พระประวัติสมเด็ดพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พ.ส. 2405–2486/เรื่อง

ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็ดพระปกเกล้าเจ้าหยู่หัวได้มีพระราชดำหรัดแก่สเด็ดพ่อว่า “ถ้าอากรมซงเขียน Memoir ก็จะน่าอ่านเปนอันมาก เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นมาแต่ไนรัชกาลที่ 4” สเด็ดพ่อกราบทูนตอบแต่ว่า “จะลองดู” ครั้นสเด็ดไปหยู่ไนเมืองปินังแล้ว ก็ได้ซงตั้งต้นเขียนเรื่อง “ความซงจำ” ตอนที่ 1 ตั้งแต่ประสูติจนถึงพระบาทสมเด็ดพระจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวสเด็ดสวรรคต ตอนที่ 2 พระราชประวัติของพระบาทสมเด็ดพระจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวเมื่อก่อนสเด็ดขึ้นเสวยราชย์ ตอนที่ 3 เรื่องเปลี่ยนรัชกาล ตอนที่ 4 เริ่มรัชกาลที่ 5 ตอนที่ 5 เรื่องสเด็ดพระราชดำเนินไปต่างประเทสครั้งแรก จนถึงสเด็ดพ่อซงผนวดเปนสามเนรหยู่ไนวัดบวรนิเวส แล้วลาผนวดออกไปหยู่วังเปนครั้งแรกกับคุนย่า พอจบตอนที่ 5 แล้ว ก็ตรัดแก่ฉันว่า “พ่อเห็นจะเขียนต่อไปไม่ได้เสียแล้ว เพราะรู้สึกว่า เหมือนลอกหนังกำพร้าของตัวเอง” ฉันทูนวิงวอนว่า เสียดายเพราะสนุก และขอประทานไห้ซงนึกว่า เขียนเรื่องของคนอื่นไม่ได้หรือ ท่านซงนิ่งหยู่สองสามวัน แล้วก็ตรัดบอกอีกว่า “ไม่ได้แน่ เพราะผลบางหย่างต้องเล่าถึงเหตุ และเหตุนั้นต้องพาดพิงไปถึงเรื่องของผู้อื่นด้วย พ่อจึงไม่สมัคไจจะเขียน” แล้วก็ประทานเรื่องที่ซงค้างไห้เก็บไว้เพียง 5 ตอน

ต่อมา ซงเขียนประวัติประทานพระยาพรึธาธิบดี เจ้าพระยายมราช พระยาโบรานราชธานินทร พระยานครพระราม และพระยาพิพิธมนตรี ไนเวลาที่ซงเขียนหยู่นี้ ซงตรัดเล่าเรื่องต่าง ๆ หยู่เสมอ ฉันจึงทูนถามว่า “เด็ดพ่อซงเขียนไห้ผู้อื่นมากมายแล้ว ไครจะเปนผู้เขียนถวายเด็ดพ่อบ้าง” ท่านซงตอบว่า “ก็หยู่มาจนแก่ถึงเพียงนี้ ชั่วดีหย่างไรก็เห็นกันแล้ว จะต้องเขียนอีกทำไม” ฉันทูนว่า “เขียนไว้ไห้ลูกหลานที่ยังไม่รู้จักได้รู้จักจิง ๆ” ท่านซงนิ่งไปครู่ไหย่แล้วก็ตอบว่า “เอาประกาสตั้งกรมก็พอแล้ว เพียงประกาสเปนกรมหลวง พ่อก็พอไจ เพราะไนหลวงท่านซงแต่งเอง ต้องเปนความจิง”

โดยเหตุที่กล่าวมาข้างบนนี้ จึงพร้อมไจกันพิมพ์พระประวัติของสเด็ดพ่อดังต่อไปนี้ ขออำนาดคุนพระสรีรัตนตรัยอันเปนหลักธัมของมนุสชาติจงช่วยประสิทธิ์ประสาสน์ส่งบุญกุสลถวายไห้ถึงสเด็ดพ่อผู้ซงเปนทั้งบิดา, มารดา, อาจารย์, และเพื่อน, ของลูก ๆ หย่างหาได้ด้วยยาก ฉันไม่เคยพบเห็นบาปของพระองค์ท่านมาตั้งแต่เกิด จึงเชื่อแน่ว่า พระองค์ได้สเด็ดจาไปสู่สุคติภพแล้วโดยสมบูรน์

ฉันขอขอบพระคุนพระวรวงส์เทอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ผู้ซึ่งสเด็ดพ่อซงรักเช่นโอรสของพระองค์เอง ที่ได้ซงช่วยตรวดสอบหนังสือเล่มนี้ และขอขอบคุนกรมแผนที่ ๆ ได้ช่วยไนการทำบล็อกแม่พิมพ์พระรูป ทั้งขอบคุนโรงพิมพ์โสภนพิพัธนากรที่ได้ช่วยไนการพิมพ์หนังสือและพระรูปนี้ และขอขอบไจนายสมบูรน์ โชติจิตร, นายเดช คงสายสินธุ์ ผู้ที่สเด็ดพ่อได้ซงเลี้ยงดูมาแต่เล็ก และนายแก้วมงคล ชัยสุริยันต์ ผู้ดีดพิมพ์ ที่ได้ช่วยเหลือไห้การพิมพ์หนังสือนี้สำเหร็ดดังความปรารถนา.

  • (หม่อมเจ้าหยิงพูนพิสมัย ดิสกุล)
  • วันที่ 19 มกราคม พ.ส. 2487
  • วังวรดิส


สมเด็ดพระปรเมนทรมหามงกุต พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้บิดา ขอตั้งกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเปนมารดานั้น และซึ่งคลอดไนวันเสาร์ เดือน 7 แรม 9 ค่ำ ปีจอ จัตวาสก นั้นว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเทอ พระองค์เจ้าดิสวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจรินชนมายุ วรรน สุข พล ปติภาน สรรพสิริสวัสดิ พิพัธนมงคล ทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไปเทอน

ตั้งนามมาวันพรึหัสบดี เดือน 9 ขึ้น 5 ค่ำ ปีจอ จัตวาสก เปนปีที่ 12 เปนวันที่ 6096 ไนรัชกาลปัจจุบันนี้

คาถาพระราชทานพระนาม
สุขี อยํ โหตุ สทา กุมาโร
นาเมนโส ติสสฺวโร กุมาโร
พายุญฺจ วณฺณจ สุขพฺพลญฺจ
ติกฺขญฺจ ปญฺญญฺจ ปฏิภานภูตํ
ลทฺธา ยสสฺสี สุชตํ มหิทฺธี
ปโหตุ สพฺพตฺถ จิรํ สุชีวี
กุลญฺจ รกฺเขถ สมาจรญฺจ
สพฺเพหิ สตฺตูหิ ชยํ ลเภถ
สุจี ทีฆายุโก โหตุ ปตุตฺโต ติสฺสวรวฺหโย
กุมาโร ชุมปุตฺโตยํ อิทฺธิมา โหตุ สพฺพทา
พุทฺโธ ธมฺฌม จ สํโฆ จ อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
ตสฺสาปิ สรณํ โหตุ สมฺมารกฺขาตุ นํ สทา
คำแปลคาถา

ขอกุมารนี้จงมีความสุขไนกาลทุกเมื่อ กุมารนี้จงมีนามว่า ดิสวรกุมาร โดยนามนิยม ขอดิสวรกุมารนี้จงได้ซึ่งชนมายุยืนยง ดำรงหยู่ตลอดกาลนาน ขอจงได้ซึ่งวรรนผิวกายอันผ่องไน และจงได้วรรนคุนความสันเสินเปนนิรันดร ขอจงได้ซึ่งสุขกายสุขไจเปนนิจกาล จงได้ซึ่งกำลังกายอันแกล้วกล้า ทั้งไห้มีกำลังปัญญารู้รอบคอบไนกิจการทั้งปวง และไห้ฉลาดไนปติภานโวหารกล่าวคำโต้ตอบไนที่ประชุมชน ขอไห้ดิสวรกุมารมีอิสสริยยสบริวารยส ปรากตด้วยมหิทธิสักดาเดชานุภาพมาก ขอไห้มีชนมชีพยืนนานพอเพียงควนแก่กาล

อนึ่ง ขอไห้ดิสวรกุมารพึงรักสาไว้ซึ่งตระกูลวงส์ไห้ดำรงยืนยาว และพึงรักสาไว้ซึงจรรยา คือ ความประพรึตชอบธัมสุจริต พึงได้ชัยชำนะปัจจามิตรไนที่ทั้งปวง

อนึ่ง ขอไห้กุมารบุตรของเราอันมีนามว่า ดิสวรกุมาร ผู้เปนบุตรชุ่มนี้ จงมีริทธานุภาพไนกาลทั้งปวง

ขอพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธัมเจ้า พระสงคเจ้า จงเปนที่พึ่งแก่ดิสวรกุมารนั้น และจงรักสาซึ่งดิสวรกุมารนั้นโดยชอบไนกาลทุกเมื่อ เทอน.


สุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาลเปนอดีตภาคล่วงแล้ว 2429 พรรสา ปัตยุบันกาล โสนสังวัจฉัร วิสาขมาส กาลปักส์ จตุตถีดิถี สุกรวาร ปริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็ดพระปรมินทรมหาจุลาลงกรน์ ฯลฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเทอ พระองค์เจ้าดิสวรกุมาร ได้ซงสึกสาวิชาการทหานมาไนกรมทหานมหาดเล็กรักสาพระองค์แต่ยังซงพระเยาว์ ได้เลื่อนยสขึ้นโดยลำดับจนถึงเปนเลฟเตแนนต์เกอแนล และเปนผู้รับพระบรมราชโองการบังคับการไนกรมทหานมหาดเล็กมาช้านาน ได้ซงรักสาราชการตามตำแหน่งเรียบร้อยมั่นคง มิได้มีเหตุการน์อันได้ซึ่งเปนที่เสื่อมซาม และได้ซงรับตำแหน่งเปนที่เอดเดอแกมป์หลวง ได้รับราชการเบ็ดเส็ดต่าง ๆ เปนอันมากเนืองนิตย์

อนึ่ง กรมแผนที่ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นไว้สำหรับฝึกหัดคนไทยทำแผนที่ไนพระราชอานาเขตแต่ก่อน ยังไม่เปนการมั่นคงเรียบร้อย ได้โปรดเกล้าฯ ไห้ซงจัดการเพิ่มเติมขึ้นไห้เปนการเรียบร้อยมั่นคง นับเปนกรมหนึ่งซึ่งตั้งขึ้นไหม่ ก็ได้ซงพระอุสาหะจัดการนั้นไห้เปนการแขงแรงเรียบร้อยขึ้นกว่าแต่ก่อน และการส้างสมเครื่องสาตราวุธสำหรับพระนคร ก็ได้โปรดเกล้าฯ ไห้ซงบังคับบันชากรมกองแก้วจินดา ทำรางปืน ทำแท่นปืน จัดปืนไหย่เก่าไหม่ซึ่งยังจะไช้ราชการได้ มาทำรางซ่อมแปลงของเก่าตั้งเรียบเรียงประจำโรงไว้สำหรับราชการแผ่นดิน เปนการเรียบร้อย เปนประโยชน์แก่ราชการเปนอันมาก พายหลัง ได้รับกะแสพระราชดำริและพระบรมราชโองการไห้ตั้งโรงเรียนสำหรับพระบรมวงสานุวงส์และบุตรข้าราชการ ตลอดจนโรงเรียนราสดรก็ซงพระอุสาหะดำริตริตรองจัดการตั้งโรงเรียน แล้วตรวดตราไห้การเล่าเรียนแพร่หลายกว้างขวางขึ้น จัดการไห้มีวิธีที่จะสอบไล่หนังสือนักเรียนซึ่งไม่ได้เคยมีมาแต่ก่อน จัดการทั้งปวงไห้เปนคุนประโยชน์แก่แผ่นดินและตัวผู้ซึ่งเล่าเรียน และเปนพระเกียรติยสไนพระบาทสมเด็ดพระเจ้าหยู่หัว จเรินขึ้นโดยลำดับจนถึงทุกวันนี้ เปนความชอบความดีเปนอันมาก และไนบัดนี้ ก็ซงพระจเรินพระชนมายุและซงพระปรีชาสามาถไนราชกิจน้อยไหย่ทั้งปวง ประกอบด้วยความเพียรความอุสาหะดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงสมควนที่จะเลื่อนพระเกียรติยสขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรม รับราชการฉลองพระเดชพระคุนต่างพระเนตรพระกรรนสืบไปได้

จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบันทูรสุรสิงหนาทดำหรัดไห้สถาปนาพระเจ้าน้องยาเทอ พระองค์เจ้าดิสวรกุมาร ขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกไนพระสุพรรนบัตรว่า พระเจ้าน้องยาเทอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ นาคนาม ซงสักดินา 15000 ตามพระราชกำหนดหย่างพระองค์เจ้าต่างกรมไนพระบรมมหาราชวัง จงซงจเรินพระชนมายุ พรรน สุข พล ปติภาน คุนสารสมบัติ สรรพสิริสวัสดิพิพัธนมงคล วิบุลยสุภผล ธนสารสมบูรน์ อดุลยเกียรติยสเดชานุภาพ ทุกประการเทอน

ไห้ซงตั้งเจ้ากรมเปนหมื่นดำรงราชานุภาพ ถือสักดินา 600

ไห้ซงตั้งปลัดกรมเปนหมื่นปราบบรพล ถือสักดินา 400

ไห้ซงตั้งสมุห์บัญชีเปนหมื่นสกลคนารักส์ ถือสักดินา 300

ไห้ผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งทั้ง 3 นี้ทำราชการไนหลวงและไนกรมตามหย่างทำเนียมเจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บัญชี ไนพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวงสืบไป ไห้มีความสุขสวัสดิจเริน เทอน.


สุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาลเปนอดิตภาคล่วงแล้ว 2442 พรรสา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม วราหสังวัจฉร วราหสังวัจฉร กติกมาส สุกปักส์ อัถมีดิถี สุกรวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรสก 118 พรึสจิกายนมาส ทสม มาสาหคุนพิเสส บริเฉทกาลกำหนด

พระบาทสมเด็ดพระปรมินทรมหาจุลาลงกรน์ ฯลฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัว ซงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเทอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้ซงบังคับการทหานมหาดเล็กรักสาพระองค์ กรมกองแก้วจินดา กรมแผนที่ และจัดการตั้งโรงเรียนอันเปนความชอบความดีมีปรากตหยู่ไนประกาสจั้งกรมเมื่อปีจอ อัถสก จุลสักราช 1218 นั้นแล้ว สืบแต่นั้นมา ได้ซงเลื่อนตำแหน่งเปนนายพลตรีผู้ช่วยบันชาการทหานบก และจัดการโรงเรียนทั้งปวงหยู่หย่างเดิมด้วย จนได้ตั้งขึ้นเปนกรมสึกสาธิการ แล้วได้เปนกัมการจัดตั้งโรงพยาบาล บังคับราชการไนกรมสังคการีและธัมการ เมื่อรวบรวมตำแหน่งทั้งปวงนี้ยกขึ้นเปนกะซวงธัมการ จึงได้ซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้ย้ายจากหน้าที่ราชการทหานบกมาเปนอธิบดีกะซวงธัมการ ได้ซงจัดราชการไนหน้าที่ วางแบบหย่างราชการทั้งปวงไนกะซวงซึ่งรวมขึ้นไหม่นั้น โดยพระสติปัญญาสามาถและความอุสาหะเปนอันมาก นับว่า เปนอันได้ตั้งต้นการสึกสาเปนแบบหย่าง ซึ่งได้จัดการจเรินสืบมานะบัดนี้ ได้ซงแต่งตำราเรียนบางหย่าง มีแบบเรียนเร็วเปนต้น และได้ซงรับตำแหน่งเปนราชทูตพิเสสออกไปยังนานาประเทสไนยุโรป ทั้งเมืองอียิปต์และอินเดีย ครั้นเมื่อสเด็ดกลับจากราชการนั้น จึงซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้เปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทย ครั้นเมื่อซงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอานาเขตไห้เปนการกวดขันมั่นคง และเปนการสดวกดีไนการปกครองขึ้น จึงซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้ยกหัวเมืองจากกลาโหมและกรมท่ามารวมไนกะซวงมหาดไทย แบ่งพระราชอานาเขตเปนมนทล จัดการปกครองรักสาเปนแบบหย่างทั่วไปทุกแผนก พระเจ้าน้องยาเทอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้ซงรับจัดการวางแบบหย่างปกครองทั้งปวงซึ่งเปนการไหย่ยิ่ง ยากที่จะสำเหร็ดได้ อาสัยพระสติปัญญาอันสุขุมคัมภีรภาพและพระอุสาหะฉันทวิริยอันแรงกล้า ประกอบด้วยการสึกสาแบบหย่างและความเปนไปหยู่ทั้งพายไนและพายนอก กอบไปด้วยพระสติปัญญาตริตรองเลือกเฟ้น ทั้งมีความซื่อตรงดำรงไนความสัจสุจริต มิได้หนักไปไนอคติทั้งปวง ควนยกย่องว่า เมื่อซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้เริ่มจัดตั้งการกะซวงไดกรมได ก็ซงสามาถที่จะจัดการฉลองพระเดชพระคุนไห้สำเหร็ดเปนคุนมั่นคงยั่งยืนเปนหลักถานแบบหย่างได้ดังพระราชประสงค์ทุกหน้าที่มา เปนเหตุไห้จเรินพระเดชานุภาพ และเปนความสุขแก่ประชาราสดรทั่วพระราชอานาเขต นับว่า เปนความชอบพิเสสยิ่งไหย่ และมีพระหรึทัยจงรักภักดีต่อไต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท สนิธชิดชอบพระราชอัธยาสัย เมื่อสเด็ดพระราชดำเนินประพาสแห่งได ทั้งไนพระราชอานาเขตและนอกประเทส ก็ได้ตามสเด็ดพระราชดำเนินและจัดการทั้งปวงเพื่อไห้เปนที่ซงพระสำรานและเปนการสดวกดีแทบทุกครั้ง เปนที่ไว้วางพระราชหรึทัยอันสนิธ เมื่อสเด็ดพระราชดำเนินประพาสประเทสยุโรป ได้ซงพระกรุนาโปดเกล้าฯ ไห้เปนที่ปรึกสาของสมเด็ดพระบรมราชินีนาถซึ่งสำเหร็ดราชการแผ่นดินต่างพระองค์ด้วยพระองค์หนึ่ง มีพระอัธยาสัยมั่นคงยั่งยืน และมีไมตรีอารีทั่วไปไนประชุมชนทั้งปวง ประกอบด้วยความสามาถไนราชกิจดังพรรนามาแล้วนั้น ซงพระราชดำริเห็นสมควนที่จะยกขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ไหย่

จึงมีพระบรมราชโองการดำหรัดสั่งไห้สถาปนาเลื่อนพระเจ้าน้องยาเทอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ไหย่ มีพระนามจารึกไนพระสุพรรนบัตรว่า พระเจ้าน้องยาเทอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ นาคนาม ซงสักดินา 1500 ตามพระราชกำหนดหย่างพระองค์เจ้าต่างกรมไนพระบรมมหาราชวัง จงซงจเรินพระชนมายุ พรรน สุข พล ปติภาน คุนสารสมบัติ สรรพสิริสวัสดิ พิพัธนมงคล วิบุลยสุภผล ธนสารสมบูรน์ อดุลเกียรติยส เดชานุภาพ ทุกประการ

ไห้ซงเลื่อนเจ้ากรมเปนหลวงดำรงราชานุภาพ ถือสักดินา 600

ไห้ซงเลื่อนปลัดกรมเปนขุนปราบบรพล ถือสักดินา 400

สุมห์บัญชีคงเปนหมื่นสกลคนารักส์ ถือสักดินา 300

ไห้ผู้ที่ได้เลื่อนตำแหน่งคงตำแหน่งยสทั้ง 3 นี้ทำราชการไนหลวงและไนกรมตามหย่างทำเนียมเจ้าดรม ปลัดกรม สมุห์บัญชี ไนพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวงสืบไป ขอไห้มีความสุขสวัสดิจเริน เทอน.


สุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาลเปนอดีตภาค 2454 พรรสา กาลปัตยุบัน จันทรโคจร วราหสัมพัตสร กรรติกมาส กาลปักส์ ฉัถีดิถี โสรวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรสก 130 พรึกสจิกายนมาส เอกาทสมสุรทิน โดยกาลนิยม

พระบาทสมเด็ดพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุตเกล้าเจ้าหยู่หัว ซงพระราชดำริว่า พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ อันเปนพระอนุชาผู้เปนที่ต้องพระราชอัธยาสัยไว้วางพระราชหรึทัยแห่งพระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวพระองค์หนึ่ง มีพระคุนวิเสสต่าง ๆ เปนอเนกประการ ดังปรากตหยู่ไหนประกาสรับพระสุพรรนบัตรตั้งและเลื่อนกรมทั้ง 2 ครั้งนั้นแล้ว แต่นั้นมา ก็ได้ซงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกะซวงมหาดไทยตลอดมาจนกาลบัดนี้ มีพระหรึทัยเอื้อเฟื้อไนสรรพกิจอันเกี่ยวข้องด้วยการปกครอง ทำนุบำรุงประชาราสดรไห้มีความผาสุขและบ้านเมืองราบคาบสมดังพระบรมราชประสงค์ ไช่ว่าจะเพียงแต่ซงระวังราชการไห้คงหยู่เท่าที่ได้เคยกะทำมาแล้วเท่านั้นก็หามิได้ ยังซงพระอุสาหะดำริการงานเพื่อไห้เปนผลจเรินรุ่งเรืองยิ่งขึ้นตามที่สมควนจะจัดไปได้ แต่มิไช่ว่า จะซงปติบัติราชกิจแต่ฉเพาะที่มีมาไนส่วนกะซวงมหาดไทยฝ่ายเดียวเท่านั้น ยังได้รับราชการจรเปนครั้งคราวไนแผนกต่าง ๆ ทั้งเปนมนตรีที่พระบาทสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงซงพอพระราชหรึทัยตรัดปรึกสากิจการทั่วไป นอกจากนี้ ยังได้ทำราชการซึ่งนับว่า เปนส่วนไนพระองค์ด้วยอีกเปนหลายประการ เช่น จัดวางกำหนดการสเด็ดพระราชดำเนินประพาสนะที่ต่าง ๆ และตามสเด็ดพระราชดำเนินไปไนกะบวน เอาพระทัยไส่ดูแลไห้การประพาสเปนไปโดยสดวกเรียบร้อย ดังนี้เปนต้น

ราชการทั้งส่วนที่เปนราชการแผ่นดินและราชการไนพระองค์ซึ่งกรมหลวงดำรงราชานุภาพได้ซงปติบัติมาแล้วไนรัชกาลก่อนหย่งได ครั้นมาไนรัชกาลปัตยุบันนี้ ก็ยังคงซงปติบัติหยู่เช่นนั้นด้วยความจงรักภักดี ทั้งเอาพระทัยไส่ไนการสึกสายิ่งนัก และไนสิ่งซึ่งซงเห็นว่า จะเปนคุนประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง ได้ซงช่วยสนองพระเดชพระคุนโดยเต็มพระทัย เพื่อการดำเนินไปได้ดีและเร็วทันพระบรมราชประสงค์ เช่น การโรงเรียนข้าราชการพลเรือน กับการจัดตั้งเสือป่าและลูกเสือไนหัวเมืองเปนตัวหย่าง มีพระอัธยาสัยอันสุขุมรอบคอบกอบด้วยสติปัญญาอุสาหะวิริยภาพ ทั้งตั้งพระองค์ไว้ไนที่อันควนต่อชนทุกชั้น สมควนที่จะได้เลื่อนอิสริยยสขึ้นเปนพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ไหย่อันควนเคารพต่อไปได้

จึงมีพระบรมราชโองการดำหรัดสั่งไห้เลื่อนพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ขึ้นเปนกรมพระ มีพระนามตามจารึกไนพระสุพรรนบัตรว่า พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชนุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหลารราชกิตยานุสร อาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาสึกสาพิเสส นรินทราธิเบสรบรมวงส์อดิสัย สรีรัตนตรัยคุนธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร นาคนาม ไห้ซงสักดินา 15000 ตามพระราชกำหนดหย่างพระองค์เจ้าต่างกรมไนพระบรมมหาราชวัง จงซงจเรินพระชนมายุ พรรน สุข พล ปติภาน คุนสารสมบัติ สรรพสิริสัวสดิพิพัธนมงคล วิบุลยสุภผลสกลเกียรติยสเดชานุภาพมโหลาร ทุกประการ

ไห้ซงเลื่อนเจ้ากรมเปนพระดำรงราชานุภาพ ถือสักดินา 800

ไห้ซงเลื่อนปลัดกรมเปนหลวงปราบบรพล ถือสักดินา 600

ไห้ซงเลื่อนสมุหบัญชีเปนขุนสกลคนารักส์ ถือสักดินา 400

ไห้ผู้ซึ่งได้เลื่อนบันดาสักดิ์ทั้ง 3 นี้ทำราชการไนหลวงและไนกรมตามหย่างทำเนียมเจ้ากรม ปลัดกรม สุมหบัญชี ไนพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวงสืบไป ไห้มีความสุขสวัสดิจเริน เทอน.


สุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาลเปนอดีตภาค 2472 พรรสา ปัจจุบันสมัย สรรปสมพัตสร พรึสจิกายนมาส อัสตมสุรทิน สุกรวาร โดยกาลบริเฉท

พระบาทสมเด็ดพระปรมินทรมหาประชาธิปก ฯลฯ พระปกเกล้าเจ้าหยู่หัว ซงพระราชดำริว่า พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดรำงราชานุภาพ เปนพระบรมวงส์พระองค์หนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัว ได้ซงฝึกสอนรัถประสาสโนบาย และสามาถรับราชการสนองพระเดชพระคุณได้ดังพระราชหรึทัยไนตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ จนถึงได้เปนเสนาบดีตำแหน่งสำคันมาตั้งแต่ไนรัชกาลที่ 5 สมเด็ดพระบรมชนถนาถซงยกย่องพระสติปัญญาและพระวิริยะอุสาหะ กับทั้งพระอัธยาสัยที่ซื่อตรงดำรงสัจสุจริต ปรากตหยู่ไนประกาสตั้งกรมเมื่อ พ.ส. 2429 และประกาสเลื่อนกรมเมื่อ พ.ส. 2442 นั้นแล้ว

ถึงรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็ดพระมงกุตเกล้าเจ้าหยู่หัวก็ซงยกย่องว่า พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ได้ซงปติบัติราชการสนองพระเดชพระคุนสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงมาหย่างได ซงปติบัติต่อพระองค์หย่างนั้นด้วยความจงรักภักดี สมควนเปนพระราชวงส์ผู้ไหย่อันควนเคารพ ดังแจ้งหยู่ไหนประกาสเลื่อมกรมเมื่อ พ.ส. 2454 อีกครั้งหนึ่ง แต่ไนรัชกาลที่ 6 นั้น เมื่อพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ได้ซงรับราชการเปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทยแต่รัชกาลที่ 5 สืบมาได้ถึง 23 ปี อ่อนพระกำลังลงจนเกิดอาการประชวร รู้สึกพระองค์ว่า จะไม่สามาถทำราชการหนักไนตำแหน่งสำคันไห้เรียบร้อยได้ดังแต่ก่อน จึงกราบบังคมทูนขอเวนคืนตำแหน่งเสนาบดีกะซวงมหาดไทย พระบาทสมเด็ดพระมงกุตเกล้าเจ้าหยู่หัวซงพระราชปรารภถึงความชอบความดีที่พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ได้มีมามากแต่หนหลัง จึงซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้ซงดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่ปรึกสา แล้วดำหรัดมอบพระราชประสงค์ไห้ซงอำนวยการจัดหอพระสมุดสำหรับพระนครอันซงพระราชดำริว่า เปนการสำคันสำหรับบ้านเมือง แต่ไม่เปนการหนักเกินพระกำลัง พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ก็รับสนองพระเดชพระคุน ได้ซงพระอุสาหะรวบรวมตรวดค้นเรื่องโบรานคดีและวรรนคดีต่าง ๆ สแดงไห้ปรากตแพร่หลาย ทั้งซงพระนิพนธ์หนังสือขึ้นไว้เปนแบบฉบับก็หลายเรื่อง เปนปัจจัยไห้จเรินความนิยมไนการพิมพ์หนังสือแจกวิชาความรู้เปนประโยชน์แก่มหาชนสืบมาจนบัดนี้ ครั้นเมื่อหายประชวร พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ มีพระราชดำหรัดชวนไห้กลับเข้าซงรับราชการเปนกัมการสภาการคลัง และกัมการทำประมวนกดหมายแพ่งและพานิช แล้วซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้เปนเสนาบดีประจำตำแหน่งอีกไนกะซวงมุรธาธร ต่อนั้นมา โปรดไห้เปนกัมการองคมนตรีตรวดงบประมานแผ่นดินด้วย อนึ่ง ไนคราวเมื่อสเด็ดพระราชดำเนินจากพระนคร และโปรดไห้สมเด็ดเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสิมาเปนผู้สำเหร็ดราชการรักสาพระนครนั้น ก็ซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เปนที่ปรึกสา ครั้นต่อมา เมื่อสมเด็ดเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสิมาทิวงคตแล้ว พระบาทสมเด็ดพระเจ้าหยู่หัวรับพระราชภาระเปนผู้สำเหร็ดราชการรักสาพระนครไนตอนปลายรัชกาลที่ 6 พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ก็ได้ซงรับตำแหน่งเปนที่ปรึกสาหย่างเดียวกัน เปนเหตุไห้พระบาทสมเด็ดพระเจ้าหยู่หัวซงซาบตระหนักไนพระปรีชาสามาถของพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ แต่ไนคราวที่ซงร่วมราชการด้วยกันนั้น

ครั้นถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ เมื่อซงพระราชดำริตั้งอภิรัถมนตรีสภา จึงซงเลือกพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เปนอภิรัถมนตรีพระองค์หนึ่ง ก็ได้ซงปติบัติราชการไนหน้าที่อันสำคันด้วยพระปรีชาอุสาหะและความซื่อตรงจงรักภักดีเปนกำลังไนราชกิจสืบมาจนบัดนี้

อนึ่ง หอพระสมุดสำหรับพระนครนั้น เมื่อถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ ซงพระราชดำริว่า จเรินเปนหลักถานมั่นคงแล้ว สมควนจะขยายการไห้เกิดประโยชน์ออกไปถึงแผนกอื่น ๆ อันเปนเครื่องอนุกูลวิชา จึงโปรดไห้ตั้งราชดิดสภา มีแผนกวรรนคดี โบรานคดี และสิลปากร บำรุงวิชานั้น ๆ ไห้รุ่งเรืองยิ่งขึ้น และซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เปนตำแหน่งนายกไนสภานั้น ก็สามาถยังประโยชน์ไห้เกิดแก่วิชาไนแผนกต่าง ๆ เปนอันดับมาดังพระราชประสงค์ และเปนการเพิ่มพูนเกียรติยสของบ้านเมืองด้วยอีกสถานหนึ่ง

นอกจากพระเกียรติคุนดังได้พรรนามา ยังควนยกย่องว่า พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ซงคุ้นเคยราชการจะหาผู้อื่นเสมอเหมือนได้โดยยาก เพราะได้ซงปติบัติราชการไนตำแหน่งสำคันมาช้านานนับถึง 3 รัชกาล และได้ซงทำคุนประโยชน์แก่ราชการบ้านเมืองมาเปนอันมาก แม้จเรินพระชมายุยิ่งขึ้นแล้ว ก็มิได้หย่อนพระวิริยะ ยังซงอุสาหะสนองพระเดชพระคุนด้วยความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็ดพระเจ้าหยู่หัว ไนเวลานี้ ก็นับว่า เปนพระบรมวงส์ผู้ไหย่พระองค์หนึ่งซึ่งเปนหลักราชการและเปนที่ซงไว้วางพระราชหรึทัย ทั้งเปนที่เคารพนับถือของคนทั้งหลายทั่วไปเปนอันมาก สมควนจะเลื่อนพระเกียรติยสถานันดรสักดิ์ไห้สูงสมกับที่เปนพระบรมวงส์อันซงพระคุนวิเสส

จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบันทูรสุรสิงหนาทดำหรัดสั่งไห้เลื่อนกรมพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เปนสมเด็จกรมพระยา มีพระนามตามจารึกไนพระสุพรรนบัตรว่า สมเด็ดพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหลารรัถประสาสน์ ปิยมหาราชวรานุสิสด์ ไพสาลราชกริตยการี โบรานคดีปวัติสาสตรโกสล คัมภีรนิพนธ์นิรุกติปติภาน ราชบันดิตวิธานนิติธัมสมัถ สึกสาภิวัธนปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาสัย พุทธาทิไตรวรนาทร พิเสสคุนาภรน์ธัมมิกนาถบพิตร นาคนาม ไห้ซงสักดินา 35000 เปนพิเสส ไนตำแหน่งพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ไหย่ไนพระบรมมหาราชวัง จงซงจเรินพระชนมายุ พรรน สุข พล ปติภาน คุนสารสมบัติ สรรพสิริสวัสดิพิพัธนมงคล วิบุยลสุภผลเกียรติยสอิสสริยสักดิเดชานุภาพมโหลาร ทุกประการ

ไห้ซงเลื่อนเจ้ากรมเปนพระยาดำรงราชานุภาพ ถือสักดินา 1000

ไห้ซงเลื่อนปลัดกรมเปนพระปราบบรพล ถือสักดินา 800

ไห้ซงเลื่อสมุห์บัญชีเปนหลวงสกลคนารักส์ ถือสักดินา 500

ไห้ผู้ซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งยสทั้ง 3 นี้ทำราชการไนหลวงและไนกรมตามหย่างทำเนียมเจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บัญชี ไนพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวงสืบไป ไห้มีสุขสวัสดิจเริน เทอน.


นามเดิม พระองค์เจ้าดิสวรกุมาร นามสกุล ดิสกุล

เกิดนะวันเสาร เดือน 7 แรม 9 ค่ำ ปีจอ จ.ส. 1224

ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน พ.ส. 2405

นามบิดา พระบาทสมเด็ดพระจอมเกล้าเจ้าหยู่หัว

นามมารดา เจ้าจอมมารดาชุ่ม ท.จ.ว. นามภรรยา หม่อมเฉื่อย ท.จ.

นามบุตรชายคนไหย่ หม่อมเจ้าจุลดิส ท.จ. สังกัดกรมทหานรักสาวัง

เกิดที่ตำบน พระบรมมหาราชวัง

อำเพอ . . . . . . . . . . จังหวัดพระนคร

ตำหนิ . . . . . . . . . .

รูปพรรน์ . . . . . . . . . .

อุปสมบทเปนสามเนรแล้วไปหยู่วัดบวรนิเวสฯ พ.ส. 2418

เปนพระภิกสุแล้วไปจำพรรสาหยู่วัดนิเวสธัมประวัติ บางปอิน

แรกเข้ารับราชการเปนนักเรียนนายร้อยทหานบก (ราชวัลลภ) ไนกรมทหานมหาดเล็ก ร.ภ. กะซวงกลาโหม

เมื่อวันที่ . . . . . . . . . . เดือน . . . . . . . . . . พ.ส. 2418

เข้ารับราชการไนกะซวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 เดือนเมสายน พ.ส. 2435

ลายมือเซ็นนาม . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
การเล่าเรียนและคุนวุทธิ

สึกสาหนังสือไทยไนสำนักคุนแสง และคุนปาน ราชนิกูล ไนพระบรมมหาราชวัง ภาสาบาลีไนสำนักพระยาปริยัติธัมธาดา (เปี่ยม) และหลวงธัมมานุวัติจำนง (จุ้ย) ภาสาอังกริดไนโรงเรียนหลวง นายฟรานซิส ยอช แปเตอรสัน เปนอาจารย

วิชาทหานไนสำนักหลวงรัดรนยุทธ (เล็ก)

ความรู้รัถประสาสส์และโบรานคดี พระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวซงสั่งสอน

ซงผนวดสามเนรนะวัดพระสรีรัตนสาสดาราม แล้วไปประทับวัดบวรนิเวสวิหาร สมเด็ดกรมพระยาปวเรสวริยาลงกรน์เปนพระอุปัชชาย์ สมเด็ดพระพุทธาจารย (สรี) ถวายสีล

ซงผนวดเปนพระภิกสุนะวัดพระสรีรัตนสาสดาราม แล้วไปประทับวัดราชประดิถ และจำพรรสาที่วัดนิเวสธัมประวัติ บางปอิน สมเด็ดกรมพระยาปวเรสวริยาลงกรน์เปนพระอุปัชชาย์ สมเด็ดพระสังคราช (สา) เปนพระกัมวาจาจารย พระอมราภิรักขิต (อ่อน) วัดนิเวสฯ สอนพระธัมวินัย

ยส

มหาอำมาตย์เอก วันที่ 20 เดือนสิงหาคม พ.ส. 2454

ยสพิเสส

เปนองคมนตรี วันเสาร เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ พ.ส. 2430

เปนรัถมนตรี วันที่ 24 มกราคม พ.ส. 2437

เปนมหาเสวกเอก วันที่ 31 สิงหาคม พ.ส. 2455

เปนจางวางเอก วันที่ 28 ธันวาคม พ.ส. 2456

เปนนายทหานพิเสส กรมทหานรักสาวังฯ วันที่ 7 มกราคม พ.ส. 2456

บันดาสักดิ์ประทวนหรือสัญญาบัตร

พ.ส. 2420 เปนนายร้อยตรี ทหานราบ

พ.ส. 2422 ว่าที่นายร้อยโท บังคับทหานม้า

พ.ส. 2422 เปนนายร้อยเอก ราชองครักส์

นะวันจันท เดือน 9 แรม 3 ค่ำ พ.ส. 2423 เปนนายพันตรี ราชองครักส์

นะวันสุกร์ เดือน 8 แรม 7 ค่ำ พ.ส. 2428 เปนนายพันโท ราชองครักส์

นะวันสุกร์ เดือน 6 แรม 4 ค่ำ พ.ส. 2429 ได้รับพระราชทานพระสุพรรบัตรเปนกรมหมื่นฯ

นะวันสุกร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ พ.ส. 2434 เปนนายพันตรี ทหานบก

วันที่ 10 พรึสจิกายน 2442 ได้รับพระราชทานพระสุพรรนบัตรเปนกรมหลวงฯ

วันที่ 29 สิงหาคม 2444 เปนนายพลโท ราชองครักส์พิเสส

วันที่ 11 พรึสจิกายน 2454 ได้รับพระราชทานพระสุรรนบัตรเปนกรมพระฯ

วันที่ 16 กรกดาคม พ.ส. 2455 เปนนายพลเอก ราชองครักส์พิเสส

วันที่ 8 พรึสจิกายน 2472 ได้รับพระราชทานพระสุพรรนบัตรเลื่อนเปนสมเด็ดกรมพระยาฯ

ลำดับตำแหน่งและเงินเดือน

พ.ส. 2418 เปนนักเรียนนายร้อย เงินเดือน 16 บาท

พ.ส. 2420 เปนนายร้อยตรี ทหานมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง เงินเดือน 40 บาท

พ.ส. 2422 ว่าที่นายร้อยโท บังคับทหานม้า ไนกรมมหานมหาดเล็ก เงินเดือน 48 บาท

พ.ส. 2422 เปนนายร้อยเอก ราชองครักส์ประจำพระองค์ เงินเดือน 80 บาท

พ.ส. 2422 ว่ากรมครัวเข้าต้น เงินเดือน 80 บาท

นะวันจันท เดือน 9 แรม 3 ค่ำ พ.ส. 2423 เปนนายพันตรี ผู้รับพระบรมราชโองการว่ากรมทหานมหาดเล็ก เงินเดือน 120 บาท

พ.ส. 2424 ว่ากรมกองแก้วจินดา เงินเดือน 120 บาท

นะวันสุกร์ เดือน 8 แรม 7 ค่ำ พ.ส. 2428 เปนนายพันโท ผู้บังคับการทหานมหาดเล็ก เงินเดือน 240 บาท

นะวันพรึหัสบดี เดือน 9 แรม 9 ค่ำ ว่ากรมแผนที่ เงินเดือน 240 บาท

นะวันสุกร์ เดือน 5 แรม 1 ค่ำ พ.ส. 2430 เปนพนักงานไหย่ ผู้ช่วยบันชาการทหานบก เงินเดือน 240 บาท

นะวันสุกร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ พ.ส. 2431 เปนนายพลตรี เงินเดือน 500 บาท

วันที่ 5 เมสายน พ.ส. 2432 เปนผู้กำกับการ กรมธัมการ เงินเดือน 500 บาท

พ.ส. 2433 เปนอธิบดี กรมสึกสาธิการ เงินเดือน 500 บาท

วันที่ 1 เมสายน พ.ส. 2435 เปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทย เงินเดือน 1000 บาท

คงตำแหน่งเดิม เงินเดือน (เลื่อนโดยลำดับ จนถึง) 3200 บาท

วันที่ 29 สิงหาคม พ.ส. 2466 เปนเสนาบดี กะซวงมุรธาธร เงินเดือน 3300 บาท

พ.ส. 2466 เสนาบดี กะซวงมุรธาธร เงินเดือน 3500 บาท

วันที่ 28 พรึสจิกายน พ.ส. 2468 เปนอภิรัถมนตรี เงินเดือน 3600 บาท

ลำดับเครื่องราชอิสริยาภรน์และเหรียน

นะวันพรึหัสบดี เดือน 12 แรม 12 ค่ำ พ.ส. 2421 ตราทุติยจุลจอมเกล้า ท.จ.

นะวันสุกร์ เดือน 4 ขึ้น 12 ค่ำ พ.ส. 2423 ตรามงกุตสยาม ชั้นที่ 1

พ.ส. 2422 ตราทุติยจุลจอมเกล้าวิเสส ท.จ.ว.

นะวันจันท เดือน 12 แรม 2 ค่ำ พ.ส. 2425 ตรามงกุตสยาม ชั้นที่ 3 ม.ม.

นะวันสุกร์ เดือน 6 แรม 4 ค่ำ พ.ส. 2429 ตราจักรีบรมราชวงส์

นะวันสุกร์ เดือน 6 แรม 4 ค่ำ พ.ส. 2429 ตรามงกุตสยาม ชั้นที่ 2 จ.ม.

นะวันอาทิจ เดือน 6 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ส. 2431 ตรามงกุตสยาม ชั้นที่ 1 ม.ส.ม.

วันที่ 20 มกราคม 2433 เหรียนดุสดีมาลา เข็มสิลปวิทยาทอง

วันที่ 22 มกราคม 2433 ตราช้างเผือก ชั้นที่ 2 จ.ช.

วันที่ 16 พรึสจิกายน 2436 ตราปถมจุลจอมเกล้า ป.จ.

วันที่ 2 ธันวาคม 2436 เข็มราชการแผ่นดิน เหรียนดุสดีมาลา

วันที่ 3 ธันวาคม 2436 ตราช้างเผือก ชั้นที่ 1 ม.ช.

วันที่ 8 ธันวาคม 2436 เหรียนจักรมาลา

วันที่ 21 กันยายน 2441 เหรียนราชินี

วันที่ 24 มกราคม 2441 เข็มราชการไนพระองค์ เหรียนดุสดีมาลา

วันที่ 21 กันยายน 2441 เหรียนราชินี

วันที่ 24 มกราคม 2441 เข็มราชการไนพระองค์ เหรียนดุสดีมาลา

วันที่ 21 กันยายน 2443 ตราปถมจุลจอมเกล้าวิเสส ป.จ.ว.

วันที่ 27 มกราคม 2444 ตรานพรัตนราชวราภรน์

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2444 เหรียนรัตนาภรน์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2

วันที่ 3 ตุลาคม 2446 เหรียนทวีธาภิเสกทองคำ

วันที่ 23 ตุลาคม 2447 เหรียนรัตนาภรน์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2

วันที่ 20 กันยายน 2450 เข็มประพาสยุโรป

วันที่ 30 พรึสจิกายน 2450 เหรียนรัชมงคลทองคำ

วันที่ 10 พรึสจิกายน 2451 เหรียนรัตนาภรน์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2452 เข็มพระชนมายุ ชั้นที่ 1

วันที่ 30 ธันวาคม 2453 เหรียนรัตนาภรน์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1

วันที่ 29 พรึสจิกายน 2454 ตราวชิรมาลา

วันที่ 26 สิงหาคม 2451 ตรารัตนวราภรน์

วันที่ 10 พรึสจิกายน 2456 ตราปมหาปรมาภรน์ช้างเผือก

วันที่ 30 ธันวาคม 2466 ตรามหาวชิรมงกุต

วันที่ 22 มีนาคม 2468 เหรียนสารทูลมาลา (เสือป่า 15 ปี)

วันที่ 6 พรึสจิกายน 2469 เหรียนรัตนาภรน์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1

เครื่องราชอิสริยาภรน์และเหรียนต่างประเทส

 เมื่อยังเปนราชองครักส์หยู่ไนกรมทหานมหาดเล็ก ได้รับ

ตราเซนต์มอริส เซนต์ลาชรัส ของอิตาลี ชั้นที่ 2

ตรามงกุตเวนดิช ของแมคเลนเบิก ชั้นที่ 2

ตรากาละกะอัว ของฮาไว ชั้นที่ 2

ตราดาบ ของสวิเดน ชั้นที่ 2

ตราเซนต์แอนด์ ของรุสเซีย ชั้นที่ 1

 เมื่อเปนราชทูตพิเสสไปยุโรป พ.ส. 2434 ได้รับ

ตราลิยองดอนเนอร์ ของฝรั่งเสส ชั้นที่ 2

ตราออฟฟิเซียอินสตรัก ของฝรั่งเสส ชั้นที่ 1

ตราเดนะบรก ของเดนมารค ชั้นที่ 1

ตรานกอินซีแดง ของปรุสเซีย ชั้นที่ 1

ตราเซนต์อาเลกซานเดอร์เนฟสกี ของรุสเซีย ชั้นที่ 1

ตราออสมานิยา ของเตอรกี ชั้นที่ 1

ตราริดิเมอ ของกรีค ชั้นที่ 1

ตราเซนต์มอริส เซนต์ลาซาร์ ของอิตาลี ชั้นที่ 1

 เมื่อเปนเสนาบดีกะซวงมหาดไทย พ.ส. 2435 ได้รับ

ตราอาทิจอุทัย ของยี่ปุ่น ชั้นที่ 1

ตราลิยองดอนเนอร์ ของฝรั่งเสส ชั้นที่ 1

ตราอาทิจอุทัยบนดอกปอลิเน ของยี่ปุ่น ชั้นที่ 1

ตรามงกุตอิตาลี ชั้นที่ 1

ตราเฮนรีติไลออน ของบรันสวิก ชั้นที่ 1 พิเสส

ตราวาซาร์ ของสวิเดน ชั้นที่ 1

วันที่ 31 ธันวาคม 2466 ตรามงกุตเบลเยียม ชั้นที่ 1

พ.ส. 2470 ตราเซนต์ไมเกล แอนด์ เซนต์ยอร์ช ของอังกริด ชั้นที่ 1

วันที่ 25 กรกดาคม 2473 ตราช้างเผือก ชั้นที่ 1 ของประเทสเดนมาร์ค

วันที่ 7 สิงหาคม 2473 ตราราชสีห์ ชั้นที่ 1 ของประเทสเนเดอแลนด์

ราชการพิเสส

วันพรึหัสบดี เดือน 9 แรม 9 ค่ำ พ.ส. 2428 จัดตั้งกรมแผนที่

วันอังคาร เดือน 4 แรม 14 ค่ำ พ.ส. 2429 เปนกัมการจัดตั้งโรงพยาบาล

พ.ส. 2430 เปนผู้กะการสเด็ดประพาส ตั้งแต่ พ.ส. นี้ และต่อมาจน พ.ส. 2458

พ.ส. 2432 เปนสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งแรก

พ.ส. 2433 จัดตั้งกรมสึกสาธิการ

วันที่ 19 กุมภาพันธ 2433 เปนข้าหลวงต่างพระองค์ไปรับซารวิช รัชทายาทรุสเซีย ที่เมืองสิงคโปร์

วันที่ 17 กรกดาคม 2434 เปนราชทูตพิเสสต่างพระองค์ไปยุโรป อิยิปต์ และประเทสอินเดีย

วันที่ 3 ตุลาคม 2438 เปนบรรนารักส์ หอพระสมุดวชิรญาน ครั้งที่ 1

วันที่ 27 ตุลาคม 2439 เปนสารานิยกร หอพระสมุดวชิรญาน

วันที่ 10 ตุลาคม 2440 เปนบรรนารักส์ หอพระสมุดวชิรญาน ครั้งที่ 2

วันที่ 11 กรกดาคม 2443 เปนกัมการจัดตั้งหอพุทธสาสนสังคหะ

พ.ส. 2444 ได้รับเลือกเปนผู้บำรุงราชกรีทาสโมสร

วันที่ 6 ตุลาคม 2446 เปนบรรนารักส์ หอพระสมุดวชิรญาน ครั้งที่ 3

วันที่ 7 เมสายน 2447 ได้รับเลือกเปนอนูปถัมภก สยามสมาคม

พ.ส. 2447 เปนบรรนารักส์ หอพระสมุดวชิรญาน ครั้งที่ 4

วันที่ 13 ตุลาคม 2448 เปนกัมการ หอพระสมุดวชิรญาน เมื่อซงตั้งเปนหอพระสมุดสำหรับพระนคร

วันที่ 15 เมสายน 2451 เปนกัมการตรวดกดหมายลักสนะอาญา

วันที่ 1 มกราคม 2453 เปนสภานายกจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน

พ.ส. 2457 เปนกัมการตรวดโรงเรียนมหาดเล็กหลวง

วันที่ 12 สิงหาคม 2458 เปนสภานายก หอพระสมุดวชิรญานสำหรับพระนคร

พ.ส. 2464 ได้รับเลือกเปนอุปนายกกิตติมสักดิ์อาลียองฝรั่งเสส

วันที่ 15 มิถุนายน 2465 เปนกัมการตรวดชำระกดหมายแพ่งและพานิช

วันที่ 1 พรึสจิกายน 2465 เปนกัมการที่ปรึกสา สภากาชาดสยาม

วันที่ 1 มกราคม 2465 เปนกัมการไนสภาการคลัง

นอกจากราชการที่กล่าวนี้ มีการหย่างอื่น ๆ ที่ได้ทำอีก ไม่สามาถจะจดจำได้ เช่น เปนนายด้านปติสังขรน์วัดพระสรีรัตนสาสดาราม เปนต้น

วันที่ 2 กรกดาคม 2466 เปนสมาชิกกิตติมสักดิ์แห่งสโมสรกลาโหม

วันที่ 19 มกราคม 2466 เปนกัมการองคมนตรีตรวดจัดงบประมานการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน

วันที่ 6 มีนาคม 2466 เปนเนติบันดิตกิตติมสักดิ์ และสมาชิกวิเสส สภาเนติบันดิตสยาม

วันที่ 28 พรึสจิกายน 2468 เปนอภิรัถมนตรีไนรัชกาลที่ 7

พ.ส. 2468 ได้รับเลือกเปนอุปนายกกิตติมสักดิ์แห่งสโมสรสีลม

วันที่ 30 ธันวาคม 2468 ได้รับเลือกเปนนายกแห่งสมาคมสงเคราะห์สัตว์

วันที่ 4 เมสายน 2469 เปนองคมนตรีไนรัชกาลที่ 7

วันที่ 19 เมสายน 2469 เปนนายกราชบันดิตสภา

วันที่ 1 มิถุนายน 2470 เปนนายกสโมสรกอลฟดุสิตไนพระบรมราชูปถัมภ์

วันที่ 8 พรึสจิกายน 2473 เปนสมาชิกกิตติสมสักดิ์แห่งสมาคมดันเตอาลิคิเอรีของชาวอิตาลีไนกรุงเทพฯ

สมาชิกกิตติมสักดิ์ไนต่างประเทส
ประเทสอังกริด

1. สมาชิกกิตติมสักดิ์ สมาคมหลวงสำหรับภูมิสาตร นะประเทสอังกริด เมื่อวันที่ 25 เมสายน 2430 Honorary Member – Royal Geographical Society

2. ผู้อุปถัมภ์ อินเดียสมาคม Patron – India Society

3. สมาชิกกิตติมสักดิ์ สมาคมหลวงเอเชียติค Honorary Member – Royal Asiatic Society

ประเทสฝรั่งเสส

1. สมาชิกกิตติมสักดิ์ สมาคมเอเชียติคแห่งประเทสฝรั่งเสส ที่กรุงปารีส Honorary Member – Asiatic Society of Paris เมื่อวันที่ 14 กรกดาคม 2471

2. สมาชิกกิตติมสักดิ์ สมาคมเอโคล ฟรางเซ เอกซแตรม โอเรียงต์ Honorary Member – Ecole Française d’Extrême-Orient เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2451

ประเทสเยอรมนี

1. สมาชิกกิตติมสักดิ์ สมาคมสิลปสาตรแห่งประเทสเยอรมนี ที่กรุงเบอร์ลิน Honorary Member – The East Asiatic Society of Berlin เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2470

ประเทสอิตาลี

1. สมาชิกกิตติมสักดิ์ สมาคมอาคาดาเมหลวงสำหรับการสิลปสาตรไนเมืองตุริน ประเทสอิตาลี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2465

ประเทสฮอแลนด์

1. สมาชิกกิตติมสักดิ์ไนสมาคมมหาวิทยาลัยเลเดน ประเทสเนเดอแลนด์ Kern Institute, University of Leiden เมื่อวันที่ 9 กรกดาคม 2473

เมืองบาเตเวีย, ชะวา

1. สมาชิกกิตติมสักดิ์ สมาคมหลวงสำหรับการสิลปสาตร์และวรรนคดี นะเมืองบาเตเวีย, ชะวา Honorary Member – Royal Society of Art and Letters เมื่อวันที่ 2 กรกดาคม 2477

ประเทสอินเดีย

1. สมาชิกกิตติมสักดิ์ สมาคมหลวงเอเชียติคแห่งเบงกอล, ไนอินเดีย Honorary Member – Royal Asiatic Society of Bengal, India

เสือป่า

วันที่ 17 มิถุนายน 2454 เปนนายกองตรี จเรเสือป่า กองเสือป่ารายหลวงรักสาพระองค์ จังหวัดพระนคร มนทลกรุงเทพฯ

วันที่ 30 กันยายน 2454 เปนนายกองโท ตำแหน่งเดิม

วันที่ 17 กุมภาพันธ 2454 เปนนายกองเอก ตำแหน่งเดิม และเปนผู้บังคับการพิเสส กองเสือป่า มนทลอุดร เปนสภานายกจัดการลูกเสือ มนทลกรุงเทพฯ

การออกจากราชการเปนครั้งคราว

ประชวร กราบถวายบังคมลาเพื่อรักสาพระองค์ตามคำแนะนำของแพทย์ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2458

การย้ายเปลี่ยนท้องที่หรือกรม
  1. ย้ายจากผู้บังคับกองแตรวง ทหานมหาดเล็ก เปนผู้บังคับทหานม้า ไนกรมทหานมหาดเล็ก จังหวัดพระนคร
  2. ย้ายจากผู้บังคับการทหานม้ามหาดเล็ก เปนผู้บังคับการทหานมหาดเล็ก จังหวัดพระนคร
  3. ย้ายจากผู้บังคับการทหานมหาดเล็ก เปนราชองค์รักส์ประจำพระองค์ จังหวัดพระนคร
  4. ย้ายจากผู้บังคับการทหานมหาดเล็ก เปนพนักงานไหย่ผู้ช่วยบันชาการทหานบก จังหวัดพระนคร
  5. ย้ายจากพนักงานไหย่ผู้ช่วยบันชาการทหานบก เปนผู้กำกับการ กรมธัมการ จังหวัดพระนคร
  6. ย้ายจากผู้กำกับการ กรมธัมการ เปนอธิบดี กรมสึกสาธิการ จังหวัดพระนคร
  7. ย้ายจากอธิบดี กรมสึกสาธิการ เปนเสนาบดี กะซวงมหาดไทย จังหวัดพระนคร
  8. ย้ายจากเสนาบดี กะซวงมหาดไทย เปนเสนาบดีที่ปรึกสา จังหวัดพระนคร
  9. ย้ายจากเสนาบดีที่ปรึกสา เปนเสนาบดี กะซวงมุรธาธร จังหวัดพระนคร
  10. ย้ายจากเสนาบดี กะซวงมุรธาธร เปนอภิรัมนตรี และนายกราชบันดิตสภา จังหวัดพระนคร
จบความไนสมุดพระประวัติซงรับราชการเพียงนี้

สมเด็ดพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เริ่มประชวรโรคพระหทัยพิการมาแต่เดือนธันวาคม พ.ส. 2484 พระอาการซงและซุดเรื่อย ๆ มา แต่ก็ไม่มีพระอาการประชวนหนักถึงลงบันทม เปนแต่ซงเหนื่อยเพลียและพระบาทบวมบ่อยขึ้น จนถึงวันที่ 27 พรึสจิกายน พ.ส. 2486 ซงรู้สึกเหนื่อยมากพายหลังที่ได้ซงพระนิพนธ์คำนำและคำอธิบาย (ยังไม่จบ) หนังสือเรื่อง เจ้านายพระชันสายืน เพื่อจะประทานหลานตาไห้แจกไนงานพระชันสาครบ 60 ปีของพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ไนวันที่ 5 ธันวาคม พ.ส. 2486 นี้ ด้วยซงยินดีว่า หลานรู้จักคุนบิดา แต่การแต่งหนังสือไห้พิมพ์โดยมีกำหนดเวลาเปนการเร่งรีบ จึงซงเหนื่อยมาก หมอคอชลิคมาเฝ้าตรวดพระอาการว่า ซงอ่อนเพลีย ถวายยาฉีด แล้วก็ซงสบายขึ้น วันอาทิตที่ 28 พรึสจิกายน มีพระอาการบันทมไม่ค่อยหลับสนิธ รุ่งขึ้น วันจันทที่ 29 พรึสจิกายน ซงพระอาเจียรไนเวลาเสวยกลางวันครั้งเดียว แล้วก็ซงพักตามเคย วันอังคารที่ 30 พรึกสจิกายน บันทมกลางวัน ตื่นขึ้นตอนบ่าย ตรัดสั่งไห้เอารถไปนิมนต์สมเด็ดพระพุทธโคสาจารย วัดเทพสิรินทราวาส มาสนทนาธัม เมื่อสมเด็ดพระพุทธโคสาจารยกลับแล้ว ตรัดว่า คุยกับพระสบาย เปนสุข เวลาค่ำ ยังเสวยเวลาเย็นหยู่ที่เฉลียงตามเคยมา ถึงเวลายามหนึ่ง ตรัดว่า วันนี้ สบาย จะนอนแต่หัวค่ำ แล้วก็เข้าบันทม จนเวลา 1 นาลิกาของวันที่ 1 ธันวาคม พ.ส. 2486 ตั้งต้นบันทมไม่หลับอีก คราวนี้ ไม่หลับจนสว่าง และซงอ่อนเพลียลงทุกที มีหายพระทัยแรง ๆ หย่างหอบเปนพัก ๆ เช้าวันพุธที่ 1 ธันวาคม เวลา 6 นาลิกา ลุกขึ้นประทับบนพระที่ ตรัดว่า “ร่างกายมันลงทุกที” และตรัดต่อไปอีกว่า “ไม่ไช่แต่ที่นี่เท่านั้น ทุกแฟมมิลี่, ทุกบ้าน, ทุกเมือง, ต้องเปนหย่างนี้” หมอมาถึงแล้ว, ยังตรัดบอกหมอว่า “I passed a very bad night” หมอถวายยาฉีดแล้ว ตรัดเรียกนมและกาแฟเสวยหย่างเคย, แต่ไม่หมดถ้วย, แล้วบันทมหลับไปนานจนถึงเวลา 13 นาลิกา 30 นาที ตรัดเรียกนมกับกาแฟที่เสวยค้างไว้ เสวยไว้ 2 ช้อน กำลังจะถวายช้อนที่ 3 ก็ยกพระหัดถ์ซ้ายขึ้นบิดนิดหนึ่ง แล้วก็หลับพระเนตรสนิธ พร้อมกับวางพระหัตถ์ลงเปนปรกติไนเวลา 13 นาลิกา 40 นาที วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ส. 2486 พระสพยังมีสีพระโลหิตและอุ่นหยู่ช้านาน หมอบอกว่า สิ้นพระชนม์ด้วยพระหทัยหยุดทำงานเท่านั้น.


นายถวัน สมิตะสิริ ผู้พิมพ์โคสนา
พิมพ์ที่บริสัทโสภนพิพัธนากร ถนนราชบพิธ พระนคร พ.ส. 2487