พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565


ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติ
กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๖๕

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๕"

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราในพระราชบัญญัตินี้

"หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม" หมายความว่า หน่วยงานหรือองค์กรซึ่งมีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมตามพระราชบัญญัตินี้

"การดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม" หมายความว่า การดำเนินงานทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง รวมทั้งการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ

"ศาล" หมายความว่า ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลรัฐธรรมนูญ

"ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง" หมายความว่า คู่ความ คู่กรณี ผู้ต้องหา และผู้เสียหาย ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ

มาตราพระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอนให้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบได้ว่า หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมจะพิจารณาเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานเสร็จสิ้นเมื่อใด รวมทั้งตรวจสอบความคืบหน้าได้โดยผ่านช่องทางที่หลากหลาย แต่ทั้งนี้ จะกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการอำนวยความยุติธรรมหรือการดำเนินงานโดยสุจริตของบุคคลใดไม่ได้ไม่ว่าทางใด

มาตราให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมดังต่อไปนี้มีหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

(๑)กระทรวงกลาโหม

(๒)กระทรวงมหาดไทย

(๓)กระทรวงยุติธรรม

(๔)สํานักงานตำรวจแห่งชาติ

(๕)สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

(5)สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

(๒)คณะกรรมการการเลือกตั้ง

(๔)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(๔)ศาล

(๑๐)องค์กรอัยการ

(๑๑)หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

มาตราให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมตามมาตรา ๕ กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในการพิจารณาเรื่องในขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของตนตามแต่ลักษณะ สภาพ หรือประเภทคดี รวมทั้งปริมาณงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้เป็นอย่างอื่น

กำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศและเผยแพร่ในรูปแบบที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้โดยง่าย

มาตราให้ผู้รับผิดชอบดำเนินงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๖ หากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้บันทึกเหตุแห่งความล่าช้าให้ปรากฏ ตลอดจนกำหนดระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบทุกครั้งเพื่อพิจารณาสั่งการ แล้วให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมแจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้า ตลอดจนกำหนดระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ การรายงานและการแจ้ง ให้เป็นไปตามวิธีการที่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกำหนด ซึ่งต้องมีหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้

ในกรณีที่ไม่รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ หรือในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่า ความล่าช้านั้นเกินสมควรแก่เหตุหรือไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่แจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการทางวินัยต่อไป

มาตราให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมตามมาตรา ๕ จัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือวิธีการอื่นใดที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถทราบหรือตรวจสอบความคืบหน้าของการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมได้

ในคดีใดที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือวิธีการอื่นใด เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมนั้นกำหนด

มาตราให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมตามมาตรา ๕ จัดให้มีผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะเพื่อรับเรื่องในกรณีที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากความล่าช้า และให้ตรวจสอบความคืบหน้าของการดำเนินงาน แล้วแจ้งผลการตรวจสอบไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง พร้อมทั้งรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบทุกครั้ง

มาตรา๑๐ให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมตามมาตรา ๕ เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติระยะเวลาของการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมในแต่ละขั้นตอน วัดผลการดำเนินงานเทียบกับขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาดำเนินงานตามมาตรา ๖ พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวให้ประชาชนทราบทุกปี

มาตรา๑๑ให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมตามมาตรา ๕ ตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๖ ว่า เป็นขั้นตอนและระยะเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ หากเห็นว่า ไม่เหมาะสม ให้มีมาตรการเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงหน่วยงานหรือระบบการปฏิบัติราชการของหน่วยงานโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า ซึ่งอย่างน้อยต้องดำเนินการทุกสามปี

มาตรา๑๒ให้นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และอัยการสูงสุด รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของตน

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  • นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๕๘ ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม โดยให้มีการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมขึ้น เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบได้ว่า หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมจะพิจารณาเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานเสร็จสิ้นเมื่อใด รวมทั้งตรวจสอบความคืบหน้าได้ อันจะยังประโยชน์ให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยสะดวกและรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

บรรณานุกรม

แก้ไข
 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"