมะเมีย ฉศก เดือน ๘ ทำการพระ ราชพิธีมัธยม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ตำบลชัยนาทบุรี
ศักราช ๘๙๗ ปีมะแม สัปตศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปวังช้างตำบลบางละมุง ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง อนึ่งใน เดือน ๑๒ นั้น ได้ช้างเผือกพลาย ตำบลกาญจนบุรี สูง ๔ ศอก เศษ ชื่อพระคเชนทโรดม ครั้งนั้นมีข่าวมาว่า เมืองละแวกเสียแก่ญวน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแจ้งว่า นักพระสัตถายกมารบเมืองละแวก เสียบิดานักพระสุโท พระสุทันแก่ญวนแล้ว จำจะให้ ออกไปกำจัดเอาเมืองคืน ทรงพระกรุณาตรัสแก่มุขมนตรีว่าจะออกไปเมืองละแวกครั้งนี้ จะเห็นใครเป็นแม่ทัพออกไป มุขมนตรีปรึกษาพร้อมกันกราบทูลว่า เห็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอบุตรบุญธรรมที่ไปครองเมืองสวรรคโลกออกไป จะได้เอาใจชาวละแวก จึ่งมีพระราชกำหนดให้หาพระองค์สวรรคโลกลงมาเฝ้า สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า จะให้เจ้าเป็นแม่ทัพออกไป พระองค์สวรรคโลกกราบทูลว่า พระชันษาร้ายถึงฆาต สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวตรัสว่า มุขมนตรีปรึกษาพร้อมกันแล้ว ประการหนึ่งกรุง กัมพูชาธิบดีก็เป็นของเจ้าอยู่จำจะไป
ศักราช ๘๙๘ ปีวอก อัฐศก เดือน ๑๒ พระองค์สวรรค โลกเป็นแม่กอง ถือพล ๓๐,๐๐๐ พระมหามนตรีถืออาชญาสิทธิ์ พระมหาเทพถือวัวเกวียน ฝ่ายทัพเรือพระยาเยาว์เป็นนายกอง ครั้งนั้นลมขัด ทัพเรือมิทันทัพบก ทัพบกใกล้ถึงเมืองละแวก พระยารามลักษณ์ซึ่งเกณฑ์เข้ากองทัพบกนั้นเข้าบุกทัพกลางคืน ทัพญวนแต่งรับเป็นสามารถ และทัพพระยารามลักษณ์แตกมาปะทะ ทัพใหญ่ ครั้งนั้นเสียพระองค์สวรรคโลกกับคอช้าง เสียช้างม้า รี้พลเป็นอันมาก
ศักราช ๘๙๙ ปีระกา นพศก วันอาทิตย์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวัง อนึ่งในเดือน ๓ นั้น ทำ การพระราชพิธี (อา) จาริยาภิเษก และกระทำพระราชพิธีอินทราภิเษกในพระราชวัง อนึ่งในเดือน ๕ นั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าพระราชทานสัตดกมหาทาน และให้ช้างเผือกมีกรองเชิงเงิน ๔ เท้าช้าง เป็นเงิน ๑,๖๐๐ ชั่ง ราชรถ ๗ เล่มเทียมด้วยม้า มีนางสำหรับรถเสมอรถละ ๗ นาง อนึ่งได้ ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง
ศักราช ๙๐๐ ปีจอ สัมฤทธิศก เสด็จไปวังช้างตำบลแสนตอ ได้ช้างพลายพัง ๔๐ ช้าง
ศักราช ๙๐๒ ปีชวด โทศก เสด็จไปวังช้างตำบลวัดกะได ได้ช้างพลายพัง ๕๐ ช้าง
ศักราช ๙๐๔ ปีขาล จัตวาศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย ได้ช้างพลายพัง ๗๐ ช้าง
ลุศักราช ๙๐๕ ปีเถาะ เบญจศก สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ทรงพระดำริว่า ครั้งก่อนเรายกทัพรุดไปพระนครศรีอยุธยา พล แต่ ๓๐,๐๐๐ ล่วงเข้าตั้งถึงชานเมืองตำบลลุมพลี หามีผู้ใดมาปะทะมือไม่ แต่หากทว่าพลน้อย จะทำการช้าวันมิถนัด ครั้งนี้จะยก ทัพไปให้มาก ๑๐ เท่า ก็เห็นจะได้พระนครศรีอยุธยา สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดีทรงพระดำริแล้ว เกณฑ์พล ๓๐ หมื่น ช้างเครื่อง ๗๐๐ ม้า ๓,๐๐๐ ให้พระมหาอุปราชาเป็นกองหน้า พระเจ้าแปร เป็นเกียกกาย พระยาพสิมเป็นกองหลัง
ครั้น ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ เพลาอุษาโยค สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ทรงเครื่องศิริราชปิลันธนาลังกาภรณ์ บวรมหาสังวาลเนาวรัตนสะพักพระอังสาอลงกตอังคาพยพอย่างอัครราชรามัญวิสัย สำหรับมหาพิชัยรณรงค์เสร็จ เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพลายมงคลปราบทวีปเป็นราชพาหนะ ประดับเครื่อง คเชนทราลังกาภรณ์ บวรมหาสารวิภูษิต พร้อมด้วยเสนางคนิกร พิริยโยธาหาญ พลดาบดั้งดาบเขนเป็นขนัดแน่น แสนเสโล โตมรมาศ ทวนทอง เป็นทิวแถวดาษดา ดูมโหฬารเลิศพันลึกอธึกด้วยธวัธธงฉานธงชัย รุจิตไพโรจน์อัมพรวิถีเดียรดาษด้วยทัพ ท้าวพระยารามัญราชรายเรียงเป็นระยะ โดยกระบวนพยุหยาตรา หน้าหลังทั้งปวงพร้อมเสร็จ ได้เพลามหาศุภฤกษ์ โหราธิบดีลั่น ฆ้องชัย เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์กังสดาลดนตรีศัพท์ฆ้อง กลองก้องสนั่นนฤนาท ดำเนินธงคลาพยุหโยธาทัพออกจากกรุง หงสาวดี รอนแรมมา ๗ วัน ข้ามแม่น้ำเมาะตะมะเดินทัพโดยทางสะมิ
ขณะนั้นมีหนังสือบอกมาแต่เมืองกาญจนบุรีเข้ามาว่า ชาวด่านไปถีบด่านถึงตำบลจอยยะได้เนื้อความว่า สมเด็จพระเจ้า หงสาวดียกมาข้ามพ้นเมืองเมาะตะมะถึง ๗ วัน จึ่งสิ้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ราชาธิราชเจ้า ตรัสให้เทครัวเมืองตรีจัตวา และแขวงจังหวัดเข้าพระนคร แล้วมีพระราชกำหนดขึ้นไปถึงเมือง พิษณุโลกว่า ถ้าศึกหงสาวดีมาติดพระนครศรีอยุธยา เมื่อใดให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาเอาทัพเมืองเหนือทั้งปวงเป็นทัพขนาบ แล้วตรัสให้พระยาจักรีออกตั้งค่ายลุมพลี พล ๑๕,๐๐๐ ล้วนใส่เสื้อแดงหมวกแดง
ฝ่ายมหานาคบวชอยู่วัดภูเขาทอง สึกออกตั้งค่ายกันทัพ เรือ ตั้งค่ายแต่วัดภูเขาทองลงมาจนวัดป่าพลู พรรคพวกสมกำลัง ญาติโยมทาสชายทาสหญิงของมหานาค ช่วยกันขุดคูนอกค่ายกันทัพเรือ จึ่งเรียกว่าคลองมหานาค เจ้าพระยามหาเสนาถือพล ๑๐,๐๐๐ ออกตั้งค่ายบ้านดอกไม้ป้อมท้องนาหันตรา พลใส่เสื้อ เขียวหมวกเขียว พระยาพระคลังถือพล ๑๐,๐๐๐ ตั้งป้อมท้ายคูพลให้ใส่เสื้อเหลืองหมวกเหลือง พระสุนทรสงครามถือพล ๑๐,๐๐๐ ตั้งค่ายป้อมจำปา พลใส่เสื้อดำหมวกดำ และบรรดาการพระนคร นั้นก็ตกแต่งป้องกันเป็นสามารถ
ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ยกทัพข้ามกาญจนบุรี ถึงพระ นครศรีอยุธยา ณ วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๔ ตั้งค่ายหลวงตำบล กุ่มดอง ทัพพระมหาอุปราชาตั้งค่ายตำบลเพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งค่ายตำบลบ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพสิมตั้งค่าย ตำบลทุ่งประเชด