พระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีฯ ครั้งที่ 16 ในประเทศไทย พ.ศ. 2556

ตราพระบรมราชโองการ
ตราพระบรมราชโองการ
พระราชบัญญัติ
คุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๖ ในประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๖

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๖ และการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการประชุมภาคีอนุสัญญาดังกล่าว ครั้งที่ ๑๖ ในประเทศไทย

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๖ ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๖”

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราในพระราชบัญญัตินี้

“การประชุม” หมายความว่า การประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๖ และการประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๖๓ และครั้งที่ ๖๔ ในประเทศไทยระหว่างวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

“อนุสัญญา” หมายความว่า อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๖

มาตราเพื่อให้การคุ้มครองการประชุมบรรลุตามความมุ่งประสงค์ ให้สถานที่จัดการประชุม และบุคคลดังต่อไปนี้ที่เข้าร่วมและปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมดังกล่าว ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เกี่ยวกับการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ครั้งที่ ๑๖ และการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ ๖๓ และครั้งที่ ๖๔ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

(๑)ผู้แทนของรัฐภาคีอนุสัญญาที่ได้รับแต่งตั้งโดยถูกต้อง

(๒)ผู้สังเกตการณ์ขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รวมไปถึงผู้แทนของรัฐอื่นใดที่มิได้เป็นภาคีอนุสัญญาที่เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์

(๓)ผู้แทนของหน่วยงานหรือองค์กรที่มีคุณสมบัติเชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านการคุ้มครองการอนุรักษ์ หรือการจัดการเกี่ยวกับสัตว์ป่าหรือพืชป่าตามประเภทที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๑ วรรคเจ็ดของอนุสัญญาที่เข้าร่วมประชุมในฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์

(๔)เจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ และเจ้าหน้าที่ที่รัฐบาลไทยจัดหาให้สำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ที่มาปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการประชุม

มาตราให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
  • นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ และโดยที่จะมีการประชุมภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ ๑๖ และการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการประชุมภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ ๑๖ ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ดังนั้น เพื่อให้การประชุมของสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์บรรลุตามความมุ่งประสงค์ สมควรให้สถานที่จัดการประชุมและผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เรื่องการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๖ และการประชุมครั้งที่ ๖๓ และครั้งที่ ๖๔ ของคณะกรรมการบริหารอนุสัญญาฯ ลงวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

บรรณานุกรม

แก้ไข
 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"