พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ พุทธศักราช 2476 (รก.)
เปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า การที่คณะทหารบก ทหารเรือน และพลเรือน คณะหนึ่ง ซึ่งเห็นความจำเป็นในอันจะแก้ไขเหตุการณ์ที่ทำให้เสื่อมทรามความศักดิ์สิทธิแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุให้กะทบกระเทือนต่อความปลอดภัยแห่งชาติบ้านเมือง จึ่งพร้อมใจกันเข้าจัดการให้คณะรัฐมนตรีชุดซึ่งไม่บริหารราชการแผ่นดินตามหน้าที่ด้วยความไว้ใจของสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่งทั้งคณะ ซึ่งในที่สุด รัฐมนตรีคณะที่กล่าวข้างต้นก็ได้ยื่นใบลา และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ออกจากตำแหน่งแล้ว ปรากฏว่า เหตุการณ์ได้เป็นไปโดยราบรื่นปกติเรียบร้อยมิได้รุนแรง สมควรได้รับพระมหากรุณาเพราะความหวังดีงามและความละมุลละม่อมในการกระทำของคณะนี้
จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้
มาตรา๑พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๔๗๖"
มาตรา๒ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นเหล่านั้น ไม่ว่าของบุคคลใด ๆ ในคณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนนี้ หากว่าจักเป็นการละเมิดบทกฎหมายใด ๆ ก็ดี ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายเลย
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"