พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์

พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์

    จุลศักราช ๑๒๕๕ ตัว ปีมะเส็งเป็นเดือน ๑๑ แรม ๓ ค่ำ วันเสาร์ องค์เป็นเจ้ากัติยะได้สร้างตำนานเมืองแผนเมือง และโศกเมือง และอัครนามตามโบราจริยมาดังนี้ ให้พิจารณาเอาเทอญ

อันนี้แผนเมืองฉบับหนึ่งแล

    ศักราชได้ ๕๗ ปีไค้ (กุน) เจ้าองค์หล่อนิพพานต์
    ศักราชได้ ๖๐ ทัศ ปียี (ขาล) พระไชยเข้าเมือง
    ศักราชได้ ๖๘ ปีเส็ด (จอ) จันธุลงโขน
    ศักราชได้ ๖๙ ปีไค้ (กุน) น้ำท่วมหลวง
    ศักราชได้ ๗๐ ทัด ปีไจ้ (ชวด) อาชญาเจ้าทั้งสองขึ้นตั้งทรายฟอง
    ศักราชได้ ๗๔ ปีสี (มะโรง) ไฟไฟม้ทุ่งฝน
    ศักราชได้ ๘๐ ทัด ปีเส็ด (จอ)เมืองฮมคด (กบฏ) กวาดครัวออก
    ศักราชได้ ๘๘ ปีซะง้า (มะเมีย) เศิกเพี้ยฮม
    ศักราชได้ ๙๒ ปีเส็ด (จอ) พนมแตกทีก่อน
    ศักราชได้ ๙๔ ปีสี (มะโรง) พนม ผ้าขาว (เมืองผาขาว) พนาง (เมืองพันนา) แตก
    ศักราชได้ ๑๔ ตัว ปีเส็ด (จอ) อากาศสูนตะวันมืดปีนั้น (สุริยคราส) อาชญาเจ้านิพพานก็แม่นปีนั้นแล
    ศักราชได้ ๑๗๐ ตัว ปีเป่า (ฉลู) เจ้าองค์หลวงนิพพาน
    ศักราชได้ ๑๘๐ ตัว ปีมด (มะแม) อาชญาเจ้าบุญได้เวียงจันทน์
    ศักราชได้ ๑๒๐ ทัศ ปียี (ขาล) ปาศักแตก (จำปาศักดิ์)
    ศักราชได้ ๑๒๔ ปีมด (มะแม) ครัวแสนนครไชยแตก ขึ้นเวียงจันทน์
    ศักราชได้ ๑๒๘ ปีเส็ด (จอ) แผ่นดินไหว เศิกหมื่นจุมก็แม่นปีนั้นแล
    ศักราชได้ ๑๒๙ ปีไค้ (กุน) แกวม้างเมืองละคร (นครพนม)
    ศักราชได้ ๑๓๔ ปีสี (มะโรง) เจ้าวง (เจ้าสุริยงศ์) เมืองหลวง (หลวงพระบาง) มาเลว (รบ) เวียงจัน แผ่นดินไหวก็แม่นปีนั้น เศิกผ้าขาวเป็นปีเก่าเท่าฮอดปีใหม่
    ศักราชได้ ๑๓๙ ปีเมิงเฮ้า (ระกา) บาศักแตกเดือน ๔ อาชญาปาศักดิ์เข้าเมืองไทยเดือน ๗
    ศักราชได้ ๑๔๐ ทัด ปีเส็ด (จอ) เจ้าพระวอแลเมืองละครแตก เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันจันทร์
    ศักรราชได้ ๑๔๑ ปีกัดไค้ เวียงจันแตก
    ศักราชได้ ๑๔๒ ปีไจ้ (ชวด) เจ้าเวียงจันคืน (กลับมาเมือง) เดือนเจียง (อ้าย)
    ศักราชได้ ๑๔๕ ปีกาเม่า (เถาะ) สังฆะเมืองลาวเข้าเมืองไทย
    ศักราชได้ ๑๔๘ ปีซะง้า (มะเมีย) อาชญาเจ้านันท์ได้เมืองพวนแล
    ศักราชได้ ๑๔๙ ปีมด (มะแม) แกวเบียนยาก (ญวนเบียดเบียน)
    ศักราชได้ ๑๕๐ ทัด ปีสัน อาชญาเจ้านันท์ได้เมืองหลวง (หลวงพระบาง) แล
    ศักราชได้ ๑๕๓ ปีไค้ (กุน) เจ้าปาสักนิพพาน เมืองเวียงจัน เมืองละคร เจ้าสมพมิตแตกแกวก็แม่นปีนั้นแล
    ศักราชได้ ๑๕๖ (ขาล) ไทยเอาเจ้านันท์ใส่ซีก (ตรวน)
    ศักราชได้ ๑๕๙ ปีไส้ เจ้าอินมาม้าง (รื้อ) กอนงัว
    ศักราชได้ ๑๖๓ ปีฮวงเฮ้า (ระกา) เจ้าอินแลเจ้าปาสัก แลหัวเมืองทั้งหลายมาพัง (ทำลาย) โพค้ำแต่ปีเก่าเท่าฮอด (จนถึง) ปีใหม่ 
    ศักราชได้ ๑๖๔ ปีเส็ด (จอ) แกวมาแต่ใต้ 
    ศักราชได้ ๑๖๕ ปีไค้ (กุน) เจ้าบางกอกองค์น้องนิพพาน เจ้าอึ่งก็นิพพาน คนทั้งหลายตัดผมก็แม่นปีนั้นแล 
    ศักราชได้ ๑๖๒ ตัว ปีกาบไจ้(ชวด)อาชญาแม่เจ้าบังมุก (มุกดาหาร) จุติ (ตาย) แล 
    ศักราชได้ ๑๖๘ ตัว ปียี (ขาน) เจ้าอนุ แลเมืองนคร (พนม) แลบังมุก(มุกดาหาร) สร้างขัว (สพาน) ในพระมหาธาตุวัดท่งบ่ทันแล้ว 
    ศักราชได้ ๑๖๙ ปีเม่า (เถาะ) เจ้าอนุเวียงจัน กลับเมืองละครบังมุก (มุกดาหาร) พร้อมกันฉลองขัว (สะพาน) ในพระมหาธาตุแลวัดท่ง (ทุ่ง) เสตสัด (เศวตฉัตร) ธาตุหักก็แม่นปีนั้น อาชญาเจ้าบังมุก (มุกดาหาร) จุติ (ตาย) ก็แม่นปีนั้น 
    ศักราชได้ ๑๗๑ ตัว ปีไส้ (มะเส็ง) เจ้าบางกอกผู้พี่ก็ จุติ(สวรรคต) แล 
    ศักราชได้ ๑๗๓ ตัว ปีมด (มะแม) เจ้าน่า (เจ้าฝ่ายหน้า) (จำ)ปาสักจุติ แลพื้นบาทเจ้านุ (เจ้านู) นิพพานก็แม่นปีนั้นแล 
    ศักราชได้ ๑๗๔ ตัว ปีเตาสัน (วอก) เจ้ามหาชีวิตเวียงจันทน์ลงมาฉลองหอพระในพระมหาธาตุ แลแผ่นดินไหวเดือน ๕ แรม ๑๑ ค่ำวันเสาร์ก็แม่นปีนั้น 
    ศักราชได้ ๑๗๗ ตัว ปีฮับไค้ (กุน) อาชญาเจ้าอุปฮาดบังมุกจุติ เดือน ๑๐ (แรม ๑๕ ค่ำ) วันพุธ เจ้าเมืองค่ำทองหนีจากเมืองขึ้นมาถึงบังมุกก็แม่นปีนั้นแล 
    ศักราชได้ ๑๗๘ ตัว ปีฮวยไจ้ (ชวด) กักแห้งแล้งหลวง คนทั้งหลายตายอึด (อด) เข้าแล 
    ศักราชได้ ๑๗๙ ตัว ปีเป้า (ฉลู) อาชญาเจ้าบางกอกองค์น้องนิพพานน้ำท่อมหลวงก็แม่นปีนั้นแล 
    ศักราชได้ ๑๘๑ ตัว ปีเม่า (เถาะ) ข่ามาจุด (เผา) เมืองปาสัก เมืองอัตปือแตกปีนั้น 
    ศักราชได้ ๑๘๓ ตัว ปีไส้ (มะเส็ง) คนตายพากหลวง (อหิวาตกโรค) ในเมืองลานช้างก็แม่นปีนั้น 
    ศักราชได้ ๑๘๔ ตัว ปีสง้า เจ้าเวียงจันให้ลูกชายลงไปนั่งเมืองปาสัก (นครจำปาศักดิ์) เดือนเจียง (เดือนอ้าย) แต่ปีเก่าเท่าฮอด (ถึง) ปีใหม่ 
    ศักราชได้ ๑๘๕ ตัว ปีมด (มะแม) ไทยออกมาสักเลกเมืองลาวทั้งหลาย นอกกว่า (เว้นแต่) เวียงจันทน์แต่ปีเก่าเท่าฮอดปีสัน (วอก) 
    ศักราชได้ ๑๘๖ ปีสัน (วอก) เจ้าบางกอกนิพพานเดือน ๙ ขึ้น ๖ ค่ำ วันพุธ 
    ศักราชได้ ๑๘๙ ปีไค้ (กุน) เจ้าเวียงจันยกกำลังไปตีไทย เดือนสามบ่ได้ จึงทบ (กลับ) คืนมาฮอดเวียงจันทน์ 
    ศักราชได้ ๑๙๐ ปีไจ้ (ชวด) เดือน ๖ แรม ๒ ค่ำวันศุกร์ เวียงจันทน์จึงแตกคืนมาอยู่เมืองมหาไชยฮอดเดือน ๘ เจ้าเวียงจันทน์จึงลงมาอยู่เมืองแกว 
    ศักราชได้ ๑๙๑ ปีเป้า (ฉลู) เจ้าเวียงจันเสด็จคืนเมือฮอดเมือง (ถึง) เดือน ๑๑ ไทยจึงได้เจ้าเวียงจันทน์แล 
    ศักราชได้ ๑๙๕ ตัวปีไส้ เศิกไทยมาตีเมืองมหาไชยแตก เดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันอังคารแล