พงศาวดารเมืองปัตตานี

พงษาวดารเมืองปัตตานี

€ เดิมเมืองแขกเมื่อครั้งยังเปนเมืองปัตตานีเมืองเดียว เจ้าเมืองแลภรรยาชื่อมิได้ปรากฏ ได้ความว่ามีแต่บุตรชายคนหนึ่งแต่ยังเล็ก ครั้นอยู่มาเจ้าเมืองปัตตานีตายลง ภรรยาของพระยาปัตตานีก็ว่าการเปนเจ้าเมืองแทนขึ้น เวลานั้นบ้านเมืองหรือที่เรียกกันว่าเมืองปัตตานีนั้น ตั้งอยู่ในตำบลบ้านมะนาติดต่อกันกับบ้านโต๊ะโสมบ้านกะเสะฝ่ายตวันออก แต่บ้านพระยาปัตตานีเดี๋ยวนี้ ห่างกันทางประมาณสี่สิบเส้นเศษ ริมทาง ที่จะไปเมืองยิริง ในระหว่างภรรยาเจ้าเมืองปัตตานีว่าการเปนเจ้าเมืองอยู่นั้น สมมุติเรียกกันว่านางพระยาปัตตานี ศรีตวันกรมการพลเมืองในอาณาเขตร เมืองปัตตานีก็อยู่ในบังคับบัญชานางพระยาปัตตานี เรียบร้อยเหมือนอย่างพระยาปัตตานีสามีว่าการอยู่แต่ก่อน นางพระยาปัตตานีได้จัดแจงหล่อปืนทองเหลืองใหญ่ไว้สามกะบอก ตำบลที่หล่อปืนนั้นริมบ้านกะสะ ก่อด้วยอิฐเปนรูปโบถขึ้นหลังหนึ่งสามห้องเฉลียงรอบ แม่ปะธานกว้างประมาณหกศอก ยาวสิ้นตัวเฉลียงสี่วาเศษ เครื่องบนแลพื้นในเวลานี้ชำรุดหมด ยังเหลือแต่ฝาผนัง แลฝาผนังเฉลียงนั้นก่อเปนโค้งทั้งสี่ด้าน พื้นแม่ปะธานสูงประมาณสองศอกเศษ พื้นเฉลียงสูงประมาณสองศอก ที่สุเหร่าก่อด้วยอิฐนี้ มลายูในแหลมปัตตานีเรียกชื่อว่าสับเฆ็ด ห่างจากสับเฆ็ดนิ้ไปฝ่ายทิศตวันออกเฉียงเหนือประมาณสองเส้นเศษ เปน ๑


๒ รอยเตาที่หล่อปืนดินที่สุกเปนรอยเค้าเตาอยู่ต้นไม้แลหญ้าไม่ได้ขึ้น กว้างประมาณแปดศอกเศษสี่เหลี่ยม พลเมืองในปัตตานีได้ทราบกันทั่วไปมาจนเดี๋ยวนี้ ว่าเปนที่หล่อปืน แลนายช่างผู้ที่หล่อปืนสามกะบอกนั้น สืบได้ความว่าเดินเปนจีนมาจากเมืองจีน เปนชาติหกเคี้ยนแส้หลิมชื่อเคี่ยม เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกะเสะ จีนเคี่ยมคนนี้มาได้ภรรยามลายู จีนเคี่ยมก็เลยเข้าสาสนามาลายูเสียด้วย พวกมลายูสมมุติเรียกกันว่าหลิมโต๊ะเคี่ยมตลอดต่อมาจนถึงทุกวันนี้ แลในตำบลบ้านกะเสะซึ่งหลิมโต๊ะเคี่ยมอยู่มาก่อนนั้น พลเมืองที่อยู่ต่อมาจนเดี๋ยวนี้ ยังนับถือหลิมโต๊ะเคี่ยมว่าเปนต้นตระกูลของพวกหมู่บ้านนั้น แลยังกล่าวกันอยู่เนือง ๆ ว่าเดิมเปนจีน หลิมโต๊ะเคี่ยมนายช่างหล่อปืนนี้มาอยู่ในเมืองปัตตานีหลายปี น้องสาวหลิมโต๊ะเคี่ยมชื่อเก๊าเนี่ยวตามมาจากเมืองจีน มาปะหลิมโต๊ะเคี่ยมที่เมืองปัตตานี อยู่เฝ้าอ้อนวอนหลิมโต๊ะเคี่ยมให้ละเสียจากเพศมลายูกลับไปเมืองจีน หลิมโต๊ะเคี่ยมก็ไม่ยอมไป เก๊าเนี่ยวซึ่งเปนน้องสาวแต่เฝ้าอ้อนวอนหลิมโต๊ะเคี่ยมมานั้นประมาณหลายปี หลิมโต๊ะเคี่ยมก็ไม่ยอมไปแขงอยู่ เก๊าเนี่ยวซึ่งเปนน้อง มีความเสียใจหลิมโต๊ะเคี่ยมผู้พี่ชายผูกคอตายเสีย ครั้นเก๊าเนี่ยวน้องสาวผูกฅอตายแล้ว หลิมโต๊ะเคี่ยมผู้พี่ก็จัดแจงศพเก๊าเนี่ยว น้องสาวฝังไว้ที่ในตำบลบ้านกะเสะ ทำเปนฮ่องสุยปรากฏอยู่ตลอดมาจนเดี๋ยวนี้ พวกจีนก็เลยนับถือว่าเปนผู้หญิงบริสุทธิ์อย่างหนึ่ง เปนคนรักชาติตระกูลอย่างหนึ่ง ได้มีการเส้นไหว้เสมอทุกปีมิได้ขาดที่ศพเก๊าเนี่ยวนี้

๓ € แลเวลาหลิมโต๊ะเคี่ยมจะหล่อปืนทองเหลืองใหญ่สามกะบอกนั้น ได้เทปืนสองกะบอกเสร็จแล้ว ปืนกะบอกที่สามเทไม่ลง หลิมโต๊ะเคี่ยมนายช่างก็ได้ตั้งการเส้นไหว้บวงสรวงแลบนบานขึ้นหลายอย่าง ปืนกะบอกที่สามนั้นก็ยังเทไม่ลง ในตอนที่สุดหลิมโต๊ะเคี่ยมมีความแค้นใจ กล่าวคำปฏิญาณว่าขอให้เทปืนครั้งนี้ลงดีแล้ว หลิมโต๊ะเคี่ยมยอมเอาชีวิตรหลิมโต๊ะเคี่ยมเส้นถวาย ครั้นกล่าวคำปฏิญาณเช่นนี้แล้ว พเอิญเทปืนลงได้เต็มบริบูรณดี ฝ่ายหลิมโต๊ะเคี่ยมนายช่างก็จัดแจงแต่งปืนสามกะบอกเกลิ้ยงเกลาเสร็จแล้ว เวลาจะลองยิงปืนสามกะบอกนั้นจัดแจงตั้งเครื่องบวงสรวงเส้นไหว้แล้วประจุปืนเข้าทั้งสามกะบอก ก็จุดปืนกะบอกที่หนึ่งที่สองเปนลำดับไป ครั้นถึงจะจุดกะบอกปืนที่สาม หลิมโต๊ะเคี่ยมนายช่างก็เข้าไปยืนตรงปากกระบอกปืน แล้วกล่าวคำว่าที่หลิมโต๊ะเคี่ยมได้ปฏิญาณไว้ ถ้าปืนกระบอกนี้เทลงดีแล้วจะเอาชีวิตรเปนเครื่องเส้นไหว้ปืน ครั้งนี้หลิมโต๊ะเคี่ยมได้ปลงใจยอมดังที่ปฏิญาณไว้แต่ก่อนแล้วก็บอกให้คนจุดปืน พอปืนลั่นออกแรงดินหอบพาหลิมโต๊ะเคี่ยมสูญหายไปในเวลานั้น แลปืนที่นางพระยาปัตตานีให้หลิมโต๊ะเคี่ยมเปนนายช่างหล่อขึ้นสามกะบอกนั้น กะบอกที่หนึ่งให้ชื่อว่านาง (บานัง ?) ปัตตานี กะบอกที่สองชื่อศรีนัครี กะบอกที่สามชื่อมหา หล่าหลอ อยู่ต่อมานางพระยาปัตตานีตาย สุลต่านในวงษ์ญาติเปนเจ้าเมืองปัตตานีขึ้น. € เวลาที่สุลต่านเปนเจ้าเมืองปัตตานีขึ้นนั้น หาได้อยู่ว่าการที่ตำบล บ้านมะนาที่นางพระยาปัตตานีว่าการอยู่เดิมไม่ สุลต่านเลื่อนไปตั้งบ้าน

๔ เรือนอยู่ในที่ตำบลบ้านยิริง ฝ่ายทิศตวันออกแต่บ้านนางพระยาปัตตานี ระยะทางเดินเท้าตั้งแต่บ้านมะนา ที่นางปัตตานีว่าการอยู่ไปถึงบ้านยิริงเจ็ดชั่วโมงครึ่ง แลบ้านที่สุลต่านไปตั้งว่าการอยู่นั้น ตรงกับท่าบ้านยิริงริมคลองเวลานั้นเปลี่ยนชื่อเปนระตู พลเมืองเรียกกันว่าระตูปะก่าลัน แปลเปนภาษาสยามเรียกว่าระตูน่าท่า แลระตูปะก่าลันคนนี้ คำเล่าฦๅกันว่าเปนคนมีสติปัญญาแลอำนาจมาก เมืองที่ใกล้เคียงก็คร้ามกลัวอยู่ € ขณะนั้น ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อจุลศักราช ๑๑๔๗ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จยกกองทัพออกไปปราบปรามศึกพม่าถึงหัวเมืองฝ่ายตวันตก ครั้นกองทัพออกไปถึงเมืองสงขลา มีข่าวเข้ามาว่าเมืองปัตตานีก่อการกำเริบขึ้นมาก โปรดเกล้า ฯ จัดให้พระยากระลาโหม พระยาเสน่หาภูธร (ทองอิน) พระยาพัทลุง (ทองขาว) หลวงสุวรรณคิรี (บุ่นฮุ้ย) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เปนทัพน่ายกออกไปตีเมืองปัตตานี ได้สู้รบกันกับระตูปะก่าลันที่ตำบลบ้านยิริง ระตูปะก่าลันสู้รบทนกองทัพมิได้ ก็อพยพแตกหนีขึ้นไปทางเมืองรามันห์ พระยากระลาโหมแม่ทัพเห็นว่า ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เปนผู้รู้จักทางก็แต่งกองรวมคนพัทลุงสงขลาให้ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เปนหัวน่าตีตามระตูปะก่าลันไป ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ตามระตูปะก่าลันไปทันที่ปลายน้ำเมืองรามันห์ริมแดนเมืองแประได้สู้รบกันในตำบลนั้น ระตูปะก่าลันถูกกระสุนปืนตาย ในระหว่างนั้นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จยกทัพเรือไปตั้งอยู่ที่ปากอ่าวเมืองปัตตานี ครั้นพระยา

๕ กระลาโหมกองทัพน่าตีระตูปะก่าลันแตก แลได้ศีศะระตูปะก่าลันมาแล้ว พระยากระลาโหม พระยาเสน่หาภูธร (ทองอิน) พระยาพัทลุง (ทองขาว) หลวงสุวรรณคิรี (บุ่นฮุ้ย) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) พร้อมกันลงไปเฝ้าในเรือพระที่นั่งน่าเมืองปัตตานีทูลแจ้งราชการ รับสั่งให้นำปืนใหญ่สองกะบอกที่เก็บได้ลงมาเรือจะเอาเข้ามากรุงเทพ ฯ ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ได้จัดแจงเรือบรรทุกปืนนำลงไปถวาย ปืนกะบอกที่หนึ่งชื่อนางปัตตานีนั้นออกไปถึงเรือหลวงก่อน ได้ยกปืนขึ้นบนเรือหลวงเสร็จแล้ว เรือที่บรรทุกปืนกะบอกที่สองซึ่งชื่อศรีนัครีตกอยู่ข้างหลัง เกิดพยุเรือที่บรรทุกปืนกะบอกที่สองชื่อศรีนัครีล่มลง ปืนก็จมน้ำสูญหายไปด้วย กรมพระราชวังบวรสถานมงคล โปรดเกล้า ฯ ให้ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เปนผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี ยกคนไทยเลขส่วยดีบุกเมืองสงขลา เมืองพัทลุง เมืองจะนะ ซึ่งเปนญาติพี่น้องหรือพรรคพวกปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ให้อยู่เปนกำลังรักษาราชการเมืองปัตตานีห้าร้อยครัวเศษ ครั้นทรงจัดการเมืองปัตตานีเสร็จแล้วเสด็จกลับกรุงเทพ ฯ หลวงสุวรรณคิรี (บุ่นฮุ้ย) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ก็ตามเสด็จเข้ามากรุงเทพ ฯ ด้วย โปรดเกล้าฯ ให้หลวงสุวรรณคิรี (บุ่นฮุ้ย) เปนพระยาสงขลา โปรดเกล้า ฯ พระราชทานตราตั้งให้พระยาสงขลา ( บุ่นฮุ้ย ) เชิญออกไปพระราชทานให้ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เปนพระยาปัตตานี แลโปรดเกล้า ฯ ให้เมืองสงขลาเปนเมืองตรีขึ้นกับกรุงเทพ ฯ โปรดเกล้าฯ ให้เมืองจะนะ เมืองเทพา เมืองปัตตานี อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลา

๖ ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ครั้นได้รับพระราชทานตราตั้งเปนพระยาปัตตานีแล้ว ได้ตั้งบ้านเรือนว่าราชการอยู่ในตำบลบ้านมะนา ในปากอ่าวลำน้ำเมืองปัตตานีฝ่ายทิศตวันออก ในที่ตำบลนั้นสมัยนี้พลเมือง เมืองปัตตานีเรียกกันว่า อ่าวนาเกลือ ในระหว่างพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองก็เปนการปรกติเรียบร้อย ครั้นพระยาสงขลา (บุ่นฮุ้ย) ถึงแก่อนิจกรรมลง โปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงนายฤทธิ์ (เถี้ยนจ๋อง) หลานซึ่งรับราชการอยู่ในกรุงเทพฯ เปนพระยาสงขลา ในระหว่างพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ว่าราชการเมืองสงขลาอยู่นั้น พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้นายพ่าย น้องร่วมบิดามารดาแต่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) เปนพระยาปัตตานี ตั้งให้นายยิ้มซ้ายบุตรพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) เปนหลวงสวัสดิภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานี ครั้นพระยาปัตตานี (พ่าย) ได้ว่าราชการเมืองปัตตานีขึ้น หาได้ว่าราชการอยู่ที่บ้าน พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ไม่ เลื่อนไปตั้งว่าราชการอยู่ที่บ้านย้ามู ฝ่ายทิศตวันออกแต่บ้านพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ห่างออกไปทางเดินเท้าประมาณสามชั่วโมงเศษ ในระหว่างพระยาปัตตานี (พ่าย) ไปว่าราชการอยู่ที่บ้านย้ามูนั้น พวกสาเหยดหนึ่ง พวกรัตนาวงหนึ่ง เปนคนชาติมลายูคบคิดกันเปนโจรเข้าตีปล้นบ้านพระยาปัตตานี (พ่าย) บ้าง บ้านหลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ผู้ช่วยราชการบ้าง พระยาปัตตานี (พ่าย) หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ได้สู้รบพวกสาเหยด พวกรัตนาวง พวกสาเหยดพวกรัตนาวงสู้พระยาปัตตานี (พ่าย) หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย)

๗ มิได้ แตกหนีขึ้นไปซ่อนอยู่ทีตำบลบ้านกะลาภอ ที่เปนหัวน่าหรือตัวนายก็เข้าไปเมืองสงขลาลุกะโทษต่อพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ก็ยกโทษให้พวกสาเหยดพวกรัตนาวงเปนภาคทัณฑ์ไว้ แลจัดแยกให้พวกสาเหยดพวกรัตนาวงเปนกองส่งชันส่งหวายขึ้นอยู่กับเมืองสงขลา คนประมาณสี่ร้อยครัวเศษ แลให้อยู่ที่ตำบลบ้านกะลาภอเปนแขวงหนึ่ง ตัวนายหรือหัวน่านั้นตั้งให้เปนแม่กองคุมเลขในกองพวกนี้ ด้วยเห็นว่าถ้าจะบังคับให้พวกสาเหยด พวกรัตนาวงไปอยู่ในบังคับพระยาปัตตานี (พ่าย) อิกกลัวจะไม่สิ้นความพยาบาท จะเกิดวิวาทรบกวนไม่รู้แล้ว จึ่งได้จัดพวกนี้ให้แยกขึ้นเสียกับเมืองสงขลากองหนึ่ง พวกสาเหยดพวกรัตนาวงซึ่งแยกเปนกองส่งหวายส่งชันขึ้นกับเมืองสงขลาแล้ว ก็เรี่ยรายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในแขวงบ้านหนองจิกบ้างยิริงบ้าง เหตุด้วยในแขวงตำบลที่กะลาภอไม่มีที่จะทำนา หัวน่าที่เปนแม่กองคุมอยู่นั้น ครั้นถึงกำหนดจะส่งหวายส่งชันกับเมืองสงขลาแล้ว ก็เที่ยวเรียกไปตามบาญชี เรียกชันเรียกหวายส่งกับเมืองสงขลาตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ ในระหว่างพระยาปัตตานี (พ่าย) ว่าราชการเมืองอยู่ ในอาณาเขตรเมืองปัตตานีเกิดโจรผู้ร้ายเที่ยวตีปล้นบ้านเรือนชุกชุม พระยาปัตตานี (พ่าย) ปราบปรามไม่สงบลงได้ ก็บอกหนังสือแจ้งราชการเข้ามาเมืองสงขลา . พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ก็นำหนังสือบอกเข้ามากรุงเทพ ฯ € โปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยสงคราม กับพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ออกไปแยกเมืองปัตตานีเปนเจ็ดเมือง พระยาอภัยสงคราม พระยา

๘ สงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ครั้นออกไปถึงเมืองปัตตานีแล้ว ก็แยกออกเปนเมืองปัตตานีหนึ่ง เปนเมืองยิริงหนึ่ง เปนเมืองสายบุรีหนึ่ง เปนเมืองหนองจิกหนึ่ง เปนเมืองรามันห์หนึ่ง เปนเมืองระแงะหนึ่ง เปนเมืองยะลาหนึ่ง € เขตรแดนเมืองปัตตานีรอบตัวนั้น ฝ่ายเหนือจดทเล ฝ่ายใต้ต่อพรมแดนเมืองรามันห์เมืองยะลา มีหลักเรียงรายไปจนถึงหลักห้า ฝ่ายตวันตกต่อพรมแดนเมืองหนองจิก เอาปากคลองบางหมอเปนแดนขึ้นไปคลองบ้านดอนรัก จดต้นตะเคียนใหญ่บ้านคลองขุด ปลายคลองขุดเปนคลองเล็ก ขึ้นไปถึงบ้านกะหรั่งตลอดไปคลองใหญ่ที่เรียกว่า คลองวัว คลองวัวแลพ้นคลองวัวไปทิศใต้เรียกว่าอะเนาะบุโหละ ในระหว่างคลองวัวกับอะเนาะบุโหละคนละฟากคลอง ฟากตวันออกเปนเมืองปัตตานี ฟากตวันตกเปนเขตรเมืองหนองจิก ทิศตวันออกต่อพรมแดนเมืองยิริง ตั้งแต่อ่าวโตนดริมทเลลงไปทิศใต้ ปักหลักเรียงขึ้นไปจนถึงต้นพิกุลใหญ่ริมบ้านโต๊ะโสมริมบ้านกะดี ปักหลักเรียงลงไปถึงต้นยางขาคีมหว่างบ้านสิโต๊ะบ้านอะโห บ้านอะโหเปนเขตรเมืองปัตตานี บ้านสิโต๊ะเปนเขตรเมืองยิริง สิ้นเขตรเมืองปัตตานี € เขตรแดนเมืองยิริงรอบตัว ฝ่ายเหนือจดทเล ฝ่ายตวันออกต่อพรมแดนเมืองสายบุรี ปักหลักแลปลายคลองตายบ่อหม่าหังพรุกะจูดเขาน้อยเขาโต๊ะชูดคลองน้ำโพรงจรเข้เขาทองเปนแดน ฝ่ายใต้ปักหลักที่นาดำต่อพรมแดนเมืองรามันห์ ตั้งแต่หลักห้าที่นาดำตรงไป ตวันออกมีคลองน้ำแม่ครกไปจนถึงลำห้วยสะโหระ ตั้งแต่ลำห้วย

๙ สะโหระปักหลักเรียงไปจนถึงบ้านตรัง ฝ่ายตวันตกต่อพรมแดนเมืองปัตตานี ตั้งแต่อ่าวโตนดริมทเลลงไป ทิศใต้ปักหลักเรียงขึ้นไปจนถึงต้นพิกุลใหญ่หว่างบ้านโต๊ะโสมบ้านกะดี ปักหลักเรียงลงไปถึงต้นยางขาคีมหว่างบ้านสิโต๊ะบ้านอะโห ตั้งแต่บ้านอะโหเรียงลงไปถึงต้นมะม่วงใหญ่ตวันตกบ้านเกาะล่ากา ปักหลักเรียงลงไปถึงบ้านก่อหวายบ้านสะตาลบ้านประดู่ ลงไปถึงบ้านน้ำใสตลอดไปหลักห้าเพียงบ้าน นาดำ สิ้นเขตรเมืองยิริง € เขตรแดนเมืองสายบุรีรอบตัว ฝ่ายเหนือจดทเล ฝ่ายตวันออก ปักหลักที่คลองน้ำย้ากัง ตั้งแต่ทเลเรียงไปปักหลักบ้างมีต้นไม้ใหญ่บ้าง เปนเขตรจนจดคลองตรวบ ฝ่ายตวันออกเปนเขตรเมืองกลันตัน ฝ่าย ตวันตกเปนเขตรเมืองสายบุรี ฝ่ายใต้มีเขาใหญ่ที่ยาวไปตวันออกตวันตกเปนเขตรแดน พ้นเขาปักหลักที่บ้านยิ้งอเรียงไปตวันออกปักหลักบ้าง ต้นไม้ใหญ่บ้างจนจดคลองตรวบ ฝ่ายเหนือเปนเขตรเมืองสายบุรี ฝ่ายใต้เปนเขตรเมืองระแงะ ฝ่ายตวันตกมีปลายคลองตายเปนเขตรต่อพรมแดนเมืองยิริง ปักหลักแต่พรุกะจูดตลอดไปถึงบ่อหม่าหังเรียงขึ้นไปพรุใหญ่ มีต้นไม้ใหญ่ปักหลักไปถึงคลองน้ำโพรงจรเข้เขาน้อยต่อพรมแดนที่กะลาภอ ฝ่ายตวันออกเฉียงใต้ไปถึงเขามุโดเปนเขตรตลอดไปคลองฆอหลอกะปัดต่อพรมแดนเมืองรามันห์ สิ้นเขตรเมืองสายบุรี € เขตรแดนเมืองระแงะรอบตัว ฝ่ายเหนือมีภูเขาใหญ่ที่ขวางยาวไปตวันออกตวันตกเปนเขตรแดน ปักหลักบ้างมีต้นไม้ใหญ่บ้างเรียง

๑๐ ไปจนจดคลองตรวบ ฝ่ายเหนือเปนเขตรเมืองสายบุรี ฝ่ายใต้เปนเขตรระแงะ ฝ่ายตวันตกเขาหลิหยอเปนแดนลงมาแบ๊หงอปักหลักบ้างมีต้นไม้ใหญ่บ้าง มีสายห้วยน้ำตลอดขึ้นมาบ้านสุเปะบ้านปะฆอหลอ ปักหลักบ้างมีต้นไม้ใหญ่บ้างมีเขาบ้าง เรียงไปจนถึงคลองตามะหันต่อพรมแดนเมืองสายบุรี ฝ่ายตวันออกคลองตรวบเปนแดนตลอดขึ้นไปบ้านโต๊ะเดะ ปักหลักตั้งแต่บ้านโต๊ะเดะไปถึงพรุ สิ้นพรุเปนลำห้วยเรียกว่าอาเหอิหนอ เปนคลองเขตรแดนตลอดไปถึงตกหมกเหมืองทอง ฝ่ายตวันออกต่อพรมแดนเมืองกลันตัน ฝ่ายใต้ไม่มีหลักลงไปตวันตกเฉียงใต้ตลอดไปบะโลมจดคลองน้ำเมืองแประ ตั้งแต่ตกหมกไปฝ่ายตวันออกเฉียงใต้ เปนป่าดงใหญ่ตลอดไปไม่มีหลักไม่มีสำคัญ สิ้นเขตรเมืองระแงะ € เขตรแดนเมืองรามันห์รอบตัว ฝ่ายเหนือปักหลักที่นาดำต่อพรมแดนเมืองยิริง เรียงไปต่อพรมแดนเมืองปัตตานี ตลอดไปถึงเขาปะราหมะต่อพรมแดนเมืองยะลา เรียงไปจนถึงปะฆอหลอสะเตาะเหนือกำปงจินแหร ปักหลักไปถึงบ้านกาลั่นอะหรอจดคลองใหญ่ท่าสาบไปตามลำคลองคนละฟาก ฟากเหนือเปนเขตรเมืองยะลา ฟากใต้เปนเขตรเมืองรามันห์ จนถึงบ้านบะนางสะตา ฝ่ายตวันตกต่อพรมแดนเมืองไทรบุรี มีเขาสะปะเหลาะที่ขวางอยู่นั้นเปนเขตรแดนมีต้นไม้ใหญ่มีคลองน้ำมีเขาบ้าง ฝ่ายตวันตกเฉียงใต้ตลอดไปถึงเขามะนะเสาะ มีเขาเนื่องกันไปในที่ยารม มีห้วยน้ำแลต้นไม้ใหญ่ตลอดไปต่อพรมแดนเมืองแประ ฝ่ายตวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่คลอง

๑๑ น้ำเมืองแประ ตลอดไปคลองน้ำบะโลมจดตกหมกเหมืองทองแขวงเมืองระแงะ ฝ่ายตวันออกตั้งแต่เขาหลิหยอลงมาปักหลักบ้างมีต้นไม้ใหญ่บ้าง จนถึงลำห้วยแบ๊หงอต่อพรมแดนเมืองระแงะ ปักหลักตลอดถึงบ้านสุเปะ บ้านปะฆะหลอจดคลองก่าบู ปักหลักไปจดเขามุโดเรียงลงมาฆอหลอกะปัดต่อพรมแดนเมืองสายบุรี ตลอดมาถึงบ้านตรังบ้านท่าทุ่งต่อพรมแดนเมืองยิริง สิ้นเขตรเมืองรามันห์ € เขตรแดนเมืองยะลารอบตัว ตวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่เขาปะราหมะ ปักหลักเรียงลงไปตวันออกถึงปะฆะหลอสะเตาะเหนือบ้านจินแหร ตลอดไปถึงบ้านกะลั่นอะหรอจนถึงคลองใหญ่ท่าสาบจดบ้านบะนางสะตา ฟากเหนือเปนเขตรเมืองยะลา ฟากใต้เปนเขตรเมืองรามันห์ ฝ่าย ตวันออกเฉียงเหนือต่อพรมแดนเมืองปัตตานี ตั้งแต่ตะโหละเปาะย้านิงมีสายห้วยไปจดคลองน้ำท่าสาบ ฟากคลองตวันตกเปนเขตรเมืองยะลา ฟากคลองตวันออกเปนเขตรเมืองปัตตานี ฝ่ายเหนือต่อพรมแดนเมืองหนองจิก เขาศาลาคิรีเปนแดน ฝ่ายตวันตกต่อพรมแดนเมืองไทรบุรี มีคลองบาโงยเปนเขตรแดนขึ้นไปถึงบ้านยิ้นังตลอดไปบ้านบะเหลาะ ฝ่ายตวันตกตลอดไปจดเขาเหมืองดิดะล่าบู สิ้นเขตรเมืองยะลา € เขตรแดนเมืองหนองจิกรอบตัว ฝ่ายเหนือจดทเล ฝ่าย ตวันออกหลักแดนคลองน้ำติดต่อกับเมืองปัตตานี ฝ่ายใต้ต่อพรมแดนเมืองยะลา ฝ่ายตวันออกตั้งแต่หาดลุโบบาโกยริมคลองใหญ่ท่าสาบเรียงไปบ้านทุ่งยาวตลอดไปสายห้วยเรียกว่าคลองสามี พ้นแต่คลอง

๑๒ สามีมีต้นมะม่วงใหญ่แลต้นไม้ใหญ่ เรียงไปจดเขาใหญ่ที่ยาวไปตวันออก ตวันตกเรียกว่าเขาศาลาคิรี ยาวตลอดไปหาดทรายแขวงเมืองเทพา ฝ่ายใต้เขาศาลาคิรีเปนเขตรเมืองยะลา ฝ่ายเหนือเปนเขตรเมืองหนองจิก ฝ่ายตวันตกริมทเลตั้งแต่ปากบางราภาขึ้นไปตามคลองใหญ่สายห้วยโว่น้อย ยักไปตวันตกเขาเรียกว่าคลองบ้านภูมี ตลอดไปข้างปลายเรียกว่าคลองท่าศาลา ขึ้นไปตวันตกบ้านป่าบอนบ้านกะโผะ มีห้วยน้ำเรียกว่าคลองช้าง ฟากตวันออกคลองช้างเขตรเมืองหนองจิก ฟากตวันตกคลองช้างเปนเขตรเมืองเทพา เรียงขึ้นไปเรียกว่าควนหินกอง ที่บ้านบุหร่นคลองหินกองปักหลักเปนแดนตั้งแต่ควนหินกองตลอดขึ้นไป ถึงเขาน้อยบ้านห้วยบอนเปนกลางแดน มีต้นไม้ใหญ่เรียงรายเปนเขตรไปจนถึงเขาศาลาคิรี สิ้นเขตรเมืองหนองจิก € ครั้นพระยาอภัยสงครามข้าหลวง พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) แยกเมืองปัตตานีออกเปนเจ็ดเมือง แลปักหลักแบ่งเขตรแดนเสร็จแล้ว พระยาปัตตานี (พ่าย) หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ผู้ช่วยซึ่งตั้งบ้านเรือนว่าราชการ อยู่ที่ตำบลบ้านย้ามูติดอยู่ในเขตรเมืองยิริงพระยาอภัยสงครามข้าหลวง พร้อมด้วยพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) กะตัวให้พระยาปัตตานี (พ่าย) เปนพระยายิริง หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ก็ให้คงเปนผู้ช่วยอยู่ แต่เมืองปัตตานี เมืองสายบุรี เมืองระแงะ เมืองรามันห์ เมืองยะลา เมืองหนองจิก ซึ่งยังไม่มีตัวผู้รักษาราชการเมืองนั้น พระยาอภัยสงครามข้าหลวง

๑๓ พร้อมด้วยพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) บังคับให้พระยาปัตตานี (พ่าย) เลือกจัดหาในพวกตระกูลตวันตระกูลหนิ ที่พระยาปัตตานี (พ่าย) ได้เคยใช้สอยเห็นว่าที่ใจเรียบร้อยมาแต่ก่อนนั้น จดรายชื่อกะตัวให้ครบทั้งหกเมือง พระยาปัตตานี (พ่าย) ก็จดรายชื่อขึ้นยื่นต่อพระยาอภัยสงครามข้าหลวง พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) รายชื่อที่พระยาปัตตานี (พ่าย) ยื่นนั้น คือหนิดะ เดิมพระยาปัตตานี (พ่าย) ตั้งให้เปนที่ขุนปลัดกรมการหนึ่ง หนิเดะ เปนน้องชายจาก หนิดะขุนปลัดหนึ่ง ตวันหม่าโส่ เดิมพระยาปัตตานี (พ่าย) ตั้งให้เปนนายอำเภออยู่ที่บ้านรามันห์หนึ่ง ตวันยลอ เปนวงษ์ญาติ ตวันหม่าโส่หนึ่ง ตวันสุหลง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านกะเสะหนึ่ง ตวันหนิ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านหนองจิกหนึ่ง ครั้นพระยาอภัยสงครามข้าหลวง พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ได้รายชื่อครบหกเมืองแล้ว ก็จัดให้ตวันสุหลงเปนผู้รักษาราชการเมืองปัตตานีให้ตวันหนิเปนผู้รักษาราชการเมืองหนองจิก ให้ตวันหม่าโส่เปนผู้รักษาราชการเมืองรามันห์ ให้ตวันยลอเปนผู้รักษาราชการเมืองยะลาให้หนิดะเปนผู้รักษาราชการเมืองสายบุรี ให้หนิเดะเปนผู้รักษาราชการ เมืองระแงะ ให้พระยาปัตตานี (พ่าย) เปนผู้ว่าราชการเมืองยิริง แต่หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ให้คงเปนผู้ช่วยราชการอยู่ในพระยาปัตตานี (พ่าย) ผู้ว่าราชการเมืองยิริง พระยาอภัยสงครามข้าหลวง พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ครั้นแยกเขตรแดนแลจัดให้มีตัวผู้รักษาราชการเมืองเสร็จแล้ว พร้อมกันกลับกรุงเทพ ฯ กราบ

๑๔ บังคมทูลรายงานตามที่แยกเมืองปัตตานีออกเปนเจ็ดเมือง แลจัดให้มีผู้รักษาราชการไว้ทุกเมืองแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานตราตั้งตามรายชื่อซึ่งพระยาอภัยสงครามข้าหลวง พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) จัดไว้ ในตอนนี้ชื่อพระยาทั้งเจ็ดเมืองที่โปรดเกล้า ฯ พระราชทานตั้งนั้นสืบไม่ได้ความ ได้ทราบความแต่ว่าพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) เปนผู้เชิญตราตั้งออกไปพระราชทานทั้งเจ็ดเมือง เปลี่ยนให้พระยาปัตตานี (พ่าย) เปนพระยายิริง ตวันสุหลงเปนพระยาปัตตานี ตวันหนิเปนพระยาหนองจิก ตวันหม่าโส่เปนพระยารามันห์ ตวันยลอเปนพระยายะลา หนิดะเปนพระยาสายบุรี หนิเดะเปนพระยาระแงะ เมืองทั้งเจ็ดเมืองนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อมา พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ตั้งพระยาเจ้าเมืองแลมอบเมืองทั้งเจ็ดเมืองเสร็จแล้วก็กลับเมืองสงขลา € พระยายิริง (พ่าย) ตั้งบ้านเรือนหรือที่เรียกว่าเมืองนั้นอยู่ที่ตำบลบ้านย้ามู พระยาปัตตานี (ตวันสุหลง) ตั้งบ้านเรือนหรือที่เรียกกันว่าเมืองปัตตานี อยู่ที่ตำบลบ้านกะเสะใกล้ตำบลบ้านมะนาซึ่งพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ตั้งบ้านเรือนหรือที่เรียกว่าเมืองอยู่ก่อน พระยาหนองจิก (ตวันหนิ) ตั้งบ้านเรือนหรือที่เรียกกันว่าเมืองหนองจิกนั้น ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านหนองจิกพระยายลา (ตวันยลอ) ตั้งบ้านเรือนหรือที่เรียกกันว่าเมืองยะลานั้นตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านยะลา พระยารามันห์ (ตวันหม่าโส่) ตั้งบ้านเรือน

๑๕ หรือที่เรียกกันว่าเมืองรามันห์นั้น ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านรามันห์ พระยาสายบุรี (หนิดะ) ตั้งบ้านเรือนหรือที่เรียกกันว่าเมืองสายบุรีนั้น ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านยิ้งอ ริมแดนต่อพรมแดนเมืองระแงะทางประมาณสี่ร้อยเส้นเศษ พระยาระแงะ (หนิดะ) ตั้งบ้านเรือนหรือที่เรียกกันว่าเมืองระแงะนั้น ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านระแงะและริมพรมแดนต่อแดนเมืองกลันตันต้นทางที่จะไปตกหมกเหมืองทอง ในระหว่างนั้นบ้านเมืองเปนปรกติเรียบร้อยอยู่หลายปี อยู่มาพระยาสงขลา ( เถี้ยนจ๋อง ) ถึงอนิจกรรมลง โปรดเกล้า ฯ ให้น้องจากพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ซึ่งร่วมบิดามารดา ชื่อเถี้ยนเส้ง เปนพระยาว่าราชการเมืองสงขลาขึ้น ในตอนพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ว่าราชการเมืองสงขลาอยู่นั้น พระยารามันห์ (ตวันหม่าโส่) พระยายลา (ตวันยลอ) พระยาหนองจิก (ตวันหนิ) ก็ถึงแก่กรรม พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จัดให้ตวันกะจิน้องร่วมบิดามารดาแต่พระยาปัตตานี (ตวันสุหลง) รักษาราชการเมืองหนองจิก ให้ตวันบางกอกบุตรพระยายะลา (ตวันยลอ) รักษาราชการเมืองยะลา ให้ตวันกุโหนบุตรพระยารามันห์ (ตวันหม่าโส่) รักษาราชการเมืองรามันห์ ครั้นพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้จัดให้มีตัวผู้รักษาราชการเมืองแทนขึ้นเสร็จแล้ว พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ก็เข้ามายังกรุงเทพ ฯ นำข้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาตามที่พระยาผู้ว่าราชการเมืองถึงแก่กรรม แลได้จัดให้น้องพระยาปัตตานี (ตวันสุหลง) ชื่อตวันกะจิรักษาราชการเมืองหนองจิก ให้บุตรพระยายะลา (ตวันยลอ) ชื่อตวันบางกอกรักษาราชการเมืองยะลา ให้

๑๖ บุตรพระยารามันห์ (ตวันหม่าโส่) ชื่อตวันกุโหนรักษาราชการเมืองรามันห์ ก็โปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จัดไว้ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) กราบถวายบังคมลา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตั้งให้พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) เชิญออกไปด้วย ครั้นพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ออกไปถึงเมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้น) มีหนังสือเรียกตัวตวันกุโหน ตวันกะจิ ตวันบางกอก เข้ามายังเมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ก็มอบตราตั้ง ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานออกไป ตั้งให้ตวันกะจิเปนพระยาหนองจิก ตั้งให้ตวันบางกอกเปนพระยายะลา ตั้งให้ตวันกุโหนเปนพระยารามันห์ พระยายะลา (ตวันบางกอก) พระยารามันห์ (ตวันกุโหน) พระยาหนองจิก (ตวันกะจิ) ก็ลาพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) กลับไปบ้านเมือง ในระหว่างนั้นบ้านผู้ว่าราชการเมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามันห์ ก็ยังคงว่าราชการอยู่ที่บ้านเจ้าเมืองคนเก่า หาได้รื้อเลื่อนไปอื่นไม่ บ้านเมืองก็ยังเปนปรกติเรียบร้อยกันอยู่ทั้งเจ็ดเมือง € ครั้นอยู่มาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาปัตตานี (ตวันสุหลง) พี่ พระยาหนองจิก (ตวันกะจิ) น้อง พระยายะลา (ตวันบางกอก) พระยาระแงะ (หนิเดะ) สี่เมืองนี้ร่วมคิดกันเปนกระบถขึ้น แยกกันออกตีบ้านพระยายิริง (พ่าย) บ้าง เลยเข้ามาตีถึงเมืองจะนะเมืองเทพาบ้าง พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) มีใบบอกเข้ามากรุงเทพ ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาเพ็ชรบุรีเปนแม่ทัพ

๑๗ ออกไปสมทบช่วยเมืองสงขลา ครั้นกองทัพพระยาเพ็ชรบุรีออกไปถึงเมืองสงขลา ก็รวบรวมสมทบกับกองทัพพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ยกออกตีแขกตั้งแต่เมืองจะนะเมืองเทพาตลอดจนถึงเมืองระแงะ ไปจับได้พระยาปัตตานี (ตวันสุหลง) พระยายะลา (ตวันบางกอก) พระยาหนองจิก (ตวันกะจิ) ที่ตำบลบ้านโต๊ะเดะในเขตรแขวงเมืองระแงะริมพรมแดนเมืองกลันตัน ประหารชีวิตรเสียในที่ตำบลนั้น แต่พระยาระแงะ (หนิเดะ) ที่เปนพวกร่วมคิดกันกระบถนั้นหนีรอดตามไม่ได้ตัว ในระหว่างนั้นพระยาเพ็ชรบุรีแม่ทัพ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จัดให้หนิบอสูรักษาราชการเมืองระแงะ หนิบอสูคนนี้เดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านบางปูแขวงเมืองยิริง พระยายิริง (พ่าย) ให้เปนกรมการอยู่ที่เมืองยิริง เวลาที่รบนั้นก็ได้ไปในกองทัพด้วย มีคำสรรเสริญว่าใจคอกล้าหาญ จัดให้หลวงสวัสดิ์ (ยิ้มซ้าย) เดิมเปนผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองยิริงไปรักษาราชการเมืองยะลา จัดให้นายเม่นเมืองจะนะเปนผู้รักษาราชการเมืองหนองจิก จัดให้ตวันยุโส่เปนผู้รักษาราชการเมืองปัตตานี แต่ตวันยุโสคนนี้เปนสองชื่ออยู่ เรียกกันว่าโต๊ะกีก็เรียก € พระยาเพ็ชรบุรีแม่ทัพ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ครั้นตีแขกกระบถแตก แลเมืองที่ว่างไม่มีผู้ว่าราชการเมืองนั้น ก็จัดให้มีขึ้นอยู่รักษาราชการแทนไว้เสร็จแล้ว พร้อมกันกลับกรุงเทพ ฯ ตวันยุโส่หรือโต๊ะกี่ได้เปนผู้รักษาราชการเมืองปัตตานี ก็เลื่อนไปตั้งบ้านเรือนอยู่ฝ่ายตวันตกแต่บ้านกะเสะ ห่างจากบ้านพระยาปัตตานี (ตวัน ๒

๑๘ สุหลง) ซึ่งเปนกระบถไปประมาณสามร้อยเส้นเศษ หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ผู้ช่วยราชการเมืองยิริง ซึ่งได้เปนผู้รักษาราชการเมืองยะลานั้น ก็ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านวังตระแขวงเมืองยะลาอยู่ฝ่ายตวันตกเฉียงเหนือแต่บ้านพระยายะลา (ตวันบางกอก) ซึ่งเปนกระบถห่างออกไปทางประมาณห้าร้อยเส้นเศษ หนิบอสูซึ่งได้เปนผู้รักษาราชการเมืองระแงะ ก็ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านตะหยงหมะ แขวงเมืองระแงะ ฝ่ายตวันออกแต่บ้านพระยาระแงะ (หนิเดะ) ซึ่งเปนกระบถไกลออกไปทางประมาณวันหนึ่ง ในตอนนี้ขนบธรรมเนียม เมืองยิริง เมืองยะลา เมืองหนองจิก กรมการแลอำเภอใช้อย่างเมืองสงขลาทั้งสิ้น เมืองปัตตานี เมืองสายบุรี เมืองระแงะ เมืองรามันห์นั้น พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ก็แต่งให้กรมการออกไประวังตรวจอยู่เสมอมิได้ขาด บ้านเมืองก็เปนการเรียบร้อยทั้งเจ็ดเมือง อยู่มาพระยายิริง (พ่าย) ป่วยเปนโรคชราถึงแก่กรรมลง พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จัดให้หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ซึ่งเปนผู้รักษาราชการเมืองยะลา ไปรักษาราชการเมืองยิริง ในระหว่างหลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) รักษาราชการอยู่ที่เมืองยะลานั้น ได้โก่นสร้างเหมืองดีบุกไว้ในเมืองยะลาหกเหมือง ชื่อเหมืองดิดะ เหมืองล่าบู เหมืองหม่าเระ เหมืองบายอ เหมืองใหม่ เหมืองแหมะบุหลัน ครั้นหลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ต้องเลื่อนเปลี่ยนไปอยู่รักษาราชการเสียที่เมืองยิริง หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ก็ทำรายชื่อเหมืองมอบอนุญาตให้พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ก็ได้รับผลประโยชน์ได้เปนดีบุกบ้าง ได้เปน

๑๙ เงินค่าเช่าบ้างทุก ๆ ปีมิได้ขาด มาจนพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ถึงแก่อนิจกรรม ต่อมาเหมืองรายนี้ก็เลยรวมเปนมรดกของเมืองสงขลาไป ถ้าท่านคนใดได้เปนผู้ว่าราชการเมืองสงขลาขึ้นแล้ว ก็ได้รับผลประโยชน์ต่อ ๆ กันมาตลอดจนถึงพระยาวิเชียรคิรี (ชม) ในระหว่างหลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) รักษาราชการเมืองยิริงนั้น พระยา กลันตังชื่อเดิมสืบไม่ได้ความถึงแก่กรรมลง พระยาจางวางสุลต่านเดวอหนึ่ง ตวันปากแดงหนึ่ง ตวนกูปะสาหนึ่ง ตวันบางโงยหนึ่ง ซึ่งเปนวงษ์ญาติอยู่ในพระยากลันตันที่ถึงแก่กรรม เกิดวิวาทรบพุ่งแย่งชิงกันจะเปนเจ้าเมือง โปรดเกล้า ฯ ให้พระเสน่หามนตรี ผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราช พระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ออกไประงับการวิวาทที่เมืองกลันตัน ครั้นพระเสน่หามนตรี พระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง) ไปถึงเมืองกลันตัน ตวันบาโงยก็หนีไปทางเมืองกะลาปาหัง พระเสน่หามนตรีผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราช ก็พาตัวพระยาจางวาง (สุลต่านเดวอ) มาไว้เสียที่เมืองนครศรีธรรมราช พระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง) ก็พาตัวตนกูปะสามาไว้เสียที่เมืองสงขลา ครั้งนั้นโปรดเกล้า ฯ ให้ ตวันปากแดงเปนพระยากลันตัน เมืองกลันตันก็เปนการเรียบร้อยอยู่มาหลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ซึ่งเปนผู้รักษาราชการเมืองยิริงถึงแก่กรรมลง นายเม่นซึ่งเปนผู้รักษาราชการเมืองหนองจิกไม่ได้ราชการ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ถอดนายเม่นออกจากราชการเสียในระหว่างนั้นเมืองยิริงผู้รักษาราชการเมืองถึงแก่กรรม เมืองหนองจิก

๒๐ ผู้รักษาว่าราชการยังไม่มีตัว เมืองปัตตานี เมืองยะลา ผู้รักษาราชการก็ยังไม่ได้รับพระราชทานตราตั้ง พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ก็พาหนิยุโส่หรือที่เรียกว่าโต๊ะกี่ ซึ่งได้จัดไว้ให้เปนผู้รักษาว่าราชการเมืองปัตตานีหนึ่ง นายเมืองบุตรพระยายิริง (พ่าย) ซึ่งได้จัดให้เปนผู้รักษาราชการเมืองยะลาอยู่หนึ่ง นายเกลี่ยงบุตรหลวง สวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ผู้รักษาราชการเมืองยิริงที่ถึงแก่กรรมหนึ่ง ตวนกูประสาซึ่งพระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง) พามาแต่เมืองกลันตันหนึ่งเข้ามากรุงเทพ ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานตราตั้งให้ หนิยุโส่หรือโต๊ะกีเปนพระยายิริง ให้นายเมืองเปนพระยายะลา ให้นายเกลี่ยงเปนพระยาหนองจิก ให้ตวนกูปะสาเปนพระยาปัตตานี ครั้นผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองยิริง ได้รับพระราชทานตราตั้งเสร็จแล้ว พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) พร้อมด้วยผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยิริง เมือง ยะลา กราบถวายบังคมลากลับเมืองสงขลา € พระยาปัตตานี (ตวนกูปะสา) ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านจะบังติฆอ ที่พระยาปัตตานีว่าราชการอยู่เดี๋ยวนี้ พระยาหนองจิก (เกลี่ยง) ได้ตั้งบ้านอยู่ที่ตำบลบ้านตุยง อยู่ฝ่ายทิศตวันออกเคียงบ้านผู้ว่าราชการเมืองหนองจิกเดี๋ยวนี้ พระยายิริง (หนิยุโส่หรือโต๊ะกี) ได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านย้ามู ริมลำน้ำเมืองยิริงฟากทิศใต้ พระยายะลา (เมือง) ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านท่าสาบ ริมลำน้ำที่ลงจากเมืองรามันห์ฟากตวันตก บุตรหลานพระยายะลา

๒๑ (เมือง) ยังได้อยู่ต่อมาจนเดี๋ยวนี้ ในระหว่างนั้นเมืองแขกทั้งเจ็ดเมืองก็เปนการเรียบร้อย อยู่มาพระยายะลา (เมือง) ไม่ได้ราชการ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ถอดออกเสียจากราชการ แล้วพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จัดให้ตวันบาตูปุเต้เปนผู้รักษาราชการเมืองยะลา ตวันบาตูปุเต้ผู้รักษาราชการเมืองยะลา ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านยะลา บ้านที่พระยายะลาว่าราชการอยู่เดี๋ยวนี้ อยู่มาพระยาสายบุรี (หนิดะ) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้า ฯ พระราชทานตราตั้งให้หนิละไมบุตรเปนพระยาสายบุรี พระยาสายบุรี (หนิละไม) ก็ว่าราชการอยู่ที่บ้านเรือนของบิดาที่ตำบลบ้านยิ้งอต่อมา ครั้นพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ถึงแก่อนิจกรรม ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้พระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง) ผู้ช่วยราชการเปนพระยาสงขลา ในระหว่างพระยาสงขลา (บุญสัง) ว่าราชการเมืองอยู่นั้น พระยายิริง (หนิยุโส่หรือโต๊ะกี) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งให้พระยาจางวาง (สุล ต่านเดวอ) ซึ่งเสน่หามนตรีพามาจากเมืองกลันตันให้อยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชนั้น เปนพระยายิริง อยู่มาพระยายิริง (สุลต่านเดวอ) ถึงแก่กรรม โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้นายแต่งซึ่งเปนบุตรพระยายิริง (หนิยุโส่หรือโต๊ะกี) เปนพระยายิริง พระยายิริง (แต่ง) คนนี้ทราบความว่า เมื่อครั้งเมืองปัตตานีเกิดกระบถนั้น พระยายิริง (แต่ง) อายุประมาณได้ห้าขวบหรือหกขวบ ครั้นบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว กองทัพที่ออกไปนั้นกลับกรุงเทพ ฯ พระยายิริง (แต่ง)

๒๒ ติดเข้ามากรุงเทพ ฯ ด้วย ครั้นพระยายิริง (แต่ง) มีอายุมากขึ้นก็เลยเปนไทยไป ได้บวชเปนสามเณรอยู่จนอายุถึงยี่สิบเอ็ดยี่สิบสองปีแล้วเลยบวชเปนพระภิกษุต่อไปหลายพรรษาจนได้เปนที่พระใบฎีกา ครั้นสึกจากพระก็ได้เข้ารับราชการอยู่ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อมา ยังหาได้กลับออกไปบ้านเมืองไม่ ต่อเมื่อได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเปนที่พระยายิริงผู้ว่าราชการเมืองยิริงแล้ว จึ่งได้กราบถวายบังคมลาออกไปบ้านเมือง ครั้นพระยายิงริง (แต่ง) ออกไปถึงเมืองยิริงแล้ว ก็ปลูกเรือนลงในที่บ้านพระยายิริง (หนิยุโส่หรือโต๊ะกี) ผู้เปนบิดา ว่าราชการเมืองอยู่ที่นั้น เมืองยิริงในตอนพระยายิริง (แต่ง) ว่าราชการอยู่ขนบธรรมเนียมจัดอย่างเมืองสงขลา คดีถ้อยความที่ปรับไหมหรือตัดสินก็ใช้ตามพระราชกำหนดกฎหมายสยามทั้งสิ้น เมืองยิริงเวลานั้นเปนที่เรียบร้อยแลมีการเจริญขึ้นมาก อยู่มาพระยาปัตตานี (ตวนกูปาสา) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ตวันปุเต้บุตร เปนพระยาวิชิตภักดี ศรีสุรวังษา รัตนาณาเขตรประเทศราช ผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี พระยาปัตตานี (ตวนกูปุเต้) ว่าราชการอยู่ที่บ้านเดิมของบิดาต่อมา เมืองปัตตานีเวลาพระยาปัตตานี (ตวนกูปุเต้) ว่าราชการอยู่นั้น ขนบธรรมเนียมโรงศาลแขวงแลอำเภอจัดเหมือนอย่างเมืองยิริง อยู่มาพระยารามันห์ (ตวันกุโหน) ถึงแก่กรรม โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้ตวันติมุนบุตรเปนพระยารัตนภักดี ศรีราชบดินทร์ สุรินทรวิวังษา ผู้ว่าราชการเมืองรามันห์ พระยา

๒๓ รามันห์ (ตวันติมุน) ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านรามันห์ ที่พระ ณรงค์วังษาอยู่ต่อมาจนเดี๋ยวนี้ เมืองรามันห์ตอนที่พระยารามันห์ (ติมุน) ว่าราชการอยู่นั้น ขนบธรรมเนียมบ้านเมืองจัดอย่างเมืองปัตตานีเมืองยิริงทั้งสิ้น ครั้นเจ้าพระยาสงขลา (บุญสัง) ถึงแก่ อสัญญกรรมลง โปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระสุนทรนุรักษ์ (เม่น) บุตรพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) เปนพระยาวิเชียรคิรี ฯ ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา อยู่มาพระยาหนองจิก (เกลี่ยง) ถึงแก่กรรมลง พระยายะลา (ตวันบาตูปุเต้) ก็ถึงแก่กรรม € ในระหว่างนั้น ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปัตยุบันนี้ (รัชกาลที่ ๕) เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองกะลักตา เวลาเสด็จกลับนั้นมาประทับที่เมืองไทรบุรี แล้วเสด็จพระราชดำเนินทางสถล มารคแต่เมืองไทรบุรี เสด็จมาลงเรือพระที่นั่งที่เมืองสงขลา ครั้นในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินออกจากเมืองสงขลาแล้ว พระยาวิเชียรคิรี (เม่น) ก็พานายเวียงบุตรหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (แสง) ตวันกะจิบุตรพระยายะลา (ตวันบาตูปุเต้) เข้ามากรุงเทพ ฯ € โปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเชียรคิรี (เม่น) เปนเจ้าพระยาวิเชียรคิรีฯ ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ตั้งให้นายเวียงเปนพระยาเพชราภิบาลนฤเบศร์ วาปีเขตรมุจลินท์ นฤบดินทรสวามิภักดิ์ ผู้ว่าราชการเมืองหนองจิก ตั้งให้ตวันกะจิเปนพระยาณรงค์ฤทธี ศรีประเทศ วิเศษวังษา ผู้ว่าราชการเมืองยะลา เจ้าพระยาวิเชียร

๒๔ คิรี (เม่น) พระยาหนองจิก (เวียง) พระยายะลา (ตวันกะจิ) ก็กราบถวายบังคมลากลับเมืองสงขลา พระยายะลา (ตวันกะจิ) ก็ว่าราชการอยู่ที่บ้านเรือนบิดาต่อมา หาได้เลื่อนบ้านไปอยู่ที่อื่นไม่ แต่พระยาหนองจิก (เวียง) นั้น หาได้ว่าราชการที่บ้านพระยาหนองจิก (เกลียง) ไม่ เลื่อนไปตั้งบ้านลงใหม่ห่างบ้านพระยาหนองจิก (เกลียง) ไปฝ่ายตวันตกประมาณทางห้าสิบเส้นเศษ อยู่มาพระยาสายบุรี (หนิละไม) พระยารามันห์ (ตวันติมุน) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้า ฯ ให้หนิแปะบุตรพระยาสายบุรี (หนิละไม) เปนพระยาสุริยสุนทร บวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอัปดุล วิบุลยขอบ เขตร ประเทศมลายู ผู้ว่าราชการเมืองสายบุรี ให้หนิปิน้องจากพระยาสายบุรี (หนิแปะ) เปนพระรัตนามนตรีผู้ช่วยราชการ ให้หนิอี่ตำน้องจากพระรัตนามนตรี (หนิปี) เปนพระวิเศษวังษา ผู้ช่วยราชการเมืองสายบุรี ตั้งให้พระณรงค์วังษา (ตวันยาฮง) ผู้ช่วยราชการซึ่งเปนน้องต่างมารดาแต่พระยารามันห์ (ติมุน) เปนพระยารัตนภักดี ศรีราชบดินทร์ สุรินทรวิวังษา ผู้ว่าราชการเมืองรามันห์ ให้หลวงรายาภักดี (ตวันบาไลยาวอ) บุตรพระยารามันห์ (ติมุน) เปนพระณรงค์วังษาผู้ช่วยราชการ ให้ตวันละเบะบุตรพระยารามันห์ (ตวันยาฮง) เปนหลวงรายาภักดีผู้ช่วยราชการเมืองรามันห์ พระยาสายบุรี (หนิแปะ) เปนผู้ว่าราชการเมืองขึ้น หาได้ว่าราชการอยู่ที่บ้านเดิมบิดาไม่ เลื่อนมาตั้งบ้านเรือนหรือที่เรียกว่าเมืองสายบุรีนั้น มาอยู่ที่ตำบลบ้านสะลินงบายู๊ ริมลำน้ำซึ่งลงมาจากอ่าวลุทรายเหมือง

๒๕ ทองแขวงเมืองระแงะฟากตวันออก ว่าราชการมาจนถึงทุกวันนี้ พระยารามันห์ (ตวันยาฮง) เปนผู้ว่าราชการเมืองขึ้น หาได้ว่าราชการอยู่ที่บ้านพระยารามันห์ (ตวันติมุน) พี่ชายไม่ เลื่อนไปปลูกเรือนอยู่ใต้บ้านพระยารามันห์ (ตวันติมุน) ห่างออกไปทางประมาณสองเส้นเศษ อยู่มาพระยาหนองจิก (เวียง) พระยาปัตตานี (ตวนกูปุเต้) พระยายิริง (แต่ง) ก็ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้าฯ ให้ตวนกูปะสาบุตรพระยาปัตตานี (ตวนกูปุเต้) ซึ่งมารดาอยู่เมือง กลันตัน เปนพระยาวิชิตภักดี ศรีสุรวังษา รัตนาณาเขตรประเทศราช ผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี ให้พระพิพิธภักดี ผู้ช่วยราชการ เปนพระยาพิทักษ์ธรรมสุนทร นริศรสุรบดินทร์ นรินทรภักดี ผู้ทนุบำรุงราชการ ให้ตวนกูบอสูเปนพระศรีบุรีรัฐพินิต ผู้ช่วยราชการ ให้ ตวนกูเดบุตรพระยาพิทักษ์ ฯ เปนพระพิพิธภักดี ช่วยราชการเมืองปัตตานี ตั้งให้หนิเหมาะซึ่งเปนน้องต่างมารดาแต่พระยายิริง (แต่ง) เปนพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดี ศรีสุรสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองยิริง ตั้งให้หนิโหวะบุตรพระยายิริง (หนิเหมาะ) เปนพระโยธานุประดิษฐ ผู้ช่วยราชการเมืองยิริง ตั้งให้นายมิ่งบุตรพระยาเทพา (ช้าง) เปนพระยาเพชราภิบาลนฤเบศร์ วาปิเขตรมุจลินท์ นฤบดินทรสวามิภักดิ์ ผู้ว่าราชการเมืองหนองจิก พระยาปัตตานี (ตวนกูปะสา) ก็ว่าราชการอยู่ที่บ้านเรือนพระยาปัตตานี (ตวนกูปุเต้) ผู้บิดา พระยาหนองจิก (มิ่ง) ก็ว่าราชการอยู่ที่บ้านเรือนพระยาหนองจิก (เวียง) แต่พระยายิริง (หนิเหมาะ) หาได้ว่าราชการอยู่ที่บ้านเรือนพระยา

๒๖ ยิริง (แต่ง) พี่ชายไม่ ปลูกบ้านเรือนใหม่ขึ้นว่าราชการ ห่างแต่บ้านพระยายิริง (แต่ง) ลงไปทิศใต้ทางประมาณหกเส้นเศษ อยู่มาพระยาระแงะ (ตวันบอสู) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระคิรีรัตนพิศาล (ตวันโหนะ) บุตรพระยาระแงะ (ตวันบอสู) เปนพระยาภูผาภักดี ศรีสุวรรณประเทศ วิเศษวังษา ผู้ว่าราชการเมืองระแงะ ตั้งให้ตวันแตะน้องจากพระยาระแงะ (ตวันโหนะ) เปนพระคิรีรัตนพิศาล ผู้ช่วยราชการเมืองระแงะ พระยาระแงะ (ตวันโหนะ) ก็ว่าราชการอยู่ที่บ้านเรือนพระยาระแงะ (ตวันบอสู) ผู้บิดา ครั้นเจ้าพระยาวิเชียรคิรี (เม่น) ถึงอสัญญกรรมลง โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสมบัติภิรมย์ (ชุ่ม) เปนผู้รักษาว่าราชการเมืองสงขลาอยู่ พระยาปัตตานี (ตวนกูปะสา) พระยาหนองจิก (มิ่ง) ก็ถึงแก่กรรมทั้งสองเมือง ในระหว่างนั้นเมืองปัตตานี พระศรีบุรีรัฐพินิต (ตวนกูบอสู) ซึ่งเปนน้องต่างมารดาแต่พระยาปัตตานี (ตวนกูปุเต้) เปนผู้รักษาราชการเมืองปัตตานีอยู่ แต่เมืองหนองจิกนั้นพระยาสมบัติภิรมย์ (ชุ่ม) แต่งให้หลวงจ่ามหาดไทยกรมการเมืองสงขลาออกไปเปนผู้รักษาราชการ แล้วพระยาสมบัติภิรมย์ (ชุ่ม ) ก็เข้ามากรุงเทพ ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาสมบัติภิรมย์ (ชุ่ม) เปนพระยาวิเชียรคิรี ฯ ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ครั้นพระยาวิเชียรคิรี (ชุ่ม) กลับออกไปถึงเมืองสงขลาแล้ว แต่งให้นายทัดมหาดเล็กซึ่งเปนน้องต่างมารดาแต่พระยาวิเชียรคิรี (ชุ่ม) ไปเปนผู้รักษาราชการเมืองหนองจิก พระยาวิเชียรคิรี (ชุ่ม) พักอยู่

๒๗ ที่เมืองสงขลาประมาณสิบห้าสิบหกวัน ก็เลยออกไปเมืองรามันห์พักอยู่ที่เมืองรามันห์ประมาณเดือนเศษ พระยาวิเชียรคิรี (ชุ่ม) ให้ป่วยหนักลงก็กลับจากเมืองรามันห์ มาถึงเมืองสงขลาอยู่ได้สี่วันอาการป่วยทรุดหนักลง พระยาวิเชียรคิรี (ชุ่ม) ก็ถึงแก่อนิจกรรม ครั้นพระยาวิเชียรคิรี (ชุ่ม) ถึงแก่อนิจกรรมลงได้สี่วัน พอประจวบในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปัตยุบันนี้ (รัชกาลที่ ๕) เสด็จพระราชดำเนินออกไปเมืองสงขลา ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้หลวงวิเศษภักดี (ชม) ผู้ช่วยราชการ เปนพระยาสุนทรานุรักษ์ว่าราชการเมืองสงขลา ให้นายพ่วงบุตรพระยาวิเชียรคิรี (ชุ่ม) เปนหลวงอุดมภักดีผู้ช่วยราชการ ให้นายผันมหาดเล็กซึ่งเปนบุตรพระอนุรักษ์ภูเบศร์ (ถัด) เปนหลวงบริรักษ์ภูเบนทร์ผู้ช่วยราชการ ครั้นทรงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามสัญญาบัตรตั้งผู้ว่าราชการเมืองผู้ช่วยเมืองสงขลาเสร็จแล้ว ก็เลยเสด็จพระราชดำเนินประพาศเมืองริมทเล ตั้งแต่เมืองเทพา เมืองหนองจิก เมืองปัตตานี เมืองกลันตัน เมืองตรังกานู แล้วก็เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพ ฯ ในปีชวดสัมฤทธิศก ศักราช ๑๒๕๐ นั้น เปนปีถึงกำหนดของเมืองแขกเจ็ดเมืองทำต้นไม้ทองต้นไม้เงินเครื่องราชบรรณาการ เข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย แลเปนธรรมเนียมมาพร้อมกันลงเรือที่เมืองสงขลาทั้งเจ็ดเมือง เมืองสงขลาต้องแต่งผู้ช่วยกรมการล่ามคุมพาเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ในปีชวดสัมฤทธิศก ศักราช ๑๒๕๐ เมืองปัตตานี พระศรีบุรีรัฐพินิต (ตวนกูบอสู) ผู้ช่วยราชการ ผู้รักษาราชการ

๒๘ หนึ่ง พระพิพิธภักดี (ตวนกูเด) ผู้ช่วยราชการหนึ่ง ตวนกูม่าหมะบุตรพระยาปัตตานี (ตวนกูปุเต้) หนึ่ง ตวนกูเงาะบุตรพระศรีบุรีรัฐพินิตหนึ่ง เมืองหนองจิกนายทัดมหาดเล็กน้องชายพระยาวิเชียรคิรี (ชุ่ม) หนึ่ง ซึ่งเปนผู้รักษาราชการ เปนผู้นำต้นไม้ทองต้นไม้เงินเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย แต่เมืองสายบุรี เมืองยิริง เมืองรามันห์ เมืองยะลานั้น ผู้ว่าราชการเมืองแต่งให้ผู้ช่วยศรีตวันกรมการคุมพาเข้ามา พระยาสุนทรานุรักษ์ (ชม) ผู้รักษาว่าราชการเมืองสงขลา แต่งให้หลวงอนันตสมบัติ (เอม) ผู้ช่วยราชการ หลวงศรีโยธากรมการ เปนผู้นำต้นไม้ทองต้นไม้เงินเครื่องราชบรรณาการแขกทั้งเจ็ดเมืองเข้ามากรุงเทพ ฯ € ในครั้งนั้น โปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามสัญญาบัตรเลื่อนให้หลวงอนันตสมบัติ (เอม) เปนที่พระอนันตสมบัติ ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ให้พระศรีบุรีรัฐพินิต (ตวนกูบอสู) เปนพระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษา รัตนาณาเขตรประเทศราช ผู้ว่าราชการเมืองปัตตานีเลื่อนให้พระพิพิธภักดี (ตวนกูเด) เปนพระยาพิทักษ์ธรรมสุนทร นริศรสุร บดินทร์ นรินทรภักดี ผู้ทนุบำรุงราชการเมืองปัตตานี ตั้งให้ ตวนกูม่าหมะบุตรพระยาปัตตานี (ตวนกูปุเต้) เปนพระศรีบุรีรัฐพินิตรายามุดาเมืองปัตตานี ตั้งให้ตวนกูเงาะบุตรพระยาปัตตานี (ตวนกูบอสู) เปนพระพิพิธภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานี ตั้งให้นายทัดมหาดเล็กเปนพระยาเพชราภิบาลนฤเบศร์ วาปีเขตรมุจลินท์ นฤบดินทรสวามิภักดิ์ ผู้ว่าราชการเมืองหนองจิก พระยาปัตตานี (ตวนกูบอสู) หาได้ว่า

๒๙ ราชการอยู่ที่บ้านพระยาปัตตานี (ตวนกูปุเต้) ที่พระยาปัตตานี (ตวนกูปะสา) ว่าราชการอยู่ไม่ ว่าราชการอยู่ที่บ้านเดิมของตัวซึ่งปลูกสร้างไว้เมื่อเปนที่พระศรีบุรีรัฐพินิตผู้ช่วยราชการ อยู่ฝ่ายทิศตวันออก แต่บ้านที่พระยาปัตตานี (ตวนกูปะสา) ว่าราชการ พระยาหนองจิก (ทัด) ก็หาได้ว่าราชการอยู่ที่บ้านพระยาหนองจิก (มิ่ง) ไม่ เลื่อนไปปลูกสร้างขึ้นใหม่ฝ่ายทิศตวันออกแต่บ้านพระยาหนองจิก (มิ่ง) ห่างกันประมาณเจ็ดเส้นเศษ ในปีฉลูเอกศก ศักราช ๑๒๕๑ พระยาระแงะ (ตวันโหนะ) ถึงแก่กรรมลง ในระหว่างนั้น พระยาสุนทรานุรักษ์ (ชม) ผู้ช่วยราชการ ผู้รักษาว่าราชการเมืองสงขลา จัดให้ตวันเหงาะบุตรตวันสุหลงซึ่งเปนพี่ต่างมารดาแต่พระยาระแงะ (ตวันโหนะ) เปนผู้รักษาราชการเมืองระแงะอยู่ ครั้นปีเถาะตรีศก ศักราช ๑๒๕๓ ถึงกำหนดแขกเจ็ดเมืองนำต้นไม้ทองต้นไม้เงินเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย ตวันเหงาะผู้รักษาราชการเมืองระแงะ นำต้นไม้ทองต้นไม้เงินเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทูลถเกล้า ฯ ถวาย ก็ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งให้ตวันเหงาะเปนพระยาภูผาภักดี ศรีสุวรรณประเทศ วิเศษวังษา ผู้ว่าราชการเมืองระแงะ พระยาระแงะ (ตวันเหงาะ) ว่าราชการเมืองอยู่ที่บ้านพระยาระแงะต่อมาจนเดี๋ยวนี้ ในที่บ้านตะหยงหมะซึ่งเปนที่เดิมของพระยาระแงะ (ตวันบอสู) สร้างไว้